เตือนกิน"ยาชุด-ยาหม้อ" เสี่ยงตาย"คุชชิ่งซินโดรม!"

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย Catt Bewer, 4 กรกฎาคม 2007.

  1. Catt Bewer

    Catt Bewer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,768
    ค่าพลัง:
    +16,673
    [​IMG]เผยผลสำรวจพบประชาชนไทยเสี่ยงอันตรายถึงชีวิตจากอาการ "คุชชิ่ง ซินโดรม" เพราะรับสารสเตียรอยด์ที่แฝงในยาชุด ยาหม้อ ยาลูกกลอน ส่วนใหญ่มักใช้รักษาโรคเรื้อรัง ปวดเมื่อย

    น.พ.มรกต กรเกษม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยเกี่ยวกับปัญหาการใช้สารสเตียรอยด์ว่า สธ.โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ศึกษาความชุกของปัญหาการเจ็บป่วยที่เกิดจากการใช้สารที่มีสเตียรอยด์ปะปน โดยไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ โดยได้สำรวจผู้ป่วยอายุ 15 ปีขึ้นไป ที่เข้ารับการรักษาในแผนกอายุรกรรมของโรงพยาบาล 10 แห่ง รวม 8,876 ราย พบว่าผู้ป่วย 1,985 ราย มีประวัติหรืออาการแสดงที่บ่งชี้ว่าน่าจะเคยใช้สารที่มีสเตียรอยด์ปะปนมาก่อน ในจำนวนนี้ ร้อยละ 62 หรือ 1,258 ราย ซื้อยามาใช้เองถึง 1,534 ครั้ง โดยยาที่นิยมใช้มากที่สุดได้แก่ ยาชุด 404 ครั้ง รองลงมาเป็นยาหม้อ 361 ครั้ง และยาลูกกลอน 334 ครั้ง

    สำหรับปริมาณที่ใช้โดยเฉลี่ย ยาชุดใช้วันละ 4 ชุด ยาหม้อกินวันละ 2 แก้ว ส่วนยาลูกกลอนกินวันละ 3 เม็ด ระยะเวลาใช้ยามีตั้งแต่ 1 วันจนถึง 600 วัน แต่ส่วนใหญ่ร้อยละ 65 จะใช้ยาเพียงชั่วคราว โดยร้อยละ 39 ใช้รักษาโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น มะเร็ง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง อีกร้อยละ 29 ใช้รักษาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และร้อยละ 14 ใช้รักษาอาการปวดข้อ ส่วนใหญ่ได้รับคำแนะนำจากเพื่อนบ้าน ร้อยละ 39 รองลงมาจากคนในครอบครัว ร้อยละ 17 สถานที่ซื้อยาส่วนใหญ่เป็นร้านขายยาแผนปัจจุบัน รองลงมาเป็นร้านขายของชำ และร้านขายยาแผนโบราณ โดยพบภาคใต้ใช้ยาดังกล่าวสูงที่สุด รองลงมาคือ ภาคตะวันออก และภาคเหนือ

    ทั้งนี้ อาการข้างเคียงจากการใช้สารสเตียรอยด์ ที่สำคัญได้แก่ ใบหน้ากลม มีไขมันพอกที่ต้นคอด้านหลังเป็นหนอก ผิวหนังบาง มีรอยแตกสีม่วงแดงตามผิวหนังที่หน้าท้องและต้นขา หรือ "คุชชิ่ง ซินโดรม" ซึ่งเป็นอาการเฉพาะของการได้สารสเตียรอยด์มากเกินขนาด พบในการศึกษาครั้งนี้ 48 ราย รองลงมาคืออาการอ่อนเพลีย น้ำหนักลด บางรายความดันโลหิตสูง เป็นเบาหวาน โดยที่ไม่น่าจะเป็น

    ผู้ที่มีอาการแสดงโรคคุชชิ่ง ซินโดรม จะมีความเสี่ยงถึงขั้นเสียชีวิตจากภาวะพร่องฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตสูงถึง 12 เท่า เสี่ยงกระดูกหักจากกระดูกผุ 23 เท่าเมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่ไม่มีอาการแสดง นอกจากนี้ ยังมีอาการข้างเคียงที่พบบ่อย ได้แก่ กระเพาะอาหารเป็นแผล กระดูกผุ ภูมิคุ้มกันลดลงจนติดเชื้อได้ง่าย ระดับโพแทสเซียมในเลือดต่ำ ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะหรือหยุดเต้นได้

    "จากการศึกษาพฤติกรรมการรักษาตัวของคนไทยพบด้วยว่า เมื่อเจ็บป่วยมักจะรักษาด้วยตนเองเป็นอันดับแรก จึงมีโอกาสที่จะได้รับสารสเตียรอยด์โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์" น.พ.มรกต ระบุ


    http://www.matichon.co.th/khaosod/k...g=03tec02040750&day=2007/07/04&sectionid=0326
     

แชร์หน้านี้

Loading...