พอใจรูม

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย ppojai, 3 ตุลาคม 2010.

  1. pporjaii

    pporjaii สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    12
    ค่าพลัง:
    +22
    วิธีการปฎิบัติ: แบ่งออกได้เป็น4ขั้น
    (ขออนุญาติใช้ภาษาทางโลกตอนที่เราๆท่านๆเข้าโรงเรียน เรียนหนังสือเพื่อความเข้าใจที่ชัดเจนขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับทางธรรม..) ตามลำดับดังนี้:-

    -------------------------------------------------------------------------
    ขั้นที่ 0: อนุบาล - ทาน (ทานศีลภาวนาพื้นฐานทั่วๆไป)

    วัตถุประสงค์: เพื่อเตรียมความพร้อมพื้นฐานทางจิตและ/หรือข้อปฎิบัติสำหรับพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไปที่ใฝ่ดี

    อานิสงค์: ของการทำบุญทำทานหรือการสร้างทานบารมีนั้นยังผลให้เกิดความไม่อับจนในโภคทรัพย์ และยังผลให้มีกำลังใจ(เมื่อบารมีมากขึ้นๆ) ในการปฎิบัติธรรมขั้นสูงๆต่อไป โดยที่ไม่อับจนข้นแค้นในทางโภคทรัพย์จนเกินไป

    อรรถาบรรยาย: การสร้างทานบารมีคือการทำบุญภายนอก ลดความตระหนี่ถี่เหนียวแห่งใจ มีเมตตาจิตช่วยเหลือเกื้อกูลแก่ผู้อื่นที่ตกทุกข์ได้ยากหรือจะช่วยส่งเสริมพุทธศาสนะกิจให้เจริญรุ่งเรืองสืบต่อไป มีกำลังใจเป็นบาตรฐานในการรักษาศีล มีหิริโอตัปปะ เมื่อสิ้นอายุขัยก็จะไปจุติยังเทวโลก เมื่อกลับมาเกิดยังโลกมนุษย์อีกก็จะมีความเป็นอยู่ไม่ขัดสนไม่อับจน ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการสร้างทานบารมี ในความเป็นจริงแล้วการสร้างทานบารมี มีข้อรายละเอียดอยู่อีกมากแต่ในที่นี้ก็ขอละไว้เท่านี้ก่อน

    วิธีการปฎิบัติ: ก็ไม่มีอะไรมากคือว่า หมั่นทำบุญทำทานตามกาล ฟังเทศน์ฟังธรรม อ่านธรรมะ รักษาศีล(ปุถุชน-ศีล5) สวดมนต์ ภาวนาเบื้องต้นตามกาล ซึ่งโดยทั่วๆไปแล้วพุทธศาสนิกชนใฝ่ดีก็ได้ปฎิบัติตนกันอยู่แล้ว เมื่อปฎิบัติมากๆเข้าก็จะเกิดมีกำลังใจสูงขึ้นๆ "กำลังใจ"หรือบารมีนี้แหล่ะจะเป็นบาตรฐานในการก้าวเข้าสู่การปฎิบัติธรรมขั้นสูงขึ้นๆ ต่อไป

    หมายเหตุ: ในกรณีท่านที่มีบุญบารมีเดิมหรือบุญเก่ามานั้นแท้จริงแล้วคือ ท่านได้สั่งสมบารมีต่างๆมาในภพชาติก่อนๆ เช่น ทานบารมี ศีลบารมี (บารมี10ทัศ) ดังนั้นแล้วกำลังใจของท่านในการที่จะปฎิบัติธรรมในขั้นที่สูงๆขึ้นไปจึงไม่เป็นปัญหาเมื่อเทียบกับบุคคลที่ยังต้องหวังพึ่งการให้กำลังใจจากผู้อื่นอยู่ (คือท่านสามารถเติมกำลังใจให้แก่ตนเองได้..ว่างั้นเถอะ)

    -------------------------------------------------------------------------
     
  2. pporjaii

    pporjaii สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    12
    ค่าพลัง:
    +22
    การเจริญอริยมรรควิธี (แก่นแท้แห่งพระพุทธศาสนา)

    ขั้นที่ 1: ประถม - ศีล

    วัตถุประสงค์: การรักษาศีลให้บริสุทธิ์ แบ่งเป็นศีลหยาบ กลาง ละเอียด (กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม)

    อานิสงค์: เมื่อรักษาศีลให้บริสุทธิ์ได้แล้วก็ยังผลให้เกิดบารมีหรือกำลังใจที่สูงขึ้นเป็นบาตรฐานแห่งสมาธิในขั้นต่อไป

    อรรถาบรรยาย: การทรงศีลให้บริสุทธิ์เป็นการชำระกิเลสเบื้องต้น(ปิดประตูอบายภูมิ) ทำให้จิตมีความสงบและนิ่งมากยิ่งขึ้น เหมาะสมควรแก่งานด้านการเจริญสมาธิภาวนาให้ได้ผลมากยิ่งๆขึ้นไป

    วิธีการปฎิบัติ: หมั่นมีสติระลึกรู้ที่จะไม่ทำผิดศีล รักษาศีลยิ่งชีวิต จนกระทั่งจิตจะทำการรักษาศีลให้เราเองโดยอัตโนมัติ (นี่..ต้องทำให้ได้ถึงขั้นนี้ จนศีลเป็นฝ่ายรักษาเรา)

    เพิ่มเติม: กรรมเก่า คือการกระทำในครั้งอดีตของตนเองทั้งในอดีตชาติหรือปัจจุบันชาติโดยเฉพาะในทางอกุศล ก็จะมีเจ้ากรรมนายเวรมาคอยขัดขวางการเจริญปฎิบัติธรรมของเราทำให้ไม่ก้าวหน้า (คือเหนี่ยวรั้ง ขัดขวางหรือมีเหตุให้ไม่สามารถปฎิบัติได้ต่อเนื่อง) แล้วจะทำอย่างไร? เพราะว่าไม่มีใครย้อนอดีตไปแก้ไขกรรมนั้นได้

    วิธีแก้ไขคือ ให้อุทิศบุญให้แก่เจ้ากรรมนายเวรและขออโหสิกรรม ทุกๆครั้งที่เราได้กุศลผลบุญมา เช่น ทำบุญทำทานมา(กุศลยังน้อยนัก..บุญภายนอก) รักษาศีลบริสุทธิ์ เจริญสมาธิ (กุศลมากโข) แล้วหมั่นอุทิศบุญ(อย่าลืม ขอบารมีพระรัตนตรัยช่วยแปรเปลี่ยนบุญกุศลนี้ให้เป็นบุญกุศลที่เขาสามารถรับได้ และเมื่อได้รับแล้วก็ขออนุโมทนาสาธุกา อโหสิกรรมแก่ข้าพเจ้าด้วยเทอญ..) ทำอยู่เนืองๆทำบ่อยๆภายหลังจากได้บุญกุศลมาทุกครั้ง นานวันไปเจ้ากรรมก็จะอโหสิกรรมและละวางกรรมเก่าของเราเอง (แต่ว่าไม่ใช่เขาจะละวางทั้งหมดนา อย่าเข้าใจผิดคือมันจะมีกรรมบางประเภทที่ จะอย่างไรก็มิอาจหลีกหนีได้..อีอันนี้ก็วิบากใครวิบากมัน..รับกันไป)

    อีกกรรมหนึ่งที่สำคัญมากๆคือ อกุศลกรรมกับบุพการี ถ้าท่านยังมีชีวิตอยู่ อย่ารอช้าให้รีบไปขอขมาแล้วให้ท่านอโหสิกรรมให้แก่ตัวเรา เพื่อเป็นการตัดเวรตัดกรรม ไม่เป็นเครื่องเหนี่ยวรั้งในการเจริญธรรม

    อย่าลืม.. แล้วก็ตัวโตๆเอาไว้ด้วยว่า

    "จะไม่สร้างอกุศลกรรมใหม่ใดๆขึ้นมาอีก"

    มิฉะนั้นตามโหสิกรรมจนตายก็ไม่หมดซักที..

    สรุปว่า เมื่อทรงศีลบริสุทธิ์และจัดการเรื่องโหสิกรรมแล้ว บารมีหรือกำลังใจก็จะทะยานพุ่งขึ้นมาอีกขั้นหนึ่ง อันเป็นบาตรฐานแห่งการเจริญสมาธิสืบต่อไป (เริ่มเข้าสู่กระแสแห่งธรรมแล้ว มองเห็นโลกุตระอยู่ไม่ไกลแล้ว)


    -------------------------------------------------------------------------

    ขั้นที่ 2: มัธยม - สมาธิ

    วัตถุประสงค์: การทำจิตเกาะพระเพื่อเจริญสมถกรรมฐาน(แถมวิปัสสนากรรมฐานบางส่วน) เพื่อเสริมสร้างกำลังแห่งสมาธิ อันประกอบด้วยองค์ฌานทั้ง5ได้แก่ วิตก วิจารณ์ ปิติ สุข เอกัตคตา ให้ได้ตลอดทั้งวันทั้งคืนหรือตลอดเวลานั่นเอง

    อานิสงค์: การทำสมาธิจิตเกาะพระยังผลให้เกิดกำลังฌานสมบัติ(แถมสติตามรู้)คือทรงฌานได้ตลอดเวลา เพื่อเป็นบาตรฐานในการเข้าสู่การเจริญวิปัสสนากรรมฐานในขั้นปัญญาต่อไป

    อรรถาบรรยาย: การเจริญวิปัสสนาโดยขาดกำลังฌานสมาบัติเป็นบาตรฐาน พระท่านเรียกว่า "วิปัสสนึก" คือไม่อาจทำให้เกิดปัญญาอย่างแท้จริงในการตัดสิ้นซึ่งอาสวะกิเลสได้ ขอให้ทุกท่านได้โปรดเข้าใจตามนี้ด้วย ปัญญาทางธรรมหรือเรียกว่า ปัญญาวิมุติจะต้องมีกำลังฌานสมาบัติเป็นบาตรฐานเท่านั้นจึงจะเกิดได้ (มิฉะนั้นมันก็เป็นปัญญาทางโลกเท่านั้นเอง) ดังนั้นเราจึงจะเห็นได้ว่าการเจริญสมถกรรมฐานนี้เป็นบาตรฐานที่สำคัญยิ่งทางพุทธศาสนา และก็เป็นสิ่งที่ผู้คนส่วนใหญ่ติดกันอยู่ตรงนี้มากๆเลย คือว่า บางท่านก็ปฎิบัติมาเป็นสิบๆปีก็ยังไม่ไปถึงไหน ติดเวทนาปวดขาปวดหลังฟุ้งซ่านไปเรื่อย หรือเข้าได้แค่ฌาน1(ก็บุญแล้ว..) หรือเข้าได้แค่ฌาน2-3 ติดสุขอีก หรือเข้าฌาน4ได้ ติดฤทธิ์ติดอภิญญาอีก เพิ่มทิฏฐิมานะ ทรงคุณวิเศษเหนือบุคคลธรรมดา หลงตัวหลงตนหนักข้อเข้าไปใหญ่ โน้นออกทะเลไปเลย (เห็นแก่อามิส วันหนึ่งกิเลสเข้าครอบงำอภิญญาเสื่อมถอย ก็ต้องโป้ปดมดเท็จไปเรื่อย ผิดศีลข้อ4มุสาอีก ดันสร้างอกุศลกรรมขึ้นมาใหม่อีก ยิ่งแย่เข้าไปอีก) หรือปฎิบัติได้ทุกวันวันละ1-2ชม. ขาดความต่อเนื่องในการปฎิบัติ ติดๆดับๆ เป็นเวรเป็นกรรมเสียช่างกระไรนี่ จนท้อแท้กำลังใจหดลงก็พาลโทษว่าบุญเก่าเรามีน้อย..

    การทำจิตเกาะพระถือเป็นสมถกรรมฐานที่เป็น พุทธานุสติ+กสิน สามารถเจริญกรรมฐานกองนี้ไปได้ถึงฌาน4 เพิ่มความรวดเร็วและความต่อเนื่องในการปฎิบัติให้ได้ผลเป็นอย่างดี(สำหรับผู้ที่ตั้งใจปฎิบัติจริงนะ) และสามารถเข้าออกฌานได้อย่างคล่องแคล่ว คือทรงฌานได้ตลอดเวลานาที จนกระทั่งจิตทำหน้าที่ทรงฌานเองเป็นอัตโนมัติ(ลองไปหาดูในกระทู้เก่าๆที่ได้เขียนข้อเปรียบเทียบที่เด่นๆเอาไว้แล้ว)

    วิธีการปฎิบัติ: เนื่องจากมีรายละเอียดยาวมากๆจึงละไว้ว่าให้ไปหาอ่านในกระทู้ว่ามีวิธีการปฎิบัติอย่างไร

    บางครั้งการปฎิบัติไม่ก้าวหน้า ก็ให้หมั่นกลับไปสำรวจตรวจสอบขั้นอนุบาลและขั้นประถม(ทาน ศีล กรรมเก่า) อยู่เป็นนิจว่าได้ชำระสะสางไปมากน้อยแค่ไหนด้วย เพราะว่าสิ่งต่างๆเหล่านี้นะเป็นเส้นผมบังภูเขาเลย จะบอกให้..

