ธรรมะมหัศจรรย์ ตามรอยธรรมสมเด็จโต

ในห้อง 'สมเด็จโต พรหมรังสี' ตั้งกระทู้โดย na_krub, 12 ตุลาคม 2017.

  1. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,917
    EF4D75FD-8C47-4FA8-86F3-9C0DCCE893A2.jpeg

    โอกาสที่เราจะได้มาฟังธรรม ได้มาปฏิบัติมาได้มาเจริญมนต์กันก็มีโอกาสน้อย ใช่มั้ยจ๊ะ นั้นจงเห็นคุณค่ามัน ใช้สถานที่ก็ดี ใช้กายก็ดี ใช้ลมหายใจให้เป็นประโยชน์ให้มาก เพราะหลังจากเรานั้นไม่มีลมหายใจเข้าออกติดวิญญาณเราแล้ว เราก็ยังมีที่พึ่งคือคุณงามความดีที่เราได้ทำไว้นั้นเป็นสรณะ เป็นวิหารแห่งธรรมที่จะอยู่ได้ เป็นเครื่องอาศัยหล่อเลี้ยงให้เรานั้นประพฤติพรหมจรรย์ได้

    ก็เอาอารมณ์ของจิตทั้งหลายที่เราเข้าถึงแล้วในพระรัตนตรัยนั้นในธรรมนั้น ก็พิจารณาละมันลงไป จนเห็นสภาวธรรมทั้งหลายนั้นมันก็ไม่เที่ยง แม้จิตจะว่าเป็นจิตก็หาใช่ไม่.. สภาวธรรมเมื่อเข้าถึงความว่างแล้ว จะว่าเป็นจิตก็ไม่ได้ เพราะเราเข้าถึงความสงบแล้วเราต้องวางทุกอย่างไว้ เมื่อนั้นแลจิตเราจะเข้าถึงการพ้นจากสภาวะในความคิดก็ดี ในการปรุงแต่งก็ดี

    ดังนั้นอันว่าจิตว่างนี้..ไม่ได้ว่างจากตัวรู้ แต่จิตที่ว่างมันว่างจากอัตตา "อัตตา"มีอะไรบ้าง ความคิดก็เป็นอัตตาอย่างหนึ่ง รูป เวทนา สัญญา สังขารทั้งหลายเป็นอัตตาทั้งนั้น เพราะจิตยังเข้าไปยึดอยู่..

    นั่นหมายถึงว่าจิตไปยึดอารมณ์ใด..เรียกว่าอัตตาทั้งนั้น จิตละวางอารมณ์ใดก็ตามแม้สภาวะใดสภาวะหนึ่งก็ตาม..ก็เรียกเป็นอนัตตาได้หมด เข้าใจมั้ยจ๊ะ ทีนี้อัตตากับอนัตตานี้มันยังแยกกันไม่ออก คือมันยังไม่ถาวร..แล้วจะทำยังไง เราก็ต้องเจริญนิโรธให้มันเกิดขึ้นอยู่บ่อยๆ เกิดขึ้นอยู่บ่อยๆยังไง..นิโรธ

    นิโรธคือการดับทุกข์ อะไรที่เป็นเหตุแห่งใจให้เราเป็นทุกข์นั่นแล เราต้องกำหนดรู้มัน เมื่อเรากำหนดรู้แล้วมันจะค่อยดับลงไปเอง เช่นว่าความคิดก็ดี นั่นเรียกว่าตัวระลึกรู้ ตัวเท่าทันคือตัวสติ..ต้องฝึกให้มาก เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    เมื่อนิโรธบังเกิด..มรรคมันก็บังเกิด เพราะนิโรธคือตัวดับทุกข์ มรรคคือทางเดินออกจากทุกข์ ก็สภาวะจิตที่เห็นอารมณ์เกิดขึ้น..ตั้งอยู่..ดับไปในสภาวะความไม่เที่ยง..เค้าเรียกว่านิโรธ เมื่อเห็นอยู่บ่อยๆความไม่เที่ยงมันเป็นอย่างไร

    ขึ้นชื่อว่าความไม่เที่ยงนั้นคือตัวทุกข์ เป็นเหตุแห่งธรรมเหตุแห่งกรรมทั้งนั้น..เรียกว่าวิบากกรรม เมื่อเราเห็นความไม่เที่ยงอยู่บ่อยๆเราย่อมเห็นความเบื่อหน่ายได้..ทีนี้ญาณมันถึงจะบังเกิด

    ญาณตัวใดตัวหนึ่งใน ๑๖ ญาณนี้ใครได้เกิดขึ้นแล้ว ผู้นั้นย่อมสามารถจะไม่ต้องมาเวียนว่ายตายเกิดอีก นี่ก็คือความลับของจักรวาลที่มีแต่ในพระพุทธศาสนานั้นเท่านั้น..ที่จะสามารถออกจากจักรวาลนี้ออกไปได้

    นั้นคุกที่เราอยู่นี้ ถ้าใครคิดว่าหลงเพลินว่าเป็นสุขที่แท้จริง ก็จักไม่มีทางออกจากคุกนี้ไปได้ โลกมนุษย์นี้ขอให้โยมจำไว้ ไม่ได้มีมนุษย์อย่างเดียวที่อยู่ในโลกนี้ ในโลกอื่นดาวอื่นก็ยังมีมนุษย์โลกอยู่ แต่ชื่อว่ามนุษย์ต่างโลกนั้นหรือเรียกว่าต่างดาวนั่นเอง ก็ยังต้องหาทางออกจากทุกข์เช่นเดียวกัน..

    ขึ้นชื่อว่ามีขันธ์ ๕ หรือกองขันธ์เมื่อใด ย่อมมีทุกข์อยู่เมื่อนั้น คือต้องมีการจุติเกิดแล้วต้องรอวันดับคือวันตายนั่นเอง นั้นเมื่อเราไม่อยากตาย..เราก็ต้องอย่าไปเกิดอีก เมื่อเราไม่มีการเกิด..ความเสื่อมสลายสิ้นไปพังทลายไปก็จักไม่มี ภพชาติที่เราจะไปเสวยแห่งการจุติเกิดก็จักไม่มี..

    นั้นถ้าผู้ใดได้แล้วปฏิบัติแล้วมีความเพียรอย่างไรในกรรมฐาน ถ้าไม่เห็นความเบื่อหน่ายในการเกิดหรือละความเพลิดเพลินในสุขได้..ก็ยากยิ่งนักที่จะออกจากทุกข์ได้ แต่จงจำไว้ผู้ใดก็ตามที่เจริญในทาน ศีล ภาวนา ในพระกรรมฐานก็จะเห็นว่ากิเลสตัณหานั้นยิ่งมีมากขึ้น..ยิ่งมีมากขึ้น ขอให้จงจำไว้กิเลสตัณหายิ่งโยมมีมากเท่าไร..ยิ่งดี เพราะนั่นแลจะทำให้โยมนั้นได้เกิดสติเกิดปัญญา ถ้าเราไม่เห็นมันเลยสิจ๊ะ..ตัวนี้น่ากลัว เพราะมันทำให้เรามีแต่ความเพลิน มีแต่ความพอใจ มีแต่ความสุข

    ถ้าเราเห็นอีกฝ่ายหนึ่งว่ามันเป็นทุกข์เมื่อไหร่ ทุกข์และสุขมันจะประหัตประหารกัน มีการเปรียบเทียบกัน คือการมีสติและจิตนั้นเข้าไปพิจารณาธรรมเกิดขึ้น ค่อยๆละมันลงไป ละมันออกไป ลงไปๆจนมันดับลง..หมดเชื้อ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒
     
  2. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,917
    E6418E84-37DA-4E0C-B5C4-1B206AF84F04.jpeg

    วันนี้เรามาฝึกตัวผู้รู้ให้ตื่นให้เบิกบาน ให้จิตมันผ่องใส เพื่อจะเอาจิตเรานี้แล เอากายสังขารที่มีลมหายใจ มีเลือดเนื้อที่บิดามารดาท่านได้ให้เรามา บรรพชนวีรบุรุษผู้กล้าได้กอบกู้รักษาแผ่นดินนั้นให้เราได้เจริญบุญเจริญกุศล เพื่อต่ออายุพระศาสนาอย่างนี้

    ก็ขอให้โยมตั้งมั่นจิต ถือว่าเป็นโอกาสที่หาได้ยาก ก็ควรมีการขัดขืนต่อสู้กับขันธมารหรือพญามารที่มันจะบดบังดวงจิตให้เรานั้นหดหู่เศร้าหมอง จงเป็นสะพานเป็นกระแสบุญให้เค้า..เหล่าวิญญาณเหล่านั้นได้มาอาศัยมาเชื่อมต่อกับกระแสบุญแห่งพลังงานแห่งจักรวาลนี้

    ก็ขอให้จิตเรานั้นจงมีขันติธรรมขึ้นมา นั้นถ้าจิตนั้นมันยังอ่อน ก็ขอให้ภาวนากำหนดรู้ลมเข้าและออก เข้ายาวก็รู้ เข้าสั้นก็รู้ เมื่อรู้แล้วก็วางตัวรู้ไว้ที่กาย..ก็คือตัวจิต ก็เพ่งดูจิตอยู่อย่างนั้น ก็เอาอารมณ์ของจิตที่ยังไม่สงบนั้นแล คือวิตกวิจารอารมณ์นั้นออกไป จนเห็นว่าอารมณ์ทั้งหลายนั้น เมื่อจิตเข้าไปยึดมั่นแล้ว..จิตมันก็ทำให้ฟุ้งซ่าน

    ดังนั้นแล้วก็ต้องมีภาวนากำกับลงไป..อยู่อย่างนั้น จนจิตนั้นมันตั้งมั่น เมื่อจิตมันตั้งมั่นแล้วนั่นแล..สติมันก็ค่อยตื่น อย่างนี้เค้าเรียกว่าผู้รู้นั้นก็จะค่อยตื่นขึ้นมา ดังนั้นจึงเป็นของธรรมดา เมื่อจิตมันเรื่มตื่นแล้วให้สำรวมสติไว้ ยกจิตขึ้นมาไว้กลางหน้าผาก เพื่อที่เราจะมาตั้งต้น..

    เหมือนจิตเราอยู่ภูเขาสูง..เมื่อเราจะแผ่เมตตา นั้นกำลังแห่งความสูงนี้..เมื่อน้ำก็ดี ลมก็ดี สิ่งใดก็ตามเมื่อปล่อยลงไปแล้วย่อมมีกำลังมหาศาล ก็เหมือนจิตเรานี้เมื่อเราตั้งต้นรวบรวมกำลังจิตได้ เราก็จะแผ่เมตตาให้สรรพสัตว์ทั้งหลาย ดวงจิตวิญญาณทั้งหลาย บรรพชน ศัตรูหมู่มารคู่อาฆาตริษยาทั้งหลาย ให้เค้านั้นได้มาโมทนารับบุญกุศล ขอได้รับประโยชน์กับเราในขณะนี้ที่เราได้เจริญบุญเจริญกุศล

    แล้วขอวิบากกรรมใดๆที่เราทั้งหลายได้กระทำล่วงเกิน ไม่ว่าสัตว์ก็ดี มนุษย์ก็ดี ที่ล่วงมาแล้วก็ดี ไม่ว่าจะอยู่ในภพภูมิใด รูปนามใดก็ตาม จงมารับผลบุญ มาอโหสิกรรม ด้วยอำนาจผลบุญกุศลที่ข้าพเจ้านี้ได้ตั้งจิตตั้งเจตจำนงนี้ แผ่ไปให้ทั่วจักรวาลแสนโกฏิพิภพทั้งหลาย ทุกรูปทุกนามไม่ว่าจะอยู่ในภพภูมิใด ที่เสวยสุขอยู่ก็ดี เสวยทุกข์อยู่ก็ดี หากมีบุพกรรมมีวาสนาในบุญกุศลแห่งข้าพเจ้านี้ ที่ได้เจริญจิตตั้งจิตอยู่นี้ จงมารับมาโมทนากับกระแสบุญที่ข้าพเจ้านี้ได้กระทำอยู่ ได้เจริญอยู่

    ขออำนาจแห่งพระรัตนตรัยจงเป็นเแสงสว่างนำทางให้ดวงจิตดวงวิญญาณทั้งหลาย ได้พ้นสภาวะทุกข์ พ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดแห่งสรรพสัตว์สังสารวัฏน้อยใหญ่ทั้งหลายทั้งปวง ด้วยอำนาจผลบุญกุศลที่ข้าพเจ้าได้ทำอยู่นี้ เจริญอยู่ปฏิบัติอยู่กระทำอยู่นี้..ให้ตั้งจิตอธิษฐานไป

    จนจิตเราเริ่มเกิดความสว่างเกิดปิติและสุขนั้นแล ก็อาศัยอารมณ์แห่งปิติและสุขนั้นแล ทรงอารมณ์อันนั้นให้มันนานเท่านานตามที่เรานั้นปรารถนา อารมณ์เหล่านี้ อาการเหล่านี้ สภาวะแบบนี้ที่เกิดขึ้นในปิติสุขนั้นแล มันจะเป็นการรักษากายสังขารให้เรานั้น ช่วยขับโรคภัยไข้เจ็บ อุปัทวะทั้งหลาย เสนียดจัญไรทั้งหลายก็ตาม จะถูกแผดเผาด้วยอำนาจแห่งพุทธัง ธัมมัง สังฆัง ด้วยพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ

    ให้โยมนั้นตั้งจิตตั้งมั่นให้ดี อาศัยอำนาจแห่งพระรัตนตรัย บารมีของท่านสมเด็จโตเป็นกระแสเชื่อมต่อ ให้เข้าถึงพระรัตนตรัย จนจิตเราเข้าถึงความสว่างนั่นแล ให้จิตเราแผ่เมตตาออกไปให้สรรพสัตว์น้อยใหญ่ หากจิตมันมีความปรารถนาที่จะให้ เราก็แผ่ได้อยู่ตลอดเวลา ในขณะนั้นก็เหมือนว่าน้ำขึ้นแล้วเราจะตักได้เท่าไหร่ก็ตักได้นั้นเอง

    แต่กำลังจิตก็ดี ตัวที่จะเป็นสะพานเชื่อมต่อก็ดี กายก็ดี ใจก็ดี จิตเราก็ดี..ต้องตื่นรู้แล้ว อย่านั่งหดหู่เหมือนเต่าในกระดองอยู่ ต้องฝืนในวิบากกรรมในขันธมาร อย่าให้มันมาเหยียบย่ำ แล้วตัวของเราเองถ้าเรานั้นไม่ช่วยเหลือตัวของเรา ก็จักไม่มีใครช่วย มันเป็นโอกาสที่ดีที่เรานั้นจะได้ชดใช้ตัดทอนบ่วงหนี้กรรม..เป็นการชดใช้

    เมื่อเราได้ให้เค้าบ้างแล้วนั่นแล ต่างคนต่างไม่มีเวรพยาบาทต่อกัน เมื่อนั้นอุปสรรคก็ดีในทางโลกและทางธรรม เมื่อเราจะเจริญอธิษฐานจิตภาวนาอะไรก็ตามที ก็จะเกิดมรรคเกิดผล ไม่มีใครมาขัดมาขวางอย่างนั้นแล

    ดังนั้นจึงเป็นโอกาสที่ดี จงตื่นจากความมืดมิดที่ถูกขัง ดังนั้นให้อธิษฐานบุญกุศลที่เราสวดมนต์ภาวนามา ที่เราได้ประพฤติปฏิบัติมาในพระกรรมฐานใดก็ตาม ไม่ว่าจะกี่ชาติกี่อสงไขย จงมารวมกัน ณ บัดนี้ ขอจิตของข้าพเจ้าจงมีพลังเชื่อมต่อกระแสพระรัตนตรัยให้บังเกิดขึ้น..

    ที่บังเกิดขึ้น..จะรู้ได้อย่างไร ก็จิตเราเข้าถึงความสว่าง เข้าถึงความสุข เมื่อความสุขบังเกิดมันจะสลัดอารมณ์แห่งนิวรณ์กิเลสตัณหาอุปาทานนั้น..ให้มลายสิ้นไปในชั่วขณะหนึ่งนั่นแล เป็นการเปิดทางสามภพสามภูมิ ไตรภูมิทั้งหลาย แสนจักรวาลพิภพทั้งหลาย เมื่อเราจะแผ่ไปจิตเรานั้นก็จะมีกระแสแผ่ไปได้ไพศาลมากมายมหาศาล..ก็ตรงนี้

    ถ้าจิตเรายังไม่พ้นจากสภาวะของอกุศลของกิเลสมารทั้งหลายมาครอบคลุมในนิวรณ์อยู๋นี้ จิตเราแม้จะแผ่ออกไปมันก็ได้ไม่ไกล มันก็ไม่ต่างอะไรกับผู้ที่หาเช้ากินค่ำ หาเลี้ยงปากเลี้ยงท้องของตัวเองก็ยังไม่พอ แล้วเราจะไปแผ่เมตตาไปช่วยเหลือคนอื่นเค้าได้อย่างไร

    ดังนั้นแลเมื่อกายเราก็ดีอิ่มท้องแล้ว กายเราก็ดีสุขสบายแล้ว ถ้าเราคิดจะมีจิตเมตตากับผู้ใด เราก็สามารถทำได้ นั้น"กำลังจิต"จึงสำคัญมาก..

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒
     
  3. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,917
    6B785396-B4EC-4A21-BA6D-30CFF53704DD.jpeg
     
  4. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,917
    6FBE67C1-4756-4CC8-99A0-087F9AA1BD9D.jpeg

    สิ้นสุดแห่งโลกอยู่ที่ไหน ถ้าเราตามหา..ตามโลก ก็ไม่มีทางสิ้นสุด ที่สุดของโลกอยู่ที่กายวาจาใจ..นี่แหล่ะคือที่สุดของโลก ถ้าโยมยังมีระยะทาง..ไม่มีทางที่สิ้นสุด เข้าใจมั้ยจ๊ะ โยมต้องตั้งจุดศูนย์สูตรอยู่ในกายของเราถึงจะเป็นที่สุดของโลก ถ้าไม่อย่างนั้นไม่มีที่สิ้นสุดของโลก ในจักรวาลในกาแลคซี่ในพิภพนี้..ไม่มี ถ้ามีระยะทางเมื่อไหร่ นั้นก็เรียกว่ามีกรรมเมื่อไหร่..มีระยะทางเมื่อนั้น

    เค้าเรียกว่ามีระยะทาง..ทางเดินของกรรม นั้นที่สุดของโลกพระพุทธองค์ท่านบอกว่าอยู่ที่กายของเรา โยมดับกายได้..นี่แหล่ะคือโลกแห่งวัฏฏะ ถ้าโยมยังเดินอยู่จะเป็นที่สุดได้อย่างไร เพราะโลกนี้มันเดินไปเดินมามันก็เป็นวงกลมก็กลับมาที่เดิม ภพชาติในวัฏฏะก็เหมือนกัน เข้าใจมั้ยจ๊ะ หมุนเวียนอยู่อย่างนี้

    โยมต้องหยุดเดิน..แล้วโยมจะเห็นรอยเท้า ต้องหยุดเดิน หยุดรู้อยู่ในกาย หยุดรู้ที่ลมหายใจ ไอ้ตัวหยุดนี้แล..คืออะไร คือตัวสติ คนที่มีสติจะหยุดได้ เข้าใจอย่างนี้มั้ยจ๊ะ แต่ถ้ามันจะหยุดไม่ได้เพราะอำนาจแห่งแรงกรรม เข้าใจมั้ยจีะ

    เค้าจึงว่าแรงกรรมคือแรงเหวี่ยง เหมือนแรงเหวี่ยงของโลก แรงโน้มถ่วง ถ้าเราทำอะไรไว้มากมันมีความหนาแน่นมาก มันก็มีแรงเหวี่ยงมาก จะไปต่อต้านมันได้มั้ยจ๊ะ มันก็เป็นธรรมดามันต่อต้านไม่ได้ ใช่มั้ยจ๊ะ เพราะมันมีกำลังมาก เพราะมันสะสมกำลังมามากแล้ว ใช่มั้ยจ๊ะ ก็เหมือนถ้าโยมสะสมความเพียรไว้มากๆ เมื่อถึงที่มันจะบรรลุธรรม สติปัญญามันเกิดขึ้นในตอนนั้น โยมก็ตัดได้แบบนั้นเช่นเดียวกัน

    นั้นการสะสมทาน ศีล ภาวนาไป อบรมบ่มจิตเจริญความเพียร ทำพละทั้ง ๕ อินทรีย์ทั้ง ๕ ให้มันเกิดมากๆในความเชื่อความศรัทธา ในความเพียร ในขันติ มีสติให้มาก มีสมาธิให้มาก มีปัญญาให้มาก เมื่อมันถึงแล้วทุกอย่างโยมก็จะตัดได้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ แต่ถ้าโยมไม่ได้อบรมบ่มจิต ไม่ได้เจริญอินทรีย์ เจริญอิทธิบาท ๔ แล้ว..ไม่มีทางหรอกจ้ะ อะไรที่โยมไม่ได้ฝึกมา สิ่งที่โยมจะปรารถนามันจะเกิดขึ้นไม่ได้..

