ขอถามเรื่อง "เนวสัญญานาสัญญายตน"

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย somemaybe, 4 กุมภาพันธ์ 2010.

  1. Worapong Fu

    Worapong Fu สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2013
    โพสต์:
    17
    ค่าพลัง:
    +22
    อาการ บื้อตื้อ มึนงง ไม่ใช่อาการของผู้เข้าฌาน
    แต่เป็นการสำแดงอาการของ ถีนมิทธะนิวรณ์
    คือ อาการเกียจคร้านทางจิต
    เกิดขึ้นได้เมื่อสัมมาสติไม่กล้าแข็ง
    ผู้คล่องชำนาญในปฐมฌาน
    ย่อมไม่อาการเยี่ยงนี้ ในขณะเข้าฌาน
    (ไม่นับรวมผู้ที่เคยบรรลุฌานแต่ไม่คล่องชำนาญ
    เพราะผู้ไม่คล่องชำนาญในฌาน ย่อมบังเกิดถีนมิทธะได้)
    ส่วนเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน นั้น
    ผู้คล่องชำนาญแล้วย่อมมีสัมมาสติกล้าแข็งเป็นอันมาก
    ย่อมรู้ชัดว่าจิตแห่งตนกำลังเสวยอารมณ์อะไร
    เพียงแค่สัมมาสมาธิละเอียดอ่อนมาก
    จนไม่ปรากฎสัญญา ไม่สามารถเจริญวิปัสสนากรรมฐานได้
    เท่านั้นเอง
     
  2. มะหน่อ

    มะหน่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,652
    ค่าพลัง:
    +1,210
    การไม่มีอะไรเลยแต่ยังมีรู้สึกตัวว่าบื้อนี้
    ขัดกันแต่เบื้องต้นหรือไม่อย่างไรขอรับ

    ทำไมท่านสอนให้เราเข้าไปว่าง
    สามสิบสองกาลามะสูตรท่านเอาไปมองกันเป็นอย่างไร
    ลามก
    ตลก

    หากจิตเราไม่สะอาดสุดๆท่านไปเปื้อนเอาอะไรมาพิจารณาธรรมสังขาร
    หรือสังขารของธรรมที่เราศึกษากันอยู่หรือไม่

    สัญญาณหมดยังเหลือสังขารขอรับแน่นอนกว่าอีก
    ใจสู้อยู่แต่สังขารไปไม่รอด
    ปลงเถอะหนู
    รีบก่อนที่อินทรีย์จะหมด

    ขอท่านเจริญในธรรมยิ่งแล้วขอรับ
     
  3. M_Y

    M_Y เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +220
    เนวสัญญานาสัญญายตนะ ^_^
     
  4. Bull_psi

    Bull_psi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +1,445
    ฌาน คือ การกำหนดอารมณ์ของจิต

    เป็นการสะสมกำลังของจิต จิตมีกำลังก็ตั้งมั่นไม่ไหลตามกิเลส จนถึงขั้นมีฤทธิ์ขึ้นมา

    เป็นสิ่งสมควรฝึก ไม่ต้องไปหวั่นคำคนสั่งสมบารมีงั้นงี้ ต้องมีของเก่าโน้นนี้ โอยไม่มีของเก่าฝึกไปไม่ได้เรื่องนะ แล้วเรื่องในอดีตชาติเราจะรู้หรือ ไม่ต้องฝึกกันพอดี หมดกำลังใจ
    เราก็วางใจไว้ เรามีความเพียร เราจะพิสูจน์คำสอน
    มีศีลธรรม ต้องวิปัสสนา ควบคู่ไปด้วยจะได้เกิดปัญญา

    เวลาวิเศษเกิด เดี๋ยวติดใจ เป็นหมอดูรวย อยากกลับมาเกิดอีกสักร้อยชาติไม่รู้เบื่อ
    ไม่ประหารกิเลสแล้วหนุกหนาน

    ประเด็น งานหลักคือประหารกิเลส
     
  5. Worapong Fu

    Worapong Fu สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2013
    โพสต์:
    17
    ค่าพลัง:
    +22



