บันทึกของพระคุณลุงคนเชียงใหม่ถึงหลานๆ เรื่องภัยพิบัติ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย ลุงคนเชียงใหม่, 21 ตุลาคม 2011.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. Apinya17

    Apinya17 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    775
    ค่าพลัง:
    +3,022
    อ้าย ต้นที่สาม ข่ะใจ๋ไป ไปปลูกฟัก ปลูกน้ำแก้ว ปลูกถั่วไว้เสีย
    ข้าวโปด หม่าแต๋ง หรือย้ายไปเสาะหากานหางานที่เชียงใหม่ถาวรเลยเน้อ
    ไปยิ่งเร็วยิ่งดีกว่าเน้อ
     
  2. ลุงไชย

    ลุงไชย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    645
    ค่าพลัง:
    +2,436
    บทสวดที่พระคุณลุง กำหนดให้เป็นบทสวดที่สวดในขณะเกิดภัยพิบัติ นั้นเริ่มด้วย

    1.บทสรรเสริญพระรัตนตรัย
    2.รตนสูตร (รตนปริตร)
    3.ชินบัญชร
    4.คาถาพระพุทธเจ้าชนะมาร
    (พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต)
    …………………………………………………………………………………….

    บทสรรเสริญพระรัตนตรับ

    อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
    วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
    อะนุตตะโร ปุริสสะธัมมะสาระถิ สัตถาเทวะมนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ.

    สวากขาโต ภะคะวา ธัมโม
    สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ.

    สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    อุชุปฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    ญายะปฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    สามีจิปฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสสะ ยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา
    เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเนยโย
    อัญชะลีกะระนีโย อะนุตตะรัง ปุญญะเขตตัง โลกัสสาติ.


    <O:p</O:p
    รัตนปริตร

    ...ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ <O:p></O:p>
    ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข <O:p></O:p>
    สัพเพวะ ภูตา สุมะนา ภะวันตุ <O:p></O:p>
    อะโถปิ สักกัจจะ สุณันตุ ภาสิตัง <O:p></O:p>
    ..ตัส์มา หิ ภูตา นิสาเมถะ สัพเพ <O:p></O:p>
    เมตตัง กะโรถะ มานุสิยา ปะชายะ <O:p></O:p>
    ทิวา จะ รัตโต จะ หะรันติ เย พะลิง,<O:p></O:p>
    ตัส์มา หิ เน รักขะถะ อัปปะมัตตา <O:p></O:p>
    ..ยังกิญจิ วิตตัง อิธะ วา หุรัง วา <O:p></O:p>
    สัคเคสุ วา ยัง ระตะนัง ปะณีตัง <O:p></O:p>
    นะ โน สะมัง อัตถิ ตะถาคะเตนะ <O:p></O:p>
    อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง <O:p></O:p>
    เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ <O:p></O:p>
    ..ขะยัง วิราคัง อะมะตัง ปะณีตัง <O:p></O:p>
    ยะทัชฌะคา สัก์ยะมุนี สะมาหิโต <O:p></O:p>
    นะ เตนะ ธัมเมนะ สะมัตถิ กิญจิ <O:p></O:p>
    อิทัมปิ ธัมเม ระตะนัง ปะณีตัง <O:p></O:p>
    เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
    ..ยัมพุทธะเสฏโฐ ปะริวัณณะยี สุจิง <O:p></O:p>
    สะมาธิมานันตะริกัญญะมาหุ
    สะมาธินา เตนะ สะโม นะ วิชชะติ <O:p></O:p>
    อิทัมปิ ธัมเม ระตะนัง ปะณีตัง <O:p></O:p>
    เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ <O:p></O:p>
    ..เย ปุคคะลา อัฏฐะ สะตัง ปะสัฏฐา <O:p></O:p>
    จัตตาริ เอตานิ ยุคานิ โหนติ <O:p></O:p>
    เต ทักขิเณยยา สุคะตัสสะ สาวะกา <O:p></O:p>
    เอเตสุ ทินนานิ มะหัปผะลานิ <O:p></O:p>
    อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง <O:p></O:p>
    เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ <O:p></O:p>
    ..เย สุปปะยุตตา มะนะสา ทัฬเหนะ <O:p></O:p>
    นิกกามิโน โคตะมะสาสะนัมหิ <O:p></O:p>
    เต ปัตติปัตตา อะมะตัง วิคัยหะ <O:p></O:p>
    ลัทธา มุธา นิพพุติง ภุญชะมานา <O:p></O:p>
    อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง <O:p></O:p>
    เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
    ..ยะถินทะขีโล ปะถะวิง สิโต สิยา <O:p></O:p>
    จะตุพภิ วาเตภิ อะสัมปะกัมปิโย <O:p></O:p>
    ตะถูปะมัง สัปปุริสัง วะทามิ <O:p></O:p>
    โย อะริยะสัจจานิ อะเวจจะ ปัสสะติ <O:p></O:p>
    อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง <O:p></O:p>
    เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ <O:p></O:p>
    ..เย อะริยะสัจจานิ วิภาวะยันติ <O:p></O:p>
    คัมภีระปัญเญนะ สุเทสิตานิ <O:p></O:p>
    กิญจาปิ เต โหนติ ภุสัปปะมัตตา <O:p></O:p>
    นะ เต ภะวัง อัฏฐะมะมาทิยันติ
    อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง <O:p></O:p>
    เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ <O:p></O:p>
    ..สะหาวัสสะ ทัสสะนะสัมปะทายะ <O:p></O:p>
    ตะยัสสุ ธัมมา ชะหิตา ภะวันติ <O:p></O:p>
    สักกายะทิฏฐิ วิจิกิจฉิตัญจะ <O:p></O:p>
    สีลัพพะตัง วาปิ ยะทัตถิ กิญจิ <O:p></O:p>
    ..จะตูหะปาเยหิ จะ วิปปะมุตโต <O:p></O:p>
    ฉะ จาภิฐานานิ อะภัพโพ กาตุง <O:p></O:p>
    อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง <O:p></O:p>
    เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ <O:p></O:p>
    ..กิญจาปิ โส กัมมัง กะโรติ ปาปะกัง, <O:p></O:p>
    กาเยนะ วาจายุทะ เจตะสา วา <O:p></O:p>
    อะภัพโพ โส ตัสสะ ปะฏิจฉะทายะ, <O:p></O:p>
    อะภัพพะตา ทิฏฐะปะทัสสะ วุตตา <O:p></O:p>
    อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง <O:p></O:p>
    เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ <O:p></O:p>
    ..วะนัปปะคุมเพ ยะถา ผุสสิตัคเค <O:p></O:p>
    คิมหานะมาเส ปะฐะมัส์มิง คิมเห <O:p></O:p>
    ตะถูปะมัง ธัมมะวะรัง อะเทสะยิ <O:p></O:p>
    นิพพานะคามิง ปะระมัง หิตายะ <O:p></O:p>
    อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง <O:p></O:p>
    เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ <O:p></O:p>
    ..วะโร วะรัญญู วะระโท วะราหะโร, <O:p></O:p>
    อะนุตตะโร ธัมมะวะรัง อะเทสะยิ <O:p></O:p>
    อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง <O:p></O:p>
    เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ <O:p></O:p>
    ..ขีณัง ปุราณัง นะวัง นัตถิ สัมภะวัง <O:p></O:p>
    วิรัตตะจิตตายะติเก ภะวัสมิง <O:p></O:p>
    เต ขีณะพีชา อะวิรุฬหิฉันทา <O:p></O:p>
    นิพพันติ ธีรา ยะถายัมปะทีโป <O:p></O:p>
    อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง <O:p></O:p>
    เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
    ..ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ <O:p></O:p>
    ภุมมานิ วา ยานิวา อันตะลิกเข <O:p></O:p>
    ตะถาคะตัง เทวะมะนุสสะ ปูชิตัง <O:p></O:p>
    พุทธัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ ฯ <O:p></O:p>
    ..ยานีธะ ภูตานิ สะมา คะตานิ <O:p></O:p>
    ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข <O:p></O:p>
    ตะถาคะตัง เทวะมะนุสสะปูชิตัง <O:p></O:p>
    ธัมมัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ ฯ <O:p></O:p>
    ..ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ <O:p></O:p>
    ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข <O:p></O:p>
    ตะถาคะตัง เทวะมะนุสสะปูชิตัง <O:p></O:p>
    สังฆัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ ฯ..<O:p></O:p>

