การปฏิบัติธรรมที่ถูกต้องตามหลักพระพุทธศาสนาและได้บุญเยอะที่สุด

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย รสมน, 21 พฤษภาคม 2009.

  1. Premsuda (May)

    Premsuda (May) เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    181
    ค่าพลัง:
    +646
    ขอบคุณค่ะ อ.รสมน (อ.สุจินต์)

    ส่งให้เมย์ทางเมลล์นี้จะดีกว่าค่ะ
    bangkokletter@gmail.com






    อนุโมทนาอย่างแรงค่ะ
    อนุโมทนาอย่างแรงค่ะ
    อนุโมทนาอย่างแรงค่ะ
    อนุโมทนาอย่างแรงค่ะ
    อนุโมทนาอย่างแรงค่ะ
    อนุโมทนาอย่างแรงค่ะ
    อนุโมทนาอย่างแรงค่ะ

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    .
    .
    .
     
  2. Premsuda (May)

    Premsuda (May) เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    181
    ค่าพลัง:
    +646
    รู้ก็ตอบมาเลยสิคะ คุณรสมน ไม่อยู่แล้ว ตอบมาเลยค่ะ เมย์จะรออ่าน




    อนุโมทนาอย่างแรงค่ะ

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    .
    .
    .
     
  3. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846

    ทีนี้แล้วเมย์จะมาพิจารณา รูป-นาม ว่าเป็นไปตามกฏพระไตรลักษณ์ ตอนไหนอ่าค่ะ ยังไม่เข้าใจค่ะ....
    ในระหว่างรอคำตอบ ฟังเพลงนี้ซักเพลง

    การตามดูจิต จะเห็นไตรลักษณ์ของมันเอง การไปจงใจพิจารณา จะยังไม่เห็นไตรลักษณ์ของลักษณะนามได้เพราะยังไม่พ้นคิด มีแต่ สัมมาสติ ที่เกิดขึ้นแล้วรู้ทันไปทุกขณะจิต จะทำให้เห็นด้วยความรู้สึกว่า จิตอยู่ตรงนั้น จิตอยู่ตรงนี้ จิตดีใจ จิตเศร้าหมอง จิตยินดี จิตยินร้าย เมื่อลักษณะสัมมาสติเกิดแบบนี้เข้า บ่อยๆ จะทำให้จิตเห็นจิต ที่แปรเปลี่ยนไปตามนั้นตามความเป็นจริง
    ซึ่งจะพบว่า วันๆนึง เกิดการแปรเปลี่ยนไม่แน่นอน จิตไม่เที่ยงไม่อยู่เป็นที่ จิตบังคับไม่ได้ จิตทำให้ลำบากคือเป็นทุกข์ เมื่อสัมมาสติเกิดแต่ละขณะ สัมปชัญญะ จะตามรู้ทัน เรียกว่า
    รู้สึกตัวเห็นตัวของมันเองด้วยความรู้สึกจากสัมมาสติ เมื่อ ชำนิชำนาญ มันจะตัดสินของมันเองลงเป็นไตรลักษณะ ....
    ในลักษณะของ นามเห็นรูปเป็นไตรลักษณ์ อาศัยการพิจารณาอสุภะ ได้ ซึ่ง นามจะเห็นรูปเป็นไตรลักษณ์ แต่ในลักษณะ นามเห็นนามเป็นไตรลักษณะ ต้องอาศัยสัมมาสติสัมปชัญญะ ที่รู้ได้บ่อยๆ จนเป็นอัตโนมัติ
     
  4. Premsuda (May)

    Premsuda (May) เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    181
    ค่าพลัง:
    +646
    เข้าใจแล้วค่ะ ว่าตามดูจิตบ่อยๆ จิตมันจะเห็นจิตเองว่า บังคับมันไม่ได้ แปลเปลี่ยนตลอดเวลา สุดท้ายจิตก็จะปล่อยวางไปเอง ขอบคุณมากค่ะ

    อนุโมทนา


    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
     
  5. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    คุณรสฯครับ
    คุณบอกเองใช่มั้ยครับว่าสมาธิวิธีนั้นแบ่งเป็นสมถะและวิปัสสนา "และ"นะครับ
    ไม่ใช่ "หรือ" คำว่านั้น "และ"ในความหมายก็ชัดเจนอยู่แล้วนะครับว่า
    ต้องทำทั้งสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไปใช่มั้ยครับ???
    สมถะทั้ง๔๐วิธีนั้นล้วนแล้วแต่ต้องมีวิปัสสนาเป็นบาทฐานมั้ยครับ???