    อาการบื้อ มึนงง ง่วงซึม
    คือ อาการของถีนมิทธนิวรณ์
    หากถีนมิทธนิวรณ์สำแดงอาการ ผู้บำเพ็ญเพียรย่อมไม่มีใจจดจ่ออยู่กับนิมิตอารมณ์กรรมฐาน (ในกรณีอานาปานสติ นิมิตอารมณ์กรรมฐานก็คือลมหายใจ)
    เมื่อเป็นเช่นนี้ สัมมาสติย่อมไม่ตั้งมั่น
    จะมีอาการคล้ายๆ หลับใน กึ่งหลับกึ่งตื่น
    หากเป็นหนักๆ เมื่อลุกจากสมาธิก็จะมีอาการงงงวย
    ถีนมิทธะนี้ เกิดขึ้นได้เพราะอินทรีย์แห่งสติของผู้บำเพ็ญเพียรย่อหย่อน
    อาการเช่นนี้เกิดขึ้นได้แม้กับผู้บรรลุฌานชั้นสูง
    เช่น หากผู้บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน
    ปรารถนาบำเพ็ญเพียรเพื่อบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
    ในช่วงแรกๆ ของการบำเพ็ญเพียร
    เพราะความไม่คล่องชำนาญในเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
    สัมมาสติของผู้บำเพ็ญเพียรย่อมสั่นไหว
    ถีนมิทธะก็ย่อมสำแดงอาการออกมาได้
    ดังเช่นพระโมคคัลลานะเถรเจ้า ในคราวที่ท่านบำเพ็ญเพียรเพื่อการบรรลุธรรม

    ในชั้นหลัง สมณเพศบางกลุ่มมักเรียก ภวังคจิต
    คำว่า ภวังคจิต นี้เริ่มใช้โดยพระพุทธโฆษาจารย์ ปรากฎในคัมภีร์วิสุทธิมรรค
    เนื่องจากคัมภีร์นี้เป็นที่แพร่หลายมาก
    (ในบ้านเราบรรจุคัมภีร์นี้ลงในหลักสูตรเปรียญของมหาเถรสมาคม)
    คำว่า ภวังคจิต จึงเป็นที่กล่าวขาน
    ว่าเป็นสภาวธรรมชั้นสูง
    หารู้กันไม่ แท้แล้ว คำคำนี้ ไม่ได้บัญญัติโดยพระพุทธองค์
    ไม่มีในพระไตรปิฎก
    แท้แล้ว ภวังคจิต หรือ อาการง่วงซึม หรือ ถีนมิทธะนี้
    เป็นเพียงแค่สิ่งขัดขวางความเจริญของจิต
    ไม่ใช่สิ่งอันเป็นกุศลชั้นสูงแต่อย่างใด
    ย่อมเทียบกันไม่ได้กับสภาวธรรมในเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน

    ผู้บำเพ็ญเพียรที่คล่องชำนาญในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานแล้ว
    ย่อมมีสัมมาสติอันตั้งมั่น
    สัมมาสมาธิละเอียดอ่อนยิ่งนัก
    สัญญาจึงไม่ปรากฎออกมา
    ผู้บำเพ็ญเพียรย่อมมีอาการรู้ตัวทั่วพร้อมว่า
    "นี่คือความสงบ นี่คืออาการแห่งการหมดสัญญา
    นี่คือสัมมาสมาธิในระดับเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน"

    เป็นดังนี้
     
  6. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    อุทกดาบส หากผมจำไม่ผิด
    ท่านเป็นผู้ คล่อง ได้ สมาบัติ ที่เรียกว่า

    เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
    มีข้อสังเกตุว่า

    เขามี สัมมาสติหรือเปล่า เขามีสัมมาสมาธิหรือเปล่า
     
  7. Worapong Fu

    Worapong Fu สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2013
    โพสต์:
    17
    ค่าพลัง:
    +22


    เพื่อความเข้าใจที่แตกฉานยิ่งขึ้น
    ขออธิบายเพิ่มเติมอย่างละเอียดนะครับ
    ทั้งประเด็นของ อาการบื้อ มึนงง และ คำว่าสัมมาสติ

