อริยบุคคล 8 ประเภท (และการละกิเลส)

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย WebSnow, 24 มิถุนายน 2005.

  1. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,695
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,019
    [font=MS Sans Serif, CordiaUPC, BrowalliaUPC]ผู้ที่เจริญวิปัสสนากรรมฐานไปตามลำดับขั้น ได้รู้ได้เห็นธรรมชาติรวมทั้งความเป็นไปต่าง ๆ ของรูป/นาม หรือกาย/ใจ มากขึ้นเรื่อย ๆ ได้เห็นถึงความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่น่ารักน่าใคร่น่าปรารถนา ไม่สามารถยึดมั่นถือมั่นได้เพราะไม่อยู่ในอำนาจ จึงไม่เป็นไปอย่างที่ใจต้องการ ฯลฯ จนกระทั่งจิตคลายความยึดมั่นในสิ่งทั้งปวงลงไปอย่างถาวร คือความยึดมั่นถือมั่นในระดับนั้นจะไม่เกิดขึ้นอีกเลย เพราะเห็นชัดด้วยปัญญาของตนเองอย่างแท้จริง จนหมดความเคลือบแคลง และความลังเลสงสัยใดๆ ทั้งปวงแล้วนั้น จะได้ชื่อว่าเป็นอริยบุคคล คือบุคคลอันประเสริฐ ซึ่งจำแนกอย่างละเอียดได้ 8 ประเภท ตามลำดับขั้นของการละกิเลส หรือตามลำดับขั้นของความยึดมั่นถือมั่น [/font]

    [font=MS Sans Serif, CordiaUPC, BrowalliaUPC]ก่อนจะกล่าวถึงอริยบุคคลขั้นต่าง ๆ นั้น จะขออธิบายถึงความเจริญก้าวหน้าในการทำวิปัสสนากรรมฐาน ตั้งแต่เริ่มต้นก่อน เพื่อจะได้เข้าใจเรื่องของอริยบุคคลได้ง่ายขึ้น ดังนี้[/font]

    [font=MS Sans Serif, CordiaUPC, BrowalliaUPC]บุคคลทั่ว ๆ ไปที่ยังมีความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งต่าง ๆ อยู่อย่างปกติทั่วไปนั้นได้ชื่อว่าปุถุชน (ปุถุ แปลว่าหนา) คือชนผู้หนาแน่นด้วยกิเลสนั่นเอง ปุถุชนนั้นแบ่งได้ 2 ระดับคือ[/font]

    [font=MS Sans Serif, CordiaUPC, BrowalliaUPC]1.) อันธปุถุชน คือปุถุชนที่มืดบอดต่อธรรมมาก จิตใจหยาบกระด้าง เป็นผู้ยากแก่การรู้ธรรม[/font]

    [font=MS Sans Serif, CordiaUPC, BrowalliaUPC]2.) กัลยาณปุถุชน คือปุถุชนที่แม้จะยังมีกิเลสหนาแน่นอยู่ แต่จิตใจก็มีความประณีต เบาสบายกว่าอันธปุถุชน จึงเข้าถึงธรรมได้ง่ายกว่า[/font]

    [font=MS Sans Serif, CordiaUPC, BrowalliaUPC]เมื่อบุคคลใดได้เจริญวิปัสสนากรรมฐานมากขึ้นเรื่อย ๆ แล้ว ก็จะเกิดปัญญามองเห็นธรรมชาติที่แท้จริงของสิ่งต่าง ๆ มากขึ้นเรื่อย ๆ ที่เรียกว่าญาณขั้นต่าง ๆ (คำว่าญาณนี้เป็นชื่อของปัญญาในวิปัสสนา ต่างจากฌานซึ่งเป็นขั้นต่าง ๆ ของสมาธิ) จนกระทั่งปัญญาญาณนั้นแก่กล้าจนสามารถทำลายความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งต่าง ๆ อย่างถาวร อันเป็นผลให้กิเลสที่เกิดจากความยึดมั่นในขั้นนั้นถูกทำลายลงไปอย่างสิ้นเชิง จิตในขณะที่เห็นแจ้งในความที่ไม่สามารถยึดมั่นในสรรพสิ่งทั้งปวงได้อย่างชัดเจน จนสามารถทำลายกิเลสได้นี้เรียกว่ามรรคจิต ซึ่งจะเกิดขึ้นเพียงแค่ขณะจิตเดียว คือเกิดอาการปิ๊งขึ้นมาแว้ปเดียว กิเลสและความยึดมั่นในขั้นนั้นก็จะไม่เกิดขึ้นอีกเลย
    บุคคลในขณะที่มรรคจิตเกิดขึ้นนี้เรียกว่ามรรคบุคคล ซึ่งนับเป็นอริยบุคคลประเภทหนึ่ง
    [/font]

