Carbon-Alert บริษัทดัตช์เสนอโครงการปลูกหญ้าดัดแปลงมุ่งแก้ปัญหา CO² ทั่วโลก

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย ann, 2 กันยายน 2022.

  1. ann

    ann เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    246
    กระทู้เรื่องเด่น:
    22
    ค่าพลัง:
    +2,291
    ibQLceJjozUqDCWizzgC4PKLS15rwAQOt6MXPxNhQIOa&_nc_ohc=J8MqSNgMNW4AX9s9wnP&_nc_ht=scontent.fbkk5-5.jpg


    Carbon-Alert บริษัทดัตช์เสนอโครงการปลูกหญ้าดัดแปลงมุ่งแก้ปัญหา CO² ทั่วโลก


    บริษัทคาร์บอน-อะเลิร์ต (Carbon-Alert) ของเนเธอร์แลนด์ กำลังทำงานในโคลอมเบียเพื่อแก้ปัญหาคาร์บอนของโลกด้วยการสร้างพีต (peat) เทียม โดยเชื่อว่าพืชชนิดใหม่จะสามารถเร่งกระบวนการเกิดพีตให้เร็วขึ้นในระดับที่สูงมาก ซึ่งจะส่งผลให้มีการกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ (CO²) ไว้ใต้ดินหลายล้านตัน

    ทำงานอย่างไร
    คาร์บอน-อะเลิร์ต ปลูกพืชที่เรียกว่า หญ้าจวินฉ่าว (Juncao) ในโคลอมเบีย พืชชนิดนี้เรียกอีกอย่างว่า หญ้ายักษ์ มาจากเขตร้อนของแอฟริกา และถูกดัดแปลงในประเทศจีน มันเติบโตอย่างรวดเร็วมากภายใต้สภาพอากาศที่อบอุ่น สูงถึง 5 เมตรใน 2 เดือน แต่ที่สำคัญกว่านั้นคือ หญ้าชนิดนี้ดูดซับ CO² ในปริมาณมาก ตามที่นักวิจัยชาวจีน เล่ยเสวียจวิน (Lei Xuejun) ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยวัฏจักรคาร์บอน (Carbon Cycle Research Centre) แห่งมหาวิทยาลัยป่าไม้และเทคโนโลยีแห่งภาคใต้ตอนกลาง (Central South University of Forestry and Technology) ในหูหนานเป็นผู้ค้นพบ คาร์บอน-อะเลิร์ต ต้องการทำให้พืชเป็นของเหลวบางส่วน และฉีดลงไปใต้น้ำบาดาล การทำเช่นนี้จะส่งผลให้ CO² ทั้งหมดที่พืชดูดซับจากอากาศหายลงไปในดิน นี่คือกระบวนการเร่งการเกิดพีต ดังเช่นที่โลกทำมาอย่างต่อเนื่องตลอด 200 ล้านปี

    นวัตกรรมเขตร้อน
    คาร์บอน-อะเลิร์ต เริ่มต้นโครงการด้วยพื้นที่ 4000 เฮกตาร์ในโคลอมเบีย โดยมีเหตุผลสำคัญสำหรับเรื่องนี้คือ หญ้ายักษ์ต้องการอุณหภูมิกลางคืนอย่างน้อย 20 องศา นี่จึงนับเป็นโอกาสอันยิ่งใหญ่สำหรับการสร้างนวัตกรรมในภูมิภาคเขตร้อน ในระยะยาวแล้ว การปลูกต้นไม้บนพื้นที่ขนาดดังกล่าวจะเก็บรากคาร์บอนประมาณ 0.5-1 ตันไว้ในดิน อย่างไรก็ดี การวิจัยของเล่ยเสวียจวิน* พบว่า หญ้ายักษ์ดูดซับ CO² ได้มากกว่าประมาณ 200-300 เท่า นอกจากนั้น พืชยังไม่รุกราน เพราะไม่มีเมล็ด

