การปฏิบัติธรรมที่ถูกต้องตามหลักพระพุทธศาสนาและได้บุญเยอะที่สุด

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย รสมน, 21 พฤษภาคม 2009.

  1. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    คุณ นิวรณ์ สิ่งที่กล่าวในพระสูตรนั้น ผมดำเนินจนเป็นวิถีแล้ว

    จึงเอามาสอนให้ฟัง ไม่ใช่พูดส่งเดช ไป

    ขอตัว พักผ่อน
     
  2. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    ที่คุณเห็นว่ามีทางเดียว ก็เพราะปฏิบัติได้ทางเดียว ซึ่งจำเป็นไหมที่จะต้อง
    ปฏิบัติหลายทาง ก็ไม่จำเป็น

    อย่าลืมว่า นี่คือทางในการเริ่มปฏิบัติ ซึ่งมี 4

    บางคนเมื่อปฏิบัติไปแล้ว จะทำได้ทั้ง 4 ครบก็มี แต่ไม่ใช่ในบริบทของ
    การเริ่ม แต่เป็นเรื่องทำเพิ่มภายหลัง
     
  3. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    (smile)
     
  4. รสมน

    รสมน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,451
    ค่าพลัง:
    +2,047
    เห็นด้วยกับคุณเอกวีร์ ขอให้คุณขันธ์พิจารณาให้ดี และลองปฏิบัติด้วยตนเอง
    จึงจะเห็นผลคุณขันธ์ยังขาดความเข้าใจเยอะมาก ลองไปตอบปัญหากับท่านอาจารย์
    สุจินต์ดูจึงจะเข้าใจ อีกอย่างคุณสามารถไปถามปัญหาธรรมะกับคุณ ยุภา
    ในสถานีวิทยุ 01 มีนบุรี มาตอนเวลา 4 โมงเย็น - 5 โมงเย็น ในวันจันทร์-ศุกร์
    แล้วคุณจะเข้าใจ ถ้าคุณไม่ไตร่ถามผู้รู้ที่กล่าวมาข้างต้นคุณอาจจะมีทิฎฐิเยอะ
    และจะได้ปฏิบัติถูกต้องตามพระธรรม เพื่อเป็นการลดทิฎฐิความเห็นผิดลงไปได้
    เพราะท่านอาจารย์สองท่านที่กล่าวมาล้วนเป็นบุคคลที่ศึกษาธรรมะมาหลายสิบปี
    ลองไปสอบถามปัญหาธรรมกับท่านดู
     
  5. รสมน

    รสมน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,451
    ค่าพลัง:
    +2,047
    คุณพูดถูกและเห็นด้วยกับคุณนิวรณ์
    คุณขันธ์เขาอาจจะยังไม่รู้จริงก็เลยแนะนำให้ไปสนทนาธรรมกับท่านผู้รู้ดู
    จะได้เข้าใจมากขึ้น เพื่อเป็นการลดทิฎฐิ มานะ ลงไปได้บ้าง หรือให้เบาบางลง
    ไปก็จะเป็นกุศลสำหรับเขาเอง ที่มีสัมมาทิฎฐิเกิดขึ้น
     
  6. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    เห็นด้วยกับท่านรสมนและท่านนิวรณ์ ผมถึงว่าไปๆมาๆก้จะแบบเดิม
     
  7. nanakorn

    nanakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    1,075
    ค่าพลัง:
    +155
    แม้ ๆ พี่ขุน เดี๋ยวก็โดนแซวอีกหรอก
    นับ 123 แล้วก็ยกมือก็ได้ แซว ก็ให้รู้ว่าแซว
     
  8. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    นั่นล่ะ นานากร เดี๋ยวผมก็ได้รับตำแหน่ง
     
