อังกุรเปตวัตถุ .. ว่าด้วยบุพกรรมของอังกุรเปรต

ในห้อง 'พระไตรปิฎก เสียงอ่าน' ตั้งกระทู้โดย ผ่อนคลาย, 7 กุมภาพันธ์ 2007.

แท็ก: แก้ไข
  1. ผ่อนคลาย

    ผ่อนคลาย Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    5,775
    ค่าพลัง:
    +12,934
    ๙. อังกุรเปตวัตถุ
    ว่าด้วยบุพกรรมของอังกุรเปรต

    พราหมณ์พ่อค้าคนหนึ่ง เห็นของทิพย์ออกจากมือรุกขเทวดาจึงเกิดความโลภขึ้น ได้ บอกแก่อังกุรพาณิชว่า

    [๑๐๖] เราทั้งหลายเที่ยวหาทรัพย์ ไปสู่แคว้นกัมโพชเพื่อประโยชน์สิ่งใด เทพ บุตรนี้เป็นผู้ให้สิ่งที่เราอยากได้นั้น พวกเราจักนำเทพบุตรนี้ไปหรือจักจับ
    เทพบุตรนี้ ข่มขี่เอาด้วยการวิงวอนหรืออุ้มใส่ยานรีบนำไปสู่ทวารกนคร
    โดยเร็ว.

    อังกุรพาณิชเมื่อจะห้ามพราหมณ์พ่อค้านั้น จึงได้กล่าวคาถาความว่า
    บุคคลอาศัยนั่งนอนที่ร่มเงาของต้นไม้ใด ไม่ควรหักรานกิ่งของต้นไม้นั้น
    เพราะการประทุษร้ายมิตร เป็นความเลวทราม.

    พราหมณ์พ่อค้ากล่าวว่า

    บุคคลอาศัยนั่งนอนที่ร่มเงาของต้นไม้ใด พึงตัดแม้ลำต้นของต้นไม้นั้นได้ ถ้ามีความต้องการเช่นนั้น.

    อังกุรพาณิชกล่าวว่า

    บุคคลอาศัยนั่งนอนที่ร่มเงาของต้นไม้ใด ไม่พึงทำลายแม้ใบของต้นไม้นั้น เพราะการประทุษร้ายมิตร เป็นความเลวทราม.

    พราหมณ์พ่อค้ากล่าวว่า

    บุคคลอาศัยนั่งนอนที่ร่มเงาของต้นไม้เหล่าใด พึงถอนต้นไม้นั้นพร้อม ทั้งรากได้ ถ้าพึงประสงค์เช่นนั้น.

    อังกุรพาณิชกล่าวว่า

    ก็บุรุษพึงพักอยู่ในเรือนของบุคคลใดตลอดราตรีหนึ่ง หรือพึงได้ข้าวน้ำ ในที่ใด ไม่ควรคิดชั่วต่อบุคคลนั้น แม้ด้วยใจความเป็นผู้กตัญญู สัปบุรุษ
    สรรเสริญ บุคคลพึงพักอาศัยในเรือนของบุคคลใดแม้เพียงคืนหนึ่ง พึง
    ได้รับบำรุงด้วยข้าวและน้ำ ก็ไม่พึงคิดชั่วต่อบุคคลนั้นแม้ด้วยใจ บุคคล
    ผู้มีมืออันไม่เบียดเบียน ย่อมแผดเผาบุคคลผู้ประทุษร้ายมิตร ผู้ใดทำ
    ความดีไว้ในก่อน ภายหลังเบียดเบียนด้วยความชั่ว ผู้นั้น ชื่อว่าเป็นคน
    อกตัญญู ย่อมไม่พบเห็นความเจริญทั้งหลาย ผู้ใดประทุษร้ายต่อนระผู้
    ไม่ประทุษร้าย ผู้เป็นบุรุษบริสุทธิ์ไม่มีกิเลสเครื่องยียวน บาปย่อมกลับ
    มาถึงผู้นั้นซึ่งเป็นคนพาลแน่แท้ เหมือนธุลีอันละเอียดที่บุคคลซัดไป
    ทวนลมฉะนั้น.

    เมื่อรุกขเทวดาได้ฟังดังนั้นแล้ว เกิดความโกรธต่อพราหมณ์นั้น จึงกล่าวว่า
    ไม่เคยมีเทวดาหรือมนุษย์ หรืออิสรชนคนใดจะมาข่มเหงเราได้โดยง่าย
    เราเป็นเทพเจ้าผู้มีมหิทธิฤทธิ์อย่างยอดเยี่ยม เป็นผู้ไปได้ไกลสมบูรณ์ด้วย
    รัศมีและกำลัง.

