พระแท้ - พระเก๊

ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย totey, 1 เมษายน 2010.

  1. nanodent

    nanodent เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,730
    ค่าพลัง:
    +943
    วันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

    - ตัวแม่พิมพ์ของพระสมเด็จ วัดระฆังฯ คอลัมน์ ชมรมพระเครื่อง


    วันนี้เราก็มาคุยกันต่อนะครับ แต่ก่อนอื่นผมก็ต้องออกตัวเสียก่อนครับว่า ผมเองไม่ได้อยากจะอวดอ้างว่าเป็นคนเก่งรอบรู้ไปเสียทั้งหมด ผมเองก็ไม่ใช่เซียนหรือผู้ชำนาญการแต่อย่างไร ไม่มีร้านค้าหรือศูนย์พระเครื่องที่ไหน ผมเองก็เป็นผู้ที่นิยมสะสมพระเครื่องคนหนึ่งเท่านั้น และในสมัยแรกๆ ประมาณพ.ศ.2513-14 สมัยสนามพระวัดมหาธาตุ ผมก็โดนพระเก๊มามากมาย จนทำให้ต้องศึกษาและค้นคว้ามาจนถึงทุกวันนี้ ทำให้พอจะรู้บ้างหรือบางชนิดที่ศึกษามาว่าแท้หรือไม่แท้อย่างไร ที่มาตอบปัญหาพระเครื่องอยู่นี้ ก็อาศัยว่าคลุกคลีอยู่ในสังคมนี้มานาน ก็พอจะรู้ว่าคนไหนรู้เรื่องพระอะไรจริง และสนิทสนมกันบ้าง พอจะพึ่งพิงกันได้บ้าง ก็นำรูปพระที่ท่านทั้งหลายถามมาไปสอบถามและให้เขาช่วยดูให้อีกที พระบางองค์ผมต้องไปถามถึง 3-4 ท่านจึงนำมาสรุปตอบ จนบางท่านที่ผมไปถามเขาบ่อยๆ ก็ชักจะเริ่มรำคาญผมบ้างแล้วก็มีครับ มาเริ่มตอบคำถามกันเลยดีกว่าครับ

    ที่ว่าผมทำไมถึงได้ใช้หลักในการดูขอบแม่พิมพ์นั้น ความจริงแล้วก็อย่างที่ผมเคยเขียนไว้ว่า การยึดหลักตัวแม่พิมพ์นั้นเป็นสิ่งสำคัญ หมายถึงของที่เกิดจากแม่พิมพ์อันเดียวกันย่อมจะมีอะไรเหมือนๆ กัน เช่น ธนบัตรหรือเหรียญกษาปณ์ เป็นต้น รายละเอียดต่างๆ นั้นต้องเหมือนกันและมีตำแหน่งเดียวกันจริงไหมครับ ส่วนเรื่องขอบแม่พิมพ์ของพระสมเด็จ วัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่นั้น ก็เป็นตำหนิแม่พิมพ์อันหนึ่ง ในจำนวนหลายๆ จุดทั่วทั้งองค์พระ ตามบันทึกการสร้างพระสมเด็จ วัดระฆังฯ นั้น เจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านไม่ได้สร้างจำนวน 84,000 องค์ ครับ ท่านสร้างของท่านไปเรื่อยๆ ไม่ได้กำหนดว่าจะนำไปบรรจุหรือให้ได้จำนวนเท่าใด จากการบันทึกจากปากคำของท่านเจ้าคุณ พระธรรมถาวร ช่วง จันทโชติ วัดระฆังโฆสิตาราม ซึ่งเมื่อตอนท่านอายุ 13 ปี ในปีพ.ศ.2399 ก็บรรพชาเป็นสามเณรศึกษาอยู่กับเจ้าประคุณสมเด็จฯ ในสมัยที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ครองสมณศักดิ์ที่ พระเทพกวี และอุปสมบทในปีพ.ศ.2407 โดยเจ้าประคุณสมเด็จฯ เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากที่ท่านเจ้าคุณธรรมถาวรอุปสมบทได้สามเดือน เจ้าประคุณสมเด็จฯ ก็ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์แต่งตั้งให้เป็นที่ สมเด็จพระพุฒาจารย์ และต่อมาในปีพ.ศ.2410 ท่านเจ้าคุณธรรมถาวรก็ได้แต่งตั้งเป็น พระธรรมรักขิต ฐานานุกรมในเจ้าประคุณสมเด็จฯ

    ที่ผมต้องกล่าวมาเสียยาวนั้นก็เพื่อยืนยันว่าท่านเจ้าคุณธรรมถาวรนั้นท่านเป็นผู้ใกล้ชิด เจ้าประคุณสมเด็จฯ ในบันทึกกล่าวไว้ว่าเจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านสร้างพระสมเด็จ วัดระฆังฯ ไปเรื่อยๆ ไม่ได้กำหนดจำนวน สร้างไปแจกไป จึงไม่ใช่ว่าสร้างจำนวน 84,000 องค์ครับ

    และตัวแม่พิมพ์ของพระสมเด็จ วัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่นั้น เท่าที่มีการค้นคว้าศึกษากันสืบต่อมานั้น แม่พิมพ์ของพระพิมพ์ใหญ่ที่เป็นที่ยอมรับกันในสังคมมีอยู่ 4 แม่พิมพ์ครับ แต่ทุกแม่พิมพ์ของพระพิมพ์ใหญ่ จะมีเส้นขอบแม่พิมพ์ในลักษณะเช่นเดียวกันทุกแม่พิมพ์ครับ ช่างผู้แกะก็เป็นคนเดียวกันคือ หลวงวิจารณ์เจียรนัย ช่างทองหลวงในราชสำนักรัชกาลที่ 4 (การบันทึกจากปากคำของท่านเจ้าคุณธรรมถาวร)

