เทพปกรณัม....ลำนำแห่งพระผู้เป็นเจ้า

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย ภราดรภาพ, 10 กุมภาพันธ์ 2015.

  1. ภราดรภาพ

    ภราดรภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,578
    ค่าพลัง:
    +2,762
    เทพปกรณัม....ลำนำแห่งพระผู้เป็นเจ้า

    เรื่องปรัมปราและตำนานที่เกี่ยวข้องกับเทพเจ้า, สิ่งศักดิ์สิทธิ์, วีรบุรุษ, ธรรมชาติของโลก และจุดกำเนิดและความสำคัญของวิถีปฏิบัติและพิธีในทางศาสนาที่ชวนให้พิศวง น่าหลงไหล และความศรัทธา ร่วมกันถักทอสายใยแห่งนี้ให้บังเกิดปัญญาทัศนะแห่งความดีงาม และขอน้อมบุญให้กับทุกๆ ท่าน ไว้ ณ ที่นี้ ด้วยนะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 กุมภาพันธ์ 2015
  2. ภราดรภาพ

    ภราดรภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,578
    ค่าพลัง:
    +2,762
    "พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร (พระโลเกศวร)"
    ศิลปะแบบสมโบร์ไพรกุก คริตสตรรษที่ 7 จากพิพิธฑภัณฑ์สถานกีเมต์ ปารีส ค้นพบที่หมู่บ้านตันรอง จังหวัดราชเกีย ปัจจุบันอยู่ในประเทศเวียดนาม

    [​IMG]

    พระนามอวโลกิเตศวร (Avalokitesvara) มาจากภาษาสันกฤตเป็นการสมาสคำ 3 คำ เข้าด้วยกัน ประกอบด้วย คำว่า ava หมายถึง เบื้องต่ำ ส่วนคำว่า Lokita มาจาก คำว่า lok (โลก) หมายถึง จ้องมองหรือเฝ้ามอง และคำว่า isvara (อิศวร) หมายถึง ผู้ยิ่งใหญ่ ผู้รักษากฎ เมื่อนำมาสมาสคำกันเข้า ก็จะได้เป็น ava + lokita + esvara เป็น avalokitesvara หมายถึง พระผู้เป็นเจ้าที่เฝ้ามองดูโลก บ้างก็บอกว่าหมายถึง พระผู้ฟังเสียงจากเบื้องบน เพราะคำว่า svara หมายถึง เสียง อย่างไรก็ตาม พระนาม อวโลกิเตศวร ชาวทิเบตมักนิยมเรียกพระนามว่า เซนเรซิก (Chenrezig)

    “พระนามของพระโลเกศวรในอารยธรรมเขมรมีชื่อว่าอะไรบ้าง?”
    พระองค์ทรงถวายความเคารพต่อพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ทรงเป็นคู่พระบารมี ของพระอมิตาภะ พระองค์มีหลากหลายพระนาม เช่น พระวัชรธรรมโลเกศวร, พระขสรรปณะโลเกศวร, พระสิงหนาทโลเกศวร, พระนีลกัณฐโลเกศวร, พระโพธิสัตว์โลกนาถ, พระโพธิสัตว์รักตโลเกศวร และพระโพธิสัตว์สิงหาสน์โลเกศวร ฯลฯ แต่พระนามที่ปรากฏอยู่ในอารยธรรมเขมรมีหลากหลายพระนามด้วยเช่นกัน ได้แก่ พระศรีชัยวรเมศวร, พระษฑักษรีโลเกศวร, พระชคตีศวร มาจากคำว่า ชคต + อีศวร หมายถึง พระผู้เป็นเจ้าแห่งโลก, พระเอกาทศมุข หมายถึง พระผู้มีสิบเอ็ดพักตร์ ฯลฯ โดยเฉพาะพระนาม ษฑักษรีโลเกศวร หมายถึง พระผู้เป็นเจ้าแห่งมนตราหกพยางค์ โอม มณี ปัทเม ฮุม

    มีต่อตอนที่ 2
     
  3. ภราดรภาพ

    ภราดรภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,578
    ค่าพลัง:
    +2,762
    "พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร (พระโลเกศวร)" ตอนที่ 2

    ปางปัทมปาณิ (ผู้ถือดอกบัว) ที่ปรากฏอยู่บนผนังถ้ำอชันตะ หมายเลขที่ 1 ศิลปะคุปตะ อินเดีย พุทธศตวรรษที่ 12 ซึ่งถือเป็นจิตรกรรมภาพวาดที่มีความงดงามเป็นที่สุด (ภาพที่ 1)

    [​IMG]

    พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ (Avalokitesvara) หมายถึง พระผู้ทรงเพ่งมองด้วยความเป็นอิสระ หรือพระผู้ทรงเพ่งพิจารณาในกระแสเสียงของโลก (พระกรุณาธิคุณ) ทรงเป็นคู่พระบารมีรักษาพุทธศาสนาของพระอมิตาภะ และมีพระศักตินามว่า “พระนางตารา” พระองค์ทรงบิดเบือนกายได้หลากหลายลักษณะ เช่น พระพุทธเจ้า พระปัจเจกโพธิ พระอรหันตสาวก ท้าวมเหศวร องค์อินทราธิราช ท้าวจตุโลกบาล พุทธบริษัท 4 พราหมณ์ สตรีเพศ เด็กหญิง เด็กชาย หรือแม้แต่เทวดา ยักษ์ นาค อสูร กินนร มโหราค (ภูติชนิดหนึ่งมีร่างเป็นงูใหญ่) ครุฑ มนุษย์และอมนุษย์ทั้งปวง พระปฏิมารูปเคารพของพระอวโลกิเตศวรมีพระหัตถ์ตั้งแต่ 2 กรขึ้นไป จนถึง 1,000 พระกร บางแห่งสร้างถึง 84,000 พระกร ทั้งยังมีพระเนตรและพระเศียรจำนวน มากมายตามจำนวนดังกล่าวนี้ด้วย เพื่อแสดงให้เห็นถึงพระมหาเมตตากรุณาอัน ยิ่งใหญ่ไพศาล สามารถสอดส่องช่วยเหลือสรรพสัตว์ได้อย่างทั่วถึง ฯลฯ

    [​IMG]

    ภาพที่ 2 ถัดมาเป็นพระอวโลกิเตศวร ศิลปะแบบปาละ อินเดีย พุทธศตวรรษที่ 16 มีข้อน่าสังเกตบนมงกุฏจะปรากฏรูปพระอมิตาภะไว้เสมอ ซึ่งสัญลักษณ์ของพระองค์ โดยมีพระฌานิพุทธเจ้าทั้งห้าพระองค์ประทับอยู่เหนือพระเศียรของพระองค์

    [​IMG]

    ภาพที่ 3 คือ พระอวโลกิเตศวร ปางปัทมปาณิ ด้วยเช่นกัน แต่เป็นศิลปะเนปาล ราวพุทธศตวรรษที 16 ทรงแสดงการยืนแบบตริภังค์หรือเอียงสามส่วน ซึ่งเป็นท่ายืนสุดคลาสสิคของศิลปะอินเดีย

    [​IMG]

    ภาพที่ 4 เป็นรูปเคารพปางบุรุษที่ชาวธิเบตเรียกพระองค์ว่า “เซนเรซิก” (Chenrezig) มีความเชื่อว่าพระองค์เป็นองค์ประมุขทไลลามะที่อวตารมาจาก พระโพธิสัตว์พระองค์นี้
     
  4. ภราดรภาพ

    ภราดรภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,578
    ค่าพลัง:
    +2,762
    “ปริศนาพระแม่กวนอิมเป็นใคร?”

