โอวาทครูบาอาจารย์

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย มารสะท้าน, 19 มกราคม 2005.

  1. มารสะท้าน

    มารสะท้าน Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    100
    ค่าพลัง:
    +97
    เรื่องแสวงหาอย่างมีขอบเขต ......... โดยหลวงพ่อพุธ ฐานิโย
    ธรรมชาติของสังคม สังคมทั้งหลายตกอยุ่ในอำนาจของโลกธรรม ความมีลาภ เสื่อมลาภ ความมียศ เสื่อมยศ มีสุข ทุกข์ สรรเสริญ นินทา สิ่งเหล่านี้ทุกคนมีสิทธิเสรีภาพในการแสวงหา เราจะแสวงหาอย่างไร ในฐานะที่เราเป็นนักปฎิบัติ ความโกรธ ความหลงมีอยู่ เป็นสิ่งกระตุ้นเตือนความรู้สีกของเรา ให้มีความ ทะเยอทะยานในความอยากได้อยากดีมีอยากเป็น แต่ก็คือศีล ๕ ข้อ นั่นเอง เพราะฉะนั้น ศีล ๕ ข้อ เป็นศีลที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติขึ้นตามกฎของธรรมชาติ
    เรามีกายกับใจ ในกายของเรามีใจเป็นใหญ่ ใจเป็นผู้บงการแล้ว กายทำอะไรลงไป พูดอะใรออกไป ใจเขาเก็บเอาไว้โดยอัตโนมัติ เขาจะเก็บผลงานของเขาบันทึกเอาไว้ การทำบาปทำกรรมต่างๆ นี่ที่ว่าเป็นบาปเป็นกรรม ควรสังวรระวังควรงดเว้น ควรระวังรักษา มีแต่ละเมิดศีล ๕ ข้อเท่านั้น ศีล ๕ ข้อนี้เป็นบาป คนไม่มีศาสนาทำก็บาป บาปตัวนี้ใครเป็นผู้แต่งใครเป็นผู้สร้างขึ้น ไม่มีใครแต่ง ไม่มีใครสร้าง เป็นสิทธิหน้าที่ของแต่ละบุคคลสร้างขึ้นมาเอง เพราะเป็นผลงานของตัวเองที่ทำลงไป ในเมื่อเป็นผลงาน ที่ทำลงไปโดยใจเป็นผู้สั่ง ใจเขาต้องเก็บผลงานนั้นไว้โดยกฎธรรมชาติของเขา อย่างสมมติว่าเรา ไปฆ่าใครตายสักคนหนึ่ง เรานึกว่าเราทำเล่นๆ เราไม่ต้องการผลงาน มันก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ มันจะต้องวิ่งเข้ามาเป็นผลงานที่เก็บเอาไว้ภายในใจ
     
  2. มารสะท้าน

    มารสะท้าน Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    100
    ค่าพลัง:
    +97
    จิตกับใจ................................................................................................โอวาทของ......หลวงปู่เทสก์ เทสรังษี


    จิต เป็นผู้คิดนึก ส่งส่าย ปรุงแต่งไปต่างๆ สาระพัดร้อยแปดพันเก้า สัญญาอารมณ์สรรพสิ่งทั้งปวง แล้วแต่กิเลสจะพาไป

    ใจ เป็นผู้นิ่งอยู่เฉยๆ เพียงแต่รู้ว่านิ่งอยู่เฉยๆ ไม่มีความคิดนึกปรุงแต่งอะไรเลย อยู่เป็นกลางๆ ในสิ่งทั้งปวง คือตัวผู้รู้อยู่กลางๆ นั่นแหละคือใจ ธรรมชาติของใจเป็นกลางแท้ กลางแบบไม่มีอดีต-อนาคต ไม่มีบุญหรือบาป ไม่ดี หรือไม่ชั่ว นั้นเรียกว่าใจ สิ่งทั้งปวงหมด ถ้าพูดถึงใจแล้ว จะต้องหมายเอาตรงใจกลางนั้น

    ใจแท้ คือ ความรู้สึกเฉยอยู่เป็นกลางๆ เมื่อมีความรู้สึกกลางๆ อยู่ ณ ที่ใด ใจก็อยู่ ณ ที่นั้น