    มีพุทธพจน์กล่าวไว้ว่า สมถะและวิปัสสนานั้น
    การฝึกสมถะนั้นต้องมีวิปัสสนาเป็นบาทฐาน
    ส่วนวิปัสสนานั้นก็ต้องมีสมถะเป็นพื้นฐานเช่นกัน
    พระองค์ทรงใช้คำว่า "และ"เพื่อให้รู้ว่าต้องทำควบคู่กันไปใช่มั้ยครับ???

    การฝึกวิปัสสนานั้นเมื่อจิตกระทบอารมณ์แล้วเกิดหวั่นไหว
    เมื่อไม่ใช่ช่วยสมถะจิตจะสงบตั้งมั่นได้หรือครับ???
    หรือปล่อยให้อารมณ์ดับไปเอง โดยไม่ต้องแทรกแซงครับ
    คำว่า "หนอ"เป็นแค่การหน่วงอารมณ์ไว้เท่านั้นใช่มั้ยครับ???
    แต่การที่จะให้จิตละอารมณ์นั้นควรวางจิตอย่างไรครับ???

    ;aa24
     
  6. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    คุณเมย์ครับ
    รบกวนตอบเพื่อความกระจางหน่อยครับ
    จิตเห็นจิตเอง ใข่จิตเห็นอาการของจิตใช่มั้ยครับ???
    ในเมื่อเห็นอาการของจิตได้ น่าจะบังคับได้สิครับ???

    ถ้าบังคับไม่ได้ ขณะนั้นจิตมีอาการคิดจะทำร้ายคนอื่น
    ก็ต้องปล่อยให้ไปทำตามที่ประสงค์หรือครับ???
    เมื่อได้อย่างใจหวังแล้ว จิตก็จะปล่อยวางไปเองใช่มั้ยครับ???

    ;aa24
     
  7. รสมน

    รสมน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,451
    ค่าพลัง:
    +2,047
    ขออนุโมทนากับคุณธรรมภูตที่มีจิตกุศลในการให้ความรู้ธรรมะ
    ที่พูดมาจะขอเสริมว่า การฝึกสมถะนั้นต้องให้ได้ฌานก่อน
    ถึงจะใช้ที่ได้เป็นฌานเป็นบาทฐานอีกทีหนึ่งในการเจริญวิปัสสนาต่อไปซึ่งจะเสียเวลาในการปฏิบัติ
    พวกเราเป็นฆารวาสไม่มีเวลาพอที่จะปฏิบัติตรงนี้ได้ ถ้าจะปฏิบัติก็ปฏิบัติได้เหมือนกัน
    ไม่ผิด แต่ขอแนะนำจากประสบการณ์ว่า ถ้าจะเจริญวิปัสสนาล้วนๆจะดีกว่า
    ไม่ต้องใช้เวลามากในการปฏิบัติ แต่มีข้อแตกต่างกันตรงที่ ถ้าบรรลุ
    เป็นอรหันต์ถ้าปฏิบัติสมถะมาด้วยจะมีฤทธิ์ ถ้าปฏิบัติแต่วิปัสสนาจะไม่มีฤทธิ์
    ขออนุโมทนา
     
  8. Bacary

    Bacary เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    1,211
    ค่าพลัง:
    +23,196
    คุณ รสมน คือ อ.สุจินต์ หรอครับ แล้ว อ.สุจินต์ไหนอ่ะ
    ช่ายคนเดียวกันกับ อ.สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ในเวบไซด์ บ้านธัมมะ หรือป่าวครับ
     