    เดิมนั้นพระอวโลกิเตศวรทรงวิภูษณะอาภรณ์แบบมหาบุรุษ ตามแบบอินเดียโบราณ เมื่อมาถึงประเทศจีนในสมัยราชวงศ์ถัง ก็ยังคงศิลปะอินเดียแบบเปลือยพระอุระอยู่ แต่พอมายุคหลังคือสมัยราชวงศ์หยวนพระอวโลกิเตศวร จึงเปลี่ยนรูปลักษณ์เป็น สตรีเพศ เนื่องจากคติความเชื่อในเรื่องขององค์หญิงเมี่ยวซ่าน ที่ทรงเคร่งครัดและทำนุบำรุงพระพุทธศาสนามาก ทรงเปี่ยมด้วยเมตตาการุญต่ออาณาประชาราษฎร์ ที่ในสมัยนั้น พระราชบิดาของพระองค์ทรงเป็นทรราชย์ชอบทำศึกสงคราม ขูดรีดประชาชน ฯลฯ องค์หญิงพระองค์นี้ทรงถือกำเนิดมาเพื่อปลดเปลื้องทุกข์เข็ญของปวงประชาในครั้งนั้น ทรงยังให้พระราชบิดากลับพระทัยได้ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ รูปปฏิมากรของพระอวโลกิเตศวรเป็นสตรีที่มีความสวยสดงดงามเป็นยิ่งนัก

    [​IMG]

    เจ้าแม่กวนอิม ศิลปะแบบจีน
    พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์เป็นพระโพธิสัตว์แห่งความเมตตา จะแบ่งพระภาคจุติลงมาในโลกมนุษย์เป็นครั้งคราว เพื่อช่วยเหลือมนุษย์ให้พ้นภัย ความเมตตาของพระองค์แผ่ไปไกลและลึกไปถึงดินแดนนรก ในประเทศจีนพระอวโลกิเตศวรเป็นที่รู้จักกันในปางสตรีคือ “เจ้าแม่กวนอิม”
     
  5. ภราดรภาพ

    ภราดรภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,578
    ค่าพลัง:
    +2,762
    พระโพธิสัตว์อารยาตารา (พระนางตารา)

    คนไทยส่วนใหญ่รู้จักพระมหาโพธิสัตว์อารยาตาราในพระนามของ “เจ้าแม่กวนอิม” ซึ่งชาวทิเบตได้ให้ความเคารพบูชาพระองค์นี้เป็นอันมาก พระองค์ทรงเป็นพระโพธิสัตว์ แห่งความเมตตากรุณา และทรงเป็นพระศักติหรือชายาขององค์พระอวโลกิเตศวร ในรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พระองค์ทรงได้สร้างรูปเคารพของพระนางตารา เพื่อเป็นอนุสรณ์ความรักอันยิ่งใหญ่ที่พระองค์มีต่อพระนางชัยราชเทวี บ้างก็กล่าวกันว่าพระนางตาราคือพระแม่ศักติหรือพระนางปรัชญาปารมิตานั่นเอง

    [​IMG]

    “พุทธศิลป์พระโพธิสัตว์อารยาตาราเป็นไฉน?”
    ในงานพุทธศิลป์ รูปเคารพของพระนางตารา ศิลปะแบบบายน คริสต์ศตรรษที่ 12–13 พิพิธภัณฑ์สถานกีเมต์ ปารีส พระองค์ทรงนั่งคุกเข่าในท่าที่สงบนิ่ง พระเนตรทรงปิดสนิท พระวรกายเปลือยท่อนบน มีสองพระกรและพระพักตร์ที่งดงาม ทรงนุ่งภูษาลายดอกยาวจรดเข่าโดยมีสายรัดองค์ประดับด้วยอุบะห้อย ทรงสวมชฎามงกุฎทรงกรวยแหลมลายกลีบบัวซ้อนเป็นชั้นๆ อยู่บนมวยผม โดยมีพระพุทธรูปเล็กๆ อยู่เหนือมวยผมด้วยเช่นกัน บ้างก็กล่าวว่าเป็นพระอมิตาภะพุทธเจ้า บ้างก็กล่าวว่าเป็น พระอาทิพุทธเจ้า
    ด้วยมนตราสรรเสริญพระองค์แห่งนี้...

    โอม ตาเร ตูตาเร ตูเร สวหะ
    ข้าขอนอบน้อมนมัสการพระนางตารา (พระนางปรัชญาปารมิตา)
    พระผู้เป็นเทวีแห่งดวงพระจันทร์ดิถีเพ็ญ (เต็มดวง)
    พระผู้เป็นสัพพัญญูแห่งพระชินเจ้า
    พระผู้มีปัญญาไพบูลย์อันกว้างใหญ่
    ขอพระองค์จงปกปักรักษาเรา
     
  6. ภราดรภาพ

    ภราดรภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,578
    ค่าพลัง:
    +2,762
    "พระอิศวร (พระศิวะ)"

    พระศิวะ ศิลปะจัมปา ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 11 –12 เวียดนาม พิพิธภัณฑ์สถานกิเมต์ กรุงปารีส

    [​IMG]

    ชาวฮินดูที่นับถือนิกายไศวะ ถือว่าพระศิวะทรงเป็นพระผู้เป็นเจ้าหนึ่งในสามพระตรีมูรติ ทรงมีพระเกษาสีแดงและดวงพระเนตรที่สามอยู่ตรงนลาฏ เรียกว่า ตรีเนตร (Trinetra) ทรงพระโคเผือกนนทิ (Nandi) เป็นพาหนะ ทรงอาภรณ์ด้วยหนังเสือ ทรงเครื่องประดับปิ่นดวงจันทร์เสี้ยวและพระแม่คงคาประดับมุ่นผม ทรงสร้อยสังวาลงู สร้อยประคำ และสร้อยกระดูกประดับพระศอ (คอ) ซึ่งมีพระศอเป็นสีน้ำเงิน ประทับอยู่บนแผ่นหนังเสือหรือหนังช้าง มีอาวุธคู่กาย ได้แก่ คฑา, ตรีศูล (สามง่าม) และธนูอัชกาวะ พระหัตถ์ทรงถือกลองและตรีศูล พระองค์ทรงมีบทบาทในการทำลายล้างสิ่งชั่วร้ายหรือชำระล้างระบบเก่าๆ ที่ไม่เหมาะสมให้เกิดความสมดุลย์
    สำหรับมนตราอันศักดิ์สิทธิ์ประจำพระองค์ 5 พยางค์ คือ โอม นมัส ศิวาย
     
  7. ภราดรภาพ

    ภราดรภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,578
    ค่าพลัง:
    +2,762
    "พระศิวนาฏราช"

    พระศิวนาฏราช ศิลปะแบบบายน คริสต์ศตวรรษที่ 10
    พิพิธภัณฑ์สถานส่วนบุคคล รัฐนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา

    [​IMG]

    ปฏิมากรรมพระศิวนาฎราชเปล่งรัศมี แสดงถึงอำนาจ ความสงบ และพลังอันบริสุทธิ์ ทรงประดับประคดแขนซ้ายขวา สวมมงกุฎทรงกระบอกและกรองศอสลักลวดลายมาลัยกนกเป็นอุบะห้อยประดับ ทรงสวมพระสนับเพลา (กางเกง) มีผ้าจีบเป็นริ้วชายผ้ารูปหางปลาซ้อนกัน ทรงประทับเขย่งยกพระบาทซ้าย สวมกำไลข้อมือและข้อเท้า พระกุณฑล (ตุ้มหู) ยาวจรดไหล่ มีสิบพระกร แปดพระกรซ้ายขวายกชันตั้งขึ้นเรียงตามลำดับ สองพระกรด้านหน้าแสดงในท่าประทานพร พระองค์ทรงเป็นเจ้าแห่งโยคะทั้งปวง ซึ่งได้เจริญรุ่งเรืองในอารายธรรมเขมร โดยนำไปใช้ในการเสริมสร้างพลังลมปราณด้วยมนตราแห่งโอม (อุ อะ มะ) ความเงียบ สงบ สงัดแห่งความว่างเปล่า (สุญญตา) และการหลุดพ้นจากพันธนาการทั้งปวง เพื่อกลับไปเข้ารวมอยู่กับพรหมันผู้ยิ่งใหญ่ ความเดิมมีอยู่ว่า…

    “ศิวนาฏราชนอกจากเป็นสัญลักษณ์แห่งการสร้างและทำลายหรือชำระล้างจักรวาลแล้ว ยังเป็นที่มาของภารตนาฎยศาสน์ ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 108 ท่า พระองค์ทรงโปรดการร่ายรำ คราใดมีการจัดงานรื่นเริงบนเขาไกรลาส พระองค์จะทรงแสดงท่วงท่าร่ายรำด้วยความรื่นรมย์และงดงาม ท่ามกลางพระแม่อุมาทรงเป็นองค์ประธาน พระแม่ลักษมีทรงขับร้อง พระแม่สรัสวดีทรงดีดพิณ พระพรหมทรงตีฉิ่ง พระนารายณทรงตีกลอง พระโคนนทิทรงตีตะโพน เหล่านางอัปสรร่วมประกอบฟ้อนรำ ส่วนพระขันธกุมารและพระพิฆเนศทรงตบมือประกอบการเข้าจังหวะ โดยมีเหล่าบริวารทั้งหลาย เช่น คนธรรพ์ ยักษ์ ปัตคุ อุรคะ (นาค) สิทธรร สาธยรร วิทยาธร และสรรพสิ่งชีวิตทั้งสามโลกต่างชื่นชมยินดีกับการฟ้อนรำขององค์พระศิวะ ซึ่งเป็นทั้งการสร้างและชำระล้างโลกในคราเดียวกัน หากพระองค์ทรงฟ้อนรำด้วยจังหวะที่พอดีไม่ช้าหรือเร็วจนเกินไป ก็จะเกิดความร่มเย็นของโลกและจักรวาล แต่หากคราใดจังหวะร้อนแรงด้วยความพิโรธ ก็จะเกิดภัยพิบัตินานาประการ เช่น แผ่นดินไหว พายุใหญ่ น้ำท่วม ภูเขาไฟระเบิด ฯลฯ ”
     
