ติดตามสถานการณ์ "ซีเรีย" สงครามจะขยายขอบเขตหรือไม่???

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย จริง?หรือ?, 28 สิงหาคม 2013.

  1. ☻

    Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    9
    ค่าพลัง:
    +68
    อัลกออิดะฮ์

    อัลกออิดะฮ์ (อาหรับ: القاعدة‎, al-Qā`ida‎ "ฐานที่มั่น", อังกฤษ: Al-Qaeda) หรือ อัลเกดาห์ เป็นกลุ่มก่อการร้ายสากลชาวอิสลาม ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2531[1] มีนายอุซามะฮ์ บิน ลาดิน และนายอัยมัน อัซเซาะวาฮิรี เป็นหัวหน้า

    อัลกออิดะฮ์เป็นองค์กรทางทหารของมุสลิมนิกายซุนนี มีเป้าหมายเพื่อขับไล่อิทธิพลของต่างชาติออกไปจากประเทศมุสลิม สมาชิกส่วนใหญ่เป็นผู้นับถือลัทธิวะฮาบีย์หรือซาฟาอีย์ อัลกออิดะฮ์เป็นที่รู้จักจากการก่อวินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544 ทำให้สหรัฐอเมริกาออกมาต่อต้านกลุ่มนี้ภายใต้คำว่า “สงครามต่อต้านการก่อการร้าย” กลุ่มนี้ถูกจัดให้เป็นกลุ่มก่อการร้ายโดยสหรัฐอเมริกา,[2] อังกฤษ,[3] แคนาดา,[4] ออสเตรเลีย,[5] อินเดีย,[6] ซาอุดีอาระเบีย, นาโต,[7][8] สหประชาชาติ,[9] สหภาพยุโรป,[10] อิสราเอล,[11] ญี่ปุ่น,[12] เกาหลีใต้,[13] ฝรั่งเศส,[14] เนเธอร์แลนด์,[15] รัสเซีย,[16] สวีเดน,[17] ตุรกี[18] และสวิตเซอร์แลนด์[19]

    ที่มาของชื่อ

    คำว่าอัลกออิดะฮ์เป็นภาษาอาหรับหมายถึงมูลนิธิ ที่มั่น บิน ลาดินให้สัมภาษณ์แก่วารสาร al Jazeera ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2544 ว่าคำว่าอัลกออิดะฮ์นี้ใช้ตั้งแต่สมัยที่กลุ่มมุญาฮิดีนต่อสู้กับสหภาพโซเวียตโดยเรียกค่ายฝึกว่าอัลกออิดะฮ์ คำว่าอัลกออิดะฮ์นำมาใช้เป็นครั้งแรกโดยกระทรวงยุติธรรมของสหรัฐอเมริกา เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2544 ในการสอบสวนผู้ต้องหาสี่คนที่นิวยอร์กจากคดีการวางระเบิดสถานทูตสหรัฐในแอฟริกาตะวันออกเมื่อ พ.ศ. 2541 ต่อมาในเดือนเมษายน พ.ศ. 2545 กลุ่มนี้ปรากฏในชื่อกออิดะฮ์ อัล ญิฮาด (ที่มั่นแห่งญิฮาด)

    ประวัติ
    ญิฮาดในอัฟกานิสถาน

    ดูบทความหลักที่ ประวัติศาสตร์อัฟกานิสถาน

    จุดกำเนิดของกลุ่มเริ่มขึ้นภายในไม่กี่สัปดาห์หลังโซเวียตรุกรานอัฟกานิสถานใน พ.ศ. 2522 โดยการบริหารของชาวอาหรับจากต่างประเทศในชื่อมุญาฮิดีน สนับสนุนทางการเงินโดยบิน ลาดินและการบริจาคของชาวมุสลิม สหรัฐมองว่าการรุกรานอัฟกานิสถานของโซเวียตเป็นส่วนหนึ่งของสงครามเย็น หน่วยสืบราชการลับได้ให้ความช่วยเหลือกลุ่มดังกล่าวผ่านทางปากีสถาน[20][21] อัลกออิดะฮ์พัฒนาจากกลุ่ม Maktab al-Khadamat ที่เป็นส่วนหนึ่งของมุญาฮิดีน สมาชิกส่วนใหญ่เป็นทหารชาวปาเลสไตน์ และได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐเช่นเดียวกับมุญาฮิดีนกลุ่มอื่นๆ การสู้รบดำเนินไป 9 ปี จนสหภาพโซเวียตถอนตัวออกจากอัฟกานิสถานใน พ.ศ. 2532 รัฐบาลสังคมนิยมของ โมฮัมเหม็ด นาจิบุลลอห์ ถูกมุญาฮิดีนล้มล้าง แต่เนื่องจากผู้นำกลุ่มมุญาฮิดีนไม่สามารถตกลงกันได้ ความวุ่นวายจากการแย่งชิงอำนาจจึงตามมา

    การขยายตัว

    หลังจากสงครามต่อต้านโซเวียตในอัฟกานิสถานสิ้นสุดลงนักรบมุญาฮิดีนบางกลุ่มต้องการขยายการต่อสู้ออกไปทั่วโลกในนามนักรบอิสลามเช่นความขัดแย้งในอิสราเอลและแคชเมียร์ หนึ่งในความพยายามนี้คือการตั้งกลุ่มอัลกออิดะฮ์โดยบิน ลาดินใน พ.ศ. 2531

    สงครามอ่าวเปอร์เซียและเริ่มต้นต่อต้านสหรัฐ
    ดูบทความหลักที่ สงครามอ่าวเปอร์เซีย

    เมื่อสงครามในอัฟกานิสถานสิ้นสุดลง บิน ลาดินเดินทางกลับสู่ซาอุดีอาระเบีย เมื่อเกิดการรุกรานคูเวตของอิรักใน พ.ศ. 2533 บิน ลาดินได้เสนอให้ใช้นักรบมุญาฮิดีนของเขาร่วมมือกับกษัตริย์ฟาฮัด เพื่อปกป้องซาอุดีอาระเบียจากการรุกรานของอิรักที่อาจจะเกิดขึ้น แต่ราชวงศ์ซาอุดีอาระเบียปฏิเสธและหันไปอนุญาตให้สหรัฐเข้ามาตั้งฐานทัพในซาอุดีอาระเบีย ทำให่บิน ลาดินไม่พอใจ เพราะเขาไม่ต้องการให้มีกองทหารต่างชาติในดินแดนศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาอิสลาม (คือเมกกะและเมดีนา) การที่เขาออกมาต่อต้านทำให้เขาถูกบีบให้ไปซูดานและถูกถอนสัญชาติซาอุดีอาระเบีย[22]

    ในซูดาน

    ใน พ.ศ. 2534 แนวร่วมอิสลามแห่งชาติซูดานขึ้นมามีอำนาจและเชื้อเชิญกลุ่มอัลกออิดะฮ์ให้ย้ายเข้ามาภายในประเทศ อัลกออิดะฮ์เข้าไปประกอบธุรกิจในซูดานเป็นเวลาหลายปี และสนับสนุนเงินในการสร้างทางหลวงจากเมืองหลวงไปยังท่าเรือซูดาน พ.ศ. 2539 บิน ลาดินถูกบีบให้ออกจากซูดานเนื่องจากแรงกดดันของสหรัฐ เขาจึงย้ายกลุ่มอัลกออิดะฮ์ไปตั้งมั่นในเมืองจะลาลาบาด อัฟกานิสถาน

    บอสเนีย

    การประกาศเอกราชของบอสเนีย-เฮอร์เซโกวีนาออกจากยูโกสลาเวียในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2534 ทำให้เกิดความขัดแย้งทางเชื้อชาติและศาสนาแห่งใหม่ในยุโรปในบอสเนีย ชนส่วนใหญ่เป็นมุสลิมแต่ก็มีชาวเซิร์บที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายกรีกออร์ทอดอกซ์และชาวโครแอตนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ทำให้เกิดความขัดแย้งที่เป็นสามเส้าขึ้น โดยเซอร์เบียและโครเอเชียหนุนหลังชาวเซิร์บและชาวโครแอตที่มีเชื้อชาติเดียวกันตามลำดับ เหล่านักรบอาหรับในอัฟกานิสถานเห็นว่าสงครามในบอสเนียเป็นโอกาสอันดีที่จะปกป้องศาสนาอิสลาม ทำให้กลุ่มต่างๆเหล่านี้ รวมทั้งอัลกออิดะฮ์เข้าร่วมในสงคราม ตั้งเป็นกลุ่มมุญาฮิดีนบอสเนีย โดยนักรบส่วนใหญ่เป็นชาวอาหรับไม่ใช่ชาวบอสเนีย

    การลงนามในข้อตกลงวอชิงตันในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2537 ทำให้สงครามระหว่างบอสเนีย-โครแอตสิ้นสุดลง กลุ่มมุญาฮิดีนยังสู้รบกับชาวเซิร์บต่อไป จนกระทั่งบันทึกสันติภาพเดย์ตันในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2538 ทำให้สงครามสิ้นสุดลง และเหล่านักรบต่างชาติถูกบีบให้ออกนอกประเทศ ส่วนผู้ที่แต่งงานกับชาวบอสเนียหรือไม่มีที่กลับได้รับสัญชาติบอสเนียและอนุญาตให้อยู่ต่อไปได้


    ผู้ลี้ภัยในอัฟกานิสถาน

    หลังจากการถอนตัวของสหภาพโซเวียต อัฟกานิสถานอยู่ในสภาพวุ่นวายถึง 7 ปี จากการสู้รบของกลุ่มที่เคยเป็นพันธมิตรกัน ในช่วง พ.ศ. 2533 มีกลุ่มใหม่เกิดขึ้นคือกลุ่มตาลีบันหรือตอลิบาน (แปลตามตัว = นักเรียน) เป็นกลุ่มเยาวชนที่เกิดในอัฟกานิสถานยุคสงครามได้รับการศึกษาในโรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม (มัดรอซะ; madrassas) ในเมืองกันดาฮาร์ หรือค่ายผู้อพยพตามแนวชายแดนปากีสถาน-อัฟกานิสถาน

    ผู้นำของตอลิบาน 5 คนจบการศึกษาจากโรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม Darul Uloom Haqqania ใกล้กับเมืองเปศวาร์ในปากีสถาน แต่ผู้เข้าเรียนส่วนใหญ่เป็นผู้อพยพจากปากีสถาน โรงเรียนนี้สอนศาสนาตามลัทธิซาลาฟีย์ และได้รับการสนับสนุนจากชาวอาหรับโดยเฉพาะบิน ลาดิน ชาวอาหรับในอัฟกานิสถานและตอลิบานมีความเกี่ยวพันกันมาก หลังจากโซเวียตถอนตัวออกไป ตอลิบานมีอิทธิพลมากขึ้นจนสามารถก่อตั้งรัฐอิสลามอัฟกานิสถาน ใน พ.ศ. 2537 ตอลิบานเข้ายึดครองพื้นที่ในเมืองกันดาฮาร์และเข้ายึดกรุงคาบูลได้เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2539

    หลังจากซูดานได้บีบให้บิน ลาดินและกลุ่มของเขาออกนอกประเทศ เป็นเวลาเดียวกับที่ตอลิบานมีอำนาจในอัฟกานิสถาน บิน ลาดินจึงเข้าไปตั้งมั่นในเขตจะลาลาบาด ในเวลานั้นมีเพียงปากีสถาน ซาอุดีอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เท่านั้นที่ยอมรับว่าตอลิบานเป็นรัฐบาลของอัฟกานิสถาน บิน ลาดินพำนักในอัฟกานิสถาน จัดตั้งค่ายฝึกนักรบมุสลิมจากทั่วโลก[23][24] จนกระทั่งรัฐบาลตอลิบานถูกขับไล่โดยกองกำลังผสมภายในประเทศร่วมกับกองทหารสหรัฐใน พ.ศ. 2544 หลังจากนั้นเชื่อกันว่า บิน ลาดินยังคงพำนักกับกลุ่มตอลิบานในบริเวณชายแดนปากีสถาน

    เริ่มโจมตีพลเรือน

    พ.ศ. 2536 Ramzi Yousef ผู้นำคนหนึ่งของอัลกออิดะฮ์ ใช้การวางระเบิดในรถยนต์ โจมตีตึกเวิลด์เทรด เซ็นเตอร์ในนิวยอร์ก แต่ไม่สำเร็จ และ Yousef ถูกจับในปากีสถาน แต่ก็เป็นแรงดลใจให้กลุ่มของบิน ลาดิน ทำสำเร็จเมื่อ 11 กันยายน พ.ศ. 2544

    อัลกออิดะฮ์เริ่มสงครามครูเสดใน พ.ศ. 2539 เพื่อขับไล่กองทหารต่างชาติออกไปจากดินแดนอิสลามโดยต่อต้านสหรัฐและพันธมิตร 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 บิน ลาดินและ Ayman al-Zawahiri ผู้นำของกลุ่มญิฮาดอียิปต์และผู้นำศาสนาอิสลามอีกสามคน ร่วมลงนามใน “ฟัตวาห์”,[25] หรือคำตัดสินภายใต้ชื่อแนวร่วมอิสลามโลกเพื่อญิฮาดต่อต้านยิวและครูเสด (World Islamic Front for Jihad Against the Jews and Crusaders; ภาษาอาหรับ: al-Jabhah al-Islamiyya al-'Alamiyya li-Qital al-Yahud wal-Salibiyyin)โดยประกาศว่าเป็นหน้าที่ของชาวมุสลิมทุกประเทศในการสังหารชาวสหรัฐและพันธมิตรทั้งทหารและพลเรือนเพื่อปลดปล่อยมัสยิดอัลอักซาในเยรูซาเลมและมัสยิดศักดิ์สิทธิ์ในเมกกะ[26] หลังจากนั้นได้เกิดการวางระเบิดสถานทูตสหรัฐในแอฟริกาตะวันออกภายในปีเดียวกัน มีผู้เสียชีวิต 300 คน ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2543 เกิดระเบิดพลีชีพในกองทัพเรือสหรัฐในเยเมน[27]

    วินาศกรรม 11 กันยายน และปฏิกิริยาของสหรัฐ
    ดูบทความหลักที่ วินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544

    การก่อวินาศกรรม 11 กันยายน ทำให้สหรัฐและนาโตออกมาต่อต้านอัลกออิดะฮ์ และฟัตวาห์ พ.ศ. 2541 การโจมตีครั้งนี้ถือเป็นวินาศภัยครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา มีผู้เสียชีวิตเกือบ 3,000 คน รวมทั้งความเสียหายจากการพังทลายของตึกเวิลด์เทรด เซ็นเตอร์และตึกเพนตากอนถูกทำลายลงไปบางส่วน หลังจากนั้น สหรัฐได้มีปฏิบัติการทางทหารโต้ตอบเรียกร้องให้ มุลลาห์ โอมาร์ ผู้นำตอลิบานส่งตัวบิน ลาดินมาให้ แต่ตอลิบานเลือกที่จะส่งตัวบิน ลาดินให้ประเทศที่เป็นกลาง สหรัฐจึงส่งกองทัพอากาศทิ้งระเบิดทำลายที่มั่นที่เชื่อว่าเป็นแหล่งกบดานของอัลกออิดะฮ์ และส่งปฏิบัติการทางทหารภาคพื้นดินร่วมกับพันธมิตรฝ่ายเหนือเพื่อล้มล้างรัฐบาลตอลิบานหลังจากถูกกวาดล้าง

