อานาปานสติบริบูรณ์ ย่อมทำสติปัฏฐานให้บริบูรณ์ (พุทธวจน)

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย hisakata, 17 กันยายน 2010.

  1. hisakata

    hisakata เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    15
    ค่าพลัง:
    +402
    (กล่าวนำ - คือ แอบสงสัยมานานว่า อานาปานสติทำอย่างไร สติปัฏฐานทำอย่างไร วันนี้ได้รับความกระจ่างแล้วค่ะ จากการอ่านพุทธวจนค่ะ แยกเป็น 4 หมวดตามสีนะคะ หวังว่าท่านผู้อ่านจะได้รับประโยชน์มากกว่าหรือเท่า ๆ กับที่ดิฉันได้รับนะคะ :cool:)



    ภิกษุ ท. ! ก็อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้วทำให้มากแล้วอย่างไรเล่า จึงทำสติปัฏฐานทั้ง ๔ ให้บริบูรณ์ได้?


    ภิกษุ ท.! สมัยใด ภิกษุ

    เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว,

    เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว;

    เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น,

    เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น;


    ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า

    เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจเข้า”,
    ว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก” ;


    ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า

    เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับอยู่ หายใจเข้า”, ว่า เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับอยู่ หายใจออก” ;


    ภิกษุ ท.! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้ตามเห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ เป็นผู้มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.


    ภิกษุ ท. ! เราย่อมกล่าวลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ว่าเป็นกายอย่างหนึ่งๆ ในบรรดากายทั้งหลาย.


    ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้นในกรณีนี้ ภิกษุนั้นย่อมชื่อว่า เป็นผู้ตามเห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.


    ภิกษุ ท. ! สมัยใด ภิกษุ

    ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า

    เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจเข้า”, ว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจออก” ;


    ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า

    เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจเข้า”, ว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุขหายใจออก” ;


    ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า

    เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจเข้า”, ว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจออก” ;


    ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า

    เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับอยู่ หายใจเข้า”, ว่า เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับอยู่หายใจออก” ;


    ภิกษุ ท. ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้ตามเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ เป็นผู้มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.


    ภิกษุ ท. ! เราย่อมกล่าวว่า การทำในใจเป็นอย่างดีถึงลมหายใจเข้า และลมหายใจออก ว่าเป็นเวทนาอย่างหนึ่งๆ ในบรรดาเวทนาทั้งหลาย.


    ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้นในกรณีนี้ ภิกษุนั้นย่อมชื่อว่าเป็นผู้ตามเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.



    ภิกษุ ท. ! สมัยใด ภิกษุ

    ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า

    เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจเข้า”, ว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตหายใจออก” ;


    ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า


    เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่ หายใจเข้า”, ว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่ หายใจออก” ;


    ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า

    เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ หายใจเข้า”, ว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่หายใจออก” ;


    ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า

    เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจเข้า” , ว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่หายใจออก” ;


    ภิกษุ ท. ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่าเป็นผู้ตามเห็นจิตในจิต อยู่เป็นประจำ เป็นผู้มีความเพียรเผากิเลสมีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.


    ภิกษุ ท. ! เราไม่กล่าวว่าอานาปานสติ เป็นสิ่งที่มีได้แก่บุคคลผู้มีสติอันลืมหลงแล้ว ผู้ไม่มีสัมปชัญญะ.

    ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้นในกรณีนี้ ภิกษุนั้นย่อมชื่อว่า เป็นผู้ตามเห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.



    ภิกษุ ท. ! สมัยใด ภิกษุ


    ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า

    เราเป็นผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”, ว่า เราเป็นผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจออก;



    ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า

    เราเป็นผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”, ว่า เราเป็นผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจออก” ;



    ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า

    เราเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”, ว่า เราเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจออก” ;


    ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า

    เราเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”, ว่า เราเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจออก ;


    ภิกษุ ท. ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้ตามเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผา[FONT=AngsanaNew][SIZE=5]กิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้[/SIZE][/FONT][FONT=AngsanaNew][SIZE=5].[/SIZE][/FONT]


    [SIZE=5][COLOR=darkorange]ภิกษุ ท[/COLOR][/SIZE][FONT=AngsanaNew][SIZE=5]. ! [/SIZE][/FONT][FONT=AngsanaNew][SIZE=5]ภิกษุนั้น [/SIZE][/FONT][FONT=AngsanaNew-Bold][SIZE=5][B]เป็นผู้เข้าไปเพ่งเฉพาะเป็นอย่างดีแล้ว เพราะเธอเห็นการละอภิชฌาและโทมนัสทั้งหลายของเธอนั้นด้วยปัญญ[/B][/SIZE][/FONT][FONT=AngsanaNew][SIZE=5][B]า[/B][/SIZE][/FONT][FONT=AngsanaNew][SIZE=5].[/SIZE][/FONT]


    [FONT=AngsanaNew][COLOR=darkorange]ภิกษุ ท[/COLOR][/FONT][SIZE=5][COLOR=darkorange]. ! [/COLOR][/SIZE][SIZE=5][COLOR=darkorange]เพราะเหตุนั้นในกรณีนี้ ภิกษุนั้นย่อม[/COLOR][/SIZE][FONT=AngsanaNew][COLOR=darkorange]ชื่อว่าเป็นผู้ตามเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำมีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้[/COLOR][/FONT][SIZE=5][COLOR=darkorange].[/COLOR][/SIZE]



    [FONT=AngsanaNew]ภิกษุ ท[/FONT][SIZE=5]. ! [/SIZE][FONT=AngsanaNew-Bold][SIZE=5]อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้ว[/SIZE][/FONT][SIZE=5][FONT=AngsanaNew-Bold]ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อมทำสติปัฏฐานทั้ง ๔ ให้บริบูรณ์ได้[/FONT][/SIZE].​

    [SIZE=5]ที่มา: [I][FONT=AngsanaNew-Italic]ปฐมภิกขุสูตร มหาวาร[/FONT][/I][FONT=AngsanaNew]. [/FONT][I][FONT=AngsanaNew-Italic]สํ[/FONT][/I][FONT=AngsanaNew]. [/FONT][I][FONT=AngsanaNew-Italic]๑๙[/FONT][/I][FONT=AngsanaNew]/[/FONT][I][FONT=AngsanaNew-Italic]๔๒๔[/FONT][/I][FONT=AngsanaNew]/[/FONT][I][FONT=AngsanaNew-Italic]๑๔๐๒ [/FONT][/I][FONT=AngsanaNew]- [/FONT][I][FONT=AngsanaNew-Italic]๑๔๐๓[/FONT][/I][FONT=AngsanaNew].[/FONT][/SIZE]

    [SIZE=5][FONT=AngsanaNew]พุทธวจน อานาปานสติ[/FONT][/SIZE]

    [SIZE=5][FONT=AngsanaNew]พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตถิผโล[/FONT][/SIZE]

    [SIZE=5][FONT=AngsanaNew]วัดนาป่าพง คลอง 10[/FONT][/SIZE]





     

แชร์หน้านี้

Loading...