เรื่องพระนิพพาน

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย supanon2011, 1 พฤศจิกายน 2011.

  1. supanon2011

    supanon2011 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    133
    ค่าพลัง:
    +84
    ตามที่ได้เรียนรู้มา
    เรื่องพระนิพพาน<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    นิพพานเป็นอย่างไร ? จากพระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ หน้าที่ ๒๕ เล่มที่ ๒๕ ข้อที่ ๑๕๘ กล่าวไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อายตนะนั้นมีอยู่ ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาศานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญยานาสัญญายตนะ โลกนี้ โลกหน้า พระจันทร์ พระอาทิตย์ ย่อมไม่มีในอายตนะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่กล่าวถึงอายตนะนั้นว่า เป็นการมา เป็นการไป เป็นการตั้งอยู่ เป็นการจุติ เป็นการอุปัตติ อายตนะนั้นหาที่ตั้งไม่ได้ มิได้เป็นไป หาอารมณ์มิได้ นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์ และจากข้อที่ ๕๑ เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๗๓ กล่าวว่า ดิน น้ำ ไฟ และลม ย่อมไม่หยั่งลงในนิพพานธาตุใด ในนิพพานธาตุนั้น ดาวทั้งหลายย่อมไม่สว่าง พระอาทิตย์ย่อมไม่ปรากฏ พระจันทร์ย่อมไม่สว่าง ความมืดย่อมไม่มี ก็เมื่อใดพราหมณ์ชื่อว่าเป็นมุนีเพราะรู้สัจจะด้วยตนเอง เมื่อนั้นพราหมณ์ย่อมพ้นจาก รูป และอรูป จากทุกข์ และสุข ที่เขียนมานี้คือ คำกล่าวที่มีมาในพระไตรปิฎก ทีนี้เราลองมาคุยกันดู ในคำกล่าวเหล่านั้นท่านว่า ดิน น้ำ ไฟ ลม ไม่มีในนิพพานธาตุ ฉนั้นนิพพานนั้นท่านเรียกว่า “ธาตุ” ถ้าเป็นคำนามก็คือ “ธาตุนิพพาน” หรือ “นิพพานธาตุ” ความสว่างจากดวงดาว พระอาทิตย์ พระจันทร์ไม่มี แต่ก็ไม่มีความมืด เมื่อใดผู้ปฏิบัติรู้สัจจะคืออริยะสัจจ์ด้วยตนเองย่อมพ้นจาก รูปฌาน อรูปฌาน ทุกข์ และสุข นี่เป็นคำกล่าวข้อที่ ๕๐ ในคำกล่าวข้อที่ ๑๕๘ ท่านกล่าวว่า อายตนะนั้นมีอยู่ฉนั้นนิพพานก็คือ อายตนะหนึ่ง ถ้าเป็นคำนามก็เรียกว่า “อายตนะนิพพาน” ทรงตรัสว่า ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาศานัญจายตนะ วิญญานัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ โลกนี้ โลกหน้า พระจันทร์ พระอาทิตย์ ย่อมไม่มีในอายตนะนั้น อายตนะนั้นไม่ได้เป็นการมา การไป ตั้งอยู่ จุติ อุปัตติ อายตนะนั้นไม่มีที่ตั้ง หาอารมณ์มิได้ นี่เป็นที่สุดแห่งทุกข์<o:p></o:p>
