พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. psombat

    psombat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,334
    ค่าพลัง:
    +5,431
    สวัสดีครับ รับทราบครับ ผมโอนเงินค่าธรรมเนียมรายปี 100 บาท + เงินสนับสนุน 204 บาท เข้าบัญชีชมรมฯ เรียบร้อยแล้ว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 ธันวาคม 2009
  2. แหน่ง

    แหน่ง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    741
    ค่าพลัง:
    +768
    <TABLE class=tborder cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=thead>ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 22 คน ( เป็นสมาชิก 4 คน และ บุคคลทั่วไป 18 คน ) </TD><TD class=thead width="14%"><CENTER">[ แนะนำเรื่องเด่น ] </TD></TR><TR><TD class=alt1 width="100%" colSpan=2>แหน่ง, psombat, nongnooo, พรสว่าง_2008 </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ดีครับทุกๆๆท่าน

    ช่วงนี้งานยุ่งมากเลยครับ

    ว่างๆๆจะเข้ามาใหม่ครับ
     
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE class=tborder cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=thead>ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 53 คน ( เป็นสมาชิก 3 คน และ บุคคลทั่วไป 50 คน ) </TD><TD class=thead width="14%"><CENTER">[ แนะนำเรื่องเด่น ] </TD></TR><TR><TD class=alt1 width="100%" colSpan=2>sithiphong, nongnooo+, psombat+</TD></TR></TBODY></TABLE>

    ตอนนี้ เครื่องคอมฯที่บ้านเจ๊งครับ

    เดี๋ยวต้องหาเวลาไปซ่อม มืดๆ หรือ เสาร์ หรือ อาทิตย์ ผมยังไม่ได้เข้ากระทู้พระวังหน้าฯนะครับ

    ว่าจะต้องรีบไปซ่อมก่อนสิ้นปี เดี๋ยวร้านเขาจะหยุดยาวครับ
     
  4. psombat

    psombat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,334
    ค่าพลัง:
    +5,431
    HDD Failed!

    ครับผม ... ถ้าอยู่ใกล้คงช่วยได้

    ผมก็โดนครับ (HDD เสีย) Lenovo ThinkPad X61 ... เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา เปิดเครื่องในตอนเช้าแบบปกติเลย ปรากฎว่า Drive D: ที่เก็บข้อมูลร่วม 200 GBs (Mail/เอกสาร/รูปภาพ/วีดีโอ/MP3 etc..) สะสมมาสิบกว่าปีในชีวิตการทำงานหายไปโดยปริยาย เพราะ Access ไม่ได้เลย ต้อง Format ทิ้งอย่างเดียว เศร้าจริงๆ ผมประมาทเพราะไม่ได้ Backup ไว้ด้วย

    แต่ก็เป็นโอกาสในการฝึกประสบการณ์กู้ข้อมูลที่ถูก Format หรือ Re-partition ไป ผมต้องใช้ Software 2-3 ตัวในการ Recovery - โชคดีครับข้อมูลกลับมาเกือบ 100%

    หากสมาชิกในชมรมฯ ท่านใดสนใจก็ PM มาจะส่ง Software ไปให้ครับ

    แต่แนะนำว่าให้ซื้อ USB External HDD ขนาด 2.5" ความจุ 200 GBs up แล้วหา Software Sync กันเพื่อ Backup ข้อมูลไว้จะดีกว่าเกิดปัญหาแล้วต้องมาเสียเวลาเป็นวันๆในการขุดข้อมูลกลับมานะครับผม ซึ่งบางทีทำพลาดอาจหายถาวรได้ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 ธันวาคม 2009
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    เรื่องคอมฯนี่ ผมโลว์เทคมากครับ

    ยกเว้นเล่นเกมส์หมากรุกไทย พอสู้ไหว อิอิ
     
  6. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    เมื่อเดือนที่แล้วผมก็โคนบึ้มทั้ง 2เครื่องทำอะไรไม่ได้เลยครับโชคดีที่เครื่องที่มีข้อมูลสำคัญ สามารถเข้าsafe mode เก็บข้อมูลสำคัญได้ก่อนครับ ปวดหัวมาก หุ หุแต่มีร้านประจำนะครับเค้าพอช่วยได้บ้างครับ
     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    อ่า แล้วโดนม้ากับเรือ ด้วยหรือเปล่าครับ สงสัยขุนเดินไม่ได้ จนน๊ะเนี่ย อิอิ
     
  8. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    55555555ใช่เลยครับ หุ หุ
     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    อย่าไปโดนแบบนี้ล่ะ เหอๆๆๆๆ

    [​IMG]

    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • t1.JPG
      t1.JPG
      ขนาดไฟล์:
      131.7 KB
      เปิดดู:
      274
  10. psombat

    psombat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,334
    ค่าพลัง:
    +5,431

    ดีครับ
    ถ้าเล่นหมากรุกเป็น คงพอเข้าใจครับท่านกุนซือทั้งสอง หุหุหุ
     
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ผมฝึกหัดเล่นทั้งหมากรุกไทย , หมากรุกสากล และ หมากรุกจีนครับ

    พอเล่นได้ แต่ไม่เก่งซ๊ากกะอย่าง

    หมากรุกไทย ได้แค่แชมป์ประเภททีมของมหาวิทยาลัย
    และเคยแข่งของที่ทำงาน ได้ที่ 4 แต่นานเป็นสิบกว่าปีแล้วครับ

    ส่วนหมากรุกสากล และ หมากรุกจีน เล่นสนุกๆได้

    เคยนำหมากรุกไทย แข่งกับหมากรุกสากล ในกระดานเดียวกัน ฝั่งหนึ่งเล่นแบบหมากรุกไทย อีกฝั่งเล่นแบบหมากรุกสากล (เพื่อนผมเล่นหมากรุกไทยเก่งมากๆ เวลาที่เล่นกันต้องลดเรือให้ 1 ลำ ถึงจะพอสูสี) เพื่อนผมเล่นหมากรุกไทย ส่วนผมเล่นหมากรุกสากล ผลปรากฎว่า เพื่อนผมที่เล่นหมากรุกไทย สู้ ผมที่เล่นหมากรุกสากลไม่ได้ เนื่องจากการเดินหมากของแต่ละประเภท ไม่เหมือนกัน โดยเฉพาะตัวควีน(หมากรุกสากล) จะเดินได้รอบตัว และ เดินในทางยาวได้
     
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    สอนวิธีการเล่นหมากรุกไทยอย่าเซียน และวิธีนับตาเดิน

    upload download file image ͑?⋅? ?ҡ俅젃ٻ ?? ?ը?ը?Ѻ Upload.one2car.com :: ?ҡ侅젽ҡÙ? 50Mb 䁨ź 䁨Í[WFQ


    ส่วนหมากรุกสากล

    SPYIEQ Education

    แอบมามอบให้กัน สำหรับวิธีการเดินม้า 64 ตา ไม่ให้ลงตาเดิมครับ

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ตำนานหมากรุก
    ศรายุทธ กิจนิเทศ 50155-0190 RT
    <!--Main-->ตำนานหมากรุก

    การเล่นหมากรุก ปรากฏว่ามีมานาน ในประเทศอินเดียนันพันปี พวกชาวอินเดียอ้างว่า หมากรุกเกิดขึ้นเมื่อครั้งพระรามไปล้อมเมืองลงกา นางมณโฑเห็นทศกัณฐ์เดือดร้อนรำคาญ ในการที่จะต้องคิดกังวล ต่อสู้กับสงคราม ไม่มีเวลาเป็นผาสุก นางรู้ว่าจะชักชวนทศกัณฐ์ให้ผักผ่อนอย่างอื่นก็คงไม่ยอม จึงเอากระบวนการสงครามคิดทำเป็นหมากรุก พวกชาวอินเดียกล่าวกันมาดังนี้ แต่ชื่อที่เรียกว่าหมากรุก เป็นคำของไทยเราเรียกพวกชาวอินเดียเขาเรียกหมากรุกว่า จาตุรงค์ เพราะเหตุคิดเอากระบวนพล 4 เหล่า ทำเป็นตัวหมากรุก
    คือ
    หัสดีพลช้าง(ได้แก่โคน)๑ อัศวพลม้า๑ โรกะพลเรือ๑ (พลเรือนั้นอธิบายว่าเพราะคิดขึ้นที่เกาะลังกาจึงใช้เรือแทนรถ) ปาทิกะพลราบ(ได้แก่เบี้ย)๑ มีราชา(คือขุน) เป็นจอมพลตั้งเล่นกัน

    บนแผ่นกระดานอันปั้นเป็นกระดาน64ช่อง (อย่างกระดานหมากรุกทุกวันนี้)
    วิธีการเล่นหมากรุกชั้นเดิมที่เรียกว่าจาตุรงค์นั้น ไม่เหมือนอย่างที่เล่นกันในชั้นหลังมีอธิบายอยู่ในหนังสือ ภารตะว่า ปั้นตัวหมากรุกเป็น ๔ชุด ย้อมสีต่างๆกัน สีแดงชุด๑สีเหลืองชุด๑ สีดำชุด๑ สีเขียวชุด๑ ในชุด๑นั้น ตัวหมากรุกมีขุนตัว๑ ช้าง(โคน) ตัว๑ม้าตัว๑ เรือตัว๑ เบี้ย๔ตัว รวมเป็นหมากรุก๘ตัว สมมุติว่าเป็นกองทัพของประเทศ๑ตั้งตัวหมากรุกในกระดานดังนี้

    ชุดทางขวามือสมมุติว่าอยู่ในประเทศทางทิศตะวันออก ชุดข้างล่างว่าอยู่ในประเทศทิศใต้พวกทางซ้ายมือว่าอยู่ประเทศทิศตะวันตก ชุดบนว่าอยู่ประเทศทิศเหนือคนเล่นก็ ๔คน ต่างก็ถือหมากรุกคนละชุด แต่กระบวนการเล่นนั้น ๒พวกที่อยู่ทะแยงมุมกัน คือพวกขาวเป็นสัมพันธมิตรช่วยกัน๒พวก (ดำ) ซึ่งเป็นสัมพันธมิตรกันอีกฝ่ายหนึ่งลักษณะการเดินตัวจาตุรงค์นั้น ขุนม้าเบี้ย เดินอย่างเดียวกับหมากรุกที่เราเล่นกัน แต่ช้างเดินอย่างเราเดินเรือทุกวันนี้ ส่วนเรือนั้นเดินทะแยงมุมอย่างเม็ด แต่ให้ข้ามตาใกล้เสียตา๑

    การเดินแต่ละครั้งใช้ทอดลูกบาศก์ ลูกบาศก์นั้นทำเป็นสี่เหลี่ยมแท่งยาวๆ มีแต่๔ด้าน โดยหมาย๒แต้มด้านหนึ่ง ๓แต้มด้านหนึ่ง ๔แต้มด้านหนึ่ง ๕แต้มด้านหนึ่ง คนเล่นทอดลูกบาศก์ก็เวียนกันไป
    ถ้าทอดได้๕แต้มก็บังคับให้เดินขุนหรือเดินเบี้ย ถ้าทอดได้๔แต้มต้องเดินช้าง แต้ม๓เดินม้า แต้ม๒เดินเรือ แต่จะเดินไปทางไหนก็ตามใจ เว้นแต่เบี้ยนั้นไปใด้แต่ข้างหน้าทางเดียว(อย่างหมากรุกที่เราเล่นกัน) วิธีเล่นหมากรุกชั้นเดิมที่เรียกว่าจาตุรงค์ก็มีเค้าดังกล่าว นี้

    ครั้นจำเนียรกาลนานมาถึงเมื่อราว พ.ศ. 200 ปี มีพระเจ้าแผ่นดินในอินเดียองค์๑ชอบพระหฤทัยในการสงครามยิ่งนัก ตั้งแต่เสวยราชก็เที่ยวแต่รบพุ่งบ้านเมืองใกล้เคียงจนได้เป็นมหาราชไม่มีเมืองใดต่อสู้ พระเจ้าแผ่นดินพระองค์นั้นครั้นไม่มีโอกาสที่จะเที่ยวทำสงครามอย่างแต่ก่อน ก็เกิดเดือดร้อนรำคาญพระหฤทัย จึงปรึกษาอำมาตย์คนหนึ่งชื่อว่าสัสสะว่าจะทำอย่างไรดีจะมีความสุข มหาอำมาตย์คนนั้นคิดว่าจะแก้ด้วยอบายมุขอย่างอื่น พระเจ้าแผ่นดินพระองค์นั้นก็คงจะเที่ยวรบพุ่งอยู่นั่นเอง ที่ไหนบ้านเมืองจะได้มีสันติสุข จึงเอาการเล่นจาตุรงค์มาคิดดัดแปลงให้เล่นกันแต่๒คนและ เลิกวิธีทอดลูกบาศก์เสีย ให้เดินแต้มโดยใช้ปัญญาความคิดเอาชนะกันเหมือนทำนองอุบายสงคราม แล้วนำขึ้นถวายพระเจ้าแผ่นดินชวนให้ทรงแก้รำคาญ พระเจ้าแผ่นดินพระองค์นั้นทรงเล่นจาตุรงค์อย่างที่อำมาตย์สัสสะคิดถวาย ก็เพลิดเพลินพระหฤทัย หายเดือดร้อนรำคาญ บ้านเมืองก็เป็นสุขสมบูรณ์