    และที่ผมนำมาบอกเล่าให้ฟังเรื่องขอบตำหนิแม่พิมพ์นั้น ผมก็ได้ศึกษามาจากท่านผู้อาวุโสหลายๆ ท่านในสังคมนี้ และท่านเหล่านั้นก็เป็นผู้ชำนาญการในด้านนี้ และสังคมยอมรับ ท่านเหล่านั้นก็กรุณาผมมาก ท่านได้นำพระสมเด็จแท้ๆ มาให้ผมได้ศึกษา พร้อมทั้งได้เห็นจากองค์จริงๆ ขององค์ที่ดังๆ มูลค่าราคาเลขแปดหลัก หลายๆ องค์จากหลายๆ ท่านครับ ได้เห็นทั้งสี่แม่พิมพ์ และท่านผู้หลักผู้ใหญ่เหล่านั้น ท่านก็ได้กรุณาสอนชี้แนะให้ผมได้ดูและพิสูจน์หลักเกณฑ์ต่างๆ จากองค์พระจริง ผมไม่ได้นำหลักจากพระองค์เดียวมาเป็นข้อยุติแน่ครับ เพราะหลักเกณฑ์ของการดูตำหนินั้นเขาได้มาจากการเปรียบเทียบพระจำนวนมากๆ ครับ และจากองค์พระจริงๆ ไม่ใช่รูปถ่ายเพียงอย่างเดียวครับ

    พระองค์ที่ว่าดังๆ เช่น พระองค์ลุงพุฒ พระองค์ขุนศรี พระองค์กวนอู และอีกหลายๆ องค์เอ่ยชื่อไม่หมดครับ ที่เป็นพระแท้และเห็นรูปอยู่ในสังคมนี้ผมเห็นองค์จริงได้สัมผัสและส่องดูมาแล้วเกือบทุกองค์ครับ และเห็นว่าเป็นเช่นนี้จริง จึงได้นำมาบอกเล่าให้ฟังกันเท่านั้นครับ ส่วนใครจะเชื่อหรือไม่นั้นก็แล้วแต่จะใช้วิจารณญาณกันเองครับ ส่วนรูปถ่ายที่เป็นพระสมเด็จแท้ๆ ที่สังคมยอมรับ และมีมูลค่าราคารองรับนั้นทั้งของวัดระฆังฯ วัดบางขุนพรหม ผมก็เกือบครบทุกแม่พิมพ์ครับ และมีแม่พิมพ์ละหลายๆ รูปครับ เพื่อนำมาเปรียบเทียบ แต่ก็ต้องเก็บรักษาไว้ คิดว่าในชีวิตนี้ถ้ามีโอกาสก็จะนำมาทำหนังสือดีๆ เพื่อให้มีคุณค่าแก่การศึกษาเรื่องพระสมเด็จซักเล่มหนึ่งครับ

    ในเรื่องของการทำปลอมนั้น ในสมัยก่อนๆ นั้น เขาทำปลอมยังไม่ได้เหมือนครับ แต่มาถึงปัจจุบัน พระปลอมเหล่านั้นก็เริ่มมีธรรมชาติความเก่าแล้วครับ ส่วนพระปลอมในปัจจุบันนี้เขาทำตำหนิได้เกือบเหมือนแล้วครับ เส้นขอบแม่พิมพ์ที่ใกล้เคียงก็ทำกันแล้วครับ แต่ในจุดเส้นขอบแม่พิมพ์ที่ผมได้เคยกล่าวมานั้นยังมีปุจฉาอยู่อีกครับ คือยังมีความลับอยู่ตรงนั้นอีก ดังนั้น การทำปลอมตรงจุดนี้ก็ยังทำได้ไม่เหมือนครับ และอีกทุกๆ จุดตลอดทั้งองค์พระ ก็ยังมีความลับอยู่อีกมากครับเวลาตัดสินกันจริงๆ ก็ต้องดูทุกๆ จุดครับ ไม่ใช่ว่าดูเฉพาะจุดเส้นขอบแม่พิมพ์เท่านั้นครับ ที่ผมยกตัวอย่างเส้นขอบแม่พิมพ์ก็เป็นเพียงการยกตัวอย่างเพียงจุดเดียวเท่านั้นเองครับ

    ถ้าถามว่าเส้นขอบแม่พิมพ์เส้นนี้ อาจจะเลือนหายไปได้หรือไม่ ก็ตอบได้ทันทีว่า เลือนหายไปได้ครับ แต่ก็ต้องมีสาเหตุให้วิเคราะห์ได้ เช่น การสึกหรอ การสึกหรอตรงจุดนี้จะเกิดขึ้นได้ก็คืออาจจะมีการเลี่ยมจับขอบทองแบบโบราณ คือเลี่ยมจับตัวเนื้อพระเลย ก็อาจจะทำให้เส้นขอบแม่พิมพ์ลบเลือนไปได้ครับ แล้วเส้นนี้หายไปจะดูอะไรต่อ ก็อย่างที่ผมบอกว่ามีอีกหลายๆ จุดที่ต้องดูไงครับ ก็ดูในจุดอื่นๆ ที่ยังเหลือให้ดูอยู่ แต่ถ้าไม่มีเหลือเลยนั้น ผมว่ายากครับ เพราะจุดที่เขานำมาวิเคราะห์นั้นเป็นจุดที่ส่วนใหญ่อยู่ในที่ลึกๆ ถ้าสึกออกหมด ก็จะไม่เห็นรูปพระหลงเหลืออยู่เลยครับ

    จุดตำหนิเกือบทุกๆ จุดที่คนทำพระปลอมเขารู้เขาก็พยายามทำให้ใกล้เคียงมากที่สุดครับ แต่ก็เพียงใกล้เคียงนะครับ สามารถพิสูจน์รู้ได้ครับ ไม่เหมือนเสียร้อยเปอร์เซ็นต์ครับ ยังมีสิ่งที่มนุษย์ทำเลียนแบบไม่ได้เยอะครับ ส่วนเรื่องที่ว่าพระสมเด็จ พิมพ์ใหญ่ วัดระฆังฯ ที่มีเส้นขอบแม่พิมพ์เลย มาจนถึงฐานพระนั้น โดยส่วนตัวที่ได้ศึกษามานั้น ผมเองยังไม่เคยเห็นที่เป็นพระแท้เลยครับ

    เรื่องพระผงสุพรรณตามที่ท่านเขียนมานั้นผมเองยังไม่ขอวิจารณ์ครับเนื่องจากหน้ากระดาษคงไม่พอเขียนครับ

    ส่วนเรื่องสามัญสำนึกนั้น ผมเองก็อย่างที่บอกครับ โดนพระปลอมมามากครับ พอมีความรู้ที่บอกต่อกันได้บ้าง ก็เขียนบอกกันครับ จะได้ไม่โดนพระปลอมอย่างที่ผมโดนครับ มันทั้งหมดหวัง ทั้งเจ็บ ทั้งสูญเสียเงินทองครับ

