เพื่อการกุศล พระกริ่งสมเด็จองค์ปฐม, รูปหล่อลป.ดุลย์ บรรจุอัฐิ อังคาร เกศา จีวร ปิดสิ้นเดือนนี้

ในห้อง 'ตลาด พระเครื่องเพื่อการกุศล' ตั้งกระทู้โดย siriphan2009, 8 มกราคม 2013.

  1. krit_eng99

    krit_eng99 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    791
    ค่าพลัง:
    +2,228
    หลวงพ่อตรีคูณ จิตตะปัญโญ ดับเทียนชัย พระที่เข้าไปประคองคือ ครูบาบัวพรรณ

    [​IMG]
     
  2. krit_eng99

    krit_eng99 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    791
    ค่าพลัง:
    +2,228

    Link ประวัติหลวงปู่ ครูบาเจ้าชุ่ม โพธิโก

    หลวงปู่ ครูบาเจ้าชุ่ม โพธิโก แห่ง วัดชัยมงคล (วังมุย) ต.ประตูป่า อ.เมือง จ.ลำพูน

    นามเดิมชื่อ ชุ่ม ปลาวิน ถือกำเนิดเมื่อวันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2442 เมื่อวันขึ้น 7 ค่ำ เดือน 5 เหนือ ปีกุน ณ บ้านวังมุย จ.ลำพูน บิดาชื่อ นายมูล ปลาวิน มารดาชื่อ นางลุน ปลาวิน มีพี่น้องสืบสายโลหิตเดียวกัน 6 คน เป็นผู้หญิง 3 คน ท่านเป็นบุตรคนที่ 5

    บุตรคนหัวปี ชื่อ พี่เอ้ย (หญิง) บุตรคนรองชื่อ พี่เป็ง (หญิง) บุตรคนที่สามชื่อ พี่โต (ชาย) บุตรคนที่สี่ ชื่อพี่แก้ว (หญิง) บุตรคนที่ห้า คือ ครูบาชุ่ม และบุตรคนสุดท้องชื่อ นายเปา (ชาย)

    ผัวเมียชาวลัวะ

    บิดาของท่านเป็นคนบ้านวังมุยโดยกำเนิด ส่วนมารดาเป็นคนบ้านขุนคง อ.หางดง จ.เชียงใหม่ (ระยะทางระหว่างบ้านวังมุยกับบ้านขุนคงอยู่ห่างกันประมาณ 10 กิโลเมตร) บุพการีทั้ง 2 ท่าน เป็นคนเชื้อสาย ละ บางคนออกเสียง วะ หรือ ลัวะ ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก

    เมื่อเด็กชายชุ่ม ปลาวิน เจริญวัยขึ้นก็พอจะทำงานช่วยเหลือบิดา มารดา เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระการงานได้บ้าง เช่น ช่วยทำงานในทุ่งนา เท่าที่สามารถจะทำได้ทุกอย่าง เลิกงานก็ทำสวนทำไร่ ถางหญ้าพรวนดิน และงานบ้าน อย่างการปัดกวาดเช็ดถูบ้านเรือน เพื่อเป็นการทดแทนพระคุณของบิดา มารดาเท่าที่กำลังความสามารถของตนจะทำได้

    ครั้นเมื่อเติบโตได้พอสมควรได้ไปศึกษาเล่าเรียนการอ่าน การเขียนหนังสือเบื้องต้น กับเจ้าอาวาสวัดศรีสองเมือง (เมื่อรกร้างไป ชาวบ้านจึงเรียกวันว่า วัดห่าง) พร้อมกับเรียนวิธีการอ่านบทสวดมนต์ และธรรมะเบื้องต้นจากท่านเจ้าอาวาส การที่เด็กชายชุ่ม ปลาวิน เป็นเด็กว่านอนสอนง่าย และมีความจำดีเลิศ จึงเป็นที่รักใคร่ของท่านเจ้าอาวาส และบรรดาภิกษุสามเณรในวัดเป็นอันมาก และการที่ได้คลุกคลีกับท่านเจ้าอาวาสบ่อยๆ นี่เอง ทำให้ท่านค่อยๆ ซึมซับหลักพระธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทีละเล็กทีละน้อยจนสามารถอ่านหนังสือ และสวดมนต์ได้อย่างคล่องแคล่ว เริ่มมีใจรักเคารพในสมณเพศมากขึ้นทุกวัน

    ทดแทนบุญคุณพ่อแม่

    ครั้งหนึ่งเด็กชายชุ่ม ปลาวิน ได้ยินอุ๊ย (คนเฒ่า คนแก่) แถวบ้านพูดว่า ใครอยากทดแทนบุญคุณพ่อ แม่ ต้องบวชให้กับท่าน ใครบวชเป็นเณร ถือว่าเป็นการบวชทดแทนบุญคุณให้แม่ แต่ถ้าใครบวชเป็นตุ๊เจ้า (พระภิกษุ) ถือว่าเป็นการบวชทดแทนบุญคุณทั้งพ่อและแม่ เพราะการบวชเป็นพระ จะได้อานิสงส์ผลบุญมาก ต่อมาเด็กชายชุ่มจึงตัดสินใจแน่วแน่ที่จะเดินในหนทางของการบรรพชา ตั้งแต่อายุเพียง 10 กว่าขวบเท่านั้น ถือว่าท่านมีบุญบารมีเกี่ยวข้องในทางพระพุทธศาสนาอย่างชัดเจน

    บรรพชาที่วัดพระธาตุขาว

    เมื่ออายุได้ 12 ปี เด็กชายชุ่ม ปลาวิน ได้ขออนุญาตจากบิดา และมารดา เพื่อบรรพชาเป็นสามเณร ซึ่งบุพการีทั้งสองต่างก็ยอนยอมพร้อมใจให้บรรพชา โดยทั้ง 2 ท่านได้เล็งเห็นว่า

    ประการแรก เด็กชายชุ่มจะได้มีวิชาความรู้ติดตัว เพราะในสมัยก่อนโรงเรียนที่ดีที่สุดก็คือ "วัด" นั่นเอง

    ประการที่สอง เด็กชายชุ่ม มีใจรักในทางพระพุทธศาสนาเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว บุพการีทั้ง 2 จึงได้นำตัวไปฝากเป็นศิษย์ ครูบาอินตา แห่งวัดพระธาตุขาว จังหวัดลำพูน ซึ่งท่านทั้งสองคุ้นเคยเป็นอย่างดี

    ต่อมาท่านจึงได้บรรพชาเป็นสามเณร โดยมีครูบาอินตา วัดพระธาตุขาวเป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อได้บรรพชาเป็นสามเณรแล้ว สามเณรน้อยชุ่มได้ตั้งสัตยาธิษฐานด้วยใจแน่วแน่ มีพระพุทธเจ้าเป็นองค์ประธาน พร้อมพระธรรม และบารมีพระคุณครูบาอาจารย์ คุณบิดามาดา พร้อมกล่าวคำอธิษฐานว่า

    "ข้าน้อยขอถวายชีวิตเป็นพุทธบูชา แด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งข้าน้อยเคารพอย่างสูงสุด และจะขอรับใช้พระพุทธศาสนา เผยแพร่หลักธรรม คำสั่งสอนของพระพุทธองค์ ตั้งแต่บัดนี้ตราบเท่าชีวิตจะหาไม่"

    สามเณรชุ่ม ปลาวิน นั้นเป็นสามเณรน้อยที่มีความพยายามสูง และควรค่าแก่การบันทึกไว้ ท่านเป็นสามเณรชาวเหนือที่เคร่งครัด เพียบพร้อมไปด้วยศีลาจารวัตรอันงดงาม สิ่งใดที่พระอุปัชฌาย์พร่ำสอน ท่านก็เชื่อฟังและหมั่นปฏิบัติตามอย่างจริงจัง ท่านครูบาอินตาได้สั่งให้สามเณรชุ่ม ท่องบททำวัตร และบทอื่น ๆ รวมทั้ง บท 12 ตำนาน ให้ขึ้นใจ และสามเณรชุ่ม ก็ไม่ได้ทำให้ครูบาอาจารย์ผิดหวัง ท่านได้ท่องบทสวดมนต์ต่างๆ ได้ในเวลาอันรวดเร็ว รวมทั้งศึกษาพระไตรปิฎกไปด้วย และเริ่มเข้าใจอย่างถ่องแท้มากขึ้น

    ภายหลังเมื่อสามเณรชุ่มได้บวชเป็นพระภิกษุแล้ว ท่านเคยกล่าวให้พระเณร และเหล่าลูกศิษย์ฟังว่า "การศึกษาทางพระพุทธศาสนาในสมัยก่อนนั้น ต้องทำกันอย่างจริงจัง และใช้ความเพียรเป็นอย่างมาก เพราะไม่มีเทคโนโลยีอย่างสมัยใหม่นี้ การศึกษา บทสวดมนต์ และพระไตรปิฏกในสมัยก่อนนั้น ต้องอาศัยสมอง​อย่างเดียวล้วน ๆ ต้องจด ต้องจำ ต้องท่องบ่นอย่างเอาเป็นเอาตายเท่านั้น จึงจะสามารถจำบทสวดมนต์ และสามารถแปลพระไตรปิฎกได้อย่างถ่องแท้ และจึงจะนับได้ว่าเป็นผู้รู้หนังสือดี"

    ต่อมาเมื่อสามเณรชุ่ม ได้ศึกษาวิชาความรู้จากพระอุปัชฌาย์ เป็นอย่างดีแล้ว ด้วยใจที่รัก และใฝ่รู้การศึกษา ได้กราบขออนุญาตจากพระอุปัชฌาย์ ออกเดินทาง เพื่อแสวงหาวิชาความรู้ต่างๆ เพิ่มเติม โดยพระอุปัชฌาย์ได้ชี้แนะครูบาอาจารย์ผู้ทรงคุณวิเศษด้านต่าง ๆ ให้

    จากนั้นจึงได้กราบลาพระอุปัชฌาย์ พร้อมกับลาบิดามารดา ญาติพี่น้อง นำเครื่องอัฐบริขารเท่าที่จำเป็น ออกเดินทางด้วยเท้ามุ่งสู่ จ.เชียงใหม่ และเข้าศึกษาด้านปริยัติธรรมที่วัดผ้าขาว, วัดพระสิงห์ และวัดเจดีย์หลวง ตามลำดับ

    อุปสมบท

    ท่านได้ศึกษาเล่าเรียน จนอายุได้ 20 ปี สามเณรชุ่ม ปลาวิน จึงได้พิจารณา ว่า "บัดนี้เราก็อายุครบบวชแล้ว ควรจะเดินทางกลับบ้านเกิดที่เมืองลำพูน เพื่อทำการอุปสมบท การที่เราได้อาศัยอยู่ในร่มเงาของพระพุทธศาสนานั้น เรารู้สึกเย็นใจ และร่มเย็นดีแท้ แม้เราคิดสึกออกไป เราก็ยากที่จะได้รับความสงบร่มเย็นเช่นนี้ เห็นทีเราจะต้องบวชเรียนต่อไป"

    หลังจากตัดสินใจแล้ว ท่านจึงได้เดินทางกลับมาอุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์ ที่ภูมิลำเนาเดิม คือที่บ้านวังมุย จ.ลำพูน โดยมี พระครูบาอินตา (ครูบาปัญโญ) วัดพระธาตุขาว เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์หมื่น เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์หลวงอ้าย เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "โพธิโก"

    เมื่อท่านอุปสมบทแล้ว ก็ได้มุ่งมั่นศึกษาทั้งทางด้านปริยัติควบคู่กับด้านปฏิบัติ โดยได้ฝึกพระกรรมฐานตามแนวทางกรรมฐาน 40 ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างต่อเนื่อง เพื่อชำระจิตใจของตนให้บริสุทธิ์ หลุดพ้นจากกิเลส สามารถทรงสมาธิได้สูงขึ้นตามลำดับ

    นอกจากนั้นท่านยังได้ศึกษาศาสตร์ทางด้านพระเวทย์เลขยันต์ คาถาอาคมต่างๆ รวมทั้งตำราพิชัยสงครามอีกด้วย

    ความพากเพียรศึกษาในด้านการศึกษาของพระภิกษุชุ่ม เป็นที่กล่าวขวัญไปทั่ว เมื่อการกลับมาของหลวงพ่อได้ทราบถึงเจ้าคุณพระญาณมงคล เจ้าคณะจังหวัดลำพูนในสมัยนั้น มีความชื่นชมพระภิกษุชุ่มเป็นอย่างมาก ได้ร้องขอให้ท่านไปศึกษาต่อด้านปริยัติที่กรุงเทพฯ โดยทางจังหวัดจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมด เมื่อศึกษาจบแล้วจะได้กลับมาช่วยสอนหนังสือให้กับพระเณรในจังหวัด แต่ท่านไม่อาจรับภารกิจนี้ได้ โดยให้เหตุผลว่ายังต้องศึกษาด้านการปฏิบัติให้มาก ๆ เสียก่อน

    ท่านเจ้าคณะจังหวัดเมื่อมีกิจธุระสิ่งใดก็มักจะเรียกให้พระภิกษุชุ่มอยู่เสมอ โดยได้มอบหมายให้ท่านเป็นเลขาฯ ประจำใกล้ชิด มอบหน้าที่ความรับผิดชอบในด้านต่างๆ ให้ ซึ่งท่านก็มิได้ทำให้พระผู้ใหญ่ผิดหวัง งานด้านต่างๆ ท่านสามารถทำได้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีทุกชิ้นทุกอัน จนเจ้าคณะจังหวัดจะแต่งตั้งชั้นยศ และขอสมณศักดิ์ชั้นพระครูให้ แต่พระภิกษุชุ่มได้ปฏิเสธไม่ขอรับสมณศักดิ์นั้น

    เสาะหาครูบาอาจารย์

    ตั้งแต่ช่วงแรกที่บวชเป็นพระภิกษุ พระภิกษุชุ่มก็ได้พากเพียรฝึกกายฝึกจิตตามแนวทางสายเอกของพระพุทธศาสนา แล้วยังออกเดินทางแสวงหาครูบาอาจารย์เพื่อฝากตัวเป็นศิษย์ เอาเยี่ยงอย่างภูมิธรรมชั้นเลิศจากคณาจารย์หลายท่านคือ

    ครูบาอริยะ ที่วัดท้าวบุญเรือง ต.หนองหอย อ.หางดง จ.เชียงใหม่
    ศึกษาศาสตรสนธิทั้งแปดมรรค แปดบท อันเป็น อรรถคาถา บาลีมูล กัจจายน์ จนจบ สามารถแปลและผูกพระคาถาต่าง ๆ ได้

    พระครูบาศรีวิชัย วัดร้องแหย่ง อ.หางดง จ.เชียงใหม่
    เป็นพระอาจารย์ พระปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานที่มีชื่อเสียงในยุคนั้น ตอนที่ครูบาชุ่มไปฝากตัวเป็นศิษย์ พระครูบาศรีวิชัย วัดร้องแหย่ง มีอายุประมาณ 70 ปีแล้ว แต่ก็ยังแข็งแรงดี ครูบาชุ่มได้อยู่ศึกษาปฏิบัติกับพระครูบาศรีวิชัยวัดร้องแหย่ง เป็นเวลา 2 พรรษา

    ครูบาศรีวิชัย ตนบุญแห่งล้านนา

    ครูบาศรีวิชัย วัดบ้านปาง อ.ลี้ จ.ลำพูน ในขณะที่อยู่วัดร้องแหย่งนี้เอง ท่านจึงได้พบพระนักบุญแห่งล้านนา คือครูบาศรีวิชัย (ครูบาศีลธรรม) แห่ง วัดบ้านปาง อ.ลี้ จ.ลำพูน

    เนื่องเพราะท่านครูบาศรีวิชัยแห่งวัดบ้านปาง ได้มาเยี่ยมเยือนสักการะท่านครูบาศรีวิชัยวัดร้องแหย่งด้วยความเคารพนับถืออยู่เสมอ ทุกครั้งที่มาเยี่ยมก็จะมีปัจจัยไทยธรรมมาถวาย บางครั้งได้มาพักจำวัด และร่วมสวดมนต์ เจริญพระกรรมฐานกับภิกษุสามเณรที่วัดร้องแหย่งด้วย ครูบาชุ่มจึงได้รู้จักมักคุ้นกับท่านครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา ที่วัดร้องแหย่งนี้เอง และในเวลาต่อมาปรากฏว่าทั้งคู่เป็นศิษย์ อาจารย์ที่มีความผูกพันรักใคร่กันอย่างยิ่ง

    ครูบาแสน วัดหนองหมู อ.เมือง จ.ลำพูน
    เป็นพระนักปฏิบัติที่เคร่งครัดทางด้านวิปัสสนากรรมฐานอีกรูปหนึ่ง มีลูกศิษย์มากมายเป็นผู้มีความรู้สูง เป็นนักปฏิบัติที่เคร่งครัดมาก

    ครูบาก๋ำ วัดน้ำโจ้ อ.สารภี จ.เชียงใหม่
    เป็นผู้สอนอักขระล้านนาให้แก่ครูบาชุ่ม

    ครูบาพรหมา วัดพระพุทธบาทตากผ้า อ.ป่าซาง จ.ลำพูน
    (บ้างเรียกครูบาพรหมจักร หรือครูบาพรหมจักโก สมณศักดิ์เดิมคือ พระครูพรหมจักรสังวร สมณศักดิ์สุดท้ายคือ พระสุพรหมยานเถระ)
    ความจริงแล้วครูบาชุ่ม กับครูบาพรหมา ท่านอายุรุ่นราวคราวเดียวกันแต่ต่างองค์ต่างนับถือและแลกเปลี่ยนความรู้ สรรพวิชาต่างๆ กันอยู่เสมอ

    นอกจากนี้ ท่านยังได้ไปศึกษาเพิ่มเติมที่วัดห้วยโท้ง อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ และ วัดน้ำบ่อหลวง อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่อีกด้วย

    จากนั้น เมื่อเจ้าอาวาสวัดวังมุยเก่ามรณภาพลง ชาวบ้านจึงมาอาราธนาท่านให้กลับไปเป็นเจ้าอาวาสปกครองดูแลวัดต่อไป

    ข้อวัตรปฏิบัติ

    ครูบาชุ่มท่านจะตื่นขึ้นมาตอนตี 3 เพื่อปฏิบัติไปตามลำพังในกุฏิของท่าน จากนั้นก็กระทำกิจธุระส่วนองค์ แล้วจึงปลุกเรียกพระเณรให้ทำวัตรเช้าในเวลาประมาณตี 5 ต่อด้วยการนั่งสมาธิภาวนาอีก 1 ชั่วโมง พอคลายออกจากสมาธิ จึงนำพระเณรออกบิณฑบาตโปรดสัตว์ ในยามปรกติท่านจะฉันสองมื้อ แต่ในช่วงเข้าพรรษาท่านจะฉันเพียงมื้อเดียว อาหารที่ท่านฉันก็เป็นอาหารพื้นบ้านง่ายๆ อย่างข้าวเหนียว จิ้มกับน้ำพริกผักต้ม

    "แม่เพชร อินโม่ง" ซึ่งเป็นผู้ทำอาหารถวายครูบาชุ่มอยู่เสมอ เล่าว่า ท่านชอบทานผักแคบ หรือตำลึงในภาษากลางนั่นเอง

    ครูบาชุ่มละเว้นไม่ฉันอาหารที่เป็นเนื้อสัตว์ แต่จะฉันบ้างกรณีที่มีญาติโยมมาถวายภัตตาหารเพลและนั่งรอรับศีลรับพรอยู่ต่อหน้า เป็นการฉันเพื่อไม่ให้ญาติโยมเสียกำลังใจ ช่วงหนึ่ง ครูบาชุ่มป่วย แพทย์ระบุว่าเป็นโรคขาดสารอาหาร ศรัทธาชาวบ้านจึงได้ขอร้องให้ท่านฉันเนื้อสัตว์บ้าง ท่านก็รับปาก


    เรื่องการเข้านิโรธสมาบัติ

    หลวงปู่ครูบาเจ้าชุ่มท่านเป็นพระนักปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ที่ได้รับการถ่ายทอดวิชาความรู้มาจากครูบาอาจารย์ต่างๆ หลายองค์ และได้นำมาปฏิบัติตั้งแต่เมื่อเป็นสามเณร สมัยอยู่กับ ครูบาอินตา วัดเจดีย์ขาว

    ครูบาเจ้าศรีวิชัย เป็นผู้ที่วางขนบจารีตเกี่ยวกับการ “เข้านิโรธ” ไว้ ทำให้ครูบาอาจารย์และพระภิกษุทางภาคเหนือยึดถือปฏิบัติสืบๆ กันมา รวมถึงหลวงปู่ครูบาเจ้าชุ่ม ท่านมักหาวาระและโอกาสเข้านิโรธอยู่เนืองๆ เท่าที่ทราบกันเป็นวงกว้าง และมีหลักฐานบันทึกไว้ระบุว่า ครูบาเจ้าชุ่ม โพธิโก เข้านิโรธสมาบัติมาแล้ว 8 ครั้งครั้งหลังสุด เข้าเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2518 และออกจากนิโรธสมาบัติในตอนย่ำรุ่ง วันที่ 21 มิถุนายน คือ 7 วันต่อมา

    การเข้านิโรธสมาบัติของหลวงปู่ครูบาเจ้าชุ่ม โพธิโก ครั้งนี้ เป็นพิเศษยากยิ่งกว่าทุกครั้ง เพราะท่านเข้าด้วยอิริยาบถ 4 โดยทรงอารมณ์อยู่ในจตุตถฌานตลอดเวลา นับว่ากำลังจิตท่านแข็งแกร่ง มีบุญบารมีสูงยิ่ง และการเข้านิโรธสมาบัติในครั้งนี้นี่เอง ที่มีประชาชนทราบกันแพร่หลายมากที่สุด

    มีครั้งหนึ่ง ท่านไปเข้าอยู่กรรมที่วัดน้ำบ่อหลวง พระที่เข้าไปอยู่กรรมในครั้งนั้นมี ครูบาอินทจักร์รักษา ครูบาชัยยะวงศา ครูบาขันแก้ว และอีกหลายรูป หลังจากออกกรรมแล้ว ได้มาเข้านิโรธองค์เดียว 7 วัน ที่วัดเก่า (วัดศรีสองเมือง) ก่อนที่จะเข้านิโรธ ท่านได้ตั้งสัจจะอธิษฐาน บอกกล่าวสิ่งศักดิ์สิทธิ์และครูบาอาจารย์ หลังจากนั้นได้คล้องบาตรไปรับน้ำ 3 แก้ว จากลุงอ้าย และได้ฉันน้ำในบาตรจนพอสมควร จึงได้เดินเข้าไปในกระท่อมที่ศรัทธาได้สร้างไว้ที่วัดเก่า ตลอด 7 วันนี้ จะไม่มีใครเข้าไปหา หรือรบกวนท่าน โดยจ่าสรสิทธิ์ ได้นำลูกน้องมาคุ้มครองดูแล จัดเวรยาม รักษาความสงบให้กับครูบาชุ่ม คนทั้งหมดจะอยู่ล้อมรอบบริเวณด้านนอกของเขตวัดทั้งหมด ห้ามบุคคลภายนอกเข้าไปใกล้กระท่อม ตั้งแต่วันที่ท่านเข้านิโรธ จนถึงวันที่ท่านออก ปรากฏว่าด้านนอกวัด มีชาวบ้านวังมุยและประชาชนจากที่อื่น พากันมานอนเฝ้าชมบารมีของท่านเป็นจำนวนมากมายทุกวัน ในวันหนึ่ง ระหว่างที่ท่านข้านิโรธอยู่นั้น มีลูกศิษย์และคนทั่วไปที่อยู่ด้านนอก มองเห็นหลวงปู่ลงมาจากกระท่อม มาเดินจงกรม ยืนภาวนา และเดินไปนั่งสมาธิที่ใต้ต้นโพธิ์ในวัดห่าง พอได้เวลาท่านจะเดินขึ้นไปนั่งหรือนอนสมาธิบนกระท่อมอีกครั้ง

    ลักษณะเช่นนี้ ตรงกับคำพูดที่หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง เคยกล่าวกับศิษยานุศิษย์ของท่านว่า

    “หลวงปู่ชุ่ม ท่านเป็นพระสุปฏิปันโน เป็นพระที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ และเป็นพระน้อยองค์นักที่จะสามารถเข้านิโรธสมาบัติได้ทุกอิริยาบถ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน”


    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 มกราคม 2013
  3. krit_eng99

    krit_eng99 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    791
    ค่าพลัง:
    +2,228
    พระภาวนาปัญญาวิสุทธิ์ (หลวงปู่มหาอำพัน)
    " กตัญญูกตเวที เป็นรากแก้วของคนดี"


    [​IMG]

    ท่านเจ้าคุณพระภาวนาปัญญาวิสุทธิ์ (อำพัน บุญ-หลง) เป็นบุตรคุณพระสาลียากร-พิพัฒน์ (เฉลิม บุญ-หลง) และนางสาลียากรพิพัฒน์ (ทองคำ บุญหลง) เกิดที่บ้านหลังตลาดบ้านทวาย เมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๔๔ ตรงกับวันอาทิตย์ขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๙ ปีฉลู เริ่มเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนมัธยมวัดเทพศิรินทร์ เลขประจำตัว ๒๓๗ แล้วไปเข้าเรียนต่อที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เลขประจำตัว ๓๑๖๖ เมื่อวันที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๔๖๐ และสอบไล่ได้ชั้นมัธยมปีที่ ๘ เมื่อวันที่ ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๑ ลาออกจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย วันที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๒ อำมาตย์ตรีหลวงวรวุฒิฯ อาจารย์ผู้ปกครองโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยในขณะนั้น ได้เขียนรับรองไว้ในใบสุทธิว่าการศึกษาดีมาก ความประพฤติเรียบร้อย

    หลังจากจบการศึกษาแล้วก็ได้เข้ารับราชการในกระทรวงการคลัง ต่อมาท่านได้เข้าสอบชิงทุนเล่าเรียนหลวงของกระทรวงการคลังได้ที่ ๑ และได้เดินทางไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ แต่น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่งที่ยังไม่ทันเรียนสำเร็จท่านก็ต้องเดินทางกลับมารักษาตัวที่ประเทศไทย เพราะป่วยมาก

    เมื่อหายดีแล้ว ท่านได้อุปสมบท ณ วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๘ ตรงกับวันอาทิตย์ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๘ ปีฉลู ฉายา "อาภรโณ" เป็นสัทธิวิหาริกที่ ๑๖๗๖ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ญาณวรมหาเถระ เจริญ สุขบท) เป็นพระอุปัชฌายะ ท่านเจ้าคุณอุดมศีลคุณ (อิน อคฺติทตฺโต) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ท่านพระครูปลัดสัมพิพัฒน์ศีลาจารย์ (เทียน ปภสฺสโร) เป็นพระอนุสาสนาจารย์

    เมื่อครบพรรษาแล้วท่านสังเกตเห็นว่าคุณโยมของท่านพอใจปรารถนาที่จะให้ท่านบวชต่อไป ท่านรักเคารพเชื่อฟังและมีความกตัญญูกตเวทีต่อคุณโยมของท่านมากมาตั้งแต่เด็ก ก็เลยไม่ลาสิกขาบท เต็มใจบวชต่อมาจนถึงวันมรณภาพของท่าน คือ วันพุธที่ ๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๒ เวลา ๒.๔๙ น. นับได้ ๖๔ พรรษา

    ท่านเจ้าคุณพระภาวนาปัญญาวิสุทธิ์ (อำพัน บุญ-หลง) มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ๑๒ คน ดังนี้คือ

    ๑. พระศรีพลพัทธ์ (อรุณ บุญ-หลง) ถึงแก่กรรม

    ๒. นายทวีสวัสดิ์ บุญ-หลง

    ๓. ท่านเจ้าคุณพระภาวนาปัญญาวิสุทธิ์ (อำพัน บุญ-หลง)

    ๔. นายสำคัญ บุญ-หลง ถึงแก่กรรม

    ๕. นายปพาฬ บุญ-หลง ถึงแก่กรรม

    ๖. นางสาวสาหรี บุญ-หลง

    ๗. นางสาวกุลยา บุญ-หลง

    ๘. เด็กชาย บุญ-หลง ถึงแก่กรรม

    ๙. นายอุดม บุญ-หลง ถึงแก่กรรม

    ๑๐. นางสาวดวงตา บุญ-หลง

    ๑๑. นายดรุณรัตน์ บุญ-หลง

    ๑๒. นางสาวนิลประไพ บุญ-หลง

    เมื่อหลายปีก่อนท่านเจ้าคุณพระภาวนาปัญญาวิสุทธิ์ (อำพัน บุญ-หลง) เคยป่วยอาพาธหลายโรค เช่น เกาต์ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง มีไขมันในเส้นเลือด ฯลฯ แต่ด้วยความปรีชาสามารถของนายแพทย์ที่รักษา คือ พล.ร.ท.น.พ.บรรยง ถาวรามร ไม่ว่าท่านจะอาพาธเวลาใดนายแพทย์ท่านนี้ก็ไม่เคยดูดายเบื่อหน่ายหรือละเลยทอดทิ้ง จะรีบมาตรวจดูอาการและให้การรักษาทันที ท่านอนุญาตให้โทรศัพท์เรียกได้ทุกเวลาตลอด ๒๔ ชั่วโมง ทำให้สามารถแก้ไขได้ทันท่วงทีทุกครั้ง และในที่สุดเมื่อตรวจเช็คสุขภาพดูก็ปรากฏว่าโรคดังกล่าวหายหมดแล้ว

    ที่ท่านมรณภาพก็เป็นเพราะท่านชรามาก เมื่อฉันอาหารไม่ได้ประมาณ ๒ วัน และเมื่อมีอาการท้องเสียด้วย จึงทำให้ท่านอ่อนเพลียไม่มีแรง และในที่สุดก็จากพวกเราไป ในวันพุธที่ ๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๒ เวลาประมาณ ๒.๔๙ น. รวมอายุได้ ๘๘ ปี ๑๙ วัน


    หลวงปู่มหาอำพันกับหลวงพ่อ

    [​IMG]

    ท่าน ที่ไปปฏิบัติพระกรรมฐานที่บ้านสายลม สมัยเมื่อกว่า 20 ปี มาแล้ว จะเห็นว่าทุกครั้งพ่อ(หลวงพ่อฤาษีฯ) ไปสอนพระกรรมฐาน จะมีพระภิกขุอายุเกิน 70 ปี รูปร่างอ้วนขาว ผิวทั่วกายมีริ้วรอยด่างไปทั้งตัว นั่งพริ้มตาเปล่งรอยยิ้มอมสุขร่วมปฏิบัติอยู่ด้วยเสมอไปไม่เคยขาด ไม่เคยมาสาย พระคุณเจ้ารูปนั้นคือ หลวงปู่พระมหาอำพันแห่งวัดเทพศิรินทร์ อันเป็นวัดที่สถิตย์ของพระสุปฏิปันโนองค์สำคัญแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ราชมานิต ผู้ระบือนามความดี

    ท่านผู้อ่านเอย... เขียนถึงองค์นี้แล้วกลัวว่าภาษาไทยจะมีอักษรไม่พอเขียนบรรยายคุณชาติมารยาท พระของหลวงปู่พระมหาอำพัน เพราะดูไม่ออกว่าท่านจะมีความดีงามความเด่นเห็นชัดอะไรนักหนา แต่เมื่อมาดูมาหาความบกพร่องของท่านกลับหาเค้าหาร่องรอยความเลวไม่ได้

    นี่แหละ...เขียนยากตรงนี้แหละ

    หลวงปู่ท่านเป็นพระธรรมยุตินิกาย ที่น่าสนใจมากก็คือท่านเป็นทั้งสหายและศิษย์ในทางธรรมของท่านเจ้าคุณนรฯ คือ ท่านบวชก่อนท่านเจ้าคุณนรฯ 8 เดือน สนิทสนมชอบพอกันแบบพี่น้องในทางธรรม และเคารพยกย่องท่านเจ้าคุณนรฯ เป็นพระอาจารย์สอนพระกรรมฐาน อยู่ที่วัดเทพศิรินทร์ด้วยกัน จนท่านเจ้คุณนรฯ ทิ้งสังขารละโลกอันวุ่นวาย เสวยสุข สงบไปแล้ว แต่หลวงปู่ยังตามไปไม่ได้ ยังคงสถิตย์อยู่วัดเทพศิรินทร์ และมาปฏิบัติธรรมถวายตัวเป็นศิษย์พ่อ (หลวงพ่อฤาษีฯ) ซึ่งเป็นพระมหานิกาย และมีอายุพรรษาอายุขันธ์ห้าอ่อนกว่าหลวงปู่มากมายหลายปี

    แต่ว่าท่านเอย..สิ่งอัศจรรย์อันงามตาสบายใจได้ตามหลวงปู่มาด้วย นั่นคือความเคารพนอบน้อมถ่อมตนช่างสูงช่างยิ่งใหญ่อะไรอย่างนั้น หลวงปู่พระมหาอำพันผู้สูงวัย ผู้สงบเยือกเย็น ก้มกราบกรานมือ นบหน้าแนบเท้าพ่อผู้อ่อนวัยอ่อนพรรษา ความเคารพนอบน้อมกับความเมตตาอาทรมาพบกันตรงนั้น..ที่บ้านซอยสายลม เมื่อปี 2518 ได้เกิดตำนานสังฆานุสสติขึ้นในจิตใจของท่านทั้งหลายในยุคนั้น ซึ่งมีผู้เขียนรวมอยู่ด้วยคนหนึ่งด้วย

    มีสิ่งหนึ่งซึ่งอยากจะเขียนเล่าให้ฟังจริงๆนั่นคือ..ปรกติแล้วเวลาพ่อให้ ไตรสรณาคมณ์ ทั้งพระและฆราวาสก็พนมมือว่าตามเวลาพ่อให้ศีลห้า ฆราวาสจะพนมมือน้อมใจว่าตามศีล แต่พระจะลดมือลงสำรวมจิตใช่ไหม ? แต่...ไม่ใช่ ! หลวงปู่พระมหาอำพันพนมมือว่ารับศีลห้าไปกับเขาด้วย และทำอย่างนี้ตลอดมาไม่เคยขาด ไม่เคยพลาดพลั้งเผลอ ประหนึ่งว่าทุกคำ ทุกกระแสความดี ที่พ่อให้ลูกๆนั้น หลวงปู่รับเอาไปประดุจทรัพย์ที่สูงค่ามหาศาล พ่อพูดถึงกริยาของหลวงปู่ทีทำอย่างนั้น ดังนี้..

