เวลาทำบุญให้อธิษฐานแบบนี้...จะดีแก่ตัวเรา

ในห้อง 'บทสวดมนต์ - คาถา' ตั้งกระทู้โดย spirit_saa, 19 มีนาคม 2009.

  1. spirit_saa

    spirit_saa สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    39
    ค่าพลัง:
    +11
    ข้อมูลดีๆ ที่เราอยากนำเสนอในวันนี้คือ เวลาทำบุญให้อธิษฐานแบบไหน...จะดีแก่ตัวเรา หลายๆ คนคงหันหน้าเข้าหาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจกัน คุณรู้ไหมว่า อธิษฐานแบบไหนถึงจะส่งผลดีกับตัวเรา มาดูกันค่ะ

    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="585"><tbody><tr> </tr> <tr> <td valign="top"> <table class="path" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr><td>
    </td></tr> </tbody></table> <table style="width: 1px; height: 13px;" class="headContent" background="/images2/hilight_picture/dot_43.gif" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr><td width="117">
    </td> <td align="right" background="/images2/hilight_picture/dot_43.gif" valign="top"></td></tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="415"> <tbody><tr><td height="10">[​IMG]</td></tr> </tbody></table> <table class="fontDefault" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="415"> <tbody><tr><td width="150">
    </td> <td width="10">
    [​IMG]</td> <td width="100%">
    เวลาทำบุญให้อธิษฐานแบบนี้...จะดีแก่ตัวเรา
    </td></tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="415"> <tbody><tr></tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="415"> <tbody><tr><td height="10">
    </td></tr> </tbody></table> <table class="fontDefault" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="415"> <tbody><tr><td colspan="2"><script language="JavaScript" src="http://horoscope.sanook.com/global_js/global_function.js"></script>

    <!--START-->ข้อมูล ดีๆ ที่เราอยากนำเสนอในวันนี้คือ เวลาทำบุญให้อธิษฐานแบบไหน...จะดีแก่ตัวเรา หลายๆ คนคงหันหน้าเข้าหาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจกัน คุณรู้ไหมว่า อธิษฐานแบบไหนถึงจะส่งผลดีกับตัวเรา มาดูกันค่ะ

    [​IMG]


    คำอธิษฐานเวลาทำบุญ

    ขอบุญจาก.............( ธรรมทาน , สังฆทาน , วิหารทาน )นี้ จงถึงแก่ เจ้ากรรมนายเวร และผู้ปกปักรักษาดูแลช่วยเหลือข้าพเจ้าและครอบครัวที่มีมาถึงตัวทุกภพทุกภูมิ
    ขอบุญนี้จงเป็นปัจจัยให้ข้าพเจ้าเข้าถึงพระนิพพานในชาติปัจจุบัน หากไม่ถึงเพียงใด ขอให้คำว่าไม่มีไม่รู้ในสิ่งที่ดี จงอย่าได้ปรากฎแก่ข้าพเจ้า ขอให้เกิดในภพภูมิเขตประเทศที่มีพระพุทธศาสนาประดิษฐานอย่างมั่นคง
    และได้ศึกษาพระธรรมได้อย่างเข้าใจถ่องแท้ลึกซึ้งตลอดจนกว่าจะเข้าพระนิพพานด้วยเทอญ ขอท่านพระยมราชจงเป็นสักขีพยานในการบำเพ็ญบุญของข้าพเจ้าในครั้งนี้ด้วยเทอญ



    (ถ้าได้อ่านข้อความดีๆ อันนี้แล้ว โปรดส่งต่อ ให้ได้มากที่สุด จะเป็นธรรมทานอย่างหนึ่งนะค่ะ)
    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสเอาไว้ว่า "การให้ธรรมเป็นทานชนะการให้ทั้งปวง"




    ข้อมูล : Forword Mail
    ภาพประกอบ : อินเตอร์เน็ต

    (smile)
    </td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มีนาคม 2009
  2. j.chaisat