    ในเรื่องหลักเกณฑ์ของการดูเนื้อพระนั้น มีแน่นอนครับ แต่จะบรรยายออกมาเป็นตัวหนังสือนั้นยากมากครับ แค่ตัวรายละเอียดแม่พิมพ์ ซึ่งอธิบายได้ง่ายกว่านี้ก็ยังเขียนออกมาให้เข้าใจได้ยากเลยครับ เรื่องเนื้อของพระนั้นต้องศึกษาจากองค์พระจริงๆ หลายๆ สภาพและหลายๆ องค์ครับ เขาจึงบอกว่าถ้าจะให้เป็นพระอย่างใดอย่างหนึ่งนั้นเราจะต้องเห็นพระจริงๆ มามากๆ หลากหลายสภาพครับ และต้องเห็นบ่อยๆ จนคุ้นตาครับ ถ้าศึกษาจากรูปถ่ายเพียงอย่างเดียวนั้นก็ยังไม่นับว่าดูพระเป็นครับ ต้องจบที่การได้ดูได้ส่องพระแท้ๆ จนชินตาครับ

    ผมเองนับว่าโชคดีคนหนึ่งที่ท่านผู้หลักผู้ใหญ่ท่านเมตตาให้การชี้แนะ และให้ได้เห็นพระแท้ๆ จากองค์จริงครับ จึงพอมีความรู้อยู่บ้างที่พอจะมาบอกต่อกันเพื่อไม่ให้คนอื่นๆ ถูกเขาหลอกอย่างที่ผมเคยโดนมาในอดีตครับ ความคิดเห็นย่อมเห็นแย้งกันได้ครับ และขอขอบคุณครับที่กรุณาท้วงติงมาครับ การศึกษาอะไรซักอย่างหนึ่งนั้น ต้องมีผู้เห็นแย้งกันบ้าง เพื่อจะได้หันกลับมาทบทวน และเป็นที่มาของข้อสรุปที่จะค้นคว้าหาความเป็นจริง

    เขียนโดย chatree50 ที่ <A class=timestamp-link title="permanent link" href="http://chatreeblog.blogspot.com/2009/11/blog-post_8038.html" rel=bookmark><ABBR class=published title=2009-11-22T07:55:00-08:00>7:55</ABBR> [​IMG]
     
  2. nanodent

    nanodent เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,730
    ค่าพลัง:
    +943
    <TABLE borderColor=#e3ae00 width=804 align=center bgColor=#f7b700 border=1><TBODY><TR><TD vAlign=center background=../trorakhong/images/bar.gif bgColor=#77380c height=26><TABLE width=433 border=0><TBODY><TR><TD>ภูมิคุ้มกันพระเก๊ < งานประกวดพระเครื่อง กับ กรรมการตัดสิน </TD></TR></TBODY></TABLE>

    </TD></TR><TR><TD width=568><TABLE borderColor=#e3ae00 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=796 align=center border=0><TBODY><TR><TD class=text6 bgColor=#ffffcc height=29>ในอดีตการประกวดพระเครื่องส่วนใหญ่จะจัดกันถี่จนเกือบจะทุกอาทิตย์เลยก็ว่าได้ แต่ปัจจุบันนี้ทุกฝ่ายต่างก็ร่วมแรงร่วมใจ ที่จะปรับปรุงงานประกวดให้มีมาตรฐานกันมากยิ่งขึ้น จนทำให้ขณะนี้ได้มีผู้คนที่สนใจในพระเครื่องทอยกันเข้ามาร่วมงานประกวดพระกันหนาตาขึ้นทุกปี

    ในการประกวดพระเครื่อง ก็เหมือนเป็นการแข่งขันหรือประชันพระเครื่องซึ่งกันและกันว่าของใครจะสวยงามกว่ากัน โดยมีกรรมการเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด และเลือกจากการตัดสินของกรรมการเป็นที่ยุติ

    แต่ผลจาการตัดสินของขณะกรรมการ อาจจะไม่เป็นที่พอใจของคนบางกลุ่ม ซึ่งฏ้เป็นธรรมดาจนชินกันเสียแล้วกับเรื่องที่ว่าจะให้เป็นเรื่องของความพอใจของทุกฝ่ายนั้นย่อมเป็นไปไม่ได้เพราะเมื่อผลการตัดสินออกมาก็จะมีทั้งผู้สมหวังและไม่สมหวัง

    ผู้ที่สมหวังก็จะเกิดความพอใจ แต่ความไม่พอใจจะเกิดกับผู้ที่ไม่สมหวัง เมื่อเป็นเช่นนี้จึงเป็นเรื่องของจิตใจของผู้ที่ส่งพระเข้าประกวดว่ามีน้ำใจเป็นนักกีฬาหรือป่าว คือยอมรับว่าพระเครื่องของเราสู้เขาไม่ได้เพราะของเขาสวยกว่า
    อย่าทำตัวเป็นอันธพาลที่แพ้แล้วชวนตี ซึ่งมีให้เห็นกันบ่อย ๆ จากกีฬาต่าง ๆ ในขณะนี้โดยเฉพาะกีฬาฟุตบอลที่มีอยู่เสมอ ๆ หากว่าทีของตนแพ้หรือหมดโอกาสที่จะเอาชนะได้แล้ว ก็มักจะมีการเล่นนอกเกมอย่างรุนแรง ทำเอาสนามบอลเป็นเวทีมวยไปได้ถ้าอยากจะตีจะต่อยกันจริง ๆ ก็จับคู่ขึ้นเวทีมวยได้ แต่ไม่เคยจะมีใครกล้าที่จะต่อยกันจริง ๆ

    แต่กีฬาบางชนิดความผิดพลาดก็อาจเกิดจากตัวกรรมการเองก็ได้ ซึ่งการพลาดพลั้งเหล่านั้นเกิดได้เสมอทุกวงการ แต่ก็ควรให้มี
    การพลาดน้อยครั้งที่สุดในการประกวดพระเครื่องก็มีความผิดพลาดเกิดขึ้นจากคณะกรรมการเองหลายครั้ง จนเกิดการประท้วงให้วุ่นวายกันไปเสียหมด ซึ่งปัญหาที่เกิดจากคณะกรรมการเองนั้น ก็จะพอเกิดได้จากกรณีดังต่อไปนี้

