เอาเฉพาะผู้ที่มีความรู้จริงๆ เดาเอาไม่ต้องเข้ามา

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Samarnl, 23 สิงหาคม 2015.

  1. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    นิพพานกับบัญญัติต่างกันอย่างไร
     
  2. thaiboy74

    thaiboy74 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    175
    ค่าพลัง:
    +207
    ถูกผิดอย่างไรขอชี้แนะนะครับ
    เนื้อหาค่อนไปทางตรรกะวิภาษ

    บัญญัติ หรือคำบัญญัติ คือการกำหนด หรือตั้งคำเพื่อใช้เรียกวัตถุ สิ่่งของที่มีอยู่ เพื่อการสื่อสาร

    นั่นหมายถึงว่า ภาษาพูดทั้งหมดเป็นบัญญัติทั้งสิ้น เมื่อมีบัญญัติคำใดขึ้นก็ตาม คำนั้นจะต้องจะต้องแทนสิ่งรองรับคำบัญญัตินั้นที่มีอยู่มาก่อนแล้ว การที่จะตั้งบัญญัติคำต้องมีวัถุหรือสิ่งของรองรับ ซึ่งหมายถึงว่าจะตั้งโดยที่ไม่มีวัตถุหรือสิ่งของรองรับคำบัญญัตินั้นไม่ได้

    เช่น ถ้วย ชาม หม้อ ไห เกิดจากการประดิษฐ์ หลังจากนั้นจึงได้บัญญัติศัพท์ที่ใช้เรียก เมื่อมีการเรียกด้วยศัพท์ที่บัญญัติขึ้นมาแล้วนั้น เราก็จะเข้าใจได้ว่า เขา ต้องการสื่อถึงอะไร เป็นความเข้าใจที่ตรงกัน

    ในที่นี้ เมื่อกล่าวถึงคำว่า "นิพพาน" ก็สามารถกล่าวได้ว่า เป็นคำบัญญัติได้ เพราะต้องมีสภาวะรองรับ จึงได้บัญญัติคำนั้นขึ้นมา

    ไม่ว่าเราจะเอ่ยถึงมัน หรือไม่ว่าคำ ๆ นี้จะมีบัญญัติขึ้นมาหรือไม่ วัตถุ สิ่งของ หรือสภาวะที่รองรับคำบัญญัติเหล่านั้น ย่อมยังคงอยู่ของมันเอง

    มันสามารถไปต่อได้อีกเช่นว่า
    คำว่า "ถ้วย" กับ ถ้วย เหมือนกันหรือไม่
    คำว่า "นิพพาน" กับ นิพพาน เหมือนกันหรือไม่
    หรือแม้กระทั่ง "นิพพาน" กับ นิพพาน เหมือนหรือต่างกันอย่างไร

    เมื่อมีการตีความหมายในการรับรู้เกี่ยวกับเรื่องการตีความ
    ่ตรงนี้พวกตรรกะวิภาษ เขาจะนำสิ่งเหล่านี้มารื้อ สร้าง เพื่อให้เราเข้าใจว่า
    จริง ๆ แล้ว เราเข้าใจมันจริง ๆ หรือแค่นึกไปเองว่าเรารู้เราเข้าใจ

    คงไม่ไปต่อถึงกระบวนการคิดของตรรกะวิภาษนะครับ
    หรือถ้าใครจะต่อก็เปิดประเด็นมา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 สิงหาคม 2015
  3. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    คำถามยังใช้บัญญัติเลยเอาไงดีลุง
     
  4. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    เป็นการโต้หรือสนทนาทางธรรมโดยใช้หลักตรรกะ
    ก็เป็นการโต้วาทีทางธรรมโดยใช้หลักตรรกะ เพื่อให้มีความ
    เข้าใจเกี่ยวกับหลักธรรมในพุทธศาสนาดีขึ้น แจ่มแจ้งขึ้นเพื่อ
    ขจัดความเห็นผิด วิธีการของตรรกวิภาษจะประกอบด้วย
    เพื่อให้เกิดพลังแห่งปัญญา ทั้งผู้ถามและผู้ตอบ และผู้ติดตามอ่าน
     
  5. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    แล้วสถาพของเขาเป็นอย่างไรล่ะ บิ๊กทู
     
  6. thaiboy74

    thaiboy74 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    175
    ค่าพลัง:
    +207
    ต่อเรื่องบัญญัติอีกนิดใหม
    ถ้าเคยศึกษาพุทธศาสนา ในสาขาตรรกวิทยามา
    ผมว่าทุกคนต้องเคยผ่านบทเรียนที่ศึกษาเกี่ยวกับม้าขาว
    บทนี้ ทางธิเบต หรือแม้แต่ที่จีนเรียนกันในบทแรก ๆ เพื่อเป็นการปูพื้น