  9. เซ้น

    เซ้น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2009
    โพสต์:
    18
    ค่าพลัง:
    +5
    อนุโมทนาสาธุกับทุกข้อความที่พยายามอธิบายความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมะครับทุกสิ่งที่ท่านทั้งหลายทราบและมาโพสล้วนเป็นส่วนดีในการประพฤติปฏิบัติทั้งนั้นเพราะความเข้าใจแต่ละท่านอาจไม่เหมือนกันอาจเป็นเพราะท่านทั้งหลายก็มีครูบาอาจารย์ของท่านเองจึงยึดมั่นถือมั่นแต่ก็ไม่มีสิ่งใดผิดเพราะที่บอกกันมานั้นล้วนเป็นกรรมดีทั้งสิ้นแต่ถ้าท่านทั้งหลายเรียนรู้ที่จะศึกษาธรรมะแล้วก็อย่าปล่อยให้เป็นแค่สัญญาเพราะรู้อย่างเดียวแต่ไม่ปฏิบัติก็จะกลายเป็นเพียงสัญญาเท่านั้นอย่างที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ปัจจัตตังผู้ปฏิบัติรู้ได้เฉพาะตนครับสาธุบุญกับท่านท่านทั้งหลาย
     
  10. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    มีหรือ ที่ผู้มีความรู้จนถึงกับว่า อีกฝ่ายไม่เข้าใจเยอะมากนั้น จะไม่สามารถแก้ต่างคำถามของผู้ไม่รู้อย่างนายขันธ์ได้ และ โยนไปให้ถกกับคนอื่น

    ผู้รู้ เมื่อรู้ว่า อีกฝ่ายไม่เข้าใจ จะต้องรู้รอบว่า ที่ไม่เข้าใจนั้นเพราะอะไร ไม่เข้าใจในส่วนใด
    ไม่ใช่ว่า ตนเองแก้ต่างไม่ได้ แล้วพูดแต่ว่า อีกฝ่ายไม่เข้าใจ นั่นเป็นนิสัยกิเลส

    สักแต่พูด เป็น มุสา พูดโดยไม่ได้พิจารณาตามความจริง เพื่อให้ข้อเืท็จจริงบิดเบือนไป เป็นมุสา ผิดศีล 5 เป็นอาจิณกรรม
     
  11. nanakorn

    nanakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    1,075
    ค่าพลัง:
    +155
    โอ๊ย โอ๊ย.... <label for="rb_iconid_15">[​IMG] </label>


    other

    Two way Power ....มันแยกกันไม่ออก การเจริญสติมันมีทั้งสมถะและวิปสนาอยู่
    ในตัวเดียวกันอยู่แล้ว เพียงแต่มันขึ้นมีตอน ที่คุณรสมนพูดเห็นด้วยค่ะ
    ฆาราวาสไม่มีเวลาปฏิบัติ ในพระไตรปิกฏจะระบุเฉพาะพระสงฆ์เท่านั้น
    ฆาราวาส จะใช้วิธีรักษาศีล และเจริญสติในชีวิตประจำวันนี้เท่ากับปฏิบัติตามแนวพุทธ ค่อย ๆ ก้าวเข้าสู่พุทธธะ
    การอ่านพระไตรปิกฏเราต้องใช้โยนิโสด้วย เลือกบทที่เข้ากับตัวเอง ค่อยๆ พัฒนาไปทีละบท จนจบกระบวนความด้วยจิตพุทธะ( ไม่ใช่ความรู้สึก)dont' felling
     
  12. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    เข้าใจหลักใหญ่ๆว่าไงบ้างในพระไตรปิฏก เล่าให้ฟังหน่อย
     
  13. visutto

    visutto เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    3,541
    ค่าพลัง:
    +1,167
    แนวทางด้านการปฏิบัติ เท่าที่ศึกษามา...
    ปัญญาวิมุตติ เป็นการเจริญปัญญา 3 ส่วน สมาธิ 1 ส่วน
    เจโตวิมุตติ เป็นการเจริญสมาธิ 3 ส่วน ปัญญา 1 ส่วน
     
  14. visutto

    visutto เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    3,541
    ค่าพลัง:
    +1,167
    อย่างไรก็ดี...
    บุญกุศลที่สร้างสมอบรมมาดีแล้วในทุกภพชาติ...
    จะชักนำให้พบประสบแนวทางที่ตนเคยอบรมประพฤติแฏิบัติ
    พบเจอครูบาอาจารย์ที่มีบุญวาสนาเคยเอื้อหนุนให้การอบรมด้านจิตใจ
    ขอเราจงตั้งอยู่ในความไม่ประมาท...
    ตั้งใจประพฤติปฏิบัติตามแนวคำสั่งสอนของพระพุทธองค์
    กุศลความดี...จะเป็นเสบียงติดตัวเราไปทุกภพชาติฯ

    ความดีต้องสร้างเอง..ไม่มีใครสร้างให้เราได้..
    เราจะถึงฝั่ง..เราก็ต้องเพียรพยายามเอง..

