คาถา บูชาเสด็จเตี่ย (กรมหลวงชุมพร) - เอื้ออังกูร

ในห้อง 'รวมบทสวดมนต์และคาถา' ตั้งกระทู้โดย torphak, 1 กุมภาพันธ์ 2021.

  1. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 สิงหาคม 2021
  2. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
  3. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 สิงหาคม 2021
  4. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    … ทำงานทำจริงเจ้า จงทำ
    ระหว่างเล่นควรจำ เล่นแท้ …


    นี่คือตอนหนึ่งในบทร้อยกรองคำสอนสำหรับพระโอรสธิดา ที่พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ทรงนิพนธ์ด้วยพระองค์เอง และได้รับการบันทึกสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

    ไม่มีใครสามารถล่วงรู้ได้ชัดเจน ถึงแรงบันดาลพระหฤทัยในการทรงนิพนธ์ร้อยกรองบทนี้ จึงไม่มีใครบอกได้ว่า เป็นผลจากความบังเอิญหรือทรงตั้งพระทัย ที่ความหมายใน “กลอนสอนใจ” จากพระองค์ สอดคล้องต้องกันกับพระคาถาในตราประจำพระองค์ที่ว่า กยิรา เจ กยิราเถนํ – จะทำสิ่งไร ควรทำจริง

    ลองอ่านพระนิพนธ์นี้ทั้งหมดกันดูสักครั้ง

    ทำงานทำจริงเจ้า จงทำ
    ระหว่างเล่นควรจำ เล่นแท้
    หนทางเช่นนี้แล เป็นสุข
    ก่อให้เกิดรื่นเริง นับมื้อ ทวีคูณ


    ทุกสิ่งที่ทำนั้น ควรตรอง
    โดยแน่สุดทำนอง ที่รู้
    สิ่งใดทำเป็นลอง ครึ่ง ๆ
    สิ่งนั้นไม่ควรกู้ ก่อให้ เป็นจริง


    HRH-Poetics-00-1-1024x774.jpg
    นอกจากร้อยกรองในภาษาไทย กรมหลวงชุมพรฯ ยังทรงนิพนธ์ร้อยกรองภาษาอังกฤษด้วยฉันทลักษณ์ง่าย ๆ ควบคู่กันไว้ด้วย

    Work while you work
    Play while you play
    That is the way
    To be cheerful and gay


    All that you do
    Do with your might
    Things done by half
    Are never done right


    ความเรียบง่ายของฉันทลักษณ์เป็นเรื่องที่เราในปัจจุบันสามารถเข้าใจได้ชัดเจน เมื่อคำนึงถึงพระประสงค์ที่ว่า ทรงนิพนธ์สำหรับเป็นกลอนสอนใจเด็ก ๆ แต่ใครจะปฏิเสธว่า ในความง่ายนี้ มีชั้นเชิงความงามทางวรรณศิลป์แฝงอยู่ด้วย

    HRH-Poetics-01-1024x683.jpg
    ลองอ่านพระนิพนธ์ “โคลงแต่งให้ลูกท่อง” อีกสักชุด


    ๑. ตอกตะปูลงตรง นะเจ้าเด็ก
    เสียงเป๊กตีตรง ลงที่หัว
    เมื่อเจ้าตีเหล็กนะเจ้าเด็ก เจ้าอย่ากลัว
    ตีเมื่อตัวเหล็กยังแดง เป็นแสงไฟ


    ๒. เมื่องานมีที่ต้องทำ นะเจ้าเด็ก
    เป็นข้อเอกทำจริง ไม่ทิ้งไถล
    ที่เขาขึ้นยอดได้ สบายใจ
    ก็เพราะได้ปีนเดิน ขึ้นเนินมา


    ๓. ถ้าเด็กใดยืนแช อยู่แต่ล่าง
    แหงนคว้างมองแล สู่เวหา
    จะขึ้นได้อย่างไร นะลูกยา
    ทำแต่ท่าแต่ไม่ลอง ทำนองปีน


    ๔. ถึงหกล้มหกลุก นะลูกแก้ว
    อย่าทำแซ่วเสียใจ ไม่ถวิล
    ลองเถิดลองอีกนะ อย่าราคิน
    ที่สุดสิ้นเจ้าคงสม อารมณ์เอย


    พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ทรงเคยถ่อมพระองค์เกี่ยวกับพระปรีชาทางภาษาเอาไว้ ปรากฏอยู่ในลายพระหัตถ์กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวไปพร้อมกับพระนิพนธ์ “ยุทธศาสตร์ทะเล” ที่ว่า “… โวหารภาษาไทยของข้าพระพุทธเจ้า … เลวอย่างที่สุด …

    แต่ในพระนิพนธ์ร้อยกรองต่าง ๆ เราสามารถเห็นถึงความงามทางวรรณศิลป์อันมีแบบฉบับเป็นเอกลักษณ์ อย่างที่อาจจะเรียกได้ว่า “วรรณศิลป์สไตล์กรมหลวงชุมพรฯ”

    HRH-Poetics-07-1024x683.jpg
    วรรณศิลป์สไตล์กรมหลวงชุมพรฯ คือการใช้ภาษาอย่างสะท้อนบุคลิกทหาร เด็ดขาด คมชัด กระชับ ตรงประเด็น ใช้คำง่าย คนวงกว้างสามารถเข้าใจและ “ถึงใจ” ได้ทันที

    ลองดูอีกตัวอย่างวรรณศิลป์สไตล์กรมหลวงชุมพรฯ ในพระนิพนธ์อีกบท ซึ่งในที่สุดก็ได้กลายเป็นบทเพลงอมตะมาถึงทุกวันนี้

    … เกิดมาทั้งที มันก็ดีอยู่แต่เมื่อเป็น
    อีกสามร้อยปี ก็ไม่มีใครจะเห็น
    ใครจะนึกใครจะฝัน เขาก็ลืมกันเหมือนตัวเล็น …


    ใครบ้างจะเถียงว่า ลีลาภาษาในพระนิพนธ์นี้มีบุคลิกเฉพาะตัว ทั้งคมชัด ง่าย และโดนใจ ยิ่งถ้าหากลองจินตนาการนึกย้อนไปเมื่อกว่าศตวรรษก่อน ตอนที่พระนิพนธ์นี้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก ท่ามกลางบริบทของวรรณศิลป์ร่วมยุคสมัยโดยผู้ประพันธ์ท่านอื่น ๆ ในสไตล์ “… ปางราชดาบศไท้ ชนกนาม นากุฏิพนาราม ป่ากว้าง แต่ฝังบุตรีงาม งำเงื่อน ไว้เฮย กลับนิยมศีลสร้าง พรตพร้อมพรมจรรย์ ฯ …” ก็คงไม่น่าแปลกใจ หากคนไม่น้อยในสมัยนั้นจะรู้สึกว่าพระนิพนธ์ในกรมหลวงชุมพรฯ มีความ “เท่” และ “คูล”

    HRH-Poetics-09-1-1024x683.jpg
    เมื่อ 20 ปีก่อน เคยมีผู้ศึกษาวิจัยเรื่องพระนิพนธ์ในกรมหลวงชุมพรฯ ไว้อย่างจริงจัง ผลลัพธ์คือวิทยานิพนธ์เรื่อง “การศึกษาบทเพลงทหารเรือในพระนิพนธ์ พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์” ตามหลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวัฒนธรรมศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ปีการศึกษา 2540

    ผศ.ดร.รังสิพันธุ์ แข็งขัน ผู้วิจัยและเรียบเรียงวิทยานิพนธ์ดังกล่าว ได้เคยชี้ความน่าสนใจของพระนิพนธ์เพลง … เกิดมาทั้งที มันก็ดีอยู่แต่เมื่อเป็น … ซึ่งปัจจุบันเรียกกันว่าเพลง “เดินหน้า” เอาไว้ว่า

    “… จากแนวคิดในการสร้างงานศิลปะ มันก็มีอยู่ 3 ด้าน คือในด้านที่ศิลปะเป็นตัวแทนแสดงภาพลักษณ์หรือความหมายอะไรบางอย่าง ศิลปะในฐานะที่เป็นการแสดงความรู้สึกของผู้สร้าง แล้วก็ศิลปะในฐานะที่เป็นรูปแบบ เมื่อพิจารณาจากพระนิพนธ์ของท่านแล้ว เราพบว่าท่านใช้ทั้ง 3 แนวคิดในการสร้างงาน แล้วทรงสร้างได้อย่างลึกซึ้ง แสดงสุนทรียภาพได้อย่างลึกซึ้งทีเดียว …”