  8. ภราดรภาพ

    ภราดรภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,578
    ค่าพลัง:
    +2,762
    ขอความอนุเคราะห์..ท่านผู้รู้..ช่วยบอกผมที..นี่คือองค์อะไรคราฟฟ...ผมอยากรู้จริงๆครับ

    [​IMG]

    [​IMG]

    วาชิมุข (Vajimukha) มาจากคำว่า วาชิ (Vaji) แปลว่า ม้า ส่วนคำว่ามุข (Mukha) แปลว่า พระเศียร (หัว) ส่วนคำว่า ฮายาสิรา (Hayasiras) มาจากคำว่า ฮายา (Haya) แปลว่า ม้า ส่วนคำว่า สิรา (Sira) แปลว่า พระเศียร (หัว) ชาวเนปาลและทิเบตมักนิยมเรียกกันว่า “หัยครีพ” ซึ่งหมายถึง พระผู้เป็นเจ้าที่มีเศียรเป็นม้า พระองค์ทรงเป็นพระนารายณ์อวตารปางที่สิบ โดยมีอีกพระนามหนึ่งว่า กัลกิน/กัลกี (Kalkin/ Kalki) เรื่องราวของพระองค์ปรากฏอยู่ในช่วงรัชสมัยพระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 2 ทั้งในศิลาจารึกและทับหลังเช่น ปราสาทบันทายศรี พนมสันดัก ฯลฯ พระองค์ทรงมีเศียรเป็นม้า พระวรกายของพระองค์มีฉัพพรรณรังสีขาวสว่างไสว ทรงประทับอยู่บนดอกบัวขาว ทรงสวมมงกุฎสลักลวดลายกนก และนุ่งผ้าโจงกระเบน มีชายผ้าห้อยเป็นคู่อยู่ด้านหน้าเป็นชั้นๆ ชั้นบนสั้นกว่าชั้นล่าง ส่วนด้านข้างมีชายผ้าหางปลาเป็นชั้นลดหลั่นกันมา กล่าวกันว่าเป็นศิลปะลอยตัวที่สุดคลาสสิกมากทีเดียว

    ในคัมภีร์ปุราณะได้กล่าวถึงพระองค์ที่ได้ช่วยเหลือ และนำคัมภีร์พระเวทกลับคืนมาจากอสูรมาธุและอสูรไกรเทพที่ได้ขโมยจากพระพรหมเจ้า ส่วนรูปเคารพของพระองค์ส่วนใหญ่จะมีสี่พระกร พระหัตถ์ทรงถือดอกบัว คฑา จักร และสังข์ ทรงอาภรณ์และเครื่องประดับอัญมณี บ้างก็ทรงถือหนังสือ บ้างก็มีพระแม่ลักษมีเทวีอยู่ข้างพระวรกาย ในปางนี้ถือกันว่าพระองค์เป็นตัวแทนแห่งความรู้และปัญญา ส่วนพระกัลกินในปางบุรุษขี่ม้าขาว พระองค์จะปราบคนชั่วและสถาปนาธรรมขึ้นในโลกใหม่ บ้างก็กล่าวกันว่าพระองค์คือพระศรีอาริยเมตไตรยที่จะมาจุติในอนาคตกาล

    อเพิ่มเติมอีกหน่อยนะครับ
    พระวิษณุอวตารปางที่ 10 มี 2 พระภาคด้วยกัน คือ พระภาคที่กายดั่งมนุษย์ (พระเศียรเป็นมนุษย์) เรียกว่า พระกัลกี กับพระภาคกายครึ่งมนุษย์พระเศียรเป็นม้า เรียกว่า พระวาชิมุข (Vajimukha) กล่าวคือ...

    “พระนารายณ์จะอวตารในโลกนี้ก่อนจะสิ้นสุดของกลียุค สภาพของมนุษย์ที่เต็มไปด้วยกิเลส ศีลธรรมตกต่ำจนถึงขีดสุด มีแต่ความวุ่นวายสับสน ความมืดมน และความหลงผิดในความชั่ว ประชากรมนุษย์จะเพิ่มขึ้นอย่างไม่สามารถจำกัดและจัดการได้ ความอดอยาก ยากจน และความไม่เทียมทางสังคมจะเกิดขึ้นทุกหย่อมหญ้า มีการก่ออาชญากรรมและเข่นฆ่ากันไม่เว้นแต่ละวัน พิธีกรรมกราบไหว้จะมีอำนาจต่อสังคมอย่างงมงายและรุนแรงมากขึ้น เมื่อนั้น “กาลกี” จะขี่ม้าขาวมาพร้อมกับดาบที่ถืออยู่ในมือไว้ เพื่อขจัดและชำระล้างสิ่งเหล่านี้ให้หมดสิ้นไป ตราบจนกว่าจะเริ่มต้นสร้างสรรค์ ใหม่อีกครั้ง”

    ในภาพนี้ ทำไม พระพรหมธาดา ทรงทำความเคารพถวายต่อองค์พระวิษณุ ขณะที่ทรงรับพระคัมภีร์พระเวทกลับคืนมา ทั้งๆที่ พระองค์อยู่ในระดับเดียวกับพระวิษณุ เพราะมีความเชื่อว่าพระพรหมธาดกำเนิดจากองค์พระวิษณุ ให้พิจารณาจากภาพนี้ พระพรหมกำเนิดจากพระนาภี (สะดือ) เพื่อสร้างสรรค์สรรพสิ่งใหม่อีกครั้ง โดยปกติภาพนารายณ์บรรทมสินธุ์จะมีสองลักษณะ คือ ภาพที่มีและไม่มีการกำเนิดพระพรหมประทับบนดอกบัว

    [​IMG]
     
  9. ภราดรภาพ

    ภราดรภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,578
    ค่าพลัง:
    +2,762
    ฮายากีวะ (Hayagriva)
    เป็นยิดัมที่ได้รับการนับถืออย่างมากอีกพระองค์หนึ่ง ถือว่าเป็นภาคดุร้ายของพระอมิตภะพุทธเจ้าหรือพระอวโลกิเตศวร

    [​IMG]

    ในงานพุทธศิลป์ พระองค์มีพระศอเป็นม้า 3 เศียร 6 พระกร 4 พระบาท บ้างก็มีปีกที่ใหญ่โตมาก อยู่ในท่าโอบรัดศักติ สิ่งที่น่าสังเกตโดยง่ายอีกประการหนึ่งก็คือ มีหัวม้า

    ประดับอยู่ที่พระเศียรของพระองค์ พระหัตถ์ขวาทรงถือไม้เท้ากระโหลก พระหัตถ์ซ้ายทรงถือเชือกขอ ส่วนพระหัตถ์อื่นๆ ทรงถือศาสตราวุธครบครัน ทรงสวมชฏามงกุฎกระโหลกห้าหัว สวมสร้อยกระโหลกห้าสิบหัว สวมอาภรณ์หนังมนุษย์ หนังช้าง นุ่งห่ม หนังเสือประดับงู ขาด้านขวางอ ด้านซ้ายเหยียดตรง เหยียบมารชายหญิง ยืนบนแท่น บัววงพระอาทิตย์ ล้อมรอบด้วยเปลวเพลิงแห่งปัญญาอันโชติช่วงเผาผลาญอวิชชาทั้งมวล ในคติศาสนาพราหมณ์ ปางนี้ถือว่าเป็นอวตารขององค์พระนารายณ์และพระแม่ลักษมี
     
  10. ภราดรภาพ

    ภราดรภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,578
    ค่าพลัง:
    +2,762
    "พระภควดีมหิษาสุรมรรทนี" หรือ "พระแม่ทุรคามหาเทวี"

    ศิลปะสมัยก่อนเมืองพระนคร
    คริสต์ศตวรรษที่ 7
    ห้องศิลปะเอเชียตระกูล Rockefeller

    [​IMG]

