ถ้าหมดกิเลศแล้วเราก็เจอสุขที่เป็นเที่ยงแท้อัตตาใช่ไหมครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ballbeamboy2, 24 เมษายน 2012.

  1. เทพธรรมบาล

    เทพธรรมบาล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    1,215
    ค่าพลัง:
    +291
    สุภูติ.....อย่าได้กล่าวเลยว่า ตถาคต มีความปรารถณาที่จะเผยผ่พระธรรมคำสอนถ้ามีใครกล่าวว่า ตถาคต ได้เผยแผ่พระธรรมคำสอนเขาย่อมหมิ่นประมาทพระพุทธเจ้าและย่อมแสดงว่า เขาไม่สามารถเข้าใจคำสอนของพระพุทธเจ้าได้เลยบุคคลพยายามใช้ระบบทั้งหลาย แสดงสัจจะความจริงกลับมิใช่สิ่งที่แสดงได้ด้วยระบบใด ๆ การประกาศสัจจะธรรมความจริงเป็นเพียงชื่อที่ใช้เรียกขานเท่านั้น
    ทันใด นั้นท่านสุภูติ.....ได้กราบทูลขึ้นว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญในอนาคตกาลภายภาคหน้าหากมีบุคคลคลใดมาได้ยินคำสอนนี้ ใครเล่าจะเกิดศรัทธาความเชื่อขึ้นได้ พระพุทธองค์ทรงตรัสตอบว่า สุภูติ.....บุคคลที่เธอหมายถึงย่อมไม่ใช่ทั้งสรรพสัตว์ เพราะเหตุใด ? เพราะเหตุว่าสรรพสัตว์ทั้ง
    หลายก็หาใช่สรรพสัตว์ไม่มันเป็นแค่ชื่อที่ถูก สมมุติขึ้นเท่านั้น
    จากวัชรเฉทิกปรัชญาปารมิตาสูตร



    ___________________________________________________________
    ___________________________________________________________
    ___________________________________________________________


    ทุกอย่างคือสมมุติ คือมายา เนื้อแท้คือสุญตา(ความว่าง)
    มีอวิชายึดมันถือมั่นอยู่ไม่ชอบใจจึงทุกข์
    ถ้าชอบใจก็เป็นสุข สุขทุกข์สิ่งเดียวกันกลับไปกลับมา อวิชาบังตา ละวางซึ่งการถือมั่น
    หมดจากเครื่องผูกรัดอาสวะกิเลศทั้งปวง สุขแท้


    ภาวนาเป็นเหตุ พบพุทธะเป็นผล
    พบพุทธะเป็นเหตุ บรรลุพุทธะเป็นผล

    ไปภาวนาเถิด จักเข้าใจเอง
     
  2. ballbeamboy2

    ballbeamboy2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    1,622
    ค่าพลัง:
    +1,618
    ครับผมเชื่อพี่ครับ ถ้าสร้างวิจิกิจฉา จะไม่ไปไหน จริงๆครับ แต่ผมก็เชื่อนะ ถ้าหมดกิเลศแล้ว จะเจอสุขตลอด ไม่มีกิเลศเบียดเบียน มานะทิฐิ ก็ละแล้ว ตอนนี้ผมภาวนา ผมอยากถามครับ ผมดูลมหายใจ บางครั้งเหมือน ลมมันติดจมูกมันแข็งเหมือนมีก้อนติดจมูก นี่ผมนั่งผิดท่าเปล่าครับ แต่เวลาดูลมหายใจ ผมต้องรู้หายใจเข้าหายใจออก ผมรู้สึกสุขดีครับ ต้องขอบคุณพระรัตนตรัย ที่เมตตาสอนผม
     
  3. ปุณบพิธ

    ปุณบพิธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,102
    ค่าพลัง:
    +2,134
    จริงตามนั้น ไม่มีกิเลสเบียดเบียน ย่อมเป็นสุข แต่มันจะไม่ใช่ความสุขแบบเดิมๆ ที่เคยเจอมาก่อน มันเป็นอีกแบบนึง ดังนั้น จะเรียกว่าความสุข มันก็แปลกๆ เอาเป็นว่า มันเป็นสิ่งที่รออยู่ ถ้าปฏิบัติได้ผลแล้วกัน