    สรุป นิพพาน ถ้าจะเรียกเป็นชื่อหรือเป็นคำนาม คือ “นิพพานธาตุ” “อายตนะนิพพาน” หรือ “พระนิพพาน” ซึ่งไม่มี ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาศานัญจายตนะ วิญญานัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ โลกนี้ โลกหน้า ไม่มีที่ตั้ง หาอารมณ์มิได้ มา ไป ตั้งอยู่ จุติ อุปัตติ ก็ไม่ใช่ ท่านใช้คำว่า “ถึง” นิพพานในพระบาลีของติลักขณาทิคาถามีว่า อัปปะกาเต มนุสเสสุ เยชนา ปารคามิโน ซึ่งแปลว่า ในหมู่มนุษย์ ทั้งหลายผู้ที่ “ถึง” ฝั่งแห่งพระนิพพานมีน้อยนัก อีกบทหนึ่งคือ เตชนา ปารเมสสันติ มัจจุเชยยัง สุทุตตะรัง แปลว่า ชนเหล่านั้นจัก “ถึง” ฝั่งแห่งพระนิพพาน ข้ามพ้นบ่วงแห่งมัจจุที่ข้ามได้ยากนักนี่เป็นเพียงยกมาให้ดูเป็นอุธาหรณ์ ของการใช้ภาษาของท่าน การถึงพระนิพพานท่านตรัสไว้ว่า ต้องรู้อริยะสัจจ์ด้วยตนเอง นี่เป็นเรื่องของนิพพาน ในพระไตรปิฎก ๒ ข้อที่ยกมาอ่านแล้วเป็นอย่างไร ยังมืดตึ๊บอยู่หรือเปล่า จงจำเอาไว้อย่างหนึ่งว่า นิพพานนั้นจะ “ถึง” ด้วยการปฏิบัติเท่านั้น เมื่อ “ถึง” แล้วจึงจะเข้าใจชัดเจน จะให้เข้าใจชัดเจนโดยใช้จิตใจที่เต็มไปด้วยกิเลสตัณหา ปั่นสมองให้คิดขึ้นมาได้นั้น หาเป็นไปได้ไม่ หากเป็นนักปฏิบัติสมาธิ หากปฏิบัติไปจนถึง อากิญจัญญฌาน นั่นนับว่าใกล้มากแล้ว พอจะสามารถเปรียบเทียบให้พอเข้าใจได้ ลองมาดูนัยอื่นซึ่งเป็นหลักวิชา อันจะทำให้เข้าใจในพระนิพพานขึ้นมาบ้าง หลักวิชาในพระพุทธศาสนาที่จะหยิบมาคุยคือ หลัก “ปฏิจจสมุปปบาท” พระพุทธศาสนาจะมีคำสอนเกี่ยวกับ ทาน ศีล ภาวนา เรื่องนิพพานนี่เป็นส่วนภาวนาการภาวนา ถ้าจับลงในหลัก ปฏิจจสมุปปบาท คือ ต้องมี มโน (ใจ) ธรรมารมณ์ (วิปัสสนาภูมิปาฐะ มีขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๑๘ อินทรีย์ ๒๒ อริยะสัจจ์ ๔ มโนวิญญาณ ทั้งสามประการนี้ทำให้เกิด ผัสสะ (มโนสัมผัส) ทั้งหมดนี้เรียกกันว่าการ “ภาวนา” ส่วนของธรรมารมณ์ คือ วิปัสสนาภูมิปาฐะ จะเอาหมวดไหนมาใช้ก็แล้วแต่ เมื่อมีสติจดจ่อไม่พลั้งเผลอ การภาวนาก็จะเป็นไปติดต่อจนเกิดสมาธิในองค์ธรรมนั้น ๆ ช่วงขณะนี้มโนสัมผัสก็จะดำเนินต่อไปเรื่อย ๆ ขณะใดที่มโนสัมผัสเกิด “ดับ” ไป โดยสติไม่พลั้งเผลอไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถใด ขณะนั้นอาจจะเป็น “นิพพาน” หรือ ไม่ใช่ก็ได้ (หากใครปฏิบัติถึงระดับ อากิญจัญญฌาน ก็จะคล้ายแบบนี้) ถ้าเป็นนิพพานเราเรียกว่า “วิมุติ” เมื่อมีวิมุติย่อมมี วิมุติญาณทัสสนะ ให้รู้ได้ด้วยตนเอง (ปัจจัตตัง เวทิตัพโพวิญญูหิ) หรือพระพุทธเจ้าทรงใช้คำว่า “อุปาทิ” ในธรรมจักรกัปปวตนสูตร หากเป็น อากิญจัญญฌาน เมื่อออกจากฌานแล้ว จะมีความสุขสบาย ปลอดโปร่ง ด้วยอำนาจของฌานอันละเอียด ถ้าจะถามว่าสมาธิอันจะทำให้ถึงนิพพานต้องระดับไหนพระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ว่า