    ผลิตอะไร
    คาร์บอน-อะเลิร์ต คำนวณว่า หญ้า 1 ล้านตารางกิโลเมตรสามารถชดเชยการปล่อย CO² ได้ทั่วโลก** 'พื้นที่ขนาดครึ่งหนึ่งของยุโรป' จาโคบัส ฟาน แมร์กสไตน์ (Jacobus van Merksteijn) ผู้ริเริ่มโครงการ อธิบาย 'พื้นที่ขนาดใหญ่ แต่ยังเป็นทางเลือกที่เป็นธรรมชาติสำหรับแผงโซลาร์เซลล์ กังหันลม และรถยนต์ไฟฟ้าทั้งหมดในโลก กระบวนการนี้ไม่เพียงช่วยกักเก็บ CO² แต่ยังช่วยให้ปุ๋ยแก่พื้นที่ทะเลทราย ผลิตชีวมวล ไบโอเอทานอล และพลาสติกสีเขียว ตลอดจนชดเชยน้ำมัน ถ่านหิน และก๊าซ'

    ใบรับรอง CO²
    CO² ที่ถูกฉีดจะเรียกว่า CO² SINK ซึ่งสามารถเปลี่ยนเป็นใบรับรองได้ บริษัทต่าง ๆ สามารถซื้อใบรับรองเหล่านี้เพื่อชดเชยการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ปัจจุบันเนเธอร์แลนด์ขายใบรับรอง CO² มูลค่าประมาณ 1 พันล้านยูโรโดยไม่มีค่าชดเชย การเปลี่ยนที่กักเก็บ CO² จากหญ้ายักษ์ในพื้นที่เขตร้อนให้เป็นใบรับรองจะทำให้เราสามารถลด CO² ได้จริง การทำเช่นนี้จะสร้างรายได้ให้กับรัฐบาล และสร้างโอกาสสำหรับธุรกิจ

    เกี่ยวกับโครงการ
    คาร์บอน-อะเลิร์ต ก่อตั้งโดยจาโคบัส ฟาน แมร์กสไตน์ ผู้ประกอบการชาวดัตช์ และมีเป้าหมายเพื่อจัดการกับปัญหาสภาพภูมิอากาศโลกอย่างมีประสิทธิภาพด้วยการใช้ประโยชน์จากพลังของธรรมชาติ อัลเบิร์ต ฟาน เดน เบิร์ก (Albert van den Berg) ผู้อำนวยการสถาบันนาโน MESA+ แห่งมหาวิทยาลัยทเวนเต (University of Twente) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มความร่วมมือที่กำลังมองหาวิธีแก้ไขปัญหา CO² กล่าวว่า "แผนของฟาน แมร์กสไตน์ สำหรับเทคโนโลยีการปล่อยคาร์บอนเป็นลบนั้น มีคุณค่าน่าศึกษา ถึงแม้เราต้องตรวจสอบการคำนวณในแผนนั้นก่อน แต่แผนการของเขาเป็นแนวคิดแรกเริ่มอย่างแน่นอน และมันอาจจะเป็นทางเลือกจริงก็ได้'

    หุ้นส่วน
    คาร์บอน-อะเลิร์ต ทำงานร่วมกับหุ้นส่วน เช่น บริษัทอาเซดราส (aXedras) ของสวิตเซอร์แลนด์ และนักลงทุนหลายราย ซึ่งรวมถึง เวนเดอร์แคปิตอล (VerdorCapital) กระบวนการทั้งหมดดำเนินการตามมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล อาทิ UNFCCC-CDM, VCS และ Gold Standard รวมทั้งได้รับการตรวจสอบและยืนยันโดยองค์กรอิสระภายนอก


    ที่มา InfoQuest

    http://www.china.org.cn/.../2015-12/02/content_37212397.htm

    www.carbon-alert.com
     

แชร์หน้านี้

Loading...