    ในการบำเพ็ญเพียรนั่งสมาธิภาวนา
    หากเราเริ่มด้วยอานาปานสติ
    เราย่อมมีลมหายใจเป็นนิมิตอารมณ์กรรมฐาน
    เราย่อมมี วิตก วิจาร
    (วิตก คือ การยกจิตขึ้นสู่อารมณ์กรรมฐาน
    วิจาร คือ ความต่อเนื่องของวิตก
    พูดง่ายๆ... วิตก วิจาร ก็คือ การตั้งสติไว้กับนิมิตอารมณ์กรรมฐานนั่นเอง)
    เมื่อวิตก วิจาร เกิด... สัมมาสติ ย่อมเกิด...
    สัมมาสติ คือ ความตั้งมั่นของจิตอยู่ที่นิมิตอารมณ์กรรมฐาน
    อันมีความสงบระงับและความหลุดพ้นเป็นประธาน
    เป็นสติอันเป็นไปเพื่อความสงบและความหลุดพ้น
    ย่อมเจริญขึ้นตั้งมั่นขึ้น เป็นลำดับไป ตามแต่ความละเอียดประณีตของจิต
    สัมมาสตินี้ จะเจริญพร้อมบริบูรณ์ในเฉพาะพระอรหันต์เท่านั้น

    เมื่อมีวิตก วิจาร และสัมมาสติ
    สัมมาสมาธิย่อมเกิด
    สัมมาสมาธินี้ เมื่อก้าวหน้าแล้ว
    เมื่อเวลาเนิ่นนานผ่านไป อาจแรมเดือน แรมปี หรือข้ามภพ ข้ามชาติ
    ย่อมเจริญตั้งมั่นขึ้นตามลำดับขั้น เป็น
    ปฐมฌาน ทุติยฌาน... จนถึงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน

    เมื่อจิตมีความเจริญจนถึงจตุตถฌาน
    มีความคล่องชำนาญแล้วในจตุตถฌาน
    หากผู้บำเพ็ญเพียรปรารถนาในความสงบยิ่งขึ้นไป
    ผู้บำเพ็ญเพียร ย่อมมนสิการ ไปในสภาวะของ "อากาศธาตุ"
    (อากาศธาตุ คือ ความว่างเปล่า)
    (มนสิการ คือ การน้อมใจ การรำลึก... เช่น รำลึกถึงเรื่องราวในวัยเด็ก เป็นต้น
    แต่การมนสิการไปใน อากาศธาตุ อย่างลึกซึ้งเช่นนี้ ย่อมทำได้เฉพาะ
    ผู้ที่คล่องชำนาญในจตุตถฌานแล้วเท่านั้น... คนธรรมดารำลึกถึงอากาศธาตุ
    ได้แค่เพียงระดับนึง แต่ไม่ลึกซึ้ง)
    ผู้บำเพ็ญเพียร ย่อมละทิ้งลมหายใจอันเป็นนิมิตอารมณ์กรรมฐานเดิม
    มาเป็นนิมิตอารมณ์กรรมฐานใหม่คือ อากาศธาตุ
    เมื่อมนสิการ เช่นนี้แล้ว
    สัมมาสติย่อมเกิด
    คือ เกิดความตั้งมั่นของจิตในการมนสิการถึง อากาศธาตุ
    สัมมาสตินี้ แม้ได้ชื่อว่าเป็นสติอันเป็นไปเพื่อความหลุดพ้น
    แค่ก็ยังไม่เจริญพร้อมบริบูรณ์
    ผู้บำเพ็ญเพียรจึงยังมีโอกาส หลงติดในฌานแห่งตนได้
    แต่แน่นอนสัมมาสติแบบนี้ ย่อมเป็นสัมมาสติที่กล้าแข็ง
    และย่อมกล้าแข็งมากกว่าบุคคลธรรมดา ผู้ไม่เคยบรรลุฌาน

    ในอรูปฌาน 4 ลำดับ
    มีนิมิตอารมณ์กรรมฐาน เป็นดังนี้
    1) อากาสานัญจายตนฌาน มี อากาศธาตุ เป็นนิมิตฯ
    2) วิญญาณัญจายตนฌาน มี สภาวะการรับรู้ไม่มีขอบเขต เป็นนิมิตฯ
    3) อากิญจัญญายตนฌาน มี สภาวะการไม่รับรู้สิ่งใดๆ เป็นนิมิตฯ
    4) เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน มี สภาวะการไม่มีสัญญาเป็นนิมิตฯ

    สัมมาสติในเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
    ย่อมกล้าแข็งมากที่สุดเมื่อเทียบกับสัมมาสติในฌานทั้งหลาย
    แน่นอนว่า ย่อมกล้าแข็งกว่าผู้ที่ไม่เคยสำเร็จฌาน
    แต่ต้องเข้าใจว่า ผู้บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน นั้น
    อาจไม่จำเป็นต้องเป็นพระอรหันต์
    ดังนั้น สัมมาสติในเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน จึงยังไม่เจริญพร้อมบริบูรณ์
    ผู้บำเพ็ญเพียรจึงมีโอกาสติดขัดอยู่ในฌานแห่งตนได้

    นอกจากนี้ ที่ว่าเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น
    มีสภาวะการไม่มีสัญญาเป็นนิมิตฯ
    เช่นนี้ ก็ไม่ได้หมายความว่า จะไม่มีการรับรู้อะไรเลย
    สภาวธรรมทางจิตของผู้อยู่ในเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
    ย่อมรับรู้ได้ถึง สัมมาสติ สัมมาสมาธิแห่งตน
    ย่อมรับรู้ได้ถึง อุเบกขา และเอกัคตาแห่งตน
    เพียงแต่ไม่สามารถน้อมไปในสัญญาอื่นๆ ได้ เท่านั้นเอง
    (สัญญา คือ ความทรงจำแห่งใจ... หลักธรรมทั้งหลาย
    ที่เคยศึกษาเล่าเรียนมา อันนี้ก็ถือว่าเป็นสัญญา...
    ดังนั้น ในฌานนี้ ผู้บำเพ็ญเพียรจึงไม่สามารถเจริญวิปัสสนาได้
    เพราะ ไม่สามารถน้อมไปในสัญญาของหลักธรรมทั้งหลายได้นั่นเอง)

    แม้ในอากิญจัญญายตนฌานก็เช่นกัน
    ผู้บำเพ็ญเพียรมีสภาวะการไม่รับรู้สิ่งใดๆ เป็นนิมิตฯ
    แต่ถึงอย่างนั้น ก็ยังรับรู้ได้ถึง สัมมาสติ สัมมาสมาธิ
    และย่อมรับรู้ได้ถึง อุเบกขา และเอกัคตาแห่งตน
    เพียงแต่ไม่สามารถน้อมใจไปเพื่อรับรู้สิ่งอื่นๆ เท่านั้นเอง

    เป็นไปได้ที่ผู้บำเพ็ญเพียรจะมีอาการ บื้อ มึนงง หรือหลับใน
    ในระหว่างการบำเพ็ญเพียร
    คือในช่วงที่จะกำลังก้าวพ้นจากฌานหนึ่งไปยังอีกฌานหนึ่ง
    ในฌานใหม่ ผู้บำเพ็ญเพียรย่อมไม่มีความคล่องชำนาญ
    การมนสิการไปในนิมิตฯ ก็ยังทำได้ไม่ชัดเจน
    ด้วยเหตุนี้ สัมมาสติ จึงสั่นไหว
    จึงเกิดอาการหลับใน
    ดังเช่นที่พระโมคคัลนะเถรเจ้า
    ได้เคยประสบมาแล้ว ในระหว่างที่ท่านบำเพ็ญเพียร ก่อนการบรรลุธรรม
    แต่เมื่อความคล่องชำนาญในฌานนั้นๆ ได้เกิดขึ้นแล้ว
    จิตย่อมเสวยอารมณ์ของสัมมาสติ สัมมาสมาธิ และเอกัคตาแห่งจิต
    ไม่เป็นอื่น

    นี้แล เนวสัญญานาสัญญายตนฌานที่แท้
    หาได้เป็นความบื้อ มึนงง ดังที่บุคคลทั้งหลาย กล่าวอ้างไม่
     
