เชิญร่วมช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ในทุรกันดารและร่วมอนุโมทนาบุญ

ในห้อง 'พระพุทธรูป - วิหารทาน - สิ่งก่อสร้าง' ตั้งกระทู้โดย man199, 30 พฤศจิกายน 2012.

  1. man199

    man199 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    43
    ค่าพลัง:
    +48
    เนื้องด้วยตอนนี้ได้จัดตั้งกู้ภัยในเขตทุรกันดาร และยังขาดรถและเรือกู้ภัยที่จะไปช่วยเหลือผู้ที่เกิดอุบัติเหตุต่างๆเนื่องจากตอนนี้มีอุบัติเหตุเยอะมาก และไม่มีรถกู้ภัยที่จะนำส่งโรงพยาบาล ท่านใด สนใจร่วมทำบุญร่วมบริจากปัจจัย เพื่อซื้อ**รถและเรือกู้ภัย*มอบให้กับกู้ภัยเขตทุรกันดาร
    ปัจจุบันในสังคมไทยมีอาสาสมัครร่วมกู้ภัยอยู่เป็นจำนวนมาก บ้างมาด้วยใจ บ้างมาด้วยผลประโยชน์ หลากหลายเหตุผลในการมาร่วมกู้ภัย แต่สาเหตุใดก็ไม่สำคัญเท่ากับการได้ช่วยเหลือคน
    ผมมีเรื่องมาเล่าให็ทุกท่านได้ฟังครับ เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมาผมเห็นอุบัติเหตุจากการขับขี่เขาได้ขับรถไปชนราวสะพานเขาได้รับอาการบาดเจ็บหลายที่ และผมก็ได้โทรแจ้งกู้ภัยแล้วก็ก็ออกมาช่วย แต่ก็ออกมาช้ามากเพราะรถกู้ภัยมีอยู่แค่ คันเดียว จนทำให้ผู้ขับขี่รถที่ไปชนสะพานเสียชีวิต ผมเลยได้เเต่ส่งสารเขา เราก็พยายามช่วยเขาเติมที่แล้วเเต่ก็ช้าเกินไป
    ส่วนอีกหนึ่งอย่างคืออยู่ทางน้ำ สองสามวันที่ผ่านมามีชาวประมงมาบอกแจ้งผมว่ามี ศพลอยน้ำอยู่ ผมก็ถ่ามเขาว่ายุตรงไหน พอผมทราบแล้วผมก็รีบเเจ้งทางกู้ภัยแต่กู้ภัยไม่มีเรือที่จะออกไป เก็บศพ ทางกู้ภัยพยายามไปพบตำรวจน้ำแต่ก็ไม่สำเร็จ ตำรวจน้ำเขาบอกว่า สารวัตรไม่ อยู่ เอาเรื่อออกไม่ได้ ผมก็ทำไรต่อไม่ได้เเล้ว ก็ต้องลอศพมาติดฝัง ตอนนี้ก็ยังลออยู่ ยังไม่รู้ว่าศพลอยไปไหนแล้วจะติดฝังเมื่อไรก็ไม่รู้
    ผมจึงตั้งโครงการตัวนี้ขึ้นมา เพื่อเชิญช่วนท่านผู้ใจบุญร่วมบริจาค และทำบุญเพื่อซื้อเรือและรถบริจาคด้วยกัน
    *ผู้มีจิตศรัทธาสามารถร่วมทำบุญได้ที่*
    *ชื่อบัญชีนาย เทิดศักดิ์ แสงทอง *
    020075855641
    *สาขา คลองใหญ่
    ธนาคาร ออมสิน*