    นั้นก่อนที่โยมจะตายโยมฝึกไว้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ จงฝึกตาย..คนที่ฝึกตายแล้ว เมื่อฝึกตายจนชินแล้ว เมื่อถึงเวลาจะตายจริงโยมจะไม่มีความกลัว เพราะโยมชินแล้ว อะไรที่โยมไม่เคยฝึกไม่เคยชิน โยมจะมีแต่ความกลัว ทุรนทุราย เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    นั้นความตายที่แท้จริงมันไม่น่ากลัว ที่มันตายมันตายแค่กายสังขาร เหมือนบ้านเช่าที่โยมต้องย้ายไปอยู่ในภพภูมิใหม่เท่านั้นเอง นั้นโยมจงทำความเคยชินกับมันในความตาย ว่าความตายนี้ไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัว แต่ความตายนี้ต้องมาเกิดขึ้นกับเราอย่างแน่นอน เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ก่อนนอนให้โยมพิจารณาความตายเป็นอารมณ์ นั่นแลเค้าเรียกว่าอารมณ์ของพระอรหันต์ท่าน ให้พิจารณาร่างกายสังขารว่า ไม่ช้าไม่นานร่างกายสังขารนี้ก็ต้องมีการจรจากกันไป กายสังขารที่เราอยู่นี้เป็นเพียงชั่วคราว เมื่อดับจิตในกายสังขารเมื่อไหร่ เราจะขอไปพระนิพพาน ให้เราว่าไปอย่างนี้อธิษฐานไปอย่างนี้

    เราเอาจิตเราไปจับอะไรไว้ เมื่อถึงเวลาจิตเราจะพ้นในกาย จิตมันก็จะไปตามที่เรานิมิตไว้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ เพราะจิตมันต้องหาที่ยึดเกาะใหม่ หาภพใหม่ หาที่เสวยใหม่ นั้นไอ้จิตที่เราทำแบบนี้เพื่ออะไร..เพื่อความไม่ประมาทนั่นเอง เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ดังนั้นพิจารณาความตายเมื่อเรานั้นภาวนาจิตจนจิตสงบแล้ว ต้องการจะพักผ่อนกายสังขารแล้ว ให้อธิษฐานให้กายสังขารนี้ว่า หากเรานั้นละจากกายสังขารนี้ไปเมื่อไหร่ ขอไปที่ตั้งสุดท้ายที่เราจะไปของจิต ขอมีนิพพานเป็นที่ตั้งที่หมาย เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    นั้นที่ตั้งที่หมายที่จะเกิดพระนิพพานจะทำยังไง โยมต้องดับกายสังขาร เห็นโทษเห็นภัยในวัฏฏะว่ากายสังขารเป็นของชั่วคราว เป็นของที่รังของโรค เป็นของมีทุกข์มากมีสุขน้อย เมื่อถึงที่สุดของกายนี้ที่ดับแล้ว นี่ให้เราได้อธิษฐานแบบนี้ ข้าพเจ้านี้ขอจับพระนิพพานเป็นทีไปเบื้องหน้า เข้าใจมั้ยจ๊ะ และทำจิตนั้นให้ว่าง ความว่างที่เรากำหนดนิมิตหมายไว้นั่นแล แล้วมีจิตมีสติในขณะนั้น โยมจะจับต้องได้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    เพราะในขณะที่โยมวางจิตให้นิ่งให้สงบให้ว่าง แล้วปรารถนาเพ่งโทษในกายแล้ว จิตและกาย..รูปธรรมกับนามธรรมมันจะแยกออกจากกันในขณะนั้น เพราะในขณะที่โยมปรารถนาทำจิตให้ว่างแล้วอธิษฐานความปรารถนา เมื่อถึงจิตที่นั้นจะต้องแตกสลายจากกายสังขารนี้ไป จะไม่มีการรั้งรอหรือเสียดาย ก็ขอเอาจิตนี้มีนิพพานเป็นที่หมาย จิตโยมจะเห็นแสงอยู่ข้างหน้า แล้วในขณะที่โยมจะต้องตายไปจริงๆ แสงนั้นจะมารับโยม เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    โยมทำนิมิตไว้ให้เกิดขึ้น เพราะคนจะตายจะเกิดนิมิต ถ้าโยมไม่ได้เจริญความเพียรเลยไม่มีสติเลย ความหลงลืมก็ดี อวิชชาในกรรมก็ดีที่มันจะมาเบียดเบียนในภพภูมิที่มันจะไปเกิด มันจะเข้ามาเป็นนิมิต นั้นโยมทำจิตให้สว่างตื่นรู้ไว้ ให้ม้นชิน ให้เกิดตัวชินในการเจริญฌานนั้นแล เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    เมื่อจิตโยมถึงจะดับกายสังขาร เมื่อกำหนดจิต มีฌานเป็นที่หมาย เป็นที่ข่มอารมณ์ได้..กายมันจะระงับ เมื่อกายมันระงับนั้นแล..สติมันจะตั้งมั่น เมื่อสติตั้งมั่นแล้ว ขอให้ดูกายอยู่ในลมอยู่ในกายนั้น จนธาตุทั้ง ๔ นั้นมันสลายแตกดับออกไป จิตที่โยมจะไปที่หมายมันก็หลุดออกจากกันทางนั้น จะหลุดโพลงออกจากกันทันที เข้าใจมั้ยจ๊ะ ชั่วขณะจิตเดียว นั้นการฝึกจิตนี้จึงสำคัญมาก มีประโยชน์มาก..

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒
     
  5. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,917
    B3F3A25B-6ED6-4861-A561-05605E0C382E.jpeg

    ไม่มีอะไรที่โยมจะตามหาแล้วมันจะมีอยู่จริง นอกจากทางเดินแห่งมรรค ทางเดินอื่นสิ้นสุดแห่งปลายทางคือเป็นของว่างเปล่า แต่ทางเดินแห่งมรรคสิ้นสุดแห่งการเดินทางมันไม่ใช่ของว่างเปล่า แต่ม้นจับต้องได้..คือมันเอาไปได้ แต่อย่างอื่นเอาอะไรไปไม่ได้เลย

    ดังนั้นเมื่อเรามีโอกาสมาบำเพ็ญจิต มาเจริญพรหมจรรย์ มาเจริญความดี ฉันจึงบอกว่าเวลาในขณะนี้จึงมีค่าที่สุด ไม่มีอะไรจะมีค่าเท่ากับเวลาในขณะนี้ เพราะเวลาอื่นที่ล่วงมาแล้วก็ไม่สามารถไปย้อนเวลาได้ ไม่สามารถไปกำหนดเอามาเป็นนิยายได้

    แต่เวลาในขณะนี้ภพในขณะนี้..เราสามารถกำหนดกรรมได้ กำหนดรู้ได้ อธิษฐานจิตได้ กำหนดชะตากรรมในภายภาคหน้าได้ นั้นอะไรที่โยมนั้นพอที่จะทำอะไรได้..ก็ขอให้ทำ

    อันดับแรกขอให้ทำใจให้ได้ก่อน เมื่อเราทำใจได้เราก็สามารถไปต่อได้ ถ้าเราทำใจไม่ได้จะทำอะไรต่อไปก็ทำได้ยาก การทำใจที่ฉันกล่าวก็คืออะไร คือการปลงใจให้ได้เสียก่อน ที่เสียอะไรไปแล้วก็ขอให้เสียไป ขอให้ทำใจ ที่ไม่ได้ดั่งใจก็ขอให้ปลงใจ ที่อะไรที่มันขัดใจก็ให้ทำใจเสียให้หมด คือวางทุกสิ่งทุกอย่างไว้

    นั่นแหล่ะเค้าถึงได้บอกว่า เมื่อเราจะเจริญสมาธิเจริญภาวนาเจริญพระกรรมฐาน เค้าบอกว่าให้ทิ้งทุกตำรา..ไม่เอาครูอะไรเลย เมื่อเรายึดมาสิ่งใดสิ่งหนึ่ง..สิ่งนั้นแลจะเป็นตัวขัดขวางในการเจริญสมาธิ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    เอาอะไรเป็นที่ตั้ง..เอา"สติ"คือตัวระลึกได้ เอาครู..ครูของเราคือครูใหญ่..อยู่ที่ไหน..ก็คือ"กาย" เอามรดกตกทอดคือ"ลมหายใจ" ไอ้ดิน น้ำ ไฟ ลม ธาตุทั้ง ๔ นี้มันเป็นของอาศัย เหมือนกายนี้ก็เป็นของอาศัย

    คำว่า"อาศัย"คือเป็นของชั่วคราว ถ้าเราตระหนักตรงนี้ให้มากๆ แล้วโยมพิจารณาได้ว่า กายสังขารที่ประกอบธาตุขันธ์ขึ้นมานี้ มันเกิดจากธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม ถ้ามันเป็นอย่างนั้นจริงๆ เมื่อสักวันหนึ่งกายเรานี้ต้องแตกดับ ธาตุขันธ์แห่งดิน น้ำ ไฟ ลมที่มันประชุมธาตุกันแล้วมันก็ต้องสลาย แตกออกไปตามธาตุของมัน

    อย่างนี้แล้วร่างกายจะสักว่าเป็นร่างกายได้หรือไม่..ก็หาว่าเป็นเช่นนั้น แสดงว่ากายนั้นก็สักแต่ว่าเป็นกาย จะว่าเป็นของเราได้หรือไม่ เป็นของเราแต่ไม่ใช่เรา คำว่า"เป็นของของเราแต่ไม่ใช่เรา" แม้ลูกเมียลูกผัว ทรัพย์สมบัติที่โยมได้มา ตกทอดมาเป็นมรดกที่ดินก็ดี ว่าเป็นของๆเราแต่ว่ามันไม่ใช่ของเรา

    ถ้าเราลองพิจารณาดูย้อนเข้าไปในกายสังขาร มันก็สามารถระงับอารมณ์ได้ ให้จิตนั้นมันตื่นรู้ว่ากายของเรา แต่มันก็ไม่ใช่เรา ทำไมถึงบอกว่าไม่ใช่เรา เมื่อเรากำหนดรู้ได้อย่างนี้แล นี่เค้าเรียกว่าปัญญามันบังเกิด เมื่อปัญญามันบังเกิด..วิปัสสนาญาณมันก็บังเกิด

    ดังนั้นวิปัสสนามันจะบังเกิด ปัญญามันจะบังเกิด..เราต้องกำหนดรู้ในเหตุแห่งทุกข์ที่บังเกิดขึ้น ในสิ่งที่เราสงสัย อันว่าวิปัสสนาญาณเราก็ไปพิจารณาว่า กายนี้มันเป็นของเราแต่ไม่ใช่เรา..มันไม่ใช่อย่างไร สิ่งไหนที่มันเป็นของเรา สิ่งนั้นต้องยังคงอยู่ตามที่เรานั้นปรารถนา แล้วไม่ดับสลายไป ติดตามเราไป ไปทุกหนทุกแห่งไม่ว่าจะไปสัมปรายภพ หรืออยู่ที่ภพภูมิใดก็ตาม ไม่ว่าเรานั้นจะไปจุติไปเสวยวิบากกรรมยังไงก็ตาม..แล้วตามไปกับเราได้นั่นแล อันนั้นเป็นของเรา

    แล้วสิ่งไหนก็ตามเราสามารถควบคุมได้ อันนั้นก็เป็นของเรา แล้วร่างกายสังขารที่ว่าเป็นของเรา..ที่ไม่ใช่ของเราเป็นอย่างไร ทีแรกมันเป็นของเรา เพราะเรายึดมันจึงเป็นของเรา พอเป็นทุกข์เราก็จะไม่อยากได้มัน ตอนแรกมีสุขเราอยากได้มาเป็นของเรา พอกายมันป่วย กายมันเจ็บ เสวยวิบากกรรรม เราจึงไม่อยากได้ นั่นบอกว่าไม่ใช่ของเรา

    ก็ตอนแรกเราไปทึกทักว่าเป็นของเราแล้ว เมื่ออย่างนั้นแล้วมันจึงว่าเป็นกรรมสิทธิ์ พอเราทุกข์มีเวทนาเกิดขึ้นแล้วบอกว่าไม่ใช่ของเรา ดังนั้นก็ให้พิจารณาดูในสิ่งนี้ให้มาก ว่ากายของเราแต่ไม่ใช่เรา มีเราเมื่อไหร่..ก็มีทุกข์เมื่อนั้น ไม่มีเรานั่นแล..ก็ไม่มีทุกข์

    แสดงว่าเรานี้คือสรรพนาม เราจะใส่เป็นอะไรก็ได้ ใช่มั้ยจ๊ะ ว่าเรา..เป็นสัตว์สิ่งของ เป็นบุคคลนั้นบุคคลนี้..นั่นว่าเรา แสดงว่าเรานี้..มันยังยึดไม่ได้ ดังนั้นแล้วเมื่อไม่มีเรานั้นแลมันก็จักไม่มีตน เมื่อไม่มีตนมันก็ไม่มีเรา เมื่อไม่มีเราไม่มีตน พ้นตนได้..ก็พ้นทุกข์ได้ ก็เหนือโลกได้

    เราจะทำยังไง แล้วอะไรมากระทบเราได้บ้าง มีอะไรมากระทบเราแล้วเรานั้นเป็นทุกข์นั่นแหล่ะจ้ะ เพราะเรายึดในเรามาก..สิ่งที่เข้ามามันก็มีผลกับเรามาก

    โลกธรรม ๘ เราจะข้ามมันพ้นหรือไม่ อารมณ์ที่มากระทบเล่าเราจะข้ามพ้นได้มั้ย นั้นเมื่อมีเราก็ยังมีทุกข์อยู่ร่ำไป เมื่อเราเห็นว่าไม่มีเรานั่นแลมันก็สิ้นทุกข์ได้ ดังนั้นจงไปพิจารณาในวิปัสสนาญาณว่า ในกายนี้เราไม่สามารถบังคับบัญชามันได้ ไม่ให้มันเจ็บ ไม่ให้มันป่วย ไม่ให้มันเสื่อม..นั่นแลจึงเรียกว่าไม่ใช่เรา ตอนแรกมันเป็นของเราเพราะว่าความไม่รู้..จึงว่าเป็นเรา เป็นสัตว์สิ่งของ เป็นบุคคล เพราะว่าความไม่รู้

    เพราะความไม่รู้นี้แลจึงทำให้สัตว์ก็ดี มนุษย์ก็ดี ได้จุติเกิดกันอยู่อย่างนี้ เกิดจากความพอใจ อารมณ์แห่งความพอใจไม่พอใจนี้แล จึงทำให้กำเนิดภพขึ้นมา ชาติที่เข้าไปเสวยในอารมณ์ มันจึงเป็นอายุขัยของสัตว์ ของสัตว์นรก และมนุษย์โลกทั้งหลาย เมื่อเราละจากความพอใจได้นั่นแล เมื่อไม่มีความพอใจไม่มีความอยาก เราก็จะตัดภพตัดชาติไม่ต้องมาเสวยได้

    นั้นถ้าโยมต้องการประพฤติปฏิบัติไปเพื่อสู่ทางพ้นทุกข์ โยมต้องมีความปรารถนา หรือเรียกว่ามีปณิธาน ปณิธานคืออะไร..ก็คือการอธิษฐานจิตปรารถนาหวังการพ้นทุกข์ นี่คือสิ้นสุดแห่งทางเดินแห่งมรรค ถ้าเรายังไม่ได้ปรารถนาอธิษฐานจิตเพื่อจะบำเพ็ญประพฤติปฏิบัติไปเพื่อทางสิ้นทุกข์แล้ว ทางแห่งมรรคของโยมจะไม่มีวันแจ้งได้..