  8. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846

    สรุป คือ เนวะสัญญานาสัยญายตนะ ของท่าน อุทกดาบส

    ท่าน มีสัมมาสติ และสัมมาสมาธิ ใช่หรือไม่ครับ
     
  9. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    ถูกต้องเเล้วละ
    พระองค์เรียนจากสำนัก อาฬารดาบส เเละ อุทกดาบส สำเร็จฌาน8 กับ9
    พระองค์ก็ยังไม่เห็นว่าเป็นการพ้นทุกข์เพียงเเต่จะได้ไปเกิดในภพของสมาธินั้นๆ
    ต่อมาได้ทรกายจากทุกกิริยา เพื่อค้นหาสัจจะ จนร่างกายหรือสมณะใครก็ตามเสวยเวทนาเผ็ดร้อนอัดเกิดจากความเพียร ยิ่งไปกว่านี้ ไม่มี พระองค์ก็ระลึกสมัยนั้น งานเเรกนาบิดาได้เข้าปฐมฌาน. เพราะสงัดจากกามและอกุศลธรรม วิญญาณอันเเล่นไปว่านี้เเหล่ะหนทางแห่งการตรัสรู้ พระองค์จึงใช้ฌานนี้เเละในการตรัสรู้ เพราะรู้ว่าเป็นสิ่งที่ไม่ควรกลัว

    คราวนี้ถ้าบอกว่าเขามีสัมมาสมาธิหรือ. ก็ต้องบอกว่าถูกเเล้ว
    พระองค์ตรัสว่าธรรม4อย่างบทนี้ ที่เลิสมานานเเล้ว อย่าง สัมมาสติ เเละ สัมมาสมาธิ
    เเต่ในความเป็นจริงผมคิดว่า สัมมาทิฏฐินี้เเละสำคัญที่สุด เพราะหลังจากการตรัสรู้ครั้งเเรกที่จะสอนคือ2สำนักนี้
     
  10. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    มีเหตุผลที่ควรสังเกตุไหม

    ที่ มรรค 8
    พระองค์กล่าว สัมมาทิฐิ เป็นอันดับแรก

    มี สัมมาสมาธิ เป็นอันดับสุดท้าย ทำไมจึงกล่าวเช่นนั้น
     
  11. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    เคยเจอที่ตรัสว่าเมื่อสัมมาทิฏฐิผิด. อย่างอื่นก็ตามกันไปหมด คือหนทางเพื่อทำให้หลุดพ้นนั้นไปหมด เเต่คิดว่าไม่น่าเกียวที่จัดอะไรขึ้นก่อนขึ้นหลัง เพราะยังไงก็ต้องใช้มรรค8อย่างนี้เพื่อความพ้นทุกข์
     
  12. Worapong Fu

    Worapong Fu สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2013
    โพสต์:
    17
    ค่าพลัง:
    +22

    สัมมาสมาธิ คือ การเสวยอารมณ์แห่งจิตเพียงอารมณ์เดียว
    อันเป็นไปเพื่อความสงบ ความหลุดพ้น (เช่น การเข้าฌานของพระอรหันต์)

    โลกียสมาธิ คือ การเสวยอารมณ์แห่งจิตเพียงอารมณ์เดียว
    อันเป็นไปเพื่อหน้าที่และภาระทางโลก (เช่น การมีสมาธิในการขับรถ)

    มิจฉาสมาธิ คือ การเสวยอารมณ์แห่งจิตเพียงอารมณ์เดียว
    อันเป็นไปเพื่อการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏสงสาร
    (เช่น การเข้าฌานของหมอผีเพื่อฝึกมนต์ดำ)

    จะตัดสินว่าเป็นสมาธิแบบใด ต้องดูที่เจตนา

    พระโมคคัลลานเถรเจ้าในสมัยยังไม่ตรัสรู้ กับท่านอุทกดาบส
    ทั้งสองท่านเข้าเวสัญญานาสัญญายตนฌานเหมือนกัน
    พระโมคคัลนะเข้าฌานนี้เพื่อการรู้พร้อมเฉพาะซึ่งฌานนี้
    เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด
    เมื่อรู้พร้อมเฉพาะในฌานนี้แล้วจึง มองเห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ของฌานนี้
    ในระดับปรมัตถสภาวธรรม
    จึงบรรลุเป็นพระอรหันต์ ไม่กลับมาเวียนเกิดในวัฏฏสงสาร
    เช่นนี้ เราจึงเรียกว่าเป็น สัมมาสมาธิ

