กรรมฐานแบบใดที่เหมาะกับท่าน ???

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย chingchamp, 6 ตุลาคม 2008.

  1. vilawan

    vilawan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    836
    ค่าพลัง:
    +1,432
    อนุโมทนากับทุกท่านคะ ขอให้ทุกท่านเจริญในธรรมคะ จะกลับมาอ่านอีกคะ
     
  2. pakpanang

    pakpanang สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    20
    ค่าพลัง:
    +1
    อนุโมทนา ได้ความรู้มากเลย แต่ก็ยังงงว่าตัวเรานี้มีจริตใดกันแน่
     
  3. chingchamp

    chingchamp เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2008
    โพสต์:
    788
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +503
    กรรมฐานที่หลวงปู่ดู่ท่านสอน
    [​IMG]
    ลักในการนั่งสมาธิ ให้ขาขวาทับขาซ้าย มือขวากำพระวางบนมือซ้าย ให้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองจรดกัน วางบนตักพอสบายๆ ปรับกายให้ตรง ผ่อนคลายกล้ามเนื้อทุกส่วน สูดลมหายใจยาวๆ ลึกๆ สัก ๓ ครั้ง

    ครั้งที่ ๑ ให้ภาวนาว่า พุทธัง สรณัง คัจฉามิ
    ครั้งที่ ๒ ภาวนาว่า ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ
    และครั้งที่ ๓ ภาวนาว่า สังฆัง สรณัง คัจฉามิ

    จากนั้น จึงผ่อนลมหายใจให้เป็นไปตามธรรมชาติ ยังไม่ต้องนึกคิดสิ่งใด ทำใจให้ว่างๆ วางอารมณ์ทั้งที่เป็นอดีตและอนาคต เมื่อลมหายใจเริ่มละเอียด และจิตใจเริ่มโปร่งเบาขึ้นบ้างแล้ว จึงค่อนเริ่มบริกรรมภาวนา โดยกำหนดจิตไว้ที่หน้าผาก (เอาสติมาแตะรู้เบาๆ) แล้วตั้งใจภาวนาคาถาไตรสรณคมน์ ดังนี้

    พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

    เมื่อบริกรรมภาวนาจบแล้ว ก็ให้วกกลับมาเริ่มต้นใหม่เช่นนี้เรื่อยไป

    มีสิ่งที่ควรทราบเพิ่มเติมก็คือ ขณะที่บริกรรมภาวนาอยู่นั้น ให้มีสติระลึกอยู่กับคำภาวนา โดยไม่ต้องสนใจกับลมหายใจ คงปล่อยให้ลมหายใจเข้าออกเป็นไปตามธรรมชาติ ปราศจากการควบคุมบังคับ ภาวนาด้วยใจที่สบายๆ และให้ยินดีกับองค์พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ที่เกิดขึ้นในจิต เมื่อจิตมีความสงบสว่าง ก็น้อมแผ่เมตตาออกไป โดยว่า

    พุทธัง อนันตัง
    ธัมมัง จักรวาลัง
    สังฆัง นิพพานะ ปัจจะโย โหตุ

    แล้วตั้งใจภาวนาต่อไป

    เมื่อจิตถอนขึ้นจากความสงบ ให้ยกเอากายหรือเรื่องหนึ่งเรื่องใดขึ้นพิจารณา โดยน้อมไปสู่พระไตรลักษณ์ คือ
    อนิจจัง (ความไม่เที่ยง)
    ทุกขัง (ความทนได้ยาก)
    และอนัตตา (ความไม่ใช่ตัวตนอันเที่ยงแท้)
    เมื่อรู้สึกว่าจิตเริ่มซัดส่าย หรือขาดกำลังในการพิจารณา ก็ให้วกกลับมาภาวนาคาถาไตรสรณคมน์อีก เพื่อดึงจิตให้เข้าสู่ความสงบอีกครั้ง ทำสลับเช่นนี้เรื่อยไปจนกว่าจะเลิก
    ก่อนจะเลิกให้อาราธนาพระเข้าตัวโดยว่า

    สัพเพ พุทธา สัพเพ ธัมมา สัพเพ สังฆา
    พะลัปปัตตา ปัจเจกานัญ จะยังพะลัง
    อะระหันตานัญ จะเตเชนะ
    รักขัง พันธามิ สัพพะโส
    พุทธัง อธิษฐามิ ธัมมัง อธิษฐามิ สังฆัง อธิษฐามิ

    แล้วจึงแผ่เมตตาอีกครั้ง โดยว่าเช่นเดียวกับที่กล่าวแล้วในตอนต้น

    อนึ่ง การภาวนานั้น ท่านให้ทำได้ทุกอิริยาบท คือ ยืน เดิน นั่ง นอน การปฏิบัติจึงจะก้าวหน้า และชื่อว่าตั้งอยู่ในความไม่ประมาท....

    ที่มา : กายสิทธิ์
    <!-- / message --><!-- sig -->__________________


    <!-- / message --><!-- attachments -->
     
  4. chingchamp

    chingchamp เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2008
    โพสต์:
    788
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +503
    หลักการปฏิบัติกรรมฐานของวัดสะแก

    [​IMG]

    คำภาวนาตามแบบของวัดนี้ใช้คำว่า




    พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ




    ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ


    มีความหมายว่า "ข้าพเจ้าขอรับเอาพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นที่พึ่งที่ระลึก"
    ซึ่งจะขอขยายความเทียบตามหลักของ วิสุทธิมรรคคัมภีร์ ที่รจนาโดยสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ดังนี้

    ๑. ฐานของจิต
    การกำหนดฐานของจิต ให้กำหนดไว้ที่หน้าผาก หรือระหว่างคิ้วทั้งสอง
    ตามหลักของวัดประดู่ทรงธรรม และของสมเด็จพระสังฆราชไก่เถื่อน วัดพลับ
    ถือว่าเป็นฐานที่ ๗ ซึ่งตามหลักท่านวางไว้ถึง ๙ ฐาน โดยฐานต่างๆ เหล่านี้
    เป็นเสมือนทางผ่านของลมหายใจที่ไปกระทบ
    เหมือนกับหลักของอานาปานสติ ฐานทั้ง ๙ ฐานที่กำหนดไว้มีดังนี้