    เปรียบเหมือนแม่น้ำกับคลื่นของแม่น้ำ เมื่อคลื่นสงบแล้วจะยังเหลือแต่แม่น้ำอันใสแจ๋วอยู่อย่างเดียว
    สรรพวิชาทั้งหลายและกิเลสทั้งปวงจะเกิดมีขึ้นมาได้ก็เพราะจิตคิดนึกปรุงแต่งแส่ส่ายหามา สิ่งทั้งปวงเหล่านั้นจะเห็นได้ชัดด้วยใจของตนเองก็ต่อเมื่อ จิตนิ่งแล้วเข้าถึงใจ เปรียบดังน้ำ ซึ่งเป็นของใสสะอาดโดยธรรมชาติอยู่แล้ว เมื่อมีผู้เอาสีต่างๆ มาผสมกับน้ำนั้น น้ำนั้นย่อมเปลื่ยนแปลงไปตามสีนั้นๆ แต่เมื่อกลั่นกรองเอาน้ำออกมาจากสีนั้นๆ แล้ว น้ำก็จะใสสะอาดตามเดิม จิตกับใจ ก็มีอุปมาอุปมัยดังอธิบายมานี้

    ใจไม่มีตัวตนเป็นนามธรรม เป็นแต่ผู้รู้เฉยๆ เราจะเอาไปไว้ที่ไหนก็ได้ ไม่ได้อยู่ในกายหรือนอกกาย ที่เรียกหทัยวัตถุว่า หัวใจ นั้นไม่ใช่ใจแท้ เป็นแต่เครื่องสูบฉีดเลือดให้วิ่งไปทั่งร่างกาย แล้วยังชีวิตให้เป็นอยู่เท่านั้น ถ้าหัวใจไม่ฉีดเลือดให้เดินไปทั่วร่างกายแล้ว ชีวิตความเป็นอยู่ก็ดำรงอยู่ไม่ได้

    ใจ ตามภาษาชาวบ้านที่พูดกันเป็นประจำ เช่นคำว่า ฉันเสียใจ ฉันดีใจ ฉันร้อนใจ ฉันเศร้าใจ ฉันตกใจ ฉันน้อยใจ อะไรต่อมิอะไรก็ใจทั้งนั้น ฯลฯ แต่นักพระอภิธรรมเรียกเป็นจิตทั้งนั้น เช่น จิตเป็นกุศล จิตเป็นอกุศล จิตเป็นอัพยากฤต จิตเป็นกามาพจร จิตเป็นรูปาพจร จิตเป็นอรูปาพจร จิตเป็นโลกุตตระ ฯลฯ

    จิต คือผู้คิด ผู้นึก ผู้ปรุง ผู้แต่ง ต้องใช้อายตนะทั้งหกเป็นเครื่องมือ พอตาเห็นรูป หูฟังเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นสัมผัสรส การสัมผัสเย็น ร้อน อ่อน แข็ง ใจนึกคิดอารมณ์ต่างๆ ตามกิเลสของตนทั้งที่ดีและไม่ดี ดีก็ชอบใจ ไม่ดีก็ไม่ชอบใจ ล้วนแล้วแต่เป็นจิต คือตัวกิเลสทั้งนั้น นอกจากอายตนะหกนี้แล้ว จิตจะเอามาใช้ไม่ได้ ท่านแยกออกไปเป็นอินทรีย์หก ธาตุหก ผัสสะหก อะไรเยอะแยะ แต่ก็อยู่ในอายตนะหกนี้ทั้งนั้น นั่นเป็นอาการลักษณะของจิตผู้ไม่รู้จักนิ่งเฉย