    1. กรรมการไม่มีประสบการณ์
    ในการประกวดพระเครื่องนอกจากจะเป็นการข่างขันหรือประชันกันว่า พระเครื่องของใครจะสวยกว่ากันแล้วยังถือว่าการประกวดพระเครื่องเป็นตราทะเบียนรับรองความแท้ของพระเครื่องที่กรรมการรับเข้าไป

    เดี๋ยวนี้ถือกันเป็นธรรมเนียมไปแล้วกับพระเครื่องที่คาบลูกคาบดอกว่าเก๊หรือแท้ และยังตัดสินชี้ขาดไม่ได้ เพื่อเป็นการพิสูจน์เขาก็จะลองเอาพระเครื่องส่งเข้าประกวดดู ถ้ากรรมการรับเข้าไปก็ถือว่าแท้ แต่หากกรรมการดูแล้วส่งคือถือว่าเก๊
    ยิ่งบางคนที่ดูพระไม่เป็นแต่มีพระเครื่องกับเขาเหมือนกัน

    ครั้งเอาพระเครื่องไปถามขอความรู้จากพวกนักเล่นหรือเซียนก็มักจะไม่ค่อยได้รับผลเป็นที่น่าพอใจหรือไม่ได้รับความจริงใจ เขาเหล่านั้นจึงนิยมเอาพระเครื่องส่งเข้าประกวด เสียเงินค่าสมัคจำนวนเล็กน้อยแต่ก็ได้รบความจริงตอบแทน
    แต่ปัญหาอาจจะเกิดขึ้นได้หากกรรมการผู้ที่มีหน้าที่รับพระเครื่องมีประสบการณ์ไม่พอ โดยรับกระเก๊ติดเข้าไปหรือคัดพระแท้ที่มีผู้ส่งเข้าประกวดออกโดยคิดว่าเก๊ความจริงการจัดงานประกวดถือเป็นการจัดเพื่อหารายได้ไปทำการกุศลเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม และถือเป็นเกียรติสำหรับคณะกรรมการผู้ดำเนินงาน เพราะในงานก็มีการเชิญบุคคลผู้มีเกียรติมาเป็นปราน และแขกรับเชิญเป็นจำนวนมาก หากปล่อยให้เกิดปัญหาเหล่านี้ขึ้น ก็ย่อมเป็นการเสื่อมเสียชื่อเสียงของคณะกรรมการได้เหมือนกัน

    ดังนั้น ในการคัดเลือกกรรมาการไม่ว่าจะเป็นกรรมการรับพระ กรรมการให้คะแนน กรรมการตัดสิน หรือกรรมการชี้ขาด ทางคณะผู้ดำเนินงานควรคัดเอาเฉพาะผู้ที่มีประสบการณ์กันจริงๆ มิฉะนั้นอาจจะเกิดปัญหาดังที่ว่าได้กรรมการที่มีหน้าที่รับพระหรือตัดสินพระประเภทใดต้องมีความชำนาญพระเครื่องประเภทนั้นเป็นการเฉพาะเดี๋ยวนี้งานประกวดบางแห่งเห็นแล้วก็ไม่รู้ว่าทางผู้ดำเนินงานได้กลั่นกรองคุณภาพของกรรมการกันบ้างหรือเปล่าก็ไม่รู้ เพราะเห็นแต่ละคนเพิ่งจะเล่นพระไม่เท่าไหรา ความรู้ก็แค่งูๆ ปลาๆ แต่ดันติดโบว์เป็นกรรมการกับเขาด้วย บางคนก็หน้ายังอ่อนแคพ่อให้มานั่งแผงพระก็ดันถูกให้เป็นกรรมการ ซ้ำบางคนติดโบว์หราแต่ไม่เห็นมีหน้าที่อะไรมัวแต่เดินยืดอกที่ติดโบว์หราอวดคนอื่น แล้วให้นักข่าวถ่ายรูปเพื่ออยากดังต่อไปหากคณะผู้ดำเนินงานไม่พิถีพิถัน เรื่องคุณภาพของกรรมการกันแล้ว เด็กเดินขานน้ำแข็งหรือขายหนังสือพิมพ์ในสามพระก็คงถูกเชิญให้เป็นกรรมการกันเขาด้วยเป็นแน่

    2. กรรรมการส่งพระเครื่องเข้าประกวดเสียเอง
    ถึงแม้ว่ากรรมการจะเป็นมักนิยมสะสมพระเครื่องมีพระเครื่องของตังเองไว้และอยากจะสั่งเข้าประกวดแข่งขันประชันกับเขาบ้าง เผื่อพระเครื่องของตัวเองได้ติดรางวัลอันจะทำให้พระเครื่องของตนมีค่าสูงขึ้นมาถ้าพูดถึงตามกฎกติกาของการส่งพระเคราองเข้าประกวดใครๆ ก็ย่อมกระทำได้ แต่ว่าไม่เป็นการสมควร
    เพราะท่านเป็นกรรมการรับพระ กรรมการให้คะแนนพระ กรรมการตัดสินพระ แล้วปรากฏว่าพระของกรรมการติดรางวัลเสียเอง แบบนี้ท่านไม่มีทางที่จะรอดจากการซุบซิบนินทาหรือวิจารณ์ไปได้ แม้ว่าพระเครื่องของการรมการจะสวยก็จริง แต่ก็ไม่มีสิทธิ์ถูกละเว้นให้คนอื่นเขามอบหรือสงสัยแม้ว่าบ่างทีพระเครื่องของกรรมการนั้น ตัวกรรมการผู้เป็นเจ้าของพระจะไม่ได้เป็นผู้ตัดสินเอง คือกรรมการท่านนั้นเป็นกรรมการตัดสินพระเครื่องเนื้อผงแต่เอาพระเครื่องเนื้อดินส่งเข้าประกวด เป็นการส่งและตัดสินกันคนละโต๊ะโดยกรรมการท่านอื่นเป็นผู้ตัดสิน ตัวกรรมการเจ้าองพระไม่ได้เป็นผู้ตัดสิน แต่หากพระติดรางวัลมันก็หลีกไม่ได้กันอยู่ดี เพราะอย่างน้อยก็ต้องมีการค่อนขอดมาอีกว่า กรรมการตัดสอนพระช่วยเหลือของพรรคพวกกันเอง ยิ่งตอนแรกกรรมการท่านนั้นนั่งตัดสินพระเครื่องอยู่ดีๆ แต่พอประกาศรายชื่อผู้ได้รางวัลปรากฏว่ากลับเป็นกรรมการติดโบว์หราขึ้นไปรับรางวัลเสียเอง แล้วแบบนี้จะไม่ให้ตนอื่นเขาสงสัยได้อย่างไร
    ถึงกรรมการเจ้าของพระจะเป็นคนที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นคนซื่อสัตย์และยุติธรรมก็จริง แต่ก็ไม่สมควรที่จะส่งพระเข้าประกวดเสียเอง เพราะอาจจะทำให้มัวหมองได้ ผลได้จะไม่คุ้มเสีย ถ้าอยากจะส่งพระเข้าประกวดก็น่าที่จะหลีกเลี่ยง โดยการให้คนอื่นนำเอาพระของตนไปส่งแล้วส่งในรายชื่อของคนอื่น แต่หากมีคนจำได้อีกว่าเป็นพระของกรรมการมันก็หนีไม่พ้นจนได้อีกนั่นแหละ