    พระแม่หรือพระแม่ปารวตี (Parvati) เทพีเจ้าแห่งสรวงสวรรค์หิมาลัย เป็นบุตรีของเทพเจ้าหิมาลัย ทรงเป็นมเหสีองค์ที่สองขององค์พระศิวะ ต่อจากพระแม่สติ (Sati) ซึ่งเป็นพระชายาองค์แรกขององค์พระศิวะ พระนางทรงเป็นอีกพระภาคหนึ่งของ พระแม่ศักติ ทรงปรากฎกายอยู่เคียงข้างพระศิวะอยู่เสมอ และเป็นพระมารดาของพระขันธกุมารและพระพิฆเนศ มีสิงโตหรือเสือเป็นสัตว์มงคลและพาหนะ พระนางมีหลายพระนามและหลายปางด้วยกัน พระนาม เช่น ไวศาลกษี, ลิงคธาริณี, ลลิตา, กามากษี, กุมุทา, จันดี, โคมตี, จามจริณี, มโหตักตา, กาลี, รุทธานี, รุกมินี, ศิตา, มเหศวรี ฯลฯ ปางที่ดุร้าย ได้แก่ ทุรคา, กาลี, จันดี และมหาวิทยาส ส่วนปางเมตตากรุณา ได้แก่ รุกมินี, ลลิตา, มเหศวรี ฯลฯ

    สำหรับมนตราอันศักดิ์สิทธิ์ประจำพระองค์ 8 พยางค์ คือ โอม ปาระวัต ตไย นะมะ

    ในอารายธรรมเขมรจากจารึกลิงคบรรพตในรัชสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ได้มีการสร้างเทวาลัยและรูปเคารพพระแม่อุมาเทวีเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะรูปเคารพ พระภควดีมหิษาสุรมรรทนี (Mahishasura-mardini) พระนางทรงประทับอยู่เหนือศีรษะควาย (มหิษาอสูร) โดยมีพระหัตถ์คู่หลังทรงถือจักรและสังข์ นอกจากนี้ยัง ปรากฎพบรูปเคารพพระแม่อุมาเทวีในรัชสมัยพระเจ้าภววรมันที่ 2 และพระเจ้า ยโศวรมันที่ 1 ซึ่งการเคารพบูชาพระนางในพระราชสำนักนั่น จะมีขึ้นก็ต่อเมื่อในพิธีการเคารพบูชาองค์พระศิวะเท่านั้น
     
  11. ภราดรภาพ

    ภราดรภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,578
    ค่าพลัง:
    +2,762
    "ฤาษิหรือฤาษี (Rishi)"

    ฤาษีห้าพระองค์ ศิลปะแบบนครวัด ปาสาทพนมรุ้ง จ. บุรีรัมย์

    [​IMG]

    ฤาษิหรือฤาษี (Rishi) มีหลายความหมายด้วยกัน ได้แก่ ผู้บำเพ็ญพรต นักบวช นักบุญ ผู้คงแก่เรียน หรือเซียนในภาษาจีน บ้างก็กล่าวว่าฤาษีเป็นทั้งคุรุ หรือแม้แต่เป็นคุรุแห่งคุรุด้วยเช่นกัน ฤาษีมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานมาก ลัทธิฤาษีเดิมทีได้เผยแพร่ไปทั่วอารายธรรมอินเดีย โดยเฉพาะในแถบลุ่มน้ำสินธุ จวบจนกระทั่งได้แพร่กระจายไปทั่วโลกจนทุกวันนี้

    “ฤาษีเหล่านี้นับถือใคร?”
    เหล่าฤาษีจะมีการเคารพบูชาองค์พระศิวะสูงสุด ถือว่าพระองค์ทรงเป็นพระผู้เป็นเจ้าแห่งฤาษีหรือบรมโยคีทั้งปวง ฤาษีจะปฏิบัติตนอย่างเคร่งครัดเพื่อหนทางแห่งการหลุดพ้น ส่วนใหญ่จะรักษาพรหมจรรย์ ถ่อมตัวและสมถะ รวมทั้งมีพลังอำนาจพิเศษที่เหนือธรรมชาติ
    ภาพทับหลังแสดงสลักลวดลายฤาษีห้าองค์ท่าโยคะยาน (ปางสมาธิ) ภายในแท่นบูชาที่ท้องพระโรงปราสาทพนมรุ้ง องค์กลางก็คือพระฤาษีอิศวร (พระศิวะ) เจ้าแห่งฤาษีโยคะ บ้างก็เรียกว่า พระฤาษีตาไฟ หรือพระฤาษีตรีเนตร

    “ฤาษีมีความเป็นมาอย่างไร?”
    ในคัมภีร์ปุราณะได้กล่าวถึงฤาษีผู้ยิ่งใหญ่ทั้งเจ็ดองค์ในยุคเริ่มแรก คือ กลุ่มสัตปฤาษี ได้แก่ ฤาษีโคตม ฤาษีภัทรวาช ฤาษีวิษวามิตร ฤาษีชมทัศนี ฤาษีวศิษฐ์ ฤาษีกัศยป และฤาษีอัตริ ส่วนคัมภีร์มนุสสมฤติได้กล่าวถึงฤาษีสิบองค์ที่อยู่ในกลุ่มประชาบดี ได้แก่ ฤาษีมรีจิ ฤาษีอัตริ ฤาษีทักษะ ฤาษีอังครัส ฤาษีปุลัสตยะ ฤาษีปุลหะ ฤาษีกระตุ ฤาษีภฤคุ ฤาษีวศิษฐ์ และฤาษีนารท ซึ่งล้วนแต่เป็นบุตรของพระมนูที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้กำเนิดฤาษีกลุ่มนี้ ยกเว้นฤาษีนารทเท่านั้นที่ไม่ใช่เป็นลูกหลาน แต่ถูกจัดไว้ให้อยู่ในกลุ่มนี้ ฤาษีกลุ่มประชาบดีมีสภาวะเป็นทิพย์ที่เกิดจากจิตของพระพรหม ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อช่วยดำรงเผ่าพันธุ์ของมวลมนุษย์ ทวยเทพ อสูร ครุฑ นาค ฯลฯ ให้บังเกิดเป็นไปตามวัฏจักรแห่งเอกภพ

    “ฤาษียุคใหม่เป็นไฉน?”
    นอกจากจะมีฤาษีทั้งสองกลุ่มที่เป็นผู้บุกเบิกและมีชาติกำเนิดเป็นฤาษี ยังมีกลุ่มฤาษีอื่นๆ อีก เช่น กลุ่มเทพฤาษี มีกำเนิดจากทวยเทพมาจุติบำเพ็ญพรตเป็นฤาษี อาจกล่าวได้ว่าทวยเทพทั้งหลายล้วนแล้วแต่เคยจุติมาเป็นฤาษีด้วยกันมาก่อนทั้งสิ้น, กลุ่มราชฤาษี มีกำเนิดจากการเป็นกษัตริย์หรือพระราชา หรือเชื้อพระวงศ์มาก่อนที่จะออกบวชเป็นฤาษี, กลุ่มมหาฤาษี มีกำเนิดจากการบำเพ็ญพรตจนมีญาณสมาบัติที่แก่กล้า และมีฤทธานุภาพสูงมาก จนเป็นที่เกรงกลัวแก่เหล่าเทพยดาและอสูร สามารถให้คุณให้โทษได้ เช่น ฤาษีวาลมีผู้รจนามหากาพย์รามเกียรติ์ ฤาษีทรุวาสผู้สาปแช่งพระอินทร์และเหล่าบริวารให้พ่ายแพ้ในการทำศึกกับเหล่าอสูร ฤาษีภรตมุนีผู้บันทึกท่าร่ายรำ ศิวนาฏราช ฯลฯ

    สุดท้ายคือกลุ่มบรมฤาษี มีกำเนิดจากการบำเพ็ญตบะจนได้ญาณสมาบัติสูงกว่ามหาฤาษี จนเป็นรับการกราบไหว้และเคารพบูชาจากเทพยดา อสูร นาค คนธรรพ์ รวมถึงมนุษย์โลกด้วย
     
  12. ภราดรภาพ

    ภราดรภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,578
    ค่าพลัง:
    +2,762
    "ผลรุทระษา (Rudraksha) "

    [​IMG]

    ผลรุทระษา หรือน้ำตาพระศิวะเป็นเมล็ดพืชมงคลจากต้นรุทระษา มีหลายหน้า หลายสีและหลายลักษณะโดยแบ่งออกเป็นส่วนๆ มีจำนวนมากถึง 21 หน้า ช่วยเสริมความเป็นศิริมงคลและเพิ่มพลังในการนั่งสมาธิ การบำบัดผ่อนคลายและการรักษาโรคภัยที่เบียดเบียน