    [font=MS Sans Serif, CordiaUPC, BrowalliaUPC]บุคคลจะเป็นมรรคบุคคลแค่เพียงชั่วขณะจิตเดียวเท่านั้น หลังจากนั้นก็จะได้ชื่อว่าผลบุคคล คือบุคคลผู้เสวยผลจากมรรคนั้นอยู่ ไปจนกว่ามรรคจิตในขั้นที่สูงขึ้นไปจะเกิดขึ้นอีกครั้ง เพื่อทำลายความยึดมั่นและกิเลสที่ประณีตขึ้นไปอีก มรรคจิตแต่ละขั้นนั้นจะเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวเท่านั้น แล้วจะไม่เกิดขึ้นในขั้นเดิมซ้ำอีกเลย จะเกิดก็แต่ขั้นที่สูงขึ้นไปเท่านั้น เพราะความยึดมั่นในขั้นที่ถูกทำลายไปแล้ว จะไม่มีโอกาสกลับมาให้ทำลายได้อีกเลย[/font]

    [font=MS Sans Serif, CordiaUPC, BrowalliaUPC]อริยบุคคล 8 ประเภทนั้นประกอบด้วยมรรคบุคคล 4 ประเภท และผลบุคคล 4 ประเภท ดังนี้คือ[/font]

    [font=MS Sans Serif, CordiaUPC, BrowalliaUPC]1.) โสดาปัตติมรรคบุคคล คือบุคคลในขณะที่มรรคจิตเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก ที่เรียกว่าโสดาปัตติมรรคจิต โสดาปัตติมรรคบุคคลนี้นับเป็นอริยบุคคลขั้นแรก และได้ชื่อว่าเป็นผู้หยั่งลงสู่กระแสพระนิพพานแล้ว มรรคจิตในขั้นนี้จะทำลายกิเลสได้ดังนี้คือ
    (ในที่นี้จะใช้สัญโยชน์ ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของการแบ่งประเภทของกิเลส เป็นหลักในการอธิบาย - ดูเรื่องสัญโยชน์ 10 ประกอบ)
    - สักกายทิฏฐิ
    - วิจิกิจฉา
    - สีลพตปรามาส
    รวมทั้งโลภะ(ความโลภ) โทสะ(ความโกรธ, ขัดเคืองใจ, กังวลใจ, เครียด, กลัว) โมหะ(ความหลง คือไม่รู้ธรรมชาติที่แท้จริงของสรรพสิ่ง) ในขั้นหยาบอื่น ๆ อันจะเป็นผลให้ต้องไปเกิดในอบายภูมิ (เดรัจฉาน, เปรต, อสุรกาย, นรก) ด้วย
    [/font]

