จิตพร้อม? รับภัยพิบัติ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย ภูภู, 6 เมษายน 2012.

  1. เกษม

    เกษม ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    24,696
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +77,193
    โมทนาสาธุครับ ทำได้ขนาดนี้ถือว่ามีความตั้งใจสูง ความพยายามอยู่ที่ไหนความสำเร็จก็อยู่ที่นั่นครับ เอาไปเลย 100 คะแนนเต็ม !!!
     
  2. ทอนเงิน

    ทอนเงิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2017
    โพสต์:
    549
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +707
    ขอบคุณครับอาจารย์เกษมตอนนี้ผมก็อยู่ระหว่างสำรอกใช้กรรมเขาไปพลางๆละครับเขาเล่นคุณไสยไส่กะเอาถึงตายเลยครับ
     
  3. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    46,995
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
    .......... HappyNYThai.jpg
    ปีใหม่ดีกว่าปีเก่า

    am maninter
    Published on Oct 11, 2013
     
  4. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    46,995
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
    LpRuesriVipasnaNippan.jpg
     
  5. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    46,995
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
  6. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    46,995
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
    ..................... LpApichartApichatoFortuneteller.jpg
     
  7. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    46,995
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
    liveWellDieWell.jpg
    “อยู่ดี” กับ “ตายดี” เป็นสิ่งที่ไปด้วยกัน หากว่าการอยู่ดีนั้นหมายถึงการใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่า หมั่นทำความดี ละเว้นความชั่ว รวมทั้งลดละความเห็นแก่ตัวและอารมณ์อกุศลที่สร้างความทุกข์ให้แก่จิตใจ (ไม่ใช่ “อยู่ดีกินดี” หรืออยู่อย่างอัครฐาน พรั่งพร้อมด้วยทรัพย์สมบัติ) การตายดีก็เป็นอันหวังได้

    ในทำนองเดียวกันหากฝึกจิตอยู่เสมอเพื่อการตายดี ย่อมส่งผลให้การดำเนินชีวิตของเราเป็นไปในทางที่ดีงาม เช่น เห็นความสำคัญของการอยู่อย่างไม่ประมาท มีศรัทธาในสิ่งดีงาม ขณะเดียวกันก็รู้จักปล่อยวาง

    พระไพศาล วิสาโล
     
  8. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    46,995
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
    ....................... LpKaoSafetyFirst.jpg
     
  9. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    46,995
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
    บริษัทประกันภัย
    LifeInsurance.jpg
     
  10. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    46,995
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
    LpBuaBoonLittleTimeLeft.jpg
     
  11. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    46,995
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
  12. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    46,995
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
    LineLikeLike.jpg
     
  13. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    46,995
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
    ค้นพบสาเหตุที่ลูกช้างตายเป็นจำนวนมาก



    20994042_1649840695047537_122722849353646335_n.jpg

    ค้นพบสาเหตุที่ทำให้ลูกช้างตายเป็นจำนวนมาก
    .
    สัตวแพทย์ได้สรุปสาเหตุออกมาแล้ว ถึงสาเหตุที่ "ลูกช้าง" ได้ตายเป็นจำนวนมากหลายชีวิต สาเหตุมาจาก นักการเมืองทั้งหลายที่ชอบสาบถสาบานก่อนที่จะมาทำงาน แล้วไม่ยอมทำตามที่สาบานไว้ โดยโกงบ้านกินเมืองกันนั่นเอง โดยที่นักการเมืองได้สาบานไว้ว่า
    .
    "ลูกช้างขอสาบานตน ถ้า "ลูกช้าง" ได้ทำงานรับใช้บ้านเมืองแล้ว หากกระทำการทุจริตโกงกิน ขอให้ "ลูกช้าง" มีอันเป็นไป"
    .
    ดังนั้น "ลูกช้าง" จึงเสียชีวิตเป็นจำนวนมากด้วยสาเหตุนี้นี่เอง ผอ.หน่วยรักษาพันธ์ุสัตว์ป่า แนะแนวทางแก้ไขปัญหาว่า
    .
    "เพื่อป้องกันมิให้ "ลูกช้าง" ต้องตายอีกเป็นจำนวนมาก เห็นควรเสนอให้รัฐสภา ออกกฎหมายนิรโทษกรรม ห้ามนักการเมืองสาบานตนโดยเรียกตัวเองว่า "ลูกช้าง" อย่างเด็ดขาด"
    :) - http://www.doisaengdham.org/index.p...ategory=doisaengdhamorg&thispage=1&No=1441893
     
  14. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    46,995
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
    Songkranday12April.jpg
    ขอคุณพระรัตนตรัยคุ้มครองทุกๆท่านค่ะ
     
