เสียงธรรม เสียงเทศน์หลวงปู่โง่น โสรโย ,หลวงพ่อกวย ชุตินธโร

ในห้อง 'ธรรมเทศนาทั่วไป' ตั้งกระทู้โดย supatorn, 20 มิถุนายน 2023.

  1. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,259
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,033
    lpngonsorayo.jpg
    เสียงหลวงปู่โง่น สอนธรรมะ(เทป)


    Gron Khantong Studio Chainat
    Mar 30, 2022
     
  2. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,259
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,033
    ประวัติ หลวงปู่โง่น โสรโย วัดพระพุทธบาทเขารวก อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร (ผู้สร้างพระประจำโรงเรียน ท.1บ้านโคกสำโรง)เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ.2447 ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 เวลา 05.58 น. บนแพกลางลำน้ำปิง บิดาเป็นหัวหน้าล่องแพไม้ซุง มารดาเป็นชาวลำพูน เมื่ออายุได้ประมาณ 10 ปี ซาโต้โมมอง เลขานุการข้าหลวงใหญ่ชาวฝรั่งเศสประจำอินโดจีน รับตัวเป็นบุตรบุญธรรม และได้ศึกษาที่ต่างประเทศจนจบปริญญาเอก ณ มหาวิทยาลัยในเยอรมัน สามารถพูดได้ถึง 7 ภาษา เดิมนับถือศาสนาคริสต์

    หลวงปู่โง่น ได้เกิดมาใช้ชีวิตในสมณเพศบำเพ็ญประโยชน์และคุณูปการแก่ประเทศชาติและพระพุทธศาสนา ตลอดถึงสังคมทุกระดับอย่างดียิ่ง เป็นแบบอย่างอันงดงามของผู้ที่จะบำเพ็ญประโยชน์แก่ชาติบ้านเมืองด้วยความสะอาดบริสุทธิ์ยุติธรรม มีความกตัญญูกตเวทีต่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ หลวงปู่โง่นมีอัธยาศัยเปี่ยมล้นด้วยเมตตา สันโดษ รักสงบ เสียสละ ตามวิสัยของพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้ฉลาดในอุบาย แนะนำสั่งสอนเหล่าประชากรโดยพุทธวิธี มีกุศโลบายในการรักษาตนให้พ้นจากภัยพิบัติทั้งภายนอกและภายใน มีวิสัยทัศน์ในการปฏิบัติตนที่สมสมัย มีจิตใจใฝ่รู้วิชาทุกแขนง เพื่อนำมาแก้ไขดัดแปลงก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น ทำความแช่มชื่นให้แก่ผู้ที่ได้พบเห็น มีความเยือกเย็นเป็นสุขใจแก่ผู้เข้าใกล้ ด้วยเมตตาบารมีธรรมของท่าน อย่างน่าอัศจรรย์
    หลวงปู่โง่น อุปสมบทเมื่อ พ.ศ.2482 ณ วัดศรีเทพประดิษฐาราม จังหวัดนครพนม โดยมีท่านเจ้าคุณสารภาณมุนี เจ้าคณะจังหวัดนครพนมเป็นพระอุปัชฌาย์ มีพระมหาพรหมมา เป็นพระกรรมวาจาจารย์ เมื่ออุปสมบทปีแรกพระอุปัชฌาย์ และพระอาจารย์ผู้อุปการะ คือ หลวงพ่อวัง ได้ร้องขอและส่งให้ไปอยู่กับพระสหายของท่าน คือ เจ้ายอดแก้ว บุญทัน บุปผรัตน์ ธมฺมญาโณ ที่วัดสุวรรณารามราช มหาวิหาร นครหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งต่อมาืเจ้ายอดแก้ว บุญทัน บุปผรัตน์ ได้เลื่อนสมณศักดิ์ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราชแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ต่อมากรุงเวียงจันทน์เกิดเหตุจลาจล ใน พ.ศ. 2518 พระองค์ได้เสด็จลี้ภัยเข้ามาอยู่ในประเทศไทย และสิ้นพระชนม์ ใน พ.ศ. 2528 ส่วนหลวงปูโง่นในขณะนั้นเป็นพระนวกะ ได้เรียนนักธรรมและบาลีแบบลาว ซึ่งเจ้ายอดแก้ว บุญทัน บุปผรัตน์ ทรงรักใคร่โปรดปรานมาก เพราะดั้งเดิมเป็นสายญาติกันและใช้งานได้คล่อง พูดไทยได้เก่ง พูดลาวได้ดี ภาษาอังกฤษและฝรั่งเศสก็อาศัยได้ เพราะในระยะนั้นสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ยังเป็นอาณานิคมเมืองขึ้นของฝรั่งเศส ท่านจึงต้องการให้พระภิกษุที่คุยกับชาวต่างชาติรู้เรื่องอยู่ด้วย เมื่อเวลาว่างท่านให้เข้าป่า เพื่อแสวงหาต้นไม้ที่เป็นยาสมุนไพร

