เรื่องเด่น เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันศุกร์ที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๖๘

ในห้อง 'หลวงพ่อเล็ก วัดท่าขนุน' ตั้งกระทู้โดย iamfu, 17 มกราคม 2025 at 21:28.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    20,227
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,602
    ค่าพลัง:
    +26,453
    เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันศุกร์ที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๖๘


     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    20,227
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,602
    ค่าพลัง:
    +26,453
    วันนี้ตรงกับวันศุกร์ที่ ๑๗ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๖๘ สองวันนี้ กระผม/อาตมภาพต้องจมอยู่กับความหนาวของเครื่องปรับอากาศ ในหอประชุมใหญ่พุทธมณฑล เพื่อเข้ารับการอบรมตามโครงการอบรมเจ้าสำนักศาสนศึกษาทั่วประเทศ

    ความจริงแล้วการอบรมตามโครงการนี้ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีมาก เนื่องเพราะในช่วงที่ผ่านมา ตั้งแต่พระราชบัญญัติการศึกษาพระปริยัติธรรม พ.ศ. ๒๕๖๒ ออกมา พวกเราก็ได้ข้อมูลแบบขาดตกบกพร่องมาโดยตลอด เมื่อได้มีการมาอบรม ศึกษา ได้รับการชี้แจงจากผู้เชี่ยวชาญ ก็ทำให้มีความมั่นใจและรู้ว่าควรที่จะปฏิบัติอย่างไร จึงจะถูกต้องตามพระราชบัญญัตินี้

    เนื่องเพราะว่าตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป บุคลากรทางการศึกษาของสำนักศาสนศึกษาทั่วประเทศ ก็จะกลายเป็นบุคคลที่ได้รับเงินเดือนของทางราชการ ซึ่งจะต้องมีระเบียบปฏิบัติที่ต่างไปจากปกติ

    ส่วนใหญ่แล้วพระสังฆาธิการของเราเคยชินกับการที่ได้รับนิตยภัต ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งไม่ได้มีความยุ่งยากอะไรมาก นอกจากการแสดงหลักฐานตัวตนว่ายังมีชีวิตอยู่ ยังดำรงตำแหน่งหน้าที่นั้นหน้าที่นี้อยู่ เพื่อที่จะให้เป็นไปตามอัตรานิตยภัตของตำแหน่งนั้น ๆ แต่การมาเป็นเจ้าหน้าที่ของการศึกษาพระปริยัติธรรม หรือที่ตัวย่อว่า จศป. นั้น มีข้อประพฤติปฏิบัติที่ยุ่งยากขึ้นไปอีกหลายเท่า แต่ก็ไม่เกินความสามารถที่เราจะศึกษาและกระทำตามได้

    เพียงแต่ว่าในการอบรมทั้งสองวันนั้น บรรดาเจ้าสำนักศาสนศึกษาใน ๒๓ จังหวัดหนกลาง ไม่ค่อยที่จะให้ความสำคัญ ประการแรก อาจจะเป็นเพราะว่าอากาศในหอประชุมใหญ่พุทธมณฑลนั้นหนาวเหลือรับ จึงจำเป็นที่จะต้องออกไปเดินตากแดดภายนอก หรือว่าเดินซื้อหาสินค้าตามร้านค้าที่มาตั้งจำหน่าย

    ประการที่สองก็คือ ให้ความสนใจกับน้ำชากาแฟที่เขามาตั้งร้านเลี้ยงถวายพระมากกว่า เมื่อถึงเวลาเรียกเข้าห้องก็ไม่ค่อยจะมากัน อะไรที่สงสัยข้องใจ แทนที่จะสอบถามกันภายในห้องประชุม ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญชี้แจงทุกอย่างให้ทราบได้ แต่กลับไม่ใส่ใจ พอถึงเวลาแล้วก็ไปว่าอย่างโน้นอย่างนี้กันเองทางภายนอก ประมาณว่า
    รู้มาก แต่ว่ารู้ไม่จริงสักเรื่อง..!
     
