นิมิต - กรรมฐาน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย NAMOBUDDHAYA, 11 พฤษภาคม 2019.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,973
    ?temp_hash=0f6fad91a490176cc04a33a4a9f4ff80.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,973
    vIpy0WGrZtBXiOSuQhDd0124xOl_AmEd1CfGAJaD9MYYJstYsv0do3RutlMpelPoWhHEIDQX&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,973
    อันดับแรกก็ขอเตือนญาติโยมพุทธบริษัทก่อน ว่ากรรมฐานกองที่สำคัญที่สุด ญาติโยมจะทำกองไหนก็ตาม แต่จะทิ้งไม่ได้นั่นก็คือ อานาปานุสสติกรรมฐาน ก่อนที่จะภาวนาว่าอย่างไรก็ตาม พิจารณาก็ตาม ต้องรู้ลมหายใจเข้าออกก่อน อานาปานุสสติกรรมฐาน นี่เป็นกรรมฐานคุมกรรมฐานทุกกอง ต้องขึ้นต้นก่อน หลังจากขึ้นต้น อานาปานสติ คือลมหายใจเข้าออก หายใจเข้ารู้อยู่ว่าหายใจเข้า หายใจออกรู้อยู่ว่าหายใจออก นี่อย่างหยาบขั้นต้น

    ต่อไปก็หายใจเข้ายาวหรือสั้น หายใจออกยาวหรือสั้นก็รู้อยู่ นี่อย่างละเอียด
    ถ้าละเอียดถึงที่สุด สมาธิสูงสุดเป็นฌาน ถ้าเวลานั้นจิตทรงฌานเล็กน้อย ฌานเบื้องต้นคือ ๑,๒,๓ จะรู้อาการของลมตั้งแต่กระทบจมูกเรื่อยไปถึงหน้าอก ไปถึงศูนย์เหนือสะดือ ลมหายใจออกกระทบศูนย์เหนือสะดือ กระทบหน้าอก กระทบปลายจมูกจะรู้ตัว ถ้าหากว่ามีความรู้สึกอยู่แล้วให้ทราบว่าเวลานั้นจิตเป็นฌาน ๑ ถึงฌาน ๓ ไม่ใช่ฌาน ๔ ถ้าฌาน ๔ จิตจะไม่มีความรู้สึกสัมผัสกับลม คือว่าประสาทกับจิตแยกกันเด็ดขาด ที่มีความรู้สึกว่าเหมือนไม่หายใจ แต่ความจริงหายใจ แต่จิตกับประสาทแยกกัน จิตไม่ทราบเรื่องของประสาท

    โดยหลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง
    โอวาทหลวงพ่อวัดท่าซุง เล่ม ๓ หน้า ๖๒
     
  4. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,973
    ?temp_hash=df4fac228e47f8bc3717459821059fea.jpg


    ?temp_hash=df4fac228e47f8bc3717459821059fea.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,973
    การปฏิบัติ สมณธรรม ต้องทำไปให้ถึงระดับ ได้อาจารย์ที่ไม่ใช่มนุษย์ แล้วคอยรับการสั่งสอนจากท่านนั้น ๆ เป็นการปฏิบัติกรรมฐานที่เข้าระดับกรรมฐาน ที่เอาตัวรอดได้ ถ้านักปฏิบัติทั้งหลาย ยังคอยคำสอนของอาจารย์ที่เป็นมนุษย์ฝ่ายเดียว หรือแกะหนังสือดูตำราเป็นสำคัญแล้ว ท่านนักปฏิบัติท่านนั้นยังเอาตัวไม่รอด

    จากหนังสือ โอวาทหลวงพ่อวัดท่าซุง เล่ม ๑ หน้าที่ ๔๓ โดย...หลวงพ่อพระราชพรหมยาน
     
  6. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,973
    พิจารณาเกิด-ดับ

    ผู้ถาม : กราบเท้าหลวงพ่อที่เคารพอย่างสูง ลูกอยู่ประเทศออสเตรเลีย แต่ก็มีโอกาสได้อ่านหนังสือธัมมวิโมกข์เป็นประจำ ก็มีความสงสัยอยากจะใคร่เรียนถามข้ามทวีป มาดังต่อไปนี้

    ข้อที่ 1. การพิจารณาการเกิดดับนั้น เขาพิจารณากันแบบไหน ขอหลวงพ่อได้โปรดแนะนำด้วยเถิดเจ้าค่ะ ?

    หลวงพ่อ :

    พิจารณาเกิดดับเหรอ พิจารณาแบบไหนดีล่ะ เอาอย่างนี้ก็แล้วกัน เราเกิดมาแล้วมันเหลือแต่เวลาดับ ให้ดูคนอื่น ดูคนอื่นดูสัตว์อื่นว่าเขาเกิดมาแล้วในที่สุดเขาก็ตาย เราก็มีสภาพเช่นเดียวกัน เมื่อเกิดมาแล้วไม่ช้าก็ตายเหมือนกัน ดูแค่นี้ก็แล้วกัน ไปดูตามตำราดูไม่เห็นหรอก ต้องดูแบบนี้นะ เวลาปฏิบัติจริงเขาดูกันแบบนี้ ไม่ใช่ตามตำรา

    ผู้ถาม : ข้อที่ 2. วิธีพิจารณาร่างกายให้เห็นว่าเป็นที่น่ารังเกียจปฏิกูลนั้น จะต้องใช้ปัญญาและอารมณ์แบบไหนเจ้าคะ ?

    หลวงพ่อ : ไม่ต้องใช้ ไม่ต้องใช้มาก สังเกตข้าว อาหารที่กิน เลือกแล้วเลือกอีกใช่ไหม พอเป็นกากไหลออกมาดูไม่ได้ แล้วเป็นขี้ นี่อยู่ในร่างกาย ฉะนั้นของในร่างกายทั้งหมด มันเต็มไปด้วยของสกปรก ไม่ใช่ของดี

    อย่างเลือดที่เราต้องการให้มีเลือดมากๆ ใช่ไหม แต่ว่าพอเลือดไหลออกมาแล้วเราก็รังเกียจเลือด ใช่ไหม แล้วก็สำหรับในปากน้ำลายมีอยู่เราอมได้ พอบ้วนมาเราแตะต้องไม่ได้ แสดงว่าข้างในร่างกายไม่มีอะไรดี มีแต่สกปรกอย่างเดียว เท่านั้นไม่ยาก

    ผู้ถาม : อ๋อ แค่นี้เอง แต่ฝรั่งนี่แปลกจริงๆ มันดูดกันได้นะ ไม่ปฏิกูลน่าเกลียด

    หลวงพ่อ : คนไทยเขาก็มีดูดนะ หนังสือพิมพ์ลงบ่อยๆ (หัวเราะ)

    (จากธัมมวิโมกข์ ฉบับที่ 98 เดือนเมษายน 2532 หน้า 19-20)
     
  7. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,973
    อานิสงส์ของการสวด'อิติปิ โสฯ'

    หลวงพ่อ : วันนี้เมื่อกี้พอเขาสวด ก็เริ่มจิตสบาย ใจก็จับอยู่ที่พระใช่ไหม เป็นธรรมดา ได้ยินเสียงสวดมนต์นี่ไม่ได้หรอกได้ยินเสียงสวดมนต์ปั๊บ จิตจะเข้าสู่ปกติของมันทันที จะเห็นอะไรทั้งหมด ได้เห็นบัญชี ๒ บัญชี มายืนอยู่ข้างหลัง"

    ผู้ถาม : "อะไรบ้างครับ..?"

    หลวงพ่อ : บัญชีนรก และก็บัญชีสวรรค์ บัญชีนรกน่ะ ลุง (พยายม) ใช่ไหม บัญชีสวรรค์คือท่านปัญจสิกขเทพบุตร จดเหมือนกันว่า ทุกคนที่เจริญ พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติกรรมฐาน

    การสวดนี่เขาถือกันว่าเป็นสมาธิในกรรมฐานในอนุสสติ ๓ อย่าง อานิสงส์สูงมาก นี่ฉันรู้วันนี้นะ เพิ่งรู้เมื่อกี้นี้ อานิสงส์มากจริงๆ และก็ลุงก็เลยล้อว่า... "ไอ้พวกนี้มันแกล้งไม่ไปนรก มันนึกว่ามันสวดให้พ่อมันความจริงมันได้" (หัวเราะ) .."

    ผู้ถาม : "ผมนึกว่าได้หลวงพ่อองค์เดียว"

    หลวงพ่อ : "ที่ไหนได้ล่ะ เขาสวดยาวเหยียดเลยทำมากี่ปีแล้ว เท่าไหร่แล้ว อานิสงส์เป็นยังไงแล้ว แล้วก็การสวดอิติปิโส สรรเสริญทั้งคุณพระพุทธเจ้า สรรเสริญคุณพระธรรม พระอริยสงฆ์ระดับ พระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์
    สุปฏิปันโน นี่ พระโสดาบัน
    อุชุปฏิปันโน นี่ พระสกิทาคามี
    ญายะปฏิปันโน นี่ พระอนาคามี
    สามีจิปฏิปันโน นี่ พระอรหันต์
    สามี ผัว (หัวเราะ) ความจริงภาษาบาลีเรียก "ปติ"
    "ปติ" นี่เขาแปลว่า ผัว "สามี" นี่แปลว่านาย คือผู้เป็นใหญ่ เราใช้ผิด

    คือว่าท่านบอกว่า ไอ้บทท้ายนี่ให้ใช้ทุกวัน อย่าลืม ที่บอกว่า ให้เข้าถึงพระนิพพานในชาติปัจจุบันนี้เถิด ท่านบอกว่า "ถ้าคนไหนถ้าตัวหนังสือที่จดไว้เป็นแก้ว คนนั้นไปนิพพานชาตินี้แน่" มันจะเปลี่ยนสีทุกวัน มันจะค่อยๆ ใสทุกวันๆ ขึ้นไปนะ"

    ผู้ถาม : "แสดงว่าทุกคนที่นั่งอยู่นี่ ก็ใสเป็นแก้วหมดแล้ว"

    หลวงพ่อ :
    "บางคนก็เป็นแก้วเหล้า บางคนก็เป็นแก้วเบียร์ แก้วน้ำชา นี่ยังดีดีกว่าแก้วปลาร้า แต่ว่าเอาส่วนใหญ่กันจริงๆ นะ มีหวัง เมื่อกี้นี้เขาบัญชีมาให้ดูตัวใสขึ้นมาก ท่านบอกตัวใส ๆ แบบนี้มีหวังทุกคน ให้ดูสีตัวหนังสือที่เขียนนะ"

    **จากธัมมวิโมกข์ ฉบับที่ ๓๐๑ หน้า ๘๐ โดยหลวงพ่อฤๅษีฯ วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี
     
  8. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,973
    ?temp_hash=e97a7a65bf88d7fe83b7deba224e4e7c.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  9. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,973
    ขอบรรดาพระโยคาวจรทั้งหลายพึงทราบ ว่าเรามีกิเลสมานานนับอสงไขยกัปอยู่ๆ จะตัดมันทีเดียวเด็ดขาดย่อมไม่ได้ แต่ว่าจงอย่าท้อถอยในกำลังใจ มีวิริยะ อุตสาหะ คือประกอบไปด้วยอิทธิบาท ๔ คือต้องมี ฉันทะ มีความพอใจในการตัดกิเลส มี วิริยะ มีความเพียรในการต่อต้านอุปสรรคที่เกิดขึ้นกับจิต จิตตะ เอาจิตใจจดจ่อไว้เสมอ ว่าเราจะตัดสักกายทิฏฐิ มีความเห็นว่าตาย เราจะไม่สงสัยในคำสอนของพระพุทธเจ้า เราจะรักษาศีลให้ครบถ้วน แล้วก็ต่อไป วิมังสา เราจะใช้ปัญญาเป็นเครื่องใคร่ครวญคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และข้อวัตรปฏิบัติ ที่องค์สมเด็จพระทรงสวัสดิโสภาคย์ทรงเรียกว่า อิทธิบาท ๔ คือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา คำว่าวิมังสานี่ใคร่ครวญใช้ปัญญาไว้เสมอ ถ้าทุกท่านมีอิทธิบาท ๔ ประการครบถ้วน อารมณ์ของพระโสดาบันไม่ยากสำหรับท่าน แต่ก็จงอย่าลืมว่าเราจะตัดเด็ดขาดทันทีทันใด มันก็ไม่ได้เหมือนกัน