    อังกุรพานิชจึงถามรุกขเทวดานั้นว่า

    ฝ่ามือของท่านมีสีดังทองคำทั่วไป ทรงไว้ซึ่งวัตถุที่บุคคลอื่นปรารถนาด้วย นิ้วทั้ง ๕ เป็นที่ไหลออกแห่งวัตถุมีรสอร่อย วัตถุมีรสต่างๆ ย่อมไหลออกจากฝ่ามือของท่าน ข้าพเจ้าเข้าใจว่าท่านเป็นท้าวสักกะ.

    รุกขเทวดาตอบว่า

    เราไม่ใช่เทพเจ้า ไม่ใช่คนธรรพ์ ไม่ใช่ท้าวสักกปุรินททะ ดูกรอังกุระ
    ท่านจงทราบว่าเราเป็นเปรต จุติจากโรรุวนครมาอยู่ที่ต้นไทรนี้.

    อังกุรพาณิชถามว่า

    เมื่อก่อน ท่านอยู่ในโรรุวนคร ท่านมีปกติอย่างไร มีความประพฤติ
    อย่างไร ผลบุญสำเร็จที่ฝ่ามือของท่าน เพราะพรหมจรรย์อะไร?

    รุกขเทวดาตอบว่า

    เมื่อก่อน เราเป็นช่างหูกอยู่ในโรรุวนคร เป็นคนกำพร้าเลี้ยงชีวิตโดย
    ความลำบากนัก เราไม่มีอะไรจะให้ทาน เรือนของเราอยู่ใกล้เรือนของ
    อสัยหเศรษฐี ซึ่งเป็นคนมีศรัทธาเป็นทานาธิบดี มีบุญอันทำแล้ว เป็น
    ผู้ละอายต่อบาป พวกยาจกวณิพกมีนามแลโคตรต่างๆ กัน ไปที่บ้านของ
    เรานั้น พากันถามถึงเรือนของอสัยหเศรษฐีกะเราว่า ขอความเจริญจงมี
    แก่ท่านทั้งหลาย พวกเราจะไปทางไหน ทานเขาให้ที่ไหน เราถูกพวก
    ยาจกวณิพกถามแล้ว ได้ยกมือเบื้องขวาชี้บอกเรือนของอสัยหเศรษฐีแก่
    ยาจกวณิพกเหล่านั้นว่า ท่านทั้งหลายจงไปทางนี้ ความเจริญจักมีแก่ท่าน
    ทั้งหลาย ทานเขาให้อยู่ที่นั่น เพราะเหตุนั้น ฝ่ามือของเราจึงให้สิ่งที่น่า
    ปรารถนาเป็นที่ไหลออกแห่งวัตถุมีรสอร่อย ผลบุญย่อมสำเร็จที่ฝ่ามือ
    ของเราเพราะพรหมจรรย์นั้น.

    อังกุรพาณิชถามว่า

    ได้ยินว่า ท่านไม่ได้ให้ทานแก่ใครๆ ด้วยมือทั้งสองของตนเป็นแต่
    เพียงอนุโมทนาทานของคนอื่น ยกมือชี้บอกทางให้ เพราะเหตุนั้นฝ่ามือ
    ของท่านจึงให้สิ่งที่น่าใคร่ เป็นที่ไหลออกแห่งวัตถุมีรสอร่อย ผลบุญ
    ย่อมสำเร็จที่ฝ่ามือของท่านเพราะพรหมจรรย์นั้น ข้าแต่ท่านผู้เจริญ
    อสัยหเศรษฐีผู้เลื่อมใส ได้ให้ทานด้วยมือทั้งสองของตน ละร่างกาย
    มนุษย์แล้ว ไปทางทิศไหนหนอ?

    รุกขเทวดาตอบว่า

    เราไม่รู้ทางไปหรือทางมาของอสัยหเศรษฐี ผู้เป็นเจ้าของแห่งทาน ผู้มี
    รัศมีซ่านออกจากตน แต่เราได้ฟังมาในสำนัก ของท้าวเวสสุวัณว่า
    อสัยหเศรษฐี ถึงความเป็นสหายแห่งท้าวสักกะ.

    อังกุรพาณิชกล่าวว่า

    บุคคลควรทำความดีแท้ ควรให้ทานตามสมควร ใครได้เห็นฝ่ามืออันให้ สิ่งที่น่าใคร่แล้ว จักไม่ทำบุญเล่า เราไปจากที่นี้ถึงทวารกนครแล้ว จัก
    รีบให้ทานอันจักนำความสุขมาให้เราแน่แท้ เราจักให้ข้าว น้ำ ผ้า
    เสนาสนะ บ่อน้ำ และสะพานในที่เดินยากเป็นทาน.

