ไม่ดูถูกตัวเอง..

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 27 ตุลาคม 2006.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,492
    ธรรมไหลไปสู่ธรรม 4
    ไม่ดูถูกตัวเอง

    [​IMG]

    คำว่า มนุษย์ มาจาก มน+อุษย แปลว่า ผู้มีใจสูง
    ปกติเมื่อยู่ตามลำพัง เรามักจะประมาทและปล่อยให้กิเลสเกิดขึ้นได้ง่าย
    เช่นเราเห็นของดี ๆ งาม ๆ แล้วเกิดความอยากได้
    แม้จะรู้อยู่ว่ามีเจ้าของ แต่ก็ยังนึกอยากจะขโมยเอาให้ได้
    มองหน้ามองหลัง มองซ้ายมองขวา พอเห็นว่าไม่มีใคร
    ก็หยิบของใส่กระเป๋า รีบเดินหนีด้วยใจเต้นตึกตัก ๆ
    อย่างนี้ก็จะเรียกว่าเป็นคนทำชั่ว
    คนที่ทำชั่วทำบาปได้ คือคนที่ไม่เคารพตัวเอง ดูถูกดูหมิ่นตัวเองมากที่สุด
    ไม่ให้เกียรติแม้กระทั่งตัวเอง ว่าเป็นมนุษย์คนหนึ่งในโลก
    เมื่อเราทำความชั่ว เราจะคิดว่าไม่มีคนรู้คนเห็นได้อย่างไร
    คนที่รู้อยู่เห็นอยู่ก็คือตัวของเราเอง
    แล้วตัวของเราเองนี้เป็นใคร
    ไม่ใช่คน ไม่ใช่มนุษย์หรอกหรือ ? เป็นยักษ์เป็นเปรตหรือ ?
    คนที่รักชีวิตของตัวเองอย่างแท้จริง จะทำชั่วทำบาปไม่ได้
    แม้จะอยู่บนเขา อยู่ในถ้ำเพียงคนเดียว ก็ยังต้องสำรวม
    ระวัง กาย วาจา ใจ ของตนให้เป็นปกติเรียบร้อยอยู่เสมอ
    เมื่อเราสามารถรักษาศีล จนกระทั่ง ใจเป็นศีล ใจเป็นธรรมแล้ว
    จะเกิดความรู้ชนิดหนึ่ง เรียกว่า อจล ญาณทัสสนะ
    เป็นความหยั่งรู้ที่เป็นพยานแก่ตนเองได้อย่างมั่นคง ไม่หวั่นไหว
    และเมื่อสามารถเอาตนเป็นพยานแห่งตนได้แล้ว
    ก็ไม่ต้องเที่ยวหาคนอื่นนอกตัวมาเป็นพยาน
    เราเองรู้ชัดอยู่กับตัวว่า ทำดี ทำถูก ทำไม่ผิดแล้ว
    ใครจะว่าอย่างไร เราก็ไม่หวั่นไหว ไม่ต้องเป็นทุกข์เดิอดร้อนใจ
    ไม่ต้องคิดไปว่า ทำดีได้ชั่ว
    เพราะทำดีเมื่อไรมันก็ได้ดีอยู่ที่ใจอย่างแน่นอน
    ที่เขาตำหนิเรากล่าวหาเราว่า ทำไม่ดี ทำไม่ถูก หรือทำชั่ว
    ก็อาจจะมีได้บ้างเหมือนกัน
    อาจจะเป็นวิบากกรรมของเราเอง
    หรือเพราะกิเลสเข้าครอบงำจิตใจของเขา
    หรือไม่ก็อาจเป็นเพราะ 'อวิชชา' เป็นเครื่องปิดบังไม่ให้รู้ความจริง
    เขาจึงเข้าใจเราผิด ก็เป็นได้
    และถึงแม้จะเป็นอย่างนั้น เราก็ไม่ต้องคิดอะไรมาก
    พยายามทำใจของเราให้สะอาด สว่าง สงบ
    ปล่อยให้กาลเวลาเป็นเครื่องแก้ไข
    ในที่สุดเหตุการณ์ทุกสิ่งทุกอย่างก็จะเปลี่ยนแปลงกลับคืนสู่สภาพปกติของมันเอง
    เมื่อใดที่ศีลของเราสมบูรณ์แล้ว กาย วาจา และจิตของเราก็เข้าสู่ทางสายกลาง
    มุ่งตรงต่อสมาธิ ปัญญา วิมุตติ และ วิมุตติญาณทัศนะ



    ที่มา:ประตูสู่ธรรม
    http://www.dharma-gateway.com
     

แชร์หน้านี้

Loading...