  15. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    46,995
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
    Buddhaandmonkss.jpg
    ลักษณะการพูดของสัตตบุรุษ คืออย่างไร::
    ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ
    เป็นที่รู้กันว่า เป็นสัตบุรุษ
    ๔ ประการ อย่างไรเล่า ? ๔ ประการ คือ :-
    (๑) ภิกษุทั้งหลาย ! สัตบุรุษในกรณีนี้
    แม้มีใครถามถึงความไม่ดีของบุคคลอื่น
    ก็ไม่เปิดเผยให้ปรากฏ
    จะกล่าวทำไมถึงเมื่อไม่ถูกใครถาม;
    ก็เมื่อถูกใครถามถึงความไม่ดีของบุคคลอื่น
    ก็นำเอาปัญหาไปทำให้หลีกเลี้ยวลดหย่อนลง
    กล่าวความไม่ดีของผู้อื่นอย่างไม่พิสดารเต็มที่
    ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนี้พึงรู้กันเถิดว่า คนคนนี้ เป็น สัตบุรุษ
    -
    (๒) ภิกษุทั้งหลาย ! สัตบุรุษอย่างอื่นยังมีอีก
    คือ แม้ไม่ถูกใครถามอยู่
    ถึงความดีของบุคคลอื่น ก็ยังนำมาเปิดเผยให้ปรากฏ
    จะต้องกล่าวทำไมถึงเมื่อถูกใครถาม;
    ก็เมื่อถูกใครถามถึงความดีของบุคคลอื่น
    ก็นำเอาปัญหา ไปทำให้ไม่หลีกเลี้ยวลดหย่อน
    กล่าวความดีของผู้อื่น โดยพิสดารบริบูรณ์
    ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนี้พึงรู้กันเถิดว่า คนคนนี้ เป็น สัตบุรุษ
    -
    (๓) ภิกษุทั้งหลาย ! สัตบุรุษอย่างอื่นยังมีอีก
    คือ แม้ไม่มีใครถามถึงความไม่ดีของตน
    ก็ยังนำเปิดเผยทำให้ปรากฏ
    ทำไมจะต้องกล่าวถึงเมื่อถูกถามเล่า;
    ก็เมื่อถูกใครถามถึงความไม่ดีของตน
    ก็ไม่นำเอาปัญหา ไปหาทางทำให้ลดหย่อนบิดพลิ้ว
    แต่กล่าวความไม่ดีของตนโดยพิสดารเต็มที่
    ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนี้พึงรู้กันเถิดว่า คนคนนี้ เป็น สัตบุรุษ
    (๔) ภิกษุทั้งหลาย ! สัตบุรุษอย่างอื่นยังมีอีก
    คือ แม้มีใครถามถึงความดีของตน
    ก็ไม่เปิดเผยให้ปรากฏ
    ทำไมจะต้องกล่าวถึงเมื่อไม่ถูกใครถามเล่า;
    ก็เมื่อถูกใครถามถึงความดีของตน
    ก็นำเอาปัญหาไปกระทำให้ลดหย่อนหลีกเลี้ยวเสีย
    กล่าวความดีของตนโดยไม่พิสดารเต็มที่
    ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนี้พึงรู้กันเถิดว่า คนคนนี้ เป็น สัตบุรุษ
    ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเหล่านี้แล
    เป็นที่รู้กันว่า เป็นสัตบุรุษ
    ปฐมธรรม หน้า ๕๓
    (ไทย) จตุกฺก. อํ. ๒๑/๗๖/๗๓.
    :- http://buddhawajana252.blogspot.com/2016/10/bn4386_6.html
     
  16. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    46,995
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
    นิมิตฺตํ สาธุรูปานํ กตญฺญูกตเวทิตา
    อ่านว่า (นิ-มิด-ตัง-สา-ทุ-รู-ปา-นัง-กะ-ตัน-ยู-กะ-ตะ-เว-ทิ-ตา)
    ความกตัญญู รู้คุณ เป็นเครื่องหมายของคนดี

    กตัญญู หมายถึง บุคคลผู้รู้คุณของคนอื่น กตเวที หมายถึง บุคคลที่ตอบแทนผู้มีคุณแก่ตน ดังนั้น คำว่า กตัญญูกตเวที จึงหมายถึง บุคคลผู้รู้คุณที่คนอื่นกระทำแล้วและทำตอบแทน

    บุคคลที่มีคุณและสร้างสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่เรานั้นมีมากมาย ยกตัวอย่างเช่น พ่อแม่ ครูอาจารย์ พระมหากษัตริย์ เป็นต้น

