ธรรมชโย วัดพระธรรมกาย จริงๆแล้วเป็นใคร??มีคำตอบ..

ในห้อง 'Black Hole' ตั้งกระทู้โดย maxgatod, 16 มกราคม 2011.

  1. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    เดี๋ยวยึดแหนบคืนเลย ^^

    เรื่อง ๕๐๐๐ปี นั้นไม่เถียงนะครับ ทรงตรัสเหตุเสื่อมไว้แล้ว จนเหลือแค่ผ้าเหลืองเหน็บหู

    ประเด็นที่ถามนั้น ถามว่าเรื่องอรหัตน์ประเภทนี้เสื่อม ประเภทนี้เสื่อม

    ไม่เคยพบในพระไตรปิฏก คุณหมอกฤษไปเอามาจากไหน

    จะได้เป็นวิทยาทานน่ะครับ ชัวร์ไม่มั่วนิ่ม ฟันธงวืด
     
  2. รักษ์11

    รักษ์11 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    248
    ค่าพลัง:
    +516
    ผมก็อีกคนครับ ที่เคยผ่านตา เรื่องนี้ อย่างที่พระพุทธเจ้า ทรงหลีก ทาง
    ที่พระสงฆ์ทะเลาะกัน แบ่งฝักแบ่งฝ่าย พระพุทธเจ้า ทรงหลีกไปอยู่ป่าเลไลย์
    ที่มีช้าง มีลิง คอย อุปถาก ที่มีลิงถวายน้ำผึ้ง ตามโบส์ฝาผนัง ทีเห้นอยู่ทั่งไปตามวัด..เรื่งนี้ก็อัศจรรย์ยิ่งนัก



     
  3. รักษ์11

    รักษ์11 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    248
    ค่าพลัง:
    +516
    พระพุทธประวัติ ตอนที่ ๑๒๔ : ทรงประทับ ณ ป่าปาเลไลยก์

    พระพุทธประวัติ ตอนที่ ๑๒๔ : ทรงประทับ ณ ป่าปาเลไลยก์



    ในพระวัสสาที่ ๑๐ เสด็จไปจำพรรษา ณ ป่าปาเลไลย์
    โดยมีช้างกับลิงเป็นพุทธอุปัฏฐาก


    ในครั้งนั้น ที่วัดโฆสิตาราม กรุงโกสัมพี แคว้นวังสะ พระสงฆ์เกิดแตกแยกกันเป็นสองฝ่าย ทะเลาะกันไม่ยอมความกัน ในเรื่องอาบัติเล็กน้อย จึงได้มีภิกษุไปทูลบอกต่อพระพุทธเจ้าให้ทรงทราบ พระพุทธองค์ก็ทรงไปแก้ปัญหาเรื่องอาบัติเล็กน้อย ว่าควรปฏิบัติอย่างไรปัญหาก็จบไป แต่เพราะความบาดหมางกัน แม้เรื่องอาบัติเล็กน้อยนั้นจะสงบแล้ว แต่ต่างฝ่ายต่างเพ่งโทษกันและกัน จึงเกิดการทะเลาะว่ากล่าวกันด้วยวาจา จนเป็นที่ติเตียนของชาวบ้าน พระรูปหนึ่งจึงได้ไปกราบทูลพระพุทธเจ้าอีก พระพุทธองค์ก็ทรงไปแก้ปัญหาอีก และทรงยกชาดก เรื่อง ทีฆาวุกุมาร ก็สงบไปพักหนึ่ง แต่ภายหลังก็ทะเลาะกันอีก พระพุทธเจ้าก็เสด็จไปอีกเพื่อแก้ปัญหา แต่คราวนี้อธรรมวาทีได้กราบทูลกับพระพุทธเจ้าว่า

    “ขอพระผู้มีพระภาคผู้เป็นเจ้าของแห่งธรรมได้โปรดทรงยับยั้งเถิด ขอพระผู้มีพระภาค ได้โปรดทรงมีความขวนขวายน้อย ประกอบสุขวิหารธรรมในปัจจุบันอยู่เถิด พวกข้าพระพุทธเจ้าจักปรากฏด้วยความบาดหมางความทะเลาะ ความแก่งแย่ง การวิวาทนั้น”

    แปลความ คือให้พระพุทธเจ้าอยู่ส่วนของพระองค์ ไม่ต้องมายุ่งเกี่ยว เพราะพวกกระผมจะทะเลาะกันต่อ พระพุทธเจ้าทรงดำริว่า โมฆบุรุษเหล่านี้หัวดื้อ พระพุทธองค์จึงทรงถือบาตรจีวรเสด็จออกจากวัดโฆสิตาราม แต่ผู้เดียว หลังจากบิณฑบาตและเสวยในกรุงโกสัมพีแล้ว พระพุทธองค์ก็ดำเนินไปเพียงพระองค์เดียว ออกจากกรุงโกสัมพี ตรงไปปาจีนวังสทายวัน แคว้นเจดีย์ เพื่อโปรดพระอนุรุทเถระ ซึ่งขณะนั้นพระอนุรุทเถระ บำเพ็ญสมณธรรมอยู่ที่นั้น และในช่วงนั้น พระอนุรุทเถระก็ยังบรรลุเป็นเพียงพระโสดาบันที่มีทิพย์จักษุ พระอนุรุทจึงเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าและทูลถามว่า ทิพย์จักษุของท่านนั้นยังตั้งได้อยู่ไม่นาน พระพุทธเจ้าจึงทรงแสดงธรรมเรื่องอุปกิเลสให้ฟัง

    หลังจากนั้นพระอนุรุทเถระ ก็บรรลุเป็นพระอรหันต์ที่เป็นเอคคทัตคะมีทิพย์จักษุเป็นเลิศ เป็นอันว่าพระอนุรุทบวชอยู่เป็นเวลาถึง 8 ปี จึงจะบรรลุเป็นพระอรหันต์ หลังจากนั้นพระพุทธเจ้าก็ปลีกออกไปเพียงพระองค์เดียว ไปยังป่าปาลิเลยยกะ ของแคว้นเจดีย์นั้น พระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษาอยู่ที่ป่า “ปาลิเลยยะ” ป่าที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปจำพรรษาครั้งนี้เป็นป่าใหญ่ เป็นที่อยู่อาศัยของช้างโทนเชือกหนึ่ง ชื่อว่า "ปาลิไลยกะ" หรือ "ปาลิไลยก์" ป่าแห่งนี้จึงได้นามตามช้างนี้ว่า "ป่าปาลิไลยก์" คนไทยเราเรียกว่า "ป่าปาเลไลยก์" อันเดียวกันนั่นเอง


    [​IMG]