    ความพากเพียร..เป็นสิ่งที่ครูบาอาจารย์สรรเสริญ..
    หากผู้นั้นมีความตั้งใจประพฤติปฏิบัติ...มีความพากเพียร..
    ผู้นั้น..ก็สมควรที่จะได้รับการสรรเสริญในการตั้งใจประพฤติปฏิบัติฯ
     
  15. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    พระพุทธพจน์...ในพระไตร....ไม่ได้ใช้จำกัดเฉพาะพระสงฆ์.....พระพุทธองค์ไม่เคยตรัษไว้....

    อัศจรรย์....พระพุทธพจน์...ในพระไตร....ไม่ว่าศึกษามามากเท่าไร....ไม่เคยขัดกันเลย...

    แล้วอะไรคือพระสงฆ์ครับ.....พระ...คือผู้ที่ห่มผ้าเหลืองเหรอ....

    ฆราวาส ที่กล่าวว่าไม่มีเวลาปฏิบัติ......คือผู้ที่ไม่เอาจริงเอาจังและไม่รู้วิธีปฏิบัติ....

    เมื่อใดที่มีลมหายใจ.....ปฏิบัติได้ทุกเวลาครับ....เพี่ยงจัดสรรให้ถูกที่ถูกเวลา...เท่านั้น....ถ้าเราปฏิบัติแต่ในวัด...เอาออกมาใช้ไม่ได้.....ก็เท่ากับเกือบไม่ได้ปฏิบัติครับ....เพราะว่าดาบที่ฝนมาใช้กับโลกไม่ได้...ก็จบกัน....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 พฤษภาคม 2009
  16. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    อาจานนิฯครับ ผมขอบอกออกตัวไว้ก่อนนะครับว่า
    ผมไม่ได้มีความคิดแม้สักน้อยว่าจะเข้าข้างใครเพราะชอบหรือชังนะครับ
    ที่มีกล่าวขัดแย้งไปนั้นก็ด้วยฐานะพุทธบุตรที่ตรงต่อจอมศาสดานะครับ

    คุณพูดแบบนี้ไม่ถูกต้องครับว่า
    พวกนั้นเป็นคนแยกสมถะออกจากวิปัสสนา
    คุณกำลังกล่าวร้ายท่านอรรถกถาจารย์อยู่นะครับ
    เพราะพวกท่านเหล่านั้นเป็นผู้รจนาคำว่า สมถะและวิปัสสนาขึ้นมาเองนะครับ
    แต่พวกท่านเหล่านั้นไม่ได้บอกว่าให้แยกกันปฏิบัติได้

    จะมีแต่คณาจารย์ในยุคหลังเท่านั้นเองที่พยายาม
    ที่จะแยกระหว่างสมถะและวิปัสสนาออกจากกันให้ได้
    เพื่อประโยชน์อันใดนั้น ผมมิอาจก้าวล่วง
    แต่จะขอพูดในสิ่งที่ควรหรือไม่ควร เป็นไปได้หรือเป็นไปไม่ได้เท่านั้น
    ส่วนความเชื่อขอยกประโยชน์ให้กับผู้อ่านเองครับ

    คุณรู้จักอรัมณูปนิชฌาน๑. ลักขณูปนิชฌาน๑.ดีพอแล้วหรือครับ
    อรัมณูปณิชฌาน๑. ชื่อก็บอกแล้วนะครับว่า
    ใช้อารมณ์ในการเพียรเพ่ง(ฌาน)
    ในสมาบัติ๘.นั้น มีรูปฌาน๔ มีอรูปฌาน๔
    ในการเข้าถึงฌานเหล่านั้น รูปที่ใช้ต้องเป็นรูปที่ปราศจากกามเท่านั้น
    จึงจะเอามาเป็นอารมณ์ในการเพียรเพ่งได้(รูปฌาน)