    (เป็นบุญของท่านแล้วแต่ท่านจะทำ)
    บอกบุญการให้ธรรมทาน คือ " การสร้างสุขให้แก่โลก"
    การให้ธรรมะเป็นธรรมะทาน จัดเป็นทานที่มีผลมาก ผู้ใดให้ธรรมะเป็นทาน ผู้นั้นชื่อว่า ได้สร้างบารมีอันยิ่งใหญ่
    เพราะนอกจากจะเป็นการให้แสงสว่าง คือ ปัญญาแก่คนแล้ว ยังช่วยให้คนมีคุณธรรมในใจให้เป็นคนดีอีกด้วย
    พระพุทธเจ้าทางสรรเสริญว่า "สัพพทานัง ธัมมทานัง ชินาติ การให้ธรรมะเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง" การที่พระองค์
    ตรัสเช่นนั้นเพราะการให้ธรรมะเป็นทานเป็นการให้สิ่งที่มีค่าที่หาไม่ได้จากให้ทานด้วยวัตถุอื่น ปัจจุบัน โลกกำลังผจญ
    กับปัญหาภาวะโลกร้อน ซึ่งเป็นภัยที่น่ากลัว แต่ภัยที่น่ากลัวและทำให้โลกร้อนยิ่งกว่าก็คือ ภาวะโลกขาดธรรม
    ส่งผลให้จิตใจของมนุษย์ถูกแผดเผาด้วยไฟกิเลส แห้งแล้ง เป็นทุกข์ ไร้ชีวิตชีวา ขาดความชุ่มชื้น
    ธรรมะเปรียบดั่งน้ำที่ฉ่ำเย็น เปรียบเหมือนป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ การช่วยให้ผู้คนในโลกได้เข้าถึงและสัมผัสกับธรรมะ
    จึงเป็นการคืนความสุข ความสดชื่นแก่ผู้คนแก่สังคม และแก่โลก
    ทุกท่านสามารถให้ธรรมะเป็นทานได้ง่ายๆ ด้วยการช่วยบอก ช่วยสอน ช่วยแนะนำให้คนรอบข้างได้รู้จักใช้ธรรมะ
    แก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวัน หรือการหยิบยื่นหนังสือธรรมะดีๆสักเล่มหนึ่งให้เขาได้อ่าน ก็ชื่อได้ว่า ได้บำเพ็ญธรรมทาน
    เช่นเดียวกัน การพิมพ์หนังสือธรรมะแจกเป็นธรรมทาน ถือเป็นการเติมเชื้อธรรมะ
    ให้แผ่กระจายอย่างทั่วถึงและยาวนาน

    อานิสงส์ของการให้ทาน
    * เพื่อสติปัญญาที่เฉลียวฉลาดขึ้นทั้งภพนี้และภพหน้า
    * เพื่อจิตใจที่สว่างผ่อนปรนจากกิเลส ปล่อยวางได้ง่าย
    * จิตจะรู้วิธีแก้ปัญหาชีวิตโดยอัตโนมัติ
    * ชีวิตจะเจริญรุ่งเรืองไม่มีวันอับจน
    * ผิวพรรณผ่องใส สุขภาพกายและจิตแข็งแรง
    * เจ้ากรรมนายเวรและญาติมิตรที่ล่วงลับจะได้บุญกุศล


    อานิสงส์ของการทำทาน
    มเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสเอาไว้ว่า แม้วัตถุทานจะบริสุทธิ์ดี เจตนาในการทำทานจะบริสุทธิ์ดี จะทำให้ทานนั้นมีผลมากหรือน้อย ย่อมขึ้นอยู่กับเนื้อนาบุญเป็นลำดับต่อไปนี้ คือ

    ๑. ทำทานแก่สัตว์เดรัจฉาน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ได้บุญน้อยกว่าให้ทานดังกล่าวแก่มนุษย์ แม้จะเป็นมนุษย์ที่ไม่มีศีล ไม่มีธรรมเลยก็ตาม ทั้งนี้เพราะสัตว์ย่อมมีวาสนาบารมีน้อยกว่ามนุษย์และสัตว์ไม่ใช่เนื้อนาบุญที่ดี

    ๒. ให้ทานแก่มนุษย์ที่ไม่มีศีล ไม่มีธรรมวินัย แม้จะให้มากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าให้ทานดังกล่าวแก่ผู้ที่มีศีล ๕ แม้จะให้เพียงครั้งเดียวก็ตาม

    ๓. ให้ทานแก่ผู้ที่มีศีล ๕ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าให้ทานดังกล่าวแก่ผู้มีศีล ๘ แม้จะให้เพียงครั้งเดียวก็ตาม

    ๔. ให้ทานแก่ผู้ที่มีศีล ๘ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าถวายทานแก่ผู้มีศีล ๑๐ คือสามเณรในพุทธศาสนา แม้จะได้ถวายทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม

    ๕. ถวายทานแก่สามเณรซึ่งมีศีล ๑๐ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าถวายทานดังกล่าวแก่พระสมมุติสงฆ์ ซึ่งมีศีลปาฏิโมกข์สังวร ๒๒๗ ข้อ