  9. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    เรื่อยเปื่อยแล้วครับ รสมน

    " ฆราวาส เจริญวิปัสสนาล้วนๆ จะดีกว่า "

    ผมไม่เข้าใจว่า คุณจะไปพูดแบบนั้นทำไม เอาอะไรมาวัด ว่าวิปัสสนาล้วนจะดีกว่า

    คุณสรุปด้วยการคาดเดาเอาเอง ตามสิ่งที่คุณประสบมา แล้วคิดว่า นั่นแหละดี สำหรับคุณ
    ผมอยากจะบอกว่าการเจริญสมถะ ก็ทำไปในวิถีชีวิตประจำวันได้

    และ หากปราศจาก สมถะเป็นบาท ในการวิปัสสนาแล้ว วิปัสสนาจะเต็มไปด้วยอารมณ์ นิวรณ์ธรรม

    สำหรับ ฤทธิ์ หรือ ไม่มีฤทธิ์ ไม่ใช่ไปจำแนกจากการทำสมถะหรือ วิปัสสนามากกว่ากัน

    แต่ ว่า พฤติจิตที่ มีกำลังในด้านใดมาก แต่ทั้งสองอย่างต้องทำไปเหมือนกัน

    ใน ด้านฤทธิ์ คือ ฝึกเข้าฌาณ ด้วย สมถะ จรดจ่อเป็นหนึ่งด้วยการ ดิ่ง ดับ เพ่ง
    ด้านปัญญา คือ ฝึกเข้าฌาณด้วย ปัญญา ละองค์ธรรมไปเรื่อยๆ จรดจ่อเป็นหนึ่งด้วยการละ

    ทีนี้ คนชำนาญ ด้านใด ก็ต้องเจริญสมาธิทั้งสิ้น แต่จะเจริญไปในด้าน ลักขณูปนิชฌาณ หรือ อารัมมณูปนิชฌาณ ก็ต้องแล้วแต่ว่า เขาถนัดด้านใด อย่างผมนี่ เจริญได้ทั้งสองด้าน

    องค์ ธรรม ที่มีทุกคนต้องมีพร้อมนะครับ เพียงแต่ การพูดที่สอนกันทุกวันนี้ สอนเพราะกิเลส มันก็เลยพูดไปตามกิเลสว่า เอาเท่านั้นพอ เอาเท่านี้พอ แต่จริงๆ ตัวคนพูดก็ต้องเจริญสมถะมา ซึ่งทำให้จิตมีกำลัง เพียงพอ

    องค์ธรรมทุกประการควรทำให้ถึงพร้อมตาม ภูมิของตน แล้วขัดเกลา เพิ่มพูนไปตามปัจจัย
     
  10. nanakorn

    nanakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    1,075
    ค่าพลัง:
    +155
    "ทีนี้ คนชำนาญ ด้านใด ก็ต้องเจริญสมาธิทั้งสิ้น แต่จะเจริญไปในด้าน ลักขณูปนิชฌาณ หรือ อารัมมณูปนิชฌาณ ก็ต้องแล้วแต่ว่า เขาถนัดด้านใด อย่างผมนี่ เจริญได้ทั้งสองด้าน"

    ฝึกให้ได้แบบนี้นี่ ฝึกมานานหรือยังคะ น่าสนใจนะ
     
  11. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    มีใคร จะเถียงว่า ทำอะไรให้สำเร็จ ไม่ต้องใช้อิทธิบาท 4 บ้าง
    อาจจะมีคนบอกว่า วิปัสสนา โดยไม่ต้องไปเจริญหรอก อิทธิบาท 4
    แบบนี้ มีไหมครับ ที่จะสำเร็จได้
    จริงๆ แล้ว คนที่มีนิสัย ที่มีวาสนามาแล้ว แล้วมีสตินึกกลับไปจะพบว่า อิทธิบาท 4 นี้เราใช้ตลอดเวลา เราจึงทำอะไรสำเร็จได้ ทั้งการเรียน ทั้งทางธรรม ทั้งการทำงาน