    ฐานที่ ๑ อยู่ต่ำกว่าสะดือ ๑ นิ้ว
    ฐานที่ ๒ อยู่เหนือสะดือ ๑ นิ้ว
    ฐานที่ ๓ อยู่ที่ทรวงอก หรือที่ตั้งของหทัยวัตถุ
    ฐานที่ ๔ อยู่ที่คอหอย หรือตรงกลางลูกกระเดือก
    ฐานที่ ๕ อยู่ที่ท้ายทอย เรียกว่า โคตรภูญาณ
    (ทางวิทยาศาสตร์ถือเป็นที่ตั้งของสมองส่วน CEREBELLUM)
    ฐานที่ ๖ อยู่ตรงกลางกระหม่อม
    ฐานที่ ๗ อยู่กึ่งกลางหน้าผาก เรียกว่า อุณาโลม หรือทิพยสูญระหว่างคิ้ว
    ฐานที่ ๘ อยู่ระหว่างตาทั้ง ๒ ข้าง
    ฐานที่ ๙ อยู่ปลายจมูก

    หลวงปู่ท่านบอกว่า การที่ให้ตั้งจิตไว้ตรงตำแหน่งกลางหน้าผากที่เดียวในเบื้องต้นนั้น
    ก็เพื่อจะได้ไม่ไปพะวงกับลมหายใจ ซึ่งอาจทำให้จิตใจวอกแวกในขณะที่ปฏิบัติ
    สำหรับผู้เริ่มภาวนาบางราย แต่ฐานสำคัญที่ท่านเน้นก็คือ ฐานที่ ๖ (ตรงกลางกระหม่อม)
    ท่านว่าฐานจริงๆ อยู่ตรงนี้ แต่จะต้องให้มีความชำนาญในทางสมาธิเสียก่อน
    จึงค่อยเอาจิตไปตั้งที่ฐานนี้ เพราะจะมีกำลังมาก
    สำหรับฐานที่หน้าผากนั้น ถ้าท่านเคยดูภาพยนต์อินเดียที่มีพระศิวะ
    เขาจะเรียกว่าตรีเนตร หรือตาที่ ๓ คือ
    ถ้าภาวนาให้ถูกจุด จะทำให้จิตสงบได้ง่าย และมีทิพยจักขุญาณเกิดขึ้น
    วิธีการภาวนาคือ ให้ใจเสมือนกับเราคิดเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แต่ในที่นี้ให้นึกถึงจุดเดียวคือ คำภาวนา
    เหมือนกับเราคิดเลขในใจทำนองนั้น ทำใจเฉยๆ ไม่ต้องคาดคั้น คิดเดา หรืออยากเห็นนั่นเห็นนี่
    เพราะเรื่องเหล่านี้ล้วนเป็นนิวรณ์ทั้งสิ้น หน้าที่หรืองานของเราในที่นี้คือภาวนา
    ๒. คำภาวนา
    คำภาวนาที่ให้ภาวนาคือ ให้เรามีจิตระลึกถึงภาษาพระ
    หมายถึง พุทธานุสติ ธัมมานุสติ สังฆานุสติกรรมฐาน
    ทำใจให้มีการเคารพเลื่อมใสในพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์
    อันจะเป็นกรรมฐาน ที่ทำให้ผู้ที่มีศรัทธาจริต หรือมีความเชื่อ เข้าถึงธรรมะได้โดยง่าย

    ๓. เครื่องชี้ว่าจิตสงบ
    เมื่อปฏิบัติจนจิตเริ่มสงบแล้ว จะเกิดความสว่างขึ้นที่จิต
    พร้อมกันนั้น จะมีสิ่งที่เป็นตัวชี้บอกว่า จิตของเราเป็นอย่างไรบ้าง
    อันได้แก่ปิติต่างๆ เช่น อาการขนลุก ตัวเบา น้ำตาไหล ร่างกายโยกโคลง
    รู้สึกเหมือนกายขยายใหญ่ เป็นต้น
    ซึ่งสิ่งเหล่านี้ จะเป็นตัวชี้ถึงจิตว่า เริ่มจะสงบแล้ว
    ให้ผู้ปฏิบัติวางใจเฉยๆ อย่าไปยินดีหรือยินร้าย
    บางท่านที่มีนิสัยวาสนาบารมีทางรู้ทางเห็นภายใน
    ก็อาจจะเกิดองค์พระปรากฎขึ้นจากแสงสว่างเหล่านั้น

    ในเรื่องการเห็นแสงสว่างนี้ บางสำนักท่านว่าอย่าไปสนใจ เอามืดดีกว่า
    เพราะเดี๋ยวจะหลง แต่ตามความเห็นของผู้เขียน
    นึกถึงคำบาลีที่ว่า "นัตถิ ปัญญา สมาอาภา" แสงสว่างเทียบด้วยปัญญาไม่มี
    ดังนั้น ผู้ที่เห็นแสงสว่างปรากฎขึ้น ก็เป็นนิมิตอันหนึ่ง
    ซึ่งแสดงให้รู้ประจักษ์อยู่ที่ตัวเราต่างหากว่า จะใช้แสงสว่างนี้ไปในทางที่ถูกต้องหรือไม่
    เพราะหลวงปู่ท่านบอกว่า การปฏิบัติต้องทำให้รู้ เห็น เป็น และได้
    สำหรับในขั้นต้นนี้ "รู้" หมายถึงให้มีสติรู้อยู่กับคำภาวนา
    เมื่อ "เห็น" ก็ให้รู้ว่า "เห็น" อะไร รู้จักกลั่นกรองด้วยสติปัญญา
    และเมื่อมีความชำนาญแล้วก็จะเป็น "เป็น" นั้นคือเห็นองค์พระได้ทุกครั้ง
    และสามารถที่จะทำได้ เมื่อต้องการทำให้เกิดขึ้น
    นี่แหละ คือหลักแห่ง "อภิญญา"
    <!-- / message --><!-- sig -->__________________
    [​IMG]



    ...ทุกสิ่งทุกอย่างต้องอยู่ที่เราปฏิบัติทั้งสิ้น
    ที่เขาบอกว่าหลงแสงสว่างนั้นมันอยู่ในขั้นที่เรียกว่า "วิปัสสนูปกิเลส ๑๖ อย่าง"
    เขาเอาตอนปลายที่จะสำเร็จอรหันต์เข้ามาว่า
    พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ท่านก็รู้อาการสำเร็จของท่าน
    โดยอาศัยจากแสงสว่างถึง ๓ ครั้ง เป็นสิ่งบอกเหตุ
    จึงได้รู้ว่าองค์ท่านสำเร็จเป็นอรหันต์แล้ว
    ถ้าเราทำแล้วไปนิ่งอยู่เฉยๆ ไม่ได้ถอยจิตมาวงนอกเพื่อรับรู้ ก็จะไม่รู้อะไรเลย
    เหมือนกับเราทำเข้าไปจมอยู่ในบ่อลึก
    แต่การทำให้รู้ คือ ทำอยู่แถบขอบบ่อ จะเกิดตัวรู้
    ถึงจะเข้าไปในบ่อลึก ก็ให้มีสติตามรู้อยู่ จึงจะเป็นของถูกต้อง
    ถ้าทำไปแล้วไม่รู้เรื่องอะไรเลย ก็เหมือนไปตกอยู่ในภวังค์ อะไรทำนองนี้
    อันนี้ไม่ใช่ของไม่ดี เป็นของดี แต่มันเสียเวลาในการทำให้เกิดปัญญา

    .........................................................