    [font=MS Sans Serif, CordiaUPC, BrowalliaUPC]2.) โสดาปัตติผลบุคคล หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า โสดาบัน คือผู้ที่ผ่านโสดาปัตติมรรคมาแล้ว
    คุณสมบัติที่สำคัญของโสดาบันก็คือ
    - พ้นจากอบายภูมิตลอดไป คือจะไม่ไปเกิดในอบายภูมิอีกเลย เพราะจิตใจมีความประณีตเกินกว่าที่จะไปเกิดในภูมิเหล่านั้นได้ (ใครจะไปเกิดในภูมิใดนั้น ขึ้นกับสภาพจิตตอนใกล้ตายที่เรียกว่ามรณาสันนวิถี ถ้าขณะนั้นจิตมีสภาพเป็นอย่างไร ก็จะส่งผลให้ไปเกิดใหม่ในภูมิที่มีสภาพใกล้เคียงกับสภาพจิตนั้นมากที่สุด)
    - อีกไม่เกิน 7 ชาติจะบรรลุเป็นพระอรหันต์
    - มีศรัทธาในพระรัตนตรัยอย่างมั่นคง ไม่ง่อนแง่นคลอนแคลน จะไม่คิดเปลี่ยนศาสนาอีกเลย
    - มีศีล 5 บริบูรณ์ (ไม่ใช่แค่บริสุทธิ์) คือความบริสุทธิ์ของศีลนั้นเกิดจากความบริสุทธ์/ความประณีต ของจิตใจจริง ๆ ไม่ใช่ใจอยากทำผิดศีลแต่สามารถข่มใจไว้ได้ คือใจสะอาดจนเกินกว่าจะทำผิดศีลห้าได้
    [/font]

    [font=MS Sans Serif, CordiaUPC, BrowalliaUPC]3.) สกทาคามีมรรคบุคคล หรือสกิทาคามีมรรคบุคคล คือบุคคลที่เจริญวิปัสสนาต่อไปอีกจนกระทั่ง มรรคจิตเกิดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 ที่เรียกว่าสกทาคามีมรรคจิต มรรคจิตในขั้นนี้ ไม่สามารถทำลายกิเลสตัวใหม่ให้หมดไปได้อย่างสิ้นเชิงเหมือนมรรคจิตขั้นอื่น ๆ เป็นแต่เพียงทำให้ โลภะ โทสะเบาบางลงเท่านั้น โดยเฉพาะกามฉันทะ และปฏิฆะ ถึงแม้ว่าความยึดมั่นที่มีอยู่จะน้อยลงไปก็ตาม ทั้งนี้เพราะกามฉันทะและปฏิฆะนั้นมีกำลังแรงเกินกว่า จะถูกทำลายไปได้ง่าย ๆ[/font]

    [font=MS Sans Serif, CordiaUPC, BrowalliaUPC]4.) สกทาคามีผลบุคคล หรือสกิทาคามีผลบุคคล คือผู้ที่ผ่านสกทาคามีมรรคมาแล้ว
    คุณสมบัติสำคัญของสกทาคามีผลบุคคลก็คือ ถ้ายังไม่สามารถบรรลุธรรมที่สูงขึ้นไปได้ในชาตินี้ ก็จะกลับมาเกิดในกามภูมิอีกเพียงครั้งเดียวก็จะบรรลุธรรมที่สูงขึ้นไปได้ แล้วจะพ้นจากกามภูมิตลอดไป เพราะอริยบุคคลขั้นนี้เป็นขั้นสุดท้ายที่จะเกิดในกามภูมิได้อีก
    คำว่ากามภูมินั้นได้แก่ สวรรค์ 6 ชั้น มนุษยภูมิ เดรัจฉาน เปรต อสุรกาย นรก แต่สกทาคามีบุคคลนั้นพ้นจากอบายภูมิไปแล้วตั้งแต่เป็นโสดาบัน จึงเกิดได้เพียงในสวรรค์ และมนุษย์เท่านั้น
    [/font]

    [font=MS Sans Serif, CordiaUPC, BrowalliaUPC]5.) อนาคามีมรรคบุคคล คือบุคคลที่เจริญวิปัสสนาต่อไปอีกจนกระทั่ง มรรคจิตเกิดขึ้นเป็นครั้งที่ 3 ที่เรียกว่าอนาคามีมรรคจิต ทำลายกิเลสได้เด็ดขาดเพิ่มขึ้นอีก 2 ตัวคือ
    - กามฉันทะ
    - ปฏิฆะ
    [/font]