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  6. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,917
    BC8D20D2-EE11-40D6-9872-AC039D0D5A16.jpeg
     
  7. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,917
    ACC55703-A88F-40E2-85F2-58C20DD531B2.jpeg

    การที่เรามีกาย..เราก็ต้องเอากายเรานี้ฝึกให้มันมากๆ เพราะถ้าเราไม่มีกายแล้ว ก็สิ่งที่เราฝึกจากกายนี้แลจะเป็นครูเป็นทรัพย์สมบัติแห่งธรรมต่อไปในภายภาคหน้า ให้จิตเรานั้นเป็นที่อยู่อาศัยเป็นเครื่องรู้และพิจารณาอารมณ์ในขันธ์ ๕ แม้ว่ากายสังขารเราไม่มีแล้ว ก็อารมณ์นั้นยังเรียกว่าเป็นขันธ์ ๕ อยู่ อารมณ์แห่งรูป เวทนา แห่งความรู้สึกนึกคิด เรายังพอใจ ไม่พอใจ ยังตัดละไม่ได้นั่นแล..ก็ยังเป็นขันธ์ ๕ เราอยู่

    เมื่อโยมตัดละไม่ได้ ยังวางไม่ได้..ภพชาติก็ยังบังเกิดอยู่ แต่เมื่อเรามีภูมิธรรมที่เราประพฤติปฏิบัติ เมื่อเรานั้นดับกายสังขารไปแล้วตามอายุขัยมันหมดไป แต่จิตเรานั้นต้องเดินทางต่อไป แล้วถ้าจิตโยมนั้นมีภูมิธรรมมีต้นทุน มันก็สามารถเอามาประพฤติปฏิบัติต่อได้อย่างนี้

    ดังนั้นการที่โยมมีเวลาประพฤติปฏิบัติมากขึ้น สนิทในธรรมมากยิ่งขึ้น มันก็จะได้ประโยชน์ แต่ตรงกันข้ามถ้ามีเวลาปฏิบัติมาก เวทนาก็ดี ความง่วงก็ดีมันก็มีมากเป็นธรรมดา ความเกียจคร้านมันก็มีมากเป็นธรรมดา จึงเรียกว่าเป็นมารอย่างหนึ่งที่มาทดสอบ ถ้าไม่มีอะไรมาทดสอบเราเลย ไม่มีอะไรมาขัดขวางเราเลย อะไรที่ได้มาง่ายไม่เรียกว่าบารมี อะไรที่ได้มายากนั่นแลเรียกว่าบารมี ดังนั้นก็ขอให้เรานั้นค่อยๆฝึกสะสมอบรมบ่มจิตไป

    การที่เรานั่งในครั้งหนึ่งก็ดี บางทีความง่วงมันเป็นเวทนาอย่างหนึ่ง เราไม่สามารถข้ามมันได้ บางครั้งเราไม่มีความง่วงเลย แต่ข้ามเวทนาในกายไม่ได้อีก เห็นมั้ยจ๊ะ ฉันถึงได้บอกว่าไม่ว่าในสภาวธรรมนั้น..อะไรที่เกิดขึ้น ถ้ามันเป็นความง่วง โยมก็ต้องดูว่าความง่วงนั้นมันเกิดจากอะไร มันเกิดจากอินทรีย์เรานั้นไม่ผ่องใส ไม่ตั้งมั่น พละกำลังเราไม่พอ กำลังของจิตเราไม่พอ

    แม้โยมจะนอนพักผ่อนมาเต็มที่แล้วก็ตาม แต่ถ้ากำลังใจและอินทรีย์โยมนั้นมันอ่อน ไอ้ความง่วงมันก็ต้องเข้ามาคืบคลานเข้ามาอยู่ เราจะทำอย่างไรถ้าเรามีความง่วงมาก โอกาสที่โยมจะไปนั่งเจริญภาวนาเจริญปัญญา..มันยาก นั้นโยมต้องเปลี่ยนอิริยาบถ..ไปเดิน

    การเดินจงกรมก็มีหลายอิริยาบถ..ฝึกเดินแล้วแต่คนที่จะทำ เมื่อโยมมีความง่วงมากให้กำหนดรู้เดิน กำหนดรู้ว่าเดิน..จะเดินไปถึงสุดแค่ไหน กลับมาที่ตรงใดนั่นแลเรียกว่าจุดหมายปลายจงกรม โดยที่แค่กำหนดเดิน เดินให้มันเกิดความเร็ว เมื่อเดินเร็วๆได้แล้วจิตมันเริ่มสลัดจากความง่วงแล้ว ให้กำหนดที่อิริยาบถเดินคือเท้าเราก็ดี จะยกหนอก็ดี ย่างก็ดี สัมผัสพื้น เหยียบแล้วก็ดี หรือเราจะใช้คำกำหนดบริกรรมว่าพุทโธก็ดี

    แต่ที่จริงแล้วในขณะที่เราเดินยกหนอ..ย่างหนอ..เหยียบหนอ ทำดังนี้ทำช้าๆไปเสียก่อน เมื่อจิตมันเริ่มมีความละเอียดแล้ว สติสัมปชัญญะมันก็เริ่มรู้เท่าทันในอิริยาบถแล้ว ให้เราเริ่มก้าวเร็วๆ แต่เท่าทันในอิริยาบถที่เรากำกับได้นั่นแล จิตเรานั้นจะตั้งมั่นอยู่ในอิริยาบถเดินอย่างนี้..จนกายเราตั้งมั่น

    คำว่ากายตั้งมั่นกับจิตตั้งมั่นเป็นอย่างไร กายตั้งมั่นคือกายเราไม่โคลงเคลง เราเหยียบเราก็มีความตั้งมั่น บางคนกายไม่ตั้งมั่นพอกำหนดเดินไป เหยียบไปมีอาการเป๋หรือจะล้มก็ดี..นี่เรียกว่ากายไม่ตั้งมั่น

    กายที่ไม่ตั้งมั่นเป็นเพราะจิตเรานั้นกับกายนั้นยังไม่เป็นอันหนึ่งเป็นเอกัคคตาเดียวกัน เค้าเรียกว่าบางครั้งยังมีอารมณ์อื่นๆเข้ามาแทรก จิตยังส่งออกไปภายนอก หรือยังมีความคิดอุปาทานในขันธ์เข้ามา เหล่านี้แล..เค้าเรียกว่าจิตยังเป็นความเคลิบเคลิ้มอยู่อย่างนี้ ฉะนั้นก็ขอให้เราเดินให้เร็ว..

    ถ้าโยมมานั่งหรือว่าร่างกายมันเพลียอยู่ก็ดี นั่งไปแล้วโยมสัปหงกอยู่ก็ดี ก็รู้ว่าสัปหงกแต่ก็ยังฝืนนั่งไป..โยมจะไม่ได้อะไรเลย อะไรก็ตามในความเพียร โยมมีความเพียรมากแค่ไหนแต่ขาดซึ่งสติแล้ว..ความเพียรนั้นก็ไม่มีประโยชน์อันใด มันจะทำให้เกิดโยมท้อถอย หมดกำลังใจ

    ดังนั้นแล้วถ้าเรารู้ว่าเรานั่งไม่ได้ อินทรีย์เราอ่อน กำลังจิตเราอ่อน ให้เราไปเพิ่มกำลังจิตเสียก่อน ไปเดินภาวนา บทคาถาบทใดก็ตามถ้าเราไม่เดินกำหนดเท้า กำหนดอิริยาบถ ให้เดินภาวนาก็ดี..ก็ได้ทั้งนั้น

    การที่เราเดินแล้วมีสมาธิ คือให้รู้ว่าในขณะนี้เราทำอะไรอยู่นั่นแล เค้าเรียกเป็นการเจริญสมาธิอย่างหนึ่งคือการเดิน เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  8. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,917
    E53518AF-57B5-4D30-954F-EF4C940B8D32.jpeg

    การสวดมนต์เพื่อให้จิตมันจดจ่อในอักขระในบทสวด ให้จิตมันจดจ่ออยู่อย่างนั้น เข้าใจมั้ยจ๊ะ เมื่อจิตมันจดจ่อ..จิตจดจ่อมันทำให้จิตตั้งมั่น เมื่อจิตมันตั้งมั่น..ฌานมันก็บังเกิดโดยธรรมชาติของมัน สมาธิมันก็บังเกิด เมื่อมันจดจ่ออย่างนี้..แม้เวทนามามันก็จะมีขันติในตัว

    ถ้าโยมสวดแล้วไม่มีจิตจดจ่อไม่มีสมาธิ ความฟุ้งซ่านแห่งจิตมันก็บังเกิดขึ้น เดี๋ยวอารมณ์ทั้งหลายทั้งปวง ในการวิตกอารมณ์ที่ผ่านมาที่โยมยังไปปลงไม่ได้ในอารมณ์ทั้งหลาย..มันก็จะเข้ามาทีนี้ สวดๆไปมีความคิดเข้ามาแล้วทีนี้ จิตมันฟุ้งซ่านทีนี้ จิตส่งออกไปภายนอกทีนี้ มนต์ก็ขาดหายแล้วทีนี้ไม่รู้สวดไปถึงไหนแล้ว ตามไม่ทัน เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ดังนั้นเมื่อเราสวดมนต์อยู่..อย่าลืมว่าเรากำลังสร้างบารมีใหญ่ เพราะเมื่อเราสวดไปสวดไปจนจิตเราตั้งมั่น แล้วเข้าใจในคำสวดเมื่อไหร่..ข้ออรรถข้อธรรมมันก็บังเกิดขึ้น วิปัสสนาญาณมันก็บังเกิด ธรรมมันก็บังเกิด เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ไม่ใช่ว่าโยมมาสวดนี้สวดไปอย่างนั้นให้ผ่านไป..ไม่ใช่อย่างนั้น เพราะหนึ่งในข้อที่มนุษย์ทั้งหลายผู้ปฏิบัติที่จะเข้าถึงธรรมบรรลุธรรม หนึ่งในนั้นมีการสาธยายมนต์ เข้าใจมั้ยจ๊ะ แล้วเป็นการเจริญบารมี ๑๐ ให้มันเกิดขึ้น..เพื่อให้เกิดทาน เราเอาร่างกายสังขารมาประพฤติปฏิบัติ มาสวดมนต์..นั่นเป็นทานมั้ยจ๊ะ (เป็นเจ้าค่ะ)

    ทานนี้เราไม่ได้เจาะจงจำเพาะว่าใครมาบังคับให้เราสวด หรือจ้างมาอย่างนี้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ เสียงที่เรานั้นสวดไปเมื่อคำสรรเสริญในพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ ในคุณงามความดีของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในพระขีณาสพทั้งหลาย พระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ พระสุปฏิปัณโณนั้น..ที่เราสวดสรรเสริญนี้แล เค้าเรียกเป็นของมงคล

    เมื่อเรากล่าววาจาที่เป็นมงคลออกมาจากปากเรานี้ เทพเทวดาทั้งหลายเค้าก็มาโมทนา มาสดับ มายินดี เกิดความร่มเย็นเป็นสุข นี่เรียกว่าทาน..การให้เสียงธรรมเป็นทาน เสียงสวดมนต์นี้แลเค้าเรียกว่าเสียงแห่งธรรม เข้าใจมั้ยจ๊ะ เพราะว่าจิตของมนุษย์นี้ เมื่อใครนั้นได้สดับได้สวดก็ดีจนจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ จิตจดจ่อในอักขระในบทที่สวดอยู่นี้ สมาธิมันก็บังเกิด ฌานมันก็บังเกิด วิปัสสนาญาณมันก็บังเกิดได้เช่นเดียวกัน

    บางคนสวดจิตไม่ได้มีสมาธิ แต่คนที่ฟัง..ไม่ได้สวดดันเป็นสมาธิ เห็นมั้ยจ๊ะ เป็นทานมั้ยจ๊ะ อ้าว..ดังนั้นโยมอย่าคิดว่าอานิสงส์มันไม่ใหญ่ เพราะขณะเราสวดอยู่ แว่วเสียงสวดมนต์มันทำให้จิตของมนุษย์หรือใครก็ตามที่ได้ยินแล้ว อาจจะเกิดความสงบเกิดขึ้น ญาณก็บังเกิด สมาธิก็บังเกิดที่เค้าสะสมมานี้ มันเป็นทานทั้งนั้น

    ทานนี้เค้าเรียกว่าไม่เจาะจง จึงเรียกเป็นสังฆทาน เป็นวิหารทานอย่างหนึ่ง จึงเรียกว่าเป็นธรรมทาน แสดงว่าการสวดมนต์มีอานิสงส์สูงมั้ยจ๊ะ (สูงเจ้าค่ะ) อ้าว..ถ้าบทสวดมนต์ไม่สูง..คนที่รักษาศีลจะมาสวดได้ยังไง หรือคนบ้าจะสวดได้มั้ยจ๊ะ (ไม่ได้เจ้าค่ะ)

    นั้นเจตนาแห่งการสวด..สวดไปเพื่ออะไร สวดไปเพื่อให้เข้าถึงความสงบ สวดเพื่อขับไล่ขจัดสิ่งที่ไม่ดี สิ่งที่ไม่ดีคืออะไร ไหนลองบอกซิจ๊ะว่าสิ่งที่ไม่ดีมันคืออะไร บางคนบอกว่าอ๋อ..สวดขับไลคุณลมคุณไสย อันนี้สิ่งไม่ดีใช่มั้ยจ๊ะ โยมต้องรู้ด้วยว่าไอ้พวกนี้มันมาจากสิ่งที่ไม่ดี เพราะเราเคยทำไว้

    แท้ที่จริงแล้วการสวดมนต์ที่มันขับไล่..ขับไล่ตัวที่มันเป็นตัวขัดขวาง อุปสรรคขันธมาร ไอ้พวกนิวรณ์ ความง่วงก็ดี ความขี้เกียจ เค้าเรียกว่าขับไล่ผีขี้เกียจออกไป เข้าใจมั้ยจ๊ะ ผีมันจะพาโยมไปหลับนอนตลอดเวลา ไอ้ขันธมารนี้มันไม่อยากให้โยมนั้นพ้นจากมันไปได้ เพราะอะไรเล่าจ๊ะ มันอยากเสวยสุขอย่างนี้ตลอดนานๆ เข้าใจมั้ยจ๊ะ มันอยากนอน มันอยากกิน มันอยากเพลิดเพลินอยู่ในกามคุณ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา อยู่อย่างนี้เป็นภพเป็นชาติ มันติดอยู่อย่างนี้ไอ้ขันธมารนี้ ไอ้วิญญาณที่มันสิงอยู่มันก็อยากเสพอยู่อย่างนี้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    นั้นการสวดมนต์เป็นการขับไล่หรือเปล่า..เราไม่ได้ขับไล่เลย แต่มันทำให้จิตเราตื่นขึ้นมา เมื่อเราตื่นขึ้นมาเราก็จะเห็นความสังเวช สลดหดหู่ใจว่า โอ้..เรานอนก็มามากแล้ว กินก็มามากแล้ว เกิดตายก็ไม่รู้เท่าไหร่ ถ้าเรามีการเกิด..ที่ผ่านมาเราก็ต้องตาย มาปัจจุบันนี้เราเสวยทุกข์แบบนี้ แสดงว่าที่ผ่านมาเราก็มีทุกข์แบบนี้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ ให้เราพิจารณาลงไป..

    เพราะการสวดมนต์แล้ว หนึ่งมันจะตัดนิวรณ์ลงไป เมื่อสวดมากๆแล้วจิตมันจะตื่นสว่างมีกำลัง ความง่วงหายไปมั้ยจ๊ะ แล้วขณะนั้นโยมกำลังคิดสงสัยลังเลอะไรมีมั้ยจ๊ะ (ไม่มีค่ะ) นั่น..จิตมันตั้งมั่น เค้าเรียกว่าจิตตอนนั้นจิตโยมเป็นกุศล จิตเป็นกุศล..จิตไม่มีอกุศล ไม่มีอาฆาตพยาบาท จึงบอกว่าในขณะนั้นจิตที่เป็นจิตบริสุทธิ์ก็ว่าได้ จิตที่บริสุทธิ์อย่างนี้เมื่อเราอธิษฐานจิต เพียงเรากำหนดจิตนั้น จิตมันเป็นบุญ เราปรารถนาให้ใครด้วยความบริสุทธิ์..บุญนั้นมันก็เข้าถึง

    ดังนั้นในการสวดมนต์นั้นที่โยมต้องมาสวดกันเป็นวรรคเป็นเวร ถ้าโยมสวดเอาสนุกจักได้ประโยชน์น้อย เข้าใจมั้ยจ๊ะ มีประโยชน์หรือไม่..มี แต่มันไปมีประโยชน์กับบุคคลอื่น หรือในโลกทิพย์ก็ดี แต่ประโยชน์โดยตรงกับเราแท้ๆที่เรานั้นสร้างบุญขึ้ันมา แต่เรานั้นได้รับผลน้อย ถามว่ามันคุ้มมั้ยจ๊ะกับผลที่เราเหนื่อย

    นั้นการที่โยมสวดลงไปสวดลงไป แม้ว่ามันเจ็บปวดเมื่อยในร่างกาย ขอให้โยมกำหนดรู้ก่อน เมื่อโยมกำหนดรู้ในกายน้้นแหล่ะ..ก็เป็นกรรมฐานเมื่อนั้นเลยทันที เห็นมั้ยจ๊ะ ทีแรกการสวดมนต์จะเป็นสมถภาวนา จะสวดหรือจะภาวนาเป็นสมถะทั้งนั้น พอรู้สึกเจ็บรู้สึกเมื่อย กำหนดเข้าไปในกาย ข่มจิตลงไปด้วยการจดจ่อมนต์ลงไปอีก กลายเป็นการเจริญกรรมฐานวิปัสสนาเกิดขึ้นทันที เห็นมั้ยจ๊ะ

    ไม่ใช่ว่าพอเจ็บปุ๊บก็ขยับปั๊บอย่างนี้ คือไม่ได้กำหนดรู้เลย แต่ถ้าโยมจดจ่อในมนตราอยู่เมื่อไหร่ จิตโยมจะตั้งมั่นเป็นฌาน เข้าใจมั้ยจ๊ะ รู้ความเคลื่อนไหวของความที่ไม่นิ่ง เมื่อว่าจิตโยมสงบนั้นแล โยมจะเห็นความไม่นิ่ง ความไม่เป็นปรกติ ดังนั้นขอให้เห็นอานิสงส์ของการสวดมนต์..

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  9. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,917
    CA354B08-0028-49AF-8CF0-439018DDD7F7.jpeg

    การสวดมนต์ภาวนา ทาน ศีล ภาวนาเค้าเรียกเป็นมรรคทั้งนั้น ดังนั้นเมื่อมันเข้าถึงผลแล้วเราจะตัดอกุศลได้หยาบๆ นั่นเรียกว่าความชั่วเหล่าใดเราจะไม่ทำอีก แสดงว่าผลมันเกิดแล้ว มันให้เป็นกำลังแล้ว มันรักษาจิตเราแล้วอย่างนี้ สติเรามีกำลังแล้ว เข้าใจมั้ยจ๊ะ ทีนี้ความชั่วเหล่าใด..เราก็จะเริ่มเบื่อทางโลกไป

    คำว่าเบื่อทางโลกนี่..ไม่ได้บอกว่าจะหันหลังให้โลก ก็หาใช่เป็นอย่างนั้นไม่ คือคำว่า"เบื่อ"นี่คือรู้คุณรู้โทษในทางโลกแล้ว ในการเกิด..ก็จะสละแล้วนั้่นเอง เข้าใจมั้ยจ๊ะ อย่างนั้นผลจะเริ่มเกิดขึ้น คำว่า"เกิดขึ้น"นี้มันเพิ่งเกิดขึ้น แสดงว่าลูกมันยังไม่ใหญ่ ยังไม่สุกไม่งอม เมื่อมันสุกงอมเมื่อไหร่มันให้ผล โยมได้ชิมมันเมื่อไหร่ อันนั้นเค้าเรียกว่าอะไรจ๊ะ..รสแห่งธรรมปรากฏ นั่นเค้าเรียก"รสแห่งพระนิพพาน"

    ผลเมื่อเราปลูกขึ้นมาแล้วโยมอยากจะลองชิมมั้ยจ๊ะ..ผลไม้ที่โยมปลูก โยมก็ต้องอยากรู้ว่าที่มันปลูกไว้แล้วจะให้ผลยังไง มันปลูกยากปลูกเย็น ไม่รู้ปลูกมาเป็นร้อยชาติพันชาติ ไม่รู้จักโตซักที โดนมารกินไปหมด นั้นเมื่อปลูกมาในภพชาตินี้..ที่จริงโยมปลูกมาทุกชาติแล้ว แต่ปลูกแล้วโยมไม่รดน้ำพรวนดินมัน ไม่ได้ให้ความสนใจ เข้าใจมั้ยจ๊ะ เค้าเรียกปลูกทิ้งปลูกขว้าง คือยังไม่เข้าถึงความเชื่อความศรัทธา

    ดังนั้นแล้วคำว่าโสดาปัตติมรรคคือการเดินอยู่ ปฏิบัติอยู่ กระทำอยู่..นี่เรียกว่ามรรคทั้งนั้น มรรคคือทางเดิน ผลเค้าเรียกว่าสำเร็จแล้ว เข้าใจมั้ยจ๊ะ เค้าเรียกเป็นขั้นเป็นตอน เป็นภูมิธรรมอย่างนี้ นั้นก็คงต้องค่อยๆละค่อยๆตัดลงไป

    นั้นสิ่งที่โยมทำน่ะเป็นอุบายธรรมทั้งนั้น อะไรก็ตามที่ว่าเป็นอุบายธรรมที่ทำให้โยมนั้นเข้าถึง แสดงว่าอุบายธรรมเส้นทางนั้นสำคัญมั้ยจ๊ะ..สำคัญทั้งนั้น ดังนั้นแล้วที่โยมสวดมนต์ไป ภาวนาไป อธิษฐานไป แผ่เมตตาไป อโหสิกรรมไป เป็นส่วนหนึ่งของทางเดินแห่งมรรคทั้งนั้น เข้าใจมั้ยจ๊ะ เพื่อให้มันเกิดผล