    เมื่อปฏิบัติต่อเนื่องจนสติแก่กล้าแล้ว
    รูปที่เคยต้องอาศัยเอาไว้สำหรับเพียรเพ่ง(ฌาน)ก็ไม่ต้องใช้อีกแล้ว
    เพราะรูปเหล่านั้นเป็นอุคคหนิมิต ซึ่งเป็นนิมิตติดตา(อรูปารมณ์)แล้ว
    เพียงแค่นึกน้อม จิตก็รวมลงเป็นสมาธิพร้อมอารมณ์อรูปนั้น
    เป็นเอกัคคตารมณ์ ผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมมาแล้วย่อมรู้ดีว่า
    จิตที่อยู่ในรูปฌานและอรูปฌานนั้นมีวิปัสสนาอยู่ด้วย
    จิตจึงจะเข้าสู่ฌานเหล่านั้นได้ จิตสามารถแยกจากกายได้จริง

    เมื่อถึงขั้นนี้แล้ว สิ่งที่ยังต้องทำต่อเนื่องให้สำเร็จคือ
    จิตต้องพิจารณา(วิปัสสนา)เพื่อให้จิตรู้จักรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    ลงสู่พระไตรลักษณ์ว่านั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา
    โปรดสังเกตให้ดีๆนะครับว่าการจะมาถึงขั้นนี้ได้นั้น
    ต้องผ่านอรัมณูปนิชฌานมาแล้วทั้งสิ้น จึงจะมาพิจารณาลักขณูปนิชฌานได้ผลครับ

    เชื่อผมเถอะครับ คุณอย่าพยายามเอาสิ่งที่เป็นไปไม่ได้
    มาโฆษณาชวนเชื่อเลยครับ
    ก่อนที่จะเชื่ออะไรควรนำมาสมาทานให้เต็มที่ก่อนครับ
    ค่อยเชื่อก็ยังไม่สาย
    แต่คุณเล่นเอาความคิดเห็นส่วนตัวที่ตกผลึกว่าน่าจะเป็นแบบนี้
    มันไม่ใช่สิ่งที่จิตรู้เห็นตามความเป็นจริง

    ในเมื่อคุณเองยังไม่เคยผ่านการปฏิบัติอานาปานสติ
    จนกระทั่งจิตเป็นสัมมาสมาธิตั้งมั่นด้วยลำพังตนเองแยกออกจากกายเด็ดขาด
    คุณย่อมยังไม่รู้จักจิตที่มีคุณภาพแท้จริง(สงบตั้งมั่นไม่หวั่นไหว)
    คุณจะเอาอะไรไปดูอาการจิต เห็นอาการของจิตก็ทึกทักว่าเป็นจิตที่แท้จริง
    หลงติดความคิด ซึ่งเป็นอาการของจิตโดยไม่รู้ตัวเองว่าติดความคิด

    ที่คุณพูดว่า"ฆราวาสเหมาะกับการทำลักขณูปณิชฌาณล้วนๆ" นั่นเอง
    แล้วพระผู้ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ที่ผ่านฌานมามากมาย
    ไม่เหมาะสมกับการพิจารณา “ลักขณูปนิชฌาน”หรือครับ???
    จะพูดอะไร ขออย่าเอาเพียงแค่แพ้ชนะ เอาธรรมะที่ได้จากการสนทนาดีกว่าครับ

    ;aa24
     
  17. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    อาจานนิฯครับ ถ้าคุณแปลคำเหล่านี้เพียงเพื่อเอาชนะ
    ผมคิดว่าอย่าทำเลยครับ ผู้ใหม่อยู่จะเกิดความสับสนได้ง่ายครับ

    คุณรสมนพูดว่า
    “การปฏิบัติธรรมนั้นมีอยู่ด้วยกันหลายวิธีสมาธิแบ่งเป็นสมถะและวิปัสสนา”