    กลุ่มอัลกออิดะฮ์พยายามรวมตัวอีกครั้งในเขต Gardez แต่ยังคงถูกโจมตีจากฝ่ายสหรัฐ ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2545 กองทัพอัลกออิดะฮ์ถูกทำลายจนลดประสิทธิภาพลงมาก ซึ่งเป็นความสำเร็จในขั้นต้นของการรุกรานอัฟกานิสถาน อย่างไรก็ตาม ตอลิบานยังมีอิทธิพลอยู่ในอัฟกานิสถาน และผู้นำคนสำคัญของอัลกออิดะฮ์ยังไม่ถูกจับ ใน พ.ศ. 2547 สหรัฐกล่าวอ้างว่าจับตัวผู้นำของอัลกออิดะฮ์ได้ 2 – 3 คน แต่อัลกออิดะฮ์ก็ยังดำเนินกิจกรรมต่อไปได้

    กิจกรรมในอิรัก

    บิน ลาดิน เริ่มให้ความสนใจอิรักตั้งแต่สงครามอ่าวเปอร์เซียครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2533 อัลกออิดะฮ์ติดต่อกับกลุ่มมุสลิมชาวเคิร์ด Ansar al-islam ใน พ.ศ. 2542 ระหว่างการรุกรานอิรักใน พ.ศ. 2546 อัลกออิดะฮ์ให้ความสนใจเป็นพิเศษ หน่วยทหารของอัลกออิดะฮ์เริ่มวางระเบิดกองบัญชาการของสหประชาชาติและกาชาดสากล พ.ศ. 2547 ฐานที่มั่นของอัลกออิดะฮ์ในเมืองฟาลูยะห์ ถูกโจมตีและปิดล้อมด้วยกองทหารสหรัฐ แต่อัลกออิดะฮ์ยังคงโจมตีทั่วอิรัก แม้จะสูญเสียกำลังคนไปมาก ในระหว่างการเลือกตั้งในอิรัก พ.ศ. 2548 กลุ่มอัลกออิดะฮ์ออกมาประกาศความรับผิดชอบระเบิดพลีชีพ 9 ครั้งในแบกแดด

    Abu Musab al-Zarqawi ทหารชาวจอร์แดนเป็นผู้จัดตั้งองค์กร "Jama'at al-Tawhid wal-Jihad" เมื่อ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2547 และประกาศเป็นตัวแทนของอัลกออิดะฮ์ในอิรัก หลังจากเขาถูกฆ่าจากการโจมตีทางอากาศโดยสหรัฐเมื่อ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2549 ที่ Baqubah เชื่อกันว่า Abu Ayyub al-Masri ขึ้นเป็นผู้นำอัลกออิดะฮ์ในอิรักแทน แม้ว่าการต่อสู้ของอัลกออิดะฮ์ในอิรักยังไม่ประสบผลในการขับไล่กองทหารอังกฤษและสหรัฐ รวมทั้งล้มล้างรัฐบาลของผู้นับถือนิกายชีอะฮ์ แต่ก็ได้สร้างความรุนแรงกระจายไปทั่วประเทศ

    อัลกออิดะฮ์ในแคชเมียร์

    เมื่อ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 ชายลึกลับอ้างตัวเป็นสมาชิกอัลกออิดะฮ์โทรศัพท์ไปที่นักข่าวท้องถิ่นในศรีนคร ประกาศว่าขณะนี้อัลกออิดะฮ์เข้ามาในแคชเมียร์แล้ว เพื่อปกป้องชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมที่ถูกรัฐบาลอินเดียกดขี่ อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่า กลุ่มอัลกออิดะฮ์แทรกซึมเข้ามาในบริเวณนี้ตั้งแต่ก่อนการรุกรานอัฟกานิสถานของสหรัฐ และน่าจะมีความสัมพันธ์กับกลุ่มก่อการร้ายในปากีสถาน

    กิจกรรมทางอินเทอร์เน็ต

    กลุ่มอัลกออิดะฮ์ใช้อินเทอร์เน็ตในการสร้างเครือข่ายและประชาสัมพันธ์ผลงาน

    กิจกรรมทางการเงิน

    การโอนเงินจากบัญชีของบิน ลาดินจากธนาคารแห่งชาติบาห์เรน จะถูกส่งต่อยังบัญชีผิดกฎหมายที่ไม่แสดงข้อมูลใน Clearstream ซึ่งเป็นแหล่งฟอกเงิน

    ในอิสราเอล

    อัลกออิดะฮ์ไม่ค่อยมีบทบาทในการต่อต้านอิสราเอล ทฤษฎีหนึ่งคือ อัลกออิดะฮ์ไม่ยอมร่วมมือกับกลุ่มนิกายชีอะฮ์ เช่น ฮิซบุลลอฮ์ ซึ่งสนับสนุนการต่อต้านอิสราเอลของปาเลสไตน์ หรือมิฉะนั้น ชาวปาเลสไตน์ไม่ต้องการต่อสู้ภายใต้หลักการของอัลกออิดะฮ์ แต่ต้องการต่อสู้ด้วยหลักการของตนเอง อัลกออิดะฮ์เคยถูกตั้งข้อสงสัยว่าน่าจะมีส่วนในการโจมพลเรือนอิสราเอลเมื่อ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 ที่เคนยา เช่น การวางระเบิดโรงแรมที่มีชาวอิสราเอลเข้าพัก หรือพยายามโจมตีเครื่องบิน

    อัลกออิดะฮ์ - วิกิพีเดีย
     
  2. ☻

    Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    9
    ค่าพลัง:
    +68
    ฮามาส
    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

    ฮามาส (ภาษาอังกฤษ: Hamas; ภาษาอาหรับ: حركة المقاومة الاسلامية /ฮะรอกะหฺ อัลมุกอวะมะหฺ อัลอิสลามียะหฺ/) เป็นพรรคการเมืองหนึ่งของปาเลสไตน์ที่นับถือศาสนาอิสลามและมีกองกำลังติดอาวุธ มักถูกเรียกว่า กลุ่มหัวรุนแรงฮามาส หรือ กลุ่มติดอาวุธฮามาส ซึ่งมักก่อเหตุโจมตีกลุ่มฟาตาห์ โดยใช้ระเบิดพลีชีพ

    ที่มาของคำว่า ฮามาส

    คำว่า ฮามาส หรือ ฮะมาส (แปลเป็นไทยว่า ขวัญ หรือกำลังใจ) เป็นอักษรย่อของคำว่า ฮะรอกะหฺ (ฮ) มุกอวะมะหฺ (ม) อิสลามียะหฺ (อา+ส) ชื่อเต็มแปลว่า "ขบวนการอิสลามเพื่อการต่อต้าน"


    ประวัติการก่อตั้งขบวนการ

    องค์กรฮามาสก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 1987 โดยเป็นเครือข่ายของกระบวนการเคลื่อนไหว ขบวนการภารดรมุสลิมของอาหรับ ซึ่งได้รับความนิยมนับถืออย่างมากทั่วปาเลสไตน์ โดยพิสูจน์ได้จากการได้รับชัยชนะ ในการเลือกตั้งเข้าสู่สภาของปาเลสไตน์ในปี 2006

    ฮามาสก่อตั้งโดย เชคอะฮฺมัด ยาซีน ซึ่งเป็นผู้นำทางศาสนา ในการลุกฮือขึ้นต่อต้านอิสราเอลครั้งแรก มีจุดประสงค์หลักเพื่อยุติการยึดครองทางทหารของอิสราเอล ในเขตฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดน (เวสต์แบ๊งค์) และกาซ่า ส่วนความมุ่งหมายที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน คือการสร้างรัฐปาเลสไตน์ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง บนแผ่นดินเดิมก่อนที่จะเป็นรัฐอิสราเอลในปี 1948

    ฮามาสสร้างความนิยมในหมู่ชาวปาเลสไตน์ที่ยากจน ด้วยการจัดหาความจำเป็นพื้นฐานต่างๆ สร้างโรงเรียน โรงพยาบาล และศูนย์ทางศาสนา และที่แตกต่างจากกระบวนการทางการเมืองปาเลสไตน์อื่น ๆ นั่นคือฮามาส ไม่เข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์กรปลดปล่อยปาเลสไตน์ (PLO) และต่อต้านการเซ็นสัญญาสันติภาพกับอิสราเอล แม้จะเคยทำสัญญาพักรบกับอิสราเอลหลายครั้ง เชื่อกันว่าเงินทุนในการดำเนินการของกลุ่มฮามาส ได้มาจากการบริจาคของชาวปาเลสไตน์ทั้งใน และนอกประเทศ นอกจากนั้นยังมีการสนับสนุนจากประเทศอาหรับอื่น ๆ และรัฐบาลอิหร่าน

    ฮามาสมีหน่วยรบอิซซุดดีน อัลก็อซซาม ซึ่งเชื่อกันว่ามีสมาชิกหลายพันคน และได้เคยทำการสู้รบกับอิสราเอลมาหลายครั้ง และหน่วยรบนี้ ร่วมกับกลุ่มติดอาวุธอื่น ๆ ของปาเลสไตน์ เป็นผู้ยิงจรวดเข้าไปในเขตตอนใต้ของอิสราเอล เพื่อตอบโต้การที่อิสราเอลโจมตีในกาซา

    ผู้นำฮามาส

    ผู้นำคนสำคัญหลายต่อหลายคนของกลุ่ม ถูกลอบสังหารโดยอิสราเอล เชคยาซีนถูกลอบสังหารในปี 2004 และไม่กี่สัปดาห์หลังจากนั้น อับดุล อาซิซ อัลร่อนตีสีย์ ซึ่งเป็นผู้นำฮามาสที่ยึดครองกาซ่าได้อย่างเหนียวแน่น ก็ต้องถูกสังหารไปอีกคนหนึ่ง

    เชคยาซีนเป็นที่เคารพนับถือของชาวปาเลสไตน์อย่างมาก โดยเขาเรียกร้องให้ชาวปาเลสไตน์จับอาวุธขึ้นต่อสู้กับอิสราเอล โดยไม่มีการประนีประนอม เขาถูกสังหารทั้ง ๆ ที่อยู่ในสภาพต้องนั่งรถเข็น

    อินติฟาเฎาะหฺครั้งที่สอง

    ในปี 1990 ฮามาสได้สร้างความน่านับถือ โดยสามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ ในฉนวนกาซาได้เป็นผลสำเร็จ ทำให้ได้รับการสนับสนุนจากผู้ที่ไม่ได้เป็นพันธมิตรกับฮามาสมาก่อน เช่น กลุ่มคริสเตียนปาเลสไตน์ ฮามาสเริ่มปฏิบัติการระเบิดพลีชีพกับอิสราเอลในปี 1994

    ในปี 2000 การเจรจาสันติภาพระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ล้มเหลวลงอีกครั้งหนี่ง ฮามาสได้เข้าร่วมกับกลุ่มการเมือง และกลุ่มติดอาวุธอื่น ๆ ของปาเลสไตน์ ทำการลุกฮือขึ้นต่อต้านอิสราเอลเป็นครั้งที่สอง โดยมีการรณรงค์ต่อต้านจากพลเรือนปาเลสไตน์ในเขตยึดครอง และการเพิ่มขึ้นของปฏิบัติการระเบิดพลีชีพในอิสราเอล เพื่อแสดงการต่อต้านการที่อิสราเอลโจมตีเวสต์แบ๊งค์ และฉนวนกาซา

    กลุ่มฮามาสต่อต้านการประชุมสันติภาพที่กรุงออสโล ในปี 1993 และได้คว่ำบาตรการเลือกตั้งในปาเลสไตน์ เพราะเห็นว่าเป็นผลมาจากการประชุมสันติภาพครั้งนั้น

    ฮามาสยังตัดสินใจส่งสมาชิก เข้าร่วมในการเลือกตั้งเข้าสู่รัฐสภาปาเลสไตน์ในปี 2006 และได้รับการสนับสนุนจากชาวปาเลสไตน์ โดยสามารถเอาชนะกลุ่มฟาตะฮฺ ด้วยคำมั่นที่จะต่อต้านการคอรัปชั่น และการยึดครองของอิสราเอล ซึ่งทำให้ฮานิยาได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีในครั้งนั้น

    ถูกนานาชาติคว่ำบาตร

    สหรัฐ ประเทศในสหภาพยุโรป และอิสราเอล ได้ตราหน้าว่าฮามาสเป็นกลุ่มก่อการร้าย และไม่ยอมรับรองผลการเลือกตั้ง ทำให้หลังจากนั้นเป็นต้นมา ปาเลสไตน์ต้องถูกยัดเยียดมาตรการลงโทษทางเศรษฐกิจอย่างหนัก กลุ่มประเทศมหาอำนาจตะวันตกบังคับให้ฮามาสรับรองรัฐอิสราเอล ละทิ้งอุดมการณ์ต่อสู้ด้วยอาวุธ และยอมรับการตกลงสันติภาพอื่นๆ ระหว่างปาเลสไตน์-อิสราเอล

    มาตรการลงโทษทางเศรษฐกิจ และความขัดแย้งระหว่างกลุ่มฮามาส และกลุ่มฟาตะฮฺที่เพิ่มขึ้น ทำให้ผู้มีอำนาจในปาเลสไตน์ที่ได้รับการรับรองเป็นทางการ ต้องตกที่นั่งลำบาก เพราะถูกตัดความช่วยเหลือจากประเทศตะวันตกไปด้วย

    สมาชิกที่สนับสนุนฮามาส และฟาตะฮฺต่อสู้กันอยู่เนือง ๆ ทั้งในเวสต์แบ๊งค์ และในกาซา เพื่อช่วงชิงการปกครองพื้นที่ เมื่อต้นปี 2007 ทั้ง 2 กลุ่มตกลงประนีประนอมกันเพื่อจัดตั้งรัฐบาลร่วม ทั้งนี้เพื่อต้องการรับความช่วยเหลือจากนานาชาติ

    อิสมาอีล ฮะนียะห์ ผู้นำอาวุโสของฮามาสในกาซา ซึ่งถูกปลดออกจากการเป็นนายกรัฐมนตรี เคยทำงานใกล้ชิดกับเชคยาซีน คอลิด เมชาอัล ซึ่งถูกเนรเทศไปอยู่ในซีเรีย เป็นผู้นำทางการเมืองสำคัญอีกคนหนึ่งตั้งแต่ปี 1995 หลังจาก มูซา อะบู มัรซูก ซึ่งเคยอยู่ในตำแหน่งนี้ถูกจับติดคุก เมชาอัลเคยนำกลุ่มฮามาสย่อยในคูเวต แต่ได้ออกจากประเทศไปเมื่ออิรักถูกรุกรานในปี 1990 หลังจากนั้นได้ย้ายไปเป็นผู้นำฮามาสในกรุงอัมมาน จอร์แดน และสามารถหลุดรอดจากการตามล่าสังหารของอิสราเอลมาได้

    แต่ความพยายามดังกล่าวล้มเหลวลง โดยในเดือนมิถุนายน ปี 2007 ประธานาธิบดีมะฮฺมูด อับบาส และกลุ่มฟาตะฮฺ ร่วมมือกันยึดอำนาจในเขตเวสต์แบ๊งค์ ทำให้การดิ้นรนขึ้นสู่การเป็นผู้ปกครองดินแดนปาเลสไตน์ ของกลุ่มฮามาสต้องยุติลง นับแต่นั้นเป็นต้นมา

    ฝ่ายอิสราเอลได้เพ่งเล็งกาซาเพิ่มขึ้น โดยการเพิ่มกำลังทหาร และเพิ่มมาตรการปิดล้อมทางเศรษฐกิจ รวมทั้งการตัดไฟฟ้า และเริ่มปฏิบัติการทางทหารครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง เริ่มตั้งแต่วันที่ 27 กรกฎาคม 2551 โดยอ้างว่าเพื่อยุติไม่ให้ฮามาสยิงจรวดเข้ามาในดินแดนอิสราเอล