    แต่คนที่เขาไม่มีนิสัยแบบนี้ ก็ต้องสอนให้มี ฉันทะ คือ อยากศึกษา อยากปฏิบัติธรรม
    วิริยะ คือ ให้เขามีความเพียร ศึกษาและ ปฏิบัติ
    จิตตะ คือ เขาต้องคอยจรดจ่อ เอาใจใส่ ตั้งมั่น ไม่คลาดไป ไม่ทิ้ง
    วิมังสา คือ คอยทบทวน สังเกตุผล ว่าดีหรือไม่ดีอย่างไร

    สอนสิ่งเหล่านี้ เพื่อให้เป็น กุศลกรรม ที่ติดอยู่กับจิตใจ ต้องฝึกให้เป็นนิสัยที่ติดตัว ติดจิตไป
    ก็เช่นเดียวกัน

    สมาธินี้ คนที่เจริญวิปัสสนาได้ ก็สังเกตุไม่รอบไม่ครอบ คือ ตนเองมีสมาธิเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว ก็ทำได้ดี ก็ไปบอกว่า คนอื่นไม่ต้องทำสมาธิหรอก เจริญอย่างเดียวพอ
    คนที่เขา ไม่มีสมาธิเป็นบาท เขาก็ทำอะไรไม่มีสมาธิ เขาก็ไม่มีวิปัสสนา
    บางประเภทบอกว่า อย่าไปเพียร ก็คนเรามีกี่ประเภท

    คนที่เขาไม่มีสมาธิ อยู่ในจิต ก็ควรให้เขาฝึกให้ดี มันจะเป็นนิสัย เป็นกุศลที่ติดจิตไป

    คนมีสมาธิ อยู่ในจิต ยิ่งฝึกก็ยิ่งดีขึ้น

    ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องทำให้พร้อม และอบรมให้ก้าวหน้า
     
  12. รสมน

    รสมน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,451
    ค่าพลัง:
    +2,047
    จากที่คุณขันธ์เล่ามานั้นคุณยังอาจจะยังไม่เข้าใจ
    ลองกลับไปดูเว็ปบอร์ดที่คุณรสมนตั้งเอาไว้
    ในเรื่องเกี่ยวกับทางเลือกหลังตายไปแล้ว
    สิ่งที่นำมาโพสนั้นสามารถเลือกได้เอง
    ถ้าคุณขันธ์จะปฏิบัติตามที่คุณกล่าวมาข้างต้น
    ก็ไม่ผิด ถ้าคุณจะได้แค่ฌานก็ทำได้แค่พรหมโลก
    ไม่สามารถไปนิพพานได้เลย เว้นแต่ว่าคุณจะ
    ได้ฌานแล้วใช้ฌานนั้นเป็นบาทฐานต่อไป
    ซึ่งหลายต่อมาก
    ถ้าไม่ได้ฌานก็เจริญวิปัสสนาไม่ได้เลย
    สมมุติถ้าคุณปฏิบัติไม่ได้ฌานในชาตินี้ล่ะ
    คุณจะเอาเวลาที่ไหนไปเจริญวิปัสสนา
    เพราะว่าฌานนั้นทำได้ยากกว่าจะเกิดบางคนปฏิบัติไม่ได้ฌานในชาตินี้
    ก็มีแล้วควรคิดพิจารณาดูว่าจะปฏิบัติแบบไหนถึงจะดี
    แล้วแต่จะคิดเพราะว่า ที่คุณกล่าวมาก็ถูกหมด
     
  13. nanakorn

    nanakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    1,075
    ค่าพลัง:
    +155
    ไม่เีถียง ไม่เถียง ท่านกล่าวถูกแล้ว อนุโมทนา
    เพียงแต่ขอรายละเอียดเฉย ๆ ขอบคุณจ้า
     
  14. รสมน

    รสมน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,451
    ค่าพลัง:
    +2,047
    เป็นศิษย์ของอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ อย่าเข้าใจผิดว่าเป็นอาจารย์สุจินต์
    เพื่อที่จะเผยแพร่หลักธรรมคำสอนที่ถูกต้องเท่านั้นเอง
     
