อาการเมื่อนั่งสมาธิ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย csประกายพรึก, 26 ธันวาคม 2006.

  1. csประกายพรึก

    csประกายพรึก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    182
    ค่าพลัง:
    +436
    ขอถามลักษณะของอาการนะครับ
    1 เมื่อสมาธิแล้วรู้สึกจะวูบบ้าง หงายหลังบ้าง แต่ไม่ได้ง่วงนะครับ จนบสงทีต้องคอยฝืนเอาไว้ครับ...
    2. แล้วเวลานั่งสมาธิแล้วง่วงจะแก้ยังไงครับ..แบบว่าพอเลิกนั่งก็หายง่วงเลย
    3. แล้วอีกข้อนะครับ มันตึงที่หน้าผาก เหมือนว่าช่วงท่อนบนจะถูกดูดขึ้นไปข้างบน แต่ก็ยังรู้สึกว่านั่งอยู่กับพื้นอยู่ครับ พอลืมตาทุกอย่างก็เริ่มผ่อน กลับสู่ภาวะปกติครับ.....

    ขอรบกวนพี่ๆ ช่วยแนะนำหน่อยครับ ขอบคุณมากครับ
     
  2. neung48

    neung48 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    465
    ค่าพลัง:
    +457
    เกร็งอะจิ เลยตึงไปหมดอะครับ พอเกร็งมาร่างกายไม่ไหวก็เลยวูปไป เอาง่ายๆนะ หลับตาเบาๆ ผ่อนคลายสบายๆ ไม่ต้องคิดอาไรเลย พุทธโท ธัมมโม ไม่ต้องคิด มันจาไม่เครียด นั่งก็จาได้นานขึ้น ถ้าเบื่อง่วง ก็ให้หลับไปในสมาธิเลยครับ
     
  3. kikinlala

    kikinlala เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    4,939
    ค่าพลัง:
    +8,843
    1.ไม่เป็นไรค่ะ นั่งเฉยๆต่อไป.. ให้รับรู้เฉยๆ อย่าตื่นเต้น ตกใจ หรือดีใจ ฯลฯ
    2. ไม่ควรนั่งตอนง่วง, ทานอาหารอิ่มใหม่ๆ แต่ถ้ามีเวลาจำกัด ก็ทำได้ ง่วงก็หลับไปได้ ตื่นมาก็ทำสมาธิต่อ จะรู้สึกเป็นสมาธิง่ายขึ้น ลองดูนะคะ.
    3. ตึง .. ก็อย่างที่คุณข้างบนบอก อย่าเครียด นั่งนิ่งๆ เฉยๆ หายใจแบบผ่อนคลาย อย่าเกร็งลูกตา หรือคิ้ว ผ่อนคลายทั้งใบหน้าค่ะ

    นั่งบ่อยๆ แล้วจะดีเองค่ะ :) โมทนาบุญด้วยค่ะ
     
  4. สี่จุด

    สี่จุด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    705
    ค่าพลัง:
    +3,659
    หัดนั่งตอนแรกๆจะง่วง แต่ให้ทำสมาธิบ่อยๆ เราเองตอนแรกก็หลับในสมาธิประจำ เด๋วนี้ไม่ง่วงไม่หลับแล้ว นอกจากอยากจะหลับเอง แต่ถ้าตั้งใจทำสมาธิ ไม่เคยหลับเลยระยะหลัง ส่วนจะเกิดอาการอะไรก็ให้หายใจลึกๆ และค่อยๆผ่อนออก จะรู้สึกดีขึ้นเอง อะไรที่เกิดในระหว่างนั้น ไม่ต้องสนใจ ถือเป็นมารที่มาผจญก็แล้วกัน คิดอย่างนี้ แล้วกำหนดจิตให้นิ่ง นั่งต่อไป
     
  5. อวทม45

    อวทม45 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +1,832
    ที่วูบไปนั่นเพราะง่วง
    ที่ง่วงเพราะจิตไม่มีอารมณ์วุ่น ก็เลยว่าง ก็ง่วงเพราะไม่มีอารมณ์อื่นให้เกาะเกี่ยว อยากหลับ
    อาการต่าง ๆ นี้เกิดขึ้นได้ไม่แปลก ทำใจเป็นกลางอยู่ในฐานกรรมฐานของตน ไม่ต้องสนใจสิ่งล่อ ต่าง ๆ เรียกว่าตั้งมั่นไว้ในฐานเดียว
    แนะนำไปลานธรรมดูนะครับ
     
