12345678910 คลายเครียดเนื้อพระแก้วยุคใหม่อย่างถูกวิธี glass annealing process

ในห้อง 'พระพุทธรูป - วิหารทาน - สิ่งก่อสร้าง' ตั้งกระทู้โดย glassbuddha2009, 1 ธันวาคม 2019.

  1. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,102
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,807
    พรุ่งนี้มาต่อครับ ไปพักผ่อนก่อน หากเช้าไม่ทันอาจกลับมาเย็นหรือค่ำครับ
     
  2. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,102
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,807
    การปั่นไฟทำนานแค่ไหนนั้น ตอบว่า ทำแค่เท่าที่จำเป็น ถ้าเป็นการดับแค่ 5 นาทีอย่างในกรุงเทพฯและปริมณฑล บางครั้งยังไม่ต้องทำอะไรเลย รอดูอุณหภูมิ ถ้าอุณหภูมิเริ่มต่ำกว่า 10% คือแตะ 700C ให้รีบสับไปใช้ไฟสำรองจากเครื่องปั่นทันที

    อย่างกรณีที่พระ อ. ตุ้ยบอกว่า ไฟฟ้าที่วัด บางฤดูกาล ไฟดับครั้งหนึ่งนานครึ่งค่อนหรืออาจถึงชั่วโมงนั้น พอไฟดับ ก็ไม่ต้องรอดูอาการครับ ปั่นไฟสับไปเข้าเตาได้เลย ไม่ต้องรอ เมื่อไฟฟ้ากลับมา เราจะรู้เพราะมีหลอดไฟแสดงอยู่ที่แผงควบคุมไฟ ก็สับไปใช้ไฟหลวงได้ทันทีครับ
     
  3. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,102
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,807
    ในกรณีไฟฟ้าดับนานเป็นชั่วโมง เพราะวัดท่านอยู่ห่างไกล หรือไกลปืนเที่ยง ทำให้ดับนานมากน้้น การเตรียมน้ำมันดีเซลสำรองไว้เป็นเรื่องจำเป็นครับ และการเติมน้ำมันดีเซลขณะเครื่องยนต์คือเครื่องปั่นไฟทำงานอยู่นั้นอันตราย จึงต้องดับเครื่องก่อน ต้องมีเครื่องดับเพลิงชนิดใช้แก๊สฮาล่อน ไม่ใช่แบบผงเคมีนะครับ การดับเครื่องเติมน้ำมันนั้น ต้องรู้ว่า เครื่องปั่นไฟนั้นทำงานได้กี่นาทีสำหรับน้ำมันที่มีในแท๊งค์ของเครื่องปั่น จึงต้องมีการซ้อมกันก่อน เหตุนี้ผมจึงให้มีคนเฝ้าเตาอย่างน้อย 3 คน เพราะหากเกิดอุบัติเหตุใดๆ จะมีคนรอดจากอุบัติเหตุแล้วขอความช่วยเหลือ ปฐมพยาบาลแล้วนำส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดก่อนครับ
     
  4. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,102
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,807
    เตาอบบางยี่ห้อมีช่องมองในเตา ในขณะที่ส่วนมากอาจไม่มีช่องมองภายใน และหลายยี่ห้อก็มีการออกแบบช่องมองภายในเตาต่างกัน บางยี่ห้อเป็นฝาเหล็กบานพัน เปิดแล้วปิด ง่ายกว่าแบบใช้แท่งเซรามิคอุดปิด ที่ควรระวังคือการมองภายในเตา เพราะทุกครั้งที่เปิดช่องมองนั้น หากเป็นช่องใหญ่ อุณหภูมิไหลออก ทำให้ในเตาอุณหภูมิลดลง และบางช่างไม่รู้ว่า ที่ช่องมองภายในนี้ เวลาเปิดแล้ว คนต้องยืนห่างเตาเล็กน้อย เพราะบางเตาความร้อนอาจพุ่งออกมาได้ห่างจากเตาเป็นฟุตทีเดียว จึงไม่ควรรีบเข้าไปมองทันทีที่เปิดช่อง และเวลามองให้ห่างไว้นิดนึง ที่สำคัญคือ มองอะไร คำตอบคือมองว่า น้ำแก้วไหลเข้าแม่พิมพ์เริ่มหมดหรือยัง หรือถ้าไฟดับนานไปหน่อย น้ำแก้วอาจไหลช้ามาก ซึ่งต้องรีบแก้ไขก่อนที่มันอาจจะตันและแก้ไขได้ยากขึ้น
     