    การระลึกนึกถึงพระให้ได้ทั้งวันทั้งคืนนั้นได้อานิสงค์2ประการคือ 1)สามารถทรงฌานได้ตลอด 2)มีสติที่ไวไม่เผลอ ในความเป็นจริงแล้วเจ้าสองสิ่งนี้คือ ฌานกับสติ (คล้ายๆไก่กับไข่หรืองูกินหาง) ถ้ามาก็จะมาคู่กัน ถ้าหายก็หายไปพร้อมกัน คือมันเป็นสิ่งที่หนุนเนื่องซึ่งกันและกัน แล้วจะต้องทำให้ได้อย่างต่อเนื่องจนกระทั่ง จิตของเราจนจำได้ นี่ข้อนี้คือข้อสำคัญ "ความต่อเนื่องแห่งการปฎิบัติ" บางท่านปฎิบัติมาเป็นสิบๆปีแต่ไปไม่ถึงไหนก็เพราะว่าขาดความต่อเนื่องคือทำเฉพาะก่อนนอน1-2ชม. จิตยังไม่ทันได้จำ เอ้าพอรุ่งขึ้นก็ไปวิ่งตามกระแสแห่งกิเลสต่อ จิตมันก็เพลินกับกิเลส จิตมันก็ลืมต่อ พอตกค่ำก็มาบอกกับมันใหม่ ทำอยู่อย่างนี้เป็นสิบๆปี มันก็ไม่ไปถึงไหนนะซีครับ..

    เพราะว่าเวลางานก็ไม่ทรงฌาน(สติก็หาย) จึงสรุปว่ามีแต่พระชีเณรเท่านั้นที่จะทำได้เพราะว่าท่านๆเหล่านั้นมีเวลา แต่อันตัวเราไม่มีเวลาแถมต่อว่าบุญเก่ามันน้อยไปอีก.. ท่านทั้งหลายเหล่านี้คือข้อเท็จจริงและเป็น"อวิชชา" คือความไม่รู้(บางท่านเรียกว่าความโง่) จึงทำให้ผู้ปฎิบัติหลายๆท่านยังติดอยู่ในวังวนอันนี้ ไม่ไปไหน..

    การทำจิตเกาะพระสามารถแก้ปัญหาการทรงฌานและทรงสติระหว่างวันหรือตลอดเวลาอย่างต่อเนื่องได้ อย่างน่าอัศจรรย์

    ที่พูดมาทั้งหมดไม่ได้ต้องการให้ท่านผู้อ่านเชื่อ แต่ต้องการให้ท่านผู้อ่านลองไปปฎิบัติแล้วค่อยมาตัดสินกันว่าจะเชื่อหรือไม่..

    เมื่อผู้ปฎิบัติสามารถทรงฌานได้แล้วถึงขั้น "เมาฌาน" คือจิตมันจะดิ่งอย่างเดียว ครูฝึกก็จะเริ่มสอนการวิปัสสนาขั้นต่อไป

    ผู้สำเร็จขั้นอุปจาระสมาธิหรืออัปปนาสมาธิขั้นต้นคือฌาน1-2ก็สามารถตัดสังโยชน์ขั้นต้นบรรลุเป็นอริยบุคคลขั้นต้นได้คือขั้นโสดาบัน สกิทาคามีกำลังฌาน4มีความสำคัญมากในการวิปัสสนาตัดสังโยชน์ในขั้นอริยบุคคลขั้นอนาคามีขึ้นไป มิให้กิเลสกลับมากำเริบอีก ตัดขาดจริงๆ

    ดังนั้นสมถะเป็นบาตรฐานของวิปัสสนา เป็นเนื้อเดียวกันมิอาจจะแยกออกจากกันได้ การเขียนตำราทางโลกเราสามารถแยกเป็นหมวดหมู่ออกจากกันได้ แต่ว่าเวลาปฎิบัติทั้งสองนี้หนุนเนื่องเกื้อกูลซึ่งกันและกันไม่สามารถแยกจากกันได้จริงๆ..


    -------------------------------------------------------------------------
     
  3. pporjaii

    pporjaii สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    12
    ค่าพลัง:
    +22
    ขั้นที่ 3: มหาลัย - ปัญญา

    วัตถุประสงค์: ภายหลังจากที่ผู้ปฎิบัติสามารถทรงฌานได้เป็นวสี(ชำนาญ)แล้ว ก็จะเจริญวิปัสสนากรรมฐานต่อไปเพื่อที่จะบังเกิด"ปัญญาวิมุติ" คือรู้แจ้งแทงตลอดในสภาวะธรรมต่างๆแห่งธรรมชาติ มีดวงตาเห็นธรรมเป็นอันจบกิจ

    อานิสงค์: ผลแห่งการปฎิบัติจะนำมาซึ่งการละ เลิก วาง หลุดพ้นจากอาสาวะกิเลสต่างๆ ตามลำดับๆ จนจิตยกเข้าสู่โลกุตระ สำเร็จเป็น อริยบุคคลในขั้น โสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี และอรหันต์ ตามลำดับชั้นในการละสังโยชน์10ได้

    อรรถาบรรยาย: การเจริญวิปัสสนากรรมฐานนี้ก็ได้อาศัยตามคำสั่งสอนขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้าคือ การเจริญมหาสติปัฏฐาน4 หนทางสายเอกแห่งปัญญาวิมุติ

    วิธีการปฎิบัติ: การมีสติอยู่ตลอด(จะทำได้เมื่อทรงฌานได้ตลอด) และนำสติตามรู้ปัจจัยภายนอกที่เข้ามากระทบ แล้วก็ปลงลงพระไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หมั่นปฎิบัติอยู่เนืองๆทั้ง กาย(ขันธ์5) เวทนา จิต ธรรม จนบังเกิดเป็นวิปัสสนาญาณ (จิตจะทำงานเองเป็นอัตโนมัติ) จนอินทรีย์แก่กล้าบารมีเต็มเปี่ยม สำเร็จมรรคผล เป็นลำดับขั้นขึ้นไปจนถึงอรหันต์ปฎิผล.. ก็เป็นอันเสร็จกิจแห่งการปฎิบัติธรรมทางพุทธศาสนา

    เมื่อยังมีอายุขัยอยู่ก็หมั่นบำรุงและสืบสานพุทธศาสนา ประกอบกิจทางโลกบ้าง ช่วยยกจิตผู้คนเป็นธรรมทานเสริมสร้างบารมีต่อไปบ้าง จวบจนละสังขารขันธ์..

    ประโยชน์ของครูฝึก:-- เราจะเห็นได้ว่าการปฎิบัติธรรมจนถึงขั้นสมถะและวิปัสสนาแล้วจะเริ่มมีความสลับซับซ้อนมากยิ่งๆขึ้น ถ้าเราคิดเองคือใชัสัญญา(ความจำ) ทางโลกเข้านำการปฎิบัติเอง บางครั้งมันจะเป็นเรื่องเสียเวลาหรือว่าอาจจะหลงทางไปเลย เพราะครูฝึกท่านผ่านมาหมดแล้ว ท่านจะช่วยตอบแล้วให้ผู้ปฎิบัติได้วางกำลังใจได้อย่างถูกต้องและปฎิบัติได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น

    - ครูฝึกจะทำการสอบอารมณ์ในการปฎิบัติทั้งสมถะและวิปัสสนา แล้วแนะนำต่อยอด

    - และอื่นๆอีกมากมายถามว่า:ไม่จำเป็นต้องมีครูฝึกสามารถปฎิบัติได้หรือไม่? คำตอบ: ได้ถ้ามีผู้รู้ช่วยชี้แนะตามขั้นๆไป

    แต่เหนือสิ่งอื่นใดดังคำพูดที่กล่าวไว้ว่า "จิตสำนึกไม่สามารถจับยัดใส่หัวกันได้ มันจะต้องเกิดจากตัวเราเองขึ้นมา" ฉันใด "อันผู้ใดปฎิบัติ ผู้นั้นพึงได้" หรือ "ผู้ใดกินผู้นั้นก็อิ่ม ไม่สามารถกินแทนกันได้จริงๆ" ก็ฉันนั้น..

    แต่เราก็พอจะเข้าใจผู้ที่ยังถนัดการปฎิบัติเอง ว่าก็มีเหตุปัจจัยในเรื่องความพร้อมทางด้านจิตใจตนเอง (เราก็เคยเป็นมาก่อนจึงพอที่จะเข้าใจ หลายๆท่านที่ขอซุ่มแอบฝึก เกาะขอบกระทู้ฝึก ความจริงแล้วดีกว่าหลายๆท่านมากๆที่ยัง"หลง"ตามกระแสโลกอยู่)

    จึงเป็นเหตุปัจจัย ให้เราเขียนภาพรวมของการปฎิบัติธรรมจิตเกาะพระโดยสังเขป เพื่อให้ผู้ปฎิบัติได้เข้าใจว่าเรากำลังทำอะไร ทำแล้วไปที่ไหน เป็นแผนที่นำทางฉบับย่อๆ โดยเฉพาะกับบุคคลจำพวกพุทธจริต(ปัญญาจริต) ได้เข้าใจแล้วก็จะได้ลงมือปฎิบัติ รวมถึงท่านพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไปด้วย ที่มีวาสนาบารมีเกี่ยวเนื่องกันด้วย.. ก็ขอเอวังด้วยประการละฉะนี้..

    สุดท้ายนี้ก็ขออวยชัยอวยพรให้ทุกๆท่านจงถึง บารมี10ทัศ ศีลบริสุทธิ์ ฌานสมาบัติ ปัญญาวิมุติและมรรคผลนิพพานโดยเร็ววันด้วยเทอญ..

    ขอให้เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปด้วยครับ.. สาธุสวัสดี..
     
  4. pporjaii

    pporjaii สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    12
    ค่าพลัง:
    +22
    [​IMG]

    วิธีทำให้จิตจำภาพพระได้
    ๑.เลือกภาพพระองค์สีขาว เพราะให้ความรู้สึกสบายตาเวลามองภาพพระ

    ๒.โหลดภาพพระที่ชอบเก็บใส่ไว้ในมือถือ แล้วหยิบขึ้นมาดูบ่อยๆ และสะดวกในการหยิบขึ้นมาดูทุกสถานที่ทุกโอกาส
    ...
    ๓.โหลดภาพพระไว้เป็นภาพหน้าจอคอมพิวเตอร์ เพื่อทุกครั้งเปิด-ปิดคอมฯจะได้เห็นพระองค์ท่านเสมอ

    ๔.น้อมภาพพระมาไว้ที่ส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย ผึ้งเลือกไว้ที่ส่วนอก ให้ความรู้สึกว่าท่านอยู่กับเราเสมอ บางครั้งนึกเป็นภาพว่าเรากำลังนั่งเกาะขาท่านไว้จะไม่ยอมห่างจากท่านไปไหน

    ๕.ระลึกถึงพระทุกๆ ๑๐ นาที ทุกอิริยาบท ไม่ว่าจะยืนเดิน นั่ง นอน ทำงานบ้าน ทำกับข้าว ดูทีวี ฯลฯ

    ๖.ตื่นนอนก่อนลุกจากที่นอน นึกถึงพระ น้อมจิตกราบท่าน นึกเป็นภาพไปด้วยว่า เราถวายดอกบัวหรือพวงมาลัยต่อพระองค์ท่าน และตอนนอนก็ทำเช่นเดียวกัน ทำทุกวันจนกลายเป็นกิจวัตรประจำวัน ถ้าวันไหนไม่ได้ทำ จิตจะรู้สึกว่าขาดอะไรไป

    ๗.หมั่นสวดมนต์ไหว้พระ ขอขมาพระ และสมาทานศีล๕ ทุกวัน เพื่อให้จิตได้ทบทวนศีลทุกวัน อันเป็นรากฐานสำคัญ ที่จิตจะได้เกาะพระได้ทรงตัว

    ๘.อธิษฐานจิตทุกวันขอบารมีสมเด็จพ่อองค์ปฐม ให้จิตลูกสามารถเกาะพระได้ตลอดทั้งวัน ตลอดเวลาและจิตยกขึ้นสู่พระนิพพานโดยไว

    ๙.ต้องละวางการปฎิบัติแบบเก่าไว้ก่อน เช่น คำภาวนาพุทโธ ให้จิตทำงานอย่างเดียวคือ ทำจิตเกาะพระมิเช่นนั้นผลการปฏิบัติจะไม่ก้าวหน้า เกิดความท้อใจและขาดส่งการบ้าน เพราะไม่รู้จะเขียนอะไรรายงานครู ( ผึ้งเคยขาดส่งครูมาแล้วสองรอบ แต่ละครั้งหายไปเกือบเดือน )

    ๑๐.การทำจิตเกาะพระต้องไม่เครียด ทำด้วยใจสบายหากวันไหนจิตเครียด นึกภาพพระไม่ออก ก็ใช้วิธีตามดูลมหายใจเข้า-ออก หรือภาวนาพุทโธ จนจิตรู้สึกสบายขึ้น แล้วค่อยให้สติตะล่อมจิตกลับมานึกถึงพระต่อ อย่าปล่อยให้จิตเกาะคำภาวนานานเกินไป เดี๋ยวจิตหลงเกาะพระไม่ติดอีก

    เมื่อจิตเกาะพระติดแล้ว จิตสามารถเห็นพระในจิตได้ทุกครั้งที่นึกถึง และเห็นพระได้ทั้งลืมตาและหลับตาและความละเอียด ความชัดเจนของพระก็จะมากขึ้นไปตามลำดับ
    ผึ้ง จิตบุญ๓๐
     
  5. pporjaii

    pporjaii สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    12
    ค่าพลัง:
    +22
    อุบายทำให้จิตสงบ 10 ประการ

    บ่อยครั้งที่เราจะรู้สึกว้าวุ่น เครียดกับเรื่องราวเหตุการณ์
    ตั้งแต่ ส่วนตัว ในครอบครัว ขยายกว้างไปถึงบ้านเมือง และโลก
    หากเป็นรถยนตร์ หรือเครื่องใช้โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้า
    เมื่อใช้งานมากๆ เราต้องจอดพัก หรือปิดสวิชต์ เพื่อให้เครื่องเย็น
    เพราะขืนดันทุรังใช้งานต่อไป ก็จะเกิดความเสียหาย..
    แต่ใจของเรา... ใช่ว่าจะมีสวิชต์ปิด เปิดได้ดังใจ
    หากสามารถพักใจบ้าง ทำให้ใจสงบบ้าง แม้ชั่วครั้งคราวก็ยังดี
    เพื่อที่จะได้มีกำลัง ดำเนินชีวิตต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพ

    แล้วจะมีวิธีทำอย่างไร...