    กระบวนการหมากรุกที่ว่ามหาอำมาตย์สัสสะคิดใหม่นั้นคือ รวมตัวหมากรุกแต่
    เดิมเป็น ๔ พวก จำนวนนั้นให้เป็น ๒ พวก ตั้งเรียงกันฝ่ายละฟากกระดาน(ทำนองเดียวกับหมากรุกที่เราเล่นกันทุกวันนี้) เมื่อจัดกระบวนทัพทั้ง๒ฝ่าย จะมีราชาฝ่ายละ๒ องค์ไม่ได้จึงลดขุนเสีย๒ตัว คิดเป็นมนตรีขึ้นแทน(คือตัวเราเรียกว่าเม็ด) หมากรุกอย่างที่อำมาตย์สัสสะคิดแก้ไขนี้ ต่อมาแพร่หลายไปถึงนานาประเทศ พวกชาวประเทศอื่นไปคิดดัดแปลงแก้ไข ตามความนิยมกันในประเทศนั้นๆ อีกชั้นหนึ่ง หมากรุกที่เล่นกันในนาๆประเทศทุกวันนี้จึงผิดเพี้ยนกันไป แต่เค้ามูลยังเป็นอย่างเดียวกัน เพราะต้นแบบแผนได้มาแต่ประเทศอินเดียด้วยกันทั้งนั้น เรื่องตำนานหมากรุกที่กล่าวมานี้ได้อาศัยเก็บ

    ข้อความในหนังสือเรื่องตำนานหมากรุกของด๊อกเตอร์ดันคันฟอมส์<!--End Main-->


    ตัวหมากรุก
    • ขุน เป็นตัวหมากรุกที่สำคัญที่สุด มีการเดินและกินไปในทิศทางรอบตัวได้ แต่ไม่สามารถเดินเข้าไปในตากินของฝ่ายตรงข้ามได้
    • เม็ด มีการเดินและกินไปในแนวทแยงทั้ง 4 ด้าน
    • โคน มีการเดินและกินไปในแนวทแยงทั้ง 4 ด้านและเดินไปทางข้างหน้า
    • ม้า มีการเดินและกินเป็นรูปตัว L ในทิศทางรอบตัว สามารถข้ามหมากตัวอื่นได้
    • เรือ มีการเดินและกินไปในแนวตั้ง-แนวนอน ระยะยาว ไม่สามารถเดินข้ามตัวอื่นๆได้
    • เบี้ย มีการเดินไปทางข้างหน้าและกินในแนวทแยงด้านหน้า เมื่อเบี้ยไปถึงแนววางเบี้ยของฝ่ายตรงข้ามจะกลายเป็นเบี้ยหงาย และมีการเดินและกินเช่นเดียวกับเม็ดทุกประการ
    กติกาการเล่น

    • ผู้เล่นแต่ละคนผลัดกันเดินหมากของฝ่ายตนเองครั้งละ 1 ตัว
    • ถ้าเดินหมากของฝ่ายตัวเองไปในตำแหน่งที่หมากของฝ่ายตรงข้ามตั้งอยู่ หมากของฝ่ายตรงข้ามจะถูกกินและนำออกนอกกระดาน ยกเว้นขุนจะถูกกินไม่ได้
    • ถ้าเดินหมากไปในตำแหน่งที่ตาต่อไปสามารถกินขุนของฝ่ายตรงข้ามได้ จะเรียกว่ารุก โดยตาต่อไปฝ่ายตรงข้ามต้องป้องกันหรือเดินหนีไม่ให้ขุนอยุ่ในตำแหน่งที่จะถูกกิน
    • ถ้าขุนถุกรุกอยู่และไม่สามารถเดินหนีหรือป้องกันการรุกได้ จะถือว่ารุกจนและเป็นฝ่ายแพ้
    • ถ้าขุนไม่ถูกรุก แต่ในตาต่อไปไม่สามารถเดินหมากตัวใดๆได้เลย จะเรียกว่าอับ และจะเสมอกัน
    การนับศักดิ์กระดาน

    การนับโดยวิธีนี้ไม่ว่าจะมีตัวหมากอยู่บนกระดานกี่ตัวก็ตามให้เริ่มนับตั้งแต่ 1 เป็นต้นไปโดยฝ่ายเป็นรองเป็นผู้นับฝ่ายเดียว เมื่อทั้งสองฝ่ายไม่มีเบี้ยคว่ำโดยฝ่ายเป็นรองหลือหมากตั้งแต่สองตัวขึ้นไปให้เริ่มนับศักดิ์กระดานตั้งแต่ 1 ถึง 64 โดยฝ่ายเป็นต่อจะต้องรุกให้จนใน 64 ตามิเช่นนั้นให้เสมอกัน ถ้าระหว่างนับศักดิ์กระดานฝ่ายเป็นรองถูกกินหมากตัวอื่นจนเหลือขุนเพียงตัวเดียวให้เปลี่ยนมานับศักดิ์หมาก เมื่อเริ่มนับศักดิ์กระดานแล้วฝ่ายเป็นต่อกลับกลายเป็นรองก็มีสิทธ์นับศักดิ์กระดานได้

    การนับศักดิ์หมาก



    การนับโดยวิธีนี้ให้นับตัวหมากของทั้งสองฝ่ายที่อยู่บนกระดานได้จำนวนเท่าใดก็ให้เริ่มนับศักดิ์หมากต่อไป เช่นมีตัวหมากอยู่บนกระดาน 7 ตัวก็ให้เริ่มนับ 8 โดยฝ่ายเป็นรองเป็นผู้นับฝ่ายเดียว เมื่อฝ่ายเป็นต่อมีหมากดังนี้
    • เรือลำเดียวต้องรุกให้ฝ่ายเป็นรองจนภายใน 16 ตาเดิน ไม่เช่นนั้นให้ถือว่าเสมอกัน
    • เรือสองลำต้องรุกให้ฝ่ายเป็นรองจนภายใน 8 ตาเดิน ไม่เช่นนั้นให้ถือว่าเสมอกัน
    • ม้าตัวเดียวต้องรุกให้ฝ่ายเป็นรองจนภายใน 64 ตาเดิน ไม่เช่นนั้นให้ถือว่าเสมอกัน
    • ม้าสองตัวต้องรุกให้ฝ่ายเป็นรองจนภายใน 32 ตาเดิน ไม่เช่นนั้นให้ถือว่าเสมอกัน
    • โคนตัวเดียวต้องรุกให้ฝ่ายเป็นรองจนภายใน 44 ตาเดิน ไม่เช่นนั้นให้ถือว่าเสมอกัน
    • โคนสองตัวต้องรุกให้ฝ่ายเป็นรองจนภายใน 22 ตาเดิน ไม่เช่นนั้นให้ถือว่าเสมอกัน
    • สำหรับเม็ดและเบี้ยหงายนับ 64 ตาเดิน ไม่เช่นนั้นให้ถือว่าเสมอกัน
    เมื่อได้เริ่มนับศักดิ์หมากแล้วถ้าฝ่ายเป็นรองกินหมากตัวใดตัวหนึ่งของฝ่ายเป็นต่อก็มิให้เปลี่ยนแปลงการนับเป็นอย่างอื่น แต่ถ้าคิดว่าตัวเองพลิกสถานการณ์ได้แล้ว ฝ่ายเป็นรองสามารถจะหยุดนับเมื่อใดก็ได้

    แหล่งข้อมูลอื่น

    <!-- NewPP limit reportPreprocessor node count: 211/1000000Post-expand include size: 4574/2048000 bytesTemplate argument size: 687/2048000 bytesExpensive parser function count: 0/500--><!-- Saved in parser cache with key thwiki:pcache:idhash:34358-0!1!0!!th!2 and timestamp 20090626011954 -->ดึงข้อมูลจาก "http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2".

    BlogGang.com : : kirabaramos :
     
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    หมากรุกไทย
    ˁҡØ?䷂


    <CENTER>(นายแพทย์ ประกอบ บุญไทย)</CENTER>

    ผู้เขียนมีอาชีพเป็นแพทย์ มิได้คิดว่าตนเป็นผู้ชำนาญในการเล่นหมากรุก แต่สนใจเกมส์หมากรุกมาแต่เด็ก และชอบศึกษาด้วยตนเองในการไล่หมากรุก จึงได้รวบรวมวิธีการไล่หมากรุกปลายกระดาน ทั้ง เบี้ย โคน ม้า และเรือ เห็นว่าเป็นประโยชน์ จึงรวบรวมพิมพ์เป็นเล่มเพื่อสะดวกในการใช้ กลหมากรุกไทยเล่มนี้จะช่วยฝึกหัดการไล่ และการหนีหมากรุกปลายกระดานที่เราต้องพบเป็นประจำ กับยังได้รวบรวมกลหมากรุกที่ได้เปรียบเสียเปรียบกันไม่มาก หากหมากเข้ากลก็จะไล่ให้จนได้ หรือถ้าหนีออกจากกลได้ก็จะไม่แพ้ มีประโยชน์ทั้งแก่ฝ่ายหนีและฝ่ายไล่ เพื่อให้การเดินหมากรุกมีแบบละม้ายผู้ชำนาญจะได้นึกสนุก และนิยมเล่นโดยเฉพาะเยาวชน เป็นการส่งเสริมกีฬาหมากรุกและรักษาเอกลักษณ์ไทยแขนงนี้ไว้กับอาจช่วยนำชัยชนะมาสู่ทีมหรือสถาบันของตนได้ นอกจากนี้ได้จัดเรียงไว้เป็นลำดับโดยเริ่มจากกลที่ง่ายซึ่งเป็นกลหลักพื้นฐานขึ้นไปถึงกลที่ยากและซับซ้อนกว่า การเดินหมากรุกที่แสดงไว้ จะเป็นการเดินที่ยาวที่สุดสำหรับผู้ไล่และผู้หนีที่ชำนาญด้วยกันทั้งสองฝ่าย ถ้าผู้หนีไม่สันทัดจะจนเร็วกว่ากำหนด ผู้ไล่ไม่สันทัดอาจไล่ไม่จน เมื่อเราเข้าใจกลต่าง ๆ ถ่องแท้จะทำให้เดินหมากรุกได้ดีและ จะประเมินได้ว่าเราได้เปรียบหรือเสียเปรียบทำให้การเล่นดีขึ้น กลหมากรุกไทยฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ทั้งแก่ผู้ที่เริ่มเล่นหมากรุกไทย เป็นใหม่ ๆ และแก่ผู้ที่ต้องการพัฒนาฝีมือของตนเอง ผู้รวบรวมได้ค้นคว้าจากตำราหมากรุกไทยต่าง ๆ ตั้งแต่สมัย พ.ศ.2465 จนถึงปัจจุบัน ตำราเหล่านั้นส่วนใหญ่มีอยู่ในหอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี กรุงเทพมหานคร ผู้สนใจอาจหาความรู้เพิ่มเติมได้
    กลหมากรุกในเล่มนี้สามารถติดตั้งในคอมพิวเตอร์ได้และสามารถเล่นร่วมกับหมากรุกไทยคอมพิวเตอร์ได้ หากสนใจโปรดติดต่อผู้เรียบเรียง
    ถ้าท่านผู้ใดเห็นว่ากลหมากรุกใดสามารถปรับปรุงให้ดีกว่านี้หรือพบที่ผิดพลาด โปรดแจ้งให้ผู้เรียบเรียงทราบ เพื่อจะได้แก้ไขในการพิมพ์ครั้งต่อไปและจะได้พิมพ์ชื่อของท่านลงไว้ในฐานะผู้แนะนำและแจ้งแก้ไขด้วย