    อังกุรพาณิชถามว่า

    เพราะเหตุไร นิ้วมือของท่านจึงงอหงิก ปากของท่านจึงเบี้ยวและนัยน์ตาทะเล้นออก ท่านได้ทำบาปกรรมอะไรไว้?

    เปรตนั้นตอบว่า

    เราอันคฤหบดีตั้งไว้ในการให้ทาน ในโรงทานของคฤหบดี ผู้มีอังคีรส ผู้มีศรัทธา เป็นฆราวาส ผู้ครอบครองเรือนเห็นยาจกผู้มีความประสงค์
    ด้วยโภชนะ มาที่โรงทานนั้น ได้หลีกไปทำการบุ้ยปากอยู่ ณ ที่ข้างหนึ่ง
    เพราะกรรมนั้น นิ้วของเราจึงงอหงิก ปากของเราจึงเบี้ยว นัยน์ตาทะเล้น
    ออกมา เราได้ทำบาปกรรมนั้นไว้.

    อังกุรพาณิชถามว่า

    แน่ะบุรุษเลวทราม การที่ท่านมีปากเบี้ยว ตาทั้ง ๒ ทะเล้นเป็นการชอบ
    แล้ว เพราะท่านได้ทำการบุ้ยปากต่อทานของผู้อื่น ก็ไฉน อสัยหเศรษฐี
    เมื่อจะให้ทานจึงได้มอบข้าว น้ำของเคี้ยว ผ้า และเสนาสนะ ให้ผู้อื่น
    จัดแจง ก็เราไปจากที่นี่ถึงทวารกะนครแล้ว จักเริ่มให้ทานที่นำความสุข
    มาให้แก่เราแน่แท้ เราจักให้ข้าว น้ำ ผ้า เสนาสนะ บ่อน้ำสระน้ำ
    และสะพานทั้งหลายในที่เดินลำบาก เป็นทาน ก็อังกุรพาณิชกลับจาก
    ทะเลทราย ไปถึงทวารกะนครแล้วได้เริ่มให้ทาน อันจะนำความสุขมาให้
    ตนได้ให้ข้าว น้ำ ผ้า เสนาสนะ บ่อน้ำ สระน้ำ ด้วยจิตอันเลื่อมใส.
    ช่างกัลบก พ่อครัว ชาวมคธ พากันป่าวร้องในเรือนของอังกุรพาณิช
    นั้น ทั้งในเวลาเย็น ทั้งในเวลาเช้าทุกเมื่อว่า ใครหิวจงมากินตามชอบ
    ใจ ใครกระหายจงมาดื่มตามชอบใจ ใครจักนุ่งห่มผ้าจงนุ่งห่ม ใครต้อง
    การพาหนะสำหรับเทียมรถ จงเทียมพาหนะในคู่แอกนี้ ใครต้องการร่ม
    จงเอาร่มไป ใครต้องการของหอม จงมาเอาของหอมไป ใครต้องการ
    ดอกไม้จงมาเอาดอกไม้ไป ใครต้องการรองเท้า จงมาเอารองเท้าไป
    มหาชนย่อมรู้เราว่า อังกุระนอนเป็นสุข ดูกรสินธุมาณพ เรานอนเป็น
    ทุกข์ เพราะไม่ได้เห็นพวกยาจก มหาชนรู้เราว่า อังกุระนอนเป็นสุข
    ดูกรสินธุกมาณพ เรานอนเป็นทุกข์ ในเมื่อวณิพกมีน้อย.

    สินธุมาณพได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาความว่า

    ถ้าท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่กว่าชาวดาวดึงส์ และเป็นใหญ่กว่าโลกทั้งปวง
    พึงให้พรท่าน ท่านเมื่อจะเลือก พึงเลือกเอาพรเช่นไร?

    อังกุรพาณิชกล่าวว่า

    ถ้าท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่กว่าชาวดาวดึงส์ พึงให้พรแก่เราจะพึงขอพรว่า
    เมื่อเราลุกขึ้นแต่เช้า ในเวลาพระอาทิตย์ขึ้น ขอภักษาหารอันเป็นทิพย์
    และพวกยาจกผู้มีศีลพึงปรากฏ เมื่อเราให้อยู่ ไทยธรรมไม่พึงสิ้นไป
    ครั้นเราให้ทานนั้นแล้ว ไม่พึงเดือดร้อนในภายหลัง เมื่อกำลังให้พึงยัง
    จิตให้เลื่อมใส ข้าแต่ท้าวสักกะ ข้าพเจ้าพึงเลือกเอาพรอย่างนี้.