  15. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    น่าแปลกใจว่าทำไมต้องแยกกันระหว่างวิปัสสนากับสมถะ.......พระพุทธเจ้าไม่เคยทรงแยกจากกันเลย....เห็นได้จาก พระสูตร ยกตัวอย่าง เช่น

    [๘๓๑] เมื่อบุคคลนั้นเจริญอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐอยู่อย่างนี้ ชื่อว่า มีสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ ถึงความเจริญบริบูรณ์ บุคคลนั้นย่อมมีธรรมทั้งสองดังนี้ คือ สมถะและ วิปัสสนา คู่เคียงกันเป็นไป

    เขาชื่อว่า กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ด้วยปัญญาอันยิ่ง
    ละธรรมที่ควรละ ด้วยปัญญาอันยิ่ง
    เจริญธรรมที่ควรเจริญ ด้วยปัญญาอันยิ่ง
    ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ด้วยปัญญาอันยิ่ง ฯ

    พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ สุตตันตปิฎกที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์


    คือต้นเหตุนั้นจริงๆ....หลายท่านที่ฝึกแนวสติปัฎฐาน 4 มา ...พระวิปัสสนาจารย์....ที่ยังไม่ค่อยมีความเข้าใจ......ก็บอกตลอดว่า ทำสมถะไม่ใช่ทาง.....แล้วยกวิปัสสนาเป็นทางหลุดพ้น....ก็บอกเชิงหินทับไว้นี่หละ.....คือท่านยกมาวรรคเดียว....แต่อาจไม่มีความเข้าใจ......ใช่ครับวิปัสสนาเป็นทางหลุดพ้น.......แต่เป็นไปไม่ได้เลยที่วิปัสสนาจะเกิดขึ้นได้โดยไม่มีสมถะเป็นพื้นฐาน.....

    คือพูดง่ายๆ...ก็คือ.....เมื่อมีความสงบขึ้นบ้าง....จึงสามารถใช้การพิจารณาได้.......เมื่อไม่สงบเลย...ฟุ้งซ่านตลอด(จากนิวรณ์ 5 )......อารมณ์พิจารณามันจะเกิดขึ้นมาไม่ได้...

    ผมเคยไปฝึกไปติดอยู่ 3 วัน ......ก็ยุบหนอพองหนอนี่หละ......ของเขาจริงแล้วถูกนะครับ......ท่านบอกว่า...ที่ทำมันเป็นวิปัสสนา......ผมก็ทำไป.....เป็นอารมณ์สมถะมาตลอดเลย.......ก็แปลกใจ.....สอบอารมณ์ก็แก้ไม่ตก.......จนมาเจอพระวิปัสสนาที่มีความเข้าใจท่านจึงบอกให้....เลยผ่านสถาวะนั้น.....

    จริงๆแล้ว สมถะก็คือการที่เราเอาสติไปกำหนด...อะไรอย่างหนึ่งจนเป็นสมาธิ......ที่หนอทั้งหลายแหล่หละครับ.....สมถะทั้งนั้น.......คืออะไร.....คือการที่เราเอาสติไปกำหนดที่ท้อง......นั่นหละครับ......ยกย้างหนอ....สติไปกำหนดที่เท้า....นั่นหละสมถะหละ......คือเอาสติไปจดจ่อที่ใดที่หนึ่งจนเกิดเป็นสมาธิ(พระวิปัสสนามักบอกว่า ขนิกสมาธิ...ขนิกสมาธินี่หละครับสมถะอย่างหนึ่งหละ...เป็นอารมณ์สมถะ).......พระพุทธเจ้าบอกไว้ชัด......

    อารมณ์วิปัสสนาเป็นอย่างไร.......คือการรู้ชัดตามความเป็นจริงตามหลักพระไตรลักษณ์....จึงเป็นวิปัสสนา.......พระพุทธเจ้าก็ทรงบอกไว้ชัดอีก........ว่าเป็นอารมณ์พิจารณา........พอจะพิจารณาก็บอกคิดหนอ...อีก......ที่นี่ก็จมหละครับ....จมสมถะเลย....