    ตำนานหมากรุก <CENTER></CENTER><TABLE cellSpacing=5 cellPadding=5 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top bgColor=#ffe8d0><DD>บทความที่อัญเชิญมาเป็นอันดับแรก เป็นพระราชนิพนธ์ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งทรงพระนิพนธ์คำนำของหนังสือตำรากลหมากรุก ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พิมพ์ที่โรงพิมพ์ไทย เมื่อ พ.ศ. 2465 มีเนื้อหาแสดงที่มาของตำรากลหมากรุกไทยเล่มดังกล่าว และจะได้เป็นที่ทราบว่า ตำนานหมากรุก ที่หนังสือหลายเล่มอ้างอิงถึงนั้น เป็นพระราชนิพนธ์ของพระองค์ท่าน กับที่มาของเพลงยาวกระบวรไล่หมากรุกของหลวงธรรมาภิมณฑ์ด้วย จึงขอคัดคำนำ อธิบายตำนานหมากรุก และเพลงยาวกระบวรไล่หมากรุกมาไว้ทั้งหมด</DD></TD></TR></TBODY></TABLE>


    <DD>สำหรับเพลงยาวกระบวรไล่หมากรุกนั้น ในหนังสือตำรากลหมากรุก ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณไม่มีบทไหว้ครู ซึ่งบทไหว้ครูค้นได้จากหนังสือสนุกกับหมากรุกไทย โดยวินัย ลิ้มดำรงค์ชิต พิมพ์โดยสำนักพิมพ์อักษรวัฒนา ไม่แจ้งปีที่พิมพ์ จึงได้นำเสนอเรียงกันไปเป็นลำดับ <DD>มีข้อสังเกตว่าในหนังสือสนุกกับหมากรุกไทย ได้ให้ข้อมูลผู้เขียนเพลงยาวเกี่ยวกับหมากรุกว่าเป็น หลวงธรรมาภิพัฒน์ (ถึก จิตถึก) ส่วนตำราหมากรุก ฉบับหอพระสมุด วชิรญาณเป็น หลวงธรรมาภิมณฑ์ (ถึก จิตรกถึก) ซึ่งน่าจะเป็นบุคคลเดียวกัน <DD>เนื้อหาสำคัญในเพลงยาวกระบวรไล่หมากรุกนั้น พอสรุปได้ 3 ตอน ตอนแรก เป็นการไหว้ครู ตอนที่สอง จะบอกกติการการนับตามศักดิ์หมาก ตอนที่สาม จะบอกกติกาการนับตามศักดิ์กระดานว่า ถ้าสองฝ่ายมีหมากอะไร จะต้องไล่ให้จนในกี่ที มิฉะนั้นถือว่าเสมอกัน และบางกรณีที่ต่างฝ่ายมีหมากตามกำหนด จะมีชื่อเรียกให้ด้วยตามลักษณะหมากที่สองฝ่ายมีอยู่ เช่น หอกข้างแคร่ ลูกติดแม่ ควายสู้เสือ เป็นต้น <DD>พระราชนิพนธ์ คำนำหนังสือตำราหมากรุกฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ ที่อัญเชิญมามีดังนี้ <DD>ตำรากลหมากรุกที่พิมพ์ในสมุดเล่มนี้ คัดมาจากตำราที่ได้รวบรวมไว้ในหอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนครบ้าง คัดจากตำรา ฉบับของพระยาไพบูลย์สมบัติ (เดช บุนนาค) ซึ่งมีแก่ใจให้มาเมื่อหอพระสมุด ฯ คิดจะพิมพ์ตำราเล่มนี้บ้าง ได้วานขุนประสาทศุภกิจ คือ มหาแถม ที่มีชื่อเสียงในการเดินหมากรุกนั้น เปนผู้รวบรวมแลคิดกุญแจแก้กลจนสำเร็จตลอดทั้งเรื่อง <DD>แต่การที่จะพิมพ์ตำรากลหมากรุก ยากกว่าพิมพ์หนังสืออื่น เพราะต้องพิมพ์เป็นรูปภาพหมากรุกเปนพื้น จำต้องทำแบบตัวหมากรุกแลรูปกระดาน ทั้งต้องพิมพ์ซ้ำ ๒ ครั้งทุกน่า จะต้องลงทุนมากกว่าพิมพ์หนังสืออย่างอื่น ซึ่งเล่มเปนขนาดเดียวกัน ยังไม่มีผู้ใดรับพิมพ์จึงได้รั้งรอมา บัดนี้ท่านเจ้าพระยาอภัยราชา มหายุติธรรมธร (ม.ร.ว. ลบ สุทัศน์ ณ กรุงเทพ) เสนาบดีกระทรวงยุติธรรมรับจะพิมพ์ กรรมการหอพระสมุด ฯ จึงจัดการพิมพ์ให้ด้วยความยินดี แลขอบใจท่านเจ้าพระยาอภัยราชา ฯ แลเชื่อว่าท่านทั้งปวงที่ได้ตำรานี้ไป คงจะรู้สึกขอบใจไม่มีที่เว้น หนังสือตำรากลหมากรุกที่พิมพ์ครั้งนี้ ได้พิมพ์เปนชุด ๒ เล่ม คือตัวตำรากลหมากรุกเล่ม ๑ กุญแจแก้กล หมากรุกเล่ม ๑ ด้วยคิดเห็นว่าถ้าพิมพ์รวมกันไว้ในเล่มสมุดเดียวกัน จะพาให้กลจืดเสีย เพราะใครคิดกลไม่ออก ก็จะพลิกไปหากุญแจเอาง่าย ๆ ความสนุกอันควรจะได้ ในการคิดแก้กลหมากรุกด้วยปัญญา ก็จะเสื่อมคลายไป ถ้าเย็บเปน ๒ เล่มไว้เช่นนี้ เหมือนเปิดไว้ให้เล่นได้ตามใจทั้ง ๒ ทาง ถ้าจะให้คิดกันเล่นให้สนุก ก็ส่งให้แต่เล่มตำรา เก็บซ่อนเล่มกุญแจเสีย ต่อเกิดขัดข้องหรือโต้แย้งกันไม่ตกลง จึงค่อยขยายกุญแจออกมา ถ้าใครไม่รักสนุกในการคิดแก้กล เห็นเสียเวลา อยากจะรู้แต่ว่าเขาแก้กันอย่างไร จะเอาเล่มกุญแจมากางดูกำกับตำราไปก็ได้เหมือนกัน อนึ่ง ข้าพเจ้าได้พบเรื่องตำนานหมากรุก แต่งไว้ในภาษาอังกฤษมีอยู่ในหอพระสมุด ฯ เล่ม ๑ นึกว่าถ้านำความมาแสดงในหนังสือนี้ด้วย ก็เห็นจะพอใจของท่านผู้อ่าน จึงได้เก็บเนื้อความมาเรียบเรียงแต่โดยย่อ พอให้ทราบเค้าเงื่อน พิมพ์ไว้ข้างท้ายคำนำนี้ กับเพลงยาวของหลวงธรรมาภิมณฑ์ แต่งว่าด้วยบัญญัติการไล่หมากรุกด้วยอีกเรื่อง ๑ หวังใจว่าท่านทั้งหลายที่ได้สมุดชุดนี้ไป จะพอใจทั่วกัน. <CENTER>
    ดำรงราชานุภาพ (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ )
    สภานายก.
    หอพระสมุดวชิรญาณ
    วันที่ ๑ พฤศจิกายน พระพุทธศักราช ๒๔๖๕</CENTER>
    อธิบายตำนานหมากรุก <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=5 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top bgColor=#ffe8d0><DD>การเล่นหมากรุกปรากฎว่ามีมาในประเทศอินเดียช้านานนับด้วยพันปี พวกชาวอินเดียอ้างว่าหมากรุกเกิดขึ้น เมื่อครั้งพระรามไปล้อมเมืองลังกา นางมณโฑเห็นทศกรรฐ์เดือดร้อนรำคาญ ในการที่ต้องเปนกังวลคิดต่อสู้สงคราม ไม่มีเวลาเป็นผาศุก นางรู้ว่าจะชักชวนทศกรรฐ์ ให้พักผ่อนด้วยประการอย่างอื่น ก็คงไม่ยอม จึงเอากระบวรการสงคราม คิดทำเปนหมากรุกขึ้น ให้ทศกรรฐ์เล่นแก้รำคาญ มูลเหตุที่จะเกิดมีหมากรุก พวกชาวอินเดียกล่าวกันมาดังนี้ แต่ชื่อที่เรียกว่าหมากรุก เป็นคำของไทยเราเรียก พวกชาวอินเดียเขาเรียกหมากรุกว่า "จตุรงค์ เพราะเหตุที่คิดเอากระบวรพล ๔ เหล่า ทำเปนตัวหมากรุก คือหัสดีพลช้าง (ได้แก่โคน) ๑ อัศวพลม้า ๑ โรกะพลเรือ ๑ (พลเรือนั้นอธิบายว่าเพราะคิดขึ้นที่เกาะลังกา จึงใช้เรือแทนรถ) ปาทิกะพลราบ (ได้แก่เบี้ย) ๑ มีราชา (คือขุน) เปนจอมพล ตั้งเล่นกันบนแผ่นกระดานอันปันเปนตาราง ๖๔ ช่อง (อย่างกระดานหมากรุกทุกวันนี้)</DD></TD></TR></TBODY></TABLE>วิธีเล่นหมากรุกชั้นเดิมที่เรียกว่าจตุรงค์นั้น ไม่เหมือนอย่างที่เล่นกันในชั้นหลัง มีอธิบายอยู่ในหนังสือมหาภารตะ ว่าปันตัวหมากรุกเปน ๔ ชุด ย้อมสีต่างกัน สีแดงชุด ๑ สีเขียวชุด ๑ สีเหลืองชุด ๑ สีดำชุด ๑ ในชุด ๑นั้น
    ตัวหมากรุกมีขุนตัว ๑ ช้าง (โคน) ตัว ๑ ม้าตัว ๑ เรือตัว ๑ เบี้ย ๔ ตัว รวมเปนหมากรุก ๘ ตัว สมมตว่าเป็นกองทัพของประเทศ ๑ ตั้งตัวหมากรุกในกระดานดังนี้:-