    " คนที่ดีจริงจนไม่มีความเลวค้างใจ เขาทำกันอย่างนี้แหละ "

    นับแต่วันนั้นมา พระวัดท่าซุงก็พนมมือเวลาพ่อให้ศีลห้าด้วยความเต็มใจ นี่..เล่าให้ฟัง ! ไม่ได้เกณฑ์ว่าใครๆ จะต้องทำตามนี้เสมอไป

    ผู้เขียนได้เล่าให้ฟังตอน " หลวงปู่บุดดา " มาบ้างแล้วว่า หลวงปู่มหาอำพันเป็นนักบุญบำเพ็ญทานด้วยองค์หนึ่ง เห็นกันตั้งแต่สมัยปี 2518 ซึ่งเป็นปีแรกที่จัดงานประจำปีวัดท่าซุง ตลอด 3 วันงานนั้น หลวงปู่ก็นั่งเจริญศรัทธา ณ ที่เราจัดถวายให้พระสุปฏิปันโนนั่ง คือ ศาลายาวหน้ากุฏิทรงไทยหลังโบสถ์ ซึ่งดัดแปลงเป็นห้องพักฆราวาสชายผู้มาปฏิบัติธรรมในปัจจุบัน ตรงหน้าหลวงปู่จะมีบาตร 2 ใบ ใบที่เป็นเงินทำบุญก่อสร้างนั้นเราเก็บทุกวัน เป็นปรกติอยู่แล้ว แต่บาตรใบที่เขียนว่า " ถวายหลวงปู่ส่วนตัว " นั้น ไม่ว่าจะมีมากน้อยเพียงใดก็ตาม ท่านจะให้ผู้เขียน (ซึ่งทำหน้าที่หัวหน้าศิษย์รับใช้ปรนนิบัติพระสุปฏิปันโน) เก็บไว้ทั้งหมดเพื่อถวายมหาทานตอนกลางคืน

    ดังได้เล่ามาบ้างประปรายในเรื่องของพระสุปฏิปันโนองค์ที่ได้กล่างถึงผ่านมา แล้วว่า หลวงปู่ทุกองค์จะพักที่กุฏิทรงไทย 10 หลัง ด้านท้ายพระอุโบสถวัดท่าซุง ตลอดวันแต่ละท่านก็จะออกมานั่งเจริญศรัทธา เป็นเนื้อนาบุญอันไพบูลย์ให้ญาติโยมลูกหลานได้บำเพ็ญทาน สนทนาธรรม และทัศนาจริยามารยาทพระดีของพระพุทธศาสนากัน ตามเวลาที่แต่ละองค์จะเห็นสมควรตามความสะดวกของท่าน พอตอนเย็นก็พักกันหมด เพราะอายุร่างกายของท่านก็ชราอาพาธกันทั้งนั้น

    แต่ว่า..หลวงปู่พระมหาอำพันท่านไม่พัก ท่านจะออกมานั่งยิ้มแย้มแช่มหน้า ทักทายปราศรัยลูกหลานที่พากันไปหาเพื่อร่วมบำเพ็ญสังฆทานพิเศษที่ท่านทำ ประจำ ทุกค่ำคืนของงานประจำปี

    พอตกเย็น ผู้เขียนก็จะออกเดินประกาศเชิญชวนให้ท่านที่ค้างคืนภายในวัด ออกมาร่วมบุญกันตามสะดวกใจไม่ได้รบกวนเคี่ยวเข็ญ ภาพสวยของคืนบุญภาพแรกก็คือ พระภิกษุชราอ้วนขาว ผิวด่างทั่วกาย มีรอยยิ้มเฉิดฉายเบิกบาน นั่งกลางวงล้อมของพุทธบริษัทผู้ไม่เคยอิ่มบุญกุศล

    ผู้เขียนพึ่งเข้าใจว่า เสน่ห์อันสง่างามบันเทิงใจก็เกิดขึ้นในร่างกายที่ขี้เหร่ ไม่สมสัดส่วนชวนนิยมได้เช่นเดียวกัน

    ภาพงามภาพที่สองของคืนนั้น งามเสียจนไม่อยากให้ภาพนั้นจางหายไปจากโลกมนุษย์ เมื่อหลวงปู่พระมหาอำพันนิมนต์หลวงปู่องค์อื่น คืนนั้นเป็นหลวงปู่บุดดา ถาวโรมานั่งเป็นนาบุญรับสังฆทานจากท่านและญาติโยม หลวงปู่บุดดานั่งบนตั่งรับแขก ในที่สูงเรียบร้อยแล้ว แทนที่หลวงปู่มหาอำพันจะนั่งบนตั่งนอบน้อมพองามตามมารยาทสงฆ์ ท่านกลับทรุดกายลงพับเพียบกับพื้น นำพุทธบริษัทกราบหลวงปู่บุดดา

    ท่านผู้อ่านเอย..พระสงฆ์ชรานั่งหลับตาตั้งใจ
    ประนมมือตั้งนะโม กล่าวคำถวายสังฆทาน
    ทั้งกายกรรม วจีกรรมกล่าววาจา
    ท่านเปล่งออกมาจากใจเจตนานอบน้อมพระสงฆ์
    ท่านทำดุจเดียวกันกับฆราวาสผู้เลื่อมใสปลื้มใจในทานของตน

    เมื่อถวายสังฆทานแล้ว ท่านก็ยังนั่งกับพื้นหลับตาประนมมือน้อมรับพร ยะถา วาริวหา.. ท่านกราบอธิษฐาน ท่านลืมมองหลวงปู่บุดดา ผู้นั่งจ้องมองท่านลงมาจากตั่ง

    ตอนนี้น่ารักมาก !

    หลวงปู่พระมหาอำพันคลานเข้าไปกราบใกล้ๆ องค์หลวงปู่บุดดา พนมมือกล่าวขอพรว่า

    " ธรรมใดที่หลวงปู่เข้าถึงแล้ว ขอให้กระผม..(ท่านคงกล่าวให้จบว่า..ขอให้กระผมได้เข้าถึงธรรมนั้นด้วยเถิด..)

    แต่หลวงปู่พระมหาอำพันยังพูดไม่ทันจบ หลวงปู่บุดดาก็จี้นิ้ว จ้องตามาที่หลวงปู่พระมหาอำพัน จ้องตาแจ๋ว พูดเสียงชัดใสเชียวว่า

    " จะมาเอาอะไรกันอีก..ใจออกใสเป็นแก้วหมดแล้วนี่... จะมาหลอกกันเสีย เล้ยย... ."

    แล้วหลวงปู่บุดดาก็นั่งแหงนหน้าหลับตายิ้ม ไม่สนใจหลวงปู่มหาอำพันอีก หลวงปู่มหาอำพันก็ยิ้มเก้อๆ หัวเราะอายๆ พาลหลับตายิ้มอมสุข พรมกระแสใจอันเยือกเย็นให้ลูกหลานได้สัมผัสกันทั่วหน้า

    ท่านเอย..พระสงฆ์ของพระพุทธศาสนาสององค์ดุจพระจันทร์วันเพ็ญที่ลอยอยู่เหนือ น้ำสงบใส ไม่ว่าจะเป็นองค์ที่ลอยบนตั่งหรือองค์ที่นั่งดุจเงาในผืนน้ำ ต่างองค์ต่างงาม สงบเยือกเย็น..คล้ายคลึงกันเสียจริงหนอ ไม่มีอะไรจะต้องเปรียบเทียบแตกต่าง ไม่มีเหตุผลใดเลยที่จะสร้างกระแสริษยามานะ ช่างเป็นบุญของผืนดิน ผืนน้ำ ของสรรพสัตว์ผู้มีจักษุ ผู้มีศรัทธาอย่างนี้เองหนอ..

    พระสงฆ์ในรุ่นราวคราวอายุใกล้เคียงกัน (เฉพาะที่ผู้เขียนได้สัมผัส).. หลวงปู่พระมหาอำพันน่าจะมีการศึกษาทางโลกดีมากๆ องค์หนึ่ง เคยได้ไปศึกษาในประเทศอังกฤษอยู่ระยะหนึ่ง ผู้เขียนเคยปรนนิบัติรับใช้หลวงปู่อำพันหลายวาระ มีอยู่บ่อยๆ ทีท่านเคยถึงความเป็นอยู่ของสังคมมนุษย์ ท่านพูดภาษาอังกฤษควบบางคำ ด้วยสำเนียงที่ไพเราะมากๆด้วยบุคคลิกภาพท่าทีดูดีมากๆ แต่เวลาที่เสียงของท่านนุ่มนวลเพราะพริ้งที่สุดกลับเป็นเวลาที่ท่านนั่ง พับเพียบ นอบน้อมตั้งนะโมรับสรณาคมณ์และรับศีลห้าจากพ่อ ดังได้เล่ามาแล้ว

    ชีวิตประจำวันของพระแบบหลวงปู่พระมหาอำพันน่าจะสงบสุข น้อยเรื่องน่าเลื่อมใสริษยา (เขียนไปเขียนมาสำนวนจะเหมือนหนังสือกำลังภายในเข้าไปทุกที) ผู้เขียนไม่เคยไปกราบพบท่านที่วัด จึงไม่ทราบถึงกิจวัตรของท่าน แต่ประจักษ์ใจไม่สงสัยว่า ท่านเป็นพระที่น้อยเรื่องที่สุด สังสรรค์สนทนาเท่าที่จำเป็นและถนอมเวลาที่จะอยู่กับตัวเองให้มากเท่าที่ ชีวิตพระในกรุงเทพฯ จะทำได้ ถ้าท่านผู้อ่านจะถามว่าพระอริยะในเมืองหลวงท่านทำตัววางใจอย่างไร ก็น่าจะเอาปฏิปทามารยาทของหลวงปู่พระมหาอำพันมาอธิบายแทนได้ เพราะหลวงปู่ไม่ใช่พระที่หลีกผู้คน หลับตาก้มหน้าตอบคำถาม แต่ท่านสามารถจะนั่งอยู่ในกลุ่มคนที่พูดจาปราศัยส่งเสียงรอบกาย ส่วนใจท่านหลีกเข้าสู่อารมณ์สงบได้เป็นปกติธรรมดา สังเกตุได้จากการสนทนากัน ถ้าต้องพูดอธิบาย หรือตอบคำ ก็ทำไปยิ้มไปไม่ติดขัด ถ้าไม่มีเรื่องพูดท่านก็ยิ้มพริ้มหน้าลืมตา หลับตาอยู่ในวงมนุษย์ผู้วุ่นวายในกระแสกุศล อกุศล ได้ไม่เดือดร้อนอะไร


    พูด ถึงมนุษย์ฆราวาสผู้ยังวุ่นวาย ผู้เขียนก็เป็นผู้หนึ่งซึ่งขวนขวายหาบุญในวิธีของความอึกทึกอยู่บ่อยๆ แถมยังได้เคยทำกับหลวงปู่พระมหาอำพันเสียอีกด้วย


    คือหลวงปู่มหาอำพันท่านเป็นพระธรรมยุติที่เคร่งครัดแต่สบายตาสบายใจ เวลาท่านมาปฏิบัติธรรมที่ซอยสายลม ท่านก็ไม่ได้ใส่รองเท้า พอท่านเดินมาถึงชายคาบ้าน ก็จะมีพวกเรานี่แหละ เอาน้ำมาราดเท้าล้างเท้าเอาผ้าเช็ดซับน้ำให้แห้งสะอาด แล้วจึงจะนำนิมนต์ท่านไปนั่งอาสนะคอยพ่อ (หลวงพ่อฤาษี) ผู้จะลงจากห้องพักมาสอนสนทนาธรรม ผู้เขียนก็ขยับจะทำอะไรสักอย่างที่มันพิเศษ ที่มันจะได้บุญตุนไว้มากๆ แต่นึกไม่ออกว่าจะทำอะไรกับหลวงปู่ดี ขันน้ำล้างเท้าก็มีแม่อ๋อย เจ้าของบ้านจัดถวาย ผ้าขนหนูเช็ดเท้าก็มีพร้อมแล้วไปยุ่งไปเปลี่ยนไม่ได้ แล้วคนที่ (ฟุ้งซ่าน)ไม่ธรรมดาอย่างเรานี่ มันต้องทำอะไรด้วยอะไรที่มันพิเศษสมวาสนา มันต้องอย่างนั้น !

    แล้ววันหนึ่งก็สมปราถนา พอหลวงปู่ลงจากรถคุณม่ำ (คุณรัฐดา บุนนาค) นำประคองลงมา แต่เผอิญวันนั้นคนที่ทำหน้าที่ล้างเท้าไม่อยู่ตรงนั้น ผู้เขียนก็รีบเทน้ำราดเท้าท่าน ราดมากเสียให้สมบุญคนอย่างเรา เหลียวหาผ้าเช็ดเท้า ก็หาไม่พบจึงได้ถอดเสื้อแขนยาวที่สวมใส่ออกจากตัว แล้วปูให้หลวงปู่ก้าววางเท้าลงมา แล้วห่อเท้าเช็ดซับน้ำด้วยความอิ่มเอิบลุกลี้ลุกลนใจ น้ำก็เทเสียนองพื้นหมดขัน เสื้อก็เปียกแฉะเปื้อนฝุ่นโคลน ตกลงว่าวันนั้นไม่ได้ประคองหลวงปู่เข้าไปนั่งอาสนะ สมวาสนาน้ำหน้านักแสวงบุญแบบพิเศษ กรรมฐานก็ไม่ได้เข้าไปนั่ง เสื้อไม่มีใส่ จำไปจนตาย

    เอาละ มาพูดถึงความดีของหลวงปู่มหาอำพันกันต่อไป แต่จะต่ออย่างไรก็คงพูดชัดเจนได้ในความนอบน้อมถ่อมตน ที่มีในดวงใจในมารยาทวาสนาของท่าน ความบริสุทธิ์พ้นวิเศษเป็นเรื่องในใจเป็นเรื่องปัจจัตตังเอามาพูดกันลำบาก แต่ก็สามารถรับรู้ได้จากกระแสความเย็นเป็นสุขที่ซ่านแผ่ออกมาจากท่าทางร่าง กายและวาจาที่ท่านพูด มันแตกต่างจากมนุษย์หัวดำ หรือมนุษย์ห่อเหลืองโกนศรีษะที่ไม่ได้ปฏิบัติธรรมเพื่อความบริสุทธิ์หลุดพ้น มันเย็นตาเย็นใจต่างกันจริงๆ ยิ่งเมื่อความบริสุทธิ์ดวงจิตหนึ่ง น้อมนอบหมอบราบคาบแก้วถวายความกตัญญูต่อดวงจิตที่บริสุทธิ์อีกดวงจิตหนึ่ง อันเป็นที่เคารพสักการะ ความเย็นเป็นสุขจนั้นจึงทรงอานุภาพมหาศาล สถิตย์ใจของผู้ร่วมเหตุการณ์มาจนทุกวันนี้

    วันนั้นเป็นวันทำบุญคล้ายวันเกิดของพ่อ (หลวงพ่อฤาษีฯ วัดท่าซุง) ลูกๆหลานๆ ศิษยานุศิษย์จะมาร่วมกันบำเพ็ญกุศลถวาย และขอพรให้พ่อทรงชีวิตอยู่กับพวกเราไปนานๆ ไม่รู้ว่าจะเป็นเพราะความกตัญญูรู้คุณท่าน หรือเพราะความเห็นแก่ตัวของพวกเราที่ยังเอาดีตามคำสอนของท่านไม่ได้ จึงอยากให้ท่านทรงชีวิตไว้สอนพวกเราต่อไป ทั้งๆที่รู้ความจริงกันดีว่าใจพ่อเป็นสุขพ้นทุกข์โทษใดๆแล้ว สิ่งใดๆที่จะพึงทำเพื่อตนเองและผู้อื่นท่านได้ทำเสร็จแล้ว ใจพ่อพ้นแล้ว แต่ร่างกายท่านป่วยอย่างหนักหนามาเป็นเวลายาวนาน ท่านน่าจะได้พักใจจบกิจกรรมที่ต้องทำด้วยกายแล้ว ลูกๆที่รักพ่อน่าจะจัดงานแสดงกตเวทีตอบแทนให้ท่านสบายใจและเบาใจด้วยการร่วม กันพูดว่า

    " ถ้าพ่อจะพักก็พักเถิด ลูกๆ จะทำกันต่อไปได้ จะไม่ให้งานของพ่อที่ฝากไว้และงานในใจของลูกเองบกพร่อง พ่อจะทิ้งร่างอันเป็นทุกข์ก็ทิ้งไปเถิด ใจพ่ออย่าทิ้งลูกก็พอแล้ว เป็นพระคุณยิ่งแล้ว "

    หลวงปู่พระมหาอำพันท่านคงต้องคิดได้และอยากจะพูดอย่างนั้น แต่การจัดงานวันเกิดพ่อ ที่ซอยสายลมทุกปีท่านจะพูดแทนกำลังใจของลูกหลานส่วนใหญ่ เพื่อให้ศรัทธาในใจลูกหลานเพิ่มพูนขึ้น ทุกวันทุกเวลาจนกลายเป็นความเพียรแรงกล้า กล้าช่วยตัวเองต่อไปได้

    ในวันงานพ่อที่ซอยสายลมปีนั้น หลวงปู่พระมหาอำพันพร้อมลูกหลานศิษยานุศิษย์ก็มานั่งกันเต็มบ้าน หลวงปู่ถือพานเทียนแพเครื่องบูชาครูบาอาจารย์นั่งนำหน้า คอยพ่อตรงตั่งเตียงที่ลูกๆจัดถวาย เมื่อพ่อลงนั่งตั่งทักทายลูกหลานพอสมควรแล้ว หลวงปู่พระมหาอำพันก็ทำตัวเป็นลูกคนโต เข้าไปตั้งนะโมถวายพานบูชาพระคุณ

    ........พระภิกษุสูงวัยเกิน 70 ปี นั่งประนมมือ....

    ........กล่าวคำจากใจว่ารู้ถึงพระคุณ..ท่านพูดไปเสียงเริ่มสั่นเครือด้วย ความปิติใจ รินน้ำกลีบกุหลาบปรุงหอมรดหลังเท้าพ่อเอามือลูบบนหลังเท้าพ่อ เอาน้ำที่สัมผัสฝ่าเท้าพ่อขึ้นมาเสยเศียรลูบกระหม่อมที่ขาวโพลนด้วยเส้นผม ชราภาพ น้ำจากจอกไหลราดเท้าพ่อครูบาอาจารย์ น้ำตาเอ่อไหลรินแก้มเหี่ยวย่นของท่านเอง รอยยิ้มรู้คุณฉายนุ่มน้อมถ่อมตน ฉายผ่านปากห้อยและแก้วตาที่เริ่มฝ้าฟาง

    ผู้คนที่กล่าวตามหลวงปู่นำประกาศ...ก็ทยอยเข้ามาสรงน้ำบูชาพระคุณ ผู้เขียนจำคำพูดหลวงปู่ไม่ได้ แต่ไม่เคยลืมน้ำเสียง สีหน้า และสายตาที่งดงามสิ้นเชื้อทิฏฐิมานะของหลวงปู่ และดวงหน้าที่สงบงามฉายแววเมตตาอาทรอันไม่มีประมาณของพ่อ จำรอยยิ้มอิ่มใจดุจจะบอกลูกๆว่า ถ้าลูกคิดได้ ทำได้ พูดได้เพียงเท่านี้.. พ่อก็พอใจแล้ว


    (จากหนังสือ " บนเส้นทางพระโยคาวจร " หน้า 152-162)


    [​IMG]

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 มกราคม 2013
  4. krit_eng99

    krit_eng99 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    791
    ค่าพลัง:
    +2,228
    ประวัติ หลวงปู่สี ฉันทสิริ วัดเขาถ้ำบุญนาค

    [​IMG]


    หลวงปู่สี ฉันทสิริ วัดเขาถ้ำบุญนาค อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์

    ประวัติหลวงปู่สี ฉันทสิริ ชาติภูมิ หลวงปู่สี ท่านเป็นชาวอำเภอรัตนะ จังหวัดสุรินทร์ ท่านเกิดเมื่อปีจอ พ.ศ.๒๓๙๒ ตรงกับสมัยของรัชกาลที่๔ ส่วนเกิด วัน เดือน ใด ท่านไม่เคยบอก เมื่ออายุ ๒๑ ปี ท่านถูกเกณฑ์เข้ารับราชการทหาร เมื่อปลดจากการเป็นทหารแล้วท่านก็มายึดอาชีพค้าวัว ค้าควาย และเป็นพรานอยู่แถว ช่องแค-ตาคลี ซึ่งแต่เดิมมีสภาพเป็นป่าดงดิบ และยังไม่ได้ตั้งเป็นอำเภอตาคลี เมื่อมีการใช้นามสกุลขึ้น ตระกูลของท่านก็ใช้นามสกุลว่า “ดำริ” ชีวิตตอนเป็นหนุ่ม ท่านเป็นคนจริงไม่เคยเกรงกลัวใคร

    หลวงปู่สี ท่านใช้ชีวิตความเป็นหนุ่มอยู่นานหลายปี จนกระทั่งบังเกิดความเบื่อหน่ายทางโลก จึงได้อุปสมบท โดยท่านบอกว่า ท่านบวชที่วัดบ้านเส้า อำเภอบ้านเส้า (อำเภอบ้านหมี่ ในปัจจุบัน) โดยมีพระครูธรรมขันธ์สุนทร เป็นพระอุปัชฌาย์ ส่วนคู่สวดท่านไม่ได้บอกว่ามีพระอาจารย์รูปใดบ้าง เมื่อบวชได้ระยะหนึ่งท่านได้เดินทางมาจำพรรษาอยู่ที่ ถ้ำเขาเสียบ เขตตำบลช่องแค อำเภอตาคลี เพราะว่าก่อนบวชท่านเคยอยู่ในเขตนี้มาก่อน

    หลวงปู่สี ท่านถือปฏิบัติในการออกธุดงค์ ตลอดเวลาที่ท่านยังมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง หลวงปู่สี ท่านบอกว่าท่านธุดงค์ไปทั่วประเทศไทย จากเหนือถึงใต้ ตะวันออกถึงตะวันตก ท่านไปมาทั้งหมดเคยธุดงค์ไปฝั่งประเทศลาว จำพรรษาอยู่ในประเทศลาวหลายปี ธุดงค์เข้าประเทศพม่าเลยไปประเทศอินเดีย ไปนมัสการสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา ท่านยังเล่าว่ามีอยู่ครั้งหนึ่ง ท่านธุดงค์ไปภาคเหนือ เพื่อจะไปนมัสการพระบาทสี่รอย เมืองเชียงตุง ประเทศพม่า ท่านเดินหลงป่าไม่ได้ฉันอะไรเลยเป็นเวลา ๗ วัน จนรุ่งเช้าของวันที่ ๘ มีช้างป่านำหัวบัว และอ้อยมาถวายท่าน (ไม่ทราบว่าเป็นเทวดา หรือว่าเทวานุภาพดลใจให้ช้างนำมาถวาย ?) ท่านจึงนำหัวบัวต้มกับน้ำอ้อยฉัน และช้างยังเดินนำทางท่านไปจนพบกับบ้านของชาวบ้านป่า ท่านเล่าว่า ท่านเดินธุดงค์อยู่ในป่าแห่งหนึ่งทางภาคเหนือ พบชายหญิงกำลังกินอะไรกันอยู่ ท่านจึงเดินไปถามว่า ทำอะไรกันอยู่หรือ ทั้งสองก็ตอบหลวงปู่สีว่ากำลังกินยาอายุวัฒนะกันอยู่แต่หลวงพ่อมาช้าไป ยาหมดเสียแล้วจะมีเหลืออยู่ก็ตามใบไม้เท่านั้นเอง และทั้งสองคนก็เก็บยาที่ติดอยู่ตามใบไม้ให้ท่านฉัน ซึ่งมีอยู่เล็กน้อยเท่านั้น ท่านบอกว่าที่ท่านมีอายุยืนก็เพราะยานี้แหละ และยานี้ยังทำให้ท่านมีร่างกายแข็งแรง ไม่หลงลืมเหมือนคนแก่ทั่วๆไป

    ในการออกธุดงค์ของหลวงปู่สีนั้น หลานชายของท่านคนหนึ่งเคยติดตามไปด้วย ได้เล่าให้ฟังว่า ขณะนั้นยังเป็นสามเณรได้ติดตามหลวงปู่สีไปนมัสการพระพุทธบาทจังหวัดสระบุรี ค้างคืนที่พระพุทธบาท รุ่งเช้าพอฉันอาหารเช้าเสร็จเรียบร้อยแล้ว หลวงปู่สีก็พาออกเดินทางกลับตาคลีทันที โดยหลวงปู่สีบังคับให้ผู้เล่าเดินออกหน้าตลอดเวลา หลวงปู่สีจะเป็นคนเดินท้ายปรากฏว่ามาถึงตาคลีเป็นเวลาฉันอาหารเพลพอดี ซึ่งระยะทางจากพระพุทธบาทมาถึงตาคลีให้เดินเก่งอย่างไร ก็ไม่สามารถที่จะเดินถึงได้ภายในเวลาไม่ถึงครึ่งวัน แต่หลวงปู่สีพาเดินได้

    ในระหว่างที่เดินธุดงค์อยู่ทางภาคเหนือภาคอีสานนั้น หลวงปู่สี ท่านได้รู้จักกับพระเกจิอาจารย์ดังมากมาย อาทิเช่น หลวงปู่แหวน แห่งดอยแม่ปั๋ง เพราะมีคนจากตาคลีขึ้นไปกราบหลวงปู่แหวน แล้วหลวงปู่แหวนพูดถึงหลวงปู่สีให้เขาเหล่านั้นฟัง พ่อค้าในตลาดตาคลีชวนพวกรวม ๔ คนขึ้นไปกราบหลวงปู่แหวน เพื่อขอวัตถุมงคล แต่หลวงปู่แหวนไม่ยอมให้ โดยหลวงปู่แหวนบอกกับคนทั้งสี่ว่า ที่มากันนั้นดีๆ ไม่เอากัน มาเอากันถึงที่นี่ ทั้งหมดจึงถามหลวงปู่แหวนว่า ที่หลวงปู่พูดถึงน่ะหลวงพ่ออะไรครับ หลวงปู่แหวนจึงตอบว่าในคอพวกเอ็งก็ยังคล้องกันมาเลย ปรากฏว่าทั้ง ๔ คนที่ไปมีคล้องพระไปเพียงคนเดียว และพระที่คล้องไปคือเหรียญหลวงปู่สี เมื่อทั้งหมดกลับมาถึงตาคลีก็รีบพากันมาที่วัด เช่าเหรียญหลวงปู่สีกันเป็นการใหญ่ ทั้ง ๔ คนนี้ข้าพเจ้ารู้จักดี จะเขียนชื่อ นามสกุลลง แต่ก็ได้รับการขอร้องไว้

    ก่อนที่จะมาอยู่ที่วัดเขาถ้ำบุญนาค อำเภอตาคลีนั้น หลวงปู่สีท่านอยู่ที่วัดหนองลมพุก อำเภอโนนสังข์ จังหวัดอุดรธานี ในปีพ.ศ.๒๕๑๒ พระครูนิวิฐปริยัติคุณ พร้อมด้วยชาวบ้าน ได้พากันไปนิมนต์หลวงปู่สีให้มาอยู่ที่วัดเขาถ้ำบุญนาค เพื่อช่วยสร้างวัดให้เจริญ ซึ่งขณะนั้นมีเพียงกุฏิเก่าๆเพียงสองสามหลังเท่านั้น หลวงปู่สีท่านก็เต็มใจมา เนื่องด้วยเพราะท่านเคยอยู่ในแถบนี้มาก่อน ในวันที่คณะผู้จะไปนิมนต์หลวงปู่สีจะไปถึงนั้น หลวงปู่สีท่านทราบล่วงหน้าแล้วว่าจะมีคนไปนิมนต์ท่าน ท่านเก็บของเครื่องใช้จำเป็นรอเอาไว้ล่วงหน้าแล้ว และสั่งที่วัดหนองลมพุกว่า วันนี้จะมีคนมารับให้ไปอยู่ที่ตาคลีเพื่อช่วยสร้างวัด ซึ่งก็เป็นไปตามที่ท่านบอกไว้ทุกประการ

    ในระยะแรกที่หลวงปู่สีมาอยู่ที่วัดเขาถ้ำบุญนาคนั้น ท่านจำพรรษาอยู่ที่กุฏิไม้ หลังเล็กๆหน้าปากทางขึ้นถ้ำ (ปัจจุบันรื้อไปแล้ว) ในขณะนั้นคนในตลาดตาคลียังไม่ค่อยมีใครรู้จักหลวงปู่สี และท่านก็ไม่ได้แสดงอิทธิฤทธิ์อันใดให้ใครรู้ วันหนึ่งๆท่านจะนั่งตะบันหมากฉัน การฉันหมากของท่านก็ไม่เหมือนใคร เพราะท่านไม่ได้ฉันเปลือกไม้ที่มีขายตามท้องตลาดเหมือนที่คนกินหมากทั่วไปซื้อมากิน หลวงปู่สี ท่านจะฉันแก่นไม้คูนแดงซึ่งจะมีคนตัดมาถวายตลอด ท่านจะนำมาฟันเป็นชิ้นๆ แล้วนำลงตำให้ละเอียดแล้วจึงฉันกับหมากแทนเปลือกไม้

    ในราวปลายปี พ.ศ.๒๕๑๓ ข้าพเจ้าได้ทราบจากเพื่อนว่า มีพระเป็นหลวงปู่แก่ๆ มาอยู่ที่วัดเขาถ้ำบุญนาค ข้าพเจ้าจึงชวนเพื่อนๆมาหา จุดประสงค์ที่มาหามิใช่ที่จะต้องการเครื่องรางของขลังแต่ประการใด แต่เพราะต้องการจะมาหาเลขเด็ด เพราะเพื่อนบอกว่าท่านบอกหวยได้แม่นยำมาก ในวันแรกที่มาหาท่านก็ไม่ได้แจกอะไรให้ แต่บอกใบ้หวยให้ ซึ่งหวยก็ออกตามที่ท่านบอก นับตั้งแต่นั้นมาข้าพเจ้าก็จะไปหาหลวงปู่สีเป็นประจำ อยู่มาวันหนึ่งข้าพเจ้าเห็นหลวงปู่สีมีอารมณ์ดี ข้าพเจ้าจึงถามหลวงปู่สีว่ามีของดีอะไรบ้าง ผมอยากจะได้เอาไว้ป้องกันตัว หลวงปู่สี ท่านขณะนั้นกำลังกินหมากอยู่ ก็คายชานหมากออกมาใส่ผ้าเหลืองที่ท่านใช้ทำเป็นผ้าขี้ริ้ว แล้วผูกส่งให้ข้าพเจ้าพร้อมทั้งบอกว่า”ห้ามแก้ออกนะ” หลวงปู่สี ท่านยังบอกอีกว่าหากใครเขาอยากยิงมึง มึงก็ถ่างก้นให้มันยิงเลย สามวันสามคืนก็ไม่ถูกมึง

    (คำพูดอันนี้มีนัยยะ คือคนที่เขามีของขลัง หรือสักยันต์กินว่าน ที่ว่าหนังเหนียวตีไม่แตกนั้น ถ้าจะฆ่าเอาชีวิตกันก็จะต้อง ใช้ไม้รวกทะลวงก้น เหมือนในเรื่องขุนช้าง-ขุนแผน ที่แสนตรีเพชรกล้า แม่ทัพเชียงใหม่ ฆ่าฟันเท่าไรก็ไม่ตายจนขุนแผนต้องเอาหลาวทะลวงก้นจึงถึงแก่ความตาย... หลวงปู่สี ท่านมีความมั่นใจมากในการอธิษฐานจิตของท่าน ถึงแม้คนที่ใช้ของๆท่านจะโดนยิงที่จุดตายจุดสำคัญก็ตาม ท่านรับรองว่าปลอดภัย)

    ข้าพเจ้ารับมาแบบไม่ค่อยเชื่อถือเมื่อกลับถึงบ้านแล้วก็นั่งคุยกับเพื่อนๆถึงเรื่องนี้ ขณะนั้นมีพ่อค้าวัว-ควาย เป็นชาวปาทานอยู่ในตาคลีนั่งฟังอยู่ด้วย ซึ่งเขาบอกว่าเขาอยากลองยิงดู ข้าพเจ้ามอบชานหมากของหลวงปู่สีให้เขาไป เขานำไปคล้องคอไก่แล้วยิงปืนรีวอลเวอร์ ขนาด .๓๘ ระยะห่างประมาณ ๑ วาเศษเท่านั้น เขายิงหมดไป ๖ นัดไม่เคยถูกไก่เลย สักนัดเดียว ทั้งๆที่เขาเป็นคนที่ยิงปืนได้แม่นยำมากคนหนึ่ง นับแต่นั้นมาข้าพเจ้าจึงเชื่อถือใน ชานหมากหลวงปู่สี

    หลังจากที่ชาวป่าทานยิงไก่ได้ประมาณสัก ๑ อาทิตย์ ได้มีนายทหารอากาศกองบิน ๔ ชื่อ เรืออากาศโทครรชิต บัวอำไพ (ปัจจุบันยศนาวาอากาศเอก ข้าพเจ้าขอกราบประทานอภัยที่ต้องเอ่ยนามของท่านไว้ ณ ที่นี้ด้วย) ได้มาคุยกับข้าพเจ้าเรื่องชานหมากของหลวงปู่สี ในลักษณะที่ท่านไม่เชื่อว่าจะเป็นไปได้ที่จะยิงไม่ถูก ข้าพเจ้าจึงมอบชานหมากที่มีอยู่ให้ไป ๑ ก้อนเพื่อให้ไปทดลอง เที่ยงวันรุ่งขึ้น เรืออากาศโทครรชิตฯ ได้มาหาข้าพเจ้าที่บ้านพร้อมกับเพื่อนนายทหารอากาศอีก ๕-๖ คนโดยขอให้ข้าพเจ้าช่วยพาไปวัดหน่อย ต้องการจะได้ชานหมากอีก พร้อมทั้งเล่าให้ฟังว่า เมื่อได้รับชานหมากไปจากข้าพเจ้าแล้วจึงได้นำไปทดลอง โดยนำไปคล้องคอเป็ดแล้วยิง แต่ยิงเท่าไรก็ไม่ถูก ใช้ปืนถึง ๔ กระบอก และคนยิงก็เป็นมือปืนของกองบินทั้งนั้น ครั้นนำเป็ดออกเอาก้อนหินไปวางแทน ยิงก้อนหินกระเด็นเลย แต่ยิงเป็ดยิงเท่าไรก็ไม่ถูกเป็นที่มหัศจรรย์ใจมาก จึงพาเพื่อนทหารที่อยู่ในเหตุการณ์มาหาข้าพเจ้า เพื่อให้ช่วยพาไปพบหลวงปู่สี ซึ่งข้าพเจ้าก็พาไปพบ และก็ได้ชานหมากกันมาทุกคน ส่วนก้อนที่นำไปทดลองยิงเป็ดนั้น เรืออากาศโทครรชิตได้นำไปเลี่ยมทองคล้องอยู่จนทุกวันนี้

    หลังจากนั้นมาทหารอากาศกองบิน ๔ ตาคลี ต่างก็หลั่งไหลมาฝากตัวเป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่สีอย่างมากมาย สถานีวิทยุกระจายเสียงทหารอากาศกองบิน ๔ ก็ออกอากาศเรื่องของหลวงปู่สีทุกวัน ทำให้หลวงปู่สีเป็นที่รู้จักกันทั่วไป และใครๆ ก็อยากได้ชานหมาก และวัตถุมงคลของหลวงปู่สี ทำให้หลวงปู่สีต้องเคี้ยวหมากแจกทั้งวัน ...... (ท่านสามารถอ่านเรื่องของหลวงปู่สี ฉันทสิริ วัดเขาถ้ำบุญนาค เพิ่มเติมได้ จากหนังสือ ”สู่แสงธรรม” ของท่าน พลอากาศตรี มนูญ ชมพูทีป (ยศเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๕) ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยงข้องกับหลวงพ่อฤาษีฯ ของเราด้วย ซึ่งที่ซอยสายลมยังมีวางจำหน่ายอยู่ครับ)

    กระผมขอกราบนมัสการ แทบเท้าหลวงปู่สี ฉันทสิริ ด้วยความเคารพอย่างสูง ธรรมใดที่ท่านบรรลุแล้ว ขอให้กระผมได้เข้าถึงธรรมนั้น โดยเร็วพลันด้วยเทอญ .....

    และกระผมขอกราบอาราธนาบารมี ของหลวงปู่สี ฉันทสิริ วัดเขาถ้ำบุญนาค หลวงพ่อฯ รวมทั้งครูบาอาจารย์ที่เคารพอย่างสูงทุกๆท่าน ได้โปรดคุ้มครอง ปกปักรักษาให้ทุกๆ ท่านโชคดี มีความสุข และได้บรรลุธรรมตามที่ท่านปรารถนาทุกประการ...ครับ

    ขออภัยครับ กระผมมีข้อมูลมาเพิ่มเติมอีกครับ เนื่องจากประวัติของหลวงปู่สี มีนักเขียนหลายท่านที่เขียนไว้ และแต่ละท่านก็อ้างว่าได้รับฟังมาจากหลวงปู่สี วัดเขาถ้ำบุญนาค หรือศิษย์ที่รับใช้ใกล้ชิด มีทั้งส่วนที่คล้ายคลึงกัน และแตกต่างกันบ้าง เพื่อให้เรื่องของท่านมีความสมบูรณ์ กระผมก็ขอนำเรียนเสนอเท่าที่พบ หากข้อความใดไม่เป็นความจริง กระผมขอกราบแทบเท้าหลวงปู่สี ฉันทสิริ วัดเขาถ้ำบุญนาค กรุณาอดโทษให้แก่กระผมผู้รู้เท่าไม่ถึงการณ์ด้วยเถิดครับ...