    ลมแข็งติดจมูก นี่เป็นยังไง เหมือนหายใจไม่ออกหรือเปล่า? ปกติเป็นคนหลังโค้ง แล้วฝืนดัดหลังให้ตรงมากเกินไปไหม ถ้าใช่ ก็ผ่อนลงนิดนึง ให้หลังโค้งลงหน่อย ค่อยๆ ปรับท่าไปทีละนิด เพราะถ้ารีบปรับเกินไป สรีระร่างกายปรับไม่ทัน จะหายใจลำบาก

    การดูลมหายใจเข้าออก แล้วมีความสุข ก็เป็นการยึดถืออย่างหนึ่งนะ
    เพียงแต่เป็นการยึดถือ ที่ดีกว่าการอยู่แบบขาดสติ
    อยู่แบบขาดสติ จิตมันจะยึดถือไปเรื่อยๆ มีอะไรเข้ามาก็ยึด ยึดแล้วเป็นอุปาทาน คิดว่าเป็นของเรา เป็นตัวตน เห็นผิดจากกฎไตรลักษณ์ไป แล้วเราก็จะหลงยึดถือสิ่งนั้นไปเรื่อยๆ หากไม่มีสติมาตามคุม ก็จะไหลไปเรื่อยๆ ตามบุญกรรม ที่เข้ามาในชีวิต ยึดทุกข์ ยึดสุข ยึดไปหมด
    เมื่อเราตั้งลมหายใจมั่น ตามดูลมหายใจ หากหวังจะได้ความสุขจากมัน เราก็สร้างสิ่งยึดถือ ขึ้นมา แล้วตามไปยึดถือมัน เราถือความสุขจากการตามดูลมหายใจไว้ สิ่งนี้แท้จริงก็เป็นสิ่งปรุงแต่ง มันก็ไม่เที่ยงเช่นกัน แต่ก็ยังนับว่าเป็นฝ่ายกุศล ถือว่าดีกว่าการไม่รู้ ไม่ปฏิบัติภาวนา แต่หากผู้ปฏิบัตินั้น มีปัญญาเรื่องจิตตานุปัสสนา สำรวจดูลงไปในจิตของตัวเอง จะพบว่าจิตตัวเองนั้น ไม่ได้ว่างจากกิเลส จิตนั้นยังถูกกิเลสอย่างละเอียดชักนำอยู่ จิตตัวเองกำลังยึดถือบางสิ่งอยู่ ซึ่งก็คือ ตัวความสุขจากสมาธิ
    หากจะละวาง ต้องละวางให้หมด แม้แต่ความสุขบางๆ ที่มันแฝงอยู่ในจิต ขณะนั่งสมาธิ ก็ต้องเห็นมัน ทันมัน ละมันให้ได้ (มันเห็นยาก เพราะมันเป็นความสุข หากเป็นความทุกข์ คนจะเห็นง่าย จะตัดได้ง่ายกว่า ความสุขทางโลก ก็ตัดได้ง่ายกว่า เพราะมันแปรปรวนง่าย เราสังเกตเห็นลักษณะของมันชัดเจน แต่ความสุขจากสมาธิ มันละเอียด แม้แต่ตัวผมเอง ณ ปัจจุบัน แม้เห็นแล้ว แต่ หลายๆ ครั้งก็ยังตัดไม่ได้ นั่งสมาธิ ก็โดนมันดูดไปให้หลงเข้าไปเสพ หลุดออกมาไม่ได้เหมือนกัน)
    จุดนี้ ณ ปัจจุบัน ผมคิดว่าเจ้าของกระทู้ ยังเข้าไม่ถึง นะครับ แต่ไม่เป็นไร บอกไว้ก่อนเป็นแนวทาง ขอให้ฝึกไปเรื่อยๆ เมื่อใจเริ่มนิ่ง จะเริ่มสังเกตเห็นตามที่ผมบอก เมื่อนั้นค่อยหาทางละวางลงไป