    เพราะพระองค์ท่านทรงสนใจรับรู้ในเรื่องยาสมุนไพรมาก ตอนเข้าไปในป่าถึง

    เขตทุ่งไหหิน ถูกทหารลาวและทหารฝรั่งเศสจับในข้อหาเป็นจารชนจากเมืองไทย

    ไปสืบความลับ ถูกขังคุกขี้ไก่ 30 วัน พร้อมพระลาว 2 รูป กับเด็กอีก 1 คน

    เด็กคนนั้น คือ เจ้าสิงคำ ซึ่งต่อมา ก็คือ ท่านมหาสิงคำ ผู้ทำงานช่วยพวกลาวอพยพร่วมกับสหประชาชาติอยู่ที่วัดยานนาวา กรุงเทพฯ ท่านจึงไปมาหาสู่บ่อย เพื่อขอ

    ความช่วยเหลือให้พี่น้องชาวลาว หลวงปู่โง่นก็ได้ช่วยเหลือทุกอย่างเท่าที่ความสามารถจะมี

    เรื่องการติดคุกขี้ไก่อยู่ที่ทุ่งไหหินนั้นสนุกมาก เขาเอาไก่ไว้ข้างบน คนและพระอยู่ข้างล่าง ไก่ขี้ใส่หัวตลอดเวลา เหม็นก็เหม็น ทรมานก็ทรมาน

    สนุกก็สนุก ได้ศึกษาธรรมไปในตัว ความทราบถึงเจ้ายอดแก้ว พุทธชิโนรส

    สกลมหาสังฆปาโมกข์ ท่านได้ร้องขอให้ปล่อยตัวแต่ทหารปล่อยเฉพาะพระลาว

    2 รูป กับเด็ก 1 คน ส่วนหลวงปู่โง่นเขาไม่ปล่อย เพราะเข้าใจว่าเป็นคนไทย

    ด้วยเหตุที่พูดไทยได้เก่ง ทั้งนี้ ขณะนั้นเป็นช่วงระหว่างสงครามอินโดจีน ฝรั่งเศส

    ยุให้คนไทยกับคนลาวเป็นศัตรูกัน เห็นคนไทยก็จับขังหรือฆ่าทิ้งเสีย จึงมารู้ตัวเข้าคราวหลังว่าเรามันคนปากเสีย ปากพาเข้าคุกเพราะพูดภาษาไทย
    ภายหลังสมเด็จพระสังฆราชลาวท่านออกใบสุทธิให้ใหม่ โอนเป็น พระลาวเป็นคนลาวไป เขาจึงปล่อยตัวออกมา แต่ก็ยังไม่พ้นสายตาของพวกนักสืบ จึงกราบทูลลาผู้มีพระคุณหาทางมุ่งกลับเมืองไทย แต่ไม่รู้จะมาอย่างไร จึงตัดสินใจไปพบคนที่รู้จักรักใคร่ คือ ท้าวโง่น ชนะนิกร ซึ่งเป็นข้าราชการลาวอยู่ ในระยะนั้น ทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขงมีแต่หลุมหลบภัยและเสียงปืนที่ไทยกับลาวยิงกันไม่ขาดระยะ หลวงปู่โง่นต้องธุดงค์ปลอมแปลงตัว เดินเลียบชายฝั่งแม่น้ำโขงลงมาทางใต้จนใกล้