  3. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    20,227
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,602
    ค่าพลัง:
    +26,453
    ในเมื่อเป็นเช่นนั้น ทำให้กระผม/อาตมภาพไปนึกถึงคำที่เขาว่า ในการอบรมหรือประชุมสัมมนานั้น "ครูกับพระเป็นบุคคลที่ว่ายากสอนยากที่สุด" เนื่องเพราะว่าครูส่วนใหญ่นั้นเป็นผู้ที่สอนคนอื่นมาโดยตลอด ส่วนพระนั้นก็มักจะโดนยกอยู่ในฐานะอันสูง จึงไม่ค่อยจะสนใจว่าสิ่งที่ตนเองควรประพฤติปฏิบัติ หรือว่าศึกษาให้รู้จริงนั้นเป็นอย่างไรบ้าง แล้วก็มีการแขวะว่า โดยเฉพาะ "พระครู" อย่างพวกกระผม/อาตมภาพนั้นว่ายากที่สุด..! เนื่องเพราะว่าเป็นพระด้วย เป็นครูด้วย ดูท่าแล้วก็น่าจะเป็นจริงตามนั้น

    พระราชบัญญัติการศึกษาพระปริยัติธรรมพุทธศักราช ๒๕๖๒ นั้น ระบุเอาไว้ชัดเจนว่า บุคคลที่จบนักธรรมชั้นเอก ให้มีวุฒิการศึกษาเทียบเท่าชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ของทางโลก
    บุคคลที่จบเปรียญธรรม ๓ ประโยค ให้มีวุฒิการศึกษาเทียบเท่าชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ของทางโลก
    บุคคลที่จบเปรียญธรรม ๙ ประโยค ให้มีวุฒิการศึกษาเทียบเท่ากับปริญญาตรีของทางโลก

    ซึ่งมีไม่เปลี่ยนแปลงอยู่เพียงประการเดียวก็คือวุฒิของเปรียญธรรม ๙ ประโยค เพราะว่าเขาถือว่าเทียบเท่าปริญญาตรีมาตั้งแต่ต้น เพียงแต่ว่าได้รับการระบุชัดเจนในพระราชบัญญัตินี้ จึงกลายเป็นเรื่องของกฎหมาย ที่ทำให้ความชัดเจนในเรื่องการศึกษาพระปริยัติธรรมได้ปรากฏชัดขึ้นมา

    และอีกส่วนหนึ่งก็คือระบุให้สามเณรทุกรูปสามารถเข้าศึกษาตามโรงเรียนและศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนทุกแห่ง มีสิทธิ์เทียบเท่ากับบุคคลทั่วไปของทางโลก ซึ่งสมัยก่อนนั้น ถ้าหากว่าบางโรงเรียนเห็นว่า การที่จะดูแลการศึกษาของสามเณร ซึ่งปะปนอยู่กับเด็กทั่วไปนั้น เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ยาก เมื่อถึงเวลาไปสมัครเรียน ก็มักจะอ้างว่าไม่สามารถที่จะรับได้ แต่เมื่อมีพระราชบัญญัติการศึกษาพระปริยัติธรรมพุทธศักราช ๒๕๖๒ ขึ้นมา ก็จะทำให้โรงเรียนต่าง ๆ ไม่สามารถที่จะปฏิเสธได้ เนื่องเพราะว่าเป็นการผิดกฎหมายไปแล้ว..!
     
  4. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    20,227
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,602
    ค่าพลัง:
    +26,453
    กฎหมายฉบับนี้นั้น ใช้เวลาหลายปีที่คณะกรรมการการศึกษาพระปริยัติธรรมของทางคณะสงฆ์ ต้องช่วยปรับปรุงแก้ไขร่วมกับทางราชการ จนกระทั่งสามารถออกมาเป็นกฎหมายได้อย่างที่เห็นอยู่ในทุกวันนี้ มีการประชุมกันหลายสิบวาระด้วยกัน กว่าที่จะหลุดออกมาเป็นกฎหมายได้ ก็เหนื่อยยากกันแทบจะล้มประดาตาย..!