    พ่อแม่ เป็นผู้ให้กำเนิดแก่ลูก เลี้ยงดูป้องกันและรักษาพ่อแม่ที่เป็นพ่อแม่จริงๆ เมื่อให้กำเนิดลูกแล้วจะไม่ทอดทิ้ง ถึงแม้จะประสบความลำบากยากจน ลำเค็ญสักเพียงใดก็ตาม ก็จะไม่ทอดทิ้งลูก กลับคอยป้องกันภัยอันตรายต่างๆ ไม่ให้เกิดแก่ลูก เมื่อมีเหตุสุดวิสัยที่จะป้องกันได้ เช่น ต้องประสบภัยคือความเจ็บไข้ได้ป่วย พ่อแม่ก็ไม่ทอดทิ้งพยายามรักษา พยาบาลด้วยตัวเองบ้าง หาหมอมารักษาบ้าง บางครั้งพ่อแม่ต้องทำงานหนัก อาบเหงื่อต่างน้ำ ยอมอด ยอมทนเพื่อลูก ต้องการให้ลูกได้ศึกษาเล่าเรียน มีความรู้ ความฉลาดเท่าทันคนอื่น พ่อแม่ นอกจากจะให้กำเนิด เลี้ยงดู ป้องกันรักษาลูกแล้ว ท่านทั้งสองยังมีจิตใจที่ประกอบด้วยคุณธรรม คือ พรหมวิหารธรรม 4 ประการ อันได้แก่ เมตตา ความรักใคร่สนิทสนม กรุณา ความปรานีสงสารในเมื่อมีความทุกข์ยากเดือดร้อน มุทิตา พลอยยินดีในความสำเร็จของลูกด้วยความจริงใจ และ อุเบกขา ความวางเฉยในเมื่อลูกมีการงานทำ สามารถเลี้ยงตนและครอบครัวได้

    พ่อแม่ได้เลี้ยงดู จึงต้องเลี้ยงท่านตอบแทน ช่วยทำการงานของท่าน รักษาวงศ์สกุลไว้ ประพฤติตนให้เป็นผู้ควรรับมรดก เมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว ควรทำบุญอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลไปให้ ดังนั้น พ่อแม่จึงเป็นผู้มีคุณแก่ลูกทั้งหลาย

    ครูอาจารย์ เป็นผู้ประสิทธิ์ประสาทความรู้ให้ ไม่ว่าจะเป็นระดับไหน ชั้นไหนก็ตาม เรียกว่าท่านสอนให้เรามีความรู้ ความสามารถ ประกอบด้วยคุณธรรม จริยธรรม นำคุณธรรมและจริยธรรมไปใช้เป็นเครื่องมือป้องกันตัวเอง นำความรู้ความสามารถไปใช้เป็นเครื่องมือในการประกอบอาชีพการงาน ครูอาจารย์นับได้ว่า เป็นครูคนที่สองรองจากพ่อแม่

    ครูอาจารย์ ได้อบรมสั่งสอน จึงต้องต้อนรับด้วยความเต็มใจ เมื่ออยู่ร่วมกับท่าน ต้องเข้าไปคอยอุปัฏฐากรับใช้ เมื่อไม่ได้รับใช้ใกล้ชิดท่าน เวลาท่านมีกิจเรียกใช้ ก็ยินดีรับใช้ เชื่อฟังคำสอนของท่าน และตั้งใจศึกษาเล่าเรียน ดังนั้น ครูอาจารย์จึงเป็นผู้มีคุณแก่ศิษย์ทั้งหลาย

    พระมหากษัตริย์ หมายถึง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระ องค์ผู้ทรงเป็นพระประมุขของประเทศ สืบเชื้อสายมาจากกษัตริย์องค์ก่อนๆ ซึ่งได้รักษาเอกราชของประเทศมา ไม่ต้องตกเป็นเมืองขึ้นของชาติอื่น มอบมรดกคือเอกราชและอธิปไตยไว้ให้แก่พวกเรา แม้ทุกวันนี้พระองค์ทรงเป็นศูนย์รวมแห่งจิตใจของชนชาติไทย ทรงสละความสุขส่วนพระองค์เพื่อความสุขของพสกนิกร โดยไม่เลือกชั้นวรรณะ แม้จะอยู่ในถิ่นทุรกันดารไกลแสนไกลเพียงใด พระองค์ก็เสด็จไปบำบัดทุกข์ บำรุงสุข ช่วยเหลือและให้กำลังใจเสมอ

    ดังนั้น พระมหากษัตริย์ จึงเป็นผู้มีคุณแก่พสกนิกรทั้งหลาย สมควรที่บุคคลผู้อาศัยอยู่ใต้ร่มพระบารมีต้องประพฤติตนเป็นพลเมืองดี เคารพเชื่อฟังในพระบรมราโชวาทที่ตรัสสอน