    ผลรุทระษายังมีบางหน้า และบางลักษณะที่มีรูปร่างแปลกประหลาดแต่ยังไม่กล่าวถึง เพราะยิ่งจำนวนหน้ามากขึ้น ก็ยิ่งจะหาได้ยากมากขึ้นด้วยเช่นกัน ผลรุทระษาแต่ละหน้าจะมีเทพอารักษ์คุ้มครองประจำ เช่น

    หนึ่งหน้า แทนสัญลักษณ์แห่งพรหมัน ซึ่งหาได้ยากมาก หากผู้บูชาด้วยจิตกุศล ผลรุทระษาก็จะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามแต่บารมีทุกปี และจะคอยปกป้องรักษาให้เกิดแต่ความสุขความเจริญ

    สองหน้า แทนสัญลักษณ์แห่งพระศิวะอุมา ผู้บูชาจะประสบแต่ความผาสุขในคู่ชีวิต ประสบความสมบูรณ์และอนาคตที่สดใส ด้วยการสวดมนตรา โอม โอม นะมะฮา

    สามหน้า แทนสัญลักษณ์แห่งมหาเทพทั้งสามหรือตรีมูรติ (บางตำรากล่าวถึง พระอัคนี) ผู้บูชาจะประสบกับความรักที่สมหวัง ความสงบสุข เกิดปัญญาสร้างสรรค์ และทำให้พลังในระบบเลือดของร่างกายให้เกิดสมดุล ด้วยการสวดมนตรา โอม โอม นะมะฮา

    สี่หน้า แทนสัญลักษณ์แห่งองค์พระพรหม ผู้บูชาจะประสบความสำเร็จใน ทางโลก แต่หากเข้าทางธรรมก็จะบรรลุแห่งการหลุดพ้น ด้วยการสวดมนตรา โอม ฮีรเฮ็ม นะมะฮา เป็นต้น

    ผลรุทระษามักนิยมนำมาร้อยเป็นสร้อยคอ กำไรหรือประคำ ผู้บูชาควรเลือกให้ตรงกับจริตตนเองและควรปฏิบัติบูชาด้วยการสวดมนตราประจำพระองค์
     
  13. ภราดรภาพ

    ภราดรภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,578
    ค่าพลัง:
    +2,762
    "พระคเณศ (Ganesa)"
    พระคเณศ ศิลปะสมัยก่อนยุคเมืองนคร กัมพูชา

    [​IMG]

    “คเณศ” มาจากคำว่า คณะ และ อีศ (หัวหน้า/นาย) ดังนั้นคำว่า คเนศ จึงหมายถึง หัวหน้าคณะเหล่าบริวารของพระอิศวร พระองค์ทรงมีพระเศียรเป็นช้างและพระอุทรพลุ้ย มีงาเพียงข้างเดียวที่สามารถถอดออกได้เองตามธรรมชาติ บางก็กล่าวว่างาหักเพราะไปขัดขวางการเข้าเฝ้าพระศิวะของปรศุราม จึงโดนขวานเพชรของพระปรศุราม ขว้างเข้าใส่ ทรงหนูเป็นพาหนะนามว่า “มุสิกะ” ซึ่งเป็นเทวบุตรที่มีฤทธิ์มาก

    นอกจากพระองค์จะเป็นพระผู้เป็นเจ้าแห่งอุปสรรคที่ทำให้เกิด และทำลายอุปสรรคทั้งปวงแล้ว พระองค์ยังทรงเป็นพระผู้เป็นเจ้าแห่งปัญญา ทรงมีความเชี่ยวชาญอักษรศาสตร์ ทรงลิขิตคัมภีร์มหากาพย์มหาภารตะตามคำบอกเล่าของฤาษีวยาส และคัมภีร์ตันตระตามพระบัญชาของพระศิวะ ชาวฮินดูถือว่าหากจะเริ่มงานใหม่ใดๆ ก็ตาม

    จะต้องบรวงสรวงหรือขอพรจากพระองค์ก่อนจึงจะสำเร็จ พระนามของพระคเณศมีถึง 108 พระนาม ตัวอย่างเช่น เอกทันตะ, วินายกะ, เหรัมพะ, คณปติ, คชานายะ, กฤติเน ฯลฯ

    สำหรับมนตราอันศักดิ์สิทธิ์ประจำพระองค์ 7 พยางค์ คือ โอม คะเณศายะ นะมะ

    “กำเนิดพระคเนศมีความเป็นมาอย่างไร?”
    ส่วนกำเนิดพระคเนศมีหลากหลายเรื่องราว ความเดิมมีอยู่ว่า…

    “พระคเณศทรงกำเนิดจากการแบ่งพระภาคของพระศิวะและพระแม่อุมาเทวี ทรงเป็นเทพบุตรที่มีพระศิริโฉมงดงามยิ่งนัก เป็นที่รักใคร่ของพระบิดาพระมารดาและเหล่าบริวารทั้งหลาย พระองค์ทรงมีนิสัยที่ค่อนข้างเอาแต่ใจตนเอง ก้าวร้าว และเจ้าชู้ยิ่งนัก ชอบสร้างความโกลาหลวุ่นวายไปทั่วสวรรค์ชั้นฟ้า บรรดาเหล่าเทพยดาและเทพนารี

    ทั้งหลายต่างเกรงกลัวเป็นยิ่งนัก ความแจ้งไปถึงพระศิวะเมื่อทราบเรื่องเข้าทรงกริ้วเป็นอันมาก จึงเรียกมาตักเตือนและคาดโทษไม่ให้กระทำเยี่ยงนี้อีก แต่พระคเณศหาสนใจไม่ กลับทำการรุนแรงเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมไปอีก ครั้นความแจ้งถึงพระศิวะอีกครั้ง พระองค์ทรงขว้างตรีศูลใส่พระคเนศจนศีรษะขาดกระเด็นและสิ้นพระชนม์ในทันที

    พระแม่อุมาเทวีเมื่อทรงทราบเรื่องราว จึงเร่งรีบเข้าเฝ้าองค์พระศิวะพร้อมเหล่าบริวารและทวยเทพทั้งหลาย เพื่อกราบทูลขอให้องค์พระศิวะโปรดอภัยโทษให้แก่บุตรชายอันเป็นที่รัก และขอให้ชุบชีวิตพระคเณศกลับคืนมา พระศิวะทรงทนรบเร้าและ คำอ้อนวอนไม่ไหว ด้วยพระเมตตาจึงได้ชุบชีวิตให้กับพระคเณศกลับคืนชีวิตมาอีกครั้ง แต่มีข้อแม้ว่าจะมอบเศียรช้างแทนศีรษะเดิม เพื่อต้องการลดความลุ่มหลงในรูปงามของพระคเณศลงเสีย พระแม่อุมาทรงยินยอมรับในเงื่อนไข จึงได้ลูกชายกลับคืนมา ดังเดิมโดยมีเศียรเป็นช้าง

    นับแต่นั้นมาพระองค์ทรงกลับใจยึดมั่นในคุณธรรม ด้วยพระปรีชาญาณและสนองพระบัญชาแห่งองค์พระศิวะ จนกระทั่งได้รับการวางพระทัยให้เป็นผู้นำคณะบริวารเพื่อทำลายอุปสรรคอันเป็นเหตุอกุศลทั้งปวง และทรงจัดอภิเษก สมรสให้กับพระคเณศกับพระชายาสองพระองค์พร้อมกัน คือ พระนางสิทธิและพระนางพุทธิ”
     
  14. ภราดรภาพ

    ภราดรภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,578
    ค่าพลัง:
    +2,762
    พระการติเกยะ (Kartikeya)
    พระการติเกยะ ศิลปะสมัยก่อนยุคเมืองนคร กัมพูชา

    [​IMG]

    พระการติเกยะ หรือ สกันทะกุมาร หรือที่คนไทยนิยมเรียกพระนามว่า “พระขันธกุมาร” ทรงกำเนิดจากการแบ่งพระภาคของพระศิวะและพระแม่อุมาเทวี ทรงเป็นเทพเจ้าแห่งสงคราม (Lord of the War) ทรงถืออาวุธ ตรีศูล ไม้เท้า และคณโฑใส่น้ำ มีนกยูงเป็นพาหนะ

    สำหรับมนตราอันศักดิ์สิทธิ์ประจำพระองค์ 11 พยางค์ คือ โอม ศรี ศะระวัณ ภะวายะ นะมะฮา

    “กำเนิดพระขันธกุมารมีความเป็นมาอย่างไร?”
    สำหรับเรื่องราวการกำเนิดของพระองค์มีอยู่ว่า…