    ด้วยอำนาจพุทธบารมี และพระเมตตาของพระพุทธเจ้า ช้างชื่อปาลิไลย์ได้เข้ามาอุปัฏฐากพระพุทธเจ้า เช้าขึ้นหาผลไม้ในป่ามาถวาย ตอนเย็นต้มน้ำร้อนถวายพระพุทธเจ้า ด้วยวิธีกลิ้งก้อนหินที่เผาไฟให้ร้อนลงในแอ่งน้ำ ลิงตัวหนึ่งเห็นช้างปรนนิบัติถวายพระพุทธเจ้า ก็ได้นำรวงผึ้งมาถวายพระพุทธเจ้าบ้าง พระพุทธเจ้าทรงรับแต่ไม่ทรงฉัน ลิงจึงเข้าไปนำรวงผึ้งกลับมาพิจารณาดู เมื่อเห็นตัวอ่อนของผึ้ง จึงนำตัวอ่อนออกหมด แล้วนำแต่น้ำผึ้งหวานเข้าไปถวายใหม่ คราวนี้พระพุทธเจ้าทรงรับแล้วฉัน ลิงแอบดูอยู่บนต้นไม้ เห็นพระพุทธเจ้าทรงฉันรวงผึ้งของตนก็ดีใจ กระโดดโลดเต้นบนกิ่งไม้ จนพลัดตกลงมาถูกตอไม้แหลมเสียบท้องทะลุตาย


    [​IMG]

    ส่วนที่วัดโฆสิตาราม ชาวเมืองเมื่อทราบว่า พระวัดโฆสิตารามทะเลาะกัน จนพระพุทธเจ้าเสด็จปลีกวิเวกไปเพียงพระองค์เดียว ยังป่าปาลิเลยยะ แคว้นเจดีย์ ชาวบ้านจึงต่างก็ไม่ต้อนรับ ไม่ถวายภัตตาหารแก่พระภิกษุวัดโฆสิตาราม ทำให้พระภิกษุวัดโฆสิตารามเป็นอยู่ด้วยความลำบากตลอดเข้าพรรษา 3 เดือน ทำให้พระเหล่านั้นระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า แล้วคลายทิฏฐิต่อกัน เลิกทะเลาะว่ากล่าวต่อกัน พอออกพรรษาก็รีบตามเสด็จไปเฝ้าพระพุทธเจ้า แล้วนิมนตร์พระพุทธองค์ให้เสด็จกลับมายังวัดโฆสิตาราม เมื่อพระพุทธองค์เสด็จกลับเข้าเมือง ช้างปาลิไลยก์อาลัยพระพุทธเจ้านักหนา เดินตามพระพุทธเจ้าออกจากป่า ทำท่าจะตามเข้าไปในเมืองด้วย พระพุทธเจ้าจึงทรงหันไปตรัสบอกช้างว่า "ปาลิไลยก์ ! ถิ่นของเธอหมดแค่นี้ แต่นี้ไปเป็นถิ่นที่อยู่ของมนุษย์ ซึ่งเป็นภัยต่อสัตว์เดรัจฉานเช่นเธอ เธอไปด้วยไม่ได้หรอก " ช้างปาลิไลยก์ ยืนร้องไหเสียใจไม่กล้าเดินตามพระพุทธเจ้า พอพระพุทธเจ้าลับสายตา ก็เลยอกแตกตายอยู่ ณ ที่นั้น คัมภีร์บอกว่าทั้งลิงและช้างตายแล้ว ไปเกิดเป็นเทพบุตรอยู่ที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์

    เมื่อพระพุทธเจ้าทรงชำระสะสางปัญหาต่างๆ สมบูรณ์แล้ว พระพุทธเจ้าก็ทรงดำเนินเสด็จเผยแผ่พระสัทธรรมต่อไปตามลำดับ แล้วย้อนกลับไปยังแคว้นมคธ
     
  4. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    กรณีช้างป่าปาเลไลยก์ และลิง ต้องสร้างเหตุอะไรมาก่อน ถึงได้พบพระพุทธองค์

    หมายถึงเคยเกี่ยวเนื่องกันมาแต่ปางก่อน และเสวยวิบากให้ต้องเป็นเดรัจฉาน

    และเป็นเหตุต้องได้สร้างกุศลก่อนตาย ขณะตายจิตเป็นกุศล ไปสู่สุคติก็ถูกต้องแล้วนี่ครับ

    ผู้ที่สนใจเรื่องโพธิสัตว์น่าจะอธิบายได้กระจ่างกว่านะครับ
     
  5. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    หมายถึง สิ่งนี้รึเปล่าครับท่านกำนัน

    ปล.ก็อปเขามาอีกที
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 9 กันยายน 2011
  6. ประกายพลอย

    ประกายพลอย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มกราคม 2010
    โพสต์:
    616
    ค่าพลัง:
    +452
    ถูกแต่ยังถูกไม่หมด พันปีแรก ก็นับตั้งแต่พระพุทธเจ้าทรงพระชนม์

    พระอรหันต์ ในยุคนั้น จะมากไปด้วย ก็หมายความว่า พระอรหันต์ เหล่า

    อื่น มีหมด แต่พระอรหันต์ ปฏิสัมภิทาญาณ จะมึถึง 3ใน4เลย คือเยอะ

    กว่ามาก เพราะพระธรรมคำสอน พระพุทธเจ้า ทรงสอนเอง รู้อุปนิสัยสัตว์

    ด้วยพระญาณของพระองค์ พระองค์ทรงวางรากฐานไว้ทุกแบบ ทุกหมู่เหล่า

    ก็ธรรมดา ก็เหมือนปลาในแม่น้ำใหญ่ ที่อุดมสมบูณ์ด้วย ธัญญาหาร

    พวกปลาก็จะตัวใหญ่ ตัวโต ถามว่า ในกลุ่มปลาตัวใหญ่ จะมีปลาตัวไหม

    เล็กๆ ปนอยู่ไหม ก็ต้องตอบว่ามี เป็นธรรมดา

    เปรียบได้ กับ สมัยพระพุทธเจ้าทรงพระชนม์ ก็เปรียบได้กับ แม่น้ำ

    ที่อุดม สมบูรณ์ยิ่ง พระอรหันต์ในสมัยนั้น ที่ได้เกิดร่วมสมัยกับพระองค์ท่านหัวกระทิทั้งนั้นเสียเป็นส่วนใหญ่

    พระอรหันต์ ปฏิสัมภิทาญาณ นี่ ทรงคุณธรรมพิเศษ เหนือ พระอรหันต์

    ที่ทรงอภิญญา ก็คือ พอเป็นพระอรหันต์ปรับ จะรู้ภาษาคนและสัตว์

    ทุกชาติ ทุกเผ่าพันธุ์ โดยที่ไม่ต้องเข้าโรงเรียน สอง ทรงพระไตร

    ปิฏก ก็คือทรงแตกฉานในพระไตร โดยที่ไม่ได้เรียนปริยัติเลย

    (ไปหาอ่านประวัติ หลวงปู่มั่น ที่ท่านไปจำพรรษาในป่า ในเขา

    ท่านฉันข้าวอยู่ อยู่ๆท่านก็ได้ฟังนก มันสนทนากัน แล้วท่านรู้ว่ามันพูดอะไรกัน มันพูดว่า พระองค์ก่อน

    ไม่สำรวม จะกิน จะฉัน แต่พระองค์นี้สำรวม หมายถึงหลวงปู่มั่น)