    <!-- / message --><!-- sig -->
    ผู้เขียนเคยมีปัญหาเรียนถามท่านว่า
    "หลวงปู่ครับ ผมสังเกตดูผู้ที่ปฏิบัติตามแบบหลวงปู่
    ที่เขาสามารถเอาจิตของเขาออกไปรู้เรื่องราวอะไรมากมาย
    ไปไหว้พระที่วิมานแก้วก็ดี ไปสวรรค์วิมานอะไรก็ตาม
    แต่มาสุดท้ายมักจะหลวงระเริงไปกับสิ่งที่ตนรู้เห็น
    ในสิ่งที่ถือว่าเป็นของลึกลับ แล้วก็ไม่ได้เรื่อง
    กลับนำเอาวิชาความรู้นี้ไปใช้ในทางที่ผิด เช่น ไปดูหมอบ้าง ไปเช็คเรื่องอดีตบ้าง ฯลฯ
    แล้วก็ไปติดไปยึดกับสิ่งเหล่านี้ หนทางก็ตัน
    ทำให้ตัวเองเป็นคนหลงทางไปเสีย แล้วจะได้ประโยชน์อะไรกัน

    หลวงปู่ตอบว่า

    "มันเรื่องของเขา ตนเตือนตนได้ ใครก็ไม่ต้องเตือน
    ตนเตือนตนไม่ได้ ใครเขาจะเตือน
    เพราะผู้ที่สามารถนั่งเห็นองค์พระได้นั้น จิตของเขาในขณะนั้นก็ได้บุญ
    เมื่อเขาสามารถทำได้ทุกอิริยาบท
    เขาก็ได้บุญอยู่เรื่อยๆ พระก็อยู่กับเขาเรื่อยๆ
    ในที่สุดเขาก็จะมีแต่การสร้างกุศล
    เพราะเรื่องของการเห็นนั้น เป็นสิ่งรับรองเหมือนกัน
    เช่น เวลาเราจบของก่อนถวายพระ
    ถ้าจิตเราดี เราก็จะมีแสงสว่างเกิดขึ้น เนื่องจากความสงบของจิต
    จิตก็จะสบายอิ่มเอิบ แต่ถ้าไม่มีแสงสว่างปรากฎขึ้นให้รู้ ก็ขาดสิ่งรับรอง
    บุญน่ะได้ ไม่ใช่ไม่ได้ แต่ผลจะผิดกันในเรื่องของกำลังใจ
    แสงสว่างที่ปรากฎอันนี้ ก็เหมือนตัวปัญญาที่มีอยู่
    แสดงให้เห็นประจักษ์ ทำปฏิบัติน่ะทำได้
    นะโมพุทธายะ ใครเชื่อพระไม่ใช่คน แกว่าจริงไหม?
    คนที่เชื่อพระก็เป็นพระไปแล้ว
    อย่างหลวงพ่อเกษม หรือพระอรหันต์ไงล่ะ ท่านเชื่อพระ
    แกเชื่อพระหรือยัง ข้าว่าแกยังไม่เชื่อถึงร้อยเปอร์เซ็นต์"

    ผู้เขียนก็เรียนตอบท่านว่า "ผมก็เชื่อนะครับหลวงปู่"
    คำตอบของผู้เขียนก็ตอบแบบคนโง่ๆ คือ คนละความหมายกับท่าน
    ท่านจึงบอกด้วยความเมตตาว่า

    "ผู้ที่เชื่อพระจริงๆ ร้อยเปอร์เซ็นต์ ก็มีแต่พระอรหันต์
    ที่ยังเชื่อไม่จริงน่ะยังไม่ใช่ ท่านเชื่อเกินเชื่อเสียแล้ว"
    เมื่อผู้เขียนมาตีความของหลวงปู่ในภายหลัง "เชื่อ" ในที่นี้ คือ
    ผู้ที่มีศรัทธาและมีปัญญาจริงๆ จนเล็งเห็นความไม่แน่นอนของสิ่งทั้งหลายในโลก
    ซึ่งหลวงปู่ท่านบอกว่า

    "เมื่อภาวนาไปถึงจุดๆ หนึ่งแล้ว
    ถ้ามีคำที่เกิดขึ้นมาว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    นั้นเขาเรียกว่า ไตรลักษณญาณ เกิดขึ้นแล้ว
    นั่นแหละกำลังจะดี เป็นของดี
    อะไรๆ ก็ไม่พ้นสามอย่างนี้แหละแกเอ๋ย
    เรื่องของโลกให้มันดีเด็ดเผ็ดมันอย่างไร ก็แค่นั้นแหละ
    สู้ทางธัมมะไม่ได้หรอก ปฏิบัติไปเถอะ"

    ผู้เขียนจึงสรุปกับหลวงปู่ว่า
    "ถ้าอย่างนั้นจะพูดได้ไหมว่า ไตรรัตน์
    คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
    ปฏิบัติตามท่านจนในที่สุด ก็เป็น ไตรลักษณ์
    และเมื่อเห็นจริงแล้วก็เป็น ไตรรัตน์
    คือ เป็น พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ใช่ไหมครับ"
    หลวงปู่ท่านยิ้มรับ

    หลวงปู่เป็นพระสงฆ์ที่ควรแก่การเคารพ คือ
    ท่านจะไม่ตำหนิใครตรงๆ แต่ถ้าผู้ที่มีปัญญาแล้ว
    ต้องพยายามคิดตามคำพูดท่านอยู่เสมอ จะเห็นเป็นสัจจธรรมทำให้ได้ปัญญา
    อย่างเช่น ที่ผู้เขียนเรียนถามท่านเรื่องผู้ปฏิบัติผิดทาง
    ท่านกลับไม่ตอบ แต่ให้แง่คิดกับเราคือ ให้พยายามทำตนเอง
    เพราะเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องปัจจัตตัง คือ เป็นเรื่องเฉพาะตนเท่านั้น
    เพราะทุกคนสร้างกรรมของตนเอง
    ท่านเคยพูดว่า