    ในหนังสือ ยิ่งกว่าสุขเมื่อจิตเป็นอิสระ ของ ดร.สนอง วรอุไร
    กล่าวถึง อุบายทำให้จิตสงบ 10 ประการ ดังนี้

    1. มักน้อย
    ในฐานะที่เป็นผู้ปฏิบัติเราต้องมักน้อย ปรารถนาน้อย
    เหมือนพระที่พอใจในอัฐบริขารเพียง 8 ประการ
    เมื่อมักน้อยแล้วจิตจะนิ่งง่าย
    เพราะสิ่งกระทบใจให้เกิดความโลภ โกรธ หลงลดน้อยลง
    ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือการกิน หากรู้จักกินอย่างพอดี
    เพียงแค่พอให้ร่างกายนี้อยู่ได้เพื่อปฏิบัติธรรม
    ความอิ่มที่พอดีย่อมจะเกื้อกูลการปฏิบัติ
    ไม่ใช่สร้างความง่วงเหงาหาวนอนมาขัดขวาง
    เหมือนกับการกินจนพุงกางด้วยความมักมาก
    หรือติดใจในรสชาติแล้วกินมากจนเกินอิ่ม

    2. สันโดษ
    หากต้องการให้จิตสงบต้องสันโดษ คือ รู้จักพอ
    พอใจในสิ่งที่ตนเป็น ตนมี ตนได้รับ ทำเต็มที่เท่าที่จะทำได้
    แต่พอใจกับผลที่ได้รับ แล้วจิตจะสงบ มีความสุข ไม่ว้าวุ่น ไม่ดิ้นรน
    3. ความสงัด
    พยายามหาโอกาสอยู่ในที่ที่สงบเงียบ สงัดกาย สงัดใจ
    เหมาะแก่การประพฤติปฏิบัติ แล้วจะทำให้จิตสงบได้ง่ายขึ้น
    ด้วยเหตุนี้ พระธุดงค์จึงเลือกที่จะออกไปสู่ป่าเพื่อหาที่สงัด
    เหมาะแก่การปฏิบัติธรรม

    4. ปลีกตัวออกจากหมู่คณะ
    ที่บางคนเรียกว่าการปลีกวิเวกนั้น
    สามารถสร้างความสงบให้เกิดขึ้น
    และช่วยเพิ่มพลังสติ สมาธิ
    และปัญญาให้มากขึ้นได้
    หากต้องการประพฤติปฏิบัติธรรม
    ให้ได้มรรคผลก้าวหน้า
    จึงต้องพยายามปลีกตัวอยู่ห่างจากหมู่คณะ
    เพื่อจะได้ไม่ต้องพูดคุยและทำในเรื่องที่ไร้สาระ
    กระตุ้นให้เกิดกิเลสตัณหา
    ที่จะทำให้พลังจิตอ่อนลง
    จิตจึงสงบยาก

    5. ความเพียร
    เป็นตัวการสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จทุกประเภท
    ความเพียรจึงเป็นองค์ประกอบของหลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จ
    อย่างอิทธิบาท 4 สัมมัปปธาน 4 และพละ 5
    ซึ่งเป็นหลักธรรมสำคัญที่ผู้ปฏิบัติพึงนำมาใช้ในการฝึกฝนตนเอง
    ฉะนั้น หากต้องการให้จิตสงบเพื่อความก้าวหน้าในมรรคผล
    จึงต้องเจริญความเพียรให้มาก

    6. ศีล
    อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า ศีลเป็นพื้นฐานของความสงบนิ่ง
    และเป็นปกติของจิต

    7. สมาธิ
    เมื่อฝึกฝนจนเกิดเป็นสมาธิแล้ว
    ต้องรู้จักนำสมาธิแต่ละชนิด
    ไปใช้ให้เกิดประโยชน์และเกื้อกูล
    ต่อการประพฤติปฏิบัติ
    เช่น ใช้ขณิกสมาธิเป็นพื้นฐาน
    ในการศึกษาเล่าเรียน
    การทำกิจการงาน
    การสร้างสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง
    และใช้อุปจารสมาธิเป็นพื้นฐานของ
    การฝึกวิปัสสนากรรมฐาน
    จนเห็นสรรพสิ่งเป็นไปตามกฎไตรลักษณ์
    และเกิดปัญญาเห็นแจ้งในที่สุด

    8. ปัญญา
    เมื่อเกิดสมาธิขึ้นแล้ว ต้องรู้จักนำปัญญาที่เกิดจากสมาธิมาพิจารณาสิ่งกระทบ
    จนปัญญาญาณเห็นแจ้งเกิด เพื่อให้จิตปล่อยวางสิ่งที่เป็นอนัตตา
    ไม่มีตัวตน และสงบนิ่งอย่างแท้จริงด้วยอุเบกขา
    9. ความหลุดพ้น
    เมื่อปฏิบัติแล้วต้องโยนิโสมนสิการจนกระทั่งจิตสามารถเห็นแจ้ง
    ถึงความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตาของสรรพสิ่ง
    แล้วความหลุดพ้นจากสิ่งเศร้าหมอง คือกิเลสใหญ่ทั้ง 3 ตัว
    คือโลภ โกรธ หลง จึงจะเกิด และสามารถนำจิตพ้นไปจากกิเลสที่เหลือได้
    10. ความรู้ความเห็นว่าหลุดพ้น
    นั้นมีด้วยกันมากมายหลายแนวความเชื่อ
    บ้างเชื่อว่าบุคคลสามารถหลุดพ้นได้ด้วยศรัทธา
    หากศรัทธาในพระพุทธเจ้ามากพอจะหลุดพ้นได้
    ก่อนตายจึงกอดพระพุทธเจ้าไว้แน่น
    เพราะเชื่อว่าตายแล้วจะได้ไปอยู่กับพระพุทธเจ้า
    โดยลืมพิจารณาไตร่ตรองให้ถี่ถ้วนว่า จริง ๆ แล้วศรัทธาแบบนั้น
    ไม่ได้ทำให้ความโลภ ความโกรธ ความหลง หมดไปได้เลย
    แต่กลับเป็นศรัทธาที่อยู่บนพื้นฐานของความหลงเสียเอง
    จึงยังห่างไกลนักจากความหลุดพ้น
    ในขณะที่บ้างก็เข้าใจว่า สมาธิจะทำให้หลุดพ้นได้เหมือนอาจารย์ทั้งสองของเจ้าชายสิทธัตถะ
    คือ อุทกกดาบสและอาฬารดาบส ซึ่งตายในอรูปฌาณสมาบัติ ด้วยเข้าใจผิดว่านั่นคือนิพพาน

    ความเข้าใจที่ผิด ๆ เกี่ยวกับความหลุดพ้น
    จึงสามารถสร้างความเสียหายที่ยิ่งใหญ่แก่ผู้ปฏิบัติ
    เพราะฉะนั้นก่อนจะเชื่ออะไร จึงต้องอาศัยปัญญาโยนิโสมนสิการพิจารณาให้ถ่องแท้เสียก่อน
    อย่าเชื่อโดยไม่ได้พิสูจน์ด้วยการประพฤติปฏิบัติจนเห็นจริงด้วยตนเอง
    ปล. อะไรไม่สงบช่างมัน ขอเพียงแต่จิตสงบอย่างเดียวก็พอ
    อยู่ดีๆ จิตจะสงบกันได้ไหม๊? ตอบว่า ไม่ได้
    และจะทำอย่างไรจิตถึงจะสงบไวๆ ตอบว่า "จิตเกาะพระ"
    (จบเลย)
    ช่วงนี้ถึงว่าทำไม??? ผมได้ยินเสียงพระสวดมนต์ในจิตบ่อยจัง...
     
  6. pporjaii

    pporjaii สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    12
    ค่าพลัง:
    +22
    สีของจิต
    สีของจิตนี้ บางแห่งก็เรียกว่า "น้ำเลี้ยงของ
    จิต" ปรากฏเป็นสีออกมาโดยอาศัยอารมณ์ของจิตเป็นตัวเหตุ การที่จะรู้อารมณ์จิตนั้นต้องมี เจโตปริยญาณ ก่อนจึงจะรู้อารมณ์ของจิต สีนั้นบอกถึงจิตเป็นสุข เป็นทุกข์ อารมณ์ขัดข้องขุ่นมัวหรือผ่องใส ท่านกล่าวไว้ดังนี้
    จิตที่มีความยินดีด้วยการหวังผลอย่างใดอย่างหนึ่ง กระแสจิตมีสีแดง
    จิตที่มีอารมณ์โกรธ หรือมีความอาฆาตจองล้างจองผลาญ กระแสจิตมีสีดำ
    จิตที่มีความผูกพันด้วยความลุ่มหลง เสียดายห่วงใยในทรัพย์สิน และสิ่งมีชีวิต กระแสจิตมีสีคล้ายน้ำล้างเนื้อ
    จิตที่มีกังวล ตัดสินใจอะไรไม่ได้เด็ดขาด มีความวิตกกังวลอยู่เสมอ กระแสจิตมีสีเหมือนน้ำต้มตั่วหรือน้ำซาวข้าว
    จิตที่มีอารมณ์น้อมไปในความเชื่อง่าย เชื่อโดยไม่ใคร่ครวญทบทวนหาเหตุผล คนประเภทนี้ที่ถูกต้มตุ๋นอยู่เสมอ ๆ จิตของคนประเภทนี้กระแสมีสีเหมือนดอกกรรณิการ์ คือ สีขาว
    คนที่มีความเฉลียวฉลาด รู้เท่าทันเหตุการณ์เสมอ เข้าใจอะไรก็ง่าย เล่าเรียนก็เก่ง จดจำดี มีไหวพริบ คนประเภทนี้ กระแสจิตมีสีผ่องใสคล้ายแก้วประกายพรึก หรือคล้ายน้ำกลิ้งอยู่ในใบบัว คือมีสีใสคล้ายเพชร
    ข้อมูลจากlarnbuddhism.com
     