  6. suchi

    suchi สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    4
    ค่าพลัง:
    +10
    ๑ พอมีอาการวูบ แล้วเนื้อตัวจะซ่าน แล้วจะเห็นเป็นแสงสีขาว เพียงชั่วครู่แล้วก็หายไป เมื่อภาวนาต่อก็จะเป็นเช่นเดิมอีก อย่างนี้ควรทำอย่างไรคะ เป็นอาการของการปิติหรือไม่
    ๒ นั่งนานขาเป็นเหน็บ ภาวนาว่า ปวดหนอ ก็ไม่หายควรแก้ไขอย่างไรคะ ท่านผู้รู้ช่วยแนะนำด้วย
     
  7. misterp

    misterp เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    35
    ค่าพลัง:
    +142
    ตามที่ผมเคยอ่านมานะคับ ในหนังสือของ แสง อรุณกุศล ท่านว่า การที่ปวดตึงระหว่างคิ้วคือ การกำหนดจิตให้อยู่ระหว่างคิ้ว แล้วแปรสภาพให้เป็นนิมิตร เมื่อเพ็งจนเกิดระยะ(อาจใช้เวลาเป็นปี) จะมีการออกจากกายเนื้อ ซึ่งเป็นขั้นตอนที่อันตรายมาก เหมือนประหนึ่งว่าวิญญาณจะออกจากร่าง ต้องมีผู้รู้คอยชี้แนะ
    ผมรู้สึกว่าหนังสือ ของ แสง อรุณกุศล จะอิงแนวสมเด็จพุฒธาจาร์ยโต นะคับ
     
  8. csประกายพรึก

    csประกายพรึก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    182
    ค่าพลัง:
    +436
    ขอขอบคุณเพื่อนๆ สมาชิกทุกท่านนะครับที่ให้คำแนะนำที่ดีแก่ผม
    ผมจะพยายามปล่อยวางอารมรณ์ให้มากที่สุดได่ยังไงแล้วจะมาส่งข่าวครับ
     
  9. อักขรสัญจร

    อักขรสัญจร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    4,513
    ค่าพลัง:
    +27,181
    1 เมื่อสมาธิแล้วรู้สึกจะวูบบ้าง หงายหลังบ้าง แต่ไม่ได้ง่วงนะครับ จนบสงทีต้องคอยฝืนเอาไว้ครับ...

    - ให้ใจจดจ่ออยู่กับกองกรรมฐานที่ฝึกจ้ะ จะวูบจะหงายเป็นเรื่องของร่างกาย ปล่อยมันไปไม่เกี่ยวก๊ะเรา

    2. แล้วเวลานั่งสมาธิแล้วง่วงจะแก้ยังไงครับ..แบบว่าพอเลิกนั่งก็หายง่วงเลย

    -แก้ด้วยอาโลกสัญญา คือนึกกองกรรมฐานที่ปฏิบัติอยู่ให้สว่างไสวเหมือนตะวันยามเที่ยง

    3. แล้วอีกข้อนะครับ มันตึงที่หน้าผาก เหมือนว่าช่วงท่อนบนจะถูกดูดขึ้นไปข้างบน แต่ก็ยังรู้สึกว่านั่งอยู่กับพื้นอยู่ครับ พอลืมตาทุกอย่างก็เริ่มผ่อน กลับสู่ภาวะปกติครับ.....

    -โดนหลอกให้ลืมตาจ้ะ กำกับใจให้อยู่กับกองกรรมฐานที่ฝึก มันจะตึงจะดูดยังไงปล่อยมันไป เป็นเรื่องของกายไม่เกี่ยวก๊ะเรา
     
  10. csประกายพรึก

    csประกายพรึก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    182
    ค่าพลัง:
    +436
    ขอบคุณครับคุณอักขรสัญจร ทำให้ได้ความรู้ยิ่งขึ้นครับ
     
  11. ศรายุทธ

    ศรายุทธ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2007
    โพสต์:
    3
    ค่าพลัง:
    +21
    การนั่งสมาธิอันดับแรกให้จัดท่านั่งที่สบายหรือผ่อนคลายที่สุด ไม่งั้นจะทำให้เกร็งแล้วเกิดอาการอย่างที่ว่ามานั้น (นั่งตัวให้ตรง เชิดหน้าเล็กน้อย) ส่วนเรื่องของอาการง่วงขณะนั่งสมาธิเป็นเพราะคุณคงตั้งใจมากเกินไปบางครั้งสติมากเกินไปก็ทำให้ง่วงได้เพราะอินทรีย์ไม่สมดุลกัน ส่วนข้อสามนั้นเป็นเพราะจิตเริ่มเป็นสมาธิน้อยๆ แล้วจึงละความรู้สึกบางส่วนไปได้
    ก็พยายามนั่งไปเรื่อยๆ เวลาที่คุณสัมผัสกับเวทนาตัวใด ไม่ว่าจะง่วง หรือปวดหรือเมื่อย ก็ให้ใช้สติไปจับอยู่กับมัน ดูมันไปเรื่อยๆ เดี๋ยวมันก็หายไปเอง
    ที่ตอบมาก็มาจากประสบการณ์บางส่วนผิดพลาดประการใด้ขอท่านผู้รู้ทั้งหลายโปรดอภัยด้วย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 มกราคม 2007
  12. นายฉิม