    จากหนังสือ โอวาทหลวงพ่อวัดท่าซุง เล่ม ๕ หน้าที่ ๕ โดย...หลวงพ่อพระราชพรหมยาน
     
  10. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,973
    การบังสุกุลนี่เขาให้พระไปบังสุกุลตัวเอง ให้เปรียบเทียบกับศพ ไอ้คนที่ตายนี่สภาพเดิมมันมีสภาพเช่นเดียวกับเราทั้งหมด พูดได้เดินได้ พูดจริงได้ พูดโกหกได้ ใช่ไหม ทำได้ทุกอย่าง เวลานี้ เขาสิ้นลมปราณไปเสียแล้ว ร่างกายแบบนี้มันไม่จีรังยั่งยืน มันไม่เที่ยง ขณะที่มันเกิดขึ้นมาแล้ว มันก็มีทางเสื่อมเป็นปกติในที่สุดก็ดับ ไอ้การดับไปนี้ก็เหมือนกับไม้ท่อนที่เขาทิ้งไว้ในกลางป่า เดินไม่ได้ เตสัง วูปสโม สุโข การเข้าไปสงบกายชื่อว่ามีความสุข ถ้าเราไม่มีกายอย่างนี้อีก มันหมายถึงนิพพาน แล้วก็มีความสุขอย่างยิ่ง

    นี่เขาให้พระไปพิจารณาตัวเอง แต่พระเอาไปเป็นอาชีพเสียนี่ ไปบังสุกุลที เอ วันนี้ถวายเท่าไรหว่า ดีไม่ดีบ้านนี้หิ้วกันร่องแร่ง ๆ บอกไม่ว่างไปงานโน้น ติดเสียแล้ว เห็นจนหน่อย นี่ลงนรกนะ ถ้าถือว่าเขานิมนต์ไปจะต้องถวายเงิน ถ้าจิตคิดอย่างนี้ลงนรกแน่ เพราะเป็นโลภจิต ถ้าถือว่าเป็นกิจการนิมนต์ก็ไป ไปตามหน้าที่ หน้าที่ไปก็ไปดูศพเป็นอสุภสัญญาเป็นอสุภกรรมฐาน อันนี้ได้บุญแน่ เขาให้ก็ได้บุญ เขาไม่ให้ก็ได้บุญ ถ้าถือเป็นอาชีพก็เสร็จ เสร็จจริง ๆ ไม่ใช่เสร็จเบานะ เสร็จหนักด้วย เพราะลืมตัว

    จากหนังสือ โอวาทหลวงพ่อวัดท่าซุง เล่ม ๒ หน้าที่ ๓๒ โดย...หลวงพ่อพระราชพรหมยาน
     
  11. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,973
    ?temp_hash=6192396fa078f00cdc98017d3c679217.jpg

    ท่านพระอาจารย์มั่นเทศนาธรรมให้ฟังว่า

    " ฟังให้ดีนะท่านเจี๊ยะ ปฏิภาคนิมิตนั้นอาศัยผู้ที่มีวาสนาจึงจะบังเกิดขึ้นได้...

    อุคคหนิมิตนั้นเป็นของไม่ถาวร
    ต้องพิจารณาให้ชำนาญแล้วเป็นปฏิภาคนิมิต

    เมื่อชำนาญทางปฏิภาค ทวนกระแสเข้ามาเป็นตน
    ปฏิภาคนั้น เป็นส่วนวิปัสสนา

    สำหรับอุปจารสมาธิ
    สามารถรู้วาระจิตของผู้อื่นได้ สามารถแก้นิวรณ์ได้
    แต่โมหะคลุมจิต

    ถ้าเจริญวิปัสสนาถึงขั้นอัปปนาสมาธิแล้ว
    จะต้องทำความรู้ให้เต็มเสียก่อน จิตจึงจะไม่หวั่นไหว

    การที่จะสอนการดำเนินสมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน โดยเฉพาะเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งนั้นมิได้

    เพราะว่าจริตของคนมันต่างกัน แล้วแต่ความสะดวกไหวพริบของใคร
    เพราะการดำเนินจิต มีหลายแง่หลายมุมแล้วแต่ความสะดวก

    นิมิตทั้งหลายเกิดด้วยปีติสมาธิอย่างเดียว...
    ที่แสดงตามนิมิตออกมาทั้งหลายนั้น กรุณาท่านอย่าหลงตามนิมิต...

    ให้พยายามทวนกระแสจิตเข้าสู่จิตเดิม เพราะนิมิตทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยง หลงเชื่อนิมิตประเดี๋ยวก็เป็นบ้า

    การที่จะแก้บ้านิมิตนั้น ต้องทวนกระแสจิตเข้าสู่จิตเดิม
    ถ้าทำได้อย่างนั้น
    อย่างบางทีเรานั่งภาวนาอยู่กลางป่าเขา มีเสือมานั่งเฝ้าเราผู้บำเพ็ญพรตอยู่กลางป่าเพียงลำพัง เสือนั้นเป็นเทพมิตเสียโดยมาก ถ้าเป็นเสือจริงมันเอาเราไปกินแล้ว"

    ท่านพระอาจารย์มั่นท่านเมตตาพูดธรรมะให้ฟังเพียงสั้นๆ เท่านี้ ก็เกิดความกินใจเป็นอย่างยิ่ง นึกถึงธรรมะคำสอนและองค์ท่านเมื่อไหร่ น้ำตามันจะปริ่มไหลเพราะความถึงใจทุกที น้ำตานี้จึงเป็นน้ำตาที่มีคุณค่ามากนะ

    +++++
    หลวงปู่เจี๊ยะ จุนโท
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,973
    Watthasung.com

    JbL9JK4nPps0_PUE6vHKIGVW-d4kr1Wt73da5BFbIZjnkAzuqPLfi4pa6amRTQVpSeLbPQk4&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
    ตำราปฏิบัติ เป็นตำราใหญ่


    คือ มีพระอยู่องค์หนึ่ง "เป็นยังไงครับ"

    ก็เทศน์ด่าหลวงพ่อออกทีวีอยู่เรื่อย เรื่องมโนมยิทธิบ้าง อะไรอย่างนี้นะ ลูกศิษย์ลูกหาไปหาก็พูด พูดว่า ไอ้มโนมยิทธินี่มันเพ้อฝันไป แล้วก็ เป่ายันต์เกราะเพชรก็..นั่นไป อะไรก็ว่าไปเรื่อย

    เราก็เอ๊ะ..เป็นพระผู้ใหญ่ พูดไปแสดงว่า ตาบอดคลำช้างแล้ว ทุกคนน่ะ กรรมฐานกองใดกองหนึ่งมันก็จบกิจได้นี่ เพียงแต่ท่านอาจจะเข้าใจของท่าน แต่ของคนอื่นผิด

    "หรือไม่ก็ถนัดมาทางสุกขวิปัสสโกละมั้ง"

    ท่านก็มีทิพจักขุญาณเหมือนกัน

    "มีแต่ไม่จริง แล้วเป็นฌานโลกีย์"

    ใช่ๆๆ

    "ฌานโลกีย์นี่เอาแน่เอานอนอะไรไม่ได้เลยหรือครับ"

    (ดร.ปริญญา พูดเสริมว่า) "แน่นอนไม่ได้ แต่ว่าเนื่องจากว่าเป็นพระผู้ใหญ่ เป็นเจ้าคุณ แล้วก็บวชอีกสายหนึ่งเสียอีก ตัวมานะก็เลยเยอะ ใครๆก็ว่าฉันเเน่ แต่ลุงพุฒบอกว่า อย่างนี้ต้องไปอยู่ขุมที่ 4"

    มีอยู่คราวหนึ่ง เขาไปถ่ายแผ่นดินธรรมแผ่นดินทอง เอ๊..คนมันคอยจะว่าฝึกมโนมยิทธิเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ คนไม่เท่าไรหรอก พระซิ พระเป็นยังงั้น เอ๊..กำลังจะเขียนบทจะพูด แวะไปเสียหน่อย ไม่ได้ๆ เดี๊ยวมันจะเตะเราเข้า ไม่กล้า เดี๋ยวจะยุ่ง

    "ถ้าเผื่อว่าคนก็ไม่เท่าไหร่หรอก แหม...หลวงพี่เหลืองนี่ เหลือร้าย"

    คือจริงๆนี่ มโนมยิทธินี่ในพระไตรปิฎกมีอยู่เลย เคยอ่านเจอ ท่านก็บอกว่าเหมือนถอดหญ้าปล้อง ถอดหญ้าปล้องออกมา มันอยู่ในหนึ่งในอภิญญา หนึ่งในอภิญญา 5

    หลวงพ่อท่านเกาะแบบตลอดมาเลย ไม่ว่าจะเทศน์ที่ไหนต้องอ้างตลอด ทีนี้คนไม่เคยทำนี่ก็ยุ่งเหมือนกัน

    แต่สมเด็จวัดสามพระยา ท่านคลังตำรา ท่านยังยอมรับ ใช่ไหม บอกหลวงพ่อ ที่คุณเขียนนี่ถือว่าเป็นตำราปฏิบัติได้เลยนะ เป็นตำราใหญ่

    ถ้าเราพูดกันเองภายในก็ถือว่ายกย่องครูบาอาจารย์ แต่ว่าจริงๆเป็นอย่างนั้นจริงๆ หนังสือทุกเล่มอ่านง่าย

    (จากธัมมวิโมกข์ ฉบับที่ 163 เดือนตุลาคม 2537 หน้า 91)
     
  13. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,973
    ?temp_hash=ccd96c4a953d9156c3f8403c3ab3e579.jpg




    หลวงพ่อเนียมสอนการปฏิบัติเพื่อการบรรลุมรรคผล

    หลวงพ่อเนียมสอนการปฏิบัติเพื่อเป็นการบรรลุมรรคผล..เวลาใดที่พระธรรมคำสั่งสอนขององค์พระจอมไตรยังมีความครบถ้วน ทั้งพระธรรมวินัยในขณะนั้นถ้าคนเอาจริงเป็นพระอรหันต์ได้หมดทุกคน

    ท่านพระโยคาวจรทั้งหลายและบรรดาภิกษุสามเณรทั้งหลาย สำหรับวันนี้ก็จะขอนำเอาปฏิปทาของท่านผู้เฒ่ามาเล่าสู่ท่านฟังเพราะว่าเป็นแนวปฏิบัติ และการปฏิบัตินี่เป็นการปฏิบัติเพื่อเป็นการบรรลุมรรคผล ไม่ใช่มรรคผมสมัยที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระชนม์อยู่ เป็นสมัยปัจจุบันที่เรายังรู้จัก พ.ศ. อยู่นี่เอง ว่าเป็น พ.ศ. ถอยหลังจากนี้ไปไม่นานนัก สำหรับปฏิปทาของท่านผู้เฒ่านี้จะขอย่อให้สั้นที่สุด เพื่อเป็นแนวทางของท่านทั้งหลายจะนำไปประพฤติปฏิบัติ ถ้ายาวเกินฟังกันยุ่ง ความจริงก็ไม่มีอะไรมาก มันอยู่ที่กำลังใจจริงเท่านั้น คือว่าเราจะจริงกันตอนไหน จริงดีหรือว่าจริงเลว ถ้าเราจริงดีมันก็ได้ดี จริงเลวมันก็ได้เลว คำว่าจริงหรือสัจจะ มันได้ทั้งจริงดีและจริงเลว นี่สำหรับท่านผู้เฒ่าก็คงจะเหมือนกับพวกเรา คือจริงทั้งดีจริงทั้งเลวมาก่อน คนทุกคนเกิดมาในโลกไม่มีใครเป็นพระอรหันต์มาจากท้องพ่อท้องแม่ และคนทุกคนที่เกิดมาในโลกก็ทำทั้งความดีและความชั่วเหมือนกัน ไม่ใช่โผล่มาจากท้องแม่แล้วก็จะเจอแต่ความดีและสร้างแต่ความดีเสียทั้งหมด ฟังกันต่อไป