    รัฐบาลผสม

    การเลือกตั้งในปาเลสไตน์ 25 มกราคม พ.ศ. 2549 ทำให้เกิดรัฐบาลผสมระหว่างพรรคฮามาส และพรรคฟาตาห์ ก่อนที่ประธานาธิบดีมะฮ์มูด อับบาสจะขับไล่ออกไปเมื่อ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2550 เพราะต้องการให้ชาติตะวันตกยกเลิกการคว่ำบาตรกลับมาให้ความช่วยเหลือ ปาเลสไตน์ และ อิสราเอลจะยอมรับรองรัฐบาลปาเลสไตน์ ที่ไม่มีสมาชิกฮามาส แต่กลุ่มฮามาส ยังถือว่ารัฐบาลผสม ซึ่งนำโดยนายกรัฐมนตรีอิสมาอิล ฮะนียะห์เป็นรัฐบาลที่ถูกต้อง

    ฮามาส - วิกิพีเดีย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 สิงหาคม 2013
  3. ☻

    Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    9
    ค่าพลัง:
    +68
    อียิปต์กับขบวนการภราดรภาพมุสลิม

    [​IMG]

    Muslim Brotherhood


    พระมูฮัมหมัด ผู้ก่อตั้งศาสนาอิสลามเป็นชาวอาหรับ ฉะนั้นชาวอาหรับกับศาสนาอิสลามจึงถือได้ว่าเป็นหนึ่งเดียวกัน และในช่วงศตวรรษที่ 8-12 โดยประมาณอาหรับเป็นเจ้าโลก มีความเจริญก้าวหน้าทั้งทางด้านการทหาร ด้านเศรษฐกิจ ภูมิปัญญาองค์ความรู้ และได้นำศาสนาอิสลามแพร่ขยายไปทั่วโลกในระยะเวลาอันรวดเร็ว

    โลกอาหรับและมุสลิมจึงมีความยิ่งใหญ่ยิ่งเสมือนเป็นเจ้าโลก แต่ช่วงต่อมาโลกอาหรับถูกรุกราน และครอบครองโดยชนเชื้อสายเติร์ก และต่อมาโดยชนเชื้อสายมองโกล-ตาตาร์ แต่ทั้ง 2 เชื้อสาย ก็มาน้อมรับศาสนาอิสลาม และรับผสมผสานกับอารยธรรมของอาหรับ

    แต่ทว่าการเข้ามาของแสนยานุภาพและอิทธิพล และวิถีชีวิตของฝ่ายตะวันตกสู่โลกอาหรับมุสลิมตั้งแต่ศตวรรษที่ 15 คือเมื่อประมาณ 600 ปีมานี้ ยังคงอยู่จนกระทั่งทุกวันนี้ กอปรกับการที่ฝ่ายตะวันตกเป็นตัวตั้งตัวตีหาที่อยู่ให้ชาวยิว และตั้งประเทศอิสราเอลในดินแดนอาหรับ ทั้งที่ปัญหาชาวยิวกับชาวยุโรปได้เกิดขึ้นในยุโรป และยุโรปผลักภาระมาให้โลกอาหรับมุสลิม และในขณะเดียวกันชาวปาเลสไตน์ เชื้อสายอาหรับ ยังไม่มีประเทศของตนเอง มีสภาพความเป็นอยู่กึ่งผู้ลี้ภัยในดินแดนของตนเอง ทั้งหมดนี้ได้สร้างความเจ็บปวด อับอายขายหน้าให้กับชาวอาหรับ และโลกมุสลิมอย่างกว้างขวางถึงความไม่ยุติธรรม และความรู้สึกนึกคิดว่าศักดิ์ศรีถูกทำลายไป และมีความด้อย ล้าหลัง

    [​IMG]

    จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่ชาวอาหรับและโลกมุสลิมจะมีปฏิกิริยาต่อการเข้ามาและการคงอยู่ และการครอบงำของโลกตะวันตก และต่อความรู้สึกว่าได้สูญเสียความยิ่งใหญ่ไปเสียแล้ว (Greatness Lost) ทั้งในรูปแบบของการต่อสู้ด้วยอาวุธซึ่งก็มักจะพ่ายแพ้ ทั้งในรูปการปฏิเสธวิถีชีวิตแบบตะวันตก หรือทั้งในรูปของการปรับตัวผสมผสานความเชื่อถือประเพณีดั้งเดิมให้เข้าได้กับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงเป็นระยะๆ หรือทั้งในรูปของการนำความรู้และเทคโนโลยีตะวันตกมาใช้ในการจัดทำสังคมให้ทันสมัย

    ในขณะเดียวกัน ภายในศาสนาอิสลามเองก็เกิดสภาวะแข็งตัวทางด้านความคิด กระบวนการศาสนาดำเนินไปแบบระบบราชการ ไม่มีการปรับปรุง ไม่มีการค้นหา มีสภาวะของการยอมรับว่าคำสั่งสอนนี้ไม่ต้องมีการตีความถกเถียงกันอีกแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างมีคำตอบหมดแล้ว ไม่ต้องถาม ไม่ต้องตอบกันอีกแล้ว แต่ผู้คนก็ยังไม่มีความพึงพอใจกับชีวิต ยังต้องการความเข้าใจ เข้าถึงซึ่งคำสั่งสอนเพื่อให้ได้มาซึ่งอรรถรสและความซาบซึ้งในคำสั่งสอน (Spiritual Satisfaction) อย่างสุดซึ้ง นอกจากนั้น คนส่วนใหญ่ก็เห็นว่าผู้นำของตนใช้ชีวิตอย่างชาวตะวันตก เข้ากับฝ่ายตะวันตก และกลับมากดขี่ และไม่ดูแลคนของตนเอง สังคมในโลกอาหรับมุสลิมจึงมี 2 ชนชั้น

    [​IMG]

    ในช่วงกลางศตวรรษที่ 18 จนถึงศตวรรษที่ 19 ฝ่ายโลกอาหรับ-มุสลิม ได้มีแนวคิดต่อสู้กับความท้าทายของอิทธิพลตะวันตก และฟื้นฟูความยิ่งใหญ่ของโลกมุสลิม 3 แนวหลักๆ ด้วยกัน คือ

    1) กันอิทธิพลตะวันตกออกไปให้หมดแล้วมาปฏิรูปชนชาวมุสลิมให้อยู่ในศีลในธรรมตามคำสั่งสอน

    2) ปฏิวัติศาสนามุสลิม โดยการขจัดสิ่งแปลก สิ่งปนปลอม คือความเชื่อถือในเรื่องลึกลับ ในเรื่องภูตผีปีศาจ และในประเพณีวัฒนธรรม แต่เปลี่ยนแปลงโดยนำเอาหลักจริยธรรมของศาสนาอิสลามมาเป็นวิถีชีวิต และ จรรโลงให้สังคมมุสลิมอยู่ได้กับวิทยาศาสตร์ และเรื่องทางโลก

    3) ดำรงชีวิตแบบชาวมุสลิมอย่างแท้จริง แต่ในขณะเดียวกันก็เรียนรู้จากฝ่ายตะวันตกด้วย เพื่อให้สังคมมุสลิม มีความทันสมัยบนพื้นฐานของหลักศาสนา

    นักคิดนักเผยแพร่ในแบบอย่างที่หนึ่ง คือ อับดุล วาห์ฮับ (Abdul Wahhab) แห่งซาอุดีอาระเบีย แบบอย่างที่สอง คือ ซายิด อี อาห์เม็ด ณ อาลิการ์, อินเดีย (Sayyid –i- Ahmed of Aligarh, India) และแบบอย่างที่สาม คือ ซายิด จามัลลุดดิน อัฟกันแห่งอัฟกานิสถาน (Sayyid Jamaluddin –i- Afghan) ซายิด จามัลลุดดิน อัฟกัน มีศานุศิษย์สำคัญๆ และมีอิทธิพลต่อความรู้สึกนึกคิดต่อนักคิดนักปฏิวัติสังคม 3-4 คน คือ

    - มูฮัมหมัด อับดูห์ (Muhammad Abduh) หนึ่งในอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร กรุงไคโร) ผู้นำทางด้านความคิดเกี่ยวกับศาสนา

    - ราชิด ริดา (Rashid Rida) เป็นชาวซีเรีย ซึ่งได้เสนอให้ศาสนาอิสลามเป็นรากฐานของรัฐ

    - ซาห์กูล (Saghul) ซึ่งได้ช่วยตั้งพรรควาฟด์ (Wafd) ในอียิปต์ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการต่อสู้เพื่อปลดแอกจากอังกฤษ

    - ฮัซซัน อัล-บันนา (Hassan Al-Banna) ซึ่งได้ก่อตั้งขบวนการองค์กรภราดรภาพแห่งมุสลิม (Muslim Brotherhood) และผู้สืบทอดเจตนารมณ์ของขบวนการภราดรภาพมุสลิม คือ ซัยยิด กุฏบ์ (Sayyid Qutb)

    ฮัซซัน อัล - บันนา ก่อตั้งภราดรภาพมุสลิม (Muslim Brotherhood / มุสลิม บราเธอร์ฮูด) ขึ้นที่เมืองอิสมาร์เลีย (Ismalia) เมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 1928 (พ.ศ. 2471) พร้อมกับเพื่อนพนักงาน 6 คน จากบริษัท คลองสุเอซ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นขบวนการครอบคลุมมุสลิมทุกหมู่เหล่า (Pan-Islamic) เพื่อกิจการทางศาสนา การเมือง และสังคม

    ฮัซซัน อัล - บันนา เชื่อว่าอิสลามได้สูญเสียความยิ่งใหญ่ เพราะถูกมอมเมาด้านอิทธิพลตะวันตก ฉะนั้น หนทางแก้ไข ก็คือ นำเอาคำสั่งสอนของพระมฮัมหมัด ซึ่งปรากฏอยู่ในพระคัมภีร์อัลกุรอ่าน และในการประมวลคำกล่าว(วัจนะ) และวิธีการปฏิบัติ ดำรงชีวิต (จริยวัตน์) ของพระมูฮัมหมัด มาเป็นวิถีทางของชีวิตประจำวัน เป็นหลักปฏิบัติของสังคม และใช้ในการปกครองบ้านเมือง

    มุสลิม บราเธอร์ฮูด เริ่มต้นด้วยการเป็นองค์กรสังคมและศาสนา โดยการสอนศาสนาอิสลาม สร้างโรงเรียน สอนหนังสือ สร้างโรงพยาบาลและผลิตยา ดูแลเด็กกำพร้าและคนยากคนจน และเริ่มมีบทบาททางการเมืองในการต่อต้านอาณานิคมอังกฤษ และต่อต้านรัฐบาลเผด็จการ และรูปแบบรัฐแบบตะวันตก ที่มิให้ศาสนาเป็นหลัก หรือพื้นฐานในการปกครองบ้านเมือง (Secularism) หรือนัยหนึ่ง การแยกการเมืองออกจากศาสนาโดยเด็ดขาด

    [​IMG]

    ภายในระยะเวลา 20 ปีของการก่อตั้ง สมาชิกของมุสลิม บราเธอร์ฮูด มีถึงครึ่งล้านคน และบัดนี้มีสมาชิกประมาณ 2 ล้านกว่าคน แต่แรงสนับสนุนและความนิยมชมชอบมีมากมาย เพราะกิจกรรมทางศาสนาและสังคม และการต่อสู้กับเผด็จการ

    มุสลิม บราเธอร์ฮูด เรียกร้องให้มีความยุติธรรมในสังคม มีการขจัดความยากจนและการทุจริตมิชอบ และเรียกร้องให้มีสิทธิเสรีภาพทางการเมือง และสนับสนุนการเมืองในระบอบประชาธิปไตย แต่มุสลิม บราเธอร์ฮูด เห็นว่าชาวอียิปต์เพศชายเท่านั้นที่จะเป็นประธานาธิบดีได้ และผู้ที่เป็นไม่ได้ คือ ชาวอียิปต์นับถือศาสนาคริสเตียน นิกายคอปติค (Coptics) และชาวอียิปต์เพศหญิง ด้วยเห็นว่างานนี้ไม่เหมาะกับสตรี

    มุสลิม บราเธอร์ฮูด ถูกจัดว่าเป็นองค์กรผิดกฎหมาย เพราะได้ต่อต้านระบอบเผด็จการทหารภายใต้ผู้นำคนเดียวจากนัสเซอร์ และผู้นำต่อๆ มาจนถึงมูบารัค แต่เมื่อมีการปฏิวัติสังคมอียิปต์ในช่วงปี 2554 ในกรอบของฤดูใบไม้ผลิ-อาหรับ (Arab Spring) ก็ได้รับการยอมรับให้เป็นองค์กรที่ถูกต้องตามกฎหมาย และต่อมาได้จัดตั้งพรรคการเมือง ชื่อว่า พรรคเสรีภาพและยุติธรรม (Freedom and Justice Party) และพรรคได้เข้าร่วมในการเลือกตั้งทั่วไป โดยได้ที่นั่งสูงสุดจำนวน 235 ที่นั่ง จากจำนวนทั้งหมด 500 ที่นั่ง (498 เลือกตั้ง 10 แต่งตั้ง) แต่รัฐบาลทหารชั่วคราวได้ยุบสภาก่อนการสาบานตัวเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน นี้ ของประธานาธิบดีคนใหม่ ที่ได้ชัยชนะการเลือกตั้งรอบสอง คือ นายโมฮัมหมัด มอร์ซี่ (Mohammed Morsi) จากพรรคเสรีภาพและยุติธรรม ของมุสลิม บราเธอร์ฮูด

    คำถามที่อยู่ในใจคนอียิปต์ และชาวโลก คือ ประธานาธิบดีมอร์ซี่ จากพรรคเสรีภาพและยุติธรรม และขบวนการมุสลิม บราเธอร์ฮูด จะบริหารบ้านเมืองในสังคมเสรีประชาธิปไตย ท่ามกลางความหลากหลายของศาสนา การเรียกร้องความเสมอภาคทัดเทียม
    ของสตรีได้จริงจังแค่ไหน และรัฐบาลของประธานาธิบดีมอร์ซี่จะยืนหยัดในการต่อต้านลัทธิสุดโต่งนิยม และการใช้ความรุนแรง เพื่อจุดประสงค์ทางการเมืองอย่างไร รวมทั้งความมากน้อย ของการนำเอาคำสั่งสอนทางศาสนามาใช้ในการจัดการบริหารบ้านเมืองหรือนัยหนึ่ง ให้การดำรงชีวิตแบบอิสลามไปได้ด้วยกับการดำรงชีวิตในสังคมเสรีประชาธิปไตย และสังคมสมัยใหม่อย่างไร

    นอกจากนั้น รัฐบาลของประธานาธิบดีมอร์ซี่ จะดำเนินความสัมพันธ์กับอิสราเอลอย่างไร และจะคงไว้ซึ่งข้อตกลงสันติภาพ หรือจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร และรัฐบาลของประธานาธิบดีมอร์ซี่ จะมีความสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกาและฝ่ายตะวันตกอย่างใดที่มิใช่เป็นการเผชิญหน้า และจะต้องพิสูจน์ตนเองให้ได้รับความเชื่อถือว่าเคารพกติกาเสรีประชาธิปไตย ดังที่ได้ประกาศไว้ โดยไม่มีการลิดรอนสิทธิเสรีภาพพื้นฐานโดยการอ้างอุดมการณ์ หรือศาสนา

    ประธานาธิบดีมอร์ซี่ และพรรคเสรีภาพและยุติธรรม และขบวนการมุสลิม บราเธอร์ฮูด คงจะต้องพิสูจน์ว่าดำรงอยู่และนำพาอียิปต์ในบริบทประชาธิปไตยได้ และต้องมีบทบาทนำในการแก้ปัญหาปาเลสไตน์ ในฐานะที่อียิปต์เป็นประเทศพี่เบิ้มในโลกอาหรับ