    ในทางภาษา
    เมื่อเอ่ยคำว่าม้าขาวในภาษาธิเบต
    มันสามารถตีความได้สองนัยยะ เริ่มจากว่า
    ในการถามตอบปัญหา สามารถถามได้ว่า
    "ม้าสีขาวใช่หรือไม่"
    ถ้าตอบว่าใช่
    ก็ถามต่อว่า แล้วม้า คือสีขาวหรือ
    คำตอบก็คือไม่ใช่
    แต่เมื่อยังยืนยันคำตอบว่าใช่ คนถามก็ต้องถามถึงคำจำกัดความของคำทั้งสอง
    เมื่อถามกลับไปกลับมา ม้าสีขาวมันไม่ได้เป็นอย่างนั้น

    ทีนี้กลับมาแย้งกลับให้มันเป็นเช่นว่า
    ถ้าม้าสีขาวไม่ใด้เป็นม้าสีขาว
    แล้วม้าสีขาวตัวหนึ่ง เป็นม้าสีขาวหรือเปล่า
    ถ้าเขาบอกว่าใช่
    ผู้ถามก็จะถามกลับว่าแล้วเมื่อกี้ทำไมตอบว่าไม่ใช่
    กระบวนการนี้สามารถไปต่อได้ไม่รู้จบ ขึ้นอยู่กับทักษะของผู้เรียน

    นอกจากตีความตามกระบวนการข้างต้น ยังไปต่อได้อีกเช่น
    ม้าสีขาวมีอยู่หรือเปล่า
    ประเด็นมันอยู่ที่ว่า ถ้าม้าสีขาวไม่ได้เป็นอย่างนั้นจริง ๆ แล้วม้าสีขาวมีอยู่ใหม
    ถ้าไม่มีอยู่ แล้วทำไมเราสามารถมองเห็นม้าตัวสีขาว ๆ ได้
    แล้วถ้ามีอยู่ ก็ต้องหาม้าที่เป็นอันเดียวกับสีขาว ซึ่งไม่มีอยู่จริง

    เรื่องนี้ไม่เว้นแม้แต่เรื่องนิพพาน การมีอยู่ ไม่มีอยู่ ซึ่งล้วนเป็นคำบัญญัติ
    ยิ่งเรื่องนิพพานเสียแล้ว ความเข้าใจยิ่งมีหลายระดับ ตามการพัฒนาของปรัชญา
    ในประวัติศาสตร์

    ในมหายานโดยเฉพาะอย่างยิ่งสายมัธยมิกะ เขามองว่า นิพพานมันเหนือโลก ไม่สามารถอธิบายได้ด้วยคำ ถึงใช้วิธีการเข้าถึงด้วยตรรกะแทน
    หลังจากเรียนแล้วก็ปฏิบัติแบบตันตริกภายหลังให้บรรลุกันไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 สิงหาคม 2015
  7. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    ถ้าบัญญัติก็ตกอยู่ในกฎไตรลักษณ์นิพพานก็นอกเหนือกฎไตรลักษณ์. นิพพานอธิบายในรูปปฎิเสธเท่านั้นอะไรๆที่มีในบัญญัติในนิพพานไม่มี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 สิงหาคม 2015
  8. ลมหายใจสุดท้าย

    ลมหายใจสุดท้าย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    419
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,137
    นิพพานไม่ไช่คำพูดแต่ต้องปฏิบัติเอาครับ
     
  9. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    มันจะยากส์ สิครับ .....

    เพราะ เท่าที่ทราบ ลุงหมาน ไม่ค่อยได้ สรรเสริญ การทำสมาธิ เท่าไหร่

    พอต้นทุนทาง สมถะ หรือ เจโตวิมุตติ ไม่มี พอบอกว่า นั่นคือ "สุดทางของบัญญัติ"

    หรือ เจโตสมาธิ คือ ขีดสุด หรือ สุขขอบ ของ อารมณ์บัญญัติ ที่เราจะอาศัย
    ยกรู้ว่า นั่นยังเป็น บัญญัติอยู่ ยังเป็น สังขาร ที่เป็น อภิสังขาร

    แล้ว มันจะยากกว่านั้นอีก เพราะ ปุญญาภิสังขาร นั้นเราก็จะ เอามาอาศัยระลึก
    เห็นตามความเป็นจริง(เห็นเกิด ดับ/เจริญ แล้วเสื่อม) เพื่อให้ จิตมันได้ สำรอกออก
    เพราะมี ไตรลักษณ์ญาณสัมปยุต ขณะที่ ระลึกสภาะ ปุญญาภิสังขาร นั้นๆได้