    ถึงเมืองท่าแขก ก็ได้รับความช่วยเหลือจากพระลาวที่รู้จักกัน คือ ครูบาน้อย

    หาทางให้ได้เกาะเรือของชาวประมงข้ามฝั่งมาไทย พอถึงแผ่นดินไทยก็ถูก

    ร้อยตำรวจเอกเดช เดชประยุทธ์ และร้อยตำรวจโทแฝด วิชชุพันธ์ จับในข้อหา

    เป็นพระลาวหลบเข้ามาสืบราชการลับในราชอาณาจักรไทย ถูกจับเข้าห้องขัง

    ฐานจารชนอยู่ 10 วัน ร้อนถึงพระพนมคณานุรักษ์ ซึ่งเป็นอดีตเจ้าเมือง ได้เจรจา

    ให้หลุดรอดออกมา พอพ้นจากห้องขังมาได้ก็เข้ากราบพระอุปัชฌาย์ คือ ท่านเจ้าคุณสารภาณมุณี ท่านเจ้าคุณสารภาณมุณีสั่งให้ไปศึกษาปฏิบัติธรรมพระกรรมฐาน

    กับพระอาจารย์วังที่ถ้ำไชยมงคลภูลังกา และไปหาพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล

    ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ตอนเข้าพรรษาพระอุปัชฌาย์

    ให้มาจำพรรษาอยู่วัดอรัญญิกาวาส จังหวัดนครพนม พ.ศ. 2485 สอบได้นักธรรมตรี พ.ศ. 2486 สอบได้นักธรรมโท พ.ศ. 2487 สอบได้นักธรรมเอก ต่อมาหนีออกธุดงค์เข้าถ้ำจำพรรษาที่ถ้ำบ้านยางงอย อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม กับอาจารย์สน อยู่ 1 ปี พระอุปัชฌาย์รู้ข่าวเรียกตัวกลับ

    สั่งให้มาอยู่วัดอรัญญิกาวาส จังหวัดนครพนม โดยบังคับให้เป็นครูสอนนักธรรมโท อยู่วัดศรีเทพ 2 ปี เพราะวัดทั้งสองอยู่ใกล้กันไปกลับได้สบาย ผลของการสอนได้ผลดีมาก นักเรียนสอบได้ยกชั้นทั้ง 2 ปี พระอุปัชฌาย์ชมเชยมาก และปีต่อมา ได้เปลี่ยนเป็นครูสอนนักธรรมเวลาเช้า ส่วนเวลาบ่ายหลวงปู่โง่นเป็นนักเรียนบาลีไวยากรณ์
    พ.ศ. 2491 สอบเปรียญธรรม ป.ธ.3 แต่ต้องตกโดยปริยายเพราะข้อสอบรั่ว

    ทั่วประเทศจึงต้องสอบกันใหม่ หลวงปู่โง่นเกิดความไม่พอใจในวิธีการเรียนแบบสกปรก จึงย้อนกลับไปพึ่งใบบุญของสมเด็จพระสังฆราชแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตย

    ประชาชนลาว ไปเรียนและตั้งใจเรียนจนสอบเทียบได้เปรียญ 5 โดยสมเด็จพระยอดแก้ว สกลมหาปรินายกออกใบประกาศนียบัตรให้ จากนั้นท่านสั่งให้ไปเรียนต่อที่ประเทศพม่า พอดีขณะนั้นพระภิกษุสงฆ์ในพม่าพากันเดินขบวนขับไล่รัฐบาลของอูนุ มีการจับพระชาวต่างชาติเข้าคุก หลวงปู่โง่นก็พลอยโดนด้วย แต่โชคดีที่พระมหานายกของพม่า คือ ท่านอภิธชะมหา อัตฐะคุรุ ได้ขอร้องและทำใบเดินทางให้เข้าประเทศอินเดีย เลยเข้าไปเมืองฤๅษีเกษ แคว้นแคชเมียร์ ไปฝึกฝนอบรมวิชาโยคะ 1 ปี
    เมื่อมีเพื่อนนักโยคะชักชวนขึ้นไปเมืองยางเซะและเมืองลาสะ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศธิเบต เพื่อศึกษาภูมิประเทศและหลักการทางพระพุทธศาสนามหายาน
    พ.ศ. 2494 กลับมาเมืองไทย ท่านเจ้าคุณรัชมงคลมุนี วัดสัมพันธวงศ์ ส่งให้ไปเป็นหัวหน้าก่อสร้างอุโบสถจัตุรมุขหลังใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออก

    ที่วัดสารนาถธรรมาราม อำเภอแกลง จังหวัดระยอง อยู่ได้ 5 ปี อุโบสถจวนเสร็จ

    ขออำลาหนีไปพักผ่อนชั่วคราว ไปพักอยู่กับญาติ ๆ ที่เมืองอังกานุย ประเทศนิวซีแลนด์ แล้วไปอยู่แคนเบอร่า ประเทศออสเตรเลีย อยู่แห่งละ 1 ปี แล้วไปอาศัยอยู่กับ

    ญาติโยมเก่าที่เขาเคยอุปการะอยู่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ที่เมืองรียอง ประเทศฝรั่งเศส

    พ.ศ. 2498 กลับเมืองไทยไปช่วยท่านมหาโฮม คือ เจ้าคุณราชมุนี วัดสระประทุม ที่ปากช่อง จากนั้นเดินธุดงค์เข้าป่าเข้าถ้ำหลายแห่ง คือ ถ้ำเชียงดาว อำเภอเชียงดาว ถ้ำตับเต่า อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ แล้วล่องใต้ไปอยู่ถ้ำจัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง ถ้ำขวัญเมือง อำเภอสวี จังหวัดชุมพร แล้วมาถ้ำมะเกลือ เหมืองปิล็อก จังหวัดกาญจนบุรี จากนั้นขึ้นถ้ำฤๅษี (ถ้ำมหาสมบัติ) ถ้ำเรไร จังหวัดเพชรบูรณ์
    ในปี พ.ศ. 2502 หลวงพ่อแพร คือ ท่านเจ้าคุณเพชราจารย์ เจ้าคณะจังหวัดเพชรบูรณ์ในขณะนั้น ได้นิมนต์มาสร้างโรงเรียนประชาบาล วัดท่าข้าม และสร้างพระประธานใหญ่ไว้ที่เขตอำเภอชนแดน แล้วท่านร้องขอให้ไปอยู่แคมป์สน เขตอำเภอหล่มสัก อยู่ได้ปีเดียวท่านเจ้าคุณวิมลญาณเวที

    วัดมงคลทับคล้อ ซึ่งเป็นเครือญาติกันมาก่อนขอให้มาสร้างฌาปนสถานและบูรณะศาลาการเปรียญวัดมงคลทับคล้อ พอเสร็จเรียบร้อยท่านร้องขอให้มาช่วยเหลือ