    <DD>

    <CENTER>
    [​IMG]
    </CENTER>
    <DD><CENTER></CENTER>
    ชุดทางขวามือสมมตว่าอยู่ประเทศทางทิศตวันออก ชุดข้างล่างว่าอยู่ประเทศทิศใต้ ชุดข้างล่างว่าอยู่ประเทศทิศใต้ พวกทางซ้ายมือว่าอยู่ประเทศทิศตวันตก ชุดข้างบนว่าอยู่ประเทศทิศเหนือ คนเล่นก็ ๔ คน ต่างถือหมากรุกคนละชุด แต่กระบวรเล่นนั้น ๒ พวกที่อยู่ทแยงมุมกัน (คือพวกขาวในรูปนี้) เปนสัมพันธมิตรช่วยกัน ๒ พวก (ดำ) ซึ่งเปนสัมพันธมิตรกันอีกฝ่ายหนึ่ง
    ลักษณเดินตัวจตุรงค์นั้น ขุน ม้า เบี้ย เดินอย่างเดียวกับหมากรุกที่เราเล่นกัน แต่ช้างเดินอย่างเราเดินเรือทุกวันนี้ ส่วนเรือนั้นเดินทแยง (อย่างเม็ด) แต่ให้ข้ามตาใกล้เสียตา ๑ แต่การที่จะเดินต้องใช้ทอดลูกบาตร ลูกบาตรนั้นทำเปนสี่เหลี่ยมแท่งยาว ๆ มีแต่ ๔ ด้าน หมาย ๒ แต้มด้านหนึ่ง ๓ แต้มด้านหนึ่ง ๔ แต้มด้านหนึ่ง ๕ แต้มด้านหนึ่ง คนเล่นทอดลูกบาตรเวียนกันไป ถ้าทอดได้แต้ม ๕ บังคับให้เดินขุนฤาเดินเบี้ย ถ้าทอดได้แต้ม ๔ ต้องเดินช้าง แต้ม ๓ ต้องเดินม้า แต้ม ๒ ต้องเดินเรือ แต่จะเดินไปทางไหนก็ตามใจ เว้นแต่เบี้ยนั้นไปได้แต่ข้างน่าทางเดียว (อย่างหมากรุกที่เราเล่นกัน) วิธีเล่นหมากรุกชั้นเดิมที่เรียกว่าจตุรงค์มีเค้าดังกล่าวมานี้
    ครั้นจำเนียรกาลนานมาถึงเมื่อราว พ.ศ. ๒๐๐ ปี ว่ามีพระเจ้าแผ่นดินในอินเดียองค์๑ ชอบพระหฤทัยในการสงครามยิ่งนัก ตั้งแต่เสวยราชย์ก็เที่ยวรบพุ่งบ้านเมืองที่ใกล้เคียง จนได้เปนมหาราชไม่มีเมืองใดที่จะต่อสู้ พระเจ้าแผ่นดินองค์นั้น ครั้นไม่มีโอกาศที่จะเที่ยวทำสงครามอย่างแต่ก่อน ก็เกิดเดือดร้อนรำคาญพระหฤไทย จึงปฤกษามหาอำมาตย์คนหนึ่ง ชื่อว่า สัสสะว่าจะทำอย่างไรดีจึงจะมีความศุข มหาอำมาตย์คนนั้นคิดว่าจะแก้ด้วยอุบายอย่างอื่น พระเจ้าแผ่นดินนั้น ก็คงจะยังอยากหาเหตุเที่ยวรบพุ่งอยู่นั่นเอง ที่ไหนบ้านเมืองจะได้มีสันติศุข จึงเอาการเล่นจตุรงค์มาคิดดัดแปลงให้เล่นกันแต่ ๒ คน แลเลิกวิธีทอดลูกบาตรเสียให้เดินแต้มโดยใช้ปัญญาความคิดเอาชนะกันเหมือนทำนองอุบายการสงคราม แล้วนำขึ้นถวายพระเจ้าแผ่นดิน ชวนให้ทรงแก้รำคาญ พระเจ้าแผ่นดินองค์นั้นทรงเล่นจตุรงค์อย่างที่มหาอำมาตย์สัสสะคิดถวาย ก็เพลิดเพลินพระหฤทัย หายเดือดร้อนรำคาญ บ้านเมืองก็เป็นศุขสมบูรณ์ (ตำนานเรื่องมหาอำมาตย์สัสสะคิดแก้การเล่นจตุรงค์ เล่ากันเปนหลายอย่าง อ้างกาลต่างยุคกัน เลือกมาแสดงในที่นี้แต่เรื่องเดียว)
    กระบวรหมากรุกที่ว่ามหาอำมาตย์สัสสะคิดใหม่นั้นคือรวมต้วหมากรุกซึ่งเดิมเปน ๔ พวกนั้นให้เปนแต่ ๒พวก ตั้งเรียงกันฝ่ายละฟากกระดาน (ทำนองเดียวกับหมากรุกที่เราเล่นกันทุกวันนี้) เมื่อจัดเป็นกระบวรทัพแต่ ๒ ฝ่ายจะ
    มีพระราชาฝ่ายละ ๒ องค์ไม่ได้ จึงลดขุนเสีย ๒ ตัว คิดเป็นตัวมนตรีขึ้นแทน (คือตัวที่เราเรียกกันว่าเม็ด) หมากรุกอย่างที่มหาอำมาตย์สัสสะคิดแก้ไขนี้
    ต่อมาแพร่หลายไปถึงนานาประเทศ พวกชาวประเทศอื่นไปคิดดัดแปลงแก้ไขตามนิยมกันในประเทศนั้น ๆ อีกชั้นหนึ่ง หมากรุกที่เล่นกันในนานาประเทศทุกวันนี้จึงผิดเพี้ยนกันไป แต่เค้ามูลยังเปนอย่างเดียวกัน เพราะต้นแบบแผนได้มาแต่อินเดียด้วยกันทั้งนั้น เรื่องตำนานหมากรุกที่กล่าวมานี้ ได้อาศรัยเก็บความในหนังสือเรื่องตำนานหมากรุกของดอกเตอร ดันคัน ฟอบส์ มาแสดงพอให้ทราบเค้าความ.
    อนึ่งมีกลอนเพลงยาวว่าด้วยกระบวรไล่หมากรุก หลวงธรรมาภิมณฑ์ (ถึก จิตรกถึก)ได้แต่งขึ้นในหอพระสมุด ฯ บท ๑ เห็นควรจะพิมพ์รักษาไว้มิให้สูญเสีย จึงนำมาพิมพ์ไว้ในท้ายตำนานนี้ด้วย
    ประวัติหมากรุกไทย
    เมื่อค้นคว้าจากหนังสือหมากรุกเท่าที่จะค้นหาได้ในหอสมุดแห่งชาติ สรุปได้ว่าตำนานหมากรุกมีที่มาคล้ายคลึงกัน และแทบทุกแห่งจะอ้างอิงจากหนังสือเล่มเดียวกันคือ ตำรากลหมากรุก ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณทั้งสิ้น ที่จะมีผิดแผกไปบ้างบางเล่ม เช่น ผู้ดัดแปลงหมากรุกจากเดิมจัตุรงค์ซึ่งมีผู้เล่นสี่คน มาเป็นหมากรุกที่มีผู้เล่นสองคน แทนที่จะเป็นมหาอำมาตย์สัสสะ ในประเทศอินเดีย บางเล่มเพี้ยนไปเป็นพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ที่กรีก แต่ก็มีรายละเอียดคล้ายคลึงกัน
    ประวัติผู้ประดิษฐ์ตัวหมากรุกไทย
    คัดจากบางตอนของบทที่ว่าด้วยตำนานหมากรุก หนังสือหมากรุกไทย ของบริษัทสุรามหาราษฎร จำกัด (มหาชน) พิมพ์ที่โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ไม่แจ้งปีที่พิมพ์ มีข้อความดังนี้
    มีประวัติของหมากรุกไทยกล่าวไว้ว่า ปฐมกษัตริย์จีน ชื่อพระเจ้าฟูฮี คิดตำราหมากรุกพิชัยยุทธตีเมืองเชนสีของชาวอัลไต หรือชาวไทยในอดีตเมื่อราว 2337 ปี ก่อนพุทธศักราช จนชาวอัลไตได้ถอยร่นไปทางทิศใต้และทางทิศตวันออก และมีการอพยพมาตั้งอาณาจักรอายลาวครั้งแรกเมื่อ 32 ปี ก่อนพุทธศักราช ต่อมาหลังจากที่อาณาจักรอ้ายลาวแตก ชาวอัลไตก็ถอยร่นข้ามแม่น้ำโขง มาตั้งนครโยนก ประมาณปี พ.ศ.20 มีกษัตริย์ปกครองและได้มีพระพุทธศาสนาแพร่เข้ามา
    เมื่อ พ.ศ. 301 มีการก่อสร้างเจดีย์และวัดซึ่งทำให้บ้านเมืองมีความเป็นอยู่เจริญขึ้นมาจนถึง พ.ศ. 902 ก็ถูกพวกมอญดำยึดเมือง และไล่ให้ชาวเมืองออกไปหาทองมาส่งส่วยซึ่งก็ได้พบทองร่อนเป็นจำนวนมากจนได้ชื่อว่า สุวรรณภูมิ
    ในปี พ.ศ. 918 พระเจ้าพรหมมหาราชได้คิดตำราพิชัยยุทธนา วางแผนหมากรุกระดมผู้คนทั้งเด็กผู้ใหญ่และคนชราทั้งชายหญิง ขึ้นลุกฮือทำการต่อสู้กวาดล้างพวกมอญดำถึง 6 ปี ตั้งแต่เมืองโยนกเชียงแสนจนถึงกำแพงเพชร ได้ประกาศขอบเขตเป็นอาณาจักรใหม่ของเมืองเชียงราย หากจะนับว่าเมืองเชียงรายเป็นชาวไทยก็ควรจะนับว่าราช
    อาณาจักรชาวอัลไตหรือชนชาวไทยตั้งเป็นประเทศไทยโยนกตั้งแต่ พ.ศ. 20 โดยพระเจ้าอนุชิตกอบกู้เอกราชครั้งแรกได้สำเร็จ
    เมื่อ พ.ศ. 924 สมัยพระเจ้าพรหมมหาราช ผู้เจริญพระชนมายุเพียง 16 พรรษาเท่านั้น ได้ทรงใช้เวลา 6 ปี ในการกรำศึกนั้น จึงเป็นที่เชื่อว่า ชนชาวไทยได้เอาหมากรุกจีนซึ่งเดินหมากตามเส้นเข้ามาประเทศไทยด้วย และตัวหมากรุกไทยได้ประดิษฐ์ในสมัยนี้เอง โดยให้เดินตามช่อง ตัวขุนจำลองมาจากที่ประทับของกษัตริย์หรือพระโกศ ตัวโคนจำลองมาจากพระเจดีย์ใหญ่ ตัวเม็ดจำลองมาจากเจดีย์เล็ก ตัวเรือจำลองมาจากป้อมค่ายทหาร เบี้ยจำลองมาจากหมวกทหาร ส่วนม้า นำมาจากหัวม้าในละครโดยตรง จึงไม่แปลกใจเลยที่มีหลักฐานปรากฎว่า ภาคเหนือและภาคอีสานเป็นต้นกำเนิดของหมากรุกไทยมาก่อน
    อนึ่ง มีผู้กล่าวไว้ว่าชาวเปอร์เซียเป็นผู้คิดค้นหมากรุกเล่นในหมู่นักรบ เพื่อคลายอารมณ์กระหายศึกนั้นไม่สามารถกำหนดชี้ชัดได้ เพราะกล่าวไว้ว่าชาวเปอร์เซียเล่นหมากรุก 4 คนและใช้ลูกเต๋าทอดด้วยแล้วยิ่งยากเชื่อถือ เนื่องจากลูกเต๋าเป็นของประดิษฐ์ชาวจีน จึงมีปัญหาที่น่าสงสัยว่าใครเป็นผู้คิดค้นการเล่นกันแน่ แต่เมื่อพิจารณาถึงหลักฐานที่ปรากฏเมื่อสมัยโบราณ 4,000 ปีมาแล้วนั้น ชาวจีนได้รวมตัวเป็นกลุ่มเป็นก้อนแล้ว แต่ในขณะที่ชาวอาหรับยังคงแตกแยกอยู่ ดังนั้นหลักฐานจึงค่อนมาทางจีนมากกว่า
    ประวัติการเล่นหมากรุกไทยสมัยแรกเริ่ม จนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 20-2310 ยังไม่พบหลักฐาน ปรากฏว่ามีการกล่าวอ้างถึงการเล่นหมากรุกไทยในยุคนี้ แต่มีการกล่าวว่า สมัยพระพุทธเจ้าทรงพระราชสมภพที่เนปาลนั้น มีหมากรุกเล่นกันแล้ว แต่ไม่ได้กล่าวว่าเป็นหมากรุกอย่างใด แต่ที่เนปาลก็อยู่ใกล้จีนและทิเบตมากกว่า หากว่าประเทศไทยมีการเล่นหมากรุกกันมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าพรหมมหาราชนั้นแล้ว อีกประมาณ 876 ปีก็ถึงสมัยสุโขทัย ก็ยังไม่มีการกล่าวถึงไว้ ณ ที่หนึ่งที่ใด แต่ตามพื้นวัดนั้นมีแผ่นสี่เหลี่ยมอยู่เป็นอันมาก ทำให้สามารถสันนิษฐานได้ว่าเป็นกระดานหมากรุก
    ประวัติการเล่นหมากรุกไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี พ.ศ. 2310 - 2325
    ในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี เมื่อ พ.ศ. 2318 เดือนอ้าย อะแซหวุ่นกี้ แม่ทัพพม่าวัย 72 ปี ผู้เหิมเกริมอาสานำไพร่พลฝีมือดี 35,000 คน คิดรุกรานผืนแผ่นดินไทย โดยยกพลเข้ามาตั้งค่ายอยู่ที่เมืองสุโขทัย กางตำราพิชัยสงครามเชิงรุก และเริ่มลงมือกวาดต้อนเสบียงอาหารสะสมกักตุนไว้ทันที
    พระเจ้ากรุงธนบุรีพร้อมด้วยพระยาจักรีและพระยาสุรสีห์ ทรงทราบยุทธศาสตร์เชิงรุกครั้งนี้เป็นอย่างดี หากแต่ครั้งนั้นมีรี้พลประมาณ 20,000 คนจึงจำต้องวางแผนพิชัยสงครามในเชิงรุกและรับด้วยหน่อยจู่โจมหลีกเลี่ยงการเข้าปะทะศึกใหญ่ โดยใช้แผนถอยเอาเชิง 2 ชั้น
    กล่าวคือ ให้พระยาจักรีและพระยาสุรสีห์ ตั้งหลักอยู่ที่เมืองพิษณุโลก กวาดต้อนเสบียงและผู้คน ตลอดจนรักษาฐานะเมืองเชียงใหม่ไว้ ด้วยหวังตรึงกำลังอะแซหวุ่นกี้ไว้ให้นานที่สุด ส่วนทัพหลวงนั้น พระเจ้ากรุงธนบุรีกลับเป็นฝ่ายเคลื่อนไหวประกอบกับหน่วยจู่โจม และหน่วยกองเพลิงป่า มุ่งหวังตัดเสบียงและจู่โจม รบกวนทำลายรี้พลพม่าทั้งกลางวันและกลางคืน หลังจากปะทะกันมาถึง 4 เดือน ต่างก็ขัดสนเสบียงอาหาร โดยเฉพาะเมืองพิษณุโลกยังมีผู้หญิงและเด็กมากมาย ครั้นกองเสบียงจากทัพหลวงถูกตัดขาด แผนการขั้นที่ 2 จึงได้เริ่มขึ้นโดยพระยาจักรีออกอุบายจำทำการรบใหญ่ ด้วยการเอาปี่พาทย์ประโคมศึกตามป้อมค่าย พร้อมยิงปืนใหญ่กรุยทางตั้งแต่เช้าจนค่ำ ส่วนพระองค์พร้อมด้วยพระยาสุรสีห์ ได้ทรงนั่งเล่นหมากรุกอยู่บนเชิงกำแพงเมือง ร้องเรียกให้อะแซหวุ่นกี้ขึ้นมาประลองฝีมือสักกระดาน
    แผนการถอยทัพเอาชัยจึงสัมฤทธิ์ผลในเวลาสามทุ่มคืนนั้นโดยมีผู้หญิงและเด็กแต่งกายคล้ายทหารพกอาวุธทุกคนถอยไปตั้งทัพชั่วคราว ที่เพชรบูรณ์ แล้ววกลงใต้ไปตามแม่น้ำป่าสักและลพบุรีไปยังแถบพระพุทธบาทสระบุรี แล้วอ้อมขึ้นไปอุทัยธานี ทำหน้าที่เป็นหน่วยจรยุทธหนักคอยตีดัดหลัง
    ฝ่ายอะแซหวุ่นกี้ หลังจากเสียเวลาติดตามไปตีเมืองเพชรบูรณ์ อย่างไร้ผลและขาดเสบียงเพิ่มเติมในที่สุด ก็ตั้งทัพอยู่กับที่ เป็นเวลาหลายเดือนไม่สามารถหาเป้าหมาย (ขุน) สำหรับโจมตีได้ ตัวเองกลับจะตกเป็นเป้านิ่งเลยตัดสินใจถอยทัพกลับพม่า ระหว่างทางถูกดักตีซ้ำเติมเสียรี้พลมากมาย กลับถึงพม่าอย่างสะบักสบอม
    ตำราพิชัยสงครามกล่าวว่า “ กองทัพเดินด้วยท้อง หมากรุกเดินด้วยสมอง “ นับตั้งแต่นั้นมา พม่ามิกล้ายกกองทัพใหญ่ มารุกรานไทยอีกเลย ด้วยเกรงพระปัญญาบารมีของพระองค์ยิ่งนัก ยิ่งมาทราบว่าพระองค์ 2 พี่น้องทางโปรดกีฬาหมากรุกด้วยแล้ว โดยเฉพาะกลถอยเอาชนะของพระองค์นั้น เป็นที่เทิดทูนเคารพบูชา ที่พวกเราชาวไทยทุกคนทั้งหลายได้อยู่ยั่งยืนยงมาจนถึงทุกวันนี้
    ประวัติการเล่นหมากรุกไทยตั้งแต่ กรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2325-2526
    หลังจากการสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ในปี พ.ศ. 2325 แล้ว ก็ได้ปรากฏว่ามีการเล่นหมากรุกกันมากในหมู่
    พระราชวงศ์ ดังจะเห็นมีหมากรุกงาและเขาสัตว์ แสดงความเก่าแก่มานานจนงานั้นผุพังไปก็มี ตัวอ้วนกลมเตี้ยไม่ได้ขนาดก็มี
    หมากรุกได้แพร่หลายไปตามหมู่เจ้านาย ไพร่พล หมู่ทหาร ข้าราชบริพาร และยังไปตามวัดวาอารามต่าง ๆ จนในที่สุดเข้าถึงประชาชนโดยทั่วไป ดังจะเห็นมีตำรากลหอพระสมุดแห่งชาติ และตำราเคล็ดลับทางโคนที่ได้มาจากทางภาคอิสาน
    การแข่งขันอย่างไม่เป็นทางการ คงจะมีขึ้นบ้างเป็นการประลองฝีมือ แต่การพนันรายใหญ่มักจะมีในหมู่เศรษฐี ดังเช่นศึกชิงเรือสำปั้น ระหว่างนายโหมดกับเจ้านายพระองค์หนึ่งทางตำหนักเสาชิงช้า นอกจากศึกชิงเรือสำปั้นแล้ว ยังมีศึกผ้าขาวม้า ศึกสามเส้า ตอนงูกินหางและตอนจับงูอีกด้วย
    ข้อมูลจาก กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และตำราพิชัยยุทธ น.ต.มณเฑียร รื่นวงษา
    เพลงยาวกระบวรไล่หมากรุก
    เนื้อหาสำคัญในเพลงยาวกระบวรไล่หมากรุกนั้นพอสรุปได้ 3 ตอน ตอนแรกเป็นการไหว้ครู ตอนที่สองจะบอกกติการการนับตามศักดิ์หมาก ตอนที่สามจะบอกกติกาการนับตามศักดิ์กระดานว่าถ้าสองฝ่ายมีหมากอะไรจะต้องไล่ให้จนในกี่ที มิ ฉะนั้นถือว่าเสมอกัน และบางกรณีที่ต่างฝ่ายมีหมากตามกำหนดจะมีชื่อเรียกให้ด้วยตามลักษณะหมากที่สองฝ่ายมีอยู่ เช่นหอกข้างแคร่ ลูกติดแม่ ควายสู้เสือ เป็นต้น