    ท่านนักเขียนที่ใช้นามว่า เต๋อ บางตัน เล่าว่า

    หลวงปู่สี ท่านเกิดเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๒ ในปลายสมัยรัชกาลที่๔ ที่ อ.รัตนะ จังหวัดสุรินทร์ ท่านใช้ชีวิตในวัยหนุ่มอย่างโชกโชน จนอายุ ๒๙ ปีจึงเข้ารับราชการเป็นทหารเรือ อยู่ในกรุงเทพฯหลายปี แล้วออกจากราชการ ไปมีอาชีพค้าวัวค้าควายอยู่ระยะหนึ่ง จวบจนอายุได้ ๓๙ ปี ก็เกิดความเบื่อหน่ายในโลกีย์วิสัย เห็นว่าชีวิตที่ผ่านมาไม่มีอะไรเป็นแก่นสาร ท่านจึงตัดสินใจทำการอุปสมบทที่วัดบ้านเส้า ซึ่งอยู่ใน อ.บ้านหมี่ในปัจจุบัน โดยมีพระครูธรรมขันธ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อบวชได้ประมาณ ๕ วันได้เดินธุดงค์มาจำพรรษาที่ถ้ำเขาไม้เสียบ ต.ช่องแค จ.นครสวรรค์ เป็นเวลา ๓ ปี

    ขณะที่อยู่ถ้ำเขาไม้เสียบนั้น ท่านพยายามฝึกฝนสมาธิจิต จนมีความกล้าแข็งพอสมควรแล้ว(แสดงว่าท่านพอมีพื้นฐานทางด้าน คาถาอาคม และการฝึกจิตมาตั้งแต่สมัยเป็นฆราวาส) ท่านก็ได้เริ่มออกเดินธุดงค์สู่สถานที่ต่างๆ พร้อมทั้งเสาะหาอาจารย์ที่เก่งกล้าในเวทย์วิทยาคมเพื่อขอศึกษาเล่าเรียน โดยเดินขึ้นเหนือบ้าง อีสานบ้าง บางครั้งก็เข้าประเทศลาว ท่านเคยเดินธุดงค์จากพม่าเข้าไปประเทศอินเดีย ถึง ๒ ครั้ง ท่านเคยหลงอยู่ในป่าดงดิบแถบประเทศพม่าหลายวัน โดยไม่ได้ฉันอาหารเลย จนเกือบเอาชีวิตไม่รอด แต่ด้วยสมาธิจิตที่กล้าแข็ง วันหนึ่งหลวงปู่สีก็เดินไปพบกับชาวบ้าน ๒ คนผัวเมียกลางป่า...

    สองผัวเมียนั้นบอกท่านว่า แถบนี้ไม่มีบ้านผู้คนอยู่เลยสักหลังเดียว อีกทั้งเสือ สาง ช้างป่า ก็ชุกชุม มีคนหลงป่าตายในป่าแถบนี้หลายรายแล้ว พร้อมทั้งมอบยาให้ท่าน ๑ เม็ด บอกว่าเป็นยาสมุนไพร ปรุงจากรากไม้หลายชนิด เมื่อฉันแล้วจะทำให้อายุยืน ร่างกายแข็งแรง และทำให้ไม่หิวข้าว หิวน้ำ เมื่อท่านลองฉันดูก็เป็นจริงดังที่ชาวบ้าน สองผัวเมียบอก จึงคิดจะขอบใจแต่ปรากฏว่าหายไปแล้ว จึงรู้ว่าที่แท้แล้วเป็นเทวดามามอบยาทิพย์ให้ท่านนั่นเอง เพราะแถบนั้นไม่มีบ้านคน ซึ่งจากยาที่ท่านฉันนี่เองกระมัง ท่านจึงมีอายุยืนยาวถึง ๑๒๘ ปี

    เมื่อพบกับเทวดาแล้ว ท่านก็เดินหาทางออกจากป่าลึก ไม่นานก็พบกับช้างป่าโขลงใหญ่ ท่าทางดุร้าย แต่แปลกที่ช้างทั้งหมดคุกเข่าลงชูงวงแสดงความเคารพหลวงปู่สี เป็นที่อัศจรรย์ ท่านจึงขึ้นขี่คอช้างจ่าฝูง ให้มันพาออกจากป่าไปส่งที่ชายแดนพม่า ชาวบ้านป่าเห็นเข้าก็ตกอกตกใจกันใหญ่ ถามว่าเพราะเหตุใดช้างป่าจึงไม่ทำร้าย เพราะช้างป่าโขลงนี้ ปกติหากพบคน ไม่ว่าชาวบ้านหรือพระธุดงค์ มักจะเหยียบจนตาย แต่มันไม่ทำอะไรหลวงปู่สีทั้งยังพากันมาส่งถึงชายป่า ท่านก็ไม่ว่ากระไร หัวเราะหึๆ แล้วเดินจากไปโดยไม่พูดอะไรเลย

    คราวหนึ่งมีชาวบ้านตาคลีเดินทางไปกราบนมัสการหลวงปู่แหวนที่วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่ พอหลวงปู่แหวนรู้ว่ามาจากตาคลี ท่านก็ไล่ให้กลับ บอกว่า “มีเพชรอยู่ในบ้าน ยังไม่รู้จักอีก หลวงปู่สีน่ะ เป็นอาจารย์ของฉันเอง ฉันจะเก่งกว่าท่านได้อย่างไร” ชาวบ้านกลุ่มนั้นก็เดินทางกลับตาคลี มากราบหลวงปู่สีถามถึงเรื่องนี้ว่า จริงเท็จประการใด หลวงปู่ฯเล่าว่าหลวงปู่แหวนมาฝากตัวเป็นศิษย์ของท่านนานแล้ว ก่อนที่จะเป็นลูกศิษย์ของอาจารย์มั่น โดยท่านพบกับหลวงปู่แหวนที่จังหวัดเลย ขณะนั้นหลวงปู่แหวนยังเป็นพระหนุ่มๆ อยู่

    หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า กับหลวงปู่สีมีความสนิทสนมกันมาก บางครั้งหลวงปู่สีจะมาจำพรรษาที่วัดปากคลองมะขามเฒ่า และแลกเปลี่ยนวิชาบางอย่างกัน วิชาของทั้งสองท่านจะมีลักษณะคล้ายๆ กัน เช่น การย่นระยะทาง การเสกใบไม้ เป็นต้น หลวงปู่ศุขมีอายุมากกว่าหลวงปู่สีประมาณ ๒ ปี ฉะนั้นหลวงปู่สีจึงมักเรียกหลวงปู่ศุขว่า หลวงพี่

    หลวงปู่สี เล่าให้ศิษย์ฟังว่า ในวันออกพรรษาท่านมักจะออกจากวัดที่ท่านจำพรรษา เพื่อธุดงค์ต่อไปที่อื่นๆ ในคราวที่จำพรรษาอยู่ที่วัดปากคลองมะขามเฒ่านั้น หลังจากออกพรรษาแล้วหลายวัน ท่านก็คิดว่าจะเดินธุดงค์ต่อไป แต่หลวงปู่ศุขขอให้ท่านรั้งอยู่ที่วัดก่อนรอให้ท่านกลับมาแล้วค่อยไป แต่ท่านอาจจะเห็นว่าเลยกำหนดมาหลายวันแล้ว พอหลวงปู่ศุขออกบิณฑบาต ท่านก็เก็บของ แล้วออกเดินทางทันทีไม่ยอมอยู่ตามคำขอ เมื่อหลวงปู่ศุขกลับจากบิณฑบาต ถามพระเณรในวัดก็รู้ว่าหลวงปู่สีไปแล้ว ท่านจึงสั่งให้พระเณรฉันข้าวไปก่อน แต่ให้ฉันรอท่านด้วย แล้วหลวงปู่ศุขก็เข้ากุฏิหอบเอาคัมภีร์ไสยศาสตร์ ๓ เล่มตามหลวงปู่สีไป ปรากฏว่าไปทันกันที่อ.ตาคลี จึงมอบคัมภีร์ทั้ง ๓ เล่มให้หลวงปู่สี แล้วจึงกลับมาที่วัด ปรากฏว่าพระเณรที่วัดเพิ่งฉันข้าวได้ไม่กี่คำเท่านั้น ซึ่งไม่น่าจะเป็นไปได้ เพราะระยะทางจากวัดปากคลองมะขามเฒ่า ไปอ.ตาคลี ประมาณ ๔๐-๕๐ กิโลเมตร นั่งรถยนต์ยังต้องใช้เวลาเกือบชั่วโมง แสดงว่าหลวงปู่ศุขใช้วิชาย่นระยะทาง พวกลูกศิษย์ก็ถามหลวงปู่สีว่า ชั่วเวลาที่หลวงปู่ศุขไปบิณฑบาต หลวงปู่สีเดินจากวัดปากคลองมะขามเฒ่ามาถึงตาคลีได้อย่างไร ท่านนิ่งไม่ตอบ แล้วล้มตัวลงนอนทันที ลูกศิษย์เลยไม่กล้าซักต่อ

    หลวงปู่สีท่านเดินธุดงค์ไปหลายจังหวัด หลายประเทศเกือบตลอดระยะเวลาที่ท่านบวช จนท่านอายุได้ประมาณ ๙๐ ปี ครั้งสุดท้ายท่านไปสร้างวัดหนองลมพุก อ.โนนสังข์ จ.อุดรธานี ท่านพระครูนิวิฐปริยัติคุณ (สมบูรณ์) จึงไปนิมนต์ท่านลงมาช่วยสร้างวัดเขาถ้ำบุญนาค ซึ่งตอนนั้นยังเป็นสำนักสงฆ์ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๒

    หลวงปู่สี ท่านเป็นพระที่ไม่สะสม ไม่ยึดติดในความสะดวกสบาย ท่านอยู่กุฏิไม้เก่าๆ หลังเล็กๆ ท่านพระครูฯเจ้าอาวาสจะสร้างกุฏิหลังใหม่ให้ แต่ท่านไม่ชอบ บอกว่าจะไม่ไปอยู่ พอช่างก่ออิฐเสร็จจะฉาบปูน ปรากฏว่าตั้งแต่เช้าถึงเที่ยงฉาบไม่ติด จนต้องเลิก พระรักษ์ซึ่งเป็นพระอุปัฏฐากของหลวงปู่สีจึงไปเรียนถามหลวงปู่สีว่า ทำไมไปแกล้งช่างปูน หลวงปู่สีว่าท่านไม่ได้แกล้งเพียงแต่ท่านไม่อยากอยู่กุฏิใหม่ พระรักษ์จึงบอกว่า หากหลวงปู่ไม่อยากอยู่ก็ไม่เป็นไร ให้ช่างปูนเขาสร้างให้เสร็จเถิด หลวงปู่สี จึงบอกให้ช่างมาทำใหม่ และทำเสร็จในวันนั้น แต่ท่านก็ไม่เคยใช้เลย จนท่านมรณภาพแล้ว จึงนำร่างของท่านบรรจุในโลงแก้ว แล้วประดิษฐานไว้ที่กุฏินี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 มกราคม 2013
  5. krit_eng99

    krit_eng99 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    791
    ค่าพลัง:
    +2,228
    ประมาณปี ๒๕๑๙ ทาง วัดโพธิ์ทอง อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ ต้องการหารายได้ เพื่อก่อสร้างถาวรวัตถุ จึงมาขอบารมีท่านหล่อรูปเหมือนขนาด ๓ นิ้ว ของท่านเพื่อให้ประชาชนเช่าบูชา แต่ปรากฏว่าท่านอาพาธอยู่ที่โรงพยาบาล จึงขออนุญาตจากเจ้าอาวาส ต่อมาข่าวนี้ออกทางวิทยุ หลวงปู่ท่านได้ยิน ท่านลุกจากเตียงทันทีแล้วถามว่า ใครเอารูปกูไปหล่อ พระรักษ์ตอบว่า วัดโพธิ์ทองครับหลวงปู่ มาขอกับเจ้าอาวาสแล้ว ท่านบอกว่า ”มันไม่เคารพกู หล่อรูปกูไป ถ้าไม่เอามาให้กู ก็จำหน่ายไม่ออก” ปรากฏว่าจำหน่ายไม่ออกจริงๆ จนต้องนำมามอบให้หลวงปู่สี ๘๐๐ องค์ เก็บไว้ที่วัดโพธิ์ทอง ๒๐๐ องค์ ส่วนที่ถวายหลวงปู่สีนั้นมีคนมาเช่าบูชาเกือบหมด แต่ที่วัดโพธิ์ทองไม่มีคนไปเช่าบูชาเลย นับว่าวาจาของหลวงปู่สีศักดิ์สิทธิ์จริงๆ



    เมื่อต้นปี ๒๕๑๙ ทางวัดเขาถ้ำบุญนาค มีงานประจำปีตรงกับวัดหนึ่งทางชลบุรี ซึ่งมานิมนต์หลวงปู่สีไปเป็นประธาน โดยท่านรับปากว่าจะไปในวันที่ ๑๘ มีนาคม พอถึงวันที่กำหนด พระเณรก็เห็นท่านอยู่ที่วัดไม่ได้ไปไหน แต่วันที่ ๑๙ มีนาคม ชาวชลบุรีที่ได้ยินกิตติศัพท์ของหลวงปู่ ก็เหมารถตามมาที่วัดเขาถ้ำบุญนาค ถามหาหลวงปู่สี แล้วถามว่า เมื่อวานนี้หลวงปู่ใช่ไหมที่ไปพรมน้ำมนต์ให้ญาติโยมที่ชลบุรี พระเณรที่นั่งอยู่ด้วยถึงกับงง ถามว่าหลวงปู่ไปกับใคร หลวงปู่ไม่ตอบ ล้มตัวลงนอนตามเคย พอถึงเพล ชาวชลบุรีก็นำอาหารที่เตรียมไปมาถวาย ท่านก็ลุกขึ้นมารับประเคน แล้วนั่งยองฉันอาหาร มีแมวหมาล้อมหน้าล้อมหลัง ชาวชลบุรีเห็นอย่างนั้นก็หมดศรัทธา ว่าท่านไม่ค่อยสำรวม ได้เดินทางต่อไปวัดท่าซุง จ.อุทัยธานี เพื่อกราบนมัสการหลวงพ่อฤาษีฯ และได้เล่าให้หลวงพ่อฤาษีฯ ฟังถึงหลวงปู่สี ว่าเป็นพระไม่น่านับถือ หลวงพ่อฯ กลับตอบว่า กราบฉันแสนครั้งยังไม่เท่าได้กราบหลวงปู่สีครั้งเดียว ต่อมาศิษย์ชาวชลบุรีกลุ่มนี้กลายมาเป็นศิษย์ที่นับถือหลวงปู่สีมากที่สุดกลุ่มหนึ่ง

    ที่อำเภอตาคลีมีเด็กคนหนึ่ง พ่อแม่นับถือหลวงปู่สีมากได้เอาเหรียญของท่านให้เด็กห้อยคอ ต่อมาเด็กเป็นหัดแล้วตาย พ่อแม่ก็จัดการเผาตามประเพณี ปรากฏว่าเผาศพหมดถ่านไป ๒ กระสอบ ก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะไหม้ จึงลองเขี่ยดูตามตัว พบเหรียญผูกเชือกร่มห้อยคออยู่ จึงนำมาดูด้วยความแปลกใจเพราะแม้แต่เชือกร่มก็ยังไม่ละลาย ต้องนำเหรียญออกจึงเผาได้ตามที่ต้องการ

    ศิษย์ของท่านคนหนึ่ง มีบ้านเดิมอยู่ที่จังหวัดพิจิตร เป็นเจ้าของวงดนตรี และเป็นนักร้องรูปหล่อ (หากบอกชื่อ นักฟังเพลงทุกคนจะต้องรู้จัก) เคยมาหาท่านแล้วปรับทุกข์ว่า เงินที่ขายที่ทางได้หลายล้านนั้น เลี้ยงลูกวงไปเกือบหมดแล้ว เหลือเพียงไม่กี่แสนบาท ขอให้หลวงปู่แนะนำว่าควรจะเลิกวงดนตรี หรือเล่นต่อไป หลวงปู่สีบอกว่าให้เล่นต่อเพราะว่าต่อไปนี้จะดังไปทั่วประเทศ ศิษย์คนนั้นก็ให้สัจจะว่า ถ้าดังทั่วประเทศเหมือนหลวงปู่ว่าจริง จะมาเล่นฟรีให้วัดปีละครั้งทุกปี ต่อมาก็ปรากฏว่าวงดนตรีนี้มีชื่อเสียง ระดับเดียวกับวงดนตรีสายัณห์ สัญญา รับงานแสดงทั่วประเทศ สร้างความร่ำรวยให้เป็นอย่างมาก และเขาก็นำวงมาแสดงตามสัญญาทุกปี จนกระทั่งหลวงปู่สีมรณภาพ ก็ยังมาเล่นให้ฟรีจนถึงปี ๒๕๒๕ ก็ไม่มาเล่นเช่นเคย พอปี ๒๕๒๖ ชื่อเสียงของวงก็เริ่มตกต่ำลงเรื่อยๆ จนในปี ๒๕๒๗ จึงกลับมาขอขมาเล่นให้ฟรีอีก ปัจจุบันนี้เริ่มมีชื่อเสียงขึ้นมาอีกครั้ง (ตอนเขียนเรื่องนี้ปี ๒๕๒๘ นะครับ) ใครเคยให้สัจจะไว้กับหลวงปู่สี ถ้าไม่รักษาสัจจะ จะต้องมีอันตกต่ำไม่มีความเจริญ

    ปกติหลวงปู่สีท่านชอบหมอลำมาก (เข้าใจว่าเป็นแหล่เทศน์ แต่ลูกศิษย์เข้าใจว่าเป็นหมอลำ) เมื่อท่านมรณภาพไปแล้วทุกปีในวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ทางวัดจะจัดงานครบรอบวันมรณภาพของท่าน โดยมีหนังกลางแปลง ๑ จอ และหมอลำ จัดมาได้สองปี ปีต่อไปงดหมอลำ ให้มีหนังกลางแปลงอย่างเดียวเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย ปรากฏว่ารถฉายภาพยนตร์ไปเสียกลางทาง จน ๓ ทุ่มจึงได้ตั้งจอ พอจะฉายไฟดับ ต้องแก้ระบบไฟฟ้า และฝนตั้งเค้ามาทันทีทันใด แล้วตกอย่างหนัก เป็นอันว่าฉายภาพยนตร์ไม่ได้ จนต่อมาต้องมีหมอลำ (แหล่เทศน์)ถวายท่านด้วย (นี่แหละครับ ถือเป็นบทเรียน ลูกศิษย์เวลาจะทำอะไรต้องเคารพครูบาอาจารย์ ต้องขออนุญาตท่านก่อน เมื่อคราววัดโพธิ์ทองหล่อรูปหลวงปู่สี ก็ครั้งหนึ่งแล้ว น่าจะจำกันไว้ พวกเราลูกศิษย์หลวงพ่อฯ ก็ขอให้ถือเป็นแบบอย่าง อะไรไม่แน่ใจให้เรียนถามท่านก่อน มโนมยิทธิก็ได้กันเยอะแยะ จะทำอะไรเรียนถามท่านก่อนจะปลอดภัยที่สุดครับผม)

    หลวงปู่สีท่านป่วยด้วยโรคต่อมลูกหมากบวม โดยเข้าโรงพยาบาลเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๑๙ และเข้าๆ ออกๆ โรงพยาบาลอยู่ ๒-๓ ครั้ง พอถึงปลายเดือน ๓ ท่านก็บอกกับพระเณรในวัดว่า เดือน ๔ ท่านจะไปแล้ว ซึ่งก็เป็นจริงตามนั้น ท่านมรณภาพในวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๐ เวลา ๓ โมงเย็น ตรงกับ วันขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๔ อายุ ๑๒๘ ปี

    ก่อนท่านมรณภาพ ท่านพระครูนิวิฐปริยัติคุณ ถามท่านว่า หากหลวงปู่สีไปแล้วใครจะสร้างศาลาต่อล่ะ เพราะยังสร้างค้างอยู่ ท่านบอกว่า เสร็จแน่ จะมีคนช่วยสร้างเยอะ อย่าเอาศพท่านไปเผาก็แล้วกัน ซึ่งต่อมาศพของหลวงปู่สี ก็ไม่เน่าเปื่อย มีผู้คนศรัทธาไปร่วมทำบุญสร้างศาลากันมาก จนศาลาเสร็จเรียบร้อย และยังมีเงินเหลือพอที่จะสร้างหอสวดมนต์ได้อีก ๑ หลัง ในปี พ.ศ. ๒๕๒๓ หลังจากท่านมรณภาพแล้ว ๓ ปี คณะศิษย์ได้นำศพท่านออกมาจากโลงแก้ว เพื่อจะเปลี่ยนผ้าครองให้ท่านใหม่ ช่างภาพในอำเภอตาคลี มาขอกรรมการถ่ายรูปท่านไป ๕ รูป เมื่อล้างฟิล์มออกมา ปรากฏว่าไม่ติดสักรูปเดียว รูปอื่นๆ อีก ๓๑ รูป มีภาพทุกใบ เป็นเรื่องอัศจรรย์มาก เพราะแม้แต่ศพของท่านยังถ่ายรูปไม่ติด หากผู้ใดจะถ่ายรูปศพท่าน จะต้องจุดธูป ๙ ดอก ขอต่อท่านก่อน มิฉะนั้นจะถ่ายรูปไม่ติดเพราะเป็นเช่นนี้หลายรายแล้ว ชาวตาคลีรู้เรื่องนี้ดีทุกคน

    [​IMG]

    มีบางคนไปนมัสการพระศพของหลวงปู่สี แล้วนำเอาเถ้าขี้ธูป และก้านธูปในกระถางหน้าศพท่าน กลับไปเลี่ยมห้อยคอแทนพระเครื่อง ปรากฏว่ามีอานุภาพดีมากทางป้องกันอันตรายต่างๆ อีกทั้งโชคลาภค้าขายก็ไม่ใช่ย่อย ฉะนั้นก้านธูป และขี้ธูปในกระถางธูปหน้าศพท่าน จึงมักไม่ค่อยมีเหลือ หากผู้ใดไปนมัสการท่าน ลองจุดธูปแล้วอธิษฐานขอจากหลวงปู่สี แล้วดึงเอามาบูชาเพียงก้านเดียวก็พอ อย่าโลภมากเป็นอันขาด รับรองว่าใช้แทนวัตถุมงคลของท่านได้เป็นอย่างดี


     
  6. krit_eng99

    krit_eng99 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    791
    ค่าพลัง:
    +2,228
    อภินิหารของหลวงพ่อและหลวงปู่สี
    [​IMG]
    (ชานหมากหลวงปู่สีห่อด้วยผ้าจีวร)
    ".......เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๕๑๖ ข้าพเจ้าได้ซื้อรถวอลโว่ใหม่ ๑ คัน ก็ได้นำไปให้หลวงพ่อเจิมให้ที่วัดท่าซุง ต่อมาเมื่อได้มีโอกาสไปกราบหลวงปู่สีบ่อยๆ เข้าก็ได้รู้ถึงความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงปู่สีมากขึ้น อาทิเช่นมีชาวไร่ข้าวโพดได้ ชานหมาก ของหลวงปู่สีไป และเกิดไปทำหายในขณะหักข้าวโพดในไร่ จะหาอย่างไรก็หาไม่พบเพราะดงข้าวโพดกว้างใหญ่ไพศาลมาก แต่เนื่องจิตมีความเสียดายในชานหมาก และเคารพนับถือด้วยความจริงใจ ตอนกลางคืนก็ฝันว่า

    .......“หลวงปู่สีมาบอกว่าหากอยากได้ชานหมากให้เผาไร่ข้าวโพดเสีย แล้วจะพบเอง”

    พอรุ่งเช้าชาวไร่ข้าวโพดผู้นั้นก็จุดไฟเผาไร่ข้าวโพดทันที (ข้าวโพดในไร่หักหมดแล้ว) เมื่อไร่ข้าวโพดถูกไฟเผาราบเรียบหมดก็เห็นต้นข้าวโพดอยู่ ๒-๓ ต้นที่ไม่ไหม้ไฟจึงตรงเข้าไปดู ก็พบชานหมากของหลวงปู่สี ซุกอยู่โครข้าวโพดก็ดีใจมาก ตรงเข้าเก็บชานหมากหลวงปู่ไว้ แล้วนำไปเลี่ยมคล้องคอมาจนบัดนี้


     
  7. เพพัง

    เพพัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,756
    ค่าพลัง:
    +8,250
    โอนให้แล้ว รายละเอียดแจ้งทางพีเอ็มแล้ว

    โมทนาครับ
     
  8. krit_eng99

    krit_eng99 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    791
    ค่าพลัง:
    +2,228
    รูปมวลสารที่เป็นผง...ทยอยลงให้ชมต่อครับ

    ผงหลวงพ่อลี วัดอโศการาม
    [​IMG]

    หลวงปู่คง วัดแหลมฉบังเก่า
    [​IMG]

    หลวงพ่อเลื่อน วัดสามแก้ว ชุมพร
    [​IMG]

    ผงเหล็กไหลโภคทรัพย์
    [​IMG]

    ผงดอกไม้งานหลวงตาผสมชานหมากหลวงตามหาบัว
    [​IMG]
     
  9. krit_eng99

    krit_eng99 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    791
    ค่าพลัง:
    +2,228

    ผงพระแตกหัก หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
    [​IMG]

    ผงพุทธคุณเสกโดยคณาจารย์กว่า ๒๐๐ รูป
    [​IMG]

    ผงพระแตกหัก พระมงคลมหาลาภ คุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติม
    ผงพระแตกหัก พระสมเด็จ กรุวัดคลองขอม
    ผงงาช้างดำกลายเป็นหิน หลวงปู่หมุน
    [​IMG]

    ผงพระแตกหัก พระกรุ หลวงปู่แขก วัดบางบำหรุ
    ผงพุทธคุณ อ.อนันต์ สวัสดิสวนีย์ อดีตผู้อำนวยการกองช่างสิบหมู่กรมศิลปากร
    ผงพระแตกหัก ขุนแผนบ้านกร่าง
    [​IMG]
    [​IMG]

     
  10. krit_eng99

    krit_eng99 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    791
    ค่าพลัง:
    +2,228

    ผงพระกรุเนื้อดินเชียงใหม่ อยุธยา วังหน้า
    ผงรวม อัฐ อังคาร เกศา, ผงหลวงปู่โต๊ะ, หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค, หลวงพ่อมุ่ย, หลวงปู่ทิม วัดระหารไร่
    ผงพระแตกหัก พระนะชาลิติ พระสูตร ดาว หลวงพ่อผินะ
    ผงคำข้าวไตรมาส หลวงปู่จาม
    ผงพระแตกหัก พระกรุนาดูน
    ผงพุทธคุณหลวงพ่อโชติ วัดภูเขาแก้ว
    ชอร์คผงพุทธคุณ หลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์, หลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]

     
  11. krit_eng99

    krit_eng99 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    791
    ค่าพลัง:
    +2,228
    ผงพุทธคุณหลวงพ่อสังวาล เขมโก
    ผงพุทธคุณหลวงปู่สรวง เทวดาเดินดิน
    [​IMG]

    ผงพระสมเด็จบางขุนพรหมแตกหัก คตหอยปากกรุบางขุนพรหม
    ผงพระสมเด็จเกศไชโยแตกหัก
    ผงจากลูกอมหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค
    [​IMG]
    [​IMG]

    ผงพระแตกหัก พระกริ่งคลองตะเคียน
    [​IMG]

    ผงพระแตกหัก พระกรุ วัดสามปลื้ม
    [​IMG]
     
  12. krit_eng99

    krit_eng99 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    791
    ค่าพลัง:
    +2,228
    ผงปถมัง อ.ชุม ไชยคีรี
    ผงพระแตกหัก พระกรุบางกระทิง
    [​IMG]

    ผงพุทธคุณหลวงพ่อจรัญ
    ผงพระแตกหัก หลวงพ่อกาหลง วัดเขาแหลม
    [​IMG]


    และมวลสารอีกมาก
     
  13. ไทยโคราช

    ไทยโคราช เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    221
    ค่าพลัง:
    +655
    วันนี้ ได้โอนเงินจากกรุงไทยเข้าบัญชี กสิกรไทย จำนวน 1100 บาท แล้ว
     
  14. krit_eng99

    krit_eng99 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    791
    ค่าพลัง:
    +2,228
    อนุโมทนาครับ
     
  15. krit_eng99

    krit_eng99 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    791
    ค่าพลัง:
    +2,228
    ประวิติครูบาชัยยะวงศาพัฒนา ( พระครูพัฒนกิจจานุรักษ์ )

    [​IMG]


    สงฆ์สาวกพระภาคเจ้า……หมู่ใด
    ปฏิบัติตามพระวินัย……………ชอบแล้ว
    ประพฤติเพื่อพ้นไป………จากทุกข์ทั้งปวง
    อีกหนึ่งสรณะแก้ว …………… นบเกล้านมัสการ

    ชาติภูมิ

    นามเดิม วงศ์หรือชัยวงศ์ นามสกุล ต๊ะแหนม เกิดที่ ตำบลหันก้อ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน เกิดเมื่อ วันอังคาร เดือน ๗ ( เหนือ ) แรม ๒ ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันที่ ๒๒ เมษายน ๒๔๕๖ เวลา ๒๔.๑๕ นาฬิกา มีพี่น้องรวม ๙ คน ท่านเป็นบุตรคนที่ ๓

    ชิวิตในวัยเด็ก

    ท่านเกิดในตระกูลชาวไร่ชาวนาที่ยากจน พ่อแม่ของท่านมีสมบัติติดตัวมาแค่นา ๓-๔ ไร่ ควาย ๒-๓ ตัว ทำนาได้ข้าวปีละ ๒๐-๓๐ หาบ ไม่พอกินเพราะต้องแบ่งไว้ทำพันธุ์ส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งเอาไว้ใส่บาตรทำบุญบูชาพระ ส่วนที่เหลือจึงจะเก็บไว้กินเอง ต้องอาศัยขุยไผ่ขุยหลวกมาตำเอาเม็ดมาหุงแทนข้าว และอาศัยของในป่า รวมทั้งมันและกลอยเพื่อประทั้งชีวิต บางครั้งต้องอดมื้อกินมื้อก็มี แม่ต้องไปขอญาติพี่ๆน้องๆ เขาก็ไม่มีจะกินเหมือนกัน แม่ต้องกลับมามือเปล่า พร้อมน้ำตาบนใบหน้ามาถึงเรือน ลูกๆก็ร้องไห้เพราะหิวข้าว

    แม้ว่าครอบครัวของท่านต้องดิ้นรนต่อสู้กับความอดทนอยากแต่ก็ไม่ได้ละทิ้งเรื่องการทำบุญให้ทาน ข้าวที่แบ่งไว้ทำบุญ แม่จะแบ่งให้ลูกทุกคนๆละปั้น ไปใส่บาตรบูชาพระพุทธทุกวันพระ

    โยมพ่อเคยสอนว่า " ตอนนี้พ่อแม่อด ลูกทุกคนก็อด แต่ลูกๆทุกคนอย่าท้อแท้ใจ ค่อยทำบุญไปเรื่อยๆ บุญมีภายหน้าก็จะสบาย " และโยมพ่อเคยพูดกับท่านว่า

    " ลูกเอ๋ยเราทุกข์ขนาดนี้เชียวหนอ ข้าวจะกินก็ไม่มี ต้องกินไปอย่างนี้ ค่อยอดค่อยกลั้นไป บุญมีก็ไม่ถึงกับอดตายหรอก ทรมานมานานแล้ว ถึงวันนี้ก็ยังไม่ตาย มันจะตายก็ตาย ไม่ตายก็แล้วไป ให้ลูกอดทนไปนะ ภายหน้าถ้าพ่อยังไม่ตายเสียก่อนก็ดี ตายไปแล้วก็ดี บางทีลูกจะได้นั่งขดถวายหงายองค์ตีน ( บวช ) กินข้าวดีๆอร่อยๆ พ่อนี่จะอยู่ทันเห็นหรือไม่ทันก็ยังไม่รู้ "

    ผู้มีความขยันและอดทน

    ในสมัยที่ท่านยังเล็กๆอายุ ๓-๔ ขวบ ท่านมีโรคประจำตัวคือ โรคลมสันนิบาต ลมเปี่ยวลมกัง ต้องนั่งทุกข์อยู่เป็นวันเป็นคืน เดินไปไกลก็ไม่ได้ วิ่งก็ไม่ได้เพราะลมเปี่ยว ตะคริวกินขากินน่อง เดินเร็วๆก็ไม่ได้ ต้องค่อยไปค่อยยั้ง เวลาอยู่บ้านต้องคอยเลี้ยงน้อง ตักน้ำติดไฟไว้คอยพ่อแม่ที่เข้าไปในป่าหาอาหาร

    ในช่วงที่ท่านมีอายุได้ ๕-๑๐ ขวบ ท่านต้องเป็นหลักในบรรดาพี่น้องทั้งหมดที่ต้องช่วยงานพ่อแม่มากที่สุด เวลาพ่อแม่ไปไร่ไปนาก็ไปด้วย เวลาพ่อแม่ไปหากลอยขุดมัน หาลูกไม้ในป่า ท่านก็ไปช่วยขุดช่วยหาบกลับบ้าน บางครั้งพ่อแม่หลงทางเพราะไปหากลอยตามดอยตามเนินเขา กว่าจะหากลอยได้เต็มหาบก็ดึก ขากลับพ่อแม่จำทางไม่ได้ ท่านก็ช่วยพาพ่อแม่กลับบ้านจนได้

    ครั้นถึงหน้าฝน พ่อแม่ออกไปทำนา ท่านก็ติดตามไปช่วยทุกอย่าง พ่อปั้นคันนาท่านก็ช่วยพ่อ พ่อไถนาท่านก็คอยจูงควายให้พ่อ เวลาแม่ปลูกข้าวก็ช่วยแม่ปลูกจนเสร็จ

    เสร็จจากหน้าทำนา ท่านก็จะเผาไม้ในไร่เอาขี้เถ้า ไปขุดดินในถ้ำมาผสม ทำดินปืนไปขาย ได้เงินซื้อข้าวและเกลือ บางครั้งก็ไปอยู่กับลุงน้อยเดชะรับจ้างเลี้ยงควาย บางปีก็ได้ค่าแรงเป็นข้าว ๒-๓ หาบ บางปีก็เพียงแต่ขอกินข้าวกับลุง พอตุนท้องตุนไส้ไปวันๆ

    พอถึงเวลาข้าวออกรวง นกเขาจะลงกินข้าวในนา ท่านก็จะขอพ่อแม่ไปเฝ้าข้าวในนาตั้งแต่เช้ามืด กว่าจะกลับก็ตะวันลับฟ้าไปแล้ว

    ผู้มีความกตัญญู

    หลวงพ่อมีความกตัญญูมาตั้งแต่เด็ก ท่านช่วยพ่อแม่ทำงานต่างๆ ทุกอย่างเท่าที่ทำได้ ตั้งแต่อายุได้ประมาณ ๕ ขวบ ท่านก็ช่วยพ่อแม่เฝ้านา เลี้ยงน้อง ตลอดจนช่วยงานทุกอย่างของพ่อแม่ เมื่อเวลาที่พ่อแม่หาอาหารไม่ได้ ท่านก็จะไปรับจ้างชาวบ้านแถบบ้านก้อทำความสะอาด หรือช่วยเฝ้าไร่นา เพื่อแลกกับข้าวปลาอาหารมาให้พ่อแม่และน้องๆกิน

    ในบางครั้งอาหารที่ได้มาหรือที่พ่อแม่จัดหาให้ไม่เพียงพอกับคนในครอบครัว ด้วยความที่ท่านมีนิสัยเสียสละ และไม่ต้องการให้พ่อแม่ต้องเจียดอาหารของท่านทั้งสองซึ่งมีน้อยอยู่แล้วออกมาให้ท่านอีก ท่านจึงได้บอกว่า " กินมาแล้ว " เพื่อให้พ่อแม่สบายใจ แต่พอลับตาผู้อื่น หรือเมื่อผู้อื่นในบ้านหลับกันหมดแล้ว ท่านก็จะหลบไปดื่มน้ำ หรือบางครั้งจะหลบไปหาใบไม้ที่พอจะกินได้มาเคี้ยวกิน เพื่อประทังความหิวที่เกิดขึ้น ท่านเติบโตขึ้นมาโดยพ่อแม่เลี้ยงข้าวท่านไม่ถึง ๑๐ ถัง แต่ท่านในสมัยเป็นเด็ก กลับหาเลี้ยงพ่อแม่มากกว่าที่พ่อแม่หาเลี้ยงท่าน