    j.chaisat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    299
    ค่าพลัง:
    +842
    ผมจันทรัสม์ ขอนำเสนอบทความดีๆ ครับ
    คัมภีร์ละกาม...
    จาก หนังสือคัมภีร์ละกามเล่ม๑ : คุณสุเทพ มานีเวศม์ ผู้แปล
    บทลงโทษละเมิดกามในนรก
    --------------------------------------------------------------------------------
    นับจากโบราณกาลมา การผิดประเวณีนับเป็นยอดแห่งความชั่ว บทลงโทษในโลกมนุษย์นับว่าหนักแล้ว แต่บทลงโทษในนรกยิ่งหนักเพิ่มขึ้น วิธีการลง
    โทษมีหลากหลายดังขยายต่อไป หวังว่าท่านผู้อ่านควรละเว้นทันที
    พี่น้องเสพสุขตกนรกชั่วนิรันดร หากถึงขั้นฆ่าชีวิตด้วยแล้ว จะถูกฟ้าผ่า ผู้ใดข่มขืนศพหญิง จะตกนรกชั่วนิรันดรเช่นกัน ผู้ใดได้รับโทษทัณฑ์ในโลก
    มนุษย์มาแล้ว จะไม่ถูกฟ้าผ่า ผู้ใดที่มีความกตัญญูจะลดโทษ 4 ส่วน ผู้ใดเคยสร้างบุญใหญ่ 1,500 ครั้งก็ถูกลดโทษ 4 ส่วนเช่นกัน ผู้ใดข่มขืนหญิงหม้าย
    จะขาดลูกหลานสืบทอดวงศ์ตระกูล ตกนรก 500 ชาติ แล้วเกิดเป็นมด หนอน 500 ชาติ ยังมาเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานอีก 500 ชาติ จึงเกิดมาเป็นคน มีอาชีพ
    เป็นโสเภณี ผู้ใดได้รับโทษทัณฑ์ในโลกมนุษย์แล้ว ลด 100 ชาติ หากมีการฆ่าถึงชีวิต เพิ่มโทษ 5 เท่า ผู้ใดเป็นผู้กตัญญูต่อพ่อแม่และจงรักภักดีต่อพระ
    มหากษัตริย์กับประเทศชาติลดโทษกึ่งหนึ่ง ประกอบบุญใหญ่ 500 ครั้ง ลดโทษกึ่งหนึ่งเช่นกัน
    หมายเหตุ : บทลงโทษในเมืองนรก คำว่า 1 ชาติ หมายถึง การลงโทษถึงตายแล้วฟื้นคืนกลับมาแล้วรับโทษเหมือนเดิมจนครบกำหนดแล้วโทษนั้นจึงยุติ
    หากยังมีโทษอื่นอีก ก็ต้องรับโทษในขุมนรกอื่น ๆ ในหนังสือ "บันทึกถ้ำนรก" ได้บรรยายอย่างละเอียด ผู้ใดทำผิดศีลข้อ 3 แล้ว หากสำนึกผิดแล้วหัน
    มาประกอบกรรมดีช่วงที่ยังมีชีวิตอยู่เมื่อตายจากโลกมนุษย์แล้ว จะได้รับการลดโทษตามส่วน ผู้ใดไม่สำนึกผิดเลยจนตาย เมื่อตายจากโลกมนุษย์แล้ว
    จะได้รับการลงโทษจากขุมนรกที่ 1 แล้วยังต้องไปรับโทษขุมนรกอื่น ๆ โทษที่จะได้รับเช่น "แหวกหัวใจ" "คนโลหะ" "ตัดไต" "หนูกัด" "ลงกระทะ
    ทองแดง" "รถบด" ฯลฯ
    ผู้ใดทำผิดศีลข้อ 3 ระหว่างพี่น้อง ลูกกับแม่เลี้ยง พ่อผัวกับลูกสะใภ้ ฯลฯ จะตกนรกตลอดกาล เพราะการผิดศีลข้อ 3 ระหว่างหมู่ญาติ นับว่าโทษหนักที่สุด
    เมื่อรับโทษทัณฑ์ครบแล้ว จึงเกิดมาเป็นคน 1 ครั้ง เรียกว่า 1 ชาติ หนังสือ "ตำรับทอง" และ "ตำรับวงเวียน" 2 เล่มนี้ได้บรรยายบทลงโทษอย่างละเอียด
    กฎเมืองนรกก็มีการลดหย่อนผ่อนโทษเช่นกัน ฉะนั้นเห็นได้ว่า บาปบุญคุณโทษไม่มีการผิดเพี้ยน หากผู้ใดได้อ่านหนังสือ "ตำรับทอง" "ตำรับวงเวียน"
    และ "บันทึกถ้ำนรก" 3 เล่มนี้แล้ว ยิ่งเพิ่มความเชื่อมั่นในเรื่องกฎแห่งกรรม
    ผู้ใดหลอกข่มขืนหญิงหม้าย..
    จะไม่มีลูกหลานสืบตระกูล 2 ชาติ และรับโทษในขุมนรก แล้วมาเกิดเป็นหนอน มด สัตว์เดรัจฉาน อย่างละ 400 ชาติ แล้วจึงเกิดมาเป็นคนพิการ ผู้ใด
    เคยรับโทษทัณฑ์ในโลกมนุษย์ ลดโทษ 80 ชาติ หากถึงขั้นทำร้ายชีวิตถึงตาย เพิ่มโทษ 4 เท่า ผู้ใดจงรักภักดีกับเป็นบุตรกตัญญูลดโทษ 70% ผู้ใดเคย
    สร้างบุญขนาดกลาง 500 ครั้ง ลดโทษ 70% เช่นกัน
    ผู้ใดแทะโลมจนหญิงหม้ายเสียตัว ...
    จะไม่มีลูกหลานสืบตระกูล 3 ชาติ หลังจากรับโทษในขุมนรกแล้ว มาเกิดเป็นหนอน มด สัตว์เดรัจฉาน อย่างละ 300 ชาติ จึงมาเกิดเป็นคนยากจนแสน
    เข็ญ ผู้ที่ได้รับโทษในโลกมนุษย์แล้ว จะลด 60 ชาติ หากถึงขั้นฆ่าตาย เพิ่มโทษ 3 เท่า ผู้ใดจงรักภักดีและเป็นบุตรกตัญญู ลดโทษ 90% ผู้ใดเคยสร้างบุญ
    500 ครั้ง ลดโทษ 90% เช่นกัน
    ข่มขืนสาวพรหมจรรย์..
    บุตรธิดาจะมั่วกาม ตัวเองจะต้องรับโทษทัณฑ์ในขุมนรก 400 ชาติ แล้วไปเกิดเป็นหนอน เป็นมด อย่างละ 400 ชาติ จึงเกิดมาเป็นคนขี้ข้า (ทาส) ผู้ใด
    เคยรับโทษในโลกมนุษย์มาแล้ว ลดโทษ 100 ชาติ หากมีการฆ่ากันถึงชีวิต เพิ่มโทษ 4 เท่า ผู้ใดเคยทำประโยชน์แก่ประเทศชาติ หรือเป็นบุตรกตัญญู ลด
    โทษกึ่งหนึ่ง เคยประกอบกรรมดี 400 ครั้ง ก็ลดโทษกึ่งหนึ่งเช่นกัน
    ใช้วิธีหลอกลวงข่มขืนสาวพรหมจรรย์ ..
    จะไม่มีลูกหลานสืบตระกูล 2 ชาติ และรับโทษในขุมนรก แล้วมาเกิดเป็นหนอน มด สัตว์เดรัจฉาน อย่างละ 250 ชาติ แล้วจึงมาเกิดเป็นคนขี้โรคอ่อนแอ
    ผู้ใดเคยรับโทษทัณฑ์ในโลกมนุษย์ ลดโทษ 70 ชาติ หากถึงขั้นทำร้ายชีวิตถึงตาย เพิ่มโทษ 3 เท่า ผู้ใดจงรักภักดีกับเป็นลูกกตัญญู ลดโทษ 70 % ผู้ใดเคย
    สร้างบุญขนาดกลาง 400 ครั้ง ลดโทษ 70 %
    ผู้ใดแทะโลมจนสาวพรหมจรรย์เสียตัว..
    ภรรยาและบุตรสาวจะต้องชดใช้กรรม และตัวเองต้องรับโทษในขุมนรก แล้วมาเกิดเป็นหนอน มด สัตว์เดรัจฉาน อย่างละ 100 ชาติ แล้วจึงเกิดเป็นคนมี
    ฐานะยากจน ผู้ใดเคยรับโทษทัณฑ์ในโลกมนุษย์ลดโทษ 40 ชาติ หากถึงขั้นทำร้ายชีวิตถึงตาย เพิ่มโทษ 2 เท่า ผู้ใดจงรักภักดีกับเป็นลูกกตัญญู ลดโทษ
    90% ผู้ใดเคยสร้างบุญเล็ก 400 ครั้ง ลดโทษ 90% เช่นกัน
    ข่มขืนเด็กสาว (อายุต่ำกว่า 15 ปี)
    ภรรยาและบุตรสาวจะต้องชดใช้กรรม ตัวเองต้องรับโทษในขุมนรกแล้วมาเกิดเป็นหนอน มด สัตว์เดรัจฉาน อย่างละ 350 ชาติ แล้วจึงมาเกิดเป็นคน
    ผู้น้อย ถ้าเคยรับโทษทัณฑ์ในโลกมนุษย์ ลดโทษ 100 ชาติ หากถึงขั้นทำร้ายชีวิตถึงตาย เพิ่มโทษ 3 เท่า ผู้ใดจงรักภักดีกับเป็นลูกกตัญญู ลดโทษกึ่งหนึ่ง
    ประกอบบุญใหญ่ 300 ครั้ง ลดโทษกึ่งหนึ่งเช่นกัน
    ใช้วิธีหลอกลวงข่มขืนเด็กสาว.. (อายุต่ำกว่า 15 ปี)
    ลดอายุ 24 ปี ตายแล้วต้องรับโทษทัณฑ์ในขุมนรก แล้วมาเกิดเป็นหนอน มด สัตว์เดรัจฉาน อย่างละ 100 ชาติ แล้วจึงมาเกิดเป็นคน ไร้คู่ครอง ผู้ใดเคย
    รับโทษในเมืองมนุษย์มาแล้ว ลดโทษ 30 ชาติ หากถึงขั้นทำร้ายชีวิตถึงตาย เพิ่มโทษ 2 เท่า ผู้ใดจงรักภักดีและเป็นลูกกตัญญู ลดโทษ 70% สร้างบุญ
    ขนาดกลาง 300 ครั้ง ลดโทษ 70% เช่นกัน
    ผู้ใดแทะโลมจนเด็กสาวเสียตัว..
    ลดอายุ 12 ปี ตายแล้วรับโทษในขุมนรก แล้วมาเกิดเป็นหนอน มด สัตว์เดรัจฉาน อย่างละ 70 ชาติ แล้วจึงมาเกิดเป็นคนมีฐานะยากจน ผู้ใดเคยรับโทษ
    ในเมืองมนุษย์มาแล้ว ลดโทษ 20 ชาติ หากถึงขั้นทำร้ายชีวิตถึงตาย เพิ่มโทษ 1 เท่า ผู้ใดจงรักภักดีและเป็นลูกกตัญญู ลดโทษ 90% สร้างบุญขนาดเล็ก 300
    ครั้ง ลดโทษ 90% เช่นกัน
    บทลงโทษ 3 ข้อข้างต้น (หญิงหม้าย สาวพรหมจรรย์ และเด็กสาว) มีผลเฉพาะที่ไม่ใช่เครือญาติ หากเป็นวงศาคณาญาติ เพิ่มโทษ 1 เท่า หากเป็นพี่น้อง
    กัน หรือมีเพศสัมพันธ์ระหว่างงานศพ เพิ่มโทษ 3 เท่า หากข่มขืนสาวใช้ รับโทษหนักเช่นกัน ข่มขืนไม่สำเร็จ ลดอายุ 6 ปี หากถึงขั้นเสียชีวิต มีโทษ
    หนักดั่งโทษข่มขืน
    เที่ยวซ่อง 1 ครั้ง ลดอายุขัยครึ่งปี ผู้ใดติดกามโรค ลดอายุขัย 1 ปี หากสำนึกผิด ยกเว้นลดอายุขัย
    รักร่วมเพศ รับโทษดั่งข่มขืนหญิงสาว ถ้าคู่หูเป็นชายอายุต่ำกว่า 15 ปี ถือเป็นเด็กสาว รับโทษดั่งเที่ยวซ่องโสเภณี
    ประพันธ์หนังสือลามก ลดอายุขัย 24 ปี หากมีผู้อ่านอ่านแล้วเกิดไปข่มขืนหญิงอื่น ผู้ประพันธ์จะต้องรับโทษเสมือนหนึ่งเป็นผู้ข่มขืนเอง หากหนังสือ
    ลามกไม่ถูกทำลายหมดสิ้น จะไม่ได้ไปผุดไปเกิด ผู้ถ่ายทำหนังลามก รับโทษหนักเหมือนกัน
    เปิดเผยเรื่องลามก ลดอายุขัย 6 ปี ถ้ามีการฆ่าถึงชีวิต ลดอายุขัย 12 ปี คุยเรื่องในมุ้ง มีโทษเช่นกัน หากสำนึกผิด จะได้รับลดโทษบ้าง
    กฎลามกของผู้พิพากษาแซ่ลก (สมัยราชวงศ์ซ้อง) ได้เพิ่มเติมว่า ผู้ใดผิดศีลข้อ 3 จนตั้งครรภ์และทำแท้งถึงขั้นเสียชีวิเต เพิ่มโทษ 1 เท่า
    ผู้ใดข่มขืนเด็กสาวตั้งแต่อายุ 12 ปีขึ้นไป ไม่ว่าจะใช้วิธีล่อลวงหรือเกลี้ยกล่อม ให้ถือเป็นคดีข่มขืน หากมีการฆ่าถึงชีวิต เพิ่มโทษ 1 เท่า
    ผู้ใดมีภรรยาและบุตรแล้ว ยังแอบมีภรรยาน้อย 1 คน ลดอายุขัย 2 ปี คนที่มีชื่อเสียงเกียรติยศอยู่แล้ว จะถูกลดชื่อเสียงลง 8 ส่วน แต่ไม่ลดอายุขัย
    หญิงหม้ายใดที่ไม่คิดแต่งงานใหม่ ใช้วิธีหลอกลวงจนได้เสียจะลดอายุขัย 3 ปี หากเธอมีจิตจะแต่งงานใหม่ ไม่ต้องลดอายุขัย
    ผู้ใดแต่งงานกับหญิงหม้าย และไม่รับผิดชอบเลี้ยงดูบุตรธิดาของสามีเก่า 1 คน ลดอายุขัย 2 ปี หากทรมานลูก ๆ ของสามีเก่าจนเสียชีวิต ลดอายุขัย 12 ปี
    สนทนาระหว่างเพื่อนฝูงเรื่องตัณหา 3 ครั้ง ลดอายุขัย 1 เดือน
    นำเพื่อนไปเที่ยวซ่องโสเภณี ลดอายุขัย 3 ปี ผู้ใดมีชื่อเสียงโชคลาภ งดการลดอายุขัย แต่ลาภยศจะเลื่อนเวลาออกไป
    ผู้ใดเห็นหญิงงามเดินผ่านและเหลียวมองอย่างไม่ลดละ 3 ครั้ง ลดอายุขัย 3 เดือน หากหาอุบายตีสนิทแฝงด้วยจิตไม่บริสุทธิ์ 1 ครั้ง ลดอายุขัย 3 เดือน
    ผู้ใดชอบฟังเรื่องลามก 1 ครั้ง ลดอายุขัย 3 เดือน ผู้ที่มีชื่อเสียงเกียรติยศ จะถูกบั่นทอน
    ผู้ใดตั้งใจดูหนังลามก 1 ครั้ง ลดอายุขัย 3 เดือน หากถึงขั้นเสียชีวิต เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน 1 ชาติ
    ผู้ใดชอบอ่านหนังสือลามก 3 ครั้ง ลดอายุขัยครึ่งเดือน ผู้ใดถึงขั้นไม่สบาย ลดอายุขัย 3 ปี
    ผู้ใดชักชวนเพื่อน ๆ รื่นรมย์กับกามตัณหา ถูกลงโทษ 2 ชั้น พ่อหรือพี่ชายไม่ยับยั้งลูก ๆ หรือน้อง ๆ จนหลงกามารมณ์ หรือปล่อยปละละเลยคนใช้
    รื่นเริงกับกามารมณ์ ถูกลงโทษ 2 ชั้นเช่นกัน
    ผู้พิพากษาแซ่ลกเขียนไว้ว่า โทษทัณฑ์ในเมืองนรกยากต่อการผ่อนปรน โทษของการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างญาติยิ่งหนักกว่าเพื่อน ไม่ว่าจะเป็นผู้น้อย
    ละเมิดกามต่อผู้ใหญ่ หรือผู้ใหญ่ล่อลวงผู้น้อย เมื่อตายจากโลกนี้ไปแล้ว ต้องรับโทษในขุมนรกทั้งนั้น
    สังคมในมนุษย์ปัจจุบันผู้ผิดศีลข้อ 3 มักเกิดขึ้นกับครอบครัวที่รับราชการ บัณฑิต พวกเขาประพฤติเช่นนี้บ่อยครั้งจนติดเป็นนิสัยจนถึงวาระสุดท้ายของ
    ชีวิต ก็ยังไม่สำนึกว่าการกระทำของตนนั้นผิด
    สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายจึงได้ทูลพระเจ้าเง็กเซียนฮ่องเต้ (ท้าวสักกะเทวราช) ท่านทรงอนุญาตให้ตีแผ่กฎลงโทษของนรกสู่โลกมนุษย์โดยไม่ปิดบัง เพื่อให้
    ผู้อ่านจะได้สำนึกผิดและจะได้รับการลดโทษ ผู้ที่มีความจงรักภักดีและกตัญญูได้รับการลดโทษ ผู้ใดเคยสร้างสมบุญกุศลได้รับการลดโทษเช่นกัน
    หากผู้ใดได้อ่านบทความนี้แล้ว ไม่เพียงสำนึกผิดกลับติเตียนทำลาย จะได้รับโทษหนัก หรือถูกฟ้าผ่าตาย
    หากมีผู้ใดเชื่อคำสั่งสอนของบทความนี้ และได้เผยแพร่ให้ผู้อื่นได้ทราบ
    เผยแพร่ 100 คน เพิ่มอายุ 12 ปี
    เผยแพร่ 200 คน ผู้ไร้บุตรจะได้บุตร
    เผยแพร่ 500 คน ยศชื่อเสียงเพิ่มทวีคูณ
    เผยแพร่ 1,000 คน มีชื่อบนสวรรค์ เผยแพร่ทั่วพิภพ ตายแล้วได้จุติเป็นเซียน
    เผยแพร่กับเศรษฐี 10 คน ได้บุญกุศลเท่ากับเผยแพร่กับคนสามัญ 200 คน
    เผยแพร่กับข้าราชการได้บุญกุศลเท่ากับเผยแพร่กับคนสามัญ 100 คน
    ซึ่งบทบัญญัตินี้ท่านพระเจ้าฟู่ยิ่งได้ทูลพระเจ้าเง็กเซียนฮ่องเต้ ซึ่งทรงได้อนุญาตให้เป็นไปตามบทบัญญัตินี้
    (Webmaster : เศรษฐีและข้าราชการเป็นผู้มีเงินและอำนาจ สามารถทำผิดเรื่องกามได้ง่าย หากชี้แนะให้กลับตัวกลับใจได้ จะเกิดบุญกุศลยิ่งใหญ่)