    เฉพาะบทแรกเป็นบทไหว้ครู คัดมาจาก หนังสือ สนุกกับหมากรุกไทย โดย วินัย ลิ้มดำรงค์ชิต พิมพ์โดยสำนักพิมพ์อักษรวัฒนา <CENTER>


    มาโนชนน้อมพร้อมกายวจีสรรพ์</CENTER><CENTER><TABLE cellSpacing=0 cols=2 cellPadding=0 width="70%" border=0><TBODY><TR><TD>ไหว้ดาบสพรตอุดมพรหมจรรย์</TD><TD>เจริญบรรพชากรสังวรฌาณ</TD></TR><TR><TD>ที่ล่วงลุปรุโปร่งเปรื่องกสิณ</TD><TD>ผ่องอภิญญายิ่งภินิหาร </TD></TR><TR><TD>ผู้รู้รบจบแจ้งเจนวิจารณ์</TD><TD>ในตำนานชาญชัดอธิบาย</TD></TR><TR><TD>ท่านได้นำตำราหมากรุกนี้</TD><TD>มาเชิดชี้เป็นอย่างอ้างขยาย</TD></TR><TR><TD>เบื้องโบราณกาลเปรียบปรุงภิปราย</TD><TD>จึงแพร่หลายสืบกันแต่นั้นมา</TD></TR><TR><TD>ว่ามณโฑเทวีศรีสมร</TD><TD>เห็นภูธรทศพักตร์ท้าวยักษา</TD></TR><TR><TD>เมื่อศึกรามตามประชิดติดลงกา</TD><TD>แต่นั้นมามิได้มีที่สบาย</TD></TR><TR><TD>ด้วยความกตเวทีมีในจิต</TD><TD>นางจึงคิดหมากรุกขึ้นถวาย</TD></TR><TR><TD>ไว้เล่นแก้ทุกข์ร้อนพอผ่อนคลาย</TD><TD>เรื่อนิยายกล่าวมาว่าอย่างนี้</TD></TR><TR><TD>แลว่าเดิมสำเหนียกเรียกจัตุรงค์</TD><TD>เพราะเทียบพลพยุหยงองค์ทั้งสี่</TD></TR><TR><TD>คิดกระบวนชวนเล่นเช่นราวี</TD><TD>ให้ต้องที่การทัพแก้อับจน</TD></TR><TR><TD>พระฤาษีจำตำรามาแถลง</TD><TD>จึงได้แจ้งหมากรุกทุกแห่งหน</TD></TR><TR><TD>อาศัยเหตุตามสังเกตประกอบกล</TD><TD>ประชุมชนจึงได้ชวนกันชื่นชม</TD></TR><TR><TD>ต่างก็คิดผิดเพี้ยนเปลี่ยนแปลกบ้าง</TD><TD>เพราะต่างชาติต่างภาษาภิรมย์สม</TD></TR><TR><TD>เห็นเป็นเครื่องเรืองปัญญาพานิยม</TD><TD>เพราะอบรมความดำริให้ตริตรอง</TD></TR><TR><TD>ครั้นต่อมาผู้มีปรีชาเฉลียว</TD><TD>คิดผูกเกี่ยวขึ้นเป็นกลประกอบสนอง</TD></TR><TR><TD>หวังประกวดอวดกันขันประลอง</TD><TD>เพื่อสอดส่องเสี่ยงปัญญาหาความเพียร</TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>
    ตั้งแต่นี้ต่อไปจนจบคัดมาจาก หนังสือ ตำรากลหมากรุก ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ เจ้าพระยาอภัยราชามหายุติธรรมธร ให้พิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๕ พิมพ์ที่โรงพิมพ์ไท