    ผลว่าเข้าถึงความสงบ เข้าถึงสมาธิอย่างนี้ นั่นผลเกิดแล้ว เห็นมั้ยจ๊ะ แสดงว่าที่โยมกำลังสาธยายมนต์อยู่ ภาวนาอยู่ นั่นมรรคทั้งนั้น ทางเดินที่เราเดินอยู่ทั้งนั้น เพื่อให้จิตเรานั้นเข้าถึงความอ่อนน้อม เข้าถึงในพระรัตนตรัย แต่ว่าผลนั้นจะตั้งอยู่ตลอดไม่ได้ เพราะอะไรเล่าจ๊ะ เส้นทางเรายังไม่สม่ำเสมอ ศีลเรายังบกพร่อง ภาวนาเรายังไม่เป็นนิตย์ ยังไม่คุ้นเคยอย่างนี้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ดังนั้นฉันถึงได้บอกว่าสมาธิมันรักษาตลอดไม่ได้ เพราะพอโยมจะมาสวดมนต์มาเจริญกรรมฐาน โยมก็มารักษาศีลกันทีนึง แล้วในขณะที่โยมไปทอดจิตทอดกาย ไปเพลิดเพลินมาเนิ่นนาน พอเราจะมาควบคุมมันให้มันสงบ มันต้องใช้เวลามั้ยจ๊ะ มันก็ต้องอาศัยอุบายเช่นมนตราสวดให้มันเคลิบเคลิ้มจิต ให้มันเข้าถึง เดินจงกรมก็ดีอย่างนี้ นั่นเรียกเป็นอุบายแห่งธรรมทั้งนั้น

    นั้นบอกว่าสิ่งที่โยมทำมาทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นสร้างวิหารทานก็ดี ล้วนแล้วเป็นมรรคเป็นทางเดินทั้งนั้น คือเป็นสะพานเชื่อมต่อกระแสพระรัตนตรัย กระแสพลังงานแห่งพระพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ เข้าใจมั้ยจ๊ะ จึงว่าเป็นส่วนหนึ่งทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นสร้างองค์พระปฏิมากร พระพุทธรูป พระสมเด็จฯองค์เล็กองค์น้อย จะเป็นหินเป็นทรายเป็นอะไรก็ตาม เป็นมรรคทั้งนั้น เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    มรรคคือทางเดิน คือการกระทำ คือการปฏิบัติ ผลคือเข้าถึงสำเร็จแล้วอย่างนี้ แต่สำเร็จมันจะเป็นขั้นเป็นตอนของภูมิธรรม เข้าใจมั้ยจ๊ะ ถ้าภูมิธรรมมันสูงกำลังจิตมันก็มีมาก เข้าใจมั้ยจ๊ะ นั้นนิสัยของพระโสดาบันก็ดีถ้ายังเป็นมรรคอยู่ ยังเดินอยู่ ยังครองเรือนได้มั้ยจ๊ะ (ลูกศิษย์ : ได้ค่ะ) ยังมีความรู้สึกทางปฏิฆะ รูปราคะอยู่..มันเป็นของธรรมดา

    แต่เมื่อผลมันเกิดแล้ว โยมอิ่มเอมกับพวกนี้แล้ว มันจะมีความเบื่อหน่าย แล้วมันจะละสละลงไปเองเป็นของธรรมดาของจิต เข้าใจมั้ยจ๊ะ แต่ถ้าโยมไม่ได้ปรารถนาใฝ่หาในทางหลุดพ้น..จะไม่มีทางเบื่อหน่ายเลย เพราะยิ่งเสพยิ่งติด เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    นั้นสิ่งที่โยมทำอยู่เค้าเรียกทางเดินทั้งนั้น เดินมาไม่รู้เท่าไหร่ จนเท้าโยมน่ะหนากว่าหน้าโยมอีก ดังนั้นแล้วกิเลสมันหนากว่านั้น โยมเดินไม่รู้เท่าไหร่ เราเดินมาถ้านับระยะทางนับไม่ได้..คือการเกิดนับไม่ได้ นับได้ในชาตินี้คือนับได้ แล้วที่เหลือที่เราเกิดมาอีกเท่าไหร่เล่าจ๊ะ..นับไม่ได้เลย

    แสดงว่าโยมเดินทางแห่งมรรคอยู่เนิ่นนานไกลมาก กว่าจะมาถึงทาน ศีล ภาวนา กว่าจะได้มาสร้างบุญกุศลอันใหญ่..เดินทางมาไกลมั้ยจ๊ะ กว่าจะได้มาเจอพระไตรปิฎกแล้วได้นั่งเปิดอ่าน..ก็คือเจริญสมาธิภาวนาจิต นี่คือเรียกว่ากำลังเปิดอ่านพระไตรปิฎก กำลังได้ไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าอย่างนี้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ ถ้าโยมไม่ได้มานั่งอย่างนี้ ไม่ได้มาเจริญภาวนาจิต เค้าเรียกว่าเดินรอบๆ ไม่เคยได้เข้าไปในพระอุโบสถ เห็นพระประธานเห็นตู้พระไตรปิฎก เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ดังนั้นแล้วเมื่อโยมมีโอกาสอย่างนี้ เค้าเรียกว่าตายก็ไม่เสียชาติเกิดแล้ว นั้นโยมจงหยุดสงสัยได้เลยว่าที่โยมทำอยู่ ฟังธรรม คนที่ชอบฟังธรรมก็เป็นมรรค ชอบสวดมนต์ก็เป็นมรรค ภาวนาในจิตอยู่ไม่มีเสียงมีเสียงก็เป็นมรรค ทำบุญตักบาตรเป็นมรรคทั้งนั้น เข้าใจมั้ยจ๊ะ ให้อาหารปลาให้อาหารแมว ให้ทานสัตว์สิ่งของทั้งหลายเป็นมรรคทั้งหมด เข้าใจมั้ยจ๊ะ เพื่อจะก่อเกิดประโยชน์ให้มันเข้าถึงผล แห่งทานอานิสงส์หนุนนำให้เข้าถึงความเชื่อความศรัทธาให้เข้าถึงในพระรัตนตรัย ให้เข้าถึงพละทั้ง ๕ อย่างนี้

    อย่างนั้นโยมไม่ต้องสงสัยเลยว่าทำไมเราต้องมีจิตใจที่มีความอ่อนน้อม อยากจะภาวนาจิต อยากจะปฏิบัติธรรม อยากจะฟังธรรม อยากจะช่วยเหลือคนอย่างนั้นอย่างนี้ อยากไปทั้งหมด ไอ้ตัวอยากเหล่านี้หาใช่กิเลสไม่ เข้าใจมั้ยจ๊ะ แต่เป็นการปรารถนาแห่งความพ้นทุกข์ทั้งนั้น เพื่อสร้างกำลังจิตกำลังใจให้เข้าถึงปรม้ตถ์บารมี ถึงธรรมอันสูงสุด ดังนั้นแล้วถ้าทำอะไรทำให้สุดๆเข้าไป ทำให้เต็มกำลัง เข้าใจมั้ยจ๊ะ แม้ว่ามันจะมีเวลาไม่มากแต่ทำให้เต็มกำลัง แล้วที่ไม่มากของโยมพอโยมทำบ่อยๆมันมากมั้ยจ๊ะ มันจะมากไปเอง อย่าไปรอว่ารอมีเวลาแล้ว หมดห่วงทุกอย่างแล้วถึงพึ่งจะมา..อย่ารออย่างนั้น โยมตายห่าก่อน เพราะเทวดาก็ดี พระพุทธเจ้าท่านรอโยมไม่ได้หรอกจ้ะ ท่านต้องไปโปรดกับคนที่บารมีเค้าถึงแล้ว วาระเค้าถึงแล้ว เค้าไม่มาเสียเวลากับโยมอยู่

    ไอ้คนพวกนี้เทวดาเค้าจะไม่แยแสอะไรทั้งสิ้น เพราะว่าถ้าโยมยังไม่เห็นความสำคัญในบุญเลย เทวดาที่ไหนเค้าจะมาแยแสพวกโยม เพราะเทวดาเค้าก็อยากหลุดพ้นทั้งนั้น เค้ากลัวบุญกุศลในการเสวยบุญเป็นทิพย์ของเค้าจะหมดลงไป เค้าก็ต้องเสวยบุญหาบุญกุศลว่าไอ้คนไหนที่จะเป็นลูกเป็นหลานที่จะมีบุญกุศลพอที่เราจะไปเกาะเกี่ยวบุญได้ เพราะเราไม่มีกายสังขารที่จะสร้างบุญอีก มันทำให้เป็นไปได้ยาก แต่ไอ้ลูกหลานมนุษย์ทั้งหลายที่มันเกิดมา มันไม่เห็นความสำคัญของกายสังขารที่เกิดมาแล้วสร้างบุญกุศลได้..มันไม่เห็นค่าอย่างนี้ เพราะว่ามันยังมีความหลงอยู่

    ดังนั้นในการที่โยมเจริญทาน ศีล ภาวนา ทำบุญตักบาตรทั้งหลายทั้งปวงนั้น..เรียกว่าเป็นทางเดินแห่งมรรคทั้งนั้น เข้าใจมั้ยจ๊ะ ทางเดินอยู่แต่ยังไม่ได้เข้าไปกราบพระรัตนตรัย ยังไม่ได้กราบพระพุทธ ยังไม่ได้อธิษฐาน แต่ผู้ใดมานั่งเจริญภาวนาจิต..ผู้นี้เรียกว่าได้เคยอธิษฐานมาแล้วในชาติในอดีต เข้าใจมั้ยจ๊ะ เช่นปรารถนาไม่อยากเกิด ปรารถนาจะเป็นสาวกภูมิอย่างนี้ แต่เอาให้ง่าย คืออย่าให้ยากนัก..คือปรารถนาอย่าเกิดน่ะดีแล้ว ทำบุญอะไรก็ตามขอให้หมดกิเลสตัณหาไปเสียให้หมด เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    การเกิดยังไงก็เป็นทุกข์ เพราะเกิดเมื่อไรโยมต้องตาย ต้องมีความเสื่อม การมีสังขารมีขันธ์ยังไงก็ต้องเสื่อม ร่างกายมันเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา แล้วต่อไปขอให้โยมจงจำไว้มนุษย์โลกทั้งหลาย ณ เวลาบัดนี้ต่อไป จนกว่าที่โยมจะสิ้นอายุขัย และลูกหลานโยมเกิดขึ้นมา โรคภัยไข้เจ็บนั้นจะมีมากเบียดเบียนมากนั่นเอง อาหารการกินก็จะมีพิษมีภัยหมด เข้าใจมั้ยจ๊ะ ไม่ว่าจะเป็นน้ำดื่มอะไรก็ตาม เพราะฉะนั้นแล้วยิ่งเรารู้อย่างนี้แล้วทุกวินาที..เวลาที่สำคัญคือการประพฤติปฏิบัติพรหมจรรย์ให้เข้าถึง เข้าใจมั้ยจ๊ะ อันนั้นจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง เพราะเทพเทวดามนตราก็ดีจะช่วยกำจัดปัดเป่าพิษร้ายเหล่านี้ได้ คือการบรรเทาหรือทรงให้เรานั้นใช้สังขารนี้สร้างบารมี ให้มันเกิดประโยชน์ให้ถึงที่สุด เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  10. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,917
    9FDB40B1-EE59-4C21-A7EE-B2FE0F8175E0.jpeg

    เรามาเจริญกรรมฐานกัน..

    อันดับแรกเราต้องตั้งจิตตั้งใจขอขมากรรมต่อพระรัตนตรัยเสียก่อน เมื่อตั้งจิตอธิษฐานในกาย วาจา ใจที่เราได้ล่วงเกินคุณพระรัตนตรัยในสิ่งการใดก็ตามที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ในการใดก็ดี ให้ตั้งจิตอธิษฐานขอขมากรรม สิ่งใดที่เราไม่รู้จะว่าผิดเลยก็ไม่ได้ จะว่าไม่ผิดเลยก็ไม่ได้ สิ่งที่เราจะว่าผิดหรือถูกได้นั้น..คือเราต้องถอนมานะทิฏฐิ การถือตัวถือตนคือการถือดี คือวางจิตให้สงบแล้วก็ละอารมณ์เหล่านั้นที่ขุ่นเคืองในจิต

    แล้วอารมณ์ทั้งหลายที่ผ่านมาแล้วมันก็เป็นอดีตไปแล้ว ก็เรียกว่าตั้งใจเสียใหม่ ดังเช่นว่าคืนนี้เราตั้งใจมาเจริญพระกรรมฐาน มาเจริญบุญเจริญกุศล ในสิ่งการใดก็ดีที่ล่วงมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นกรรมชั่วทางกาย ทางวาจา ใจก็ดีที่ได้นึกคิดล่วงเกินผู้ใด หรือแม้จะล่วงเกินในธรรม ในครูบาอาจารย์ ในพระรัตนตรัยก็ดี ขอบุญกุศลที่ข้าพเจ้าได้มาเจริญทาน ศีล ภาวนานี้จงเป็นตบะ เดชา ให้ตัวของข้าพเจ้านั้นหลุดพ้นจากเวรพยาบาท เวรภัยทั้งหลาย ขอน้อมส่งบุญกุศลนี้จงสำเร็จประโยชน์ใหญ่ให้กับเจ้ากรรมนายเวร สรรพสัตว์ ดวงจิตดวงวิญญาณทั้งหลาย ไม่ว่าจะอยู่ในภพภูมิใดก็ตาม ขอให้เค้าเหล่านั้นจงมาโมทนาในผลบุญของเราในขณะนี้ เพื่อช่วยให้เปิดทางเปิดแสงสว่าง เปิดจิตเปิดญาณให้เกิดให้มีแก่ข้าพเจ้า จะได้น้อมนำเจริญในความเพียร เจริญปัญญาให้เกิดขึ้น ให้เห็นตามความเป็นจริงแห่งธรรม ให้ปรากฏชัด..คือตัวสติ ตัวระลึกรู้ได้ว่าในขณะนี้เรากำลังทำอะไรอยู่ ก็กำหนดรู้ที่จิตของเรา สภาวะจิตเราเป็นอย่างไร

    เมื่อสภาวะจิตเรารู้..ก็เรียกว่าเรารู้สภาวธรรม ก็เอาธรรมที่เกิดขึ้นในขณะนี้ เพ่งดูในอารมณ์ในอาการนั้น จนธรรมก็ดีที่เห็นในอารมณ์นั้นของจิต เกิดขึ้น..แล้วตั้งอยู่..แล้วดับไปของอารมณ์นั้น ก็ทำจิตให้มันว่าง วางอุเบกขาคือการวางเฉย คือไม่สนใจใดๆแล้วของอารมณ์ ไม่สนใจในกาย แต่แค่ทำความรู้สึกในกายทำความรู้สึกในลม เมื่อเรารู้ลมรู้กายแล้วเราก็วางลมไว้ในกาย แล้วก็ทรงจิตอยู่อย่างนั้น รู้ความกระเพื่อมของจิตของอารมณ์ที่เหนือสะดือศูนย์กลางกาย ใต้ท้องน้อย ดูลมเข้าลมออกพองยุบอย่างนี้ ดูความสงบนิ่งของจิต

    ไอ้ความนิ่งนี้ที่มันสงบนี้ที่เราต้องทำให้มันสงบให้มันนิ่ง..ก็เพื่อให้เราเห็นตัวที่มันยังไม่นิ่งมันเป็นอย่างไร ตัวจิตที่เป็นอกุศลมูล อารมณ์แห่งอดีต อารมณ์แห่งอนาคตที่จิตมันฟุ้งออกไป ความหดหู่เศร้าหมองของจิต ความเคลิบเคลิ้มของจิต ความลังเลสงสัยใดๆ ก็ให้กำหนดรู้ในอารมณ์นั้นแล้วพิจารณาละมันลงไป นี่เรียกว่าวิตกวิจาร เมื่อเราวิตกวิจารละอารมณ์ได้เสียแล้ว ไม่นานปิติสุขมันก็บังเกิด เมื่ออาการแห่งปิติสุขมันบังเกิดนี้มันจะทำให้จิตเราค่อยๆตื่นขึ้นมาทีละเล็กละน้อย..

    นั้นการจะข้ามสภาวะนิวรณ์ที่มันเป็นข้าศึกแห่งสมาธิ บางครั้งมันก็ต้องต่อสู้กันยาวนาน เหตุเพราะว่าการทรงศีลทรงสมาธิเราไม่สามารถทำได้อยู่ตลอดเวลา เมื่อเราจะกระทำจิตให้มันสงบมันก็เหมือนมาบังคับจิตนั่นแล ดังนั้นโดยธรรมชาติของจิตนั้นหาควรที่จะไปบังคับบีฑามันไม่ จึงต้องมีอุบายแห่งธรรมล่อหลอกให้จิตเรานั้นมีความเพลิดเพลินเสียก่อน ความเพลิดเพลินจิตเป็นอย่างไร..ก็คือมีอิทธิบาท ๔ คือมีความพอใจฉันทะในความเพียรในการที่เราจะประพฤติปฏิบัติในธรรม มันก็คือการอธิษฐานจิตที่เราจะประพฤติปฏิบัติธรรมให้เกิดมรรคเกิดผล เพื่อให้รู้ถึงสภาวธรรมของเราในบุญบารมีของเราเอง

    นั้นถ้าจิตก็ดีกายก็ดีมันอ่อนล้า ก็ขอให้เรานั้นกำหนดลมรู้อาการของอานาปานสติ นี่จึงเรียกเป็นกรรมฐานบทใหญ่ กรรมฐานคือการงานของจิต เป็นที่ตั้งมั่นของจิต ดังนั้นถ้าเราไม่กำหนดรู้จิตมันก็จะเคลิบเคลิ้มอยู่อย่างนั้น เมื่อจิตมันเคลิบเคลิ้มเพลินอยู่ในสุขอยู่ในกามสุข พวกตัวนิวรณ์นี้มันก็จะมีกำลังมาก เมื่อเราจะฝืนทำความเพียรมันก็เป็นการทรมานสังขาร เหตุดังนี้เรียกว่าทำให้สังขารมันเสื่อม

    ดังนั้นต้องทำอย่างไร ให้กำหนดรู้ลมเข้าลมออก ลมเข้าลมออกก็รู้ ทีนี้กำหนดลมเข้าให้สุดแล้ววางลมกักลมไว้ที่ลิ้นปี่ เราจะเอากำลังลมนี้ที่อยู่ภายในเรียกว่าดึงกระแสลมปราณของจิต รู้สึกว่าตั้งมั่นมากจิตนั้น..ให้เพ่งไปที่ศูนย์กลางกาย ไปที่กลางกระหม่อม ทั่วสรรพางค์กายก็ดี เพื่อให้จิตมันเกิดสติสัมปชัญญะ จะรู้สึกว่าขนลุกขนพองขนชันเกิดขึ้นนั่นแล เรียกว่าปลุกธาตุให้มันตื่น ก็เรียกว่าปิติก็ดีมันก็บังเกิด แล้วค่อยๆผ่อนลมหายใจทำความรู้สึกให้ทั่วพร้อมในกายนี้ ผ่อนกายสังขารลงมาเหมือนเรานั่งพักผ่อนกาย ไม่ต้องไปตึงเครียดอะไร ทำจิตให้มันสบายทำกายให้มันสบาย

    เมื่อกายมันก็สบายแล้วจิตมันก็สบายแล้ว เราก็จะมีความพอใจในการทำความเพียรหรือฉันทะ ไอ้ตัววิริยะนี้ก็คือขันติแห่งธรรม ขันติคืออะไร..คือความอดทนอดกลั้นต่ออารมณ์ต่อความขัดข้องใจ นั้นถ้าเรามีการอธิษฐานเข้ากรรมฐาน ปรารภปรารถนาจะมาเจริญความเพียรให้เกิดขึ้น แม้จะมีความหดหู่ความง่วงก็ดี เราก็สามารประคับประคองมันได้ นี่เรียกว่าเรารู้หน้าที่ เมื่อเราจะออกรบแล้วเราก็ต้องตั้งสติจับให้มันตั้งมั่น มันก็ต้องมีการฝืนกันบ้างเป็นครั้งเป็นคราวในครั้งแรก นั้นจิตถ้าเราไม่ฝืนทำความดี ไม่ฝึกฝนมันเลย มันก็จะกลายเป็นการเปิดช่องให้กิเลสมารทั้งหลายมันครอบงำจิต

