เรื่องเด่น เรื่องเล่าในพระธรรมบท ตอน พระสารีบุตรเถระผู้ระงับความโกรธ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 5 กันยายน 2017.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,440
    เรื่องเล่าในพระธรรมบท ตอน พระสารีบุตรเถระผู้ระงับความโกรธ
    21231896_484125135277271_2143444971319130316_n.jpg
    พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระสารีบุตรเถระ ตรัสพระธรรมบท พระคาถาที่ 95 นี้

    ครั้งหนึ่ง พระสารีบุตร เมื่อออกพรรษาแล้ว ใคร่จะหลีกไปสู่ที่จาริก จึงทูลลาพระศาสดา ถวายบังคมแล้วออกไปพร้อมด้วยภิกษุบริวารของตน มีภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งมีความอาฆาตต่อพระเถระ และได้เข้าไปเฝ้าพระศาสดาแล้วได้กราบทูลกล่าวหาพระสารีบุตรเถระว่าดุด่าและทุบตีตน พระศาสดาจึงได้รับสั่งให้พระสารีบุตรมาเฝ้าแล้วตรัสถามในเรื่องนี้ ซึ่งพระสารีบุตรได้กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เป็นไปได้อย่างไรที่ภิกษุผู้พิจารณากายคคาสติอย่างเคร่งครัด จะหลีกไปสู่ที่จาริกโดยที่ไม่ยอมขอโทษหลังจากที่ได้กระทำผิดต่อภิกษุรูปใดรูปหนึ่งแล้ว ? ข้าพระองค์มีจิตเปรียบได้กับแผ่นดิน ซึ่งไม่มีความรู้สึกสุขหรือทุกข์เมื่อบุคคลนำสิ่งของสะอาดหรือของสกปรกทิ้งลงไป ข้าพระองค์มีจิตเปรียบเหมือนผ้าเช็ดธุลี เหมือนเด็กจัณฑาล เหมือนโคอุสภะมีเขาขาด ข้าพระองค์มีความรังเกียจร่างกายว่าไม่มีความสะอาดและก็มิได้ยึดติดในร่างกายนี้อีกต่อไป”

    เมื่อพระสารีบุตรเถระกล่าวเช่นนี้ ภิกษุหนุ่มรูปนั้นก็เกิดความร้อนรุ่มในใจ รู้สึกเสียใจ ร้องให้ออกมา และยอมรับว่าตนกล่าวเท็จเกี่ยวกับพระสารีบุตรเถระ จากนั้นพระศาสดาได้ทรงแนะนำให้พระสารีบุตรเถระยอมรับคำขอโทษของพระภิกษุหนุ่มนั้น โดยตรัสว่า “สารีบุตร เธอจงอดโทษต่อโมฆบุรุษนี้เสีย มิฉะนั้นแล้วศีรษะของเขา จักแตกเป็น 7 เสี่ยง” ภิกษุหนุ่มนั้นได้เกิดสำนึกยอมรับว่าตนเป็นฝ่ายทำผิดและได้กราบขออภัย พระเถระก็ได้ยกโทษให้ภิกษุรูปนั้นและยังกล่าวขอโทษพระภิกษุหนุ่มหากท่านได้กระทำความผิดอะไรลงไป

    เมื่อภิกษุทั้งหลายได้กล่าวยกย่องพระสารีบุตรเถระ และพระศาสดาได้ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ใครๆไม่อาจให้ความโกรธหรือความประทุษร้าย เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้เช่นกับสารีบุตรได้ ภิกษุทั้งหลาย จิตของสารีบุตรเช่นกับแผ่นดินใหญ่ เช่นกับเสาเขื่อน และเช่นกับห้วงน้ำใส”

    จากนั้น พระศาสดาได้ตรัส พระธรรมบท พระคาถาที่ 95 ว่า

    ปฐวีสโม โน วิรุชฺฌติ
    อินฺทขีลูปโม ตาทิ สุพฺพโต
    รหโทว อเปตกทฺทโม
    สํสารา น ภวนฺติ ตาทิโนฯ

    ผู้ไม่ยินดียินร้าย ดุจแผ่นดิน
    คงที่ ดุจเสาเขื่อน มีวัตรดี
    เหมือนทะเลสาบ อันปราศจากเปือกตม
    จะไม่มีการเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป.


    เมื่อพระสัทธรรมเทศนาจบลง ภิกษุ 9 พันรูป บรรลุพระอรหัต พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย.
     
  2. Apinya Smabut

    Apinya Smabut นิพพานังสุขัง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    1,397
    กระทู้เรื่องเด่น:
    57
    ค่าพลัง:
    +2,631
  3. ศิศุศิษย์วัด

    ศิศุศิษย์วัด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กุมภาพันธ์ 2013
    โพสต์:
    1,152
    ค่าพลัง:
    +229
    สาธุ
     

แชร์หน้านี้

Loading...