    ประจำอยู่วัดพระพุทธบาทเขารวก เมื่อปี พ.ศ. 2507 เพราะเป็นแดนทุรกันดาร หน้าแล้งจะขาดแคลนน้ำดื่มน้ำใช้ ด้วยความเห็นชอบและเลื่อมใสของท่านเจ้าอาวาส ตลอดจนญาติโยมได้ลงมือพัฒนาสถานที่นี้ให้ได้รับความสะดวกสบายขึ้นหลายอย่าง อาทิ ได้ขุดสระกักเก็บน้ำไว้ในบริเวณหมู่บ้าน เก็บน้ำให้ชาวบ้านไว้ใช้ตลอดปี สร้างถนนจากบ้านวังหลุมถึงเขารวกเป็นระยะทาง 5.5 กิโลเมตร และสร้างโรงเรียนประถมศึกษาเป็นอาคารชั้นเดียว ยาว 50 เมตร มีห้องเรียน 8 ห้อง อีกทั้งปั้น รูปสมเด็จพระปิยมหาราชไว้ที่หน้าเสาธง มีขนาด 1 เท่าครึ่ง ตั้งอยู่ตลอดจนถึง ทุกวันนี้ และในวันที่ 23 ตุลาคมของทุกปีจะมีพิธีถวายบังคมพระบรมรูป พร้อมทั้งแจกทุนการศึกษาแก่เด็กยากจนไม่น้อยกว่าปีละ 100 ทุน ตลอดมาจนทุกวันนี้
    หลวงปู่โง่นละสังขารของท่านเมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2542 รวมสิริชนมายุได้ 94 ปีเศษ นับว่ามีอายุมากแต่สังขารของหลวงปู่โง่น ไม่แก่เฒ่าอย่างที่ทุกคนคิด เพราะท่านมีวิธีรักษาจิตเพื่อชะลอความแก่ไว้ด้วยธรรมสมบัติ

    มีธรรมสมบัติเป็นจิตใจจึงเป็นใจที่สงบ อันใจที่สงบนั้นย่อมไม่แก่ชราดัง

    พระพุทธภาษิตว่า สตญฺจ ธมโม นชรํ อุเปติ ธรรมของผู้มีใจสงบนั้นย่อมไม่เข้าถึงความแก่ชรา ก็คือการชะลอความแก่ไว้ด้วยธรรมสมบัตินั่นเอง

    คนส่วนมากมักปล่อยชีวิตให้เป็นไปตามยถากรรม แต่หลวงปู่โง่น

    ใช้ชีวิตของท่านเดินย้อนรอยกรรม โดยการนำตัวแฝงเข้ามาเป็นอุปกรณ์การเดินทาง เพื่อย้อนรอยกรรม จึงทำให้ชีวประวัติของท่านโดดเด่น โลดโผน เป็นวรธรรมคติ แก่ผู้ศึกษาและปฏิบัติได้เป็นอย่างดี อันปฏิปทาของหลวงปู่โง่นนั้น ตรงกับคำว่า “ปะฐะ วิปปะภาโส” แปลว่า ผู้ยังพื้นปฐพีให้สว่างไสว เหมือนดวงอาทิตย์อุทัยที่เป็นดวงตาของโลก มีความชื่นชมยินดี เป็นที่รวมใจ มีรัศมีสีทองผ่องอำไพส่องโลกนี้ เป็นคาถาที่ปรากฏในโมรปริตร์ ถ้าคิดถึงหลวงปู่โง่นก็ให้เจริญมนต์บทนี้ จะได้รับความคุ้มครองจากธรรมสมบัติตามปฏิปทาบารมีของหลวงปู่โง่นเหมือนท่านอยู่กับเราในฐานะตัวแฝงตลอดไป
    ที่มา https://www.gotoknow.org/posts/411593
     
  3. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,259
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,033
    เสียงเทศน์หลวงพ่อกวย ชุตินธโร

    Prakrurng Dotcom
    Mar 22, 2020
    #เสียงเทศน์หลวงพ่อกวย วัดบ้านแค โฆษิตาราม จ.ชัยนาท #หลวงพ่อกวย วัดโฆษิตาราม จ.ชัยนาท