    เป็นหนึ่งในบทสวดพระปริตร อานิสงส์ของ พระปริตร ในส่วนของ บทสวดรัตนปริตร
    คือ ปริตรที่กล่าวถึงคุณของพระรัตนตรัย แล้วอ้างคุณนั้นมาพิทักษ์คุ้มครองให้มีความสวัสดี
    คือทำให้ได้รับความสวัสดี และพ้นจากอุปสรรคอันตราย พ้นภัยพิบัติต่างๆ คาถารัตนปริตร
    ช่วยให้พ้นจาก ทุพภิกขภัย ภัยที่เกิดจากความแห้งแล้งหรือความอดอยากขาดแคลน
    อมนุสสภัย ภัยที่เกิดจากอมนุษย์ เกิดโรคระบาดโรคภัยต่างๆ


    คาถาชินบัญชร โดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

    พระคาถานี้เป็นคาถาศักดิ์สิทธิ์ตกทอดมาจากลังกา
    ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯค้นพบในคัมภีร์โบราณและได้ดัดแปลงแต่งเติมให้ดีขึ้น
    เป็นเอกลักษณ์พิเศษ ผู้ใดสวดภาวนาพระคาถานี้เป็นประจำสม่ำเสมอ
    จะทำให้เกิดความสิริมงคลแก่ตนเอง ศัตรูไม่กล้ากล้ำกราย มีเมตตามหานิยม
    ขจัดภัยตลอดจนคุณไสยต่างๆ ก่อนเจริญภาวนาให้ตั้งนะโม ๓ จบ แล้วระลึก
    ถึงหลวงปู่โตและตั้งคำอธิษฐานแล้วเริ่มสวด


    พระคาถาชินบัญชร

    ...ปุตตะกาโมละเภปุตตัง ธะนะกาโมละเภธะนัง
    อัตถิกาเยกายะญายะ เทวานังปิยะตังสุตตะวา
    อิติปิโสภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ
    มรณังสุขัง อะระหังสุคะโต นะโมพุทธายะ …(บทนำ)

    <O:p</O:p
    ...ชะยาสะนากะตา พุทธา เชตวา มารัง สะวาหะนัง
    จะตุสัจจาสะภัง ระสัง เย ปิวิงสุ นะราสะภา.<O:p></O:p>
    ตัณหังกะราทะโย พุทธา อัฏฐะวีสะติ นายะกา
    สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง มัตถะเกเต มุนิสสะรา.<O:p></O:p>
    สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน <O:p></O:p>
    สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง อุเร สัพพะคุณากะโร.<O:p></O:p>
    หะทะเย เม อะนุรุทโธ สารีปุตโต จะทักขิเณ
    โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง โมคคัลลาโน จะ วามะเก. <O:p></O:p>
    ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง อาสุง อานันทะ ราหุโล
    กัสสะโป จะ มะหานาโม อุภาสุง วามะโสตะเก.<O:p></O:p>
    เกสันเต ปิฏฐิภาคัสมิง สุริโย วะ ปะภังกะโร
    นิสินโน สิริสัมปันโน โสภิโต มุนิปุงคะโว
    กุมาระกัสสโป เถโร มะเหสี จิตตะ วาทะโก
    โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง ปะติฏฐาสิคุณากะโร.<O:p></O:p>
    ปุณโณ อังคุลิมาโร จะ อุปาลี นันทะ สีวะลี
    เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา นะลาเต ติละกา มะมะ.<O:p></O:p>
    เสสาสีติ มะหาเถรา วิชิตา ชินะสาวะกา
    เอเตสีติ มะหาเถรา ชิตะวันโต ชิโนระสา
    ชะลันตา สีละเตเชนะ อังคะมังเคสุ สัณฐิตา.<O:p></O:p>
    ระตะนัง ปุระโต อาสิ ทักขิเณ เมตตะ สุตตะกัง
    ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ วาเม อังคุลิมาละกัง<O:p></O:p>
    ขันธะโมระปะริตตัญจะ อาฏานาฏิยะ สุตตะกัง
    อากาเส ฉะทะนัง อาสิ เสสา ปาการะสัณฐิตา<O:p></O:p>
    ชินา นานาวะระสังยุตตา สัตตัปปาการะ ลังกะตา
    วาตะปิตตาทะสัญชาตา พาหิรัช ฌัตตุปัททะวา.<O:p></O:p>
    อะเสสา วินะยัง ยันตุ อะนันตะชินะ เตชะสา
    วะสะโต เม สะกิจเจนะ สะทา สัมพุทธะปัญชะเร.<O:p></O:p>
    ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ วิหะรันตัง มะฮี ตะเล
    สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ เต มะหาปุริสาสะภา.<O:p></O:p>
    อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโข
    ชินานุภาเวนะ ชิตุปัททะโว
    ธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโฆ
    สังฆานุภาเวนะ ชิตันตะราโย
    สัทธัมมานุภาวะปาลิโต จะรามิ ชินะ ปัญชะเรติ…


    คาถาพระพุทธเจ้าชนะมาร(หลวงปู่มั่น)

    ปัญจะ มาเร ชิโน นาโถ ปัตโต สัมโพธิ
    มุตตะมัง จะตุสัจจัง ปะกาเสติ
    ธัมมะจักกัง ปะวัตตะยิ
    เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ
    โหตุ เม ชะยะมังคะลัง<O:p
    .........................................
    ป้องกันอันตรายทั้งปวง ฯ ศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก…<O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 ตุลาคม 2011
  3. mon_kasem

    mon_kasem เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2011
    โพสต์:
    54
    ค่าพลัง:
    +108

    ต้องสวดตอนไหน เวลาไหน
    และต้องสวดกี่จบ เริ่มจากบทใหนก่อนหลัง
    มีพิธีการอย่างไรบ้าง ต้องมีพระพุทธรูปหรือเปล่า
    ดอกไม้ธูปเทียน ใช้ใหม
    ต้องแต่งชุดขาวด้วยหรือเปล่า
    ขอละเอียดๆๆๆ หน่อยครับ
     
  4. ต้นที่สาม

    ต้นที่สาม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มกราคม 2011
    โพสต์:
    258
    ค่าพลัง:
    +1,074
    ผู้รู้ครับ สอบถามหน่อยครับ บทสวดที่ป้องกันอันตราย
    เราwrite file เสียง ลงCD แล้วเปิดให้เสียงครอบคลุมที่เราอยู่กับสวดเอง
    มีความแตกต่างกันใหมครับ
    5555 กลัวว่าเวลา มีภัยจะลืมไปเนื้อบทที่ต้องหมดซะงั้นครับ
     
  5. ลุงไชย

    ลุงไชย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    645
    ค่าพลัง:
    +2,436
    คุณวิกรมไปช่วยผู้ประสพภัยน้ำท่วมทีอยุธยา ฝากให้ผมช่วยโพสต์
    บทสวดมนต์ของพระคุณลุงฯ ให้ผู้สนใจได้ทราบ..
    โดยทั่วไปการสวดมนต์ควรจะสวดให้ได้ทุกวัน(พระคุณลุงท่านย้ำให้จำให้ขึ้นใจ)
    เวลาใหนก็ได้ที่สะดวก โดยทั่วไปจะสวดในตอนกลางคืนก่อนนอน

    บางท่านมีพระพุทธรูปก็สวดหน้าพระ ดอกไม้ธูปเทียน ถ้ามีก็จัดให้พร้อม
    ถ้าไม่มีก็ไม่เป็นไร บางท่านไม่มีพระพระพุทธรูป ท่านจะสวดบนเตียงก่อนนอน
    ก็ไม่เป็นไร...ที่ใหน เวลาใดก็ได้ แต่งกายอย่างไรก็ได้ แต่ต้องสำรวมและเหมาะสม

    สำคัญที่ใจของเรา ใจต้องเลื่อมใสศรัทธา ทำใจให้สงบก่อนสวดมนต์
    จะสวดมนต์มากกว่านี้ก็ได้(บทอื่นๆ) อยู่ที่เรา ...