    พระด้วยกันก็มีคุณธรรมแตกต่างกัน จึงเป็นเนื้อนาบุญที่ต่างกัน บุคคลที่บวชเข้ามาในพระพุทธศาสนามีศีลปาฏิโมกข์สังวร ๒๒๗ ข้อนั้น องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่ตรัสเรียกว่าเป็น "พระ" แต่เป็นเพียงพระสมมุติเท่านั้น เรียกกันว่า "สมมุติสงฆ์" พระที่แท้จริงนั้น หมายถึงบุคคลที่บรรลุคุณธรรมตั้งแต่พระโสดาปัตติผลเป็นพระโสดาบันเป็นต้นไป ไม่ว่าท่านผู้นà!
    ��้นจะได้บวชหรือเป็นฆราวาสก็ตาม นับว่าเป็น "พระ" ทั้งสิ้น และพระด้วยกันก็มีคุณธรรมต่างกันหลายระดับชั้น จากน้อยไปหามากดังนี้คือ "พระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ พระปัจเจกพุทธเจ้า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธมเจ้า" และย่อมเป็นเนื้อนาบุญที่แตกต่างกัน ดังต่อไปนี้

    ๖. ถวายทานแก่พระสมมุติสงฆ์ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานแก่ - พระโสดาบัน แม้จะได้ถวายทานดังกล่าวแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม (ความจริงยังมีการแยกเป็นพระโสดาปัตติมรรคและพระโสดาปัตติผล ฯลฯ เป็นลำดับไปจนถึงพระอรหัตผล แต่ในที่นี้จะกล่าวแต่เพียงย่นย่อพอให้ได้ความเท่านั้น)

    ๗. ถวายทานแก่พระโสดาบัน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแก่พระสกิทาคามี แม้จะถวายทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม

    ๘. ถวายทานแก่พระสกิทาคามี แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแก่พระอนาคามี แม้จะถวายทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม

    ๙. ถวายทานแก่พระอนาคามี แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแก่พระอรหันต์ แม้จะถวายทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม

    ๑๐. ถวายทานแก่พระอรหันต์ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า แม้จะถวายทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม

    ๑๑. ถวายทานแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแด่พระองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้จะถวายทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม

    ๑๒. ถวายทานแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายสังฆทานที่มีองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน แม้จะถวายสังฆทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม

    ๑๓. การถวายสังฆทานที่มีองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่า "การถวายวิหารทาน" แม้จะได้กระทำแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม "วิหารทาน ได้แก่การสร้างหรือร่วมสร้างโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ ศาลาโรงธรรม ศาลาท่าน้ำ ศาลาที่พักอาศัยคนเดินทางอันเป็นสาธารณะประโยชน์ที่ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน" อนึ่ง การสร้างสิ่งที่เป็�¸!
    �สาธารณประโยชน์หรือสิ่งที่ประชาชนใประโยชน์ร่วมกัน แม้จะไม่เกี่ยวเนื่องกับกิจในพระพุทธศาสนา เช่น "โรงพยาบาล โรงเรียน บ่อน้ำ แท็งก์น้ำ ศาลาป้ายรถยนต์โดยสารประจำทาง สุสาน เมรุเผาศพ" ก็ได้บุญมากในทำนองเดียวกัน

    ๑๔. การถวายวิหารทาน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง (๑๐๐ หลัง ) ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการให้ "ธรรมทาน" แม้จะให้แต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม "การให้ธรรมทานก็คือการเทศน์ การสอนธรรมะแก่ผู้อื่นที่ยังไม่รู้ให้รู้ได้ ที่รู้อยู่แล้วให้รู้ยิ่งๆขึ้น ให้ได้เข้าใจมรรค ผล นิพพาน ให้ผู้ที่เป็นมิจฉาทิฐิได้กลับใจเป็นสัมมาทิฐิ ชักจูงผู้คนให้เข้าปฏิบัติธรรม รวมตลอดถึงการพิมพ์การà!
    ��จกหนังสือธรรมะ"