  5. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,102
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,807
    เตาบางยี่ห้อมีช่องมองไฟ 2 ช่อง ซึ่งนั่นหมายถึงความฉลาดของผู้ออกแบบเตา ที่ถ้าหากมองจากมุมหนึ่ง อาจมองไม่เห็น แต่มองผ่านอีกมุมหนึ่ง น่าจะมีความกระจ่างมากขึ้น และถ้ากรณีที่ออกแบบเตาเอง อาจมีช่องเปิดได้หลายช่องกว่านั้น ส่วนมากเป็น 3 ระดับ สูง กลาง ล่าง และแต่ละระดับจะมีกี่ช่องก็ว่ากันไป และก็อย่าลืมว่าช่องยิ่งมากยิ่งรั่วไหลเร็ว ทำให้เก็บอุณหภูมิได้ไม่คงที่เท่ากับการไม่มีช่อง ซึ่งดีหรือไม่ ต่างกันอย่างไร เอาไว้เขียนในบทเรื่องเตาชนิดมีรูและไม่มีรูครับ
     
  6. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,102
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,807
    ถ้าหากถามผมว่า จะเปรียบเทียบกับพระแก้วได้ไหมว่า องค์ขนาดไหนถึงใช้ความหนา 10 นิ้ว ตอบได้เลยครับว่า ความหนา 10 นิ้วนั้น เคยมีในพุทธภาษิตที่ว่า " กายอันยาววา หนาคืบ " นี่คือคำที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในพุทธภาษิต ร่างกายคนความยาวประมาณ 1 วา ตรงนี้ไม่นับนะครับ เราเอาความหนา " คืบ " มาวัดกัน ถ้าหากเป็นรูปพระพุทธเจ้าที่ไม่ใช่อ้วน ก็จะเป็นรูปร่างคนที่ค่อนข้างจะบาง หากวัดกันจริงๆ ผมว่า พระแก้วยืนปางไหนก็ได้ จะมีความหนาประมาณ 10 นิ้ว ซึ่งเร็วๆนี้มีการสร้างพระแก้วยืนสูงประมาณ 2 เมตร องค์นั้นนั่นแหละครับ ความหนาประมาณ 10 นิ้ว

    หรือถ้าหากเป็นปางนอน ก็ยังอยู่ที่ความหนา 10 นิ้วเช่นกันครับ ราคาของประเทศอื่นเราไม่ต้องไปสนใจครับ คนไทยสร้างได้ถูกกว่านับสิบหรือนับร้อยเท่าครับ และคนไทยอาจสร้างได้สวยกว่า เพราะหุ่นต้นแบบเราเตรียมในไทย ตรวจและเพิ่มรายละเอียดได้ดีกว่าส่งนอกทำแน่นอนครับ
     
  7. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,102
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,807
    ถ้าถามว่า เมืองนอกที่เขารับจ้างสร้างพระแก้วยืนสูง 2 เมตร ต้องใช้เงินทั้งหมดเท่าไร ประมาณองค์ละ 75 ล้านบาทครับ

    แต่ลองอ่านต่อไปเรื่อยๆนะครับ เดี๋ยวจะรู้เองว่า ต้นทุนจริงๆนั้นองค์ละเท่าไร มีทั้งต้นทุนชนิดปล่อยให้เตาอัตโนมัติทำงานเอง ไม่ต้องมีคนเฝ้า กับอีกอย่างนึง คือเอาทีมเฝ้าสัก 10 คน และมีเครื่องมือครบ ต้นทุนทั้งหมดทุกอย่างผมตีว่า คงไม่เกิน 1 ล้านบาท นี่เรียกว่า เผื่อแพงสุดๆไปเลยแล้วนะครับ (ยกเว้นท่านเลือกก้อนแก้วของนิวซีแลนด์หรืออเมริกา ราคาก้อนแก้วเพื่อการหลอมต่อยี่ห้อนั้นจะแพงกว่า แต่ก็ไม่มากครับ)
     
  8. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,102
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,807
    น้ำหนักองค์พระแก้วยืนสูงประมาณ 2 เมตร ถ้าสร้างเนื้อแก้วตันๆก็ประมาณ 1,000 kg ถ้าใช้แก้วจีนกิโลละ 60 บาท ก็ตก 60,000 บาท