    หมายเหตุ : หนังสือรวมบทกำหนดโทษสุวรรณนี้ มีขึ้นในสมัยพระเจ้าหานฟง ในราชการปีที่ 6 ในราชวงศ์เช็ง
    เทพเจ้าเหวินเชียงเสด็จประทับทรงที่อำเภอฟงหลิน มณฑลหูหนาน ว่า บทบันทึกนี้เป็นบทกำหนดขึ้นโดยพระเจ้าเง็กเซียนฮ่องเต้ (ท้าวสักกะเทวราช)
    และเก็บรักษาไว้ในกล่องหยก เทพเจ้าเหวินเชียงได้ทูลขออนุญาตนำไปเผยแพร่สู่ชาวโลก เพื่อให้เข้าใจถึงบทลงโทษของเบื้องบนในราชการปีที่ 3
    ของพระเจ้าแผ่นดินกวงซุ่ยในราชวงศ์เช็ง ในที่สุดเทพเจ้าบุ๋นและเทพเจ้าบู๊ 2 ท่านได้รับพระมหากรุณาธิคุณโดยพระเจ้าเง็กเซียนฮ่องเต้ให้นำหนังสือ
    เล่มนี้ไปเผยแพร่สู่ชาวโลกได้ หากหนังสือใด ๆ ของเทพยดาทรงแต่งขึ้น ที่ยังมีบางข้อยังไม่สมบูรณ์นั้น หนังสือเล่มนี้จะได้ทดแทนส่วนที่ขาดไป