    "พระอรหันต์น่ะ ท่านรู้ที่มาที่ไปของแต่ละคน
    ว่ามาจากไหนและจะไปไหน แต่ท่านไม่พูดหรอก
    เป็นกรรมของแต่ละบุคคล ท่านไม่แก้กรรมให้ใครทั้งนั้นแหละ
    ผู้ที่จะแก้ได้ คือ พระพุทธเจ้า"

    และมีข้อคิดเกี่ยวกับเรื่องปฏิบัตินี้ คือ
    ในวันหนึ่ง มีคนมาทำบุญกันมาก ท่านก็ปรารภขึ้นมาว่า

    "เออ...ปฏิบัติแล้วระวังให้ดี ระวังจะตีกลับ"

    ก็มีลูกศิษย์คนหนึ่งสวนคำพูดของท่านขึ้นมาทันทีว่า "ตีกลับอย่างไร"

    ท่านเลยพูดว่า

    "ผู้ที่ปฏิบัติรู้เห็นอะไรก็ตาม พยายามทำให้ดีไว้
    ทำในสิ่งที่เป็นเรื่องเป็นราว อย่านอกลู่นอกทาง เดี๋ยวจะตีกลับ
    คือจะไม่ได้อะไร แล้วมันจะไม่เห็นอีก
    ที่ข้าพูดนี่ ข้าไม่ได้ว่าใคร ข้าหมายถึงแกนั่นแหละ
    เพราะแกทำเห็นดีกว่าคนอื่นๆ หลายคน
    แต่ถ้าทำไม่ดีแล้วจะไม่เห็นอีก"

    เมื่อมีคนที่เขาอยู่ในเหตุการณ์ มาเล่าให้ผู้เขียนฟัง
    ผู้เขียนก็เลยเข้าใจถึงความปรารถนาดีอันแท้จริงของหลวงปู่ที่มีต่อลูกศิษย์
    ซึ่งถ้าลูกศิษย์ท่านนั้นเข้าใจถึงความหวังดี
    ก็เหมือนกับหลวงปู่ท่านต้องการจะปราบกิเลสไม่ให้หลง
    แต่ถ้าไม่เข้าใจถึงเจตนาดีของท่าน ก็จะคิดว่าท่านกำลังด่าตนเองอยู่
    ทำให้รู้สึกเสียหน้า แล้วพาลจะโกรธท่านเข้า
    ซึ่งแทนที่จะได้บุญ กลับเป็นการสร้างบาปให้กับตนเอง อย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์...

    [​IMG]

    <!-- / message --><!-- sig -->

    <!-- / message --><!-- sig -->
    http://www.watthummuangna.com/board/showthread.php?t=234<!-- / message --><!-- attachments -->
     
  5. สมชาย 36

    สมชาย 36 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +5
    โมทนาบุญด้วยครับ

    ;welcome2
     
  6. หมั่นเพียร

    หมั่นเพียร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    254
    ค่าพลัง:
    +708
    อนุโมทนาสาธุ ได้ความรู้และแนวทางปฏิบัติมากมาย เจริญในธรรมค่ะ
     
  7. Raksa_P

    Raksa_P สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    55
    ค่าพลัง:
    +8
    อนุโมทนาด้วยค่ะ ยังไม่ค่อยเข้าใจเท่าไรนัก ต้องศึกษาต่อเพิ่มอีกเยอะเลยค่ะ
     
  8. chingchamp

    chingchamp เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2008
    โพสต์:
    788
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +503
    ข้อควรระวังการปฏิบัติกรรมฐาน
    ระหว่างที่ปฏิบัตินั้น ผู้ปฏิบัติแต่ละรายมักประสบปรากฏการณ์รูปแบบต่างๆ หรือหลายอย่าง ที่เรียกว่า วิปัสสนูกิเลส ๑๐ ประการ (อาจเทียบว่าเป็นญาณก็ได้) คือ
    ๑) โอภาส แสงสว่าง คือ แสงสว่างที่เกิดขึ้นในใจของผู้ปฏิบัติ บางทีแสงสว่างนี้เท่าดวงแรงเทียน บางทีก็เท่าไฟฉาย พุ่งออกจากตัวผู้ปฏิบัติ บางคนเห็นเท่าตารถยนต์ บางทีแสงสว่างไปหมดทั้งห้องเหมือนกลางวัน จนทำให้ผู้ปฏิบัติคิดว่า เรานี้คงบรรลุผลแน่แล้ว เพราะสิ่งเหล่านี้ไม่เคยเกิดขึ้นกับตนมาก่อน จึงหยุดการปฏิบัติเพียงนี้ แท้ที่จริงเป็นทางผ่าน

    ๒) ปิติ ความอิ่มใจ คือ ปิตินี้เกิดขึ้นได้หลายอย่าง อาจเป็นทั้งความสุข หรือความอิ่มใจ และอาจจะรู้สึกธรรมดา แล้วแต่อารมณ์ของแต่ละบุคคล บางทีก็สุขเบาๆ ปิตินี้มี ๕ ชนิด คือ

    ๒.๑) ขุททกาปิติ ปิติเล็กน้อย ทำให้คนลุกชูชัน ขนหัวลุกพองขึ้น บางครั้งเหมือนมดหรือไรมาไต่ตอม แต่อาจเกิดขึ้นเล็กน้อยแล้วหายไป
    ๒.๒) ขณิกปิติ เหมือนกับสายฟ้าแลบแปล๊บเดียวก็ลับไปจากสายตาแล้ว เกิดขึ้นเล็กน้อยแล้วหายไป
    ๒.๓) โอกกันติกาปิติ ปิติเป็นพักๆ คือ มีลักษณะเหมือนคลื่นกระทบฝั่งบางทีทำให้ตัวหมุน บางทีเหมือนแผ่นดินพลิก เกิดขึ้นแล้วก็จางหายไปบางทีก็ทำให้ตัวโอนเอน โคลงเคลง บางทีเหมือนตกหล่มลงไป บางคนนั่งเนื้อตัวกระตุก อาจถึงกับสั่นไปทั่งตัว เกิดความรำคาญขึ้นได้
    ๒.๔) อุพเพงคาปิติ ปิติโลดโผน ทำให้ตัวเบา บางทีลอยตัวขึ้น บางทีลอยขึ้นเหนือพื้นดิน บางทีทำให้ตัวโงนเงนไปมา และนั่งไม่เมื่อย
    ๒.๕ ผรณาปิติ ปิติซาบซ่าน ทำให้อิ่มไปทั่วสรรพค์กาย ใครพบปิติชนิดนี้จะรู้สึกอิ่มไปนาน แม้ออกจากสมาธิแล้วก็ยังอิ่ม