    <CENTER><TABLE cellSpacing=0 cols=2 cellPadding=0 width="70%" border=0><TBODY><TR><TD>อันการไล่หมากรุกสนุกนึก</TD><TD>ล้วนลับลึกเลศไนยใช่พาเหียร</TD></TR><TR><TD>ควรใฝ่ฝึกตรึกตรองจองจำเนียร</TD><TD>แม้นแผกเพี้ยนผันผิดพึงคิดระแวง</TD></TR><TR><TD>จงยลแยบแบบแผนให้แม่นมั่น</TD><TD>ตามที่กลั่นไว้เปนกลอนสุนทรแถลง</TD></TR><TR><TD>บัญญัติอย่างอ้างกลยุบลแสดง</TD><TD>เพื่อให้แจ้งเจนตระหนักประจักษ์ใจ</TD></TR><TR><TD>โดยวิธีที่จะเดินประเมินมาก</TD><TD>มีหลากหลากล้วนเล่ห์สุขุมไข</TD></TR><TR><TD>พึงเพียรพิศคิดคเนคนึงใน</TD><TD>นิยมไว้หวังวางเปนอย่างยล</TD></TR><TR><TD>กำหนดทีหนีไล่ไว้ประจักษ์</TD><TD>อย่าชะงักงงง่วงเหงาฉงน</TD></TR><TR><TD>รุกรบรับอัปราแลตาจน</TD><TD>ควรคิดค้นให้กระจ่างอย่าคลางแคลง</TD></TR><TR><TD>เรือสองลำกำหนดกฎเกณฑ์นับ</TD><TD>บทบังคับตามพิกัดบัญญัติแถลง</TD></TR><TR><TD>เพียงคำรบครบแปดแต้มแสดง</TD><TD>อย่าพึงแหนงพ้นนี้ไม่มีจน</TD></TR><TR><TD>แม้ว่าเรือลำเดียวเกี่ยวกวดขัน</TD><TD>จะไล่นั้นได้เพียงสิบหกหน</TD></TR><TR><TD>อีกโคนคู่ดูระบอบให้ชอบกล</TD><TD>ยี่สิบสองไม่จนอย่าบุกบัน</TD></TR><TR><TD>แม้โคนเดียวเดี่ยวโดดโสดพิเศษ</TD><TD>นับสังเกตสี่สิบสี่เป็นที่ขั้น</TD></TR><TR><TD>อีกสองม้าไล่โลดโดดประชัน</TD><TD>พึงแม่นมั่นนับสามสิบสองผจง</TD></TR><TR><TD>แม้ม้าเดียวเปลี่ยวปละไม่ละลด</TD><TD>นับกำหนดหกสิบสี่ที่ประสงค์</TD></TR><TR><TD>อีกเบี้ยหงายหลายหลากมากน้อยคง</TD><TD>แจ้งจำนงนับเท่าตากระดาน</TD></TR><TR><TD>แม้หมากไล่ไล่ไม่จนพ้นพิกัด</TD><TD>ตามบัญญัติเกณฑ์นับตำหรับขาน</TD></TR><TR><TD>เสมือนเสมออย่าไล่ให้ป่วยการ</TD><TD>ยังหลายสถานที่กำหนดในบทบรรพ์</TD></TR><TR><TD>อนึ่งหมากหนีมีเบี้ยเขี่ยเขี้ยวขับ</TD><TD>ติดกำกับอยู่กับขุนไม่ห่างหัน</TD></TR><TR><TD>ข้างหมากไล่ไล่รุกเข้าโรมรัน</TD><TD>สามเบี้ยกั้นสังกัดสังเกตจำ</TD></TR><TR><TD>หมากไล่สามหนีหนึ่งคำนึงนับ</TD><TD>ตามบังคับหกสิบสี่เปนที่ขำ</TD></TR><TR><TD>โดยกำหนดบทระเบียบเทียบประจำ</TD><TD>ถ้าเกินกำหนดกล่าวเสมอกัน</TD></TR><TR><TD>อีกหมากไล่หมากหนีดีทั้งคู่ </TD><TD>มีเรืออยู่คนละลำปล้ำขับขัน</TD></TR><TR><TD>ข้างหมากไล่ได้เบี้ยช่วยบังกัน </TD><TD>ไขว้ผูกพันธ์เบื้องหลังพอบังสกนธ์</TD></TR><TR><TD>หมากรูปนี้มักจะมีอยู่บ่อยบ่อย </TD><TD>จงคิดคอยดูอย่าเฟือนเลือนฉงน</TD></TR><TR><TD>ทั้งเบี้ยเทียมเทียบถูกผูกจำนน</TD><TD>นิยมยลหกสิบสี่ที่สัญญา</TD></TR><TR><TD>แม้ไม่จนพ้นคำณวนคำนึงเสมอ</TD><TD>ก็เสมอเหมือนตำหรับตำราว่า</TD></TR><TR><TD>อย่าเลินเล่อเผลอพล้ำให้พลั้งตา </TD><TD>จงไตรตราตรึกตริดำริห์ตรอง</TD></TR><TR><TD>อีกชื่อมีขี้ชัดถนัดแน่</TD><TD>เรียกกลหอกข้างแคร่สำเนาสนอง</TD></TR><TR><TD>มีเบี้ยเดียวเลี้ยวลดบทละบอง</TD><TD>ยกย้ายย่องแอบขุนจุนประจำ</TD></TR><TR><TD>พวกหมากไล่ได้ท่าก็ฝ่าแฝง</TD><TD>โคนทะแยงเยื้องย่างสามขุมขำ</TD></TR><TR><TD>ผูกกระชับกับเบี้ยคลอเคลียคลำ</TD><TD>รวมรุมร่ำรุกรบตลบไป</TD></TR><TR><TD>ไล่ไม่จนพ้นพิกัดบัญญัติยก </TD><TD>เกินเกณฑ์หกสิบสี่สิ้นสงไสย</TD></TR><TR><TD>ทั้งสองข้างต่างแต้มไม่ต่ำไกล</TD><TD>ก็ยอมให้สมเสมอเสมือนกัน</TD></TR><TR><TD>อีกจับม้าอุประการประกอบชอบ</TD><TD>แบบระบอบหมากหนีท่วงทีขัน</TD></TR><TR><TD>มีม้ามิ่งวิ่งหลบไม่รบรัน</TD><TD>ข้างหนึ่งนั้นสองเบี้ยแซกเซียซุน</TD></TR><TR><TD>กับโคนหนึ่งขึงท่าโถมสมทบ</TD><TD>ม้าเลี้ยวหลบหลีกแฉลบเข้าแอบขุน</TD></TR><TR><TD>ต่างคุมท่าหาทางจะรุกรุน</TD><TD>เมียงมุ่งมุ่นมองคมักคเม่นตา</TD></TR><TR><TD>มีเกณฑ์ย่างอย่างกำหนดหกสิบสี่</TD><TD>แม้หมากหนีหนีไม่พ้นก็จนท่า</TD></TR><TR><TD>ตามพิกัดจัดไว้ในตำรา</TD><TD>พึงวิจาระณะจงให้เจนใจ</TD></TR><TR><TD>อีกกลลูกติดแม่แน่กำหนด</TD><TD>โดยแบบบทเบื้องบรรพ์ธิบายไข</TD></TR><TR><TD>ข้างหมากหนีมีเรือเฝือแฝงไป</TD><TD>กับเบี้ยหงายวางไว้จังหวะกัน</TD></TR><TR><TD>ข้างหมากไล่ได้โคนกับเบี้ยหงาย</TD><TD>แลเรือรายรุกเรียงเคียงกระสัน</TD></TR><TR><TD>ไล่ไม่จนพ้นหกสิบสี่พลัน</TD><TD>เพราะโคนกันขุนกุมคุมเชิงชน</TD></TR><TR><TD>หณุมานอาสาท่านว่าไว้</TD><TD>ข้างหมากไล่เรือกับม้าอย่าฉงน</TD></TR><TR><TD>อีกเบี้ยหงายรายคุมโคนระคน</TD><TD>ม้าผจญโจมบุกเข้ารุกรัน</TD></TR><TR><TD>ข้างหมากหนีมีเรือคอยรารับ</TD><TD>โคนกำกับเคียงข้างไม่ห่างหัน</TD></TR><TR><TD>ต่างประชิดติดต่อไม่รอกัน</TD><TD>กำหนดนั้นหกสิบสี่มีอัตรา</TD></TR><TR><TD>ควายสู้เสือเหลือลำบากพวกหมากหนี</TD><TD>คือโคนมีอยู่กับเบี้ยไม่เสียท่า</TD></TR><TR><TD>คอยป้องปิดติดแว้งทะแยงตา</TD><TD>เข้ารับหน้ากันรุกทุกกระบวน</TD></TR><TR><TD>ข้างหมากไล่ได้เรือไว้กับเม็ด</TD><TD>คอยลอดเล็ดล้อมเลี้ยวตลบหวน</TD></TR><TR><TD>มีเกณฑ์กฎบทบังคับนับจำนวน</TD><TD>ไม่จนถ้วนหกสิบสี่เสมอกัน</TD></TR><TR><TD>อีกอู่ทองหนีห่าน่าสลด</TD><TD>กำหนดบทหมากไล่ไม่ผิดผัน</TD></TR><TR><TD>มีโคนหนึ่งเบี้ยสามพองามกัน</TD><TD>เข้าโรมรันโอบอ้อมเที่ยวล้อมราย</TD></TR><TR><TD>ข้างหมากหนีมีเรือลำเดียวเดี่ยว</TD><TD>เข้าเกี้ยวเกี่ยวรุกกระชั้นเหมาะมั่นหมาย</TD></TR><TR><TD>ไม่จนแต้มจนตาตามธิบาย</TD><TD>กำหนดหมายหกสิบสี่เสมอตัว</TD></TR><TR><TD>พรานไล่เนื้อหมากไล่ไม่เข็ดขาม</TD><TD>มีเบี้ยสามม้าเดี่ยวขับเขี้ยวขั้ว</TD></TR><TR><TD>ข้างหมากหนีเรือหนึ่งจำเพาะตัว</TD><TD>พวกไล่พัวพันสกดสกัดทาง</TD></TR><TR><TD>ไม่จนจบครบหกสิบสี่ท่า</TD><TD>ก็ต่างรากันเองทั้งสองข้าง</TD></TR><TR><TD>จงจำจดบทระยะจังหวะวาง</TD><TD>อย่าหลงทางลืมทิ้งทำเลกล</TD></TR><TR><TD>นกกระจาบทำรังข้างหมากหนี</TD><TD>นั้นเบี้ยมีอยู่กับม้าท่าสับสน</TD></TR><TR><TD>ข้างหมากไล่ได้เรือเจือระคน</TD><TD>เข้าปะปนเบี้ยหงายรายระดม</TD></TR><TR><TD>เรือกับม้าท่าทีก็พอสู้</TD><TD>ตำราครูกล่าวไว้ให้เห็นสม</TD></TR><TR><TD>หกสิบสี่หนีได้โดยนิยม</TD><TD>เข้าเกลือกกลมแอบเบี้ยไม่เสียที</TD></TR><TR><TD>ถ้าเบี้ยผูกถูกกันท่านให้ต่อ</TD><TD>เอาเบี้ยล่อรอรับขับให้หนี</TD></TR><TR><TD>ข้างหมากไล่ก็จะเหลิงในเชิงที</TD><TD>ถึงแต้มมีก็คงหมดกำลังลง</TD></TR><TR><TD>อีกกลหนึ่งนามคลื่นกระทบฝั่ง</TD><TD>นิยมหวังอย่าแหนงระแวงหลง</TD></TR><TR><TD>ข้างหมากหนีโคนหนึ่งพึงจำนง</TD><TD>ทะแยงยงเยื้องท่าคอยรารับ</TD></TR><TR><TD>หมากไล่มีม้าหนึ่งกับเบี้ยสอง</TD><TD>เข้าล้อมป้องหลังโคนโผนขยับ</TD></TR><TR><TD>ม้าก็รุกคลุกเคล้าเข้าสำทับ</TD><TD>โคนหลบลับแอบขุนคอยคุมที</TD></TR><TR><TD>ทั้งสองข้างต่างแต้มไม่ตกต่ำ </TD><TD>จบเกณฑ์กำหนดนับหกสิบสี่</TD></TR><TR><TD>เปนเขตรขั้นสัญญาอย่างพอดี</TD><TD>ก็ต่างมีส่วนสมเสมอกัน</TD></TR><TR><TD>หมูหลบหอกกลอกกลิ้งสิ่งสังเกต</TD><TD>ฝ่ายประเภทหมากหนีวิธีสรร</TD></TR><TR><TD>โคนกับเรือเฝือแฝงช่วยแรงกัน</TD><TD>หมากไล่นั้นเรือคู่จู่ประจำ</TD></TR><TR><TD>ขนานเรียงเคียงคู่ขนาบล้อม</TD><TD>เข้าโอบอ้อมแอบรุกบุกกระหน่ำ</TD></TR><TR><TD>ข้างหมากหนีลี้ซุ่มเข้ามุมทำ</TD><TD>ในทีขำโคนเคียงเรียงประนัง</TD></TR><TR><TD>ถึงจะรุกคลุกขลุมตลุมไล่ </TD><TD>เรือกันไว้มิได้หวั่นถวิลหวัง</TD></TR><TR><TD>เรือกับโคนสู้กันขันประดัง</TD><TD>ตามบทบังคับไว้ในตำรา</TD></TR><TR><TD>แม้นครบยกหกสิบสี่มิจนแต้ม</TD><TD>ในกลแกมเกณฑ์นับตำหรับว่า</TD></TR><TR><TD>ทั้งสองข้างต่างเสมอเหมือนสัญญา</TD><TD>ก็เลิกลาละลดงดกันไป</TD></TR><TR><TD>ยังอีกหนึ่งพึงพิศพินิจนึก</TD><TD>ตริตรองตรึกดูให้สิ้นที่สงไสย</TD></TR><TR><TD>มีรูปหมากตั้งให้เห็นเช่นกลไนย </TD><TD>ได้วางไว้หลายอย่างต่างต่างกัน</TD></TR><TR><TD>กำหนดมีทีไล่ให้จนแต้ม</TD><TD>ประกอบแกมกลกระบวรอย่าหวนหัน</TD></TR><TR><TD>โดยวิธีมีเกณฑ์เปนสำคัญ</TD><TD>เช่นแบบบัญญัตินามตามจำนง</TD></TR><TR><TD>สำหรับลองปัญญามาประดิษฐ์</TD><TD>ให้ผู้คิดคิดเดินโดยประสงค์</TD></TR><TR><TD>ยังอีกมากพ้นรำพันจะสรรค์ลง</TD><TD>เชิญท่านจงดูตามแผนนั้นเถิดเอย ฯ</TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>


    </DD>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • image581.jpg
      image581.jpg
      ขนาดไฟล์:
      692 bytes
      เปิดดู:
      81
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 ธันวาคม 2009
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948




    อุปกรณ์ในการเล่นหมากรุกไทย ประกอบด้วย
    1.) กระดานหมากรุก เป็นกระดานสี่เหลี่ยม มีตารางสี่เหลี่ยมจัตุรัสด้านละ 8 ช่อง ดังนั้นมีตาบนกระดานหมากรุกไทย 8x8 = 64 ตา ซึ่งเป็นตาเรียบธรรมดา หรือสลับสีก็ได้ ขอบกระดานสองข้างโดยมากจะมีที่สำหรับให้เป็นที่เก็บตัวหมากรุกที่กินกันแล้ว ต้องนำออกมาวางนอกกระดาน
    2.) ตัวหมากรุก มีรวม 32 ตัว แต่ละฝ่ายจะมี 16 ตัว ตัวหมากรุกจะทำเป็นสองสีให้เห็นแตกต่างกันเช่น ดำกับขาว แดงกับดำ ฯลฯ แต่ก่อนตัวหมากรุกจะทำด้วยไม้เนื้อแข็ง แกะสลักเป็นรูปต่างๆ อาจใช้เขาสัตว์หรืองาช้างมาแกะสลักเป็นตัวหมากรุก ปัจจุบันส่วนใหญ่หล่อจากพลาสติก รายละเอียดของตัวหมากรุกแต่ละฝ่ายมีดังนี้
    1.) ขุน 1 ตัว
    2.) เม็ด 1 ตัว
    3.) โคน 2 ตัว
    4.) ม้า 2 ตัว
    5.) เรือ 2 ตัว
    6.) เบี้ย 8 ตัว​