    พระโพธิสัตว์กวนอิมได้กล่าวไว้ในขันธ์ 5 ว่า สิ่งที่ยากแก่การเข้าถึง คือความว่างเปล่า นั่นคือรูป ข้าพเจ้าแนะวิธีให้เห็นความว่าง กล่าวคือ ในขณะที่คน
    เราเริ่มมีความใคร่เกิดขึ้น ให้คิดอยู่เสมอว่า รูปหาใช่รูปแท้ไม่ เพราะจะร่วงลงในที่สุด เมื่อข้าฯ คิดถึงเรื่องกามารมณ์ ก็จะละอายต่อฟ้าปางก่อน 1 ส่วน
    สติปัญญาและชีวิตของเราก็สูญหายไป 1 ส่วน นาน ๆ เข้าสติปัญญาจะเสื่อมลง ชีวิตก็จะไปไม่รอด นั่นคือรูปไม่แตกต่างจากความว่างเปล่า
    การผิดประเวณีเป็นยอดแห่งความชั่วทั้งปวง คนที่ลุ่มหลงกามารมณ์เป็นผู้ประกอบความชั่วในเบื้องแรก ฉะนั้นควรละเว้นให้ได้ กามราคะเป็นไฟเผา
    ผลาญสุขภาพ เหตุใดคนเราจึงต้องมาลุ่มหลงความไม่เที่ยง หาความงามของสตรีมาละเมิดและทำความชั่ว คนเราตายเพราะสตรีก็มีมากมาย ในที่สุด
    กามารมณ์ทำให้คู่ครองไม่อาจไปได้รอดฝั่ง นั่นละรูปคือความว่างเปล่า หากมีใครไม่ลุ่มหลงรูปของสตรีก็จะรักษาสุขภาพของตนให้แข็งแรง ฝึกฝนจน
    เป็นกายพุทธะ หมื่นกัปไม่บุบสลาย หากยังมีชีวิตยืนนานและมีความสดใสของรูปแท้ จึงรู้ได้ว่าความว่างก็คือรูปเช่นนี้จึงจะได้รูปที่สุขสบายท่ามกลาง
    ขันธ์ 5 เคราะห์ภัยก็ฉุดช่วยได้เอย
    http://thai.mindcyber.com/modules.ph...icle&artid=113
    ผมจันทรัสม์ ขออนุญาตเจ้าของบทความที่ดีนี้เผยแผ่..เพื่อเป็นกุศลกรรมดี..ตราบเข้าสู่พระนิพพานทุกท่านเทอญ
    (อดีตเคย..เคยทำไม่ดี ปัจจุบันต้องลดชั่วประกอบกรรมดี อนาคตดีแน่นอน)
     
  3. padthaipadthai

    padthaipadthai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    327
    ค่าพลัง:
    +140
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
    พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
    ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
    ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
    ๑. พุทธคุณ
    อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะ สัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
    อนุตตะโร ปุริสะธัมมะสาระถิ สัตถาเทวมนุสสานัง พุทโธภะคะวาติ

    ๒. ธรรมคุณ
    สวากขาโต ภะคะวะตาธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตังเวทิตัพโพ วิญญูหิติ