    ค่าไฟฟ้าที่อบแบ่งออกเป็นช่วงอุ่นเครื่องไม่กี่ร้อยบาท ช่วงหลอมละลาย จุดนี้กินไฟเยอะสุดแต่สั้นสุดแค่ชั่วโมงกว่า แล้วตามด้วยอบลดอุณหภูมิอีก 4 ช่วง ช่วงแรกกระแสก็ลดจากช่วงหลอมละลายครึ่งหนึ่งแล้ว ค่าไฟช่วงนี้ก็จะเท่ากับแค่ครึ่งหนึ่งของช่วงสูงสุด ช่วงต่อไปก็ลดลงไปอีก และช่วงสุดท้ายยิ่งกินไฟเหลือนิดเดียว ดังนั้น ค่าไฟฟ้าที่สร้างพระยืนสูงได้ 2 เมตรเนื้อแก้วตันๆ เต็มที่คงไม่เกิน 50,000 บาท (ขึ้นอยู่กับเตายี่ห้ออะไรกินไฟเท่าไร แต่สูงสุดที่จะสร้างพระแก้วยืนได้คงประมาณนี้ครับ)

    เมื่อนำองค์พระออกจากเตาแล้ว แค่แกะเปลือกปูนปลาสเตอร์ออกด้วยวิธีต่างๆ ตรงนี้ใช้คนมากหน่อย แล้วก็ช้าหน่อย คาดว่าคนงานนับ 10 คน ต้องมี 1 สัปดาห์จึงจะกระเทาะหรือเอาปูนปลาสเตอร์ออกได้หมดอย่างช้าๆ คนงาน 10 คนนี้ใช้แบบวันละ 500 บาท จะตกวันละ 5,000 บาท รวมแล้วก็ 35,000 บาท

    ส่วนค่าทีมเฝ้าเตานั้น ผมได้บอกแล้วว่า ถ้าไม่นัดวันส่งมอบก็ไม่ต้องค่าแรงตรงนี้ เพราะเตาอบอัตโนมัติไม่ต้องค่าใช้จ่าย แต่พอจะเอาทีมเฝ้าเตา ค่าใช้จ่ายตรงนี้สูงมาก ทีมเฝ้าเตาทั้งหมด 10 คน คนละ 500 บาท วันละ 5,000 บาท ตีว่า 50 วัน เฉพาะค่าแรงทีมเฝ้าเตาจะตก 250,000 บาท สิ่งของอื่นๆเช่นเครื่องปั่นไฟ เช่าหรือซื้อก็ได้ ต่อให้ซื้อก็แค่ 2 แสนกว่าบาทนี่ใหญ่เกินพอเลย รวมค่าแรงและค่าเครื่องมือเฝ้าเตา 50 วันไม่เกิน 500,000 บาท

    นอกนั้นก็ไม่มีอะไรมากครับ ค่ากระดานไว้ท์บอร์ด ค่าสมุดล๊อกบุ๊ค และอื่นๆ เต็มที่คงไม่เกิน 10,000 บาท

    ค่าปูนปลาสเตอร์หนัก 1,000 kg ตามที่ปีเตอร์บอกว่าปูนทนร้อนกิโลละ 1 เหรียญ ก็อีก 30,000 บาท

    เบ็ดเตล็ดอื่นๆอีกสัก 1 แสนบาท

    รวมแล้วทุกอย่างกว่าจะเป็นองค์พระแก้วยืนสูง 2 เมตรเนื้อตันๆ หนา 10 นิ้ว ใช้เงินทั้งหมดทั้งสิ้น 685,000 บาท (ใช้แก้วจีน)

    คราวนี้ถ้ามาใช้แก้วนิวซีแลนด์ ก็เพิ่มค่าส่วนต่างกิโลกรัมละ 500 บาท องค์พระหนัก 1,000 kg ก็เพิ่มอีก 500,000 บาท ดังนั้นถ้าใช้แก้วนิวซีแลนด์พระแก้วยืนสูง 2 เมตรองค์นี้ก็จะมีต้นทุนตกที่ 1,185,000 บาท (หนึ่งล้านหนึ่งแสนแปดหมื่นห้าพันบาท)

    นี่คือตันๆนะครับ ถ้ากลวงน้ำหนักแก้วจะลดลงไปกว่า 70% ค่าไฟจะลดลงไปอีกกว่าครึ่ง ต้นทุนองค์กลวงจะเหลือแค่นิดเดียวครับ ยังไงคนไทยที่ต้องการเป็นเจ้าของโครงการลองศึกษาจากตรงนี้ก่อนได้ คลาดเคลื่อนหรือผิดพลาดก็ไม่เท่าไรครับ