    เมื่อท่านไปพบหลวงพ่อเนียม ผมจะขอสรุปทั้งหมดเพราะว่าปฏิปทาของครูบาอาจารย์สมัยนั้นเป็นปฏิปทาที่ไม่ง้อลูกศิษย์ ไม่ใช่ว่าท่านจะตั้งหน้าตั้งตาแสวงหาลูกศิษย์ แต่ทีนี้จะหาว่าท่านเป็นพระที่มีใจคับแคบก็ไม่ถูก คือท่านต้องการแต่คนดี เหมือนกับนักเล่นแร่แปรธาตุสมัยนั้นเขาเล่นแร่แปรธาตุกันมาก เอาแร่ต่างๆ มาผสมกันเข้า ซัดให้เป็นทองหลอมไล่ขี้ออกหมดแล้วก็ทำให้เป็นทองคำ ตามวัดตามวาต่างๆ เขาก็เล่นกันมาก เขาชอบเล่น เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ไม่ต้องเรียนมาจากต่างประเทศ แต่ส่วนใหญ่ที่ทำได้มักจะเป็นนากคือคล้ายกับมีทองผสมกับทองแดง แต่ทว่าบางท่านก็สามารถทำเป็นทองคำได้โดยที่ไม่ต้องข้ามน้ำข้ามทะเลไปเรียนที่ไหน ผมเองเจอหลายท่านด้วยกันที่มีความรู้ประเภทนี้ แล้วแต่ละท่านก็ดีเมื่อทำได้แล้วก็ให้เจ๊กตรวจเห็นว่าเป็นทองคำแท้ จะทำขึ้นมาก็เฉพาะในการสร้างถาวรวัตถุในบวรพุทธศาสนาเท่านั้น ไม่นำวิชาความรู้ความสามารถส่วนนี้ไปสร้างตัวให้มันเกิดสุขเป็นมหาเศรษฐี ถ้าสร้างโบสถ์สร้างศาลาการเปรียบ สร้างวัดท่านทำ ทำเฉพาะด้านวิหารทาน

    ส่วนอื่นนอกจากนั้นไปจ้างท่านก็ไม่ทำซื้อท่านก็ไม่ขาย กำลังใจนักเล่นแร่แปรธาตุดีมีความเข้มแข็งฉันใด ครูบาอาจารย์ที่สอนพระกรรมฐานในสมัยนั้นก็มีความเข้มแข็งฉันนั้น นักเล่นแร่แปรธาตุเขาจะหาเฉพาะแร่ที่เป็นประโยชน์เอามาผสมกันเข้าจะเป็นนากได้เป็นทองได้จึงจะเอา ถ้าหากว่าจะเป็นแร่อย่างอื่นจะมีคุณค่าสวยงามขนาดไหนก็ตาม ถ้าไม่สามารถจะผสมเป็นนากได้เป็นทองได้ท่านก็ไม่ผสม ข้อนี้มีอุปมาฉันใด คณะครูบาอาจารย์ที่สอนพระกรรมฐานก็เหมือนกัน ท่านก็ไม่ต้องการคนสักแต่ว่าคน หรือว่านักปฏิบัติสักแต่ว่าปฏิบัติ เป็นแต่เพียงเห็นชาวบ้านเขาทำกันก็ทำ ท่านไม่ต้องการ ท่านต้องการคนที่มีจิตใจด้านดี คือไม่ต้องการคนที่มีความจริงในด้านเลว

    ฉะนั้น ในสมัยที่ท่านผู้เฒ่าไปหาครูบาอาจารย์ท่านใดก็ตาม ขอสรุปตามบันทึกของท่าน ก็มักจะถูกครูบาอาจารย์เทศน์เอาเสียก่อน ด่าเอาบ้าง ทำทุกอย่างให้เกิดความโกรธจะได้มีความเบื่อหน่าย ต่อเมื่อเห็นว่าทนได้ก็สอนดีทุกท่าน ตัวอย่างเช่นหลวงพ่อเนียม ท่านเป็นพระที่คนทั้งหลายบ้านใกล้ๆ เขาหาว่าท่านบ้า กว่าจะรู้ว่าดีได้หลวงพ่อเนียมจะตายเสียแล้ว เมื่อรู้กันดีจริงๆ คนใกล้ๆ นี่เมื่อหลวงพ่อเนียมตายไปนานแล้ว คนอื่นเขาไปคว้าความดีกันมาหมด นี่เป็นกฎธรรมดาของพระๆ จะดีขนาดไหนก็ตามคนใกล้ไม่ค่อยจะเห็นความดี มีแต่คนที่เขาอยู่ไกลเท่านั้น เขาจะเห็นว่าดี กว่าจะรู้ว่าดีก็หมดตายไปหมดแล้ว พอตายไปแล้วทำอย่างไร ก็อ้างซิว่า ฉันเป็นลูกศิษย์ก้นกุฏิ ฉันเป็นอย่างนั้นฉันเป็นอย่างนี้เป็นคนใกล้ชิด นี่เป็นเครื่องหลอกลวงโลก

    สมัยที่หลวงพ่อเนียมท่านด่าท่านว่าท่านทำทุกอย่างจะให้โกรธ ในเมื่อท่านผู้เฒ่าท่านไม่โกรธ วันที่สี่ท่านถามว่าเอ็งไม่โกรธหรือ ท่านก็บอกว่าท่านจะโกรธทำไม โกรธมันเป็นไฟ โทสัคคิ ไฟคือโทสะ มันเผาผลาญใจให้มันร้อน คนที่โกรธไม่มีความสุข คนที่มักโกรธ หาความดีไม่ได้ หลวงพ่อเนียมท่านก็ยิ้ม เพิ่งมีการยิ้มในวันนั้น ท่านว่านี่พวกมึงด่ากูหรือไง ก็บอกท่านว่าไม่ได้ด่า แล้วท่านก็ถามว่าที่กูด่ามึงนี่ไม่โกรธหรือ ท่านผู้เฒ่าท่านก็ตอบว่าหลวงพ่อไม่ได้ด่าผม หลวงพ่อด่าใครก็ไม่รู้ผ่านไปผ่านมา ป้วนเปี้ยนไปหมด พวกผมอยู่ที่นี่ท่านไม่ได้ด่าเลย ด่าโคตรพ่อโคตรแม่นี่มันเลยผมไปหมด ไม่ถูกผม แล้วโคตรพ่อโคตรแม่ผมท่านจะรับหรือไม่รับก็ไม่ทราบ ท่านตายไปหมด แล้วท่านได้ยินหรือไม่ได้ยินก็ไม่ทราบ หลวงพ่อเนียมหัวเราะชอบใจ ท่านก็บอกว่าคนกรุงเก่านี่มันอย่างนี้นา ครูบาอาจารย์ก็แบบนี้หน้าด้านหูด้านใจด้านด่าเท่าไรก็ไม่เจ็บ ลูกศิษย์ของมันก็เหมือนกัน มันคงจะสั่งสอนกันมา เอาถ้าไม่โกรธทนได้เชิญ วันนี้ไปหาข้าในกุฏิ

    ตอนนี้เองบรรดาท่านทั้งหลาย ยามเวลาที่เข้าไปหาท่านยามนั้นตามบันทึกของท่านผู้เฒ่าท่านบอกว่าผิดไปถนัด ยามที่เห็นในกาลก่อนนุ่งผ้าลอยชายเอาผ้าอาบอีกผืนหนึ่งคล้องคอเดินไปไม่มีจีวรไม่มีอังสะ ทำท่าเหมือนกับ ขอประทานอภัย เพราะหลวงพ่อเนียมท่านเป็นพระที่มีความสำคัญ ที่เราเห็นกันว่าคนที่ไม่มีวัฒนธรรมหรือคนบ้าๆ บอๆ นั่นเอง แต่ทว่าโบราณท่านบอกว่าคนประเภทนี้เป็นประเภทผ้าขี้ริ้วห่อทอง เนื้อแท้น้ำจิตของท่านเหมือนกับเพชรแท้ใสเป็นแก้ว เวลาที่เข้าไปพบเวลานั้นก็มีความเป็นพระหนุ่ม นุ่งสบงทรงจีวรพาดสังฆาฏิ ตะเกียงเล็กๆ แสงสลัวๆ แต่ทว่าในห้องนั้นมีแสงสว่างผิดปกติ คล้ายกับมีตะเกียงเจ้าพายุสองสามลูกเข้าไปจุดไว้ มองหน้าท่านกลายเป็นพระหนุ่มผิวพรรณผ่องใสอิ่มเอิบ สวยสดงดงาม คณะท่านผู้เฒ่าเข้าไปชักถอยหน้าถอยหลัง ว่า นี่หลวงพ่อเนียมใช่หรือไม่ใช่ ในที่สุดท่านก็กวักมือบอกว่าใช่ ไม่ผิดตัวหรอก อย่าเพิ่งไปสงสัย ในห้องนี้มันมีฉันคนเดียว คณะท่านผู้เฒ่าเข้าไปกราบพร้อมด้วยดอกไม้ธูปเทียน

    ท่านก็เลยบอกว่าฉันมันเป็นอย่างนี้ มันก็ไม่แน่ที่เขาเรียกว่าบ้าๆ บอๆ ก็ถูก ทั้งนี้ก็เพราะว่าบางทีฉันก็หนุ่มบางทีฉันก็แก่ เอาละเรื่องนี้จบไป เรื่องของขันธ์ห้าไม่มีความหมาย จะเหลืออะไรเป็นสาระ สาระที่เราต้องการก็คือธรรมะๆ ส่วนใดที่เธอต้องการ ธรรมะส่วนนั้นเธอมีแล้วทุกอย่าง ครูบาอาจารย์ของเธอสอนมาแล้วทั้งหมด ที่เธอมาหาฉันก็มาตามครูบาอาจารย์สั่ง แล้วก็คิดว่าฉันเป็นผู้วิเศษ แต่ความจริงฉันไม่มีอะไรวิเศษเลย ขันธ์ห้าของฉันมันก็เลวมันก็จะพัง สภาพร่างกายก็ไม่ดี ความจดจำก็ไม่ดีอะไรก็ไม่ดี ทุกอย่างมันหาความดีอะไรไม่ได้ ฉะนั้นเธอจงอย่ายึดขันธ์ห้าเป็นสำคัญ จงอย่ามีความพอใจว่าขันธ์ห้ามีความหมาย ขันธ์ห้าไม่เป็นที่พึ่ง ขันธ์ห้าไม่เป็นสรณะ ขันธ์ห้าไม่เป็นปัจจัยให้บังเกิดความสุข ขันธ์ห้าเป็นดินแดนนำมาซึ่งความทุกข์ ขันธ์ห้ามันไม่มีความจีรังยั่งยืน มันมีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น แล้วก็มีความแปรปรวนไปในท่ามกลาง แล้วก็มีการสลายตัวไปในที่สุด ขอเธอจงอย่าถือความสำคัญของขันธ์ห้าของฉันเป็นประโยชน์ เป็นอันว่าพอเริ่มต้นท่านก็ล่อขันธ์ห้าเข้าเต็มเปา แล้วก็จงจำไว้ว่าไม่แต่เฉพาะขันธ์ห้าของฉัน ขันธ์ห้าของเธอก็เหมือนกัน ขันธ์ห้าของคนอื่นใดก็เหมือนกัน ขันธ์ห้าของสัตว์ก็เหมือนกัน แม้วัตถุธาตุต่างๆ ที่เป็นธาตุสี่ คือ ธาตุน้ำ ธาตุดิน ธาตุลม ธาตุไฟ ก็เหมือนกัน มันไม่ใช่ฐานที่ตั้งของความสุข มันเป็นฐานที่ตั้งของความทุกข์ มันไม่มีสภาพทรงตัว ไม่มีอะไรจีรังยั่งยืน ในที่สุดมันก็สลายตัวที่พระพุทธเจ้าท่านบอกว่าอนัตตา เอาเข้าแล้ว

    หลังจากนั้นท่านก็ถามว่าเธอต้องการอะไร ความจริงท่านผู้เฒ่าเล่าไว้ว่า ท่านจะสอนต่อไปก็พอแล้ว พวกเราที่มาเพราะอยากฟังอย่างนี้ อยากฟังเรื่องของขันธ์ห้าว่าสภาวะตามความเป็นจริงมันเป็นอย่างไร เพื่อยืนยันกับคำสั่งสอนของหลวงพ่อปาน พอท่านสอนจบพวกท่านผู้เฒ่าก็กราบนมัสการว่าหลวงพ่อขอรับ สิ่งที่ผมต้องการนี้หลวงพ่อพูดหมดแล้ว แต่ว่ายังเหลืออยู่นิดเดียวเท่านั้นแหละขอรับ สิ่งที่พวกผมมีความประสงค์ก็คือ อรหัตผล อยากจะทราบว่าพวกผมนี่จะเป็นพระอรหันต์กับเขาได้ไหม ท่านก็ยิ้มแล้วก็บอกว่าเรื่องนี้เธอไม่น่าจะถาม ว่าในเวลาใดที่พระธรรมคำสั่งสอนขององค์พระจอมไตรยังมีความครบถ้วน ทั้งพระธรรมวินัยในขณะนั้นถ้าคนเอาจริงเป็นพระอรหันต์ได้หมดทุกคน