    ผู้หัดจิต คือ ผู้ทำสมาธิ จะต้องสำรวมจิต ที่มันดิ้นรนไปตามอายตนะทั้งหก ดังที่อธิบายมาแล้วนั้น ให้หยุดนิ่งอยู่ในคำบริกรรม พุทโธ อย่างเดียว ไม่ให้ส่งส่ายไปมาหน้าหลัง ให้หยุดนิ่งเฉยและรู้ตัวว่านิ่งเฉยนั่นแหละตัวใจ ใจแท้ไม่มีการใช้อายตนะใดๆ ทั้งหมด จึงเรียกว่าใจ
    ดังชาวบ้านเขาพูดว่าใจ ๆ ใจคือของกลางในสิ่งทั้งปวง เช่นใจมือก็หมายเอาตรงกลางมือ ใจเท้า ก็หมายเอาตรงกลางของพื้นเท้า สิ่งทั้งปวงหมด เมื่อพูดถึงใจแล้วจะต้องชี้เข้าหาที่ตรงกลางทั้งนั้น แม้ที่สุดแต่ใจคนก็ต้องชี้เอาตรงท่ามกลางอก แท้จริงแล้วหาได้อยู่ที่นั้นที่นี้ไม่ ดังอธิบายมาแล้ว แต่อยู่ตรงกลางสิ่งทั้งปวงทั้งหมด

    การฝึกจิต เราต้องทำใจเย็นๆ จะเป็นสมาธิหรือไม่ก็ตาม เราเคยทำภาวนาพุทโธๆ ก็ภาวนาไปเรื่อยๆ ทำเหมือนกับ เราไม่เคยภาวนาพุทโธมาก่อน ทำใจให้เป็นกลางวางจิตให้เสมอ แล้วผ่อนลมหายใจให้เบาๆ เอาสติเข้าไปกำหนดจิต ให้อยู่กับพุทโธอย่างเดียว เวลามันจะเป็น มันก็เป็นของมันเอง เราจะไปแต่งให้มันเป็นไม่ได้ ถ้าเราแต่งเอาได้ คนในโลกนี้ก็จะสำเร็จเป็นพระอรหันต์กันหมดแล้ว
    ผู้ภาวนาบริกรรมพุทโธ ต้องทำให้ชำนิชำนาญคล่องแคล่ว ในขณะที่อารมณ์ทั้งดีและชั่วมากระทบเข้า ต้องทำสมาธิให้ได้ทันที อย่าให้จิตหวั่นไหวไปตามอารมณ์ได้ นึกถึงคำบริกรรมพุทโธเมื่อไร จิตก็รวมได้ทันทีอย่างนี้จิตจึงจะมั่นคงเชื่อตนเองได้
     
  3. มารสะท้าน

    มารสะท้าน Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    100
    ค่าพลัง:
    +97
    ...การดูดวง.........


    ผู้ปฏิบัติศาสนา อุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย ท่านจะไปหามื้อหาวันทำงานทำการ ต้องการวันดี ไม่ใช่วันนั้นไม่ดี วันนี้ไม่ดี วันไม่ได้ทำอะไรแก่คน วันดีทำไมคนจึงตาย วันไม่ดีทำคนจึงเกิด

    การดูดวงก็เหมือนกัน ดูเอาว่าดวงดี ดวงไม่ดี ผูกดวงผูกดาว คนโกหกหลอกลวงกันให้วุ่นวายเดือดร้อน ในพระพุทธศาสนา ดวงดีไม่ดีก็ให้ดูเอาซิ ไม่ใช่มาจากฟ้าจากอากาศ ให้ดูดวงดีเดี๋ยวนี้ซิ ดวงดีเป็นอย่างไง ดวงดีรวมมาสั้น ๆ แล้วคือ ใจเราดี มีความสุขความสบาย เมื่อใจเราสุขสบายแล้ว ทำอะไรก็สบาย การงานก็สบาย ประเทศชาติก็สบาย นี่แหละ ดวงดี

    ( หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร )
     
  4. มารสะท้าน

    มารสะท้าน Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    100
    ค่าพลัง:
    +97
    ...จิตสงบ....