    ขอให้เจ้าของกระทู้ ละวิจิกิจฉาเสียให้หมด อย่าถามคำถามเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับปัญหาการปฏิบัติ ขอให้เจริญในธรรมยิ่งๆ ขึ้นไป
     
  4. naroksong

    naroksong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    412
    ค่าพลัง:
    +1,135
    เรื่องอานาปานสติ สาเหตุที่มีลมหายใจติดอยู่ที่จมูกน่าจะเป็นเพราะสติไม่สามารถตามลมหายใจทัน

    เช่น เมื่อคิดว่าหายใจออก แต่จริงๆ มันอาจ เข้า-ออก-เข้า แล้วก็ได้ จึงเกิดอาการสับสน

    ฝึก อานาปานสติเกร็งไม่ได้ ต้องท่องไว้ ผ่อนคลายๆๆๆๆ

    และเมื่อเริ่มฝึก ควรเริ่มจากลมหายใจออกก่อน

    ----------------------------------
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า เธอย่อมมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้าเมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น หรือเมื่อหายใจ
    เข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น
    --------------------------------

    และในอรรถกถา สอนให้ใช้วิธีนับเลขในใจ
    เมื่อหายใจออกนับ1 - เข้านับ 1 จนถึง 5
    (1,1)...(6,6)
    .
    .
    .
    (1,1)...(10,10) แล้วกลับมา 1-5 ใหม่

    ผมแนะนำเพิ่มอีกนิด เข้ากับออก อย่าใช้ภาษาเดียวกัน
    เช่น ออกนับ 1 เข้าก็ควรเป็น one อะไรอย่างนี้ จะได้ชัดเจนขึ้น


    ขอให้เจริญในธรรมครับ
     
  5. anumotna

    anumotna สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +3
    ทุกฺขเมว พิ สมฺโภติ ทุกฺขํ ติฏฺฐติ เวติ จ
    นาฌฺฌตฺร ทุกฺขาสมฺโภติ นาฌฺฌตฺร ทุกฺขานิรูชฺฌติ

    ความจริง ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นที่ตั้งอยู่ ทุกข์เท่านั้นที่ดับไป
    นอกจากทุกข์แล้ว ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์แล้ว ไม่มีอะไรดับ
    วชิราสูตร ๑๕/๕๕๒
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 เมษายน 2012
  6. anumotna

    anumotna สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +3
    ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม
    (มหาหัตถิปโทปมสูตรที่ ๘)
    ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นเราตถาคต
    (วักกลิสูตร๑๗/๑๒๙)​
    ดังนั้น คงพอสรุปได้ว่า "ทุกข์อะไร? ที่ยังคงเกิด คงมี" และ "ทุกข์อะไร? ที่ดับสนิทได้ ตามพระพุทธประสงค์"
    "ทุกข์อะไร ที่ยังคงเกิด คงมี" คือ เหล่าทุกขอริยสัจ อันเป็นทุกข์ประจำชีวิตหรือขันธ์๕นั่นเอง
    อันมี
    ๑.ความเกิด
    ๒.ความแก่
    ๓.ความเจ็บ
    ๔.ความตาย
    ๕.การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก
    ๖.การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก
    ๗.ความปรารถนาในสิ่งอันใดแล้วไม่ได้ในสิ่งอันนั้น
    ทั้ง๗ นี้เป็นสภาวธรรมของชีวิต ที่ไม่อาจหลีกหนีได้ในที่สุด