  7. pporjaii

    pporjaii สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    12
    ค่าพลัง:
    +22
    "จิตเกาะพระ"
    ทำไม?ต้องมีครู
    (คุณถาม ผมตอบ)
    ครูสอนจิตเกาะพระนั้น ก็เปรียบเสมือนพ่อแม่ของเรา(จิต)
    เพราะจิตที่ยังไม่ได้รับการฝึกฝนนั้น
    จะมีลักษณะคล้ายเด็กเล็ก หรือลิง
    แต่ถ้าคงปล่อยให้พวกเราทำ/ฝึกทำจิตเกาะพระกันเอง
    ยากที่จะสำเร็จได้ ทำไมถึงได้กล่าวเช่นนั้น
    เพราะผู้เขียนมั่นใจเลยว่า แทบจะไม่มีทาง คำว่า สำเร็จเองได้อย่างแน่นอน
    แต่ถ้าไม่เชื่อก็ลองดู ลองปฎิบัติ หรือบางท่านที่กำลังแอบฝึกเองในกระทู้
    อย่างเก่งก็แค่ ทำให้จิตนิ่ง จิตเป็นสมาธิ หรือจิตทรงฌานได้เท่านั้นเอง
    แต่ยังไม่จบแค่นั้น เพราะหลังการเจริญปัญญา หรือที่จิตกำลังเข้าสู่วิปัสสนา
    ท่านจะงงมาก การฝึกจิตเราปล่อยให้งงนานไม่ได้ เราจะต้องรีบหาคำตอบ
    แต่ถ้าไม่หาคำตอบ อีกไม่นานนัก จิตก็จะเปลี่ยนไปรับรู้อย่างอื่นใหม่มาแทน
    และสิ่งที่ผ่านไปนั้น ก็คือ ความลังเล ความสงสัย(อาการหรืออารมณ์)ของจิต
    เรื่องจิตเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ก็เปรียบเสมือนเด็กอ่อน
    ที่จะต้องมีผู้ปกครองดูแลอย่างใกล้ชิด
    เพราะแต่ละขั้นของการเดินจิตนั้น ส่วนใหญ่มักมีปัญหากันตลอด
    เพราะความสงสัยของผู้ปฎิบัตินั่นเอง แต่ไม่ได้แปลก เป็นธรรมดา
    จิตไม่รู้ ก็ย่อมมีความสงสัยเป็นธรรมดา เป็นชาติแห่งจิต
    แต่สงสัยกันได้ ครูมิได้ห้าม แต่ขอให้ลงมือปฎิบัติตามที่แนะนำในเบื้องต้นก่อน
    แต่ถ้าติดขั้นตอนไหน หรือสงสัยสิ่งใด ก็ค่อยส่งการบ้านมาถาม(e'mail)
    นี่ไง จึงมีเรื่อง มีเหตุผลจะต้องมาตอบโจทย์ให้กับผู้ปฎิบัติทั่วไปได้รับรู้กันทั่วไป
    ขนาดมีครูฝึกก็แล้ว พอมีปัญหามาก
    ไหนจะปัญหาจากภายในจิต คือ มีความทุกข์ใจซึ่งเป็นปกติทุกวันกันอยู่แล้ว
    ไหนจะปัญหาจากภายนอกจิต คือ มีปัญหาจากการงาน การเงิน ความรัก
    เป็นต้น
    ในขณะพวกเราปฎิบัติกัน จะมาสร้างบุญใหญ่ทั้งที ก็มีความอยาก ความหวังต่างๆนานา
    เพราะพวกเราเคยชินกับ คำว่า ทำแล้วจะต้องได้ แต่ถ้าหากทำแล้วไม่ได้
    พวกเราก็จะล้มเลิกทำทันที เพราะว่า ทำแล้วไม่ได้ผล
    *ทีจีบกันใหม่ (เป็นการสร้างกรรมร่วมกัน) ก็ยังใช้เวลาทุ่มเทกันเข้าไปทั้งชีวิต
    แต่พวกเราก็ยังไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่า การมีคู่นั้น มันเป็นการสร้างกรรม
    มีทั้งกรรมดีและกรรมไม่ดีอยู่ในนั้นเบ็ดเสร็จ
    แต่ที่เห็นกันส่วนใหญ่ มักเป็นเนื้อคู่กันจริงๆนั้น มีน้อยมาก แต่ที่เห็นจะมีแต่คู่เจ้ากรรมนายเวรซะมากกว่า
    แล้วทีนี้มาเถียงสิว่า ขนาดกรรมทั้งดีและไม่ดี
    พวกเราก็พยายามสร้างกันขึ้นมาโดยที่ไม่เคยจะคิดว่าเป็นการเสียเวลาเลย
    ทีจะให้มาทำแต่กรรมดีฝ่ายเดียวเองนะ บุญกรรมฐาน(จิตเกาะพระ)เป็นสิ่งที่ดีล้วนๆ
    หรือเป็นการสร้างบุญ กุศลล้วนๆ ทำไมพวกเราถึงไม่เอากัน ไม่ตั้งใจปฎิบัติกัน
    ครูก็พยายามย้ำหนักย้ำหนาว่า ขอให้ตั้งใจปฎิบัติกันนะ เพราะไม่ได้เพื่อใครเลย
    ก็เพื่อตัวของผู้ปฎิบัติโดยแท้ บุญทำแทนกันไม่ได้ บรรลุธรรมแทนกันก็ไม่ได้
    หรือจิตยกแทนกันก็ไม่ได้ เหมือนใครกินใครอิ่ม แบบนั้นเลย
    จำไว้นะ ไม่มีอะไรได้มาง่ายๆ
    จิตเกาะพระนี้ ก็ถือว่า พวกเรากำลังทำบุญใหญ่ ก็คือ
    บุญจากการเจริญกรรมฐาน แต่ของเราเป็นกรรมฐานแบบ พุทธานุสสติ+กสิณ
    สองกรรมฐานนี้จึงเป็นจุดเด่น ก็คือ จิตจะรวม จิตจะเป็นสมาธิได้ไว+ต่อเนื่อง
    แต่จะรวมได้ไวแค่ไหน และต่อเนื่องแค่ไหน ก็จะต้องอยู่ที่ผู้ปฎิบัติเท่านั้น
    เพราะครูเป็นได้มากก็อย่างแค่ พี่เลี้ยง คือทำหน้าที่คล้ายๆสติที่ติดตามดูแลจิต
    ผู้เขียนจะบอกให้นะ สำหรับผู้ที่ยกจิตแล้วนั้น ท่านสามารถบก หรือสอนได้เกือบจะ100%
    เพราะอะไร ก็เพราะว่า แต่ละท่านเดินด้วยขาตนเอง ปฎิบัติด้วยตนเอง
    ที่เดินกันี่ก็หมายถึง จิตของผู้ปฎิบัติเอง แต่ถ้าจิตยังสงสัยอยู่
    แต่ถ้าเราไม่พยายามหาคำตอบให้ไวนะ จิตก็จะก้าวข้ามไปทันที
    เพราะฉะนั้น มาถึงกันตรงนี้ ผู้เขียนก็สงสารครูขึ้นมาทันที
    ผู้ปฎิบัติทุกท่าน จงอย่าลืมนะว่า ครูที่กำลังสอนจิตเกาะพระกันอยู่นี้
    ส่วนใหญ่จะมีงานประจำ หรือถ้าไม่มีงานประจำ เช่นเป็นแม่บ้าน ก็หนักเหมือนกัน
    แค่เอาจิตตนเองให้รอดมาได้ก็จะตายให้ได้อยู่แล้ว
    บางคนรู้สึกว่า เราได้หลุดวงโคจรกิเลสทั้งปวงก็ว่าได้
    เพราะมนูาญ์ส่วนใหญ่ที่เกิดกันมานี้ล้วนก็เก่งกันทุกคน
    อะไรยากก็ทำกันมานักต่อนักแล้ว จนจะเข้าโลงแล้ว
    ก็มีอยู่สิ่งเดียวที่มนุษย์ส่วนใหญ่สอบไม่ผ่านกัน ปฎิบัติได้ยากนัก
    นั่นก็คือ การปฎิบัติดี การปฎิบัติชอบ การปฎิบัติธรรม หรือการปฎิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธองค์
    หรือการทำดวงตาให้เห็นธรรม หรือเปลี่ยนดวงจิตใหม่นี้มันแสนยากเข็นเอาการ
    สรุปแล้วทำอารมณ์ให้เป็นกลางดั่งพระอรหันต์นั้นแสนยากนัก
    ธรรมะแค่ฟังก็สามารถรู้ด้วยกันทุกคน แต่ถ้าถามว่าปฎิบัติตามได้ไหม๊
    ส่วนใหญ่ตอบว่าไม่ได้ นี่ไง ที่มาของการเจริญสติภาวนา
    ทำไม? พระพุทธเจ้าท่านจึงคิดค้นวิธีการเจริญสติภาวนาให้กับพวกเรามา
    ก็เพราะว่า จิตของพวกเราไม่นิ่ง
    นี่คือเหตุผลหลัก เพราะฉะนั้นพวกเราจำเป็นจึงต้องเจริญสติก่อนภาวนา
    (การเจริญสติ+ภาวนา) เพราะถ้าจิตไม่นิ่ง ผู้ปฎิบัติก็จะทำภาวนากันต่อไปไม่ได้
    การปฎิบัติธรรมนั้น ไม่ยาก แต่จะยากตรงที่ว่า จะทำอย่างไรให้จิตนิ่ง
    ตรงนี้ยากมากๆ
    สรุปแล้ว...
    จิตเกาะพระจำเป็นจะต้องมีครูผู้สอน+ดูแล(จิต)อย่างใกล้ชิดด้วย
    เพราะว่า จิตเหมือนเด็ก เหมือนลิง เหมือนปู สาระพัดจะเป็น
    เพราะอันเป็นบุคคลิกธรรมชาติของจิต ที่มีนิสัยชอบไม่อยู่นิ่งเฉย
    แต่ถ้าจิตไม่ฝึก จิตก็จะไม่นิ่ง จิตก็จะทุกข์ แต่ถ้าเราฝึกจิตให้นิ่ง จิตก็จะสุข
    เพราะด้วยเหตลผลนี้ ที่จะต้องเจริญสติภาวนากันก็เพราะว่า เป็นวิธีเดียว
    จะทำให้จิตมีความสุข พ้นทุกข์ได้ จำเป็นจะต้องนำอุบายพวกนี้มาทำให้จิตนิ่งเสียก่อน
    แต่ถ้าจิตนิ่งแล้ว ต่อไปก็จะยากที่จะตามหาดวงจิตเดิมแท้ของตน
    ต่อไปก็จะรู้ธรรม หรือมีดวงตาเห็นธรรมก็ไม่ยาก
    ต่อไปใครอยากจะไปพระนิพพานก็ไม่ยาก เพราะมีพื้นดีแล้ว(ศีล+ภาวนา)
    อย่าลืมนะ พระธรรมหรือคำสั่งสอนของพระพุทธองค์านั้น
    พระองค์ท่านตรัสรู้ธรรมในขณะที่ จิตท่านทรงฌาน ไม่ใช่จิตแกว่งหาแต่เรื่อง หเมือนจิตปุถุชน พอจะเข้าใจกันนะ
    เพราะฉะนั้น ทั้งครู ทั้งลูกศิษย์ จะต้องขยันทั้งคู่ จะขยันฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่งไม่ได้
    คือจะต้องสมดุลย์กัน มิฉะนั้นยาก
    มีหลายท่านสงสัยว่า ทำไม? จิต(บางคน)ยกกันง่ายจัง
    อย่าเพิ่งมาถามให้ท่านลองลงมือปฎิบัติกันดูบ้างจะได้รู้ว่ายากหรือง่าย
    ตอบแทนกันไม่ได้ เพราะว่า ไม่ใช่แฟนกัน ฮ่าๆ
    ลองถามคุณwatjojoj ดูกันนะว่า ยากหรือง่าย...อิอิ
    (โดนพลาดพิงทุกที เพราะคุณเป็นนายแบบจิตเกาะพระ)
    ว่าแต่ว่า น้องทิวลิปของพ่อภูไปไหน อีกไม่นานเดี๋ยวเธอก็ต้องกลับมา
    ยิ่งพูดก็ยิ่งยาว ไม่รู้จะแก้อย่างไร แต่อยากจะพูดเทศน์
    เอ๊ยพูดให้กับพวกเราเยอะๆนะ
     
  8. Kama-Manas

    Kama-Manas เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    5,351
    ค่าพลัง:
    +6,491
    ขอบคุณป้าใจมากจ๊ะ ที่นำมาให้อ่าน (เข้าไปดูมาแล้วนะ คงต้องใช้เวลาในการตามอ่าน เยอะมากๆเลยจ๊ะ
    แต่จะพยายามอ่านให้จบนะ)
     
  9. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    :cool: ค่อย ๆ ก้าวเดิน...ปายด้วยกัน นะคะ น้อง ISAA ป้าใจก็หวั่น ๆ ว่าจะปฏิบัติได้...สมดังตั้งใจไว้..หรือเปล่าเหมือนกัน แต่ก็ต้องลองดูค่ะ จิตเกาะพระ ก็ดีกว่าเอาจิตไปเกาะอย่างอื่น... มีที่พึ่งพิงทางใจไว้..ก็น่าจะดี...ค่ะ...
     