    นั้นอันว่ากายสังขารมันอ่อนล้ามันจึงเป็นของธรรมดา แต่อย่าลืมว่าเราแค่มาอาศัยกายให้จิตมันทรงอยู่ได้ นั้นจิตที่จะทรงอยู่ในกายได้ก็คือฐานไหนที่เราวางแล้วจิตมันสงบ ถูกจริตแล้ว ถูกวาสนาทำให้บารมีมันเกิด คือความเชื่อตั้งมั่นในสิ่งที่ทำนั้นแล ถ้าจิตไม่พลัดพรากไปจากกายนั้นแล ก็เรียกว่าชื่อว่าเป็นกองของกรรมฐานทั้งนั้น ซึ่งว่าทำให้จิตมันตั้งมั่นทั้งนั้น ก็ลองดูกำหนดดู
    เมื่อเราทรงสติอยู่อย่างนี้ ยังไม่ต้องไปพิจารณาอะไรมันทั้งนั้น ประคองจิตทรงจิตอย่างนี้ให้มันมีกำลังเสียก่อน คือกำหนดรู้อยู่บ่อยๆ เมื่อเรามีสติตั้งมั่นความเพียรมันจะบังเกิดขึ้นเอง แต่ถ้าเรามีแต่ความเพียรขาดซึ่งสติเสียแล้ว ความเพียรอันนั้นที่เราทำไปมันก็จะเป็นความเหนื่อยล้า

    การว่าฝึกสติก็คือกำหนดรู้ รู้ที่ลมรู้ที่กาย รู้อยู่อย่างนี้ ดูซิว่าลมมันขัดข้องหรือไม่ ถ้าลมมันขัดข้องเราก็ต้องแต่งลมเข้าไปใหม่ ล้างลมเสียออกจากปอด เพื่อให้มันคลาย เมื่อจิตรู้ว่ามันสบายแล้ว อาศัยความสัปปายะของสถานที่ก็ดี ของความสันโดษ การตัดกังวล ก็จะทำให้จิตเรานั้นปล่อยวางโดยธรรมชาติของจิต แม้เราจะนั่งอยู่ ณ ที่แห่งนี้ อยู่ในหมู่คณะ แต่เมื่อจิตเรานั้นไม่ส่งออกไปภายนอก จิตเราก็จะเข้าถึงความวิเวกคือความสงบ

    ความสงบนี้แลเรียกว่าความสงัด เมื่อมันสงบสงัดดีแล้ว ก็อาศัยความสงบนั้นให้กำหนดรู้ในองค์บริกรรม ว่าพุทโธ ธัมโม สังโฆก็ดี อยู่ที่ลมหายใจ อยู่กับจิต อยู่ที่กาย นั่นก็คือการเจริญภาวนา คือเรียกกำลังจิต ฉันถึงบอกว่าเวลาใดๆที่เราทำสมาธิ อย่าได้ไปคาดหวังว่าสมาธิมันจะทรงตัวอยู่ตลอดเวลา เมื่อเราคาดหวังอย่างนั้น..ความผิดหวังย่อมมี มันจะทำให้จิตเรานั้นมีกังวล นั้นก็ขอให้มีสติในเฉพาะหน้า คือกำหนดรู้ว่าอะไรที่เกิดขึ้น ต้องรู้ในสภาวะจิตของตน ว่าจิตของตนตอนนี้ในขณะนี้เป็นอย่างไร นั่นเรียกว่าอาการของจิต

    เมื่อเรารู้อาการของมันแล้ว ก็ให้ทรงรู้อยู่ในอารมณ์นั้น จนเห็นอารมณ์นั้นเกิดขึ้นอยู่ ตั้งอยู่ และดับไปของอารมณ์นั้น เมื่อเห็นอย่างนี้ก็ทรงอารมณ์แห่งความสงบเข้าไปอีก ภาวนาเข้าไปอีก เมื่อมีอารมณ์เข้ามาอีกก็ให้กำหนดรู้ลมนั้น ดูลมอาการนั้นที่เกิดขึ้น..ตั้งอยู่..ดับไป ทำให้มันเกิดขึ้นอยู่บ่อยๆ นั่นเรียกว่านิโรธมันก็บังเกิด คือดับอารมณ์ได้

    ตัวดับอารมณ์นี้แล เมื่อไม่มีอารมณ์ให้เกิดขึ้น จิตจะเข้าถึงความว่างคือความสงบ ความนิ่ง นั่นก็เรียกว่าจิตมันจะรวมตัวเป็นหนึ่งเป็นเอกัคคตา เมื่ออย่างนั้นแล้วเมื่อกำหนดรู้อย่างนี้ เมื่อรู้มากๆเข้ากำลังแห่งตัวรู้นี้ จิตมันจะค่อยๆตื่นของมันเอง เมื่อจิตมันตื่นแล้ว ก็จะเห็นอาการเกิดดับของจิตของอารมณ์ คือเท่าทันในอารมณ์ที่เกิดขึ้น นั่นเรียกว่าจิตมันเบิกบาน

    ก็เอาจิตที่ตื่นและเบิกบานนั้นเสวยอารมณ์แห่งปิติสุขเสีย พอมีกำลังแล้วเราก็ละสุขและปิตินั้น เมื่อมันละสุขและปิติก็มีอารมณ์แห่งฌานเป็นเบื้องบาท คือจิตเข้าอุเบกขาฌาน จิตมันก็ตั้งมั่นมีกำลัง ก็ลองกำหนด..เค้าเรียกปรารภธรรมเกิดขึ้น การปรารภธรรมก็เหมือนการสนทนาพิจารณาแห่งจิตแห่งธรรมเกิดขึ้นภายใน

    พิจารณาธรรมที่เป็นอกุศลที่เรานั้นยังไม่ได้ตัด ยังละวางไม่ได้ พิจารณาธรรมสังเวชก็เพื่อให้มันน้อมจิตนั้นให้คลายความกำหนัด ความอยากได้ใคร่ดีที่เราไปหลงพอใจในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสนั่นแล นี่เรียกว่าเราจะได้เจริญญาณให้บังเกิด คือวิปัสสนาญาณ คือการพิจารณาธรรม คือละอารมณ์ ดับอารมณ์ในขันธ์ ๕

    เพราะว่ากายเมื่อมันดับสงบดีแล้ว จึงเรียกว่ามารมันได้พักผ่อน แต่เราจะเอาจิตที่เป็นกุศล จึงเรียกว่าจิตพุทธะนั้น เรียกว่าจิตที่ตื่นรู้จึงเรียกว่าจิตพุทธะ ก็เอาจิตพุทธะนี่แลเพ่งดูจิตนั้น จนทำให้จิตนั้นสว่างตื่นรู้ เมื่อจิตมันสว่างตื่นรู้ จิตนั้นแลมันก็จะสอนในตัวของมันเอง

    สอนอะไรได้บ้าง สอนให้รู้เหตุแห่งทุกข์ สอนให้เท่าทันทุกข์ สอนให้รู้เท่าทันทุกข์แล้ว..มันก็ต้องทำให้จิตนั้นมันคลายจากความเบื่อหน่ายในทุกข์ แล้วอะไรเล่าที่เป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ก็คือการเกิดแห่งภพชาติ ก็คือการที่เกิดมาแล้วมีกายสังขารนี้ จึงเรียกว่าเป็นทุกข์อย่างยิ่ง เราก็น้อมจิตเข้าไปละอารมณ์ในรูป ในความพอใจความไม่พอใจ ความถือดีถือตน ความยึดมั่นถือมั่นในจิต ในอัตภาพ ในขันธ์ ๕ นี้ ว่าเป็นตัวเราของเราอย่างนี้

    แท้ที่จริงแล้วลองพิจารณาดูซิว่า อันว่ากายสังขารทั้งหลายที่มันดำรงอยู่นี้ เราจะรู้ได้อย่างไรที่แท้ว่ามันประกอบด้วยอะไร เรารู้ที่มาที่ไปของมันหรือยัง แท้ที่จริงแล้วมันก็สักแต่ว่าเป็นกายขึ้นมา ด้วยอำนาจแห่งธาตุดิน น้ำ ไฟ ลมประชุมธาตุ มีอากาศธาตุจิตวิญญาณธาตุประชุมจุติเข้าไป จึงทำให้เกิดกายสังขาร

    เมื่อปราศจากธาตุทั้ง ๔ หรือว่าธาตุใดธาตุหนึ่งก็ตาม ร่างกายสังขารเรานั้นก็เปรียบเสมือนท่อนไม้ท่อนฟืน หาประโยชน์มิได้อีกต่อไป ก็ต่อเมื่อเรายังมีลมหายใจเข้าและออกอยู่ จึงว่ายังหาประโยชน์ในกายนี้ได้อยู่ ก็ให้กำหนดรู้ที่กาย ที่ลมหายใจ คือการเจริญสติปัฏฐานให้มันเกิดขึ้น คือดูกายในกาย ดูเวทนาในเวทนา ดูจิตในจิต ดูธรรมในธรรม ย้อนอยู่อย่างนี้

    ดูกายคือดูอะไร คือดูลมหายใจ ดูซิว่ามันสงบมากน้อยเพียงใด ดูซิว่ากายมันระงับเป็นอย่างไร แล้วดูซิว่าอารมณ์ใดเกิดมาเราก็รู้..เอาอารมณ์นั้นมาเพ่งดู เฉกเช่นเดียวกับเวทนาคือความรู้สึก หากยังมีความรู้สึกอยู่ จึงเรียกว่าจิตนั้นอุปาทานแห่งขันธ์มันยังไม่ได้ดับ ยังไม่ได้ละ ยังไม่ได้วางในอารมณ์ ก็ให้เราภาวนาเข้าไปกำกับให้กำชับจิตให้มันแนบกับลมหายใจ

    เมื่อมันแนบกับลมหายใจมันก็ดับไปอย่างนี้ นิโรธมันก็เกิดขึ้นอีกอยู่อย่างนี้ เราจึงบอกว่าถ้ากำลังจิตเรานี้สติเรานี้ยังไม่ตั้งมั่นมากพอที่จะดูที่จะพิจารณาธรรม ก็ให้เราดูกายดูลมหายใจสงบอารมณ์นี้ให้มันสงบ คือเจริญสมถะให้มันมาก การภาวนาจิตก็เป็นการเจริญสมถะอย่างหนึ่ง ให้รู้อยู่อย่างนี้ สลับสับเปลี่ยนกับการพิจารณาธรรม อยู่ในกาย ในเวทนา จิต ธรรม อยู่อย่างใดอย่างหนึ่ง ให้เรารู้อยู่ในกายอย่างนี้ แม้จิตจะมีความเคลิบเคลิ้มไปบ้าง ก็ให้กำหนดเข้ามาใหม่ที่ลม แล้วก็ภาวนาลงไป..

    การที่เราเจริญพระคาถาชินบัญชรก็ดี สิ่งนั้นมันทำให้เราตั้งมั่นก็ดี แต่การที่เรามาเจริญสติอย่างนี้ ให้เรารู้เท่าทันในอารมณ์ โดยการเจริญวิปัสสนาญาณ ดังนั้นอาการของกายสังขารที่มันอ่อนล้าก็ดี เราต้องปลุกธาตุไฟเตโชให้มันตื่น การปลุกธาตุไฟเตโชนั้นปลุกอย่างไร คือเพ่งดูสภาวะอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นให้มันสงบจดจ่ออยู่ในกายอยู่ในจิต

    คือวางลมอยู่ในฐานของกาย อยู่ที่เหนือสะดือก็ดี ที่ลิ้นปี่ก็ดี อยู่กลางกระหม่อมก็ดี กลางหน้าผากก็ดี ท้ายทอยก็ดี ที่ใดที่หนึ่งที่เราพอใจ ที่ถนัดที่ถูกจริตถูกวาสนาแล้วก็เพ่งดูมันไป แล้วก็ภาวนากำกับลงไป ดูไม่ยากถ้าสมาธิมันบังเกิด..หนึ่งลมหายใจมันจะดับ คือลมหายใจจะละเอียด สองเมื่อเราภาวนาพุทโธ ธัมโม สังโฆ หรือพุทธัง สะระณัง คัจฉามิ หรือองค์บริกรรมบทใดบทหนึ่งก็ดีแล้วมันขาดหายไปก็เช่นเดียวกัน นั่นก็เรียกว่ากายและจิตมันตั้งมั่นเป็นหนึ่งเป็นเอกัคคตานั่นเอง

    เท่ากับว่าเรานั้นได้เจริญฌาน..จตุตถฌานให้เกิดขึ้น จิตเรามันจะค่อยๆตื่นขึ้นมา จิตที่อยู่ในกำลังฌานที่มีความละเอียดของสมาธิของลมแล้ว มันจะไปปลุกธาตุไฟเตโชให้มันตื่นให้มันสว่าง นั่นก็เรียกว่าเกิดไฟเผาผลาญคือความเพียร ก็เอาความเพียรที่จิตเราตื่นรู้ขึ้นมานั้นแล เอาเข้าไปเผากิเลสอีก
    การเข้าไปเผากิเลสเผาอย่างไร ก็กิเลสตอนนี้มันมีอะไรที่เกิดขึ้นบ้าง มีความหดหู่ ความเศร้าหมอง ความเคลิบเคลิ้มแห่งจิต เคลิบเคลิ้มในกายสังขารคือความพอใจในกามคุณ ในการหลับนอน หรือเรียกว่าตัวขี้เกียจทั้งหลายเหล่านี้..ต้องทำอย่างไร เราจะขับไล่อย่างไร

    ขอให้โยมนั้นกำหนดลมหายใจให้สุด..แล้วกักลมไว้ที่ท้องน้อยก็ดี ที่ลิ้นปี่ก็ดี ที่เหนือสะดือก็ดี กักไว้จนเรานั้นรู้สึกว่าเรากักไว้ไม่ได้แล้ว ก็จะได้ธรรมะเกิดขึ้น ๑ ข้อว่า แม้ลมหายใจเราก็ไม่สามารถยึดไว้ได้ แต่ในขณะที่เรากำหนดเข้าไป เราลองทนให้มันถึงที่สุดซิ ดูซิว่าความตายมันจะดิ้นรนเป็นอย่างไร ดูซิว่ามันจะปลุกกระแสจิตวิญญาณให้เราตื่นได้หรือไม่ในความตายนี้
    ดูซิว่าในความเพียรความอดทน ถ้าโยมทนมันได้ไม่เกิดกระอักกระอ่วน เมื่อลมหายใจนั้นมันเข้าไปแล้วเราไม่ยอมเอาออก มันจะเป็นอย่างไร ทีนี้ทวารที่มันมีอยู่มันก็จะออกตามทวารรูขุมขน ออกทางหู แต่เราจะไม่ให้ออกจากในจมูกนั่นเอง เอาลมเข้าไปให้สุด..เอาเข้าไปให้สุด จนไม่มีสุดแล้วนั่นเอง เอาเข้าไป

    กายสังขารเราก็ผ่อน วางกายให้สบาย แต่ทำจิตให้ตั้งมั่น อย่าส่งจิตออกไปไหน วางเฉยต่ออารมณ์ที่เกิดขึ้น แล้วดูอาการของจิตที่ลมเข้าแล้วไม่ออกเป็นอย่างไร ดูซิว่ากิเลสมันจะตายมั้ย ไอ้ความง่วง ความหดหู่ ความเคลิบเคลิ้มใจมันจะอยู่ได้มั้ย ถ้าโยมไม่ช่วยเหลือตัวเอง ไม่ปลุกกระแสธาตุจิตของตัวเอง ก็ไม่รู้ว่าจะมีใครช่วยโยมได้ มันก็จะมาขี่คอเหนี่ยวรั้งอยู่อย่างนั้น

    ฉันเคยบอกแล้วเมื่อสภาวะอารมณ์แบบนี้เกิดขึ้น ให้เรากำหนดรู้ กำหนดอานาปานสติ เพียงแค่เรากำหนดรู้ในอานาปานสติแล้วทำจิตให้มันสงบ จิตมันตั้งมั่นเพียงเล็กน้อยก็ดี ฌานมันเกิดขึ้นเพียงเล็กน้อยก็ดี ก็ตั้งจิตอธิษฐานแผ่บุญกุศลออกไป ให้กับสรรพสัตว์ดวงวิญญาณทั้งหลายทุกดวงจิตดวงวิญญาณที่เราเคยได้ล่วงเกิน ไม่ว่าจะอยู่ในภพภูมิใด ที่ผ่านมาแล้วเป็นอดีต หรือในปัจจุบันก็ดี ด้วยกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมอะไรทั้งหลายก็ดี
    ขอเวรภัยพยาบาททั้งหลายจงอดโทษอาฆาตพยาบาท อย่าได้มีเวรภัย ขออำนาจแห่งพระรัตนตรัยจงเป็นกระแสนำทางดวงจิตเหล่านั้นให้พ้นจากภัยพาล อย่าได้เข้ามากล้ำกรายในขณะที่ข้าพเจ้านี้เจริญบุญเจริญกุศลอยู่เลย ก็ขอบุญกุศลที่เกิดขึ้นแล้วในขณะนี้จงสำเร็จแก่ทุกดวงจิตดวงวิญญาณ ขอให้ทุกดวงจิตดวงวิญญาณจงมาโมทนาสาธุ พึงได้ประโยชน์เหมือนที่เราจะได้ประโยชน์..ก็อธิษฐานไป

    เอ้า..ค่อยๆถอนจิตถอนลมหายใจถอนออกจากสมาธิออกมา เมื่อเรากำหนดลมเข้าเราก็ต้องกำหนดตอนที่ออกมา เมื่อเราจะออกจากสมาธิ การจะรักษากายสังขารของขันธ์อันขาออกจากสมาธิ ก็คือการกำหนดลมปราณแล้วค่อยๆผ่อนลมหายใจคลายออกจากสมาธิ ทำความรู้สึกตัวให้ทั่วสังขาร เพื่อจะเป็นการรักษาธาตุขันธ์ อย่าออกอย่างกระทันหันโดยที่ไม่กำหนด
    เพราะตอนที่เราทำสมาธิ เรากำหนดเข้าไป แล้วจะออกเราก็ต้องกำหนดออกมา หากไม่อย่างนั้นแล้วธาตุที่มันมาประชุมกันอยู่ มันจะมีการสั่นสะเทือน ทำให้กายสังขารของเรานั้นมีการเสื่อมได้ เมื่อจิตเรารู้สึกสบายแล้วให้โยมอธิษฐานจิต แผ่บุญกุศลให้กับสรรพสัตว์อีกสักครั้ง จะทำให้จิตเราได้ตื่นบ้างไม่มากก็น้อย

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  11. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,917
    543563F9-F50C-41F5-A60C-549C6F195EA5.jpeg

    โยมอยากเรียนวิชา"ย่นระยะทาง"มั้ยจ๊ะ ต้องการเรียนย่นระยะทางมั้ยจ๊ะ..ย่นระยะกรรมน่ะจ้ะ ฉันจะบอกเคล็ดลับให้ ถ้าผู้ใดต้องการอยากย่นระยะเวลา..ย่นระยะกรรม ประโยชน์..ฟังประโยชน์ก่อนนะจ๊ะ โยมจะเอายาไปกินต้องฟังประโยชน์ก่อน ว่ามันให้คุณให้โทษอย่างไร

    ประโยชน์มีอยู่ว่าเมื่อโยมเรียนไปแล้ว บุคคลที่เป็นคู่สามีภรรยากันรักกันปานจะกลืนกินก็จะตัดกันได้ง่ายขึ้น โยมชอบมั้ยจ๊ะ สองจะเบื่อหน่ายในทางโลกเร็วขึ้น นี่คือวิชาย่นระยะทาง โยมจะเอามั้ยจ๊ะ มันย่นไปหมดล่ะจ้ะ ห่อ..หด..หาย อ้าว!..มันไม่มีเชื้อนี่จ๊ะ มันก็หดหายสิจ๊ะ เอามั้ยจ๊ะ ดังนั้นผู้ที่ปรารถนาเท่านั้นโยมถึงจะได้วิชานี้ไป