    แต่ท่านอุทกดาบส ท่านเข้าฌานนี้ด้วยเห็นว่าฌานนี้สงบ
    ที่แห่งอื่นแห่งใดก็ไม่น่าปรารถนาเท่า
    ด้วยเหตุนี้ เมื่อละสังขารแล้ว
    ท่านจึงไปเกิด ณ เนวสัญญานาสัญญายตนภพ
    เป็นการเวียนเกิดในวัฏฏสงสาร
    เมื่อหมดบุญแล้ว ย่อมต้องเวียนว่ายตายเกิดต่อไปอีกในภพภูมิอื่นๆ
    เช่นนี้ เราจึงเรียกว่าเป็น มิจฉาสมาธิ

    แต่ถึงกระนั้น
    เพราะท่านอุทกดาบสมีความคล่องชำนาญในเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
    เมื่อท่านเข้าฌานนี้
    ย่อมไม่เกิดอาการหลับใน
    ท่านย่อมมีจิตรับรู้ถึง อุเบกขา เอกัคตา สติ และสมาธิ
    แต่สติและสมาธิที่จิตท่านเสวยอยู่นั้น
    เป็นสติและสมาธิอันเป็นไปเพื่อการเวียนเกิด
    หรือมิจฉาสติ มิจฉาสมาธินั่นเอง
     
  13. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    พระพุทธองค์ ตรัสไม่ผิดหรอก

    สำคัญที่ ว่า ได้ฟัง วิธีที่ถูกต้องหรือยัง แล้วจึงลงมือ

    เมื่อไม่ได้ฟัง วิธีทำที่ถูกต้อง มันก็จำหัวจับหางไม่ถูก

    หากอุทกดาบส มีสัมมาสมาธิ จริง
    ผมว่า ท่าน บรรลุธรรมไปแล้ว
    เมื่อ มรรค 8 รวมเป็นหนึ่งความตั่งมั่นแห่งมรรค
    สัมมาสมาธิ จะแวดล้อมด้วย มรรค 7เป็น บริขาร
    นั่นก็คือ จะรวมมรรค 8เป็นหนึ่ง

    จึงเรียกว่า เอกายโนมรรคโค
    หากรวม มรรคเป็นหนึ่งไม่ได้ มัชฌิมาปฏิปทาก็ไม่เกิด

    ลองไปดู ที่พระพุทธเจ้า อธิบายซิ สัมมาทิฐิเป็นไฉน
     
  14. Worapong Fu

    Worapong Fu สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2013
    โพสต์:
    17
    ค่าพลัง:
    +22

    ยังมีอีก คือ...

    ผู้บำเพ็ญเพียรบ้างคน
    บำเพ็ญเพียรฌานสมาบัติ
    บำเพ็ญเพียรเพื่อว่า
    สักภพชาติหนึ่ง จะได้พบกับธรรมะที่แท้
    ได้ปฏิบัติธรรมะที่แท้ตามรอยพระพุทธองค์
    เพื่อถึงซึ่งมรรคผลนิพพาน
    แต่บำเพ็ญเพียร บรรลุเพียงปฐมฌาน
    ยังมีกิเลสเป็นเชื้อแห่งการเวียนเกิดอยู่
    เมื่อละสังขาร เขาก็ย่อมเวียนว่ายตายเกิดอยู่
    แต่สมาธิแบบนี้ ยังนับว่าเป็น สัมมาสมาธิ
    เพียงแต่เป็นสัมมาสมาธิที่ไม่พร้อมบริบูรณ์
    เหมือนกับพระอรหันต์ทั้งหลาย เท่านั้นเอง