ตั้งแต่ปฐมฌานขึ้นไป จากหลักปฏิบัติจากสมุปปบาทนี้จะเห็นว่าเมื่อปฏิบัติจนถึง “ดับ” คือมโนสัมผัสไม่มี นั่นหมายถึงว่า หาอารมณ์มิได้ (พระไตรปิฎก ข้อ ๑๕๘) การตั้งอยู่ ไป มา จุติ อุปัตติ ก็ไม่มี ดิน น้ำ ลม ไฟ ก็ไม่ใช่จะเป็นอรูปฌานนั่นเป็นใจอย่างเดียว ส่วนนิพพานพ้นทั้งกาย และใจ (หาอารมณ์มิได้) ซึ่งเคยเขียนไว้เป็นรูปแบบดังนี้<o:p></o:p>
    อวิชชาดับไปโดยสำรอกไม่เหลือ<o:p></o:p>
    เท่ากับ มโน +ธรรมารมณ์ (วิปัสสนภูมิ) +มโนวิญญาณ >นิพพาน >ไม่เกิดมโนสัมผัส<o:p></o:p>
    วิชชาเกิดขึ้น<o:p></o:p>
    เท่ากับ มโน +ธรรมารมณ์ (วิมุตติ) +มโนวิญญาณ >วิมุตติญาณทัสสนะ (มโนสัมผัส)<o:p></o:p>
    วิชชา ๓ วิชชา ๘<o:p></o:p>
    เท่ากับ มโน +ธรรมารมณ์ ( กรรมฐาน ๔๐) +มโนวิญญาณ >ญาณทัสสนะวิชชา๓,๘(มโนสัมผัส)<o:p></o:p>
    เท่าที่พยายามอธิบายมามากมายพอสมควร เพื่อความชัดเจนในเรื่องความเข้าใจ นิพพาน เพราะคำสอนของพระพุทธเจ้ามีมากมาย ที่ทราบและยอมรับนับถือกันในเมืองไทยก็คือ ในพระไตรปิฎก แต่ใครจะกล้ารับรองอย่างเป็นจริงเป็นจังว่า คำสอนของพระพุทธเจ้านั้นมีอยู่แค่พระไตรปิฎก ที่มีในเมืองไทย ที่อื่นไม่มีอีก ฉนั้นผู้อื่นที่รู้ไม่เหมือนเราใช่ว่าเขาจะรู้ไม่ถูกต้อง เพราะนิพพานจะ “ถึง” ด้วยการปฏิบัติเท่านั้น หากสำนักใดหรือบุคคลใด อาศัย สมาธิ ภาวนา โดยมีศีลเป็นพื้นฐาน มีความเคารพเลื่อมใส บูชาในพระพุทธเจ้า ปฏิบัติแล้วจะถึงนิพพาน ต้องยอมรับว่า สำนักหรือท่านเหล่านั้นปฏิบัติได้จริงตามหลักวิชาของท่าน เราดูผลของมันคือ กิเลส อันมี โลภะ ราคะ โทสะ โมหะ เป็นอย่างไร แต่อย่าลืมว่าต้องรู้ระดับของการละกิเลสด้วยว่าอยู่ในขั้นไหน อาศัย สังโยชน์ ๑๐ เป็นตัววัดระดับ แบบนี้ต้องมีปัญญา และใช้เวลา เพราะการหลุดพ้น (วิมุติ) มีระดับต่างกัน จากพระโสดาบัน ซึ่งเป็นการหลุดพ้นขึ้นแรก จนถึงระดับอรหันต์ การหลุดพ้นอย่างสิ้นเชิง หมายถึง กิเลส ตัณหา อุปทาน ดับสิ้นหมดไม่กำเริบ

    Supanon
    2011-10-31
     
  2. deelek

    deelek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    6,696
    ค่าพลัง:
    +16,255

    พระพุทธเจ้าสอนเรื่องจริง
    ธรรมะที่พระพุทธองค์สอนเป็นความจริง
    ถ้าผู้ปฏิบัติจริงก็จะได้รับรู้ความจริง
    เช่น ทาน ศิล สมาธิ วิปัสสนาปัญญา
    พิจารณา อริยะสัจ4, รูป-นาม เกิด-ดับ จริง
    เป็นพระไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จริง
    นรก สวรรค์ พรหม นิพพาน มีจริง
    พวกเราปฏิบัติกันจริง ๆ แล้วหรือยัง
    นิพพานัง ปรมัง สุขขัง
    นิพพานัง ปัจจโย โหตุ
     

แชร์หน้านี้

Loading...