    ดีกว่าไปซื้อนอก ถูกกว่าไปซื้อนอกที่ต้องจ่ายเงินมากกว่าถึงนับร้อยเท่าครับ
     
  9. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,102
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,807
    " กายอันยาววา หนาคืบ " ทำไมจึงได้พอดิบพอดีกับความหนาของแก้ว 10 นิ้ว พระพุทธรูปเท่าคนจริง ลองวัดส่วนไหนที่หนา เช่น หน้าอก ก็จะวัดได้ 10 นิ้ว สะโพกที่ศิลปินส่วนใหญ่ปั้นหุ่นขี้ผึ้ง ปางยืน ก็มักจะวัดได้ 10 นิ้ว นี่คือความบังเอิญหรือไม่ ? ไม่มีใครทราบ แต่ที่แน่ๆตรงกับสิ่งที่เขาได้ทำวิชานี้ไว้พอดิบพอดีครับ
     
  10. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,102
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,807
    พรุ่งนี้จะมาเขียนต่อจากที่ ถ้าหากไฟฟ้าดับขณะที่หลอมเหลวแก้วอยู่ที่อุณหภูมิช่วง 780C แล้วดับนานเกิน 5 นาที รอดูอุณหภูมิก่อน ถ้าลงถึง 700C แค่เริ่มแตะ 710C ผมก็ว่า รีบเลย รีบปั่นเครื่องปั่นไฟสำรอง สับมาใช้ไฟฟ้าจากเครื่องปั่นไฟได้เลย

    พรุ่งนี้เช้าจะมาเขียนต่อ ถ้าหากไฟฟ้าดับหลังจากผ่านจุดหลอมเหลวไปแล้ว น้ำแก้วไหลลงสู่แม่พิมพ์จนเต็มแล้ว (มองจากช่องมองในเตา) ถ้าเห็นว่าเต็มแล้ว ให้ลดอุณหภูมิลงมาที่ 650C จากนั้นใช้วิธีลดด้วยอัตรา cooling rate 1M:10C คือ นาทีละ 10 องศา เป็นเวลา 10 นาที ให้อุณหภูมิลดลงมาถึง 550C แล้วจากตรงนี้ไปละครับที่จะยาก คือการเข้าสู่ขบวนการ annealing อย่างเต็มรูปแบบ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 ธันวาคม 2019
  11. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,102
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,807
    พรุ่งนี้ติดตามนะครับ หากเช้าไม่มาเขียนก็เที่ยงครับ พรุ่งนี้ว่างทั้งวัน

    ขั้นตอนที่ยากและลำบากสุดของการอบลดอุณหภูมิ การคลายความเครียดให้เนื้อแก้ว จะเริ่มที่ขั้นตอนนี้เป็นต้นไป เรียกภาษาอังกฤษว่า glass annealing ผมชอบคำนี้มากกว่าศัพท์อังกฤษอื่นๆ อย่างที่มีคนเรียกว่า glass forming relaxation หรือ reheat หรืออื่นๆครับ

    พรุ่งนี้พบกันครับ
     
  12. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,102
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,807
    มาแล้วครับ มาเริ่มกันเลย

    เริ่มเข้าสู่ขบวนการอบลดอุณหภูมิเต็มรูปแบบ และ มีการใช้ทีมเฝ้าเตาเข้าแก้ไขสถานการณ์หากมีเหตุไฟฟ้าดับ ซึ่งเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด ไม่ให้เนื้อแก้วองค์พระแก้วที่หนาถึง 10 นิ้วหลงเหลือความเครียดไว้ในเนื้อแก้วนะครับ

    ทบทวนที่เขียนมาข้างบนทั้งหมดนั้น

    อุ่นเตาที่ 200C

    ยกระดับขึ้นที่ 400C

    เข้าสู่ Melting Point ผมเลือก 780C เพื่อให้มีช่วงผ่อนปรนหากไฟดับนาน

    เข้าสู่ Strain Point 650-550C

    จากตรงนี้ครับ เข้าสู่ Annealing

    ลดดิ่งจาก 550C ลงถึง 430C แล้ว Soak คงที่อยู่ที่ 430C เป็นเวลา 40 ชั่วโมง ( เกือบ 2 วัน 2 คืน )
     