    “อสูรตารกะ ได้บำเพ็ญตบะจนได้รับพรจากพระพรหมให้ไม่มีผู้ใดฆ่าได้ เว้นแต่จะเป็นโอรสขององค์พระศิวะเท่านั้น ขณะนั้นพระศิวะยังไม่มีมเหสี เหล่าทวยเทพทั้งหลายจึงถูกอสูรตารกะเบียดเบียนและได้รับความเดือดร้อนกันไปทั่ว จึงได้เข้าเฝ้าพระศิวะเพื่อทูลขอให้ทรงอภิเษกกับพระแม่อุมาเทวีเพื่อจะได้บุตรมาปราบอสูรตนนี้ เมื่อบังเกิดผล พระขันธกุมารจึงได้กำเนิดขึ้น และได้สำเร็จโทษอสูรตารกะ ต่อมามหาเทพทั้งสาม (พระศิวะ พระพรหม พระนารายณ์) และเหล่าทวยเทพได้ทูลอัญเชิญพระขันธกุมารเสด็จไปยังคุรุเกษตร แล้วสถาปนาพระองค์เป็นเทพแห่งสงครามนับแต่บัดนั้นมา”

    พระขันธกุมารได้รับความนิยมบูชาเป็นอย่างมากแถบทางใต้ของอินเดีย เรื่องราวของพระองค์ได้มีการกล่าวขานในมหาภารตะ (ภควัทคีตา) ความเดิมมีอยู่ว่า…

    “พระกฤษะกำลังอธิบายการปรากฎของพระผู้เป็นเจ้า โดยกล่าวว่า: พระนามอันยิ่งใหญ่ ผู้มีความเป็นอมตะ ผู้เสด็จมาจากสรวงสวรรค์ ผู้มีความหลากหลายในมิติ ณ ท่ามกลางแห่งนี้ เราคือ พระขันธกุมาร พระผู้เป็นเจ้าแห่งสงคราม”

    กล่าวคือในศึกสงครามมหาภารตะ ณ ทุ่งราบกุรุเกษตร พระขันธกุมารทรงแบ่งพระภาคเสด็จมาทำหน้าที่แทนพระกฤษณะ ในการทำสงครามระหว่างตระกูลเการพกับปาณฑพ จนกระทั่งตระกูลเการพได้รับชัยชนะในที่สุด หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งว่าทั้งสองพระองค์เป็นองค์เดียวกัน ต่างกันกันเพียงบทบาทหน้าที่เท่านั้น

    “การเคารพบูชาพระขันธกุมารในอารยธรรมเขมรมีความเป็นมาอย่างไร?”
    ในจารึกอารยธรรมเขมรได้มีการสร้างรูปเคารพบูชาพระองค์ พร้อมกับพระมารดา (พระแม่อุมาเทวี) ในรัชสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 และสร้างรูปเคารพบูชาพระองค์พร้อมกับพระศิวลึงค์และพระนางเคารีในรัชสมัยพระเจ้ายโศวรมันที่ 1
     
  15. ภราดรภาพ

    ภราดรภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,578
    ค่าพลัง:
    +2,762
    พระพรหม (Brahma)
    พระพรหม สมัยยุคเมืองนคร ศิลปะแบบเกาะแกร์
    คริสต์ศตวรรษที่ 10 กัมพูชา (ภาพที่ 1)

    [​IMG]

    แม้ว่าพระพรหมจะไม่ได้รับการจัดให้เป็นนิกายเอกเทศ เหมือนเช่นนิกายไศวะ นิกายไวษณพ และนิกายศักติ แต่ชาวไทยรู้จักมักคุ้นกับพระพรหมกันเป็นอย่างดี พระองค์ทรงเป็นพระผู้เป็นเจ้าหนึ่งในสามพระ ตรีมูรติ ทรงเป็นเทพแห่งปัญญา มีพระวรกายสีแดง มีสี่พระพักตร์สี่กร แต่ละพระกรทรงถือตะบอง (ไม้เท้า) ช้อน หม้อน้ำ และคัมภีร์พระเวท ทรงหงส์เป็นพาหนะ และมีดอกบัวประจำพระองค์ พระพรหมทรงมีบทบาทในฐานะพระผู้สร้าง และรักษากฎระเบียบที่ได้บัญญัติไว้ในพระคัมภีร์อันศักดิ์สิทธิ์ พระองค์ทรงประทับอยู่ในสรวงสวรรค์ชั้นพรหมทิพย์พิมาน พระองค์มีหลายพระนาม ได้แก่ พระประชาบดี (พระราชาแห่งสิ่งมีชีวิต) พระปิตามหา (พระบิดาผู้ยิ่งใหญ่) พระอาตมาภู (พระผู้เป็นเอง) และพระสาวิตรี (พระผู้เป็นสามีพระแม่สรัสวดี) เป็นต้น

    สำหรับมนตราอันศักดิ์สิทธิ์ประจำพระองค์ 6 พยางค์ คือ โอม พรัม หมะ เณ นะมะ

    พระพรหมและพระแม่สรัสวดี (ศิลาแดง) คริสต์ศตวรรษที่ 10
    ราชาสถานตะวันตก อินเดีย (ภาพที่ 2)

    [​IMG]

    “ทิพย์พิมานของพระพรหมอยู่ที่ไหน?”
    ในคัมภีร์มหาภารตะได้พรรณาสวรรค์ของพระพรหมในชั้นพรหมหรือ “สัตยโลก” (sttaya-loka) ว่ามีความงามที่ล้ำเลิศ แสนวิจิตรตระการตา มีความกว้างใหญ่ไพศาลแทบจะประมาณมิได้ ไม่มีสวรรค์ชั้นใดจะเสมอเหมือน จนไม่สามารถบรรยายได้หมดในเวลาอันสั้น

    “การเคารพบูชาพระพรหมในอารยธรรมเขมรมีความเป็นมาอย่างไร?”
    ในอารายธรรมเขมรพระพรหมได้รับการเคารพนับถือร่วมกับพระศิวะและพระนารายณ์ ซึ่งไม่ได้แยกเป็นเอกเทศออกมาต่างหาก ส่วนใหญ่จะเรียกพระนามว่า พระประชาบดี พระองค์ทรงมีมเหสีพระนามว่า “สรัสวดี” ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นมหาเทวีวาจาสิทธิ์ ในอารายธรรมเขมรมักจะเรียกชื่อพระนามว่า คือ “ภารตี” และ “หวาคีศวรี” บ้างก็กล่าวว่าพระสรัสวดีเป็นบุตรีและมีพระนางสาวิตรีเป็นชายา

    “คติคนไทยที่มีต่อพระพรหมมีความเป็นมาอย่างไร?”
    คนไทยมักนิยมเรียกท่านว่า “ท้าวมหาพรหม” และได้รับการเคารพบูชากันอย่างแพร่หลายตามแหล่งสถานที่ต่างๆ เช่น หน้าพลับพลาโรงแรมเอราวัณ โบสถ์พราหมณ์เสาชิงช้า สถานที่ราชการและเอกชนที่สำคัญๆ นอกจากนี้กระแสความนิยมนำไปสักการะบูชาที่บ้านเรือนของตนยังได้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะมีความเชื่อศรัทธาในความศักดิ์สิทธิ์และคติธรรมแห่งพรหมวิหาร 4 ได้แก่ เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา

    “คติพุทธที่มีต่อพระพรหมมีความเป็นมาอย่างไร?” ภาพที่ 3
    สำหรับคติของพุทธศาสนาเกี่ยวกับพระพรหม จะไม่เหมือนพระพรหมศาสนาพราหมณ์ (ฮินดู) แต่คติพระพรหมพุทธจะหมายถึง พรหมโลกหรือชั้นพรหม ทั้งรูปพรหม (16 ชั้นพรหม) และอรูปพรหม (4 ชั้นพรหม) ซึ่งยังไม่หลุดพ้นและยังต้องเวียนว่ายในสังสารวัฏแห่งนี้ โดยมีพระพรหมแต่ละชั้นเป็นหัวหน้าตามชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น พรหมชั้นที่หนึ่ง เรียกว่า ปาริสัชชา มีท่านท้าวพรหมปาริสัชชาเป็นหัวหน้า เป็นต้น

    [​IMG]
     
  16. ภราดรภาพ

    ภราดรภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,578
    ค่าพลัง:
    +2,762
    "สัญลักษณ์สากลในศาสนาพราหมณ์"

    สัญลักษณ์ที่สำคัญในศาสนาพราหมณ์ที่ใช้เป็นสากล ได้แก่ อักษรโอม (Om/Aum) สวัสดิกะ (Swastika) และยันต์จักระ (Chakra Yantra) ดังภาพ