    จะเป็นสมาธิแบบใด... ตัดสินที่เจตนา
     
  15. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ถามหน่อยซิครับ

    ผลแห่งการรู้แจ้ง ใช่ การเห็น รู้แจ้งแทง ตลอด
    ถึง
    ไตรลักษณะหรือเปล่าครับ


    ถ้าใช่นะ

    ที่กล่าวว่า สัมมาสมาธิ รู้แต่เพียงอารมณ์เดียว

    มีข้อสังเกตุว่า อารมณ์เดียว มันบ่งบอกได้ถึงไตรลักษณ์ได้ยังไง

    ในเมื่อ มันรู้แต่ สิ่งสิ่งเดียว อารมณ์เดียว
    มันจะเอาอะไรไป แจ้ง แทง ตลอด ด้วยคำว่า

    อนิจจังไม่เที่ยง
    ทุกขังเป็นทุข์ ทนไม่ได้
    อนัตตาไม่ตัวตน

    ในเมื่อมันรู้แต่อารมณ์เดียว
     
  16. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419

    ไม่ทราบว่าหาจากไหนบ้างนะ เเต่ตรงที่น่าสนใจ มีผู้บรรลุธรรมก่อนศาสดาได้อย่างไร พระองค์พึงตรัสรู้นี้ 2สำนักก็พึงทำกาละไป เเละ การตามเห็นสภาวะอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา. ไม่ใช่ว่าจะเห็นได้ง่ายๆนะครับ. คุณต้องทบทวนอีกเยอะเลยอีก10ปี ผมก็ว่ายังไม่สาย. บทธรรมนี้ดูง่ายๆเเต่เหตุที่บัญญัติขึ้นต้องระเอียดจริงๆ จนเเน่ใจว่า ขันธ์5 ทั้งหมด สังขตธรรม สังขารทั่งหลาย ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เเละต้องรู้ครับใครบัญญัติอย่างเช่นข้อวัตร บาตรจีวร ใช่หลวงพ่อ ใช่หลวงอา ปะครับ ทั้งหมดนี้ของพระศาสดาทั้งหมดเเละครับ รวมถึง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เเล้วอีกอย่างเพ่งเนี่ยให้ดูอะไรครับ สมาธิภาวนาเพื่อสิ้นอาสวะคืออะไร. หรืือ บุคคลผู้รู้อยู่เห็นอยู่อะไรถึงจะสิ้นอาสวะ. หรือว่าอวิชชาคืออะไร. คือความไม่รู้เหตุเกิดความดับขันธ์ 5 ถ้าบอกว่าพระโมลคัลลาบรรลุธรรมโดยการเพ่งอะไรก็ไม่รู้. บอกคนอื่นตนเองยังไม่รู้ นี้ผิดลูดยาวไปเลยนะครับนิ พระโมคัลลานะบรรลุธรรมผมพอจำได้เเต่ว่ามีพระศาสดาบอกอยู่ใกล้ๆ. ไม่ใช่หรือครับ
     
  17. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ผมเข้าใจ ว่า เจตนา ของ ท่านอุทกดาบส และ ท่านอาราฬดาบส

    ท่าน มีเจตนา ต้องการพ้นทุกข์ด้วยกันทั้งนั้น

    เพียงแต่ ว่า ท่านไม่รู้เรื่องมรรคไม่รู้เรื่องทางที่จะปฏิบัติ
    มีความเห็นผิด เข้าใจผิด ว่า สิ่งที่ทำนี้ เป็น สิ่งที่ทำให้พ้นทุกข์

    อันนี้จึงเรียกว่า ยังเป็น มิจฉาทิฐิอยู่

    ส่วนนี้ สังเกตุให้ได้ทราบว่า
    แม้ มิจฉาทิฐิ ที่ ท่านอุทกดาบสและอาราฬดาบสท่านปฏิบัตินั้น
    ก็ยังเป็นผลกรรมวิบาก ให้ไปเสวยสุคติ
    อันเป็น อรูปพรหมเป็นต้น


    ทีนี้ หลายๆ คนที่มีทำสมาธิด้วยเจตนาจะพ้น ทุกข์
    จึงสำคัญที่ว่า ได้ฟัง มรรคปฏิปทา ที่สมบูรณ์หรือยัง