    [​IMG]

    อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากการทำตัวให้สอดคล้องกับสังคมประชาธิปไตยแล้ว อีกปัญหาหนึ่งที่รัฐบาลพลเรือนใหม่ของอียิปต์จะเผชิญ คือการอยู่ร่วมกับกองทัพอียิปต์ ซึ่งยังเป็น “พลังการเมือง” ที่สำคัญที่สุดอันหนึ่ง และมีผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจมากหลาย หากกองทัพอียิปต์คงต้องค่อยๆ สลายตัวไปจากเวทีการเมืองตามคำเรียกร้องของประชาชนชาวอียิปต์ และเป็นไปตามกระแสนิยมต่อสิทธิเสรีภาพของโลกอาหรับ และประชาคมโลกโดยทั่วไป ซึ่งจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อฝ่ายกองทัพต้องมั่นใจว่าในสังคมประชาธิปไตยใหม่ของอียิปต์นั้น ยังคงมีการแยกแยะงานการเมือง ออกจากเรื่องศาสนาให้มากที่สุดเพื่อเป็นไปตามหลักการ ปราศจากศาสนาครอบงำการเมือง (Secularism)

    ความสำเร็จของมุสลิม บราเธอร์ฮูด ในการมีบทบาททางการเมืองในกรอบประชาธิปไตย ก็จะเป็นแบบอย่างให้กับโลกอาหรับ และโลกมุสลิม ที่กำลังมีการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงจาก สังคมเผด็จการทหาร สังคมเผด็จการผู้นำ และสังคมเผด็จการศาสนา สู่สังคมประชาธิปไตย และหากมีการเปลี่ยนแปลงอย่างจริงจังในโลกอาหรับและมุสลิม ไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยที่มีอียิปต์เป็นแบบอย่างและผู้นำ ก็เป็นที่เชื่อกันว่าโอกาสของการขัดแย้งในตะวันออกกลาง และในประชาคมโลกก็จะเบาบางลง เพราะสังคมประชาธิปไตยอยู่ได้ด้วยการเจรจา ปรึกษา หารือ หาข้อยุติร่วมกันด้วยสันติวิธี


    http://blog.eduzones.com/bangsi/95289
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 สิงหาคม 2013
  4. ☻

    Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    9
    ค่าพลัง:
    +68
    ชีอะฮ์
    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

    ชีอะฮ์ (บ้างสะกด ชีอะห์) เป็นนิกายหนึ่งในอิสลาม ซึ่งมีความแตกต่างกับซุนนีย์ในเรื่องของผู้นำสูงสุด หรือตัวแทนนบีมุฮัมมัด ว่าจะต้องมาจากการแต่งตั้งของอัลลอฮ์และนบีมุฮัมมัดเท่านั้น นั้นคืออิมามสิบสองคน อันได้แก่อิมามอะลีย์และบุตรหลานอีก 11 คน

    ชีอะฮ์ ตามความหมายของปทานุกรมหมายถึง ผู้ปฏิบัติตามหรือผู้ติดตาม ซึ่งบุคคลที่เป็นชีอะฮ์หมายถึง บุคคลที่เชื่อว่า ตัวแทนของศาสดามุฮัมมัด (ศ) หลังจากท่านเสียชีวิต เป็นสิทธิของลูกหลานของท่านเท่านั้น ซึ่งพวกชีอะฮ์จึงยึดถือและปฏิบัติ ตามแนวทางของลูกหลานของท่านศาสดา(อะฮฺลุลบัยตฺ) ทั้งด้านความรู้ และการปฏิบัติ

    ชีอะฮ์ - วิกิพีเดีย
     
  5. ☻

    Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    9
    ค่าพลัง:
    +68
    ซุนนีย์
    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

    ซุนนีย์ คือนิกายหนึ่งในศาสนาอิสลาม มีชื่อเต็มในภาษาอาหรับว่า อะหฺลุซซุนนะหฺ วะ อัลญะมาอะหฺ (อาหรับ: أهل السنة والجماعة‎) (นิยมอ่านว่า อะหฺลุซซุนนะหฺ วัลญะมาอะหฺ) เป็นนิกายที่ใหญ่ที่สุดในอิสลาม แบ่งเป็นสำนักหรือมัซฮับย่อย ๆ ออกเป็นหลายมัซฮับ แต่ปัจจุบันเหลือแค่เพียง 4 มัซฮับ นอกจากนี้ยังมีมัซฮับมุสลิมซุนนีย์ที่ไม่ยึดถือมัซฮับ เรียกตนเองว่า พวกสะละฟีย์

    ที่มาของคำ ซุนนีย์

    ซุนนีย์ - วิกิพีเดีย
     
  6. ☻

    Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    9
    ค่าพลัง:
    +68
    บทความ สงครามอาหรับ-อิสราเอล

    ความที่อิสราเอลกับประเทศอาหรับโดยรอบไม่มีการบรรลุข้อ ตกลงสันติภาพกันภายหลังข้อตกลงหยุดยิงในปี 1949 ซึ่งอาหรับได้ทำ สงครามกับรัฐยิวในทันทีที่ก่อตั้งประเทศนั้น ยังผลให้ภูมิภาคตะวันออกกลางมี บรรยากาศตึงเครียดอยู่โดยตลอด
    แล้วต่อมาก็ปะทุเป็นวิกฤตการณ์คลองสุเอซ

    [​IMG]

    บทความ เนื้อเรื่อง หรือ คำอธิบาย โดยละเอียด
    วิกฤตการณ์คลองสุเอซ (Suez Crisis) เป็นการเผชิญหน้ากันใน ระดับนานาชาติในปี 1956 ซึ่งอียิปต์ได้ท้าชนกับกองทัพของอิสราเอล อังกฤษ และฝรั่งเศส โดยอียิปต์ได้ยึดการบริหารงานคลองสุเอซมาเป็นของตน ทำให้ทั้งสหรัฐและสหภาพโซเวียตต้องยื่นมือเข้ามาช่วยไกล่เกลี่ย และจบลง ด้วยการส่งกองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติไปคอยห้ามทัพ

    วิกฤตการณ์ครั้งนี้เริ่มก่อตัวขึ้นเมื่อนายกรัฐมนตรีของอียิปต์ (ซึ่งต่อมาได้เป็นประธานาธิบดี) กามาล อับเดล นัสเซอร์ ก้าวขึ้นสู่อำนาจใน ปี 1954 ตอนแรกเขาเดินงานการทูตแบบนิยมตะวันตก แต่ต่อมาก็หันไปโดด เด่นในขบวนการของกลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด คือไม่ผูกพันอย่างเป็นทาง การกับสหรัฐหรือโซเวียต แต่จะขอความสนับสนุนจากทั้งสองค่ายพี่เบิ้มแห่ง โลกยุคสงครามเย็น

    ในเดือนกันยายน 1955 นัสเซอร์ซื้ออาวุธโซเวียตจำนวนมาก จากเชกโกสโลวะเกีย ซึ่งเป็นประเทศคอมมิวนิสต์ ขณะเดียวกันก็ได้รับคำมั่น สัญญาจากรัฐบาลสหรัฐและอังกฤษว่า จะสนับสนุนเงินแก่โครงการสร้างเขื่อน อัสวานที่จะกั้นแม่น้ำไนล์

    รัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐ จอห์น ฟอสเตอร์ ดัลเลส ไม่ชอบใจที่นัสเซอร์ทำตัวสนิทสนมใกล้ชิดกับค่ายคอมมิวนิสต์ จึงขัดขวาง การให้เงินสร้างเขื่อนอัสวานจนเป็นผลสำเร็จ

    เดือนกรกฎาคม 1956 นัสเซอร์ตอบโต้ด้วยการถ่ายโอน กรรมสิทธิ์ของบริษัทที่ดูแลคลองสุเอซซึ่งเป็นของอังกฤษและฝรั่งเศสให้มาเป็น ของรัฐบาลอียิปต์ โดยบอกว่าจะเอาผลกำไรปีละ 25 ล้านดอลลาร์ของบริษัทนี้ มาใช้สร้างเขื่อนดังกล่าว

    เขาอ้างความชอบธรรมว่า คลองสุเอซเป็นทรัพย์สินของอียิปต์ และจะจ่ายค่าชดเชยให้แก่บรรดาผู้ถือหุ้นของบริษัทดังกล่าว พร้อมกับจะเปิด ให้เรือของทุกชาติเข้าใช้คลองสายนี้ได้ (ตอนแรกอียิปต์จะไม่ให้อิสราเอลใช้)

    รัฐบาลอังกฤษกับฝรั่งเศสยอมรับไม่ได้ที่จะปล่อยให้คลองสายนี้ หลุดมือไป เพราะเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ที่ใช้ขนส่งน้ำมันจำนวนมหาศาล จากตะวันออกกลางไปยังยุโรป อังกฤษกับฝรั่งเศสเรียกร้องให้นัสเซอร์เปลี่ยน ใจ เมื่อการเดินเกมทางการทูตล้มเหลว ทั้งสองชาติก็หันไปชวนอิสราเอลให้ ร่วมเป็นพันธมิตรทางทหาร อิสราเอลก็ตอบตกลง

    เหตุที่อิสราเอลเอาด้วยกับอังกฤษและฝรั่งเศส ก็เพราะถูกอียิปต์ ห้ามเรือของอิสราเอลหรือเรือของชาติใดที่บรรทุกสินค้าหรือมุ่งสู่อิสราเอลใช้ คลองสุเอซมาตั้งแต่ปี 1949 และอียิปต์ยังปิดช่องแคบทิรันที่ปากอ่าวอะกาบา มาตั้งแต่ปี 1951 ทำให้อิสราเอลหมดทางออกสู่ทะเลแดง และพวกนักสู้จร ยุทธ์ก็ใช้ฉนวนกาซาซึ่งอยู่ในความดูแลของอียิปต์เป็นฐานเข้าโจมตีอิสราเอล หลายครั้ง

    หลังจากร่วมวางแผนอย่างลับๆ กับอังกฤษและฝรั่งเศสอยู่ หลายเดือน อิสราเอลก็เปิดฉากโจมตีซึ่งเรียกกันในภายหลังว่าสงครามสุเอซ- ซีนาย (Suez-Sinai War) ด้วยการบุกคาบสมุทรซีนายในวันที่ 29 ตุลาคม 1956

    ภายในวันเดียว กองทัพอิสราเอลดาหน้าไปทั่วแหลมซีนายจน อยู่ห่างจากแนวคลองสุเอซแค่ไม่กี่กิโลเมตร ในวันที่ 30 ตุลาคม อังกฤษกับ ฝรั่งเศสก็เดินตามแผนขั้นต่อมา ด้วยการยื่นคำขาดเรียกร้องให้ทั้งอิสราเอลและ อียิปต์ถอนทหารออกจากแนวคลองสุเอซ เพื่อให้กองกำลังร่วมของอังกฤษและ ฝรั่งเศสเข้ารักษาการณ์ตลอดความยาวของคลองสายนี้

    นัสเซอร์ไม่ยอมทำตามคำขอนี้ ในวันที่ 31 ตุลาคม กองทัพอังกฤษกับฝรั่งเศสจึงทิ้งระเบิดใส่ฐานทัพต่างๆ ของอียิปต์ ทำลาย เครื่องบินของอียิปต์ที่จอดอยู่เป็นจำนวนมาก กองทัพอียิปต์ในคาบสมุทรซีนาย ถูกตีแตกพ่าย ภายในหนึ่งสัปดาห์ อิสราเอลก็ควบคุมคาบสมุทรซีนายได้เกือบ หมด

    นัสเซอร์สั่งให้จมเรือ 40 ลำในคลองสุเอซเป็นการตอบโต้ ซึ่งเป็นการปิดคลองไปโดยปริยาย

    งานนี้สหรัฐกับโซเวียตตั้งตัวไม่ทัน เพราะมัวแต่สนใจกรณี ลุกฮือขึ้นต่อต้านคอมมิวนิสต์ในประเทศฮังการีในช่วงปลายเดือนตุลาคม มหา อำนาจทั้งสองเรียกร้องให้มีการหยุดยิงตลอดแนวลำคลองโดยทันที โซเวียตขู่ จะใช้จรวดพิสัยไกลช่วยกองทัพอียิปต์ ขณะที่สหรัฐก็ขู่จะสกัดกั้นการส่งน้ำมัน จากอเมริกาใต้ไปยังยุโรปทั้งหมด

    แรงกดดันเหล่านี้ รวมทั้งข้อมติที่แข็งกร้าวของสหประชาชาติที่ เรียกร้องการหยุดยิง โดยการสนับสนุนของมหาอำนาจทั้งสอง บังคับให้ อังกฤษ ฝรั่งเศส และอิสราเอลต้องยอมรามือ โดยถอนทหารออกมา แล้วให้กองกำลังฉุกเฉินของสหประชาชาติจัดทหารเข้าไปประจำการณ์ตาม แนวชายแดนของอียิปต์กับอิสราเอล

    เมื่อสิ้นเดือนธันวาคม 1956 คลองสุเอซและคาบสมุทรซีนายก็ กลับมาอยู่ในความควบคุมของอียิปต์ นัสเซอร์กลายเป็นวีรบุรุษนักชาตินิยม ของชาวอาหรับ ส่วนอิสราเอลไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้คลองสุเอซ แต่ก็ได้ใช้ ช่องแคบทิรันเป็นการแลกเปลี่ยนกับการถอนทหารออกจากฉนวนกาซาในตอน ต้นปี 1957

    ภายหลังวิกฤตการณ์คลองสุเอซ อาหรับกับอิสราเอลก็ยังคงไม่ มีการเจรจาสันติภาพกัน ทำให้มีการปะทะตามแนวชายแดนกันเป็นระยะๆ

    เมื่อว่างเว้นจากการทำศึกภายหลังสงครามปี 1956 เศรษฐกิจ ของอิสราเอลก็มีการพัฒนารุดหน้าอย่างรวดเร็ว การพัฒนาภาคอุตสาหกรรม และเกษตรกรรมทำให้รัฐบาลสามารถยกเลิกมาตรการรัดเข็มขัดต่างๆ ได้ การส่งออกเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว ผลผลิตภายในประเทศก็เพิ่มขึ้นมาก ข้าวของที่ เคยต้องสั่งนำเข้าก็เริ่มผลิตใช้เองในประเทศได้ เช่น กระดาษ ยางรถยนต์ วิทยุ และตู้เย็น

    ภาคการผลิตที่โตวันโตคืนก็คือ เหล็ก เครื่องจักร สารเคมี และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เกษตรกรเริ่มเพาะปลูกพืชหลายชนิดเพื่อป้อน อุตสาหกรรมแปรรูปอาหารและส่งออกสินค้าสด การค้าเจริญรุ่งเรืองมาก ถึงกับมีการสร้างท่าเรือน้ำลึกขึ้นที่เมืองอัชดอด ริมฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

    งานด้านความสัมพันธ์กับต่างประเทศก็ขยายตัว มีการสาน ไมตรีกับสหรัฐ กลุ่มประเทศในเครือจักรภพ ประเทศยุโรปตะวันตกส่วนใหญ่ และเกือบทุกประเทศในละตินอเมริกาและแอฟริกา มีการส่งผู้เชี่ยวชาญของ อิสราเอลไปช่วยงานพัฒนาในแอฟริกา เอเชีย และละตินอเมริกา

    ด้านการทหารก็ใช่ย่อย อิสราเอลกระชับความร่วมมือทางการ ทหารกับฝรั่งเศส ขณะที่สหรัฐตกลงขายอาวุธให้อิสราเอลในปี 1962 และเยอรมนีตะวันตกก็ยังคงให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและการทหาร โดยในปี 1965 อิสราเอลได้แลกเปลี่ยนเอกอัครราชทูตกับเยอรมนีตะวันตก ซึ่งเป็นความเคลื่อนไหวที่ถูกดองมานานเนื่องจากความทรงจำอันขมขื่นของ การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว

    เบน-กูเรียนลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปี 1963 โดยมีรัฐมนตรีคลังของเขา คือ เลวี เอชโคล เข้ามาแทน สองปีให้หลัง เบน- กูเรียนก็ก่อตั้งพรรคฝ่ายค้านขึ้นใหม่ คือพรรคราฟี เพื่อแยกตัวออกจากพวกหัว เก่าในพรรคแรงงาน โดยมีสมาชิกชั้นนำของพรรคแรงงานหลายคนตามมาเข้า พรรคใหม่นี้ด้วย เช่น โมเช ดายัน (Moshe Dayan) และ ชิมอน เปเรส (Shimon Peres)

    ในเมื่อความบาดหมางยังไม่สิ้น ในช่วงกลางทศวรรษ 60 ฝ่าย อาหรับกับอิสราเอลก็ปะทะกันอีกครั้งในสงครามหกวัน
    สงคราม 6 วัน (ภาษาอังกฤษ: Six-Day War, ภาษาฮีบรู: מלחמת ששת הימים) เป็นสงครามระหว่างอิสราเอลกับอียิปต์ หลังจากวิกฤตการณ์คลองสุเอซ นายกาเมล อับเดล นัสเซอร์ ประธานาธิบดีของประเทศอียิปต์ได้ขอร้องให้องค์การสหประชาชาติถอนกำลังออกไปจากอียิปต์แล้ว กองทัพของอียิปต์ได้เคลื่อนที่เข้ายึดฉนวนกาซาและปิดล้อมอ่าวอกาบา และห้ามไม่ให้เรือสินค้าของอิสราเอลผ่าน แต่ด้วยความกลัวของอิสราเอล อิสราเอลจึงได้โจมตีอียิปต์ก่อน ทำให้เกิดสงครามระหว่างชาวยิวกับชาวอาหรับขึ้นเป็นครั้งที่ 3 โดยสงครามนี้เริ่มขึ้นตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน - 10 มิถุนายน ค.ศ. 1967 กินเวลาเพียง 6 วัน ในสงครามครั้งนี้อิสราเอลยึดดินแดนอาหรับได้มากมาย เช่น ฉนวนกาซา คาบสมุทรไซนาย ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดน (หรือ เขตเวสต์แบงก์) ทั้งหมด และยึดเยรูซาเล็มกลับมาได้ นอกจากนี้ยังยึดที่ราบสูงโกลานของซีเรียได้อีกด้วย ทำให้ดินแดนของอิสราเอลขยายตัวออกไปถึง 4 เท่า

    ภายในเวลา 6 วัน อิสราเอลสามารถยึดครองคาบสมุทรซีนาย ฉนวนกาซา ดินแดนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดนหรือเวสต์แบงก์ และเขตที่ สูงโกลันได้ ซึ่งทั้งหมดนี้รวมเรียกว่าเขตยึดครอง (Occupied Territories)

    หลังจากแพ้อิสราเอลในวิกฤตการณ์คลองสุเอซ หรือบางทีก็ เรียกว่าสงครามสุเอซ-ซีนาย (Suez-Sinai War) ในปี 1956 ประธานาธิบดีกา มาล อับเดล นัสเซอร์ ของอียิปต์ ก็ประกาศจะล้างแค้น และสนับสนุนขบวน การชาตินิยมของชาวปาเลสไตน์ พร้อมกับลงมือจัดตั้งพันธมิตรอาหรับที่ราย รอบประเทศอิสราเอล และระดมสรรพกำลังเตรียมทำสงคราม

    อิสราเอลอยากรอให้ถูกเล่นงาน จึงเป็นฝ่ายชิงโจมตีก่อน ณ วันที่ 5 มิถุนายน 1967 ซึ่งในวันต่อๆ มาก็สามารถรุกไล่กองทัพอาหรับออก ไปจากดินแดนต่างๆ ข้างต้นได้ แล้วเข้ายึดครองเอาไว้

    อิสราเอลยังได้ผนวกเยรูซาเล็มตะวันออกซึ่งจอร์แดนได้เข้าควบ คุมตั้งแต่ช่วงสงครามปี 1948-1949 ด้วย สงครามซึ่งต่อมาเรียกว่าสงครามหก วัน (Six-Day War) ในครั้งนี้จึงนับเป็นชัยชนะครั้งยิ่งใหญ่ของอิสราเอล แม้ว่าในเขตยึดครองจะมีการปะทะไม่หยุดหย่อน

    ในช่วงหลายปีก่อนเกิดสงครามหกวันนั้น ประเทศอาหรับต่างๆ ยังคงไม่ยอมรับความชอบธรรมของรัฐยิว ซึ่งนักชาตินิยมชาวอาหรับซึ่งนำ โดยนัสเซอร์ได้เรียกร้องให้ทำลายอิสราเอลให้ราบคาบ อียิปต์กับจอร์แดนได้ ให้การหนุนหลังบรรดานักรบชาวปาเลสไตน์ให้โจมตีกองทหาร และพลเรือน ในเขตประเทศอิสราเอลอยู่เนืองๆ พอลงมือเสร็จก็ถอยเข้าไปอยู่ที่ฉนวนกาซา ซึ่งอยู่ในความควบคุมของอียิปต์ หรือไม่ก็ในเวสต์แบงก์ซึ่งอยู่ในความควบคุม ของจอร์แดน ในขณะที่ซีเรียก็ใช้ที่สูงโกลันซึ่งเป็นชัยภูมิที่ได้เปรียบยิงถล่มไร่ นาของอิสราเอลอยู่ไม่ขาด

    ข้างฝ่ายอิสราเอลก็ไม่ยอมรับต่อการที่จอร์แดนควบคุมสถานที่ ศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ของชาวยิวในเยรูซาเล็มตะวันออก มีการตอบโต้การบุกรุก ของฝ่ายอาหรับด้วยการเข้าไปแก้แค้นในเขตแดนของอาหรับเป็นประจำ

    ในเดือนเมษายน 1967 หลังจากซีเรียระดมยิงจากที่สูงโกลัน เข้าใส่หมู่บ้านต่างๆ ของอิสราเอลอย่างหนัก อิสราเอลกับซีเรียก็เปิดศึกเวหา กัน โดยอิสราเอลได้ยิงเครื่องบินรบแบบมิกของซีเรียที่ได้รับจากสหภาพ โซเวียตตกไป 6 ลำ พร้อมกับเตือนไม่ให้ซีเรียโจมตีอีก

    ซีเรียหันไปขอแรงสนับสนุนจากนัสเซอร์แล้วกลางเดือน พฤษภาคม กองทัพอียิปต์ 100,000 นาย กับรถถัง 1,000 คันก็เคลื่อนพลเข้าสู่ คาบสมุทรซีนาย ซึ่งติดกับพรมแดนด้านทิศใต้ของอิสราเอล ที่ซึ่งมีกองกำลัง ของสหประชาติตั้งอยู่ก่อนแล้วในฐานะผู้สังเกตการณ์

    แต่ในวันที่ 17 พฤษภาคม นัสเซอร์ได้ขอให้บุคลากรของยูเอ็น ถอนออกไปจากหลายเขต ซึ่งบรรดาผู้สังเกตการณ์ก็ถอนตัวออกไปหมด พอถึงวันที่ 22 พฤษภาคม นัสเซอร์ก็ประกาศปิดช่องแคบทิรัน ซึ่งอิสราเอล อาศัยเป็นทางออกสู่ทะเลแดง และเป็นแหล่งน้ำมันดิบแหล่งใหญ่

    ตอนที่เกิดวิกฤตการณ์คลองสุเอซเมื่อปี 1956 อียิปต์ก็เคยปิด ช่องแคบแห่งนี้มาครั้งหนึ่งแล้ว กระทั่งเป็นต้นเหตุของสงครามดังกล่าว ซึ่งอิสราเอลเคยประกาศชัดไว้ตั้งแต่บัดนั้นแล้วว่า ถ้าอียิปต์ปิดช่องแคบทิรันอีก จะถือเป็นการทำสงคราม

    อิสราเอลยังได้กลิ่นสงครามโชยมาอีกกระแสหนึ่งด้วย เมื่ออียิปต์กับจอร์แดนลงนามในข้อตกลงให้กองทัพของทั้งสองประเทศอยู่ภาย ใต้การบัญชาการร่วมกัน

    เพราะเหตุที่อิสราเอลกลัวจะต้องรับศึกถึง 3 ด้าน คือ อียิปต์ จอร์แดน และซีเรีย และด้วยความที่อยากให้สงครามเกิดนอกบ้านมากกว่าใน บ้าน อิสราเอลจึงตัดสินใจชิงลงมือก่อน

    เช้าวันที่ 5 มิถุนายน ฝูงบินของอิสราเอลได้โจมตีอียิปต์ ซึ่งมีกองทัพที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคนั้น ในเวลา 8.45 น. ซึ่งอิสราเอลลงมือนั้น เครื่องบินส่วนใหญ่ของอียิปต์ยังจอดอยู่ พวกผู้บัญชาการทหารก็ต้องเจอสภาพ รถติดกว่าจะมาถึงกองบัญชาการ โดยเครื่องบินของอิสราเอลสามารถหลบหลีก เรดาร์ของอียิปต์ไปได้ และเข้าโจมตีในทิศทางที่ไม่มีใครคาดคิด มหกรรม เซอร์ไพรส์ครั้งนี้จึงได้ผล

    ภายในไม่กี่ชั่วโมง อิสราเอลซึ่งเน้นโจมตีกองทหารและสนาม บิน ได้ทำลายเครื่องบินรบของอียิปต์ไป 309 ลำจากทั้งหมด 340 ลำ จากนั้นทหารราบของอิสราเอลก็เคลื่อนเข้าสู่คาบสมุทรซีนายและฉนวนกาซา เข้าสู้รบกับหน่วยทหารของอียิปต์ ซึ่งปรากฏว่าฝ่ายอียิปต์สูญเสียอย่างหนัก ขณะที่ทหารอิสราเอลเสียชีวิตเพียงไม่กี่คน

    ขณะเดียวกัน อิสราเอลได้บอกไปยังกษัตริย์ฮุสเซนแห่ง จอร์แดนว่าอย่ายุ่งเกี่ยวกับการศึกครั้งนี้ แต่ในเช้าวันแรกของสงครามนั้น นัสเซอร์ได้แจ้งไปยังกษัตริย์ฮุสเซนว่าอียิปต์กำลังมีชัยชนะ ซึ่งประชาชนชาว อียิปต์ก็เชื่ออย่างนั้นอยู่หลายวัน ในเวลา 11.00 น. ของเช้าวันแรก กองทัพ จอร์แดนจึงโจมตีอิสราเอลที่เยรูซาเล็มด้วยปืนครกและปืนยาว และยิงปืนใหญ่ เข้าใส่เป้าหมายต่างๆ ในเขตประเทศอิสราเอล

    เมื่อทำเอากองทัพอากาศของอียิปต์เดี้ยงไปแล้ว ฝูงบินของ อิสราเอลก็หันมาเล่นงานจอร์แดน พอตกตอนเย็น กองทัพอากาศของจอร์แดน ก็แทบไม่มีอะไรเหลือ ขณะที่อิสราเอลสูญเสียเพียงเล็กน้อย เมื่อถึงเที่ยงคืน ทหารราบของอิสราเอลก็เข้าโจมตีทหารจอร์แดนในเยรูซาเล็ม รุ่งขึ้นเช้าวันที่ 6 มิถุนายน ทหารอิสราเอลก็ล้อมเมืองนี้ไว้ได้เกือบหมด

    ในวันที่สอง กองทัพอากาศของอิสราเอลยังโจมตีฐานทัพ อากาศต่างๆ ของฝ่ายอาหรับอย่างต่อเนื่อง เพิ่มยอดความสูญเสียของเครื่อง บินเป็น 416 ลำ ในจำนวนนี้เป็นเครื่องบิน 2 ใน 3 ของซีเรีย เมื่อสามารถ ครองน่านฟ้าได้เกือบสมบูรณ์เช่นนี้ เครื่องบินรบและเครื่องบินทิ้งระเบิดของ อิสราเอลก็สามารถสนับสนุนการรุกของรถถังและทหารราบบนภาคพื้นดินได้ อย่างสบาย

    ฉะนั้น กำลังเสริมของจอร์แดนจึงไม่สามารถไปถึงเยรูซาเล็ม ได้ ในเวลา 10,00 น.ของวันที่ 6 มิถุนายน อิสราเอลก็สามารถยึดกำแพงตะ วันตก (Western Wall) หรือกำแพงพิลาป (Wailing Wall) ในเขตกรุงเก่า (Old City) ของเยรูซาเล็มได้ ซึ่งกำแพงนี้ถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของ ศาสนายูดาย

    นับเป็นครั้งแรกในช่วงเวลาเกือบ 2,000 ปีที่ชาวยิวสามารถเข้า ควบคุมกำแพงแห่งนี้ได้ ขณะที่การสู้รบภาคพื้นดินในแหลมซีนายยังดำเนินต่อ ไป โดยอียิปต์เป็นฝ่ายร่นถอยต่อการรุกของอิสราเอล

    ในวันที่สามของสงคราม คือ 7 มิถุนายน กองทัพจอร์แดนได้ ถูกผลักดันออกจากเวสต์แบงก์ข้ามแม่น้ำจอร์แดนกลับไปยังเขตแดนของตน สหประชาชาติได้จัดให้อิสราเอลกับจอร์แดนหยุดยิงกันโดยมีผลในเย็นวันนั้น

    วันต่อมา วันที่ 8 มิถุนายน กองทัพอิสราเอลก็บุกถึงคลองสุ เอซ มีการยิงปืนใหญ่ต่อสู้กันตลอดแนว ขณะที่เครื่องบินของอิสราเอลก็ถล่ม ทหารอียิปต์ที่แตกร่น พอควบคุมแหลมซีนายได้แล้ว อิสราเอลก็หันเป้าไปสู่ที่ สูงโกลัน

    วันที่ 9 มิถุนายน อิสราเอลเจองานหิน เพราะต้องรุกขึ้นที่สูง ชันไปสู้กับทหารซีเรียที่มีแนวหลุมเพลาะเป็นชัยภูมิอย่างดี โดยอิสราเอลส่ง ทหารม้ายานเกราะขึ้นไปรบกับแนวหน้าของซีเรีย ขณะที่ทหารราบก็รายล้อม ที่ตั้งต่างๆ ของทหารซีเรียไว้

    ขณะที่อิสราเอลกำลังทำท่าจะมีชัย ในเวลา 18.30 น.ของวันที่ 10 มิถุนายน อิสราเอลกับซีเรียก็ตกลงหยุดยิงกัน โดยอิสราเอลเข้าควบคุมที่สูงโกลันไว้ทั้งหมด

    ส่วนสงครามระหว่างอิสราเอลกับอียิปต์นั้นไม่ได้ยุติอย่างเป็นทางการอยู่ตั้งหลายปี โดยอิสราเอลได้ควบคุมคาบสมุทรซีนายเอาไว้เรื่อยมา ทั้งสองฝ่ายเพิ่งจะจับมือกันได้ในปี 1979 ตามข้อตกลงแคมป์เดวิด

    การที่อิสราเอลสามารถได้ชัยชนะอย่างรวดเร็วและกว้างขวางเช่นนี้ ทำให้ฝ่ายอาหรับเสียกระบวนไปเลยทีเดียว อียิปต์ จอร์แดน และซีเรีย สูญเสียเครื่องบินรบไปเกือบหมด อาวุธยุทโธปกรณ์ก็ถูกทำลายไปมาก

