เรื่องเด่น พุทธทำนาย ยุคกึ่งพุทธกาล จะเกิดภัยพิบัติและสงครามใหญ่ (ปีพ.ศ. 2560 เป็นต้นไป)

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย WebSnow, 25 สิงหาคม 2016.

  1. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ชื่อจารึก จารึกโคลงภาพคนต่างภาษา แผ่นที่ ๑๗ (ภาพมอญ)
    ชื่อจารึกแบบอื่นๆ -
    อักษรที่มีในจารึก ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์
    ศักราช ไม่ปรากฏศักราช 
    ภาษา ไทย
    ด้าน/บรรทัด จำนวน ๑ ด้าน ไม่ทราบจำนวนบรรทัด
    วัตถุจารึก หิน
    ปีที่พบจารึก ไม่ปรากฏหลักฐาน
    สถานที่พบ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
    ผู้พบ ไม่ปรากฏหลักฐาน
    ปัจจุบันอยู่ที่ ไม่ปรากฏหลักฐาน
    พิมพ์เผยแพร่ ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, ๒๕๔๔), ๗๑๒.
    ประวัติ จารึกนี้เป็นหนึ่งในจารึกโคลงภาพต่างภาษาจำนวน ๓๒ แผ่น บริเวณผนังเฉลียงศาลารายทั้ง ๑๖ หลังของวัดพระเชตุพนฯ จารึกแต่ละแผ่นประกอบด้วยโคลง ๒ บทซึ่งอธิบายถึงลักษณะของชนชาติต่างๆ เช่น ผิวพรรณ, การแต่งกาย, ความเชื่อ และถิ่นที่อยู่อาศัย จำนวนแผ่นละ ๑ ชาติ รวมเป็นโคลง ๖๔ บท ๓๒ ชนชาติ โดยมีการหล่อประติมากรรมรูปชาวต่างชาติที่สอดคล้องกันกับจารึกตั้งไว้ในศาลารายดังกล่าว ศาลาละ ๒ รูป อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน ทั้งจารึกและประติมากรรมได้สูญหายไปเกือบทั้งหมด ในส่วนของจารึกเหลือเพียง ๒ แผ่น คือ แผ่นที่ ๒๙ (ภาพญวน) และ แผ่นที่ ๓๐ (ภาพจีน) อนึ่ง นอกเหนือจากประติมากรรมรูปชาวต่างชาติในศาลาราย ยังปรากฏภาพเขียนบนบานประตูและบานหน้าต่างของวิหารทิศเป็นภาพชนชาติต่างๆ อีกด้วย แต่ส่วนใหญ่ได้ลบเลือนไปแล้วเช่นกัน
    เนื้อหาโดยสังเขป กล่าวถึงชนชาติมอญว่าอาศัยอยู่ที่เมืองหงสาวดี นุ่งผ้าลายตารางเหมือนชาวพม่า โพกผ้าที่ศีรษะ นิยมสักยันต์ที่ไหล่และหลัง เป็นต้น จารึกแผ่นนี้ระบุว่าผู้แต่งคือ ขุนมหาสิทธิโวหาร
    ผู้สร้าง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓)
    การกำหนดอายุ กำหนดอายุจากประวัติการสร้างจารึกในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) ซึ่งปรากฏในจดหมายเหตุเรื่องการปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน (ถอดจากโคลงดั้นพระนิพนธ์กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส) ดังความว่า “…ที่สุดเฉลียง ๒ ข้าง หล่อเป็นรูปคนต่างชาติตั้งไว้ศาลาละ ๒ รูปมีศิลาจารึกโคลงดั้นบาทกุญชรบอกลักษณเพสชาติติดไว้ข้างผนังอย่างฤษีดัดตนฉะนั้น…”

