หลักสูตรอภิญญาและการหลุดพ้น ตอนที่ 3

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย telwada, 14 มิถุนายน 2005.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,817
    ตามที่ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้ในสองตอนแรกว่า ก่อนที่เราจะฝึกปฏิบัติธรรมเราควรได้ทำความเข้าใจและควรได้รู้ว่า ความคิดและพฤติกรรมของสิ่งที่มีชีวิตเป็นอย่างไร อีกทั้งยังต้องรู้จักและเข้าใจในเรื่องของธรรมชาติแห่งสรรพสิ่งทั้งหลายว่าเป็นอย่างไร มีอย่างไร สิ่งเหล่านั้นเป็นญาณ เป็นความรู้อันนับเข้าในวิปัสสนาขั้นพื้นฐานที่สำคัญยิ่ง ผู้ที่สนใจในเรื่องของอภิญญาและการหลุดพ้นจากอาสวะควรได้รู้และทำความเข้าใจเป็นอันดับแรก ซึ่งเมื่อรู้และทำความเข้าใจแล้ว ก็ยังต้องรู้และทำความเข้าใจในเรื่องของการทำสมาธิ เหตุเพราะว่าการที่เราจะทำสิ่งใดเราควรได้รู้และเข้าใจจุดมุ่งหมายของวิธีการเหล่านั้น
    การทำสมาธิ เป็นวิธีการปฏิบัติขั้นพื้นฐานที่ควรได้ฝึกควบคู่ไปพร้อมๆกับการศึกษาหาความรู้และทำความเข้าใจในเรื่องของความคิดและพฤติกรรม อีกทั้งย่อมต้องฝึกควบคู่ไปพร้อมๆกับการศึกษาหาความรู้และทำความเข้าใจในเรื่องของธรรมชาติ ในเรื่องของธรรมชาติแห่งสรรพสิ่งนั้น ควรได้คิดอย่างละเอียดถี่ถ้วนเหตุเพราะอาจคิดและเข้าใจในทางที่ผิดๆได้ ดังเช่นที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้ว่า "ธรรมะมิได้มีไว้เพื่อฝืนธรรมชาติ" แต่ให้รู้เท่าทันในธรรมชาติ ในข้อนี้ ควรได้คิดถึงธรรมชาติแห่งสรรพสิ่งอย่างละเอียด เพราะอาจคิดไปว่า การบวช การกินอาหาร 1 มื้อ หรือ เพียง 2 มื้อ หรือกินอาหารมังสวิรัติ เป็นการฝืนธรรมชาติ หากคิดเยี่ยงนั้นย่อมเป็นการคิดที่ผิดๆ เหตุเพราะในธรรมชาติก็มีการปฏิบัติเยี่ยงนั้นอยู่แล้ว ไม่ใช่เป็นการฝืนธรรมชาติ เพียงแต่ใครหรือบุคคลใดจะมีความคิดความเข้าใจเรียนแบบธรรมชาติก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งนวัตกรรมที่มีอยู่ส่วนใหญ่ก็เรียนแบบธรรมชาติมาทั้งสิ้น ด้วยเหตุนี้ข้าพเจ้าจึงได้เขียนตอนที่ 1 ความคิดและพฤติกรรมเพื่อสร้างพื้นฐานให้ท่านทั้งหลายได้เกิดความคิดเกิดความเข้าใจ รวมไปถึงตอนที่ 2 คือเรื่องของธรรมชาติ เพื่อให้ท่านทั้งหลายได้ทดสอบสมองสติปัญญาของตัวเอง ทดสอบความรู้ความเข้าใจของตัวเอง เพราะการคิดพิจารณาเพื่อให้เกิดปรีชาหยั่งรู้หรือเกิดญาณอันนับเข้าใจวิปัสสนา ต้องละเอียด ไม่มีการคิดผิด หากคิดพิจารณาผิดย่อมเกี่ยวโยงสัมพันธ์ไปถึงสภาพอารมณ์และจิตใจ ดังนั้นเขาจึงได้มีเครื่องช่วยควบคุมสภาพอารมณ์และจิตใจมิให้แปรเปลี่ยนหากยามใดเกิดคิดพิจารณาผิดพลาดคือคิดไม่ถูกต้องขึ้นมา นั้นก็คือ การทำสมาธิ
    ดังนั้นการทำสมาธิ คือการฝึกควบคุมสภาพอารมณ์และจิตใจ หากจะกล่าวให้เข้าใจง่ายขึ้น การทำสมาธิคือการควบคุมความคิด ความคุมความรู้สึก ไม่ให้อ่อนไหว ควบคุมให้อยู่ในสภาพปกติ เมื่อยามใดได้กระทบหรือสัมผัส หรือเกิดสภาพอารมณ์ จิตใจ ความคิด ความรู้สึก ที่ผิดแผกไปจากปกติวิสัย อันเกิดจากสาเหตุ แห่งการคิดพิจารณาผิดพลาดหรือคิดพิจารณาไม่ถูกต้อง มาถึงตรงนี้หากท่านทั้งหลายได้อ่านและคิดพิจารณาตามคงจะเกิดความรู้ความเข้าใจ อย่างถ่องแท้ในเรื่องของสมาธิขึ้นบ้าง ส่วนวิธีการฝึกสมาธินั้น ข้าพเจ้าจะเขียนในตอนต่อไป
     
  2. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,817
    ขอแก้ไขข้อความนิดหนึ่งขอรับ จาก "ญาณอันนับเข้าใจวิป้สสนา" เป็น " ญาณอันนับเข้าในวิปัสสนา"
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...