    ๓) ปัสสทธิ ความสงบกายสงบจิตอย่างยิ่ง คำว่า กาย ในที่นี้หมายถึงตัวเจตสิกธรรมที่เกิดขึ้นกับใจ มัน สงบ เยือกเย็น จะเดินจะทำอะไรมันนิ่งสงบเย็น ไม่โกรธ ไม่ถือสาอะไรกับใคร บางคนเข้าใจว่าตนเองบรรลุแล้ว มักหยุดการบำเพ็ญ

    ๔) อธิโมกข์ ความเชื่ออย่างมาก อย่างมั่นคง เช่น เชื่อในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อย่างลึกซึ้งอย่างไม่เคยมีมากก่อน โดยคิดว่า เมื่อออกจากการปฏิบัติครั้งนี้แล้ว จะต้องไป ชักชวนญาติพี่น้องเพื่อนฝูงมาปฏิบัติให้ได้ เนื่องจากความศรัทธาแรงกล้า ทำให้เข้าใจผิดว่าคงบรรลุแล้ว จึงงดการปฏิบัติ

    ๕) ปัคคาหะ ความเพียร เมื่อเกิดปัคคาหะขึ้น ย่อมทำให้ผู้ปฏิบัติมีความเพียรอย่างแรงกล้า แต่สม่ำเสมอ ไม่เกียจคร้านจะนั่งสมาธิหรือจะเดินจงกรม เพราะตนเองเห็นแล้วว่านี้คือหนทางแห่งความสุข ทำให้ตนเองคิดว่าบรรลุแล้ว

    ๖) สุข ความสุขในที่นี้ บางท่านอาจนึกว่าไม่เคยพบความสุขอย่างลึกซึ้งพิเศษเช่นนี้มาก่อน ซึ่งไม่มีความสุขอื่นทางกามเทียบได้เลย คิดว่า นี้เป็นมรรคผล จึงเลิกปฏิบัติเสีย


    ๗) ญาณ ความรู้ คือความรู้ลึกซึ้ง ปัญญาเฉียบแหลม คิดอะไรได้คล่องแคล่ว สมองปลอดโปร่ง มันเป็นความมหัศจรรย์ทางจิตที่ฝึกเข้า คิดว่าสิ่งที่เกิดขึ้นกับเรานี้ เราบรรลุแล้ว

    ๘) อุปัฎฐาน ความแนบแน่นของจิตใจ คือ มีจิตตั้งมั่นไม่หวั่นไหวแน่วแน่ มั่นคงไม่วอกแวก นิ่งสงบ แนบแน่น เลยหยุดการภาวนา

    ๙) อุเบกขา ความวางเฉย คือ ผู้ปฏิบัติบางท่าน เมื่อจิตสงบแล้วเกิดความวางเฉยในทุกสิ่งทุกอย่างในสังขารทั่งปวง ในเพื่อนฝูง ในวัดวา ในการงาน ทิ้งหมดทุกอย่าง วางเฉยไม่ดีใจไม่เสียใจ วางเฉยอยู่อย่างนั้น เข้าใจว่าตนเองคงบรรลุมรรคผลแน่แล้ว

    ๑๐) นิกันติ ความติด คือความอาลัยในอุปกิเลสเหล่านี้ ตัวนี้เป็นกิเลสโดยตรง ความติดในอุปกิเลสข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อซึ่งเกิดขึ้นว่า สิ่งเหล่านี้เลอเลิศเหลือเกิน เป็นของเราแท้ของดีแท้ จึงคิดติดในอุปกิเลสนี้ ตัวเองคิดว่าการติดแบบนี้เป็นความดี จึงหยุดการปฏิบัติกรรมฐานภาวนาไป


    ขอให้สังเกตว่า วิปัสสนูปกิเลส ๑๐ อย่างนี้ แท้ที่จริงข้อ ๑ ถึงข้อ ๙ เป็นกุศลทั้งสิ้น ถ้าเกิดขึ้นกับใคร ไม่ใช่กิเลสเลย ถ้าไม่ติด แต่ข้อ ๑๐ นี้ถือเป็นกิเลสโดยตรง เพราะทำให้ผู้ปฏิบัติติดด้วยอำนาจตัณหา มานะ และทิษฐิ

    อย่างไรก็ตามผู้ที่ผ่านการปฏิบัติวิปัสสนาโดยตรง หรือผ่านการปฏิบัติสมถะ เข้าสู่วิปัสสนา เมื่อพบเห็นสิ่งเหล่านี้แล้ว แสดงว่าตนได้ผ่านมายังปากทางที่จะไปสู่พระนิพพานแล้ว หากว่ายังไม่หยุดการปฏิบัติไปเสีย ก็มีหวังบรรลุมรรคผลในที่สุดอย่างแน่นอน แต่ก็มีคนเป็นจำนวนมาก เมื่อพบสิ่งเหล่านี้แล้วดีใจ ปลื้มใจว่า ตนเองได้บรรลุมรรคผลแล้ว จึงหยุดละการบำเพ็ญเสีย

    วิปัสสนูกิเลส ๑๐ อย่างนี้ จะเกิดขึ้นกับบุคคลดังต่อไปนี้เท่านั้น
    ๑. ปฏิบัติถูกทาง แต่จะไม่เกิดขึ้นกับคนที่ปฏิบัติผิดทาง
    ๒. ผู้ที่ขยันบำเพ็ญเพียร แต่จะไม่เกิดขึ้นกับคนขี้เกียจ
    ๓. ผู้ที่ตั้งใจปฏิบัติ แต่จะไม่เกิดขึ้นกับคนที่ทอดธุระหน้าที่ในการปฏิบัติ
    ๔. ปุถุชนผู้ปฏิบัติถูกทาง แต่จะไม่เกิดขึ้นกับพระอริยเจ้า


    สาระ คัดจาก แนวปฏิบัติวิปัสสนา
    พระธรรมวิสุทธิกวี(พิจิตร ฐิตวณฺโณ) วัดโสมนัสวิหาร

    http://www.watthummuangna.com/board/showthread.php?t=626



    <!-- / message -->
    <!-- / message -->
    <!-- / message --><!-- edit note -->
     
  9. chingchamp

    chingchamp เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2008
    โพสต์:
    788
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +503
    นีวรณ์ ๕