    ถ้าจับจุดของความรู้ไม่ได้ ก็อย่าลืมคำบริกรรมภาวนา ไปที่ไหน อยู่ในอิริยาบถใด คำบริกรรมให้ติดแน่นกับจิต ให้จิตเกาะอยู่กับคำบริกรรมภาวนานั้นเสมอ เช่น พุทโธ ก็ตาม อัฐิ ก็ตาม เกสา โลมา นขา ทันตา ตะโจ บทใดก็ตาม ให้จิตติดอยู่กับบทนั้น ไม่ให้จิตไปทำงานอื่น ถ้าปล่อยนี้เสีย จิตก็เถลไถลไปทำงานอื่น ซึ่งเป็นเรื่องของกิเลสไปเสีย ไม่ใช่เรื่องของธรรมที่เป็นความมุ่งหมายของเรา บทธรรมที่เราตั้งขึ้นมานั้น เพื่อให้จิตเกาะอยู่กับคำบริกรรมบทนั้น ๆ ซึ่งเป็นเรื่องของธรรมที่เราเป็นผู้กำหนดเอง อาศัยธรรมบทต่าง ๆ เป็นเครื่องยึดเครื่องเกาะของจิต ขณะทำลงไปก็เป็นธรรม จิตใจก็สงบ นี่แลหลักของการปฏิบัติ ที่จะทำให้จิตสงบเยือกเย็นได้โดยลำดับของนักภาวนาทั้งหลาย

    ( พระราชญาณวิสุทธิโสภณ - หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน)
     
  5. มารสะท้าน

    มารสะท้าน Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    100
    ค่าพลัง:
    +97
    ...ทำบุญไม่เสียตัง...


    คำสอน.......................................หลวงพ่อดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก ตำบลธนู อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา

    พอตื่นเช้ามาขณะล้างหน้า หรือดื่มน้ำให้ว่า "พุทธัง สรณัง คัจฉามิ ธัมมังสรณัง คัจฉามิ สังฆังสรณัง คัจฉามิ" ก่อนจะกินข้าว ก็ให้นึกถวายข้าวพระพุทธ ออกจากบ้านเห็นคนอื่นเขากระทำความดี เป็นต้นว่า ใส่บาตรพระ จูงคนแก่ข้ามถนน ฯลฯ ก็ให้นึก อนุโมทนา กับเขา ผ่านไปเห็นดอกไม้ที่ใส่กระจาดวางขายอยู่ หรือดอกบัวในสระข้างทาง ก็ให้นึกอธิฐานถวายเป็นเครื่องบูชาพระรัตนตรัย โดยว่า " พุทธัสสะ ธัมมัสสะ สังฆัสสะ ปูเชมิ " แล้วต้องไม่ลืมอุทิศบุญให้แม่ค้าขายดอกไม้ หรือรุกขเทวดาที่ดูแลสระบัวนั้นด้วย ตอนเย็นนั่งรถกลับบ้าน เห็นไฟข้างทางก็ให้นึกน้อมบูชาพระรัตนตรัยโดยว่า "โอม อัคคีไฟฟ้า พุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา " ก่อนนอนก็นั่งสมาธิ เอนตัวนอนลง ก็ให้นึกคำบริกรรมภาวนาไตรสรณะคมนี้จนหลับ ตื่นขึ้นมาก็บริกรรมภาวนาต่ออีกตลอดวัน นี่คือการตะล่อมจิตให้อยู่แต่ในบุญกุศลตลอดวัน และได้บุญมากกว่าการทำทาน โดยไม่เสียเงินแม้แต่บาทเดียว

    คำสอนหลวงพ่อดู่
     
  6. มารสะท้าน

    มารสะท้าน Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    100
    ค่าพลัง:
    +97
    ...เกิด-ดับ...


    ถ้าจะให้เทศน์แต่ความจริงล้วนๆ พระจะต้องขึ้นธรรมาสน์พูดแต่คำว่า " เกิด-ดับ เกิด-ดับ เกิด-ดับ " คงไม่มีใครอยากฟัง ฟังไม่กี่ครั้งก็เบื่อ ผู้แสดงธรรมจึงต้องชูรสบ้าง หาอะไรมาประกอบการอธิบายเพื่อให้มันน่าฟัง แต่แท้ที่จริงแล้ว ความรู้เกี่ยวกับโลกซึ้งที่สุดก็สักแต่ว่า ความเข้าใจในเรื่องการเกิดและการดับ

    นักปฎิบัติผู้สามารถรู้แจ้งในการเกิดและการดับของสังขาร ย่อมเบื่อหน่ายในการยึดมั่นในสิ่งทั้งหลาย และย่อมน้อมจิตไปเพื่อสิ่งที่อยู่เหนือการแตกสลาย