    ความขลังของการสักยันต์มีมานาน

    หลายอย่างก็สูญหายไปอย่างน่าเสียดาย ไปอยู่ในต่างแดนก็มี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กันยายน 2016
  2. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ชื่อจารึก จารึกที่อุโบสถวัดหน้าพระเมรุ ๒
    ชื่อจารึกแบบอื่นๆ อย. ๔๔ จารึกพระประธาน, หลักที่ ๑๖๐ ศิลาจารึกวัดหน้าพระเมรุ
    อักษรที่มีในจารึก ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์
    ศักราช พุทธศักราช  ๒๓๗๘
    ภาษา ไทย
    ด้าน/บรรทัด จำนวนด้าน ๑ ด้าน มี ๑๑บรรทัด
    วัตถุจารึก หินชนวน สีเทา
    ลักษณะวัตถุ แผ่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
    ขนาดวัตถุ กว้าง ๑๓๒ ซม. สูง ๕๐.๕ ซม. หนา ๒๔.๕ ซม.
    บัญชี/ทะเบียนวัตถุ ๑) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “อย. ๔๔ จารึกพระประธาน”
    ๒) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ ๖ ตอนที่ ๑ กำหนดเป็น “หลักที่ ๑๖๐ ศิลาจารึกวัดหน้าพระเมรุ”
    ปีที่พบจารึก ไม่ปรากฏหลักฐาน
    สถานที่พบ วัดหน้าพระเมรุ ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา พระนครศรีอยุธยา
    ผู้พบ ไม่ปรากฏหลักฐาน
    ปัจจุบันอยู่ที่ ภายในพระอุโบสถวัดหน้าพระเมรุ ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา พระนครศรีอยุธยา
    พิมพ์เผยแพร่ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ ๖ ตอนที่ ๑ (กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, ๒๕๑๗), ๕๖-๕๗.
    ประวัติ นายประสาร บุญประคองเป็นผู้อ่านจารึกหลักนี้ โดยมีการตีพิมพ์ลงในประชุมศิลาจารึกภาคที่ ๖ ตอนที่ ๑ ในพ.ศ. ๒๕๑๗ โดยเรียกว่า “หลักที่ ๑๖๐ ศิลาจารึกวัดหน้าพระเมรุ” จารึกหลักนี้ มีเนื้อหาต่อเนื่องกับจารึกหลักที่ ๑๕๙ (จารึกที่อุโบสถวัดหน้าพระเมรุ ๑) ปัจจุบันจารึกทั้ง ๒ หลักอยู่ภายในพระอุโบสถ วัดหน้าพระเมรุ ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอ พระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นอกจากนี้ ภายในวิหารน้อยยังมีจารึกอีกหลักหนึ่งซึ่งสร้างโดยพระยาไชยวิชิต เช่นเดียวกับ ๒ หลักนี้ แต่เป็นจารึกที่สร้างขึ้นเพิ่มเติมภายหลัง คือ ใน พ.ศ. ๒๓๘๑ (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน จารึกที่อุโบสถวัดหน้าพระเมรุ ๑ และ จารึกที่วิหารน้อยวัดหน้าพระเมรุ) วัดหน้าพระเมรุ สร้างขึ้นในสมัยอยุธยา เป็นวัดเดียวที่ไม่ถูกเผาทำลายเมื่อครั้งเสียกรุง เนื่องจากพม่าใช้เป็นที่ตั้งกองบัญชาการ ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ได้รับการปฏิสังขรณ์ในพ.ศ. ๒๓๗๘ และ ๒๓๘๑ โดยพระยาไชยวิชิต (เผือก) ผู้รักษาการพระนครศรีอยุธยา ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ดังที่ปรากฏในจารึกทั้ง ๓ หลักซึ่งพบที่วัดแห่งนี้
    เนื้อหาโดยสังเขป คำเตือนไม่ให้ขุดทำลายเพื่อหาของมีค่าในบริเวณวัดพระเมรุราช มีการสาปแช่งต่างๆ เช่น ขอให้ตายตกนรกอเวจีแสนกัลป์ และไม่ทันยุคพระศรีอารย์ เป็นต้น หากผู้ใดมีศรัทธาขอแผ่กุศลให้สำเร็จมรรคผลและเข้าสู่นิพพาน ตอนท้ายฝากให้เจ้าอาวาส พระสงฆ์ และผู้มีศรัทธา ช่วยกันดูแลซ่อมแซมวัด
    ผู้สร้าง พระยาไชยวิชิต (เผือก) ผู้รักษาการพระนครศรีอยุธยา
    การกำหนดอายุ แม้ว่าจารึกหลักนี้จะไม่ปรากฏศักราช แต่คงจะถูกสร้างขึ้นพร้อมกับจารึกที่อุโบสถวัดหน้าพระเมรุ ๑ ซึ่งระบุ พ.ศ. ๒๓๗๘ (รัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร. ๓)) เนื่องจากเนื้อหามีความต่อเนื่องกัน อีกทั้งรูปร่าง ขนาด และวัสดุที่ใช้จารึกมีลักษณะเหมือนกัน

    คนรู้ความไม่กล้าเสี่ยงแน่ ไม่คุ้ม
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กันยายน 2016
  3. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ชื่อจารึก จารึกที่พระตำหนักปั้นหย่า ๑
    ชื่อจารึกแบบอื่นๆ หลักที่ ๑๖๘ จารึกที่พระตำหนักปั้นหย่า
    อักษรที่มีในจารึก ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์
    ศักราช พุทธศักราช  ๒๓๙๓-๒๔๑๑
    ภาษา ไทย
    ด้าน/บรรทัด จำนวนด้าน ๑ ด้าน มี ๑๕ บรรทัด
    วัตถุจารึก หินอ่อน สีขาว
    ลักษณะวัตถุ แผ่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
    ขนาดวัตถุ กว้าง ๔๙ ซม. สูง ๓๒ ซม. หนา ๓ ซม.
    บัญชี/ทะเบียนวัตถุ ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ ๖ ตอนที่ ๑ กำหนดเป็น “หลักที่ ๑๖๘ จารึกที่พระตำหนักปั้นหย่า”
    ปีที่พบจารึก ไม่ปรากฏหลักฐาน
    สถานที่พบ พระตำหนักปั้นหย่า วัดบวรนิเวศวิหาร แขวงวัดบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
    ผู้พบ ไม่ปรากฏหลักฐาน
    ปัจจุบันอยู่ที่ พระตำหนักปั้นหย่า วัดบวรนิเวศวิหาร แขวงวัดบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
    พิมพ์เผยแพร่ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ ๖ ตอนที่ ๑ (กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, ๒๕๑๗), ๖๘-๖๙.
    ประวัติ ศิลาจารึกนี้ นายประสาร บุญประคอง เป็นผู้อ่าน โดยมีการตีพิมพ์ลงใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ ๖ ตอนที่ ๑ ใน พ.ศ. ๒๕๑๗ โดยเรียกว่า “หลักที่ ๑๖๘ จารึกที่พระตำหนักปั้นหย่า” ปัจจุบันอยู่ที่พระตำหนักปั้นหย่า วัดบวรนิเวศวิหาร แขวงวัดบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
    ข้อความที่ปรากฏบนจารึกหลักนี้มีความสัมพันธ์กับจารึกที่พระตำหนักปั้นหย่าอีก ๒ หลักซึ่งอยู่บริเวณด้านซ้ายและขวาของตำหนักโดยมีเนื้อหาเดียวกัน แต่หลักที่ ๑ นี้ให้รายละเอียดต่างๆมากกว่า (ดูเพิ่มเติมใน “จารึกที่พระตำหนักปั้นหย่า ๒ และ ๓”)
    เนื้อหาโดยสังเขป พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร. ๔) ทรงมีพระบรมราชโองการประกาศห้ามผู้หญิงขึ้นไปบนพระตำหนักปั้นหย่าอย่างเด็ดขาด ไม่เว้นแม้แต่เด็กหรือคนชรา อีกทั้งสัตว์ตัวเมียก็ห้ามนำมาเลี้ยงในบริเวณดังกล่าว เพื่อรักษาให้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์สำหรับปฏิบัติธรรมดังเช่นที่เคยเป็นมาตั้งแต่ตำหนักนี้สร้างเสร็จใน พ.ศ. ๒๓๗๙ ในสมัยรัชกาลที่ ๓
    ผู้สร้าง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร. ๔) แห่งราชวงศ์จักรี


