เรื่องเด่น ฮือฮา! พบ ช้างป่า ตรงตามตำราโบราณ เชื้อสาย พระเศวต ช้างประจำ ร.9

ในห้อง 'ในหลวงกับพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 2 พฤศจิกายน 2018.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,319
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,274
    ค่าพลัง:
    +9,590
    b89ee0b89a-e0b88ae0b989e0b8b2e0b887e0b89be0b988e0b8b2-e0b895e0b8a3e0b887e0b895e0b8b2e0b8a1e0b895.jpg
    ฮือฮา! พบ ช้างป่า ตรงตามตำราโบราณ เชื้อสาย พระเศวต ช้างประจำ ร.9


    ช้างป่า เชื้อสาย พระเศวต ช้างประจำ ร.9 / จากกรณีนายสำเริง ละม้าย หัวหน้าชุดผลักดันช้างอุทยานแห่งชาติเขาหลวง นำเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติฯ เข้าป้องกันพืชสวนระหว่างรอยต่อบริเวณหมู่ 6 ต.นาเหรง อ.นบพิตำ และหมู่ 1 ต.ทอนหงส์ อ.พรหมคีรี จ.นครศรีธรรมราช เพื่อป้องกันแนวพื้นที่ไม่ให้ช้างป่า 1 ตัว ที่เดินเข้ามาหากินในบริเวณสวนผลไม้และสวนยางพาราและเข้าใกล้หมู่บ้านจนทำให้ชาวบ้านหวาดผวาเพราะเกรงว่าอาจะเป็นอันตราย

    ขณะที่พบเป็นช้างป่าเพศผู้ มีขนาดใหญ่ ลักษณะโคนงาใหญ่อวบ ผิวหนังตึงมีสีนิลเสมอทั้งร่าง มีกล้ามเนื้อสมส่วน หลังโค้งลาดสวยงาม นั้น

    วันที่ 2 พ.ย. นายสัตวแพทย์พรภิรมย์ ฟุ้งตระกูล สัตวแพทย์อาสามูลนิธิเพื่อนช้างภาคใต้ ซึ่งเป็นสัตวแพทย์ที่ออกดูแลสุขภาพช้างเลี้ยงและแก้ไขปัญหาช้างป่าใน จ.นครศรีธรรมราช มานานกว่า 20 ปี กล่าวว่า หลังได้พิจารณาภาพถ่ายช้างป่าเพศผู้ตัวนี้อย่างละเอียดแล้ว รู้สึกตื่นเต้น


    เนื่องจากช้างเพศผู้ตัวดังกล่าวนั้นมีลักษณะพิเศษ ถือว่ามีความแปลกมาก มีลักษณะเป็นช้างมงคลตามตำราโบราณซึ่งถูกแบ่งเป็น 4 ลักษณะสายตระกูล คือช้างตระกูลพรหมพงศ์ , ตระกูลอิศวรพงศ์ , ตระกูลวิษณุพงศ์ และตระกูลอัคนีพงศ์

    [​IMG] [​IMG]

    ช้างตัวที่พบนี้มีลักษณะสำคัญอยู่ในตระกูลวิษณุพงศ์ กล่าวคือสีผิวมีสีดำเสมอกันทั้งตัวไม่มีสีอื่นเจือปน งาขาวสีเช่นเดียวกับสังข์ รูปร่างสูงใหญ่สวยงามสมส่วน เดินสง่างาม สอดคล้องกับช้างตัวที่พบนี้ นับว่าเป็นเรื่องที่ดีมากที่พบช้างมงคลเช่นนี้ ถือเป็นสมบัติของนครศรีธรรมราชโดยแท้

    ในทางพันธุกรรมเชื่อว่าสายพันธุ์ช้างนครศรีธรรมราชมีความเชื่อมโยงผูกพันกับพระเศวต ช้างสำคัญประจำรัชกาลที่ 9 ซึ่งเป็นช้างในถิ่นนครศรีธรรมราช รอยต่อกับจังหวัดกระบี่ ดังนั้นเชื่อว่าเชื้อสายลักษณะพันธุกรรมความเป็นมงคลของช้างจะมีความเชื่อมโยงกัน เนื่องจากพื้นที่ของป่าถิ่นอาศัยไม่ได้ห่างไกลกัน

    นายสัตวแพทย์พรภิรมย์ ฟุ้งตระกูล ยังกล่าวด้วยว่า สมัยโบราณช้างนครศรีธรรมราชถูกคัดเลือกเป็นช้างศึกจำนวนมาก หลังจากเสร็จภารกิจเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชจะปล่อยคืนป่า ลักษณะของช้างจึงมีการถ่ายทอดความเป็นมงคลของช้างที่ยังคงอยู่ถึงปัจจุบันด้วย

    หลังจากนี้ต้องเป็นเรื่องที่ชาวนครศรีธรรมราช ผู้ที่อยู่ใกล้เคียงกับพื้นที่หากินของช้างต้องช่วยกันดูแลรักษาร่วมกับกรมอุทยาน ที่จะต้องสร้างความร่วมมือระหว่างกัน ซึ่งในจังหวัดนครศรีธรรมราช มีช้างอาศัยอยู่ในป่าประมาณ 3-4 โขลง ซึ่งจะพบเห็นบ่อยในพื้นที่พรหมคีรี และ อ.นบพิตำ ต้องสร้างความเข้าใจกันระหว่างคนกับช้างเพื่อไม่ให้เกิดการปะทะกันต่อไป



    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.khaosod.co.th/breaking-news/news_1771016
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 2 พฤศจิกายน 2018

แชร์หน้านี้

Loading...