ถ้ามีสติตัวเดียวจะไปนิพพานได้มั้ยคะ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย บ้องแบ้ว, 9 พฤษภาคม 2016.

  1. naroksong

    naroksong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    412
    ค่าพลัง:
    +1,135
    ...ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าววิชชาและวิมุตติว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มี
    อาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของวิชชาและวิมุตติ ควรกล่าวว่า โพชฌงค์ ๗

    แม้โพชฌงค์ ๗ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
    ก็อะไรเป็นอาหารของโพชฌงค์ ๗ ควรกล่าวว่า สติปัฏฐาน ๔

    แม้สติปัฏฐาน ๔ เราก็กล่าวว่ามีอาหารมิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
    ก็อะไรเป็นอาหารของสติปัฏฐาน ๔ ควรกล่าวว่า สุจริต ๓

    แม้สุจริต ๓ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
    ก็อะไรเป็นอาหารของสุจริต ๓ ควรกล่าวว่า การสำรวมอินทรีย์

    แม้การสำรวมอินทรีย์เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
    ก็อะไรเป็นอาหารของการสำรวมอินทรีย์ ควรกล่าวว่า สติสัมปชัญญะ

    แม้สติสัมปชัญญะเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
    ก็อะไรเป็นอาหารของสติสัมปชัญญะ ควรกล่าวว่า โยโสมนสิการ

    แม้โยโสมนสิการเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
    ก็อะไรเป็นอาหารของโยโสมนสิการ ควรกล่าวว่าศรัทธา

    แม้ศรัทธาเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
    ก็อะไรเป็นอาหารของศรัทธา ควรกล่าวว่า การฟังสัทธรรม

    แม้การฟังสัทธรรมเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
    ก็อะไรเป็นอาหารของการฟังสัทธรรม ควรกล่าวว่า การคบสัปบุรุษ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้
    การคบสัปบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมยังการฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์
    การฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์ ย่อมยังศรัทธาให้บริบูรณ์
    ศรัทธาที่บริบูรณ์ ย่อมยังโยโสมนสิการให้บริบูรณ์
    โยโสมนสิการที่บริบูรณ์ ย่อมยังสติสัมปชัญญะให้บริบูรณ์
    สติสัมปชัญญะที่บริบูรณ์ ย่อมยังการสำรวมอินทรีย์ให้บริบูรณ์
    การสำรวมอินทรีย์ที่บริบูรณ์ ย่อมยังสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์
    สุจริต ๓ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์
    สติปัฏฐาน ๔ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์
    โพชฌงค์ ๗ ที่บริบูรณ์ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์
    วิชชาและวิมุตตินี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้...


    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=24&A=2712&Z=2781
     
  2. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    อธิบายให้คุณนิพพิชฌน์55 เข้าใจสักนิดนะครับว่า

    ทีแรกผมเข้าใจว่าคุณสรุปอ้างอิงเฉพาะคนที่กล่าวธรรมอยู่ในกระทู้นี้เท่านั้นน่ะครับ อ่านดูแล้วก็ไม่เห็นมีใครพูดแบบนั้น ก็เลยถามไปไงว่า บางท่านที่ว่านั่นน่ะใคร เพราะไม่เห็นมีเลย การสรุปเอามาจากไหน พอมาอ่านเม้นท์นี้ถึงได้รู้ว่า บางท่านที่ว่านั่น คือครูบาอาจารย์ที่คุณเคารพนับถืออยู่นั่นเอง

    ส่วนครูบาอาจารย์ท่านจะสอนอย่างไร ในแง่ที่ผมเก็ตได้ในเวลานี้คือ ไม่ว่าท่านองค์ไหน ท่านก็สอนเน้นเป็นอันดับต้นว่า "ไม่ให้ตั้งอยู่บนความประมาท" ด้วยกันทั้งนั้นครับ รับทราบในเจตนาของท่านเป็นที่เรียบร้อยแล้วครับ ที่เหลือพิจารณาเอาด้วยสติด้วยปัญญาแล้วกัน มีเท่านั้นครับ ขอบคุณ
     
  3. ไม่ได้อะไร

    ไม่ได้อะไร สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤษภาคม 2016
    โพสต์:
    7
    ค่าพลัง:
    +1
    ลองทำดูครับ ทำถูกก็รับผล
    แค่เดือนเดียว รู้เลย
    เวลาหนึ่งเดือนน้อยมาก
     