  10. Kama-Manas

    Kama-Manas เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    5,351
    ค่าพลัง:
    +6,491
    จร๊าา อิฉันก็ว่างั้นล่ะค่ะป้า จิตเกาะพระ ดีกว่าเกาะอย่างอื่นแน่นอน..(วันนี้ไม่ได้เข้ามาเลยค่ะ คิดถึงป้าใจ 555+)
     
  11. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    ++

    คิดถึงน้อง ISAA เช่นกันจร้า ๆ ๆ ป้าใจกำลังฝึกปฏิบัติจิตเกาะพระอยู่นะคะ
    มาเดินทางก้าวไปพร้อมกันนะคะ
     
  12. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=EfI1xs8U9X4]"พ้นทุกข์แบบฆราวาส" ดร.สนอง วรอุไร - YouTube[/ame]
     
  13. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,544
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,037
    เลิกคิดถึงเขาแล้วจ้า

    เลิกคิดถึงเขาแล้วจ้า พี่ภาวนาและตั้งใจที่จะไม่พยกันอีก เขาก็มาเข้าฝันว่าทําไม พี่ก็ตอบไปว่า"ก็เพื่อการหลุดพ้นไง" ตื่นมายังแปลกใจตัวเองว่าตอบไปได้ยังไง แต่มันจริงเลยเพราะถ้าพบกันอีก ก็จะมีทุกข์มีสุข(ปลอมๆ)มีกิเลสแล้วก็ตายๆเกิดๆๆต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด
     
  14. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    ทุกสิ่งล้วนเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

    อนิจจัง แปลว่า ไม่เที่ยง, ไม่แน่นอน, เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
    ทุกขัง แปลว่า สภาพที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ โดยทั่วไปหมายถึงสังขาร
    อนัตตา แปลว่า ไม่ใช่อัตตา, ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน
    ..........................................................
    อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แปลว่าความไม่เที่ยง แปรปรวนไป สลายไปในที่สุด จะหาอะไรมาเป็นเรา ของเราไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าจึงสอนว่า ไม่ให้ไปยึดมันถือมั่นมัน เพราะมันมีสภาพที่เป็นทุกข์ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ไตรลักษณ์"

    คนแม้ว่าจะท่องว่า "อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา"ครั้งละพันครั้ง วันละสามรอบ ก็มิได้ชื่อว่าเข้าถึงความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาได้ เพียงแค่ความรู้ ความเข้าใจ หรือการท่องบ่นเพื่อให้เกิดความจำได้หมายรู้ในธรรมนั้น แต่ต้องเป็นสภาพที่ต้องเห็นในดวงจิต แจ้งในดวงจิต ด้วยใจทั้งหมดทั้งสิ้นจริงๆ ผู้เห็นเช่นนี้ได้ก็จะสิ้นความสงสัยในพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า แม้จะยังไม่ถึงที่สุดของพรหมจรรย์เพราะคำว่าธรรมทั้งหลาย ก็มารวมลงในความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตานั่นเอง

    ..............................................................................
    เป็นวิถีแห่งสรรพชีวิตทั้งหมดทั้งมวล ไม่มีชีวิตใดหนีพ้นลักษณะทั้งสามนี้ไปได้เลย
     
  15. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=CskuxvA6heI]01 ทางสายเข้าสู่พระนิพพาน การทรงอารมณ์เพื่อเข้าถึงพระโสดาบัน - YouTube[/ame]
     
  16. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    [​IMG]

    วิธีการเข้าถึงพระนิพพาน พระพุทธเจ้าตรัสไว้มี 4 แบบ

    ทำอย่างไรเราจึงจะเข้าถึงพระนิพพานได้


    พระพุทธเจ้าตรัสว่า คนทุกคนมีความดี ที่จะเข้าถึงพระนิพพานได้ทุกคน และยังตรัสอีกว่า การที่จะไปนิพพานได้ ไปได้หมด คือ พรหมก็ไปนิพพานได้ เทวดาก็ไปนิพพานได้ มนุษย์ก็ไปนิพพานได้ แม้แต่สัตว์ก็ไปนิพพานได้

    คำว่า สัตว์ก็ไปนิพพานได้ ในที่นี้พระพุทธเจ้าหมายความว่า สัตว์ทุกตัวที่เกิดเป็นสัตว์ ตั้งแต่สัตว์ใหญ่หรือสัตว์เล็กตามที นั่นคือ คน

    คนที่สร้างกรรมที่เป็นอกุศล สร้างความชั่ว ถ้ากำลังของกรรมหนักจริงๆ พาคนลงนรกไปก่อน เป็นสัตว์นรกก่อน เมื่อกรรมเบาขึ้นมาหน่อยหนึ่ง ผ่านจากนรกก็มาเป็นเปรต จิตใจก็ยังมีความรู้สึกอย่างคน เมื่อกรรมเบาขึ้นมาอีกนิดหนึ่ง พ้นจากความเป็นเปรต มาเป็นอสุรกาย ความรู้สึกของจิตใจก็ยังเหมือนคน เพราะใจมันใจคน จากอสุรกายมาเป็นสัตว์เดรัจฉาน จากสัตว์เล็กถึงสัตว์ใหญ่ แต่ความรู้สึก ความต้องการของใจก็เท่าคน คือจิตเป็นคน

    ดังนั้น ขึ้นชื่อว่า สัตว์ เราจะคิดว่าเป็นสัตว์ต่ำทราม เสมอไปน่ะไม่ได้ คือ ด้วยมีจิตใจเป็นคน การที่พระพุทธองค์ตรัสว่า แม้แต่สัตว์ก็สามารถจะไปนิพพานได้ ก็เพราะว่า ถ้าสัตว์ทั้งหมด เขาชำระกฎของกรรมเดิมหมดสิ้นแล้ว สัตว์เหล่านี้ก็กลับมาเกิดเป็นคน สามารถบำเพ็ญกุศลเข้าถึงนิพพานได้



    วิธีการเข้าถึงพระนิพพาน พระพุทธเจ้าตรัสไว้มี 4 แบบ

    แบบที่ 1 สุกขวิปัสสโก

    แบบที่ 2 เตวิชโช

    แบบที่ 3 ฉฬภิญโญ

    แบบที่ 4 ปฏิสัมภิทัปปัตโต

    สำหรับแบบที่ 1สุกขวิปัสสโก ได้ชื่อว่า ง่าย แต่ทำยาก คือปฏิบัติแล้ว ไม่เห็นอะไร เหมือนคนเอาผ้าดำผูกตาเดิน ซึ่งเหมือนกับพุทธบริษัททั้งหลายส่วนใหญ่ ที่ทำกันอยู่ในวลานี้ ถ้าไม่เลิกปฏิบัติก็ถึงนิพพานเหมือนกัน ก็ได้แก่ปฏิบัติ ทาน ศีล ภาวนา



    ทาน การให้ การถวายสิ่งของกับพระก็ดี ให้แก่คนยากจนก็ดี ให้แก่คนที่ลำบากก็ดี ให้แก่สัตว์เดรัจฉานก็ดี ก็ชื่อว่าเป็นทาน และการให้ทาน ถ้ามีความมุ่งหมายอย่างอื่น ก็จะพลาดจากนิพพานไปได้ ฉะนั้นการให้ ทานจึงควรตั้งใจ โดยเฉพาะ เพื่อตัดกิเลสให้เป็นสมุจเฉทปหาน ให้คิดว่า ทาน นี้ เราให้เพื่อตัด โลภะ ความโลภที่อยู่ในจิตใจของเรา มันเป็นสิ่งสกปรก เราต้องให้ไปไม่หวังผลตอบแทนใดๆในชาติปัจจุบัน สำหรับผู้รับไป เขาจะนำไปใช้ เขาจะไปให้คนอื่นต่อ เขาจะนำไปทิ้ง ก็เรื่องของเขา แต่กำลังใจของเราตัดเยื่อใยในความผูกพันในทรัพย์สมบัติ สิ่งของที่เราให้ไปหมดสิ้นแล้ว อย่างนี้พระพุทธองค์ตรัสว่า เป็นการชนะความโลภ เป็นการตัดกิเลสตัวสำคัญ ตัดรากเหง้ากิเลสได้รากหนึ่ง

    สีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล การรักษาศีลตามประเพณีมีประโยชน์น้อยเต็มที สักแต่ว่าสมาทานศีลก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร จะให้เกิดประโยชน์ต้องรู้พื้นฐานของศีล จะทำให้ ศีลเป็นตัวตัดโทสะ ความโกรธ รากเหง้ากิเลสตัวที่ 2 ได้

    จงจำไว้ว่า ศีล จะมีขึ้นกับใจ ต้องอาศัยเหตุ 3 ประการ คือ

    1.เมตตา ความรัก จิตคิดไว้เสมอว่า เราจะเป็นมิตรที่ดีของคนและสัตว์ทั่วโลก จะไม่เป็นเวรเป็นภัยกับใครจะไม่เป็นศัตรูกับใคร จะคบหากับบุคคลอื่นเหมือนคบหาตัวเอง เราจะรักคนอื่นเหมือนกับรักตัวเราเอง

    2.จิตคิดสงสาร หวังจะเกื้อกูลให้มีความสุข ให้คิดว่าถ้าเราสงสารตัวเราเองเท่าไร เราก็สงสารเขาเท่านั้น เว้นไว้แต่เรื่องผิดระเบียบวินัยประเพณี ก็ต้องลงโทษกันตามระเบียบประเพณี อย่างพระพุทธเจ้าทรงลงโทษพระ เพราะความเมตตาปรานี เกรงว่าจะเลวไปกว่านั้น แบบนี้ไม่ถือว่าเป็นความโกรธ

    3.สันโดษ ยินดีเฉพาะทรัพย์สิน ที่เรามีอยู่โดยชอบธรรม และยินดีเฉพาะคนรักที่เรามีอยู่โดยชอบธรรม ไม่ล่วงเกินคนรักของบุคคลอื่น การรักษาศีลให้ดี พระพุทธเจ้าตรัสว่า ค่อยๆรักษาไปเรื่อยๆ ทำใจสบาย กิเลสคือความโกรธ ก็ค่อยๆลดไป ในที่สุดมันก็จะหมดไปเอง เป็นการปฏิบัติด้านสุกขวิปัสสโก

    ภาวนามัย พระพุทธองค์ตรัสว่า เรื่องการภาวนาด้าน สุขวิปัสสโกนี้ มีฌานเบื้องต้น ไม่สูง โดยเริ่มต้นใช้อารมณ์ พิจารณาตั้งแต่ ขณิกสมาธิ คือยามปกติ เมื่อเราให้ทานก็ให้ คิดว่า คนที่เราให้ทาน ทุกคนเมื่อเขารับทานที่ให้มาแล้ว เขาก็มีความสุขในการบริโภคทาน แต่ว่าเราผู้ให้ทานก็ดี ผู้มารับทานก็ดี คนทั้งหลายทั้งหมดนี้ ไม่มีชีวิตอยู่ตลอดกาลตลอดสมัย เกิดขี้นมาเมื่อไรก็ค่อยๆเสื่อมไปทุกวันๆ ในที่สุดก็ตายเหมือนกันหมดทุกคน ไม่มีอะไรจีรังยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็นคน เป็นสัตว์เป็นวัตถุก็ดี ในโลกนี้ไม่มีอะไรเหลือ นี่เป็นด้านวิปัสสนาญาณควบสมถะของสุกขวิปัสสโก ตราบใดเรายังหวังความเกิดเป็นมนุษย์ก็ดี เทวดาก็ดี เป็นพรหมก็ดี เราต้องเวียนว่ายตายเกิดเช่นนี้ หาที่สิ้นสุดไม่ได้ พระพุทธเจ้าตรัสว่า สถานที่พระนิพพานเป็นแดนที่มั่นคง เป็นแดนอมตะ เรายอมเชื่อพระพุทธเจ้า ทำจิตให้หลุดพ้นจากกิเลสเป็นสมุจเฉทปหาน คือ ทำลายความโลภด้วยการให้ทาน ทำลายความโกรธด้วยศีล คือมีความเมตตาปรานีเป็นที่ตั้ง ทำลายความหลงด้วยปัญญา ให้เห็นความจริงว่า โลกนี้ไม่เที่ยง ผู้ที่เกิดมาแล้วก็ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ในที่สุด ในที่สุด กระทั่งจิตของเรา ก็ปลอดปราศจากกิเลส ทั้ง 3 ประการ คือความโลภไม่มี ความโกรธไม่มี ความหลงไม่มี อย่างนี้ได้ชื่อว่าเป็น นิพพานัง ปรมัง สูญญังนิพพานเป็นธรรมว่างอย่างยิ่ง

    ในเมื่อเชื้อสายความเร่าร้อนไม่มี จิตก็เป็นสุข อย่างนี้ท่านเรียกว่านิพพานตัดกิเลส มีเบญจขันธ์เหลือ

    ต่อจากนี้ก็เป็นรายละเอียดในด้าน เตวิชโช หรือด้านวิชาสาม อภิญญาหก ปฏิสัมภิทาญาณ ซึ่งเป็นวิธีปฏิบัติที่เข้าถึงพระนิพพานได้รวดเร็วและได้มากกว่า มีกำลังดีกว่า ไม่สงสัยในคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่พระพุทธเจ้าบอกว่า สวรรค์มีจริง เราเจอะสวรรค์แล้ว พรหมโลกมีจริง เราเจอะพรหมโลกแล้ว พระนิพพานมีจริง เราเจอะพระนิพพานแล้ว นรก เปรต อสุรกาย มีจริง เราพบแล้ว ทั้งหมด เป็นอันว่าทุกคนไม่สงสัยคำสอนของพระพุทธเจ้า ถ้าบุคคลใดไม่สงสัยคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างหนึ่ง มีศีล 5 บริสุทธิ์อย่างหนึ่ง มีจิตรักพระนิพพานเป็นอารมณ์อย่างหนึ่ง อย่างนี้ท่านเรียกว่า พระโสดาบัน หรือ สกิทาคามี แลเมื่อทำให้จิตว่างจากกิเลสเป็นสมุจเฉทปหาน ตายเมื่อใดก็ถึงนิพพานเมื่อนั้น
     