    นีวรณ์ นั้นมี 5 ประการ คือ : -

    [​IMG]

    กิเลส 5 ประการนี้ แม้แต่ประการใดประการหนึ่ง เข้าครองอำนาจในจิตใจ ใจจะเสียคุณภาพอ่อนกำลัง เสียปัญญาไปทันที และจะมีลักษณะหมองมัว คิดอ่านอะไรไม่ได้เหตุผลที่แจ่มแจ้ง บางทีถึงกับมืดตื้อ คิดอะไรไม่ออกเอาทีเดียว

    ฉะนั้น กามคุณและกิเลสอันมีลักษณะดังกล่าวนี้ ยังมีอำนาจเหนือจิตใจอยู่เพียงใร จิตใจจะสงบเป็นสมาธิ-เป็นฌานไม่ได้เพียงนั้น เมื่อใดกามคุณและกิเลสเหล่านี้สงบลงไป ไม่มีกำลังเหนือจิตใจแล้ว เมื่อนั้นจิตจะสงบเป็นสมาธิและเป็นฌาน จะถึงสภาพโปร่งใจที่เรียกว่า โอกาสาธิคม ทันที

    นิวรณ์ คือสิ่งที่ขวางกั้นจิตทำให้สมาธิไม่อาจเกิดขึ้นได้ มี 5 อย่างคือ

    กามฉันทะ คือความยินดี พอใจ เพลิดเพลินในกามคุณอารมณ์ ได้แก่
    ความยินดี พอใจในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ(สิ่งสัมผัสทางกาย)
    อันน่ายินดี น่ารักใคร่พอใจ รวมทั้งความคิดอันเกี่ยวเนื่องด้วยรูป
    เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะนั้น (คำว่ากามในทางธรรมนั้น
    ไม่ได้หมายถึงเรื่องเพศเท่านั้น)

    พยาปาทะ คือ ความโกรธ ความพยาบาท ความไม่พอใจ ขัดเคืองใจ

    ถีนมิทธะ แยกเป็นถีนะคือความหดหู่ท้อถอย
    และมิทธะคือความง่วงเหงาหาวนอน
    ถีนะและมิทธะนั้นมีอาการแสดงออกที่คล้ายกันมาก
    คือทำให้เกิดอาการเซื่องซึมเหมือนกัน แต่มีสาเหตุที่ต่างกันคือ

    ถีนะเป็นกิเลสชนิดหนึ่ง เกิดจากการปรุงแต่งของจิต
    ทำให้เกิดความย่อท้อ เบื่อหน่าย ไม่มีกำลังที่จะทำความเพียรต่อไป

    ส่วนมิทธะนั้นเกิดจากความเมื่อยล้าอ่อนเพลียของร่างกาย
    หรือจิตใจจริง ๆ เนื่องจากตรากตรำมามาก หรือขาดการพักผ่อนที่เพียงพอ
    หรือการรับประทานอาหารที่มากเกินไป มิทธะนี้ไม่จัดเป็นกิเลส
    (พระอรหันต์ไม่มีถีนะแล้ว แต่ยังมีมิทธะได้เป็นบางครั้ง)

    อุทธัจจกุกกุจจะ แยกเป็นอุทธัจจะคือความฟุ้งซ่านของจิต
    และกุกกุจจะคือความรำคาญใจ

    อุทธัจจะนั้นคือการที่จิตไม่สามารถยึดอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้เป็นเวลานาน
    จึงเกิดอาการฟุ้งซ่าน เลื่อนลอยไปเรื่องนั้นที เรื่องนี้ที

    ส่วนกุกกุจจะนั้นเกิดจากความกังวลใจ หรือไม่สบายใจถึงอกุศลที่
    ได้ทำไปแล้วในอดีต ว่าไม่น่าทำไปอย่างนั้นเลย หรือบุญกุศลต่างๆ
    ที่ควรทำแต่ยังไม่ได้ทำ ว่าน่าจะได้ทำอย่างนั้นอย่างนี้

    วิจิกิจฉา คือความลังเลสงสัย ไม่แน่ใจ หรือไม่ปักใจเชื่อว่าสิ่งใด
    ถูกสิ่งใดผิด หรือควรทำแบบไหนดี จิตจึงไม่อาจมุ่งมั่นในอารมณ์ใด
    อารมณ์หนึ่งได้อย่างเต็มที่ สมาธิจึงไม่เกิดขึ้น

    นิวรณ์ทั้ง 5 ตัวนี้ มีเฉพาะอุทธัจจะเท่านั้นที่เกิดขึ้นตัวเดียวได้
    ส่วนนิวรณ์ตัวอื่น ๆ นอกนั้น เมื่อเกิดจะเกิดขึ้นร่วมกับอุทธัจจะเสมอ

    นิวรณ์ทั้ง5 เป็นอุปสรรคสำคัญในการทำสมาธิ ถ้านิวรณ์ตัวใดตัวหนึ่ง
    หรือหลายตัวเกิดขึ้น สมาธิก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้เลย แต่นิวรณ์ทั้ง 5 นี้
    ไม่เป็นตัวขวางกั้นวิปัสสนาเลย ทั้งยังเป็นประโยชน์แก่วิปัสสนาอีกด้วย
    เพราะวิปัสสนานั้นเป็นการเรียนรู้ธรรมชาติของสรรพสิ่ง
    ไม่ว่าขณะนั้นอะไรจะเกิดขึ้น ก็เป็นประโยชน์ให้เรียนรู้ได้เสมอ
    นิวรณ์ทั้ง 5 นี้ก็เป็นธรรมชาติอย่างหนึ่ง ๆ ของจิตที่เป็นประโยชน์
    ในการเรียนรู้ ให้เห็นถึงความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่อยู่ในอำนาจ ของจิตเช่นกัน