    ผมเข้าใจว่าสวดจบเดียว..เพราะโดยทั่วไปก็ปฏิบัติกันอย่างนั้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 ตุลาคม 2011
  6. ลุงไชย

    ลุงไชย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    645
    ค่าพลัง:
    +2,436
    ตามความเห็นผม อานิสงค์ต่างกันครับ เราควรสวดมนต์ใหว้พระทุกๆวัน
    ด้วยความเลื่อมใสและศรัทธาในพระศาสนา ควรสวดบทที่พระคุณลุงแนะนำ
    และบทอื่นๆร่วมด้วยก็ได้ สวดมนต์ทุกวันก็จะจำได้เอง เป็นการฝึกจิตใจ
    และพัฒนาจิตใจเรา และมีอานิสงค์อื่นๆอีกมากมาย

    สำหรับการเปิดซีดี ฟังบ่อยๆก็เป็นเรื่องดี เป็นมงคลชีวิต...ทำร่วมกันก็ได้
     
  7. sutamas_t

    sutamas_t Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    63
    ค่าพลัง:
    +42
    อ่านข้อความของคุณลุงแล้ว ท่าทางเราจะไม่รอดจากภัยนี้เป็นแน่ เลยต้องทำใจอ่ะ
    *********
    ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน
     
  8. thepeng

    thepeng Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2011
    โพสต์:
    74
    ค่าพลัง:
    +48
    ส่วนตัวผม ตอนเริ่มสวดชินบัญชรครั้งแรก เริ่มคืนวันพฤหัสบดีครับ นุ่งห่มขาว ดอกบัวตูมจำไม่ได้ 5 หรือ 9 ดอก ลองหาข้อมูลอีกทีครับ นานมากแล้ว
    หลังจากนั้น ไม่ต้องดอกบัวครับ
    ทุกวันนี้สวดชุดหลวงพ่อจรัญ + ชินบัญชร3จบ
    เฉพาะวันพระครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 ตุลาคม 2011
  9. ลุงไชย

    ลุงไชย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    645
    ค่าพลัง:
    +2,436
    การออกมาเตือนภัยพิบัติใหญ่ของครูบาอาจารย์หลายๆท่าน ก็เพื่อเตือนสติ เพื่อให้เตรียมกาย เตรียมใจให้พร้อม จากไม่เคยทำบุญทำทาน ก็ให้หันมาทำบุญทำทาน ไม่มีศีลมีธรรม ก็ให้เริ่มมาถือศีลละเว้นกรรมชั่ว ไม่เคยปฏิบัติภาวนาก็ให้มาปฏิบัติภาวนาใครเคยทำอยู่แล้วก็ให้เร่งความเพียรขึ้นไปอีก ทำได้มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งดีกับเราเท่านั้น

    ทั้งนี้ ก็เพื่อให้ทุกคนได้รีบเร่งกันทำความดีเป็นเสบียงบุญติดตัวกันไป เพราะเวลาใกล้เข้ามาแล้ว..สัญญาณภัยเตือนมาเป็นระยะๆแล้ว ผู้มีบุญพอจะทราบได้...การออกมาเตือน ไม่ใช่ให้เกิดความตระหนก แต่ให้เตรียมตัวเตรียมใจให้พร้อม การรู้การทราบสัญญาณบางอย่างล่วงหน้าเป็นการดีกับตัวเราเมื่อถึงเวลาจะได้ไม่ทุกข์ยากเข็ญใจมากนัก

    ถึงแม้ว่าท่านจะเตรียมตัวให้พร้อมทางโลก(ปัจจัยสี่)ให้ดีที่สุดอย่างไรก็ตาม หากท่านไม่เคยทำบุญทำทาน ไม่มีศีลมีธรรม ก่อแต่กรรมชั่ว โลภ โกรธ หลง เต็มจิตใจ ก็ยากที่จะรอดได้ ....ตรงกันข้ามหากเป็นคนดีมีศีลธรรมจิตใจประกอบไปด้วยความเมตตา กรุณา จิตใจกว้างขวาง ละวางปล่อยวาง เข้าใจและเข้าถึงพระไตรลักษณ์ ท่านอยู่ที่ใหนก็ตามย่อมตกน้ำไม่ไหลตกไฟก็ไม่ไหม้ หากวาระกรรมมาตัดรอนจริงๆ ท่านก็ไปอย่างสงบ สุขคติเป็นที่หมาย เพราะท่านไม่กลัวความตาย ความตายเป็นเรื่องธรรมดา ทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ภายใต้กฎพระไตรลักษณ์ทั้งสิ้น
    <O:p</O:p
    แท้ที่จริงแล้วความตายไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัวเลย การเกิดเป็นเรื่องน่าสะพรั่นหวั่นกลัวมากกว่า เพราะการเกิดมีแต่ทุกข์ ไม่ว่าจะเป็นพระเจ้าจักพรรดิ คหบดี ผู้มั่งมี ชาวบ้านทั่วไป คนยากจนเข็ญใจ คนพิกลพิการ ฯลฯ มีแต่ทุกข์ทั้งนั้น ทุกข์มากทุกข์น้อยก็ตามแต่ฐานานุรูปของแต่ละคน (ทุกข์เท่านั้นที่ตั้งอยู่ ทุกข์เท่านั้นที่ดับไป) โลกนี้มีแต่ทุกข์ มองโลกตามความเป็นจริงกันเถิด อย่าหลงอยู่กับโลกอีกเลย ...ท่านผู้มีปัญญาทั้งหลาย รีบเร่งปฏิบัติภาวนาเพื่อให้พ้นจากกองทุกข์กันเถอะ.......


    อนุโมทนากับชาวพุทธผู้มีศีลมีธรรมทุกๆท่าน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 ตุลาคม 2011
  10. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471



    มหาโมทนาสาธุ ท่านคุณลุงไชย ค่ะ
    แปลกมาก ระหว่างเดินทางกลับบ้าน เปิดเสียงสวดมนต์ บทแรกและบทเดียวที่ได้รับฟัง คือ บทสวดชินบัญชร ฟังวนๆ ๆ อยู่หลายรอบ พยายามเปลี่ยนจะไปฟังบทอื่นบ้าง แต่ไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้เลยตลอดเส้นทาง มาได้เห็นมีหลายท่านสนใจบทสวด จะลองแนบไฟล์เพื่อเจริญพระธรรม สงบจิตกันนะคะ

    สำหรับบทสวดชินบัญชร ตามที่ได้เคยพบเห็นข้อมูล คัดมาได้ดังนี้นะตะ หากท่านใดเห็นว่าข้อมูลไม่ถูกต้องอย่างไร ขอได้โปรดให้คำแนะนำนะคะ สาธุการ



    พระคาถาพระชินบัญชร

    ชิยาสะรากะตา (๑) พุทธา เชตะวา มารัง สะวาหะนัง<O></O>
    จะตุสัจจา สะภัง ระสัง เยปิวิงสุ นะราสะภา.

    <O></O>
    ตัณหังกะราทะโย พุทธา อัฏฐะวีสะติ นายะกา<O></O>
    สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง มัตถะเก เต มุนิสสะรา.

    <O></O>
    สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน<O></O>
    สังโฆปะติฏฐิโต มัยหัง อุเร สัพพะคุณากะโร.


    หะทะเย อะนุรุทโธ จะ สารีปุตโต จะ ทักขิเณ<O></O>
    โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง โมคคัลลาโน จะ วามะเก.


    ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง อาสุง อานันทะราหุลา (๒)<O></O>
    กัสสะโป จะมหานาโม อุภาสุง วะมะโสตัตเก.


