ออกแบบชีวิตด้วยทาน

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย ชนสรณ์, 30 ธันวาคม 2010.

  1. ชนสรณ์

    ชนสรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    122
    ค่าพลัง:
    +173
    มนุษย์ดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยการให้ เมื่อเกิดมาเราไม่มีอะไรติดตัวมาเลย ถ้าไม่มีใครให้ความรักเมตตาและการเลี้ยงดูเราคงไม่สามารถก้าวผ่านวันเวลาในครั้นเป็นทารกมายืนหยัดอยู่ได้จนทุกวันนี้ การให้จึงมีคุณค่าอย่างไม่อาจจะประมาณได้สำหรับทุกชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ให้ เพราะการให้ทานอยู่เสมอๆ จะเปลี่ยนแปลงชีวิตของผู้ให้ให้ดีขึ้นเป็นอัศจรรย์

    [​IMG]

    การให้ทานเป็นการเอาชนะความตระหนี่ เมื่อเราให้ทานอยู่เป็นนิตย์ กระแสบุญจากการให้จะเข้ามาแทนที่ ทำให้ความตระหนี่หลุดร่อนออกจากใจ บุญจะไปดึงดูดสมบัติต่างๆให้ไหลเข้ามาหาเราอย่างอัศจรรย์ การให้ทานจึงเป็นวิธีการออกแบบชีวิตของเราให้พร้อมด้วยสมบัติทั้ง 3_คือ มนุษย์สมบัติ ทิพย์สมบัติ และนิพพานสมบัติ ดังเรื่องราวในสุมนาสูตร ดังนี้

    ในสมัยพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า มีภิกษุสองรูปเป็นเพื่อรักกัน ทั้งสองรูปมีศีลที่บริสุทธิ์ และมีปัญญาที่อบรมมาดีแล้วเสมอกัน รูปหนึ่งทำทานอยู่เสมอ แต่อีกรูปไม่ทำทาน เมื่อภิกษุสองรูปนี้มรณภาพแล้ว ก็ได้ไปเกิดเป็นมนุษย์บ้าง เป็นเทวดาบ้าง ภิกษุที่เคยสร้างทานกุศลไว้ ได้ไปเกิดในตระกูลสูงสมบูรณ์ด้วยโภคทรัพย์มากกว่าภิกษุที่มิได้สร้างทานกุศลไว้ทุกชาติตลอดพุทธันดร

    เมื่อถึงสมัยพระสมณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า ภิกษุรูปที่เคยบำเพ็ญทานกุศลไว้ได้เกิดเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าปเสนทิโกศล แห่งเมืองสาวัตถี เมื่อประสูติได้บรรทมอยู่ในพระอู่ทองภายใต้เศวตฉัตร ส่วนภิกษุที่ไม่เคยสร้างทานกุศลได้เกิดเป็นลูกของพระพี่เลี้ยง นอนอยู่ในเปลธรรมดาข้างๆ เปลพระราชโอรสนั้น ด้วยบุญที่ทำมาในอดีตชาติ ทั้งคู่จึงสามารถระลึกชาติได้ และสนทนากันถึงเรื่องความแตกต่างของฐานะ

    พระราชธิดาสุมนา ซึ่งเป็นภคินี (พี่สาว) ของพระราชโอรสได้สดับถ้อยคำนั้น จึงเสด็จไปกราบทูลถามพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า “ถ้าสาวกของพระองค์ทั้ง 2 มีศรัทธา มีศีล มีปัญญาเท่ากัน คนหนึ่งทำทานแต่อีกคนหนึ่งไม่ได้ทำ เมื่อตายไปแล้ว ถ้าได้ไปเกิดเป็นมนุษย์เทวดา หรือออกบวชเหมือนกัน จะมีความแต่ต่างกันบ้างหรือไม่”

    [​IMG]

    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า “มนุษย์ เทวดา หรือบรรพชิต ผู้ทำทานกุศลย่อมได้รับของที่เป็นเลิศกว่าผู่ไม่ทำทานกุศล 5_ประการ คือ อายุ วรรณะ สุข ยศ และอธิปไตย (ความเป็นใหญ่)” และตรัสว่า “สมควรแท้ที่คนทั้งหลายจะให้ทาน สมควรแท้ที่คนทั้งหลายจะทำบุญ เพราบุญเป็นอุปการะแม้แก่เทวดา มนุษย์และบรรพชิต”


    จริงหรือที่ไม่ชอบทำทานแต่รวย ทำทานมากกลับจน

    มีบ่อยครั้งที่สงสัยกันว่า “บางคนไม่เคยทำบุญทำทานเลยทำไมรวยจัง” ฟังดูแล้วเหมือนไม่ยุติธรรม แต่ที่จริงแล้วเหตุการณ์ต่างๆ ทั้งดีและร้ายที่เกิดขึ้นในชีวิตของคนเรา เป็นผลมาจากกรรม (การกระทำ) ของเราทั้งสิ้น ทั้งกรรมในอดีต และกรรมในปัจจุบัน

    ทานของบุคคล 4 กลุ่ม

    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจำแนกความแตกต่างกันของบุคคล 4_กลุ่มที่มีพฤติกรรมในการทำทานแตกต่างกันไว้ดังนี้