    คุณนิฯเห็นหรือยังว่าคุณรสมนพูดถึงสมาธิแบ่งเป็นสมถะและวิปัสสนา
    ก็แสดงว่าทั้งสมถะและวิปัสสนาเป็นสมาธิ
    ขอย้ำๆๆๆๆๆนะครับ ว่าคุณรสมนพูดว่าทั้งสมถะและวิปัสสนาเป็นสมาธิ

    ผมขอยืนยันว่า สมถะคือ อุบายปฏิบัติทำให้จิตสงบตั้งมั่นเป็นสมาธิ
    วิปัสสนา คือ อุบายปฏิบัติทำให้จิตเรืองปัญญา
    รู้จักปล่อยวางอารมณ์ที่มากระทบจิตออกไป
    จนจิตกลับมาสงบตั้งมั่นไม่หวั่นไหวเป็นสมาธิ

    การจะพิจารณารูป-นามลงเป็นไตรลักษณ์ได้นั้น ผู้ใหม่อยู่จำเป็นอย่างยิ่ง
    ต้องปฏิบัติอานาปานสติจนกระทั่งจิตตั้งมั่นเป็นสัมมาสมาธิ
    จิตแยกออกจากกายหรือรูป-นาม โดยเด่นชัด รู้ว่าจิตไม่ใช่ทั้งรูปและนาม
    รูป-นามหรือขันธ์๕เป็นเพียงที่อาศัยของจิตเท่านั้น

    เป็นไปไม่ได้หรอกครับว่า คนที่ยังไม่เคยสัมผัสสภาพจิตที่แท้จริงนั้น
    จะเกิดสภาวะวิปัสสนาขึ้นมาเองเพียงแค่นึกๆคิดๆเท่านั้น
    หรือดูอาการของจิตที่เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปเฉยๆ
    โดยละอาการเหล่านั้นไม่เป็น จะเกิดวิปัสสนาญาณได้

    ;aa24
     
  18. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    อาจานนิฯครับ คุณพยายามสร้างให้เกิดความสับสนมาตั้งแต่ต้นแล้ว
    คงจำได้นะครับว่าคุณพูดเองว่าสมถะยานิกนั้นไม่จำเป็น
    รู้เพียงเล็กๆน้อยๆก็พอ ให้หันมาสนใจแต่วิปัสสนาสานิกเท่านั้นพอ

    จึงมีผู้ที่ไม่เห็นด้วยมากมายโดยเฉพาะฝ่ายปฏิบัติอานาปานสติสายพุธ-โธ
    ของพระอาจารย์ใหญ่มั่น ซึ่งเน้นนักเน้นหนาให้เจริญจิตภาวนาสำเร็จก่อน
    จึงเจริญวิปัสสนาภาวนาสลับกันไปมาเพื่อให้เกิดความคล่องแคล่วรวดเร็ว
    ในการปล่อยวางอารมณ์ที่เข้ามากระทบทางอายตนะทั้ง๖ทาง
    โดยจิตไม่เจือติดอารมณ์เหล่านั้นแม้สักนิดเดียวครับ

    สมถะคือ อุบายปฏิบัติทำให้จิตสงบตั้งมั่นเป็นสมาธิ
    วิปัสสนา คือ อุบายปฏิบัติทำให้จิตเรืองปัญญา
    รู้จักปล่อยวางอารมณ์ที่มากระทบจิตออกไปจนสงบตั้งมั่นไม่หวั่นไหวเป็นสมาธิ

    อาจานนิฯครับ พวกคุณจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเอาหลักการนี้
    ไปถามท่านอาจารย์ก่อนว่ายอมรับหรือไม่ว่า
    จิตสามารถแยกออกจากอารมณ์ได้โดยเด็ดขาด ฉันใด
    เปรียบเสมือนน้ำสะอาดบริสุทธิ์ที่ไม่เจือสิ่งสกปรกเลยฉันนั้น
    หรือจิตสามารถอยู่กับอารมณ์โดยที่ไม่ถูกอารมณ์ฉาบไล้ฉันใด
    เปรียบเสมือน น้ำที่กลิ้งบนใบบัวฉันนั้น