    ที่นี้เราก็จะได้รู้ได้ทราบอะไรมากขึ้น
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กันยายน 2016
  4. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ชื่อจารึก จารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (โองการแม่ซื้อ สำหรับปัดพิษแสลงแม่ซื้อ และกุมาร ๓ วัน)
    ชื่อจารึกแบบอื่นๆ -
    อักษรที่มีในจารึก ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์
    ศักราช ไม่ปรากฏศักราช 
    ภาษา ไทย
    ด้าน/บรรทัด จำนวน ๑ ด้าน (มีทั้งหมด ๓ แผ่น) มี ๔๗ บรรทัด
    วัตถุจารึก หิน
    ลักษณะวัตถุ แผ่นหินรูปสี่เหลี่ยม จำนวน ๓ แผ่น
    ปีที่พบจารึก ไม่ปรากฏหลักฐาน
    สถานที่พบ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
    ผู้พบ ไม่ปรากฏหลักฐาน
    ปัจจุบันอยู่ที่ ผนังศาลาแม่ซื้อ ๑ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
    พิมพ์เผยแพร่ ๑) ตำรายา ศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) พระนคร (พระนคร : โรงเรียนแพทย์แผนโบราณ, ๒๕๑๖), ๙๘-๙๙.
    ๒) ตำรายา ศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) พระนคร, พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ดร. กมล ชูทรัพย์ ณ วัดเทพศิรินทราวาส ๔ มิถุนายน ๒๕๒๗ ([ม.ป.ท.], ๒๕๒๗), ๑๐๑-๑๐๓.
    ประวัติ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  โปรดให้พระยาบำเรอราชแพทยา  นำตำรายามาจารึกบนแผ่นหินแล้วติดไว้ตามศาลารายหลังต่างๆ  ดังปรากฏหลักฐานในโคลงดั้นเรื่องปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ความตอนหนึ่งว่า  
    ๏   พระยาบำเรอราชผู้           แพทยา  ยิ่งฤๅ
    รู้รอบรู้รักษา                         โรคฟื้น 
    บรรหารพนักงานหา              โอสถ  ประสิทธิ์เอย 
    จำหลักลักษณะยาพื้น            แผ่นไว้ทานหลัง

    เนื้อหาโดยสังเขป กล่าวถึงโองการแม่ซื้อ สำหรับปัดเป่าโรคภัยของทารกที่คลอดได้ ๓ วัน
    ผู้สร้าง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓)
    การกำหนดอายุ กำหนดอายุจากประวัติการปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนฯ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) ซึ่งมีหลักฐานปรากฏอยู่ในจดหมายเหตุเรื่องการปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน (ถอดจากโคลงดั้นพระนิพนธ์กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส)