    ด้วยเหตุที่พ่อแม่ ครูอาจารย์ และพระมหากษัตริย์ ได้สร้างสิ่งที่เป็นประโยชน์ให้แก่ลูก จึงนับว่าเป็นผู้มีคุณ และสมควรอย่างยิ่งที่ทุกๆ คนควรที่จะตอบแทนคุณ คือ สร้างสิ่งที่เป็นประโยชน์ให้แก่ท่านเหล่านั้นบ้าง ตามสมควรแก่ความสามารถและโอกาสอำนวย


    แหล่งข้อมูล
    http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROaWRXUXdOekExTURZMU13PT0
     
  17. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    46,995
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
    Tomorrow-Buddhist-holyday (2).jpg
     
  18. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    46,995
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
    BuddhaTeaching (2).jpg
    เกสปุตตสูตร - มิให้เชื่อโดยอาการ ๑๐ อย่าง


    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในโกศลชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จถึงนิคมของพวกกาลามะ ชื่อว่า เกสปุตตะ พวกชนกาลามโคตร ชาวเกสปุตตนิคมได้สดับข่าวมาว่า พระสมณโคดมศากยบุตร ทรงผนวชจากศากยสกุลแล้ว เสด็จมาถึงเกสปุตตนิคมโดยลำดับ ก็กิตติศัพท์อันงามของพระสมณโคดมพระองค์นั้นแล ขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า

    แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทรงเบิกบานแล้ว ทรงจำแนกธรรม พระองค์ทรงทำโลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองค์เองแล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม

    พระองค์ทรงแสดงธรรมไพเราะในเบื้องต้น ไพเราะในท่ามกลาง ไพเราะในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถพร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง

    ก็การได้เห็นพระอรหันต์ทั้งหลายเห็นปานนั้น ย่อมเป็นความดีแล
    ครั้งนั้น ชนกาลามโคตร ชาวเกสปุตตนิคม ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคจนถึงที่ประทับ บางพวกถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้น ผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกประนมมือไปทางพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกประกาศชื่อและโคตรแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกนั่งเฉย ๆ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เมื่อต่างก็นั่งลงเรียบร้อยแล้ว

    จึงได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า

    “พระพุทธเจ้าข้า มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มายังเกสปุตตนิคม สมณพราหมณ์พวกนั้น พูดประกาศแต่เฉพาะวาทะของตัวเท่านั้น ส่วนวาทะของผู้อื่น ช่วยกันกระทบกระเทียบ ดูหมิ่น พูดกด ทำให้ไม่น่าเชื่อ

    พระพุทธเจ้าข้า มีสมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่ง มายังเกสปุตตนิคม ถึงพราหมณ์พวกนั้น ก็พูดประกาศแต่เฉพาะวาทะของตนเท่านั้น ส่วนวาทะของผู้อื่น ช่วยกันกระทบกระเทียบ ดูหมิ่น พูดกด ทำให้ไม่น่าเชื่อ

    พระพุทธเจ้าข้า พวกข้าพระองค์ยังมีความเคลือบแคลงสงสัยในสมณพราหมณ์เหล่านั้นอยู่ทีเดียวว่า ท่านสมณพราหมณ์เหล่านั้น ใครพูดจริง ใครพูดเท็จ”

    พระผู้มีพระภาค ตรัสตอบว่า

    “ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ก็ควรแล้วที่ท่านทั้งหลายจะเคลือบแคลงสงสัย และท่านทั้งหลายเกิดความเคลือบแคลงสงสัยในฐานะที่ควรแล้ว

    มาเถิดท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย…

    อย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟังมา
    อย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำสืบ ๆ กันมา
    อย่าได้ยึดถือโดยตื่นข่าวว่า ได้ยินอย่างนี้
    อย่าได้ยึดถือโดยอ้างตำรา
    อย่าได้ยึดถือโดยเดาเอาเอง
    อย่าได้ยึดถือโดยคาดคะเน
    อย่าได้ยึดถือโดยความตรึกตามอาการ
    อย่าได้ยึดถือโดยชอบใจว่า...
    ต้องกันกับทิฐิของตัว
    อย่าได้ยึดถือโดยเชื่อว่า...
    ผู้พูดสมควรจะเชื่อได้
    อย่าได้ยึดถือโดยความนับถือว่า...
    สมณะนี้เป็นครูของเรา


    เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล ธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้ ผู้รู้ติเตียน ธรรมเหล่านี้ ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้วเป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์ เมื่อนั้น ท่านทั้งหลาย ควรละธรรมเหล่านั้นเสีย

    ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน

    ความโลภ เมื่อเกิดขึ้นในภายในบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ หรือเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์”

    เพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ พระพุทธเจ้าข้า”

    “ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ก็บุคคลผู้โลภ ถูกความโลภครอบงำ มีจิตอันความโลภกลุ้มรุมนี้ ย่อมฆ่าสัตว์ก็ได้ ลักทรัพย์ก็ได้ คบชู้ก็ได้ พูดเท็จก็ได้ สิ่งใดเป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์ สิ้นกาลนาน บุคคลผู้โลภ ย่อมชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้นก็ได้”