  13. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,102
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,807
    หากมีไฟฟ้าดับ ทันทีที่ไฟฟ้าดับไม่ต้องรอนะครับ สำหรับกรณีวัดที่ไกลปืนเที่ยง ไฟฟ้าดับนานเป็นประจำ หรือมีท่าทีว่าจะดับนาน เช่นฤดูกาลบางฤดู หรือบางช่วงที่แม้แต่ในเมืองใหญ่ๆก็เคยดับบ่อยๆและดับนาน

    ทีมช่างกะที่กำลังเฝ้าเตาอบพระแก้ว ให้สับออกจากไฟหลวง ปั่นเครื่องปั่นไฟแล้วสับกระแสเข้าสู่เตาอบทันที อย่าปล่อยให้อุณหภูมิลดลงแม้แต่น้อย เพราะขั้นตอนจุด Annealing ขั้นที่ 1 นี้สำคัญสุด ความเครียดในเนื้อแก้วกำลังค่อยๆคลานออกจากเนื้อแก้ว แล้วไฟดับทำให้อุณหภูมิลดลง ความเครียดจะคลานออกไม่ได้ และกลายเป็นความเครียดในเนื้อแก้วได้ ดังนั้น ถ้าอุณหภูมิยังไม่ทันลด ก็ Soak ต่อไปเลย นับเวลาเป็นชั่วโมง จนกว่าจะครบ 40 ชั่วโมง ในระหว่างนั้น ถ้าไฟหลวงกลับมาเมื่อไร ก็สับสายเข้าไฟหลวงได้เลยครับ
     
  14. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,102
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,807
    คราวนี้มาสมมุติว่า กรณีที่อุณหภูมิลดจาก 430C ลงไป ลดค่อนข้างหนัก เช่นลงไปที่ 330C (สมมุตินะครับ เรื่องจริงถ้าทีมช่าง 3 กะต่อ 24 ชั่วโมงต้องตื่นตลอดเวลาไม่อนุญาตให้นอนได้เลย) จะไม่ลงมาขนาดนี้ครับ แต่เราสมมุติให้ว่าเป็นเช่นนี้ การแก้ไขจะไม่ใช่แค่ Soak แล้ว แต่ต้องกลับไปสู่จุดเริ่มต้นของ Annealing คือ 430C แล้วนับชั่วโมงกันใหม่หมด เริ่มนับเป็นชั่วโมงแรกกันเลย ที่ผ่านมาอาจจะผ่านมาแล้ว 23 ชั่วโมง ให้ถือว่า " ไม่นับ " เริ่มต้นกันใหม่หมดครับ
     
  15. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,102
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,807
    เมื่อผ่านการ Soak ที่ 430C นาน 40 ชั่วโมงแล้ว (ในกรณีนี้คือพระแก้วมีความหนา 10 นิ้ว เปรียบได้กับพระแก้วยืนสูงประมาณ 2 เมตร และวัดความหนาได้ 10 นิ้ว)

    เรากำลังเข้าสู่ขั้นตอนการ Annealing อีกระดับหรืออีกขั้นแล้วนะครับ คือ การลดจาก 430C ลงไปถึง 320C ด้วยอัตรา Cooling Rate 0.16C ต่อชั่วโมง (0.16C/Hr)
     
  16. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,102
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,807
    เตาอบไฟฟ้าที่สร้างได้มาตราฐานจากยุโรปและอเมริกาในอันดับต้นๆของโลก มักจะรับคำสั่งเป็น Cooling Rate ดังนั้น ไม่ต้องกังวลว่า เราต้องเซ็ทเวลาว่า กี่ชั่วโมง เป็นเตาอัตโนมัติ ที่ผมว่าโลกสมัยใหม่นี้ มาไกลมากแล้วครับ เขามีความสามารถทุกอย่างยิ่งกว่าคนเสียอีก มีเพียงอย่างเดียวที่เขาทำไม่ได้ คือการที่ไฟฟ้าดับนาน เขาต้องมีคนช่วยสับสายหรือเรียกว่าสับคัตเอ้าท์ สับสวิท ความหมายคือ การปลดไฟหลวงออกแล้วเข้าสู่ไฟปั่นนั่นเองครับ
     