    รวมทั้งหมดมีฝ่ายละ 16 ตัว
    โดยปกติ ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายจะนั่งเผชิญหน้ากัน มีกระดานหมากรุกวางอยู่ตรงกลาง






    การตั้งตัวหมากรุกและรูปร่างของตัวหมากรุก แสดงไว้ในภาพ มีข้อสังเกตคือ เม็ดต้องตั้งอยู่เบื้องขวาของขุนแต่ละฝ่าย


    <TABLE width=611><TBODY><TR><TD class=style3>



    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    กติกา





    เมื่อเริ่มเล่นจะมีการเสี่ยงทายว่าใครจะได้เป็นผู้เดินก่อน หลังจากนั้นก็จะสลับกัน เดินคนละที การเดินของหมากรุกแต่ละตัว ในรูปจะแสดงให้เห็นอำนาจการเดิน และการกินของหมากรุกแต่ละตัว ตามปกติหมากรุกเมื่อเดินไปตาไหนได้ ก็จะกินหมากของอีกฝ่ายหนึ่งในตานั้นได้ด้วย มียกเว้น คือ เบี้ยคว่ำ เวลาเดินจะเดินตรง ๆไปข้างหน้าได้ทีละหนึ่งตา แต่ถ้าจะกินต้องกินตัวหมากที่อยู่ในตาทแยงด้านหน้า ซ้ายหรือขวา เท่านั้น จะเดินถอยหลังไม่ได้ และจะกินทแยงถอยหลังก็ไม่ได




    • <LI class=style3>ขุน เป็นตัวหมากรุกที่สำคัญที่สุด มีการเดินและกินไปในทิศทางรอบตัวได้ แต่ไม่สามารถเดินเข้าไปในตากินของฝ่ายตรงข้ามได้



      <LI class=style3>เม็ด มีการเดินและกินไปในแนวทแยงทั้ง 4 ด้าน



      <LI class=style3>โคน มีการเดินและกินไปในแนวทแยงทั้ง 4 ด้านและเดินไปทางข้างหน้า



      <LI class=style3>ม้า มีการเดินและกินเป็นรูปตัว L ในทิศทางรอบตัว



      <LI class=style3>เรือ มีการเดินและกินไปในแนวตั้ง-แนวนอน ระยะยาว
    • เบี้ย มีการเดินไปทางข้างหน้าและกินในแนวทแยงด้านหน้า เมื่อเบี้ยไปถึงแนววางเบี้ยของฝ่ายตรงข้ามจะกลายเป็นเบี้ยหงาย และมีการเดินและกินเช่นเดียวกับเม็ดทุกประการ​
    [​IMG]


    ตาเดินและตากินของขุนทั้ง 2 ฝ่าย





    [​IMG]






    ตาเดินและตากินของเม็ดและเบี้ยหงายทั้ง 2 ฝ่าย







    [​IMG]






    ตาเดินและตากินของโคนทั้ง 2 ฝ่าย







    [​IMG]




    ตาเดินและตากินของม้าทั้ง 2 ฝ่าย







    [​IMG]




    ตาเดินและตากินของเรือทั้ง 2 ฝ่าย โดยต้องไม่มีหมากตัวอื่นมาขวาง และเดินข้ามหมากตัวอื่นไม่ได้








    [​IMG]




    [​IMG]

    ตาเดินและตากินของเบี้ยคว่ำทั้ง 2 ฝ่าย โดย​




    x คือตาที่กินได้

    ^ v คือตาที่เดินได้ ​








     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1.jpe
      1.jpe
      ขนาดไฟล์:
      34.2 KB
      เปิดดู:
      1,187
    • 2.jpe
      2.jpe
      ขนาดไฟล์:
      25.9 KB
      เปิดดู:
      1,208
    • 3.jpe
      3.jpe
      ขนาดไฟล์:
      36.9 KB
      เปิดดู:
      1,239
    • 4.jpe
      4.jpe
      ขนาดไฟล์:
      32.6 KB
      เปิดดู:
      1,195
    • 5.jpe
      5.jpe
      ขนาดไฟล์:
      40.8 KB
      เปิดดู:
      1,567
    • 6.jpe
      6.jpe
      ขนาดไฟล์:
      17.2 KB
      เปิดดู:
      1,526
    • body.JPG
      body.JPG
      ขนาดไฟล์:
      26.9 KB
      เปิดดู:
      1,265
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 ธันวาคม 2009
  16. แหน่ง

    แหน่ง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    741
    ค่าพลัง:
    +768
    Fast Food เพิ่มพลังสมองยามเช้า <TABLE border=5 borderColor=#fac963 cellPadding=0 width=725 align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=3 width="100%" align=center><TBODY><TR bgColor=#ffffcc><TD vAlign=center> </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="95%"><TBODY><TR><TD class=A2 vAlign=top><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 bgColor=#f5f5f5 align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle></TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="95%"><TBODY><TR><TD class=A2 vAlign=top>อาหารเช้าสำคัญต่อสมองมากกว่ามื้อไหนๆ

    ทีมนักโภชนาการชาวออสเตรเลีย ซึ่งศึกษาวัยรุ่น 800 คน พบว่า

    การได้รับประทานอาหารมื้อเช้า ที่มีสารอาหารบางประเภทช่วยในเรื่องการทำงานของสมอง โดยพบว่าทำคะแนนในห้องเรียนได้ดีขึ้น และมีสุขภาพจิตดีขึ้นด้วย เห็นแล้วอดไม่ได้ที่จะนำมาบอกต่อ เพราะนอกจากจะดีต่อสุขภาพสมองแล้ว วิธีทำก็แสนง่ายแบบที่ไม่ต้องกวนคุณแม่ และไม่เสียเวลาเตรียมมากนัก มาลองทำกันเลย


    สูตรที่ 1
    ซีเรียลจากธัญพืชที่ไม่ขัดสี เติมนมเปรี้ยวแบบไม่มีไขมันหรือไขมันต่ำ จากนั้นเติมกล้วยหอมหั่นเป็นชิ้นลงไป คลุกเคล้าให้เข้ากัน


    สูตรที่ 2
    โยเกิร์ตแบบไม่มีไขมันหรือไขมันต่ำ ใส่ข้าวโอ๊ตบดหยาบและผลไม้ต่างๆ ตามชอบ เช่น กีวี แอปเปิ้ล สตรอว์เบอรี่ (ไม่ควรเป็นผลไม้ที่มีรสหวาน) คลุกเคล้าให้เข้ากัน


    สูตรที่ 3
    แซนด์วิชทูน่า ใช้ขนมปังไม่ขัดขาว เนื้อปลาทูน่า และที่ขาดไม่ได้คือมะเขือเทศสีแดงสด


    ส่วนผสมหลักๆ บอกไปแล้วนะคะ ส่วนใครจะมีเคล็ดลับอะไร ก็สามารถเพิ่มเติมได้ตามใจชอบ อร่อยกันแล้ว อย่าลืมเพิ่มพลังสมองอีกทางด้วยการออกกำลังกายนะคะ

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="95%"><TBODY><TR><TD class=A2 vAlign=top>
    นิตยสารชีวจิตฉบับที่ 246

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  17. แหน่ง

    แหน่ง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    741
    ค่าพลัง:
    +768
    <TABLE border=5 borderColor=#fac963 cellPadding=0 width=725 bgColor=#e2e2e2 align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ecfae0>เตือน โทษของบะหมี่สำเร็จรูป </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=5 borderColor=#fac963 cellPadding=0 width=725 align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=3 width="100%" align=center><TBODY><TR bgColor=#ffffcc><TD vAlign=center> </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="95%"><TBODY><TR><TD class=A2 vAlign=top><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 bgColor=#f5f5f5 align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle>ภาพประกอบอินเตอร์เน็ต</TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="95%"><TBODY><TR><TD class=A2 vAlign=top>ใครที่ชอบทานบะหมี่สำเร็จรูปเป็นประจำ ทราบหรือไม่ว่า บะหมี่สำเร็จรูปมีโทษต่อร่างกายอย่างไรบ้าง วันนี้เกร็ดความรู้มีโทษของบะหมี่สำเร็จรูปมาบอกกัน...

    ส่วนประกอบของบะหมี่สำเร็จรูปส่วนใหญ่เป็นแป้งสาลีถึง 60-70% ส่วน 15-20% เป็นไขมัน (อยู่ในเครื่องปรุง) ที่เหลืออีก 5-6% เป็นเกลือและผงชูรสล้วน ๆ เพราะฉะนั้นถ้าทานบะหมี่สำเร็จรูปมากกว่า 1 ซองต่อวัน ร่างกายก็จะได้รับปริมาณโซเดียมเกินความต้องการถึง 50-100% ซึ่งเป็นอันตรายต่อไต และยังจะทำให้ความดันโลหิตสูงอีกด้วย



    ต่อไปนี้ถ้าอยากจะทานบะหมี่สำเร็จรูปก็ควรจะทำตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณะสุข


    - ใส่ไข่ ผัก หรือเนื้อสัตว์ลงไปด้วย เพื่อเพิ่มสารอาหารและป้องกันไม่ให้ร่างกายได้รับโซเดียมมากเกินไป

    - ควรเลือกซื้อบะหมี่สำเร็จรูปที่เขียนว่า เพิ่มสารไอโอดีน ธาตุเหล็ก และวิตามินเอ ไว้หน้าซอง
    - ไม่ควรทานบะหมี่สำเร็จรูปดิบ ๆ เพราะเส้นบะหมี่จะไปพองตัวในกระเพาะ อาจทำให้ท้องอืดได้
    - ที่สำคัญที่สุดคือไม่ควรทานบะหมี่สำเร็จรูปมากกว่าวันละ 1 ซอง เพื่อป้องกันโรคที่เกิดกับไต และโรคความดันโลหิต


    รู้อย่างนี้แล้ว ก็อย่าทานบะหมี่สำเร็จรูปเกินวันละ 1 ซอง เพื่อสุขภาพที่ดี.


    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="95%"><TBODY><TR><TD class=A2 vAlign=top>
    ขอบคุณบทความจาก ดิฉัน
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    หมากรุกจีน

    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

    (บทความนี้ได้รับแจ้งว่าควรปรับปรุงเรื่องการใช้ภาษา หรือรูปแบบการเขียน เนื้อหาอาจแปลมาจากภาษาอื่นโดยไม่สมบูรณ์ <SMALL>(ดูเพิ่ม)</SMALL> มีเนื้อหาซึ่งไม่ใช่ภาษาไทย หรือเขียนในลักษณะภาษาที่ไม่เป็นวิชาการ คุณสามารถช่วยปรับปรุงเนื้อหาได้ โดยตรวจสอบการใช้ไวยากรณ์ ภาษา การสะกด และแก้ไขรูปแบบให้เป็นสารานุกรม)

    [​IMG]

    หมากรุกจีน (จีน: 象棋; พินอิน: xiàngqí) เป็นเกมหมากรุกชนิดหนึ่ง มีที่มาจากประเทศจีน ใช้เล่นระหว่างผู้เล่น 2 คน การตั้งหมากต้องตั้งไว้ที่จุดไล่มาจากซ้ายมือแถวล่างสุดคือ กือ(เรือ) เบ๊(ม้า) เฉีย(ช้าง) สือ(องครักษ์) ตี่(ขุน) สือ เฉีย เบ๊ กือ แถวที่ 2 เว้นไว้ แถวที่ 3 ตั้งเผ่า(ปืนใหญ่) 2 ตัวไว้หน้าเบ๊ และแถวที่ 4 ตั้งจุก(เบี้ย) 5 ตัวไว้หน้า กือ เฉีย ตี่
    [แก้] กฎกติกา