    “จริงอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”

    “ท่านทั้งหลาย จะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน

    ความโกรธ เมื่อเกิดขึ้นในภายในบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ หรือเพื่อสิ่งไม่ใช่ประโยชน์”

    “เพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ พระพุทธเจ้าข้า”

    “ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ก็บุคคลผู้โกรธ ถูกความโกรธครอบงำ มีจิตอันความโกรธกลุ้มรุมนี้ ย่อมฆ่าสัตว์ก็ได้ ลักทรัพย์ก็ได้ คบชู้ก็ได้ พูดเท็จก็ได้ สิ่งใดเป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์ สิ้นกาลนาน บุคคลผู้โกรธย่อมชักชวนผู้อื่น เพื่อความเป็นอย่างนั้นก็ได้”

    จริงอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”

    “ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน

    ความหลง เมื่อเกิดขึ้นในภายในของบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ หรือเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์”

    เพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ พระพุทธเจ้าข้า”

    ดูกรกาลามชนทั้งหลาย บุคคลผู้หลง ถูกความหลงครอบงำ มีจิตอันความหลงกลุ้มรุมนี้ ย่อมฆ่าสัตว์ก็ได้ ลักทรัพย์ก็ได้ คบชู้ก็ได้ พูดเท็จก็ได้ สิ่งใดเป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์เพื่อทุกข์ สิ้นกาลนาน บุคคลผู้หลง ย่อมชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้นก็ได้”

    จริงอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”

    “ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน

    ธรรมเหล่านี้เป็นกุศลหรือเป็นอกุศล”

    เป็นอกุศล พระพุทธเจ้าข้า”

    มีโทษหรือไม่มีโทษ”

    มีโทษ พระพุทธเจ้าข้า”

    ท่านผู้รู้ติเตียนหรือท่านผู้รู้สรรเสริญ”

    ท่านผู้รู้ติเตียน พระพุทธเจ้าข้า”

    ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์หรือหาไม่ ในข้อนี้ ท่านทั้งหลายมีความเห็นอย่างไร”

    ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์ ในข้อนี้ ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความเห็นเช่นนี้”

    ดูกรกาลามชนทั้งหลาย เราได้กล่าวคำใดไว้ว่า

    ดูกรกาลามชนทั้งหลาย มาเถอะท่านทั้งหลาย…

    ท่านทั้งหลาย อย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟังมา อย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำสืบ ๆ กันมา อย่าได้ยึดถือโดยตื่นข่าวว่า ได้ยินอย่างนี้ อย่าได้ยึดถือโดยอ้างตำรา อย่าได้ยึดถือโดยเดาเอาเอง อย่าได้ยึดถือโดยคาดคะเน อย่าได้ยึดถือโดยความตรึกตามอาการ อย่าได้ยึดถือโดยชอบใจว่าต้องกันกับทิฐิของตัว อย่าได้ยึดถือโดยเชื่อว่าผู้พูดสมควรจะเชื่อได้ อย่าได้ยึดถือโดยความนับถือว่า สมณะนี้เป็นครูของเรา

    เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล ธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้ติเตียน ธรรมเหล่านี้ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์ เมื่อนั้น ท่านทั้งหลายควรละธรรมเหล่านั้นเสีย
    เพราะอาศัยคำที่เราได้กล่าวไว้แล้วนั้น เราจึงได้กล่าวไว้ดังนี้

    ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย…

    อย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟังมา
    อย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำสืบ ๆ กันมา
    อย่าได้ยึดถือโดยตื่นข่าวว่า ได้ยินอย่างนี้
    อย่าได้ยึดถือโดยอ้างตำรา
    อย่าได้ยึดถือโดยเดาเอาเอง
    อย่าได้ยึดถือโดยคาดคะเน
    อย่าได้ยึดถือโดยความตรึกตามอาการ
    อย่าได้ยึดถือโดยชอบใจว่า...
    ต้องกันกับทิฐิของตัว
    อย่าได้ยึดถือโดยเชื่อว่า...
    ผู้พูดสมควรจะเชื่อได้
    อย่าได้ยึดถือโดยความนับถือว่า...
    สมณะนี้เป็นครูของเรา


    เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองว่าธรรมเหล่านี้เป็นกุศล ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้สรรเสริญ ธรรมเหล่านี้ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อสุข เมื่อนั้น ท่านทั้งหลายควรเข้าถึงธรรมเหล่านั้นอยู่

    ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน

    ความไม่โลภ เมื่อเกิดขึ้นในภายในบุรุษ ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์หรือเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์”

    เพื่อประโยชน์ พระพุทธเจ้าข้า”

    ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ไม่โลภ ไม่ถูกความโลภครอบงำมีจิตไม่ถูกความโลภกลุ้มรุมนี้ ย่อมไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่คบชู้ ไม่พูดเท็จ สิ่งใดย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข สิ้นกาลนาน บุคคลผู้ไม่โลภ ย่อมชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้น”

    จริงอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”

    ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน

    ความไม่โกรธ เมื่อเกิดขึ้นในภายในของบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ หรือเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์

    “เพื่อประโยชน์ พระพุทธเจ้าข้า”

    “ดูกรกาลามชนทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่โกรธ ไม่ถูกความโกรธครอบงำมีจิตไม่ถูกความโกรธกลุ้มรุมนี้ ย่อมไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่คบชู้ ไม่พูดเท็จ สิ่งใดเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข สิ้นกาลนาน บุคคลผู้ไม่โกรธ ย่อมชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้น”

    “จริงอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”

    ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน

    ความไม่หลง เมื่อเกิดขึ้นในภายในของบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ หรือเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์”

    เพื่อประโยชน์ พระพุทธเจ้าข้า”

    “ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ไม่หลง ไม่ถูกความหลงครอบงำ มีจิตไม่ถูกความหลงกลุ้มรุมนี้ ย่อมไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่คบชู้ ไม่พูดเท็จ สิ่งใดย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข สิ้นกาลนาน บุคคลผู้ไม่หลง ย่อมชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้น”

    จริงอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”

    ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน

    ธรรมเหล่านี้เป็นกุศลหรือเป็นอกุศล”

    เป็นกุศล พระพุทธเจ้าข้า”

    มีโทษหรือไม่มีโทษ”

    “ไม่มีโทษ พระพุทธเจ้าข้า”

    ท่านผู้รู้ติเตียนหรือท่านผู้รู้สรรเสริญ”

    ท่านผู้รู้สรรเสริญ พระพุทธเจ้าข้า”

    ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขหรือหาไม่ ในข้อนี้ ท่านทั้งหลายมีความเห็นอย่างไร”

    ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ในข้อนี้ ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความเห็นเช่นนี้”

    ดูกรกาลามชนทั้งหลาย เราได้กล่าวคำใดไว้ว่า

    ดูกรกาลามชนทั้งหลาย มาเถอะท่านทั้งหลาย…

    ท่านทั้งหลาย อย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟังมา อย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำสืบ ๆ กันมา อย่าได้ยึดถือโดยตื่นข่าวว่า ได้ยินว่าอย่างนี้ อย่าได้ยึดถือโดยอ้างตำรา อย่าได้ยึดถือโดยเดาเอาเอง อย่าได้ยึดถือโดยคาดคะเน อย่าได้ยึดถือโดยตรึกตามอาการ อย่าได้ยึดถือโดยชอบใจว่าต้องกันกับทิฐิของตน อย่าได้ยึดถือโดยเชื่อว่าผู้พูดสมควรเชื่อได้ อย่าได้ยึดถือโดยความนับถือว่าสมณะนี้เป็นครูของเรา

    เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นกุศลธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้สรรเสริญ ธรรมเหล่านี้ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข เมื่อนั้น ท่านทั้งหลายควรเข้าถึงธรรมเหล่านั้นอยู่
    เพราะอาศัยคำที่เราได้กล่าวไว้แล้วนั้น เราจึงได้กล่าวไว้ดังนี้

    เจริญอัปมัญญา

    ดูกรกาลามชนทั้งหลาย อริยสาวกนั้น ปราศจากความโลภ ปราศจากความพยาบาท ไม่หลงแล้ว อย่างนี้

    มีสัมปชัญญะ มีสติมั่นคง มีใจประกอบด้วยเมตตา แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลกทั่วสัตว์ทุกข์เหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจอันประกอบด้วยเมตตาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่

    มีสัมปชัญญะ มีสติมั่นคง มีใจประกอบด้วยกรุณา แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลกทั่วสัตว์ทุกข์เหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจอันประกอบด้วยกรุณาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่

    มีสัมปชัญญะ มีสติมั่นคง มีใจประกอบด้วยมุทิตา แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลกทั่วสัตว์ทุกข์เหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจอันประกอบด้วยมุทิตาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่

    มีสัมปชัญญะ มีสติมั่นคง มีใจประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลกทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจอันประกอบด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประโยชน์มิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่

    ดูกรกาลามชนทั้งหลาย อริยสาวกนั้น มีจิตไม่มีเวรอย่างนี้ มีจิตไม่มีความเบียดเบียนอย่างนี้ มีจิตไม่เศร้าหมองอย่างนี้ มีจิตผ่องแผ้วอย่างนี้ ย่อมได้รับความอุ่นใจ ๔ ประการในปัจจุบันว่า