    เฉพาะที่แหลมซีนายและฉนวนกาซา ทหารอียิปต์เสียชีวิตไปราว 10,000 นาย ขณะที่อิสราเอลสูญเสียแค่ 300 นาย โดยรวมแล้ว อียิปต์เสียทหาร 11,000 นาย จอร์แดนเสียประมาณ 6,000 นาย ซีเรียเสียราว 1,000 นาย และอิสราเอลเสีย 700 นาย

    พวกผู้นำอาหรับจึงสูญเสียความนิยมภายในบ้าน ขณะที่รัฐบาลอิสราเอลได้คะแนนนิยมจมหู ข้างฝ่ายโซเวียตซึ่งหนุนหลังอาหรับเต็มตัวก็เสียหน้า เพราะชาติอาหรับถูกพันธมิตรของสหรัฐคืออิสราเอลถล่มแทบไม่เหลือชิ้นดี และอาวุธของโซเวียตก็เอาชนะอาวุธของตะวันตกไม่ได้

    ในวันที่ 22 พฤศจิกายน สหประชาชาติได้ออกข้อมติที่ 242 เรียกร้องให้อิสราเอลถอนทหารออกจากดินแดนยึดครอง และให้ชาติอาหรับรับรองเอกราชของอิสราเอลเป็นการแลกเปลี่ยน และให้หลักประกันความสงบตามแนวพรมแดนเป็นการตอบแทน

    แต่เหตุการณ์ก็หาเป็นไปตามข้อมติที่ 242 ไม่ ฝ่ายอาหรับกับปาเลสไตน์ยังคงประกาศจะรบกับอิสราเอลต่อไป ขณะที่อิสราเอลก็ไม่ยอมคืนดินแดนยึดครองภายใต้บรรยากาศที่ยังไม่เลิกเป็นศัตรูกัน

    ด้วยเหตุนี้ การโจมตีด้วยการก่อการร้ายและการตอบโต้ก็ยังมีอยู่ต่อไป อิสราเอลกับอียิปต์ยังคงยิงปืนใหญ่ ใช้พลแม่นปืน หรือโจมตีทางอากาศต่อกันเป็นครั้งคราวต่อมาอีกหลายปี ถึงจะมีข้อตกลงหยุดยิงกันแล้ว แต่สถานการณ์ในภูมิภาคก็ยังเปราะบางมาก

    อิสราเอลได้เสริมความมั่นคงในดินแดนยึดครองด้วยการขยายแนวป้องกันออกไปจนจรดพรมแดนของบรรดาประเทศอาหรับ ทั้งแหลมซีนาย เวสต์แบงก์ และที่สูงโกลัน มีป้อมค่ายแข็งแรง

    อิสราเอลยังประกาศความตั้งใจที่จะเก็บเยรูซาเล็มไว้เป็นเมืองหลวงชั่วนิรันดร์ที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ของตน ซึ่งสร้างความขุ่นเคืองให้ชาติอาหรับ กระทั่งนำไปสู่สงครามอีกครั้งในปี 1973

    ถึงจะไม่ปรากฏผลในเวลานั้น แต่ข้อมติที่ 242 ก็ได้วางรากฐานให้กับกระบวนการสันติภาพซึ่งเริ่มจะเป็นรูปเป็นร่างในช่วงทศวรรษ 1970

    บทความ สงครามอาหรับ-อิสราเอล
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • Syria.jpg
      Syria.jpg
      ขนาดไฟล์:
      492.7 KB
      เปิดดู:
      90
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 สิงหาคม 2013
  7. จริง?หรือ?

    จริง?หรือ? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    2,201
    ค่าพลัง:
    +7,155
    30-08-2013
    "ปึ้ง"เชื่อมะกันคิดหนักหากลุยเดี่ยวซีเรีย หลังอังกฤษ เยอรมันไม่เอาด้วย


    [​IMG]

    "สุรพงษ์" เผยสหรัฐฯ คิดหนักหากจะบุกซีเรีย เหตุ อังกฤษ เยอรมันไม่เอาด้วย หากลุยเดี่ยวต้องพิจารณาให้รอบคอบ ส่วนใหญ่ยึดตามมติยูเอ็น ยันไม่มีคนไทยในซีเรียแล้ว

    วันนี้(30 ส.ค.) นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.ต่างประเทศ กล่าวถึงสถานการณ์ความขัดแย้งในประเทศซีเรียว่า การที่สหรัฐฯไม่นำเรื่องซีเรียเข้าไปหารือในประชุมคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ที่มี 5 ประเทศ ประกอบด้วย จีน ฝรั่งเศส รัสเซีย อังกฤษ และสหรัฐฯ เป็นสมาชิก เพราะหากนำเข้าไปพิจารณาในที่ประชุมแล้วถ้ามีประเทศใดประเทศหนึ่งไม่เห็นด้วยจะไม่สามารถดำเนินการภายใต้กรอบของคณะมนตรีความมั่งคงแห่งสหประชาชาติ เพื่อจะเข้าไปดำเนินการทางการทหารในซีเรียได้ ฉะนั้นทางสหรัฐฯจึงไปชักชวนอังกฤษ เยอรมัน และประเทศทางยุโรป แต่อังกฤษและเยอรมันปฏิเสธ สหรัฐฯจึงเหลือประเทศเดียว หากตัดสินใจคนเดียวคงลำบากใจ เชื่อว่าประธานาธิบดีของสหรัฐฯคงต้องพิจารณาให้รอบคอบด้วย เพราะการไปดำเนินคนเดียวอาจจะส่งผลเสียหายในอนาคตได้

    อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ในส่วนประเทศไทยจะต้องปฏิบัติตามมติขององค์กกรสหประชาชาติ (ยูเอ็น) เพราะเราอยู่ภายใต้ยูเอ็น เป็นสิ่งที่เราดำเนินการมาโดยตลอด

    รมว.ต่างประเทศ กล่าวว่า ส่วนผลการเข้าไปตรวจสอบเรื่องการใช้อาวุธเคมีของสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ตอนนี้ยังไม่ได้แจ้งมายังเราว่าสรุปแล้วใช่อาวุธเคมีหรือไม่ แต่เท่าที่ทราบจากข่าวสารต่างยืนยันว่าเป็นอาวุธเคมี อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ไม่มีคนไทยอยู่ในซีเรียแล้ว ส่วนผลกระทบด้านอื่นๆ เช่น ทางการค้าเราก็ไม่มีการค้าระหว่างกัน มีแต่ประเทศรอบๆ ซีเรียอย่างอิหร่าน แต่หากเขาจะซื้อสินค้าด้านเกษตรอย่างข้าวจากเราย่อมขายได้อยู่แล้ว เพราะเป็นเรื่องมนุษยธรรม

    ที่มา ผู้จัดการออนไลน์
     
  8. จริง?หรือ?

    จริง?หรือ? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    2,201
    ค่าพลัง:
    +7,155
    30-08-2013
    ท่าทีล่าสุดของประชาคมโลกต่อวิกฤตการณ์ในซีเรีย


    [​IMG]
    ความเคลื่อนไหวล่าสุด ( 30 ส.ค. ) ในประเทศเพื่อนบ้านและประเทศที่อาจมี "ส่วนได้ส่วนเสีย" หากสหรัฐเป็นฝ่ายเปิดฉากโจมตีทางทหารต่อซีเรีย

    สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 30 ส.ค. สรุปท่าทีล่าสุดของประชาคมโลก เกี่ยวกับวิกฤตการณ์ทางการเมืองระหว่างสหรัฐกับซีเรีย ซึ่งมีสาเหตุมาจากเหตุการณ์โจมตีด้วยอาวุธเคมีชานกรุงดามัสกัส เมื่อวันที่ 21 ส.ค. คร่าชีวิตประชาชนกว่า 1,300 ศพ

    สหประชาชาติ ( ยูเอ็น )
    คณะผู้ตรวจสอบด้านอาวุธเคมีของยูเอ็นมีกำหนดเดินทางกลับออกจากซีเรียในช่วงเช้าของวันเสาร์ที่ 31 ส.ค. นี้ตามเวลาท้องถิ่น ขณะที่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ( ยูเอ็นเอสซี ) ยังไม่ได้ข้อสรุปในการหารือเกี่ยวกับเรื่องซีเรีย เนื่องจากจีนและรัสเซีย ซึ่งเป็น 2 ใน 5 ประเทศสมาชิกถาวรของยูเอ็นเอสซี จับมือกับใช้สิทธิ์คัดค้าน ( วีโต้ ) ญัตติที่เสนอโดยอังกฤษ ว่าด้วยการให้ความช่วยเหลือที่ "จำเป็น" ต่อซีเรีย หรืออีกนัยหนึ่ง คือการแทรกแซงทางทหาร

    ส่วนนายบัน คี-มูน เลขาธิการใหญ่อยู่เอ็น เรียกร้องให้ทุกฝ่ายอยู่ในความสงบ และรอผลการตรวจสอบจากทีมงานก่อน ด้านนายลัคห์ดาร์ บราฮิมี ทูตพิเศษของยูเอ็นและสันนิบาตอาหรับในเรื่องกิจการซีเรีย แถลงย้ำว่า การใช้กำลังทหารต้องผ่านความเห็นชอบจากยูเอ็นเอสซีเท่านั้น

    ซีเรีย
    ประธานาธิบดีบาชาร์ อัล-อัสซาด ผู้นำซีเรีย ประกาศพร้อมตอบโต้ทุกวิถีทาง โดยจะเป็นการต่อสู้ให้ถึงที่สุด หากสหรัฐเปิดฉากโจมตีทางทหารต่อดามัสกัสจริง

    อังกฤษ
    สภาล่างอังกฤษสร้าง "เซอร์ไพรส์" ด้วยผลการลงคะแนนคว่ำญัตติที่เสนอโดยนายหรัฐมนตรีเดวิด คาเมรอน ในเรื่องการร่วมปฏิบัติการทางทหารกับสหรัฐในซีเรีย ด้วยคะแนน 285 ต่อ 272 ซึ่งนายฟิลิป ฮาร์มอนด์ รมว.กระทรวงกลาโหมอังกฤษ กล่าวในภายหลังว่าผิดหวังอย่างมาก

    ฝรั่งเศส
    นายฌอง-อีฟ เลอ เดรียน รมว.กระทรวงกลาโหมฝรั่งเศส ประกาศพร้อมให้ความสนับสนุนทางทหารแก่สหรัฐ ทันทีที่ได้รับการอนุญาตจากประธานาธิบดีฟรองซัวส์ ออลลองด์

    อิสราเอล
    หน้ากากป้องกันแก๊สพิษยังคงจำหน่ายได้อย่างต่อเนื่องในอิสราเอล เนื่องจากการะแสข่าวที่สหรัฐจะโจมตีซีเรียยังมีน้ำหนักอยู่มาก ขณะที่รัฐบาลประกาศพร้อมปกป้องอธิปไตยของตัวเอง หากซีเรียหันมาบุกอิสราเอล เพื่อตอบโต้ปฏิบัตการทางทหารของสหรัฐ

    ตุรกี
    ทางการตุรกีเริ่มสร้างหลุมหลมภัย 7 จุดตามแนวชายแดนที่ติดกับซีเรีย พร้อมกับออกประกาศให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้นเริ่มกักตุนอาหารและซื้อหาหน้ากากป้องกันแก๊สพิษ

    เยอรมนี
    แม้ทางการเยอรมนีจะยังไม่ออกมาแสดงท่าทีที่แน่ชัด แต่ผลสำรวจความคิดเห็นชาวเยอรมันโดยสถานีโทรทัศน์ "เซทเดเอฟ" หนึ่งในสถานีโทรทัศน์ยักษ์ใหญ่ของประเทศ ระบุว่า ประชาชนส่วนใหญ่ไม่ต้องการให้รัฐบาลของนายกรัฐมนตรีอังเกลา แมร์เคิล เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้

    เลบานอน
    นายอัดนัน มานซูร์ รมว.กระทรวงการต่างประเทศเลบานอน กล่าวเตือนสหรัฐว่า หากเปิดฉากใช้กำลังทางทหารต่อซีเรีย ภูมิภาคอาหรับจะ "ลุกเป็นไฟ"

    อียิปต์
    นายนาบิล ฟาห์มี รมว.กระทรวงการต่างประเทศอียิปต์ กล่าวแสดงความไม่เห็นด้วยต่อการใช้กำลังทางทหารของสหรัฐ และจะไม่ขอมอบความช่วยเหลือใดๆให้แก่วอชิงตัน หากได้รับการร้องขอ

    โรมาเนีย
    กระทรวงการต่างประเทศโรมาเนียออกแถลงการณ์ขอให้พลเมืองของตนเดินทางออกจากซีเรียโดยด่วย โดยให้เดินทางผ่านเลบานอน จอร์แดน และตุรกี

    อิหร่าน
    ประธานาธิบดีฮัสซัน โรว์ฮานี แห่งอิหร่าน แถลงแสดงความไม่เห็นด้วยต่อการเกิดฉากโจมตีทางทหารของสหรัฐต่อซีเรีย พร้อมกับประณามว่า แผนการโจมตีครั้งนี้เพื่อ "ผลประโยชน์" ร่วมกันระหว่างวอชิงตันกับอิสราเอลเท่านั้น

    จีน
    หนังสือพิมพ์จีนหลายฉบับพากันพาดหัวข่าวโจมตีสหรัฐในเรื่องการเตรียมใช้กำลังทางทหารต่อซีเรีย ขณะที่กระทรวงการต่างประเทศออกแถลงการณ์ว่า จะเดินหน้าใช้สิทธิ์วีโต้บนเวทียูเอ็นเอสซี หากมีการยื่นญัตติขอแทรกแซงกิจการภายในซีเรียด้วยปฏิบัติการทางทหารอีก

    รัสเซีย
    รัฐบาลรัสเซียประกาศจุดยืนอย่างชัดเจนว่า แม้ไม่เห็นด้วยกับการใช้อาวุธเคมี แต่ก็ขอคัดค้านการแก้ไขด้วยการใช้กำลังทางทหาร พร้อมกับประกาศขอใช้สิทธิ์วีโต้ ในฐานะ 1 ใน 5 สมาชิกถาวรของยูเอ็นเอสซีเช่นเดียวกับจีน

    สหรัฐ
    แถลงการณ์ล่าสุดของทำเนียบขาวระบุ "แนวโน้ม" ที่ประธานาธิบดีบารัค โอบามา จะออกคำสั่งปเดฉากการโจมตีซีเรียเพียงลำพังภายในไม่กี่วันข้างหน้า แม้จะไม่มีอังกฤษเข้าร่วม พร้อมกับเผยว่ าโอบามาได้สนทนาทางโทรศัพท์หลายครั้งกับนายจอห์น โบห์เนอร์ ประธานสภาคองเกรส ซึ่งขอให้ทำเนียบขาวชี้แจงโดยละเอียด ว่าเพราะเหตุใดจึงต้องมีการใช้ปฏิบัติการทางทหารในซีเรีย


    ที่มา ท่าทีล่าสุดของประชาคมโลกต่อวิกฤตการณ์ในซีเรีย | เดลินิวส์
     
  9. จริง?หรือ?