    3. กรรมเล่นพรรคเล่นพวก
    ปัญหาข้อนี้มีมากที่สุด และทำให้การประกวดพระเครื่องมัวหมองจนตาบเท่าทุกวันนี้ หลายคนที่ต้องกราบลาหรือเข็ดขยาดกับการประกวดพระเครื่อง เพราะการเล่นพวกของคณะกรรมการเพราะเป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่า พระเคราองที่ติดรางวัลชนะเลิศจากงานประกวดได้ครองแชมป์ ย่อมเป็นพระเครื่องที่เป็นที่หมายปองของบรรดานักล่ารางวัลทั้งหลาย ดังนั้น เจ้าของพระทุกคนที่ส่งพระเครื่องของตนเข้าประกวดนั้นต่างก็ปรารถนาที่จะให้พระเครื่องของตนติดรางวัลเมื่อเป็นเช่นนั้นจึงได้มีความพยายามที่จะให้พระเครื่องของตนติดรางวัลทุกวิถีทาง และกลไกลสำคัญที่จะตัดสินหรือทำให้พระเครื่องของตนติดรางวัลหรือไม่นั้นก็คือกรรมการเมื่อกลไกที่จะเป็นหนทางทำให้พระเครื่องติดรางวัลคือกรรมการ มันก็หลีกเลี่ยงไม่ได้กับการพูดกระซิบแถมสะกิดบรรดากรรมการ บางรายน่าเกลียดถึงกับแอบยัดเงินกรรมการ

    พระเครื่องบางองค์อาจจะไม่สวยถึงขนาดได้รับรางวัลชนะเลิศ แต่เมื่อเป็นพระของพรรคพวกเพื่อนฝูงของกรรมการ หรืออาจจะเป็นพระที่กรรมการขายให้กับคนอื่นไปก็มีสิทธิชนะเลิศ กรณีนี้แท้แต่บางทีเป็นพระเก๊ที่กรรมการขายไปก็อาจจะติดที่หนึ่งได้ เพราะหากขืนไม่ติดรางวัลหรือไม่รับเข้าประกวดดูซิ รับรองว่ากรรมการท่านนั้นเดือดร้อนเป็นแน่ บางงานจะมีกรรมการเที่ยวเดินสะเกิดพรรคพวกกรรมการด้วยกันให้ช่วยลุ้นพระเครื่องที่ตนขายให้เขาไปซึ่งเราจะได้ยินกันประจำ

    4. เห็นแก่ได้
    เมื่อก่อนเชื่อถือกันได้เป็นที่แน่นอนว่า พระเครื่ององค์ใดก็ตามที่กรรมการรับเอาเข้าไปตัดสินแล้วจะต้องเป็นพระแท้แน่นอน แต่จะติดรางวัลหรือไม่นั้นไปอีกเรื่องหนึ่ง แต่ตอนนี้เชื่อถือไม่ได้แล้วเพราะบางงานมีจุดประสงค์เพื่อจะทำเงินให้ได้มากที่สุด จนลืมนึกถึงหลักการเดิมที่ว่าจะต้องเป็นพระแท้เท่านั้นจึงจะรับเข้าตู้ แต่ตอนนี้ใครส่งพระอะไรบางงานจะรับหมด เพื่อจะได้ขายกล่องได้เยอะๆ แถมบางงานเล่นแบบ พิเรน ๆ จัดประกวดแต่พระเก๊เลยดูมั่วกันไปหมด จากการที่พระเก๊หลงติดเข้าไปในตู้หรือหลงติดได้รับรางวัลนี้ เป็นสาเหตุที่ทำให้การประกวดพระเครื่องไม่ค่อยได้รับการเชื่อถือเท่าแต่ก่อน

    5. กรรมเกิน
    อาจจะเป็นผู้ที่ไม่มีหน้าที่อะไรแต่ชอบเข้าไปจุ้นจ้านการทำงานของผู้อื่นซึ่งเป็นผลทำให้เกิดปัญหาความยุ่งยากหลายอย่าง เพราะคนอื่นเขากำลังทำงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย แต่ตนเองไม่มีหน้าที่แต่ชอบไปยุ่งเกี่ยวมากเกินไป จนทำให้เป็นอุปสรรคต่อการทำงานของคนอื่นหรือบางคนอาจจะเป็นกรรมการก็ได้ แต่ไม่ชอบทำตามหน้าที่ที่ตนเองได้รับมอบหมาย หรือหน้าที่ซึ่งตัวเองต้องกระทำ แต่ชอบไปทำในหน้าที่ของคนอื่นยังงี้พลอยทำให้งานเสียไปได้

    เพื่อให้การประกวดพระเครื่องเป็นที่ยอมรับนับถือของคนทั่วไท ทุกคนจึงควรปรับปรุงแก้ไขสิ่งต่างๆให้ดีขึ้น อะไรที่เป็นตัวสร้างปัญหาก็ให้ตัดทิ้งไปเสียสงสารคนที่อุตส่าห์เสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวมโดยไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยาก แต่อาจจะต้องมาพลอยมัวหมองเพราะคนเพียงไม่กี่คน