    คือท่านให้พิจารณา....เช่นยกย้างหนอเนื่ย......คือมันแสดงพระไตรลักษณ์.....อย่างไร...คือมันไม่เที่ยง....มันเปลื่ยนแปลง(ทนอยู่ไม่ได้)....แล้วก็สลายไป.....อย่างนี้ครับ...จึงเป็นวิปัสสนา.....

    ศึกษาพระไตรก็ได้ครับพระองค์ทรงบอกไว้ชัดเลย......ไม่มีคำใหนว่า....ไม่ควรฝึกสมถะ......สมถะไม่มีส่วนช่วยให้หลุดพ้น....ก็ไม่ทราบว่าพระวิปัสสนา(หลายท่าน)ไปเอาคำนี้มาจากใหน....คือไม่ได้แย้งนะครับ......ความจริงเป็นเช่นนี้.....จริงๆ.....

    อะยกอีกพระสูตรหนึ่ง....

    [๒๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน?
    คือ สมถะและ วิปัสสนา
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ควรให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง.

    พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎกที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

    นี่ชัดเจนเลยนะ........

    จริงๆแล้ว ในมหาสติปัฎฐานสูตร.....พระพุทธเจ้าทรงสอนถึง ฌาน 4 นะครับ........ไม่ได้ใช้แค่ขนิกสมาธิ(ถึงใช้ขนิกสมาธิ...ก็คือสมถะ)......แล้วที่ฝึกสายหนอ...ก็เอากรรมฐานส่วนหนึ่งมาจากพระสูตรนี้อีก.....อริยาบทบรรพ...เป็นต้น....อันนี้น่าคิด........

    ยังไงผมว่าควรศึกษาให้ชัดก่อนนะครับ....ว่าเป็นอย่างไร....พระพุทธเจ้าทรงสอนอย่างไร....ถึงตรงใหน....อันนี้มีความสำคัญ......

    ไม่ได้กล่าวว่า พระวิปัสสนาจารย์นะครับ......คือบางท่าน......อาจหลายท่านเลย.......มีเพียงบางท่านที่มีความเข้าใจตรงกับพระพุทธเจ้าทรงสอนไว้.....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 พฤษภาคม 2009
  16. Bacary

    Bacary เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    1,211
    ค่าพลัง:
    +23,196

    เพื่อเป็นการให้เข้าใจถูกต้องจึงถามดูครับ

    เห็นคุณ กะละมัง พิมพ์อ้างถึง อ.สุจินต์
    ก็เลยนึกว่าคุณ รสมน เป็น อ.สุจินต์

    แสดงว่าคุณ กะละมัง นั้นเข้าใจผิด


    เจริญในธรรมครับคุณ รสมน
     
  17. nanakorn

    nanakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    1,075
    ค่าพลัง:
    +155
    ไปอ่านของคุณรสมน โพสมาการเลือกทางว่าตายแล้วจะไปไหน แนะนำดีค่ะ แต่โดยส่วนตัวแล้วคิดว่าบทความนั้นยังไม่ครอบ เท่ามีส่วนที่ขาดหายไปเยอะเหมือนกันนะ เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้กันนะคะ อนุโมทนา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 พฤษภาคม 2009
  18. visutto

    visutto เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    3,541
    ค่าพลัง:
    +1,167
    วิปัสสนา....ที่ไม่มีสมาธิเป็นบาทฐาน จะมีแต่นิวรณ5 เป็นเครื่องร้อยรัด

    ดังนั้นจะเจริญด้านปัญญา..จึงต้องมีสมาธิเป็นบาทฐาน เป็นตัวอบรม..
    หากเจริญด้านสมาธิ..ก็ต้องมีปัญญาเป็นตัวอบรม..ไม่งั้นเป็นมิจฉาสมาธิ