    ประวัติ หลวงพ่อกวย ชุตินธโร" อดีตเจ้าอาวาสวัดโฆสิตาราม (วัดบ้านแค) ต.บางขุด อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท เป็นพระเกจิอาจารย์เรืองวิทยาคมรุ่นเก่าอีกรูปหนึ่ง ที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วภาคกลาง
    ชาติภูมิ หลวงพ่อกวย เดิมชื่อ กวย ปั้นสน เกิดเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2448 ณ หมู่บ้าน บ้านแค หมู่ 9 ต.บางขุด อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายตุ้ย และนางต่วน เดชมา ท่านเป็นบุตรคนสุดท้องของบิดามารดา ในช่วงวัยเยาว์มารดาได้นำมาฝากไว้กับหลวงปู่ขวด ณ วัดบ้านแค เพื่อให้เรียนหนังสือ ครั้นเมื่อครบอายุบวช ได้
    เข้าพิธีอุปสมบท เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2467 ณ วัดโบสถ์ ต.โพธิ์งาม อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท โดยมี พระชัยนาทมุนี เป็นพระอุปัชฌาย์, หลวงพ่อปา วัดโบสถ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ เเละ พระอาจารย์หริ่ง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า ชุตินธโร เมื่ออุปสมบทได้มาอยู่จำพรรษาที่วัดบ้านแค ตอนนั้นหลวงปู่มา เป็นเจ้าอาวาสอยู่ พระกวยหัดเทศน์เวสสันดรชาดก หลังจากนั้นได้ไปเรียนวิชาแพทย์โบราณกับหมอเขียน เพื่อเรียนวิชารักษาโรคระบาด หรือโรคห่าเเละโรคไข้ทรพิษ พ.ศ.2472 ได้เดินทางไปเรียนวิชาวิปัสสนากัมมัฏฐานและวิทยาคม ตลอดจนวิธีทำเครื่องรางของขลังกับ หลวงพ่อศรี วิริยโสภิต แห่งวัดพระปรางค์ จ.สิงห์บุรี พ.ศ.2477 ท่านได้มาจำพรรษาที่วัดหนองแขม ต.ดงคอน อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท เพื่อเรียนแพทย์แผนโบราณต่อกับโยมป่วน บ้านหนองแขม และเรียนแพทย์แผนโบราณต่อกับหมอใย บ้านบางน้ำพระ ในขณะที่พักจำพรรษาที่วัดหนองแขม ได้มีพระภิกษุชื่อ แจ่ม เดินทางท่องเที่ยว ไปพบตำราเป็นสมุดข่อยอยู่ในโพรงไม้ แต่เอามาไม่ได้ เพราะตำรานั้นมีอาถรรพณ์แรงมาก จึงได้มาชักชวนพระกวยให้ไปดู ปรากฏว่ามีตำราอยู่โพรงไม้จริง มีรอยคนเอาพวงมาลัยดอกไม้ ธูปเทียนมาบูชาใต้โคนไม้ พระภิกษุกวยจึงได้จุดธูปบอกเล่าและอธิษฐานว่า "ถ้าหากว่าท่านจะให้ตำรานี้ให้ข้าพเจ้าเอาไปเก็บรักษาไว้ ข้าพเจ้าจะนำเอาตำรานี้ไปทำประโยชน์แก่วัดและช่วยเหลือประชาชนเท่านั้น" ก่อนอัญเชิญตำรานั้นมาเก็บไว้ ครั้งหนึ่ง ท่านได้ไปจำพรรษาที่วัดบางตาหงาย อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์ ได้มาเรียนวิชากับหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ ได้เรียนวิชาทำแหวนแขน, ตะกรุด, มีดหมอ และอื่นๆ ศิษย์ร่วมรุ่นของหลวงพ่อที่เป็นที่รู้จักกัน คือ หลวงปู่พิมพา วัดหนองตางู อ.