    เกสันเต ปิฏฐิภาคัสมิง สุริโย วะ ปะภังกะโร<O></O>
    นิสันโน สิริสัมปันโน โสภิโต มุนิปุงคะโว.


    กุมาระกัสสะโป เถโร มะเหสี จิตตะวาทะโก<O></O>
    โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง ปะติฏฐาสิ คุณากะโร.


    ปุณโณ อังคุลิมาโล จะ อุปาลี นันทะสีวะลี<O></O>
    เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา นะลาเต ติละกา มะมะ.


    เสสาสีติ มะหาเถรา วิชิตา ชินะสาวะกา
    เอตาสีติ (๓) มะหาเถรา ชิตะวันโต ชิโนระสา<O></O>
    ชะลันตา สิละเตเชนะ อังคะมังเคสุ สัณฐิตา.


    ระตะนัง ปุระโต อาสิ ทักขิเณ เมตตะสุตตะกัง<O></O>
    ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ วาเม อังคุลิมาละกัง.


    ขันธะโมระปะริตตัญจะ อาฏานาฏิยะสุตตะกัง<O></O>
    อากาเส ฉะทะนัง อาสิ เสสา ปาการะสัณฐิตา.


    ชินาณา (๔) วะระสังยุตตา สัตตะปาการะลังกะตา<O></O>
    วาตะปิตตาทิสัญชาตา พาหิรัชณัตตุปัททะวา.


    อะเสสา วินะยัง ยันตุ อะนันตะชินะเตชะสา<O></O>
    วะทะโตเม สะกิจเจนะ สะทา สัมพุทธะปัณชะเร.


    ชินะปัญชะระมัชเณหิ วิหะรันตัง มะฮิตะเล<O></O>
    สะทา ปาเลนตุมังสัพเพ เต มหาปุริสาสะภา.


    อิเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโข ชินานุภาเวนะ ชิตุปัททะโว<O></O>
    ธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโค สังฆานุภาเวนะ ชิตันตะราโย<O></O>
    สัทธัมมานุภาวะปาลิโต จะรามิ ชินะปัณชะเรติ.
    (ชินะปัญชะระคาถา นิฏฐิตา)


    สำนวนถูกต้องตามไวยากรณ์ โดย พระเทพวิสุทธิเมธี (เที่ยง ป.ธ. ๙) วัดระฆังฯ ท่านอธิบายไว้ดังนี้ :-

    หมายเหตุ ๑ จากพระคาถาชินนะบัญชร ฉบับเดิม ของสมเด็จโต ขึ้นต้นด้วย ชิยาสะรากะตา เนื่องจากเป็นภาษาเดิมเป็นอักษรขอม เมื่อทำการคัดลอกต่อๆ กันมา จึงเพี้ยนไปเป็น ชะยาสะนาคะตา ดังที่เห็นทุกวนนี้

    หมายเหตุ ๒ อาสุง เป็นพหูพจน์ อานันทะราหุลา จึงต้องเป็นพหูพจน์ ตามสำนวนมากพิมพ์เป็น อาสุง อานันทะลาหุโล ซึ่งผิดไวยากรณ์
    <O></O>
    หมายเหตุ ๓ เอตาสีติ = เอเต + อะสีตี เป็น โลปสะสนธิ คือ ลบเอ ที่เต ออก คงเป็น เอตะ แล้วนำไปเชื่อมกับ อะเสติ รัสสะสระ ๒ ตัว รวมกันต้อง ทีฆะ คือทำให้มีเสียงยาวจึงเป็น เอตาสีติ ดังกล่าวแปลว่า “พระมหาเถระ ๘๐ เหล่านั้น”
    <O></O>
    หมายเหตุ ๔ ชินะ + อานา = ชินาณา และอาณา แปลว่า “อำนาจ” ส่วนมากพิมพ์เกินเป็น ชินานานา ซึ่งไม่มีคำแปลว่าอย่างไร

    <O></O>

    กราบมหาอนุโมทนาพระคุณ เสียงสวดของพระคุณเจ้า และคณะผู้สวดมนต์
    ที่มาข้อมูล บทสวดชินบัญชร : บทสวดมนต์พระไตรญาณ ชินบัญชร



    [MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.1737175/[/MUSIC]​
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 ตุลาคม 2011
  11. ลุงไชย

    ลุงไชย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    645
    ค่าพลัง:
    +2,436
    โมทนากับคุณบุญญสิกขา ที่นำบทคาถาพระชินบัญชร และเสียงบทสวดต่างๆ

    ให้สมาชิกได้ดูได้ฟังกัน ..ขอให้เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไป นะครับ สาธุ...
     
  12. mon_kasem

    mon_kasem เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2011
    โพสต์:
    54
    ค่าพลัง:
    +108
    ผมไปค้นประวัติของบทสวดที่พระคุณลุงให้ลูกหลานสวดจนขึ้นใจ และสวดในวันฟ้าดับ ก็พอจะเข้าใจ ว่าทำไมถึงต้องสวดในวันนั้นครับ
    -----------------------------------------------
    "รัตนสูตรปราบภัย ๓ ประการ ณ เมืองไพศาลี อาณาจักรวัชชี"

    ในสมัยพุทธกาล เมืองไพศาลี หรือเวสาลี นครหลวงแห่งอาณาจักรวัชชี มีการปกครองระบอบสามัคคีธรรม (คล้ายกับลักษณะสาธารณรัฐในปัจจุบัน) เป็นเมืองที่มั่งคั่งอุดมสมบูรณ์มีประชาชนอยู่หนาแน่นมีกำแพง ๓ ชั้น ซึ่งเรียกว่า "ตรีบูร" แต่ละชั้นห่างกันประมาณ ๔ กิโลเมตร มีปราสาทอุทยาน สระโบกขรณีเป็นจำนวนมาก ทางตอนเหนือของเมืองไพศาลีมีป่าใหญ่เป็นพืดขึ้นไปทางเหนือจนจดทิวเขาหิมาลัย เรียกว่าป่ามหาวันมีผู้สร้างกุฏาคารศาลา (เรือนยอด) ถวายไว้เป็นที่ประทับพระพุทธเจ้า

    ต่อมาเมืองไพศาลีเกิดข้าวยากหมากแพงฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ข้าวกล้าแห่งเหี่ยวตาย เกิดทุพภิกขภัยใหญ่และมีโรคระบาดพวกคนยากคนจนอดอยากล้มตายลงเป็นจำนวนมาก ซากศพถูกนำไปทิ้งไว้นอกเมืองก็ส่งกลิ่นเหม็นตลบไปทพวกอมนุษย์ก็พากันเข้าเมืองคนยิ่งล้มตายกันมากขึ้น เกิดอหิวาตกโรคตามมา

    เมื่อเกิดภัย ๓ ประการคือ ทุพภิกขภัย (ข้าวยากหมากแพง)อมนุษยภัย (ภัยจากพวกอมนุษย์) และพยาธิภัย (ภัยที่เกิดจากโรคระบาด)ขึ้นในเมืองไพศาลีอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน กษัตริย์ลิจฉวีซึ่งมีจำนวนถึง ๗,๗๐๗ องค์ จึงให้ประชาชนประชุมพร้อมกันในสัณฐาคาร (ห้องประชุมใหญ่) เพื่อร่วมกันพิจารณาสอดส่องความประพฤติของบรรดากษัตริย์ทั้งหลายว่า ได้ทำความผิดอันใดไว้จึงทำให้เกิดภัยต่าง ๆ ดังกล่าว