    1.การเดินและการกิน
    • ตี่(ฮ่องเต้)เดินได้เฉพาะในเขตพระราชวัง เดินได้ตาตรง 4 ทิศ
    • สือ(องครักษ์)เดินได้ในตาเฉียง 4 ทิศ เฉพาะในเขตพระราชวัง
    • จุก(เบี้ย)เดินขึ้นหน้าได้ทิศทางเดียว แต่ถ้าข้ามแม่น้ำไปแล้วจะสามารถเดินข้างเพิ่มได้
    • เฉีย(ช้าง) เดินได้ในแนวทแยงมุม 4 ทิศ แต่ข้ามไป 1 จุด ข้ามแม่น้ำไม่ได้
    • เบ๊ (ม้า) เดินเป็น 2 จังหวะคือเดินไปในแนวตรง 2 จุด และหักมุมอีก 1 จุด
    • เผ่า(ปืนใหญ่) เดินได้ในแนวตรงทุกทิศทาง แต่การกินนั้นต้องมีหมากคั่นไว้ก่อน 1 ตัวจึงจะกินได้
    • กือ(เรือ)เดินเหมือนกับเผ่าแต่การกินไม่ต้องอาศัยตัวหมากคั่น
    2.กลยุทธ
    • ตี่ ประมุขและหัวใจแห่งกองทัพ ในระยะเปิดเกมและกลางเกมแทบจะไม่ต้องใช้ตี่แต่ต้องเอาตี่ไว้ในพระราชวัง ถ้าตี่ตายหมายถึงจบเกม
    • สือ องครักษ์ประสานงานป้องกันตี่ สือถือว่าเป็นหมากตัวที่สำคัญไม่แพ้กับ กือ เพราะถ้าไม่มีสือตี่ก็คงจะตายได้
    • จุก กองกำลังด่านหน้ากล้าตาย ถือว่าเป็นหมากตัวที่ยศต่ำที่สุด ในเมื่อเดินแล้วถอยไม่ได้การเดินแต่ละครั้งจึงต้องพิจารณาให้ดี แต่จะเลื่อนยศได้ถ้าข้ามแม่น้ำไปแล้ว
    • เฉีย ทัพช้างก้าวไกล ใช้คุ้มกันภัยเป็นทัพหลัง ในเมื่อเดินข้ามแม่น้ำไม่ได้บทบาทส่วนใหญ่จึงเป็นการตั้งรับ มักใช้สกัดคู่ต่อสู้ เป็นทัพหลัง แต่มีจุดอ่อนในการถูกขัดขา(ดูในหัวข้อการขัดขา)
    • เบ๊ แม่ทัพทหารม้ารวดเร็ว พลิกแพลงพิสดาร ใช้เป็น 1 ใน 3 ทัพหน้าคือ เบ๊ เผ่า กือ มักใช้เป็นตัวคุมดินแดนใกล้แม่น้ำ ตั้งรับก็ช่วยได้ บุกรุกก็ใช้ดี แต่มีจุดอ่อนเหมือนกันกับเฉีย
    • เผ่า แม่ทัพปืนใหญ่ยิงไกล แต่ต้องมีหมากคั่น ในเมื่อการเดินเดินได้ไกลขนาดนี้เพราะฉะนั้นจะต้องระวังเผ่าไว้ให้ดีเพราะบางทีเผ่าอาจซ่อนอยู่หลังหมากตัวใดตัวหนึ่งและยิงข้ามมากินได้ อำนาจจึงสูงพอๆกับเบ๊หรือสูงกว่า
    • กือ แม่ทัพเรือ ทะลุทะลวงเจาะตามแนวช่อง ในเมื่อเดินได้ไกลเหมือนเผ่า แต่การกินไม่ต้องอาศัยตัวยิงข้ามอำนาจจึงสูงที่สุดในแม่ทัพทั้งหมด 3 ตัว
    3.การขัดขา(เฉียและเบ๊เท่านั้น)
    • การขัดขาเฉีย คือการที่มีหมากอยู่ติดกับเฉียในแนวทแยงมุม เฉียจะเดินข้ามหมากตัวนั้นไม่ได้
    • การขัดขาเบ๊ คือการที่มีหมากอยู่ติดกับเบ๊ในแนวตรง เบ๊จะไม่สามารถเดินไปในทิศทางที่ข้ามหมากตัวนั้นได้
    4.เขตกระดาน
    • เขตพระราชวัง เป็นเขตที่มีเส้นทแยงมุม เป็นที่อยู่ของสือและตี่ ซึ่งหมากทั้งคู่จะไม่สามารถออกจากเขตนี้ได้
    • เขตแม่น้ำ เป็นเขตที่กั้นแดนของทั้ง 2 ฝ่าย ซึ่งเฉียไม่สามารถก้าวข้ามแม่น้ำได้
    5.จุดหมายแห่งชัยชนะ
    <DL><DT>การแพ้-ชนะ </DT></DL>
    • รุกตี่จน คือการที่หมากของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเดินมาขู่ว่าจะกินตี่ แล้วตี่ไม่สามารถหนีพ้น หรือกินได้ ถือว่าฝ่ายที่รุกจนเป็นผู้ชนะ
    • ตี่ไม่มีตาเดิน คือการที่ตี่ไม่สามารถเดินได้ ในหมากรุกอื่นจะถือว่าเสมอ แต่หมากรุกจีนจะถือว่าฝ่ายที่ตี่"อับ"เป็นผู้แพ้
    • ตี่ประจันหน้า คือการที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถูกบังคับให้เดินตี่มาประจันหน้ากับตี่คู่ต่อสู้ โดยไม่มีหมากตัวใดขวาง ถือว่าฝ่ายที่เดินออกมาเป็นผู้แพ้
    • ยอมแพ้ คือการที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเห็นว่าในเมื่ออย่างไรก็ต้องแพ้ ก็ไม่ต้องเดินต่อไปให้ยอมแพ้ได้เลย
    • การนับศักดิ์หมาก คือถ้าเหลือหมากเพียงตี่กับตี่แล้วเหลือหมากที่สามารถรุกจนได้ เช่น
    1.จุก 2 ตัว นับ 45 2.จุก 3 ตัว นับ 36 3.จุก 4 ตัว นับ 27 4.จุก 5 ตัว นับ 18 5.เบ๊ 2 ตัว นับ 27 6.เผ่า 2 ตัว นับ 27 7.กือ 1 ตัวนับ 18 8.กือ 2 ตัว นับ 9
    <DL><DT>การเสมอ </DT></DL>
    • รุกไม่จน คือการที่หมากที่เหลือไม่สามารถรุกจนได้เช่น 1.ตี่กับตี่และเบ๊ 1 ตัว 3.ตี่กับตี่และจุก 1 ตัว 4.ตี่กับตี่และเฉีย 1 หรือ 2 ตัว 5.ตี่กับตี่และสือ 1 หรือ 2 ตัว 6.ตี่กับตี่
    • ตกลงเสมอ คือเมื่อทั้ง 2 ฝ่ายยอมตกลงเสมอเป็นอันสิ้นสุดการเล่นกระดานนั้น
    • หมดเวลา เช่น จับเวลาเล่นไว้ 22 นาที(โดยทั่วไปใช้ 22 นาที)สมมติว่าหมดเวลา 22 นาทีทั้ง 2 ฝ่ายรุกกันยังไม่จนถือว่าเสมอ
    • การรุกล้อ คือการที่หมากของทั้ง 2 ฝ่ายซ้ำตำแหน่งเดิมครบ 3 ครั้ง
    <TABLE style="CLEAR: both; BORDER-RIGHT: #90a0b0 1px solid; BORDER-TOP: #90a0b0 1px solid; FONT-SIZE: 90%; BACKGROUND: #fcfcfc; MARGIN: 10px 0px 0px; BORDER-LEFT: #90a0b0 1px solid; WIDTH: 100%; BORDER-BOTTOM: #90a0b0 1px solid" cellSpacing=0 cellPadding=3><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=40></TD><TD style="COLOR: #696969" align=left>หมากรุกจีน เป็นบทความเกี่ยวกับ เกม การละเล่น ของเล่น หรือ ตุ๊กตา ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
    <SMALL>ข้อมูลเกี่ยวกับ หมากรุกจีน ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ</SMALL></TD></TR></TBODY></TABLE>

    <!-- NewPP limit reportPreprocessor node count: 222/1000000Post-expand include size: 10944/2048000 bytesTemplate argument size: 3118/2048000 bytesExpensive parser function count: 0/500--><!-- Saved in parser cache with key thwiki:pcache:idhash:137815-0!1!0!!th!2 and timestamp 20091215130645 -->ดึงข้อมูลจาก "หมากรุกจีน - วิกิพีเดีย".
    หมวดหมู่: ตรวจภาษา | หมากรุก | บทความเกี่ยวกับ เกมและการละเล่น ที่ยังไม่สมบูรณ์
    หมวดหมู่ที่ซ่อนอยู่: บทความที่รอการตรวจสอบรูปแบบ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  19. แหน่ง

    แหน่ง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    741
    ค่าพลัง:
    +768
    <TABLE border=5 borderColor=#fac963 cellPadding=0 width=725 bgColor=#e2e2e2 align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ecfae0>เตือน : โรคแพ้ผงชูรส </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=5 borderColor=#fac963 cellPadding=0 width=725 align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=3 width="100%" align=center><TBODY><TR bgColor=#ffffcc><TD vAlign=center> </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="95%"><TBODY><TR><TD class=A2 vAlign=top><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 bgColor=#f5f5f5 align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle></TD></TR></TBODY></TABLE>
    หากคุณเคยรับประทานอาหารนอกบ้าน แล้วมีอาการชาตามมือ และร้อนวูบวาบที่ปาก ลิ้น ใบหน้า และรู้สึกแน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก บางครั้งอาจมีผื่นแดงขึ้นตามตัว อาการเหล่านี้เป็นที่รู้จักกันดีในนาม โรคภัตตาคารจีน (Chinese Restaurant Syndrome) หรือโรคแพ้ผงชูรส

    ซึ่งนอกจากจะมีอาการข้างต้นแล้ว หากคุณรับประทานอาหารที่มีปริมาณผงชูรสมากๆ เป็นประจำย่อมเกิดอันตรายต่อสุขภาพของตัวคุณได้ ดังนี้


    1. ทำลายระบบประสาทตา สายตาเสียหรือเกิดตาบอดได้


    2. ทำลายกระดูกและไขกระดูก ซึ่งผลิตเม็ดเลือดแดงในร่างกาย อาจทำให้เกิดโรคโลหิตจางได้


    3. ทำให้วิตามินในร่างกายลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิตามินบี6 ทำให้เป็นโรคผิวหนังได้ง่าย


    4. ทำลายสมองส่วนหน้าหรือไฮโปทาลามัส ทำให้การเจริญเติบโตช้า ปัญญาอ่อน และเป็นหมัน


    5. ทำลายระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้เป็นโรคประสาทได้ง่ายขึ้น


    6. สำหรับผู้ที่ตั้งครรภ์ ถ้ากินผงชูรสมากๆ จะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครโมโซมของทารกในครรภ์ ทำให้ร่างกายของเด็กเกิดความผิดปกติ ปากแหว่ง แขนขาพิการได้



    ก่อนสั่งอาหารมื้อหน้าอย่าลืมระบุ อาหารที่ไม่ใส่ผงชูรส หรือทางที่ดีลองทำน้ำซุปแบบชีวจิตไว้ช่วยปรุงรสชาติแทนผงชูรสได้ อย่างน้ำซุปแครอท ฟักเขียว เป็นต้น


    แต่ทางที่ดีทำอาหารกินเองดีกว่า สะอาด ถูกหลักอนามัย
    แถมรสชาดอร่อยถูกปากอีกต่างหาก


    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="95%"><TBODY><TR><TD class=A2 vAlign=top>
    ขอบคุณข้อมูล : FWD
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    บารมีขององค์ผู้อธิษฐานจิต

    บารมีองค์ผู้ให้สร้าง

    จึงขึ้นอยู่กับ บารมีของผู้ที่ครอบครอง ศีลของผู้ครอบครอง จิตที่บริสุทธิ์ของผู้ครอบครอง ว่าดีมากน้อยแค่ไหน

    อำนาจของพลังพุทธคุณ และ พลังอิทธิคุณ จึงแสดงออกมาได้ตามบารมีของผู้ที่ครอบครอง

    หากสมาชิกชมรมรักษ์พระวังหน้า หรือ คณะพระวังหน้า สงสัยในคำพูด(โพส)ของผม โทร.มาสอบถามเอง ขอสงวนสิทธิ์ไม่แจ้งบนบอร์ดครับ

    โมทนาสาธุ
    โมทนาสาธุ
    โมทนาสาธุ
    มหามุฑิตาโมทนาสาธุ
    มหามุฑิตาโมทนาสาธุ
    มหามุฑิตาโมทนาสาธุ
    .
     

แชร์หน้านี้

Loading...