    [font=MS Sans Serif, CordiaUPC, BrowalliaUPC]6.) อนาคามีผลบุคคล คือผู้ที่ผ่านอนาคามีมรรคมาแล้ว
    คุณสมบัติที่สำคัญของอนาคามีผลบุคคลคือ ถึงจะยังไม่บรรลุเป็นพระอรหันต์ ก็จะไม่กลับมาเกิดในกามภูมิอีกเลย แต่จะไปเกิดในภูมิที่พ้นจากเรื่องของกามคือรูปภูมิ หรืออรูปภูมิเท่านั้น (ดูหัวข้อรูปราคะ และอรูปราคะในเรื่องสัญโยชน์ 10 ประกอบ)
    ในรูปภูมิ 16 ชั้นนั้น จะมีอยู่ 5 ชั้นที่เป็นที่เกิดของอนาคามีผลบุคคลโดยเฉพาะ ซึ่งรวมเรียกว่าสุทธาวาสภูมิ ดังนั้น ในสุทธาวาสภูมิทั้ง 5 ชั้นนี้ จึงมีเฉพาะอนาคามีผลบุคคล อรหัตตมรรคบุคคล และพระอรหันต์ (ที่บรรลุเป็นพระอรหันต์ในภูมินี้แล้วยังมีชีวิตอยู่) เท่านั้น
    สุทธาวาสภูมิ 5 ชั้นประกอบด้วย
    - อวิหาภูมิ
    - อตัปปาภูมิ
    - สุทัสสาภูมิ
    - สุทัสสีภูมิ
    - อกนิฏฐาภูมิ
    [/font]

    [font=MS Sans Serif, CordiaUPC, BrowalliaUPC]7.) อรหัตตมรรคบุคคล คือบุคคลที่เจริญวิปัสสนาต่อไปอีกจนกระทั่ง มรรคจิตเกิดขึ้นเป็นครั้งที่ 4 ที่เรียกว่าอรหัตตมรรคจิต ทำลายกิเลสที่เหลือทุกตัวได้อย่างหมดสิ้น จนไม่มีกิเลสใด ๆ เหลืออีกเลย สัญโยชน์ที่มรรคจิตขั้นนี้ทำลายไป ได้แก่
    - รูปราคะ
    - อรูปราคะ
    - มานะ
    - อุทธัจจะ
    - อวิชชา
    [/font]

    [font=MS Sans Serif, CordiaUPC, BrowalliaUPC]8.) อรหัตตผลบุคคล หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าพระอรหันต์ คือผู้ที่ปราศจากกิเลสอย่างสิ้นเชิงแล้ว เพราะกิเลสตัวสุดท้ายถูกทำลายไปในขณะแห่งอรหัตตมรรคจิตที่ผ่านมาแล้ว เป็นผู้ที่พ้นจากทุกข์ทางใจทั้งปวง เพราะไม่ยึดมั่นในสิ่งใดเลย แต่ยังคงต้องทนกับทุกข์ทางกายต่อไป จนกว่าจะปรินิพพาน เพราะตราบใดที่ยังมีร่างกายอยู่ก็ไม่อาจพ้นจากทุกข์ทางกายไปได้ [/font]

    [font=MS Sans Serif, CordiaUPC, BrowalliaUPC]นิพพานนั้นมี 2 ชนิด คือ
    - สอุปาทิเสสนิพพาน หรือนิพพานเป็น หมายถึงนิพพานที่ยังมีส่วนเหลือ คือกิเลสทั้งหลายดับไปหมดแล้ว พ้นจากทุกข์ทางใจทั้งปวงแล้ว แต่ยังมีร่างกายอยู่ ทำให้ต้องทนทุกข์ทางกายต่อไปอีก ได้แก่พระอรหันต์ที่ยังมีชีวิตอยู่นั่นเอง
    - อนุปาทิเสสนิพพาน หรือนิพพานตาย หมายถึงนิพพานโดยไม่มีส่วนเหลือ คือพ้นจากทุกข์ทั้งปวง ทั้งทางกาย และทางใจอย่างสิ้นเชิง ได้แก่พระอรหันต์ที่ตายแล้วนั่นเอง ซึ่งเรียกได้อีกอย่างว่าปรินิพพาน (ปริ = โดยรอบ, ปรินิพพาน = นิพพานโดยรอบทุกส่วน คือทั้งร่างกายและจิตใจ คือนิพพานจากทุกข์ทั้งปวงนั่นเอง)
    [/font]