    และทุกขเวทนา กล่าวคือ ทุกข์ที่เกิดขึ้นจากกระบวนธรรมของชีวิต ที่ย่อมเกิดความรู้สึก(Feeling)ในสิ่งที่รับรู้หรือกระทบ ที่พึงเกิดขึ้นจากการกระทบสัมผัส(ผัสสะ) อันพึงต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดา เป็นทุกข์ธรรมชาติอีกอย่างหนึ่งที่ยังคงพึงต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดาในผู้ที่มีชีวิตอยู่ เป็นสภาวธรรมหรือธรรมชาติหนึ่งของชีวิต และทุกขเวทนานี้ก็ล้วนย่อมเกิดขึ้นมาจากการกระทบกับเหล่าบรรดาทุกขอริยสัจข้างต้นนั่นเอง จึงยังให้เกิดทุกขเวทนาขึ้น จึงไม่อาจหลีกหนีได้เช่นกัน จึงต้องพิจารณาหรือเจริญวิปัสสนาให้เกิดนิพพิทาเพื่อไม่พึงไปยึดมั่นถือมั่นหรือยึดติดยึดถือในทุกข์ หรือแม้ติดเพลินในสุขอันไม่เที่ยง

    ทั้ง ๒ คือทุกขอริยสัจและทุกขเวทนา จึงกล่าวได้ว่าเป็น ทุกข์ธรรมชาติ เป็นทุกข์โดยสภาวธรรมหรือธรรมชาติของชีวิตนั่นเอง และยังคงต้องเกิดขึ้น และเป็นไปเยี่ยงนี้ในผู้มีชีวิตเป็นธรรมดา

    "ทุกข์อะไรที่ดับสนิทได้ตามพระพุทธประสงค์" อันคือ ทุกข์อุปาทาน หรือ อุปาทานทุกข์ อันเป็นทุกข์ที่เร่าร้อนเผาลนมวลมนุษย์ชาติอยู่ทุกผู้คน เพียงแต่จำแนกแยกแยะไม่ออกด้วยอวิชชา นี้เป็นสิ่งที่พระองค์ท่านเพียรสั่งสอนเวไนยสัตว์ให้ดับสนิทไม่เหลือ มาโดยตลอดตั้งแต่ตรัสรู้จวบจนเข้าสู่พระปรินิพพาน ด้วยพระมหากรุณาคุณที่ต้องการปลดปล่อยเวไนยสัตว์ให้ออกจากกองทุกข์คืออุปาทานทุกข์นั่นเอง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 เมษายน 2012
  7. สุมิตราจ๋า

    สุมิตราจ๋า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2012
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +1,529
    สรรพสัตว์คือองค์พระพุทธะแต่ปฐม
    เปรียบประดุจน้ำและน้ำแข็ง

    จะมีน้ำแข็งโดยปราศจากน้ำหาได้ไม่
    จะมีองค์พุทธะโดยปราศจากสัตว์โลกหาได้ไม่

    โดยมิรู้ว่าสัจธรรมนั้นอยู่แบบชิดติดตน
    จึงออกแสวงหาเสียไกลสุดหล้า ช่างน่าสงสาร

    คล้ายดั่งผู้ที่อยู่ในน้ำ
    และกลับร้องหาน้ำดื่มด้วยความกระหาย

    บ๊ะ เอ็งช่างรู้ใจข้าจริงๆๆ ข้าจะให้บางส่วนของของดี หากเข้าใจคาถานี้ก็จะเข้าใจว่า ไม่ต้องอาศัยทั้งเหตุเพื่อให้ได้ผลเป็นพุทธะ ก็ด้วยเหตุที่ว่าสรรพชีวิตนั้นเป็นองค์พระพุทธะนั้นแล มาแล้วแต่ปฐม การปฏิบัติที่แท้จึง ประดุจดั่งการมาที่ไม่ได้มา และ การไปที่ไม่ได้ไป เพราะไม่มีใครอีกที่ต้องมานั้งปฏิบัติเพื่อที่จะบรรลุพุทธะ นั้นแลจึ่งเป็นพุทธะ


    แทนที่จะมานั้งอ้างพระสูตรว่า ข้าได้สดับมาดังนี้ เหตุใดจึ่งไม่อ้าง ว่านี่คือสิ่งที่ประสบการณ์นั้นสอนข้า และ นี่คือสิ่งที่ข้าเชื่อเล่า บ๊ะ จริงไหม?
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 27 เมษายน 2012

แชร์หน้านี้

Loading...