    กิเลสมันจะกลัว..ปัญญาที่อบรมสมาธิหรือสมาธิอบรมปัญญา
    ถ้าเป็นปัญญาท่องจำหรือเล่าเรียน..เป็นสัญญาความจำ
    กิเลสมันหัวเราะเยาะเอา..<!-- google_ad_section_end -->


    ยังไม่เคยเห็นพระอริยสงฆ์ท่านไหนหรือครูอาจารย์ท่านใด..
    สอนให้..ทำอย่างเดียว..เจริญแต่วิปัสสนาไม่ต้องทำสมาธิ..
    แบบนี้...ไม่ครบ..ไตรสิกขา
    ศีล สมาธิ ปัญญา

    อย่าเอาตนเป็นที่ตั้ง...
    เส้นทางสายปฏิบัติ..เป็นเอกายมรรค..มีองค์8
    ต้องครบถ้วน..ชอบไม่ชอบ..ถนัดไม่ถนัด..
    ก้ต้องเจริญให้มาก....
     
  19. รสมน

    รสมน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,451
    ค่าพลัง:
    +2,047
    ขอตอบคำถามคุณ phanudet ที่คุณกล่าวมาก็ถูก แต่จะขอกล่าวว่า คือการเจริญวิปัสสนานั้น มี 16 ญาณ ญาณที่ 1-2 เป็นอารมณ์สมถะ ส่วน ญาณ ถัดไป เป็น
    อารมณ์ของวิปัสสนา
    แต่ญาณที่ 1-2 นั้น ก็ถือเป็นการเจริญวิปัสสนา เพราะมีการกำหนดรูปนาม
    อยู่ด้วย

    ที่คุณกล่าวมาก็ถูกแต่ก็ขอเสริมขึ้นมาเพื่อที่จะได้ให้คุณเข้าใจขึ้น
     
  20. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    อนุโมทนาครับ

    คุณรสฯครับ คุณเคยลองฝึกสัมมาสมาธิหรือยังครับ
    เป็นไปได้อย่างไรครับว่า? ต้องได้ฌาณ(ความเพ่ง)ก่อนถึงจะฝึกสมถะได้

    คุณจำมาสับสนหรือเปล่าครับ? ท่านพุทธโฆษาจารย์ท่านได้รจนาไว้ว่า
    "ฌาน(สมถะ)ย่อมไม่มีในผู้ที่ไม่มีปัญญา(วิปัสสนา)
    ปัญญา(วิปัสสนา)ย่อมไม่มีในผู้ที่ไม่มีฌาน(สมถะ)
    ผู้ที่มีทั้งฌาน(สมถะ)และปัญญา(วิปัสสนา)จึงจะเข้าใกล้พระนิพพาน"

    ผมขอยืนยันครับว่า คนเรานั้น ถ้าไม่ได้รับการฝึกฝนอบรมสัมมาสมาธิมาก่อน
    เพื่อให้จิตตั้งมั่นชอบแล้ว
    การฝึกวิปัสสนาอย่างเดียวนั้น ก็จะเป็นเพียงการตามดูอาการของจิตที่ปรุงแต่ง
    โดยที่พยายามคิดเองเออเองว่าดูการเกิดดับของจิต
    ทั้งๆที่โดยความเป็นจริงแล้ว เป็นการดูอาการจิตที่เกิดดับโดยไม่รู้ตัว
    เพราะไม่เคยรู้จักสภาพจิตที่มีคุณภาพตั้งมั่นชอบว่าเป็นอย่างไร

    การเริ่มจากวิปัสสนาอย่างเดียวโดยไม่รู้จักสภาพจิตที่มีคุณภาพที่แท้จริงแล้วนั้น
    เป็นการติดความคิด เปลี่ยนจากอารมณ์หนึ่ง ไปสู่อีกอารมณ์หนึ่งเท่านั้น
    หรือที่เรียกว่า "พวกติดดีในดี" หลงกับความคิดตัวเอง โดยละเหตุไม่เป็น

    ;aa24
     

แชร์หน้านี้

Loading...