    โสณกบุรุษกล่าวเตือนอังกุรพาณิชว่า

    บุคคลไม่พึงให้ทรัพย์เครื่องปลื้มใจทั้งหมดแก่บุคคลอื่น ควรให้ทานและควรรักษาทรัพย์ไว้ เพราะว่าทรัพย์เท่านั้นประเสริฐกว่าทาน สกุลทั้ง
    หลายย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะการให้ทานเกินประมาณไป บัณฑิตย่อมไม่
    สรรเสริญการไม่ให้ทานและการให้เกินควร เพราะเหตุผลนั้นแล ทรัพย์
    เท่านั้นประเสริฐกว่าทาน บุคคลผู้เป็นปราชญ์ สมบูรณ์ด้วยธรรม ควร
    ประพฤติโดยพอเหมาะ.

    อังกุรพาณิชกล่าวว่า

    ดูกรชาวเราทั้งหลาย ดีหนอ เราพึงให้ทานแล ด้วยว่าสัปบุรุษผู้สงบ
    ระงับพึงคบหาเรา เราพึงยังความประสงค์ของวณิพกทั้งปวงให้เต็ม เลี้ยง
    ดูให้อิ่มหนำ เปรียบเหมือนฝนยังที่ลุ่มทั้งหลายให้เต็มฉะนั้น สีหน้าของ
    บุคคลใดย่อมผ่องใส เพราะเห็นพวกยาจก บุคคลนั้นครั้นให้ทานแล้วมี
    ใจเบิกบาน ข้อนั้นเป็นความสุขของบุคคลผู้อยู่ครองเรือน สีหน้าของ
    บุคคลใดย่อมผ่องใสเพราะเห็นพวกยาจก บุคคลนั้นครั้นให้ทานแล้ว
    ย่อมปลาบปลื้มใจ นี้เป็นความถึงพร้อมแห่งยัญบุคคล ก่อนแต่ให้ก็มีใจ
    เบิกบาน เมื่อกำลังให้ก็ยังจิตให้ผ่องใส ครั้นให้แล้ว ก็มีใจเบิกบาน นี้
    เป็นความถึงพร้อมแห่งยัญ.

    พระสังคีติกาจารย์กล่าวคาถาทั้งหลายความว่า

    ในเรือนของอังกุรพาณิชผู้มุ่งบุญ โภชนะอันเขาให้แก่หมู่ชนวันละ ๖
    หมื่นเล่มเกวียนเป็นนิตย์ พ่อครัว ๓๐๐๐ คน ประดับด้วยต่างหูอันวิจิตร
    ด้วยมุกดาและแก้วมณี เป็นผู้ขวนขวายในการให้ทาน พากันเข้าไปอาศัย
    อังกุรพาณิชเลี้ยงชีวิต มาณพ ๖ หมื่นคน ประดับด้วยต่างหูอันวิจิตร
    ด้วยแก้วมุกดา และแก้วมณี ช่วยกันผ่าฟืนสำหรับหุงอาหาร ในมหา
    ทานของอังกุรพาณิชนั้น พวกนารี ๑๖๐๐๐ คนประดับด้วยอลังการทั้งปวง
    ช่วยกันบดเครื่องเทศสำหรับปรุงอาหาร ในมหาทานของอังกุรพาณิชนั้น
    นารีอีก ๑๖๐๐๐ คน ประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง ถือทัพพีเข้ายืน
    คอยรับใช้ในมหาทานของอังกุรพาณิชนั้น อังกุรพาณิชนั้น ได้ให้ของ
    เป็นอันมากแก่มหาชนโดยประการต่างๆ ได้ทำความเคารพ และความ
    ยำเกรงในกษัตริย์ด้วยมือของตนเองบ่อยๆ ให้ทานโดยประการต่างๆ
    สิ้นกาลนานอังกุรพาณิช ยังมหาทานให้เป็นไปแล้วสิ้นเดือน สิ้นปักษ์
    สิ้นฤดู และปีเป็นอันมากตลอดกาลนาน อังกุรพาณิชได้ให้ทานและทำ
    การบูชาแล้วอย่างนี้ ตลอดกาลนาน ละร่างมนุษย์แล้ว ได้ไปบังเกิด
    ในดาวดึงส์ อินทกมาณพได้ถวายภิกษาทัพพีหนึ่ง แก่พระอนุรุทธเถระ
    ละร่างมนุษย์แล้ว ได้ไปบังเกิดในดาวดึงส์เหมือนกัน แต่อินทกเทพบุตร
    รุ่งเรืองยิ่งกว่าอังกุรเทพบุตรโดยฐานะ ๑๐ อย่าง คือ รูป เสียง กลิ่น รส
    โผฏฐัพพะ อันน่ารื่นรมย์ใจ อายุ ยศ วรรณะ สุข และความเป็นใหญ่.

    พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า

    ดูกรอังกุระ มหาทานท่านได้ให้แล้วสิ้นกาลนาน ท่านมาในสำนักของเราไฉนจึงนั่งอยู่ไกลนัก?
    เมื่อพระพุทธเจ้าผู้เป็นอุดมบุรุษ ประทับอยู่ที่บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์
    ภายใต้ต้นปาริฉัตตกพฤกษ์ ณ ดาวดึงส์ ครั้งนั้น เทวดาในหมื่นโลกธาตุ
    พากันมานั่งประชุมเฝ้าพระสัมพุทธเจ้าซึ่งประทับบนยอดเขา เทวดาไรๆ
    ไม่รุ่งโรจน์เกินกว่าพระสัมพุทธเจ้าด้วยรัศมี พระสัมพุทธเจ้าเท่านั้น ย่อม
    รุ่งโรจน์ ล่วงหมู่เทวดาทั้งปวง ครั้งนั้น อังกุรเทพบุตรนี้นั่งอยู่ไกล ๑๒
    โยชน์ จากที่พระพุทธเจ้าประทับ ส่วนอินทกเทพบุตรนั่งในที่ใกล้พระผู้มี
    พระภาค รุ่งเรืองกว่าอังกุรเทพบุตร พระสัมพุทธเจ้า ทอดพระเนตรเห็น
    อังกุรเทพบุตรกับอินทกเทพบุตรอยู่แล้ว เมื่อจะทรงประกาศทักขิไณย
    บุคคลจึงได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ความว่า ดูกรอังกุรเทพบุตร มหาทาน
    ท่านให้แล้วสิ้นกาลนาน ท่านมาสู่สำนักของเรา ไฉนจึงนั่งอยู่ไกลนัก.
    อังกุรเทพบุตร อันพระผู้มีพระภาคผู้มีพระองค์อันอบรมแล้วทรงตักเตือน
    แล้ว ได้กราบทูลว่า จะทรงประสงค์อะไรด้วยทานของข้าพระองค์นั้น อัน
    ว่างเปล่าจากทักขิไณยบุคคล อินทกเทพบุตรนี้ให้ทานนิดหน่อย รุ่งเรือง
    ยิ่งกว่าข้าพระองค์ดุจพระจันทร์ในหมู่ดาวฉะนั้น.

    อินทกเทพบุตรทูลว่า

    พืชแม้มากที่บุคคลหว่านแล้วในนาดอน ผลย่อมไม่ไพบูลย์ทั้งไม่ยังชาวนา ให้ปลื้มใจ ฉันใด ทานมากมายอันบุคคลเข้าไปตั้งไว้ในบุคคลผู้ทุศีล ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมไม่มีผลไพบูลย์ ทั้งไม่ยังทายกให้ปลาบปลื้ม พืชแม้
    น้อยอันบุคคลหว่านแล้วในนาดี เมื่อฝนหลั่งสายน้ำโดยสม่ำเสมอ ผลย่อม
    ยังชาวนาให้ปลาบปลื้มใจ แม้ฉันใด ทานแม้น้อยอันบุคคลบริจาคแล้ว
    ในท่านผู้มีศีล มีคุณความดี ผู้คงที่ บุญย่อมมีผลมาก ฉันนั้นเหมือนกัน
    ทานอันบุคคลให้แล้วในเขตใด มีผลมาก ควรเลือกให้ในเขตนั้น ทายก
    เลือกให้ทานแล้ว ย่อมไปสู่สวรรค์ ทานที่เลือกให้ พระสุคตทรงสรร
    เสริญ ทักขิไณยบุคคลเหล่าใดมีอยู่ในโลกนี้ ทานที่ทายกให้แล้วในทักขิ
    ไณยบุคคลเหล่านั้น ย่อมมีผลมากเหมือนพืชที่หว่านแล้วในนาดีฉะนั้น.

    จบ อังกุรเปตวัตถุที่ ๙.

    [MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.144356/[/MUSIC]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กุมภาพันธ์ 2007

แชร์หน้านี้

Loading...