    แต่ว่าหลายต่อหลายอย่างก็ยังอยู่ในลักษณะของการติดขัด อย่างเช่นว่าบุคคลที่รับนิตยภัต ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ฉบับที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๐๕ แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๓๕ นั้น ไม่ว่าท่านจะดำรงตำแหน่งพระสังฆาธิการกี่ตำแหน่งก็ตาม เขาจ่ายนิตยภัตให้เฉพาะตำแหน่งสูงสุดตำแหน่งเดียวเท่านั้น..!

    เมื่อมีพระราชบัญญัติการศึกษาพระปริยัติธรรม พ.ศ. ๒๕๖๒ ออกมา จึงมีการเขียนระบุเอาไว้ชัดเจนว่า สามารถที่จะตั้งอนุบัญญัติต่อมาได้ ถ้าหากว่าทางคณะกรรมการเห็นสมควร ก็แปลว่าต้องมีการศึกษาและถกเถียงกันต่อไปอีกว่า จะสามารถที่จะรับนิตยภัต หรือว่าอัตราเงินเดือนตามตำแหน่งที่ตนเองดำรงอยู่ทุกตำแหน่งหรือไม่ ?

    อย่างกระผม/อาตมภาพปัจจุบันนี้ ก็รับอัตราเงินเดือนตามตำแหน่งของตนที่รองเจ้าคณะอำเภอทองผาภูมิ ในฐานะพระครูสัญญาบัตร เทียบเท่าเจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นเอก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ตำแหน่งอื่น ๆ ก็ไม่สามารถที่จะรับได้ แล้วถ้าหากว่าเราเป็นอาจารย์สอนในมหาวิทยาลัย หรือว่าวิทยาลัยสงฆ์ เป็นเจ้าสำนักศาสนศึกษา และเป็นครูสอนพระปริยัติธรรมด้วย เรียกง่าย ๆ ว่าเหนื่อยกับทุกตำแหน่ง แต่ว่าท่านให้รับเงินแค่ตำแหน่งเดียวนั้น ก็รู้สึกว่าจะไม่ยุติธรรมอยู่เหมือนกัน

    เพียงแต่ว่าการศึกษาพระปริยัติธรรมของคณะสงฆ์ในอดีตมานั้น ส่วนใหญ่แล้วก็อยู่ในลักษณะของการกระทำแบบเป็นกุศล ก็คือทางด้านผู้ที่ตั้งสำนักศาสนศึกษาขึ้นมา ไปหาการสนับสนุนจากญาติโยมซึ่งศรัทธาเฉพาะเจ้าสำนักนั้น หางบประมาณในการเรียนการสอนมา
    ขวนขวายที่จะสร้างบุคคลซึ่งมีโอกาสทางการศึกษาน้อยมาก ให้ได้มีการศึกษาต่อ ทำให้กลายเป็นบุคคลที่มีโอกาสในสังคมขึ้นมา จนกระทั่งปัจจุบันนี้ พระภิกษุสามเณรที่สนใจด้านการศึกษา จบปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอกเป็นจำนวนมาก

    จนกระทั่งหลายคนไม่ทราบว่าเกิดอิจฉาตาร้อนหรือเปล่า ?! จึงได้กล่าวว่าพระภิกษุสามเณรนั้นเอาเปรียบชาวบ้านข้างนอก เพราะว่าการศึกษาก็ศึกษากันอยู่ในลักษณะที่จ่ายค่าหน่วยกิตน้อยกว่า เนื่องเพราะว่า
    ทางมหาวิทยาลัยสงฆ์ หรือวิทยาลัยสงฆ์นั้น เก็บค่าหน่วยกิตต่ำมาก แม้ในปัจจุบันนี้จะมีการเพิ่มขึ้นมา ก็ยังต่ำกว่าภายนอกอยู่ดี..!