    [​IMG]

    “สัญลักษณ์ โอม มีความหมายว่าอย่างไร?”
    สัญลักษณ์อักษรโอม (Om/Aum) แทนพรหมันพระผู้เป็นเจ้าสูงสุด มาจากคำว่า A (อะ) U (อุ) M (มะ) หมายถึง พระพรหม พระนารายณ์ และพระศิวะ ตามลำดับ คำว่า โอม มักใช้เป็นคำสวดพยางค์แรกสำหรับสรรเสริญทวยเทพ เช่น โอม นมัส ศิวาย, โอม นารายณ์ นารายะ นะมะ, โอม พรหมเณ นะมะ เป็นต้น บ้างก็กล่าวว่า โอม คือ โองการของสิ่งศักดิ์สิทธิ์จากเบื้องบน ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แทนทุกสรรพสิ่งทั้งชีวิตอินทรีย์และวัตถุอินทรีย์ รวมไปถึงจิตวิญญาณ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ และเอกภพ


    “สัญลักษณ์ สวัสดิกะ มีความหมายว่าอย่างไร?” ภาพขวามือ
    สวัสดิกะ (Swastika) แทนจิตวิญญาณและพระอาทิตย์ มาจากคำว่า สวัสดิ (Swasti) แสดงถึงสิ่งดีงาม ส่วนคำว่า กะ (ka) แสดงถึงความโชคดี รวมกันหมายถึงความเป็น ศิริมงคล มีข้อสังเกตอยู่ว่าหากเป็นเครื่องหมายสวัสดิกะของศาสนาพราหมณ์จะมีจุดแต้มไว้สี่จุด ซึ่งจะคล้ายคลึงกันกับศาสนาพุทธนิกายมหายานที่ปรากฏอยู่ที่พระฝ่าพระหัตถ์ของพระยูไล เพียงแต่กลับด้านกันและไม่มีจุดแต้มเท่านั้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 กุมภาพันธ์ 2015
  17. ภราดรภาพ

    ภราดรภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,578
    ค่าพลัง:
    +2,762
    “สัญลักษณ์ ยันต์จักระ มีความหมายว่าอย่างไร?”

    ยันต์จักระ (Chakra Yantra) แทนมนฑลหรือผ้ายันต์ที่บรรจุรูปสามเหลี่ยมเก้าอันไว้ภายใน สามเหลี่ยมสี่อันบนแทนความเป็นชาย และสามเหลี่ยมห้าอันล่างแทนความเป็นหญิง จักระ (Chakra) แสดงถึงพลังอันศักดิ์สิทธิ์ของทวยเทพทั้งหลาย รวมไปถึงพลังลมปราณในการควบคุมการทำงานทางกายภาพของมนุษย์ให้เกิดความสมดุลย์ เช่น โยคะ และชี่กง ส่วนยันตระ (Yantra) แสดงถึงศิลปด้วยรูปลักษณ์ต่างๆ เช่น ดอกบัว วงกลม สามเหลี่ยม และสี่เหลี่ยม เป็นต้น ยันต์จักระแต่ละชนิดแผ่พลังอำนาจที่แตกต่างกัน ตามแต่พลังจักรที่ได้บรรจุเข้าไป มุ่งเน้นไปทางฤทธิ์และความสำเร็จในหน้าที่การงานและธุรกิจให้มีความเจริญรุ่งเรือง

    [​IMG]
     
  18. ภราดรภาพ

    ภราดรภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,578
    ค่าพลัง:
    +2,762
    รักแท้... วันวาเลนไทน์

    “ขอให้ความรักของหม่อมฉันแทนการเทิดทูนบูชาพระองค์เหนือสิ่งอื่นใด เท่านี้หม่อมฉันก็เพียงพอแล้วในชีวิตนี้”

    [​IMG]

    พบเรื่องราวรักแท้ (ไม่ต้องวันวาเลนไทน์ก็ได้) เรื่องราวความรักอันยิ่งใหญ่ของพระกฤษณะกับพระนางราธาเทวี… ความเดิมมีอยู่ว่า

    “เมื่อคราพระกฤษณะเป็นหมุ่นโคบาลได้พบรักกับหญิงนางหนึ่ง นามว่า “ราธา” (Radha) ซึ่งก็คือพระแม่ลักษมีอวตารนั่นเอง พระนางราธาเป็นบุตรีของวรีสหนุใน หมู่บ้านวรินดา นางเป็นหญิงเลี้ยงโค ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเรียกหญิงเลี้ยงโคว่า “โคปี” พระนางราธามีความผูกพันธ์กับพระกฤษณะตั้งแต่เยาว์วัย เนื่องจากเติบโตมาด้วยกัน เรื่องราวความรักของพระนางราธาที่มีต่อพระกฤษณะนั้น ได้เป็นที่กล่าวขานถึงความเสียสละและความจงรักภักดีของพระนางต่อชายอันเป็นที่รัก ที่ต้องพลัดพรากจากกันเพราะภาระอันยิ่งใหญ่ของฝ่ายชาย พระนางราธาเฝ้าคอยรอการกลับมาของ พระกฤษณะ จวบจนพระกฤษณะได้เป็นกษัตริย์แห่งเมืองทวาระกา หลังจากได้รับชัยชนะในศึกสงครามชิงชัยเหนือนครอโยธยา แต่แล้วพระกฤษณะกลับไปแต่งงานกับหญิงอื่นนามว่า “รักมีนี” และ “สัตยาบมา” เพื่อต้องการความเป็นปึกแผ่นของ อาณาจักร แต่พระองค์ก็ยังคงห่วงใยและเรียกหาพระนางราธาอยู่ร่ำไป จนเป็นที่ ขัดเคืองพระทัยของพระมเหสีทั้งสองพระองค์ ส่วนพระนางราธาก็ยังคงตั้งหน้ารอคอยการกลับมาของพระกฤษณะ จนในที่สุดพระองค์ได้กลับมาขอพระนางราธาแต่งงานตามที่ใจปรารถนา แต่แล้วความรักก็เกิดอุปสรรคที่ทำให้ทั้งสองไม่ได้แต่งงานกัน เมื่อบิดาและยายของพระนางราธา ต้องการให้พระกฤษณะเลิกรากับเมียทั้งหมดเสียก่อน แล้วจึงจะยอมยกพระนางราธาให้ แม้พระกฤษณะจะยินยอมตามข้อเสนอทุกอย่าง แต่ก็ต้องถูกคัดค้านจากพระนางราธาและร้องขอให้พระกฤษณะอย่าได้กระทำเยี่ยงนี้เลย

    “ขอให้ความรักของหม่อมฉันแทนการเทิดทูนบูชาพระองค์เหนือสิ่งอื่นใด เท่านี้หม่อมฉันก็เพียงพอแล้วในชีวิตนี้”

    นับแต่นั้นมาความรักของพระนางราธาที่มีต่อพระกฤษณะ ได้รับการกล่าวขานและเคารพบูชา จนกลายเป็นสัญลักษณ์เสมือนหนึ่งว่าทั้งสองพระองค์เป็นสิ่งเดียวกันเสมอมา”

    [URLI="http://youtu.be/JBuUKkw38r8"][/URLI]
     
  19. ภราดรภาพ

    ภราดรภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,578
    ค่าพลัง:
    +2,762
    “ศิวลึงค์ (Lingam)”

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    ศิวลึงค์ คือสิ่งที่แสดงถึงความเป็นเพศชาย โดยมีส่วนรองฐานแสดงความเป็นเพศหญิง (Yoni) ลึงค์มีหลากหลายรูปแบบ มีทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเรียกว่า “สวายัมภูวะลึงค์” และที่เกิดจากน้ำมือของมนุษย์ ที่ได้สร้างขึ้นเรียกว่า “มานุษลึงค์” โครงสร้างของลึงค์จะประกอบไปด้วยสามส่วนหลัก ได้แก่ ส่วนล่างสุดที่เป็นแท่งทรงสี่เหลี่ยมเรียกว่า “พรหมภาค” ส่วนกลางที่เป็นแท่งทรงแปดเหลี่ยมเรียกว่า “วิษณุภาค” และส่วนปลายยอดเป็นแท่งทรงกระบอกเรียกว่า “รุทรภาค” ก็คือ พระอิศวร นั่นเอง เวลาประกอบก็นำแท่งของทั้งสามส่วนนี้ไปสวมเข้ากับฐานโยนิ โดยมีช่องว่างสำหรับรองรับฐานในส่วนของพรหมภาคเข้าไป จนเหลือเฉพาะส่วนวิษณุภาคและรุทรภาคที่โผล่พ้นออกมาจากฐานโยนิ โดยมีช่องทางเดินให้ของเหลวไหลไปลงที่ถาดรองรับไว้