    เมื่อไม่เห็นว่ากษัตริย์ทั้งหลายทำความผิดมีโทษอันใดจึงหาทางระงับภัย ๓ ประการนั้น โดยเห็นร่วมกันว่าควรกราบทูลนิมนต์พระพุทธเจ้า ซึ่งขณะนั้นประทับอยู่ที่พระนครราชคฤห์ นครหลวงของอาณาจักรมคธ จึงได้ส่งเจ้าลิจฉวี ๒ องค์ เป็นฑูตนำเครื่องราชบรรณาการไปถวายพระเจ้าพิมพิศาร ณ พระนครราชคฤห์ กราบทูลเรื่องราวให้ทรงทราบ และกราบทูลของอนุญาตินิมนต์พระพุทธเจ้าเสด็จนครไพศาลี พระเจ้าพิมพิสารได้ตรัสให้เจ้าลิฉวีไปกราบทูลนิมนต์ด้วยพระองค์เอง

    เจ้าลิจฉวีทั้งสองจึงได้ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าทรงรับนิมนต์แล้วจึงทูลขอเวลาตกแต่งหนทางตั้งแต่เมื่องราชคฤห์ ไปจนถึงฝั่งแม่น้ำคงคาเป็นระยะทางประมาณ ๘๐ กิโลเมตร และโปรดให้สร้างวิหารไว้สำหรับพักตามระยะทางอีก ๕ หลัง พระเจ้าพิมพิสารโปรดให้กั้นเศวตฉัตร (ร่มขาว) ถวายพระพุทธเจ้า ๒ คันและกั้นถวายภิกษุสงฆ์ที่ติดตามอีก ๕๐๐ รูป รูปละ ๑ คัน พระองค์ได้ตามเสด็จไปพร้อมด้วยข้าราชบริพาร ทรงถวายเครื่องสักการบูชา ของหอมและทรงบำเพ็ญกุศลถวายทานตลอดทางไปจนถึงฝั่งขวาของแม่น้ำคงคาง และทรงส่งข่าวสารไปยังเมืองไพศาลีให้ทราบว่า บัดนี้พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาถึงฝั่งแม่น้ำคงคาแล้ว

    พระเจ้าพิมพิสารโปรดให้จัดเรือ ๒ ลำ ตรึงขนานเข้าด้วยกันให้สร้างมณฑปขึ้นบนเรือขนาน แล้วกราบทูลนิมนต์พระพุทธเจ้าเสด็จขึ้นประทับพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ รูป พระเจ้าพิมพิสารทรงพระดำเนินลงไปในน้ำลึกจนถึงพระศอ (คอ) แล้วทรงกราบทูลพระพุทธเจ้าว่าพรองค์จะรอคอยอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคานี้จนกว่าพระบลรมศาสดาจะเสด็จกลับ

    ทางเมืองไพศาลี ซึ่งตั้งอยู่ห่างฝั่งซ้ายของแม่น้ำคงคาขึ้นไปทางเหนือประมาณ ๔๐ กิโลเมตร เมื่อทราบข่าวว่าพระพุทธเจ้าทรงรับนิมนต์แล้ว ก็เตรียมปราบทางให้ราบเรียบตั้งแต่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำคงคาไปจนถึงเมืองไพศาลี และสร้างวิหารประจำไว้จำนวน ๓ หลัง เตรียมทำการบูชาเป็น ๒ เท่าของพระเจ้าพิมพิสารที่ทรงทำมาแล้ว เรือขนานนำพระพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ รูป มาในแม่น้ำคงคาเป็นระยะทาง ๑๖ กิโลเมตร ก็ถึงเขตเมืองไพศาลี บรรดากษัตริย์ลิจฉวีก็พากันลุยนำลงรับเสด็จพระพุทธเจ้าในแม่น้ำคงคาถึกถึงพระศอเช่นกัน

    ครั้นเรือขนาบเทียบถึงฝั่ง พอพระพุทธเจ้าทรงยกพระบาทแรกย่างเหยียบฝั่งแม่น้ำคงคา กลุ่มเมฆมหึมาซึ่งแผ่กระจายตั้งเค้ามืดมิดก็บันดาลให้ฝตตกลงมาห่าใหญ่ น้ำฝนไหลนองท่วมพื้นดินระดับน้ำสูงถึงเข่าบ้างถึงสะเอวบ้าง ถึงคอบ้าง พัดพาเอาซากศพลอยลงแม่น้ำคงคาไปหมด ทำให้ภาคพื้นดินบริสุทธิ์สะอาดโดยทั่วไป

    บรรดากษัตริย์สิจฉวีทั้งหลายก็นำเสด็จพระบรมศาสดาและภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ รูปเข้าพัก ณ วิหารที่สร้างไว้ แล้วถวายทานมากมายเป็น ๒ เท่าของพระเจ้าพิมพิสาร ให้กางเศวตฉัตรกั้นถวายพระพุทธเจ้า ๔ คันกั้นถวายพระภิกษุสงฆ์รูปละ ๒ คัน น้ำเสด็จพระพุทธดำเนินเป็นเวลา ๓ วัน ก็ถึงพระนครไพศาลี ขณะนั้นพระอินทร์ได้เสด็จพร้อมด้วยเหล่าทวยเทพมาชุมนุมอยู่ด้วย ทำให้พวกอมนุษย์ กรงกลัวอำนาจพากันหลบหนีไป

    พระพุทธเจ้าเสด็จถึงประตูเมืองไพศาลีในเวลาเย็น ได้ตรัสให้พระอานนท์เรียน "รัตนสูตร" เพื่อเดินจาริกทำพระปริตไปในระหว่างกำแพง ๓ ชั้น (ตรีบูร) ในเมืองไพศาลีกับบรรดากุมารลิจฉวีแล้วตรัส "รัตนสูตร" ขึ้นในกาลครั้งนั้น ที่เรียกพระสูตรนี่ว่า "รัตนะ" เพราะหมายถึง พระรัตนตรัย คือ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ และสังฆรัตนะ

    เมื่อพระอานนท์เรียนรัตนสูตรจากพระพุทธเจ้าแล้ว ก็เอาบาตรของพระพุทธเจ้าใส่น้ำถือไปยืนที่ประตูเมือง พลางรำลึกถึงพระพุทธคุณตั่งแต่ทรงตั้งความปรถนาที่จะได้บรรลุพระโพธิญาณ จนถึงทรงแสดงธัมมจักกัปปวัตนสูตรและโลกุตรธรรม ๙ (คือมรรค ๔ ผล ๔ และนิพพาน ๑ ) แล้วเข้าไปภายในพระนคร เดินทำพระปริตไปในระหว่างกำแพงเมือง ๓ ชั้น ทำให้พวกอมนุษย์ที่ยังหลวงเหลืออยู่บ้างพากันหนีออกจากเมืองไปหมด พวกชาวเมืองจึงออกจากบ้านของตนถือดอกไม้และของหอม พากันตามบูชาพระอานนท์แห่ล้อมท่านมา พระอานนท์เดินทำพระปริตไปทั้งคืน

    ประชาชนชาวเมืองไพศาลีได้พร้อมใจกันตกแต่งสัณฐาคาร กลางพระนคร ด้วยของหอมและผูกเพดานประดับด้วยรัตนชาติ จัดตั้งอาสนะสำหรับพระพุทธเจ้า แล้วเชิญเสด็จพระบรมศาสดามาประทับในสัณฐาคาร พระภิกษุสงฆ์และกษัตริย์ลิจฉวี ตลอดจนประชาชนชาวเมืองไพศาลี ได้พากันมานั่งล้อมพระพุทธเจ้า พระอินทร์พร้อมเทพบริวารก็มาเฝ้าด้วย ครั้งพระอานนท์ทำพระปริตอารักขาทั่วพระนครแล้วก็กลับมาเฝ้าพระพุทธเจ้า พระบรมศาสดาจึงตรัสรัตนสูตรอีกครั้ง หนึ่งรวม ๑๔ คาถา แล้วพระอินทร์ได้ผูกคาถา (ฉันท์) ต่ออีก ๓ คาถา

    พระพุทธเจ้าได้ประทับอยู่ที่เมืองไพศาลี และตรัสเทศนารัตนสูตรทุกวันรวม ๗ วัน เมื่อทรงเห็นว่าภัยทุกอย่างสงบเรียบร้อยแล้วจึงตรัสลากษัตริย์ลิจฉวีและชาววัชชีทั้งหลายเสด็จกลับราชคฤห์ครั้งนี้ มีประชาชนมาบูชาสักการะถวายแก่พระองค์เป็นการยิ่งใหญ่ เรียกว่า "คังโคโรหณสมาคม" คือการชุมนุมใหญ่ในโอกาสที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงแม่น้ำคงคา
     