    วิธีแก้ไขนิวรณ์ 5

    เมื่อนิวรณ์เกิดขึ้นมีวิธีแก้ดังนี้คือ

    1.) กามฉันทะ แก้ได้หลายวิธีตามลักษณะของกามฉันทะที่เกิดขึ้น ดังนี้

    พิจารณาถึงความจริงที่ว่ากามคุณทั้งหลายนั้นมีสุขน้อยมีทุกข์มาก
    คือให้ความสุขในช่วงที่ได้มาใหม่ ๆ ซึ่งเป็นเสมือนเหยื่อล่อให้ติด
    ครั้นเมื่อติดในสิ่งนั้น ๆ แล้ว ความทุกข์ทั้งหลายก็จะตามมา
    ถ้ายิ่งถูกใจมากเท่าใด ก็จะยิ่งนำความทุกข์มาให้มากขึ้นเท่านั้น
    ไม่ว่าจะเป็นทุกข์จากการแสวงหาเพื่อให้ได้มากยิ่งขึ้น
    ทุกข์จากการพยายามรักษาสิ่งนั้นเอาไว้ ทุกข์จากความหวงแหน
    ความกลัวว่าจะต้องสูญเสียสิ่งนั้นไป และเมื่อต้องสูญเสียสิ่งนั้นไป
    ก็จะยิ่งเป็นทุกข์ยิ่งขึ้นไปอีก เพราะเราทั้งหลายล้วนจะต้องพลัดพราก
    จากสิ่งที่เป็นที่รักที่พอใจ ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น
    พิจารณาถึงความที่สิ่งทั้งหลายมีความแปรปรวนไปตลอดเวลา
    สิ่งที่ให้ความสุขในวันนี้ ก็อาจจะนำความทุกข์มาให้ได้ในวันข้างหน้า
    เช่น คนที่ทำดีกับเราในวันนี้ ต่อไปถ้าเขาเบื่อ หรือไม่พอใจอะไรเราขึ้นมา
    เขาก็อาจจะร้ายกับเราอย่างมากก็ได้

    พิจารณาถึงความเป็นอสุภะ คือเป็นของไม่สวยไม่งาม
    เต็มไปด้วยของไม่สะอาด ร่างกายที่เห็นว่าสวยงามในตอนนี้
    จะคงสภาพอยู่ได้นานสักเท่าใด พอแก่ตัวขึ้นก็ย่อมจะหย่อนยาน
    เหี่ยวย่นไม่น่าดู ถึงแม้ในตอนนี้เอง ก็เต็มไปด้วยของสกปรกไปทั้งตัว
    ตั้งแต่เส้นผมจรดปลายเท้า (ไม่เชื่อก็ลองไม่อาบน้ำดูสักวันสองวันก็จะรู้เอง )
    ลองพิจารณาดูเถิด ว่ามีส่วนไหนที่ไม่ต้องคอยทำความสะอาดบ้าง
    และถ้าถึงเวลาที่กลายสภาพเป็นเพียงซากศพแล้วจะขนาดไหน


    พิจารณาถึงคุณของการออกจากกาม หรือประโยชน์ของสมาธิ เช่น

    เป็นความสุขที่ประณีต ละเอียดอ่อน เบาสบายไม่หนักอึ้งเหมือนกาม
    คนที่ได้สัมผัสกับความสุขจากสมาธิสักครั้ง ก็จะรู้ได้เองว่าเหนือกว่า
    ความสุขจากกามมากเพียงใด
    เป็นความสุขที่ไม่ต้องแสวงหาจากภายนอก เพราะเกิดจากความ
    สงบภายใน จึงไม่ต้องมีการแย่งชิง ไม่ต้องยื้อแย่งแข่งขัน
    ไม่ต้องกลัวถูกลักขโมย
    เป็นความสุขที่ไม่ต้องมีวัตถุใดๆ มาเป็นเครื่องล่อ
    จึงไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น

    2.) พยาปาทะ มีวิธีแก้ดังนี้


    มองโลกในแง่ดีให้เห็นว่าคนที่ทำให้เราไม่พอใจนั้น เขาคงไม่ได้
    ตั้งใจหรอก เขาคงทำไปเพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือเข้าใจผิด
    หรือถูกเหตุการณ์บังคับ ถ้าเขารู้หรือเลือกได้เขาคงไม่ทำอย่างนั้น
    คิดถึงหลักความจริงที่ว่า คนเราเมื่ออยู่ใกล้กัน ก็ย่อมมีโอกาสที่จะทำ
    ในสิ่งที่ไม่ถูกใจคนอื่น ได้เป็นครั้งคราวอยู่แล้ว เพราะคง
    ไม่มีใครสามารถทำให้ถูกใจคนอื่นได้ตลอดเวลา แม้ตัวเราเองก็ยังเคย
    ทำให้คนอื่นไม่พอใจเช่นกัน เพราะฉะนั้น เมื่อคนอื่นทำไม่ถูกใจเราบ้าง
    ก็ย่อมจะเป็นเรื่องธรรมดา ไม่ควรจะถือโทษโกรธกันให้เป็นทุกข์กันไปเปล่าๆ
    พิจารณาถึงคุณของการให้อภัย ว่าอภัยทานนั้นเป็นบุญอันยิ่งใหญ่
    เป็นการทำบุญโดยไม่ต้องเสียอะไรเลย

    คิดเสียว่าเป็นการฝึกจิตของตัวเราเองให้เข้มแข็งขึ้น
    โดยการพยายามเอาชนะใจตนเอง เอาชนะความโกรธ
    และขอบคุณผู้ที่ทำให้เราโกรธที่ให้โอกาสในการฝึกจิตแก่เรา
    ให้เราได้สร้างและเพิ่มพูนขันติบารมี
    คิดถึงเรื่องกฎแห่งกรรม ว่าสัตว์โลกมีกรรมเป็นของของตน
    ใครสร้างกรรมอันใดไว้ ย่อมต้องรับผลกรรมนั้นๆ สืบไป
    การที่เราเจอเหตุการณ์ที่ไม่ดีในครั้งนี้ ก็คงเป็นเพราะกรรมเก่าที่
    เราได้ทำเอาไว้ สำหรับคนที่ทำไม่ดีกับเราในครั้งนี้นั้น
    เขาก็จะได้รับผลกรรมนั้นเองในวันข้างหน้าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
    ให้ความรู้สึกสงสารผู้ที่ทำไม่ดีกับเราในครั้งนี้
    ว่าเขาไม่น่าทำอย่างนั้นเลย เพราะเมื่อเขาทำแล้ว
    ต่อไปเมื่อกรรมนั้นส่งผล เขาก็จะต้องเป็นทุกข์ทรมานเพราะกรรมนั้น

    พิจารณาโทษของความโกรธ ว่าคนที่โกรธก็เหมือนกับจุดไฟเผาตัวเอง
    ทำให้ต้องเป็นทุกข์เร่าร้อน หน้าตาก็ไม่น่าดู
    แถมยังเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจอีกด้วย เพราะฉะนั้นก็มีแต่คนโง่
    กับคนบ้าเท่านั้นที่ผูกโกรธเอาไว้