    พันปีที่๒ พระอรหันต์ จะมากไปด้วย พระอรหันต์ อภิญญา พระ

    อภิญญาก็รู้ๆ กันอยู่ หย่นระยะทาง เรียกลม เรียกฝน เดินบนน้ำ

    เหาะได้ ไปนรก สวรรค์ เอากายเนื้อไปได้ด้วย กำลังสมาธิยังแข้มอยู่

    มาก

    พอพันปี ที่ ๓ จะมากไปด้วย เตวิโช หรือวิชาสาม หรือมโนมยิทธิ

    เห็นนรก เห็นสวรรค์ได้ นั่งอยู่กับที่ แต่เอากายเนื้อไปไม่ได้ เหาะไม่ได้

    หย่นระยะทาไม่ได้ ก็อ่อนลงอีก กำลังใจ

    พอพันปีสี่ นี่มากไปด้วย พระอนาคามีแล้ว หาพระอรหันต์ทำยายาก

    ถามว่ามีไหม ก็ต้องตอบว่ามี แต่ก็น้อยแล้ว

    พอพันปีที่ห้า ช่วงปลายสุด แม้หัวข้อแต่ธรรม สั้นๆ คนก็ไม่รู้จักแล้ว

    ถามใคร ใครก็ไม่รู้จักว่าหมายถึงอะไร แปลว่าอะไร

    พระพุทธเจ้า ตรัสว่า หลังจากพระองค์ ทรงดับขันธุ์ เข้าสู่ปรินิพพาน

    แล้ว วันเวลผ่านพ้นไป ปัญญาคนจะทรามลงเรื่อยๆ

    (ทรามหมายถึง โง่ขึ้นเรื่อยๆ)

    สรุปก็คือ ยุคสมัยพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ ส่วนใหญ่ จะเป็นยอดอัฉริยะ

    เหาะได้แทบทั้งนั้น

    ...
    ฟังเรื่องเล่าจากพุทธประวัตินะครับ ท่านมหาโมคคัลลานะเถระ กับพระปิณโฑลภารทวาชะเถระ ได้ร่วมทางเดินมารับบาตรในพระนครคฤห์ หยุดยืนห่มจีวรอยู่ที่พื้นหินก้อนใหญ่ในภายนอกเมือง พระมหาเถระทั้งสองได้ยินเสียงมหาชนสนทนากันว่า วันนี้เป็นวันที่ ๗ วันสุดท้ายของวันประกาศ ของท่านราชคฤห์เศรษฐีแล้ว ยังไม่ปรากฏว่า มีพระอรหันต์องค์ใด เหาะมาถือบาตรไม้จันทร์แดงไปเลย พระอรหันต์คงจะไม่มีอยู่ในโลกนี้แน่แล้ว วันนี้แหละเราจะได้รู้ทั่วกันว่า ในโลกนี้จะมีพระอรหันต์จริงหรือไม่??
    พระมหาโมคคัลลานะเถระได้ปราศรัยกับพระปิณโฑลภารทวาชะเถระว่า
    "ได้ยินไหมท่าน ? ผู้คนกำลังกล่าวดูหมิ่นพระศาสนา เป็นการเสื่อมเสียถึงเกียรติพระบรมศาสดา ตลอดถึงพระอรหันต์ทั้งหลายด้วย ฉะนั้น นิมนต์ท่านเหาะไปเอาบาตรไม้จันทร์แดงลูกนั้นเสียเถิด จะได้เปลื้องคำนินทาว่าร้ายนั้นเสีย"
    เมื่อพระปิณโฑลภารทวาชะเถระ ได้โอกาสจากพระมหาโมคัลลานะผู้เป็นอัครสาวกเช่นนั้นแล้ว ก็เข้าสู่จตุตถฌาน อันเป็นที่ตั้งแห่งอภิญญา ทำอิทธิปาฏิหาริย์เหาะขึ้นไปในอากาศ กับทั้งแผ่นหินใหญ่ ซึ่งยืนเหยียบอยู่นั้นด้วย เลื่อนลอยไปดุจปุยนุ่นปลิวไปตามสายลม
    พระเถระเจ้าเหาะเวียนรอบพระนครราชคฤห์ ปรากฏแก่มหาชนทั่วไป ชนทั้งหลายพากันเอิกเกริกร้องชมปาฏิหาริย์เสียงลั่นสนั่นไป
    ครั้นพระมหาเถระเจ้าเหาะเวียนได้ ๗ รอบแล้ว ก็สลัดแผ่นหินที่เหยียบอยู่นั้น ให้ปลิวตกไปยังที่เดิม แล้วเหาะมาลอยอยู่เบื้องบนแห่งเรือนท่านเศรษฐีนั้น......
    เมื่อท่านเศรษฐีได้เห็นเช่นนั้น ก็เกิดปีติเลื่อมใสสุดที่จะประมาณ ได้หมอบกราบจนอุระจดถึงพื้น แล้วร้องอาราธนาพระเถระเจ้าให้ลงมาโปรด
    เมื่อพระปิณโฑลภารทวาชะเถระลงมานั่งบนอาสนะที่ท่านเศรษฐีได้จัดตกแต่งไว้เป็นอันดีแล้ว ท่านเศรษฐีก็ให้นำบาตรไม้จันทน์แดงนั้นลงมาบรรจุอาหารอันประณีตลงในบาตรนั้นจนเต็ม แล้วน้อมถวายพระเถระเจ้าด้วยคารวะอันสูง พระเถระเจ้ารับบาตรแล้ว ก็บ่ายหน้ากลับยังวิหาร..
    ฝ่ายชนทั้งหลายที่ไปธุระกิจในที่อื่นเสีย กลับมาไม่ทันได้เห็นปาฏิหาริย์นั้น ก็รีบพากันติดตามพระเถระเจ้าไปเป็นอันมาก ร้องขอให้ท่านเมตตาแสดงปาฏิหาริย์ต่าง ๆ ให้ชมบ้าง พระเถระเจ้าก็แสดงปาฏิหาริย์ให้ชนทั้งหลายนั้นชมตามปรารถนา แล้วไปสู่วิหาร
    พระบรมศาสดาได้ทรงสดับเสียงมหาชนอื้ออึง ติดตามพระปีณโฑภาระทวาชะมาเช่นนั้น จึงตรัสถามพระอานนท์ว่า
    “เสียงอะไร”
    พระอานนท์ก็กราบทูลให้ทรงทราบ จึงรับสั่งให้หาพระปิณโฑลภารทวาชะเถระมาถาม ครั้นทรงทราบความแล้ว ก็ทรงตำหนิว่า เป็นการไม่สมควร แล้วโปรดให้ทำลายบาตรไม้จันทน์แดงนั้น ย่อยให้เป็นจุณ แจกพระสงฆ์ทั้งหลายบดให้เป็นโอสถใส่จักษุ ทั้งทรงบัญญัติห้ามสาวกทำปาฏิหาริย์สืบไป


    ....นี่ตัวอย่างพระปิณโฑลภารทวาชะเหาะขึ้น เหาะลงจนเมื่อย
    เหาะอยู่อย่างนั้น ไอ่คนที่มาที่หลังก็บอก หลวงปู่ หลวงน้า
    หลวงพ่อ ผมบ้าง หนูบ้าง ยังไม่เห็นเลย หลวงน้า หลวงปู่ หลวงพ่อ ช่วยสงเคราห์ เหาะได้ดูสักครั้งเป้นบุญตาเทิด ยังไงล่ะที่นี้
    ท่านด้วยความเมตตา ก้ต้องเหาะละสิ นี่พระอรหันต์ ยังพลาดเลยเห็นไหม เรื่องความรู้ทั่วไปพลาดได้ แต่เรื่องกิเลสท่านไม่พลาดแน่ๆ
    ถ้าไม่ได้พระพุทธเจ้าช่วยเอาไว้ มีหวัง ท่านต้องเหาะเย็นยันเช้า เช้ายันเย็น เพื่อฉลองศรัทธาบันดาญาติโยม พอดีหมดแรง ฟลุบอยู่ตรงนั้น