    … เกิดมาทั้งที มันก็ดีอยู่แต่เมื่อเป็น
    อีกสามร้อยปี ก็ไม่มีใครจะเห็น
    ใครจะนึกใครจะฝัน เขาก็ลืมกันเหมือนตัวเล็น
    นานไปเขาก็ลืม ใครหรือจะยืมชีวิตให้เป็น
    ใครจะเห็นก็เห็นแต่น้ำใจ
    จำได้แต่ชื่อ ว่าตัวเราคือทหารเรือไทย
    ตายแต่ตัว ชื่อยังฟุ้ง ทั่วทั้งกรุงก็ไม่ลืมได้
    ทั้งเซาธ์ทั้งเวสต์ทั้งนอร์ธทั้งอีสต์
    จะคิดถึงตัวเราใย จะต้องตายทุกคนไป
    ส่วนตัวเราตาย ไว้ยืนแต่ชื่อ
    ให้โลกทั้งหลายเขาลือ ว่าตัวเราคือทหารเรือไทย …


    “… ถ้าเราจะพิจารณาในแง่สุนทรียภาพจากเพลงที่เป็นพระนิพนธ์ของท่าน อาจจะมองได้ 2 ประเด็น ประเด็นแรกคือเป็นสุนทรียภาพที่เกิดจากองค์ประกอบของตัวงาน ทั้งทำนองและบทร้องที่ท่านทรงนิพนธ์ขึ้น ส่วนอีกประเด็นหนึ่งคือเป็นสุนทรียภาพที่เกิดจากวัฒนธรรมและบริบทที่เกี่ยวข้อง ซึ่งบางเพลงเมื่อข้ามยุคข้ามสมัยมาแล้ว เราอาจจะไม่เข้าใจว่ามันหมายความว่าอะไร … มันเป็นเรื่องของความเข้าใจในทางบริบททางประวัติศาสตร์และสังคมด้วยว่า ถ้าเราเข้าใจพระประวัติของท่าน เราจะเข้าใจความหมายของคำว่า วันนี้ยอ พรุ่งนี้ด่า ไม่ใช่ขี้ข้าขี้ปากของใคร …”

    “… เกิดมาทั้งที มันก็มีอยู่แต่ทุกข์ภัย
    วันนี้เคราะห์ดี รุ่งขึ้นพรุ่งนี้จะเป็นอย่างไร
    ดีเคยพบ ชั่วเคยเห็น จนเคยเป็น มีเคยได้
    อนาคตเราไม่รู้ ถึงไม่รู้ก็ต้องเดินไป
    จะกลัวไปใย มันก็ล่วงไปตามเวลา
    ไม่ตายวันนี้ ก็คงไปซี้เอาวันข้างหน้า
    วันนี้ยอ พรุ่งนี้ด่า ไม่ใช่ขี้ข้าขี้ปากของใคร …”


    “… ถ้าเรามองบทเพลงพระนิพนธ์ จะเห็นว่ามีพระปรีชาสามารถในทางกวีหรือในทางวรรณศิลป์ด้วย เช่น บทเพลง เดินหน้า มีท่อนหนึ่งที่น่าสนใจคือ ดีเคยพบ ชั่วเคยเห็น จนเคยเป็น มีเคยได้ ถ้าเราพิจารณา 4 วลีที่ว่านี้ นี่คือการนำสำนวนไทยที่ว่า ชั่วดีมีจน มาใช้ร่วมกับวลีว่า เคยพบเคยเห็นเคยเป็นเคยได้ หรือยังบอกว่า วันนี้เคราะห์ดี พอถึงพรุ่งนี้จะเป็นอย่างไร นี่ก็คล้าย ๆ กับที่ผมพูดถึงเมื่อกี้ คือที่บอกว่า วันนี้ยอ พรุ่งนี้ด่า ไม่ใช่ขี้ข้าขี้ปากของใคร ก็อาจจะเป็นคำถามว่าทำไมถึงต้องพูดแบบนี้ พูดแบบนี้มีความหมายว่าอะไร หรืออาจจะพิจารณาได้อีกอย่างหนึ่งว่า ท่านอาจจะทรงได้หลักธรรมอะไรบางอย่างในเรื่องของการไม่ยึดติด ในเรื่องของการปล่อยวาง เอามาประยุกต์ใช้กับการดำเนินพระชนม์ชีพของท่าน …”

    HRH-Poetics-11-1024x683.jpg
    มักมีผู้กล่าวว่า พระนิพนธ์ของกรมหลวงชุมพรฯ ในรูปบทเพลงนั้น มีความเป็นอมตะ คือ มีการฝึกสอนขับร้องในหมู่ทหารเรือสืบต่อกันมานานข้ามศตวรรษโดยมิได้เสื่อมความนิยมลง ทั้งยังแพร่หลายสู่สาธารณชนวงกว้าง แต่ในความเป็นจริงนั้น คำกล่าวนี้ถูกต้องเพียงครึ่งเดียว เพราะยังมีเพลงพระนิพนธ์อีกจำนวนมากซึ่งไม่มีผู้ขับร้องได้แล้วในปัจจุบัน เหลืออยู่เพียงพระนิพนธ์เนื้อเพลงที่เป็นตัวอักษร เช่น เพลง “เกิดเป็นชายหมายมาดชาติทหาร” “นักเรียนนายเรือและนายช่างกล” “พลยุทธนาวา” และเพลง “ศีลแปดสำหรับทหาร”

    HRH-Poetics-13-1024x683.jpg
    เมื่อพินิจพิจารณาถึงเนื้อเพลงพระนิพนธ์ที่เสื่อมความนิยมไปแล้วเหล่านั้น เราจะพบลักษณะดังที่ ผศ.ดร.รังสิพันธุ์ได้อธิบายไว้ คือเนื้อหาบางส่วนของบทเพลงมีลักษณะเชื่อมโยงกับบริบทสถานการณ์ขณะทรงนิพนธ์ ดังนั้นผู้คนจึงเข้าใจความหมายได้ยากเมื่อข้ามยุคข้ามสมัยมาแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม เนื้อหาอีกหลายส่วนในบทเพลงเหล่านั้น ล้วนฉายชัดถึงลักษณะเด่นประการหนึ่งใน “วรรณศิลป์สไตล์กรมหลวงชุมพรฯ”

    นั่นคือการสอดแทรกแง่คิดคำสอน จากค่านิยมอุดมคติที่พระองค์ทรงยึดถือ ไว้อย่างเด่นชัด

    เพลง “ศีลแปดสำหรับทหาร”

    เกิดเป็นชายฝ่ายชลพลรบ
    ต้องรู้จบในหัวใจฝ่ายทหาร
    มีแปดบทจดจำให้ชำนาญ
    จะเป็นการรู้สึกได้ฝึกตน
    อันข้อความตามที่มีในบท
    โดยกำหนดบทสอนสุนทรผล
    ข้อหนึ่งต้องกล้าหาญจิตทานทน
    สู้ศึกจนชีวาตม์ขาดทำลาย
    แต่ไม่ควรหาญกล้าในท่าผิด
    กระทำผิดกิจจริงสิ่งทั้งหลาย
    ไม่ควรการหาญตนไปจนตาย
    เป็นน่าอายอดสูดูไม่ควร
    000สองข้อห้ามตามที่มีในบท
    มิได้ปดปกปิดทำผิดผวน
    ถึงทำผิดไซร้สิ่งไม่ควร
    รับโดยด่วนเสียดีกว่าอย่าดื้อดึง
    ข้อสามอย่าคิดจิตโลภละโมบมาก
    ถึงจนยากอย่างพึ่งคิดพินิจถึง
    เราเป็นทหารชาญศึกนึกคะนึง
    หาแต่ซึ่งน้ำนวลให้ควรการ
    ข้อสี่ผู้มีคุณการุณรัก
    จงรู้จักคุณท่านหมั่นสมาน
    กตัญญูต่อนายจนวายปราณ
    คิดหักหาญแต่ไพรีที่บีฑา
    อีกบ้านเกิดเมืองนอนบิดรนี้
    สำคัญที่ควรจะรักให้หนักหนา
    ทั้งรู้จักรักชาติอาตมา
    คิดตั้งหน้าพรักพร้อมสามัคคี
    ข้อห้าสาหดให้อดทน
    ถึงอับจนอย่าเป็นทุกข์ให้สุขี
    ทั้งลำบากยากแค้นแสนทวี
    ถึงโรคีป่วยไข้ไม่สบาย
    เราเป็นทหารชาญศึกนึกประจญ
    มิได้บ่นออกปากว่ายากหลาย
    กระทำหน้าที่ให้ตลอดจนวอดวาย
    คงเป็นชายขึ้นชื่อให้ลือนาม
    ข้อหกบำบัดระมัดจิต
    ประพฤติกิจสุภาพไม่หยาบหยาม
    ทั้งกิริยาดีพร้อมละม่อมงาม
    ไม่ลวนลามประมาทชาติบุคคล
    ข้อเจ็ดห้ามขาดอย่าอาจหาญ
    ประพฤติการผิดเช่นไม่เป็นผล
    อันทรัพย์สินเงินทองใช่ของตน
    ของบุคคลหวงห้ามอย่านำมา
    อย่าลักลอบของท่านเป็นการผิด
    ประพฤติกิจโจรกรรมทำมิจฉา
    อีกลูกเขาเมียเขาอย่าลอบรักอย่าลักพา
    เสพกามาผิดเล่ห์ประเพณี
    ข้อที่แปดชี้แจงแสดงอรรถ
    มนุษย์สัตว์ได้ทุกข์ไม่สุขี
    ให้มีจิตเมตตาคิดปรานี
    ไม่เลือกที่รักชังทั้งประมวญ
    รวมแปดข้อเท่านี้มีกำหนด
    ตามแบบบทที่คิดไม่ผิดผวน
    ควรทหารทุกคนต้องบ่นจำ
    ทุกเช้าค่ำให้ระลึกนึกถึงเอย