    นายฉิม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2004
    โพสต์:
    2,099
    ค่าพลัง:
    +2,696
    จะเป็นอะไรก็ช่างมันสิครับ ดูลมหายใจเราอย่างเดียวพอ
     
  13. csประกายพรึก

    csประกายพรึก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    182
    ค่าพลัง:
    +436
    พักนี้มานั่งนับลมหายใจแทนได้วันละร้อยกว่าๆ ในช่วงเช้าเท่านั้น นอกนั้นจิตใจมันจะวุ่นอย่างมากเลยครับ มีหลายเรื่องมาก แต่ที่ว่านับลมหายใจคือว่าเดินไปบ้างนั่งบนรถบ้าง...เป็นขั้นขนิกะเท่านั้นหรอครับ
     
  14. ศรายุทธ

    ศรายุทธ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2007
    โพสต์:
    3
    ค่าพลัง:
    +21
    สมาธิไม่ได้ขึ้นอยู่กับอากัปกิริยาที่กระทำคับ ไม่ว่าคุณจะเดิน ยืน นั่ง หรือนอน ก็สามารถทำอัปปณาสมาธิให้เกิดได้ ขึ้นอยู่กับสภาวะจิตในขณะนั้น ขณิกะสมาธิเมื่อฝึกฝนไปเรื่อยๆ จนชำนาญ ก็จะเลื่อนขั้นเป็นอุปจารสมาธิและอัปปณาสมาธิต่อไปโดยอัตโนมัต ดังนั้นคุณจึงไม่ควรกังวลว่าการภาวนาของคุณถึงระดับไหน เพราะนั่นจัดเป็นวิจิกิจฉา ซึ่งจะขวางการเข้าสู่สมาธิขั้นฌาณของคุณเอง พยายามเข้าคับ
     
  15. csประกายพรึก

    csประกายพรึก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    182
    ค่าพลัง:
    +436
    ขอบคุณครับ นับว่าเป็นคำแนะนำที่ดีมากครับ
     
  16. gun_sanguthai

    gun_sanguthai Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2005
    โพสต์:
    4
    ค่าพลัง:
    +48
    ผมก็เป็นคล้ายๆ คุณ suchi และคุณ CSฯ

    เรื่องง่วงนี้แทบจะวิจัยหาสาเหตุเป็นเดือนๆเลยละครับ ก่อนคนเราจะหลับได้ นี้เท่าที่ผมสังเกตุจากตัวเองนะครับ จิตจะเลิกยุ่งกับภาพที่มาจากตา เสียงที่มาจากหู กลิ่นที่มาจากจมูก สัมผัสที่มาจากร่างกาย รสชาติที่มาจากลิ้น พอจิตเลิกยุ่งก็เลิกคิด มันจะย้อนกลับมาที่มโนทวาร ถ้ามโนทวารไม่สร้างภาพใหม่(ภาพที่ตั้งใจคิดให้เกิด)ขึ้นมาให้จิตคอยคิด เราก็จะหลับ แต่ถ้าใจคิดเรื่องต่างๆเราก็ไม่หลับ เมื่อไรเลิกก็หลับอาการก่อนหลับถ้าตั้งใจสังเกตุ จะสามารถรู้ได้ นี้คือถ้าเราคิดจะนอนนะครับ

    แต่ถ้าตอนนั้งสมาธิ ลักษณะคล้ายกัน แต่ต่างกันตรงที่สติเราจะมั่นคงกว่า มันจะง่วงมาก จนเหมือนหลับ แต่เรารู้ว่ายังนั้งอยู่ไม่หลับ มโนทวารจะเปิดสร้างภาพแบบละเอียด (หมายถึงไม่ตั้งใจคิด แต่เราคิดเองชนิดที่เรียกว่า เราคิดว่าภาพมันเกิดเอง) ภาพนี้เหมือนจริงยิ่งกว่าตอนเราลืมตาทำงานแต่ใจนึกถึงทะเล ภาพนี้คล้ายความฝันเวลาเรานอนฝันตอนใกล้สว่างมากๆ และผมเองที่สติยังไม่แก่กล้า ก็ไปตามภาพนี้เป็นประจำ ทั้งที่อ่านตำรามามากว่าให้ทิ้งภาพ และตั้งใจว่ารู้เท่านั้น ไม่นานภาพนี้จะหายไปเมื่อเรามีสติแบบแรงๆอีกครั้งมากระทุ้ง หรือบางทีจิตไปเกาะเสียงภายนอนที่ดังขึ้นมากระทันหันเช่นคนเดิน สติกลับมาจะมีแสงสว่างสีขาวปรากฎเสี่ยวหนึ่งแล้วหายไป ทั้งหมดนี้ที่ผมเจอมาบอกว่า ผมสติยังอ่อนมากครับ และยังวนเวียนอยู่เพียงแค่นี้