    คณะท่านผู้เฒ่าจึงกราบนมัสการลงไปอีกครั้งหนึ่ง ถามว่าทั้งนี้ต้องอาศัยบารมีใช่ไหมขอรับ ถ้าบารมีไม่ดีพอก็เป็นพระอรหันต์ไม่ได้ ท่านตอบว่าบารมีไม่ดีไม่มี บารมีทุกคนดีหมด เว้นไว้แต่ใจคนมันไม่ดีเท่าบารมีเท่านั้น เอาเข้าแล้ว ก็กราบเรียนถามว่าคณะของพวกผมที่มาด้วยกันสามคน สามองค์จะมีใครบ้างได้เป็นพระอรหันต์ ท่านมองหน้าคนนั้นครั้งคนนี้ครั้งคนโน้นครั้ง ท่านก็เลยบอกว่ามันเป็นทุกคน ถ้าเอาจริงก็ได้เป็น ถ้าไม่เอาจริงก็ไม่ได้เป็น ก็เลยกราบเรียนถามท่านตามบันทึกว่า เป็นกันเมื่อไร อยากเป็นเมื่อไรก็เป็นเมื่อนั้น แต่ว่าคนที่มากันสามคน คนหนึ่งมันปรารถนาพุทธภูมิ คนนี้จะเป็นทีหลังเขา จนกระทั่งจะเปลื้องใจจากพุทธภูมิเมื่อไรเป็นพระอรหันต์เมื่อนั้น แต่ว่าต้องใช้เวลาเกินกว่ายี่สิบพรรษา สำหรับเจ้าสองคนนั่นเพียงแค่สองพรรษาก็จะได้เป็นอรหันต์พร้อมไปด้วยปฏิสัมภิทาญาณ แต่ว่าสมัยนั้นเขานิยมเรียกกันว่าพระอภิญญา ความจริงปฏิสัมภิทา เพราะว่าเขาได้สมาบัติแปดกัน

    ต่อแต่นั้นไปก็ขอศึกษาปฏิปทาเพื่อความเป็นพระอรหันต์ ก็บอกว่าปฏิปทาเพื่อความเป็นพระอรหันต์นี่มันไม่มี ไม่มีอะไรจะสอนเธอ เพราะว่าอาจารย์ของเธอสอนมาหมด แต่ว่าอาจารย์ของเธอเป็นพระโพธิสัตว์จึงไม่มีความมั่นใจในการบรรลุมรรคผลของลูกศิษย์ นี่เป็นอาการหนึ่งของคนที่เขาทำไม่ได้ไม่ถึง เขาไม่มั่นใจในตนเองว่าเขาสอนถูก แต่ความจริงเขาสอนถูก แต่ว่าเขาไม่บอกจุดให้ลง ทั้งนี้คนที่ปรารถนาพุทธภูมิจะทรงวิปัสสนาญาณคู่กับสมถภาวนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมถภาวนาต้องศึกษาจับจุดทั้งหมด คือทั้งกรรมฐานสี่สิบแล้วก็มหาสติปัฏฐานสูตร แล้วก็มีสูตรอื่นอีกมาก จะต้องทรงคุณธรรมนั้นทั้งหมด เพราะเป็นผู้ทรงความดีมากมีกำลังใจสูงที่เรียกกันว่ามีบารมีสูง มิฉะนั้นเขาจะเป็นพระพุทธเจ้าไม่ได้ แต่ความสนใจในปฏิปทานี้ของเขามีครบในด้านวิปัสสนาญาณเขาก็มีครบ แต่ว่าจะบรรลุมรรคผลส่วนใดส่วนหนึ่งไม่ได้ เขาจึงไม่กล้ายืนยัน แต่ความจริงคำสอนเหล่านั้นเขาสอนมาครบ ทุกอย่างเมื่อเธอต้องการฉันจะบอกให้

    การเป็นพระโสดาบันก็ดี การเป็นพระสกิทาคา อนาคา อรหันต์ก็ดี เขาศึกษากันตัวเดียว คือ สักกายทิฏฐิ เมื่อตัดสักกายทิฏฐิได้ตัวเดียวก็เป็นพระอรหันต์ แต่ทว่าตอนที่จะตัดสักกายทิฏฐิ เธอจงปฏิบัติตามนี้นะ ก่อนที่จะใช้อารมณ์วิปัสสนาญาณ อันดับแรกเข้าฌานให้ถึงที่สุดที่เธอทรงได้ เข้าฌานออกฌานสลับกันมาสลับกันไปให้มันมีความทรงตัว แล้วทำจิตให้ทรงในฌานให้แนบสนิททรงตัวมีความสุขที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเธอทั้งหมดได้สมาบัติแปดมาแล้ว แล้วก็ศึกษาด้านอภิญญามาแล้ว อย่างนี้เป็นของไม่ยาก ในด้านวิปัสสนาญาณ ใช้กำลังสมาบัติแปดเป็นกำลังใหญ่ ทรงใจให้ทรงตัวแล้วถอยหลังไปถึงอุปจารสมาธิ พิจารณาขันธ์ห้าว่าขันธ์ห้ามันเป็นภัยสำหรับเรา เป็นวัตถุธาตุที่สร้างด้วยทุกข์สร้างด้วยโทษ ไม่มีอะไรเป็นปัจจัยของความสุข มองดูขันธ์ห้าคือ ร่างกายสิเกิดเราต้องเลี้ยงมันเท่าไร มันชอบอะไรเราให้มันกินทั้งหมด แต่เราไม่ต้องการจะป่วยมันก็ยังขืนป่วย เราไม่ต้องการจะเพลียมันก็เพลีย เราไม่ต้องการจะแก่อย่างฉันนี่ ฉันไม่เคยต้องการให้มันแก่มันก็แก่ คนที่เขาตายไปก่อนเราเขาไม่ต้องการจะตายมันก็ตาย ในเมื่อขันธ์ห้ามันเลวทรามอย่างนี้จะคบค้าสมาคมกับมันเพื่อประโยชน์อะไร

    อันดับแรกจับจุดเพื่อความเป็นพระโสดาบัน ระงับความพอใจในขันธ์ห้าเสีย คิดว่ามันจะตายเสมอ แล้วทรงศีลให้บริสุทธิ์ ศีลควรทำเป็นศีลานุสสติกรรมฐาน ทรงศีลให้เป็นกำลังฌาน คำว่าเป็นกำลังฌานก็คือทรงอารมณ์อยู่ในศีลตลอดวันตลอดคืน ไม่ยอมให้ศีลบกพร่องจากใจ ไม่ใช่ว่าต้องไปนั่งหลับตาปี๋ เดินไปเดินมาเลี้ยงหมูเลี้ยงหมา คุยกับหมาคุยกับแมว ศีลทรงตัวใช้ได้ เจอหน้าคนเขาด่าคนเขาว่าเขานินทาศีลเราไม่ด่างใช้ได้ น้อมใจเคารพในคุณพระรัตนตรัยสามประการคือทรงพระกรรมฐานสามอย่าง ให้ฌานคือ พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ ให้ทรงตัว ความจริงสิ่งทั้งหลายเหล่านี้เธอทรงได้หมดแล้วนี่ จะต้องมานั่งสอนอะไรกัน เว้นไว้แต่จิตใจอย่างเดียว คือ อารมณ์พระนิพพานเธอยังไม่มั่นใจเท่านั้น เพราะฉะนั้นจงตัดสินใจทรงอุปสมานุสสติให้ทรงตัว

    เจ้าสองคนข้างซ้าย ท่านว่าอย่างนั้น ใช้กำลังแห่งอภิญญาสมาบัติของเธอขึ้นไปนมัสการองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วศึกษากับท่านโดยตรง ท่านจะชี้จุดมาให้พวกเธอ แล้วเธอจงปฏิบัติตามจุดนั้น มันไม่ช้าไม่นาน กำลังสมาบัติแปดและอภิญญาของเธอจะช่วยเธอเป็นพระอรหันต์ได้ภายในเจ็ดวันก็ได้เจ็ดเดือนก็ได้ แต่คำว่าเจ็ดปีไม่มี สำหรับคนที่ทรงอภิญญาหกหรือปฏิสัมภิทา อย่างเลวที่สุดภายในหนึ่งเดือนก็ได้ ให้รักษากำลังใจตามนี้

    แล้วสำหรับเจ้าคนนี้ปรารถนาพุทธภูมิ เอ็งไปไม่รอด อาจารย์เอ็งบอกแล้วว่า ๑๐ ปี ออกจากวัด นั่นอาจารย์เขารู้ว่าเอ็งไม่สามารถจะรักษากำลังพระโพธิสัตว์ไว้ได้ จะต้องปฏิบัติตัดทางภายหลัง แต่ว่าเขารู้ว่าต้องถึงเวลานั้นก่อน เวลานี้ต้องสร้างบารมีอื่นเติม เพราะในฐานะเป็นพระโพธิสัตว์ แล้วในเวลานั้นมาตัดสินใจลัดภายในเดือนเดียวก็สำเร็จมรรคผล เป็นอันว่าท่านก็สอนอะไรไม่มาก ให้บอกว่าจงจำไว้ว่าพระโสดาบันน่ะไม่มีอะไร กำลังใจที่ทรงเป็นฌานเธอมีอยู่แล้ว แต่ขาดอุปสมานุสสติกรรมฐาน กลับไปใช้อุปสมานุสสติกรรมฐานให้ทรงตัว แต่ว่าความจริงมันก็ไม่มีอะไร แล้วแกไม่ยึดไว้เป็นอารมณ์โดยเฉพาะเท่านั้น มัวแต่ไปเล่นสมาบัติกันเกินไป มัวไปเล่นอภิญญากันเพลินไป มันก็ใช้ไม่ได้ จะว่าใช้ไม่ได้มันก็ไม่ถูก อาจารย์เขาเก่งอย่างนั้น เขาเอาแค่นั้นตัวลูกศิษย์มันก็ไปเท่านั้น ทีนี้อาจารย์เขาเห็นว่าเธอจะไปไกลในด้านสาวกภูมิ เขาจึงส่งมานี่

    ถามท่านว่าสำหรับพระสกิทาคามี ท่านว่าไอ้นี่กูไม่สอนโว้ย สกิทาคากับพระโสดาบันคล้ายคลึงกัน กำลังของพวกแกมันเลยไปแล้วนี่

    ถามถึงอนาคามีท่านก็บอกว่ามันก็ไม่ยาก เมื่อเราได้สมาบัติแปด อภิญญาสมาบัติก็ใช้กายคตานุสสติกับอสุภกรรมฐานให้ช่ำใจควบกับสักกายทิฏฐิ นอกจากจะเห็นว่ามันสกปรกก็เห็นว่ามันจะสลายตัวเสียด้วย แล้วมันสกปรกเน่าเละอย่างนี้จะมีอะไรบ้างที่เราพอใจ สำหรับความโกรธ ความพยาบาทนั้น เวลานี้เราข่มใจเสียด้วยความอำนาจสมาบัติแปด แล้วก็มันไม่หนักอะไรใช้วิปัสสนาญาณคือสักกายทิฏฐิควบเข้าไว้ คนมันด่ามันด่าไม่ถูกเรา อย่างที่เอ็งคิดนั้นมันถูกแล้ว เขาก็ด่าขันธ์ห้าของเรา เขาอยากจะด่าก็เชิญด่าตามใจ เราไม่สะดุ้งสะเทือนคนด่าเขาตกนรกไปเอง แล้วเรามีเมตตาพรหมวิหารนี่มันก็ได้หมดแล้วนี่หว่า กรรมฐานสี่สิบก็ศึกษาแล้วไม่เห็นมีอะไรต้องสอน

    ต่อไปถามว่าความเป็นพระอรหันต์เป็นอย่างไร ท่านบอกว่านั่นมันเรื่องขี้ผงแล้ว อย่าไปติดในฌานมันเกินไป ฌานเราใช้แต่ถือว่าอย่าติดในรูปฌานและอรูปฌานที่เราใช้ว่าเป็นของวิเศษว่าเป็นกำลังใหญ่ที่ทำให้เราเข้าประหัตประหารกิเลสเท่านั้น แล้วอารมณ์การถือตัวถือตนว่าเป็นผู้วิเศษ บางทีมันยังไปไม่ได้มันยังถือว่าเป็นผู้วิเศษ ได้อภิญญาสมาบัติ ได้สมาบัติแปดกูดีกว่าคนนั้น กูเลวกว่าคนนี้ กูเสมอกับคนนั้น อารมณ์อย่างนี้ก็ทิ้งไปเสีย แล้วตัวอุทธัจจะคิดว่าเราอยากจะไปเป็นพรหมเป็นเทวดานั่นเลิกกัน ต้องการไปนิพพานอย่างเดียว เท่านี้มันก็เป็นการตัดอวิชชาความโง่พระอรหันต์มีเท่านี้ เป็นอันว่าอยู่กับบ้าน อย่าไปเล่าเรื่องละเอียดไม่มีความหมาย เอาความหมายในปฏิปทาที่ท่านสอนเท่านั้น ท่านผู้เฒ่ากล่าวว่าอาศัยอยู่ในวัดของท่าน อาศัยให้ท่านฝึกท่านสอนอบรม ใช้เวลาประมาณหนึ่งเดือน ความจริงสิบวันเศษๆ ท่านก็ไล่กลับแล้ว โดนพระดื้อไม่กลับอยู่หนึ่งเดือน พอท่านเห็นว่าช่ำชองดีแล้ว ท่านก็ไล่กลับ อยู่เกะกะกลับไปก็แล้วกัน เลี้ยงตัวรอดได้แล้ว