    พระนิพนธ์บทนี้ เนื้อหาสื่อสารชัดเจนว่า มีพระประสงค์จะประทานข้อคิดเตือนใจบรรดาทหาร ผ่านทางวรรณศิลป์ตามสไตล์ของพระองค์ แต่ใครจะปฏิเสธได้ว่า เนื้อหาสาระอันปรากฏอยู่ทั้งหมดนั้น ล้วนเป็นแง่งามสำหรับการดำเนินชีวิตของคนทุกสาขาอาชีพได้ กระทั่งถึงทุกวันนี้

    ที่มา :
    Writer : นิธิ วติวุฒิพงศ์

    https://hrh-abhakara-120anv-homecoming.com/poems-by-hrh-abhakara/
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 สิงหาคม 2021
  5. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
  6. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    “หมอพร”

    D2.jpg

    พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาโหมด สายสกุลบุนนาค
    ประวัติหมอพรเมื่อครั้งทรงเป็นหมอพร

    หมอพรขณะที่เสด็จในกรมฯ ได้ทรงออกจากประจำการชั่วคราว ระหว่างปี พ.ศ.2454 - 2459 เป็นระยะเวลา 6 ปี พระองค์จึงทรงศึกษาวิชาแพทย์แผนโบราณ เพื่อช่วยชีวิตคนยากจน โดยได้เสด็จไปหาพระยา พิษณุประสาทเวช หัวหน้าหมอหลวงฝ่ายยาไทย เพื่อขอเป็นลูกศิษย์ นอกจากนั้นยังมีพระอาจารย์อื่น ๆ อีกหลายคน เช่น หมอฝรั่งชาวอิตาเลียน และชาวญี่ปุ่น หม่อมเจ้าหญิง เริงจิตแจรง อาภากร พระธิดาเสด็จในกรมฯ ได้ทรงเล่าว่าพระองค์ทรงศึกษาอย่างจริงจัง ได้ทรงสั่งกล้องจุลทัศน์มาสำหรับตรวจโรค มีห้องพิเศษเรียกห้องเคมีวิทยาศาสตร์ พระองค์ทรงชอบ ทดลองมีการค้นคว้ายาแก้โรคต่าง ๆ ได้ทรงนำเอาสัตว์ต่าง ๆ ตั้งแต่สัตว์เล็ก ๆ จนถึงสัตว์ใหญ่มาทดลองยาที่ทรงปรุง ทรงชำระคัมภีร์อติสาระวรรคโบราณกรรม และปัจจุบันกรรม ซึ่งเป็นตำรายาแผนโบราณจนเสร็จบริบูรณ์ เมื่อ พ.ศ.2458

    หมอพร เมื่อทรงทดลองยาที่ทรงปรุงจนได้ผลดี จึงทรงรับเป็น หมอรักษาโรคภัยไข้เจ็บให้คนทั่วไป ไม่ว่าคนมี คนจน ใครมาหาก็ทรงตรวจรักษาให้ทั้งนั้น เสด็จในกรมฯ ทรงตั้งชื่อพระองค์ว่า "หมอพร" คนป่วยมาหาเองไม่ได้ ถ้ามารับไปตรวจและรักษาที่บ้าน ต้องเอารถมารับส่ง เวลานั้นนายทหารเรือป่วยกันมากไม่ค่อยไปโรงพยาบาล ใครป่วยก็มาหาหมอพร หมอพรจะตรวจ และจ่ายยาให้โดยไม่คิดค่ายา

    “หมอชีวกโกมารภัจจ์”

    D1.jpg

    ชีวก ชื่อหมอใหญ่ผู้เชี่ยวชาญในการรักษาและมีชื่อเสียงมากในครั้งพุทธกาล เป็นแพทย์ประจำพระองค์ของพระเจ้าพิมพิสาร และพระเจ้าพิมพิสารได้ถวายให้เป็นแพทย์ประจำพระองค์ของพระพุทธเจ้าด้วย, เรียกชื่อเต็มว่า ชีวกโกมารภัจจ์ หมอชีวกเกิดที่เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ เป็นบุตรของนางคณิกา (หญิงงามเมือง) ชื่อว่า สาลวดี แต่ไม่รู้จักมารดาบิดาของตน เพราะเมื่อนางสาลวดีมีครรภ์ เกรงค่าตัวจะตกจึงเก็บตัวอยู่ ครั้นคลอดแล้วก็ให้คนรับใช้เอาทารกไปทิ้งที่กองขยะ แต่พอดีเมื่อถึงเวลาเช้าตรู่ เจ้าชายอภัย โอรสองค์หนึ่งของพระเจ้าพิมพิสาร จะไปเข้าเฝ้า เสด็จผ่านไป เห็นการุมล้อมทารกอยู่ เมื่อทรงทราบว่าเป็นทารกและยังมีชีวิตอยู่ จึงได้โปรดให้นำไปให้นางสนมเลี้ยงไว้ในวัง ในขณะที่ทรงทราบว่าเป็นทารกเจ้าชายอภัยได้ตรัสถามว่าเด็กยังมีชิวิตอยู่ (หรือยังเป็นอยู่) หรือไม่ และทรงได้รับคำตอบว่า ยังมีชีวิตอยู่ (ชีวิต = ยังเป็นอยู่ หรือยังมีชีวิตอยู่) ทารกนั้นจึงได้ชื่อว่า ชีวก (ผู้ยังเป็น) และเพราะเหตุที่เป็นผู้อันเจ้าชายเลี้ยงจึงได้มีสร้อยนามว่า โกมารภัจจ์ (ผู้อันพระราชกุมารเลี้ยง) ครั้นชีวกเจริญวัยขึ้น พอจะทราบว่าตนเป็นเด็กกำพร้า ก็คิดแสวงหาศิลปวิทยาไว้เลี้ยงตน จึงได้เดินทางไปศึกษาวิชาแพทย์กับอาจารย์แพทย์ทิศาปาโมกข์ ที่เมืองตักสิลา ศึกษาอยู่ ๗ ปี อยากทราบว่าเมื่อใดจะเรียนจบ อาจารย์ให้ถือเสียมไปตรวจดูทั่วบริเวณ ๑ โยชน์รอบเมืองตักสิลา เพื่อหาสิ่งที่ไม่ใช่ยา ชีวกไม่พบ กลับมาบอก อาจารย์บอกว่าสำเร็จการศึกษามีวิชาพอเลี้ยงชีพแล้ว และมอบเสบียงเดินทางให้เล็กน้อย ชีวกเดินทางกลับยังพระนครราชคฤห์ เมื่อเสบียงหมดในระหว่างทาง ได้แวะหาเสบียงที่เมืองสาเกต โดยไปอาสารักษาภรรยาเศรษฐีเมืองนั้นซึ่งเป็นโรคปวดศีรษะมา ๗ ปี ไม่มีใครรักษาหาย ภรรยาเศรษฐีหายโรคแล้ว ให้รางวัลมากมาย หมอชีวกได้เงินมา ๑๖,๐๐๐ กษาปณ์ พร้อมด้วยทาสทาสีและรถม้า เดินทางกลับถึงพระนครราชคฤห์ นำเงินและของรางวัลทั้งหมดไปถวายเจ้าชายอภัยเป็นค่าปฏิการะคุณที่ได้ทรงเลี้ยงตนมา เจ้าชายอภัยโปรดให้หมอชีวกเก็บรางวัลนั้นไว้เป็นของตนเอง ไม่ทรงรับเอา และโปรดให้หมอชีวกสร้างบ้านอยู่ในวังของพระองค ต่อมาไม่นาน เจ้าชายอภัยนำหมอชีวกไปรักษาโรคริดสีดวงงอกแด่พระเจ้าพิมพิสาร จอมชนแห่งมคธทรงหายประชวรแล้ว จะพระราชทานเครื่องประดับของสตรีชาววัง ๕๐๐ นางให้เป็นรางวัล หมอชีวกไม่รับ ขอให้ทรงถือว่าเป็นหน้าที่ของตนเท่านั้น พระเจ้าพิมพิสารจึงโปรดให้หมอชีวกเป็นแพทย์ประจำพระองค์ ประจำฝ่ายในทั้งหมด และประจำพระภิกษุสงฆ์อันมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข หมอชีวกได้รักษาโรครายสำคัญหลายครั้ง เช่น ผ่าตัดรักษาโรคในสมองของเศรษฐีเมืองราชคฤห์ ผ่าตัดเนื้องอกในลำไส้ของบุตรเศรษฐีเมืองพาราณสี รักษาโรคผอมเหลืองแด่พระเจ้าจัณฑปัชโชตแห่งกรุงอุชเชนี และถวายการรักษาแด่พระพุทธเจ้าในคราวที่พระบาทห้อพระโลหิต เนื่องจากเศษหินจากก้อนศิลาที่พระเทวทัตกลิ้งลงมาจากภูเขา เพื่อหมายปลงพระชนม์ชีพ หมอชีวกได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน แล้วด้วยศรัทธาในพระพุทธเจ้า ปรารถนาจะไปเฝ้าวันละ ๒-๓ ครั้ง เห็นว่าพระเวฬุวันไกลเกินไป จึงสร้างวัดถวายในอัมพวัน คือสวนมะม่วงของตน เรียกกันว่า ชีวกัมพวัน (อัมพวันของหมอชีวก) เมื่อพระเจ้าอชาตศัตรูเริ่มน้อมพระทัยมาทางศาสนา หมอชีวกก็เป็นผู้แนะนำให้เสด็จไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ด้วยเหตุที่หมอชีวกเป็นแพทย์ประจำคณะสงฆ์และเป็นผู้มีศรัทธาเอาใจใส่เกื้อกูลพระสงฆ์มาก จึงเป็นเหตุให้มีคนมาบวชเพื่ออาศัยวัดเป็นที่รักษาตัวจำนวนมาก จนหมอชีวกต้องทูลเสนอพระพุทธเจ้าให้ทรงบัญญัติ ข้อห้ามมิให้รับบวชคนเจ็บป่วย ด้วยโรคบางชนิด นอกจากนั้น หมอชีวกได้กราบทูลเสนอให้ทรงอนุญาตที่จงกรมและเรือนไฟ เพื่อเป็นที่บริหารกายช่วยรักษาสุขภาพของภิกษุทั้งหลาย หมอชีวกได้รับพระดำรัสยกย่องเป็นเอตทัคคะในบรรดาอุบาสกผู้เลื่อมใสในบุคคล

    พระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงศ์)

    j1.jpg

    ตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศร สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2452 โดยท่านเจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงศ์) เพื่อใช้รับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแต่ทรงสิ้นพระชนม์ก่อน ต่อมาตึกหลังนี้ได้ใช้รับเสด็จพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ. 2455 และเชื้อพระวงศ์อีกหลายพระองค์ ตึกหลังนี้เป็นมรดกตกทอดมาถึงพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ในรัชกาลที่ 6 และพระองค์ได้มอบตึกหลังนี้ให้แก่ทางราชการ ในปี พ.ศ. 2482 และได้กลายเป็นตึกผู้ป่วยที่สวยงามที่สุดจนถึงปี พ.ศ. 2512 ในสมัยนายแพทย์สุจินต์ พลานุกูล ได้ทำการบูรณะและจะเปิดใช้เฉพาะในโอกาสพิเศษเท่านั้น ต่อมาได้มีการบูรณะตึกครั้งใหญ่ในปี พ.ศ. 2537 โดยงบประมาณของจังหวัดปราจีนบุรี จำนวน 2.5 ล้านบาท และคุณป้าจรวย ประสมสน บริจาคสมทบอีก 100,000 บาท เพื่อจัดทำเป็น พิพิธภัณฑ์การแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร

    ประวัติการแพทย์แผนไทย

    การแพทย์แผนไทย (Thai Traditional Medicine) คือ วิถีการดูแลสุขภาพของคนไทยที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมประเพณีไทย มีการใช้สมุนไพรทั้งในรูปแบบอาหาร และยา ใช้ในการอบ การประคบ การนวด การแพทย์แผนไทยมีการวินิจฉัยโรคเป็นแบบความเชื่อแบบไทย มีองค์ความรู้เป็นทฤษฎี โดยพื้นฐานทางพุทธศาสนาผสมกลมกลืนกับความเชื่อทางพิธีกรรม มีการเรียนการสอนและการถ่ายทอดความรู้อย่างกว้างขวางสืบทอดมายาวนานหลายพันปี นับเป็นภูมิปัญญาไทยที่น่าสนใจ

    พ.ศ.๒๕๓๒ การแพทย์แผนไทยได้เข้าสู่ระบบราชการ โดยกระทรวงสาธารณสุขได้จัดตั้งศูนย์การประสานงานการแพทย์และเภสัชกรรมแผนไทยขึ้น เป็นองค์กรประสานงานการพัฒนาการแพทย์แผนไทย ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๓๖ จึงได้จัดตั้งเป็นสถาบันการแพทย์แผนไทยขึ้นอย่างไม่เป็นทางการ เป็นหน่วยงานระดับสูงกว่ากอง สังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และได้รับการรับรองฐานะอย่างเป็นทางการในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๔๓ ต่อมาโดยพระราชบัญญัติคุ้มครอง ส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๘ ๒ ก. ลงวันที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ.๒๕๔๔ หน่วยงานใหม่ที่เกิดขึ้นมีชื่อว่า "สถาบันการแพทย์แผนไทย"

    การแพทย์แผนไทยสมัยสุโขทัย
    ภัยไข้เจ็บในสมัยสุโขทัยตามหลักฐานที่ปรากฏในไตรภูมิกถา ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ พระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท) ได้กล่าวถึงโรคที่น่ากลัวในสมัยนั้นว่า "ฝูงคนกินเข้านั้น แลจะรู้ว่าเป็นหิด แล เรื้อน เกลื้อน แลกลาก หูด และเปา เป็นอมเป็นเต้า เป็นง่อย เป็นเพลีย ตาพู หูหนวก เป็นกระจอกงอกเลื้อยเปื้อย เมื่อยเนื้อเมื่อยตน ท้องขึ้น ท้องพอง ต้องไส้ ปวดหัว มัวตา ไข้เจ็บ เหน็บเหนื่อย วิการดังนี้ไส้" 8 การรักษาและตัวยา ไม่ปรากฎหลักฐานแต่อนุมานได้ว่าน่าจะรักษาแบบแพทย์แผน ไทยสมัยสุโขทัยคือการใช้สมุนไพร การนวดเฟ้น นอกจากนี้ยังมีวิธี การรักษาโดยใช้ไสยศาสตร์ พิธีกรรมต่าง ๆ ซึ่งปรากฏหลักฐานการค้นพบตุ๊กตา เสียกบาลเป็นจำนวนมาก ที่สร้างขึ้นในการบนบานศาลกล่าวยามเจ็บไข้ได้ป่วย

    การแพทย์แผนไทยสมัยอยุธยา
    ตำนานกล่าวถึงสาเหตุการอพยพสร้างเมืองใหม่ของพระเจ้าอู่ทองว่า เมืองเดิมเกิดภัยพิบัติ แม่น้ำเปลี่ยนทางเดิน เกิดโรคห่าระบาด ทำให้เกิดการอพยพผู้คนออกจากเมืองเดิม เพื่อแสวงหาทำเลที่ตั้งเมืองใหม่ที่บริเวณหนองโสน เป็นสภาพที่ลุ่ม มีแม่น้ำ ๓ สายไหลผ่านคือ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำลพบุรี และภายหลังสถาปนาเป็นเมืองหลวงชื่อพระนครกรุงศรีอยุธยา

    สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (อู่ทอง)(พ.ศ.๑๘๙๓-๑๙๑๒) ทรงสร้างกรุงศรีอยุธยาขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๑๘๙๓ มีหลักฐานถึงการขุดศพเจ้านาย ๒ พระองค์ที่เป็นโรคห่าในครั้งนั้นขึ้นมาเผาตามโบราณราชประเพณี เกี่ยวกับการเจ็บไข้ได้ป่วยอื่นๆไม่ปรากฏหลักฐานเลย ตั้งแต่ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่1(อู่ทอง) จากปี พ.ศ.๑๘๙๓ เป็นต้นมา ในปี พ.ศ.๑๙๙๗ รัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (๑๙๙๑-๒๐๓๑) หลังจากพระองค์ขึ้นครองราชสมบัติได้ ๖ ปี พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา กล่าวว่า "…ศักราช ๘๑๗ (พ.ศ.๑๙๙๗) ครั้งนั้นคนทั้งปวงเกิดทรพิษตายมากนัก…" แม้ว่าผู้คนตายมากมายเพราะโรคไข้ทรพิษระบาด แต่มีการดูแลรักษาจนโรคร้ายหมดสิ้นไป โดยไม่มีการทิ้งเมืองให้ร้างเช่นแต่ก่อนแสดงให้เห็นถึงความเจริญก้าวหน้าของการแพทย์สมัยอยุธยาในระดับหนึ่ง
    อโรคยาศาลา
    หลักฐานเกี่ยวกับการเจ็บไข้ได้ป่วยการดูแลรักษาในสมัยก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ณ ดินแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จรด อีสานใต้ มีหลักฐานที่พอแสดงให้เห็นว่าอย่างน้อยสมัยนั้นมีการจัดตั้งสถานที่ดูแลผู้ป่วย มีการทำงานแบ่งหน้าที่กันชัดเจนแล้วเช่น มีผู้ทำหน้าที่หมอ พยาบาล เภสัช มีการสังคมสงเคราะห์จัดโดยกษัตริย์ กษัตริย์กัมพูชา คือ พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ได้สร้าง อโรคยศาลาหลายหลัง แสดงถึงคนไทยมีการเรียนรู้ในการดูแลสุขภาพของตนมาถึงขั้นรวมตัวทำงานคล้ายโรงพยาบาลมาแล้ว พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ (พ.ศ.๑๗๒๔-๑๗๖๑) มหาราชองค์สุดท้ายของอาณาจักรกัมพูชา นอกจากจะเป็นผู้สร้างเมืองพระนครและปราสาท อันยิ่งใหญ่ และสร้างโบราณสถานอื่นๆ อีกมากมาย ยังได้สร้างสิ่งที่ในจารึกเรียกว่า "อโรคยาศาลา" จำนวน ๑๐๒ แห่ง อีกด้วย
    พระมหากรุณาธิคุณ
    พ.ศ. ๒๔๙๔ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน เสด็จพระราชดำเนินวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม(วัดโพธิ์) ในครั้งนั้นได้ทรงปรารภว่าวัดพระเชตุพนฯ เป็นแหล่งรวบรวมตำราแพทย์แผนไทยอยู่แล้ว ทำไมไม่จัดให้มีโรงเรียนสอนการแพทย์แผนไทยในวิชาเวชกรรม ผดุงครรภ์ หัตถเวช และเภสัชกรรม เพื่อเป็นวิทยาทานให้แก่ผู้สนใจต้องการศึกษา ทำให้คณะกรรมการวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม พร้อมด้วยผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านการแพทย์แผนไทยที่ยังหลงเหลืออยู่ ได้รับสนองพระราชปรารภและจัดทำหลักสูตรโรงเรียนแพทย์แผนโบราณขึ้นในนาม "โรงเรียนแพทย์แผนโบราณแห่งประเทศไทย" และเปิดสอนเป็นแห่งแรกที่วัดพระเชตุพนฯ โดยแบ่งออกเป็น ๓ หลักสูตร คือ เวชกรรม เภสัชกรรม และหัตถเวช ทำให้บทบาทการแพทย์แผนไทยได้รับการสนับสนุนทั้ง ฟื้นฟูอย่างจริจังอีกครั้งหนึ่ง และแต่นั้นมาการแพทย์แผนไทยได้มีการขยายตัวอย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณยิ่งต่อการแพทย์แผนไทย

    ประวัติความเป็นมาของวิชานวดไทย

    18-9-2559_12-36-26.jpg

    การนวดแผนโบราณมีต้นตำรามาจากอินเดียซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลคือมีมานานกว่า๒๕๐๐ปี ผู้ค้นคิดริเริ่มการนวดแผนโบราณเพื่อรักษาผู้ป่วยคือหมอชีวกโกมารภัจจ์ ท่านหมอชีวกเป็นหมอประจำตัวของพระเจ้าพิมพิสารและของพระพุทธเจ้า ท่านเป็นหมอที่มีความสามารถในการรักษาอย่างหาที่เปรียบไม่ได้ ท่านมีลูกศิษย์มากมายหลังจากที่ท่านเสียชีวิตลูกศิษย์ทำการรักษาต่อและเผยแพร่กว้างขวางออกจนถึงระดับนานาชาติรวมทั้งประเทศไทย แต่ไม่มีหลักฐานแน่นอนว่าเข้ามาถึงเมืองไทยเมื่อใด เมื่อเข้ามาถึงเมืองไทยก็ได้ถูกพัฒนาและปรับปรุงแก้ไขให้เข้ากับวัฒนธรรมของสังคมไทยจนเป็นรูปแบบที่เป็นมาตรฐานของไทยและถ่ายทอดมาจนถึงปัจจุบัน

    ในเมืองไทยขุดพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดชิ้นหนึ่งในป่ามะม่วง ที่จารึกเป็นรูปวิธีการรักษาด้วยการนวดบนศิลาจารึกสมัยพ่อขุนรามคำแหงและมีหลักฐานสำคัญอีกชิ้นหนึ่งเป็นบันทึกจดหมายเหตุของราชทูตฝรั่งเศสในสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชกล่าวถึงการนวดเพื่อรักษาโรคของไทยว่า"ในกรุงสยามนั้นถ้าใครป่วยไข้ลงก็จะเริ่มทำเส้นสายยืด โดยให้ผู้ชำนาญในทางนี้ขึ้นไปบนหลังแล้วใช้เท้าเหยียบ กล่าวกันว่า หญิงมีครรภ์มักใช้เด็กเหยียบ เพื่อให้คลอดบุตรง่าย" หลังจากเสียกรุงให้พม่าสองครั้ง ตำราการแพทย์แผนไทยได้ถูกทำลายสูญหายไปเป็นจำนวนมาก ในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ เมื่อครั้งย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรีมาตั้งที่กรุงเทพฯ ทรงให้ปฏิสังขรณ์วัดโพธ์ขึ้นเป็นอารามหลวงและได้รวบรวมตำรายา ตำรานวด แล้วให้แสดงไว้ตามศาลารายเพื่อให้ประชาชนได้ศึกษาโดยทั่วกัน รวมทั้งทรงโปรดให้ปั้นรูปปั้นฤาษีดัดตน๘๐ท่าซึ่งทำด้วยดีบุกต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๓ ได้ทรงให้หล่อใหม่เป็นโลหะและรวบรวม ตำราการแพทย์แผนไทยและตำรานวดบันทึกไว้บนศิลาหินอ่อน ๖๐ ภาพแสดงไว้ตามศาลารายเพื่อให้ประชาชนได้ศึกษาและนำไปรักษาตัวเอง

    ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้เปิดให้มีการสอนวิชาการแพทย์แผนไทยและแบ่งตำราการนวดเป็นภาควิชาหัตถศาสตร์เรียกว่า"ตำรานวดฉบับหลวง"

    ในสมัยรัชกาลที่ ๗ ได้แบ่งการประกอบโรคศิลปะออกเป็น"แผนปัจจุบัน" และ "แผนโบราณ" โดยแบ่งแผนโบราณเป็น ๔ สาขา ได้แก่

    • สาขาเวชกรรมแผนโบารณ
    • สาขาเภสัชกรรมแผนโบราณ
    • สาขาผดุงครรภ์แผนโบราณ
    • สาขานวดแผนโบราณ
    ในพ.ศ. ๒๔๗๙ ได้มีการตัดนวดแผนโบราณออกไปต่อมาในปีพ.ศ. ๒๕๔๔ กระทรวงสาธารณสุขได้มีประกาศให้เพิ่มสาขาการนวดไทยเข้าไว้ในสาขาแพทย์แผนไทยอีกในปัจจุบันการนวดไทยแผนโบราณเป็นที่นิยมและมีชื่อเสียงไปทั่วโลก

    การนวดแผนไทยได้มีการแบ่งออกเป็น ๒ สาย คือสายราชสำนักและสายเชลยศักดิ์
    การนวดแบบสายราชสำนักเป็นการนวดโดยใช้มือเท่านั้นท่วงท่าที่ใช้ในการนวดมีความสุภาพเรียบร้อยและมีข้อกำหนดในการเรียนมากมาย เป็นการนวดที่ใช้ในระดับเจ้านายชั้นผู้ใหญ่
    การนวดแบบสายเชลยศักดิ์เป็นการนวดที่ไม่มีพิธีรีตองมากนักในการนวด อีกทั้งยังสามารถใช้อวัยวะอื่นๆนอกจากมือในการนวดได้เช่น ศอก เข่า เท้า เพื่อช่วยทุ่นแรงในการนวดได้ เป็นการนวดที่ใช้ในระดับชาวบ้าน
    การนวดไทยแผนโบราณเป็นศิลปะของศาสตร์ทางการบำบัดที่ทำให้ผู้คนมีสุขภาพดีขึ้น จึงควรเรียนรู้อย่างถูกวิธีและนำไปใช้อย่างถูกต้อง.