    <TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" border=0 cellSpacing=0 borderColor=#000000 cellPadding=3 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width="2%">1.
    </TD><TD vAlign=top width="50%">
    ผู้ที่ทำทานด้วยตนเองแต่ไม่ชวนใครทำทานเลย จะร่ำรวยแต่ขาดบริวาร ทำสิ่งใดย่อมสำเร็จโดยอยาก
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width="2%">2.
    </TD><TD vAlign=top width="50%">
    ผู้ชวนคนอื่นทำทาน แต่ตัวเองไม่ทำ จะยากจนแต่มีบริวาร พรรคพวกญาติมิตรมากมาย
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width="2%">3.
    </TD><TD vAlign=top width="50%">
    ผู้ที่ไม่ทำทานและไม่ชวนคนอื่นทำทาน จะจนทั้งทรัพย์และบริวาร
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width="2%">4.
    </TD><TD vAlign=top width="50%">
    ผู้ที่ทำทานทั้งตนเองและชวนคนอื่นทำทานด้วย (เพราะอยากให้ผู้อื่นได้บุญ) จะรวยทั้งทรัพย์บริวาร มีคนคอยสนับสนุนตลอดเวลา จะสิ่งใดก็สำเร็จได้โดยง่าย
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ระเภทของคนจน

    ถ้าลองสังเกตดู เราจะพบว่ามนุษย์ส่วนใหญ่มักไม่สนใจทำทาน และคงจะเป็นเช่นนี้ทุกยุคทุกสมัย ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ทุกมุมโลกมีคนจนอยู่มากมายเรื่องคนจนนี้พระราชภาวนาวิสุทธิ์ (หลวงพ่อธัมมชโย) เคยแบ่งไว้ 3 ประเภทดังนี้

    [​IMG]

    <TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" border=0 cellSpacing=0 borderColor=#000000 cellPadding=3 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width="2%">1.
    </TD><TD vAlign=top width="50%">คนยากจน หมายถึง คนที่ในอดีตถูกความตระหนี่เข้าครอบงำ จึงไม่ได้สั่งสมทานกุศล วิบากแห่งความตระหนี่จึงผลักสมบัติออกไป ทำให้ลำบากยากจน
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width="2%">2.
    </TD><TD vAlign=top width="50%">คนอยากจน หมายถึง คนที่ดำเนินชีวิตด้วยความประมาท ตระหนี่หวงแหนทรัพย์ไม่ได้สั่งสมทานกุศล แม้มีทรัพย์มากก็ไม่ยอมให้ทาน เพราะกลัวทรัพย์จะหมดไป วิบากกรรมแห่งความตระหนี่จึงทำให้ต้องเป็นคนยากจน จึงเรียกว่า คนอยากจน
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width="2%">3.
    </TD><TD vAlign=top width="50%">คนจนยาก หมายถึง คนที่จะกลับมาจนอีกเป็นไปได้ยาก เพราะหมั่นสั่งสมทานกุศลอยู่เป้นนิตย์ บุญจากการให้ทานนี้ จะมีอนุภาพดึงดูดโภคทรัพย์สมบัติให้เกิดขึ้นเป็นสะเบียงไว้ใช้ระหว่างเวียนว่ายตายเกิด
    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    การอุทิศบุญและการแบ่งส่วนบุญ

    เมื่อทำทานเสร็จแล้ว ควรอุทิศบุญ หรือแบ่งส่วนบุญให้แก่หมู่ญาติ ทั้งที่มีชีวิตอยู่และล่วงลับไปแล้ว การแบ่งส่วนบุญให้คนที่ยังมีชีวิตอยู่ ทำได้ด้วยการแจ้งให้เขาทราบว่าเราทำบุญอะไรมา เมื่อเขาอนุโมทนาบุญกับเราเขาก็จะได้บุญ การอุทิศบุญให้คนตาย อุทิศได้ด้วยการกรวดน้ำ หรือตั้งจิตเป็นสมาธิ(Meditation)อุทิศให้ ผู้ตายก็จะได้รับบุญ

    [​IMG]

    การแบ่งส่วนบุญ หรือการอุทิศบุญ เปรียบเสมือนเราจุดประทีปโคมไฟ แล้วมีคนอื่นมาจุดต่อๆ กันไปจากเรา ประทีปของเราไม้ได้หมดไป แต่ความสว่างไสวกลับมีมากขึ้นจากประทีปดวงอื่นๆ การแบ่งส่วนบุญแล้วการอุทิศบุญจึงไม่ได้ทำให้บุญของเราหมดไป แต่กลับได้บุญมากขึ้น

    การแบ่งส่วนบุญและการอุทิศบุญเป็นปัตติทานมัย เป็นหนึ่งในบุญกิริยาวัตถุ 10_ประการ การอนุโมทนาบุญ หรือ ปัตตานุโมทนามัย ก็เป็นหนึ่งในบุญกิริยาวัตถุ 10 ประการเช่นกัน

    ----------------------------------

    <!-- article-body -->
     

แชร์หน้านี้

Loading...