    เอาละ บรรดาท่านพุทธบริษัท ปฏิปทาของท่านผู้เฒ่านี่หลวงพ่อเนียมสอนมากกว่านี้ แต่โดยย่อแล้วสรุปได้แต่เพียงเท่านี้ หากว่าท่านทั้งหลายมีกำลังใจดีแล้วก็จริง ในด้านของความดีมันก็เป็นของไม่แปลก เราเคยฟังกันมาทุกวัน หากว่าบรรดาท่านและบรรดาภิกษุสามเณรทั้งหลายมีความประสงค์อย่างนั้นก็มีผลอย่างนั้นตามที่หลวงพ่อเนียมว่า สำหรับวันนี้มองดูเวลาก็เห็นว่าหมดแล้ว ต่อแต่นี้ไปขอทุกท่านพยายามทรงกายให้ตรง ดำรงจิตให้มั่น จะนั่งนอนยืนเดินก็ได้ตามอัธยาศัย ภาวนาหรือพิจารณากรรมฐานตามอัธยาศัยที่ท่านเห็นว่าควร จนกว่าจะถึงเวลาที่ท่านเห็นว่าสมควร สำหรับเวลานี่ไม่กำหนดให้ พอใจเท่าไรทำเท่านั้น จะนั่งจะนอนจะยืนจะเดินก็ได้ตามอัธยาศัย
    จาก หนังสือ ปฏิปทาท่านผู้เฒ่า โดย หลวงพ่อฤาษีลิงดำ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  14. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,973
    บ้านสุมโน

    “จงฝึกตัดขันธ์ห้าให้ได้โดยอัตโนมัติ”

    ทุกครั้งที่ปฏิบัติ เราต้องตัดขันธ์ห้าให้ได้โดยอัตโนมัติ ซึ่งการจะทำได้เช่นนั้น เราต้องพิจารณาหาโทษของมันให้พบ ต้องรู้จักความทุกข์ที่เกิดขึ้นกับร่างกายของเราให้ได้ เพราะถ้ายังไม่เข้าใจตรงจุดนี้ หรือยังคิดไม่ตก ปลงไม่ได้ ความทุกข์จะเข้ามาหาเราอยู่เสมอไม่มีวันจบ... ดังนั้นขอท่านทั้งหลายจงเรียนรู้กับทุกข์... จงเข้าใจทุกข์ แล้วเราจะเข้าใจธรรม

    คำสอนของพระอาจารย์เอ

    uOhhWSbtoOuz75Pmg9TrBud65yL8SxqMctkvCUrno6DZllKdEGu5QLUxx07754pTnrQausdQ&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  15. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,973
    ฌานจริง ฌานหลอก

    "..คำว่าเป็นฌานให้สังเกตตามนี้ ถ้าฌาน
    เฉพาะเวลานั่งสมาธิน่ะ ไม่จริง ไม่ใช่ฌานจริง
    เขาเรียกว่า ฌานหลอก

    ถ้าฌานจริงๆ ต้องเป็นอย่างนี้ ถึงเวลานี้เราเคย
    บูชาพระ ถ้าเวลานั้นไม่ได้บูชาพระ เราไม่สบาย
    ใจ ต้องบูชาพระ ถ้าไม่มีพระจะบูชาก็นึกในใจ
    นึกบูชาเอาเอง ถ้าเป็นอย่างนี้ถือว่าจิตมีฌาน
    ในการบูชาพระ

    การบูชาพระมีอะไรบ้าง
    ๑. พุทธานุสสติใช่ไหม นึกถึงพระพุทธเจ้า
    ๒. ธัมมานุสสติ นึกถึงคำสวดมนต์นี่เป็นธรรมะ
    ๓. สังฆานุสสติ นึกถึงพระสงฆ์ที่เราชอบใจ

    ก็รวมความว่า ในเมื่อจิตมันทรงตัวแบบนี้ เป็น
    อนุสสติแบบนี้ ถ้านึกอยู่เสมอว่า ถ้าถึงเวลา ถ้า
    เราไม่ได้ทำ ใจไม่สบายนี่ ละฌานแท้..."

    จาก โอวาทหลวงพ่อวัดท่าซุง เล่ม ๔ หน้า ๗๙
     
  16. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,973
    C7c9s0zAjC3A2qEYsf1pu8OGayN7a8oDsdn8Qs-76A95guSYhDwLZ-p5dKQq46VncC8H2Dvi&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
    สมเด็จองค์ปฐม ทรงพระเมตตาตรัสสอนไว้ดังนี้

    ๑. ครูภายใน คือ อายตนะภายใน มีตา - หู - จมูก - ลิ้น - กาย และใจ ครูภายนอก คือ อายตนะภายนอก มีรูป - เสียง - กลิ่น - รส - สัมผัส และธรรมารมณ์

    ๒. เมื่อครูภายนอกและครูภายในกระทบกัน ย่อมเกิดเป็นพระธรรมได้ ทั้ง อกุศลาธรรมา - กุสลาธรรมา และอัพยากตาธรรมา คือ ธรรมที่อกุศล (บาป) ธรรมที่เป็นกุศล (บุญ) และธรรมที่เป็นกลาง ๆ (ไม่เป็นทั้งบุญและบาป)

    ๓. ให้มีสติกำหนดรู้อารมณ์จิตของตนเองอยู่ตลอดเวลา เป็นการสอบอารมณ์จิตของตนเอง ได้ผลอย่างไร อารมณ์ใจจักบอกแก่พวกเจ้าเอง มองให้ดี อย่าลำเอียงเข้าข้างกิเลสก็แล้วกัน สอบตกก็รู้ว่าสอบตก สอบได้ก็จงรู้ว่าสอบได้ สอบคาบเส้นเกือบได้ เกือบตกก็ต้องรู้ อย่าใช้คำว่าไม่รู้ เพราะอย่างนั้นไม่ใช่นักปฏิบัติพระกรรมฐาน

    ๔. และอย่าปล่อยอารมณ์ให้เพลิดเพลินไปกับงานทางโลกเกินไป นั่นเป็นเพียงทำไปตามหน้าที่ซึ่งยังมีร่างกายก็ทำไป คิดเรื่องงานเท่าที่จำเป็นจักต้องคิด พยายามใช้จิตมาทำงานทางธรรมให้มาก ตัวนี้จักต้องมีสติ - สัมปชัญญะกำหนดรู้อยู่ตลอดเวลา มิฉะนั้นจิตมันก็จักมีอารมณ์เกาะงานตามความเคยชิน

    ๕. ถ้าแยกจิตออกจากงานทางธรรมได้ ก็เข้าหลักของการปฏิบัติพระกรรมฐานได้อย่างแท้จริง คือ การแยกกาย แยกเวทนา (อันเป็นเรื่องของกายหรือกายสังขาร) และแยกจิต แยกธรรม (อันเป็นเรื่องของจิต หรือจิตสังขาร) อันเป็นหลักสำคัญในการปฏิบัติของมหาสติปัฏฐานนั่นเอง ถ้าทำได้อย่างนั้น จิตจักเบา มีอารมณ์โปร่งใสตลอดทั้งวัน

    จากหนังสือ ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่มที่ ๗ รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน
     
  17. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,973
    yTFYbWlQojCN_e0YER7we4uffZ3CHODMNV7n7bfYvj8NFgd4boRhU-VU3Gl7uvgKb7MXtHyl&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg

    #จับลมนึกถึงพระพุทธเจ้าตายเมื่อไหร่ไปพระนิพพาน
    ศิษย์ถาม : พระอาจารย์ตอบ

    #ศิษย์ : ถ้าเราปฏิบัติตามหลักคำสอนและถือศีล ๕ ครบ แต่นั่งสมาธิทำกรรมฐานยังไม่ได้ แล้วตายก่อนเราจะได้ไปพระนิพพานหรือไม่เจ้าคะ?

    #พระอาจารย์ : คือเขาไม่เข้าใจคำว่า " สมาธิ " นั่นเอง อธิบายอยู่บ่อย ๆ การรักษาศีล และ การตั้งใจภาวนา

    อาศัยความเข้าใจ...
    การตั้งใจรักษาศีลก็เป็นการรักษาสมาธิอย่างหนึ่ง...

    เรามีความตั้งใจในการทำความดี สวดมนต์ไหว้พระก็เป็นกรรมฐานอย่างหนึ่ง...

    ถ้าเจริญพระธรรมสวดมนต์ เรียกว่า... ธัมมานุสสติ
    รักษาศีล เรียกว่า... สีลานุสสติ
    นี่เป็นกรรมฐานแล้วนะ จิตใจมีความตั้งมั่นอยู่ในศีล

    #กรรมฐานไม่ใช่การนั่งสมาธิอย่างเดียว

    #พระอาจารย์ : รักษาศีลก็เป็นกรรมฐาน เรียกว่า... สีลานุสสติกรรมฐาน
    ตามระลึกนึกถึงใคร่ครวญและปฏิบัติในศีลนั้นไม่ให้ผิดพลาดแค่นั้นก็เป็น... เทวดาอยู่แล้วตามปกติ

    #พระอาจารย์ : แต่ถ้าจะไปพระนิพพานเนี่ย ต้องวางอารมณ์ ตั้งใจอย่างนี้...
    "... เช้าเราตื่นขึ้นมาปั๊บนึกถึงพระพุทธเจ้า เห็นภาพพระพุทธเจ้าชัด หรือจับคำภาวนานึกถึงศีลที่เรารักษาก็ได้ สำคัญก็เพิ่มการนึกถึงพระพุทธเจ้าเข้าไป แล้วก็จับลม ซัก ๕ ครั้ง ๑๐ ครั้ง แล้วก็ตั้งใจว่า... ถ้าเราตายจากชาตินี้ขอไป " พระนิพพาน " ขึ้นชื่อว่า...
    มนุษย์ก็ดี
    เทวดาก็ดี
    พรหมก็ดี
    เราไม่ต้องการ...เราไม่ต้องการเกิดอีก เพราะเป็นปัจจัยของความทุกข์

    #พระอาจารย์ : เราตั้งใจไปพระนิพพานอย่างเดียวเท่านั้น ทำอย่างนี้ " ทั้งเช้าและก่อนนอน " อย่างนี้ไปพระนิพพานได้นะ เพราะจิตมีความตั้งมั่นอยู่ในพระนิพพาน พอนึกถึงพระนิพพานปุ๊บเราก็จะได้กรรมฐานอีก ๑ กอง เรียกว่า... อุปสมานุสสติกรรมฐาน

    #พระอาจารย์ : เขาทำกรรมฐานโดยตรงแต่เขาไม่เข้าใจ
    • การรักษาศีลเป็น... สีลานุสสติ มั่นคงในศีลพอมั่นคงในศีลปุ๊บ
    • จับภาพพระพุทธเจ้าเป็น... พุทธานุสสติ
    • นึกถึงลมหายใจเป็น... อานาปานุสสติ
    • นึกถึงพระนิพพานเป็น... อุปสมานุสสติ
    ได้กรรมฐาน ๔ กอง ก็ไปพระนิพพานได้

    พระคุณหลวงพ่อบอกว่า... ตั้งใจอย่างนี้ มองสิ่งที่เกิดขึ้นกับเราให้เป็น... ความทุกข์ เราไม่ต้องการอีกแล้วนึกถึง... พระนิพพานอย่างเดียว

    เช้าสำคัญที่สุด #จับลมนึกถึงพระพุทธเจ้าตายเมื่อไหร่ไปพระนิพพาน คนไม่เอา เทวดาไม่เอา พรหมไม่เอา... ไม่เอาทั้งสิ้น

    พระอาจารย์เอกลักษณ์ ปญฺญาคโม วัดพุทธพรหมยาน เกาะลัด จังหวัดฉะเชิงเทรา
    (พระธรรมเทศนาสอนศิษย์ ณ.บ้าน ๑๑๙ กรรมฐาน ๓๑/๕/๖๒)
     