    ที่มา : โรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน
    กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
    กระทรวงสาธารณสุข
    https://ttcmh.dtam.moph.go.th/index.php/knowledge/read-more.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 สิงหาคม 2021
  7. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
  8. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
  9. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
  10. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    ประดู่...ดอกบานและร่วงพร้อมกัน

    06ffd4ee198887b4595ebe140d18b8ba.jpg


    ประดู่บ้าน ชื่อวิทยาศาสตร์ Pterocarpus indicus Willd. อยู่ในวงศ์ Papilionoideae มีแหล่งกำเนิดในประเทศอินเดีย แต่นำมาปลูกในไทยนานมาแล้ว ลักษณะทั่วไปคล้าย ประดู่ป่า ซึ่งเป็นพันธุ์ดั้งเดิมของไทยที่มาจากป่า (ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pterocarpus macrocarpus Kurz. อยู่ในวงศ์ Papilionoideae)

    104e66bceaa2a4b8b749a32170fc882f.jpg

    สำหรับประดู่บ้าน มีความสูงราว 20-25 เมตร แตกกิ่งก้านเป็นทรงพุ่มกว้างกว่าประดู่ป่า และปลายกิ่งห้อยลง เปลือกสีเทาเป็นร่องไม่มีน้ำยางสีแดง ใบขนาดเล็กกว่านิดหน่อย ดอกช่อเล็กกว่า ออกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ออกดอกดกกว่า สีเหลืองและกลิ่นหอมแรงเช่นเดียวกัน บานและร่วงพร้อมกันทั้งต้นเหมือนกัน ประดู่บ้านนั้นคนไทยนิยมนำมาปลูกทั่วไป มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปทั้ง ประดู่บ้าน ประดู่กิ่งอ่อน ประดู่ลาย (ภาคกลาง) ดู่บ้าน (ภาคเหนือ) สะโน (มลายู-นาราธิวาส) ภาษาอังกฤษเรียก Angsana Norra และ Malay Padauk

    ประดู่บ้านและประดู่ป่า ต่างก็มีสรรพคุณทางยาเหมือนกัน ได้แก่
    ใบ
    : รสฝาด ใช้สระผม พอก ฝี พอกแผล แก้ผดผื่นคัน
    เปลือก : รสฝาดจัด สมานบาดแผล แก้ท้องเสีย บำรุงร่างกาย
    แก่น : รสขมฝาดร้อน แก้คุดทะราด แก้เสมหะ เลือดกำเดาไหล แก้ไข้ บำรุงเลือด บำรุงกำลัง ขับปัสสาวะ แก้ผื่นคัน
    ผล : แก้อาเจียน แก้ท้องร่วง มีรสฝาดสมาน

    d554df00ce37096a296220184f2dbfa6.jpg

    เนื้อไม้ประดู่ทั้ง 2 ชนิด เป็นไม้มีค่าทางเศษฐกิจ มีคุณภาพดี เพราะเนื้อแข็ง ปลวกไม่ทำลาย สีสวย ลวดลายงดงาม เนื้อละเอียดปานกลาง ตกแต่งขัดเงาได้ดี ใช้สร้างบ้านเรือน ทำเครื่องเรือน ทำเกวียน เรือ เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ เครื่องดนตรี เป็นต้น

    ประดู่บางต้นเกิดปุ่มตามลำต้น เรียกว่า ปุ่มประดู่ (เช่นเดียวกับปุ่มมะค่า) ทำให้ได้เนื้อไม้ที่มีคุณภาพสูง งดงาม และราคาแพงมาก นิยมนำมาทำเครื่องเรือน และเครื่องมือเครื่องใช้อย่างดีเยี่ยม หาได้ยาก เปลือกและแก่นประดู่นำมาย้อมผ้าได้ดี ให้สีน้ำตาลและแดงคล้ำ ใบอ่อนและดอกประดู่นำมากินเป็นอาหารได้ด้วย

    f06fda19e0cf8d3916338f9c87ae255e.jpg

    วิธีการปลูกและการดูแลรักษา
    ควรปลูกในดินร่วนซุย บริเวณกลางแจ้งที่มีแสงแดดจัด ชอบน้ำปานกลาง เป็นไม้ที่เลี้ยงง่าย ไม่ค่อยพบปัญหาเรื่องศัตรูพืชหรือโรคต่างๆ และทนต่อสภาพธรรมชาติได้ดี ควรมีบริเวณกว้างสักหน่อย เพราะประดู่โตเร็ว พุ่มใบทึบ และแตกกิ่งก้านสาขาแผ่กว้าง หากปลูกใกล้บ้านมากเกินไป กิ่งก้านของประดู่อาจระหลังคาหรือตัวบ้านจนดูรกครึ้มเกินไป ต้องคอยหมั่นตกแต่งกิ่งอยู่เสมอ ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด

    เกร็ดความรู้
    ประดู่เป็นไม้โบราณมีกล่าวถึงอยู่ในพุทธประวัติว่า เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จฯกลับจากเทศนาโปรดพระเจ้าสุทโธทนะแล้ว ได้เสด็จฯพร้อมพระอานนท์ พระราหุล และพระสาวกสู่กรุงราชคฤห์ ประทับ ณ
    สีสปาวัน ซึ่งมีความหมายว่าป่าประดู่ลายนั่นเอง ประดู่จึงถือเป็นต้นไม้มงคลต้นหนึ่งในศาสนาพุทธ

    สำหรับเมืองไทยแล้วเมื่อพูดถึง "ดอกประดู่" ยังเป็นที่เข้าใจโดยทั่วไปว่าเปรียบดั่ง ทหารเรือ ซึ่งมีที่มาจาก พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ได้ทรงพิจารณาเห็นว่า ชีวิตของชาวเรือจะต้องดำเนินไปเหมือนดอกประดู่ กล่าวคือ ดอกของมันจะค่อยๆบานและโรยพร้อมกันทั้งต้น เพื่อปลูกฝังชีวิตจิตใจของนายทหารเรือทุกคนและทุกระดับให้มีความรัก ความสามัคคีกัน "ประดู่" จึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของทหารเรือไทย 3 สัญลักษณ์ คือ

    1. หมายถึงกองทัพที่เข้มแข็ง อันประกอบไปด้วยกำลังพลที่มีศักยภาพและวิชาการทางเทคนิคสูง เช่นเดียวกับแก่นของประดู่
    2. หมายถึงกองทัพอันประกอบด้วยกำลังพลที่มีความรักความสามัคคีสูง ดังเช่นดอกประดู่ที่บานและโรยร่วงพร้อมกัน
    3. หมายถึงกองทัพที่แสดงออกให้ปรากฎด้านสามัคคีธรรม ดังที่เคยได้ใช้ดอกประดู่เป็นเครื่องหมายแทนชั้นยศในชุดลำลองมาแล้ว

    ดอกประดู่จึงเป็นเสมือนเครื่องหมายที่ใช้แทนนิยามของ "ทหารเรือ" ของเหล่าราชนาวีไทย

    ที่มา : https://kaset1009.com/th/articles/90056-ประดู่ดอกบานและร่วงพร้อมกัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 สิงหาคม 2021
  11. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
  12. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    573895.jpg
    วันอาภากร 19 พฤษภาคม กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระบิดาทหารเรือไทย
    วันพุธ ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2564, 06.00 น.
    วันอาภากร กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระบิดาทหารเรือไทย
    พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ต้นราชสกุล “อาภากร”

    สองปีมานี้ ประเทศไทย ดวงเมือง มีเลข 19 (สิบเก้า) ปรากฏจนทุกคนจำได้อย่างแม่นยำอยู่ในใจคนทั่วโลกไปอีกนานกับคำว่า COVID-19 (โควิด-19) จะเรียกว่าเลขนำโรคหรือเลขอาถรรพ์ การจากลาก็แล้วแต่จะคิดแต่สำหรับประวัติศาสตร์ไทยก็มีเรื่องที่น่าจำสืบเนื่องกันมา ยุครัตนโกสินทร์รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ทรงปกครองประเทศสยาม ตามแผนที่ที่ถูกรุกรานโดยประเทศฝรั่งเศส นำกองทัพเรือมาปิดปากอ่าวไทย ที่ป้อมพระจุลจอมเกล้า13 กรกฎาคม พ.ศ.2436 เรียกกันว่าสงคราม ร.ศ.112 หรือวิกฤตการณ์ ร.ศ.112ไทยต้องเสียเงินค่าไถ่มากมายมหาศาลสำหรับผู้รุกรานที่อ้างว่าเสียหาย (เศร้าจริง)พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงทรงส่งพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนเทพทวาราวดี (ต่อมาได้ทรงรับสถาปนาเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามกุฎราชกุมาร และเสวยราชเป็น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ในเวลาต่อมา) พร้อมด้วย พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์โดยมีพระองค์เจ้าสวัสดิโสภณเป็นผู้นำเสด็จฯ และพระมนตรีพจนกิจ (หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล) เป็นพระอภิบาล โดยเรือมกุฎราชกุมาร (ลำที่หนึ่ง) เรือเอกกุลล์เบิก(V.P.P.Guldberg) เป็นผู้บังคับการเรือเป็นพาหนะไปส่งเสด็จลงเรือเมล์ที่สิงคโปร์ทั้งสองพระองค์ เสด็จไปกราบถวายบังคมลาพระบิดา ที่พระราชวังบางปะอิน หลังจากเหตุการณ์วิกฤติ จากนั้นเสด็จฯโดยเรือมกุฎราชกุมาร จากบางปะอิน กลับมาพระนคร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นท่าราชวรดิฐ เรือมกุฎราชกุมาร เดินทางต่อไปถึงสิงคโปร์