    นั่นคือ ต้องได้ฟังได้เรียนรู้วิธี ที่เป็นมรรคปฏิปทา ที่สมบูรณ์เสียก่อน
    แล้วจึงปฏิบัติ ก็จะได้ หลักที่แน่วแน่มั่นคง


    ฉะนั้น แล้ว เนวสัญญานาสัญญายตนะ
    ของท่าน อุทกดาบสและท่านอารฬดาบส จึงไม่มีสัมมาสติไม่มีสัมมาสมาธิ
     
  18. Worapong Fu

    Worapong Fu สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2013
    โพสต์:
    17
    ค่าพลัง:
    +22


    คำว่ารู้อารมณ์เดียว... คำนี้เป็นเพียงอักษรภาษา
    แต่รายละเอียดย่อมมีมากกว่านั้นครับ
    ต่อไปนี้ ผมจะแสดงวิธีการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน
    ขณะอยู่ในฌานสมาบัติ

    เมื่อผู้บำเพ็ญเพียรดำรงจิตแห่งตนอยู่ในฌานสมาบัติทั้งหลาย
    (ยกเว้นเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
    เพราะในฌานนี้ จะน้อมไปในสัญญาทั้งหลายไม่ได้)
    จิตของผู้บำเพ็ญเพียรย่อมเสวยอารมณ์เดียว
    อารมณ์นั้น คือ อารมณ์ที่ตั้งมั่นจดจ่ออยู่กับนิมิตอารมณ์กรรมฐาน
    เมื่อจิตเป็นสมาธิดีแล้ว
    อานิสงค์แห่งสมาธิ ย่อมส่งให้จิตของผู้บำเพ็ญเพียรละเอียดอ่อนโยน
    ควรแก่การงาน
    ในวาระนั้น ผู้บำเพ็ญเพียรย่อม มนสิการไปในสัญญาต่างๆ ได้
    แม้น้อมไปยังสัญญาเยี่ยงใด
    จิตก็ยังสงบตั้งมั่น (แต่หากยังไม่คล่องชำนาญในฌาน
    การมนสิการเยี่ยงนี้ ย่อมเป็นเหตุให้จิตสั่นไหว
    และละทิ้งจากนิมิตอารมณ์กรรมฐาน)
    หากผู้บำเพ็ญเพียรน้อมไปใน หลักธรรมแท้ของพระพุทธองค์
    น้อมไปในอนิจัง ทุกขัง อนัตตา...
    เช่นนี้ เราก็เรียกว่า วิปัสสนากรรมฐาน

    ผู้คล่องชำนาญในจตุตถฌาน
    เมื่อปรารถนาแสดงอภิญญาก็ต้องมีการ มนสิการ เยี่ยงนี้
    หากดำรงวาระจิตอยู่ในฌานเพียงอย่างเดียว
    เสวยอารมณ์ของสมาธิเพียงอย่างเดียว
    ย่อมได้รับแต่เพียงความสงบเท่านั้น

    สรุปว่า เสวยอารมณ์เดียวนั้นเป็นภาษาอักษร
    สภาวธรรมที่แท้ที่เกิดขึ้นก็เป็นไปตามที่อธิบายข้างต้น
     
  19. Worapong Fu

    Worapong Fu สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2013
    โพสต์:
    17
    ค่าพลัง:
    +22

    ถูกต้องแล้วพระโมคคัลานะ บรรลุธรรมโดยมีพระพุทธองค์เมตตา
    ส่วนท่านอุทกดาบส เสียชีวิตหลังจากพระพุทธองค์ตรัสรู้
    ที่ว่าทั้งสองท่านเข้าฌานเหมือนกัน หมายถึงว่า
    เป็นเนวสัญญานาสัญญายตนฌานเหมือนกัน แต่ต่างเวลากันครับ
     
  20. ผ่านมาเฉยๆ

    ผ่านมาเฉยๆ ไรเซ็นมันพูดว่าอะไรหว่า

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    947
    ค่าพลัง:
    +1,210
    เคยภาวนาจนเหมือนหลับมั้ยแต่รู้ตัวอยู่นั่นแหละ และจิตจะจมแช่อยู่แค่นั้นเลยปรุงแต่งสังขารอะไรไม่ได้
     

แชร์หน้านี้

Loading...