  18. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,973
    GMm-uU1Rpl_M7BOAXrh1mmKFwaNHqkMQ6kt2ap6WYPaLpfX9GdJFJ0M3CJTheU3hLoq6ELCK&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
    #การที่มีคนพูดว่า #ฌานสมาบัติหรือมรรคผลในสมัยนี้ไม่ควรหวัง #เพราะไม่มีใครจะบรรลุได้นั้นไม่เป็นความจริง ขอให้ท่านดีเท่าดีถึงเถิด ฌานและมรรคผลยังมีสนองความดีท่านอยู่เป็นปกติ ที่ไม่ได้ ไม่ถึงแม้แต่ฌานโลกีย์ ก็เพราะแม้แต่ศีลที่เป็นความดีหยาบๆ ที่พระอริยเจ้าเห็นว่าเป็นของเด็กเล่น ก็ไม่สามารถจะรักษาให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ได้ จะเอาอะไรมาเห็นผี เห็นเทวดา เห็นสวรรค์ นรก อันเป็นวิสัยของผู้ได้ฌาน เพราะศีลเป็นความดีในระยะต่ำ ก็ยังทรงไม่ได้ ความมุ่งหมายเอาพระนิพพานก็ยิ่งไกลเกินไปที่จะหวังได้ #คนประเภทนี้ท่านกล่าวว่าแม้แต่ความฝันเห็นนิพพานก็ยังไม่เคยมี
    :
    #ที่มาจากโอวาทหลวงพ่อพระราชพรหมยาน #วัดท่าซุง #เล่ม๑ {หน้า ๒๒}
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  19. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,973
    7RK_okFAfVT6CHqBICrv296jdDeznJAo7fuz-cgc5ZiEroAIItw1SjADpPiEzv-lwEMZdChh&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
    "พวกเราทดสอบดูนะ ถ้าหากว่ามีเรื่องอะไรเกิดขึ้นที่หนักใจ ให้กำหนดลม แต่โดยมากถ้าเราไม่ได้ฝึกไว้ก่อนมันจะเข้าไม่ได้นะ ถึงจะเข้ามันก็เข้าไม่ได้ถ้าเราไม่ฝึก ถ้าเราฝึกจนชำนาญแล้ว พอมันมีเรื่องขึ้นมา มันจะวิ่งปุ๊บเข้ามา ปล่อยวางทิ้งมันหมดเลย

    เดี๋ยวมันปล่อยวางได้ แต่ถ้าหากว่าเราไม่เคยฝึกไว้ก่อน มันปล่อยวางไม่ได้ พอเข้ามาหามุมสงบน่ะ ไม่รู้ดึงรากอะไรเข้ามาด้วย อีรุงตุงนังไปเรื่อย เพราะเหตุไร เพราะมันตัดไม่ขาด จะตัดดึงมันก็ยังมีเยื้อใยในสิ่งทั้งหลายทั้งปวงอยู่ มันจะสงบได้อย่างไงใช่ไหม

    แต่ถ้าเราเคยฝึกมาแล้ว มีอะไรเกิดขึ้นเราก็ตัดทิ้ง จะไปสนใจอะไรมากมายนักหนา เห็นไหมคนตาย เขาเอาอะไรไปได้ เศรษฐีมหาเศรษฐี เห็นไหมเขาแบกอะไรไปด้วยกระดูกของเขาก็ทิ้งไว้หมด เราจะไม่ทิ้งเหรอกระดูกของเราน่ะ ถ้าใจได้รับความสงมาแล้ว มันจะมองเห็นได้ชัดนะ

    จากนั้นเราก็ปล่อยวางที่ใจของเรา อันนี้ก็คือพื้นฐานเบื้องต้นที่พวกเราจะเอามาใช้ในชีวิตประจำวัน สมาธิมีประโยชน์สำหรับพวกเราท่านทั้งหลาย ต่อไปเดินวิปัสสนาค่อยว่ากัน เดินวิปัสสนานี่ขั้นลึกซึ้งต่อไป แต่มันก็ต้องนับหนึ่งจากนี้ไปก่อน ก.ไก่ซะก่อน ข.ไข่ ข.ขวด แล้วค่อยประสมสระอะสระอาต่อไป

    ถ้าหากว่าตัว ก.ไก่ถึงฮ.นกฮูกยังจำไม่ได้ เราจะไปเรียนตัวอื่นต่อไปก็คงยาก พอเรียนแล้วก็พยายามประสมเท่านั้น ให้เรียนเบื้องต้น หาความสงบใส่ตัวเองก่อน จากนั้นความคิดก็รู้จักปล่อยวาง อันนี้คือบาทฐานเบื้องต้นในชีวิตประจำวันของพวกเรา

    ถ้าพวกเราทำได้อย่างนี้ หลวงพ่อว่าคนๆนั้น ถึงจะมีเรื่องอะไรหนักหนาในจิตในใจ ก็ไม่ถึงกับฆ่าคนอื่น ไม่ถึงกับฆ่าตนเอง ไม่ถึงกับเป็นบ้าเป็นบอ เพราะเหตุไร เพราะโลกอันนี้มันเป็นอยู่อย่างนี้ เราจะไปแบกก็เท่านั้น เราจะไปทำร้ายทำลายคนอื่นก็เท่านั้น เราจะฆ่าตนเองก็เท่านั้น จะเบียดเบียนคนอื่นจะเบียดเบียนตนก็เท่านั้น โลกมันเป็นอยู่อย่างนี้

    มันก็ต้องทำใจนะ อะไรจะเกิดมันก็ต้องเกิด ทำใจของเราเท่านั้นเอง ปล่อยวางที่ใจ ถ้าใจของเราสบายเสียอย่าง ทุกสิ่งทุกอย่างมันก็เงียบสงบไปด้วย ถึงจะไม่สงบ ใจของเราสงบก็พอแล้ว จะไปยุ่งอะไรมากมายนักหนอ โลกนี้มันเป็นอยู่อย่างนี้ตั้งแต่เรายังไม่เกิดนู่นน่ะ สิ่งเหล่านี้มันไม่ใช่ปล่อยวางที่ไหนนะ ปล่อยวางที่ใจนะ"

    หลวงพ่ออินทร์ถวาย สันตุสสโก
    ๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๕

    Cr.Kia Thayananuphay
     
  20. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,973
    mtZs8tDWgHMxDdJNTx4oxavbyyAFHpbSTOf3fdcGDINjj2_k-j8VbtJKttBpqWC1UUXWs6GN&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
    สมเด็จองค์ปฐมบรมครู(พระพุทธเจ้าองค์แรกของโลก)

    VmuBJdWz070Hblq1kHZ99IP5GFX2PNuvbb71tI37WDZuVY-dVPGxHx_TYZLRlvYNgOFfvYsF&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
    พระพุทธกัสปสัมมาสัมพุทธเจ้า

    พุทธานุสสติกรรมฐาน (คำสอนหลวงพ่อฤาษีลิงดำ)


    จาก หนังสือ แนะวิธีหนีนรกแบบง่ายๆ

    โดย...พระราชพรหมยาน(หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี

    ท่านสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลาย สำหรับตอนนี้เป็นตอนที่ ๗ ในเรื่องที่กล่าวถึงว่าการจะหนีจากนรกกัน แต่การหนีนรกบรรดาท่านพุทธบริษัท ในตอนต้นๆได้พูดถึงรายละเอียดมาแล้ว ต่อนี้ไปเพื่อไม่ให้เป็นการเปลืองเวลา ก็ขอพูดย้ำสั้นๆ ว่าคติของบุคคลที่จะหนีนรกได้มี ๓ อย่างด้วยกันคือ

    ๑. มีความรู้สึกตามความเป็นจริงว่า การเกิดมาคราวนี้ในที่สุดเราก็ต้องตาย แต่ทว่าความตายมีเวลาที่แน่นอนไม่ได้ หาไม่ได้แน่นอน อย่าคิดว่าแก่แล้วตายมันก็ไม่แน่อาจจะตายเสียวันนี้เลยก็ได้ ไม่ประมาทในการทำความดี ตั้งใจว่าตายคราวนี้ไม่ขอไปอบายภูมิทั้ง ๔ แน่ จุดที่จะไปมีจุดเดียวคือ พระนิพพาน ตั้งตรงไว้เลย หลังจากนั้นก็ยึด พระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ เป็นที่พึ่ง คือยอมรับนับถือด้วยความจริงใจ

    แล้ว หลังจากนั้นอีกที่หนึ่ง ก็ย้อนเข้ามาด้านความดีก็คือ มีศีล ๕ เป็นปกติ ถ้าปฏิบัติได้อย่างนี้ สมเด็จพระมหามุนี คือพระพุทธเจ้า ตรัสว่าทุกคนหนีนรกได้แน่ แต่ก็ต้องระมัดระวังอารมณ์ คำว่า " อารมณ์" อย่า ปล่อยให้อารมณ์ที่ไม่ดีเข้ามาเกี่ยวข้อง และความกังวลนิดหน่อยในเรื่องของความไม่ดีอย่าให้มีในใจ อย่างตัวอย่างที่กล่าวมาแล้ว ท่านไม่ได้ปรามาสพระไตรสรณคมน์ ท่านไม่ได้ละเมิดศีล แต่ว่าต้องไปอบายภูมิ เพราะจิตมีอารมณ์กลุ้มและหลงผิด ข้อนี้ก็ไม่ขอพูดย้อน เพราะว่าจะเป็นที่เบื่อหน่ายของบรรดาท่านพุทธบริษัท

    ต่อไปนี้ก็จะขอนำเอาพุทธานุสติกรรมฐานมา คุยกัน เพราะว่าความคิดถึงความตาย ถ้าคิดอย่างเดียวเราจะต้องตาย หมดที่หมายในการจะพึงไป อย่างนี้อารมณ์เศร้ามันจะเกิด คนเราถ้าออกจากทีบ้านต้องมีจุดมุ่งหมายปลายทางเป็นที่ไป และก็สถานที่ ไปนั้นต้องดีกว่าที่เดิม ไม่ใช่ให้มันเลวกว่าที่เดิม ถ้าเราเกิดเป็นมนุษย์แล้วตายจากความเป็นคน จะต้องไปเกิดเป็นสัตว์นรกก็ดี เป็นเปรตก็ดี เป็นอสูรกายก็ดี เป็นสัตว์เดรัจฉานก็ดี ทั้ง ๔ ประการนี้ไม่ดีทั้งหมด ถือว่าเป็นการขาดทุน เพาะการเกิดเป็นมนุษย์ก็ดี หรือการเกิดเป็นคนก็ตาม ความจริงคนกับมนุษย์นี่ไม่เหมือนกัน รูปร่างอย่างเดียวกัน แต่ว่าความรู้สึกของจิตใจไม่เท่ากัน

    " คน " นี่แปลว่า " ยุ่ง" คือไม่ยอมรับนับถือใครจริงๆไม่ยอมปฏิบัติในด้านของความดีจริงจัง อย่างที่จะรักษาศีล ก็รักษาไม่จริง ทำเป็นศีลหัวเต่าผลุบเข้าผลุบออก รักษาบ้าง ไม่รักษาบ้าง สิกขาบทแค่ ๕ ประการ ก็ถือว่าอย่างนั้นจำเป็น อย่างนี้จำเป็นแก่สังคม ถ้าปฏิบัติตามศีลก็ขาดสังคม คนในสังคมนั้นไม่คบหาสมาคม อย่างนี้ เข้าเรียกว่า "คน"

    สำหรับ "มนุษย์" แปลว่า "ใจสูง" คนนี่แปลว่ายุ่ง ถ้าปฏิบัติในศีลในธรรมไม่ได้ก็มีแต่ยุ่ง สำหรับมนุษย์แปลว่าใจสูง คนที่มีใจสูงคือมีกรรมบท ๑๐ ประการครบถ้วนคือ "มี ทั้งศีลทั้งธรรมครบถ้วน ทางกายไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม ทางวาจาไม่พูดปด ไม่พูดส่อเสียด และไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดจาเหลวไหลไร้ประโยชน์ ทางใจไม่คิดอยากได้ทรัพย์สมบัติของคนอื่นใด ไม่คิดจองล้างจองผลาญใคร มีความเห็นตรงตามความจริง ยอมรับนับถือความจริง ที่เป็นเหตุบันดาลให้มีความสุขอารมณ์อย่างนี้ท่านเรียกว่ามนุษย์ " ขอประทานอภัยเถอะบรรดาท่านพุทธบริษัท ที่ท่านทั้งหลายกำลังฟังอยู่นี่ ท่านลองวัดกำลังใจของท่านดูซิว่า เวลานี้นะท่านเป็นมนุษย์หรือว่าท่านเป็นคน หากว่าท่านเป็นคน ก็รู้สึกว่าความสุขของท่านยังน้อยเกินไป เมื่อกำลังใจของท่านเป็นมนุษย์ ความสุขของท่านจะมีมากมายเหลือเกิน เกือบจะหาอารมณ์ของความทุกข์ไม่ได้ เรื่องนี้ยังไม่พูดกัน ไม่ช้าไม่กี่วันก็ได้พบกัน