  17. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    [​IMG]
    นิพพาน

    จุดหมายปลายทางของชีวิต

    คำนำ

    เรื่องพระนิพพาน มิใช่เป็นเรื่องที่พูดให้จบหรือให้เข้าใจกันได้ด้วยคำพูดเพียงสองสามคำ, เพราะฉะนั้นผู้ศึกษาจะต้องอ่านทบทวนไปมา และทำการศึกษาคิดค้น ตีความและเทียบเคียง หยั่งให้ถึงความหมายของศัพท์ และประโยคไปโดยลำดับจริงๆ ไม่อ่านอย่างสะเพร่าลวกๆ หรือข้ามไปทั้งที่ไม่เข้าใจ, จึงจะมีความรู้จักตัวพระนิพพานชัดเจนเพิ่มขึ้นเป็นลำดับๆ จนกว่าจะลุถึงได้จริงๆ ด้วยการ ปฏิบัติธรรม ทางใจ, ต่อไปนี้เป็นแนวการคิดค้นหาความเข้าใจ หรือคุณค่าของพระนิพพาน เพื่อก่อให้เกิดฉันทะในการบรรลุพระนิพพานแรงกล้ายิ่งขึ้นบ้าง ไม่มากก็น้อย.
    พระนิพพานไม่ใช่เป็นจิต, ไม่ใช่เป็นเจตสิกหรือสิ่งที่เกิดขึ้นกับจิต โดยอาศัยจิตนั้น, ไม่ใช่มีรูปร่าง, เป็นก้อน เป็นตัว อันเป็นประเภทรูปธรรม, ไม่ใช่บ้านเมือง ไม่ใช่ดวงดาว หรือดวงโลกในโลกใดโลกหนึ่ง, และยิ่งกว่านั้น พระนิพพานไม่ใช่สิ่งที่มีความเกิดขึ้นมา, ไม่ใช่สิ่งที่มีความดับลงไป, หรือทั้งเกิดและดับสลับกันไปในตัว, ไม่ใช่สิ่งที่มีความดับลงไป, หรือทั้งเกิดและดับสลับกันไปในตัว, แต่พระนิพพานเป็นสภาวะแห่งธรรมชาติชนิดหนึ่ง และเป็นสิ่งเดียวเท่านั้น ที่ไม่ต้องตั้งต้นการมีของตนขึ้นเหมือนสิ่งอื่นๆ แต่ก็มีอยู่ได้ตลอดไป และไม่รู้จักดับสูญ เพราะไม่มีเวลาดับหรือแม้แต่แปรปรวน.
    สิ่งทั้งหลายอื่นซึ่งมีอยู่ นอกจากพระนิพพานแล้ว; แรกที่สุด มันต้องมีการเกิดขึ้น มันจึงจะมีอยู่ได้ และต้องดับไปในที่สุด แม้จะช้านานสักเพียงไรก็ตาม และยังต้องแปรไปๆ ในท่ามกลางด้วย, เพราะสิ่งนั้นมันมีการเกิดขึ้น. แม้ที่สุดแต่ดวงอาทิตย์ ซึ่งวิทยาศาสตร์ บอกว่ามีอยู่นานก่อนสิ่งใดในสากลจักรวาล มันจะต้องกลายเป็นไม่มีสักวันหนึ่ง และเราจะไม่ได้เห็นมันในเวลาเช้า และลับหายจากสายตาไปในเวลาเย็น เช่น เดี๋ยวนี้, แม้ ดิน น้ำ ไฟ หรือความร้อน ลม หรืออากาศ ก็เช่นกัน จักต้องถึงสมัยหนึ่ง ซึ่งมันจะไม่มีอยู่, เพราะสิ่งเหล่านี้ มีการเกิดขึ้นมา และเกิดขึ้นได้เป็นขึ้นได้โดยต้องอาศัยสิ่งอื่น.
    ส่วนสิ่งที่เรียกว่า พระนิพพาน ไม่เป็นเช่นนั้น; ไม่มีการเกิดขึ้น ทำไมจะต้องมีการอาศัยสิ่งอื่น, เมื่อตัวเองมีของตัวเองได้ มันจึงไม่รู้จักดับ, และจะมีอยู่ตลอดไปโดยไม่มีที่สุดหรือเบื้องต้น และเหตุนี้เอง พระนิพพานจึงไม่ใช่สิ่งที่ใครจะกล่าวได้อย่างมีเหตุผลเลยว่า พระนิพพานนั้นเป็นอดีต, อนาคต หรือเป็นปัจจุบัน ได้เลย, ทั้งนี้เพราะความมีอยู่แห่งพระนิพพานนั้น แปลกกับความมีอยู่ของสิ่งอื่น อย่างสุดที่จะกำหนดมากล่าวได้. พระนิพพานมีอยู่ตลอดกาล อันไม่มีที่สุด, มีเป็นของคู่เคียงกับกาลเวลาอันไม่มีที่สิ้นสุด, แต่หากว่ากาลหรือเวลาจะเป็นสิ่งที่สิ้นสุดลงในวันหนึ่งได้ พระนิพพานก็ยังหาเป็นเช่นนั้นไม่.
    พระนิพพาน เป็นสิ่งที่เปิดโอกาสเตรียมพร้อมอยู่เสมอ สำหรับที่จะพบกันเข้ากับดวงจิตของคนเราทุกๆ คน. หากแต่ว่า ดวงจิตของเราตามธรรมดา มีอะไรบางอย่างเข้าเคลือบหุ้มเสียก่อน ไม่เปิดโอกาสให้พบกันได้กับพระนิพพานเท่านั้น, พระนิพพานจึงไม่ปรากฏแก่เราว่ามีอยู่ที่ไหน ทั้งที่พระนิพพานอาจเข้าไปมีได้ในที่ทั่วไป ยิ่งเสียกว่าอากาศ ซึ่งเรากล่าวกันว่ามีทั่วไปเสียอีก. เมื่อเราไม่อาจกำหนด หรือเคยพบกับพระนิพพาน ก็เลยคิดไปว่า พระนิพพานไม่ได้มีอยู่ดังที่ท่านกล่าว เข้าใจว่าเป็นการกล่าวอย่างเล่นสำนวนสนุกๆ ไป. คนตาบอดมาแต่กำเนิดย่อมไม่รู้เรื่องแสงสว่าง หรือสีขาว แดง ทั้งที่มันมีอยู่รอบตัว หรือถึงตัวฉันใด, ผู้บอดด้วยอวิชชาซึ่งห่อหุ้มดวงจิต ก็ไม่รู้เรื่องพระนิพพาน ไม่อาจคาดคะเน พระนิพพานฉันนั้น, จนกว่าเขาจะหายบอด.
    เราเกิดโผล่ออกมาจากท้องแม่สู่โลกนี้ บอดเหมือนกันหมดทุกคน จึงไม่อาจรู้เรื่องพระนิพพานได้ตั้งแต่แรกเกิด. ยิ่งผู้ที่มีตาเนื้อ ตาเนื้อก็บอดเสียอีกด้วยแล้ว ไม่อาจรู้จักแสง หรือสี ก็ยิ่งร้ายไปกว่านั้น. บอดตาไม่อาจรักษาได้ แต่บอดใจหรือบอดต่อพระนิพพานนั้นรักษาได้. ผู้ที่ตาบอด แต่ถ้าเขาหายบอดใจ เขาก็ประเสริฐกว่าผู้ที่แม้ไม่บอดตา แต่บอดใจ. นี่เราจะเห็นได้ชัดๆ ว่าแสงแห่งพระนิพพานส่องเข้าไปถึงได้ในที่ที่แสงสว่างในโลกส่องเข้าไปไม่ถึง. ดวงจิตของคนตาบอดอาจพบกับพระนิพพานได้ไม่ยากไปกว่าของคนตาดีๆ. แต่ว่าทุกๆ คนที่ตาของเขายังเห็นแสงและสีได้ ก็ไม่ยอมเชื่อหรือสำนึกว่า ตาของตนบอด, ตาข้างนอกของเขาแย่งเวลาทำงานเสียหมด ตาข้างในจึงไม่มีโอกาสทำงาน แม้ที่สุดแต่จะรู้สึกว่าตาข้างในของฉันยังบอดอยู่ก็ทั้งยาก, และยิ่งขึ้นไปกว่านั้น อาจไม่รู้สึกด้วยซ้ำไปว่ามีตาข้างในอยู่อีกดวงหนึ่ง ซึ่งเป็นดวงสำคัญที่สุดด้วย.
    เมื่อเขาแก้ปัญหาชีวิตอันยุ่งเหยิง ซึ่งเป็นวิสัยส่วนของตานอกได้หมดจนสิ้นเชิง เขาก็ยังต้องพบกับความยุ่งยากอยู่อีก และเขาไม่ทราบว่า นั่นมันเป็นวิสัยส่วนของตาใน, ก็แก้ไขมันไม่ได้, ทำให้ว้าวุ่นไป โทษนั่น โทษนี่ เดาอย่างนั้น เดาอย่างนี้ ก็ไม่อาจพบกับความสุขอันแท้จริงเข้าได้เลย. นี่ ! จะเห็นได้แล้วว่า เพราะแก้มันไม่ถูก คือไม่ได้ใช้ตาในแก้, ที่ไม่ใช้เพราะตาในยังบอด, ที่ยังบอดเพราะยังไม่ได้รักษา. ที่ยังไม่ได้รักษา ก็เพราะตนยังไม่รู้เลยว่า ตาในมีอีกดวงหนึ่ง, เป็นตาสำหรับพระนิพพาน คือความสุขอันเยือกเย็นแท้จริงของชีวิต.
    ใจของเราบอดเพราะอวิชชา คือความโง่หลงยิ่งกว่าโง่หลงของเราเอง นั่นเอง. เปรียบเหมือนเปลือกฟองไข่ที่หุ้มตัวลูกไก่ในไข่ไว้, เหมือนกะลามะพร้าวที่ครอบสัตว์ตัวน้อยๆ ซึ่งเกิดภายใต้กะลานั้นไว้, ฯลฯ, เหมือนเปลือกแข็งของเมล็ดพืช ซึ่งหุ้มเยื่อสารในสำหรับงอกของเมล็ดไว้, แม้แสงสว่างมีอยู่ทั่วไป มันก็ไม่อาจส่องเข้าไปถึงสิ่งนั้น, จิตที่ถูกอวิชชาเป็นฝ้าห่อหุ้ม ก็ไม่อาจสัมผัสกับพระนิพพานอันมีแทรกอยู่อย่างละเอียดยิ่งกว่าละเอียดในที่ทั่วไป ตลอดถึงที่ที่แสงอาทิตย์ส่องลงไปไม่ถึง ฉันใดก็ฉันนั้น.
    เมื่อใดเปลือกฟองไข่ กะลามะพร้าว เปลือกแข็งนั้นๆ ได้ถูกเพิกออก หรือทำลายลง. แสงสว่างก็เข้าถึงทั้งที่ไม่ต้องมีใครขอร้อง อ้อนวอน หรือขู่เข็ญบังคับมันเลย, นี่ฉันใด. เมื่อฝ้าของใจกล่าวคือ อวิชชา อุปาทาน ตัณหา อันเป็นฝ้าทั้งหนาและบาง ทั้งชั้นนอก ชั้นกลาง ชั้นใน ถูกลอกออกแล้วด้วย "การปฏิบัติธรรม" แสงและรสแห่งพระนิพพานก็เข้าสัมผัสกันได้กับจิตนั่น เมื่อนั้น ฉะนั้น. เราจึงเห็นได้ชัดเจน, เห็นได้อย่างแจ่มแจ้งทันทีว่า พระนิพพานไม่ใช่จิต, ไม่ใช่เจตสิกอันเกิดอยู่กับจิต, ไม่ใช่รูปธรรม, ไม่ใช่โลกบ้านเมือง, ไม่ใช่ดวงดาว. ไม่ใช่อยู่ในเรา, ไม่ใช่เกิดจากเรา, ไม่ใช่อะไรปรุงขึ้น ทำขึ้น. มันเป็นเพียงสิ่งที่เข้าสัมผัสดวงใจเรา ในเมื่อเราได้ดำเนินการปฏิบัติธรรม ถึงที่สุด เป็นการเปิดโอกาสให้แก่พระนิพพานได้เท่านั้น.
     