    การบูชาศิวลึงค์จะมีขั้นตอนอภิเษก ด้วยการสรงน้ำ ดอกไม้ น้ำนม เนยเหลว หรือแม้แต่ น้ำมันเพื่อความศักดิ์สิทธิ์ ส่วนน้ำที่ได้จากการสรงนี้ มักนิยมนำมาประพรมเป็นน้ำมนต์ เพื่อความเป็นศิริมงคลแก่ผู้เคารพบูชาลึงค์ เช่นเดียวกับฐานโยนิที่มีความสำคัญมากด้วยเช่นกัน เนื่องจากเป็นครรภ์ของมารดาที่เรียกว่า “ครรภคฤหะ” ความสัมพันธ์ระหว่างลึงค์และโยนิได้กลายเป็นบริบทของมนุษย์ จิตวิญญาณ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ โลก และเอกภพที่เป็นหนึ่งเดียวกันภายใต้กฎธรรมชาติแห่งนี้

    “กำเนิดศิวลึงค์ (Lingam) มีความเป็นมาอย่างไร?”
    คัมภีร์ปุราณะของลัทธิไศวะนิกาย ได้สร้างเทพปกรัมณ์อันเป็นนิยายที่มีผู้นิยมกันมาก “ลิงโคทภวมูรติ” (Lingodbhavamurthy) และมีปรากฎในศิลาจารึกไว้ในอาณาจักรจัมปาด้วยเช่นกัน ความเดิมมีอยู่ว่า…
    “พระพรหมและพระนารายณ์ทรงสู้รบกันเพื่อแก่งแย่งความเป็นใหญ่ ในระหว่างที่ประลองฤทธิ์กันอยู่นั้น ได้ปรากฎมีศิวลึงค์ของพระศิวะเป็นแท่งเปลวไฟชนาดใหญ่มหึมา ท่ามกลางการต่อกรของทั้งสองพระองค์ จึงได้เกิดความคิดท้าทายขึ้นมาใหม่ ว่าใครสามารถจะไปยังสุดปลายของลึงค์นี้ได้ก่อน พระพรหมจึงแปลงเป็นหงส์บินขึ้นไปเบื้องบนเพื่อให้ถึงปลายยอดสุด ส่วนพระนารายณ์แปลงเป็นหมูป่าขุดค้นลงไปยังข้างล่างเพื่อให้ถึงปลายล่างสุด ความพยายามของทั้งสองพระองค์ได้ดำเนินไปอย่างไม่ลดละ แต่ก็ยังไม่สามารถค้นหาที่สุดมิได้

    ทั้งพระพรหมและพระนารายณ์ต่างได้กล่าวสรรเสริญพระศิวะเจ้า จนเป็นที่พอพระทัยของพระองค์ จึงทรงปรากฎกายออกมาจากส่วนกลางของแท่งศิวลึงค์ ด้วยรูปลักษณ์ที่มีพระพักตร์ พระกร และพระชงฆ์เป็นจำนวนมากมาย ส่วนพระเนตรทั้งสามส่องประกายดั่งแสงพระอาทิตย์ แสงพระจันทร์ และแสงไฟ ทั้งพระพรหมและพระนารายณ์ ต่างทรงยอมรับและนอบน้อมเคารพต่อองค์พระศิวะ พระองค์ทรงได้บอกความในให้ทั้งพระพรหมและพระนารายณ์ ได้รับรู้ว่าเราทั้งสามล้วนแล้วแต่เป็นหนึ่งเดียวกัน เรียกว่า ตรีมูรติ (Trimuti) นั่นเอง”

    นับแต่นั้นมาศิวลึงค์แห่งจักรวาลของพระองค์ที่อยู่เหนือแผ่นดิน ก็ได้กลายมาเป็นศิวลึงค์ แห่งแผ่นดิน และนี่ก็คือต้นกำเนิดแห่งศิวลึงค์ที่แท้จริง

    “ศิวลึงค์ (Lingam) ในอารยธรรมเขมรมีความเป็นมาอย่างไร?”
    ในอารยธรรมเขมรได้มีการบูชาศิวลึงค์แทนสัญลักษณ์รูปเคารพพระศิวะ ตั้งแต่สมัยยุคก่อนเมืองพระนคร ทั้งที่เป็นแบบสวายัมภูวะและแบบมานุษลึงค์ ในรัชสมัยพระเจ้า ยโศวรมันที่ 1 ได้ทรงอุทิศสร้างศิวลึงค์ 5 องค์ อันหมายถึงรูปทั้งห้าขององค์พระศิวะ ได้แก่ อีศาน ตัตบุรุษ อโฆระ วามเทพ และสัทโยชาติ ในการบูชาลัทธิเทวราชาจะมีการนำศิวลึงค์ประดิษฐานไว้ห้องครรภคฤหะในใจกลางปราสาท โดยมีการสถาปนาลึงค์ในพระนามต่างๆ เช่น ที่ปราสาทบากอง ลึงค์มีพระนามว่า อินทเรศวร, ที่ปราสาทพนมบาแค็ง ลึงค์มีพระนามว่า “ยโศธเรศวร” และที่ปราสาทแปรรูป ลึงค์มีพระนามว่า “ราเชนทรภัทเรศวร” ฯลฯ
     
  20. ภราดรภาพ

    ภราดรภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,578
    ค่าพลัง:
    +2,762
    "พิธีศิวาราตรี"

    [​IMG]

    [​IMG]

    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ( 2514 : 113 – 116 ) ได้ทรงอธิบายไว้ในพระราชนิพนธ์ เรื่อง พระราชพิธี 12 เดือน พระองค์ทรงอธิบายถึง “พิธีศิวาราตรี” ซึ่งเป็นพิธีลอยบาปของพราหมณ์ โดยมีเรื่องราวที่ปรากฏในพระราชนิพนธ์

    ส่วนการพิธีของพราหมณ์ ซึ่งเรียกว่าศิวาราตรี ซึ่งเป็นพิธีมาแต่โบราณ จะขาดสูญเสียแต่ครั้งใดไม่ปรากฏ ตั้งแต่ตั้งกรุงรัตนโกสินทร์นี้ยังไม่เคยทำ พึ่งมามีขึ้นในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในหมู่กริ้วพระสงฆ์ว่าไม่ทำปวารณา และไม่ทำอุโบสถ เป็นการละเลยข้อสำคัญตามวินัยบัญญัติเสีย ซึ่งจะได้กล่าวต่อไปในเดือนสิบสอง

    พิธีศิวาราตรีนี้ เป็นพิธีลอยบาปของพราหมณ์คล้าย ๆ มหาปวารณา จึงโปรดให้ทำตามธรรมเนียมเดิม พิธีนี้ทำในวันเดือน 3 ขึ้น 15 ค่ำ คือ เวลาค่ำพระมหาราชครูทำพิธีแต่กระสูทธิ์ตามแบบเหมือนพิธีทั้งปวง แล้วเอาเสาปักสี่เสาเชือกผูกคอหม้อโยงเสาทั้งสี่ ภายใต้หม้อตั้งพระศิวลึงค์ เจาะหม้อให้น้ำหยดลงมาได้ทีละน้อยเอาขลังสอดไว้ในช่องหม้อเจาะนั้นเฉพาะตรงพระศิวลึงค์ ให้น้ำหยดลงถูกพระศิวลึงค์ทีละน้อยแล้วไหลลงตามรางซึ่งรองรับพระศิวลึงค์ ซึ่งพราหมณ์ในประเทศอินเดีย ซึ่งข้าพเจ้าเคยไปเห็นเรียกว่าโยนิ แล้วมีหม้อรองที่ปากรองนั้น เติมน้ำและเปลี่ยนหม้อไปจนตลอดรุ่งเวลาใกล้รุ่งทำพิธีหุงข้าวหม้อหนึ่งในเทวสถาน เจือน้ำผึ้งน้ำตาลนมเนย และเครื่องเทศต่าง ๆ สุกแล้วแจกกัน กินคนละเล็กละน้อยทุกคนทั่วกัน พอได้อรุณก็พากันลงอาบน้ำในคลอง สระผมด้วยน้ำที่สรงพระศิวลึงค์ ผมที่ร่วงในสระนั้นเก็บลอยไปตามน้ำ เรียกว่า ลอยบาป เป็นการเสร็จพิธีศิวาราตรีในวันเดียวนั้นเอง
     

แชร์หน้านี้

Loading...