    สมัยนี้หายากที่ผู้ใดยามเกิดจะผ่านพิธีนี้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กันยายน 2016
  5. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ชื่อจารึก จารึกบนหินทรายแดง วัดบางยี่ขัน
    ชื่อจารึกแบบอื่นๆ -
    อักษรที่มีในจารึก ขอมธนบุรี-รัตนโกสินทร์
    ศักราช พุทธศักราช  -
    ภาษา บาลี
    ด้าน/บรรทัด จำนวนด้าน ๑ ด้าน มี ๑๘ บรรทัด
    วัตถุจารึก หินทรายสีแดง
    ลักษณะวัตถุ รูปทรงคล้ายพานหรือชาม (อักษรจารึกอยู่บนหน้าตัดรูปวงกลมด้านบน)
    ขนาดวัตถุ เส้นผ่านศูนย์กลาง ๕๐ ซม. เส้นรอบวง ๑๖๐ ซม. สูง ๑๒ ซม.
    บัญชี/ทะเบียนวัตถุ ๑) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น "ธบ. ๑๑"
    ๒) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ ๖ ตอนที่ ๒ กำหนดเป็น "หลักที่ ๒๗๗ จารึกบนหินทรายแดง"
    ปีที่พบจารึก ไม่ปรากฏหลักฐาน
    สถานที่พบ จังหวัดกรุงเทพมหานคร
    ผู้พบ ไม่ปรากฏหลักฐาน
    ปัจจุบันอยู่ที่ พระอุโบสถวัดมุขราชธาราม (วัดบางยี่ขัน) แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด (ข้อมูลเดิมว่า เขตบางกอกน้อย) จังหวัดกรุงเทพมหานคร
    พิมพ์เผยแพร่ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ ๖ ตอนที่ ๒ (กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, ๒๕๒๑), ๒๐๙ - ๒๑๑.
    ประวัติ จารึกหลักนี้นาย ประสาร บุญประคอง เป็นผู้อ่าน โดยมีการตีพิมพ์ลงใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ ๖ ตอนที่ ๒ ใน พ.ศ. ๒๕๒๑ โดยเรียกว่า "หลักที่ ๒๗๗ จารึกบนหินทรายแดง" ปัจจุบันอยู่ภายในพระอุโบสถวัดมุขราชธาราม (วัดบางยี่ขัน) แขวงบางยี่ขัน เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
    เนื้อหาโดยสังเขป กล่าวนมัสการพระรัตนตรัยและเจดีย์ธรรมทั้ง ๕ อนุโมทนาแด่ผู้ที่มานมัสการพระพุทธรูปในวิหารได้รับกุศลทั้ง พระสงฆ์ เทพ มนุษย์ และสัตว์ ตอนท้ายขอให้พระศาสนายั่งยืนตลอด ๕,๐๐๐ ปี และขอให้ตนได้รู้แจ้งพระสัพพัญญุตญาณ
    ผู้สร้าง ไม่ปรากฏหลักฐาน
    การกำหนดอายุ รศ. ดร. สุภาพรรณ ณ บางช้าง กล่าวถึงจารึกหลักนี้ในหนังสือ "วิวัฒนาการงานเขียนภาษาบาลีในประเทศไทย : จารึก ตำนาน พงศาวดาร สาส์น ประกาศ" โดยสันนิษฐานว่า น่าจะถูกสร้างขึ้นในระหว่างรัชกาลที่ ๓ ถึงรัชกาลที่ ๕ โดยเทียบเคียงจากจารึกที่สร้างด้วยวัสดุชนิดเดียวกัน คือ จารึกหลักเมืองกาญจนบุรี (กจ. ๑) ระบุ พ.ศ. ๒๓๗๘ (สมัย ร. ๓) อีกทั้งอักขรวิธีและการจารึกด้วยภาษาบาลีทั้งหลัก หรือ บางส่วนก็เป็นที่นิยมในช่วงเวลาดังกล่าว
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 555_1.jpg
      555_1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      34.6 KB
      เปิดดู:
      84
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กันยายน 2016
  6. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ชื่อจารึก จารึกเรื่องพระพุทธบาท (วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม)
    ชื่อจารึกแบบอื่นๆ จารึกเรื่องพระพุทธบาท
    อักษรที่มีในจารึก ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์
    ศักราช ไม่ปรากฏศักราช 
    ภาษา ไทย
    ด้าน/บรรทัด จำนวนด้าน ๑ ด้าน ไม่ทราบจำนวนบรรทัด
    วัตถุจารึก หิน
    ลักษณะวัตถุ แผ่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
    บัญชี/ทะเบียนวัตถุ ในหนังสือ ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน เรียกว่า “จารึกเรื่องพระพุทธบาท”
    ปีที่พบจารึก ไม่ปรากฏหลักฐาน
    สถานที่พบ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
    ผู้พบ ไม่ปรากฏหลักฐาน
    ปัจจุบันอยู่ที่ ฝาผนังพระวิหารทิศตะวันตก วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
    พิมพ์เผยแพร่ ๑) ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน, ๒๕๔๔), ๑๒๙-๑๓๐.
    ๒) ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน, ๒๕๕๔), ๑๓๑-๑๓๒.
    ประวัติ จารึกนี้ติดอยู่ที่ฝาผนังพระวิหารทิศตะวันตก ซึ่งเขียนเรื่องพระพุทธบาทไว้ ๕ แห่ง มีศิลาจารึกบอกเรื่องไว้ทุกแห่ง ศิลาจารึกเหล่านี้ยังมีเหลืออยู่บ้าง แต่ภาพเขียนที่เคยประดับอยู่บัดนี้ไม่มีแล้ว ทั้งนี้ ข้อมูลที่บอกว่า “เขียนเรื่องพระพุทธบาทไว้ ๕ แห่ง” นั้น ไม่ทราบว่าแห่งไหนบ้าง แล้วแต่ละแห่งมีข้อความเหมือนหรือต่างกันอย่างไร สั้น-ยาวแค่ไหนนั้น ไม่ได้ระบุไว้ทั้งสิ้น
    เนื้อหาโดยสังเขป กล่าวถึง “สุวรรณบรรพต” ซึ่งเป็นพระพุทธบาทที่อยู่บนยอดเขาสัจพันธบรรพต มีเรื่องราวเกี่ยวกับนายวาณิชสองพี่น้องที่ได้บรรพชาเป็นภิกษุ จนได้สำเร็จพระอรหันต์ และได้เทศนานายวาณิชอื่นๆ ถึง ๕๐๐ นาย นายวาณิชเหล่านี้ได้ลงเรือสำเภาไปจนถึงเกาะแห่งหนึ่งที่เต็มไปด้วยป่าไม้จันทน์แดง ก็ตัดไม้และขนลงเรือมาจำนวนมาก แล่นออกมาไม่นาน ปีศาจที่สิงอยู่ที่เกาะนั้นได้ตามมาและดลบันดาลให้เรือนั้นต้องพายุ นายวาณิชผู้น้องซึ่งโดยสารมากับเรือลำนั้นด้วยได้ระลึกถึงพระพุทธเจ้าให้มาช่วย ปีศาจก็หวาดกลัวและหนีไป นายวาณิชทั้ง ๕๐๐ ต่างเลื่อมใสและถวายตัวเป็นโยมอุปัฏฐากแก่พระพุทธเจ้า
    ตอนท้ายจารึกบรรยายถึงสถานที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาท ๓ แห่ง คือ ยอดเขาสุมนกูฎในลังกาทวีป ยอดเขารังรุ้งที่เมืองเชียงใหม่ และหาดทรายทองที่เจติยสถาน

    ผู้สร้าง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓)
    การกำหนดอายุ กำหนดอายุจากประวัติการปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนฯ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) ซึ่งมีหลักฐานว่ามีการเขียนเรื่องพระพุทธบาท ๕ แห่งที่วิหารทิศตะวันตก ดังปรากฏในจดหมายเหตุเรื่องการปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน (ถอดจากโคลงดั้นพระนิพนธ์กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กันยายน 2016
  7. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ชื่อจารึก จารึกที่หน้าพระตำหนักจันทร์
    ชื่อจารึกแบบอื่นๆ หลักที่ ๑๗๓ จารึกที่หน้าพระตำหนักจันทร์
    อักษรที่มีในจารึก ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์
    ศักราช ไม่ปรากฏศักราช 
    ภาษา ไทย
    ด้าน/บรรทัด จำนวนด้าน ๑ ด้าน มี ๔ บรรทัด
    วัตถุจารึก หินอ่อน สีขาว
    ลักษณะวัตถุ แผ่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
    ขนาดวัตถุ กว้าง ๔๖ ซม. สูง ๒๐.๕ ซม. หนา ๓ ซม.
    บัญชี/ทะเบียนวัตถุ ในหนังสือประชุมศิลาจารึก ภาคที่ ๖ ตอนที่ ๑ กำหนดเป็น “หลักที่ ๑๗๓ จารึกที่หน้าพระตำหนักจันทร์”
    ปีที่พบจารึก ไม่ปรากฏหลักฐาน
    สถานที่พบ ที่ประทับของสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ หน้าพระตำหนักจันทร์ ภายในบริเวณวัดบวรนิเวศ แขวงวัดบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
    ผู้พบ ไม่ปรากฏหลักฐาน
    ปัจจุบันอยู่ที่ ที่ประทับของสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ หน้าพระตำหนักจันทร์ ภายในบริเวณวัดบวรนิเวศ แขวงวัดบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
    พิมพ์เผยแพร่ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ ๖ ตอนที่ ๑ (กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, ๒๕๑๗), ๗๖.
    ประวัติ จารึกหลักนี้ นายประสาร บุญประคอง เป็นผู้อ่าน โดยมีการตีพิมพ์ลงใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ ๖ ตอนที่ ๑ ใน พ.ศ. ๒๕๑๗ โดยเรียกว่า “หลักที่ ๑๗๓ จารึกที่หน้าพระตำหนักจันทร์”
    เนื้อหาโดยสังเขป สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสไม่โปรดให้ผู้ใดนั่งบนแท่นหิน ซึ่งเคยเป็นที่ประทับ ของพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์