    ๓. สังฆคุณ
    สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทังจัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเนยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ
    ๔. พุทธชัยมงคลคาถา (ถวายพรพระ)
    ๑. พาหุง สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง ครีเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง
    ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
    ๒. มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง
    ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
    ๓. นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง
    เมตตัมพุเสกะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
    ๔. อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง ธาวันติโย ชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง
    อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
    ๕. กัตตวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ
    สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
    ๖. สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง
    ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
    ๗. นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต
    อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
    ๘. ทุคคาหะ ทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง พรัหมัง วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง
    ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
    เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถาโย วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที
    หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญ
    * ถ้าสวดให้คนอื่นใช้คำว่า เต สวดให้ตัวเองใช้คำว่า เม (เต แปลว่าท่าน - เม แปลว่าข้าพเจ้า)
    ๕. มหาการุณิโก
    มหาการุณิโก นาโถ หิตายะ สัพพะปาณินัง ปูเรตวา
    ปาระมี สัพพา ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ
    โหตุ เต ชะยะมังคะลังฯ
    ชะยันโต โพธิยา มูเล สักยานัง
    นันทิวัฑฒะโน เอวัง ตะวัง วิชะโย โหหิ ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล
    อะปะราชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวิโปกขะเร อะภิเสเก สัพพะ
    พุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะติฯ สุนักขัตตัง สุมังคะลัง
    สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง สุขะโณ สุมุหุตโต จะ สุยิฏฐัง พรัหมะ
    จารีสุ ปะทักขิณัง กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง ปะทักขิณัง
    มโนกัมมัง ปะณิธี เต ปะทักขิณา ปะทักขิณานิ กัตวานะ ละภันตัดเถ ปะทักขิเณฯ
    ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
    สัพพะพุทธา นุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต*
    ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
    สัพพะธัมมา นุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต*
    ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
    สัพพะสังฆา นุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต*
    * ถ้าสวดให้คนอื่นใช้คำว่า เต สวดให้ตัวเองใช้คำว่า เม (เต แปลว่าท่าน - เม แปลว่าข้าพเจ้า)
    กราบ ๓ ครั้ง เสร็จแล้วสวดเฉพาะพุทธคุณ ดังต่อไปนี้
    อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชา จาระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
    อะนุตตะโร ปุริสะทัม มะสาระถิ สัตถาเทวะ มะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ
    ให้สวดพุทธคุณเกินอายุ ๑ จบ เช่น อายุ ๒๘ ปี ให้สวด ๒๙ จบ
    เมื่อสวดพุทธคุณครบตามจำนวนจบที่ต้องการแล้ว จึงตั้งจิตแผ่เมตตาและอุทิศส่วนกุศลดังนี้

    คาถาแผ่เมตตาตนเอง
    อะหัง สุขิโต โหมิ ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุข
    อะหัง นิททุกโข โหมิ ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากความทุกข์
    อะหัง อะเวโร โหมิ ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากเวร
    อะหัง อัพยาปัชโฌ โหมิ ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากอุปสรรคอันตรายทั้งปวง
    สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ
    ขอให้ข้าพเจ้าจงมีความสุขกายสุขใจ รักษากายวาจาใจให้พันจากความทุกข์ภัยทั้งปวงเถิด
    แผ่เมตตาให้สรรพสัตว์
    สัพเพสัตตา สัตว์ทั้งหลาย ที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น
    อะเวรา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย
    อัพยาปัชฌา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้พยาบาทเบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย
    อนีฆา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย
    สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุ จงมีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิดฯ

    บทกรวดน้ำ (อุทิศส่วนกุศล)
    อิทัง เม มาตาปิตูนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ มาตาปิตะโร
    - ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่มารดาบิดาของข้าพเจ้า ขอให้มารดาบิดาของข้าพเจ้า จงมีความสุข
    อิทัง เม ญาตินัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย
    - ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอให้ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า จงมีความสุข
    อิทัง เม คุรูปัชฌายาจริยานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ คุรูปัชฌายาจริยา
    - ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แด่ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้า ขอให้ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ จงมีความสุข
    อิทัง สัพพะ เทวะตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เทวา
    - ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เทวดาทั้งหลาย ขอให้เทวดาทั้งหลายจงมีความสุข
    อิทัง สัพพะเปตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เปตา
    - ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่เปรตทั้งหลาย ขอให้เปรตทั้งหลาย จงมีความสุข
    อิทัง สัพพะ เวรีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพเวรี
    - ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย ขอให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย จงมีความสุข
    อิทัง สัพพะสัตตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพสัตตา
    - ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ขอให้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง จงมีความสุข
    <<จบบทสวด>>
    <hr> คำแปล "พาหุงมหากา" หรือ "พุทธชัยมงคลคาถา" มีอยู่ ๘ บท และมีความมุ่งหมายแตกต่างกันทั้งแปดบท กล่าวคือ