    ;aa24
     
  19. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ที่คุณยกพุทธพจน์มานั้น ผมขอเสนอแนะว่า
    ควรดูด้วยว่า ขึ้นต้นด้วยคำกล่าวอย่างใดเช่น
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้คือพุทธพจน์แน่นอน
    ดูกรอาวุโสทั้งหลาย อ้นนี้เป็นสาวกกล่าว
    ดูกรผู้มีอายุ อันนี้เป็นสาวกกล่าว

    อาจานนิฯ ลองพิจารณาประโยคนี้ให้ดีๆสิครับ ชัดเจนในตัวเองอยู่แล้ว

    “พิจารณาเห็นโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์
    โดยความเป็นอนัตตา ความที่จิตมีการปล่อยธรรมทั้งหลายที่เกิดใน
    วิปัสสนานั้นเป็นอารมณ์”

    ผมขออนุญาต แจกแจงเพื่อเกิดความเข้าใจ
    จะได้ไม่ต้องมาตีความให้เสียเวลาครับ

    ผมเชื่อว่าพวกเราทุกท่านย่อมรู้อยู่แล้วว่า
    สภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตานั้น
    มีกล่าวไว้ในอนัตตลักขณสูตรดังนี้ว่า
    รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนั้น
    ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ นั่นไม่ใช่ตนของเรา

    ความที่จิตรู้เห็นตามความเป็นจริง
    จิตมีการปล่อยวางธรรมทั้งหลายที่เกิดในวิปัสสนาเป็นอารมณ์
    แสดงว่าขณะนั้นจิตว่างจากอุปทานขันธ์ทั้งหลาย
    จิตย่อมสงบตั้งมั่นไม่หวั่นไหวโดยลำพังตนเองครับ

    ;aa24
     
  20. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    คุณรสฯครับ
    ผมเองเคยไปกับเพื่อนที่ศึกษาเป็นลูกศิษย์อาจารย์บุญมี เมธรางกูล ที่วัดโพธิ์
    ยังจำได้เลยว่า ขณะนั้นลูกสาวท่านอาจารย์บุญมี ยังมีการเข้าทรงหลวงพ่อเสือ
    สูบบุหรี่ที่เดียวเป็นกำ มีการแสดงอภินิหารโดยการแทงพระเครื่องออกมาจากผลส้ม
    แจกญาติโยมที่ไปฟังธรรม ผมเองไปอยู่หลายครั้ง ปัจจุบันยังมีเพื่อนอยู่ช่วยมูลนิธิอยู่เลยครับ

    ส่วนท่านอาจารย์สุจินต์นั้น จากความจำนั้น
    ท่านเป็นลูกศิษย์ท่านอาจารย์แนบ มหานีรานนท์

    ที่นี้ผมมีคำสนทนากันระหว่าง ท่านอาจารย์แนบและพระยาโกษา
    กับท่านพระอาจารย์หลวงปู่เปรม เปมังกโร
    ต่อหน้าท่านเจ้าพระคุณอ้วน ติสโส ขณะนั้นดำรงตำแหน่ง เจ้าหนใหญ่ฝ่ายธรรมยุตต์

    ผมขอฝากให้คุณช่วยกลับไปถามท่านอาจารย์ ให้ตอบแทนก็ได้ครับ
    ผมเองก็อยากรู้คำตอบเช่นกัน
    และผมก็ได้ขออนุญาตคุณผู้หญิง “ธรรมะสวนัง”เรียบร้อยแล้วครับ

    จากกระทู้นี้ครับ
    อภิญญา - สมาธิ - PaLungJit.com เธดเธ˜เธฃเธฃเธกเน€เธ‚เธฒเธกเธตเน‚เธฅเธเธธเธ•เธ•เธฃเธˆเธดเธ•-เนเธ•เนˆเธ—เธณเน„เธกเธ™เธดเธžเธžเธฒเธ™เธ‚เธญเธ‡เน€เธ‚เธฒเน„เธกเนˆเธกเธตเธˆเธดเธ•.140811/
     

แชร์หน้านี้

Loading...