    โยมจะทำอย่างไรให้มันได้วิชานี้ไป แต่บุคคลที่ยังไม่ต้องการวิชานี้ก็ฟังไว้ เมื่อถึงเวลาคับขันโยมจงเอาไปใช้ นี่วิชาย่นระยะกรรมย่นระยะทาง ย่นอย่างไร การย่นระยะทางนั้นทำอย่างไร ว่าเส้นทางมันยาวไกลให้มันสั้นลงทำอย่างไร อุปมาว่าถ้ามีไม้หนึ่งท่อนแล้วมันยาวเราต้องการให้มันสั้นโยมทำยังไงจ๊ะ (ลูกศิษย์ : ตัดค่ะ) ถ้าในทางธรรมในโลกจิตวิญญาณเอาอะไรไปตัดจ๊ะ อะไรคือ"อาวุธ"จ๊ะ โยมมีอาวุธมั้ยจ๊ะ (ลูกศิษย์ : สติปัญญาค่ะ)

    โยมว่าสติและปัญญาน่ะตัวเดียวกันมั้ยจ๊ะ ขาดอันหนึ่งอันใดได้มั้ยจ๊ะ ฉันจะบอกให้ว่าสติปัญญามันเป็นอย่างไร ถ้าโยมว่าปัญญาเปรียบดังอาวุธ นั่นก็หมายถึงว่าอาวุธของโยมนั้นต้องมีฝักมั้ยจ๊ะ (ลูกศิษย์ : มีค่ะ) แล้วปัญญามันอยู่ไหนจ๊ะ แล้วปัญญาจะเกิดได้มันต้องเกิดจากอะไรก่อนจ๊ะ (ลูกศิษย์ : เกิดจากสติ) แสดงว่าสตินี้ควบคุมปัญญาใช่มั้ยจ๊ะ แสดงว่าปัญญาต้องอยู่ในฝักใช่มั้ยจ๊ะ สติอยู่ไหนจ๊ะ (ลูกศิษย์ : สติก็อยู่ในกาย) โยมอย่าเพิ่งเอาไปอยู่ในกายสิจ๊ะ โยมต้องเรียนรู้ก่อนจ้ะ นี่เรากำลังเรียนรู้ธรรม อาศัยด้วยกาย เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    แต่ที่โยมตอบมามันก็ไม่พ้นกัน นั่นก็บอกว่ากายนี้แลคือสติ โยมเอาสติอยู่ในกายเท่ากับว่ากายของโยมนี้คือ"ตัวสติ"คือ"ฝัก" แล้วปัญญาอยู่ในที่ไหนล่ะจ๊ะ ปัญญาเมื่อมีสติอยู่ในกายแล้วปัญญาเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา..นั้นเรียกว่าปัญญา การจะเรียกว่าย่นระยะกรรมย่นระยะทางนั้นต้องทำอย่างไร โยมต้องตัดอารมณ์ ตัดจากที่ใด (ลูกศิษย์ : ตัดที่ใจ) แต่ว่าใจนั้นมันตัดยาก เขาบอกว่าการจะตัดนั้นโยมต้องไปตัดที่ไหน ก็โยมว่าใจมันตัดยากนี่จ๊ะ แล้วอะไรน่ะมันทำให้เกิดใจ เมื่อโยมตัวเกิดเป็นว่าเชื้อกรรมจึงเรียกว่าใจ แต่ใจนี่มันเกิดขึ้นลอยลอยไม่ได้ เพราะในโลกนี้หรือในโลกไหนๆถ้าไม่มีเหตุอะไรก็เกิดขึ้นไม่ได้

    ใจมันไปพอใจอะไร ใจมันไปพอใจใน"รูป"มั้ยจ๊ะ "รส"ชอบมั้ยจ๊ะ "กลิ่น"โยมชอบมั้ยจ๊ะ "เสียง".."สัมผัส"โยมชอบมั้ยจ๊ะ นั่นแหละจ้ะ โยมต้อง"ตัด"ตรงนี้ ในขณะที่โยมจะกำหนดทำอะไร เช่นจะทำการสิ่งใดจะไปไหนก็ตามให้โยมนั้นเข้ากรรมฐานแล้วตัดสิ่งนี้..อย่าให้มี คือให้มันดับออกไปในใจ ไม่ไปหลงไม่ไปพอใจ คือไม่เอาจิตไปไหน แต่ให้กำหนดจิตว่าจะไปไหน แต่ก่อนจะกำหนดต้องทำตรงนี้ให้ดับตัดให้หมดเสียก่อน ให้มันศูนย์แล้วค่อยนับหนึ่ง ถ้าโยมไม่ทำให้ศูนย์แล้วไปนับหนึ่งโยมจะไม่ไปพ้นไหน เข้าใจมั้ยจ๊ะ โยมต้องทำให้ศูนย์ก่อน แล้วโยมจะนับหนึ่งได้ ถ้าโยมไม่นับหนึ่งโยมกำหนดไปไหนก็ได้ แล้วโยมลองไปทำดู

    เช่นเดียวกับโยมเดินจงกรมก็เช่นกัน เดินยืนนั่งนอนของโยมนั้น ท่าไหนก็ได้ไม่วิจิตรพิสดาร แต่ให้โยมมีสติอยู่ในกายอยู่ในลมหายใจอยู่ในการกระทำอยู่ทุกขณะจิตนั่นแล แล้วโยมกำหนดไป เพราะคนที่ย่นระยะทางได้ จะไม่มีการอ่อนล้า นี่เรียกว่าเดินยังไงก็ไม่เมื่อยนั่นเอง แสดงว่าอยู่ใกล้ๆ ถ้าเมื่อยนี่แสดงว่าเดินไกล ใช่มั้ยจ๊ะ หรือว่าไม่จริง แต่บางคนไม่ได้เดินก็เมื่อยนะจ๊ะ ใช่มั้ยจ๊ะ เพราะไม่ได้กำหนดอะไร คนมันต้องมีสติ ดังนั้นโยมลองไปทำดู

    โยมจะกำหนดอะไรต้องเริ่มจากศูนย์ อย่าเริ่มจากหนึ่ง ถ้าโยมเริ่มจากหนึ่งเมื่อไหร่โยมจักไม่ได้อะไรเลย เพราะหนึ่งนั้นมันคือ"ตัวอยาก"คือ"อัตตา" เมื่อโยมเริ่มจากอัตตาโยมจะทำลายมันก็ทำได้ยาก เพราะโยมไปติดมันเสียแล้ว ไปหลงมันเสียแล้ว ไปชอบมันเสียแล้ว ก็จะทำลายมันยาก แต่ถ้าโยมเริ่มจากศูนย์เมื่อไหร่ โยมจักเห็นค่าว่าความที่ไม่มีอะไรนั่นแลคือสุขที่แท้จริงเมื่อเปรียบเทียบว่าถ้ามี หนึ่งคนไม่มีคู่อยากมีคู่ แต่คนที่มีคู่มันไม่อยากมีอีก ก็เรียกว่าคนในอยากออกคนนอกอยากเข้า ใช่มั้ยจ๊ะ นี่ก็เช่นเดียวกัน คนที่ไม่เคยมีแล้วมีเขาจะรู้ได้ว่าไม่มีแล้วมีมันเป็นอย่างไร แตกต่างกันอย่างไร

    นั้นถ้ามนุษย์ทั้งหลายปรารถนาอยากจะมีสุขทางโลกหรือบริบูรณ์ทางโลก โยมต้องทำศีลให้บริบูรณ์ ถ้าศีลบริบูรณ์ขณะนั้น โยมจะรักษาศีลให้บริบูรณ์ตลอดเวลาไม่ได้ ใช่มั้ยจ๊ะ แต่เมื่อใดคราใดเมื่อศีลโยมบริบูรณ์ในขณะนั้น ให้โยมอธิษฐานด้วยอำนาจแห่งศีล อำนาจแห่งพระรัตนตรัย อธิษฐานให้สมบูรณ์ในทางโลกของโยมที่ปรารถนา นั่นแหละจ้ะ คำว่า"ปรารถนา"คือ"จุด"กำหนดไว้ เมื่อโยมปรารถนาไว้แล้ว ก็อย่าได้ไปเร่งว่าความปรารถนานั้นจะมาเมื่อไหร่ แต่โยมต้องทำอยู่บ่อยๆ อธิษฐานบ่อยๆ แล้วมันจะไปร้อนถึงเทวดาเอง เข้าใจมั้ยจ๊ะ นั่นคือ"การย่นระยะ"

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  12. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,917
    DA2B382A-0ED7-4FD7-BD97-FFE2C1FEBB4C.jpeg

    ความตายนี้ไม่น่ากลัวเลย เพราะมันตายแค่กายสังขาร แต่จิตนี้ยังคงอยู่ ดังนั้นถ้าโยมกลัวตายเมื่อไหร่ เจ้ากรรมนายเวรก็ดี โรคภัยไข้เจ็บก็ดีมันจะเข้ามารุมเร้า เข้าใจมั้ยจ๊ะ แต่ถ้าโยมไม่กลัวตาย ถ้าไม่กลัวตายต้องทำยังไง ให้โยมระลึกถึงความตาย เมื่อระลึกถึงความตายเสียแล้วโยมตั้งจิตอธิษฐานบุญกุศลให้แผ่เมตตาให้กับพญายมราชให้เค้าอย่างนี้ ก็เรียกว่าจะเป็นมิตรเป็นญาติกัน เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ไม่เชื่อโยมก็ลองทำดู อย่าเพิ่งเชื่อ ไปทำดูก่อน ให้ระลึกถึงความตาย ความตายมันจะมีกับเราอีกไม่นานไม่ช้า เรานี้แลก็ต้องตายไปป่าช้าไปเผา ในร่างกายสังขารก็ไม่ควรยึดมั่นถือมั่นอะไรนัก ให้เราอธิษฐานดวงจิตไปอย่างนี้ เมื่อเสร็จแล้วตั้งจิตอย่างนี้แล้วคลายจากความกลัวสะดุ้งผวาเสียแล้ว ก็ให้ตั้งจิตอธิษฐานให้กับพญายมราชเค้าซะ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ถ้าเรายิ่งกลัวอะไร..สิ่งนั้นยิ่งมายิ่งเจอ ยิ่งเกลียดอะไรก็ยิ่งมา นั้นอย่าไปกลัวไปเกลียดอะไร ให้ระลึกอยู่บ่อยๆ นั้นทำไมคนที่เรายิ่งเกลียดแล้วทำไมต้องเจอ..เพราะอะไร ก็โยมไปเกลียดเลยยิ่งเจอ งั้นจะทำยังไง โยมต้องแผ่เมตตาให้เค้าอยู่บ่อยๆ เข้าใจมั้ยจ๊ะ ละเกลียดให้มากๆ นั่นแหล่ะเดี๋ยวเค้าก็จะไปที่อื่น เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ถ้าคนต่างเกลียดกันเมื่อไหร่..มันไม่มีทาง มันเป็นแรงดึงดูดที่จะพยาบาทกันซักวัน เข้าใจมั้ยจ๊ะ นั้นถ้าโยมเกลียดใครขอให้โยมแผ่เมตตาจิตให้มากๆ การแผ่เมตตาจิตให้มากๆมันเป็นอย่างไร ให้กับคนที่เราไม่ชอบ เราก็อย่าเพิ่มเชื้อ อย่าไปตีด้วยวาจา อย่าไปตีด้วยสายตา ถ้าเราแผ่เมตตาแล้วเราต้องเป็นมิตรทั้งวาจาทั้งสายตา เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    เมตตาเราก็ต้องเมตตาให้จริง คือทำดีกับเค้า เมื่อเค้าเป็นมิตรแล้วนั่นแล เห็นมั้ยจ๊ะ มันก็จะเลิกเกลียดกันไปเอง ถ้าเราทำดีกับเค้าแล้วเค้าไม่ดีกับเรา ก็เรียกว่าเป็นกรรมของเค้าเอง เข้าใจมั้ยจ๊ะ เราไม่คิดเกลียดใคร..เราก็ไม่ทุกข์ใจ ใครที่คิดเกลียดเราเค้าก็ทุกข์ใจ เข้าใจมั้ยจ๊ะ เราไม่ใช่สาเหตุที่ทำให้เค้าทุกข์แต่ตัวเค้าเองนั่นแลที่เป็นสาเหตุที่ทำให้ตัวเค้าทุกข์ เข้าใจมั้ยจ๊ะ นี่มันเป็นอย่างนั้นต่างหาก

    การที่เราอนุเคราะห์ส่งแผ่บุญเมตตา อโหสิกรรมให้เค้านี้แล้ว นี่เรียกว่าเราพยายามช่วยเค้าทางอ้อม เป็นการเจริญเมตตาธรรมอย่างหนึ่ง เข้าใจมั้ยจ๊ะ และเป็นการตัดเวรอย่างหนึ่ง เราพยายามตัด แต่ถ้าเค้าไม่คิดจะช่วยตัวเองแล้วนั่นแล เค้านั่นแหล่ะคือสาเหตุที่ทำให้ตัวเองทุกข์ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ดังนั้นกรรมของใครก็ไม่มีใครสามารถรับกรรมให้กันได้ แต่ถ้าต่างคนต่างมีพยาบาทต่อกัน สักวันมันก็ต้องเกิดเวรขึ้นสักวัน เข้าใจมั้ยจ๊ะ อ้าว..ก็ต่างคนต่างมีเชื้อ มันก็ดึงดูดหากัน ใช่มั้ยจ๊ะ ถ้าอีกคนพยาบาท อีกคนพยายามละพยาบาท มันก็จะถอยห่างกันโดยธรรมชาติของมัน เข้าใจอย่างนี้มั้ยจ๊ะ เค้าเรียกว่าแรงกรรม

    แต่ถ้าคนนี้มันมีแรงกรรม แต่ถ้าคนนี้มันต้องการออกจากกรรม เห็นมั้ยจ๊ะ มันจะต้านกันทันที แต่ถ้าต่างคนต่างที่จะพยาบาทกันมันยิ่งเข้ามา สักวันหนึ่งมันจะมีชนวนหรือมีมือที่สามเข้ามายุว่าไอ้นี่ว่ามึงอย่างนั้น ไอ้นั่นว่ามึงอย่างนี้ เดี๋ยวก็เจอกัน เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ดังนั้นแล้วการที่เราละพยาบาทเสียได้นี่เรียกว่าเป็นการตัดเวร เข้าใจมั้ยจ๊ะ คำว่าเวรนี่คืออุปสรรคอย่างหนึ่ง เรานั่งสมาธิไปถ้าเรามีเวรอาฆาตพยาบาทกับใครเดี๋ยวมันก็มีเข้ามาในจิตเรา ทำให้จิตเรามันขุ่นมัว มีโทสะ เกิดความเร่าร้อนจิต ทำให้จิตเกิดอกุศลแล้วทีนี้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    เค้าถึงบอกว่าก่อนที่เราจะนั่งสมาธิเจริญภาวนาจิต ให้เราตั้งจิตอธิษฐานแผ่เมตตาให้กับคนที่เราชอบหน้าไม่ชอบหน้า นี่เค้าเรียกว่าการแผ่เมตตาไม่มีประมาณ คำว่าไม่มีประมาณคือไม่เลือกหน้า ไม่เลือกชนชั้นวรรณะชอบหรือไม่ชอบ จึงเรียกเป็นสังฆทานอย่างหนึ่งคือไม่เจาะจง เข้าใจมั้ยจ๊ะ จึงมีอานิสงส์มากอย่างหนึ่ง นี่เรียกว่าเป็นการแผ่เมตตาเปิดบุญ

    นั้นขอให้โยมอย่าได้เห็นว่ามันเป็นบุญเล็กน้อย สิ่งใดก็ตามที่ทำให้เราละอาฆาตพยาบาทได้นี่แล นี่เค้าเรียกว่าเชื้อไฟอกุศล มันเป็นรากเหง้า ถ้าโยมตัดรากเหง้ามันนี้ได้เมื่อไหร่ชีวิตโยมจะมีแต่ความสุขความเจริญ เข้าใจมั้ยจ๊ะ ถ้าศัตรูกลับกลายเป็นมิตรได้..แสดงว่าโยมไม่ธรรมดา เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ถ้าศัตรูกลับกลายเป็นมิตรได้นี่เรียกว่าบารมีโยมไม่ธรรมดา แสดงว่าโยมมีเมตตาบารมีมาก เข้าใจมั้ยจ๊ะ ดังนั้นถ้าเราคิดจะเกลียดใครแสดงว่าโยมกำลังสร้างเวรให้ตัวเองแล้ว เข้าใจมั้ยจ๊ะ เพราะถ้าโยมเกลียดใครซักคนหนึ่ง..มันไม่ได้เกลียดเฉพาะไอ้คนปัจจุบันในภพในชาติ แต่ไอ้คำว่าเกลียดนี่ ไอ้ที่โยมเกลียดยังมีอีกมากมายที่ยังไม่ได้เกิดก็มี เดี๋ยวมันจะเข้ามาหาหมดเลยทีนี้ เพราะแรงความพยาบาท เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ถึงได้บอกว่ามีเรื่องราวมากมายที่เข้ามา เข้าใจมั้ยจ๊ะ แต่ขณะที่จิตโยมแผ่เมตตาออกไป แผ่กุศลอโหสิกรรมให้กับคนที่เราอาฆาตพยาบาทไม่ชอบหน้าก็ดี..ไอ้พวกนั้นได้ไปเกิดหมด เห็นมั้ยจ๊ะ กลายเป็นอุปสรรคมันถูกตัดออกไป แล้วก็ให้เค้ามาโมทนาสาธุกับบุญกุศลที่ข้าพเจ้าได้ละอาฆาตพยาบาทนี้

    ขอบุญกุศลนี้จงสำเร็จประโยชน์กับดวงจิตดวงวิญญาณที่มีความอาฆาตพยาบาทกับข้าพเจ้า ขอให้เค้าพ้นทุกข์พ้นภัย พ้นจากทุกข์ ขอให้เค้าสุขยิ่งๆขึ้นไป จงอาศัยอำนาจแห่งพระรัตนตรัยนี้ให้พ้นทุกข์พ้นภัยไป อย่างนี้เค้าเรียกเป็นการตัดอุปสรรคทั้งทางโลกและทางธรรม แบบนี้โยมจะไม่มีศัตรูที่ถาวร เข้าใจมั้ยจ๊ะ คือจะไม่มีใครผูกใจเจ็บกับโยม ไปไหนก็จะมีแต่คนเมตตา..นี่คืออานิสงส์ของการแผ่เมตตาจิต เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  13. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,917
    849E4D64-81CA-4790-A1CE-A0A814B4CA24.jpeg


    บุคคลที่ใดที่จะสาธยายมนต์ให้มันศักดิ์สิทธิ์โยมจงทำตัวเองนั้นให้ศักดิ์สิทธิ์เสียก่อน ศักดิ์สิทธิ์อย่างไร คืออ่อนน้อมถ่อมตนให้เกียรติ์ตัวเองให้ได้ นั่นเรียกบุคคลผู้นั้นได้คารวะตัวเองได้ ย่อมไปถึงคุณบิดามารดา ผู้ให้กำเนิด ผู้ให้วิชา เข้าใจมั้ยจ๊ะ เพราะเมื่อโยมไม่ให้เกียรติตัวเอง ก็เท่ากับไม่ให้เกียรติคุณบิดามารดาเช่นเดียวกัน โยมทำตัวไม่ดีเขาว่าถึงบิดามารดามั้ยจ๊ะ เราเป็นต้นเหตุหรือไม่ เราทำไม่ดีเมื่อเขารู้ว่าอาจารย์คนไหน อาจารย์เสียมั้ยจ๊ะ..ไม่มีดีเลยใช่มั้ยจ๊ะ

    ก็เอาสิ่งที่เสียนั่นแหล่ะจ้ะ มาไตร่ตรอง มาพิจารณาดู ไอ้ที่ดีแล้วก็ให้รักษาเอาไว้ เพราะโยมนั้นถ้าดีหมดแล้ว โยมคงมาไม่ถึงฉันหรอกจ๊ะ มันเป็นแค่เศษกากเดนที่โยมได้เกิดขึ้นมา เพราะได้อาศัยศีล ทาน บารมีที่โยมได้สะสมจึงได้เกิดมีศีลมีธรรมขึ้นมา แต่ไอ้สิ่งที่โยมติดตัวมานี่แล โยมต้องทำอยู่บ่อยบ่อย อย่าคิดว่าวันนี้ทำแล้วพอแล้ว

    อย่าลืมว่าโยมต้องกินต้องใช้ทุกวัน ถ้าโยมไม่ทำทุกวัน เมื่อโยมคิดว่ารอให้มันพร่องก่อนค่อยทำใหม่ มันก็ไม่ต่างอะไรกับเรียกว่าการอดมื้อกินมื้อ บุญกุศลก็เช่นกัน ดังนั้นเมื่อเราทำอยู่เป็นนิตย์ ทำอยู่สม่ำเสมอแล้วไซร้ เรียกว่าจักบริบูรณ์ คำว่าบริบูรณ์นี้มันทำอะไรมันก็เข้าถึงได้ง่าย เพราะว่ามันมีบริบูรณ์แล้ว มันไม่พร่องแล้วนั่นเอง กำลังบารมีในความเพียรก็จะมีมากได้
    ดังนั้นความศรัทธานี้โยมต้องมีให้มาก..