    ผู้สร้าง สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กันยายน 2016
  8. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ชื่อจารึก จารึกโคลงภาพคนต่างภาษา แผ่นที่ ๑ (ภาพสิงหล)
    ชื่อจารึกแบบอื่นๆ -
    อักษรที่มีในจารึก ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์
    ศักราช ไม่ปรากฏศักราช 
    ภาษา ไทย
    ด้าน/บรรทัด จำนวน ๑ ด้าน ไม่ทราบจำนวนบรรทัด
    วัตถุจารึก หิน
    ปีที่พบจารึก ไม่ปรากฏหลักฐาน
    สถานที่พบ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
    ผู้พบ ไม่ปรากฏหลักฐาน
    ปัจจุบันอยู่ที่ ไม่ปรากฏหลักฐาน
    พิมพ์เผยแพร่ ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, ๒๕๔๔), ๗๐๗.
    ประวัติ จารึกนี้เป็นหนึ่งในจารึกโคลงภาพต่างภาษาจำนวน ๓๒ แผ่น บริเวณผนังเฉลียงศาลารายทั้ง ๑๖ หลังของวัดพระเชตุพนฯ จารึกแต่ละแผ่นประกอบด้วยโคลง ๒ บทซึ่งอธิบายถึงลักษณะของชนชาติต่างๆ เช่น ผิวพรรณ, การแต่งกาย, ความเชื่อ และถิ่นที่อยู่อาศัย จำนวนแผ่นละ ๑ ชาติ รวมเป็นโคลง ๖๔ บท ๓๒ ชนชาติ โดยมีการหล่อประติมากรรมรูปชาวต่างชาติที่สอดคล้องกันกับจารึกตั้งไว้ในศาลารายดังกล่าว ศาลาละ ๒ รูป อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน ทั้งจารึกและประติมากรรมได้สูญหายไปเกือบทั้งหมด ในส่วนของจารึกเหลือเพียง ๒ แผ่น คือ แผ่นที่ ๒๙ (ภาพญวน) และ แผ่นที่ ๓๐ (ภาพจีน) อนึ่ง นอกเหนือจากประติมากรรมรูปชาวต่างชาติในศาลาราย ยังปรากฏภาพเขียนบนบานประตูและบานหน้าต่างของวิหารทิศเป็นภาพชนชาติต่างๆ อีกด้วย แต่ส่วนใหญ่ได้ลบเลือนไปแล้วเช่นกัน
    เนื้อหาโดยสังเขป กล่าวถึงตำนานการสร้างเมืองของชาวสิงหล (ศรีลังกา) แล้วอธิบายลักษณะเครื่องแต่งกาย ซึ่งล้วนทำจากผ้าสีขาวมีความยาวถึงยี่สิบศอก โดยระบุว่าเป็นพระนิพนธ์ใน กรมหมื่นนุชิตชิโนรส
    ผู้สร้าง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓)
    การกำหนดอายุ กำหนดอายุจากประวัติการสร้างจารึกในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) ซึ่งปรากฏในจดหมายเหตุเรื่องการปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน (ถอดจากโคลงดั้นพระนิพนธ์กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส) ดังความว่า “…ที่สุดเฉลียง ๒ ข้าง หล่อเป็นรูปคนต่างชาติตั้งไว้ศาลาละ ๒ รูปมีศิลาจารึกโคลงดั้นบาทกุญชรบอกลักษณเพสชาติติดไว้ข้างผนังอย่างฤษีดัดตนฉะนั้น…”
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กันยายน 2016
  9. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ชื่อจารึก จารึกโคลงภาพคนต่างภาษา แผ่นที่ ๑๑ (ภาพอาหรับ)
    ชื่อจารึกแบบอื่นๆ -
    อักษรที่มีในจารึก ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์
    ศักราช ไม่ปรากฏศักราช 
    ภาษา ไทย
    ด้าน/บรรทัด จำนวน ๑ ด้าน ไม่ทราบจำนวนบรรทัด
    วัตถุจารึก หิน
    ปีที่พบจารึก ไม่ปรากฏหลักฐาน
    สถานที่พบ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
    ผู้พบ ไม่ปรากฏหลักฐาน
    ปัจจุบันอยู่ที่ ไม่ปรากฏหลักฐาน
    พิมพ์เผยแพร่ ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, ๒๕๔๔), ๗๑๐.
    ประวัติ จารึกนี้เป็นหนึ่งในจารึกโคลงภาพต่างภาษาจำนวน ๓๒ แผ่น บริเวณผนังเฉลียงศาลารายทั้ง ๑๖ หลังของวัดพระเชตุพนฯ จารึกแต่ละแผ่นประกอบด้วยโคลง ๒ บทซึ่งอธิบายถึงลักษณะของชนชาติต่างๆ เช่น ผิวพรรณ, การแต่งกาย, ความเชื่อ และถิ่นที่อยู่อาศัย จำนวนแผ่นละ ๑ ชาติ รวมเป็นโคลง ๖๔ บท ๓๒ ชนชาติ โดยมีการหล่อประติมากรรมรูปชาวต่างชาติที่สอดคล้องกันกับจารึกตั้งไว้ในศาลารายดังกล่าว ศาลาละ ๒ รูป อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน ทั้งจารึกและประติมากรรมได้สูญหายไปเกือบทั้งหมด ในส่วนของจารึกเหลือเพียง ๒ แผ่น คือ แผ่นที่ ๒๙ (ภาพญวน) และ แผ่นที่ ๓๐ (ภาพจีน) อนึ่ง นอกเหนือจากประติมากรรมรูปชาวต่างชาติในศาลาราย ยังปรากฏภาพเขียนบนบานประตูและบานหน้าต่างของวิหารทิศเป็นภาพชนชาติต่างๆ อีกด้วย แต่ส่วนใหญ่ได้ลบเลือนไปแล้วเช่นกัน
    เนื้อหาโดยสังเขป อธิบายถึงชนชาติอาหรับในด้านการแต่งกาย คือ สวมเสื้อสีขาวยาวกรอมข้อเท้าและกางเกงลาย เป็นต้น จากนั้นกล่าวถึงพิธีกรรมทางศาสนาอิสลามนิกายชีอะห์ ซึ่งมีการลุยเพลิงกรีดเลือดบนศีรษะในช่วงเทศกาลฮุเซ็น โดยเปลี่ยนเครื่องแต่งกายเป็นสีดำ จารึกแผ่นนี้ระบุว่าผู้แต่งคือ กรมหมื่นไกรสรวิชิต
    ผู้สร้าง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓)
    การกำหนดอายุ กำหนดอายุจากประวัติการสร้างจารึกในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) ซึ่งปรากฏในจดหมายเหตุเรื่องการปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน (ถอดจากโคลงดั้นพระนิพนธ์กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส) ดังความว่า “…ที่สุดเฉลียง ๒ ข้าง หล่อเป็นรูปคนต่างชาติตั้งไว้ศาลาละ ๒ รูปมีศิลาจารึกโคลงดั้นบาทกุญชรบอกลักษณเพสชาติติดไว้ข้างผนังอย่างฤษีดัดตนฉะนั้น…”
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กันยายน 2016
  10. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ชื่อจารึก จารึกเรื่องพระสาวกเอตทัคคะ แผ่นที่ ๑ (พระโกณฑัญญะ)  
    ชื่อจารึกแบบอื่นๆ -
    อักษรที่มีในจารึก ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์
    ศักราช ไม่ปรากฏศักราช 
    ภาษา ไทย
    ด้าน/บรรทัด จำนวนด้าน ๑ ด้าน มี ๖ บรรทัด
    วัตถุจารึก หินอ่อน
    ลักษณะวัตถุ แผ่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
    ขนาดวัตถุ กว้าง ๘ ซม. ยาว ๓๖ ซม.
    ปีที่พบจารึก ไม่ปรากฏหลักฐาน
    สถานที่พบ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
    ผู้พบ ไม่ปรากฏหลักฐาน
    ปัจจุบันอยู่ที่ เชิงผนังระหว่างหน้าต่างพระอุโบสถ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
    พิมพ์เผยแพร่ ๑) ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน, ๒๕๔๔), ๙๙.
    ๒) ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน, ๒๕๕๔), ๑๐๑.
    ประวัติ จารึกนี้เป็นหนึ่งในจารึกเรื่องสาวกเอตทัคคะจำนวน ๒๗ แผ่น ซึ่งกล่าวถึงประวัติสาวกของพระพุทธเจ้าผู้เป็นเอตทัคคะในด้านต่างๆ ๔๑ องค์ ในบริเวณเชิงผนังระหว่างหน้าต่างพระอุโบสถวัดพระเชตุพนฯ โดยแผ่นที่ ๑ เริ่มจากประตูทางด้านพระหัตถ์ซ้ายของพระประธานแล้วเวียนไปทางขวาโดยรอบ จารึกดังกล่าวอยู่ภายใต้จิตรกรรมฝาผนังซึ่งมีเรื่องราวสอดคล้องกับข้อความในจารึกแต่ละแผ่น