    บทที่ ๑ สำหรับเอาชนะศัตรูหมู่มาก เช่น ในการสู้รบ
    บทที่ ๒ สำหรับเอาชนะใจคนที่กระด้างกระเดื่องเป็นปฏิปักษ์
    บทที่ ๓ สำหรับเอาชนะสัตว์ร้ายหรือคู่ต่อสู้
    บทที่ ๔ สำหรับเอาชนะโจร
    บทที่ ๕ สำหรับเอาชนะการแกล้ง ใส่ร้ายกล่าวโทษหรือคดีความ
    บทที่ ๖ สำหรับเอาชนะการโต้ตอบ
    บทที่ ๗ สำหรับเอาชนะเล่ห์เหลี่ยมกุศโลบาย
    บทที่ ๘ สำหรับเอาชนะทิฏฐิมานะของคน
    เราจะเห็นได้ว่า ของดีวิเศษอยู่ในนี้ และถ้าพูดถึงการที่จะเอาชนะหรือการแสวงหาความมีชัย ก็ดูเหมือนจะไม่มีอะไร
    นอกเหนือไปจาก ๘ ประการที่กล่าวข้างต้น
    ก่อนที่จะนำเอาตัวคาถาบทสวดมนต์และคำแปลมาไว้ให้จำจะต้องทำความเข้าใจคำอธิบายบทต่างๆ
    ไว้พอสมควรก่อน เพราะความในคาถาเองเข้าใจยาก ถึงจะแปลออกมาก็ยังเข้าใจยากอยู่นั่นเอง เมื่อเราไม่เข้าใจ
    เราอาจจะไม่เกิดความเลื่อมใส จึงควรจะหาทางทำความเข้าใจกันให้แจ่มแจ้งไว้ก่อน
    ในบทที่ ๑. เป็นเรื่องผจญมาร ซึ่งมีเรื่องว่าพระยามารยกพลใหญ่หลวงมา พระพุทธเจ้าก็ทรงสามารถเอาชนะได้
    จึงถือเป็นบทสำหรับเอาชนะศัตรูหมู่มาก เช่น ในการสู้รบ
    คำแปล- พระยามารผู้นิรมิตแขนได้ตั้งพัน ถืออาวุธครบมือ ขี่ช้างชื่อ ครีเมขละ พร้อมด้วยเสนามารโห่ร้องมา
    องค์พระจอมมุนีก็เอาชนะมารได้ ด้วยทานบารมีด้วยเดชะอันนี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่เรา
    ในบทที่ ๒. เรื่องเล่าว่า มียักษ์ตนหนึ่ง ชื่ออาฬะวกะ เป็นผู้มีจิตกระด้างและมีกำลังยิ่งกว่าพระยามาร
    พยายามมาใช้กำลังทำร้ายพระองค์อยู่จนตลอดรุ่ง ก็ทรงทรมานยักษ์ตนนี้ให้พ่ายแพ้ไปได้
    จึงถือเป็นบทที่ใช้เอาชนะปฏิปักษ์หรือคู่ต่อสู้
    คำแปล- อาฬะวกะยักษ์ผู้มีจิตกระด้าง ปราศจากความยับยั้ง มีฤทธิ์ใหญ่ยิ่งกว่าพระยามาร
    เข้ามาประทุษร้ายอยู่ตลอดรุ่ง องค์พระจอมมุนีก็เอาชนะได้ ด้วยขันติบารมี ด้วยเดชะอันนี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่เรา
    ในบทที่ ๓. มีเรื่องว่าเมื่อพระเทวทัตทรยศต่อพระพุทธเจ้า ได้จัดการให้คนปล่อยช้างสาร ที่กำลังตกมันชื่อนาฬาคีรี
    เพื่อมาทำร้ายพระพุทธเจ้า แต่เมื่อช้างมาถึงก็ไม่ทำร้าย จึงถือเป็นบทที่เอาชนะสัตว์ร้าย
    คำแปล- ช้างตัวประเสริฐ ชื่อนาฬาคีรี เป็นช้างเมามัน โหดร้ายเหมือนไฟไหม้ป่า มีกำลังเหมือนจักราวุธ และสายฟ้า
    องค์พระจอมมุนีก็เอาชนะได้ ด้วยพระเมตตาบารมีด้วยเดชะอันนี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่เรา
    ในบทที่ ๔. เป็นเรื่องขององคุลีมาล ซึ่งเรารู้กันแพร่หลาย คือ องคุลีมาลนั้นอาจารย์บอกไว้ว่า
    ถ้าฆ่าคนและตัดนิ้วมือมาร้อยเป็นสร้อยคอ ให้ได้ครบพัน ก็จะมีฤทธิ์เดชยิ่งใหญ่
    องคุลีมาลฆ่าคนและตัดนิ้วมือได้ ๙๙๙ เหลืออีกนิ้วเดียวจะครบพัน ก็มาพบพระพุทธเจ้า
    พระพุทธเจ้าทรงสามารถเอาชนะถึงกับองคุลีมาลเลิกเป็นโจรและยอมเข้ามาบวช กลายเป็นสาวกองค์สำคัญองค์หนึ่ง
    จึงถือเป็นบทที่ใช้เอาชนะโจรผู้ร้าย
    คำแปล- โจร ชื่อ องคุลีมาล มีฝีมือเก่งกล้า ถือดาบเงื้อวิ่งไล่พระองค์ไปตลอดทาง ๓ โยชน์
    องค์พระจอมมุนีก็เอาชนะได้ ด้วยการกระทำปาฏิหาริย์ ด้วยเดชะอันนี้ขอชัยมงคลจงมีแก่เรา
    ในบทที่ ๕. หญิงคนหนึ่งมีนามว่า จิญจมาณวิกา ใส่ร้ายพระพุทธเจ้า โดยเอาไม้กลมๆ
    ใส่เข้าที่ท้องแล้วก็ไปเที่ยวป่าวข่าวให้เล่าลือว่าตั้งครรภ์กับพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงเอาชนะ ให้ความจริงปรากฏแก่คนทั้งหลายว่าเป็นเรื่องกล่าวร้ายใส่โทษพระองค์โดยแท้
    จึงถือเป็นบทที่เอาชนะคดีความหรือการกล่าวร้ายใส่โทษ
    คำแปล- นางจิญจมาณวิกาใช้ไม้มีสัณฐานกลมใส่ที่ท้อง ทำอาการประหนึ่งว่ามีครรภ์ เพื่อกล่าวร้ายพระพุทธเจ้า
    องค์พระจอมมุนีก็เอาชนะได้ ด้วยวิธีสงบ ระงับพระทัยในท่ามกลางหมู่คน ด้วยเดชะอันนี้ขอชัยมงคลจงมีแก่เรา
    ในบทที่ ๖. เป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้าทรงเอาชนะสัจจะกะนิครนถ์ ซึ่งเป็นคนเจ้าโวหาร เข้ามาโต้ตอบกับพระพุทธเจ้า
    จึงถือเป็นบทที่ใช้เอาชนะในการโต้ตอบ
    คำแปล- สัจจะกะนิครนถ์ ผู้มีนิสัยละทิ้งความสัตย์ใฝ่ใจจะยกย่องถ้อยคำของตนให้สูงประหนึ่งว่ายกธง เป็นผู้มืดมัวเมา
    องค์พระจอมมุนีก็เอาชนะได้ ด้วยรู้นิสัยแล้วตรัสเทศนาด้วยเดชะอันนี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่เรา
    ในบทที่ ๗. เป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้า ให้พระโมคคัลลาน์ อัครมหาสาวกไปต่อสู้เอาชนะพระยานาคชื่อ นันโทปนันทะ
    ผู้มีเล่ห์เหลี่ยมในการต่อสู้มากหลาย จึงถือเป็นบทที่ใช้เอาชนะเล่ห์เหลี่ยมกุศโลบาย
    คำแปล- องค์พระจอมมุนี ได้โปรดให้พระโมคคัลลาน์เถระ นิรมิตกายเป็นนาคราช ไปทรมานพระยานาคชื่อ
    นันโทปนันทะ ผู้มีฤทธิ์มากให้พ่ายแพ้ด้วยวิธีอันเป็นอุปเท่ห์แห่งฤทธิ์ ด้วยเดชะอันนี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่เรา
    ในบทที่ ๘. เป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้าทรงเอาชนะ ผกาพรหม ผู้มีทิฏฐิแรงกล้าสำคัญว่าตนเป็นผู้ที่มีความสำคัญที่สุด แต่พระพุทธเจ้าก็ทรงสามารถทำให้ผกาพรหมยอมละทิ้งทิฏฐิมานะ และยอมว่าพระพุทธเจ้าสูงกว่า
    จึงถือเป็นบทที่ใช้เอาชนะทิฏฐิมานะของตน
    คำแปล- พรหม ผู้มีนามว่า ท้าวผกา มีฤทธิ์และสำคัญตน ว่าเป็นผู้รุ่งเรืองด้วยคุณอันบริสุทธิ์
    มีทิฏฐิที่ถือผิดรัดรึงอยู่อย่างแน่นแฟ้น องค์พระจอมมุนีก็เอาชนะได้ด้วยวิธีเทศนาญาณ ด้วยเดชะอันนี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่เรา


    คำแปล มหาการุณิโก

    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้ทรงเป็นที่พึ่งของสรรพสัตว์ทรงประกอบด้วยพระมหากรุณา ทรงบำเพ็ญพระบารมีทั้งปวง เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์ ทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณอันสูงสุด ด้วยการกล่าวสัจจวาจานี้ ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้า