    วันนี้มาพูดกันถึง พุทธานุสสติกรรมฐาน แต่ว่าสังโยชน์ทั้ง ๓ ประการ เมื่อใช้มรณานุสสติกรรมฐาน คือนึกถึงความตายเป็นอารมณ์แล้ว ต่อไปก็มี พุทธานุสสติ ธัมมนุสสติ สังฆานุสสติ กรรมฐาน คือ ๓ประการ แล้วก็มีสีลานุสสติขั้นสุดท้าย นี่เป็นเรื่องคุยความจำเป็นจริงๆ

    วันนี้ขอพูดเรื่อง พุทธานุสสติกรรมฐาน แต่ขอบรรดาญาติโยมพุทธบริษัทและท่านผู้ฟังทั้งหลายได้โปรดทราบว่า การตัดสังโยชน์ พระพุทธเจ้าบอกว่า สังโยชน์ ๓ประการนพไม่มีอะไรหนัก เป็นของเบาๆ ฉะนั้นการปฏิบัติส่วนนี้จึงปฏิบัติกันด้านเบาๆ สำหรับท่านที่นิยมของหนักได้โปรดทราบ ต้องขออภัยท่านด้วยบางทีท่านอาจจะคิดว่าพระวัดท่าซุงมีแต่ความเกียจคร้าน ปฏิบัติเบาๆ แบบขี้เกียจอันนี้ก็ขอยอมรับ ถ้าคนขี้เกียจแล้วได้เงินมากๆ ทำงานเบาๆ ได้เงินมากๆ อย่างนี้ก็ดี ก็เหมือนกับการปฏิบัติ ถ้าปฏิบัติแบบเบาๆ แต่ว่าได้ผลดี อย่างนี้ใช้ได้ ก็พอใจตามที่พระพุทธเจ้าตรัส ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า " พระโสดาบัน กับพระสกิทาคามี เป็นผู้มีสมาธิเล็กน้อย แต่มีศีลบริสุทธิ์ "

    ใน เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสอย่างนี้ อาตมาเองบวชมาจากพระไตรปิฎก ในเมื่อทางพระไตรปิฎกท่านบอกเบาๆ ก็ปฏิบัติเบาๆ ไม่ยอมฝืนพระไตรปิฎก ท่านทั้งหลายจะหาว่าโง่เง่าเต่าตุ่นก็ช่าง เห็นว่าการบวช หรือการปฏิบัติตามพระไตรปิฎกเป็นคนโง่ ก็ต้องถือว่าพระไตรปิฎกสอนให้โง่ แต่ถ้าคนโง่ตามพระไตรปิฎกท่านไปนิพพานกันนับไม่ถ้านแล้วจึงขอยอมโง่ตามนี้

    มาว่าถึง พุทธานุสสติกรรมฐาน การยอมรับนับถือพระพุทธเจ้า ความจริงคำว่า "อนุสสติ" นี่แปลว่า " ตามนึกถึง" ไม่ต้องใช้กำลังมาก ถ้าบรรดาพุทธบริษัทสามารถทรงกำลังใจได้ ยอมรับนับถือพระพุทธเจ้าด้วยความจริงใจ ความจริงการยอมรับนับถือนี่ต้องปฏิบัติตามนะ ข้อนี้ขอบรรดาท่านทั้งหลายผู้รับฟังจงอย่าลืม การใช้คำว่า เคารพนับถือ แต่ไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำซึ่งกันและกันเขาถือว่าโกหกกันอย่างนี้ฟังง่ายดี

    อย่าง ลูกบอกว่ายอมรับนับถือพ่อแม่เหลือเกิน ศิษย์ยอมรับนับถือครูบาอาจารย์จริงๆแต่ว่าพ่อแม่สอนอะไร ห้ามอะไรลูกก็ไม่เชื่อฟัง ครูบาอาจารย์สอนแบบไหนลูกศิษย์ไม่ยอมเชื่อฟัง อย่างนี้เขาไม่ใช่เรียกคนนับถือกัน เขาเรียก "คนอกตัญญูไม่รู้คุณคน" อย่างนี้สบายใจไหม บรรดาญาติโยมพุทธบริษัท

    ถ้าจะไปว่าใครให้นึกถึงใครก็ต้องนึกดูก่อน ว่าคนที่ไม่ยอมปฏิบัติตามพระธรรมวินัยคำว่า "วินัย" คือ ข้อห้ามที่ได้แก่ ศีล " พระธรรม" คือการแนะนำให้ปฏิบัติในด้านของความดี ต้องดูว่าท่านผู้นั้นท่านอยู่ในสังกัดของพระพุทธศาสนาหรือปล่าว ถ้าท่านผู้นั้นไม่อยู๋ในสังกัดพระพุทธศาสนาก็จะหาว่าท่านไม่ยอมรับนับถือ พุทธศาสนาอย่าวจริงจัง หรือว่าเป็นคนอกตัญญูไม่รู้คุณคน อย่างนี้ไม่ได้ เมื่อท่านไม่ใช่ลูกศิษย์ลูกหา ท่านไม่ได้อาศัยพระพุทธเจ้าในความเป็นอยู่ เว้นไว้แต่นักบวชอย่างอาตมา นักบวชแบบอาตมานี่โกนหัว โกนคิ้ว ห่มผ้าเหลือง แล้วก็อยู่วัดอยู่วา ความเป็นอยู่ไม่มีอาชีพแน่นอนสำหรับตัวเอง ไม่สามารประกอบอาชีพได้ อาศัยความเป็นอยู่จากบรรดาญาติโยมพุทธบริษัทเลี้ยงข้าวปลาอาหารท่านก็เลี้ยง ที่อยู่ท่านก็ให้ ยารักษาโรคท่านก็ซื้อให้ ผ้าผ่อนท่อนสไบญาติโยมก็ให้ทั้งหมด ที่เป็นอย่างนี้เพราะญาติโยมพุทธบริษัทคิดว่าอาตมาเป็นผู้ที่เคารพในองค์ สมเด็จพระบรมสุคต คือพระพุทธเจ้า ปฏิบัติตามคำแนะนำของท่านทุกอย่าง ถ้าบังเอิญอาตมาไปพลิกล๊อกก็หมายความว่า ไปฝ่าฝืนคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า และโกหกบรรดาญาติโยมพุทธบริษัท ว่าอาตมานี่เป็นสาวกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านที่มีความเคารพพระพุทธเจ้าก็เลยให้โน่นให้นี่ตามที่กล่าวมาแล้ว อย่างนี้ว่าเป็นคนอกตัญญูไม่รู้คุณคน คืออกตัญญูไม่รู้คุณพระพุทธเจ้า เพราะได้กินอาศัยพระพุทธเจ้าเป็นเหตุ ถ้าไม่ได้อาศัยบารมีขององค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ก็ไม่มีอะไรจะกิน จะใช้คนที่นับถือพระพุทธเจ้าเขาก็ไม่ให้กินไม่ให้ใช้

    อันดับแรกเป็นคน อกตัญญูไม่รู้คุณพระพุทธเจ้าก่อนทีนี้บรรดาญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลายผู้ให้ ก็ถือว่าท่านเป็นผู้มีพระคุณตอนค้นหลอกลวงทาน เป็นคนหลอกลวงประชาชน คือ พุทธศาสนิกชน เรียกว่า ประชาชนไม่ได้ ประชาชนนี่หมายถึงว่าคนจะนับถือศาสนาอะไรก็เป็นประชาชนทั้งหมด ต้องโดยเฉพาะพุทธศาสนิกชนคนที่นับถือพระพุทธศาสนา หลังจากนั้นมาก็อกตัญญูไม่รู้คุณท่าน ที่ท่านให้กินท่านเลี้ยงดูจนมีความสุขมีชีวิตอยู่ กับอกตัญญูในตัวท่าน โดยบอกกับท่านว่าปฏิบัติตามคำแนะนำขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่เนื้อแท้จริงๆไม่มีอะไรเหลือเลย ก็ต้องถือว่าเป็นคนเลว

    นี่เป็นการ ยอมรับนับถือ บรรดาท่านพุทธบริษัท ต้องนับถือกันด้วยความจริงใจเป็นส่วนตัวด้วยและก็ต้องแฏิบัติตามคำแนะนำของ ท่านด้วย สิ่งใดที่ท่านห้ามว่าไม่ดีอย่าทำ สิ่งใดที่ท่านแนะนำว่าอย่างนี้นี่เป็นจุดของความสุข จงทำ เราทำ อย่างนี้ถือว่านับถือพระพุทธเจ้าจริง แต่ว่าการปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งใน ด้านศีลก็ดี ในด้านธรรมก็ดี คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านี่มีถึง 84,000 หัวข้อ ก็ไม่จำเป็นต้องนำมาปฏิบัติทั้งหมด เลือกเอาเฉพาะว่าสิ่งไหนที่พอจะปฏิบัติได้เราก็ทำอย่างนั้น อย่าปฏิบัติเกินกำลัง และตั้งใจปฏิบัติด้วย ความจริงจังอย่างนี้ถือว่านับถือพระพุทธเจ้า ถ้ามีอารมณ์อย่างนี้ ถือว่าหนึ่งในพุทธานุสติกรรมฐาน ถือว่ามีความระลึกนึกถึงพระพุทธเจ้าจริง มีการยอมรับรับนับถือพระพุทธเจ้าจริง

    มีคำสั่งสอนตอนหนึ่งที่เรียกว่า เป็นตอนต้นเรื่องก็ได้ ตามบาลีว่า " สัมพะปา ปัสสะ อะกะระณัง " พระพุทธเจ้าทรงแนะนำว่า ท่านทั้งหลายจงอย่าทำความชั่วทุกอย่าง "กุสลัสสูปสัมทา" จงทำแต่ความดี "สจิตตะปรโยทะปะนัง" จงทำจิตใจให้ผ่องใสจากกิเลส "เอตัง พุทธานะสาสะนัง" พระองค์ทรงยืนยันว่าพระพุทธเจ้าทุกองค์ตรัสอย่างนี้เหมือนกันหมด

    เรา ต้องจับจุดขั้นแรกว่า สิ่งใดที่พระองค์ทรงห้าม นั่นคือการละเมิดศีล สิ่งใดที่ทรงแนะนำให้ทำ คือปฏิบัติตามศีล สิ่งใดที่ทำให้จิตผ่องใส คือทำให้จิตว่างจากนิวรณ์ อันดับแรกนะ แล้วก็เจริญสมถภาวนาวิปัสสนาภาวนา สำหรับสมถภาวนาก็ดี วิปัสสนาภาวนาก็ดี มีมากเหลือเกิน มีมากด้วยกันมาก แต่ก็จับจุดเฉพาะ วันนี้มาจับเอาเฉพาะพุทธานุสติกรรมฐาน

    คำว่า"พุทธานุสติกรรมฐาน " แปลว่า "ตามนึกถึงพระพุทธเจ้าและตามนึกถึงถึงความดีของพระพุทธเจ้า" การปฏิบัติให้จิตว่างจากนิวรณ์ จิตมีสมาธิ มีอารมณ์สะอาดก็ต้องไม่ทำอะไรมาก ไม่ต้องต้องทำอะไรหนัก เพราะการตัดสังโยชน์ 3ประการ ไม่มีอารมณ์หนัก

    แต่ การว่าอารมณ์ของคนมี 2 อย่าง บรรดาท่านพุทธบริษัทอย่างที่1 ชอบคิอ อย่างที่ 2 จิตขอบทรงตัวคือเฉยๆ อาการ2อย่างนี่มีกันทุกคน ในขณะใดภ้ากำลังใจเราชอบคิด และก็นั่งนึกถึงความดีของพระพุทธเจ้า อันนี้พระพุทธเจ้าท่านมีรูปร่างอย่างไง มีความดีดีอย่างไง ถ้าคิดถึงความดี บางทีท่านทั้งหลายจะนึกไม่ออกว่า โอ้โฮ ความดีของพระพุทธเจ้านี่เยอะแยะมาก จะเอาตรงไหนกันดี ก็บอกแล้วว่าการตัดสังโยชน์ 3 ประการนี่เบามาก ใช้อารมณ์เบาๆ สำหรับท่านที่ไม่ได้ทิพจักขุญาณหรือไม่ได้มโนมยิทธิ คำว่าทิพจักขุญาณเป็น หลักสูตรวิชชสาม ถ้ามโนมยิทธิเป็นหลักสูตรของอภิญญา เวลานี้คนได้กันนับแสน อาตมาก็ปลื้มใจ ท่านที่ได้อย่างนี้แล้วก็ไม่ต้องนึกเฉยๆใช้กำลังความเป็นทิพย์ของจิต จะพระรูปพระโฉมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจริงๆเลย จะเอาพระรูปพระโฉมตอนที่พระพุทธเจ้าเป็นหนุ่ม สมัยที่ทรงพระชนม์อยู่หรือว่าสมัยกลางคน สมัยเป็นคนแก่ใกล้นิพพานไปแล้วก็ได้นะ ทำจิตให้เป็นสุข มีจิตใจรื่นเริงความทุกข์ความกังวลไม่มีอารมณ์ก็เบา