    ฟันธงครับ

     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 9 กันยายน 2011
  7. ประกายพลอย

    ประกายพลอย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มกราคม 2010
    โพสต์:
    616
    ค่าพลัง:
    +452
    ท่านมหาโมคคัลลานะเถระ กับพระปิณโฑลภารทวาชะเถระ

    พระอรหันต์ สองท่าน ทรงคุณธรรมพิเศษ ไม่ไช่พระทรงอภิญญานะ

    เหนือกว่า ท่านทรงปฏิสัมภิทาญาณ ส่วนพระมหาโมคคัลานะแถมท้าย

    ท่านเลิศไปด้วยฤทธิ์ และเป็นอัคครสาวกเบื้องซ้ายของพระพุทธเจ้า
    ฟันธงครับ
     
  8. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    เอามาจากไหนอีกเนี่ย!

    ตกลงที่ยกมาเรื่องแต่ง ถูกไหม ^^
     
  9. ประกายพลอย

    ประกายพลอย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มกราคม 2010
    โพสต์:
    616
    ค่าพลัง:
    +452
    มาสมัยเรา พันปีที่สาม 2554 นี่ก็ครึ่งหนึ่งของพันปีที่สามแล้ว

    ก็จะมากไปด้วย วิชาสาม ก็คือ เตวิโช

    เป็นพระรหันต์ ที่ด้อยกว่า พระอภิญญา และ พระปฎิสัมภิทาญาณ

    ถามว่าเรื่องห่างไกลกิเลส เท่ากันไหม ตอบง่ายๆ คุณธรรมความเป็นพระอรหันต์

    ความดีที่ทรง เป็นผู้ปล่อย ละ วางกิเลส ได้เท่ากัน

    แต่คุณธรรมพิเศษ ไม่เสมอกัน สั่งสมมาไม่เหมือนกัน

    พระอรหันต์ วิชาสาม เอากายเนื้อไปไหนไม่ได้ทั้งนั้น เห็นอนาคต รู้อดีตชาติ
    เห็นสวรรค์ นรก นิพพาน ได้ด้วยทิพย์จักขุญาณ พิสูจน์คำสอน ที่พระพุทธเจ้า
    เกิดเป็นพระเวสสันดร ชาตินั้น ชาตินี้ ท่านดูได้ ตรวจสอบได้
     
  10. ประกายพลอย

    ประกายพลอย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มกราคม 2010
    โพสต์:
    616
    ค่าพลัง:
    +452
    สุดท้ายเลย ก็คือ พระอรหันต์ สุขวิปัสสโก ท่านไม่รู้ ไม่เห็นอะไรทั้งนั้น

    ดำเนิน มรรคแปด พิจารณาอริยสัจสี่ ทำใจมุ่งหวัง ประหารกิเลส ออกจากใจ

    ท่านด้บกิเลสด้วยปัญญาวิมุตติ จนกิเลสหมอดไหม้ กลายเป็นเถ่าถ่านไป หมดเชื้อ

    ที่จะประทุอีกต่อไป ท่านก็จะมีลักษณะ เหมือนเราธรรมดาทั่วไป แต่ใจท่านบริสุทธิ์

    ใสสะอาด สลัดยางเหนียว หลุดพ้นจากบ่วงมาร เหมือนพระอรหันต์ ทุกๆองค์ที่

    ท่านเป็นกัน

    ไห้สังเกตุ พระอรหันต์ ที่มาทางสายสุขวิปัสสโก
    ท่านไม่รู้ ไม่เห็นอดีตชาติอะไรทั้งนั้น แต่มีอยู่อย่างหนึ่ง
    อะไรที่พระพุทธองค์ ตรัสสอนไว้ ท่านจะไม่แย้ง จะไม่คัด
    ค้าน แม้แต่นิดเดียว
     
  11. ประกายพลอย

    ประกายพลอย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มกราคม 2010
    โพสต์:
    616
    ค่าพลัง:
    +452
  12. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    หลักฐาน อ้างอิงไม่มี พูดแบบนี้ ใครก็พูดได้

    อันตราย ทำชาวพุทธเข้าใจคลาดเคลื่อนนะครับ คุณหมอกฤช


    comfirm
     
  13. ประกายพลอย

    ประกายพลอย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มกราคม 2010
    โพสต์:
    616
    ค่าพลัง:
    +452
    ประวัติ

    พระปิณโฑลภารทวาชเถระ เดิมเป็นพราหมณ์ในพระนครราชคฤห์ เกิดในตระกูลพราหมณ์มหาศาลชื่อว่า ภารทวาชโคตร ท่านมือชื่อตามโคตรของท่านว่า ภารทวาชมาณพ เมื่อเจริญวัยได้ศึกษาเล่าเรียนจนจบไตรเภท ได้ตั้งตนเป็นอาจารย์บอกศิลปวิทยาแก่มาณพทั้ง 500 คน
    ภารทวาชนั้นเมื่อเป็นฆราวาสมีนิสัยโลภในอาหารเป็นเนืองนิตย์ เที่ยวแสวงหากินกับศิษย์ของตนไม่เลือกที่ ดังนั้นท่านจึงมีชื่อว่า ปิณโฑลภารทวาชมาณพ
    ต่อมามีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาขออุปสมบท ไม่นานท่านก็บรรลุอรหันตผล ท่านเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยอินทรีย์ทั้ง 3 คือ สติ, สมาธิ และปัญญา เวลาท่านไปที่ไหนแม้จะอยู่ต่อหน้าพระพักตร์พระพุทธเจ้าก็ตาม ท่านก็ชอบเปล่งสีหนาทอยู่เสมอ ๆ ว่า "ใครมีความสงสัยในมรรคผล ผู้นั้นจงถามเราเถิด" ด้วยเหตุนี้ พระพุทะเจ้าจึงทรงยกย่องท่านว่า เป็นเอตทัคคะผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในด้าน ผู้บันลือสิงหนาท
    [แก้]บั้นปลายชีวิต

    ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาไม่ระบุว่าท่านดับขันธปรินิพพานที่ใด แต่ท่านคงดำรงขันธ์อยู่พอสมควรแก่กาลจึงดับขันธปรินิพพาน
    [แก้]อ้างอิง


    • สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. (2525). ธรรมวิภาคปริเฉทที่ 2. พิมพ์ครั้งที่ 23. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการแผนกตำรา มหามกุฏราชวิทยาลัย.
    ประวัติพระปิณโฑลภารทวาชะเถระ
    เอตทัคคมหาสาวกผู้บันลือสีหนาท
    [​IMG]
    การที่ท่านพระ ปิณโฑลภารทวาชะ ท่านนี้ได้รับการสถาปนาจากพระบรมศาสดาให้อยู่ในตำแหน่งที่เป็นเลิศกว่าเหล่าภิกษุสาวกทั้งหลายผู้บันลือสีหนาท นั้นก็โดยเหตุเกิดเรื่อง คือ พระมหาสาวกองค์นั้น ในวันที่ท่านบรรลุพระอรหัต ท่านก็บันลือสีหนาทว่า ท่านผู้ใด มีความสงสัย ในมรรคหรือผล ท่านผู้นั้นจงถามเราดังนี้ แม้ต่อพระพักตร์พระพุทธเจ้า ท่านก็บันลือสีหนาทว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กิจที่ควรกระทำในศาสนานี้ถึงที่สุดแล้ว เช่นนี้ ซึ่งก็เป็นปัจจัยมาจากการที่ท่านได้กระทำบันลือสีหนาทในสมัยอดีตชาตดังเรื่องที่จะกล่าวต่อไปนี้