    เนื้อหาโดยสังเขป กล่าวถึงประวัติของสาวกเอตทัคคะนามว่า “โกณฑัญญะ” ซึ่งเป็นเอตทัคคะทางด้านตรัสรู้มรรคผลก่อนพระสาวกทั้งปวง
    ผู้สร้าง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓)
    การกำหนดอายุ กำหนดอายุจากประวัติการสร้างจารึกในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) ซึ่งปรากฏในจดหมายเหตุเรื่อง “การปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน : ถอดจากโคลงดั้นพระนิพนธ์กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส” ว่า มีการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องพระสาวกเอตทัคคะ ๔๑ องค์ จากอรรถกถาอังคุตรนิกาย บริเวณผนังระหว่างหน้าต่างของพระอุโบสถ โดยมีศิลาจารึกซึ่งสลักเส้นและปิดทองบอกเรื่องติดไว้ โดยผู้แต่งคือ กรมหมื่นนุชิตชิโนรส
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กันยายน 2016
  11. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ชื่อจารึก จารึกเรื่องมหาวงษ์ แผ่นที่ ๔
    ชื่อจารึกแบบอื่นๆ -
    อักษรที่มีในจารึก ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์
    ศักราช พุทธศักราช  -
    ภาษา ไทย
    ด้าน/บรรทัด จำนวนด้าน ๑ ด้าน ไม่ทราบจำนวนบรรทัด
    วัตถุจารึก หิน
    ลักษณะวัตถุ แผ่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
    ปีที่พบจารึก ไม่ปรากฏหลักฐาน
    สถานที่พบ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
    ผู้พบ ไม่ปรากฏหลักฐาน
    ปัจจุบันอยู่ที่ ผนังด้านบนหน้าต่างทางทิศตะวันออกของวิหารพระพุทธไสยาสน์ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
    พิมพ์เผยแพร่ ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, ๒๕๔๔), ๒๐๖.
    ประวัติ จารึกนี้เป็นหนึ่งในจารึกเรื่องมหาวงษ์จำนวน ๓๒ แผ่น ในบริเวณผนังด้านบนหน้าต่างของวิหารพระพุทธไสยาสน์ วัดพระเชตุพนฯ โดยแผ่นที่ ๑ เริ่มจากด้านทิศตะวันออกของวิหารแล้วเวียนไปทางขวาโดยรอบ จารึกดังกล่าวอยู่ภายใต้จิตรกรรมฝาผนังซึ่งมีเรื่องราวสอดคล้องกับเนื้อหาในจารึก คือ เรื่องมหาวงษ์ ซึ่งเป็นพงศาวดารลังกา แต่งขึ้นด้วยภาษาบาลี ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๐ โดยพระมหานามเถระชาวลังกา ซึ่งระบุว่าพงศาวดารดังกล่าวมีการแต่งเป็นภาษาสิงหลหลายเรื่อง จึงนำมาเรียบเรียงเข้ากับตำนานพุทธศาสนาในลังกา เรื่องมหาวงษ์นี้มีการแต่งต่อกันมาหลายครั้ง ในส่วนที่แต่งโดยพระมหานาม เริ่มต้นเรื่องราวตั้งแต่สมัยพุทธกาลเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จมาลังกาจนถึงรัชกาลพระเจ้ามหาเสน ต่อจากนั้นมีการแต่งเพิ่มเรื่อยมาจนจบเรื่องในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๔ ส่วนมหาวงษ์ฉบับภาษาไทยถูกแปลจากคัมภีร์ใบลาน ภาษาบาลี โดยพระราชดำริของรัชกาลที่ ๑ สำหรับเนื้อหาในจารึกมหาวงษ์ที่วัดพระเชตุพนฯ เริ่มต้นเรื่องจากตอนกำเนิดพระเจ้าสีหะพาหุ ซึ่งเกิดจากนางสุปราชบุตรีกับราชสีห์ จนถึงตอนพระเจ้าทุฏฐคามินีรบชนะทมิฬ
    เนื้อหาโดยสังเขป เล่าเรื่องมหาวงษ์ซึ่งเป็นพงศาวดารลังกา ตั้งแต่ตอนพระเจ้าวิชัยซี่งเป็นบุตรนางสีหสิมพลีกับพระเจ้าสีหพาหุถูกนำใส่สำเภาลอยไปถึงลังกาทวีปพร้อมด้วยบริวารชายหญิงในวันที่พระพุทธเจ้าเข้าสู่นิพพานซึ่งอุบลเทวบุตรมาถึงเกาะดังกล่าวเพื่อตั้งพระศาสนา พระวิชัยรบชนะนางกุเวณายักษิณีจึงได้นางเป็นชายา ต่อมานางออกอุบายให้พระวิชัยฆ่ามหากาลเสนยักษ์แห่งเมืองศิริวัตถุ
    ผู้สร้าง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓)
    การกำหนดอายุ กำหนดอายุจากประวัติการสร้างวิหารพระพุทธไสยาสน์ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) เมื่อครั้งปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนฯ ซึ่งโปรดให้ขยายเขตพระอารามออกไปทางทิศเหนือ แล้วสร้างพระพุทธไสยาสน์ขึ้น รวมถึงวิหารซึ่งมีพระองค์เจ้าลดาวัลย์ทรงเป็นแม่กองในการก่อสร้าง ดังปรากฏหลักฐานในโคลงดั้นปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน พระนิพนธ์ในกรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กันยายน 2016
  12. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ชื่อจารึก จารึกโคลงภาพคนต่างภาษา แผ่นที่ ๑๒ (ภาพหรุ่มโต้ระกี่)
    ชื่อจารึกแบบอื่นๆ -
    อักษรที่มีในจารึก ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์
    ศักราช ไม่ปรากฏศักราช 
    ภาษา ไทย
    ด้าน/บรรทัด จำนวน ๑ ด้าน ไม่ทราบจำนวนบรรทัด
    วัตถุจารึก หิน
    ปีที่พบจารึก ไม่ปรากฏหลักฐาน
    สถานที่พบ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
    ผู้พบ ไม่ปรากฏหลักฐาน
    ปัจจุบันอยู่ที่ ไม่ปรากฏหลักฐาน
    พิมพ์เผยแพร่ ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, ๒๕๔๔), ๗๑๐.
    ประวัติ จารึกนี้เป็นหนึ่งในจารึกโคลงภาพต่างภาษาจำนวน ๓๒ แผ่น บริเวณผนังเฉลียงศาลารายทั้ง ๑๖ หลังของวัดพระเชตุพนฯ จารึกแต่ละแผ่นประกอบด้วยโคลง ๒ บทซึ่งอธิบายถึงลักษณะของชนชาติต่างๆ เช่น ผิวพรรณ, การแต่งกาย, ความเชื่อ และถิ่นที่อยู่อาศัย จำนวนแผ่นละ ๑ ชาติ รวมเป็นโคลง ๖๔ บท ๓๒ ชนชาติ โดยมีการหล่อประติมากรรมรูปชาวต่างชาติที่สอดคล้องกันกับจารึกตั้งไว้ในศาลารายดังกล่าว ศาลาละ ๒ รูป อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน ทั้งจารึกและประติมากรรมได้สูญหายไปเกือบทั้งหมด ในส่วนของจารึกเหลือเพียง ๒ แผ่น คือ แผ่นที่ ๒๙ (ภาพญวน) และ แผ่นที่ ๓๐ (ภาพจีน) อนึ่ง นอกเหนือจากประติมากรรมรูปชาวต่างชาติในศาลาราย ยังปรากฏภาพเขียนบนบานประตูและบานหน้าต่างของวิหารทิศเป็นภาพชนชาติต่างๆ อีกด้วย แต่ส่วนใหญ่ได้ลบเลือนไปแล้วเช่นกัน
    เนื้อหาโดยสังเขป กล่าวถึงชนชาติ “หรุ่มโต้ระกี่” (เตริ์ก) ว่ามักบริโภคนมเนยจากวัว ไม่กินหมู ไว้หนวดเครา จมูกโด่งแหลม รูปร่างสูงใหญ่และมีจิตใจกล้าหาญ เป็นต้น จารึกแผ่นนี้ระบุว่าผู้แต่งคือ กรมหมื่นไกรสรวิชิต
    ผู้สร้าง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓)
    การกำหนดอายุ กำหนดอายุจากประวัติการสร้างจารึกในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) ซึ่งปรากฏในจดหมายเหตุเรื่องการปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน (ถอดจากโคลงดั้นพระนิพนธ์กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส) ดังความว่า “…ที่สุดเฉลียง ๒ ข้าง หล่อเป็นรูปคนต่างชาติตั้งไว้ศาลาละ ๒ รูปมีศิลาจารึกโคลงดั้นบาทกุญชรบอกลักษณเพสชาติติดไว้ข้างผนังอย่างฤษีดัดตนฉะนั้น…”