  13. mon_kasem

    mon_kasem เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2011
    โพสต์:
    54
    ค่าพลัง:
    +108
    เมื่อเกิดภัย ๓ ประการคือ ทุพภิกขภัย (ข้าวยากหมากแพง)อมนุษยภัย (ภัยจากพวกอมนุษย์) และพยาธิภัย (ภัยที่เกิดจากโรคระบาด)ขึ้นในเมืองไพศาลีอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน
    ----------------------------------------------------
    เมื่อพระอานนท์เรียนรัตนสูตรจากพระพุทธเจ้าแล้ว ก็เอาบาตรของพระพุทธเจ้าใส่น้ำถือไปยืนที่ประตูเมือง พลางรำลึกถึงพระพุทธคุณตั่งแต่ทรงตั้งความปรถนาที่จะได้บรรลุพระโพธิญาณ จนถึงทรงแสดงธัมมจักกัปปวัตนสูตรและโลกุตรธรรม ๙ (คือมรรค ๔ ผล ๔ และนิพพาน ๑ ) แล้วเข้าไปภายในพระนคร เดินทำพระปริตไปในระหว่างกำแพงเมือง ๓ ชั้น ทำให้พวกอมนุษย์ที่ยังหลวงเหลืออยู่บ้างพากันหนีออกจากเมืองไปหมด พวกชาวเมืองจึงออกจากบ้านของตนถือดอกไม้และของหอม พากันตามบูชาพระอานนท์แห่ล้อมท่านมา พระอานนท์เดินทำพระปริตไปทั้งคืน
    ------------------------------------------------
    อ่านจับใจความแล้วก็ไม่น่าแปลกใจที่ พระคุณลุงเลือกบทนี้มา
    เพราะสามารถไล่ทั้งโรคร้าย
    สามารถไล่อมนุษย์ และยังรวมไปถึงข้าวยากหมากแพงด้วย
    ตรงกับห้วงระยะภัยพิบัติเปีะ
    ต้องเริ่มหัดสวดให้ขึ้นใจแล้วยังพอมีเวลา สาธุ
     
  14. mon_kasem

    mon_kasem เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2011
    โพสต์:
    54
    ค่าพลัง:
    +108
    สวนอีกบท
    บทชินบัญชร
    ----------------------------------------
    ในอดีตกาลครั้งองค์สมณะโคดมเจ้า ทรงตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ครานั้นอัครสาวกเบื้องซ้ายและเบื้องขวาของพระพุทธองค์ คือ พระโมคคัลลานะ ผู้เลิศในอิทธิฤทธิ์ และพระสารีบุตรผู้เลิศในปัญญา ณ แคว้นพาราณสี ปรากฏเด็กน้อยนามว่า ชินนะ บุตรของมะติโตพราหมณ์ และนางยะถานาพราหมณ์ โคตรบัญจะระ เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาแห่งองค์พระศาสดาแต่ครั้งเยาว์วัย ได้บวชเป็นสามเณร และเป็นศิษย์ของพระโมคคัลลานะ สามเณรชินนะ ทรงภูมิปัญญาเป็นที่เฉลียดฉลาดเป็นยิ่ง ศรัทธาในการบิณฑบาตอย่างสงบขยันหมั่นเพียรเป็นนิจ ครั้นอายุได้เพียง 7 ขวบก็สำเร็จอรหันต์

    สามเณร ชินนะ บัญชะระ นับว่ามีรูปงาม เสียงไพเราะ รู้พิธี เจ้าระเบียบ รอบคอบด้วยความสะอาด ตั้งอยู่ในศีลาจาวัตรอันงดงาม
    ครั้นย่างเข้าสู่วัยหนุ่ม รูปร่างของท่านชินนะ บัญจะระ ยิ่งสวยสดงดงาม ผิวขาวละเอียดประดุจหยก หน้าแดงระเรื่อสีชมพู คิ้วโก่งดังคันศร ไว้เกษาเกล้าจุก เยื้องย่างสง่างามประดุจราชสีห์ ด้วยรูปงามเป็นที่ต้องตาต้องใจของสตรีเพศ จึงมีสตรีเพศต่างหลงใหลในตัวของท่านชินนะเป็นอย่างยิ่ง ด้วยท่านชินนะนั้นยึดพรหมจรรย์เป็นสรณะจึงมีแต่ความสงบ

    แล้ววันหนึ่ง ขณะที่ท่านชินนะได้ออกบิณฑบาตโปรดสัตว์ ได้มีหญิงผู้หนึ่งซึ่งแอบหลงรักท่านชินนะ มิอาจยับยั้งใจเอาไว้ได้จึงได้โผผวาเข้ากอดท่านชินนะอย่างลืมตัว ท่านชินนะ เห็นอาการของผู้หญิงคนนั้นกระทำแก่ท่านดังนี้ก็บังเกิดความสังเวชอย่างใหญ่ หลวง อันพรหมจรรย์ของท่านต้องมาแปดเปื้อนเสียดังนี้ ความยึดมั่นในพรหมจรรย์ของท่านต้องมาสะบั้นลง ท่านจึงดำริขึ้นว่า "ตัวท่านนี้มีรูปงามเช่นนี้ย่อมก่อให้เกิดอกุศลกรรมแก่อิตถีเพศ เป็นการสร้างบาปให้เกิดขึ้นด้วยมีกายรูปนี้เป็นเหตุ จะมีสักเท่าใดกันหนอที่ปรารถนาล่วงพรหมจรรย์ของท่านเช่นผู้หญิงคนนี้.."

    ท่านชินนะ คิดดังนี้ เห็นกายเป็นเหตุ กายทำให้พรหมจรรย์จิตเสื่อมสลาย กายก่ออกุศลจิตให้เกิดเป็นบาปกับอิตถีเพศผู้ยังมัวเมาในรูป ท่านจึงถอดกายทิพย์ออกจากร่าง ทิ้งสังขารไว้เมื่อยังไม่ถึงกาล เมื่ออายุท่านเพียง 23 ปี 6 เดือน กายทิพย์ของท่านจึงไปได้แค่ชั้นพรหมโลก ท่านชินนะ นับว่าเป็นผู้รอบรู้พิธีการต่างๆของโลกวิญญาณ ท่านสามารถสวดพระคาถาคลายพระเวทย์ได้อย่างเยี่ยมยอดยามท่านสวดพระคาถาไม่ว่า บนโลกหรือบนสวรรค์เสียงของท่านจะก้องกังวานไปทั่วนรกภูมิ และสวรรค์สามสิบสามชั้นเทพพรหมได้ยินจะสะเทือนจิตออกจากสมาบัติหมดสิ้น เพื่อรับทราบพิธีการที่ท่านชินนะจัดขึ้น

    ท่านชินนะบัญจะระ มีกายละเอียดอยู่ในชั้นพรหม ขณะนี้เป็นชั้นหัวหน้ารูปพรหม 16 ชั้น ควบคุมทั้งหมด ดังด้วยว่าสตรีเพศเป็นผู้ทำลายความบริสุทธิ์ของท่านเสียก่อนดังนี้ ทำให้ท่านละสังขารก่อนถึงกาลเวลาแห่งอายุดังนี้ จึงทำให้ท่านมีกำลังบุญอยู่ในแค่ชั้นพรหม ดังนั้นท่านจึงต้องสร้างบุญในโลกมนุษย์เพื่อสร้างบุญบารมีนำท่านขึ้นไปสู่ แดนอรหันต์ ดังนั้น ชินบัญชรคาถา หากท่านได้ภาวนาเป็นประจำสม่ำเสมอจักก่อให้เกิดผลดียิ่งแก่ผู้ภาวนา เพราะท่านท้าวมหาพรหม ชินนะบัญจะระ จะทรงแผ่อำนาจลงมาช่วยท่านตลอดเวลาคิดหวังอะไรย่อมสมหวังยิ่ง