    บุรพกรรมในสมัยพระปทุมุตตรพุทธเจ้า
    แม้พระเถระนี้ก็ได้กระทำบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆก่อสร้างบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแก่วิวัฏฏะไว้ในภพนั้น ๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ บังเกิดเป็นราชสีห์ผู้ไม่มีความกลัว อาศัยอยู่ในถ้ำ ที่ใกล้ภูเขาหิมวันต์ทางทิศตะวันออกของภูเขาหิมาลัย ออกหากินไปในทิศทั้ง ๔ อยู่ ณ ที่นั้น พระศาสดาประทับอยู่ในถ้ำชื่อว่าจิตตกูฏ ที่ยอดเขาชื่อว่าจิตตบรรพต เพราะเป็นภูเขาที่งดงามหลากสีด้วยโอสถ และรัตนะทั้งหลาย พระศาสดาทรงตรวจดูโลก ทรงเห็นความถึงพร้อมแห่งเหตุที่สมควรจะเสด็จไปโปรดของราชสีห์นั้นในครั้งนั้นเพื่อจะทรงกระทำความอนุเคราะห์แก่ราชสีห์ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงเสด็จไปยังถ้ำเป็นที่อยู่ของราชสีห์นั้น ในเวลาที่ราชสีห์นั้นออกไปหาเหยื่อ ทรงนั่งเข้านิโรธสมาบัติอยู่ ราชสีห์จับเหยื่อแล้วกลับมายืนอยู่ที่ประตูถ้ำ เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ดำริว่า ไม่มีสัตว์อื่นที่ว่าชื่อว่าสามารถจะมานั่งยังที่อยู่ของเรา บุรุษนี้ใหญ่แท้หนอ มานั่งขัดสมาธิภายในถ้ำ ได้ แม้รัศมีสรีระของท่านก็แผ่ไปโดยรอบ เราไม่เคยเห็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์ถึงเพียงนี้ บุรุษนี้จักเป็นยอดของปูชนียบุคคลในโลกนี้ แม้เราควรกระทำสักการะตามสติกำลังถวายพระองค์ จึงไปนำดอกอุบลและดอกไม้ต่าง ๆ ลาดเป็นอาสนะดอกไม้ ตั้งแต่พื้นจนถึงที่นั่งขัดสมาธิ กระทำจิตให้เลื่อมใส และเพื่อต้องการจะอารักขาพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงบันลือสีหนาท ๓ เวลา เพื่อให้สัตว์ร้ายอื่น ๆ หนีไป ยืนเฝ้าอยู่ที่ประตูถ้ำโดยมีพุทธานุสติเป็นอารมณ์ ตลอดคืนยังรุ่ง รุ่งขึ้นวันใหม่ก็นำดอกไม้เก่าออก เอาดอกไม้ใหม่ลาดอาสนะโดยทำนองนี้ เที่ยวตกแต่งปุบผาสนะบูชาอยู่ตลอด ๗ วัน เหมือนอย่างที่บูชาในวันแรก บังเกิดปีติโสมนัสอย่างแรง ในวันที่ ๗ พระ ศาสดาออกจากนิโรธสมาบัติ ประทับยืนที่ประตูถ้ำ ราชสีห์กระทำประทักษิณพระตถาคต ๓ ครั้ง แล้วถอยออกไปยืนอยู่
    พระปทุมุตรพุทธเจ้าผู้ทรงรู้แจ้งโลก ทรงรับเครื่องบูชาของเรา แล้วตรัสว่า ผู้ใดได้ถวายปทุมนี้ และได้บันลือสีหนาท เราจักพยากรณ์ผู้นั้น ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าว
    ในกัลปที่ ๘ แต่ภัทรกัลปนี้ ผู้นั้นจักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิสมบูรณ์ด้วยรัตนะ ๗ ประการ เป็นใหญ่ในทวีปทั้ง ๔ จักเสวยความเป็นใหญ่ในแผ่นดิน ๖๔ ชาติ จักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิทรงกำลัง มีพระนามชื่อว่าปทุม
    ในแสนกัลป พระศาสดาพระนามว่าโคดมโดยพระโคตร ซึ่งสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกากราช จักเสด็จอุบัติในโลกเมื่อพระศาสดาพระองค์นั้นทรงประกาศพระศาสนาแล้ว พระยาสีหะนี้จักเป็นบุตรของพราหมณ์ จักออกจากสกุลพราหมณ์แล้วบวชในพระศาสนาของพระศาสดาพระองค์นั้น เขามีตนส่งไปแล้วเพื่อความเพียร สงบระงับไม่มีอุปธิ กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว จักไม่มีอาสวะนิพพาน ณ เสนาสนะอันสงัด ปราศจากชน เกลื่อนกล่นด้วยสัตว์ร้าย
    พระศาสดาทรงดำริว่า เท่านี้จักพอเป็นอุปนิสัยแก่ราชสีห์นี้ แล้วจึงเหาะขึ้นไปสู่อากาศเสด็จกลับไปพระวิหารตามเดิม
    ราชสีห์ไม่อาจอดกลั้นความทุกข์ เพราะพลัดพรากจากพระพุทธเจ้าจึงกระทำกาละแล้วบังเกิดในตระกูลมีโภคะมากในนครหังสวดี พอเจริญวัยแล้ว ได้ไปยังพระวิหารกับชาวเมือง ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้วเลื่อมใส ยังมหาทานให้เป็นไปแก่ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ตลอด ๗ วัน ทำบุญทั้งหลายจนชั่วชีวิต ท่องเที่ยวไป ๆ มา ๆอยู่ในเทวดาและและมนุษย์
    กำเนิดเป็นภารทวาชะในสมัยพระสมณโคดมพุทธเจ้า
    ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย ท่านเกิดเป็นบุตรของปุโรหิตแห่งพระเจ้าอุเทน ในพระนครโกสัมพี เขาได้มีชื่อว่า ภารทวาชะ.ภารทวาชะนั้นเจริญวัยแล้ว เรียนจบไตรเพทสอนมนต์แก่มาณพ ๕๐๐ คนเพราะความที่ตนเป็นผู้มีความประพฤติไม่เหมาะสม เพราะเป็นคนจะกละ เป็นผู้กินจุ ท่านรับภิกษาของมาณพทุกคนด้วยตนเอง เขาว่าท่านภารทวาชะนี้เป็นคนมักมากในการบริโภค คือเที่ยวแสวงหาข้าวต้มข้าวสวยและของรับประทานไม่ว่าในที่ไหน ๆ กับมาณพเหล่านี้ ในที่ที่ท่านไปแล้วไปอีกก็จะต้อนรับเพียงข้าวถ้วยเดียวเท่านั้น พวกมาณพที่เป็นศิษย์เห็นความประพฤติอันไม่น่าเลื่อมใสของผู้เป็นอาจารย์ก็บังเกิดความเบื่อหน่าย พากันละทิ้งออกไปจากสำนัก เมื่อถูกเหล่ามาณพนั้นละทิ้ง ท่านจึงเป็นผู้สิ้นเนื้อประดาตัว ไม่เห็นทางที่จะทำมาหากินจึงเดินทางไปยังนครราชคฤห์ ครั้นไปถึงเมืองนั้นแล้ว ได้เห็นว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์ ได้ลาภสักการะ เป็นอันมาก ภัตตาหารก็อุดมสมบูรณ์ จึงบวชในพระศาสนาด้วยความประสงค์จะได้อาหาร และก็ยังเป็นผู้ไม่รู้ประมาณในการบริโภคอยู่
    เมื่อท่านบวชแล้ว ท่านถือเอาบาตรขนาดใหญ่เที่ยวบิณฑบาตไป ในการรับภัตท่านก็รับภัตเอาจนเต็ม ท่านดื่มข้าวยาคูเต็มภาชนะ เคี้ยวกินขนมเต็มภาชนะ บริโภคข้าวเต็มภาชนะ ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลความที่ท่านไม่ประมาณในการบริโภค ฉันอาหารมากเกินพอดีต่อพระศาสดา พระศาสดาจึงทรงไม่อนุญาตถลกบาตรแก่ท่าน เพื่อมิให้ท่านสามารถรับภัตได้ครั้งละมาก ๆท่านนั้นเมื่อฉันภัตเสร็จ ล้างบาตรแล้ว เมื่อจะวาง ท่านก็คว่ำบาตรวางลงแล้วดันครูดส่ง ๆ ไปไว้ใต้เตียง ในตอนที่จะใช้บาตรนั้น ก็จะถือเอาก็ครูดลากเอาบาตรนั้นออกมา บาตรนั้นเมื่อเวลานานเข้า ขอบปากบาตรก็กร่อนไปเรื่อย ๆ ด้วยการถูกครูด จนกระทั่งเหลือเป็นเหมือนแผ่นกระเบื้อง รับภัตได้เพียงข้าวสุกทะนานเดียวเท่านั้น.ภิกษุทั้งหลายเห็นดังนั้น จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระศาสดา พระศาสดาทรงอนุญาตถลกบาตรแก่ท่านอีก ดังนั้น ท่านจึงชื่อ ปิณโฑละ เพราะบวชเพื่อต้องการภัต (ก้อนข้าว) แต่โดยโคตร ชื่อว่า ภารทวาชะ เหตุนั้น รวมชื่อทั้งสองเข้าด้วยกันจึงเรียกว่า ปิณโฑลภารทวาชะดังนี้.
    ต่อมาท่านได้ฟังธรรมจากพระบรมศาสดา พระศาสดาทรงอบรมท่านให้ตั้งอยู่ในความเป็นผู้รู้จักประมาณด้วยอุบายวิธี แต่นั้นท่านจึงเริ่มบำเพ็ญความเพียร ตั้งอารมณ์วิปัสสนา ไม่นานนักก็บรรลุพระอรหัต ได้อภิญญา ๖.ในวันบรรลุพระอรหัต ท่านถือเอาผ้ารองนั่งออกจากวิหารนี้ไปวิหารโน้น ออกจากบริเวณ นี้ไปบริเวณโน้น เที่ยวบันลือสีหนาทว่า ท่านผู้ใด มีความสงสัย ในมรรคหรือผล ท่านผู้นั้นจงถามเราดังนี้
    หลังจากที่ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะ บรรลุพระอรหัตแล้ว ท่านก็ได้สมาทานธุดงค์ เป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ถือทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ถือทรงไตรจีวรเป็นวัตร มีความปรารถนาน้อย สันโดษ ชอบสงัดไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ปรารภความเพียร ผู้มีวาทะกำจัด หมั่นประกอบในอธิจิต พระผู้มีพระภาคทรงเห็นท่านพระปิณโฑลภารัทวาชะ ได้ถือปฏิบัติเช่นนั้นแล้ว ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