    ๑๕. การให้ธรรมทาน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการให้ "อภัยทาน" แม้จะให้แต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม การให้อภัยทานก็คือ "การไม่ผูกโกรธ ไม่อาฆาตจองเวร ไม่พยาบาทคิดร้ายผู้อื่นแม้แต่ศัตรู" ซึ่งได้บุญกุศลแรงและสูงมากในฝ่ายทาน เพราะเป็นการบำเพ็ญเพียรเพื่อ "ละโทสะกิเลส" และเป็นการเจริญ "เมตตาพรหมวิหารธรรม" อันเป็นพรหมวิหารข้อหนึ่งในพรหมวิหาร ๔ ใà!
    ��้เกิดขึ้น อันพรหมวิหาร ๔ นั้น เป็นคุณธรรมที่เป็นองค์ธรรมของโยคีบุคคลที่บำเพ็ญฌานและวิปัสสนา ผู้ที่ทรงพรหมวิหาร ๔ ได้ย่อมเป็นผู้ทรงฌาน ซึ่งเมื่อเมตตาพรหมวิหารธรรมได้เกิดขึ้นแล้วเมื่อใด ก็ย่อมละเสียได้ซึ่ง "พยาบาท" ผู้นั้นจึงจะสามารถให้อภัยทานได้ การให้อภัยทานจึงเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและยากเย็น จึงจัดเป็นทานที่สูงกว่าการให้ทานทั้งปวง
    อย่างไรก็ดี การให้อภัยทานแม้จะมากเพียงใด แม้จะชนะการให้ทานอื่น ๆ ทั้งมวล ผลบุญนั้นก็ยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า "ฝ่ายศีล" เพราะเป็นการบำเพ็ญบารมีคนละขั้นต่างกัน


    ที่มา หนังสือการสร้างบุญบารมี
    โดย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก


    “อิทัง ปุญญะผะลัง” ผลบุญใดที่ข้าพเจ้าทั้งหลายได้บำเพ็ญแล้ว ณ โอกาสนี้ ข้าพเจ้าทั้งหลายขออุทิศส่วนกุศลนี้ให้แก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย ที่เคยล่วงเกินมาแล้ว แต่ชาติก่อนก็ดี ชาตินี้ก็ดี ขอเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายจงโมทนาส่วนกุศลนี้ ขอจงอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้าตั้งแต่วันนี้ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน
    บทอุทิศส่วนกุศลท่อนแรกนี้ ให้แก่เจ้ากรรมนายเวร หลวงปู่โตท่านมาบอก และบทอุทิศส่วนกุศลอีก ๓ ท่อน ท่านพระยายมราชท่านมาบอก มีดังนี้
    ท่อนที่สอง
    และข้าพเจ้าทั้งหลายขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่เทพเจ้าทั้งหลายที่ปกปักรักษาข้าพเจ้า และเทพเจ้าทั้งหลายทั่วสากลพิภพ และพระยายมราช ขอเทพเจ้าทั้งหลายและพระยายมราชจงโมทนาส่วนกุศลนี้ ขอจงเป็นสักขีพยาน ในการบำเพ็ญกุศลของข้าพเจ้าในครั้งนี้ด้วยเถิด
    ท่อนที่สาม
    และขออุทิศส่วนกุศลนี้ให้แก่ท่านทั้งหลายที่ล่วงลับไปแล้ว ที่เสวยความสุขอยู่ก็ดี เสวยความทุกข์อยู่ก็ดี เป็นญาติก็ดี มิใช่ญาติก็ดี ขอท่านทั้งหลายจงโมทนาส่วนกุศลนี้ พึงได้รับประโยชน์ ความสุข เช่นเดียวกับข้าพเจ้าจะพึงได้รับ ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด
    ท่อนที่สี่
    ผลบุญใดที่ข้าพเจ้าทั้งหลายได้บำเพ็ญมาแล้ว ณ โอกาสนี้ ขอผลบุญนี้จงเป็นปัจจัยให้ข้าพเจ้าทั้งหลายได้เข้าถึงซึ่งพระนิพพานในชาติปัจจุบันนี้เถิด.

    ท่านที่ร่วมบริจาค โปรส่งชื่อมาทาง
    e-mail:tedsak_man@hotmail.com

    *ขออนุโมทนาบุญ ครับ*
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 พฤศจิกายน 2012
  2. man199

    man199 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    43
    ค่าพลัง:
    +48
    ยังไม่มี ท่านใดบริจากเลยครับ บุญนี้ไม่ใช่ผลส่วนตัวของผม แต่เป็นผลประโยชย์ส่วนรวม ของทุกๆๆท่านที่ได้ ทุกข์ ทุกคน ครับ อนุโมทนา ครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...