    นิสัยกล้าหาญ

    เมื่อท่านอายุได้ประมาณ ๑๐ ขวบ ท่านต้องออกไปเฝ้านาข้าว เพื่อคอยไล่นกที่จะมากินข้าวในนา ท่านต้องออกจากบ้านตั้งแต่ตี ๔ ยังไม่สว่าง นกยังไม่ตื่นออกหากิน การที่ท่านต้องออกไปไร่นาแต่เพียงลำพังคนเดียวเป็นประจำ ทำให้ลุงตาลซึ่งเป็นเพื่อนบ้านของท่านอดสงสัยไม่ได้ จนต้องเข้ามาถามท่าน

    ลุงตาล " มึงนี้เป็นผีเสือหรือไร แจ้งมากูก็เห็นมึงที่นี่ มึงไม่ได้นอนบ้านหรือ ? "

    ด.ช.วงศ์ " เมื่อนกหนูนอนแล้ว ข้าจึงกลับไปบ้าน เช้ามืดไก่ขัน หัวทียังบ่แจ้ง นกยังบ่ลงบ่ตื่น ข้าก็มาคนเดียว "

    ลุงตาล " ไม่กลัวเสือ ไม่กลัวผีป่าหรือ ? "

    ด.ช.วงศ์ " ผีเสือมันก็รู้จักเรา มันไม่ทำอะไรเรา เราเทียวไปเทียวมา มันคงรู้ และเอ็นดูเรา บางวันตอนเช้าเราเห็นคนเดินไปข้างหน้า เราก็เดินตามก็ไม่ทัน จนถึงไร่มันก็หายไป เราก็เข้าใจว่ามันไปส่งเรา เราก็ไม่กลัว บางเช้าก็ได้ยินเสียงเสือร้องไปก่อนหน้า "

    ลุงตาล " ไม่กลัวเสือหรือ ? "

    ด.ช.วงศ์ " เราไม่กลัว มันเป็นสัตว์ เราเป็นคน มันไม่รังแกเรา มันคงสงสารเราที่เป็นทุกข์ยาก มันคงจะมาอยู่เป็นเพื่อน เราจะไปจะมา ก็ขอเทวดาที่รักษาป่าช่วยรักษาเรา เราจึงไม่กลัว "

    ลุงตาล " มึงเก่งมาก กูจักทำตามมึง "

    ด.ช.วงศ์ " เราไม่ได้ทำอะไรมัน มันก็ไม่ทำอะไรเรา มันไม่รังแกเรา เราคิดว่า คนที่ใจบาปไปเสาะหาเนื้อในป่า กินกวางกินเก้งกินปลา เสือก็ยังไม่กัดใครตายในป่าสักคน เวลาเราจะลงเรือน เราก็ขอให้บุญช่วยเรา "

    ลุงตาล " มึงยังเด็ก อายุไม่ถึง ๑๐ ขวบ มืดๆ ดึกๆก็ไม่กลัวป่า ไม่กลัวเถื่อน ไม่กลัวผีป่าผีพง ไม่กลัวช้าง กูยอมมึงแล้ว "

    ปัญญาพิจารณาเห็นทุกข์

    ขณะที่ท่านนั่งอยู่ใต้ต้นไม้ในป่าคนเดียวตามลำพัง ท่านได้เปรียบเทียบชีวิตท่านกับสัตว์ป่าทั้งหลายว่า " นกทั้งหลายต่างก็หากินไป ไม่มีที่หยุด ต่างก็เลี้ยงตัวเองไปตามประสามัน ก็ยังทนทานไปได้ ตัวเราค่อยอดค่อนทนไปก็ดีเหมือนกัน สัตว์ทั้งหลายก็ทุกข์ยากอย่างเรา สัตว์ในโลกก็ทุกข์เหมือนกันทุกอย่าง เราไม่ควรจะเหนื่อยคร้าน ค่อยอดค่อยทนตามพ่อแม่นำพาไป "

    พรหมวิหารสี่

    หลวงพ่อมีความเมตตากรุณาและพรหมวิหารสี่มาแต่เยาว์วัยอย่างหาที่เปรียบมิได้ เพื่อนของหลวงพ่อตั้งแต่สมัยนั้นเล่าว่า เมื่อสมัยที่ท่านเป็นเด็กระหว่างทางไปหาของหรืออาหารป่า ทุกครั้งที่เห็นสัตว์ถูกกับดักของนายพราน ท่านจะปล่อยสัตว์เหล่านั้นให้มีอิสรภาพเสมอ แล้วจะหาสิ่งของมาทดแทนให้กับนายพราน เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกับชีวิตของมัน

    ครั้งหนึ่งท่านเห็นตัวตุ่นถูกกับดักนายพรานติดอยู่ในโพรงไม้ไผ่ ด้วยความสงสารท่านจึงปล่อยตัวตุ่นนั้นไป แล้วหยิบหัวมันที่หามาได้จากในป่า ซึ่งตั้งใจไว้ว่าจะนำไปให้พ่อแม่และน้องๆกิน ใส่เข้าไปในโพรงไม้นั้นแทน เพื่อเป็นการชดใช้แลกเปลี่ยนกับชีวิตของตัวตุ่นนั้น

    ต่อมามีอยู่วันหนึ่ง ท่านไปพบปลาดุกติดเบ็ดของชาวบ้านที่นำมาปักไว้ที่ห้วย ท่านเห็นมันดิ้นทุรนทุรายแล้วเกิดความสงสารเวทนาปลาดุกตัวนั้นมาก จึงปลดมันออกจากเบ็ด แล้วเอาหัวผักกาดที่ท่านทำงานแลกมาซึ่งตั้งใจไว้ว่าจะนำไปให้พ่อแม่และน้องๆกิน มาเกี่ยวไว้แทนเป็นการแลกเปลี่ยนชีวิตปลาดุกนั้น

    หลวงพ่อได้เมตตาบอกถึงเหตุผลที่กระทำเช่นนั้นว่า ในเวลานั้นท่านมีความเวทนาสงสารสัตว์เหล่านั้นจึงได้ช่วยชีวิตของมันไว้ ท่านมักจะสั่งสอนลูกศิษย์อยู่เสมอว่า " ชีวิตของใครๆก็รักทั้งนั้น เราทุกคนควรจะเมตตาตนเอง และเมตตาผู้อื่นอยู่เสมอ โลกนี้จะได้มีความสุข "

    ด้วยความที่ท่านเป็นผู้ที่ไม่ชอบการผิดศีลมาตั้งแต่สมัยเด็ก เมื่อท่านเห็นว่าคนอื่นจะผิดศีล ข้อปาณาติบาต ( การฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ) ก็รู้สึกสงสารทั้งผู้ทำปาณาตีบาตและผู้ถูกปาณาติบาต ซึ่งท่านไม่อยากเห็นพวกเขามีเวรมีกรรมกันต่อไป แต่ในขณะเดียวกันท่านก็ไม่ต้องการให้ตัวเองต้องผิดศีลโดยไปลักขโมยของผู้อื่น ซึ่งในเวลานั้นท่านไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรดี ท่านจึงต้องหาสิ่งของมาตอบแทนให้กับเขา แต่ในบางครั้งก็ไม่มีสิ่งของมาแลกกับชีวิตของสัตว์เหล่านั้นเหมือนกัน แต่ท่านก็สามารถจะช่วยมันได้โดยปล่อยมันให้เป็นอิสระ แล้วท่านนั่งรอนายพรานจนกว่าเขาจะมาและก็ขอเอาตัวเองชดใช้แทน ซึ่งท่านได้เล่าว่า บางคนก็ไม่ถือสาเอาความ แต่บางคนก็ให้ไปทำงานหรือทำความสะอาด ทดแทนกับที่ท่านไปปล่อยสัตว์ที่เขาดักไว้ แต่ไม่เคยมีใครทำร้ายทุบตีท่าน อาจจะมีบ้างก็เพียงแต่ว่ากล่าวตักเตือน

    ท่านได้พูดว่า " แม้ว่าบางครั้งจะต้องทำงานหนักเพื่อใช้ชีวิตของสัตว์ที่ท่านได้ปล่อยไป แต่ท่านก็รู้สึกยินดีและปิติใจเป็นอันมากที่ได้ทำในสิ่งที่ดีงามเหล่านี้ "

    กินอาหารมังสวิรัติ

    เมื่อท่านอายุได้ ๑๒ ปี ท่านได้พบเหตุการณ์สำคัญที่ทำไม่อยากจะกินเนื้อสัตว์นั้นเลยนับแต่นั้นมากล่าวคือ มีครั้งหนึ่งท่านได้เห็นพญากวางใหญ่ถูกนายพรานยิง แทนที่พญากวางตัวนั้นจะร้องเป็นเสียงสัตว์มันกลับร้องโอยๆๆๆเหมือนเสียงคนร้อง แล้วสิ้นใจตายในที่สุด และเมื่อท่านไปอยู่กับครูบาชัยลังก๋าซึ่งไม่ฉันเนื้อสัตว์ ท่านจึงงดเว้นอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ตั้งแต่นั้นมา

    อีกประการหนึ่งอาจเป็นด้วยบุญบารมีที่ท่านได้สร้างสะมาแต่อดีตชาติ ประกอบกับได้เห็นความทุกข์ยากของสัตว์ต่างๆที่ถูกทำร้าย จึงทำให้ท่านเกิดความสลดใจอยู่เสมอ ท่านจึงตั้งจิตอธิษฐานถึงคุณพระศรีรัตนตรัยตั้งแต่นั้นมาว่า " จะไม่ขอเบียดเบียนชีวิตผู้อื่นไม่ว่าจะเป็นคนหรือสัตว์และจะไม่ขอกินเนื้อสัตว์อีกต่อไป " ท่านได้เมตตาสอนว่า " สรรพสัตว์ทั้งหลายย่อมรักและหวงแหนชีวิตของมันเอง เราทุกคนไม่ควรจะเบียดเบียนมัน มันจะได้อยู่อย่างเป็นสุข " และท่านยังพูดเสมอว่า " ท่านต้องการให้ศีลของท่านบริสุทธิ์ขึ้นไปเรื่อยๆ "

    สัตว์ทุกตัวมันก็รักชีวิตของมันเหมือนกัน เมื่อเราฆ่ามันตายเพื่อกินเนื้อมัน จิตของมันไปที่สำนักพระยายมก็จะฟ้องร้องว่าคนนั้นฆ่ามันตาย คนนี้กินเนื้อของมัน ถึงแม้จะไม่ได้ฆ่า คนกินก็เป็นจำเลยด้วยก็ย่อมต้องได้รับโทษ แต่จะออกมาในรูปของการเจ็บไข้ได้ป่วย และความไม่สบายต่างๆซึ่งเจ้าตัวไม่รู้สึกเห็นว่าเป็นเรื่องธรรมดา

    บรรพชาเป็นสามเณร

    เมื่อท่านอายุย่าง ๑๓ ปี ( พ.ศ. ๒๔๖๘ ) ด้วยผลบุญที่ท่านได้บำเพ็ญมาตั้งแต่ปางก่อนในอดีตชาติ และได้รับการอบรมสั่งสอนจากพระสงฆ์ครูบาอาจารย์ในชาตินี้จึงดลบันดาลให้ท่านมีความเบื่อหน่ายต่อชีวิตทางโลก อันเป็นทุกขัง อนิจจัง อนัตตา ท่านจึงได้รบเร้าขอให้พ่อแม่ท่านไปบวช เพื่อท่านจะได้บำเพ็ญธรรมะขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อบิดามารดาได้ฟังก็เกิดความปิติยินดีเป็นยิ่งนัก

    ไม่นานหลังจากนั้นพ่อแม่ก็ได้นำท่านไปฝากกับหลวงอาท่านได้อยู่เป็นเด็กวัดกับหลวงอาได้ไม่นาน หลวงอาจึงนำท่านไปฝากตัวเป็นศิษย์และบวชเณรกับครูบาชัยลังก๋า ( ซึ่งเป็นธุดงค์กรรมฐานรุ่นพี่ของครูบาศรีชัย ) ครูบาชัยลังก๋าได้ตั้งชื่อให้ท่านใหม่หลังจากเป็นสามเณรแล้วว่า " สามเณรชัยลังก๋า " เช่นเดียวกับชื่อของครูบาชัยลังก๋า

    มีความเคารพเชื่อฟัง

    ท่านเป็นผู้ที่มีความขยันหมั่นเพียรและเคารพเชื่อฟังครูบาอาจารย์ตลอดจนผู้สูงอายุ จึงทำให้ครูบาอาจารย์และผู้เฒ่าผู้แก่รักใคร่เอ็นดูมาก จนเป็นเหตุทำให้เพื่อนเณรบางคนพากันอิจฉาริษยา หาว่าท่านประจบครูบาอาจารย์ เมื่อใดที่ท่านอยู่ห่างจากครูบาอาจารย์เป็นต้องถูกรังแกเสมอ ทำให้การอยู่ปรนนิบัติติดตามครูบาอาจารย์เป็นไปอย่างไม่มีความสุข แต่ด้วยความเคารพกตัญญูต่อครูบาอาจารย์ และต้องการที่จะปฏิบัติธรรมกรรมฐานเพื่อมรรคผล ท่านจึงได้ใช้ขันติและให้อภัยแก่พระเณรเหล่านั้นที่ไม่รู้สัจจธรรมในเรื่องกฎแห่งกรรมที่องค์สมเด็จพระชินสีห์ได้กล่าวไว้ว่า " ทำความดีได้ดี ทำความชั่วผลแห่งความชั่วย่อมตอบสนองผู้นั้น "

    ชายชราลึกลับ

    เพื่อนพระสงฆ์ที่เคยอยู่ร่วมกันกับท่านในสมัยเป็นเณรได้เล่าว่า " หลวงพ่อวงศ์เป็นผู้มีขันติและอภัยทานสูงส่งจริงๆ " ครั้งหนึ่งท่านเคยถูกเณรองค์อื่น เอาน้ำรักทาไว้บนที่นอนของท่านในสมัยนั้นยังไม่มีไฟฟ้า และเทียนก็หาได้ยาก ท่านจึงมองไม่เห็น เมื่อท่านนอนลงไป น้ำรักก็ได้กัดผิวหนังของท่านจนแสบจนคัน ท่านจึงได้เกาจนเป็นแผลไปทั้งตัว ไม่นานแผลเหล่านั้นก็ได้เน่าเปื่อยขึ้นมาจนทำให้ท่านได้รับทุกขเวทนามาก แต่ด้วยความที่ท่านเป็นคนดีมีธรรมะเมตตาให้อโหสิกรรมกับผู้อื่น ท่านจึงใช้ขันติข่มความเจ็บปวดเหล่านั้นโดยไม่ปริปากหรือกล่าวโทษผู้ใด

    ทุกครั้งที่ครูบาอาจารย์ถาม ท่านก็ไม่ยอมที่จะกล่าวโทษใครเลย เพียงเรียนไปว่า ขออภัยให้กับพวกคนเหล่านั้นเท่านั้นและขอยึดเอาคำของครูบาอาจารย์มาปฏิบัติ เพื่อจะได้ไม่มีเวรกรรมกันต่อไปในอนาคต และเพื่อความหลุดพ้นจากวัฎสงสารแห่งนี้เข้ามรรคผลดังที่ครูบาอาจารย์ได้อบรมสั่งสอนมาด้วยความยากลำบาก เพื่อให้ลูกศิษย์ลูกหาเป็นคนดีและเป็นพระสงฆ์เนื้อนาบุญของพุทธบริษัทต่อไป

    ด้วยผลบุญที่ท่านได้สั่งสมมาแต่อดีตถึงปัจจุบัน จึงดลบันดาลให้มีชายชราชาวขมุนำยามาให้ท่านกิน ให้ท่านทาเป็นเวลา ๓ คืน เมื่อท่านหายดีแล้ว ชายชราผู้นั้นก็ได้กลับมาหาท่าน และได้พูดกับท่านว่า " เป็นผลบุญของเณรน้อยที่ได้สร้างสมมาแต่อดีตถึงปัจจุบันไว้ดีมาก และมีความกตัญญูเคารพเชื่อฟังพ่อแม่ครูบาอาจารย์ดีมาก จึงทำให้แผลหายเร็ว ขอให้เณรน้อยจงหมั่นทำความดีปฏิบัติธรรม และเคารพเชื่อฟังครูบาอาจารย์ต่อไปอย่าได้ท้อถอย ไม่ว่าจะมีมารมาขัดขวางอย่างไรก็ดี ขอเณรน้อยใช้ความดีชนะความไม่ดีทั้งหลาย ต่อไปในภายภาคหน้าสามเณรน้อยจะได้เป็นพระสงฆ์เนื้อนาบุญของพุทธบริษัทต่อไป "

    เมื่อชายชราผู้นั้นกล่าวจบแล้ว จึงได้เดินลงจากกุฏิที่ท่านพักอยู่ สามเณรชัยลังก๋านึกได้ยังไม่ได้ถามชื่อแซ่ของชายชราผู้มีพระคุณจึงวิ่งตามลงมา แต่เดินหาเท่าไรก็ไม่พบชายชราผู้นั้น ท่านจึงได้สอบถามผู้คนที่อยู่ในบริเวณนั้น ทุกคนบอกเป็นเสียงเดียวกันว่าไม่พบเห็นชายชราเช่นนี้มาก่อนเลย นอกจากเห็นท่านนอนอยู่องค์เดียวในกุฏิ จากคำพูดของคนเหล่านี้ทำให้ท่านประหลาดใจมาก เพราะท่านได้พูดคุยกับชายชราผู้นั้นถึง ๓ คืน เหตุการณ์นี้ทำให้ท่านคิดว่าชายชราผู้นั้นถ้าไม่เป็นเทพแปลงกายมา ก็อาจจะเป็นผู้ทรงศีลที่บำเพ็ญอยู่ในป่าจนได้อภิญญา

    การกลั่นแกล้งจากพระเณรที่อิจฉาริษยายังไม่สิ้นสุดแค่นั้น บางครั้งเวลานอนก็ถูกเอาทรายกรอกปาก ถึงเวลาฉันก็ฉันไม่ได้มาก เพราะถูกพระเณรที่ไม่เชื่อในเรื่องบาปบุญคุณโทษรังแก หรือหยิบอาหารของท่านไปกิน แต่ด้วยความที่ท่านเป็นผู้มีความอดทนและยึดมั่นในคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านจึงอโหสิกรรมพวกเขาและใช้ขันติในการปฏิบัติธรรมรับใช้ปรนนิบัติครูบาอาจารย์ด้วยดีต่อไป

    ครูบาชัยลังก๋ามักลูบหัวของท่านด้วยความรักเอ็นดูและสั่งสอนให้ด้วยความเมตตาอยู่เสมอว่า " มันเป็นกรรมเก่าของเณรน้อย ตุ๊ลุงขอให้เณรน้อยใช้ขันติและความเพียรต่อไป เพื่อโลกุตตรธรรมอันยิ่งใหญ่ในภายหน้า เมื่อถึงเวลานั้นแล้วทุกคนที่เคยล่วงเกินเณรน้อย เขาจะรู้กรรมที่ได้ล่วงเกินเณรน้อยมา "

    [​IMG][​IMG]

    ไปวัดพระพุทธบาทห้วยต้ม

    ในระยะที่อยู่กับครูบาชัยลังก๋าๆได้เมตตาอบรมสั่งสอนวิชาการต่างๆให้แก่ท่าน เช่น ภาษาล้านนา ธรรมะ การปฏิบัติกรรมฐาน รวมทั้งธุดงควัตร ตลอดถึงการดำรงชีวิตในป่าขณะธุดงค์ ครูบา-ชัยลังก๋ามักพาท่านไปแสวงบุญและธุดงค์ไปในที่ต่างๆเสมอ เพื่อให้ท่านมีประสบการณ์ ทั้งยังเคยพาท่านไปนมัสการรอบพระพุทธบาทห้วยต้มหลายครั้ง ( วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ในสมัยก่อนนั้นชื่อว่า วัดพระพุทธบาทห้วยข้าวต้ม ) สมัยนั้นวัดนี้เป็นวัดร้างยังเป็นเขาอยู่

    ครั้งหนึ่งสามเณรชัยลังก๋าเห็นวิหารทรุดโทรมมาก จึงกราบเรียนถามครูบาชัยลังก๋า " ทำไมตุ๊ลุงถึงไม่มาสร้างวัดนี้มันทรุดโทรมมาก " ครูบาชัยลังก๋าตอบด้วยความเมตตาว่า " มันไม่ใช่หน้าที่ของตุ๊ลุงแต่จะมีพระน้อยเมืองตื๋นมาสร้าง " ขณะที่ครูบาชัยลังก๋ากล่าวอยู่นั้น ท่านก็ได้ชี้มือมาที่สามเณรน้อยชัยลังก๋าพร้อมกับกล่าวว่า " อาจจะเป็นเณรน้อยนี้กะบ่ฮู้ที่จะมาบูรณะวัดนี้ " ท่านจึงได้เรียนไปว่า " เฮายังเป็นเณรจะสร้างได้อย่างใด " ครูบาชัยลังก๋าจึงกล่าวตอบไปด้วยความเมตตาว่า " ถึงเวลาจะมาสร้าง ก็จะมาสร้างเอง "

    คำพูดของครูบาชัยลังก๋านี้ไปพ้องกับคำพูดของครูบาศรีวิชัยที่เคยกล่าวกับหม่องย่นชาวพม่า เมื่อตอนที่ท่านอายุได้ ๕ ขวบ ในครั้งนั้นครูบาศรีวิชัยได้รับนิมนต์จากหม่องย่นให้มารับถวายศาลาที่วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม หม่องย่นให้ขอนิมนต์ครูบาศรีวิชัยมาบูรณะวัดพระพุทธบาทห้วยต้มให้เจริญรุ่งเรือง แต่ครูบาศรีวิชัยได้ตอบปฏิเสธไปว่า " ไม่ใช่หน้าที่กู จะมีพระน้อยเมืองตื๋นมาสร้างในภายภาคหน้า "

    ท่านอยู่กับครูบาชัยลังก๋าที่วัดพระธาตุแก่งสร้อยเป็นเวลา ๑ ปี หลังจากนั้นครูบาชัยลังก๋าได้ออกจาริกธุดงค์ไปโปรดชาวบ้านที่จังหวัดเชียงราย ครูบาชัยลังก๋าได้ให้ท่านอยู่เฝ้าวัดกับพระเณรองค์อื่น ในช่วงที่ท่านอยู่วัดนี้ ท่านก็ได้พบกันครูบาศรีวิชัยเป็นครั้งแรกซึ่งท่านเคารพนับถือครูบาศรีวิชัยมาก่อนหน้านี้แล้ว

    ในครั้งนั้นครูบาศรีวิชัยได้มาเป็นประธานในการฉลองพระธาตุที่วัดพระธาตุแก่งสร้อย ในโอกาสนี้ท่านจึงได้อยู่ใกล้ชิดปรนนิบัติรับใช้ครูบาศรีวิชัยเป็นเวลา ๗ วัน การพบกันครั้งแรกนี้ ครูบาศรีวิชัยก็ได้รับท่านไว้เป็นศิษย์ตั้งแต่นั้นมา หลังจากเหตุการณ์ในครั้งนี้ผ่านพ้นไปแล้ว ท่านก็ยังประจำอยู่ที่วัดพระธาตุแก่งสร้อยได้ไม่นาน เพราะทนต่อการกลั่นแกล้งจากพระเณรอื่นไม่ไหว จึงได้เดินทางกลับมาอยู่กับหลวงน้าของท่านเพื่อช่วยสร้างพระวิหารที่วัดก้อท่าซึ่งเป็นวัดร้างประจำหมู่บ้านก้อท่า ตำบลก้อทุ่ง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน

    ในระหว่างอายุ ๑๕-๒๐ ปีนั้น ท่านได้ติดตามครูบาอาจารย์หลายองค์ และได้จาริกออกธุดงค์ ปฏิบัติธรรมตามที่ต่างๆ ตลอดจนได้ไปอบรมสั่งสอนชาวบ้านชาวเขาในที่ต่างๆด้วยเช่นกัน ในบางครั้งก็ไปกับครูบาอาจารย์ ในบางครั้งก็ไปองค์เดียวเพียงลำพัง เมื่อมีโอกาสท่านก็จะกลับมารับการฝึกอบรมจากครูบาอาจารย์ทุกองค์ของท่านเสมอๆ

    อุปสมบทเป็นพระภิกษุ

    เมื่ออายุ ๒๐ ปี ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ โดยมีครูบาพรหมจักร วัดพระบาทตากผ้าเป็นอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า " ชัยยะวงศา " ในระหว่างนั้น ท่านได้อยู่ปฏิบัติและศึกษาธรรมะกับครูบาพรหมจักร ในบางโอกาสท่านก็จะเดินธุดงค์ปฏิบัติธรรมไปในที่ต่างๆทั้งลาวและพม่า ท่านได้อยู่กับครูบาพรหมจักรระยะหนึ่งแล้ว จึงได้กราบลาครูบาพรหมจักรออกจาริกธุดงค์ไปแสวงหาสัจจธรรมความหลุดพ้นจากวัฏสงสารแห่งนี้เพียงลำพังองค์เดียวต่อ เพื่อเผยแพร่สั่งสอนธรรมะขององค์สมเด็จ-พระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้กับพวกชาวเขาในที่ต่างๆเช่นเคย

    [​IMG]

    สอนธรรมะแก่ชาวเขา

    ขณะที่ท่านธุดงค์ไปในที่ต่างๆ ท่านได้พบและอบรมสั่งสอนธรรมะของพระพุทธองค์ให้กับชาวบ้านและชาวเขาในที่ต่างๆ ท่านเล่าว่า ตอนที่ท่านพบชาวเขาใหม่ๆนั้น ในสมัยนั้นชาวเขาส่วนใหญ่ยังไม่ได้นับถือพุทธศาสนา ในขณะที่ท่านจาริกธุดงค์ไปตามหมู่บ้านของพวกชาวเขา พวกชาวเขาเหล่านี้ก็จะรีบอุ้มลูกจูงหลานหลบเข้าบ้านเงียบหายกันหมดพร้อมกับตะโกนบอกต่อๆกันว่า " ผีตาวอดมาแล้วๆๆ "

    ในบางแห่งพวกผู้ชายบางคนที่ใจกล้าหน่อยก็เข้ามาสอบถามและพูดคุยกับท่าน บางคนเห็นหัวของท่านแล้วอดรนทนไม่ไหวที่เห็นหัวของท่านเหน่งใส จึงเอามือลูบหัวของท่านและทักทายท่านว่า " เสี่ยว " ( แปลว่าเพื่อน ) หลวงพ่อว่าในตอนนั้น ท่านไม่รู้สึกเคืองหรือตำหนิเขาเหล่านั้นเลย นอกจากขบขันในความซื่อของพวกเขา เพราะพวกเขายังไม่รู้จักพุทธศาสนา ในสมัยนั้นพวกชาวเขายังนับถือลัทธิบูชาผี บูชาเจ้า ด้วยเหตุนี้ท่านจึงได้ถือธุดงค์ปฏิบัติกรรมฐานในสถานที่แห่งนั้น เพื่อจะหาโอกาสสอนธรรมะของพระพุทธองค์ให้กับพวกชาวเขา การสอนของท่านนั้น ท่านได้เมตตาบอกว่า ท่านต้องทำและสอนให้พวกเขารู้อย่างช้าๆ ค่อยเป็นค่อยไป โดยไม่ทำให้พวกเขามีความรู้สึกแปลกประหลาดและขัดต่อจิตใจความเป็นอยู่ที่เขามีอยู่

    ท่านได้ใช้ตัวของท่านเองเป็นตัวอย่างให้เขาดู ในการที่จะทำให้พวกเขาหันมาปฏิบัติธรรมะของพระพุทธองค์ เมื่อพวกเขาถามท่านว่า " ทำไมท่านจึงโกนผมจนหัวเหน่ง และนุ่งห่มสีเหลืองทั้งชุดดูแล้วแปลกดี " ท่านก็จะถือเอาเรื่องที่เขาถามมาเป็นเหตุในการเทศน์ เพื่อเผยแพร่ธรรมะให้พวกเขาได้ปฏิบัติและรับรู้กัน

    หลวงพ่อได้เล่าว่า การสอนให้เขารู้ธรรมะนั้น ท่านต้องสอนไปทีละขั้น เพื่อให้เขารู้จักพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์เสียก่อน จากนั้นท่านจึงสอนพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้กับพวกเขา โดยเฉพาะการทำงาน การถือศีล และการนั่งภาวนา ให้พวกเขาได้ปฏิบัติยึดถือกัน โดยเฉพาะเรื่องของศีล ๕ ท่านจะสอนเน้นให้พวกเขาไม่เบียดเบียนผู้อื่น และไม่ทำร้ายผู้อื่น เพื่อจะได้ไม่เป็นเวรกรรมกันต่อไปในภายภาคหน้า ซึ่งการสอนของท่านทำให้พวกชาวเขาได้รับความสงบสุขภายในหมู่บ้านของเขาอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน พวกเขาจึงยิ่งเคารพนับถือและเชื่อฟังในคำสั่งสอนของท่านมากยิ่งขึ้น

    สอนกินมังสวิรัติ

    หลวงพ่อได้เมตตาเล่าให้ฟังว่า ในสมัยนั้นพวกชาวเขาได้นำอาหารที่มีเนื้อสัตว์มาถวาย แต่ท่านหยิบฉันเฉพาะที่เป็นผักเป็นพืชเท่านั้น ทำให้เขาเกิดความสงสัย ท่านจึงได้ยกเอาเรื่องในพุทธชาดกมาเทศน์ให้พวกเขาฟัง เพื่อเป็นการเน้นให้เห็นถึงกฎแห่งกรรมและผลดีของการรักษาศีล

    ท่านได้อยู่อบรมสั่งสอนให้พวกเขารับรู้ถึงธรรมะและการรักษาศีลอยู่เสมอๆ ทำให้พวกเขาเลื่อมใสและหันกลับมานับถือพระพุทธศาสนาโดยละทิ้งประเพณีเก่าๆ ที่เคยปฏิบัติกันมา

    ต่อมาพวกชาวเขาเหล่านี้ก็ได้เจริญรอยตามท่าน โดยเลิกกินเนื้อสัตว์หันมากินมังสวิรัติแทน ( ดังที่เราจะเห็นได้จากกะเหรี่ยงที่อพยพมาอยู่ที่หมู่บ้านพระพุทธบาทห้วยต้มในปัจจุบันนี้ ) เมื่อท่านได้สอนพวกเขาให้นับถือศาสนาพุทธแล้ว ท่านก็จะจาริกธุดงค์แสวงหาสัจธรรมต่อไป และถ้ามีโอกาสท่านก็จะกลับไปโปรดพวกเขาเหล่านั้นอยู่เสมอ ด้วยเหตุนี้ชาวเขาและชาวบ้านในที่ต่างๆที่ท่านเคยไปสั่งสอนมาจึงเคารพนับถือท่านมาก

    สร้างทางขึ้นดอยสุเทพ

    เมื่ออายุได้ ๒๒ ปี ท่านจึงเดินทางกลับมาหาครูบาศรีวิชัยพร้อมกับชาวกะเหรี่ยงที่เป็นศิษย์ของท่าน เพื่อช่วยครูบาศรีวิชัยสร้างทางขึ้นดอยสุเทพ ในครั้งนี้ครูบาศรีวิชัยได้เมตตาให้ท่านเป็นกำลังสำคัญทำงานร่วมกับครูบาขาวปีในการควบคุมชาวเขาช่วยสร้างทางอยู่เสมอ โดยเฉพาะในช่วงที่ยากลำบาก เช่น การสร้างถนนในช่วงหักศอก ก่อนที่จะถึงดอยสุเทพ

    ในระหว่างกำลังสร้างทางช่วงนี้ ได้มีหินก้อนใหญ่มากติดอยู่ใกล้หน้าผา จะใช้กำลังคนหรือช้างลากเช่นไรก็ไม่ทำให้หินนั้นเคลื่อนไหวได้ ชาวกะเหรี่ยงที่ทำงานอยู่นั้นจึงไปกราบเรียนให้ ครูบาศรีวิชัยทราบ ท่านจึงให้คนไปตามหลวงพ่อซึ่งกำลังสร้างทางช่วงอื่นอยู่ เมื่อหลวงพ่อวงศ์มาถึงท่านได้ยืนพิจารณาอยู่ครู่หนึ่ง จึงได้เดินทางไปผลักหินก้อนนั้นลงสู่หน้าผานั้นไป เหตุการณ์นี้ทำให้ผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์แปลกใจไปตามๆ กันที่เห็นท่านใช้มือผลักหินนั้นโดยไม่อาศัยเครื่องมือใดๆ ครูบาศรีวิชัยได้ยืนยิ้มอยู่ข้างๆท่านด้วยความพอใจ

    ประทับรอยเท้าเป็นอนุสรณ์

    [​IMG]

    ขณะที่ท่านช่วยครูบาศรีวิชัยสร้างทางขึ้นดอยสุเทพ ท่านได้ประทับรอยเท้าลึกลงไปในหินประมาณ ๑ ซ.ม. ข้างน้ำตกห้วยแก้ว ( ช่วงตอนกลางๆของทางขึ้นดอยสุเทพ เพื่อเป็นอนุสรณ์ที่ท่านได้มาช่วยครูบาศรีวิชัยสร้างทาง )

    อุปสรรค

    ท่านเป็นผู้ที่ครูบาศรีวิชัยไว้ใจมากองค์หนึ่ง เพราะเมื่อครูบาศรีวิชัยมีปัญหาเรื่องขาดกำลังคน ครูบาศรีวิชัยก็จะมอบหน้าที่ให้ท่านไปนำกะเหรี่ยงอยู่บนดอยต่างๆมาช่วยสร้างทาง

    หลวงพ่อเล่าว่า การสร้างทางขึ้นดอยสุเทพ และการสร้างบารมีของครูบาศรีวิชัยนั้นทุกข์ยากลำบากมาก เพราะถูกกลั่นแกล้งจากบุคคลอื่นที่ไม่เข้าใจและอิจฉาริษยาอยู่เสมอ ทุกครั้งที่ครูบาศรีวิชัยให้ท่านไปนำกะเหรี่ยงมาช่วยสร้างทาง ระหว่างการเดินทางต้องคอยหลบเลี่ยงจากการตรวจจับของพวกตำรวจหลวงและคณะสงฆ์ที่ไม่เข้าใจ

    ครูบาศรีวิชัยท่านได้เล่าว่า ในเวลากลางวันต้องหลบซ่อนกันในป่าหรือเดินทางให้ห่างไกลจากเส้นทางสัญจร เพื่อหลบให้ห่างจากผู้ขัดขวาง ส่วนในเวลากลางคืนต้องรีบเดินทางกันอย่างฉุกละหุก เพราะเส้นทางต่างๆมืดมากต้องอาศัยโคมไฟตามบ้านเป็นการดูทิศทาง เพื่อให้ถึงจุดหมายปลายทางเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้

    ด้วยบารมีและความตั้งมั่นในการทำความดีของครูบาศรีวิชัยที่มีต่อพระพุทธศาสนาทำให้พุทธบริษัททั้งชาวบ้านและชาวเขาจากในที่ต่างๆ จำนวนมากมาช่วยสร้างทางขึ้นดอยสุเทพได้สำเร็จดังความตั้งใจของครูบาศรีวิชัย โดยใช้เวลาสร้างเพียง ๗ เดือนเท่านั้น

    เมื่อครูบาศรีวิชัยสร้างทางขึ้นดอยสุเทพสำเร็จแล้ว หลวงพ่อจึงได้ไปกราบลาครูบาศรีวิชัย กลับไปอยู่ที่เมืองตื๋น วัดจอมหมอก ตำบลแม่ตื๋น กิ่งอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่

    [​IMG]