    <TABLE class=MsoTableGrid style="BORDER-RIGHT: windowtext; BORDER-TOP: windowtext; FONT-SIZE: 10pt; BORDER-LEFT: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext; FONT-FAMILY: 'Times New Roman'; BORDER-COLLAPSE: collapse; BACKGROUND-COLOR: rgb(243,243,243); background-origin: initial; background-clip: initial" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="80%" border=1><TBODY><TR style="HEIGHT: 71pt"><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 976px; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid" vAlign=top width=720>การไม่ว่าร้ายกัน ๑ การไม่เบียดเบียนกัน ๑ การสำรวมในพระปาติโมกข์ ๑ ความเป็นผู้รู้จักประมาณในภัต ๑ ที่นอนที่นั่งอันสงัด ๑ การประกอบความเพียรในอธิจิต ๑
    นี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ฯ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    พระเถระแสดงฤทธิ์
    เมื่อครั้งเศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ ได้ปุ่มไม้จันทร์แดงซึ่งมีค่ามากมาปุ่มหนึ่ง จึงได้ให้กลึงเป็นบาตรไม้ นำไปแขวนไว้บนปลายไม้สูงประมาณ ๖๐ ศอก แล้วประกาศว่า ถ้าผู้ใดเป็นพระอรหันต์ก็จงเหาะมาเอาบาตรไม้นี้ไปเถิด นิครณฐนาฏบุตรผู้เป็นเดียรถีย์ กับเหล่าสาวกได้พยายามด้วยเล่ห์อุบายต่าง ๆ เป็นเวลาถึง ๗ วัน เพื่อเอาบาตรไม้จันทร์แดงนั้นมาครอบครองแต่ก็ไม่สำเร็จ
    ในวันที่ ๗ ท่านพระมหาโมคคัลลานะและท่านพระปิณโฑล ภารทวาชะได้ไปยังกรุงราชคฤห์เพื่อบิณฑบาตได้ยินพวกชาวเมืองคุยกันในเรื่องที่เศรษฐีประกาศให้พระอรหันต์เหาะมาเอาบาตรไม้จันทร์แดงนั้นไป ก็บัดนี้ล่วงเข้าไปวันที่ ๗ แล้ว ก็ไม่เห็นมีผู้ใดมาเอาบาตรนั้นไปได้ เห็นทีพระอรหันต์นั้นคงจะไม่มีในโลกแล้วเป็นแน่แท้
    ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้ยินถ้อยคำนั้นแล้วจึงกล่าวกะท่านพระปิณโฑลภารทวาชะว่า พวกชนเหล่านี้ พูดเป็นทีว่าจะย่ำยีพระพุทธศาสนา ท่านจงไปเถิด จงเหาะไปในอากาศ แล้วถือเอาบาตรนั้น
    ปิณโฑลภารทวาชะกล่าวว่า ท่านโมคคัลลานะ ท่านเป็นผู้เลิศกว่าบรรดาสาวกผู้มีฤทธิ์ ท่านจงถือเอาบาตรนั้น แต่เมื่อท่านไม่ถือเอา ผมจักถือเอา.
    พระปิณโฑลภารทวาชะแสดงปาฏิหาริย์
    เมื่อพระมหาโมคคัลลานะกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านจงถือเอาเถิด ” ท่านปิณโฑลภารทวาชะก็เข้าจตุตถฌาน มีอภิญญาเป็นบาท ถอยออกจากฌานแล้ว เอาปลายเท้าคีบหินดาดประมาณ ๑ คาวุต ให้ขึ้นไปในอากาศเหมือนปุยนุ่น แล้วเหาะเวียนไปในเบื้องบนพระนครราชคฤห์ ๗ รอบ แผ่นหินดาดนั้นก็ปรากฏเหมือนดังเป็นฝาปิดพระนครไว้ พวกชาวพระนครเห็นดังนั้นก็เกิดความกลัว ร้องว่า “หินจะตกทับข้าพเจ้าแล้ว” แล้วพากันหาที่หลบซ่อน หรือหาวัตถุต่าง ๆ เช่น กระด้ง เป็นต้นมาปิดศีรษะไว้ ครั้นเมื่อครบ ๗ รอบแล้ว พระ เถระจึงได้แสดงตนให้มหาชนได้เห็น
    มหาชนเห็นพระเถระแล้ว กล่าวว่า “ท่านปิณโฑลภารทวาชะผู้ เจริญ ท่านจงจับหินของท่านไว้ให้มั่น อย่าให้พวกข้าพเจ้าทั้งหมด เป็นอันตรายเลย”
    ท่านพระเถระจึงเหวี่ยงแผ่นหินทิ้งไป แผ่นหินนั้นก็กลับไปตั้งอยู่ในที่เดิมนั่นเอง แล้วพระเถระก็ได้เหาะไปยืนอยู่เหนือเรือนของเศรษฐี เศรษฐีนั้นเห็นท่านแล้ว หมอบลงแล้ว กราบเรียนว่า “ลงเถิด พระผู้เป็นเจ้า” นิมนต์พระเถระให้นั่งแล้ว ให้นำบาตรลงถวายแก่พระเถระ พระเถระรับบาตรแล้ว ก็กลับสู่วิหาร
    พวกชนหมู่อื่นที่อยู่ในป่าบ้าง อยู่ในบ้านบ้าง ไม่ได้เห็นปาฏิหาริย์ของพระเถระ ก็รวมกันมาวิงวอนพระเถระว่า “ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงแสดงปาฏิหาริย์ให้พวกพวกผมได้ชมบ้าง” พระเถระนั้นก็แสดงปาฏิหาริย์แก่ชนเหล่านั้นๆ ในระหว่างทางไปพระวิหาร
    พระศาสดาทรงห้ามไม่ให้ภิกษุทำปาฏิหาริย์
    พระศาสดา ทรงสดับเสียงมหาชนที่ติดตามพระเถระนั้นอื้ออึงอยู่ จึงตรัสถามว่า “อานนท์ นั่นเสียงใคร ?” ท่านพระอานนท์ทูลว่า “พระเจ้าข้า พระปิณโฑลภารทวาชะเหาะขึ้นไปในอากาศแล้ว ถือเอาบาตรไม้จันทร์ เสียงนั่นมาจากสำนักของท่าน” จึงรับสั่งให้เรียกพระปิณโฑลภารทวาชะมา ตรัสถามว่า “ได้ยินว่า เธอทำอย่างนั้นจริงหรือ ?” เมื่อท่านกราบทูลว่า “จริง พระเจ้าข้า” จึงตรัสว่า “ภารทวาชะ ทำไม เธอจึงทำอย่างนั้น ?” ทรงติเตียนพระเถระ แล้วรับสั่งให้ทำลายบาตรนั้น ให้เป็นชิ้นน้อยชิ้นใหญ่ แล้ว รับสั่งให้ประทานแก่ภิกษุทั้งหลาย เพื่อบดผสมยาตา แล้วทรงบัญญัติสิกขาบทว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ควรแสดงอุตตริมนุสสธรรมอันเป็น อิทธิปาฏิหาริย์แก่พวกคฤหัสถ์ทั้งหลาย ผู้ใดขืนแสดงต้องอาบัติ ทุกกฎ” ดังนี้
    ทรงสถาปนาพระเถระไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ
    ได้ยินมาว่า ในวันที่ท่านพระ บิณโฑลภารทวาชเถระบรรลุพระอรหัต ท่านถือเอาผ้ารองนั่งออกจากวิหารนี้ไปวิหารโน้น ออกจากบริเวณ นี้ไปบริเวณโน้น เที่ยวบันลือสีหนาทว่า ท่านผู้ใด มีความสงสัย ในมรรคหรือผล ท่านผู้นั้นจงถามเราดังนี้ แม้ต่อพระพักตร์พระพุทธเจ้า ท่านก็บันลือสีหนาทว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กิจที่ควรกระทำในศาสนานี้ถึงที่สุดแล้ว
    เมื่อครั้งที่เศรษฐีในกรุงราชคฤห์เอาไม้ไผ่ต่อ ๆ กันขึ้นไป แขวนบาตรไม้แก่นจันทร์แดงไว้ปลายยอดไม้ไผ่นั้น ท่านเหาะไปถือเอาบาตรนั้นด้วยฤทธิ์ เป็นเหตุให้พระศาสดาทรงตำหนิโดยปริยายเป็นอันมากแล้วทรงบัญญัติสิกขาบทห้ามภิกษุแสดงอุตตริมนุสสธรรมแก่พวกคฤหัสถ์ ตามเรื่องที่กล่าวไว้ตอนต้น
    ในครั้งนั้นก็เกิดพูดกันในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ว่า พระเถระ ที่บันลือสีหนาทในวันที่ตนบรรลุพระอรหัต ประกาศท่ามกลางภิกษุสงฆ์ว่า ผู้ใดมีความสงสัยในมรรคหรือผล ผู้นั้นจงถามเรา ดังนี้
    หรือแม้ ในที่ต่อพระพักตร์พระพุทธเจ้า โดยความที่ตนชอบนั่นเอง ก็บันลือสีหนาทถึงการบรรลุพระอรหัตของตน พระสาวกเหล่าอื่นก็นิ่ง
    หรือแม้จะทำมหาชนให้เกิดความเลื่อมใสเหาะไปรับบาตรไม้แก่นจันทร์ ที่แขวนไว้ปลายยอดไม้ไผ่
    ภิกษุเหล่านั้นกระทำเรื่องทั้ง ๓ เหล่านี้เป็นอันเดียวกัน กราบทูล แก่พระศาสดาแล้ว
    ก็ธรรมดาว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมทรง ติเตียนผู้ที่ควรติเตียน ย่อมทรงสรรเสริญ ผู้ที่ควรสรรเสริญ ใน ฐานะนี้ พระศาสดาทรงถือว่า ความเป็นยอดของพระเถระที่สมควรสรรเสริญนั้นแหละ แล้วสรรเสริญพระเถระว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอินทรีย์ ๓ นั่นแล เธอเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ภารทวาชภิกษุได้พยากรณ์พระอรหัตแลว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์เราอยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำเราทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ อินทรีย์ ๓ เป็นไฉน คือ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอินทรีย์ ๓ เหล่านี้แล เธอเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ภารทวาชภิกษุ พยากรณ์แล้วซึ่งพระอรหัตตผล ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์เราอยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ ดังนี้ จึงทรงสถาปนา ไว้ในตำแหน่งเป็นยอดของเหล่าภิกษุบันลือสีหนาท