    โยมจะศรัทธาอะไร โยมต้องศรัทธาตัวเองให้มาก ศรัทธาอย่างไร..ศรัทธาว่าเรานั้นได้เกิดมาแล้ว มีต้นทุนมหาศาล ด้วยมีกายวาจาใจ เรียกว่ามีอาการครบ ๓๒ ได้โชคดีที่ได้เกิดมาได้เจอพระธรรมคำสั่งสอนของพระศาสดา เปรียบเสมือนว่าโยมนั้นได้เกิดทันที่ท่านได้มาตรัสรู้ คราใดที่เว้นว่างจากองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือผู้รู้แล้วไซร้ นั่นเรียกว่าบุคคลทั้งหลายก็เรียกว่ายังตกทุกข์อีกมาก

    แต่นี่เรียกว่าถือว่าโยมนั้นได้เกิดทันในคำสอนของพระศาสดา หาว่าโยมนั้นจะมีการน้อยเนื้อต่ำใจ หรือว่าด้อยค่ากว่าสาวกขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้าเลยไม่ แม้ถ้าท่านยังคงอยู่ท่านก็ยังตรัสและเตือนบุคคลที่ใฝ่อยู่ในธรรม ที่จะเดินเข้าหาความหลุดพ้น แสวงหาซึ่งความพ้นทุกข์ได้ ท่านก็จะย้ำแล้วย้ำเล่าอยู่ทุกเช้า ทุกทิวาราตรีเช่นเดียวกัน

    บุคคลใดที่น้อมจิตน้อมกายวาจาใจเข้าไปในธรรมคำสั่งสอนของท่าน เท่ากับว่าบุคคลนั้นได้เข้าเฝ้าองค์สัมมาสัมพุทธเจ้าท่าน ฉันจึงบอกว่าในยามเช้าถ้าโยมเข้าเฝ้าได้แล้ว โยมมีความตั้งจิตตั้งใจ ขอให้รู้ว่าในเบื้องหน้าของโยมแม้โยมจะมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า แต่เมื่อโยมมีความเชื่อความศรัทธาด้วยใจนั่นแหละจ้ะ ตาในเรียกว่าโยมได้เปิดแล้ว..ได้เห็น เรียกว่าได้เข้าเฝ้า ในยามเย็นโยมก็ได้เข้าเฝ้าอีกอยู่เป็นนิตย์

    เมื่อโยมมีความเพียรอยู่แบบนี้ เมื่อท่านเล็งเห็นว่าโยมนั้นพอมีบารมีญาณแล้วที่จะให้ธรรมได้ ในขณะที่โยมสาธยายมนต์อยู่นั้นแล ท่านก็จะประสาทวิชาให้โยมได้ อย่าได้ตกใจหรือคิดว่ามันเป็นไปไม่ได้ ถึงแม้ท่านไม่มีกายสังขารวรกายแล้ว แต่อย่าลืมว่าจิตที่เป็นอมตะแห่งทิพย์นั้น ไม่มีคำว่าตายไปไหนยังคงเป็นอมตะ เรียกว่าไม่มีการเกิดไม่มีการตาย ที่ดับสูญคือกิเลสตัณหา แต่ความดีและธรรมก็ยังคงอยู่

    ดังนั้นถ้าโยมเข้าใจตรงนี้และเข้าถึง โยมจะเห็นว่าองค์พระศาสดาท่านอยู่ทุกอณูอากาศ เข้าใจมั้ยจ๊ะ อยู่ทุกลมหายใจเข้าออกของโยม เพราะลมหายใจนี้เมื่อครั้งให้ยังมีพระชนม์ชีพอยู่นั้น ท่านก็ได้ใช้ลมนี้..กำหนดรู้ลมนี้ด้วยอานาปานสติ ก็หาว่าใช่จะผิดแปลกจากโยมไม่ โยมว่าโยมมีเกียรติแค่ไหนจ๊ะ แม้ลมนี้ก็ได้ใช้แบบเดียวกับพระองค์ท่าน แล้วโยมมีอะไรที่มันด้อยค่าเล่าจ๊ะถ้าแบบนั้น ที่มันด้อยค่าเพราะโยมนั้นไม่เห็นค่าต่างหาก...

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  14. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,917
    A2C56628-2B2F-4743-9F9C-32E4CB4CB2FF.jpeg

    เมื่อเรายังติดโลกอยู่..ต้องทำยังไง ติดโลกจำไว้นะจ๊ะเราต้องรักษา กลับมารักษากาย วาจา ใจเราใหม่ อ่ะ..ศีลจะชำระล้างโลกได้อย่างดี เข้าใจมั้ยจ๊ะ ศีลจะรักษาล้างโลกได้อย่างดี แต่ตัวอะไรเล่าจ๊ะที่จะเป็นคนพาศีลนี้กลับมา เหมือนจะพาไปหาหมอ..คือตัวสติตัวนี้ต้องไปหาศีลมา ไปบอกไปเอายามา..คือตัวสติ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ถ้าไม่มีตัวนำพาตัวดึงพาตัวระลึกได้หมอจะมาหาเรามั้ย ยาจะมามั้ย..ไม่มีอะไรมา เพราะศีลเค้าก็อยู่ของเค้าอย่างนั้นอยู่แล้ว เราต่างหาก..เหมือนโยมมีทุกข์มีร้อนปวดทุกข์หนัก สุขาลอยมาหาฉันหน่อยฉันปวดท้องแล้ว..มันมามั้ย (ลูกศิษย์ : ไม่มาค่ะ) เหล่านี้ก็เช่นเดียวกัน นั้นตัวระลึกได้นี้แล โยมจะระลึกอะไรเล่าโยมก็ต้องระลึกให้ดี เช่นระลึกถึงศีล ระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย อันนี้เค้าเรียกว่าเป็นการระลึกที่ดี

    ดังนั้นตัวสติจึงสำคัญนั่นเอง..ในเมื่อเรายังข้ามสมมุติบัญญัติของโลกไม่ได้..เรียกว่ายังติดโลกอยู่ คำว่าติดโลกอยู่แสดงว่าเรายังสกปรกอยู่ เมื่อเราขาดสติศีลเราก็หายไปในขณะนั้น เข้าใจมั้ยจ๊ะ เมื่อสติมันขาด คำว่า"ขาด"นั่นแล..แสดงว่าสิ่งที่คุ้มกายเราอยู่ก็ดีมันชำรุดมันเป็นรูแล้ว เมื่อเป็นรูเป็นช่องโหว่เมื่อไหร่อำนาจแห่งนรกภูมิที่เป็นดวงจิตวิญญาณที่มีความอาฆาตพยาบาทกับเรามันก็ผุดโผล่ช่องขึ้นมา

    เค้าถึงบอกว่าการเจริญภาวนาจิตสวดมนต์เรียกว่าเป็นการปิดอบายภูมิชั่วขณะ ทำไมถึงบอก..รู้ได้ยังไงว่าอบายภูมิเปิด ก็เพราะตอนนั้นจิตเราเร่าร้อน..เราสัมผัสได้ เค้าถึงบอกว่านรกอยู่ที่ไหน (ลูกศิษย์ : ในใจ) สวรรค์อยู่ใน..(ลูกศิษย์ : อก) แล้วอกกับใจมันอยู่ที่เดียวกันหรือเปล่า..มันอยู่ที่เดียวกันแต่ซ้อนกันอยู่ อกมันซ้อนมันคลุมใจอยู่ใช่มั้ยจ๊ะ เค้าเรียกว่าเปลือกโลกกับแกนโลก

    ดังนั้นแล้วเมื่อมันอยู่ภายในนี้ เมื่อคราใดเรามีจิตที่ร้อนเร่าเราไปเปิดทางให้สัตว์นรก แล้วเค้าถึงบอกว่าอำนาจแห่งไฟโทสะเมื่อใครทำไปแล้วเมื่อขาดสติแล้ว มันจะทำให้พวกผีวิญญาณทั้งหลายที่เราเคยไปล่วงเกินเบียดเบียนที่มันจองตามมามันได้สบช่อง เข้าใจมั้ยจ๊ะ จึงเรียกว่าผีซ้ำด้ำพลอยอย่างนี้

    นั้นเมื่อเรามีความเร่าร้อนจิตก็ให้ระลึกถึงองค์ภาวนา หรือถ้าเรามีความกลัวก็ดีให้ภาวนาจิต เข้าใจมั้ยจ๊ะ เพราะเมื่อเราภาวนาจิต..แม้ในขณะนั้นเราจะมีวิบากกรรมหรือมีอุบัติเหตุอะไรก็ตามในเคราะห์กรรมนั้น..หนักก็จะเป็นเบา เพราะอะไรเล่าจ๊ะ ไอ้พวกนี้มันจะดึงราเราไปไม่ได้ด้วยเต็มกำลังของมัน เข้าใจมั้ยจ๊ะ เพราะในขณะที่เราเจริญภาวนาอยู่นั้นจิตเราเริ่มมีหลักแล้ว พอมีหลักแล้วพวกนี้มันก็จะทำอะไรเราได้ยาก เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    นั้นเค้าถึงบอกว่าการที่มนุษย์เข้าถึงกระแสพระโสดาบันหรือว่ากระแสพระนิพพานชั้นต้น..เค้าเรียกว่าปิดอบายภูมิได้อย่างถาวร คือไม่มีการลงไปเกิดจุติเสวยทุกข์อีก เข้าใจมั้ยจ๊ะ ฉันถึงบอกว่าโยมได้มาฝึกปฏิบัติประพฤติในโลกนี้ในภพนี้..ไม่ต้องเอาอรหันต์ เอาแค่กระแสพระโสดาบันพอ..ให้มันได้เถอะ เข้าใจมั้ยจ๊ะ เอาให้มันได้ ให้มันได้อย่างไร..เมื่อโยมจะมีคู่ก็มีไป แต่เมื่อถึงพอมีแล้วเมื่อถึงเวลาโยมต้องละ..ต้องละ เข้าใจอย่างนี้มั้ยจ๊ะ ต้องละ..นั่นแหล่ะจ้ะ ถ้าไม่ละก็ไปไม่ได้

    แม้ว่ากระแสพระโสดาบัน..ยังมีการครองเรือนได้อยู่ก็จริง แต่เมื่อครองไปแล้วเมื่อโยมประพฤติปฏิบัติไปแล้ว เจริญกรรมฐานฌานวิถีอยู่บ่อยๆ มันจะเริ่มมีความเบื่อหน่าย เข้าใจมั้ยจ๊ะ ถ้าความเบื่อหน่ายไม่เกิดขึ้นกับโยมก็ยังไปไม่ได้ แล้วภาระหน้าที่อย่างนี้ต้องเป็นของใคร มันต้องเป็นตัวของโยมเอง เข้าใจมั้ยจ๊ะ นั้นต้องรู้โทษรู้คุณให้มันเยอะให้มันมาก ว่าโทษคุณมันเป็นอย่างไร มันให้ทุกข์ร้อนอย่างไร โยมจงไปพิจารณาเอา

    เอาแค่กระแสให้ปิดอบายภูมิให้ได้ เมื่อโยมปิดได้แล้วโยมไม่ต้องไปกลับว่าจะไปเกิดในที่เดิมอีก ไม่ต้องไปเสวยทุกข์อีก เพราะการเป็นมนุษย์..ขนาดเป็นมนุษย์ยังทุกข์ขนาดนี้ แล้วถ้าโยมไม่มีกายที่เป็นมนุษย์เล่าจะทุกข์ขนาดไหน แล้วคนที่เค้าไม่มีกายเล่า เข้าใจมั้ยจ๊ะ อันนี้ยังทุกข์นี้โยมก็ยังทนได้ ยังรู้ว่าทุกข์แค่นี้ว่าจะพอหรือไม่ โยมยังกำหนดได้ ใช่มั้ยจ๊ะ แล้วไอ้ที่ทุกข์ที่ว่าไม่สามารถกำหนดได้เลยว่า เค้าต้องทรมานไม่มีเดือนไม่มีตะวันเลย..อันนี้ในขุมนรกที่ว่าทำบาปมาก ไม่มีความสว่างอะไรเลย มีแต่ความมืดอย่างเดียว เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    นี่โยมยังได้เจอสว่าง ยังได้เจอสุข ยังได้รู้ทุกข์ นั้นก็ขอให้รู้ว่าเมื่อเราเป็นมนุษย์แล้ว จงเจริญเมตตาจิตให้มาก เพราะคนที่เค้าไม่ได้เป็นมนุษย์นั้นเค้าทุกข์กว่าเราอีกมากมาย นั้นถ้ามีโอกาสได้มาเจริญบำเพ็ญในความดีขอให้โยมตั้งใจให้มาก

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  15. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,917
    09620744-C38A-4875-8096-665E9FB4B55C.jpeg
     
  16. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,917
    F585C16F-6A3B-4EBF-88B9-E65415DE78A2.jpeg

    การเรียนกรรมฐาน การฝึกฝนจิตหาใช่ว่าโยมนั้นจะต้องมานั่งหลับตาอย่างเดียวไม่ เพราะว่าเราอยู่กับสังคมก็ดี กับหมู่คณะก็ดี เมื่อมีผัสสะมากระทบตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ที่สัมผัสเกิดขึ้นรับรู้ทางโสตผัสสะของวิญญาณทางใดทางหนึ่งแล้ว ถ้าเราไม่รู้เท่าทันในอารมณ์ที่จะข่มจิตข่มใจได้ จิตมันก็จะส่งออกไปภายนอก ทำให้กำลังแห่งไฟโมหะ โทสะ โลภะเหล่านี้มันครอบงำจิตเราได้

    นั้นฉันจึงบอกว่าเมื่อเรารู้เท่าทันอารมณ์นั้นแล..นิโรธมันก็บังเกิดขึ้น มันก็คือตัวดับอารมณ์ได้ แต่ถามว่าจะห้ามความโกรธ..ห้ามได้มั้ยจ๊ะ ห้ามไม่ให้เราคิดชั่ว..ห้ามได้มั้ยจ๊ะ (ลูกศิษย์ : ไม่ได้ครับ) งั้นไอ้ความคิดนั้นเป็นเรื่องของธรรมดาเมื่อมีกายสังขาร นั้นกายที่เราซับซ้อนกายอยู่ในร่างกายสังขาร..ก็มีกายเทพ กายพรหม กายยักษ์ กายมาร กายอสุรกาย นั่นก็หมายถึงว่าเราสามารถคิดดีคิดชั่วได้อยู่ตลอดเวลา เข้าใจมั้ยจ๊ะ งั้นเราจึงห้ามมันไม่ได้ แต่เรารู้เท่าทันมันได้มั้ยจ๊ะ (ลูกศิษย์ : ได้เจ้าค่ะ)
    แต่คนที่จะรู้เท่าทันในความคิดอกุศลและกุศลได้นี่มันเป็นอย่างไร..บุคคลผู้นั้นต้องฝึกจิตนั่นเอง และต้องหมั่นพิจารณาว่าธรรมที่เป็นกุศลอกุศลมันเป็นอย่างไร เมื่อเรารู้ทัน..ความคิดก็ดีอารมณ์ก็ดีมันก็จะดับของมันเอง นี่มันเป็นธรรมชาติของธรรมมันเป็นอย่างนั้น

    นั้นไม่ใช่..อย่าไปห้ามสิ่งนั้นไม่ให้เกิด สิ่งนี้ไม่ให้เกิด ก็เหมือนเราไปบังคับบีฑาบัญชาร่างกายสังขารว่าไม่ให้เสื่อมก็เช่นเดียวกัน โยมไปบังคับมันได้มั้ยจ๊ะ (ลูกศิษย์ : ไม่ได้) เหมือนความคิดนี้แล ความคิดหรือขันธมารในกายสังขารนี้ห้ามมันไม่ได้ แสดงว่าไอ้ความคิดนี้มันเป็นของเรามั้ยจ๊ะ (ลูกศิษย์ : ไม่ใช่ค่ะ) เมื่อมันเกิดขึ้นแล้ว..มันตั้งอยู่..มันดับไปมั้ยจ๊ะ (ลูกศิษย์ : ดับไปค่ะ) แต่ถ้าเราไปยึดมันเป็นของเรามั้ยจ๊ะ (ลูกศิษย์ : เป็นค่ะ) นั่นแหล่ะคือผู้ยึดเค้าเรียกตัวอัตตา

    ร่างกายเมื่อเรายึดเป็นอัตตามั้ยจ๊ะ (ลูกศิษย์ : เป็นเจ้าค่ะ) เมื่อยึดแล้วจะเป็นเรามั้ยจ๊ะ (ลูกศิษย์ : เป็นเจ้าค่ะ) แต่เมื่อใดเรารู้เราวางตัวเราได้นั่นแหล่ะจ้ะ..เราก็จะไม่มีเรา แต่สักแต่ว่าเป็นเรา อาศัยเรานั้นแลสร้างกุศลบารมี แต่ไม่ยึดว่าเราเป็นเรา ยึดเมื่อไหร่อัตตาก็เกิดขึ้นเมื่อนั้น ไอ้ความคิดก็เช่นเดียวกัน..ยึดเมื่อไหร่ทุกข์ก็เกิดขึ้นเมื่อนั้น นั่นเรียกว่าอุปาทานแห่งขันธ์

    แม้ร่างกายก็เรียกว่าเป็นขันธ์ ขันธ์คือกองทุกข์ ความคิดถ้าเรายึดในความคิด..ใช่ขันธ์มั้ยจ๊ะ (ลูกศิษย์ : ใช่เจ้าค่ะ) ถูกแล้วเมื่อเรายึดเมื่อไหร่มันก็เป็นอุปาทาน ความคิดก็ดี ภพก็ดี ชาติก็ดีมันก็บังเกิดขึ้น นั่นเค้าเรียกวัฏฏะ คือการเวียนว่ายตายเกิด พอมันเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปจึงบอกว่าวัฏสงสารได้ ร่างกายเมื่อโยมไปยึดไปถือไปอุปาทานมัน..มันก็เรียกเป็นกองขันธ์