    อย่างกระผม/อาตมภาพตอนที่เรียนปริญญาโทอยู่ จ่ายค่าเทอมแต่ละเทอมก็อยู่ที่ ๒๐,๐๐๐ กว่าบาท แต่ว่าบรรดาสถาบันราชภัฏทางด้านนอกชื่อดัง ๆ ต้องจ่ายกันเทอมละ ๖๐,๐๐๐ บาท ๙๐,๐๐๐ บาท..! เหล่านี้เป็นต้น
     
  5. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    20,227
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,602
    ค่าพลัง:
    +26,453
    เมื่อโดนกล่าวหามาโดยที่บุคคลผู้กล่าวหาก็ไม่ได้ดูบริบทของสังคมว่า ที่แท้จริงแล้วพระภิกษุสามเณรนั้นเป็นผู้ขาดโอกาสทางการศึกษา เมื่อมีพระราชบัญญัติออกมา มีครูบาอาจารย์สนับสนุน ท่านทั้งหลายได้โอกาสทางการศึกษาขึ้นมา ก็ใช้ความเพียรพยายามมากกว่าปกติ

    กระผม/อาตมภาพที่เคยเป็นอาจารย์สอนอยู่หลายวิชา ซึ่งมีฆราวาสเรียนร่วมด้วย ไม่ว่าจะเป็นรัฐประศาสนศาสตร์ หรือว่ารัฐศาสตร์ บริหารรัฐกิจ เหล่านี้เป็นต้น เมื่อสั่งการบ้านไป บรรดาพระภิกษุสามเณรทำมาส่งตามเวลาอย่างเรียบร้อย แต่ว่าฆราวาสหญิงชายที่เรียนร่วมด้วยนั้น บางทีทวงแล้วทวงอีกจนหมดเทอม ก็ยังไม่ได้การบ้านก็มี..! ครั้นถึงเวลาติด I (Incomplete) ไป ก็มาบ่นมาว่า "ครูบาอาจารย์ไม่มีเมตตา" เหล่านี้เป็นต้น

    เนื่องเพราะว่า
    บรรดาพระภิกษุสามเณรนั้นมีจิตสำนึกที่ว่า "ตนเองอยากเรียนแต่ไม่มีโอกาสได้เรียน เมื่อได้รับโอกาสนั้น ก็เพียรพยายามอย่างเต็มที่" แต่ว่าบรรดาฆราวาสหญิงชายที่พ่อแม่ผู้ปกครองสนับสนุนการเรียนอย่างเต็มที่นั้น กลับไม่ค่อยที่จะสนใจเรียนให้เกิดความรู้อย่างจริงจัง จึงเป็นที่น่าเสียดายว่าแต่ละคนรู้มาก รู้ทุกเรื่อง แต่ไม่รู้จริงสักเรื่อง ไม่สามารถที่จะเอาตัวรอดได้ในสังคมอย่างที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน

    ดังนั้น..
    ท่านทั้งหลายจะมากล่าวหาว่าพระภิกษุสามเณรเอาเปรียบก็ไม่ได้ เนื่องเพราะว่าลูกหลานของท่านเองนั่นแหละที่ไม่ใส่ใจในการศึกษา และเหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะการอบรมเลี้ยงดูของผู้ที่เป็นพ่อแม่อย่างท่านทั้งหลายนั่นเอง..!

    ในเมื่อเป็นเช่นนี้ จึงกลายเป็นว่า
    การศึกษาคณะสงฆ์นั้น ช่วยเสริมสร้างบุคลากรหรือว่าประชาชนให้มีความรู้ความสามารถ เข้าไปช่วยบริหารจัดการกิจการต่าง ๆ จนเจริญรุ่งเรือง สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับประเทศชาติของเราเป็นอันมาก ไม่ใช่เอาเปรียบชาวบ้านอย่างที่ท่านทั้งหลายได้กล่าวหามา

    สำหรับวันนี้ก็ขอเรียนถวายพระภิกษุสามเณรของเรา และบอกกล่าวแก่ญาติโยมแต่เพียงเท่านี้

    พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
    เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน
    วันศุกร์ที่ ๑๗ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๖๘
    (ถอดจากเสียงเป็นอักษร โดย เผือกน้อย)
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...