    ความอุ่นใจ ๔ ประการ

    ก็ถ้าปรโลกมีจริง ผลวิบากของกรรมทำดีทำชั่วมีจริง เหตุนี้เป็นเครื่องให้เราเมื่อแตกกายตายไป จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดังนี้

    ความอุ่นใจข้อที่ ๑ นี้ พระอริยสาวกนั้นได้แล้ว

    ก็ถ้าปรโลกไม่มี ผลวิบากของกรรมทำดี ทำชั่วไม่มี เราไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีทุกข์เป็นสุข บริหารตนอยู่ในปัจจุบันนี้ ดังนี้

    ความอุ่นใจข้อที่ ๒ นี้ พระอริยสาวกนั้นได้แล้ว

    ก็ถ้าเมื่อบุคคลทำอยู่ ชื่อว่าทำบาป เราไม่ได้คิดความชั่วให้แก่ใคร ๆ ไหนเลย ทุกข์ จักมาถูกต้องเราผู้ไม่ได้ทำบาปกรรมเล่า ดังนี้

    ความอุ่นใจข้อที่ ๓ นี้ พระอริยสาวกนั้นได้แล้ว

    ก็ถ้าเมื่อบุคคลทำอยู่ ไม่ชื่อว่าทำบาป เราก็ได้พิจารณาเห็นตนว่าเป็นคนบริสุทธิ์แล้วทั้งสองส่วน ดังนี้

    ความอุ่นใจข้อที่ ๔ นี้ พระอริยสาวกนั้นได้แล้ว


    ดูกรกาลามชนทั้งหลาย อริยสาวกนั้น มีจิตไม่มีเวรอย่างนี้ มีจิตไม่มีความเบียดเบียนอย่างนี้ มีจิตไม่มีเศร้าหมองอย่างนี้ มีจิตผ่องแผ้วอย่างนี้ ย่อมได้รับความอุ่นใจ ๔ ประการนี้แลในปัจจุบัน”
    “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระสุคต ข้อนี้เป็นอย่างนั้น

    ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระอริยสาวกนั้น มีจิตไม่มีเวรอย่างนี้ มีจิตไม่มีความเบียดเบียนอย่างนี้ มีจิตไม่เศร้าหมองอย่างนี้ มีจิตผ่องแผ้วอย่างนี้ ท่านย่อมได้ความอุ่นใจ ๔ ประการในปัจจุบัน

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระองค์ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยหวังว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูป ฉะนั้น

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ ขอถึงพระองค์กับทั้งธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระองค์โปรดทรงจำพวกข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป”

    อ้างอิง : เกสปุตตสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๐ ข้อ ๕๐๕ หน้า ๑๗๙-๑๘๔
     
  19. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    46,995
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
    แมลงเต่าทอง_02[1].jpg
    hornet_male.jpg hornet_female.jpg
    เต่าทองกับแตนเบียน