    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 เมษายน 2010
  3. nanodent

    nanodent เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,730
    ค่าพลัง:
    +943
    <TABLE borderColor=#e3ae00 width=804 align=center bgColor=#f7b700 border=1><TBODY><TR><TD vAlign=center background=../trorakhong/images/bar.gif bgColor=#77380c height=26>
    <TABLE width=282 border=0><TBODY><TR><TD>ภูมิคุ้มกันพระเก๊ < ระวังจะถูก "เบิกเนตร" </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR><TR><TD width=568><TABLE borderColor=#e3ae00 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=796 align=center border=0><TBODY><TR><TD class=text6 bgColor=#ffffcc height=29> ผู้เขียนอยากจะพูดถึงอดีตที่ผ่านมาระหว่าง พ.ศ. 2495 – 2497 ยุคนั้น “สนามพระ” ที่ผู้คนส่วนมากรู้จักคงจะเป็นวัดมหาธาตุ เซียนรุ่นเก่าแทบจะรู้ว่ามีกี่คนไม่เยอะเหมือนสมัยนี้ และเซียนแต่ละท่านสายตาเฉียบคมเหมือเหยี่ยว เรียกว่าเห็นพระในมือคนถือ มองปุ๊บรู้เลยว่าเก๊หรือแท้ ไม่ต้องหยิบมาดูเลย นัยน์ตาแต่ละท่านเฉียบจริง ๆ ผู้เขียนยังเรียนหนังสือแต่ก็ชอบเรื่องพระก็พอมีเวลาว่าง ๆ ไม่รู้จะไปไหนก็ชอบไปเดินหน้าศาลอาญาและวัดมหาธาตุ เดินดูพระไปเรื่อยเปื่อยตามภาษาคนอยากรู้อยากเห็น รู้บ้างไม่รู้บ้างใครดูอะไรก็ดูบ้างแล้วฟังเขาคุย พอรู้งู ๆ ปลา ๆ พิมพ์นี้เรียกพระอะไรก็จำไปสมัยก่อนหนังสือพระเครื่องมีน้อยจะหารูปแบบเปรียบเทียบก็แสนจะยาก แค่จะเอาไปกินขนมยังยากแล้วจะเอาปัญญาที่ไหนไปซื้อตำรา ก็อาศัยความอดทนบวกกับความสนใจเรื่องพระไปสัมผัสกับบุคคลเหล่านี้
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=297 align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD>
    พระกำแพงเม็ดขนุน ทุ่งเศรษฐี กำแพงเพชร
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    จนมาถึงสนามวัดราช ผู้เขียนทำงานมีรายได้พอที่จะหาเช่าได้ในสมัยนั้นก็ได้พระใหม่ ๆ เช่น หลวงปู่ภู ราคายังไม่แรง พอจะมาศึกษาความแห้งเก่า พิมพ์ทรงไปโชว์ใครเขาก็เฉยเพราะเขาถือว่าไม่เก่าพอที่จะคุยด้วย คุณลองคิดดูว่าถ้าเป็นคุณจะคิดยังไง ที่ทำได้แค่ทำใจคิดจะหาพระดัง ๆ เก่า ๆ จะไปหาที่ไหน พระหาไม่ยากแต่เงินที่จะเช่าเขานั้นซิคือปัญหาสำคัญ

    ผู้เขียนพยายามตีสนิทกับเซียนใหญ่ ๆ หลายคนเพื่อหาความรู้เพื่อเสริมทักษะตัวเองแล้วก็ไปตามบ้านญาติผู้ใหญ่ ดูพระของเขาคนสมัยก่อนไม่ค่อยหวงพระ ลูกหลานขอจะหยิบให้ทันทีและยังอธิบายว่าองค์นี้เอาไปทำไมเอาองค์นี้สิ พระเก่าปู่แกเก็บไว้นาน เขาบอกว่าเป็นของพระพุทธบาทนิลัน ผู้เขียนงง เพราะผู้เขียนไม่รู้จักเห็นทรงแล้วไม่ชัดเจนดูเลอะ ๆ ผู้เขียนก็ไม่เอาไปเลือกพระพิมพ์สวย ๆ เก่า ๆ ได้มาองค์ดีใจยังไง ๆ ต้องเป็นสมเด็จแน่ ๆ รีบนำไปให้เซียนที่ผู้เขียนคุ้นเคยดูเซียนหัวเราะแล้วบอกว่าเดี๋ยวนี้นายเก่งขึ้นเยอะพระองค์นี้แท้แน่นอน ผู้เขียนถามสมเด็จใช่ไหม? เขามองหน้าทำหน้าพิลึกผู้เขียนตกใจ องค์นี้สนเด็จที่ไหนใครบอกคุณ ผู้เขียน บอกเขาว่าผู้เขียนไม่รู้ไปเอามาจากบ้านน้า คุณรู้ไหมสมเด็จต้องเก่ากว่านี้ นี่แค่วัดสุทัด (ผู้เขียนจะเป็นลม) เซียนใหญ่ต่อคำพูด “เป็นพระเครื่องของพระครูมูล” ท่านทำสมัยอินโดจีน ผู้เขียนไม่รู้จักพระครูมูลทำให้ท้อแท้ทำยังไงถึงจะหาพระดี ๆ มาโชว์เขาได้ จะได้มีกำลังใจ ผู้เขียนกลับมาบ้านนั่งส่องดูพระครูมูลผู้เขียนก็ว่าเนื้อหนาดีทำไมไมไม่ใช่สมเด็จผู้เขียนไม่ละความพยายามไหน ๆ ก็ไหน ๆ คิดจะเล่นพระต้อพยายาม จะให้ใครสอนแค่ไหนไม่ใช่การสอนหนังสือ

    ผู้เขียนทำใจวางเฉยขึ้นบ้านนี้บ้านโน้นไม่ใช่ขึ้นไปขโมยพระนะเดี๋ยวจะเข้าใจผิดเพื่อดูพระของญาติบ้างของเพื่อนบ้าง จนโดนเพื่อนรุ่นเดียวกันกระเซ้าไอ้นี้แก่เกินวัย ตัวแค่นี้เล่นพระ วัยรุ่นเขาต้องหาประสบการณ์ชีวิต รัก ๆ ใคร่ ๆ ผู้เขียนบอกว่าผู้เขียนไม่หล่อเหมือนพวกคุณแล้วอีกอย่างที่สำคัญเงินน้อยศึกษาเรื่องพระนะดีแล้วสบายใจ แต่ยอมรับว่าบางครั้งก็เสียใจที่ทำอะไรไม่ได้ดังใจนั้นคือความคิดของวัยรุ่นใจร้อย ผู้ใหญ่เขาสอนเล่นพระต้องใจเย็นค่อย ๆ ศึกษาไปเรื่อย ๆ รู้เป็นอย่าง ๆ อย่ารู้ไปให้หมดจะปวดหัว