บรรพตพิสัย ต่อมา เมื่อช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง หลวงพ่อกลับมาอยู่วัดบ้านแค หลวงพ่อได้สักให้ศิษย์ มีชื่อเสียงโด่งดังมาก ขนาดสักกันทั้งกลางวันกลางคืน ในช่วงนั้น ข้าวยากหมากเเพง โจรร้ายเต็มบ้านเมือง โดยเฉพาะเเถบภาคกลางตอนล่าง นครสวรรค์ ชัยนาท อ่างทอง สุพรรณบุรี เป็นเเหล่งกบดานของโจรเสือร้ายหลายกลุ่ม ชาวบ้านเเคได้อาศัยบารมีหลวงพ่อกวย เพื่อคุ้มครองครอบครัวเเละทรัพย์สินของมีค่าต่างๆ ก็จะเอามาฝากหลวงพ่อที่วัด จากคำบอกเล่าของคนเก่าแก่ที่บ้านเเค เล่าว่า พวกโจรเสือไม่มีใครกล้ามาลองดีกับหลวงพ่อกวย มีอยู่รายหนึ่งเป็นเสือมาจากอ่างทอง พาสมุนล้อมวัดบ้านเเคตอนกลางคืน เห็นว่าวัวควายของชาวบ้านที่ลานวัดมีเยอะมาก เเต่ก็โดนตะพดหลวงพ่อจนต้องรีบพาสมุนกลับเเละก็ไม่มาเเถวบ้านเเคอีกเลย เขาว่าในสมัยนั้น เมื่อโจรเสือเดินผ่านวัดหลวงพ่อ ต้องยิงปืนถวายทุกครั้ง หลวงพ่อกวย ไม่ชอบการก่อสร้าง ชอบความเป็นอยู่สมถะ แม้กุฏิของหลวงพ่อก็เป็นไม้ทรงไทยโบราณ แต่การก่อสร้างนั้นหลวงพ่อยกหน้าที่ให้กรรมการวัด แม้การก่อสร้างก็ให้กรรมการวัดและชาวบ้านทำ ดังนั้น วัดบ้านแค จึงมีแต่กุฏิเก่าๆ
    ลำดับสมณศักดิ์ วันที่ 5 ธันวาคม 2511 หลวงพ่อกวยได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นประทวน ก่อนหน้านี้ ในปี พ.ศ.2521 หลวงพ่อกวย ได้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลพญาไท หมอได้วินิจฉัยโรคว่าเป็นโรคขาดอาหารมาเป็นเวลา 30 ปี แพทย์ได้ให้สารอาหารประเภทโปรตีนกับหลวงพ่อ เป็นเวลาถึง 1 เดือน ก็ยังไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย อยู่โรงพยาบาลได้ไม่นาน ท่านก็กลับวัด เมื่อกลับวัดหลวงพ่อก็ยังได้ฉันอาหารเพียงวันละ 1 ครั้ง เช่นเดิม อีกทั้งยังคงคร่ำเคร่งในการสร้างและปลุกเสกวัตถุมงคล
    หลวงพ่อกวย มรณภาพด้วยอาการสงบ เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2522 สิริอายุ 74 พรรษา 54 ปัจจุบัน วัดโฆสิตาราม เเละบรรดาศิษย์หลวงพ่อกวย ได้ยึดถือเอาวันที่ 12 เมษายนของทุกปี เป็นวันทำบุญประจำปี เพื่ออุทิศและรำลึกถึงหลวงพ่อกวย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 มกราคม 2024
  4. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,259
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,033
    รวมตอนที่ 1-40 ฟังกันยาวๆ สารคดีเปิดโลกตำนาน #หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร #วัดโฆสิตาราม

    Bronze Channel
    Mar 16, 2023

    เนื่องจากมีพี่ๆหลายท่านแจ้งมาว่าตัวเก่าที่ลงใว้เสียงเบามาก เลยทำตัวนี้มาให้ใหม่ครับ ขอขอบคุณทุกคำติชม ที่ทำให้เราได้รู้ถึงปัญหา และจะนำมาปรับปรุงแก้ไขต่อไป ขอบคุณทุกๆท่านที่ติดตามครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...