    ผู้พิชิตมารทั่วพิภพ... ท้าวมหาพรหมชินนะ ท่านเป็นพระพรหมที่มีฤทธิ์เดช ที่เรียกว่าพญามารหรือมารทั้งหลายกลัว ในด้านของมารโลเก โลกของมารของพวกวิญญาณ ดังนั้นก็เรียกว่า ท่านมีรูปของท้าวมหาพรหมชินนะอยู่ในบ้านก็คิดว่าอุปสรรคในการกลั่นแกล้งของ วิญญาณ พวกที่เรียกว่ารุกขเทพก็ดี พวกอมรมนุษย์ก็ดี พวกผีเปรตอสุรกายก็ดี คิดว่าไม่กล้าย่างกราย
     
  15. ต้นที่สาม

    ต้นที่สาม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มกราคม 2011
    โพสต์:
    258
    ค่าพลัง:
    +1,074
    ทำเป็นยันต์พิมพ์แล้วติดรอบบ้านได้ใหมครับ
    ถ้าพิมพืต้องพิมพ์ภาษาอะไรครับ พวกผีปีศาจ
    ภัยต่างๆจะได้อ่านออกด้วย Hoๆๆๆ
     
  16. rawats_99

    rawats_99 ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    1,020
    ค่าพลัง:
    +1,947
    จิตที่ถึงอรหัตแล้วจะไม่เสื่อมคลาย....การที่หญิงสาวมากอดแล้วตัวเองไม่ได้มีจิตคิดตาม...ก็ไม่ได้หมายความถึงการสูญสิ้นพรหมจรรย์...ใครรับรองเรื่องนี้ครับ..เว้นแต่ว่าท่านเหล่านั้นจะยังอยู่ในภูมิจิต..อนาคามี.สกิทาคามี...โสดาบัน..ลองทำความเข้าใจใหม่ครับ..
     
  17. loguttara

    loguttara Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    121
    ค่าพลัง:
    +39

    ขอให้อ้างอิงพระสูตรมาดูครับ

    หากอ้างอิงไม่ได้ตัวผม
    ขอคิดเองว่าเป็นเรื่องที่แต่งขึ้น
    ไม่มีมาในพระไตรปิฎกอย่างแน่นอนครับ
     
  18. นาคา

    นาคา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,378
    ค่าพลัง:
    +12,917
    โปรดใช้วิจารณญาณ

    หลวงปู่ กายทิพย์ ท่าน เมตตา ให้ ผม ใน นามนาคา..

    - ครองศีล มากกว่า ศีล ๕ มา.... (เจตนา เป็นหลัก )
    - สร้าง ที่พัก ยกสูง แบบ เรือนสมัยก่อน ... ดินแดน เก่า หรือ ที่พัก บุพการี
    - ปักกลด ตาม ธุดงควัตร์
    - ทานอาหาร เอกา ( หนึ่งใน ข้อธุดงส์ ) เพื่อเตรียม สภาพร่างกาย สังขาร มาตั้งแต่ วันที่ 22 มค 54 ( ๙ เดือนกว่า เข้ามา เรื่อยๆ )

    - ประมาณ เดือน กว่าๆ ในช่วงพรรษา หลวงปู่ กายทิพย์ ท่านเมตตา ให้ สวด พระคาถา ชินบัญชร ๙ จบ ในระยะ .... วัน ที่สะดวกติดต่อกัน
    - จากนั้น ย่อลงมา สวดพระคาถา ชินบัญชร จำนวน ๓ จบ มา เรื่อยๆ ตามจังหวะ วาระ ที่ เรานั่ง ภาวนา

    บาง อย่าง นั่นคือ คำตอบ ว่า...

    เมตตา อัปมาณฌาณ ต่อ ทุกสัพสัตว์ แม้ กระทั่ง ธาตุ ๔

    ไฟ น้ำ ( ดิน ลม )
    พิจารณา ว่า ... สื่ออะไร จาก เหตุการณ์ ก่อน หน้านี้ ..ที่ไหน...
    บุญรักษา คุ้มครอง ทุกท่าน

    นาคา นาคี...

    http://palungjit.org/threads/มหานาค...ทีพระพุทธบาท-up-น-15-ว-สื่อสาร.124284/page-25
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 ตุลาคม 2011
  19. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471




    มหาโมทนา ท่านพี่นาคาค่ะ
    ขอกุศลท่าน เพียรเจริญพระสัทธรรม ค่ะ

    เพิ่งมารู้ เข้าใจเมือ่ไม่นานมานี้ ที่เมื่อสมัยเด็ก ผู้ใหญ๋ท่านตักเตือนให้เคารพ แม่พระธรณี แม่พระคงคา แม่พระโพสพ แม่พระพาย แม่พระเพลิง แม่พระพิรุณ .. นั่นเพราะ คุณของแม่ธาตุ นั่นเอง

    เมื่อประสบภาวะยามนี้ จึงประจักษแจ้งใจ เตรียมพร้อมยอมรับ "คุณน้ำ - พระแม่คงคา" ด้วยจิตดุษฏีรำลึกพระคุณท่าน ด้วยจิตมิตรไมตรี ค่ะ สาธุ
     
  20. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    ชวนรู้จัก "ท่านท้าวมหาพรหมชินนะบัญชะระ"

    [​IMG]



    คาถาบูชาท้าวมหาพรหมชินะปัญชะระ
    ชินะ ปัญชะริตตัง สะมังกาโย มหาพรหมโม
    พุทโธ วิโสธายิ อิติอะระหัง พรหมะโลกัง ปะสิทธิเต
    หุลุ หุลู สวาหายะ นะมะพะธะ จะพะกะสะ
    นะมะระอะ ศะศิพุทโธ พุทธนัง ธัมมนัง สังฆนัง
    ฮะ พิงค์ พิงค์ พิงค์ ฯ


    คุณลักษณะท้าวมหาพรหมชินะปัญชะระ​

    ยิงใหญ่... เทพพรหมนั้นมีมากมายกว่าเมล็ดทรายในท้องมหาสมุทร แต่มีพรหมที่มีตบะแรง พรหมที่มีอวุโส มีตำแหน่งในพหรมโลกนั้นมีไม่กี่องค์
    ในพรหมโลกมีพระพรหม ๔ องค์ที่เป็นใหญ่ในพรหมโลก มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับพรหมโลก คือ ​
    1. ท้าวมหาพรหมชินะปัญชะระ
    2. ท้าวอัปราพรหม
    3. ท้าวจตุรพรหม
    4. ท้าวมหาพรหมสามภพ

    พระพรหมชินนะนี้ เป็นผู้พร้อมทุกอย่าง เขาเรียกว่าเป็นผู้สำเร็จสมัยองค์สมณโคดม และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป็นพรหมที่ไม่ขึ้นต่อพรหมโลก เขาเรียกว่าเป็นพรหมเอกเทศในพรหมโลกและมีบารมีแห่งฌานสมาบัติอันแก่กล้า พรหมองค์นี้ไม่ใช่พรหมที่จะติดสินบนกับมนุษย์ ทรงไว้ด้วยความยุติธรรม และเป็นผู้รอบรู้สรรพสิ่ง เรียกว่าเจ้าพิธีการของโลกวิญญาณ เป็นหัวหน้ารูปพรหมทั้ง ๑๖ ชั้น เป็นพระพรหมที่เรียกว่าเทวดาผู้หญิงหล พรหมผู้หญิงที่ฝึกยังไม่ถึงชั้น ๕ พรหมชั้น ๔ ยังติดกาเม ก็ยังหล แต่มีกฎว่าผู้ใดถูกแม้แต่เท้าพระพหรมชินนะ ผู้นั้นจะต้องถูสาปมาเป็นเกิด พรหมองค์นี้เป็นพรหมที่มติสามโลกเอื้อมไปไม่ถึง ท่านเป็นคนเจ้าระเบียบ เป็นคนมีวินัย รักความสะอาด สงบเสงี่ยม สุขุมคัมภีรภาพ มีความเฉลียวฉลาด เป็นพรหมยิ่งใหญ่ของพรหมโลกที่ขจัดมารได้ทั่วภิภพ... ตอนออกรบจะพิชิตมาร หมายความว่าพรหมโลกเกิดเรื่องยุ่งก็ดี เทวโลกเกิดยุ่งก็ดี ยมโลกเกิดยุ่งก็ดี มารโลกเกิดมาเรื่องมาก เขาช่วยกันไม่ได้ เขาก็ต้องมาเชิญองค์พระพหรมชินนะ พระพหรมชินนะจะออกศึกก็มีพาหนะ