    ห่มขาว

    เมื่ออายุได้ ๒๓ ปี ขณะที่ท่านอยู่ที่วัดจอมหมอก เจ้าคณะตำบลได้มาจับท่านสึก ในข้อหาที่ท่านเป็นศิษย์และเป็นกำลังสำคัญที่ปฏิบัติเชื่อฟังครูบาศรีวิชัยอย่างเคร่งครัด ( ซึ่งในขณะนั้นครูบาศรีวิชัยได้ถูกจับมาสอบสวนอธิกรณ์ที่กรุงเทพฯ ) แต่ตัวท่านเองไม่ปรารถนาที่จะสึก จะหนีไม่ได้ เมื่อทางคณะสงฆ์จะจับท่านสึก และให้นุ่งห่มดำหรือแต่งแบบฆราวาส ท่านไม่ยอม เพราะท่านไม่ได้ผิดข้อปฏิบัติของสงฆ์ แต่เมื่อคณะสงฆ์ที่ไปจับท่านสึก ไม่ให้ห่มเหลือง ท่านจึงหาผ้าขาวมาห่มแบบสงฆ์ เลียนเยี่ยงอย่างครูบาขาวปี วัดผาหนาม ( ซึ่งเคยถูกจับสึก ไม่ให้ห่มเหลืองในข้อหาเดียวกัน ในคราวที่ครูบาศรีวิชัยถูกอธิกรณ์ ก่อนที่จะมีการสร้างทางขึ้นดอยสุเทพ ) และยึดถือข้อวัตรปฏิบัติเหมือนที่เป็นสงฆ์อย่างเดิม

    ในหมู่พระสงฆ์และฆราวาสที่เป็นศิษย์ของครูบาศรีวิชัย ก็ยังนับถือหลวงพ่อเป็นพระสงฆ์เช่นเดิม เพราะการสึกในครั้งนั้นไม่สมบูรณ์ ครูบาวงศ์ไม่ได้ทำผิดพระวินัยของสงฆ์ และในขณะที่สึกนั้น จิตใจของท่านก็ไม่ยอมรับที่จะสึก ยังยึดมั่นว่าตัวเองเป็นพระสงฆ์เหมือนเดิม ดังจะเห็นได้จากการที่ท่านยังปฏิบัติข้อวัตรพระธรรมวินัยของสงฆ์ทุกประการ

    หลวงพ่อได้เล่าว่า ในคราวนั้นลูกศิษย์ลูกหาของครูบาศรีวิชัยระส่ำระสายกันมาก บางองค์ก็ถูกจับสึกเป็นฆราวาส บางองค์ก็หนีไปอยู่ที่อื่นบ้าง ในป่าในเขาบ้างเพื่อไม่ให้ถูกจับสึก

    รวมตัวที่บ้านปาง

    หลังจากที่ครูบาศรีวิชัยพ้นจากอธิกรณ์ ครูบาศรีวิชัยได้เดินทางกลับไปจังหวัดลำพูนเพื่อไปบูรณะและสร้างวัดบ้างปาง อันเป็นวัดบ้านเกิดของท่าน หลวงพ่อและครูบาขาวปี ( ซึ่งขณะนั้นนุ่งขาวห่มขาวทั้งคู่ ) ตลอดจนลูกศิษย์ทั้งที่ถูกจับสึกเป็นฆราวาส และที่หนีไปในที่ต่างๆ ต่างก็ได้เดินทางกลับมาช่วยกันสร้างและบูรณะวัดบ้านปาง เพื่อให้เป็นที่อยู่ที่ถาวรของครูบาศรีวิชัย

    หลวงพ่อได้ช่วยครูบาศรีวิชัยสร้างวิหารที่วัดบ้านปางได้ระยะหนึ่ง ท่านจึงลาไปบำเพ็ญภาวนาธุดงค์ แสวงหาสัจธรรมต่อไปในป่าในเขา และเผยแพร่ธรรมะให้กับชาวบ้านและชาวเขาในที่ต่างๆต่อไป

    เดินธุดงค์

    ในสมัยนั้นท่านได้ธุดงค์บำเพ็ญเพียรไปในที่ต่างๆองค์เดียวเสมอ ท่านชอบธุดงค์ไปอยู่ในป่า ในถ้ำที่ห่างไกลผู้คน หลวงพ่อเล่าว่า ในสมัยนั้นการเดินธุดงค์ไม่สะดวกสบายเช่นสมัยนี้ เพราะเครื่องอัฏฐบริขารและกลดก็หาได้ยากมาก ตามป่าตามเขาก็มีสัตว์ป่าที่ดุร้ายอาศัยกันอย่างมากมาย ในขณะถือธุดงค์ในป่าในเขา ก็ต้องอาศัยถ้ำหรือใต้ต้นไม้เป็นที่พักที่ภาวนา เมื่อเจอพายุฝน ก็ต้องนั่งแช่อยู่ในน้ำที่ไหลท่วมมาอย่างรวดเร็วเช่นนั้น จนกว่าฝนจะหยุดตก การภาวนาในถ้ำในสมัยก่อนนั้น ก็มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่มากมาย เช่น เสือ ช้าง งู เม่น ฯลฯ เป็นต้น แต่มันไม่เคยมารบกวน หรือสร้างความกังวลใจให้ท่านเลย ต่างคนต่างพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน

    ท่านเล่าว่า ครั้งหนึ่งท่านได้ไปบำเพ็ญภาวนาในถ้ำแห่งหนึ่งที่ตำบลบ้านก้อ สมัยนั้นยังเป็นป่าทึบ ต้นสักแต่ละต้นขนาด ๓ คนโอบไม่รอบ ในถ้ำนั้นมีเม่นและช้างอาศัยอยู่ บางครั้งก็มีเสือเข้ามาหลบฝน บ่อยครั้งที่ท่านกำลังภาวนาทำสมาธิอยู่นั้น พวกมันจะมาจ้องมองท่านด้วยความแปลกใจ ทำให้ท่านรู้สึกถึงความบริสุทธิ์และความไร้เดียงสาของสัตว์ที่มองดูท่านด้วยท่าทางฉงนสนเท่ห์ ทำให้ท่านนึกถึงคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า " ความไม่เบียดเบียนกันเป็นความสงบสุขอย่างยิ่ง "

    หลวงพ่อบอกว่าพระธุดงค์ในสมัยก่อน ต้องผจญอุปสรรคและปัญหาต่างๆมากมาย จึงต้องเคี่ยวจิตใจและกำลังใจให้เข้มแข็งและแกร่งอยู่เสมอ ดังนั้นพระธุดงค์รุ่นเก่าจึงเก่งและได้เปรียบกว่าพระสงฆ์ในปัจจุบัน ทั้งในด้านจิตใจและการปฏิบัติบำเพ็ญภาวนา แต่เสียเปรียบกว่าพระสงฆ์ในยุคนี้ ในด้านการใฝ่หาความรู้ทางด้านปริยัติ เพราะในสมัยนี้ ความเจริญทำให้ไปไหนมาไหนได้สะดวกและเร็วขึ้น พระสงฆ์ในรุ่นเก่าที่อยู่ห่างไกลตัวเมืองจึงต้องบังคับจิตใจ บำเพ็ญเพียรปฏิบัติภาวนาให้เกิดปัญญาและธรรมะขึ้นในจิตในใจ เพื่อนำมาพิจารณาและปฏิบัติให้ถึงพระนิพพาน

     
  16. krit_eng99

    krit_eng99 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    791
    ค่าพลัง:
    +2,228



    ธุดงค์น้ำแข็ง

    บ่อยครั้งท่านได้ธุดงค์จาริกผ่านไปที่กิ่งอำเภออมก๋อยในฤดูหนาว บริเวณภูเขาของกิ่งอำเภออมก๋อยจะมีเหมยค้างปกคลุมไปทั่ว ( เหมยค้างนี้ภาษาภาคเหนือ หมายถึง น้ำค้างที่กลายเป็นน้ำแข็ง ) ในบริเวณนี้มีต้นสนขนาดต่างๆขึ้นเต็มไปหมด ไม่มีผู้คนอาศัยอยู่เลย เวลาย่ำเดินไปบนพื้นน้ำแข็ง ขาจะจมลึกลงไปในน้ำแข็งนั้น ทำให้เกิดความหนาวเย็นเป็นอันมาก เพราะท่านมีแต่ผ้าที่ครองอยู่เพียงชั้นเดียวเท่านั้น โดยเฉพาะเมื่อมีลมพัดผ่านมา ท่านต้องสั่นสะท้านทุกครั้ง

    ท่านได้เล่าว่า ความแห้งแล้งของอากาศและความหนาวเย็นของน้ำแข็ง ทำให้ผิวหนังของท่านแตกปริเป็นแผลไปทั้งตัว ต้องได้รับทุกขเวทนามาก สมัยนั้นในภาคเหนือ จะหากลดมาสักอันหนึ่งก็ยากมาก การธุดงค์ของท่านก็มีแต่อัฏฐบริขารเท่านั้นที่ติดตัวไปทุกหนทุกแห่ง ช้อนก็ทำจากกะลามะพร้าว ถ้วยน้ำก็ทำจากกระบอกไม้ไผ่ ผ้าจีวรที่ครองอยู่ก็ต้องปะแล้วปะอีก

    ท่านได้เมตตาเล่าว่า แต่การปฏิบัติภาวนาบนภูเขาที่มีน้ำแข็งปกคลุมมากเช่นนี้ ทำให้การปฏิบัติสมถะและวิปัสนากรรมฐานนั้นกลับแจ่มชัดและรวดเร็วดียิ่งกว่าในเวลาปกติธรรมดา เพราะทำให้ได้เห็นเรื่องของไตรลักษณ์ได้ชัดเจนดี และการพิจารณาขันธ์ ๕ อันเป็น ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา ก็สามารถเห็นอย่างแจ่มชัด ทำให้ในขณะภาวนาทำสมาธิอยู่นั้นจิตสงบดีมาก ไม่พะวงกับสิ่งภายนอกเลย

    ในบางครั้งขณะที่นั่งสมาธิอยู่นั้น ไฟที่ก่อไว้ได้ลุกไหม้จีวรของท่านไปตั้งครึ่งค่อนตัว ท่านยังไม่รู้สึกตัวเลย เมื่อจิตออกจากสมาธิแล้ว ท่านต้องรีบดับไฟที่ลุกไหม้อยู่นั้นอย่างรีบด่วน ทำให้ต้องครองผ้าจีวรขาดนั้นไปจนกว่าจะเดินทางไปพบหมู่บ้าน ท่านก็จะนำผ้าที่ชาวบ้านถวายให้มาต่อกับจีวรผืนเก่าที่เหลืออยู่นั้น ในบางครั้งท่านจะนำผ้าบังสุกุลที่พบในระหว่างทาง มาเย็บต่อจีวรที่ขาดอยู่นั้นตามแบบอย่างที่ครูบาอาจารย์ในยุคก่อนๆปฏิบัติสืบต่อกันมาตั้งแต่ครั้งสมัยพุทธกาล

    หลวงพ่อเป็นพระสงฆ์ผู้ถ่อมตน และไม่เคยโออวดเป็นนิสัย เมื่อมีผู้สงสัยว่า ท่านคงเข้าสมาธิจนสูงถึงขึ้นจิตไม่จับกับ กาย เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แล้ว จึงไม่รู้ว่าไฟไหม้ ตัวท่านมักตอบเลี่ยงไปด้วยใบหน้าเมตตาว่า " คงจะอากาศหนาวมากหลวงพ่อจึงไม่รู้ว่าไฟไหม้จีวร "

    ครูบาศรีวิชัยมรณภาพ

    เมื่อท่านได้ ๒๘ ปี ขณะนั้นท่านได้จาริกธุดงค์สั่งสอนชาวป่าชาวเขาดอยต่างๆ ท่านได้ทราบข่าวการมรณภาพของครูบาศรีวิชัย จึงได้เดินทางลงจากเขาเพื่อไปนมัสการพระศพ และช่วยจัดทำพิธีศพของครูบาศรีวิชัย ร่วมกับครูบาขาวปีและคณะศิษย์ของครูบาศรีวิชัย ที่วัดบ้านปาง เมื่อเสร็จจากพิธีบรรจุศพครูบาศรีวิชัยแล้ว กรมทางได้นิมนต์ให้ท่านไปช่วยสร้างเส้นทางบ้านห้วยกาน - บ้านห้วยหละ ซึ่งในตอนนั้นท่านก็ยังห่มผ้าสีขาวอยู่ เมื่อการสร้างทางได้สำเร็จลงแล้ว ชาวบ้านห้วยหละจึงได้มานิมนต์ท่านไปจำพรรษา และอบรมสั่งสอนพุทธบริษัทที่สำนักสงฆ์ห้วยหละ อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน

    ห่มเหลืองอีกครั้ง

    ขณะนั้นหลวงพ่ออายุได้ ๒๘ ปี ได้รับนิมนต์ไปอยู่ช่วยบูรณะวัดป่าพลู และในปีนี้ท่านได้มีโอกาสห่มเหลืองเช่นพระสงฆ์ทั่วไปอีกครั้งหนึ่ง โดยมีครูบาบุญมา วัดบ้านโฮ่ง เป็นพระอุปัชฌาย์ และได้รับฉายาใหม่ว่า " จันทวังโส "

    ในการห่มเหลืองในครั้งนี้ คณะสงฆ์ได้ออกญัตติให้ท่านต้องจำพรรษาที่วัดป่าพลูเป็นเวลา ๕ พรรษา เมื่อออกพรรษาในแต่ละปีท่านจะเดินทางไปธุดงค์และจาริกสั่งสอนธรรมะให้กับชาวป่าชาวเขาในที่ต่างๆ เสมอเหมือนที่ท่านเคยปฏิบัติมาในอดีต และบ่อยครั้งท่านจะไปช่วยครูบาขาวปีบูรณะวัดพระพุทธบาทตะเมาะ อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่

    ตรงตามคำทำนาย

    เมื่อท่านอยู่วัดป่าพลูครบ ๕ พรรษาตามบัญญัติของสงฆ์แล้ว ในขณะนั้นท่านมีอายุได้ ๓๔ ปี นายอำเภอลี้และคณะสงฆ์ในอำเภอลี้ ได้ให้ศรัทธาญาติโยมวัดนาเลี่ยงมานิมนต์ครูบาขาวปีหรือท่านองค์ใดองค์หนึ่ง เพื่อไปอยู่เมตตาบูรณะวัดพระพุทธบาทห้วยข้าวต้ม แต่ครูบาขาวปีไม่ยอมไป และบอกว่า " ไม่ใช่หนึ่งที่ของกู " ครูบาศรีวิชัยเคยพูดไว้ว่า " วัดพระพุทธบาทห้วยข้าวต้มนั้น มันเป็นหน้าที่ของครูบาวงศ์องค์เดียว "

    ด้วยเหตุนี้ ครูบาขาวปีจึงขอให้ท่านไปอยู่โปรดเมตตาสร้าง วัดพระพุทธบาทห้วยข้าวต้ม ซึ่งต่อมาในภายหลังจากที่ท่านได้ไปอยู่ที่วัดพระพุทธบาทห้วยข้าวต้มแล้ว ท่านได้เปลี่ยนชื่อให้สั้นลงเป็น " วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม "

    ในขณะที่ท่านอยู่ที่เมืองตื๋นนั้น ชาวบ้านและชาวเขาต่างเรียกท่านว่า " น้อย " เมื่อท่านมาอยู่ที่วัดพระบาทห้วยต้ม ชาวบ้านทั้งหลายจึงเชื่อกันว่า ท่านคงเป็น " พระน้อยเมืองตื๋น " ตามคำโบราณที่ได้จารึกไว้ ณ วัดพระพุทธบาทห้วย ( ข้าว ) ต้ม เหตุการณ์นี้ก็ตรงตามคำพูดของครูบาชัยลังก๋าและครูบาศรีวิชัย ดังที่กล่าวมาข้างต้น เมื่อท่านย้ายมาประจำที่วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ท่านก็ยังออกจาริกไปสั่งสอนธรรมะแก่ชาวบ้านและชาวเขาในที่ต่างๆอยู่เสมอๆเหมือนที่ท่านเคยปฏิบัติมา

    ผู้เฒ่าผู้รู้เหตุการณ์

    ในระยะแรกที่หลวงพ่อมาที่วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ผู้เฒ่าคนหนึ่งในหมู่บ้านนาเลี่ยงได้พูดกับชาวบ้านในละแวกนั้นว่า " ต่อไปบริเวณเด่นยางมูล ( คือหมู่บ้านห้วยต้มในปัจจุบัน ) จะมีชาวกะเหรี่ยงอพยพติดตามครูบาวงศ์มาอยู่ที่นี่ จนเป็นหมู่บ้านใหญ่ในอนาคต ในครั้งนี้จะใหญ่กว่าหมู่บ้านกะเหรี่ยง ๔ ยุคที่เคยอพยพมาอยู่ที่นี่ในสมัยก่อนหน้านี้ " คำพูดอันนี้ในสมัยนั้นชาวบ้านนาเลี่ยงฟังแล้วไม่ค่อยเชื่อถือกันนัก แต่ในเวลาต่อมาไม่นาน คำพูดอันนี้ก็เป็นความจริงทุกประการ

    หลวงพ่อได้เล่าให้คณะศิษย์ฟังเพิ่มเติมว่า คนเฒ่าผู้นี้เป็นผู้รู้เหตุการณ์ในอนาคต และมักจะพูดได้ถูกต้องเสมอ มีอยู่ครั้งหนึ่งหลังจากที่ท่านได้สร้างวิหารที่วัดพระพุทธบาทห้วยต้มเป็นรูปร่างขึ้นแล้ว ผู้เฒ่าคนนี้ในสมัยก่อนเคยเห็นคำทำนายโบราณของวัดพระพุทธบาทห้วยต้มมาก่อน ได้มาพูดกับท่านว่า " ท่านครูบาจะสร้างให้ใหญ่เท่าไหร่ก็สร้างได้ แต่จะสร้างใหญ่จริงอย่างไรก็ไม่สำเร็จ ต่อไปจะมีคนๆหนึ่งมาช่วย ถ้าคนนี้มาแล้วจะสำเร็จได้ "

    ชาวเขาอพยพตามมา

    เมื่อท่านอยู่ที่วัดห้วยต้มได้ไม่นาน คำพูดของผู้เฒ่าคนนี้ก็เป็นความจริง เพราะชาวเขาจากที่ต่างๆที่ท่านได้อบรมสั่งสอนมา ได้อพยพย้ายถิ่นฐานติดตามมาอยู่กับท่านเรื่อยๆจนถึงปัจจุบัน เพื่อมาขอพึ่งใบบุญและปฏิบัติธรรมะกับท่าน

    ในระยะแรกๆ นั้น ท่านได้ตั้งกฎให้กับพวกกะเหรี่ยงที่มาอยู่กับท่านว่า พวกเขาจะต้องนำมีดไม้ที่เคยฆ่าสัตว์มาถวายวัด และให้สาบานกับท่านว่า จะไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิตและจะกินมังสวิรัติตลอดไป ท่านได้เมตตาให้เหตุผลว่า ท่านต้องการให้เขาเป็นคนดี ลดการเบียดเบียน มีศีลธรรม หมู่บ้านห้วยต้มจะได้มีแต่ความสงบสุขทั้งทางโลกและทางธรรม และจะได้ไม่เป็นปัญหาของประเทศชาติต่อไป ดังที่เราจะเห็นได้จากการที่ชาวกะเหรี่ยงในหมู่บ้านห้วยต้มนี้มีความเป็นอยู่ที่เป็นระเบียบและมีความสงบสุข ตามที่ท่านได้เมตตาอบรมสั่งสอนมา ทั้งที่ในหมู่บ้านนี้มีกะเหรี่ยงอยู่หลายพันคน

    แต่ในสมัยนี้ กฎและระเบียบที่ชาวกะเหรี่ยงที่จะย้ายมาอยู่ที่หมู่บ้านห้วยต้มที่จะต้องนำมีดไม้ที่เคยฆ่าสัตว์มาสาบานกับหลวงพ่อนั้นได้ยกเลิกไปโดยปริยาย เพราะหลวงพ่อเห็นว่า ทางราชการได้ส่งหน่วยงานต่างๆเข้ามาจัดการดูแลช่วยเหลือ และให้การศึกษาแก่พวกเขา คงจะช่วยพวกเขาให้มีการดำรงชีวิตที่ดีขึ้น และมีความสงบสุขเป็นระเบียบเหมือนที่ท่านเคยอบรมสั่งสอนมา

    สมณศักดิ์

    ๔ เมษายน ๒๕๑๔ เป็นพระครูใบฎีกาชัยยะวงศาพัฒนา

    ๕ เมษายน ๒๕๓๐ เป็นพระครูพัฒนากิจจานุรักษ์

    ๑๐ ธันวาคม ๒๕๓๓ เป็นเจ้าอาวาสวัดพระพุทธบาทห้วยต้ม

    ๕ ธันวาคม ๒๕๔๐ เป็นพระครูพัฒนกิจจานุรักษ์ เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ชั้นโท

    เกียรติคุณ

    ๑๕ มีนาคม ๒๕๑๐ ได้รับแต่งตั้งเป็น กรรมการพัฒนาท้องถิ่นในเขตอำเภอลี้ โดยเจ้าคณะจังหวัดลำพูน

    ๙ พฤศจิกายน ๒๕๓๖ ได้รับรางวัล " ครูบาศรีวิชัย " ในฐานะที่ท่านเป็นบุคคลที่มีผลงานการส่งเสริมพัฒนาพระพุทธศาสนา กิจการสาธารณะ มีความวิริยะ เสียสละเพื่อสังคม และเป็นแบบอย่างที่ดี มีปฏิปทาเดินตามรอยเยี่ยง ครูบาเจ้าศรีวิชัยนักบุญนักพัฒนาแห่งล้านนาไทย

    ๓ เมษายน ๒๕๓๙ ได้รับโล่เชิดชูเกียรติคุณในฐานะ " คนดีศรีทุ่งหัวช้าง " จาก อ.ทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน

    ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๒ ได้รับโล่เชิดชูเกียรติในฐานะเป็น ผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านศิลปินดีเด่น จังหวัดลำพูน สาขาศิลปะ สถาปัตยกรรม จากคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ

    ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๔๒ ได้รับรางวัล เสมาธรรมจักร ในฐานะ " บุคคลผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา สาขาส่งเสริมการพัฒนาชุมชน "

    ประวัติการจำพรรษา

    ลำดับการจำพรรษาเมื่อเป็นพระภิกษุ

    พรรษาที่ ๑ พ.ศ.๒๔๗๕ ( อายุ ๒๐ ปี ) วัดห้วยแม่บางแบ่ง เขตพม่า ( อุปสมบทที่วัดป่าน้ำ เมื่อเดือน ๕ เหนือ โดยมีครูบาเจ้าพรหมจักร เป็นพระอุปัชฌาย์ )

    พรรษาที่ ๒-๔ พ.ศ.๒๔๗๖-๗๘ ( อายุ ๒๑-๒๓ ปี ) วัดจอมหมอก ต.ม่อนจอง อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่

    พรรษาที่ ๕ พ.ศ.๒๔๗๙ ( อายุ ๒๔ ปี ) วัดห้วยเปียง อ.แม่ระมาด จ.ตาก

    พรรษาที่ ๖ พ.ศ.๒๔๘๐ ( อายุ ๒๕ ปี ) วัดไม้ตะเคียน อ.แม่ระมาด จ.ตาก

    พรรษาที่ ๗-๘ พ.ศ.๒๔๘๑-๘๒ ( อายุ ๒๖-๒๗ ) วัดห้อยเปียง ( นุ่งขาวห่มขาว )

    พรรษาที่ ๙ พ.ศ.๒๔๘๓ ( อายุ ๒๘ ปี ) วัดห้วยหละ ต.ป่าพลู อ.บ้านโอ่ง จ.ลำพูน

    พรรษาที่ ๑๐-๑๔ พ.ศ. ๒๔๘๔-๘๘ ( อายุ ๒๙-๓๓ ปี ) วัดป่าพลู ต.ป่าพลู อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน

    พรรษาที่ ๑๕-๑๘ พ.ศ.๒๔๘๙-๙๒ ( อายุ ๓๔-๓๗ ปี ) วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ต.นาทราย อ.ลี้ จ.ลำพูน

    พรรษาที่ ๑๙-๒๔ พ.ศ.๒๔๙๓-๙๘ ( อายุ ๓๘-๔๓ ปี ) วัดแม่ต๋ำ ต.เสริมซ้าย อ.เสริมงาม จ.ลำปาง

    พรรษาที่ ๒๕-๒๗ พ.ศ.๒๔๙๙-๒๕๐๑ ( อายุ ๔๔-๔๖ ปี ) วัดน้ำอุ่น ต.แม่ตืน อ.ลี้ จ.ลำพูน

    พรรษาที่ ๒๘ พ.ศ.๑๕๐๒ ( อายุ ๔๗ ปี ) วัดพระธาตุห้าดวง ต.ลี้ อ.ลี้ จ.ลำพูน

    พรรษาที่ ๒๙-๖๙ พ.ศ.๒๕๐๓-๒๕๔๓ ( อายุ ๔๘-๘๘ ปี) วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ต.นาทราย อ.ลี้ จ.ลำพูน

    [​IMG]

    สรุปอาการป่วยและการมรณภาพ

    [​IMG]

    วันที่ ๑๑ พ.ค. ๒๕๔๓ หลวงปู่พระครูบาชัยยะวงศาพัฒนา ได้เดินทางไปรักษาองค์ท่านที่ โรงพยาบาลลานนา จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลที่หลวงปู่ได้เข้าทำการรักษาองค์ท่านเป็นประจำ เนื่องจากมีอาการ อ่อนเพลียและมีอาการหลงๆ ลืมๆ ขณะแพทย์ได้ทำการเติมโปรตีนและเปลี่ยนยาให้ท่าน เพราะมียาบางตัวมีผลทางด้านระบบประสาท องค์หลวงปู่มีอาการดีขึ้นเป็นลำดับ และกำหนดจะกลับวัดในวันจันทร์ที่ ๑๕ พ.ค. ๒๕๔๓

    ในคืนวันอาทิตย์ที่ ๑๔ พ.ค. ๒๕๔๓ เวลาประมาณ ๕ ทุ่มเศษ หลวงปู่ได้มีอาการท้องผูกและ ถ่ายไม่ออก ได้มีการสวนทวารเพื่อให้ท่านถ่ายเพราะหลวงปู่ปวดท้องมาก ช่วงนี้ จนถึงเวลา ๐๖.๐๐ น. เศษ ของวันจันทร์ที่ ๑๕ พ.ค. ๒๕๔๓ หลวงปู่ได้ถ่ายประมาณ ๔ ครั้ง และมีอาการอ่อนเพลีย หายใจไม่ออก หลวงปู่ปรารภว่า เจ็บที่ลิ้นปี่ เจ็บอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน วันนี้หลวงปู่ฉันไม่ได้ เวลา ๐๗.๐๐ น. เศษ แพทย์ได้ตรวจดูอาการ หลวงปู่และได้ทราบว่าหลวงปู่มีอาการโรคหัวใจกำเริบ แพทย์จึงกราบนิมนต์หลวงปู่เข้ารักษาที่ห้อง ICU

    หลวงปู่ได้อยู่รักษาที่ห้อง ICU โดยอยู่ในความดูแลของแพทย์ อาการ ของหลวงปู่เริ่มดีขึ้น เล็กน้อย ช่วงบ่ายความดันเริ่มต่ำลง ไตเริ่มไม่ทำงานทำให้ปัสสาวะไม่ออก แพทย์ได้เชิญแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านหัวใจและไตมาช่วยรักษาอาการหลวงปู่ ช่วงเย็นคณะแพทย์ได้พิจารณาสวนปัสสาวะให้หลวงปู่ แต่ปัสสาวะก็ไม่ออก คณะแพทย์จึงตัดสินใจเจาะช่องท้องเพื่อเอาปัสสาวะหลวงปู่ออก เมื่อปัสสาวะหลวงปู่ออกแล้ว ความดันหลวงปู่เริ่มดีขึ้นคุยได้ พูดได้ คณะแพทย์ต้องการให้ ท่านพักผ่อน จึงห้ามเยี่ยมหลวงปู่ ช่วงกลางคืนจนถึงเช้าของวันอังคารที่ ๑๖ พ.ค. ๒๕๔๓ หลวงปู่ ให้พระที่ดูแลท่านแปรงฟันให้ท่าน ท่านยังคุยพูดได้บ้าง แต่ยังมีอาการเหนื่อย เช้าวันนี้หลวงปู่ฉันน้ำข้าวได้ ๔-๕ ช้อน เมื่อฉันเสร็จท่านก็พัก ดูอาการหลวงปู่ดีขึ้น ช่วงเช้ามีหลวงพ่อพระครูบาพรรณ วัดนาเลี่ยงและท่านพระคำจันทร์ วัดพระบาทห้วยต้ม ไปกราบเยี่ยมอาการหลวงปู่ หลวงปู่ท่านก็คุยได้ ยังให้ศีลให้พรหลวงพ่อพระครูบาพรรณได้อย่างชัดเจน

    หลังจากนั้นเวลาบ่ายโมง หลวงปู่เริ่มมีอาการกระวนกระวาย และหายใจไม่ออก ความดันต่ำลงเรื่อยๆ คณะแพทย์ได้ปรึกษากันและลงความเห็นว่า ให้ย้ายหลวงปู่เข้าไปรักษาที่โรงพยาบาลมหาราช (สวนดอก) เพราะที่โรงพยาบาลลานนา ไม่มีเครื่องมือที่จะรักษาอาการของหลวงปู่ได้

    เมื่อไปถึง โรงพยาบาลมหาราช ทางคณะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจและไต ได้ทำการรักษาหลวงปู่ และได้พบว่าหลวงปู่มีเลือดไปอุดตันที่เส้นเลือดหัวใจข้างขวา ยาวประมาณ ๔-๕ นิ้ว ไตไม่ทำงาน ปอดอักเสบและมีไข้ คณะแพทย์จึงได้ทำการรักษาหลวงปู่ด้วยวิธีสุดท้าย คือ ใช้บอลลูนไปช่วยทำให้เลือดที่อุดตันเส้นเลือดใหญ่กระจาย

    เวลาประมาณ ๑๗.๐๐ น. เศษ หลวงปู่ออกมาจากห้องทำบอลลูน ดูท่านดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ยกแขนและคุยได้ดี คณะแพทย์ได้พาหลวงปู่มาอยู่ที่ห้อง CCU ตึกศรีพัฒน์ ชั้น ๘ โรงพยาบาลมหาราช เวลาประมาณทุ่มเศษ หลวงปู่เริ่มมีอาการหายใจไม่ออก แน่นหน้าอก คณะแพทย์ได้จึงได้ช่วยกัน รักษาหลวงปู่อย่างสุดความสามารถ แต่อาการก็ไม่ดีขึ้น ไตไม่ทำงาน ความดันต่ำลงเรื่อยๆ เพราะ เลือดที่อุดตันกระจายทำให้หลวงปู่ดีขึ้น แต่ไม่สามารถผ่านเส้นเลือดเล็กๆ ที่ไปเลี้ยงร่างกายได้เพราะเลือดแข็งตัวเป็นลิ่ม จึงอุดตันที่เส้นเลือดเล็ก ทำให้หลวงปู่ทรุดลงอีก หายใจไม่ออกแน่นหน้าอก จนท่านหมดสติ คณะแพทย์ได้พยายามให้ยาละลายเลือดที่อุดตัน แต่ก็ไม่ได้ผล ความดันเริ่มต่ำลงอีก

    คณะแพทย์ช่วยหลวงปู่จนถึงเวลา ประมาณตีหนึ่ง ของวันที่ ๑๗ พ.ค. ๔๓ คณะแพทย์ได้แจ้งว่าไตของหลวงปู่ไม่ทำงานแล้ว สมองไม่สั่งงาน เวลา ๐๑.๑๐ น. คณะแพทย์แจ้งว่าหัวใจของหลวงปู่ได้หยุดเต้น ไม่มีระบบการตอบรับของร่างกายหลวงปู่แล้ว แต่ยังใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจอยู่ ถึงอย่างไรหลวงปู่ก็ไม่สามารถกลับมาหายใจได้อีก เพราะเส้นเลือดหัวใจอุดตัน ไตวาย สมองไม่ทำงาน ปอดอักเสบ ช่วงนั้นหลวงพ่อพระครูบาพรรณอยู่ในห้อง CCU พอดี ท่านจึงยังไม่ให้แพทย์เอา เครื่องกระตุ้นหัวใจออก

    จนถึงเวลา ๐๗.๓๐ น. คณะศิษย์ นำโดยหลวงพ่อพระครูบาพรรณ วัดนาเลี่ยง อ.ลี้ จ.ลำพูน ได้ทำพิธีขอขมาพระศพหลวงปู่ และให้คณะแพทย์ถอดเครื่องกระตุ้นหัวใจหลวงปู่ออก หลวงปู่ จึงนอนพักอย่างสงบตั้งแต่นั้นมา

    พระอนันต์ วัดพระธาตุห้าดวง ผู้บันทึก

     
  17. krit_eng99

    krit_eng99 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    791
    ค่าพลัง:
    +2,228
    พระเทวานัมปิยเถระ

    [​IMG] [​IMG]
    [​IMG]

    ภาพนี้ถ่ายเมื่อวันที่หลวงปู่ไปรับพระราชทานสมณศักดิ์ที่ “พระครูพัฒนกิจจานุรักษ์” ท่านได้แวะผักผ่อนที่วัดบ้านปาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูนและอาจารย์ปฐม พัวพันธ์สกุล ได้ถ่ายภาพขณะที่ท่านวัดรอยเท้าของท่านเองเมื่อครั้งท่านอายุได้ ๒๒ ปี ที่ท่านได้เคยประทับไว้บนก้อนหินก้อนนี้ ในขณะที่ท่านได้ไปทำธุระส่วนตัวในป่าข้างทาง หลังจากทำธุระเสร็จแล้ว เทวดาได้ขอให้หลวงปู่ประทับรอยเท้าลงบนหินก้อนใหญ่ ใต้ต้นไผ่หน้าประตูทางขึ้นวัดบ้านปาง เพื่อพวกเขาจะได้กราบไหว้บูชา

    ปัจจุบันหินก้อนนี้เจ้าอาวาสวัดบ้านปางได้นำขึ้นไปประดิษฐานไว้บนวัด (ใกล้ประตูทางเข้าเขตอุโบสถ) และได้ให้หลวงปู่ประทับรอยมือไว้บนหินก้อนดังกล่าว พร้อมทั้งสร้างมณฑปครอบไว้อย่างสวยงาม

    (จากหนังสือพระชัยวงศานุสสติ)


     
  18. krit_eng99

    krit_eng99 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    791
    ค่าพลัง:
    +2,228
    ประวัติครูบาธรรมชัย วัดทุ่งหลวง

    [​IMG]

    ครูบาธรรมชัย วัดทุ่งหลวง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่

    คำสอนอาจารย์
    ครูบาธรรมชัยเป็นพระปฏิบัติชอบ เป็นที่เคารพเลื่อมใสศรัทธาของประชาชน อย่างกว้างขวางอีกองค์หนึ่งแห่งถิ่นไทยงาม ท่านเป็นพระอาจารย์สายเดียวกันกับครูบาชุ่ม โพธิโก ครูบาคำแสน วัดสวนดอก ที่เคยเป็นศิษย์ใกล้ชิดครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญผู้ยิ่งใหญ่แห่งลานนาไทยมาก่อน

    เมื่อปี พ.ศ. 2481 ขณะที่ครูบาเจ้าศรีวิชัยป่วยหนักอยู่ ณ วัดจามเทวี ครูบาธรรมชัย และครูบาชุ่ม โพธิโก ได้ร่วมเฝ้ารักษาพยาบาลอย่างใกล้ชิดทั้งกลางวัน กลางคืน ท่านครูบาทั้งสองผู้เป็นศิษย์ รู้ได้ด้วยญาณว่าพระอาจารย์ใหญ่ครูบาเจ้าศรีวิชัย เห็นจะไม่รอดแน่แล้วครั้งนี้ เพราะอาการป่วยหนักมีแต่ทรงกับทรุด สุดความสามารถของหมอจีน หมอไทย และหมอฝรั่งในสมัยนั้นจะเยียวยารักษา ท่านครูบาเจ้าศรีวิชัยเอง ก็รู้ตัวว่าอาพาธครั้งนี้ท่านไม่รอดแน่ ๆ ท่านไม่เคยเกรงกลัวกับความตายเลย ไม่รังเกียจความตาย เพราะการที่มนุษย์เราตายไปนั้น เป็นเสมือนปิดบัญชีลูกหนี้เสียครั้งหนึ่งนั่นเอง

