ออแลนโด้ บลูม มานับถือ พุทธ แล้วครับ

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย Kamen rider, 14 มกราคม 2005.

  1. Kamen rider

    Kamen rider เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    3,763
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +1,998
    [​IMG]

    ผมอ่านเจอใน หนังสือ ธรรมลีลา ก่อนหน้าจะมานับถือพุทธ เขาจะห้อย ลูก ปะคำตลอด ตอนหลัง เขาเข้า นับถือ พุทธ รู้สึกว่า จะเป็น นิกาย นิชิเรน(ญี่ปุ่น)

    เขาคงไม่ นับถือ ตามแฟชั่น มั้งครับ สาธุ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มกราคม 2005
  2. Kamen rider

    Kamen rider เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    3,763
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +1,998
    [​IMG]

    ออร์แลนโด ปลื้มได้นับถือพุทธ

    แอบมีใจธรรมะ ธรรมโมมานาน คราวนี้ ออร์แลนโด บลูม หนุ่มหล่อนักยิงธนูจาก The Lord of the Rings จึงขอเข้ามาเป็นพุทธศาสนิกชนแบบเต็มตัว หลังจากได้เข้าร่วมพิธีทางศาสนาพุทธนิกาย นิชิเรน โชชิว เพื่อรับศีลฟังคําสวด ณ โซกะ โกกิเอะ สถานที่ตั้งปฎิบัติธรรมชื่อดังแห่งเกาะอังกฤษ

    ในการทําพิธีเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาหนุ่มบลูม และเหล่าผู้มีศรัทธารวม 60 คน ร่วมกันนําสวดตามพระคัมภีร์บูชา โงะฮอนโซ ที่บันทึกไว้เป็นภาษาสันสกฤต ซึ่งมี ริกกี้ เบย์เนส ผู้นําสาขานิกายในอังกฤษเป็นผู้รับทราบการเข้ามาเป็นอีกหนึ่งคนดังที่นับถือพุทธศาสนาครั้งนี้

    แหล่งข่าวผู้อยู่ร่วมการทําพิธีเล่าถึงพระเอกคนดังกับทาง เดลี่ มิร์เรอร์ ว่า
     
  3. Kamen rider

    Kamen rider เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    3,763
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +1,998
    บทที่1 พุทธศาสนานิกายนิชิเร็น

    พุทธศาสนานิกายนิชิเร็นนี้ มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการเมื่อสมัย เมจิ (คศ 1868-1912) นี้เองก่อนหน้านั้นจะเรียกกลุ่มผู้สนับสนุนคำสอนของพระนิชิเร็น ว่า
     
  4. Kamen rider

    Kamen rider เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    3,763
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +1,998
    ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1256-1260 ที่เมืองคามากุระได้ประสบภัยธรรมชาติหลายอย่าง ตั้งแต่พายุ อุทกภัย แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ภูเขาไฟประทุ ทำให้การเพาะปลูกไม่ได้ผล อาหารไม่พอ ซ้ำยังมีโรคระบาดเกิดขึ้น ทำให้มีผู้คนได้รับความเดือดร้อนบาดเจ็บล้มตายเป็นอันมาก พระนิชิเร็นเห็นว่าภัยพิบัติเหล่านี้สัมพันธ์กับศาสนา ตรงตามที่ปรากฏอยู่ใน สัทธรรมปุณฑริกสูตร ในปี 1260 พระนิชิเร็นจึงประพันธ์
     
  5. Kamen rider

    Kamen rider เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    3,763
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +1,998
    บทที่2 สมาคมโซคากักไก (SOKA GAKKAI)