  18. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    นิพพาน

    จุดหมายปลายทางของชีวิต

    (๒)

    ตัวพระนิพพานคืออะไรเล่า? เท่าที่กล่าวมาแล้ว กล่าวแต่ฝ่ายที่ไม่ใช่, ส่วนที่ใช่หรือลักษณะของพระนิพพานนั้นคืออะไร. ในที่นี้ก่อนอื่นทั้งหมด, ผู้อ่านต้องไม่เข้าใจว่าผู้บรรยายเป็นผู้ลุถึงนิพพาน หรือพบพระนิพพานแล้ว. พึงเข้าใจแต่เพียงว่าเป็นนักศึกษาค้นคว้าด้วยกันเท่านั้น. ถือเสียว่าเป็นการสนทนาแลกเปลี่ยนความรู้แก่กันและกัน เท่าที่จะได้มาจากการค้นคว้าภายในห้องทดลอง คือ มันสมอง, และตามแนวแห่งพระบรมพุทโธวาท ของพระผู้มีพระภาคองค์อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าก็แล้วกัน. พระนิพพานคืออะไรเล่า, พระนิพพานคือ สภาพชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นตัวความบริสุทธิ์ ความว่าง ความเบา ความสุขอันแท้จริง, ความชุ่มชื่น เยือกเย็น ฯลฯ อย่างสุดยอด, เป็นสภาพซึ่งแม้จะพูดว่ามีอยู่ก่อนสิ่งทั้งปวง ก็ยังน้อยไป, พูดว่าอยู่คู่กับสิ่งทั้งปวง ก็ยังน้อยไป, เพราะเป็นสภาพที่เป็นอยู่เช่นนั้นโดยตัวเองจงตลอดอนันตกาล. เราจึงกล่าวได้แต่เพียงว่า พระนิพพานคือ อมตธรรม สิ่งที่ไม่มีการตาย.
    จิตของเราพบกันเข้ากับอมตธรรมนี้จริง, แต่จิตนั่นหาใช่ อมตธรรมไม่. พระนิพพานจึงคือสิ่งที่มีอยู่สำหรับให้เราหรือจิตพบมันจะได้เยือกเย็นเป็นสุข ถึงยอดสุดเพราะเหตุนั้นได้, และทุกคนควรพยายามทำเพื่อจะได้เสียก่อนแต่จะตายลงไป. ถ้าจะปล่อยให้จิตท่องเที่ยวไปด้วยความบอดของมัน มันจะเที่ยวไปด้วยอาการอันซ้ำซาก เช่นกับที่เคยเที่ยวมาแล้วไม่รู้กี่แสนชาติ ในวัฏสงสารอันยืดยาวนี้ การซ้ำแล้วซ้ำเล่าด้วยการเกิดแล้วตายๆ และในระหว่างเกิดตายก็เต็มไปด้วยความกดทับ นั่นมันจะดีอะไร, เพราะมันเป็นไปเองตามประสาความมืดบอด เช่นเดียวกับความล้มลุกคลุกคลานของคนตาบอด ซึ่งปราศจากไม้เท้าและผู้จูง. การลืมตาและพบกับแสงสว่างกล่าวคือพระนิพพานนี้นั้น มันเป็นยอดที่สุดของความสุขเป็นความหยุดจบลงของความอยากความปรารถนา, เป็นความหมดสิ้นของความสงสัยในสิ่งที่อยากจะรู้, เป็นยอดสุดของความรู้ทุกๆ โลก ทุกๆ สมัย และทุกๆ คน. เพราะฉะนั้นเพียงเท่านี้ ก็เป็นการแสดงให้เห็นได้บ้างแล้วว่า พระนิพพาน คือจุดปลายทางของชีวิตทุกคน, ถ้าใครจะถาม ข้าพเจ้าก็ตอบดังนี้ เคยตอบมาแล้วก็ดังนี้, และจะตอบต่อไปก็ดังนี้.
    ทุกคนต้องไปพระนิพพาน! ทุกคนจะต้องลุถึงพระนิพพานไม่วันใดก็วันหนึ่ง ทั้งที่ในบัดนี้ จะเป็นคนโง่หรือคนฉลาดก็ตาม. ทุกคนจะจบการเดินทางของเขาลงในชาติที่บรรลุพระนิพพาน, ในชาติที่ตาภายในของเขาหายบอด, เพราะทุกคนมีที่สุดแห่งสงสารวัฏ เว้นแต่จะช้าหรือเร็วเท่านั้น. ทุกคนถูกธรรมชาติฝ่ายสูงค่อยๆ พยุงเขาขึ้นๆ เรื่อยๆ แต่จะได้ช้าหรือเร็ว นั่นแล้วแต่ความหนักมากหรือน้อยของเขา, มันเป็นน้ำหนักแห่งความโง่หรือกิเลส, หรืออีกอย่างหนึ่ง คือความบอดมากหรือบอดน้อย. เพราะฉะนั้นทุกคนแม้จะกลับมีการกลับตกต่ำบ้าง ทางกายหรือทางจิต ในขณะที่ท่องเที่ยวไปในวัฏสงสาร, แต่ตารางที่แสดงงบยอดใหญ่ของเขา จะต้องเลื่อนสูงขึ้นๆ เสมอ แม้เขาจะเคยดิ่งลงสู่อเวจีครั้งหนึ่งแล้ว หรือหลายครั้ง. ทุกคนไปตามคติและผลกรรมของตนเองก็จริง แต่ที่ เขาเกิดครั้งหนึ่งนั้นมันเป็นการศึกษาของเขาทุกครั้ง, แม้ในบางชาติเขาจะเป็นเด็กดื้อ แต่ในภายหลังหรือชาติหลัง เขาย่อมเข็ด ทั้งที่ตามธรรมดาเขารู้สึกราวกะว่าชาตินั้นๆ ที่เขาเคยเกิดมาแล้ว ไม่มีอะไรติดต่อสืบเนื่องกันเลย.
    ตามกฏแห่งวิวัฒน์ ตามแนวแห่งวิทยาศาสตร์แผนปัจจุบัน เช่น ชีววิทยา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือลัทธิแห่งดาร์วินก็ตาม หรือตามแนวแห่งพุทธศาสนา คือกฏแห่งปัจจัยยี่สิบสี่ประการ และ ปฏิจจสมุปบาท ก็ตาม, แม้ที่สุดแต่ตามที่เราจะสังเกตได้ง่ายๆ ทั่วไปว่า โลกนี้ค่อยๆ เลื่อนสู่ระดับสูงขึ้นๆ ไม่ทางฝ่ายรูปธรรม ก็ต้องฝ่ายจิต; ที่จะหยุดนิ่งหรือตกต่ำลงนั้น เป็นไม่มี, แล้วแต่ยุคนั้นโลกจะยึดเอาฝ่ายจิต หรือฝ่ายรูปเป็นส่วนสำคัญ, ก็ตาม; ทั้งหมดนี้ ย่อมแสดงว่า สัญชาตญาณที่เป็นภายในพร้อมทั้งสิ่งส่งเสริมข้างนอก มันล้วนแต่จะดึงไปในฝ่ายดีขึ้นๆ เพราะตัณหาของหมู่สัตว์ เป็นเช่นนั้น. เมื่อใดพากันหนักไปในฝ่ายรูป ก็ถึงจุดปลายทางของฝ่ายรูป เช่นที่วิทยาศาสตร์แผนปัจจุบันกำลังก้าวพรวดๆ ไป, และเมื่อใดโลกพากันหนักไปในฝ่ายจิต ก็จะพากันลุถึงจุดปลายทางฝ่ายจิต เช่นเดียวกับยุคแห่งพระอรหันต์ที่ผ่านพ้นมาแล้ว. แต่อย่างไรก็ดี แม้โลกนี้จะเป็นเด็กดื้อดันทุรังไปในฝ่ายรูป เมื่อ "เข็ดฟัน" เข้า ก็ย่อมหมุนกลับไปสู่ฝ่ายจิตเอง. และในยุคนั้นแหละ จะมีสัตว์จำนวนมาก จำนวนหนึ่ง ซึ่งหลุดพ้นออกไปจากโลก ได้ทุกคราวที่โลกหมุน มาสู่ราศีนี้. เมื่อเราจะรวบเค้าความที่ใหญ่ที่สุดให้สั้นที่สุดแล้ว เราจะกล่าวได้พร้อมทั้งเหตุผลว่า สัญชาตญาณของสัตว์โลกย่อมหมุนไปหาฝ่ายดี ไม่ฝ่ายรูปก็ฝ่ายจิตดังกล่าวแล้ว สองอย่างนี้เท่านั้น.
    เมื่อทุกคนมีอำนาจ "กายสิทธิ์" อันนี้อยู่ในตน มันก็แน่นอนว่าจะถูกดึงดูดไปหาสถานะที่ถึงหรือพบกับพระนิพพาน ทุกคนเมื่อได้ออกโรงเป็นตัวละครโลก ในฉากที่เขาทะเยอทะยานกระลิ้มกระเหลี่ยใคร่จะแสดง ซ้ำซากเข้าก็เบื่อโลก ซึ่งเรียกว่ามี "นิพพิทา" เข้าสักวันหนึ่ง. ในวันนั้นแหละ เมื่อหน่ายก็คลายความกอดรัดยึดถือ, เมื่อไม่ยึดถือก็หลุดพ้นจากเปลือกหุ้ม และพระนิพพานเข้าสัมผัสจิตของเขาได้เมื่อนั้น เรารู้จักตัวเราด้วยสายตาสั้นๆ แค่ชาตินี้ จึงจับตัวความอยากและความเบื่อที่มีสายสัมพันธ์อันยาวยืดหลายร้อยชาติไม่ได้, ทั้งที่แม้เราจะเคยเห็นเด็กบางคนเกิดมาถึงก็เบื่อกาม มีโลภ โกรธ หลง น้อยกว่าธรรมดา, เราก็หาเข้าใจไปในทำนองว่า เป็นผลของชาติก่อนๆ ของเขาไม่. มิหนำซ้ำ มีความเห็นไปในทำนองว่า เด็กคนนั้นมีมันสมองไม่สมประกอบเสียอีก โดยอ้างหลักจิตวิทยา หรืออะไรที่ตนอยากอ้างมา ตามความอยากของตนเอง. ถ้าหากเรามีสายตายาว มองเห็นได้ข้ามชาติแล้ว เราก็ต้องฉลาดมากกว่านี้หลายเท่านัก ถึงกระนั้นก็ยังไม่มีใครอยากสร้างสายตาชนิดนั้น เพราะไม่รู้จักบ้าง เพราะกลัวว่าโลกจะหมดรสชาติที่หอมหวนไปบ้าง. แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ที่เป็นเช่นนั้นแหละก็ตกอยู่ในจำพวกที่ถูกพัดพาไปหาพระนิพพานดุจกัน เพราะไม่มีอะไรจะมามีอำนาจยิ่งไปกว่าผลกรรมอันปรุงสัญชาตญาณ และยิ่งกว่าความจริงอันไม่รู้จักแปรผันไปได้นี้เลย.

     
  19. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    นิพพาน

    จุดหมายปลายทางของชีวิต
    (๓)