    "คำสั่งสอนก่อนทิ้งสังขาร"
    "ศิษย์ทั้งหลาย เราเห็นจะไม่รอดแน่ อาการครั้งนี้หนักนักขอทุกคนอย่าได้ทิ้งการงานที่เราทำไว้ จงช่วยกันจัดการก่อสร้างการบุญสุนทานแทนเราต่อไปเถิด " ครูบาเจ้าศรีวิชัยบอกกับครูบาชุ่ม และ ครูบาธรรมชัย ตลอดจนศิษย์ทุกคนในวันนั้น ด้วยเหตุนี้เอง ครูบาชุ่ม โพธิโก และครูบาธรรมชัย จึงได้ดำริมีความคิดเห็นตรงกันว่า ควรจะได้ว่าจ้างช่างมาปั้นรูปเหมือนท่านครูบาเจ้าศรีวิชัย ไว้เป็นที่ระลึก สำหรับให้คณะศิษยานุศิษย์ทั้งหลาย ได้กราบไหว้บูชา ช่างได้ปั้นรูปเหมือนครูบาเจ้าศรีวิชัยอย่างเร่งรีบ ขนาดเกือบเท่าองค์จริงแข่งกับเวลามรณภาพที่ใกล้เข้ามาทุกที เมื่อช่างปั้นรูปเหมือนเสร็จเรียบร้อยแล้ว ครูบาชุ่มและครูบาธรรมชัยได้พร้อมใจกันกับคณะศิษย์ ยกเอารูปปั้นเข้าไปวางยังปลายเท้าครูบาเจ้าศรีวิชัยที่กำลังนอนอาพาธอยู่ จากนั้นก็นมัสการกราบเรียนให้ท่านทราบถึงวัตถุประสงค์ ในการปั้นรูปเหมือนของท่านขึ้นในครั้งนี้ ครูบาเจ้าศรีวิชัยได้บอกให้ครูบาชุ่ม และครูบาธรรมชัยช่วยกันประคองร่างท่านลุกขึ้นนั่ง เมื่อท่านครูบาเจ้าศรีวิชัยได้เห็นรูปปั้นของท่านแล้ว ท่านถึงน้ำตาเอ่อออกมาคลอดเบ้าด้วยความปิติยินดี น้ำตาค่อย ๆ ไหลลงอาบแก้ม ขณะที่ท่านได้ยื่นมือมาลูบไล้รูปปั้นของท่าน พลางพึมพำโมทนาว่า

    "ขอให้ศิษย์ทั้งหลาย ให้ถือปฏิบัติบำเพ็ญความดีดังรูปปั้นนี้ให้ยึดมั่นในพระวินัย ให้มีเมตตากรุณาต่อประชาชนโดยเสมอหน้ากัน อย่าเลือกที่รักมักที่ชัง จงบำเพ็ญประโยชน์ให้แก่สาธารณะอบรมศรัทธาประชาชนให้อยู่ในศีลกินในธรรม ปกติประชาชนนั้นมีความดีอยู่ในตัวมากบ้างน้อยบ้างไม่เสมอกัน กิเลสตัณหาสิ่งแวดล้อม ทำให้พวกเขาหลงผิดคิดทำบาปอกุศลต่าง ๆ นานาไปตามอารมณ์อันรู้เท่าไม่ถึงการณ์ จงพยายามสั่งสอนอบรมศรัทธาประชาชนให้เข้าใจถึงธรรมะความเป็นจริงของชีวิตในโลกนี้และโลกหน้าเถิด"

    ครูบาชุ่ม และ ครูบาธรรมชัยก้มกราบรับเอาคำสั่ง ของพระอาจารย์ครูบาเจ้าศรีวิชัยใส่หัวใส่เกล้าด้วยความซาบซึ้งถึงใจ เวลานี้รูปปั้นเหมือนองค์นี้ยังคงประดิษฐานอยู่ ณ วัดวังมุย ตำบลประตูป่า อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ประชาชนเคารพบูชาเลื่อมใสมาก มีอภินิหารปรากฏอยู่เสมอ หลังจากถวายฌาปนกิจครูบาเจ้าศรีวิชัยแล้ว

    ครูบาธรรมชัยได้กลับมาทำหน้าที่เป็นครูสอนโรงเรียนประชาบาล และครูสอนนักธรรมที่สำนักวัดป่าสัก และ วัดน้ำพุ สมัยนั้นครูสอนประชาบาลหายาก ทางศึกษาธิการอำเภอได้อาราธนาให้พระภิกษุสงฆ์ช่วยสอนหนังสือเด็ก ๆ ชาวบ้านด้วย เป็นการสอนฟรี ๆ ไม่ได้มีเงินเดือนอะไร ซึ่งครูบาธรรมชัยก็เต็มใจสอนให้ด้วยจิตอันเปี่ยมไปด้วยเมตตา มีความกรุณาสงสารเด็ก ๆ ชาวบ้าน ท่านสอนหนังสือและสอนนักธรรมเป็นเวลาถึง 9 ปี สอนนักธรรมได้นิตยภัตรปีละ 24 บาท

    [​IMG]

    ประวัติครูบา
    ครูบาธรรมชัย นามเดิมว่า กองแก้ว เมืองศักดิ เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ.2457 ตรงกับเดือน 9 เหนือ ขึ้น 14 ค่ำ ปีขาลฉะศก ทางเหนือเรียกว่า ปีกาบยี่ รศ.133 จุลศักราช 1276 ถือกำเนิดที่หมู่บ้านสันป่าสัก หมู่ที่ 6 ตำบลป่าสัก อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน เป็นบุตรของนายสุจา หรือหนามพรหมเสน มารดาชื่อนางคำป้อ บิดามารดามีอาชีพแพทย์แผนโบราณและช่างไม้ ทำสวน ทำนา มีพี่น้องร่วมท้องมารดาเดียวกัน 7 คน ท่านเคารพบูชาในบิดา มารดามาก เชื่อฟังคำสั่งสอนอยู่ในโอวาทของผู้บังเกิดเกล้าอย่างเคร่งครัด ท่านเป็นผู้มีนิสัยพูดจริง ทำจริง ไม่เหลาะแหละเหลวไหล สนใจในธรรมะ ชอบเข้าวัดเข้าวามาตั้งแต่เล็ก ๆ เพราะบิดาเคยบวชเรียนมาแล้วรอบรู้ในอรรถในธรรม จึงได้อบรมปลูกนิสัยลูกทุก ๆ คนให้ยึดมั่นในพระรัตนตรัย

    ท่านได้เข้ารับการศึกษาจากโรงเรียนประชาบาล ณ บ้านสันป่าสักจบชั้นประถมปีที่ ๓ มีความประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตนกิริยามารยาทเรียบร้อยมีความอุตสาหพยายามเป็นผู้มีความเสียสละกตัญญูกตเวทีตาต่อบุพการี

    สามเณรกองแก้ว
    เมื่อท่านเรียนจบชั้นประถม 3 อายุได้ 15 ปี ครูบาธรรมชัย ได้เข้าอบรมเป็นศิษย์วัดสันป่าสักอยู่ 3 เดือน หัดท่องเรียนเขียนอ่านตัวอักขระพื้นเมืองเหนือและเรียนสวดมนต์สิกขาสามเณร โดยมีพระบิดา และพระอินหวันเป็นผู้สอน เมื่อท่องเรียนเขียนอ่านได้คล่องแล้ว จึงได้บวชเป็นสามเณรในวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ.2471 เดือน 6 เหนือ ขึ้น 6 ค่ำ ปีมะโรงสัมฤทธิศก ทางเหนือเรียกว่าปีเบิกสี เจ้าอธิการคำมูล ธัมวงฺโส วัดแม่สารบ้านตอง เป็นอุปัชฌาย์

    เป็นสามเณรอยู่ได้ 1 พรรษา มีความสนใจในสมถกรรมฐานมาก ไม่ว่าจะทำงานอะไรอยู่ที่ไหน จิตใจคอยครุ่นคิดอยู่แต่เรื่องการธุดงค์ของพระสงฆ์องค์เจ้า รุ่นครูบาอาจารย์ทั้งหลาย ที่บวชเรียนแล้วนิยมพากันเข้าป่าบำเพ็ญเพียรภาวนา แสวงหาธรรมวิเศษ เราเป็นสามเณรน้อยก็ได้ชื่อว่าบวชเรียนเข้ามาอาศัยในพระศาสนา ควรจะออกเดินทางเข้าป่าดูบ้างเพื่อแสวงหาพระธรรมอันวิเศษ

    หลังจากครุ่นคิดไตร่ตรองอยู่หลายวัน ท่านจึงได้เข้าไปกราบลาสมภารเจ้าวัดว่า ขอลาเข้าไปบำเพ็ญกรรมฐานในป่าสักหนึ่งพรรษา สมภารเจ้าวัดตกใจ เพราะยังเห็นว่าเป็นสามเณรอ่อนพรรษา ไม่ประสีประสาในเรื่องอรรถธรรมตลอดจนวัตรปฏิบัติของพระธุดงค์ดีพอ ขืนเข้าไปอยู่ป่าอาจจะเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้โดยง่าย จึงได้ห้ามปราบไว้ แต่ครูบาธรรมชัย หรือสามเณรกองแก้วในสมัยนั้น ก็ยืนกรานที่จะเดินธุดงค์เข้าป่า ไปกระทำความเพียรแต่เพียงผู้เดียวให้จงได้ สมภารเจ้าวัดอ่อนอกอ่อนใจเลยอนุญาตให้ไปได้ตามปรารถนาไม่อย่างชัดศรัทธาให้เป็นบาป และยังได้แนะนำแนวทางการปฏิบัติกรรมฐานในป่าให้หลายอย่างด้วยความเมตตาเอ็นดู

    ธุดงค์โดดเดี่ยว
    เมื่อกราบลาสมภารเจ้าวัดแล้ว สามเณรกองแก้วก็ออกจากวัดไป มีบริขารเท่าที่จำเป็น ตามถ้ำ ตามเพิงผา ไม่จำเป็นต้องใช้กลดใช้มุ้งให้ยุ่งยาก ถ้ายุงจะกัด ทากจะดูดกินเลือดก็ให้มันกินเลือดตามต้องการ ไม่อาลัยใยดีในสังขาร แต่สำหรับบาตรนั้นจำเป็นต้องมีเพื่อใช้ในการออกบิณฑบาต หาปัจจัยมาหล่อเลี้ยงสังขารตามความจำเป็น เมื่อเดินทางไปถึงป่าห้วยดิบแต่ลำพังผู้เดียว ได้พบชาวบ้านวัยกลางคนผู้หนึ่งออกมาจากป่า ชายผู้นั้นแสดงความตกใจ เมื่อรู้ว่าสามเณรองค์น้อยจะเข้าป่าไปบำเพ็ญเพียรภาวนา เขาได้กล่าวเตือนอย่างหวาดกลัวว่า เวลานั้นมีเสือเย็นหรือเสือสมิงตัวหนึ่งกำลังออกอาละวาดหากินอยู่ในป่า เสือดุร้ายตัวนี้โตใหญ่เกือบเท่าควายหนุ่ม เป็นเสืออาคม คือ มีตุ๊เจ้าหรือพระองค์หนึ่งแก่กล้าวิชาไสยศาสตร์ เกิดร้อนวิชามีอาเพศให้เป็นไปด้วยบาปกรรม ชอบแปลงร่างเป็นเสือตัวใหญ่ลักเอาวัวควายชาวบ้านไปกินบ่อย ๆ นานวันเข้าถึงกับคาบเอาคนไปกิน มีชาวบ้านที่ออกป่าไปเก็บฟืนและสมุนไพรในป่าแล้วถูกเสืออาคมตัวนี้คาบไปกินหลายรายแล้ว ขอให้สามเณรรีบกลับวัดเสียเถิด ขืนเข้าไปอยู่ในป่ามีหวังเจอเสือเย็นตัวนี้แน่

    สามเณรไม่กลัวเสือ บอกว่าอันคนเรานี้ ไม่ว่าจะยากดีมีจน เมื่อเกิดมาก็ดิ้นรนกันไปต่าง ๆ นานา แล้วในที่สุด ก็สิ้นสุดปลายทางที่ความตายเหมือนกันหมด ไม่มีใครที่จะหลีกหนีความตายไปได้พ้น เราเกิดมาในชาตินี้ ได้บวชเรียนในพระศาสนา ถือได้ว่าเป็นบุญกุศลใหญ่ จะต้องปฏิบัติกิจพระศาสนาด้วยการลงมือปฏิบัติธรรมให้รู้แจ้งเห็นจริง ด้วยการเข้าไปปฏิบัติกรรมฐานในป่า ขออุทิศชีวิตให้กับป่าดงพงพี เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายอันพึงจะมี มิได้อาลัยเสียดายต่อชีวิต ถ้าจะตายก็ขอให้มันตายไปเถิด ขอให้ปฏิบัติธรรมบำเพ็ญเพียงสร้างสมบารมีเป็นพอ ชีวิตคนเรานี้สั้นนัก วันตายจะมาถึงเมื่อไรไม่มีใครรู้ ดังนั้นจึงอยากจะเร่งรีบสร้างความดีด้วยการปฏิบัติธรรมเพราะการรีรอผัดวันประกันพรุ่งย่อมถือได้ว่า เป็นผู้อยู่ในความประมาท ปัจฉิมโอวาทหรือพระวาจาครั้งสุดท้ายของพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ได้ทรงรวบรวมซึ่งโอวาททั้งปวงที่ได้ประทานไว้ตลอด 45 พรรษา ลงในจุดใหญ่ใจความคือ ความไม่ประมาท อันเดียวเท่านั้นพระพุทธองค์ตรัสว่า

    "ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราผู้ตถาคตเตือนท่านทั้งหลายให้รู้ สังขารมีความเสื่อมความฉิบหายไปเป็นธรรมดา"

    "ท่านทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงอันเป็นประโยชน์ตนและผู้อื่นให้สมบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด"ชายชาวบ้านได้สดับตรับฟังถ้อยวาจาของสามเณรกองแก้วดั่งนี้ ก็ยกมือโมทนาสาธุให้กับความตั้งใจอันอาจหาญเด็ดเดี่ยวของสามเณร และกล่าวสรรเสริญว่า สามเณรแม้จะอายุยังน้อยแต่มีจิตเคารพศรัทธาเลื่อมใสในหลักธรรมของพระพุทธเจ้าอย่างไม่มีวิจิกิจฉา คือไม่มีความสงสัยในพระรัตนตรัยสามเณรเป็นผู้เจริญโดยแท้ เป็นนักบุญที่มนุษย์และเทวดาจะพึงสรรเสริญ กล่าวแล้วชายชาวบ้านป่าก็กราบลาไป

    ป่าห้วยดิบ
    สามเณรกองแก้วได้ธุดงค์เข้าไปในป่าห้วยดิบด้วยจิตตั่งมั่นไม่หวั่นไหว ป่าใหญ่แห่งนี้ชุกชุมด้วยสัตว์ร้ายอาศัยหากิน เช่น เสือ ช้าง หมี งู กระทิง เป็นต้น สามเณรเลือกได้ทำเลเหมาะสมใต้ต้นไม้ใหญ่ร่มรื่นเป็นที่พักอาศัยสำหรับนั่งบำเพ็ญสมาธิและเดินจงกรม ธรรมชาติของป่าอันสงัดเงียบวังเวงใจ ทำให้อารมณ์ความรู้สึกเบาสบายถูกกับนิสัยรักสงบของท่านมาก ความรู้สึกหวาดกลัวภัยอันตรายในป่าไม่มีเลย เพราะได้ตั้งจิตที่จะอุทิศตนต่อการปฏิบัติกรรมฐานอย่างเด็ดเดี่ยว แม้จะเสียชีวิตก็ไม่อาลัยเสียดาย เพื่อที่จะพิสูจน์ว่าตนเองมีศรัทธาในธรรมะของพระพุทธเจ้าอย่างเด็ดขาด ไม่สงสัยหวั่นไหว เมื่อไม่หวั่นไหวมีใจตั้งมั่นในการปฏิบัติจนถึงที่สุดจักต้องพบธรรมวิเศษ อันเป็นพระธรรมที่พ้นจากโลก อยู่เหนือโลกและไม่ถูกจำกัดด้วยกาลเวลาอย่างแน่นอน คืนแรกในป่าห้วยดิบ

    สามเณรนั่งสมถภาวนาอยู่จนค่อนคืนจิตตั้งมั่นในสมาธิยังไม่เป็นที่พอใจ เพราะยังมีถีนะมิทธะความง่วงเหงาหาวนอนบ้าง ความคิดฟุ้งซ่านของอารมณ์บ้าง (อุทธัจจะกุกกุจจะ) ซึ่งเป็นสิ่งกั้นความดีมิให้เกิดที่เรียกว่า นิวรณ์คอยรบกวนจิตไม่ให้รวมตัวสงบได้ ทำให้ได้ความรู้ว่า ความตั้งใจของคนเรานี้ พอทำเข้าจริง ๆ มันไม่ค่อยจะได้ผลดังใจเลย ต้องมีอุปสรรคขัดขวางเป็นธรรมดา จิตคนเรานี่มันเหมือนลิงหลุกหลิกยิ่งพยายามจะบังคับให้อยู่นิ่ง ๆ ยิ่งหลุกหลิกไปกันใหญ่ ทำให้รู้สึกนึกขำ และตั้งใจว่าจะต้องเพ่งเพียรเอาชนะจิต บังคับมันให้สงบอยู่ในอำนาจของตนให้จงได้ หลังจากเดินจงกรมแล้วก็นั่งหลับในงีบหนึ่งก็พอดีสว่าง ตลอดคืนไม่มีสัตว์ป่าเข้ามาแผ้วพานรบกวนเลย ลงไปอาบน้ำเย็นเฉียบชำระกายในห้วย แล้วจึงออกไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน ได้อาหารพอสมควรตามศรัทธาของชาวบ้าน นำมาขบฉันในป่าแต่พออิ่ม เพื่อยังชีพ ไม่พยายามติดใจในรสชาติเอร็ดอร่อยของอาหาร เห็นว่าอาหารเป็นสิ่งปฏิกูลที่จำใจต้องขบฉันเข้าไปก็เพื่อให้สังขารร่างกายพอดำรงอยู่ได้เท่านั้น เพื่อที่จะมีแรงบำเพ็ญสมณธรรมต่อไป ขณะที่นั่งขบฉันอาหารในบาตรอยู่ใต้ต้นไม้นั้น สังเกตเห็นว่า ตรงที่นั่งอยู่มีรอยบุ๋มกดลงไปในดิน เมื่อเพ่งดูก็รู้ว่าเป็นรอยตีนเสือขนาดใหญ่เท่าจานข้าว รู้สึกแปลกใจจึงลุกขึ้นเดินสำรวจดูก็ได้พบอีกว่า มีรอยเสือใหญ่อยู่ทั่วบริเวณนั้น เป็นรอยใหม่ ๆ แสดงว่า เสือตัวนี้มันมาเดินวนเวียนอยู่โคนต้นไม้ตอนที่สามเณรเข้าไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน

    พอรู้ว่าเสือขนาดใหญ่มาปรากฏในบริเวณที่นั่งสมาธิบำเพ็ญบารมี พลันมีอาการขนลุกซู่ไปทั้งตัว จิตใจหวั่นไหวรู้สึกกลัวจนตัวสั่นขาดสติไปชั่วขณะ แต่แล้วก็ตั้งสติได้ และนึกขำตัวเองทีแรกบอกว่าไม่กลัวอะไร พร้อมแล้วที่จะยอมตายในป่า แต่พอเอาเข้าจริง ๆ เห็นแค่รอยเสือก็ตกใจกลัวขาดสติเสียแล้ว นี่แสดงอีกว่า จิตคนเรานี้มันชอบหลอกหลอนตัวเราเอง เหมือนลิงหลอกเจ้าจริง ๆ เมื่อรู้แน่ว่า เสือมาเยี่ยมจริง ๆ ไม่ได้ตาฝาดหรือฝันไป สามเณรก็พยายามสงบใจลงนั่งที่โคนต้นไม้ใหญ่ ดำรงสติให้ตั้งมั่นรำพึงถึง "สติปัฎฐาน 4" อันเป็นหลักสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ว่าภิกษุในพระธรรมวินัยไปอยู่ในป่าหรือว่าอยู่ที่โคนต้นไม้ หรือ ไปอยู่ที่ว่างบ้านเรือนสกปรกโสโครกทั้งข้างนอกข้างใน ชวนให้อาเจียนเหียนรากแท้ ๆ เราเบื่อหน่ายในร่างกายเราปรารถนาจะทำจิตให้สะอาดบริสุทธิ์ตัดขาดจากกิเลส ถ้าเราตัดขาดจากกองกิเลสตัณหาคือร่างกายสังขารนี้ได้แล้ว เราก็จะไปอยู่แดนนิพพานซึ่งเป็นแดนสุขอย่างยิ่ง สามเณรกองแก้วเล่าว่า ท่านได้พิจารณาอย่างนี้ไปตามความรู้ความเข้าใจของสามเณรวัยเยาว์ที่ยังอ่อนต่อการศึกษาในหลักพระธรรม พิจารณาไปตามที่ครูบาอาจารย์สั่งสอนจะผิดจะถูกอย่างไรไม่คิดถึง คิดอย่างเดียวว่าครูบาอาจารย์สอนมานี้เป็นของจริงแท้ เป็นธรรมะของพระพุทธเจ้าแน่ เมื่อพิจารณาอย่างนี้กลับไปกลับมาเป็นเวลานานพอสมควร ปรากฏอัศจรรย์ว่า จิตรวมตัวเข้าสู่ความสงบอย่างไม่รู้ตัวเป็นสมาธิในเอกจิต ลืมเรื่องเสือ ลืมทุกสิ่งทุกอย่างในอดีตและปัจจุบันหมดสิ้น แต่มีสติรู้ตัวว่า มีอารมณ์โพรงสว่างไสวสภาพจิตมีความเยือกเย็นแช่มชื่นอย่างพรรณนาไม่ถูก

    ประจัญหน้าเสือ
    จิตเริ่มคลายออกจากสมาธิมารับรู้อารมณ์ภายนอกกายอีก ครั้งหนึ่งเป็นเวลาเย็นมากแล้วแสงแดดตกรำไรเรี่ยยอดไม้ บอกให้รู้ว่า จิตดำรงสมาธิมาเป็นเวลานานเกือบ 8 ชั่วโมง จึงลุกขึ้นเปลี่ยนอิริยาบถเดินไปที่ลำห้วยเพื่อจะอาบน้ำชำระกาย ทันใดก็ต้องตกตะลึงยืนนิ่งอยู่กับที่ก้าวขาไม่ออก เมื่อพบว่าเสือใหญ่ตัวหนึ่งกำลังก้มกินน้ำอยู่ที่ลำห้วย เป็นเสือลายพาดกลอนขนาดใหญ่มากเกือบเท่าควายแต่เตี้ยกว่า หางมันลากดินกวัดแกว่งไปมา ดูเหมือนมันจะรู้ได้ด้วยสัญชาตญาณว่ามีคนเดินมาข้างหลังมันรีบหันขวับกลับมาอย่างรวดเร็ว ทำให้เห็นหัวโตขนาดกระบุง นัยน์ตาสีเหลืองจัดมีประกายวาวจ้าคล้ายกระทบแสงไฟน่ากลัวมาก สามเณรตะลึงเสือก็ตะลึงที่ได้ประจันหน้ากันอย่างไม่นึกฝัน ครั้งแล้วชั่วอึดใจที่ต่างฝ่ายต่างก็ตะลึงจังงังเสือโคร่งตัวใหญ่ก็แยกเขี้ยวส่งเสียงคำรามดังสนั่นปานฟ้าผ่า ย่อตัวลงต่ำกระโจนผึงเข้าตะครุบสามเณรอย่างดุร้ายกระหายเลือด ความตกใจทำให้สามเณรผงะก้าวถอยหลังเลยสะดุดรากไม้ริมตลิ่งล้มลง ทำให้เสือกระโดดข้ามหัวไปจนเย็นวาบไปทั้งร่างด้วยแรงลมที่พัดผ่าน ความตื่นตระหนกทำสามเณรลุกไม่ขึ้น นอนเนื้อตัวสั่นเทา ๆ อยู่ตรงนั้นเอง เพราะควบคุมสติไม่อยู่ คิดว่าตัวเองต้องตกเป็นอาหารเสือแน่ ๆ วันนี้ แต่เสือหายเงียบไปไม่เห็นกลับมาอีก จึงค่อยมีสติลุกขึ้นมองไปรอบ ๆ ก็ไม่ปรากฏพบวี่แววของเสือตัวนั้นเลย คงพบแต่รอยขนาดใหญ่ของมันมีขนาดเท่าจานข้าวย่ำอยู่แถวนั้น

    เมื่อพิจารณาดูแล้วก็เห็นว่า เป็นรอยเสือตัวเดียวกันกับที่ปรากฏตรงโคนต้นไม้ที่นั่งบำเพ็ญสมาธิ พักใหญ่จิตจึงคลายจากความหวาดกลัวมีสติทำให้ได้ข้อคิดพิจารณาว่า สตินี้เป็นตัวสำคัญของคนเรา เมื่อชั่วครูนี้เราขาดสติอย่างน่าละอาย สติขาดจากใจทำให้ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้เวลาตกอยู่ในที่คับขันอันตรายกะทันหันไม่ทันรู้เนื้อรู้ตัว สติกับปัญญาจะต้องอยู่คู่กันตลอดเวลาถึงจะใช้ได้เพราะปัญญาของเรายังไม่แหลมคม ปัญญายังไม่หยั่งรู้ถึงสัจจธรรมที่แท้จริงจิตจึงมีความกลัว ถ้าเราทำลายความกลัวให้เด็ดขาดลงไปได้ ปัญญาและสติจะต้องมั่นคงเป็นสมบัติติดอยู่กับใจ เมื่อคิดได้เช่นนี้จึงตัดสินใจว่า จะต้องเดินตามหาเสือตัวนี้ให้พบแล้วนั่งคุกเข่าลงตรงหน้ามันยอมให้มันขบกัดฉีกเนื้อกินเสีย เป็นการอุทิศร่างกายชีวิตเลือดเนื้อให้มันด้วยความเมตตาสงสาร และจักเป็นการทำลายความกลังในจิตใจของเราให้หายขาดไปด้วย

    สามเณรเดินขึ้นมาจากลำห้วยตามหาเสือที่เห็นรอยของมันเป็นทางไป รอยนั้นใหญ่มากและชัดเจนกดลึกลงไปในดินใหม่ ๆ จิตใจเต็มไปด้วยความอาจหาญใคร่ที่จะพลีชีวิตอุทิศให้เสือกินอย่างไม่เสียดายอาลัย รอยเสือโคร่งมุ่งหน้าไปทางโคนต้นไม้ที่สามเณรใช้เป็นที่นั่งบำเพ็ญภาวนา

    เสือกลายเป็นพระ
    ครั้นแล้วสามเณรก็ต้องตะลึงเมื่อพบว่าที่โคนต้นไม้นั้นมีสีเหลืองนั่งอยู่ สีเหลืองนั้นไม่ใช่เสือหากเป็นพระภิกษุวัยกลางคนรูปหนึ่งกำลังนั่งอยู่ตรงโคนต้นไม้ ลักษณะท่าทางของพระภิกษุรูปนั้นมีสง่าน่าเลื่อมใสผิวคล้ำเกรียม ท่านเผยอยิ้มน้อย ๆ ให้แล้วทักทายขึ้นด้วยเสียงเยือกเย็นว่า "เดินตามหาเสือจะให้เสือกินจริง ๆ หรือเณรน้อย" สามเณรกองแก้ว (ครูบาธรรมชัย) รู้สึกสะดุ้งใจ ที่พระภิกษุแปลกหน้าล่วงรู้ความในใจของตน จึงนั่งลงกราบแล้วถามว่า หลวงพ่อรู้ได้ยังไง หลวงพ่อพบเสือตัวนั้นผ่านมาทางนี้หรือ ? หลวงพ่อหัวเราะไม่ตอบคำถามนั้น แต่ท่านกลับกล่าวยกย่องว่า มีสติปัญญาดี ต่อไปภายหน้าจะรุ่งเรือง ขออย่าได้สึกเลย ให้ฝากชีวิตไว้กับพระศาสนา

    สามเณรกองแก้วรู้สึกอิ่มเอิบใจที่หลวงพ่อแปลกหน้าในป่ากล่าวให้กำลังใจเช่นนั้น แต่ก็ยังติดใจในเรื่องเสือใหญ่ตัวนั้นอยู่ จึงถามว่า เสือตัวนั้นเป็นเสือจริง ๆ หรือเป็นเสืออาคมกันแน่

    "เสือไม่สำคัญ ใจเราสำคัญกว่า อย่าไปสนใจเสือ เมื่อใจของเราสะอาดบริสุทธิ์ มีศีลมีสมาธิ มีปัญญาอยู่เต็มภูมิแล้ว"

    "เราชนะทุกอย่าง เสือสางสิงสาราสัตว์ในโลกนี้จะมาทำอะไรเราไม่ได้เลย"หลวงพ่อกล่าว สามเณรกองแก้วกราบด้วยความเคารพเลื่อมใจแล้วถามว่า หลวงพ่อมาจากไหน ? จะไปไหน ? ท่านตอบว่า ท่านเป็นพระกรรมฐาน เป็นพระป่า แสวงหาวิเวกบำเพ็ญสมณธรรม แต่ไม่ยอมบอกชื่อเสียงเรียงนาม "เณรมีความตั้งใจดี ปฎิบัติดีแล้ว แต่ยังขาดครูบาอาจารย์แนะนำสั่งสอน การปฏิบัติกรรมฐานนี้ต้องมีครู ถ้าปฏิบัติด้นดั้นไปตามลำพัง ตนเองก็เปรียบเสมือนเขาตัดถนนไว้ให้แล้ว แต่เราไม่เดินตามถนนสายนั้น" "กลับเดินบุกป่าฝ่าดงไป โอกาสที่จะหลงทางมีมาก หรือถ้าไม่หลงทางกว่าจะถึงจุดหมายปลายทางก็ย่ำแย่ไปเลย" หลวงพ่อตักเตือนด้วยความหวังดี สามเณรกองแก้วถามว่าควรจะไปเรียนกรรมฐานกับพระอาจารย์ที่ไหนดี หลวงพ่อตอบว่า พระอาจารย์ที่เก่งกรรมฐานมีอยู่หลายองค์อยู่ตามวัดก็มี อยู่ตามป่าตามเขาก็มี แต่ที่สะดวกไปหาได้ง่ายอยู่ไม่ไกลก็คือ ครูบาเจ้าศรีวิชัย สมควรที่สามเณรจะได้ไปกราบเท้าท่านฝากตัวเป็นลูกศิษย์เสียเถิด เพราะครูบาเจ้าศรีวิชัยท่านมีบุญญาบารมีมาก เป็นพระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฎิบัติชอบหาผู้เสมอเหมือนได้น้อยมาก

    เดินจงกรม
    จากนั้น หลวงพ่อแปลกหน้าก็ได้แนะนำสั่งสอนข้อปฏิบัติกรรมฐานให้หลายอย่าง โดยเฉพาะการเดินจงกรม ท่านได้กรุณาแนะนำว่า

    "การเดินจงกรม กับ การนั่งสมาธิ จะต่างกันตรงที่เป็นการเปลี่ยนอิริยาบถเท่านั้น การเดินจงกรมต้องเดินให้ถูกวิธีถึงจะได้ผล อย่าเดินส่งเดชตามสบายใจตัวเอง ต้องเดินตามวิธีของครูบาอาจารย์ท่านกำหนดไว้ ก่อนเดินจงกรมเราต้องดูต้องหาสถานที่สมควรก่อน จะต้องเป็นสถานที่เงียบสงัด พื้นดินต้องเรียบราบ อย่าให้เป็นพื้นที่สูง ๆ ต่ำ ๆ ความยาวของสถานที่เดินจงกรมกำหนดอย่างสั้นประมาณ 25 ก้าว อย่างยาวที่สุด 50 ก้าว ควรจะกำหนดทางเดินไว้ 3 สายคือ.-
    1. เดินตามดวงตะวันจากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก
    2. เดินไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
    3. เดินไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้

    การเดินจงกรม 3 สายนี้ เดินเพื่อบูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อย่าเดินตัดทางโคจรของดวงตะวันไม่ดี แต่ถ้าสถานที่จำกัดจะเดินสายเดียวก็ได้ให้เลือกเอา ครั้งแรกจะเดินจงกรมให้ประณมมือขึ้นเสียก่อน ระลึกว่า พุทโธ ธัมโม สังโฆ (ว่า 3 จบ) ยกมืออธิษฐานไว้เหนือระหว่างคิ้ว ระลึกถึงคุณพระรัตนตรัยที่ตนถือเป็นสรณะที่พึ่งยึดเหนี่ยวใจ และระลึกถึงคุณบิดามารดา อุปัชฌาย์อาจารย์ ตลอดท่านผู้เคยมีพระคุณแก่ตน จากนั้นรำพึงถึงความมุ่งหมายแห่งความเพียรที่กำลังจะทำด้วยความตั้งใจเพื่อผลนั้น ๆ เสร็จแล้วเอามือลง เอามือซ้ายลงก่อนเอามือขวาวางทับทาบกันไว้ที่ท้องน้อยใต้สะดือตามแบบพุทธรำพึง ให้เจริญพรหมวิหารสี่ เจริญจบแล้วทอดตาลงต่ำในท่าสำรวม ตั้งสติกำหนดจิตและธรรมที่เคยนำมาบริกรรมกำกับใจ หรือพิจารณาธรรมทั้งหลายตามแบบที่เคยภาวนา แล้วเริ่มออกเดินทอดสายตาลงประมาณในราว 4 ศอกเป็นอย่างไกล หรือใกล้เข้ามาที่เท้าเราก้าวนั้นก็ได้ แต่เมื่อรู้สึกเดินไม่สะดวกก็มองออกห่างไปหน่อย เมื่อห่างออกก็ไม่สะดวกสบายก็ให้ทอดสายตาหาระยะที่พอสบายแต่อย่าให้ไกลนัก วิธีเดิน อย่าก้าวเดินให้ไวนัก อย่าช้านัก อย่าก้าวยาวนัก อย่าสั้นนัก อย่าเผลอปล่อยมือไกวแขนหรือเอามือขัดหลังและกอดอก อย่าเผลอเดินมองโน่นมองนี่ ถ้าจะภาวนาพุทโธก็ให้ก้าวขาไปหนึ่งว่า "พุท" ก้าวอีกขาไปว่า "โธ" บริกรรมภาวนาไปเรื่อย ๆ ตามจังหวะก้าวขา พอไปถึงสุดทางอย่าด่วนหมุนตัวกลับให้เร็วนัก ให้ค่อย ๆ หมุนตัวเวียนไปทางขวา หรือจะหยุดยืนกำหนดรำพึงสักครู่ที่หัวทางเดินจงกรมก็ได้ การหยุดรำพึงกำหนดพิจารณาธรรมนั้น จะยืนกลางทางจงกรมหรือตรงไหนก็ได้ไม่บังคับ เพราะธรรมที่ผุดขึ้นมาในใจขณะนั้นย่อมมีความตื้นลึกหนาบางแตกต่างกัน แล้วแต่กรณีที่ควรอนุโลมตามความจำเป็น เมื่อหยุดรำพึงจนเข้าใจแจ่มแจ้งแล้วก็ออกเดินต่อไป

    การเดินจงกรมนี้ จะเดินนานหรือไม่เพียงไรตามแต่เราจะกำหนดเอง เพราะการเดินจงกรมก็คือทำสมาธิอีกแบบหนึ่งนั่นเอง คือเพียงแต่เปลี่ยนอิริยาบถเพื่อระงับเวทนา นั่งสมาธินานมันเมื่อย ก็ต้องออกเดินจงกรมระงับความเมื่อยขบ ถ้าเดินจงกรมมากมันเหนื่อยก็หยุดเดินเปลี่ยนเป็นนั่งอย่างเดิม ถ้านั่งมากมันเหนื่อยก็ให้นอนทำสมาธิหรือยืนนิ่ง ๆ ทำสมาธิ การนอนทำสมาธินั้น ให้นอนในท่าสีหไสยาสน์ อย่านอนในท่าอื่นเป็นอันขาด "