    จริง?หรือ? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    2,201
    ค่าพลัง:
    +7,155
    30-08-2013
    ญี่ปุ่นแถลงจุดยืนไม่ยอมรับการใช้อาวุธเคมีในซีเรีย


    เลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น ยืนยันว่า รัฐบาลญี่ปุ่นจะไม่เปลี่ยนท่าทีต่อการใช้อาวุธเคมีในซีเรีย และรับไม่ได้กับการใช้อาวุธเคมี ไม่ว่าจะเกิดขึ้นภายใต้สถานการณ์แบบใด โดยรัฐบาลซีเรียต้องรับผิดชอบ และญี่ปุ่นพร้อมจะให้ความร่วมมือต่อประชาคมโลก รวมทั้งให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมกับผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ เช่น ผู้อพยพ
    การแถลงย้ำจุดยืนของรัฐบาลญี่ปุ่น เกิดขึ้นหลังจากรัฐสภาอังกฤษ ลงมติคว่ำญัตติของนายกรัฐมนตรีเดวิด แคเมอรอน ที่ต้องการใช้กำลังโจมตีเพื่อตอบโต้การใช้อาวุธเคมีของกองทัพซีเรีย

    ที่มา เดลินิวส์ | อ่านความจริง อ่านเดลินิวส์
     
  10. จริง?หรือ?

    จริง?หรือ? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    2,201
    ค่าพลัง:
    +7,155
    สรุปสถานการณ์: (อัพเดท 30 ส.ค. 10.25 น.)
    ประธานาธิบดีบารัก โอบามากล่าวว่ารัฐบาลได้สรุปแล้วว่าระบอบอัสซาดเป็นผู้ใช้อาวุธเคมี แต่ตนยังไม่ตัดสินใจว่าจะโจมตีซีเรีย ยังอยู่ระหว่างการหารือกับทีมที่ปรึกษา
    ส่วนคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติไม่มีข้อมติอนุมัติการใช้กำลังทหารโจมตีซีเรีย เนื่องจากรัสเซียใช้สิทธิยับยั้ง
    พรรคแรงงาน พรรคฝ่ายค้านของอังกฤษต้องการให้รัฐบาลแสดงหลักฐานที่มีน้ำหนักว่ารัฐบาลซีเรียผู้เป็นใช้อาวุธเคมีก่อนสนับสนุนรัฐบาลโจมตีซีเรีย

    คืบหน้าล่าสุด: (อัพเดท 30 ส.ค. 10.25 น.)
    ล่าสุด รัฐสภาอังกฤษไม่เห็นชอบที่รัฐบาลจะโจมตีซีเรีย นายกรัฐมนตรีคาเมรอนประกาศยกเลิกแผนร่วมโจมตี
    นาย Paul Flynn สมาชิกรัฐสภาพจากพรรคแรงงาน เห็นว่าการที่รัฐบาลโอบามาต้องการโจมตีซีเรียเป็นผลจากนโยบายเส้นต้องห้าม (red line) เชื่อว่าที่รัฐบาลอเมริกันกำลังทำคือต้องการรักษาหน้ามากกว่า

    ทำเนียบขาวพูดเป็นนัยว่าสหรัฐฯ อาจโจมตีซีเรียตามลำพัง หลังจากที่รัฐบาลอังกฤษไม่สามารถโน้มนำให้รัฐสภาเห็นชอบต่อการโจมตี เพราะเห็นว่าสหรัฐฯ จะได้ประโยชน์มากกว่าถ้าเลือกที่จะโจมตี
    คุณ Caitlin Hayden โฆษกของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ กล่าวว่า “ท่านประธานาธิบดีเชื่อว่าการลงโทษต่อประเทศที่กระทำผิดกฎเกณฑ์เรื่องอาวุธเคมี เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์สำคัญของสหรัฐฯ”

    ด้านรัฐบาลฝรั่งเศสกลับเยอรมัน เรียกร้องให้เลื่อนปฏิบัติการทางทหาร จนกว่าคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติได้ทบทวนหลักฐานที่เก็บรวมรวมจากเจ้าหน้าที่สหประชาชาติ

    วิเคราะห์: (อัพเดท 30 ส.ค. 10.25 น.)
    (เกาะติดประเด็นร้อนฉบับนี้จะมุ่งติดตามคืบหน้าสถานการณ์ล่าสุด กับรายงานผลกระทบต่อตลาดเงินตลาดทุน)
    วิเคราะห์ประเด็นทางการเมืองระหว่างประเทศ:
    ประเด็นทางการเมืองระหว่างประเทศที่สำคัญที่สุด ณ ขณะนี้คือ การที่รัฐบาลฝรั่งเศสกับเยอรมัน เรียกร้องให้เลื่อนปฏิบัติการทางทหาร จนกว่าคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติได้พิจารณาหลักฐานที่เก็บรวมรวมจากเจ้าหน้าที่สหประชาชาติ
    ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าภารกิจดั้งเดิมของเจ้าหน้าที่ชุดดังกล่าวคือค้นหาความจริงว่ามีการใช้อาวุธเคมีในซีเรียหรือไม่เท่านั้น ภารกิจไม่ครอบคลุมถึงการสรุปว่าใครหรือฝ่ายใดเป็นผู้ใช้
    จากหลักฐานที่ปรากฏ เหตุการณ์ที่ชานกรุงดามัสกัส เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม น่าจะเป็นการใช้อาวุธเคมี ดังนั้น เมื่อเจ้าหน้าที่รายงานต่อคณะมนตรีฯ อย่างมากได้แต่สรุปว่ามีการใช้อาวุธเคมีจริงในวันนั้น แต่จะไม่มีคำตอบว่าใครหรือฝ่ายใดเป็นผู้ใช้

    ดังที่เคยวิเคราะห์ในบทก่อนๆ ว่าคำตอบที่สำคัญที่สุดคือ การตอบว่าใครหรือฝ่ายใดเป็นผู้ใช้อาวุธเคมี เพราะที่ผ่านมาทั้งรัฐบาลอัสซาดกับฝ่ายต่อต้านต่างกล่าวหากันไปมา (รายละเอียดดูในบทวิเคราะห์ก่อนหน้านี้)
    สุดท้ายแล้ว เชื่อว่าคณะมนตรีความมั่นคงจะไม่มีข้อสรุปว่าใครเป็นผู้ใช้อาวุธเคมีเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม และกลายเป็นว่าขึ้นกับรัฐบาลของแต่ละประเทศว่าจะตัดสินใจอย่างไร
    รัฐบาลโอบามาจะยืนกรานจุดยืนเดิมหรือไม่ หรือกำลังหาทางลงจากหลังเสือ
    เช่นเดียวกับที่ฝรั่งเศสกับเยอรมันที่กำลังทบทวนว่าควรโจมตีหรือไม่ กำลังคำนวณผลดีผลเสียอีกทั้ง โดยเฉพาะผลกระทบจากการเมืองภายในประเทศ ที่เยอรมันกำลังจะมีการเลือกตั้ง ส่วนรัฐบาลฝรั่งเศสที่อ่อนแอยู่แล้วอาจพลาดพลั้งทางการเมืองหากตัดสินใจผิดพลาด

    ผลกระทบต่อตลาดทุน:
    (ข้อมูลส่วนนี้จะปรับตามเวลา เพื่อแสดงสถานะล่าสุด)
    วันนี้ (30 ส.ค.) ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ทั่วเอเชียเช้านี้ผันผวน ปรับตัวบวกลบไปมา หุ้นพลังงานเป็นตัวฉุดตลาด หลังจากที่รัฐสภาอังกฤษไม่เห็นที่รัฐบาลจะร่วมโจมตีซีเรีย
    ราคาน้ำมันดิบ WTI ในตลาดซื้อขายล่วงหน้า NYMEX อ่อนตัวอย่างหนักจากข่าวอังกฤษ นักลงทุนคลายความวิตก เช้านี้อยู่ระหว่าง 107-108 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

    Michael McCarthy หัวหน้านักกลยุทธ์ด้านการลงทุนจาก CMC Markets ชี้ว่า เมื่อสถานการณ์กลายเป็นว่าสหรัฐฯ อาจต้องโจมตีตามลำพัง ทำให้ความร้อนแรงลดน้อยลง อีกทั้ง “การโจมตีอาจไม่เกิดขึ้นก็เป็นได้”
    นักลงทุนบางส่วนเลือกที่จะขายออกไปก่อนส่วนหนึ่ง เพื่อลดความเสี่ยง โดยเฉพาะหากอุปทานน้ำมันล้นตลาด
    อนึ่ง การวิเคราะห์นี้มุ่งอธิบายสถานการณ์ความขัดแย้งในซีเรีย ยังมีอีกหลายปัจจัยที่จะส่งผลต่อตลาดเงินตลาดทุน

    สรุป การที่อังกฤษไม่เข้าร่วมยุทธการ ไม่มีผลต่อปฏิบัติการแต่อย่างไร เพราะกองทัพสหรัฐฯ ไม่จำต้องพึ่งพากองกำลังของอังกฤษ สหรัฐฯ สามารถดำเนินยุทธการได้ด้วยตนเองเพียงประเทศเดียว
    ส่วนในทางการเมืองระหว่างประเทศนั้น รัฐบาลโอบามาตระหนักตั้งแต่ต้นแล้วว่าจะต้องเผชิญการต่อต้านโดยเฉพาะจากรัสเซียกับจีน จึงเตรียมใจพร้อมที่จะลงมือแม้ว่าหลายประเทศจะไม่เห็นด้วย ตั้งแต่ต้นก็ตั้งใจจะลงมือโดยไม่ผ่านความเห็นชอบจากคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติ
    ดังนั้น ณ วันนี้จึงเร็วเกินไปที่จะสรุปว่าสหรัฐฯ จะโจมตีหรือไม่โจมตีซีเรีย ยังต้องรอสัญญาณต่อไป
    ต้องติดตามสถานการณ์โดยใกล้ชิด



    30 สิงหาคม 2013
    ชาญชัย คุ้มปัญญา
     
  11. พลายวาต

    พลายวาต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    73
    ค่าพลัง:
    +369
    ธรรมดาแล้วผมขี้เกียจพิมพ์ยาวๆ แต่พอดีไปอ่านเจอบทความในเว็บต่างประเทศที่เกี่ยวกับวิกฤติการณ์ที่ซีเรียซึ่งเห็นว่าน่าสนใจมาก เลยอยากนำมาแบ่งปันและถกกันต่อไปครับ(จะคัดลอกมาแปะก็เกรงว่าบางท่านอาจไม่ถนัดในการอ่านและเข้าใจต้นฉบับภาษาอังกฤษจะทำให้พลาดเรื่องน่าสนใจไป) ผมจะสรุปแปลเป็นไทยคร่าวๆส่วนใครอยากจะดูรายละเอียดต้นฉบับภาษาอังกฤษก็ขอให้ไปค้นที่ชื่อของผู้เขียนบทความจากกูเกิ้ลดูครับ หรือจะไปดูตัวบทความที่ชื่อ What To Expect During The Next Stage Of Collapse

    คนเขียนบทความเป็นชาวอเมริกันชื่อ Brandon Smith จาก Alt Market (องค์กรที่ตั้งใจให้เป็นศูนย์กลางตลาดทางเลือกให้ชาวอเมริกันได้เข้ามาสร้างเครือข่ายการแลกเปลี่ยนสินค้าและแหล่งศึกษาเพื่อที่จะปลีกตัวออกจากระบบการเงินของประเทศที่กำลังจะล่มสลาย)

    บทความที่นำมาพูดถึงในที่นี้ผมไปอ่านเจอในเว็บไซต์ SHTF (เว็บสำหรับคนที่สนใจการเตรียมการรับมือภัยพิบัติของชาวอเมริกัน) กล่าวโดยสรุปผมเอาเฉพาะที่นายคนนี้ได้คาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นข้างหน้าในเรื่องวิกฤติการณ์ที่ซีเรีย ที่เกี่ยวกับเวทีสากลไม่พูดถึงเรื่องภายในประเทศของเขา(มันจะยาวไป ผมขี้เกียจอีกแล้ว)

    สรุปได้ดังนี้
    1.เมื่อสหรัฐเริ่มการโจมตี พันธมิตรอื่นๆจะยังไม่เข้าร่วมทันทีทันใด โดย อเมริกาจะทำไปโดยลำพังก่อนหรือโดยการสนับสนุนของอิสราเอลและซาอุดิอาราเบีย

    2.Obama จะพยายามลดกระแสการคัดค้านอย่างรุนแรงของนาๆชาติ โดยการจำกัดการโจมตีด้วยขีปนาวุธ แต่การโจมตีจะส่งผลไม่มากนักเมื่อเทียบกับกรณีก่อนๆ

    3.เขตห้ามบิน (No Fly Zone) จะถูกกำหนดขึ้นแต่กองทัพอเมริกันจะพยายามรักษาระยะห่างเนื่องจากเกรงระบบขีปนาวุธต่อต้านที่ซีเรียได้รับจากรัสเซีย (นอกจากนี้ตามข่าวที่ผมเคยได้ยินมีประโยคที่ว่า The weapons that have never been seen before in the middle east)

    4.อิหร่านจะส่งทหารเข้าช่วยซีเรียรวมถึงกองกำลังจากฝ่ายต่างๆที่จะเข้าร่วมช่วยรบ สงครามครั้งนี้จะเป็นการต่อสู้โดยอุดมการณ์ ไปไกลกว่าเรื่องการเมืองและเรื่องเขตแดน

    5.อิสราเอลจะเป็นชาติแรกที่ส่งกองกำลังภาคพื้นดินอย่างเป็นทางการเข้าไปในซีเรีย(และอาจรวมถึงเข้าไปในอิหร่านด้วย)จากนั้นกองกำลังภาคพื้นดินของสหรัฐก็จะตามเข้าไป

    6.อิหร่านจะปิดช่องแคบฮอมุซ(เส้นทางลำเลียงน้ำมันที่สำคัญ)ทำให้การจัดหาน้ำมันของโลกลดลง 20%

    7.สงครามกลางเมืองในอิยิปต์(ที่ลดความสนใจจากชาวโลกไป)จะปะทุขึ้นอีกและทำให้คลองสุเอซไม่ปลอดภัยต่อการขนส่งน้ำมัน ทำให้เรือบรรทุกน้ำมันต้องเดินทางอ้อมทวีปแอฟริกา ส่งผลให้ต้นทุนราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นอีก

    8.การก่อการร้ายและการต่อต้านรัฐจะเพิ่มขึ้นในซาอุฯ

    9.ราคาน้ำมันจะทะยานขึ้นไป 75-100% ภายใน 2-3 เดือน หลังการเริ่มโจมตีซีเรีย

    10.รัสเซียจะขู่ที่จะตัดการส่งก๊าซไปให้ EU (กลุ่ม EU พึ่งพาพลังงานก๊าซจากรัสเซียมาก)

    11.จีนและรัสเซียในที่สุดแล้วจะตัดสินใจประกาศยกเลิกการใช้เงินสกุลดอลล่าของอเมริกาในฐานะสกุลเงินที่ใช้เป็นทุนสำรองของโลก(World Reserve Currency)

    12.การก่อการร้ายจะกระจายไปทั่ว โดยเฉพาะกับอิสราเอล

    นอกจากนั้นเป็นผลกระทบที่ผู้เขียนคาดว่าจะเกิดขึ้นกับการดำรงชีวิตภายในประเทศของชาวอเมริกัน เช่น การเดินทางต่างๆจะลดลงเนื่องจากเรื่องน้ำมัน เศรษฐกิจจะล่ม คนจรจัดจะเพิ่มขึ้น รัฐจะเข้ามาควบคุมพลเมืองอย่างเข้มงวด ๆลๆ

    ก็ลองดูกันต่อไปครับว่าที่เขาคาดการณ์ไว้จะเป็นจริงเพียงไร แต่ตอนนี้ผมเริ่มคิดที่จะซื้อมอเตอร์ไซค์แล้ว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 สิงหาคม 2013
  12. puvadon777

    puvadon777 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2011
    โพสต์:
    1,076
    ค่าพลัง:
    +5,890
    31/08/13
    แผ่นดินไหว M7.0 - 91km ESE of Adak, Alaska 2013-08-30 16:25:03 UTCC (23:25 Thai)

    [​IMG]

    วันนี้ UN ออกจากซีเรียแล้ว

    ฝรั่งเศสพร้อมลุยซีเรียกับสหรัฐ
    BBC News - France's Hollande backs US on Syria action

    คาดการณ์สถานการณ์การโจมตี

    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=1QI2Oi_u-4c]SYRIA WAR: What Obama's Strike Will Look Like! - YouTube[/ame]
     
  13. puvadon777

    puvadon777 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2011
    โพสต์:
    1,076
    ค่าพลัง:
    +5,890
    ถ้าหากสหรัฐฯ ตัดสินใจโจมตีซีเรีย น่าจะอยู่ในช่วง 2 วัน (เสาร์-อาทิตย์)นี้ ขณะนี้หุ้นดาวโจนส์ แดงทั้งกระดาน แต่ราคาน้ำมันยังทรงตัว ราคาทองคำลดลง ผู้ที่ติดตามเศรษฐกิจสหรัฐ เศรษฐกิจโลกคงเข้าใจ

    วันที่ 2 ก.ย.2556 ประธานาธิบดีโอบามา จะไปเยือนสวีเด็น จากนั้นจะเดินทางต่อไปประชุมสุดยอดผู้นำโลก G-20 ที่กรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก รัสเซีย ในวันที่ 5-6 ก.ย.2556

    ได้แต่หวังว่าสหรัฐฯคงตัดสินใจได้ถูกต้อง
     
  14. puvadon777

    puvadon777 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2011
    โพสต์:
    1,076
    ค่าพลัง:
    +5,890
    31/08/2013 01:45 Thai Fox News

    ประธานาธิบดี "บารัค โอบามา" แถลงการณ์ "สถานการณ์ซีเรีย...."