     
  14. ประกายพลอย

    ประกายพลอย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มกราคม 2010
    โพสต์:
    616
    ค่าพลัง:
    +452
    [​IMG]

    ฟันธงครับผม
     
  15. กำนันธงชัย

    กำนันธงชัย Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    120
    ค่าพลัง:
    +75
    ขอนอกเรื่องนิด

    กระทู้ดวงแก้วของคุณน้ำใส ถูกหิ้วไปแล้วหรอ

    ว่าแล้วเชียว เว็บนี้มันมีมาตรฐาน
     
  16. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    [​IMG]

    ฟันธงครับผม
     
  17. วิถีคนจร

    วิถีคนจร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    696
    ค่าพลัง:
    +226
     
  18. วิถีคนจร

    วิถีคนจร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    696
    ค่าพลัง:
    +226
    ศาสนาพุทธเป็นวิทยาศาสตร์ ด้วยเหตุและผล พระพุทธเจ้าท่านไม่ได้สอนอะไรที่ไม่มีเหตุและผล เพราะสิ่งที่ท่านตรัสรู้มา คือ อรยสัจ4ครับ เป็นการวิเคราห์ถึงปัญหาของมนุษย์ชาติคือทุกข์แล้วก็หาต้นเหตุแล้วก็ทำความเข้าใจแล้วก็จะได้เป็นวิธีการดับทุข์


    อริยสัจ หมายถึง หลักความจริงอันประเสริฐหรือหลักความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงเป็นผู้ประเสริฐ มี 4 ประการ คือ

    1) ทุกข์ หมายถึง ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ หรือสภาพที่บีบคั้นจิตใจให้ทนได้ยาก ทุกข์เป็นสภาวะที่จะต้องกำหนดรู้

    2) สมุทัย(ทุกขสมุทัย) หมายถึง ต้นเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ได้แก่ ตัณหา 3 ประการ คือ กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา สมุทัยเป็นสภาวะที่จะต้องละหรือทำให้หมดไป

    3) นิโรธ (ทุกนิโรธ)หมายถึง ความดับทุกข์ หรือสภาวะที่ปราศจากทุกข์ เป็นสภาวะที่ต้องทำความเข้าใจให้แจ่มแจ้ง

    4) มรรค (ทุกขนิโรธคามินีปฎิปทา) หมายถึง ทางดับทุกข์ หรือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ได้แก่ มัชฌิมาปฏิปทา หรืออริยมรรคมีองค์ 8 ซึ่งสรุปลงในไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา มรรคเป็นสภาวะที่ต้องลงมือปฏิบัติด้วยตนเองจึงจะไปสู่ความดับทุกข์ได้



    อริยสัจ 4 นี้ถ้าวิเคราะห์กันในเชิงวิทยาการสมัยใหม่ก็คือ ศาสตร์แห่งเหตุผล เพราะอริยสัจ 4 จัดได้เป็น 2 คู่ แต่ละคู่เป็นเหตุเป็นผลของกันและกัน

    ซึ่งเหล่านี้เป็นวิทยาศาสตร์ทั้งนั้น เป็นการวิเคราะห์หาเหตุและผลและวิธีการ
    ในปัจจุบัน ซึ่งก็มีการเพิ่งค้นพบหลักการเช่นนี้ เรียกว่า การ Analysis



    ส่วนเรื่อง สวรรค์ นรก บาป บุญ บารมี อิทธิฤทธิ์ ปาฏิหาร ก็พิสูจน์ได้ด้วยการปฏิบัติ
    แต่เป็นสาระแก่นสาร ของพุทธศาสนา หรือไม่

    ผมอธิบายขนาดนี้แล้วไม่เข้าใจ ผมแนะนำไปบวชเรียนเถอะครับ เรื่องนี้อธิบายเยอะมากแล้ว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 กันยายน 2011
  19. afseven

    afseven เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2010
    โพสต์:
    782
    ค่าพลัง:
    +510
    ผมเสริมนิดนึง พุทธศาสนาก็คือพุทธศาสนา ไม่ใช่วิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ในยุคปัจจุบันนี้ยังหยาบอยู่ เพียงแต่นำวิทยาศาสตร์มาพิสูจน์ความจริงของพุทธศาสนา แล้วก็ได้ความจริงกลับไป
    วิทยาศาสตร์เป็นหลักและวิชาการที่เราตั้งไว้เป็นหลัก ที่ไว้ศึกษาค้นคว้า เพื่อให้ได้รับการยอมรับในสังคม
    ส่วนพุทธศาสนามีมาก่อนวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์เดินตามหลังพุทธศาสนาด้วยหลักการพิสูจน์ของมันเองตามที่เราท่านยอมรับกัน ถ้าเรานำวิชาการของเรามาวิเคราะห์เราจะได้เหตุและผลตามนั้น แต่จะยังไม่ได้เห็น คงด้วยเพราะเครื่องพิสูจน์ยังหยาบ

    ส่วนเรื่องแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคือ " การหลุดพ้นของจิต ซึ่งไม่สามารถที่จะกลับมากำเริบหรือเกิดขึ้นอีก " นี่แหละจุดประสงค์ที่แท้จริงของพระพุทธศาสนา ซึ่งแก่นแท้เราจะต้องตีความเองด้วยการศึกษาตามหลักไตรสิกขา
     
  20. พรานยึ้ม

    พรานยึ้ม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    591
    ค่าพลัง:
    +682
    _______________________________________________________________________________________
    หลบทำไม ตอบ...คุณนะต้องไปบวช จะได้เห็นว่า พระในบวรพุทธศาสนา ท่านน่ะ สอน
    เทศน์ อย่างไร ไม่ไช่เอะอะ ก็ ไม่เป็นสาระแก่นสาร ต้องอริยสัจสี่ เท่านั้น พระทุกวัด ท่านจะไห้ศีล ไห้คนที่ไปทำบุญรักษาศีล
    ท่านจะไห้ศีลห้า บันดาญาติโยมก็จะรับศีล รับพร คนที่ไปทำบุญทีวัดจะทราบดี เป็นแบบนี้ทุกวัดทั่วประเทศไทย พระท่านวางพื้นฐานแบบนี้
    สอนไห้คนรู้จักสละออก ก็คือการทำทาน สอนไห้คนรักษาศีล ก็คือการไม่เบียดตนเอง และผู้อื่นพื้นฐานเป็นแบบนี้ทุกวัด สอนไห้คนรู้จัก สังคหวัตถุ ๔ ก็คือ รู้ จักแบ่งปัน เมื่อเรามีน้ำใจไห้เขา ผู้อื่นเขาก็จะมีน้ำใจไห้เรา
    เขาวางพื้นฐานกันแบบนี้ ทั่วประเทศ..
    ______________________________________________________________________________________
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 11 กันยายน 2011

แชร์หน้านี้

Loading...