    สงสัยจะเพี้ยนมาเป็น ตุรกี ในคราหลัง ได้ความรู้ดีนะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กันยายน 2016
  13. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ชื่อจารึก จารึกฐานพระพุทธรูปวัดทรายมูลเมือง ๑
    ชื่อจารึกแบบอื่นๆ ๑๓๗ วัดทรายมูลเมือง
    อักษรที่มีในจารึก ธรรมล้านนา
    ศักราช พุทธศักราช  ๒๔๓๐
    ภาษา ไทย
    ด้าน/บรรทัด จำนวนด้าน ๑ ด้าน มี ๘ บรรทัด
    วัตถุจารึก แผ่นเงิน
    ลักษณะวัตถุ ฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย
    ขนาดวัตถุ สูง ๑๕ ซม.
    บัญชี/ทะเบียนวัตถุ ๑) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ชม. ๑๑๔”
    ๒) ในหนังสือ คำจารึกที่ฐานพระพุทธรูปในนครเชียงใหม่ กำหนดเป็น “๑๓๗ วัดทรายมูลเมือง”
    ปีที่พบจารึก ไม่ปรากฏหลักฐาน
    สถานที่พบ วัดทรายมูลเมือง ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
    ผู้พบ ไม่ปรากฏหลักฐาน
    ปัจจุบันอยู่ที่ วัดทรายมูลเมือง ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
    พิมพ์เผยแพร่ คำจารึกที่ฐานพระพุทธรูปในนครเชียงใหม่ (กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, ๒๕๑๙), ๑๔๙-๑๕๐.
    ประวัติ จารึกนี้อยู่ด้านหลังฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย ซึ่งเป็นพระหลูบเงิน ด้านในเป็นมุก (พระหลูบคือ พระพุทธรูปที่มีด้านในเป็นไม้หรือมุก ข้างนอกหุ้มด้วยแผ่นโลหะ ถ้าเป็นเงินเรียกว่า พระหลูบเงิน ถ้าเป็นทอง เรียกว่า พระหลูบคำ)
    เนื้อหาโดยสังเขป จุลศักราช ๑๒๔๙ พระสงฆ์นามว่ากรุณาพร้อมทั้งพ่อแม่พี่น้องและลูกศิษย์ทุกคน ร่วมกันสร้างพระพิมพ์ไว้ค้ำชูพุทธศาสนาตราบเท่า ๕, ๐๐๐ ปี ขอให้ได้สุข ๓ ประการ มีนิพพานเป็นยอด
    ผู้สร้าง พระสงฆ์นามว่า กรุณา พ่อแม่พี่น้องและลูกศิษย์ทุกคน