    เราต้องรู้ว่าเดี๋ยวนี้เราปฎิบัติเพื่ออะไร เราปฎิบัติเพื่ออยากเอาอยากเด่นไหม หลวงพ่อชาท่านก็สอนเสมอว่า อย่าปฎิบัติเพื่อจะเอาอะไร อย่าปฎิบัติเพื่อจะได้อะไร อย่าเป็นพระพุทธเจ้า อย่าเป็นพระอรหันต์ อย่าเป็นพระอนาคามี อย่าเป็นพระสกิทาคามี อย่าเป็นพระโสดาบัน อย่าเป็นอะไรเลย เป็นแล้วมันจะทุกข์

    อย่าเป็นอะไรเลย สบาย ความสบายอยู่ตรงที่เราไม่ต้องเป็นอะไร เราไม่ต้องเอาอะไร ภาวนาจนไม่มีความรู้สึกกว่าได้กำไร หรือ ได้ขาดทุนจากการปฎิบัติ มีความรู้สึกราบรื่น สิ่งภายนอกขึ้น ๆ ลงๆ แต่เราก็ไม่ขึ้นๆ ลงๆ ตาม เราอยู่ด้วยความวางเฉยของผู้รู้เท่าทันอาการแห่งความสุขก็มีอยู่ อาการแห่งความทุกข์ก็มีอยู่แต่มันอยู่ข้างนอก มันไม่ได้เข้าไปถึงใจของเรา

    พระอาจารย์ชยสาโร วัดป่านานาชาติ
     
  7. มารสะท้าน

    มารสะท้าน Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    100
    ค่าพลัง:
    +97
    ..."Let it go, and get it out!"...



    คำว่า " ไม่สบายใจ " อย่าใช้ และอย่าให้มีขึ้นในใจต่อไป "Let it go, and get it out!" ก่อนมันจะเกิดต้อง " Let it go." ปล่อยให้มันผ่านไป อย่ารับความไม่สบายใจไว้

    ถ้าเผลอไป มันแอบเข้ามาอยู่ในใจได้ พอมีสติรู้สึกตัวว่าความไม่สบายใจเข้ามาแอบอยู่ในใจ ต้อง Get it out! ขับมันออกไปทันที อย่าเลี้ยงเอาความไม่สบายใจไว้ในใจ มันจะเคยตัว ทีหลังจะเป็นคนอ่อนแอออดแอด ทำอะไรผิดพลาดนิด ๆ หน่อย ๆ ก็ไม่สบายใจเคยตัว

    เพราะความไม่สบายใจนี้แหละเป็นศัตรู เป็นมาร ทำให้ใจไม่สงบ ประสาทสมองไม่ปกติ เป็นเหตุให้ร่างกายผิดปกติ พลอยไม่สงบไม่สบายไปด้วย ทำให้สมองทึบไม่ปลอดโปร่งแจ่มใส เป็น habit ความเคยชินที่ไม่ดี เป็นอุปสรรคกีดกั้นขัดขวางสติปัญญาไม่ให้ปลอดโปร่งแจ่มใส ต้องฝึกหัดแก้ไขปรับปรุงจิตใจเสียใหม่ ทั้งก่อนที่จะทำอะไร หรือกำลังกระทำอยู่ และเมื่อเวลากระทำเสร็จแล้ว ต้องหัดให้จิตใจแช่มชื่นรื่นเริง เกิดปีติปราโมทย์ เป็นสุขสบายอยู่เสมอ เป็นเหตุให้เกิดกำลังกาย กำลังใจ "Enjoy living " มีชีวิตอยู่ด้วยความเบิกบาน สมองจึงจะเบิกบาน จะศึกษาเล่าเรียนก็เข้าใจง่าย เหมือนดอกไม้ที่แย้มบานต้องรับหยาดน้ำค้าง และอากาศอันบริสุทธิ์ ฉะนั้น

    (โอวาท.... ท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต (ธมฺมวิตกฺโกภิกฺขุ) วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพฯ)
     

แชร์หน้านี้

Loading...