    ฉันถึงบอกว่าเมื่อโยมดับกายสังขารตายไปแล้วก็ตามที อย่าคิดว่าโยมนั้นจะสิ้นทุกข์ เมื่อจิตโยมยังไม่หลุด..ดิ้นรนแสวงหาที่เกิด เข้าใจมั้ยจ๊ะ มันก็ยังมีภพยังมีขันธ์เกิดขึ้น เมื่อยังยึดถืออารมณ์อยู่ ยังดับไฟสามกองไม่ได้ จิตก็ยังเร่าร้อนดิ้นรนแสวงหาที่เกิดอยู่ร่ำไป แสดงว่าดิ้นรนแสวงหาที่เกิดอยู่ร่ำไปนี่ เพราะการเกิดเป็นทุกข์ แสดงว่าดิ้นรนแสวงหาให้เกิดทุกข์อยู่ตลอดเวลา ใช่มั้ยจ๊ะ

    นั้นไม่ใช่ขันธ์อย่างเดียวที่มันจะทำให้โยมเป็นทุกข์ ที่โยมแบกหามอยู่นี้ บางคนทุกข์เพราะกายสังขาร บางคนทุกข์เพราะความคิด บางคนทุกข์เพราะยึดมั่นถือมั่น คือปล่อยวางอะไรไม่ได้เลย บางคนไม่ได้ยึดตัวเอง แต่ไปยึดผู้อื่น ยึดลูกยึดสามี บางคนไม่ได้ยึดตัวคนที่มีชีวิต แต่ไปยึดสิ่งของ..เป็นขันธ์มั้ยจ๊ะ เพราะสิ่งของก็เป็นธาตุมั้ยจ๊ะ (ลูกศิษย์ : เป็นเจ้าค่ะ) นั่นก็เรียกเป็นกองขันธ์เป็นกองทุกข์ทั้งนั้น

    ใน ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ว่าด้วยทุกข์ว่าด้วยความอยากของมนุษย์ทั้งนั้น คือจิตที่เราดิ้นรนแสวงหาภพ แต่ไม่เคยคิดที่จะเที่ยวแสวงหาการดับของความอยากแห่งความเกิด เมื่อเราไม่เที่ยวหา..แต่ไปเที่ยวหาแสวงหาสิ่งที่ไม่มีมาครอบครอง โยมว่ามันจะอยู่กับเราได้มั้ยจ๊ะ (ลูกศิษย์ : ไม่ได้) ของถ้ามันเป็นของเราแม้โยมไม่แสวงหา แม้โยมจะดิ้นรนหรือหนีมันไป..มันก็ตามหาโยม จำไว้นะจ๊ะ แต่อันไหนที่โยมไม่ได้เป็นเจ้าของ แต่โยมไปแสวงหาเค้า แม้โยมจะได้ครอบครอง โยมก็ครอบครองได้ไม่นาน

    แต่สิ่งไหนที่โยมไม่คิดจะแสวงหา แต่ว่ามันเป็นของๆโยมเมื่อไหร่ โยมจะไปอยู่ในโลกไหน เค้าจะตามหาโยมจนเจอ นั่นก็คือเรียกว่า"กรรม" เช่นถ้าโยมทำกรรมดีไว้กรรมนั้นจะสนอง ถ้าทำกรรมชั่ว..โยมจะอยู่ที่ไหนมันก็ตามหาโยมจนเจอ ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น เพราะไม่มีอะไรใครจะพ้นกรรมลิขิตไปได้

    ถ้าใครไม่เชื่อเรื่องกรรมก็พ้นทุกข์ไม่ได้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ ศาสนาแห่งพุทธศาสนานี้เค้าสอนให้เชื่อเรื่องกรรม ว่ากรรมดีกรรมชั่วเมื่อมันเกิดขึ้นแล้วให้ผลแล้ว..มันย่อมสนองตามกำลังแรงกรรมของมันอย่างนั้น ถ้าใครอยากจะพ้นกรรมต้องสร้างกรรมดีให้เหนือ ทำกรรมดีให้มากให้หลุดพ้น คือไม่ยึดติดในกรรม

    นั้นกรรมเค้าถึงบอกว่าในอดีตที่มันล่วงมาแล้วไปเปลี่ยนแปลงได้มั้ยจ๊ะ ไปแก้ไขได้หรือไม่ (ลูกศิษย์ : ไม่ได้) แต่เค้าให้กำหนดรู้ในปัจจุบันแห่งกรรม ว่าสิ่งทั้งหลายที่เราทำมานั้น กรรมทั้งหลายมันให้ผลเผ็ดร้อนอย่างไรในกรรมชั่ว หากเรามีความเข็ดหลาบจดจำแล้ว มีความละอายแล้ว มีความเกรงกลัวต่อบาป มีหิริโอตัปปะเสียแล้ว นี่แหล่ะเค้าเรียกว่าเราจะก้าวสู่การพ้นจากความชั่วได้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  17. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,917
    4F913754-873A-4471-8AE6-ED0343B099B8.jpeg

    การสำรวมกาย วาจา ใจ สำรวมอินทรีย์อยู่บ่อยๆ ก็คือการเจริญฌานอยู่บ่อยๆ รักษากายวาจาให้ตั้งมั่นอยู่บ่อยๆ เมื่อเราทำได้อย่างนี้ อบรมบ่มจิตได้อย่างนี้แล้ว จึงได้ชื่อว่าผู้รักษาพรหมจรรย์ นั้นอะไรที่มันผ่านมาแล้วที่เรานั้นทำผิดพลาด ที่ไม่สามารถจะพ้นจากอาสวะกิเลสได้ มันก็เป็นของธรรมดาที่จิตเรานั้นยังขาดจากศรัทธา ขาดจากกำลัง ขาดจากสติปัญญา มันย่อมเป็นธรรมดาที่ไม่สามารถจะไปพิจารณาเท่าทันในขันธมารก็ดี ในอกุศลกรรมก็ดี..

    นั้นเมื่อเราทำอะไรมาแล้วที่เป็นอกุศลกรรมที่ไม่ดี จะเป็นความเลวความชั่วช้าลามกอย่างไรก็ตาม ขอให้ละทิ้งอารมณ์นั้นเสีย ให้เจริญกุศลในความดีให้มันเกิดขึ้นมาก่อน เมื่อกุศลความดีมันเกิดขึ้น กำลังแห่งกุศลและความดีนั้นแล..อารมณ์เหล่าใดที่มันเกิดขึ้นในขณะนั้น อารมณ์เหล่านั้นย่อมมีกำลังมากกว่า

    ก็เหมือนถ้าอกุศลมันเกิดขึ้นก่อน มันย่อมมีกำลังมากกว่ากุศล แต่ถ้าเราสามารถละอารมณ์ตัดอารมณ์แห่งอกุศลลงไปได้ แล้วเจริญกุศลคุณงามความดีให้เกิดขึ้น มันก็จะมีกำลังมากกว่าอกุศล เมื่อมันมีกำลังมากกว่าก็เอากำลังอันนั้นแล..เอาไปประหัตประหารไปละอารมณ์ที่เป็นอกุศล

    สะสมมากๆเข้าแล้วอย่างนี้ เค้าเรียกว่าทำกุศลให้เบ่งบาน ให้เติบโต เมื่อมันมีกำลังแห่งกุศลมากๆเข้า เรียกว่าจิตมันจะสูงขึ้น สภาวะจิตสภาวธรรมมันก็สูงขึ้น เมื่อเราอยู่ที่สูงย่อมเห็นสภาวะที่ต่ำ หรือการเคลื่อนไหวของอกุศลได้ง่าย อย่างนี้แลท่านทั้งหลาย บรรพชิตก็ดีควรน้อมจิตเข้าไปพิจารณาให้เห็นว่าสังขารทั้งหลายทั้งปวงที่เราอาศัยอยู่นี้เป็นของชั่วคราว เป็นของที่สมมุติขึ้นมา เป็นของของโลก เป็นของพญามัจจุราชที่หล่อหลอมขึ้นมาเป็นเอนกชาติ

    คำว่า"เอนกชาติ"จึงนับไม่ได้ว่าการเกิดการตายของเรานี้มีมาไม่รู้เท่าไหร่ จนจำไม่ได้ว่ากระดูกของเรานั้นของทุกข์นั้นกองเป็นภูเขาเลากา ก็ต้องมีการเกิดตายอยู่อย่างนี้ไม่รู้จักจบสิ้น ถ้าเมื่อใดเรานั้นไม่รู้เหตุแห่งทุกข์ก็ไม่รู้เหตุแห่งการเกิด เมื่อไม่รู้เหตุแห่งการเกิด..การจะพ้นจากความตายนั้นเป็นไปไม่มี

    ดังนั้นการที่เรานั้นมาเจริญสติเจริญภาวนาก็เพื่อให้รู้ต้นเหตุแห่งทุกข์ ต้นเหตุแห่งการเกิด เมื่อเรารู้แล้วในเหตุแห่งการเกิดว่าทำไมมันถึงเกิดขึ้นมา ความเกิดทั้งหลายเกิดจากความพอใจความใคร่แห่งความอยากทั้งหลาย นี่เรียกว่าอารมณ์แห่งอกุศลที่จิตยังมีเครื่องร้อยรัดแห่งความเศร้าหมองอยู่

    จิตเมื่อพ้นจากความเศร้าหมองเสียได้นั่นแล เค้าเรียกว่าจิตนั้นเป็นจิตที่สะอาด จึงเรียกว่าจิตเข้าถึงศีล จิตเมื่อมันมีศีลแล้วเค้าเรียกว่าจิตเข้าถึงความเป็นปรกติ เมื่อเรารักษาใจให้เป็นปรกติได้อยู่ตลอดเวลา ไม่ทำให้จิตนั้นเศร้าหมอง ไม่ให้จิตนั้นหดหู่ หรือเรียกว่าอกุศลมาครอบงำได้อีก..

    แต่การอยู่ในโลกมันเป็นธรรมดาที่เราจะต้องข้องแวะเกี่ยวข้องกับสิ่งที่ไม่ดี หรือสิ่งที่มากระทบ เค้าจึงบอกว่าหากเรามีองค์ภาวนา มีทาน มีศีล มีปัญญาอบรมบ่มจิตอยู่บ่อยๆแล้ว มันก็สามารถชำระล้างอกุศลที่เราไปติดไปข้องแวะมาได้ นั้นการที่เรามาเจริญทาน ศีล ภาวนานี้แล เรียกว่าการชำระล้างจิตให้เข้าถึงความบริสุทธิ์ ความบริสุทธิ์มันก็คือศีลนั่นเอง คือความเป็นปรกติ

    โรคอะไรก็ตามที่เกิดขึ้นอยู่..หากเรามีศีลมันจะช่วยชำระล้างบำบัดให้โรคภัยนั้นเบาบางได้ ดังนั้นก็ควรเจริญควรกระทำอบรมจิตให้อยู่บ่อยๆเนืองๆ ตามวาระโอกาสที่เรานั้นจะทำได้ เช่นวาระที่จะทำให้เข้าถึงกุศลธรรมก็คือการสวดมนต์ก็ดี การฟังธรรมก็ดี การให้ธรรมก็ดี การตรึกตรองอยู่ในธรรมก็ดี การเจริญวิปัสสนาญาณก็ดี คือการเอาสติไปพิจารณาเหตุแห่งธรรมที่เกิดขึ้นของอารมณ์ของจิต ที่จิตยังไปข้องเกี่ยวอยู่ หากเป็นอย่างนี้ได้ ทำอยู่บ่อยๆอย่างนี้ไม่นานจิตนั้นจะเข้าถึงพุทโธ เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน...

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  18. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,917
    9DED3132-609E-4917-AE1A-8B2EFC5993D3.jpeg

    ๑๓ ตุลาคม น้อมรำลึกถึงพ่อหลวงร.๙ พระบิดาที่เปี่ยมไปด้วยพรหมวิหาร๔ เป็นแบบอย่างในการสร้างบารมีให้ลูกหลานได้ปฏิบัติตาม ที่สุดของพ่อหลวงในชาติปัจจุบันของข้าพเจ้า ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ
     
  19. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,917
    F8AF0F2D-34A1-4028-B318-82042ABF7DD1.jpeg

    เมื่อเรามีโอกาสแล้วควรประพฤติปฏิบัติละให้มาก ละให้มากนี้ทำอย่างไร เจริญสติให้มาก ถ้าสติมากเมื่อไหร่ ปัญญามันเกิดขึ้นโดยธรรมชาติของมัน อย่าได้มีแต่ความเพียรอย่างเดียว เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ดังนั้นแล้วสตินี้คืออะไร คือตัวระลึกได้ ตัวระลึกรู้ว่าเราทำอะไรอยู่ขณะนี้ ทำไปเพื่อหวังอะไร หวังประโยชน์อะไร การฝึกจิตอย่าไปคาดหวังว่านั่งแล้วต้องสงบอย่างนั้นอย่างนี้ เหมือนวันนั้นวันนี้ แต่การเจริญสมาธิประพฤติปฏิบัติธรรมต้องหวังเพื่อเจริญการหลุดพ้น หวังเพื่อเจริญปัญญา อย่าได้ไปหวังอย่างอื่น

    อันธรรมชาติของจิตนั้นเมื่อเรานั้นหยุดคาดหวังอะไรแล้ว จิตมันจะสงบของมันเองไปในตัว เมื่อเราคาดหวังจิตจะฟุ้งซ่านทันทีเป็นธรรมชาติของมัน เข้าใจมั้ยจ๊ะ ดังนั้นแล้วเราก็ประพฤติปฏิบัติอยู่แล้วในสมาธิ ก็รู้อยู่แล้วสมาธิคืออะไร..คือความสงบของจิต นั้นจิตที่ไม่สงบอะไร ก็เอาความไม่สงบนั้นกำหนดรู้แล้ววิตกวิจารละมันลงไปอย่างนั้น เข้าใจมั้ยจ๊ะ แล้วกำหนดรู้ในอารมณ์นั้น

    ถ้าเรารู้แล้วไม่เท่าทันมันเราก็ภาวนากำกับจิตเข้าไป เพื่อให้ไปแทรกกับอารมณ์นั้น เมื่อสติและองค์ภาวนานั้นมันเป็นหนึ่งกัน ความฟุ้งซ่านก็ดีมันก็จะจางอันตรธานหายไปเอง ดังนั้นเมื่อเรามีองค์ภาวนาอยู่ตลอดเมื่อเราระลึกได้ นั้นการเจริญสมาธิมันก็มีอยู่ตลอดเวลา ใช่มั้ยจ๊ะ ศีลก็มีอยู่ตลอดเวลา

    แล้วในขณะใดที่เรานั้นเผลอเรอไปบ้างก็ดีเหล่านี้ แต่เมื่อเราระลึกได้อีก..ศีลมันก็บังเกิดขึ้นอีก ดังนั้นแล้วอันว่าตัวปัญญานี้มันเกิดได้ตลอดเวลาเมื่อเรามีสมาธิ มีสติที่ตั้งมั่นที่นอบน้อมไปในธรรม..ธรรมมันก็บังเกิดได้ มันจะทำให้เรานั้นเข้าถึงศรัทธา เข้าถึงวิริยะ เข้าถึงสติ เข้าถึงความเพียรในปัญญาขึ้นมาเอง อย่างนี้เรียกว่าเป็นการทำให้พละและอินทรีย์เรานี้มีกำลังมาก

    เมื่อพละและอินทรีย์เรามีกำลังมากเมื่อไหร่ การจะประหัตประหารกิเลสอวิชชาทั้งหลาย เมื่อถึงเวลาแล้วจิตมันจะหลุดพ้นของมันเอง ไม่ใช่บอกว่าเราประพฤติปฏิบัติกรรมฐานไป กิเลสตัณหาราคะทั้งหลายก็ยังมีอยู่มาก มันจะหมดไปเมื่อไหร่..ไม่ต้องไปถามมัน มันไม่ใช่หน้าที่

    หน้าที่เราคือละแล้วฝึกจิต แล้วเมื่อไหร่เราเห็นความเบื่อหน่ายเมื่อไหร่นั่นแหล่ะจ้ะ โยมจะรู้ว่ามันจะหลุดไปเมื่อไหร่ ถ้าโยมยังไม่เห็นความเบื่อหน่าย ยังมีความพอใจในกายนี้ว่ากายนี้เป็นของเราเมื่อไหร่ ภพชาติก็ยังมีอยู่ร่ำไป แต่ถ้าโยมเห็นว่าการเกิดก็ดีเป็นทุกข์อย่างไร ว่ากายสังขารเรานี้เป็นแค่เพียงอาศัยไว้ประพฤติปฏิบัติ เมื่อถึงเวลามันจะต้องตาย ต้องสละ ต้องพลัดพรากจากกัน เราจะไม่เสียดาย

    แต่ในขณะที่ยังมีกายอยู่ มีลมหายใจอยู่ เราจะใช้กายและลมหายใจนี้ให้เป็นประโยชน์ให้มาก นั่นแลผู้นั้นเมื่อถึงเวลาของมัน อินทรีย์พละทั้ง ๕ เต็มแล้ว จะสลัดทุกอย่างออกไปโดยไม่แยแสอะไรอีก เข้าใจมั้ยจ๊ะ ถ้าโยมตายก่อนบรรลุธรรม..ก็กรรมฐานนี้แลจะไปช่วยให้โยมนั้นมีสติระลึกถึงบุญ แล้วผลบุญนั้นจะนำพาโยมไปสัมปรายภพ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  20. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,917
    การปฏิบัติเพื่อละ เป็นแนวปฏิบัติสายตรงตามที่ครู อาจารย์ได้กล่าวเอาไว้


    ละ ความอยากทั้งหลายทั้งปวง


    ถึงแม้การใช้ชีวิตอยู่ในสังคมปัจจุบันในเรื่องของโลกธรรมนั้น มันจะยากเย็นขนาดไหนก็ตาม แต่สิ่งที่ได้เห็นชัดที่สุดคือ “เรื่องของความทุกข์” ซึ่งตรงตามธรรมคำสั่งสอนของพระรัตนตรัย


    “ผู้ใดเห็นทุกข์ ผู้นั้นเห็นธรรม”


    สิ่งที่ต้องมีในปัจจุบันคือ “ที่พึ่งหรือสรณะ” “จงมีตนเป็นที่พึ่ง มีตนเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ จงมีธรรมเป็นที่พึ่งมีธรรมเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะเป็นอยู่”


    “เงิน ทอง”เป็นที่พึ่งในปัจจุบันที่ไม่สามารถปฏิเสธได้ เพราะสังคมเจริญไปด้วยวัตถุที่เป็นสิ่งสมมุติที่ทำให้เกิด”ความอยากมี อยากได้ อยากเป็น อยากเอา” บุคคลเหล่าใดที่หลงเข้าไปยึดติดกับสิ่งสมมุตินั้นแล้ว ย่อมอยู่ห่างไกลจากพระธรรม


    “ขอให้รวยก่อน ถึงจะเข้าศึกษาธรรม ขอให้มีกินมีใช้ก่อน ถึงจะปฏิบัติธรรม” เป็นวิถีของดวงจิตที่ยังต้องวนเวียนอยู่ในวัฏฏะ


    “ละความชั่วทั้งหลายทั้งปวง ทำความดีให้ถึงพร้อม ทำจิตใจให้สะอาดผ่องใส”


    ทำความดี แต่ยังไม่ละความชั่ว จิตใจก็ยังไม่สะอาดผ่องใส แต่ถ้าละความชั่ว แล้วไม่ทำความดี จิตใจนั้นก็ผ่องใสได้ด้วยเหตุที่ใจนั้น ละแล้ว สละแล้ว ไม่ยึดติดแล้ว


    สุดท้าย เมื่อได้อธิษฐานจิตเพื่อการหลุดพ้นแล้ว จงมีขันติธรรม วิริยะ โดยใช้ปัญญา ก็จะสามารถฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆไปได้ “เหนื่อยกายมันไม่นาน แต่ถ้าเหนื่อยใจมันอยู่นาน” ดังนั้นการปฏิบัติเพื่อไม่ให้เกิดมีรูปและนามขึ้นมาอีก จึงเป็นสิ่งที่สูงสุดของการเกิดมาในภพปัจจุบัน



    สาธุ สาธุ สาธุ
     

แชร์หน้านี้

Loading...