พุทธทำนายเรื่องภัยพิบัติครั้งใหญ่ที่สุดที่กำลังจะมาถึงในยุคนี้ จะมีผู้รอดชีวิตแค่น้อยนิดเท่านั้น (ไม่เกิน พ.ศ. 2560)

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมวินัย, 2 เมษายน 2009.

?
  1. ไม่เชื่อ

    0 vote(s)
    0.0%
  2. เฉยๆ

    0 vote(s)
    0.0%
  3. น่ากลัว

    0 vote(s)
    0.0%
  4. เชื่อว่าต้องเกิดแน่

    0 vote(s)
    0.0%
  5. ต้องรีบสั่งสมบุญ

    0 vote(s)
    0.0%
  6. เตรียมพร้อมไม่ประมาท

    0 vote(s)
    0.0%
Multiple votes are allowed.
  1. MissP

    MissP เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    165
    ค่าพลัง:
    +951
    ไม่น่าจะแตกต่างกันมากมายขนาดนั้นนะคะ เพราะว่า ไทย พม่า ศรีลังกา อินเดีย ต่างก็เฉลิมฉลองปีพุทธยันตี พร้อมๆ กัน ในช่วง 3ปีที่ผ่านมา(2553-2555)ซึ่งนับเป็นการเฉลิมฉลอง2600ปีแห่งการตรัสรู้ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดย ศรีลังกาใช้ชื่องานว่า The 2,600th Sambuddathwa Jayanthi โดยจัดงานเฉลิมฉลองใหญ่ทั่วประเทศในช่วงเทศกาลวิสาขบูชา ในปี พ.ศ. 2554 (พ.ศ. 2555 ตามการนับพุทธศักราชแบบศรีลังกา)

    แม้จะมีสูตรการคำนวณเลขศักราชอย่างค่อนข้างแน่นอน แต่ก็ยังมีโอกาสที่จะคลาดเคลื่อนได้ เนื่องจาก การนับปีด้วยจำนวนพุทธศักราชนั้นมีอยู่ ๒ วิธี คือ
    (๑)
    เริ่มนับปีที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานเป็นพุทธศักราช ๑ วิธีนี้เรียกง่ายๆ ว่านับตามแบบลังกา และ
    (๒)เริ่มนับพุทธศักราช ๑ หลังจากวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานครบ ๑๒ เดือนแล้ว วิธีนี้เรียกง่ายๆ ว่านับตามแบบพม่า

    ดังนั้นจะเห็นว่า หากนับแบบลังกา จำนวนปีที่จะนำมาบวกเพิ่ม จะมีมากกว่านับอีกแบบ ๑ ปี
    ตัวอย่างเช่น การคำนวณปีมหาศักราช อาจจะต้องบวกด้วย ๖๒๑ หรือ ๖๒๒, การคำนวณปีจุลศักราช อาจจะต้องบวกด้วย ๑๑๘๑ หรือ ๑๑๘๒ เป็นต้น แต่โดยมากแล้วของไทยจะนับตามแบบพม่า

    อ. พิพัฒน์ สุขทิศ ได้ตั้งข้อสังเกตไว้ในบทความเรื่อง “การนับปีแห่งพุทธศักราช” ว่า

    “ข้อควรพิจารณามีอยู่ว่า คตินับปีพุทธศักราชนั้นเรารับมาจากลังกา แต่ไฉนวิธีนับจึงไม่
    เป็นไปตามอย่างชาวลังกา หรือว่าเดิมเรานับอย่างลังกา ภายหลังจึงเปลี่ยนวิธีนับใหม่ไม่เอาอย่างเขา
    ต่อไป ถ้าเป็นอย่างนี้ มีปัญหาว่า เราเปลี่ยนวิธีนับตั้งแต่เมื่อใด ผู้เขียนได้ค้นคว้าหลักฐานจนพอทราบ
    ได้ว่า ในสมัยสุโขทัยตั้งแต่รัชกาลพระเจ้าลิไทยเป็นต้นมา เรานับจำนวนพุทธศักราชตามอย่างชาวลังกา
    ผู้เป็นครูแท้ทีเดียว เพิ่งเปลี่ยนมานับปีอดีตในสมัยอยุธยานี้เอง ...”

    จากข้อสังเกตนี้น่าจะเป็นคำตอบได้ว่า เหตุใดจารึกบางหลักจึงกำหนดอายุแบบพม่า และบางหลัก
    กำหนดแบบลังกา

    อย่างไรก็ตาม บทความนี้มุ่งเพียงให้ความรู้และเทคนิคง่ายๆ ในการคำนวณ เพียงจำขั้นตอนสั้นๆ ที่ให้
    มาแล้วนั้นเป็นเบื้องต้น ก็จะสามารถกำหนดอายุจารึกจากเลขศักราชได้อย่างคร่าวๆ หากมีความสนใจที่จะสามารถกำหนดอายุจารึกด้วยเทคนิคที่ซับซ้อนกว่านี้ เช่น กำหนดจากรูปแบบอักษร, ดวงฤกษ์ดวงชะตา, ศัพท์สัญลักษณ์ ฯลฯ ก็น่าที่จะสามารถพัฒนาได้ต่อๆ ไปโดยอาศัยการค้นคว้าจากแหล่งความรู้ที่อยู่มากมายในปัจจุบัน

    นวพรรณ ภัทรมูล
    ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
     
  2. เวนไตย

    เวนไตย Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มกราคม 2013
    โพสต์:
    7
    ค่าพลัง:
    +31
    ขอถามอะไรนอกเรื่องได้มั้ยครับ ที่ว่ายักษ์นอกศาสนาผมว่าจริงอยู่ แต่ที่ว่าเมืองไทยนั้นเชื้อเทวดา นาค ครุฑ
    คือตอนนี้ผมทำงานบนอากาศอะครับ แล้วผมก็ชอบครุฑจับใจ
    ผมเชื้อครุฑป่าวครับ อิอิ
     
  3. zipp

    zipp เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    234
    ค่าพลัง:
    +141
    Will wait and see it getting closer now.
     

แชร์หน้านี้

Loading...