    แผ่เมตตาให้กับคนที่เราโกรธ ถ้าทำได้นอกจากจะ
    ดับทุกข์จากความโกรธได้แล้ว ยังทำให้มีความสุขจากการแผ่เมตตานั้นอีกด้วย
    และยังจะเป็นการพัฒนาจิตให้สูงขึ้นไปด้วย

    3.) ถีนมิทธะ แยกเป็นถีนะคือความหดหู่ท้อถอยนั้นแก้โดย

    พิจารณาถึงโทษของกามและคุณของสมาธิ เพื่อทำให้เกิดความเพียร
    ในการปฏิบัติให้พ้นจากโทษของกามเหล่านั้น
    คบหากับคนที่มีความเพียร ฝักใฝ่ยินดีในการทำสมาธิ
    หลีกเว้นจากคนที่ไม่ชอบทำสมาธิ หรือคนที่เบื่อหน่ายในสมาธิ

    ส่วนมิทธะคือความง่วงเหงาหาวนอนนั้น มีวิธีแก้หลายวิธี
    ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสแก่พระโมคคัลลานะ สรุปได้เป็นขั้นๆ ดังนี้

    ในขณะที่เพ่งจิตในสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่ เพื่อทำสมาธิหรือวิปัสสนาก็ตาม
    แล้วเกิดความง่วงขึ้นมา ให้เพ่งสิ่งนั้นให้มาก หรือให้หนักแน่นขึ้นไปอีก
    ก็จะทำให้หายง่วงได้

    ถ้ายังไม่หายง่วง ให้ตรึกตรอง พิจารณาธรรมที่ได้อ่าน หรือได้ฟัง
    ได้เรียนมาแล้ว โดยนึกในใจ

    ถ้ายังไม่หายง่วงให้สาธยายธรรมที่ได้อ่าน ได้ฟัง หรือได้เรียนมาแล้ว
    คือให้พูดออกเสียงด้วย

    ถ้ายังไม่หายง่วงให้ยอนช่องหูทั้งสองข้าง (เอานิ้วไชเข้าไปในรูหู)
    เอามือลูบตัว

    ถ้ายังไม่หายง่วง ให้ลุกขึ้นยืน เอาน้ำล้างตา เหลียวดูทิศทั้งหลาย
    แหงนดูดาวนักษัตรฤกษ์ (คือให้มองไปทางโน้นทีทางนี้ที บิดคอไปมา)

    ถ้ายังไม่หายง่วง ให้ทำในใจถึงอาโลกสัญญา (นึกถึงแสงสว่าง)
    ตั้งความสำคัญในกลางวัน ว่ากลางวันอย่างไร กลางคืนอย่างนั้น
    กลางคืนอย่างไร กลางวันอย่างนั้น มีใจเปิดเผยอยู่ฉะนี้ ไม่มีอะไรหุ้มห่อ
    ทำจิตอันมีแสงสว่างให้เกิด (คือให้ทำความรู้สึกเหมือนกับว่า
    กลางคืนนั้นสว่างราวกับเป็นกลางวัน)

    ถ้ายังไม่หายง่วง ให้เดินกลับไปกลับมา สำรวมอินทรีย์
    มีใจไม่คิดไปในภายนอก (ควรเดินเร็วๆ ให้หายง่วง)

    ถ้ายังไม่หายง่วงอีก ให้สำเร็จสีหไสยาสน์ คือ นอนตะแคงเบื้องขวา
    ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า (เหมือนพระพุทธรูปนอน) มีสติสัมปชัญญะ
    โดยบอกกับตัวเองว่า ทันทีที่รู้สึกตัวตื่นแล้ว จะรีบลุกขึ้นทันที
    ด้วยตั้งใจว่า เราจักไม่ประกอบความสุขในการนอน ความสุขในการเอนข้าง
    ความสุขในการเคลิ้มหลับ

    4.) อุทธัจจกุกกุจจะ แยกเป็นอุทธัจจะคือความฟุ้งซ่านของจิต แก้โดย

    ใช้เทคนิคกลั้นลมหายใจ (เทคนิคนี้นอกจากจะใช้แก้ความฟุ้งซ่านได้แล้ว
    ยังใช้ในการแก้ความง่วงได้อีกด้วย)
    *** ทำใจให้สบาย อย่ามุ่งมั่นมากเกินไปจนเครียด
    จะทำให้ฟุ้งซ่านหนักขึ้น ค่อยๆ ฝึกไปเรื่อยๆ แล้วจะดีขึ้นเอง
    อย่าหวัง อย่ากำหนดกฎเกณฑ์ว่าวันนี้จะต้องได้อย่างนั้นอย่างนี้
    ปล่อยวางให้มากที่สุด ทำใจให้อยู่กับปัจจุบัน คือเพียงแค่สังเกตว่า
    ตอนนี้เป็นอย่างไรก็พอแล้ว อย่าคิดบังคับให้สมาธิเกิด
    ยิ่งบีบแน่นมันจะยิ่งทะลักออกมา ยิ่งฟุ้งไปกันใหญ่

    ส่วนกุกกุจจะคือความรำคาญใจ นั้นแก้ได้โดย

    พยายามปล่อยวางในสิ่งนั้นๆ โดยคิดว่าอดีตก็ผ่านไปแล้ว
    คิดมากไปก็เท่านั้น อนาคตก็ยังมาไม่ถึง เรามาทำปัจจุบันให้ดีที่สุดดีกว่า
    ตอนนี้เป็นเวลาทำกรรมฐาน เพราะฉะนั้นอย่างอื่นพักไว้ก่อน
    ยังไม่ถึงเวลาคิดเรื่องเหล่านั้น
    ถ้าแก้ไม่หายจริงๆ ก็ไปจัดการเรื่องเหล่านั้นให้เรียบร้อย
    แล้วถึงกลับมาทำกรรมฐานใหม่ก็ได้

    5.) วิจิกิจฉา แก้ได้โดย

    พยายามศึกษาหาความรู้ให้มากที่สุด


    ถ้ายังไม่แน่ใจก็คิดว่าเราจะลองทางนี้ดูก่อน ถ้าถูกก็เป็นสิ่งที่ดี
    แต่ถ้าผิดเราก็จะได้รู้ว่าผิด จะได้หายสงสัย แล้วจะได้พิจารณา
    หาทางอื่นที่ถูกได้ ยังไงก็ดีกว่ามัวแต่สงสัยอยู่ แล้วไม่ได้ลองทำอะไรเลย
    ซึ่งจะทำให้ต้องสงสัยตลอดไป
    <!-- / message --><!-- sig -->
    http://www.watthummuangna.com/board/showthread.php?t=487
     

แชร์หน้านี้

Loading...