    ขอข้าพเจ้าจงมีชัยชนะในชัยมงคลพิธี ดุจพระจอมมุนีผู้ยังความปีติยินดีให้เพิ่มพูนแก่ชาวศากยะ ทรงมีชัยชนะมาร ณ โคนต้นมหาโพธิ์ทรงถึงความเป็นเลิศยอดเยี่ยม ทรงปีติปราโมทย์อยู่เหนืออชิตบัลลังก์อันไม่รู้พ่าย ณ โปกขรปฐพี อันเป็นที่อภิเษกของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ฉะนั้นเถิด เวลาที่กำหนดไว้ดี งานมงคลดี รุ่งแจ้งดี ความพยายามดี ชั่วขณะหนึ่งดี ชั่วครู่หนึ่งดี การบูชาดี แด่พระสงฆ์ผู้บริสุทธิ์ กายกรรมอันเป็นกุศล วจีกรรมอันเป็นกุศล มโนกรรมอันเป็นกุศล ความปรารถนาดีอันเป็นกุศล ผู้ได้ประพฤติกรรมอันเป็นกุศล ย่อมประสบความสุขโชคดี เทอญ

    ขอสรรพมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า ขอเหล่าเทพยดาทั้งปวงจงรักษาข้าพเจ้า ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้า ขอความสุขสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อ

    ขอสรรพมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า ขอเหล่าเทพยดาทั้งปวงจงรักษาข้าพเจ้า ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม ขอความสุขสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อ

    ขอสรรพมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า ขอเหล่าเทพยดาทั้งปวงจงรักษาข้าพเจ้า ด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์ ขอความสุขสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อ
    -----------------------------------------------------------------------------------------------------------------


    ที่มาและอานิสงส์ของบทสวดมนต์ ชัยมงคลคาถา หรือพาหุงมหาการุณิโก
    ที่มาของบทสวดมนต์ชัยมงคลคาถา อาตมาได้ตำราเก่าแก่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เป็นใบลานทองคำจารึกของสมเด็จพระพนรัตน์
    วัดป่าแก้ว ปัจจุบันเรียกว่า วัดใหญ่ชัยมงคล อยุธยา ได้รจนาถวายพระพรชัยมงคลคาถาแก่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระพนรัตน์เป็นอาจารย์ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
    อานิสงส์ของบทสวดมนต์ชัยมงคลคาถา หรือพาหุงมหากา สมเด็จพระนเรศวรมหาราชไม่เคยแพ้ทัพ
    สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ไม่เคยแพ้ทัพ พระชัยหลังช้างของ ร.๑ นั้นมาจากบทพาหุง มหากา
    ผู้ใดสวดมนต์ชัยมงคลคาถา หรือพาหุงมหากา เป็นประจำทุกๆ วันแล้ว มีแต่ชัยชนะทุกประการ
    เรียนหนังสือก็เกิดปัญญา มีแต่ความเก่งกล้าสามารถ ผู้ใดสวดทุกเช้า ค่ำ คิดสิ่งใดที่ดีเป็นมงคล
    จะสมความปรารถนาทุกประการ

    เมื่ออาตมา(หลวงพ่อจรัญ)ได้พบกับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว

    คืนวันหนึ่งอาตมานอนหลับแล้ว ฝันไปว่า อาตมาได้เดินไปในสถานที่แห่งหนึ่งได้พบกับพระสงฆ์รูปหนึ่งครองจีวรคร่ำ
    สมณสารูปเรียบร้อยน่าเลื่อมใส อาตมาเห็นว่าเป็นพระอาวุโสผู้รัตตัญญูจึงน้อมนมัสการท่าน
    ท่านหยุดยืนตรงหน้าอาตมาแล้วกล่าวกับอาตมาว่า
    "ฉันคือสมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้วแห่งกรุงศรีอยุธยา ฉันต้องการให้เธอได้ไปที่วัดใหญ่ชัยมงคล เพื่อดูจารึกที่ฉันได้จารึกถวายพระเกียรติแก่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชผู้เป็น เจ้า เนื่องในวาระที่สร้างพระเจดีย์ฉลองชัยชนะเหนือพระมหาอุปราชาแห่งพม่าและ ประกาศความเป็นอิสระของประเทศไทย
    จากหงสาวดีเป็นครั้งแรก เธอไปดูไว้แล้วจดจำมาเผยแพร่ออกไป ถึงเวลาที่เธอจะได้รับรู้แล้ว"
    ในฝันอาตมารับปากท่าน ท่านก็บอกตำแหน่งให้แล้วก็ตกใจตื่นนอนใกล้รุ่ง อาตมาก็ทบทวนความฝันก็นึกอยู่ในใจว่าเราเองนั้นกำหนดจิตด้วยพระกรรมฐานมีสติ อยู่เสมอเรื่องฝันฟุ้งซ่านก็เป็นไม่ม
    ี อาตมาก็ได้ข่าวในวันนั้นแหละว่า ทางกรมศิลปากรทำการบูรณะปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ใหญ่ในวัดใหญ่ชัยมงคล
    และจะทำการบรรจุบัวยอดพระเจดีย์ อันเป็นนิมิตหมายการสิ้นสุดการบูรณะ และจะรื้อนั่งร้านทั้งหมดออกเสร็จสิ้น
    อาตมาจึงได้ขอร้อง ดร.กิ่งแก้ว อัตถากร ให้เลื่อนการปิดยอดบัวไปอีกวันหนึ่งเพื่อที่อาตมาจะได้นำพระซุ้มเสมาชัย
    ซุ้มเสมาขอ ที่อาตมาได้สร้างขึ้นตามแบบดั้งเดิมที่พบในเจดีย์ใหญ่ใกล้กับวัดอัมพวัน ซึ่งพังลงน้ำ
    ที่ก๋งเหล็งเป็นคนรวบรวมเอาให้อาตมาตั้งแต่เมื่อเริ่มมาพัฒนาวัดใหม่ๆ แต่แตกหักผุพังทั้งนั้น หลายสิบปี๊บ
    อาตมาได้ป่นเอามาผสมสร้างเป็นองค์พระใหม่ ไปร่วมบรรจุไว้ที่ยอดพระเจดีย์บ้าง
    วันนั้นอาตมาเดินทางไปถึงก็ได้เดินขึ้นไปบนเจดีย์ตอนที่สุดบันไดแล้ว มองเห็นโพรงที่ทางเขาทำไว้สำหรับลงไปด้านล่าง
    มีร้านไม้พอไต่ลงไปภายใน ตั้งใจเด็ดเดี่ยวว่าลงไปคราวนี้ ถ้าพลาดตกลงไปจากนั่งร้านม้าก็ยอมตาย
    คนที่ร่วมเดินทางมาเขามัวแต่ไปบนลานชั้นบน อาตมาก็ดิ่งลงไปชั้นล่าง มีไฟฉายดวงหนึ่ง เวลานั้นประมาณ ๐๙.๐๐ น.
    อาตมาลงไปภายในแล้วก็พบนิมิตดังที่สมเด็จพระพนรัตน์ได้บอกไว้จริงๆ
    อาตมาจึงได้พบว่าแท้ที่จริงแล้ว สิ่งที่สมเด็จพระพนรัตน์วัดป่าแก้วท่านได้จารึกถวายพระพร
    ก็คือบทสวดที่เรียกว่า "พาหุงมหาการุณิโก" ท้ายของนิมิตนั้นระบุว่า "เราสมเด็จพระพนรัตน์วัดป่าแก้วศรีอโยธเยศ
    คือผู้จารึกนิมิตรจนาเอาไว้ถวายพระพรแด่มหาบพิตรเจ้าสมเด็จพระนเรศวรมหาราช"
    พาหุงมหากาก็คือบทสวดสรรเสริญพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ แล้วก็พรพาหุงอันเริ่มด้วย
    "พาหุงสหัสไปจนถึงทุคคาหทิฏฐิ แล้วเรื่อยไปจนถึงมหาการุณิโกนาโถหิตายะ
    และจบลงด้วยภาวะตุ สัพพะมังคะลัง สัพพะพุทธา สัพพะธัมมา สัพพะสังฆา นุภาเวนะสะทาโสตถี ภะวันตุเต"
    อาตมา เรียกรวมกันว่าพาหุงมหากา
    อาตมาจึงเข้าใจในบัดนั้นเองว่า บทพาหุงนี้คือบทสวดมนต์ที่สมเด็จพระพนรัตน์วัดป่าแก้วได้ถวายให้พระบาท สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
    ไว้สวดเป็นประจำเวลาอยู่กับพระมหาราชวังและในระหว่างศึกสงคราม
    จึงปรากฏว่าพระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเจ้าทรงรบ ณ ที่ใด ทรงมีชัยชนะอยู่ตลอดมามิได้ทรงเพลี่ยงพล้ำเลยแม้จะเพียงลำพังสองพระองค์กับสมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้า
    ท่ามกลางกองทัพพม่าจำนวนนับแสนคนก็ทรงมีชัยชนะเหนือกองทัพพม่าด้วยการกระทำยุทธหัตถี
    มีชัยเหนือพระมหาอุปราชาที่ดอนเจดีย์ปูชนียสถานแม้ข้าศึกจะยิงปืนไฟเข้าใส่พระองค์ในตอนที่เข้ากัน
    พระศพของพระมหาอุปราชาออกไปราวกับห่าฝนก็มิปานแต่ก็มิได้ต้องพระองค์ ด้วยเดชะพาหุงมหากาที่ทรงเจริญอยู่เป็นประจำนั่นเอง
    อาตมาพบนิมิตแล้วก็ไต่ขึ้นมา ด้วยความสบายใจถึงปากปล่องที่ลงไปเกือบสามชั่วโมง เนื้อตัวมีแต่หยากไย่ เดินลงมาแม่ชีเห็นเข้ายังร้องว่า หลวงพ่อเข้าไปในโพรงนั่นมาหรือ แต่อาตมาไม่ตอบ
    ตั้งแต่นั้นมา อาตมาจึงสอนการสวดพาหุงมหากาให้แก่ญาติโยมเป็นต้นมา เพราะอะไร เพราะพาหุงมหากานั้นเป็นบทสวดมนต์ที่มีค่าที่สุด มีผลดีที่สุด เพราะเป็นชัยชนะอย่างสูงสุดของพระบรมศาสดา
    จากพญาวัสวดีมาร จากอาฬาวกะยักษ์ จากช้างนาฬาคิรี จากองคุลีมาล จากนางจิญมาณวิกา จากสัจจะกะนิครนถ์ จากพญานันโทปนันทนาคราช และท่านท้าวผกาพรหม เป็นชัยชนะที่พระพุทธองค์ทรงได้มาด้วยอิทธิปาฏิหาริย์ และด้วยอำนาจแห่งบารมีธรรมโดยแท้ ผู้ใดได้สวดไว้ประจำทุกวันจะมีชัยชนะมีความเจริญรุ่งเรืองตลอดกาลนาน
    มีสติระลึกได้ จะตายก็ไปสู่สุคติภูมิ ขอให้ญาติโยมสวดพาหุงมหากากันให้ทั่วหน้า นอกจากจะคุ้มตัวแล้ว
    ยังคุ้มครอบครัวได้ สวดมากๆ เข้า สวดกันทั้งประเทศก็ทำให้ประเทศมีแต่ความรุ่งเรือง พวกคนพาลสันดานหยาบก็แพ้ภัยไปอย่างถ้วนหน้า
    ไม่ใช่แต่พระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเท่านั้น
    ที่พบความมหัศจรรย์ของบทพาหุงมหากา แม้สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชก็ทรงพบเช่นกัน
    โดยมีบันทึกโบราณบอกไว้ว่าดังนี้
    "เมื่อพระเจ้าตากสินมหาราชตีเมืองจันทบุรีได้แล้วก็ทรงเห็นว่าสงครามกู้ชาติต่อจากนี้ไปจะต้องหนักหนา
    และยืดยาวจึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระยอดธงแบบศรีอยุธยาขึ้นแล้วนิมนต์พระเถระทั้งหลายมาสวดบทพาหุง มหากาบรรจุไว้ในองค์พระและพระองค์ก็ทรงเจริญรอยตามพระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
    ด้วยการเจริญพาหุงมหากาจึงบันดาลให้ทรงกู้ชาติสำเร็จ"
    สวดพาหุงมหากากันให้ได้ทุกบ้าน สวดให้ได้มากๆ จะมีแต่ความรุ่งเรือง สวดพาหุงมหากาก่อนแล้วจึงสวดชินบัญชร
    เพราะชินบัญชรนั้นเจ้าประคุณสมเด็จท่านได้สวดบูชาพระอรหันต์ของท่าน ต้องสวดพาหุงมหากาก่อนแล้วจึงมาถึงชินบัญชรให้จดจำกันเอาไว้ นั่นแหละมงคลในชีวิต
    อันที่จริงถ้าเราทำบุญ เราจะได้ยินพระสวดคาถา "พาหุงมหากา" หรือ "พุทธชัยมงคลคาถา" ให้เราฟังทุกครั้ง
    บางทีเราจะเคยได้ยินพระสวดเจนหูเกินไปจนไม่นึกว่ามีความสำคัญ แท้จริงแล้วคาถาดังกล่าวนี้ มีของดีอยู่ในตัวให้เราใช้มากทุกบททุกตอน เป็นเรื่องของพระพุทธเจ้า อ้างอานุภาพของพระพุทธเจ้าเพื่อนำชัยมงคลมาให้แก่เรา ทุกตอนลงท้ายว่า "ตันเตชะสา ภะวะตุเต ชะยะมังคะลานิ"
    เวลาพระสวดให้เรา ท่านต้องใช้คำว่า "เต" ซึ่งแปลว่า "แก่ท่าน" แต่ถ้าเราจะเอามาสวดหรือภาวนาของเราเอง
    เพื่อให้ชัยชนะเกิดแก่ตัวเราเอง เราก็จะต้องใช้ว่า "เม" ซึ่งแปลว่า "แก่ข้า" คือสวดว่า "ตันเตชะสา ภะวะตุเม
    ชะยะมังคะลานิ"

    <table border="0" cellpadding="2" cellspacing="1" width="100%"><tbody><tr bgcolor="#ffffff"><td width="12%">
    </td><td width="12%">
    </td><td width="12%">
    </td><td width="20%">
    </td><td width="12%">
    </td></tr></tbody></table>
     

แชร์หน้านี้

Loading...