    กรมหมื่นชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ร.ศ.119

    เรือเมล์สิงคโปร์ จากเมืองสิงคโปร์แล่นฝ่าคลื่นเข้าสู่น่านน้ำประเทศสยามยามราตรี เข้าเขตปากน้ำ เมื่อเรือเทียบท่า พระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคมและพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิทยาลาภพฤฒิธาดา ประทับรอรับ พระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ พระราชโอรสพระองค์แรก ที่ทรงสำเร็จการศึกษาวิชาการทหารเรือ จากโรงเรียนนายเรือแห่งราชนาวีอังกฤษจากเรือสุริยมณฑล เสด็จมาประทับรถไฟสายปากน้ำมาถึงสถานีวัวลำพอง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯโดยรถยนต์พระที่นั่ง มารับที่สเตชั่นวัวลำพอง (หัวลำโพง) นำพระโอรสขึ้นรถพระที่นั่ง ผ่านถนนเจริญกรุง เข้าสู่พระราชฐานพระบรมมหาราชวัง

    2(4319).jpg

    รุ่งขึ้นวันที่ 12 มิถุนายน 2443 เวลา 20.00 น. ทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานเลี้ยง พระบรมวงศานุวงศ์ เพื่อเป็นเกียรติแก่พระราชโอรส ผู้สำเร็จการศึกษาวิชาการทหารเรือ ณ พลับพลาสวนดุสิต พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ทรงได้รับพระราชทานยศเป็นเรือโท (เท่ากับนาวาตรีในปัจจุบัน) ตำแหน่งนายธง ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคมผู้บัญชาการกรมทหารเรือ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ ทรงเป็นเจ้านายที่ขยันทรงงาน ทั้งปรับปรุงแก้ไขระเบียบการศึกษา เรียนรู้การเดินเรือ ทรงเตรียมจัดสร้างโรงเรียนนายเรือเพื่อความเหมาะสมและในที่สุดก็ทรงจัดแก้ไขสภาพการจนมีโรงเรียนนายเรือ ที่ฝึกอบรมคนไทยเป็นทหารเรือที่มีความรู้ ความสามารถ เทียบเท่าโรงเรียนต้นแบบในยุโรปได้ ในเวลาไม่นานนัก

    พระกรณียกิจ ในพ.ศ.2449 (ร.ศ.125)

    เป็นการทำพิธีเปิดโรงเรียนนายเรือณ พระราชวังเดิม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินมาทรงกระทำพระราชพิธีเปิดโรงเรียนนายเรือ เมื่อ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2449 (ร.ศ.125) พระราชกรณียกิจที่ทรงวางรากฐานกองทัพเรือ นับเป็นคุณูปการแก่ประเทศสยามสืบมา ทรงเป็นพระบิดาของ
    กองทัพเรือไทย ทรงดำเนินพระภารกิจส่วนใหญ่เพื่อทหารเรือโดยแท้ จนบั้นปลายพระชนม์ชีพ ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงทหารเรือ เสด็จไปพักผ่อนจากการทรงงานเมื่อ 17 เมษายน พ.ศ. 2466 เสด็จฯจากกรุงเทพฯ เมื่อ 21 เมษายน 2466 ด้วยเรือหลวงเจนทะเล ไปประทับอยู่ที่ด้านใต้ปากน้ำชุมพร ณ บ้านสวนริมหาดทรายรีจังหวัดชุมพร เกิดเป็นพระโรคหวัดใหญ่เนื่องจากทรงถูกฝน ประชวรเพียง 3 วันก็สิ้นพระชนม์ที่ตำบลหาดทรายรี วันที่ 19พฤษภาคม พ.ศ. 2466 เวลา 11.40 น.สิริพระชนมายุได้ 42 พรรษา 5 เดือน ร.ล.เจนทะเล จึงเป็นเรืออัญเชิญพระศพ มาส่งต่อให้ ร.ล.พระร่วง นำพระศพมาประดิษฐานไว้ที่วังในพระนคร จัดพระราชพิธีอัญเชิญไปพระราชทานเพลิง วันจันทร์ที่24 ธันวาคม พ.ศ.2466 ณ พระเมรุท้องสนามหลวง จากนั้นได้อัญเชิญพระอัฐิบรรจุเก็บไว้ ณ วิหารน้อย วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพมหานคร ประกอบพิธีบำเพ็ญกุศลทักษิณานุประทาน ในวันที่19 พฤษภาคม เป็นประจำทุกปี อัฐิอีกส่วนหนึ่งบรรจุไว้ที่ใต้พระแท่น งานในฐานเสด็จในกรมหลวงชุมพรฯ ยอดเขากระโจมไฟ แหลมปู่เจ้าอำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ที่เรียกกันว่าฐานทัพเรือสัตหีบ ประสูติ 19 ธันวาคม 2423สิ้นพระชนม์ 19 พฤษภาคม 2466

    3(3048).jpg

    พลโทพระยาสุรินทราชาฯ บิดาของ หม่อมกอบแก้ว (วิเศษกุล) อาภากร ณ อยุธยา

    “วันอาภากร”

    19 พฤษภาคม ซึ่งเป็นวันสิ้นพระชนม์ของต้นราชสกุลอาภากรแล้ว ยังเป็นวันอำลาจากของอีกหลายท่านที่มีความสัมพันธ์สืบเนื่องกับราชสกุลอาภากร และสร้างประวัติศาสตร์สืบทอด มาเล่าสู่กันฟัง 19 พฤษภาคมสิ่งแรกที่จะได้เห็นทั่วทั้งประเทศไทย สืบทอดกันมา ทหารเรือจะแต่งกายสีขาวทั่วประเทศไทยเพื่อระลึกถึง พระบิดาแห่งกองทัพเรือไทย

    19 พฤษภาคม 2466 เป็นวันสิ้นพระชนม์ของ พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ต้นราชสกุล “อาภากร” พระบิดาของทหารเรือไทย

    19 พฤษภาคม 2484 บิดาของ หม่อมกอบแก้ว (วิเศษกุล) อาภากร ณ อยุธยา พลโทพระยาสุรินทราชาฯ(นกยูง) ต้นสกุลวิเศษกุล นักแปลและล่ามคนแรกของประเทศไทย นักเรียนฝึกหัดครูหมายเลข 1สมาคมนักแปลและล่ามแห่งประเทศไทยใช้นามท่านเป็นรางวัลให้กับนักแปลและล่ามดีเด่น คือ รางวัลสุรินทราชา

    19 พฤษภาคม 2489 พลโท,พลเรือโท, พลอากาศโท, พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอาทิตย์ ทิพอาภา พระโอรสองค์โตของ พลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ อดีตประธานคณะผู้สำเร็จราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯอานันทมหิดล (รัชกาลที่ 8) สิ้นชีพิตักษัย

    4(2212).jpg

    พลโท, พลเรือโท, พลอากาศโท, พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา

    19 พฤษภาคม 2551 สตรีที่มีความงดงาม สดใสดุจดวงมณีแจ่มจรัสหม่อมกอบแก้ว อาภากร ณ อยุธยาในพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา สตรีผู้หารายได้ช่วยองค์การยูนิเซฟสหประชาชาติ ภาคพื้นเอเซียได้เป็นลำดับที่ 1ติดต่อกัน 3 ปี และเป็นประธานฝ่ายหารายได้ สภากาชาดไทยมานานกว่า 22 ปี ได้อำลาสังขารด้วยวัย 100 ปี

    19 พฤษภาคม ของทุกปี จึงเป็นวันจารึกพระเกียรติคุณของเสด็จในกรมหลวงชุมพรฯ ความทรงจำของราชสกุลอาภากรของราชนาวีไทย กองทัพเรือที่มีพระองค์ท่านเป็นผู้บัญชาการทหารเรือที่สามารถ ทรงมีพรสวรรค์ในทางดนตรีและทรงมีพระอัจฉริยภาพทางการแพทย์แผนไทย จนเทิดพระนามท่านเป็น “หมอพร” ทรงเป็นต้นแบบของผู้นำการสร้างสรรค์ ให้คนไทยรู้รักสามัคคีดังความบางตอนในเพลงทรงนิพนธ์เพื่อราชนาวีไทย

    “เกิดมาเป็นไทย
    ใจร่วมกันแหละดี
    รักเหมือนพี่เหมือนน้อง
    ช่วยกันป้องปฐพี”
    และการที่ทรงเปรียบทหารเรือให้เข้ากับธรรมชาติสิ่งแวดล้อม
    “พวกเราทุกลำ
    จำเช่นดอกประดู่
    วันไหนวันดี
    บานคลี่พร้อมอยู่
    วันไหนร่วงโรย
    ดอกโปรยตกพรู
    ทหารเรือเราจงดู
    ตายเป็นหมู่เพื่อชาติไทย”

    ถ่ายทอดถ้อยคำได้ประทับใจมายาวนานจนปัจจุบัน เพื่อสร้างความรักสามัคคีของชาวไทยทุกชุมชน
    มิเพียงทหารเรือ วันอาภากร เป็นวันประวัติศาสตร์สำคัญวันหนึ่ง กรมหลวงชุมพรฯพระบิดา ผู้ทรงสร้างพลังทางทะเลให้ประเทศไทยสามารถนำเรือรบและธงราชนาวีไทย ไปโบกสะบัดพลิ้วในต่างแดน “ทั้งเซาท์ ทั้งเวสต์ทั้งนอร์ท ทั้งอีสท์” พื้นที่ทุกทวีปทั่วโลก ดังเพลงที่เคยได้ยินกันว่า “ทะเลนั้นเป็นเหมือนถิ่นของเรา”ความทรงจำใน “เสด็จเตี่ย” มิเคยลืม..