    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=uU0C2FDn3xU]President Barack Obama Syria FULL Statement. 8/30/2013 - YouTube[/ame]

    Obama says he has made no final decision on Syria, but is considering a "limited narrow act."

    โปรดติดตามต่อไป...
     
  15. 479

    479 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มกราคม 2012
    โพสต์:
    56
    ค่าพลัง:
    +138
    อิสราเอลกลัวอาวุธเคมีที่สุด เพราะพลเมืองของตนไม่สามารถใช้หน้ากากกันแก๊สพิษได้นานๆโดยเฉพาะเด็กๆ ส่งผลต่อยิวในสหรัฐผุ้กุมอำนาจทางการเมืองอเมริกา เชื่อว่าไม่เกิดสงครามในเร็วๆนี้
     
  16. ตุ้มโฮม

    ตุ้มโฮม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2012
    โพสต์:
    168
    ค่าพลัง:
    +497
    ฝ่ายนิติบัญญัติของสหรัฐและสหราชอาณาจักรเป็นตัวแปรที่กำลังคานความตั้งใจของฝ่ายบริหารเรื่องแผนโจมตีซีเรีย

    นักการเมืองของสหรัฐมากกว่าหนึ่งร้อยคน รวมถึงจากฝั่ง Democrat ด้วย ลงนามจดหมายเรียกร้องให้รัฐบาลหารือกับสภาก่อนมีท่าทีใดๆ

    ขณะเดียวกัน สภาอังกฤษลงคะแนนปฎิเสธแผนใช้กำลังทหารในซีเรีย กรณีที่มีประชาชนซีเรียหลายร้อยคนถูกสังหารด้วยอาวุธสารเคมี ซึ่งโลกตะวันตกหลายประเทศเห็นว่าเป็นฝีมือของฝ่ายรัฐบาลซีเรีย

    ด้านเลขาธิการสหประชาชาตินาย Ban K-moon เรียกร้องผู้นำโลกให้รอผลการตรวจสอบหาความจริงโดยคณะทำงานของสหประชาชาติในพื้นที่เกิดเหตุในซีเรียเสียก่อน ซึ่งคณะทำงานดังกล่าวจะเดินทางออกจากซีเรีย วันที่ 31 สิงหาคม 10 วันหลังเกิดเหตุ

    ขณะเดียวกันอิหร่านกล่าวว่าจะร่วมมือกับรัสเซียที่จะทัดทานการโจมตีที่อาจมีขึ้นต่อซีเรียโดยประเทศตะวันตก ประธานาธิบดี Hassan Rouhani ของอิหร่านเตือนว่าการโจมตีซีเรียจะนำความสูญเสียใหญ่หลวงมาสู่ภูมิภาค

    สื่อของทางการซีเรียนำถ้อยแถลงของประธานาธิบดี Bash al-Assad มาเผยแพร่ซึ่งผู้นำซีเรียกล่าวว่ากองทัพซีเรียจะปกป้องประเทศของตนหากมีการใช้กำลังใดๆของผู้รุกราน..

    http://www.voathai.com/content/syria-ro/1740021.html
     
  17. ตุ้มโฮม

    ตุ้มโฮม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2012
    โพสต์:
    168
    ค่าพลัง:
    +497
    (เป็นบทวิเคราะห์ ที่มีการคาดการณ์มาก่อนหน้า เหตุชนวนสงครามในซีเรีย)

    : อังกฤษและอเมริกากำลังวางแผนที่จะเปิดสงครามโลกครั้งที่สามภายใต้ข้ออ้างซีเรีย

    สำนักข่าวฟาร์ซ : นักวิเคราะห์ชาวอเมริกันผู้หนึ่ง ในขณะที่อธิบายถึงสถานการณ์ของประเทศซีเรียว่ามีอันตรายอย่างมาก เมื่อพิจารณาถึงความพยายามของตะวันตกที่จะทำสงครามต่อต้านประเทศนี้ พร้อมกับกล่าวว่าอเมริกาและอังกฤษกำลังแสวงหาช่องทางที่จะเปิดสงครามโลกครั้งที่สามบนหัวของซีเรีย

    ตามการรายงานของฟาร์ซ ; " Edward Spannaus " นักวิเคราะห์ชาวสหรัฐและบรรณาธิการของนิตยสารรายสัปดาห์ " Executive Intelligence Review " ในการให้สัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์ " Press TV " ได้กล่าวว่า อังกฤษและอเมริกากำลังปลุกปั่นให้เกิดการก่อตัวของสงครามโลกครั้งที่สามขึ้นโดยใช้วิธีกดดันความพยายามต่าง ๆ เพื่อการเริ่มต้นการรุกรานทางทหารต่อประเทศซีเรีย

    นักวิเคราะห์ชาวอเมริกันผู้นี้กล่าวว่า : พวกเขา (อเมริกาและอังกฤษ) มุ่งมั่นที่จะจุดประกายสงครามซึ่งไม่เพียงแต่จะทำให้เกิดสงครามกลางเมืองในประเทศซีเรียเท่านั้น แต่มันจะกลายเป็นสงครามระดับภูมิภาค และสงครามในระดับภูมิภาคนี้จะหลุดออกจากการควบคุมได้อย่างรวดเร็วและจะถูกเปลี่ยนเป็นสงครามโลกครั้งที่สาม ทั้งนี้เนื่องจากว่าสงครามครั้งนี้จะติดตามมาด้วยการเชิญหน้ากับรัสเซียและจีนด้วยเช่นกัน

    บรรณาธิการของนิตยสารรายสัปดาห์ " Executive Intelligence Review " ผู้นี้ ได้กล่าวยกย่อง "Vladimir Putin" ประธานาธิบดีรัสเซีย ด้วยเหตุผลที่เขาคัดค้านการแทรกแซงทางทหารในซีเรีย เนื่องจากผลกระทบต่าง ๆ ที่ร้ายแรงที่จะติดตามมาจากการแทรกแซงนี้และจะเป็นเหตุนำไปสู่สงครามระดับภูมิภาค พร้อมกับกล่าวว่า : ผมคิดว่าเราจำเป็นจะต้องขอบคุณรัสเซียและปูตินที่รักษาจุดยืนของตนและได้ประกาศว่าพวกเขาต้องการที่จะให้มีการแทรกแซงทางทหารเพื่อการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองในซีเรียอย่างแน่นอน และการที่จะไม่เข้าร่วมหรือให้ความร่วมมือในพยายามใด ๆ ที่จะโค่นล้ม"บัชชาร อัล-อะซัด" ประธานาธิบดีซีเรีย

    ในการประชุมเมื่อวานนี้ของกลุ่มที่เรียกว่า "เพื่อนของซีเรีย" ที่ถูกจัดขึ้นในกรุงปารีสในสภาพเงื่อนไขที่ทั้งสองประเทศ คือรัสเซียและจีนได้บอยคอตการเข้าร่วมประชุมนี้ และได้ประกาศว่าพวกเขาคัดค้านการแทรกแซงของต่างชาติต่อกิจการภายในของซีเรีย ในขณะที่เมื่อวานนี้ นาง "ฮิลลารี คลินตัน" รัฐมนตรีต่างประเทศของอเมริกาได้เตือนรัสเซียและจีนเกี่ยวกับการปกป้องบัชชาร อัล-อะซัด และได้กล่าวอ้างว่า ทั้งสองประเทศนี้จะต้องจ่ายราคาของการปกป้องนี้ของตน..

    ในส่วนถัดไปของการให้สัมภาษณ์นี้ " Edward Spannaus " ได้เตือนเกี่ยวกับสภาพและสถานการณ์ปัจจุบันในประเทศซีเรียในช่วงเวลาเดียวกับความพยายามของบรรดาประเทศตะวันตกที่จะทำสงครามกับซีเรียและอธิบายสถานการณ์นี้ว่าเป็นอันตรายอย่างมาก

    http://sahibzaman.com/index.php?opt...article&id=1003:2012-07-08-13-56-48&Itemid=55
     
  18. ตุ้มโฮม

    ตุ้มโฮม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2012
    โพสต์:
    168
    ค่าพลัง:
    +497
    ตรวจเหยื่ออาวุธสงครามในซีเรียเสร็จแล้ว

    สถานีโทรทัศน์ของรัสเซีย แพร่ภาพคณะผู้ตรวจสอบอาวุธของสหประชาชาติ ไปที่โรงพยาบาลทหารในกรุงดามัสกัส ของซีเรีย เมื่อวันศุกร์ ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการค้นหาหลักฐานเกี่ยวกับข้อกล่าวหาเรื่องการใช้อาวุธเคมีโจมตีที่มั่นของฝ่ายกบฎชานเมืองหลวง เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม

    คณะผู้ตรวจสอบอาวุธ ต้องการพิสูจน์ข้อกล่าวหาของรัฐบาลซีเรียที่ว่า มีทหารหลายสิบนายตกเป็นเหยื่ออาวุธเคมีด้วยเช่นกัน ซึ่งภารกิจของพวกเขาเสร็จสิ้นแล้ว และกำลังเตรียมตัวออกเดินทางไปยังนครเฮก ของเนเธอร์แลนด์ในวันนี้ เพื่อเอาตัวอย่างที่รวบรวมได้ไปยังห้องแลปทดลองหลายแห่งในยุโรป

    สหรัฐและฝรั่งเศส เตรียมที่จะใช้ปฏิบัติการทางทหารโจมตีรัฐบาลซีเรีย ที่
    ถูกกล่าวหาว่าใช้แก๊สพิษโจมตีพลเรือนของตนเอง ทำให้มีผู้เสียชีวิต 1,429 คน ในจำนวนนี้เป็นเด็กอย่างน้อย 426 คน และเป็นตัวเลขที่สูงกว่านักเคลื่อนไหว และเจ้าหน้าที่บรรเทาทุกข์ในซีเรียรายงานก่อนหน้านี้ หน่วยงานประเมินอาวุธเคมีของสหรัฐ อ้างข้อมูลข่าวกรองจากมนุษย์และดาวเทียม พร้อมคลิปวิดิโอและหลักฐานอื่นๆว่า รัฐบาลซีเรียใช้แก๊สพิษไม่ทราบชนิด

    นายมาร์ติน เนซีร์สกี้ โฆษกของนายบัน คี-มุน เลขาธิการสหประชาชาติ ระบุว่า คณะผู้ตรวจสอบได้ไปตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลสนาม สัมภาษณ์เหยื่อและแพทย์ รวมถึงเก็บตัวอย่างทางชีวภาพ และลงตรวจพื้นที่ได้รับผลกระทบ เพื่อสัมภาษณ์พยานและเก็บตัวอย่างจากสภาพแวดล้อมในพื้นที่ด้วย..
    (คณะผู้ตรวจสอบอาวุธรุดตรวจสอบเหยื่ออาวุธเคมีเสร็จแล้ว ออกเดินทางไปฮอลแลนด์ เพื่อเอาตัวอย่างที่ได้ไปยังห้องแลป)

    http://www.bangkokbiznews.com/home/...3/ตรวจเหยื่ออาวุธสงครามในซีเรียเสร็จแล้ว.html
     
  19. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    เอาเรื่องเก่ามาเล่าใหม่ เพื่อนเล่าไว้ หลายปีมากแล้ว
     
  20. ตุ้มโฮม

    ตุ้มโฮม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2012
    โพสต์:
    168
    ค่าพลัง:
    +497
    เบื่อหน่ายสงคราม..จริงหรือไม่ ต้องติดตามกันต่อไป..

    ผู้นำสหรัฐเผยเบื่อหน่ายสงคราม แต่ซีเรียต้องรับผิดชอบในการใช้อาวุธเคมีต้องห้าม เพราะอาวุธเพิ่มความเสี่ยงไปตกอยู่ผู้ก่อการร้าย

    ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ประกาศว่าตัวเขาเบือหน่ายสงคราม แต่ก็ปักใจเชื่อว่า ซีเรียจะต้องรับผิดชอบต่อการใช้อาวุธเคมีต้องห้าม แถลงเมื่อวันศุกร์ว่า เขากำลังพิจารณาจะตอบโต้อย่างจำกัดต่อสิ่งที่หน่วยข่าวกรองสหรัฐ ประเมินด้วยความเชื่อมั่นอย่างสูงว่า รัฐบาลซีเรียใช้แก๊สพิษโจมตีพลเรือนของตัวเอง ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 1,400 คน

    ผู้นำสหรัฐ เปิดเผยว่า เขายังไม่ได้ตัดสินใจขั้นสุดท้าย แต่ก็บอกเป็นนัยเรื่องการใช้ปฏิบัติการทางทหาร ที่แหล่งข่าวและผู้เชี่ยวชาญหลายคน เชื่อว่าจะเป็นในรูปของการยิงขีปนาวุธจากเรือรบของกองทัพเรือสหรัฐ ไปยังเป้าหมายที่เป็นศูนย์บัญชาการซีเรียล้วนๆ ไม่ใช่คลังอาวุธเคมีแต่อย่างใด ซึ่งประธานาธิบดีโอบาม่า บอกว่า ไม่ควรเอาประเด็นไม่ใช่ผลประโยชน์ด้านความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐ มาเป็นข้ออ้างในการละเลยการละเมิดอย่างชัดเจนต่อบรรทัดฐานสากลที่ห้ามการใช้อาวุธเคมี

    ถ้อยแถลงของผู้นำสหรัฐ มีขึ้นในระหว่างการพบปะกับผู้นำจากชาติในทะเลบอลติก ได้แก่ ลิธัวเนีย ลัทเวียและเอสโทเนีย ซึ่งเขาบอกว่า การใช้แก๊สพิษโจมตีในซีเรียเป็นการท้าทายโลก และเป็นภัยคุกคามต่อสหรัฐ อิสราเอล ตุรกีและจอร์แดน และยังเพิ่มความเสี่ยงมากขึ้นเรื่อยๆที่อาวุธอันตรายชนิดนี้จะไปตกอยู่ในมือของผู้ก่อการร้าย..

    http://www.bangkokbiznews.com/home/...บามาย้ำเบื่อสงครามแต่ซีเรียต้องรับผิดชอบ.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 สิงหาคม 2013

แชร์หน้านี้

Loading...