    กลุ่มโซกะกักไก [ชื่อเดิม โซกะเคียวอิงักไก = (SOKA KYOIKU GAKKAI) แปลว่าสมาคมสร้างคุณค่า มีกลุ่มบุคคลกลุ่มหนึ่ง ซึ่งนำคำสอนพื้นฐานของศาสนาพุทธนิกายนิชิเร็น ตามประวัติของกลุ่มโซคากักไก อ้างว่า ภายหลังมรณภาพของพระนิชิเร็น ไดโชนิน ท่านได้มอบหมายงานเผยแผ่ให้แกศิษย์เอกหกคน แต่ต่อมาภายหลังพระพุทธศาสนานิกายนิชิเร็นแตกออกเป็น 31 สาย สายหนึ่งในนั้นคือ สายนิชิเร็นโชชู ต่อมาคือกลุ่มโซคากักไก ศิษย์พระนิชิเร็นท่านหนึ่งชื่อ นิกโก โชนิน เป็นคนที่สำคัญที่สุด ได้ถูกศิษย์อีกห้าคน ได้นำกลุ่มซามูไรที่มิโนะบุเข้ายึดวัด คุอนจิ บนภูเขามิโนะบุแล้วขับไล่ พระนิกโก โชนินออกไป ทำให้ท่านนิกโก โชนิน จึงต้องออกเดินทางข้ามแม่น้ำสายหนึ่งมาตั้งศูนย์นิชิเร็น โชซู ขึ้นใหม่ที่วัด ไทเซะกิจิ เชิงภูเขาฟูจิ
    ต่อมาท่านจึเนะซาบุโระ มาคิงูชิ เกิดที่หมูบ้าน อาราฮามา จังหวัดนิงาตะ เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ1871 ได้ศึกษาหลักคำสอนของพระนิชิเร็น ไดโชนิน ขณะเป็นครูใหญ่ของโรงเรียนประถมสามัญ ชิโรงาเนะ ได้ชักชวนพวกครูผู้สอนเด็กๆ ที่โรงเรียนนั้น ซึ่งเป็นโรงเรียนวัดไทเซะกิจิ มาประชุมตกลงวางหลักการสอนจริยธรรมขึ้นใหม่ ตามแนวคำสอนจากนิจิเรนชูเดิม มาเป็นความเคลื่อนไหวในรูปของกลุ่มโซคากักไก เดิมชื่อ โซกะเคียวอิงักไก แปลว่าสมาคมสร้างคุณค่า มีวิธีการสอนและหลักการตามความเห็นของ ท่านมากิงูชิ เรียกเป็นภาษาญี่ปุ่นว่า คะชิรน(KACHIRON) แปลเป็นภาษาอังกฤษว่าAn Eassy on Value ใช้เวลาดำเนินการ 7 ปี ได้สมาชิกไม่ถึงร้อยคน แต่พอเกิดสงครามโลกครั้งที่2 รัฐบาลสมัยนั้น ต้องการปลูกฝังเยาวชนให้คลั่งชาติ ทุกโรงเรียนต้องนำคำสอน
     
  6. DevilBitch

    DevilBitch เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มกราคม 2005
    โพสต์:
    9,776
    ค่าพลัง:
    +36,838
    คีอาโนว์ รีฟ , ป้าีทีน่า เทอเน่อ และีกะหลายคนดังน่ะ

    แต่กลุ่มเดอ บีทเทิ่ล นี่ติดทางอินเดียทั้งวง เคัาเรียกอารายนะ ที่ชอบใส่ชุดเหมือนพระเราน่ะแต่คอยร้องเพลงเคาะกะลาพ่นกำยานน่ะ ยายยังเคยไปแฝงกะพวกเค้าบางเวลานะ...
     