    มันจะยากส์กว่านั้นอีก ตรงที่ สำรอก ปุญญาภิสังจารได้แล้ว ก็ยังแค่ ครึ่งเดียว
    ยังเหลือส่วน นามขันธ์อื่นๆ ที่จะต้อง ฝึกซ้ำ ย้ำลงไปอีก จนกว่าจะ ยกเวทนา
    จิต เป็นธรรมเกิดดับได้

    หลังจากนั้น จะยากส์กว่านั้น ที่ว่า " กาย เวทนา จิต ธรรม " ยังเป็นแค่ ต้นทาง
    การปฏิบัติ สติปัฏฐาน4 ที่ต้องปฏิบัติเนือง(สองแสนอสงไขยเป็นอย่างต่ำ หากเป็นสาวก)
    ถึงจะ รู้สุดขอบโลก สุดขอบบัญญัติ ได้สักครั้ง

    แต่.............

    จริงๆ มันไม่ได้ยากส์อย่างนั้น

    เพราะ ฌาณจิต ก็มีประกอบอยู่กับ จิตที่มีศีลอยู่ทุกขณะ เอามาระลึก ความ
    เกิดดับ เพื่อเข้าไปแจ้ง สุดขอบบัญญัติปุญญภิสังขารที่มีปฐมฌาณเป็นเบื้องต้น เนืองๆ ได้

    เพียงแต่ว่า อย่ารีบร้อนไปทำให้มันเที่ยง จะต้อง ยอมรับ ทนเห็น ศีลในจิตไม่เที่ยงไปอย่างนั้น

    เว้นแต่จะเล่นฌาณ ก็จะ ชุ่มชื่น ได้ต่อเนื่อง ในเรื่องการมีศีล

    พอสัมผัสสุดขอบบัญญัติ อาศัยปฐมฌาณเป็นอาธิ ... จิตจะ รับรู้ แจ้งนิพพาน ด้วยอาการ
    พ้นคิด พ้นอยาตนะ6 พ้นอาจารย์ พ้นการฟังๆตามกันมา พ้นสมมติ พ้นบัญญัติ
    ได้ด้วย "ปัญญาอันยิ่งเอง"
     
  10. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,604
    ค่าพลัง:
    +3,014




    ทำไม ไม่ยกต้นเรื่องมาด้วยครับ
    ยกมาแค่ส่วนเดียว
    คนอธิบายจะงงได้
    คนที่เข้ามาอ่าน
    ก็จะยิ่งงงไปกันใหญ่
     
  11. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    คำถามผมมันแค่นิพพานกับบัญญัติแตกต่างกันอย่างไร
    มันไม่ตรงกับคำถามเลย ไม่รู้จะชักแม่น้ำทั้งห้าจะพาไปไหน
    ตอบไม่ได้ก็บอกแล้วว่าไม่ต้องตอบ ไม่มีใครบังคับให้ตอบ
     
  12. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    คิดให้ดีบัญญัติตกอยู่ในกฏไตรลักษณ์หรือ นิพพานมีจริงทำไมจะต้องเป็นการตอบปฏิเสธ
     
  13. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ผมคิดว่าในห้องนี้เขาเก่งๆกันทั้งนั้นรู้ต้นเรื่องกันหมดแล้ว จึงไม่จำเป็นจะต้องยกให้เป็นเรื่องเยิ่นเย้อ ถ้าเห็นว่าคำถามไม่เหมาะสมก็ช่วยไปตั้งคำถามให้ทีนะครับ
     
  14. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    นิพพานเป็นเรื่องของการปฏิบัติเอา เหตุนั้นพระพุทธเจ้าท่านเอามาสอนมิต้องผิดไปด้วยหรือ
     
  15. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    นิพพานหรือโลกวิมุตติ ป็นสภาวะที่ไม่ใช้เหตุปัจจัยในการดำรงอยู่
    ไม่อยู่ภายใต้พระไตรลักษณ์

    ซึ่งตรงกันข้ามกับบัญญัติ
    หรือโลกสมมุติที่ต้องอาศัยเหตุปัจจัยในการดำรวอยู่และจะอยู่ภายใต้
    กฎพระไตรลักษณ์ทุกกรณี
     
  16. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บัญญัติเกิดขึ้นล่ะ ช่วยอธิบายหน่อย
     
  17. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    เป็นไปตามอิทัปปัจจัยตาธรรมครับ
    ร่วมกับอวิชชา
    ความมีเขามีเรา ทำให้สมมุติกลายเป็น
    เรื่องจริงจังเหนียวหนึบฮะ
     
  18. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    บัญญัติเป็นขันธ์อะไร
     
  19. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    เป็นสังขารขันธ์
    ปรุงไปตามอวิชชาตามเหตุปัจจัยทางสมมุติ
     
  20. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    องค์ธรรมของบัญญัติที่ว่าเป็นสังขารขันธ์ได้แก่อะไร
     

แชร์หน้านี้

Loading...