  17. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,102
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,807
    กำลังเขียนได้ดี ธุระก็เข้าครับ เดี๋ยวไปธุระก่อนครับ กลับถึงบ้านเที่ยง แล้วจะมาเขียนต่อครับ พระ อ. ตุ้ยอ่านแล้วไม่เข้าใจตรงไหนช่วยโทรถามผมได้นะครับ หรือวัดอื่นใดที่ไม่เข้าสามารถถามได้ฟรีครับ
     
  18. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,102
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,807
    ขอยกตัวอย่างตรงนี้นะครับ เช่น สมมุติว่า เรา Soak มาแล้วกี่นาทีหรือกี่ชั่วโมงก็ตาม แล้วไฟฟ้าดับลง ทีมช่างเฝ้าเตาทุกคนตื่นอยู่ เพราะกฏของช่างเฝ้าเตาแบบ 3 กะต่อ 24 ชั่วโมงนั้น ห้ามนอนเด็ดขาด ดังนั้น เชื่อว่าภายในไม่กี่วินาที เครื่องปั่นไฟก็จะถูกสตาร์ทติด และสับไฟหลวงออกพร้อมสับไฟปั่นเข้าได้ทันที อุณหภูมิในเตาอบอาจลดเพียงแค่หลักหน่วย เช่นจาก 430C เป็น 421C และเป็นช่วงเวลาที่สั้นมากๆ อย่างมากที่สุดก็หลักไม่เกิน 2 - 5 นาที ซึ่งกรณีนี้ไม่ต้องทำอะไรมาก เพียงแค่ Soak กลับมาที่ 430C และนับเวลาต่อไปได้เลย ไม่ต้องเริ่มต้นใหม่ครับ
     
  19. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,102
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,807
    คราวนี้มาถึงกรณีที่ค่อนข้างแย่ และทีมช่างต้องตัดสินใจเริ่มต้น Melting ใหม่ กรณีเช่นนั้นไม่เกิดขึ้นง่ายๆถ้าเรามีทีมเฝ้าเตาถึง 3 กะต่อ 24 ชั่วโมงครับ แต่ที่ยกมาให้ทราบกัน เพราะเรายังมีอีกวิธีหนึ่งในการสร้างพระแก้วยืนสูง 2 เมตรหนา 10 นิ้วเนื้อตันๆ กรณีที่เราจะไม่ใช้ทีมเฝ้าเตาเลย ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของเตาอัตโนมัติซึ่งเขาทำได้อยู่แล้ว กรณีนั้น คือไม่มีคนเฝ้าเลย ปล่อยให้เตาอยู่ลำพัง อย่างมากที่สุดก็จะมีช่างเฝ้าเตาแค่ 1 คน มานอนใกล้บริเวณสร้างพระแก้ว สามารถมาถึงหน้างานภายใน 10 นาที เกิดบังเอิญว่า เมื่อมาถึงหน้าเตา พบว่า หน้าจอบอกว่า อุณหภูมิที่เวลานั้นควรจะเป็น 430C มันดันไปอยู่ที่ต่ำกว่า 300C และรู้สึกว่ามันต่ำมานานแล้ว เป็นชั่วโมงแล้ว ถ้าแบบนี้ ถือว่า เสียขบวนการลด annealing ไปแล้วแน่นอน วิธีแก้ไขคือ เริ่มต้น Melting ใหม่ที่ 780C นานประมาณ 1 ชั่วโมง แล้วจึงลงมาที่ Strain Point แล้วค่อยมาถึง Annealing Point เริ่มนับชั่วโมงใหม่ทุกตัวนะครับ
     
  20. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,102
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,807
    2

    Cooling Rate* ที่ 1 = ลดชั่วโมงละ 0.29F หรือ 0.16C

    ( 0.29F/hr หรือ 0.16C/hr )

    อุณหภูมิ 806-608F หรือ 430-320C

    ขั้นต่อไปแล้วนะครับ เริ่มต้น Soak คงที่ที่ 430C นาน 40 ชั่วโมงผ่านไปแล้วนะครับ

    ขั้นต่อไปก็จะเป็นขบวนการลดขั้นที่ 1 (นับจริงๆว่ามีการลด นับจากตรงนี้ครับ แล้วแต่จะเรียกกันไป เอาเป็นว่าหลังจาก Soak คงที่แล้วเราจะเริ่มลดกันละนะครับ Cooling Rate ที่ 1 ลดชั่วโมงละ 0.16 องศาเซลเซียสต่อชั่วโมง โดยมีช่วงการลดอยู่ที่ 430C-320C
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 ธันวาคม 2019

แชร์หน้านี้

Loading...