  7. Kamen rider

    Kamen rider เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    3,763
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +1,998
    บทที่ 3

    หลักคำสอน และการปฏิบัติของผู้ศรัทธานิกายนิชิเร็น
    -เป้าหมายของนิกายนิชิเร็น คือการบรรลุพุทธภาวะ แต่จากการที่พุทธศาสนาที่มีอยู่ก่อนในสมัยเฮอัน มีข้อจำกัดในการบรรลุธรรม ซึ่งได้สร้างความกังวลใจให้กับบรรดานักรบที่ต้องฆ่าคน ทำให้เป็นคนบาปต้องตกนรก ในสายตาพุทธศาสนาที่มีอยู่ อีกทั้งสตรีชาวบ้านทั้งหลายก็ถูกกีกกันไม่ให้เข้าสู่สถานศักดิ์สิทธิ์ ทำให้ไม่มีโอกาสบรรลุธรรมคำสอน และการยืนยันถึงความช่วยเหลือให้พ้นทุกข์บุคคลเหล่านี้จึงได้ขอรับคำสั่งสอนจากพระนิชิเร็น แต่พระนิชิเร็นได้สั่งสอนว่า สัทธรรมปุณฑริกสูตร เป็นคำสอนที่ช่วยได้แม้แต่คนบาป เพียงแต่บริกรรมพระสูตรที่ว่า
     
  8. Kamen rider

    Kamen rider เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    3,763
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +1,998
    "หลักคำสอนของนิกายนิชิเร็นมีสัทธรรมปุณฑริกสูตร เป็นพระสูตรสูงสุด เป็นพระสูตรเดียวที่ถูกต้องแท้จริง เป็นสารัตธรรมแห่งการตรัสรู้เป็นองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ส่วนพระสูตรอื่นทั้งหมดเป็นเพียงอุบายชั่วครามที่นำคนมาสูเอกยานแห่ง สัทธรรมปุณฑริกสูตร สัทธรรมปุณฑริกสูตรที่สูงสุดขันสุดท้ายที่พระศากยมุนีพุทธเจ้าทรงเปิดเผยทางที่จะนำไปสู่ความหลุดพ้นเพียงสายเดียวเท่านั้น ลักษณะเด่น ของสัทธรรมปุณฑริกสูตร ของพระนิชิเร็น อยู่ที่การเน้นความสำคัญที่ครึ่งหลังของพระสูตร โดยหลักการแบ่งของนิกายเท็นได ที่ได้แบ่งสัทธรรมปุณฑริกสูตร ออกเป็นสองส่วน คือส่วนหน้าที่เกี่ยวกับเอกยาน และส่วนหลังที่กล่าวถึงพระพุทธเจ้าซึ่งเกินไปจากพระพุทธเจ้าในประวัติศาสตร์ แต่เป็นพระพุทธเจ้าที่เป็นนิรันดร์ นิการเทียนไท้ในจีนและนิกายเทนไดในญี่ปุ่นให้ความสำคัญส่วนหน้าของพระสูตร ซึ่งเรียกว่าชามอน (Shamon) ส่วนนิกายนิชิเร็นได้เน้นความสำคัญอยู่ที่ส่วนหลัง ซึ่งเรียกว่า ฮันมอน (Hanmon) ซึ่งเป็นการนำพลังของพระพุทธเจ้านิรันดร์มารวมลงในชื่อขอพระสูตร และอาศัยการบิกรรมชื่อพระสูตรก็จะได้ความช่วยเหลื่อให้พ้นทุกข์ได้ จึงเห็นได้ว่านิกายนิชิเร็นนั้นจัดเป็นฝ่าย ทะริกิ(ไม่ได้ถือสมาธิ) แต่มุ่งเอาศรัทธาต่อพระพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่งเป็นที่พึ่งตน เพราะเห็นว่าการเข้าสมาธิไม่สำคัญเท่ากับการพรรณาคุณของพระพุทธะ ทำให้การปฏิบัติเพื่อจะบรรลุพุทธภาวะนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นไปตามหลักไตรสิกขา หรือ ศีล สมาธิ ปัญญา แต่เป็นการบรรลุโดยอำนาจที่มาจาก สัทธรรมปุณฑริกสูตร นั่นเอง"
     

แชร์หน้านี้

Loading...