    [font=MS Sans Serif, CordiaUPC, BrowalliaUPC]พระพุทธเจ้าทรงเปรียบเทียบชีวิตในวัฏสงสารว่า ปุถุชนทั้งหลายเหมือนผู้คนที่ผุด ๆ โผล่ ๆ อยู่กลางน้ำลึก ต้องทนทุกข์ทรมาน สำลักน้ำอยู่อย่างไม่รู้อนาคต ต้องเสี่ยงภัยจากปลาร้ายทั้งหลาย โสดาบันเปรียบเหมือนผู้ที่พยุงตัวพ้นจากผิวน้ำขึ้นมาได้ จนสามารถมองเห็นฝั่ง(แห่งพระนิพพาน) แล้วเตรียมตัวว่ายเข้าหาฝั่งนั้น สกทาคามีบุคคลเปรียบเหมือนผู้ที่กำลังว่ายเข้าหาฝั่ง อนาคามีบุคคลเปรียบเหมือนผู้ที่เข้าใกล้ชายฝั่งมาก คือถึงจุดที่น้ำตื้นพอที่จะหยั่งเท้าถึงพื้นดินได้ แล้วเดินลุยน้ำเข้าหาฝั่ง จึงพ้นจากการสำลักน้ำแล้ว พระอรหันต์เปรียบเหมือนผู้ที่เดินขึ้นฝั่งได้เรียบร้อยแล้ว พ้นจากอันตรายทั้งปวงแล้ว รอวันปรินิพพานอยู่
    ท่านผู้อ่านอยากอยู่ในสภาพไหนก็เชิญเลือกเอาเองเถิด.
    [/font]
    [font=MS Sans Serif, CordiaUPC, BrowalliaUPC]ธัมมโชติ
    15 พฤศจิกายน 2543
    [/font]


    http://www.geocities.com/tmchote/Thumma/Wipassan/wp010.htm
     
  2. ดวงแก้ว

    ดวงแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +259
    ดีจังค่ะ อนุโมทนาด้วย

    สงสัยอยู่เหมือนกัน เวลาสวด ยอดพระกัณฑ์ ไตรปิฏก 2 บทนี้
    ว่ามันต่างกันอย่างไร ก็คลายสงสัยได้ระดับหนึ่งค่ะ แต่ยังไม่ค่อย
    แจ้งเท่าไหร่ ระหว่าง ธาตุ กับผล เนี่ย...เพราะคำแปลก็ไม่ได้
    บอกไว้ชัดแจ้ง แค่แปลตาม
    ๑๐.
    อิติปิ โส ภะคะวา โสตาปะฏิมัคคะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สะกิทาคาปะฏิมัคคะ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อะนาคาปะฏิมัคคะ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัตตะปะฏิมัคคะ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน

    ๑๑.
    อิติปิ โส ภะคะวา โสตาอะระหัตตะ ปะฏิผะละธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สะกิทาคาอะระหัตตะ ปะฏิผะละธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อะนาคาอะระหัตตะ ปะฏิผะละธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัตตะ ปะฏิผะละธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
     
  3. DevilBitch

    DevilBitch เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มกราคม 2005
    โพสต์:
    9,776
    ค่าพลัง:
    +36,838
    Anumothana Ka...
     
  4. MissyKelly

    MissyKelly เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2004
    โพสต์:
    446
    ค่าพลัง:
    +1,195
    mee too..anumothanaka p' tik
     
  5. ปาริสัชชา

    ปาริสัชชา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2004
    โพสต์:
    255
    ค่าพลัง:
    +2,693
    โมทนาด้วยครับ ท่านเจ้าของกระทู้

    ส่วน "มรรค" กับ "ผล" ต่างกันตรงที่
    "มรรค" คือผู้ที่เห็นทางแล้วและกำลังดำเนินไปตามทางนั้นอยู่
    "ผล" คือผู้ที่เดินทางไปถึงปลายทางที่เดินมาแล้ว
    อธิบายง่ายๆอย่างนี้นะครับ :)
     

แชร์หน้านี้

Loading...