    เพราะพระเครื่องมีหลายชนิด ดิน – ชิน – ผง – ว่าน เหรียญแต่ละอย่างก็แยกไปอีกมากมาย จึงแนะนำให้ศึกษาทีละขั้นตอนอย่าข้ามขั้น จะไม่เก่งอะไรสักอย่างผู้เขียนฟังดูแล้วคิดก็จริงของท่าน นี่คือข้อคิดที่ผู้ใหญ่ผู้รู้แนะนำเพราะเซียนยุคเก่ารู้เฉพาะสิ่งที่ตัวเองชำนาญ เช่นเก่งพระผงถ้าเอาเนื้อดินมาให้ดูท่านไม่ดู ท่านบอกว่าไปให้คนนั้นคนนี้ที่เก่งเนื้อดินดูดีกว่า เพราะท่านไม่ชำนาญเนื้อดินดูไม่ขาดท่านเหล่านี้ยอมรับนับถือท่านจริง ๆ ครับจากประสบการณ์ ที่เล่าสู่กันฟังอาจจะเป็นแนวทางของนักเล่นพระรุ่นน้อง ๆ หรือหลาน ๆ ได้อ่านพอจะเก็บไปเป็นแนวทางเล็ก ๆ น้อย ๆ ในการศึกษาเรื่องพระเครื่องซึ่งแตกต่างหลากหลายรูปแบบเพื่อเป็นจุดยืนของตัวเองในการเล่นพระไม่ต้อพึ่งพาคนอื่นให้เป็นที่รำคาญใจของตัวเอง ดีไม่ดีจะถู “เบิกเนตร” ข้อสำคัญเมื่อเรามีจุดยืน ต้องเชื่อมั่นตัวเอง ไม่ช้าคุณจะประสบผลสำเร็จ เรื่องพระเครื่องแน่นอน

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  4. nanodent

    nanodent เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,730
    ค่าพลัง:
    +943
    <TABLE borderColor=#e3ae00 width=804 align=center bgColor=#f7b700 border=1><TBODY><TR><TD vAlign=center background=../trorakhong/images/bar.gif bgColor=#77380c height=26>
    <TABLE width=433 border=0><TBODY><TR><TD>ภูมิคุ้มกันพระเก๊ < เหรียญที่ทำให้วงการมีปัญหา </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR><TR><TD width=568><TABLE borderColor=#e3ae00 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=796 align=center border=0><TBODY><TR><TD class=text6 bgColor=#ffffcc height=29> สำหรับผู้ที่นิยมเล่นเหรียญเรือสะสมเหรียญ มักจะให้เหตุผลของการสะสมเหรียญว่า เหรียญจัดเป็นพระเครื่องที่เล่นง่ายกว่าพระเครื่องประเภทอื่น เพราะเหรียญนั้นจดจำตำหนิในการพิจารณาได้ง่ายกว่าและเก็บรักษาได้ดีกว่าพระเครื่องเนื้อดินและเนื้อผง

    ในสมัยก่อนการเล่นเหรียญไม่ค่อยจะมีปัญหาเหมือนสมัยนี้ เริ่มจะมีการทำปลอมและเลียนแบบให้ใกล้เคียงกับของจริงมากขึ้น ทำให้วงการมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องเหรียญมากขึ้นทุกขณะ ไม่ว่าจะเช่าหาเหรียญใดเหรียญหนึ่งต้องพิจารณานานหน่อย มิฉะนั้นจะโดนของปลอมได้ เพราะของปลอมมีมากหน้าหลายตาระดับระกาฬจริง ๆ ผมเป็นห่วงนักเล่นมือใหม่กลัวจะตามไม่ทัน จะทำให้เข็ดไม่กล้าที่จะเข้าสู่วงการพระ อย่างไรก็ตามถ้าดูไม่แน่ใจ หรือดูไม่ขาดอย่าเพิ่งไปเช่าเสียดีกว่า จะได้ไม่ต้อเสียความรู้สึกในภายหลัง

    เหรียญที่ทำปลอมเห็นโดยทั่วไปอยู่ในขณะนี้มีอยู่ด้วยกันสองย่าง

    1. เหรียญปลอมโดยการปั๊ม
    2. เหรียญปลอมโดยการหล่อ


    เหรียญปลอมโดยการปั๊ม เขาจะสร้างขึ้นมาให้ใกล้เคียงกับของจริงหรือเหมือนกับของจริง เป็นไปไม่ได้ เพราะการแกะแม่พิมพ์คนละครั้งจะให้เหมือนกันย่อมมีความแตกต่างกันเห็นได้ชัด ความละเอียดของเหรียญ ความแตกต่างของเหรียญ มองเห็นได้ชัดอย่างเช่น ผิวเรียบ ใบหน้า ตัวหนังสือของเหรียญ แม่แต่เหรียญคอมพิวเตอร์ทำได้แต่เพียงใกล้เคียง แต่ไม่เหมือนของจริง

    เหรียญปลอมโดยการหล่อ เป็นการนำเหรียญแท้มาถอดพิมพ์ขึ้นใหม่ เพื่อจะถอดให้ใกล้เคียงกับของแท้ จะทำโดยวิธีการเทหรือเหวี่ยงเนื้อโลหะให้เข้าแม่พิมพ์ จุดตำหนิต่าง ๆ จะเหมือนของแท้ทั้งหมด แต่มีข้อสังเกตอยู่ว่าขนาดของเหรียญจะหดตัวเล็กกว่านิดหน่อยตำหนิจะตื้นหรือเบลอจนดูไม่คมชัดเหมือนของแท้
    นักเล่นเหรียญหรือสะสมเหรียญควรจะระมัดระวังเหรียญเหล่านี้ให้จงหนักทำให้วงการปวดหัวเวียนเกล้ามาแล้ว

    อย่าได้ประมาทไปโอกาสเจอะเจอเหรียญมีทั่วไปท่านผู้อ่านเริ่มจะสงสัยแล้ว ว่าไหนบอกว่าเหรียญเล่นง่าย ยิ่งอ่านยิ่งไม่ยากจะเล่นเหรียญเสียแล้ว รู้สึกว่าน่ากลัวกว่าพระเครื่องอย่าอื่นเสียอีก ขอให้ท่านผู้อ่านหรือนักเล่นเหรียญอย่างเพิ่งไปตกใจ ศึกษาประวัติที่มาที่ไปของเหรียญให้ดี ใครเป็นผู้สร้าง สร้างปีไหน มีกี่รุ่น กี่พิมพ์ มีเสริมหรือเปล่า จำแค่นี้โอกาสพลาดมีน้อย ผมรับรองได้ เข้าเรื่องกันเลยดีกว่าผมจะเขียนเป็นข้อ ๆ ให้ท่านผู้อ่านเข้าใจดียิ่งขึ้น
    1. เหรียญปลอม