    "การเดินจงกรมหรือนั่งสมาธิภาวนาก็คือ การกลั่นกรองหาสิ่งเป็นสาระคุณในตัวเราเพื่อเอาชนะกิเลสตัณหาอวิชชาตามที่พระพุทธเจ้าและครูอาจารย์ท่านสอนไว้ แต่ในขณะเดียวกัน ก็อย่าหักโหมร่างกายตัวเองจนเกินไป ให้ปฏิบัติในสายกลาง ๆ เพื่อความเหมาะสมของธาตุขันธ์ร่างกายของตนเอง ที่จำเป็นต้องใช้งานประจำ ถ้าหักโหมมากธาตุขันธ์ร่างกายเจ็บป่วยพิกลพิการไป สุดท้ายก็ไม่บรรลุถึงจุดหมายปลายทางที่ตั้งใจไว้"

    หลวงพ่อกล่าวสรุปในที่สุด สามเณรก้มกราบหลวงพ่อ ผู้ลึกลับด้วยความเคารพเลื่อมใสศรัทธา ที่ท่านได้มีเมตตาอบรมสั่งสอน แนะแนวทางปฏิบัติให้ ท่านให้ศีลให้พรพอสมควรแล้วก็ลาจากไป

    นึกแล้วก็เป็นเรื่องประหลาด สามเณรมาบำเพ็ญกรรมฐานในป่า ชาวบ้านได้กล่าวเตือนให้ระวังเสือสมิงจะขบกิน เป็นเสืออาคมอันเกิดจากตุ๊เจ้ารูปหนึ่งร้อนวิชาไสยศาสตร์แปลงกายเป็นเสือ ครั้นเมื่อเข้ามาอยู่ในป่าก็เจอเสือจริง ๆ เสือทำท่าจะขบกินแต่แล้วมันก็วิ่งหนี เมื่อตามรอยตีนมันมาก็พบเข้ากับพระธุดงค์รูปหนึ่ง จะเป็นไปได้ไหมว่า หลวงพ่อแปลกหน้าที่เจอนี้คือตุ๊เจ้าเสือสมิง ถ้าใช่จริง ๆ ทำไมไม่ขบกินสามเณร

    เสือใช่ไหม
    เรื่องนี้ ครูบาธรรมชัยได้เล่าในภายหลังต่อมาหลายปีว่า ธรรมชาติของเสือนั้น เป็นสัตว์กินเนื้อที่ดุร้าย เมื่อมันเข้ามาหาคนเราหรือเจอกับมันโดยบังเอิญอย่างจังหน้า ธรรมชาติของเสือจะต้องกระโจนเข้าทำร้ายคนทันที เหตุที่เสือไม่ทำร้ายพระธุดงค์กรรมฐานนั้น เข้าใจว่ามีสาเหตุอยู่ 3 ประการ

    1. เทพยดาอารักษ์ในป่าดลบันดาลใจเสือให้เข้ามาทดสอบกำลังใจของพระธุดงค์ ไม่ได้มีเจตนาจะให้มาทำร้าย
    2. เทพยดานิรมิตร่างกลายเป็นเสือมาทดสอบกำลังใจ เพราะเทพยดาย่อมจะมีฤทธิ์สามารถจำแลงแปลงกายเป็นสัตว์ต่าง ๆ ได้ แปลงกายเป็นผู้หญิงหรือผู้ชายก็ได้แปลงกายเป็นปีศาจหลอกหลอนก็ได้
    3. เสือจริง ๆ ได้กลิ่นพระธุดงค์ ตรงเข้ามาเพื่อจะขบกัดกินเป็นอาหาร โดยที่เทพยดาไม่เกี่ยวข้องด้วยเลย แต่ครั้นเมื่อเสือเข้ามาใกล้พระธุดงค์แล้ว ก็กระทบเข้ากับกระแสจิตอันแรงกล้าของพระธุดงค์ เป็นกระแสเมตตาอันชุ่มเย็นอย่างประหลาดล้ำทรงอำนาจลี้ลับได้ทำให้หัวใจของเสือคลายความดุร้ายลงเกิดความรู้สึกเป็นมิตรสนิทใจ ดุจเดียวกันกับเสือที่มนุษย์นำมาเลี้ยงไว้ในครอบครัวตั้งแต่ตัวเล็ก ๆ จนเติบโตใหญ่ เสือตัวนั้นย่อมจะรักใคร่เจ้าของ ๆ มันไม่คิดอยากจะกัดกินหรือเห็นเป็นศัตรูเลย

    ธมมชโย
    สามเณรกองแก้ว (ครูบาธรรมชัย) บำเพ็ญกรรมฐานอยู่ในป่าห้วยน้ำดิบสามเดือน จึงได้กลับมาอยู่วัด ได้เข้าเรียนนักธรรมกับพระภิกษุแดง วัดพระยืน ต่อมาเมื่ออายุ 19 ก็สอบนักธรรมตรีได้และได้เรียนนักธรรมโทที่วัดมหาวัน สอบนักธรรมโทได้เมื่ออายุ 20 ปี ในปีนี้เอง ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ได้นามฉายาว่า "ธมมชโย" ณ พัทธสีมาวัด หนองหล่ม ตำบลป่าสัก อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ตรงกับวันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ.2475 หรือเดือน 5 เหนือ ขึ้น 3 ค่ำ ปีวอก จัตวาศก ทางเหนือเรียกว่า ปีเต่าสัน ร.ศ.151 จุลศักราช 1294 เวลา 08.10 น. เจ้าอธิการคำมูล ธมมวงฺโส วัดแม่สารบ้านตอง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระชยเสนาวัดบ้านหลุก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระคัมภีร์ปัญญา วัดปงสนุก เป็นพระอนุสาวนาจารย์

    เมื่ออุปสมบทแล้วมาจำพรรษาอยู่ที่วัดสันป่าสักบ้านเกิด พระปินตาได้สึกออกไป พระอินหวันเป็นเจ้าอาวาส ครูบากองแก้ว ธมมชโย จึงได้รับแต่ตั้งให้เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสแทนพระปินตา ต่อมาท่านได้เป็นครูสอนนักธรรมที่สำนักวัดสันป่าสักและวัดน้ำพุ ตำบลเดียวกัน และสอนโรงเรียนประชาบาลด้วย สอนอยู่เป็นเวลาถึง 6 ปี ในระหว่างที่สอนอยู่นี้ เมื่อมีเวลาว่างก็ได้เดินทางไปนมัสการครูบาเจ้าศรีวิชัยที่กำลังมีชื่อเสียงโด่งดังอยู่ในสมัยนั้น ได้ฝากตัวเป็นลูกศิษย์ครูบาเจ้าศรีวิชัย และหมั่นไปมาหาท่านอยู่เสมอด้วยความเคารพเลื่อมใสบูชาเป็นปรมาจารย์

    วัดอินทะขิลใหม่
    พ.ศ.2481 คณะศรัทธาหมู่บ้านสันป่าตอง วัดอินทะขิลใหม่ ตำบลอินทะขิล อำเภอแม่แตงเชียงใหม่มีพ่ออุ้ยแก้ว ทิพเดโช เป็นหัวหน้า ได้พากันเดินทางมาอาราธนานิมนต์ครูบาธรรมชัยไปเป็นเจ้าอาวาส เพื่อให้ท่านพัฒนาปฏิสังขรณ์วัดที่เก่าแก่ทรุดโทรมและโปรดศรัทธาชาวบ้าน ครูบาธรรมชัยรับนิมนต์ออกเดินทางไปเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2481 ท่านได้บูรณะปลูกสร้างเสนาสนะเครื่องใช้ วัดอินทะขิลใหม่จนเจริญรุ่งเรืองตลอดมาไม่หยุดหย่อนเป็นเวลาถึง 9 ปี ได้อบรมสั่งสอนศิษย์ให้บวชเรียนเป็นสามเณรและพระภิกษุเป็นจำนวนมาก เป็นที่เลื่องลือไปทั่วภาคเหนือว่า ท่านเป็นพระนักสร้าง นักพัฒนาวัดวาอาราม สมแล้วที่เป็นศิษย์ครูบาเจ้าศรีวิชัย ทำให้วัดอินทะขิลซึ่งเป็นเพียงอาราม หรือ สำนักสงฆ์เล็ก ๆ กลายเป็นวัดใหญ่โตสวยงาม ในระหว่างที่ท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดอินทะขิลใหม่ 9 ปีนี้เมื่อว่างจากพัฒนาวัด และอบรมลูกศิษย์พระเณร ท่านจะออกเดินทางไปนมัสการครูบาเจ้าศรีวิชัยอยู่เสมอ และเสาะแสวงหาครูบาอาจารย์เจ้าสำนักต่าง ๆ ที่เก่ง ๆ เพื่อขอศึกษากรรมฐานและวิทยาคม ในขณะเดียวกันก็ศึกษาค้นคว้าตำหรับตำรายาสมุนไพร แพทย์ศาสตร์แผนโบราณไปด้วย ทำให้ท่านเป็นผู้เรื่องวิทยาคม มีฌานสมาธิแก่กล้าและเชี่ยวชาญทางแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์เป็นที่เคารพศรัทธาเลื่อมใสทั่วไปในสมัยนั้น พ.ศ.2490 ปลายปี ท่านได้อำลาจากวัดอินทะขิลใหม่ และคณะศรัทธาญาติโยมชาวบ้าน หลังจากที่ได้สร้างความเจริญให้วัดมาเป็นเวลานานถึง 9 ปี เพื่อจะออกป่าจาริกธุดงคกรรมฐานใฝ่หาความสงบวิเวก บำเพ็ญธรรมให้สมความตั้งใจเสียที คณะศิษย์และญาติโยมชาวบ้านมีความรักและอาลัยไม่อยากจะให้ท่านจากวัดไป แต่เมื่อท่านได้ชี้แจงให้ทราบถึงความจำเป็นที่จะต้องบำเพ็ญธรรมปฏิบัติ คณะศิษย์และญาติโยมก็ต้องตัดใจให้ท่านไปทั้ง ๆ ที่อาลัยเสียดายยิ่งนัก

    เสืออีกแล้ว
    ครูบาธรรมชัยออกจากวัดอินทะขิลใหม่ จาริกธุดงค์แต่ลำพังเข้าป่าไปเรื่อย ๆ ทางอำเภอฝางและได้แวะนมัสการพระที่ถ้ำตับเตา คืนวันหนึ่งเพิ่งจะพลบค่ำได้ไม่นานนัก ขณะที่ครูบาธรรมชัยกำลังเดินจงกรมพิจารณาธรรมอยู่หน้าถ้ำตับเตา ได้ยินเสียงเสือโคร่งตัวหนึ่งร้องดังกระหึ่มมาแต่ไกล เสียงเสือตัวนี้ดังผิดปกติเสือทั้งหลายในป่าที่ท่านเคยได้ยินและได้ผจญมา เสียงมันดังมาตามพื้นดินจนใบไม้แห้ง ๆ ที่หล่นอยู่ตามพื้นดินเกิดอาการแซร่สะเทือน คล้าย ๆ เสียงฆ้องจูมขนาดใหญ่ดังก้องสะเทือนพื้นดินเวลาตีย่ำโมงอย่างนั้นแหละ แต่เสียงเสือตัวนี้ดัง "มาว ๆๆ" น่ากลัวมาก แสดงว่าจะต้องเป็นเสือใหญ่ระดับเจ้าป่า ครูบาธรรมชัย หาได้หวั่นไหวไม่ คงเดินจงกรมเป็นปกติ เสียงเสือร้องใกล้เข้ามา ในที่สุดก็เงียบ ได้ยินเสียงฝีตีนมันเดินย่องเหยียบใบไม้แห้งกรอบแกรบเข้ามาใกล้แล้วหยุดลงตรงเบื้องหน้าท่าน ในระยะห่างประมาณ 2 วา ท่าทางของมันดุร้ายนัยน์ตาลุกวาว น่ากลัวมาก ตัวใหญ่ขนาดม้าแกลบล่ำดี ท่าจะกระโจนเข้าตะครุบท่าน แต่ครูบาธรรมชัยหาได้หวั่นไหวหวาดกลัวไม่ ท่านได้หยุดยืนสงบมองจ้องสายตามันแล้วแผ่เมตตาให้ด้วยความจริงใจ ขอให้มันจงอย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจ อย่าได้มีเวรภัยใด ๆ ให้มันรักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยด้วยประการทั้งปวงเถิด แผ่เมตตาจบลงทำให้ท่าทางของมันมีอาการนิ่งจังงัง ท่านได้อธิษฐานต่อไปว่า ถ้าท่านกับเสือตัวนี้ เคยมีเวรานุเวรแก่กันมาตั้งแต่ชาติปางก่อน ก็ขอเชิญให้มันกระโดดเข้ามาตะปบกินเป็นอาหารเสียเถิด อธิษฐานบอกกล่าวมันในใจจบลง ปรากฏว่า เสือใหญ่ตัวนั้นได้กระโดดเข้าป่าหนีขึ้นไปบนภูเขาข้างถ้ำน่าอัศจรรย์ ครูบาธรรมชัยได้เล่าในภายหลังว่า เสือใหญ่ตัวนี้ เข้าใจว่าจะเป็นเสือเทวดาสำแดงกายออกมาพบท่าน

    งูเหลือมยักษ์
    เรื่องสัตว์ร้ายไม่ทำอันตรายนี้ ท่านเล่าว่า ครั้งหนึ่งสมัยอยู่วัดอินทะขิลใหม่ วันหนึ่งท่านได้ออกจากวัดเดินธุดงค์ไปยังถ้ำเชียงดาวแต่ลำพัง ขณะที่เดินอยู่ในป่าปางหกซึ่งเป็นดงงูเหลือมที่ขึ้นชื่อลือชามากในย่านนั้น ก็พอดีค่ำมืดลง ท่านจำเป็นจะต้องรีบเดินทางออกจากป่าไปให้ถึงบ้านปาง อำเภอเชียงดาวให้ได้ จึงไม่ยอมปักกลดพักแรมคืนในดงงูเหลือม ป่าปางหกนี้เป็นป่าดงดิบน่ากลัวมาก พอมืดค่ำลงป่าก็มืดเหมือนหลับตาเดิน ครูบาธรรมชัยได้เดินไปเหยียบเอางูแมวเซาเข้าโดยไม่ได้ตั้งใจ จึงเอาไฟฉายดู ก็พบว่า มีงูแมวเซาอยู่จำนวน 16 ตัว ยั้วเยี้ยอยู่รอบ ๆ ตัวท่าน แต่มันก็ไม่ได้ทำอันตรายท่านแต่อย่างใด ครั้นพอเดินไปได้อีกหน่อยก็สะดุดเข้ากับขอนไม้ลื่น ๆ อย่างแรง จึงเอาไฟฉายส่องดูก็พบว่าเป็นงูเหลือมยักษ์ลำตัวโตเท่าโคนขาผู้ใหญ่ กำลังขดเป็นวงกลมอยู่กลางทาง เพื่อดักสัตว์ป่าเป็นอาหารของมัน ท่านครูบาธรรมชัยเข้าไปอยู่กลางวงขดของมันพอดี ซึ่งตามธรรมดาแล้วมันจะต้องตวัดรัดร่างท่านทันที เพราะเข้าใจว่าเป็นเหยื่อ แม้แต่สัตว์ใหญ่ ๆ ขนาดกวางหรือเสือโคร่งทรงพละกำลังมหาศาล หากโดนมันรัดแล้วไม่มีทางที่จะเอาตัวรอดได้เลย แต่ปรากฏว่า งูเหลือมยักษ์หาได้ทำอันตรายท่านแต่อย่างใดไม่ มันคงนิ่งสงบมองดูท่านเฉยอยู่ เรื่องงูไม่ทำอันตรายนี้จะว่าเป็นเรื่องบังเอิญก็น่าแปลกเพราะขณะที่ท่าน เข้าไปบำเพ็ญภาวนาอยู่ในถ้ำเชียงดาว หลายครั้ง ได้พบงูใหญ่ ๆ และงูพิษมากมายยั้วเยี้ยไปหมดในถ้ำลึก แต่มันก็ไม่สนใจท่านเลย ถ้าไม่พากันเลื้อยหนี ก็นิ่งอยู่เฉย ๆ ท่านกล่าวว่า เป็นเพราะงูเหล่านั้นสามารถรับรู้กระแสจิตที่ท่านแผ่เมตตาให้นั่นอย่างหนึ่ง หรือไม่งูเหล่านั้นเป็นงูเทพบันดาล

    ถ้ำตับเตา
    พ.ศ.2492 ครูบาธรรมชัยได้รับนิมนต์ให้ไปจำวัดอยู่ที่ถ้ำตับเตา อำเภอฝาง เนื่องด้วยทางคณะสงฆ์เห็นว่า ถ้ำตับเตาทรุดโทรมมาก สมควรจะได้พระปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบมีชื่อเสียงเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของประชาชนสักองค์มาบูรณปฏิสังขรณ์ถ้ำให้มั่นคงถาวร และครูบาธรรมชัยเหมาะสมที่สุดที่จะทำหน้าที่นี้

    ถ้ำตับเตา เป็นโบราณสถานแห่งชาติอันสำคัญแห่งหนึ่งในภาคเหนือ มีชาวไทยและชาวต่างประเทศไปนมัสการเยี่ยมเยือนอยู่เสมอทุก ๆ ปี จนกระทั่งทุกวันนี้ เป็นที่เคารพสักการะของเหล่าพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย เมื่อสมัยก่อนสงครามโลก ครั้งที่ 2 ชาวไทยใหญ่ (เงี้ยว) และชาวหลวงพระบาง เวียงจันทร์ พากันเดินทางมาสักการะอยู่เสมอ ถ้ำตับเตานี้ เดิมเรียกกันว่า "ถ้ำตั๊บเต้า" เป็นภาษาเหนือ ตรงกับภาษาภาคกลางว่า "ถ้ำทับเถ้าหรือทับขี้เถ้า" ชาวเหนือชอบพูดคำสั้น ๆ เช่น ถ้ำตั๊บขี้เต้า พูดตัดคำให้สั้นลงว่า ถ้ำตั๊บเต้า

    ตำนานความเป็นมาของถ้ำนี้ มีอยู่ในศิลาจารึกที่ถ้ำ 3 แผ่น เป็นตัวหนังสือพื้นเมืองเก่าแก่เนื้อความยาวมาก เมื่อย่อความลงมาให้สั้นที่สุดแล้ว มีความว่า

    อตีเต กาเล ในอดีตกาลล่วงมานานแล้ว พระอรหันต์เสด็จมาบำเพ็ญสมณธรรมอยู่ ณ ที่หน้าถ้ำแห่งนี้ ครั้นต่อมาท่านได้ดับขันธ์ เข้าสู่พระนิพพาน ณ หน้าถ้ำนี้เหล่ารุกขเทวาและเทพเจ้าทั้งหลาย ทุกสวรรค์ชั้นฟ้าได้พากันมาถวายพระเพลิงตรงหน้าถ้ำนี้ ไฟทิพย์ที่เผาธาตุขันธ์พระอรหันต์ได้ลามไหม้ป่าไปไกลประมาณ 3 กิโลเมตร กว้างประมาณ 2 กิโลเมตร และยังไหม้ลึกลงไปในดินด้วยอำนาจร้อนแรงกล้า ไม่มีอะไรจะมาหยุดยั้งไฟลุกไหม้ไว้ได้ เดือดร้อนกันใหญ่ถึงพญานาคในเมืองบาดาล ต้องเกณฑ์นาคน้อยใหญ่ทั้งหลายให้ขึ้นมาช่วยกันพ่นน้ำดับไฟเป็นการใหญ่ ในที่สุดด้วยอิทธิฤทธิ์ของพวกพญานาคทำให้ไฟป่าที่ลุกลามไปได้ดับมอดสนิทลง

    ขอให้ท่านผู้อ่านใคร่ครวญพิจารณาดูเอาเอง อันว่า ตำนานเก่า ๆ นั้น นักปราชญ์โบราณมักจะซ่อนแง่เงื่อนอันลึกซึ้งไว้ให้คนรุ่นหลังได้ขบคิดอยู่คล้ายปริศนาลายแทง เราท่านจะต้องค่อย ๆ คิดพิจารณาให้ลุ่มลึก อย่าผลีผลามวู่วามใจร้อนด่วนตัดสินเอาง่าย ๆ ด้วยมิจฉาทิฐิ

    เมื่อมาจำวัดอยู่ถ้ำตับเตาอันเก่าแก่ทรุดโทรม ครูบาธรรมชัยได้พัฒนาศาสนสถานแห่งนี้อย่างใหญ่หลวง อุตส่าห์อดทนลำบากต่อสู้กับงานหนัก ทุ่มเททั้งแรงใจแรงกายศรัทธาปสาทะ ให้กับงานบูรณปฏิสังขรณ์ปลูกสร้างวัตถุต่าง ๆ อยู่เป็นเวลาถึง 5 ปี สิ้นเงินไปถึงหนึ่งแสนสี่หมื่นสามพันเก้าร้อยบาท ซึ่งเป็นเงินจำนวนมากทีเดียวในสมัยนั้น ถ้ำตับเตาอันรกรุงรังทรุดโทรมน่าสะพรึงกลัว ก็กลายเป็นสถานที่น่าเที่ยว น่าไปนมัสการไม่เป็นที่พึงขยาดกลัวของประชาชนอีกต่อไป

    ครูบาธรรมชัยได้บูรณะองค์พระประธานในถ้ำที่ยังสร้างไม่เสร็จให้เป็นองค์พระสมบูรณ์ สร้างวิหารมุงพระพุทธไสยาสน์ บูรณปฏิสังขรณ์พระอรหันตสาวกหลายสิบองค์ (รูปปั้น) สร้างที่พักสงฆ์ สร้างศาลาสร้างสถานที่พักสำหรับประชาชน พัฒนาซ่อมแซมถนนเข้าสู่ถ้ำระยะทาง 4 กิโลเมตร และ ฯลฯ

    ถ้ำตับเตาเป็นปูชนียสถานน่าเที่ยว บริเวณหน้าถ้ำร่มรื่นด้วยต้นไม้ใหญ่ขึ้นอยู่เป็นแถวเป็นแนว นกน้อยใหญ่นานาพันธุ์ส่งเสียงร้องอยู่ตามต้นไม้อย่างไพเราะ ลิงค่างกระโดดโลดเต้นอยู่ตามต้นไม้ใกล้ ๆ บริเวณวัดไม่กลัวคนเลย ชะนีโหยเสียงห้อยโหนโยนตัวมีให้เห็นเสมอ เสียงร้อยของวิหคนกกาและลิงค่างบ่างชะนีในสถานที่อันเยือกเย็นเปล่าเปลี่ยวอย่างนั้น ทำให้จิตใจอารมณ์ของผู้ที่ได้ไปเยือนบังเกิดความวังเวงสุขใจเพลิดเพลินไม่น้อยทีเดียว

    ถ้ำตับเตามี ถ้ำมืด แห่งหนึ่งและ ถ้ำแจ้ง แห่งหนึ่ง ทางขึ้นถ้ำแจ้งเป็นบันไดอิฐถือปูน สูงประมาณ 50 ขั้น มีศาลามุงกระเบื้องขึ้นถึงบนปากถ้ำ ข้างบนนั้นมีรูปปั้นบรมครูโกมารภัทรตรงปากถ้ำ พระประธานที่ถ้ำนี้หน้าตักกว้าง 9 วา 2 ศอก สูง 13 วา 2 ศอก ใหญ่โตมาก หน้าองค์พระประธานมีพระธาตุแห้ง (เจดีย์) และพระเจ้าทันใจหนึ่งองค์ ด้านหลังพระประธานมีบันไดสูงขึ้นไปยังถ้ำปราสาทถัดพระประธานไปมีพระพุทธไสยาสน์ยาว 5 วา หินศิลาจารึกเกี่ยวกับตำนานถ้ำก็อยู่ที่นี่ ครูบาธรรมชัยได้บูรณปฏิสังขรณ์ถ้ำนี้อย่างสวยงามพิสดารอีกหลายอย่าง


     
  19. krit_eng99

    krit_eng99 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    791
    ค่าพลัง:
    +2,228


    ถ้ำมืดอันศักดิ์สิทธิ์
    ถ้ำมืดอยู่ห่างจากถ้ำแจ้งไปทางเหนือประมาณ 300 เมตร หน้าถ้ำมีบันไดอิฐถือปูนขึ้นไปถึงบนปากถ้ำเช่นเดียวกัน ถ้ำมืดนี้ลึกประมาณ 600 เมตร ภายในถ้ำมืดมาก มองไม่เห็นแม้แต่มือของตัวเอง การเข้าไปชมจะต้องใช้ตะเกียงเจ้าพายุ หรือคบสว่างมาก ๆ ไฟฉายใช้ไม่ค่อยจะได้ผลดีไม่ดีอาจพลาดตกเหวลึกหรือ เหยียบเอางูเข้าด้วย คนนำทางเข้าถ้ำจะต้องเป็นคนของวัดที่คุ้นสถานที่ ถึงจะนำทางได้ปลอดภัย เมื่อขึ้นไปถึงปากถ้ำแล้วจะต้องไต่ลงไปตามขั้นบันไดลึกประมาณ 12 ขั้น ที่นี่มีพระพุทธรูปหลายองค์ศักดิ์สิทธิ์มาก จากจุดนี้ลึกเข้าไปเป็นทางสูง ๆ ต่ำ ๆ แคบ ๆ มีเหวลึกข้างทางหลายแห่ง ถ้าผู้ใดหรือหมู่คณะใดมีจิตใจสกปรกบาปหนา หรือแสดงกิริยามารยาทลามกอนาจาร เมื่อเข้ามาในถ้ำนี้สิ่งประหลาดที่สุดจะต้องเจองู มีทั้งงูเหลือม งูหลาม งูเห่า งูเขียวหางไหม้ ตั้งแต่ตัวเล็กจนถึงตัวใหญ่ขนาดโคนขาขวางทางไว้ ถ้าเราไล่มันไม่ยอมหลีกทางให้ ทางวัดหรือคนนำทางจะรีบพาออกจากถ้ำทันที

    แสดงว่าเจ้าที่เจ้าทางหรือเทพยดาอารักษ์ มีความรังเกียจไม่ยอมให้ผ่านเข้าไป ขืนทำกล้าหาญข้ามงูเหล่านี้ไปจะเป็นอันตราย ถ้ำมืดนี้จึงศักดิ์สิทธิ์มาก ใครไม่มีบุญจริง ๆ เข้าไปลำบากเพราะไม่แน่ว่า เข้าไปแล้วจะได้กลับออกมาหรือเปล่าก็ไม่รู้ ด้านในลึกเข้าไปมีประตูชื่อ "ประตูรอดบาป"

    ครูบาธรรมชัยได้มาบูรณปฏิสังขรณ์ทำบันไดไต่ขึ้นไปที่ประตูอำนวยความสะดวกให้ศาสนิกชน ประตูนี้อาถรรพณ์ที่สุดยิ่งกว่าทุกแห่งในถ้ำ มีคนจำนวนมากมาแล้วไม่สามารถจะผ่านเข้าไปได้ เพราะปรากฏว่ามีพญางูใหญ่แปลก ๆ ชอบมานอนขวางทางไว้ ตามตำนานได้บอกไว้ว่า อันว่าปุคคละ บุคคลใด ที่มีจิตไม่เป็นบุญเป็นกุศลพูดจาสกปรกหยาบคายไม่เป็นมงคล ไม่เชื่อว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์มีจริงจะมีพญางูน้อยใหญ่มานอนขวางทางไม่ยอมให้บุคคลนั้นรอดบาปผ่านเขาไปในถ้ำด้านในได้เลย

    พระเจ้าเนื้อนิ่ม
    ภายในถ้ำส่วนที่ลึกที่สุดนี้ มีสิ่งมหัศจรรย์ศักดิ์สิทธิ์ เช่น พระธาตุน้ำ หรือ เจดีย์น้ำอันนุ่มนิ่มมีบ่อน้ำทิพย์ดื่มกินล้างบาปได้ (ตำนานว่าไว้) พระธาตุน้ำผึ้งเราเอานิ้วมือจิ้มดู จะเป็นรอยบุ๋มลึกลงไปทันที แต่เมื่อเอานิ้วออกก็จะพองกลับขึ้นมาเหมือนเดิม แล้วยังมีพระพุทธรูปปางสมาธิมีชื่อว่า "พระเจ้าเนื้อนิ่ม" ที่ศักดิ์สิทธิ์มาก องค์พระพุทธรูปเนื้อนิ่มไปทั้งองค์คล้ายสร้างด้วยพลาสติกใส่น้ำไว้ข้างในฉะนั้น ลูบคลำดูตรงไหนจะนุ่มนิ่มเนียมมือไปหมด พอเอามือออกก็จะพองนูนเหมือนเดิม พระพุทธรูปองค์นี้สร้างด้วยอิฐถือปูนแข็งแรงเป็นถาวรวัตถุมงคลศักดิ์สิทธิ์สวยงามไม่น้อย มีผู้เคารพเลื่อมใสบุกบั่นฝ่าอันตรายเข้ามานมัสการกราบไหว้ขอพรจากท่านอยู่เสมอ เป็นที่เล่าลือว่าใครขออะไรจากท่านไม่ผิดหวังเลย มักจะสมปรารถนาในสิ่งที่อธิษฐานได้สมใจ

    ลูกเทวดา
    ที่ผนังถ้ำถัดพระเจ้าเนื้อนิ่มไป จะมีรูปปั้นเด็กหญิงและเด็กชายหน้าตาน่ารักยืนบ้างนั่งอยู่คนละแถบ เด็กชายอยู่แถบหนึ่ง เด็กหญิงอยู่แถบหนึ่ง เป็นรูปปั้นเก่าแก่เหล่าลูกเทวดา ใครไม่มีลูกอยากจะได้ลูกจะต้องอาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาด ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ สมาทานศีลห้าโดยเคร่งครัด แล้วถือดอกไม้ธูปเทียนเข้ามาในถ้ำนี้ กราบไหว้นมัสการหลวงพ่อเนื้อนิ่มตั้งอธิษฐานจิตขอลูกเทวดาจากท่าน เสร็จแล้วให้ถือดอกไม้นั้นไปที่เด็กลูกเทวดา (รูปปั้น) เหล่านั้น ชอบคนไหน ชอบเด็กชายหรือเด็กหญิงให้เดินเลือกดูเอาตามชอบใจ เมื่อต้องตาต้องใจเด็กคนใด แล้วก็วางดอกไม้ลงที่เด็กคนนั้น แล้วบอกกล่าวอัญเชิญไปเป็นบุตรของตน ซึ่งจะสมปรารถนาเป็นที่น่าอัศจรรย์ ท่านผู้ใดอยากจะได้บุตรธิดาเป็นลูกเทวดามีบุญวาสนาก็น่าจะไปลองดู ครูบาธรรมชัยจำวัดอยู่ถ้ำตับเตาบูรณปฏิสังขรณ์ ปฏิบัติรักษาดูแลสถานที่ให้เจริญ พัฒนาอย่างมากมาย เป็นที่อนุโมทนาสาธุจากทุกฝ่าย คือฝ่ายทางการคณะสงฆ์ ฝ่ายข้าราชการบ้านเมืองและประชาชนชาวเหนือ

    สู่วัดทุ่งหลวง
    จากนั้นมาในปี พ.ศ. 2497 ชาวคณะบ้านทุ่งหลวง ตำบลแม่แดง อำเภอแม่แตง ได้พร้อมใจกันมาอาราธนานิมนต์ครูบาธรรมชัยให้ไปจำวัด ณ บ้านทุ่งหลวง เพื่อไปเป็นหลักชัยแก่คณะศรัทธาประชาชนในถิ่นลำเนานั้น และได้นมัสการขออนุญาตจากทางการคณะสงฆ์อีกด้านหนึ่งด้วย มีเจ้าคณะอำเภอฝาง เป็นต้น เมื่อครูบาธรรมชัยยอมรับนิมนต์ด้วยความยินดี ทางฝ่ายคณะสงฆ์ก็อนุญาตให้ย้ายไปอยู่วัดทุ่งหลวงได้ไม่ขัดข้อง

    ครูบาธรรมชัยเดินทางมาอยู่ทุ่งหลวงเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2497 วัดทุ่งหลวงขณะนั้นเป็นเพียงสำนักสงฆ์เล็ก ๆ มีศาลา 1 หลังเท่านั้น บริเวณวัดเป็นป่าดงพงไพร มีหญ้าแน่นหนา ครูบาธรรมชัยมาอยู่วัดนี้ได้เริ่มลงมือก่อสร้างถาวรวัตถุขึ้นในวัดมาเรื่อย ๆ ด้วยความยากลำบาก

    แต่ด้วยความเพียรเสียสละของท่านและประกอบด้วยขันติธรรมอย่างแท้จริง ทำให้สาธุชนให้ความเคารพเลื่อมใสหลังไหลมาร่วมงานกุศลกับท่านตลอดมาจนกระทั่งทุกวันนี้ ทำให้วัดทุ่งหลวงซึ่งในอดีตเป็นเพียงสำนักสงฆ์เล็ก ๆ กลายเป็นวัดที่ใหญ่โตสวยงาม มีถาวรวัตถุครบถ้วนในปัจจุบัน

    [​IMG]

    พระผู้สร้าง
    ครูบาธรรมชัยเป็นพระเถระที่ได้เสียสละตั้งใจทำงานในด้านพระศาสนา และด้านสาธารณะอยู่ตลอดเวลาไม่หยุดหย่อน นอกจากวัดทุ่งหลวงแล้วท่านได้มีจิตศรัทธาบำเพ็ญประโยชน์ไปยังวัดอื่น ๆ อยู่เสมอ เช่น ได้ไปบูรณปฏิสังขรณ์เสริมสร้างองค์พระธาตุแม่ก๊ะ ไปสร้างพระวิหารวัดปางหก สร้างระฆังใหญ่ทองสัมฤทธิ์ถวายวัดศิริมังคลาจารย์ ตำบลแม่เหียะ ถวายวัดแม่ตามานและวัดม่วงชุมแห่งละ 1 ใบ สร้างพระพุทธรูปพร้อมด้วยระฆังทองและสัตตะภัณฑ์เชิงเทียนไปถวายวัดพระบาทสี่รอย สร้างกุฏิวัดม่วงชุม เป็นต้น รายการสร้างวัด สร้างโรงเรียนประชาบาล สร้างถาวรวัตถุไว้ในพระศาสนา และ สาธารณะสังคมที่ท่านได้ทำไปยังมีอีกมากทั้งส่วนตัวและส่วนรวม ใคร่ขอผ่านไปไม่สามารถจะนำมาลงได้หมด ครูบาธรรมชัยทำประโยชน์แก่ส่วนรวมเจริญรอยตามครูบาเจ้าศรีวิชย พระปรมาจารย์ทุกประการก็ว่าได้ ตลอดชีวิตของครูบาธรรมชัยเป็นการสร้างสมคุณงามความดี มีผลงานในพระศาสนาและสาธารณะสังคมเป็นประจักษ์เลื่องลือมากมาก แม้งานนั้นจะยากปานใด ท่านก็ทำสำเร็จลงได้ ชีวิตของท่านจึงเป็นชีวิตแห่งการงานที่ไม่นิ่งเฉย ประกอบด้วยขันติธรรมอันสูง พยายามบำเพ็ญประโยชน์ตนและผู้อื่นให้ถึงด้วยความไม่ประมาทอยู่เสมอ ชีวิตสมถะของท่านทรงไว้ซึ่งพรหมวิหาร ถือโอกาสปฏิบัติสมถะ - วิปัสสนากรรมฐานไม่ขาดสาย ได้บำเพ็ญศาสนกิจตามพระธรรมวินัยระเบียบกติกาสงฆ์ สังฆาณัติกฎหมายมาพอสมควร ได้ปกครองอบรมสั่งสอนภิกษุสามเณรศิษย์วัด ให้การศึกษาเล่าเรียน ปฏิบัติกิจประจำวันให้มีระเบียบเรียบร้อย ทั้งด้านการบูรณะปฏิสังขรณ์ปลูกสร้างดังกล่าวมาสงเคราะห์ในสถานที่สมควร ท่านได้เผยแพร่ธรรมะอบรมเทศนาแก่ศรัทธาชาวบ้านสม่ำเสมอ ด้วยความเพียรเสียสละตลอดมา ไม่เคยท้อถอย จึงมีสาธุชนให้ความเคารพเลื่อมใสมากมาย