  4. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424

    เมื่อก่อนผมใช้วิธี พอคิดปุ๊บ รู้ทัน หยุดคิด ไม่คิด ๆ ประมาณ 2 อาทิตย์เอง พอเข้าอาทิตย์ที่ 2 นี่ก็นิ่งขึ้น ๆ แล้ว จนเก็ท ว่า อ้อ..มัวไปหลงความคิดซะนาน ความคิดนำทุกข์มาให้ เห็นความหลง (แต่มุมเดียว) ทีนี้พอนิ่งขึ้นแล้วก็เริ่มซ่าส์ อวดดี ถือตัวว่ารู้ รู้วิธีหลบหลีก ออกจากทุกข์ได้ ได้ความสงบ แต่ก็ยังประมาท ประมาทเพราะยังไปหลงจุดไฟเผาให้ตัวเองอยู่เรื่อยๆ แม้จะดับได้ แต่จะมีประโยชน์อะไร ถ้าไม่รู้จักวิธีออกจากทุกข์ที่แท้จริง ก็ยังชื่อว่าประมาทอยู่นั่นเอง

    โมหะ อวิชชาไม่เห็น อุปาทานความยึดมั่นไม่เห็น แยกขันธ์ ๕ กับ อุปาทานขันธ์ ๕ ไม่ออก อันไหนกิเลส กรรม วิบาก แยกไม่ออก เวลาทุกข์กระหน่ำ จะเหมือนตาบอดคลำช้าง หว่านแหไปทั่ว เป็นสีลพตปรามาส แก้ทุกข์ไม่ถูกเหตุจริงสักที มันเป็นอย่างนั้นเอง อวิชชา เป็นปัจจัยให้เกิดสังขารฯ ความไม่รู้นั่นแหละตัวดี ทำให้หลงกระทำไปเรื่อย ความไม่รู้มีนิวรณ์เป็นอาหาร ทีแรกเห็นได้แค่ส่วนนี้ ก็ป้องกันตัว เร่งกำจัดนิวรณ์ไป แต่ลืมนึกเรื่องอุปาทานความยึดมั่นถือมั่นในตัวกูของกูที่มีไปเสียสนิทเลย จึงเห็นอยู่มุมเดียว ติดอยู่มุมเดียว

    ความจริงแล้ว พระพุทธองค์ทรงสอนให้ไม่ตั้งอยู่บนความประมาท และสอนให้เดินออกจากทุกข์ด้วยสติปัญญาความรู้แจ้งเห็นจริงด้วย หมายความว่า สมถะนั้นทำให้ได้ความสงบ สงัดจากกามจากอกุศลกรรม ได้ความไม่ประมาท มีอินทรีย์สังวร ปาฏิโมกข์สังวรดี เกิดสัปปายะ ควรแก่งานทางใจอันยิ่งๆ ขึ้นไปได้ดี ส่วนวิปัสสนาก่อเกิดปัญญาความรู้แจ้งเห็นจริงในทุกข์และเหตุให้เกิดทุกข์ที่แท้จริง ทำลายความเห็นผิดติดอุปาทานให้สิ้นไปได้ เมื่อวิชชาเกิด อวิชชาจึงดับ เมื่อความรู้แจ้งเกิด ความมืดบอดจึงหายไป เช่นนั้นเองจึงเรียกว่า ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทอย่างแท้จริงครับ

    ในเบื้องต้นนี่ก็ทำให้แสงอรุณรุ่งส่องขึ้นด้วยความมีสัมมาทิฏฐิคือความเห็นชอบ เป็นต้นไปก่อนเลยอะครับ
     
  5. งุ้งงิ้ง

    งุ้งงิ้ง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2014
    โพสต์:
    56
    ค่าพลัง:
    +48
    อ้ออ จขกท. เขียนถามผิดค่ะ สื่อความหมายคลาดเคลื่อนไป จริงๆคือจะถามว่าสติเป็นองค์ประกอบสำคัญในการบรรลุมรรคผลมากแค่ไหน แหะๆ ขอโทษเป็นอย่างสูงเจ้าค่ะ
     
  6. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    ฝึกละความไม่พอใจ ต้องไม่มีความไม่พอใจใดๆเลย
     

แชร์หน้านี้

Loading...