    5(1683).jpg

    หม่อมกอบแก้ว (วิเศษกุล) อาภากร ณ อยุธยา

    ที่มา : https://www.naewna.com/lady/573895
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 สิงหาคม 2021
  13. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
  14. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
  15. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
  16. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
  17. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
  18. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    เขี้ยวกระแตแลมะลิร้อย งามชดช้อยสร้อยมาลา
    ถวายองค์พระจักรา พระบิดาอาภากร
     
  19. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    อาภากรเกียรติวงศ์ (บาลีวันละคำ 1,448)
    19 พฤษภาคม 2016 Admin ธรรมธารา บาลีวันละคำ, อาภากรเกียรติวงศ์
    1-750_pages-to-jpg-0449-1024x441.jpg

    อาภากรเกียรติวงศ์
    ผู้เกิดในวงศ์ตะวันอันมีเกียรติ”อ่านว่า อา-พา-กอน-เกียด-ติ-วง
    ประกอบด้วย อาภากร + เกียรติ + วงศ์
    (๑) “อาภากร
    บาลีอ่านว่า อา-พา-กะ-ระ ประกอบด้วย (1) อาภา + กร (2) อาภา + อากร
    (1) อาภา + กร
    (ก) “อาภา” รากศัพท์มาจาก อา (คำอุปสรรค = ทั่วไป, ยิ่ง) + ภา (ธาตุ = รุ่งเรือง) + กฺวิ ปัจจัย, ลบ กฺวิ
    : อา + ภา = อาภา + กฺวิ = อาภากฺวิ > อาภา แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่รุ่งเรืองอย่างยิ่ง” หมายถึง การส่องแสง, ความงดงาม, ความรุ่งโรจน์, แสงสว่าง (shine, splendour, lustre, light)
    (ข) “กร” บาลีอ่านว่า กะ-ระ รากศัพท์มาจาก กรฺ (ธาตุ = ทำ) + ปัจจัย
    : กรฺ + = กร แปลตามศัพท์ว่า –
    (1) “การทำ” หมายถึง ผลิต, ก่อ, ประกอบ, กระทำ (producing, causing, forming, making, doing)
    (2) “ผู้ทำ” หมายถึง ผู้กระทำ (the maker)
    (3)“อวัยวะเป็นเครื่องทำงาน” หมายถึง มือ (the hand)
    อาภา + กร = อาภากร แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ทำแสงสว่าง” หมายถึง ดวงอาทิตย์
    (2) อาภา + อากร
    (ก) “อาภา” (ดูข้างต้น)
    (ข) “อากร” บาลีอ่านว่า อา-กะ-ระ รากศัพท์มาจาก อา (คำอุปสรรค = ทั่วไป, ข้างหน้า) + กรฺ (ธาตุ = ทำ) + ปัจจัย
    : อา + กรฺ = อากร + = อากร แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ทำไปทั่วๆ” “ผู้ทำไปข้างหน้า” หมายถึง บ่อ, แหล่งกำเนิดของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง (a mine)
    อาภา + อากร = อาภากร แปลตามศัพท์ “ผู้เป็นต้นกำเนิดของแสงสว่าง” หมายถึง ดวงอาทิตย์
    (๓) “เกียรติ
    บาลีเป็น “กิตฺติ” (กิด-ติ) รากศัพท์มาจาก กิตฺตฺ (ธาตุ = กล่าวถึง, พูดด้วยดี) + อิ ปัจจัย
    : กิตฺต + อิ = กิตฺติ แปลตามศัพท์ว่า “ความดีอันเขากล่าวถึง” หมายถึง คําเล่าลือ, คําสรรเสริญ, ชื่อเสียง, ความรุ่งโรจน์, เกียรติยศ (fame, renown, glory, honour)
    กิตฺติ” สันสกฤตเป็น “กีรฺติ
    สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน มีคำว่า “กีรฺตฺติ” และ “กีรฺติ” บอกไว้ดังนี้ :
    (สะกดตามต้นฉบับ)
    กีรฺตฺติ, กีรฺติ : (คำนาม) เกียรติ, ความบันลือ, ศรี (ยศสฺหรือสง่า), อนุเคราะห์, อนุกูลย์; ธันยวาท; ศัพท์, เสียง; อาภา, โศภา; โคลน, สิ่งโสโครก; ความซ่านทั่ว; มูรติทิพยศักดิ์ของพระกฤษณ; fame, renown, glory; favour; approbation; sound; light, lustre; mud, dirt; diffusion, expansion; one of the Mātrikās or personified divine energies of Krishṇa.”
    กิตฺติ > กีรฺติ เราเอามาแปลงรูปตามสูตรไทย คือ “อิ หรือ อี > เอีย
    ดังนั้น : กิ-, กี– > เกีย– : กิตฺติ, กีรฺติ = เกียรติ
    ความหมายในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า
    เกียรติ : (คำนาม) ชื่อเสียง, ความยกย่องนับถือ, ความมีหน้ามีตา. (ส. กีรฺติ; ป. กิตฺติ ว่า คำเล่าลือ, คำสรรเสริญ).”
    (๔) “วงศ์
    บาลีเป็น “วํส” (วัง-สะ) รากศัพท์มาจาก –
    (1) วนฺ (ธาตุ = คบหา) + ปัจจัย, แปลง นฺ (ที่ (ว)-นฺ เป็นนิคหิต (วนฺ > วํ)
    : วนฺ + = วนส > วํส แปลตามศัพท์ว่า “เชื้อสายที่แผ่ออกไป” (คือเมื่อ “คบหา” กันต่อๆ ไป คนที่รู้จักกันก็ขยายตัวเพิ่มขึ้น)
    (2) วสฺ (ธาตุ = อยู่) + ปัจจัย, ลงนิคหิตอาคมที่ต้นธาตุ (วสฺ > วํส)
    : วสฺ + = วส > วํส แปลตามศัพท์ว่า “อยู่รวมกัน
    วํส” ในบาลีใช้ในความหมายว่า –
    (1) ไม้ไผ่ (a bamboo)
    (2) เชื้อชาติ, เชื้อสาย, วงศ์ตระกูล (race, lineage, family)
    (3) ประเพณี, ขนบธรรมเนียมที่สืบต่อกันมา, ทางปฏิบัติที่เป็นมา, ชื่อเสียง (tradition, hereditary custom, usage, reputation)
    (4) ราชวงศ์ (dynasty)
    (5) ขลุ่ยไม้ไผ่, ขลุ่ยผิว (a bamboo flute, fife)
    (6) กีฬาชนิดหนึ่งซึ่งอุปกรณ์การเล่นทำด้วยไม้ไผ่ (a certain game)
    ในที่นี้ “วํส” ใช้ในความหมายตามข้อ (2)
    วํส” ในภาษาไทยใช้อิงรูปสันสกฤตเป็น “วงศ์
    อาภากร + เกียรติ + วงศ์ = อาภากรเกียรติวงศ์ มีความหมายว่า “ผู้เกิดในวงศ์ตะวันอันมีเกียรติ
    อาภากรเกียรติวงศ์” เป็นพระนามเดิมของผู้ที่คนไทยทั่วไปรู้จักกันในนาม “กรมหลวงชุมพร” หรือ “เสด็จเตี่ย” คือ พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
    สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พุทธศักราช 2466 ณ หาดทรายรี จังหวัดชุมพร
    กองทัพเรือถวายพระสมัญญานามว่า “องค์บิดาของทหารเรือไทย” และกำหนดให้วันที่ 19 พฤษภาคม เป็น “วันอาภากร”
    ………….

    : บางคนแม้มีชีวิตอยู่ก็ไม่มีใครรู้จัก
    : บางคนตายแล้วยังมีคนรักไม่รู้จบ

    ดูก่อนภราดา!

    ท่านเลือกที่จะเป็นคนชนิดเช่นไรเล่า?

    19-5-59
    ครูทองย้อย
    ที่มา : https://dhamtara.com/?p=4896
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 สิงหาคม 2021
  20. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293

แชร์หน้านี้

Loading...