    แต่สำหรับท่านที่ ไม่ได้ทิพจักขุญาณ และก็ไม่ได้มโนมยิทธิ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอภิญญา ก็ใช้กำลังจิตคิด คือ ลืมตาดูภาพพระพุทธรูป หรือว่าท่านจะหลับตาก็ได้ หลับตานึกถึงพระพุทธรูปองค์ใดองค์หนึ่งที่เราชอบมากที่สุด จะเป็นพระพุทธรูปอยู่ที่วัดไหนหรือสถานที่ใดก็ได้ ไม่ห้ามทั้งหมด นึกถึงพระพุทธรูปองค์นั้น ทำใจให้สบาย นึกวาดภาพตั้งใจ เห็นว่าพระพุทธรูปองค์นี้นั่งแบบไหน สีอะไร หน้าตายิ้มแย้มแบบไหน ทรงอะไรก็ตาม ปางไหนอะไรก็ตามเอากันแค่แบบสบายๆใจ

    ถ้านึกถึงภาพอย่าง นี้จิตเป็นสุข ภาพพระพุทธรูปที่อยู่ไกลนึกไม่ออก ก็นั่งดูพระพุทธรูปองค์ที่อยู่ใกล้ๆไม่ต้องหลับตาก็ได้ หรือลืมตาดู จำภาพพระพุทธรูป แล้วก็หลับตานึกถึงก็ได้ เอากันแค่สบายใจ

    สมมติถ้า นั่งหลับตาอารมณ์จิตฟุ้ง แต่ความจริงมันเป็นอย่างนั้นนะ ถ้าจิตมันฟุ้งอยู่แล้ว ถ้าหลับตามันจะฟุ้งมาก ถ้าหลับตาไม่ฟุ้งก็หลับตา ลืมตาดูภาพพระพุทธรูป และก็หลับตานึกถึงพระพุทธรูป ว่าท่านนั่งท่าไหน ท่านสีอะไร ไอ้การที่เขาทำทำแบบไหน ถ้าแบบนี้อารมณ์ฟุ้งเกินไป ก็ลืมตา ลืมตามองดูพระพุทธรูปด้วยความเคารพ ดูหน้าตาท่านยิ้มแย้มแจ่มใสดี มีจิตใจสดชื่น ขณะที่จิตยังพอใจอยู่กับพระพุทธรูปเวลานั้นจิตว่างจากกิเลส และจิตว่างจากกิเลส และจิตก็ว่างจากนิวรณ์ เมื่อจิตว่างจากกิเลส จิตว่างจากนิวรณ์จิตก็มีอารมณ์เป็นสุข ท่านว่า "สมาธิ" เพราะคำว่า "สมาธิ" แปลว่า "ตั้งใจ" จิตตั้งใจดูพระพุทธรูป จะดูส่วนไหนก็ตาม ชอบส่วนไหนดูส่วนนั้น จิตใจคิดตามไปด้วยก็ได้ อย่างนี้เป็น พุทธนุสสติกรรมฐานแบบคิด

    ที นี้ถ้ามีอาการแบบทรงตัว การทรงตัวนี่บรรดาท่านพุทธบริษัท ท่านให้ใช้คำว่าภาวนาและลมหายใจควบ คือคำภาวนาส่วนใหญ่ที่นิยมกันใช้คำว่า "พุทโธ" แต่ความจริงคำภาวนา ถ้าเรานึกถึงพระพุทธเจ้าแล้ว จะภาวนาว่าอย่างไรก็ตามก็เป็นพุทธานุสสติกรรมฐานหมือนกัน

    อันดับแรกใช้คำภาวนาควบกับลมหายใจ คือเวลาหายใจเข้านึกตามว่า "พุท" เวลาหายใจออกนึกตามว่า "โธ" และการหายใจนี่บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย อย่าบังคับลมหายใจ ปล่อยให้ร่างกายหายใจตามปกติ จะหายใจสั้น หายใจยาว หายใจหนัก หายใจเบา เป็นเรื่องของร่างกาย เพียงแต่เอาจิตเข้าไปรับทราบลมหายใจเท่านั้น การที่เอาจิตเข้าไปรับทราบลมหายใจเข้าลมหายใจออก อย่างนี้มีชื่อเรียกว่า มีสมาธิในอานาปานุสสติกรรมฐาน คือมีสมาธิในเรื่องของลมหายใจ ถ้าจิตจะรู้ลมเข้าลมออกอยู่ เวลานั้นจิตจะว่างจากกิเลส จิตก็ว่างจากนิวรณ์ มีอารมณ์เป็นสมาธิ หรือต่อไปถ้าเรานึกถึงลมหายใจเข้าออกอย่างเดียวคิดว่าอาจจะได้บุญน้อยไป การนึกถึงพระพุทธเจ้าน้อยไป อานิสงส์จะน้อยก็ใช้คำภาวนาควบคู่ หรือเวลาหายใจเข้านึกตามว่า "พุท" เวลาหายใจออกนึกตามว่า " โธ" ทำไปเรื่อยๆ ทำแบบใจสบายๆ ทำแค่อารมณ์ใจเป็นสุข อย่าตั้งเวลาแน่นอน เพราะเวลานี้เป็นขั้นการฝึก ถ้าตั้งเวลาว่าต้องการ 10 นาทีบ้าง 20นาทีบ้าง 30นาทีบ้าง อย่างนี้ ถ้าอย่างนั้นจะเอาดีไม่ได้ ถ้าจิตเริ่มฟุ้งซ่าน ถือเวลาอยู่ก็จะมีอาการกลุ้ม แทนที่จะได้ผลดีกลับได้ผลร้าย ถ้าจะถามว่าการปฏิบัติเอาเวลาเท่าไร ก็ตอบว่าถ้าใหม่ๆไม่ควรจะใช้เวลามากเลย ใช้แค่อารมณ์เป็นสุข ขณะใดถ้ายังรู้ลมหายใจเข้าออกอยู่ รู้คำภาวนาอยู่ ไม่มีอารมณ์อื่นแทรก จิตเป็นสุขใช้ได้

    แต่ทว่าการภาวนาก็ดี รู้ลมหายใจเข้าออกก็ดี เราจะบังคับให้จิตรู้เฉพาะลมหายใจเข้าออก กับคำภาวนาตลอดเวลาที่เราต้องการนั้นไม่ได้ ทั้งนี้เพราะอะไร? เพราะจิตมีสภาพคิด จิตนี่ชอบคิดนอกเรื่องนอกราวมาตลอดกาลตลอดสมัย คิดมาอย่างนี้มาหลายอสงไขยกัป แล้วก็จะมานั่งบังคับว่าเวลานี้จิตจงรู้เฉพาะลมหายใจเข้าลมหายใจออก จงรู้เฉพาะคำภาวนา อาจจะทรงตัวอยู่ได้สักนาทสองนาทีอย่างมาก ประเดี๋ยวจิตก็คิดโน่นบ้างคิดนี้บ้าง ที่เรียกว่าอารมณ์ฟุ้ง ต้องถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา ถ้าเรารู้ตัวว่านี่ซ่านออกนอกลูกนอกทางไปแล้ว เราก็หวลกลับมาเริ่มต้นจับใหม่ เอาใจเข้าไปรู้ลมหายใจเข้าหายใจออก แล้วภาวนาตาม หายใจเข้านึก "พุท" หายใจออกนึก "โธ" อย่างนี้ใช้ได้ สลับกันไปสลับกันมา

    แต่ปรากฏว่า ถ้าอารมณ์เริ่มจะซ่านทนไม่ไหว เกิดมีอารมณ์ฟุ้งซ่าน ลมหายใจก็ไม่เอา คำภาวนาก็ไม่เอา อย่างนี้จะทำยังไง?

    การแก้อารมณ์ฟุ้งซ่านของ พระพุทธโฆษาจารย์ ในวิสุทธิมรรคมีอยู่ 2อย่าง

    ถ้า ซ่านเกินไป บังคับไม่อยู่ ให้เลิกเสียเลย เลิกเลย ปล่อยใจตามสบายจะไปดูหนัง ดูละคร ดูโทรทัศน์ นั่งโขกหมากรุก ชาวบ้านคงไม่เล่นหมากรุกหรอกมั้ง เอ้าไม่เล่นหมากรุกก็อย่าเพิ่งไปเล่นไพ่ก็แล้วกัน เล่นไพ่เพลินไปตำรวจจะจับจะเสียสตางค์ จะร้องเพลงอย่างไงก็ช่าง จะมานั่งนึกว่า เอ.... ใช้เวลานิดหน่อยทำความดี เราปล่อยความฟุ้งซ่านมากเกินไปเพราะอารมณ์ใจมันเป็นความชั่ว มันก็ไม่แน่นัก ถ้าความดีถ้าเราฝืนนะ บรรดาท่านพุทธบริษัท มันจะกลายเป็นอารมณ์ร้าย ถ้าฟุ้งซ่านมากเกินไป บังคับไม่อยู่ เราก็ต้องการบังคับมันไม่อยู่ตามที่เราต้องการ ความกลุ้มก็จะเกิด ในตอนนี้แหละโรคประสาทจะเกิดแก่บรรดาท่านพุทธบริษัท ที่เขาบอกว่าทำสมาธิแล้วบ้า ทำสมาธิแล้วบ้าเพราะใช้อารมณ์แบบนี้

    บาง ท่านพออารมณ์ดีขึ้นมาบ้างถึงปีติไม่อยากพัก ไม่อยากผ่อน ไม่อยากนอน ไม่อยากกิน อย่างนี้ก็เป็นโรคเส้นประสาท ขัดคำสั่งของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ว่าสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า จงละส่วนล่างสุด 2 อย่าง คือ

    ๑. อัตตกิลมถานุโยค การทรมานกายทรมานใจ
    ๒. กามสุขัลลิกานุโยค ย่อหย่อนเกินไป หรืออยากได้เกินไป

    อารมณ์ฟุ้ง ต้องใช้ มัชฌิมาปฏิปทา คือ อารมณ์พอสบายเราก็ทำแค่สบาย เมื่อมันไม่สบายเราก็เลิก เวลาใหม่ทำกันใหม่ โดยเฉพาะเราทำแค่กำไร ไม่ใช่ทำขาดทุน ถ้าเราไม่ต้องการจะเลิก พระพุทธเจ้าแนะนำตามนี้อาตมาเคยปฏิบัติตาม ท่านบอกว่าให้คิดไป มันอยากจะคิดอะไรเชิญคิดไปเหมือนคนฝึกม้าพยศ ม้าพยศถ้าฝึกไม่ได้มันวิ่งออกนอกทางก็กอดคอมันเลย มันจะวิ่งไปไหนปล่อยวิ่งไป พอหมดแรงเมื่อไหร่ เราลากเข้าเส้นทางบังคับมันจะตามใจเรา ข้อนี้ฉันใดถ้ากำลังใจฟุ้งซ่าน บรรดาท่านพุทธบริษัท ปล่อยเลยคิดตามสบาย อาตมาเคยพิสูจน์ มันจะคิดไปอย่างนานไม่เกิน ๑๕ นาที พอกลับเข้ามาอีกทีมันหยุดคิด ตอนนี้จับ อานาปานุสติ คือลมหายใจเข้าออกกับคำภาวนา มันจะทรงตัวแนบนิ่งดีมาก อย่างน้อยครึ่งชั่วโมงหรือว่าถ้าฉลาดในการทรงสมาธิมันก็ไม่หนักนัก

    เอา ละบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย สัญญาณบอกหมดเวลาปรากฏแล้ว ก็จำเป็นต้องลาก่อน สำหรับวันนี้ ขอความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคลสมบูรณ์พูนผล จงมีแด่บรรดาท่านพุทธศาสนิกชนผู้รับฟังทุกท่าน สวัสดี
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...