    1.1. เหรียญปลอมเลียนแบบของจริง เป็นเหรียญที่ทำขึ้นมาใหม่เป็นจำนวนมากจนลายตา เห็นกันทั่วไปมากกว่าของจริงเสียอีก แต่ไม่เหมือนของจริง ห่างจากของจริงมาก นักเล่นเหรียญไม่ค่อยกลัวกันเท่าไหร่

    1.2. เหรียญปลอมเหมือนของจริง เป็นเหรียญที่ผู้ทำมีเจตนาให้เหมือนของจริงโดยใช้ทางวิทยาศาสตร์เข้าช่วย จนทำให้นักเล่นเหรียญดูไม่ออกว่าเป็นเหรียญแท้หรือเหรียญปลอมกันแน่ เหรียญแบบนี้ที่ทำให้วงการมีปัญหาอยู่ในขณะนี้
    2. เหรียญ พ.ศ. เก่า แต่เป็นเหรียญตาย
    เป็นเหรียญที่จัดสร้างขึ้นภายหลังจากที่พระคณาจารย์ในเหรียญมรณภาพลงแล้ว ศิษย์หรือคณะกรรมการจัดสร้างเป็นที่ระลึกในงานศพหรือหลังจากงานศพไปแล้ว บางเหรียญก็ไม่ได้บอกที่ระลึกในงานศพ หรืออาจจะไม่บอกรายละเอียดไว้ในเหรียญก็ได้ เหรียญประเภทนี้เป็นเหรียญที่ไม่ค่อยยอมรับเท่าที่ควร นักเล่นบางคนก็ไม่รู้ว่าเป็นเหรียญตายเห็นแต่ พ.ศ. เก่าจึงเช่าราคาแพงไปเมื่อมารู้ภายหลังว่าเป็นเหรียญตายที่วงการเขาไม่เล่นกัน ลมแทบใส่ทันที นี่ละครับเป็นเหรียญที่มีปัญหาอีกเหรียญหนึ่งเช่นกัน

    3. เหรียญย้อน พ.ศ.
    เป็นเหรียญที่ทำใหม่แต่ลง พ.ศ. ให้เก่าเพื่อเหรียญจะได้มีราคามากขึ้นเหมือเหรียญ พ.ศ. เก่าทั่ว ๆ ไปเจตนาของผู้ทำหรือเปล่ามิอาจทราบได้ จริง ๆ แล้วการทำเหรียญแบบนี้ทำให้นักเล่นมือใหม่สับสนในเรื่อง พ.ศ. ได้จะดูไม่ออกเลยว่าเป็นเหรียญใหม่ แต่ถ้าเป็นนักเล่นเหรียญโดยตรงก็จะดูออกว่าเป็นเหรียญใหม่หรือเหรียญเก่าเพราะเนื้อโลหะบ่งบอกความเก่าในตัวเหรียญ
    สรุปว่าเหรียญย้อน พ.ศ. ไม่เก่าจริงเก่าแต่ พ.ศ. บางคนอาจจะดูเป็นของปลอมไปเลย การจะสร้างเหรียญควรจะลง พ.ศ. ในปีที่ทำออกมาจึงจะถูกต้องกว่า จะได้ไม่สับสนในเรื่อง พ.ศ. ในภายหลัง

    4. เหรียญที่มีแม่พิมพ์ตั้งแต่ 2 พิมพ์ขึ้นไป
    เป็นเหรียญที่ทำขึ้นพร้อมกัน ออกรุ่นเดียวกัน แต่มี 2 พิมพ์ (2 บล็อก) ถ้านักเล่นไม่ทราบประวัติในการทำและข้อมูลอย่างชัดเจนอาจเกิดปัญหากับนักเล่นเหรียญได้ ยกตัวอย่างเช่น เหรียญพิมพ์นี้เราเคยเห็นเคยเช่าหรืออ่านเจอในหนังสือพระเครื่อง เราอาจตัดสินใจได้ว่าเหรียญพิมพ์นี้เป็นเหรียญแท้ แต่เรามาเจอเหรียญอีกพิมพ์หนึ่งรุ่นเดียวกันไม่เคยเจอหรือพบเห็นที่ไหน เราอาจจะตัดสินใจได้ว่าเป็นเหรียญปลอม จึงทำให้นักเล่นไขว้เขวไปได้เหมือนกัน

    5. เหรียญเสริม
    เป็นเหรียญที่น่ากลัวที่สุดในจำนวนเหรียญทั้งหมด จะน่ากลัวได้อย่างไร แม้แต่เซียนยังกลัวเลย นับประสาอะไรสำหรับนักเล่นเหรียญทั่ว ๆ ไปส่องจนตากลับยังดูไม่ออกเลยว่าเป็นเหรียญแท้หรือเหรียญปลอม จะดูตำหนิก็มี ดูใบหน้าก็เหมือน ดูตัวหนังสือก็ใช่ ขอบก็เรียบถูกต้อง ไม่รู้จะไปหาข้อผิดพลาดที่ไหนดี ใช้แม่พิมพ์เดิมมาปั๊มเหรียญขึ้นมาใหม่จะเป็นเหรียญปลอมไปได้อย่างไรเหรียญที่ปั๊มขึ้นมาใหม่ไม่ได้ผ่านพิธีกรรมเท่านั้น จึงแยกไม่ออกว่าเหรียญไหนผ่านพิธีและเหรียญไหนไม่ผ่านพิธี เรื่องเหรียญปลอมตัดทิ้งไปได้เลย
    เหรียญที่ทำให้วงการมีปัญหายังมีอีกมากกว่านี้ ผมเขียนพอเข้าใจแค่นี้ก่อน ไม่อยากเขียนไปมากกว่านี้ ผมกลัวท่านผู้อ่านจะเบื่อเสียก่อน ผมต้องขอลาไปเสียทีโอกาสหน้าผมจะนำเสนอสิ่งแปลก ๆ ใหม่ ๆ ให้แก่ท่านผู้อ่านในฉบับหน้าอดใจรอนะครับ


    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...