    พาหนะ... เท้าขวาเหยียบเต่า ท้ายซ้ายเหยีบพญานาค เป็นพาหนะประจำตำแหน่ง พาหนะเหล่านี้เป็นวิญญาณทิพย์เป็นวิญญาณที่จำศีล เตรียมตัวเกิดเป็นสาวกในยุคพระศรีอริยเมตไตรย เต่ามีอายุยืนนานและแข็งแกร่ง ท้าวขวาท่านหนักมาก ถ้าเหยียบพยานาครับรองว่าแบน ก็เอาเต่ามารอง เท้าซ้ายไม่ค่อยหนักก็เอาพญานาคเหยียบ เต่านั้นถือว่าเป็นสัตว์บก พญานาคเป็นสัญลักษณ์ของน้ำ เหยีบพญานาคหมายถึงเหยียบสมุทร แสดงว่าทั้งบกทั้งน้ำอยู่ใต้ตีนข้า เวลาท่านประทานน้ำมนต์อาบคนใข้ สองหน่อนี้ก็มาช่วยอยู่

    วรกาย... พระวรกายมีแสงดั่งพระอาทิตย์ จิตใจงามเหมือนพระจันทร์ คิ้วโก่งเหมือนคันศร นัยน์ตางามและคมเหมือนเหยี่ยว ผิวกายละเอียดเหมือนหยกขาว ผมเกล้าจุกขมวดไว้บนพระเศียร เศียรมีปิ่นเพชร ปิ่นเพชรมีสีทอง พระพรหมชินะ ไม่ยอมอธิษฐานแปลงกายแห่งกายทิพย์ของตนให้เป็นแปดหน้าสี่กร หรือสี่หน้าแปดกร การที่พระพหรมมีหลายๆหน้า

    เพราว่าท่านมีหน้าที่ดูแลความเป็นอยู่ของพรหมโลก และต้องดูแลในการจัดการที่จะมาต้านของเหล่ามาร ที่จะมารังควานในการนั่งสมาธิของพรหม อันนี้อาจจะถามว่า แล้วเหตุไฉนพระพรหมชินนะจึงไม่ต้องมีหลายหน้า เพราะว่าพระพหรมชินนะนั้นมีรังสีแห่งวรกายของแก้ว ๗ ชั้นคลุมอยู่ จึง ไม่ต้องใช้หน้ามาก เพียงแต่เปล่งรัศมีแผ่ไป พรหมเขาก็รู้พวกมารหรืออะไรเขาก็รู้นี่พรหมองค์นี้มา ก็คือสัญลักษณ์ของท้าวมหาพรหรหมองค์นี้มา ท่านจึงไม่ได้เนรมิตในร่างกายให้ผิดแปลกกว่าเขา

    กายนั้นเปล่งรัศมีรอบวรกายเป็นพระอาทิตย์ขาวขึ้น ในภาวการณ์ที่เรียกว่า ถ้าพระพหรมองค์นี้ไปไหน เทวดาเห็นเป็นพระอาทิตย์เคลื่อนที่มีรัศมี ๕๐๐ เส้น เทพพรหมจะรู้ว่าท้าวมหาพรหมชินนะมา แต่พวกอมรมนุษย์ เทพ พวกรุขเทวดาเหล่านี้ยังไม่รู้จัก เพียงแต่คิดว่า เอ๊ะ พรหมองค์นี้มีรัศมีมากเพียงพอหนอ

    เครื่องแต่งกาย... การแต่งกายของโลกวิญญาณนั้น เสื้อผ้าที่แต่งนั้นเป็นของทิพย์ พอใจก็นุ่งชุดนี้ตลอดกาล ทีนี้การแต่งตัวของท้าวมหาพรหมชินนะเขาเรียกว่าแต่งแบบครึ่งกึ่งพระกึ่งพรหม คือ ทั้งชุดที่นุ่งนั้นเป็นสีขาวบริสุทธิ์ เพราะว่ากายเนื้อทิพย์ของพระพรหมชินนะเป็นเนื้อหยกขาว ชุดที่นุ่งนั้นก็เป็นชุดขาวละเอียด พระวรกายก็เป็นสีที่เรียกว่าขาวอย่างมีสีนวล เปล่งรัศมีไกลถึง ๕๐๐ เส้น

    คฑา... มือขวาถือคทาเรียกว่า “คฑาพรหม” เป็นจามจุรีทิพย์หัวคทามีแสงพุ่งออกมาเป็นรัศมีเป็นรุ้ง ๓ สี

    วิมาน... วิมาน ท่านอยู่พรหมโลกชั้นที่ ๑๓ วิมานนั้นเนรมิตสร้างขึ้นด้วยแก้วมรกต พื้นวิมานปูด้วยทองคำบริสุทธิ์รอบในหลังคามุงด้วยเพชร บรรทมด้วยสิงห์ ไม่มีคนใช้ไม่มีบริวาร ส่วนมากอยู่เอกเทศเพียงองค์เดียว ไม่ชอบพูดกับใคร ไม่มีใครกล้าเหยียบวิมานโดยพลการ พรหมเอกเทศ หมายความว่า ไม่ขึ้นกับพหรมโลก จะอยู่ในพรหมโลกก็ได้ ไม่อยู่ก็ได้ แล้วแต่ความพอใจ วิมานมีหลายแห่ง

    ลัทธิชินโตโนะ... ในประเทศญี่ปุ่นนับถือท้าวมหาพรหมชินนะปัญชะระมาก เขานับเป็นพระอรหันต์ในตำราของเขา แล้วชินนะปัญจะระชินศรีเป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง เพราะฉะนั้นในญี่ปุ่นเขานับถือท้าวมหาพรหมชินนะปัญจะระมาก แต่เขาเรียกเป็น “ชินโตโนะ” หรือ ศาสนาชินโตโนะ คือบูชาพระอาทิตย์ ที่เขาบูชาพระอาทิตย์เพราะ ท้าวมหาพรหมชินนะปัญจะระก่อนจะปรากฏร่าง จะต้องเป็นแสงอาทิตย์ เรียกว่ารัศมีพุ่งเป็นรุ้ง ฉะนั้นในญี่ปุ่นเขานับถือเป็นลัทธิหนึ่ง คือ ลัทธิชินโตโนะ


    ผู้พิชิตมารทั่วพิภพ... ท้าวมหาพรหมชินนะ ท่านเป็นพระพรหมที่มีฤทธิ์เดช ที่เรียกว่าพญามารหรือมารทั้งหลายกลัว ในด้านของมารโลเก โลกของมารของพวกวิญญาณ ดังนั้นก็เรียกว่า ท่านมีรูปของท้าวมหาพรหมชินนะอยู่ในบ้านก็คิดว่าอุปสรรคในการกลั่นแกล้งของ วิญญาณ พวกที่เรียกว่ารุกขเทพก็ดี พวกอมรมนุษย์ก็ดี พวกผีเปรตอสุรกายก็ดี คิดว่าไม่กล้าย่างกราย


    อนุโมทนาที่มาข้อมูล และภาพประกอบ
    http://www.luangputo.com/Menu02/Menu01.htm



    [MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.1737760/[/MUSIC]​

    แนบไฟล์ ชินบัญชร เพื่อท่านที่ต้องการโหลด สวด/ สดับ เจริญจิต
    โพสที่ ๑๓๔ นะคะ​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 ตุลาคม 2011
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...