    พระผู้รักษา
    อนึ่ง ด้วยครูบาธรรมชัยเป็นพระกรรมฐานมีฌานสมาบัติแก่กล้าทรงอภิญญา ในด้านวิทยาคมและแพทย์ศาตร์สงเคราะห์แผนโบราณนั้น มีความเชี่ยวชาญมากเป็นพิเศษ เมื่อประชาชนได้รับทุกขเวทนาทางเจ็บป่วยพากันหลั่งไหลมาขอความเมตตาพึ่งพาใครผู้ใดได้อีกแล้ว ครูบาธรรมชัย ก็ได้ประโลมขวัญให้กำลังใจเขาเหล่านั้น ช่วยสงเคราะห์เมตตารักษาโรคภัยไข้เจ็บให้ ทำให้พ้นจากโรคภัยไปเป็นจำนวนมากมายนับไม่ถ้วน สามารถมีชีวิตอยู่รอดไปได้ ตามส่วนกุศลผลบุญมากและน้อยแต่ละบุคคล การรักษาโรคของครูบาธรรมชัย ท่านรักษาด้วย พลังกระแสฌาน หรือ พลังจิตขั้นสูง ยึดเอาอำนาจคุณพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณเป็นสรณะสูงสุด และประกอบด้วยยาสมุนไพร ครั้นต่อมาท่านได้นำเอาวิธีการ ฝังเข็ม ด้วยกระแสไฟฟ้าเข้ามาประยุกต์ใช้ด้วย แสดงว่าท่านค้นคว้าก้าวหน้าอยู่เสมอในทางแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ การอบตัวด้วยเครื่องยาสมุนไพรก็เป็นส่วนประกอบอีกแบบหนึ่งในการรักษาที่ขึ้นหน้าขึ้นตาที่วัดของท่านในเวลานี้ โดยมีพระเณร แม่ชี และชาวบ้านคอยต้อนรับคนเจ็บป่วยและช่วยดูแลเครื่องต้นสมุนไพรตลอดจนอำนวยความสะดวกต่าง ๆ บริการอยู่ตลอดเวลา ตามปกติจะมีคนไข้ด้วยโรคพยาธิต่าง ๆ จากทั่วประเทศหลั่งไหลไปขอให้ครูบาธรรมชัยรักษาวันละมาก ๆ ที่รักษาค้างคืนเป็นประจำก็มีมาก ที่รักษาอยู่เป็นเดือนก็มีมากเช่นกัน สุดแต่โรคที่เป็นมากและน้อย เรื่องเงินทองอาหารการกินไม่ต้องวิตกกังวลใจ ครูบาธรรมชัยบริการทุกอย่าง ท่านมีแต่ให้และให้ด้วยความเมตตากรุณาหาที่สุดมิได้ ส่วนใครจะถวายเงินทองท่านหรือไม่ ท่านไม่สนใจ ไม่ใช่เรื่องของท่าน เป็นเรื่องของศรัทธาแต่ละคนแล้ว แต่จะถวายกับทางวัดทางคณะสงฆ์ ท่านให้ทุกคนที่บากหน้าไปหาได้รับแต่ความชุ่มชื่นสมหวังในสิ่งที่ปรารถนาอย่างเดียวเท่านั้น ใครบากหน้าไปหาท่านแล้วจะต้องขนลุกซู่น้ำตาคลอเกิดความปิติอย่างบอกไม่ถูก ปฏิปทาจริยาวัตรการปฏิบัติของท่านพิเศษจริง ๆ ไม่เหมือนหลวงพ่อหลวงปู่วัดใด ใครไม่เชื่อก็น่าจะลองไปพิสูจน์ดูด้วยตนเอง ท่านไม่ใช่พระเกจิอาจารย์ธรรมดา ๆ ท่านเป็นพระโพธิสัตว์ลงมาเกิดบำเพ็ญบารมี เพื่อหวังพระสัมมาสัมโพธิญาณ ตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคตอันไกลโพ้น แต่จะเป็นองค์ที่เท่าใดไม่อาจทราบได้ จึงกล่าวได้ว่า ครูบาธรรมชัยมีภารกิจในพระศาสนา และ บำเพ็ญประโยชน์สาธารณะสังคม เป็นภาระหนักทับถมอยู่ตลอดเวลา แทบจะไม่มีเวลาพักผ่อนหลับนอน เวลาพักผ่อนของท่านก็ได้อาศัยการนั่งสมาธิในตอนดึก ๆ นั่นแล เรื่องราวของครูบาธรรมชัยที่เล่ามาตั้งแต่ต้นนี้เป็นเพียง "เสี้ยวหนึ่งของชีวิต" ของท่านเท่านั้น ยังมีเรื่องราวอีกมากมายนักที่ไม่ได้เล่า เพราะถ้าเล่าจนหมดก็คงจะลงในหนังสือใช้เวลาเป็นปี ๆ ถึงจะจบ จึงใคร่จะขอรวบรัดตัดตอนนำมาเล่าสู่กันฟังเฉพาะตอนที่ไม่ "หนัก" จนเกินไปในด้านข้ออรรถข้อธรรม

    ทองคำค่าควรเมือง
    ครูบาธรรมชัยหรือท่านพระครูกองแก้ว ธมมชโย ท่านเป็นพระทรงอภิญญา มีตาทิพย์และหูทิพย์จริงล่ะหรือ ? เกี่ยวกับเรื่องนี้ ใคร่จะขอนำมาเล่าสู่กันฟังเพื่อเจริญศรัทธา และสู่การพิจารณาของท่านที่สนใจ ส่วนที่ท่านจะเชื่อหรือไม่นั้นเป็นสิทธิ์ของท่านผู้อ่านแต่ละท่าน เรื่องมีอยู่ว่า เมื่อคราวพิธีบรรจุสารีริกธาตุสมเด็จพระพุทธมหามงคลบพิตร ที่อำเภอหาดใหญ่ ตำบลน้ำน้อย เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม ประมาณปี 2519 และพระอาจารย์ที่ร่วมในพิธีนี้ด้วย หลังจากเสร็จพิธีแล้ว คณะศรัทธาญาติโยมได้นิมนต์ครูบาธรรมชัย และ พระอาจารย์ที่ร่วมในพิธีหลายองค์ ไปเที่ยวน้ำตกทรายขาว อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี เท่าที่จำได้ก็มี หลวงพ่อฤาษีลิงดำ หลวงพ่อสิม พุทธาจาโร หลวงพ่อชุ่ม โพธิโก ร่วมขบวนไปด้วยในครั้งนี้

    น้ำตกทรายขาว เป็นเทือกเขาใหญ่สูงสุดที่สำคัญมากในปัตตานี ในอดีตเคยมีการทำเหมืองทองคำที่เขาลูกนี้ คณะหลวงปู่หลวงพ่อที่ไปเที่ยวน้ำตกทรายขาวเป็นอันมาก ปรารภกันว่า สถานที่แห่งนี้ หลวงปู่ทวดเหยียบทะเลน้ำจืด เคยมาบำเพ็ญสมณะธรรมในอดีตกาลนานโพ้น และเมื่อประมาณ 60 - 70 ปีที่ล่วงมานี้ เคยมีผู้มาขุดหาแร่ทองคำทำเหมืองทองมาแล้ว แต่ได้เลิกร้างไปในเวลาต่อมา เพราะว่าทองคำในดินได้หมดไป

    หลวงพ่อฤาษีลิงดำได้เอ่ยขึ้นว่า "จะเป็นไปได้ล่ะหรือ ? ที่สายแร่ทองคำจะหมดไปได้ง่าย ๆ จากภูเขาทรายขาวนี้ น่าจะ "เพ่ง" ดูใต้พื้นดินลึกลงไปว่า ยังมีแร่ทองคำเหลืออยู่บ้างหรือเปล่า แล้วหลวงพ่อทุกองค์ที่ไปเที่ยวน้ำตกทรายขาวก็ได้ใช้พลังสมาธิ "เพ่ง" สำรวจดูใต้ผืนแผ่นธรณีในบริเวณนั้น

    หลวงพ่อชุ่ม โพธิโกเพ่งดูแล้วครู่หนึ่งก็บอกว่า พบแร่ทองคำอยู่ลึกมากเหลืองอร่ามไปหมดเป็นตัน ๆ มากมายเหลือเกิน มนุษย์ยังไม่สามารถขุดค้นลงไปได้ถึง

    หลวงพ่อฤาษีลิงดำ "เพ่ง" ดูบ้างก็เป็นทองคำอยู่ลึกลงไปใต้ดินเช่นเดียวกันกับที่หลวงพ่อชุ่มได้เพ่งเห็นทองคำเหมือนกัน แต่หลวงพ่อสิม พุทธาจาโร สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง อ.เชียงดาว ได้เพ่งดูแล้วกลับมองไม่เห็นทองคำที่อยู่ใต้ดิน ท่านได้เห็นแต่มือดำ ๆ ใหญ่โตมาก เป็นมือมีห้านิ้วคล้ายมือมนุษย์แต่ใหญ่โตเท่าภูเขาเลากาอยู่ใต้ดิน

    หลวงปู่หลวงพ่อเหล่านั้นเมื่อได้ฟังคำตอบของหลวงพ่อสิม แล้วก็หัวเราะกันใหญ่ คือพวกท่านมีอารมณ์เพลิดเพลินสนุก นึกอยากจะหยอกล้อกันเล่นนั่นเอง ครูบาธรรมชัยจึงยกมือขึ้นแล้วบอกให้หลวงพ่อสิมเพ่งดูอีกครั้ง เมื่อหลวงพ่อสิมเพ่งดูลงไปใต้ดินก็พบว่า มือลึกลับใหญ่โตนั้นหายไป แล้วได้พบแร่ทองคำจำนวนมากมายอยู่ใต้ดินเหลืองอร่ามไปหมด

    หลวงพ่อสิมเลยหัวเราะใหญ่ เพราะได้รู้ว่า มือลึกลับใหญ่โตที่ปิดแร่ทองคำใต้ดินไว้เมื่อสักครู่นี้นั้น คือมือของครูบาธรรมชัยนั่นเอง หลวงพ่อสิมเลยกล่าวชมเชยยกย่องครูบาธรรมชัยเป็นการใหญ่ว่า เก่งมาก ๆ ๆ สามารถเอามือปิดกั้นขุมทองคำทั้งขุมไว้ได้ไม่ให้ท่านเห็น

    ครูบาธรรมชัยได้กราบขอขมาหลวงพ่อสิมที่ล่วงเกินล้อเล่นในครั้งนี้

    หลวงพ่อสิมหัวเราะชอบใจบอกว่า ไม่ถือ ๆ ๆ สนุกดี

    หลวงพ่อฤาษีลิงดำถามหลวงพ่อสิมว่า ทำไมทองคำจำนวนมหึมานี้คนถึงขุดลงไปไม่พบ

    หลวงพ่อสิมหลับตาใช้ญาณหยั่งรู้อยู่ครู่หนึ่งก็ลืมตาตอบว่า เมื่อถึงเวลาทองจำนวนนี้จะปรากฏขึ้นมาเอง เป็นทรัพย์ในดินของประเทศชาติ เป็นของคู่บุญญาบารมีของรัชกาลต่อไป ตอนนี้เทวดายังไม่ยอมให้ทองคำจำนวนนี้ปรากฏ เพราะยังไม่ถึงเวลา

    หลวงพ่อชุ่ม โพธิโก กล่าวว่า ทองคำที่นี่มีมากก็จริง แต่ยังเป็นส่วนน้อยเมื่อเทียบกับทองคำที่มีอยู่ในผืนแผ่นดินไทยอีกหลายแห่ง ต่อไปในอนาคตประเทศชาติของเราจะร่ำรวยใหญ่ ประชาชนก็จะร่ำรวยมีสุขตามดวงเมืองที่เจริญรุ่งโรจน์

    ครูบาธรรมชัยหลับตาใช้ญาณหยั่งรู้บ้าง ท่านกล่าวว่า ทองคำที่น้ำตกทรายขาวนี้เป็นของอาถรรพณ์ที่ฝังลึกอยู่ใต้ดินป้องกันไม่ให้ข้าศึกษาศัตรูมาครองได้ ข้าศึกศัตรูที่บังอาจล่วงล้ำก้าวข้ามขุมทองแห่งนี้เข้ามาจะพบกับความวิบัติฉิบหายในที่สุด

    หลวงพ่อฤาษีลิงดำ ท่านเป็นพระทรงวิชชา 3 เรื่องหยั่งรู้อดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นของธรรมดาสำหรับท่านมาก ท่านเห็นด้วยกับครูบาธรรมชัยและหลวงปู่หลวงพ่อร่วมคณะว่า มีทองคำเป็นตัน ๆ มากมายอยู่ที่ภูเขาทรายขาวจริง ทองคำไม่ได้หมดไปตามความเข้าใจของพวกทำเหมืองทองคำยังมีอยู่ใต้ดินนอนนิ่งอยู่ในดิน เวลานี้ใครไปขุดก็เอาขึ้นมาไม่ได้ เพราะยังไม่ถึงเวลาที่เทวดาจะให้ ขืนไปขุดเทวดาก็จะบันดาลให้พบสิ่งกำบังตาอย่างอื่นแทน หรือไม่ก็จะเจอแต่อุปสรรคอันตรายต่าง ๆ เมื่อถึงเวลาทองคำจำนวนมหึมานี้ก็จะปรากฏขึ้นมาเอง ดังนั้นผู้ได้คิดอยากจะร่ำรวยแอบไปขุดในเวลานี้ ขอให้เลิกล้มความคิดนี้เสียเถิด อย่าทำเลยจะประสบเคราะห์กรรมอันตรายนะครับ...นี่ผู้เขียนว่าเองหลวงปู่หลวงพ่อไม่ได้พูดประโยคนี้

    ญาณพิเศษ
    เรื่องมีตาทิพย์ของครูบาธรรมชัยนี้ เป็นที่ยอมรับในหมู่พระเถระชั้นสูงที่อยู่ในวงพระกรรมฐานได้ยกย่องว่า ครูบาธรรมชัยมีญาณพิเศษตาทิพย์หูทิพย์ สามารถจะนั่งทางในไปนรก-สวรรค์ได้ รู้ว่าใครตายไปแล้วไปอยู่ที่ไหน ท่านสามารถติดต่อวิญญาณของผู้นั้นได้ รู้ว่ามนุษย์และสัตว์ที่เกิดมาในโลกนี้ มาจากไหน ชาติก่อน ๆ เคยเสวยภพชาติเป็นอะไรมาบ้าง รู้ว่าคนนี้ป่วยเจ็บจะตายหรือจะหายเมื่อไร รู้ว่าคนที่ไม่ป่วยเจ็บมีร่างกายแข็งแรงดีที่มาพบท่านนั้น เมื่อไหร่จะตาย เมื่อไหร่จะมีโชคลาภ ล่วงรู้ด้วยว่า ในใจกำลังคิดอะไร คิดดีหรือคิดชั่ว เรียกว่าท่านมี เจโตปริยญาณ รู้จักกำหนดวาระจิตผู้อื่น

    นกทิพย์
    เกี่ยวกับเรื่องหูทิพย์นั้น มีเรื่องที่น่ากล่าวถึงอยู่เรื่องหนึ่ง เมื่อคราวมีพิธีบวงสรวงที่พระธาตุจอมกิตติ อำเภอเชียงแสน เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2518 ในพิธีมีหลวงปู่สำคัญ ๆ หลายองค์ไปร่วมด้วย เช่น หลวงปู่ชุ่ม โพธิโก หลวงปู่คำแสน วัดสวนดอก หลวงปู่คำแสน วัดป่าดอนมูล หลวงปู่บุดดา แห่งสำนักสงฆ์สองพี่น้อง อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท หลวงปู่สิม พุทธาจาโร ครูบาชัยยะวงศ์ วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ครูบาธรรมชัยและหลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ปรากฏว่า ในพิธีนมัสการบวงสรวงครั้งนั้น มีปรากฏการณ์มหัศจรรย์หลายอย่างเป็นต้นว่า มีฝูงนกประหลาดสีสวยหมู่หนึ่งบินมากระทำประทักษิณาวัตรรอบ ๆ องค์พระธาตุ 3 รอบ แล้วพากันบินเข้ามาเกาะกิ่งไม้ใกล้ ๆ พิธีที่หลวงปู่หลวงพ่อกำลังนั่งปรกพิธีกรรมอยู่

    นกประหลาดสีสวยเหล่านั้นได้ส่งเสียงร้องขึ้นพร้อม ๆ กันอย่างเจื้อยแจ้วไพเราะ ท่ามกลางพุทธศาสนิกชนจำนวนนับพัน ๆ ที่นั่งพนมมือสงบเงียบนิ่งรวมอยู่ในบริเวณพิธีกรรม ทุกคนต่างก็ประหลาดใจที่ได้เห็นนกบินมาประทักษิณาวัตร และส่งเสียงร้อยในพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์นี้เป็นอย่างยิ่ง

    พล อากาศโท ม.ร.ว.เสริม สุขสวัสดิ์ ได้นมัสการถามหลวงพ่อฤาษีลงดำภายหลังออกจากสมาธินั่งปรกแล้วว่า การที่ฝูงนกประหลาดไม่เคยเห็นมาก่อนในโลกนี้บินมาประทักษิณาวัตรและส่งเสียง ร้องประสานเสียงอย่างไพเราะนี้จะมีความหมายเป็นประการใดหรือไม่ขอรับ

    หลวงพ่อฤาษีลิงดำยิ้ม ๆ ตอบว่าให้ถามครูบาชุ่มดูซิ

    ท่านเจ้ากรมฯ เสริม สุขสวัสดิ์ จึงได้หันไปนมัสการถามหลวงปู่ชุ่ม โพธิโก ครูบาชุ่มยิ้ม ๆ ว่าให้ถามหลวงปู่คำแสน วัดสวนดอกดูซิ

    ครั้นเมื่อหันไปนมัสการถาม หลวงปู่คำแสนก็ชี้มือไปที่ครูบาธรรมชัยแล้วว่า ให้ถามครูบาธรรมชัยดูซิ การที่พระอริยเจ้าทั้งสามองค์บ่ายเบี่ยงไม่ยอมตอบคำถาม ทำให้หลวงปู่สิม หลวงปู่บุดดา หลวงปู่คำแสน วัดป่าดอนมูล ต่างก็พากันหัวเราะและสนับสนุนให้ครูบาธรรมชัยเป็นผู้ตอบ

    ครูบาธรรมชัยรู้ว่า หลวงปู่หลวงพ่อเหล่านั้นถวายเกียรติยกย่องท่าน จึงกราบนมัสการหลวงปู่หลวงพ่อเหล่านั้นด้วยความเคารพ แล้วจึงตอบว่า นกประหลาดฝูงนี้ไม่มีในภูมิประเทศเขตถิ่นนี้ หากเป็นฝูงนกมาจากโลกอื่น คือมาจากโลกทิพย์ เป็นพวกเทวดาจำแลงแปลงกายมา เพื่อสำแดงสาธุการอนุโมธรรมะและร่วมสวดพระคาถาศักดิ์สิทธิ์จากโลกทิพย์ร่วมด้วยในพิธีกรรม

    นี่แสดงว่า ครูบาธรรมชัยรู้ภาษานกและยังล่วงรู้ว่า นกเหล่านั้นมาจากไหน เป็นอะไร เมื่อพิธีการบวงสรวงจบลงแล้ว ฝูงนกเหล่านั้นได้พากันเกาะหมู่บินประทักษิณาวัตรรอบ ๆ พระธาตุจอมกิตติ 3 รอบ แล้วบินหายวับไปในท้องฟ้าจนสุดสายตาของทุกคนในที่นั้น

    ทีนี้จะขอกล่าวถึงอีกเสี้ยวหนึ่งในชีวิตของครูบาธรรมชัยเกี่ยวกับการผจญภัยของท่าน ขณะธุดงคกรรมฐาน อันแสดงถึงพลังอำนาจจิตอันแข็งกล้าและบุญบารมีของท่าน ที่ทำให้ท่านล่วงพ้นภยันตรายมาได้เป็นที่น่าอัศจรรย์

    [​IMG]

    สะกดหมีควาย
    ในปี 2484 ครูบาธรรมชัยมีเวลาว่างจากศาสนกิจและงานสาธารณะกุศลพอสมควรจะปลีกตัวไปบำเพ็ญเพียรกรรมฐานแสวงหาวิเวกได้อยู่บ้าง ท่านจึงออกจากวัดเดินด้วยเท้าขึ้นไปนมัสการพระบรมธาตุดอยสุเทพ หลังจากที่ท่านเคยไปร่วมงานสร้างทางขึ้นดอยแห่งนี้กับครูบาเจ้าศรีวิชัยมาแล้ว ท่านเคยพบว่า ในป่าด้านหลังดอยสุเทพ บริเวณถ้ำฤาษีนั้น เป็นสถานเงียบสงัดวิเวกธรรมชาติรื่นรมย์เย็นตาเย็นใจเหมาะที่จะบำเพ็ญเพียรภาวนามาก ท่านตั้งใจไว้ว่า เมื่อนมัสการพระบรมธาตุแล้วก็จะเดินทางไปยังถ้ำฤาษีต่อไป

    เมื่อครูบาธรรมชัยเดินทางไปถึงลำห้วยแม่งาไซด้านหลังดอยสุเทพ ซึ่งเป็นป่าเปลี่ยวน่ากลัวก็ได้ยินเสียงใครหักไม้ไผ่อยู่ข้าง ๆ ทาง เข้าใจไปว่า คงจะเป็นชาวป่าชาวเขามาตัดไม้ หรือไม่ก็เก็บหน่อไม้จึงผ่านไปไม่สนใจ แต่แล้วก็ต้องสะดุ้ง เพราะปรากฏว่า ผู้ที่หักกอไผ่ดังโผงผางอยู่นั้นไม่ใช่มนุษย์ หากเป็นหมีควายตัวใหญ่สูงเหนือหัวคนกำลังหักกอไผ่ค้นหาหน่อไม้กินอยู่อย่างงุ่นง่าน

    ทันทีที่มันเหลือบเห็นท่าน มันก็ผละจากกอไผ่เดินงุ่มง่ามด้วยสองตีนหลังตรงรี่เข้ามาอย่างดุร้าย

    ครูบาธรรมชัยรีบหยุดยืนนิ่งไม่เคลื่อนไหว แล้วสูดลมหายใจภาวนาแผ่เมตตาจิตให้มัน

    "สัพเพ สัตตา อเวรา อพะยาปัชฌา อนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ สัตว์ทั้งหลายเป็นเพื่อนทุกข์เกิด แก่ เจ็บ ตายด้วยกันหมดทั้งสิ้น อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกัน จงเป็นสุข เป็นสุขเถิด อย่างได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจ จงมีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด"

    หมีควายตัวใหญ่ส่งเสียงคำรามเข้าประชิดตัว เงื้ออุ้งเล็บขาหน้าทั้งสองข้างเตรียมจะตบอยู่แล้ว ขนาดได้กลิ่นลมหายใจอันร้อนแรงฟืดฟาดของมันปะทะหน้าจนร้อนวูบวาบ แต่พอท่านแผ่เมตตาจิตให้มัน ก็ทำให้มันชะงักกึก เงื้ออุ้งเล็บค้างเติ่งอยู่กลางอากาศมีอาการยืนงง ๆ คล้ายโดนมนต์สะกด แต่ท่านได้ได้ใช้เวทย์มนต์สะกดแต่อย่างใด ด้วยบารมีเมตตากระแสธรรมอันลี้ลับมหัศจรรย์โดยแท้ ทำให้หมีควายหยุดชะงักไม่ทำอันตราย มันรีบหันหลังเดินกลับเข้ไปในกอไผ่ก้มหน้าก้มตาหักหน่อไม้กินต่อไป ไม่สนใจกับท่านอีกเลย คล้ายไม่มีตัวตนของท่านในที่นั้น

    ผจญงูและช้าง
    อีกครั้งหนึ่ง ครูบาธรรมชัยเดินธุดงค์ผ่านป่าสักงามดอยสะเก็ด เป็นเวลาใกล้พลบค่ำ ขณะที่กำลังมองหาที่จะปักกลดอยู่นั้น ก็ต้องหยุดยืนนิ่ง เมื่อพบงูจงอาจดำมะเมื่อมจำนวนสิบสองตัว โตขนาดเท่าท่อนแขนเลื้อยปราดออกมาจากจอมปลวกข้างทางชูคอแผ่แม่เบี้ยขวางหน้าไว้

    ท่านได้แผ่เมตตาให้มันด้วยจิตอันสงบเยือกเย็นไม่ตื่นเต้นแต่อย่างใด ปรากฏว่างูพิษเหล่านั้นได้ลดแม่เบี้ยลงแล้วค่อย ๆ เลื้อยหนีไป

    อีกคราวหนึ่ง ครูบาธรรมชัยได้จาริกธุดงค์ไปในป่าเชียงดาว ขณะไปถึงขุนห้วยแม่ตาดอันเป็นต้นน้ำแม่ตาดนั้น เป็นเวลาเย็นมากแล้ว ท่านจึงปักกลดที่ริมฝั่งห้วย แล้วลงไปตรงน้ำที่ลำห้วย ทันใดก็ต้องตะลึง เมื่อเหลือบเห็นช้างป่าโขลงหนึ่งมีจำนวน 8 เชือก ล้วนสูงใหญ่ล่ำพีมีงางามยาวหลายเชือกได้โผล่ออกจากป่าลงมากินน้ำใกล้ ๆ ท่าน ห่างไม่ถึงสามวา

    ช้างทั้งโขลงมีอาการหยุดชะงักจังงัง ด้วยความตื่นตระหนัก ทำท่าจะพุ่งใส่เข้าทำอันตรายท่าน แต่จ่าโขลงได้ชูงวงขึ้นสูงส่งเสียงร้อยแปร๋นขึ้นสามครั้ง คล้ายจะห้ามลูกโขลงไว้ไม่ให้ทำอันตราย

    ครูบาธรรมชัยเล่าในภายหลังว่า โขลงช้างไม่ทำอันตรายท่าน เป็นเพราะบารมีธรรมของท่านที่แผ่เมตตาก่อนลงอาบน้ำชำระกายในลำห้วยนั่นเอง

    อีกคราวหนึ่ง ครูบาธรรมชัยไปบำเพ็ญกรรมฐานอยู่ในป่าช้าสันปูเลย ใกล้ ๆ กับวัดทุ่งหลวง อำเภอแม่แตง เป็นป่าช้าที่ดุร้ายมีผีดิบปรากฏอยู่เสมอ เป็นที่เกรงกลัวของชาวบ้านทั่วไป แม้แต่ในเวลากลางวัน ถ้าไม่มีกิจธุระจำเป็นชาวบ้านจะไม่เดินผ่านเข้าไปในป่าช้าแห่งนี้เลย

    แต่ครูบาธรรมชัยไม่กลัว ท่านได้เข้าไปปักกลดบำเพ็ญกรรมฐานอยู่ในป่าช้าแห่งนี้ โดยไม่ยอมฟังคำทักท้วงทัดทานของศรัทธาญาติโยมที่ห้ามไว้

    ปรากฏว่า ได้มีช้างตกมันเชือกหนึ่งเป็นของพ่อเลี้ยงชาวบ้านปากทางปางกว้าง อำเภอแม่แตง ได้แตกปลอกออกอาละวาดไล่ทำร้ายชาวบ้าน และทำลายไร่นาสวนผลหมากรากไม้เสียหายมากมายในถิ่นนั้น ควาญช้างพยายามออกติดตามจับแต่เข้าไม่ถึง เพราะช้างตกมันไล่กระทืบเอาต้องวิ่งหนีเอาตัวรอด ช้างได้มุ่งหน้ามาทางป่าช้าสันปูเลย

    ฝ่ายชาวบ้านเกรงว่าครูบาธรรมชัยจะได้รับอันตรายจึงพากันมานิมนต์ให้ท่านรีบหนีออกจากป่าช้าเสียโดยเร็ว กลับไปอยู่วัดทุ่งหลวงอย่างเดิม แต่ครูบาธรรมชัยกล่าวว่า เมื่อปักกลดตั้งสัตย์อธิษฐานจะมาบำเพ็ญเพียรภาวนาอยู่ในป่าช้าแล้วเช่นนี้ จะถอนกลดกลับวัดกลางคันไม่ได้ ท่านจะขออยู่ในป่าช้าไม่ไปไหน ถ้ากรรมเวรตามมาถึงตัวแล้วก็จะขอยอมตายอยู่ในป่าช้านี่แหละ

    พวกชาวบ้านจึงพากันกลับไปด้วยความผิดหวังและวิตกกังวลเป็นห่วงเป็นใยท่านเป็นอย่างยิ่ง ช้างตกมันเชือกนั้นอาละวาดทำลายเรือกสวนไร่นาเตลิดเปิดเปิงมาถึงป่าช้าสันปูเลยจริง ๆ มันตรงเข้าไปเหยียบย่ำทำลายต้นไม้ในป่าช้าเสียหายยับเยิน

    ครั้นพอเห็นกลดของครูบาธรรมชัยปักอยู่มันก็ตรงรี่เข้าไปจะทำร้าย แต่พอเข้าไปใกล้บริเวณด้ายสายสิญจ์ที่ครูบาธรรมชัยขึงไว้รอบ ๆ กลด เพื่อป้องกันสัตว์ร้ายและหมู่มารไม่ให้เข้ามารบกวนสมาธิภาวนา ทำให้ช้างตกมันที่กำลังคลุ้มคลั่งดุร้ายหยุดชะงักลังเลไม่กล้าก้าวข้ามด้ายสายสิญจ์น่าอัศจรรย์ มันหันรีหันขวางกระทืบตีนสนั่นแผดเสียงร้องแปร๋นแสดงความงุ่นง่ามขุ่นเคืองอยู่ครู่ใหญ่ ๆ ครั้นแล้วก็ถอยห่างออกไปยืนคุมเชิงอยู่ในระยะไม่ไกลนัก มันยืนคุมเชิงอยู่นานทีเดียวจึงออกเดินหักกิ่งไม้กินอยู่รอบ ๆ บริเวณกลดนั่นเองไม่ยอมไปไหน คล้ายจะป้องกันไม่ให้ครูบาธรรมชัยออกมาจากกลด แต่ครูบาธรรมชัยก็หาได้หวาดกลัวแต่อย่างใดไม่ ท่านออกมาเดินจงกรมไปมาอยู่ภายในบริเวณขึงด้ายสายสิญจ์เป็นปกติ

    เมื่อเดินจนรู้สึกเมื่อยแล้วก็เปลี่ยนเป็นนั่งสมาธิอยู่หน้ากลดบ้าง อยู่ข้างในกลดบ้าง ช้างเชือกนั้นก็หักกิ่งไม้เคี้ยวกินจ้องมองดูคุมเชิงอยู่ห่าง ๆ ชาวบ้านทั้งหลายแตกตื่นตกใจวิตกเป็นทุกข์ยิ่งนัก กลัวช้างจะเข้าไปกระทืบกลดและทำร้ายครูบาธรรมชัยเป็นอันตรายถึงชีวิต แต่ไม่รู้จะเข้าไปช่วยได้ยังไง เพราะกลัวช้างจะเล่นงานเอา

    ฝ่ายควาญช้างก็พยายามจะเข้าไปปลอบโยนล่อเอาช้างออกมาจากป่าช้าให้ได้ แต่เข้าไม่ติดเพราะถูกมันไล่เอางวงฟาดเอาต้องวิ่งหนีหัวซุกหัวซุน ชาวบ้านคนเฒ่าคนแก่พากันร้องไห้ระงมกลัวครูบาธรรมชัยจะถูกช้างเหยียบตาย จะเอาข้าวปลาอาหารเข้าไปถวายก็ไม่ได้เพราะช้างคุมเชิงอยู่ไม่ยอมหนีไปไหน เวลาล่วงเลยมาหลายวันช้างก็ไม่ยอมหนีไปไหน มันคงหักกิ่งไม้ใบไม้กินอยู่แถวนั้น วนเวียนไปมารอบ ๆ กลดแต่ไม่กล้าก้าวข้ามด้ายสายสิญจ์เข้าไป

    ครูบาธรรมชัยก็ไม่ยอมออกไปบิณฑบาต ท่านทนอดอาหารเอา ได้แต่ฉันน้ำในกาพอประทังชีวิตไปวัน ๆ สวดมนต์ภาวนาแผ่เมตตาให้ส่ำสัตว์ทั้งหลายทุกคืนวัน

    จนกระทั่งเวลาล่วงเลยมาถึง 15 วัน คือรุ่งเช้าของวันที่ 15 ที่ช้างกักอาณาบริเวณไว้นั้น ในที่สุดมันก็ยอมละพยศคลายจากอาการคลุ้มคลั่งตกมันยอมให้ควาญเข้าจับเอาออกไปจากป่าช้าแต่โดยดี

    ฝ่ายญาติโยมชาวบ้านรีบพากันแห่เข้าไปในป่าช้า ด้วยความหวาดวิตกไปต่าง ๆ นานา เกรงว่าครูบาธรรมชัยอาจจะถูกช้างทำอันตรายถึงแก่มรณภาพไปแล้ว หรือไม่ก็อาจจะอดอาหารจนมรณภาพไปแล้วก็เป็นได้ แต่เมื่อทุกคนไปถึงก็ต้องประหลาดใจเมื่อพบว่า ครูบาธรรมชัยเดินจงกรมอยู่ปกติผิวพรรณวรรณะผุดผ่องแจ่มใสแข็งแรงไม่มีท่าทีจะอ่อนเพลียเพราะอดอาหารแต่อย่างใดเลย ทุกคนต่างก็พากันก้มกราบนมัสการร้องไห้ออกมาด้วยความโล่งอกปิติยินดี

    ครูบาธรรมชัยบอกกล่าวกับชาวบ้านว่า

    "เฮาพ้นคอกแล้ว เขาขังเฮาอยู่ในป่าช้า 15 วัน เพราะชาติก่อนเฮาเคยทำเขามา จึงต้องใช้กรรมให้เขาในชาตินี้"

    เรื่องราวเกี่ยวกับการผจญภัยของครูบาธรรมชัย ขณะธุดงคกรรมฐานยังมีอีกมาก ท่านเป็นพระเถระผู้มีเมตตาธรรมสูง บำเพ็ญบารมีทางพระโพธิสัตว์เพื่อจะไปเกิดเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตอันไกลโพ้นแต่จะเป็นองค์ที่เท่าไรไม่อาจจะทราบได้ อังนั้นความเมตตาของท่านจึงมีมากเป็นพิเศษ ใครไปขอให้ท่านช่วยอะไร ท่านก็มีเมตตาช่วยอยู่เสมอ

    มรณภาพ :
    - หลวงปู่ครูบาธรรมชัย ธัมมชโย มรณภาพด้วอาการอันสงบเมื่อเวลา ๒๐.๓๐ น. ตรงกับวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ รวมสิริอายุได้ ๗๓ ปี ๖ เดือน หลวงปู่ครูบาธรรมชัย ธัมมชโยได้ประกอบ ภาระหน้าที่ของพระสงฆ์ ที่มีต่อประเทศชาติ พระพุทธศาสนา พระมหากษัตริย์ได้ครบถ้วนบริบูรณ์ทุกประการ คณะศิษย์ได้อาราธนาพระสรีระร่าง ของหลวงปู่เก็บรักษาประดิษฐานไว้ในโลงแก้ว ณ วัดทุ่งหลวง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่เพื่อให้ศรัทธาประชาชนได้กราบสักการะบูชาจนถึงปัจจุบัน

    ที่มา :
     
  20. krit_eng99

    krit_eng99 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    791
    ค่าพลัง:
    +2,228
    [​IMG]

    คาถาหลวงปู่ครูบาธรรมชัย วัดทุ่งหลวง จ.เชียงใหม่

    พุทธัง ธัมมัง สังฆัง จาติกันตัง มะระณะกัน ปาณาติกัน สารพัดกันกัน

    พุทธัง อะระหัง จังงัง ภาเว สัมปะฏิจฉามิ เม สัมมุขา สัพพาหะระติ เต สัมมุขา อิอะระนัง อะระหัง กุสะลา ธัมมา สัมพุทโธ ทุ สะ นะ โส นะโม พุทธายะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...