    ส่วนเรื่องปวดเมื่อย ให้คิดเสียว่าเราฝึกที่ใจ ไม่ได้ฝึกที่กาย ดังนี้ช่างหัวมันกับอาการเมื่อย

    แค่มีส่วนร่วมในการเล่าประสบการณ์นะครับ
     
  17. csประกายพรึก

    csประกายพรึก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    182
    ค่าพลัง:
    +436
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p> </o:p>
    <o:p>๑. ขุททกาปีติ มีลักษณะ คือ <TABLE class=pback cellSpacing=0 cellPadding=0 width=349 align=center border=0><TBODY><TR><TD class=pblack vAlign=top align=left width=319>๑. เกิดอาการคล้ายหนังหัวพองและขนลุก เป็นดังอาบน้ำในเวลาหนาว
    ๒. เกิดปรากฏเป็นดังเส้นผมตำแลคายเพียงเล็กน้อย
    ๓. เกิดในหทัยวัตถุให้สั่นระรัวเป็นดั่งปั่นผลหมาก
    ๔. เกิดในการให้เนื้อตัวหนักมึนตึงและเวียนอยู่
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    </o:p>
     
  18. csประกายพรึก

    csประกายพรึก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    182
    ค่าพลัง:
    +436
    ๒. ขณิกาปีติ มีลักษณะ คือ <TABLE class=pback cellSpacing=0 cellPadding=0 width=349 align=center border=0><TBODY><TR><TD class=pblack vAlign=top align=left width=319>๑. ให้ปรากฏในจักขุทวารเป็นดังฟ้าแลบและเป็นประกายดังตีเหล็กไฟ
    ๒. เกิดในกายทวารเป็นดังปลาซิวตอดในเวลาอาบน้ำ
    ๓. เกิดเนื้อเต้นและเอ็นกระตุก
    ๔. เกิดในการให้ตัวร้อนทั่วไป
    ๕. เกิดแสบทั่วกาย ให้กายแข็งอยู่
    ๖. เกิดเป็นดังแมลงเม่าไต่ตอมตามตัว
    ๗. เกิดในอกให้หัวใจและท้องร้อน
    ๘.เกิดในใจสั่นหวั่นไหว
    ๙. เกิดในการให้เห็นเป็นสีเหลือง สีขาวเป็นไฟไหม้น้ำมันยางลามไปในน้ำ </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  19. csประกายพรึก

    csประกายพรึก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    182
    ค่าพลัง:
    +436
    ๓. โอกกันติกาปีติ มีลักษณะ คือ <TABLE class=pback cellSpacing=0 cellPadding=0 width=349 align=center border=0><TBODY><TR><TD class=pblack vAlign=top align=left width=319>๑. กายไหวดังคลื่นกระทบฝั่ง
    ๒. เป็นดั่งน้ำกระเพื่อมเกิดเป็นฟองน้ำ
    ๓. เกิดเป็นดังขี่เรือข้าน้ำมีระลอก
    ๔. กายและในเป้นดังไม้ปักไว้กลางสายน้ำไหล สั่นระรัวอยู่
    ๕. เป็นดังน้ำวน
    ๖. เป็นดังหัว อก ไหล่ และท้องน้อยหนักผัดผันอยู่
    ๗. เกิดวาบขึ้นเป็นดังไฟลุก
    ๘ .เกิดเป็นดังลมพัดขึ้นทั่วกาย</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  20. csประกายพรึก

    csประกายพรึก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    182
    ค่าพลัง:
    +436
    ๔. อุพเพงคาปีติ มีลักษณะ ๘ คือ
    <TABLE class=pback cellSpacing=0 cellPadding=0 width=349 align=center border=0><TBODY><TR><TD class=pblack vAlign=top align=left width=319>๑. เกิดพองกายเนื้อตัวทั้งมวลหวั่นไหวอยู่
    ๒. เกิดเต้นเหยงๆ ขึ้น และลุกแล่นไป
    ๓. เกิดร้อนทั่วตัวและทั่วสันหลัง ศีรษะ สะเอว และท้องน้อย
    ๔. เกิดแสบร้อนป็นไอขึ้นทั้งตัว เป็นดังไอข้าวสุกร้อน
    ๕. เกิดปวดท้อง และปวดน่องเป็นดังลงท้องเป็นบิด
    ๖. กายและเนื้อตัวเบาและสูงขึ้น
    ๗. หนักแข้ง ขา บั้นเอว ศีรษะ เป็นดังไข้จับ
    ๘. เกิดเป็นสมาธิหนัก และเย็นอยู่</TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...