เรื่องเด่น แม่ชีฝึกกังฟูในประเทศเนปาล ผู้หญิงในพุทธศาสนา

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย Saber, 2 ธันวาคม 2019.

  1. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    lzKaag&_nc_ohc=NZojVAYaY58AQn7Yk5q9r7OJ9KDiwb_WCAiuWYgYuq9-J8RMCCD7BDKVQ&_nc_ht=scontent.fbkk2-7.jpg
    แม่ชีฝึกกังฟูในประเทศเนปาล ผู้หญิงในพุทธศาสนา

    หลังจากการสวดมนต์ทำวัดเช้าเสร็จสิ้นแล้ว แม่ชีกว่า 800 คนในสำนักชีแห่งขุนเขาดรุก อมิตาภา ในประเทศเนปาลต้องออกมาฝึกศิลปะการต่อสู้ ฝึกกังฟู การใช้ดาบ ซึ่งไม่ใช่แค่การฝึกให้มีทักษะการต่อสู้ หรือเสริมสร้างสุขภาพกายและใจเท่านั้น แต่นี่ยังถือเป็นการต่อสู้ในเชิงสังคมเพื่อสร้างความเท่าเทียมของผู้หญิงในศาสนาพุทธอีกด้วย
    .
    ในแถบเทือกเขาหิมาลัย แม่ชีหรือนักบวชหญิงมักถูกเลือกปฏิบัติและไม่ได้ให้ความเท่าเทียมกับนักบวชชายเสมอ เช่นเดียวกันกับเด็กผู้หญิงซึ่งมักไม่ได้รับโอกาสทั้งทางการศึกษา สังคม และอื่นๆ เท่าเทียมกันกับเด็กผู้ชาย การฝึกกังฟูของเหล่าแม่ชีจากสำนักชีแห่งขุนเขาดรุก อมิตาภา ในประเทศเนปาลจึงเป็นดั่งการท้าทายสถานะของนักบวชหญิงในศาสนาพุทธในแถบพื้นที่เทือกเขาหิมาลัย และยังเป็นการสร้างตัวอย่างให้เหล่าเด็กหญิงได้เห็นอีกว่า ผู้หญิงก็สามารถทำในสิ่งที่อาจจะไม่เคยเห็นว่าทำได้ หรือเคยทำในสังคมแถบนี้มาก่อน
    .
    ไม่เพียงแค่นี้ เหล่าแม่ชียังเพิ่งจะเดินทาง ‘ธรรมยาตรา’ เป็นระยะทางกว่า 8,370 กิโลเมตรด้วยการขี่จักรยานและการเดิน จากประเทศเนปาลสู่เมืองลาดักห์ ประเทศอินเดีย เพื่อเผยแพร่ความเท่าเทียมกันของนักบวชหญิงในพุทธศาสนา และแสดงการฝึกฝนวิชากังฟู ลาโม หนึ่งในแม่ชีของสำนักชีแห่งนี้ยังได้รับรางวัลระดับนานาชาติในนิวยอร์ก ว่าด้วยการเป็นแรงบันดาลใจให้เด็กผู้หญิงด้วย เธอเองเล่าว่าเป็นแม่ชีตั้งแต่อายุ 12 ปี แม้จะไม่ได้รับความเห็นชอบจากครอบครัวก็ตามที
    .
    “มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์มากมายในตอนแรก ผู้คนไม่ชอบในสิ่งที่เราทำนัก เพราะมันเหมือนเรากำลังทำผิดกฎ” ลาโม กล่าว
    .
    แต่หลังจากการฝึกกังฟู การเดินทางธรรมยาตราทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และการได้รับรางวัล ทำให้คำวิจารณ์เหล่านั้นค่อยๆ เปลี่ยนมาเป็นการรับรู้ในทางที่ดีมากขึ้น พวกแม่ชีได้รับเชิญจากโรงเรียนในพื้นที่ให้ไปพูด ไปบอกเล่าในสิ่งที่พวกเธอทำ ไม่เพียงแค่นั้นเด็กหญิงในโรงเรียนยังได้รับโอกาสให้มานั่งด้านหน้าของห้อง และเปิดโอกาสให้ซักถามได้อย่างอิสระอีกด้วย
    .
    การให้แม่ชีฝึกกังฟูนั้น เคยเกิดขึ้นมาก่อนในปี 2008 เมื่อท่านลามะกยาล์วง ดรุกปา ผู้นำทางจิตวิญญาณเชื้อสาย ดรุกปา พยายามจะสร้างความเท่าเทียมทางเพศในพุทธศาสนา โดยสนับสนุนให้แม่ชีได้เรียนรู้กังฟูและศิลปะป้องกันตัว ยกเลิกบรรทัดฐานดั้งเดิมที่ห้ามผู้หญิงและเด็กผู้หญิงออกขอบเขตของการเป็นแม่ชีที่ต้องสวดมนต์เพียงเท่านั้น



    อ้างอิง
    https://www.scmp.com/news/asia/south-asia/article/3039787/meet-kung-fu-nuns-himalayas-kicking-out-gender-stereotypes
    https://www.nytimes.com/2019/11/08/us/meet-the-kung-fu-nuns-of-nepal.html
    https://www.pri.org/stories/2019-09-23/climate-change-forced-nepal-women-trafficking-now-kung-fu-nuns-are-cycling-globe
    .
    ภาพ : SAJJAD HUSSAIN / AFP
     

แชร์หน้านี้

Loading...