    ครั้งหนึ่ง มีผู้กล่าวแก่ข้าพเจ้าว่า ถ้าเราทุกคนแน่นอนว่าต้องถึงพระนิพพานวันยังค่ำแล้ว เราจะไปขวนขวายปฏิบัติธรรมให้เหนื่อยยากทำไม, หาความสุขในทางโลกเรื่อยๆ ไปจนกว่าจะถึงกำหนดที่ถึงเข้าเอง มิดีกว่าหรือ. มิเป็นการฉลาดกว่าหรือ? ข้าพเจ้าตอบเขาว่า แน่นอนนักที่ทุกคนก็กำลังเป็นเช่นนั้นเองแล้ว โดยไม่ต้องตั้งปัญหาหรือคิดว่าเราควรชวนกันดำเนินรูปนั้น. แต่เราไม่รู้สึกเอง จึงมาตั้งปัญหาหรือคิดทำเช่นนั้นทับลงไปอีก. เรายังตาบอด, ยังกำลังปล่อยให้เรื่อยๆ ไปตามใจของเรา, ไม่มีอะไรที่มีอำนาจมากไปกว่าความรู้สึกหรือเห็นแจ้งภายในจิตของเราเอง และสิ่งนั้นมันก็บังคับควบคุมให้เราดำเนินไปโดยรูปนั้นอยู่อย่างเต็มเปี่ยมแล้ว. การที่ทำตามความคิดแนวใหม่นั้น จึงไม่เป็นการแปลกกว่ากัน หรือฉลาดกว่าเก่าแต่อย่างใดเลย นอกจากจะช่วยให้ช้าไปกว่าธรรมดา หรือที่ควรจะเป็นเสียอีก ข้าพเจ้าลองถามเขาบ้างว่า "ถ้าหากว่ามีใครสักคนหนึ่ง อาจบันดาลให้ท่านถูกสลากกินแบ่งรางวัลจำนวนล้านได้ ตามแต่ที่ท่านจะประสงค์ให้ถูกเมื่อไร, เช่นนี้ ท่านจะขอร้องให้เขาบันดาลเพื่อให้ท่านถูกพรุ่งนี้ หรือต่อเมื่ออีกสัก ๕๐ ชาติล่วงไปแล้ว? " เขายิ้ม และละอายที่จะตอบว่า พรุ่งนี้.
    เราจะเห็นได้สืบไปเป็นลำดับว่า สิ่งที่เราอยากมากที่สุด ก็คือสิ่งที่เราเข้าใจ (ผิดหรือถูกก็ตาม) ว่ามันดี หรืออร่อยที่สุดนั่นเอง คนตาบอดมองไม่เห็นแสงแห่งนิพพานจะปรารถนาพระนิพพานได้อย่างไร. จะเห็นคุณค่าของพระนิพพานว่าสูงสุดกว่าสิ่งอื่นได้อย่างไร. ในเมื่อตาเนื้อๆ ของเขาชิงเอาเวลาไปรู้จักหรือแสวงหาเหยื่อในโลกเสียจนหมด, เขากำลังอยากมีเงินมากๆ เพื่อหาผู้บำเรอ (ซึ่งเขาเลี่ยงอ้างว่าภรรยา), ตึกสวยๆ, รถยนต์งามๆ, ยศศักดิ์ชั้นหรูๆ ฯลฯ. พยายามเพื่อให้ได้ในชาตินี้ หรืออีกกี่ชาติก็เอา ขอแต่ให้ได้ก็แล้วกัน, และขออย่าเพ่อให้พระนิพพานถลันเข้ามาขวางหน้าเสียก่อน. ถ้าเขารู้จักและเข้าใจพระนิพพานมากเท่าที่เขาเข้าใจเงินรางวัลล้านบาทนั่นแล้ว เขาจะต้องขอให้ท่านผู้วิเศษบันดาล เพื่อลุถึงพระนิพพานในนาทีนี้ทีเดียว แม้จะผัดพรุ่งนี้ ก็ยังไม่พอใจ ถ้าเป็นไปได้.
    แต่มีพุทธบริษัทจำนวนมาก ที่ต้องการพระนิพพาน ทั้งที่ยังไม่ทราบว่า พระนิพพานคืออะไรแม้แต่น้อย. คราวหนึ่งได้ลองตั้งปัญหาซึ่งไม่ใช่ชื่อสิ่งต่างๆ ตามที่เรียกกันมาก่อน ถามขึ้นในที่ประชุมแห่งหนึ่งว่า มีสถานที่สองแห่ง แห่งหนึ่งต้องการสิ่งของอะไร เป็นได้อย่างนั้นทันที, อีกแห่งหนึ่งจะทำให้ใจของผู้ไปถึงว่างเฉย เงียบพ้นจากอำนาจของอารมณ์ทุกประการ จนในที่สุด ดับหายไป อย่างไม่มีอะไรเหนือสำหรับมาเป็นอย่างนั้นอย่างนี้อีกต่อไปเช่นนี้ ใครจะเลือกไปในที่ไหน? ทุกคนที่ตอบ ตอบว่าเอาแห่งแรก, อีกสองสามคนนิ่ง แต่ที่นิ่งก็เพราะรู้ทันว่า เป็นปัญหาล่อถามของข้าพเจ้า. กลัวจะพลาดเลยนิ่งเสีย, คาดว่าหากสองสามคนนี้ตอบ ก็คงตอบเช่นเดียวกัน. ทีนี้ถามต่อไปว่า เมื่อถึงที่นั้นแล้วจะต้องการอะไร? เขาตอบว่า ต้องการของดีๆ ที่สุด เพื่อทำบุญให้สูงยิ่งสมใจรัก. ข้าพเจ้าถามอีกว่า เพื่ออะไรกัน? บางคนตอบว่า เพื่อไปสวรรค์, บางคนเพื่อไปพระนิพพาน.
    ขอให้ลองคิดดูทีหรือว่า สิ่งแรกในปัญหานั้นก็คือสวรรค์อยู่แล้ว, พวกนี้ไม่รู้จักแม้แต่สวรรค์ที่ตนกำลังปรารถนาอยู่ ไปถึงสวรรค์แล้ว กลับเสียสละเพื่อหวังสวรรค์อย่างเดียวกันอีก เช่นนี้จะไปสวรรค์ได้อย่างไร สิ่งที่สองในปัญหานั้น ก็คือพระนิพพานอยู่แล้ว เขายังไม่ต้องการ, แต่ต้องการบันไดสำหรับพาดขึ้นชั้นพระนิพพาน ข้าพเจ้ารู้สึกสลดใจในการที่เขาทั้งหลายมีความอยากไปนิพพาน ทั้งที่ไม่รู้จักพระนิพพาน, หรือรู้น้อยเกินไป เพียงสักว่า ชื่อศักดิ์สิทธิ์ ชนิดหนึ่งซึ่งทุกๆ คนว่าดีที่สุดเท่านั้น. และได้เห็นชัดทีเดียวว่า สำหรับผู้ที่ยังไม่รู้จักพระนิพพานนั้น จะต้องถือว่ามีตัวมีตน และมีสิ่งที่ตนยึดถือไปก่อน, มิฉะนั้น ก็จะวางๆ จับๆ อยู่ในสิ่งที่ตนสงสัยนั่นเอง และเต็มไปด้วยความว้าเหว่ หรือความกลัวอันเป็นความทุกข์ และในที่สุด ก็ตายเปล่า, หรือกลับช้ากว่าผู้ที่ยึดถือสาวคืบหน้าไปข้างหน้าตามลำดับ, ประโยชน์โลกนี้, ประโยชน์โลกหน้า ประโยชน์สูงสุด คือพระนิพพาน ทั้งนี้ก็เพราะเขาไม่สามารถเข้าใจพระนิพพาน อันมีนัยลี้ลับ เช่นว่าไม่มีการเกิดขึ้น แต่มีอยู่ตลอดอนันตกาลดังนี้เป็นต้น จนกว่าเมื่อไรเขาจะได้บรรลุพระนิพพานนั้นเข้าจริงๆ การรู้จักพระนิพพานโดยอนุมาน หรือโดยอุปมาน ไม่อาจมีได้เลยสำหรับผู้ที่มีปัญญา หรือมีอุปนิสัยเช่นนี้.
    ในที่จวนจะจบลงนี้ ขอสรุปกล่าวอย่างสั้นๆ อีกแนวหนึ่งว่า พระนิพพานเป็นจุดปลายทางของทุกคน ความดึงดูดเข้าหาสถานะแห่งพระนิพพาน หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่ง ก็คือ สัญชาตญาณของความอยากเป็นอิสระย่อมมีอยู่เสมอ แต่ถูกอำนาจแทรกแซงบางอย่าง เช่น ผลกรรมเป็นต้น คอยเหนี่ยวออกนอกทางอยู่เสมอเหมือนกัน, เพราะตนเป็นผู้ตาบอด ไม่รู้จักทำความปลอดภัยแก่ตัวเอง หรือการเดินทางของตน.
    กายเปรียบเหมือนลำเรือ ใจเปรียบเหมือนนายเรือ สังสารวัฏเปรียบเหมือนกับทะเลหลวง, โลกนั่นโลกนี่เปรียบเหมือนท่าเรือสำหรับการค้าขาย, ผลบุญหรือผลบาปในชาติหนึ่งๆ ในโลกหนึ่งๆ คือการค้าขายของนายเรือที่ขาดทุนหรือได้กำไร ที่ท่าเรือแห่งหนึ่งๆ การได้ถึง "เกาะ" แห่งหนึ่งซึ่งนายเรือพอใจถึงกับหยุดการท่องเที่ยวไปในทะเลอย่างเด็ดขาดนั่นคือ พระนิพพาน.
    เราทุกคน คือเรือรวมทั้งนายเรือ. เมื่อเราหรือโลกพากันสาละวนแต่เรื่องรูปหรือลำเรือ จนลืมใจหรือนายเรือ นายเรือก็จะตายเสียก่อนที่จะนำเรือไปพบเกาะที่ว่านั้น. แต่ถ้าสนใจในนายเรือหรือจิต จนลืมลำเรือเสียทีเดียว เรือก็จะเปื่อยพังทำลายลงเสีย ก่อนที่นายเรือจะได้ใช้อาศัยไปถึงเกาะที่กล่าวนั้น. เพราะฉะนั้น พระพุทธองค์จึงทรงสอนให้ดำเนินสายกลาง อันเป็นสายแห่งปัญญา ไม่ประมาทไปในฝ่ายตึงหรือฝ่ายหย่อน.
    ความจริงตัวเราไม่มี. ที่มีคือเบญจขันธ์ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "กาย กับ จิต" หรือเรือกับนายเรือเท่านั้น นายเรือก็ไม่ใช่เรา เพราะแม้มันจะได้ถึงเกาะคือพระนิพพานนั่นหรือไม่ก็ตาม มันก็ยังคงไม่อยู่ในอำนาจของใคร, รังแต่จักแตกดับไปเป็นธรรมดาของมันเท่านั้น เกาะหรือพระนิพพานนั้นเล่า ก็สักว่าเป็นเกาะหรือพระนิพพานของตัวสิ่งนั้นเอง, รับรู้กับใครไม่ได้ เหมือนแสงสว่าง เมื่อเราเปิดหน้าต่างมันก็เข้ามาสว่างให้เรา ปิดเสียก็มืดอีก แต่แสงสว่างนั้นคงเป็นแสงสว่างอยู่นั่นเอง.
    ถ้าสิ่งใดควรถือว่าเป็นตัวตน, สิ่งนั้นนอกจากจะต้องไม่รู้จักแตกดับไม่อาศัยผู้อื่นหรือสิ่งอื่นแล้ว ยังจะต้องอยู่ในบังคับและรับรู้อะไรกันได้. นี่ ! เมื่อมีแต่สิ่งทั้งหลายซึ่งล้วนแต่เป็นไปตามเรื่องของต้นเหตุของตัวมันเอง: หรือไม่อยู่ในอำนาจของใคร และรับรู้อะไรกะใครไม่ได้ดังนี้ มันก็ไม่มีตัวตน แม้กระทั่งพระนิพพาน ถ้าขืนมีเพราะอำนาจความรู้สึกบางชนิด มันหาใช่ตัวตนอันแท้จริงไม่, ยังเป็นฝักฝ่ายแห่งอวิชชาอยู่ดี. การลุถึงพระนิพพานจึงเป็นจุดปลายทางของทุกคนเท่านั้น.
    เบญจขันธ์ คือกายกับใจ กลุ่มใด ยังมีอวิชชาอยู่ภายในมัน เบญจขันธ์กลุ่มนั้น ก็มีอุปาทานอันเป็นเหตุให้ยึดถือตัวเองว่าเรา, เราเป็นเรา, ฉันเป็นฉัน ฯลฯ เป็นต้น. "เรา" จึงคงอาศัยมีอยู่ได้แต่เพียงในเบญจขันธ์ที่ยังมีอุปาทานอยู่ภายใน, และเบญจขันธ์ชนิดนี้ยัง "สัมผัส" กันไม่ได้กับพระนิพพาน จึงต้องเต็มไปด้วยทุกข์ และกลิ้งเกลือกไปในวัฏสงสาร อันสูงๆ ต่ำๆ ลุ่มๆ ดอนๆ ระเกะระกะไปด้วยสิ่งเสียบแทงเผาลน.
    เบญจขันธ์ใด ภายหลังจากที่ได้ช่วยตัวมันเอง ด้วยการปฏิบัติธรรม เป็นเบญจขันธ์ที่อวิชชาและอุปาทานตั้งอยู่ไม่ได้แล้ว ก็ไม่มีเราในเบญจขันธ์นั้น เบญจขันธ์นั้น เหมาะพอสำหรับการสัมผัสกันเข้ากับพระนิพพาน, มันจึงได้รับรส คือความเยือกเย็นแสนที่จะเย็นของพระนิพพาน จนกว่ามันจะแตกดับไปอย่างไม่เหลือเชื้ออะไรไว้ สำหรับการเกิดอีก เช่นเบญจขันธ์ที่ยังมีอวิชชาหรือมี "เรา" มีความสำคัญว่า "เรา"
    เบญจขันธ์ที่หมดอวิชชา แต่ยังไม่แตกดับ ยังดื่มรสพระนิพพานอยู่นั้น, ภาวะอันนี้ เราเรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพาน<SUP><SUP><SUP><SUP><SUP>๑</SUP>, หรือนิพพานเฉยๆ. เมื่อใดเบญจขันธ์นั้น ทำการแตกดับลงอย่างหมดเชื้อ, ภาวะอันนี้เราเรียกกันว่า อนุปาทิเสสนิพพาน หรือปรินิพพาน. การปฏิบัติธรรม หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อริยมรรคมีองค์แปด นั่นเป็นตัวทางให้ถึงพระนิพพานนั้น. ข้าพเจ้าหรือท่านผู้อ่านทุกคน จะยังอยู่ห่างไกลต่อพระนิพพานเพียงใด นั่นยากที่ผู้อื่นจะรู้แทนกันได้ นอกจากตัวเอง. เหตุนี้ ท่านจึงกล่าวไว้อย่างน่าจับใจว่า ธรรมทั้งหลาย กระทั่งถึงพระนิพพานเป็นที่สุดนั้น เป็นสันทิฏฐิโก คือ ของใครใครเห็น, ดังนี้ สำหรับข้าพเจ้า สามารถเพียงแต่ขอยืนยันว่า ทุกคนมีจุดหมายปลายทางอยู่ที่พระนิพพานเท่านั้น. </SUP></SUP></SUP>
    </SUP>
     
  20. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    [​IMG]
    จิตคือ ควาย
    เปรียบเสมือนกับการเลี้ยงควาย
    จิตของเราก็เหมือนควาย
    อารมณ์คือต้นข้าว
    ผู้รู้เหมือนเจ้าของ
    เวลาเราไปเลี้ยงควายทำอย่างไร
    ปล่อยมันไป
    แต่เราพยายามดูมันอยู่
    ถ้ามันพยายามเดินไปใกล้ต้นข้าว
    ก็ตวาดมัน
    ควายได้ยินก็จะถอยออกไป
    แต่เราอย่าเผลอนะ
    ถ้ามันดื้อไม่ฟังเสียง
    ก็เอาไม้ฆ้อนฟาดมันจริงๆ
    มันจะไปไหนเสีย


    คำสอนที่เน้นปัญญาฉับพลัน โดย หลวงปู่ชา'‏
     

แชร์หน้านี้

Loading...