    อาตมาเคยอ่านเรื่องราวของเต่าทองจากนิตยสารเนชันแนลจีโอกราฟฟิก เต่าทองเป็นแมลงที่ดุมาก พวกนกไม่กล้าเล่นงานเพราะมันมีพิษ เวลาที่นกจะกิน แมลงเต่าทองก็คายพิษออกมา นกก็ต้องคายมันทิ้งไป แต่มันกลับไปเสียท่าแมลงชนิดหนึ่งซึ่งเป็นพวกปาราสิต เรียกว่าแตนเบียน ตัวเต็มวัยของแตนเบียนจะต่อยแมลงเต่าทอง จากนั้นก็จะวางไข่ไว้ในช่องท้องของแมลงเต่าทอง แล้วตัวอ่อนแตนเบียนก็เติบโตขึ้นโดยกินสารอาหารในตัวแมลงเต่าทอง พอโตจนเข้าระยะดักแด้ ตัวหนอนก็จะเจาะท้องแมลงเต่าทองออกมา แล้วสร้างรังไหมห่อตัวเอง แมลงเต่าทองแทนที่จะเล่นงานแตนเบียน กลับคอยปกป้องมัน ป้องกันภัยให้มัน เวลามีสัตว์เข้ามาใกล้ ๆ เต่าทองจะขยับแย้งขยับขา เพื่อขู่ไม่ให้ใครมากินตัวอ่อน ทั้งที่ตัวอ่อนของแตนเบียนนี้เป็นปาราสิต ดูดเอาอาหารจากเต่าทอง เต่าทองแทนที่จะเล่นงานมัน กลับปกป้องเสียอีก ไม่ให้ใครเข้ามาทำร้ายตัวอ่อนแตนเบียนในรังไหมได้
    แมลงเต่าทองโง่มากเลยนะ แตนเบียนเป็นอันตรายกับมันแท้ๆ แต่กลับปกป้องมัน แต่จะว่าไปแล้ว คนเราก็ทำอย่างนั้นกับกิเลสและอัตตาเหมือนกัน กิเลสไม่ได้เป็นคุณต่อเราเลย อัตตาก็เป็นโทษมาก มันทนฟังคำวิจารณ์คำแนะนำไม่ได้ ทั้งที่คำแนะนำคำวิจารณ์อาจมีประโยชน์ แต่มันไม่ชอบก็เลยสั่งให้เราไปด่าคนที่วิจารณ์หรือคนที่แนะนำท้วงติง เราก็เลยกลายเป็นผู้พิทักษ์อัตตา คอยเล่นงานหรือคอยไล่ล่าคนที่มากระทบกระแทกอัตตา
    ถ้าเรามีสติ เราจะไม่ปกป้องมัน แต่จะต้องเล่นงานมันด้วยซ้ำ ถ้ามันกร่างมากก็ต้องตวาดมัน อย่าให้มันเป็นใหญ่เหนือเรา เวลาอัตตารู้สึกขุ่นเคืองใจเมื่อมีเพื่อนร่วมงานมาท้วงติง เราไม่ควรจะปกป้องมัน เราไม่ควรเป็นข้ารับใช้มัน แต่ส่วนใหญ่ไม่ทำอย่างนั้น พอมันสั่งให้ด่า เราก็ด่า เลยเกิดปัญหากับเพื่อน นี่เราโง่หรือเราฉลาด ถ้าฉลาดเราควรฟังคำวิจารณ์ และนำมาพิจารณาว่าเขาพูดถูกหรือไม่ มีประโยชน์หรือไม่
    ส่วนความทุกข์ที่เกิดขึ้นเวลาถูกตำหนิ ก็ให้ตระหนักว่านั่นเป็นความทุกข์ของอัตตาหรือกิเลส ไม่ใช่ความทุกข์ของเรา เหมือนที่แมลงเต่าทองคิดว่า ความทุกข์ของแตนเบียน เป็นความทุกข์ของมัน มันก็เลยปกป้องแตนเบียน หารู้ไม่ว่าพอแตนเบียนโตเต็มที่แมลงเต่าทองก็ตาย เพราะอวัยวะภายในถูกทำลายไปเยอะแล้ว ที่จะมีชีวิตอยู่รอดต่อไปมีน้อยมาก คนเราก็ถูกอัตตากระทำเช่นนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้นเราอย่าไปยอมเป็นเครื่องมือของมัน เวลารู้สึกเสียหน้า ขุ่นเคืองเพราะถูกข้ามหน้าข้ามตา หรือถูกวิจารณ์ แทนที่จะโกรธก็ต้องมาดูว่าเขาพูดจริงไหม ยิ่งถ้าเขาพูดจริงพูดถูก ก็ต้องขอบคุณเขา
    ที่มา : บทความ"อย่าให้อัตตาครองใจ"
    โดยพระอาจารย์ไพศาล วิสาโล
    :- http://www.visalo.or...mmamata9_3.html
     
  20. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    46,995
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
    อริยวินัย : “ธัมมวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอทั้งหลาย โดยการล่วงไปแห่งเรา”
    2. การจี้ด้วยนิ้วมือ

    ปาจิตตีย์ สุราปานวรรค สิกขาบทที่ 2

    อังคุิลิปะโตทะเก ปาจิตติยัง.

    “เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะจี้ด้วยนิ้วมือ.”
    วิภังค์
    ที่ชื่อว่า จี้ด้วยนิ้วมือ คือ ใช้นิ้วมือจี้ อุปสัมบัน มีความประสงค์จะยังอุปสัมบันให้หัวเราะ ถูกต้องกายด้วยกาย ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
    อนาบัติ

    1.ภิกษุไม่ประสงค์จะให้หัวเราะ เมื่อมีกิจจำเป็นถูกต้องเข้า 2.ภิกษุวิกลจริต 3.ภิกษุอาทิกัมมิกะ ไม่ต้องอาบัติแล.
    เรื่องต้นบัญญัติ

    ภิกษุฉัพพัคคีย์ เอานิ้วมือจี้ภิกษุสัตตรสวัคคีย์ (พวก 17) รูปหนึ่ง เธอหัวเราะจนเหนื่อย หายใจไม่ทันถึงขาดใจตายพระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุจี้ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์.
    องค์แห่งอาบัติ 1.อธิบายจะเล่นสนุก 2.ต้องการอุปสัมบันด้วยกายตน พร้อมด้วยองค์ 2 ดังนี้ จึงเป็นปาจิตตีย์ (บุพพสิกขาวรรณนา หน้า 224).
     

แชร์หน้านี้

Loading...