    การกำหนดอายุ กำหนดจากศักราชที่ปรากฏในจารึกคือ จุลศักราช ๑๒๔๙ ซึ่งตรงกับ พ.ศ. ๒๔๓๐ ในสมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์ (ครองเชียงใหม่ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๑๖-๒๔๓๙)

    ๕๐๐๐ ปีมีมานานแสนนาน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 758_1.jpg
      758_1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      90.4 KB
      เปิดดู:
      83
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กันยายน 2016
  14. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ชื่อจารึก จารึกพระพุทธบาทหนองยาง
    ชื่อจารึกแบบอื่นๆ -
    อักษรที่มีในจารึก ธรรมอีสาน
    ศักราช พุทธศักราช  ๒๓๗๘
    ภาษา ไทย, บาลี
    ด้าน/บรรทัด จำนวนด้าน ๑ ด้าน มี ๑๒ บรรทัด
    วัตถุจารึก หินทรายแดง
    ลักษณะวัตถุ รูปใบเสมา
    ขนาดวัตถุ กว้าง ๔๑ ซม. สูง ๕๐ ซม.
    บัญชี/ทะเบียนวัตถุ ในหนังสือ ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย - ลาว กำหนดเป็น "จารึกพระพุทธบาทหนองยาง"
    ปีที่พบจารึก ไม่ปรากฏหลักฐาน
    สถานที่พบ ศาลาพระพุทธบาทหนองยาง สำนักสงฆ์หนองยาง ตำบลหนองยาง อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร
    ผู้พบ ไม่ปรากฏหลักฐาน
    ปัจจุบันอยู่ที่ ศาลาพระพุทธบาทหนองยาง สำนักสงฆ์หนองยาง ตำบลหนองยาง อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร
    พิมพ์เผยแพร่ ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย - ลาว (กรุงเทพฯ : คุนพินอักษรกิจ, ๒๕๓๐), ๔๑๕ - ๔๑๖.
    ประวัติ ศิลาจารึกหลักนี้สร้างคู่ไว้กับรอยพระพุทธบาทศิลา ที่สำนักสงฆ์หนองยาง แต่ผู้ดูแลสำนักสงฆ์คงไม่เข้าใจความหมายในศิลาจารึก จึงนำมาเก็บไว้หลังพระพุทธรูปปางนาคปรก ผู้ที่ไปนมัสการรอยพระพุทธบาทจะไม่เห็นแผ่นศิลาจารึกนี้
    เนื้อหาโดยสังเขป พระเถระองค์หนึ่ง (พระมหาอุตตมปัญญา) ได้อาราธนารอยพระพุทธบาทศิลาทราย กว้างประมาณ ๑.๕๐ ม. ยาว ๑.๖๐ ม. จากกรุงศรีอยุธยาไปไว้ที่สำนักสงฆ์นี้ พร้อมทั้งใส่บรรณศาลาไว้ด้วย

    ผู้สร้าง ไม่ปรากฏหลักฐาน
    การกำหนดอายุ ข้อความจารึกบรรทัดที่ ๕ ระบุ พ.ศ. ๒๓๗๘ อันตรงกับสมัยที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ปกครองราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. ๒๓๖๗ - ๒๓๙๔)

    ข้อมูลรอยพระพุทธบาทที่ล้ำค่า
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1036_1.jpg
      1036_1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      371.9 KB
      เปิดดู:
      117
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กันยายน 2016
  15. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ชื่อจารึก จารึกพระกัญจนะมหาเถรสร้างพระไตรปิฎก
    ชื่อจารึกแบบอื่นๆ -
    อักษรที่มีในจารึก ธรรมล้านนา
    ศักราช พุทธศักราช  ๒๓๘๐
    ภาษา ไทย, บาลี
    ด้าน/บรรทัด จำนวนด้าน ๑ ด้าน มี ๑๓ บรรทัด
    วัตถุจารึก หินชนวน สีดำ
    ลักษณะวัตถุ จารึกเป็นแผ่นหินชนวนสีดำอยู่ภายในกรอบไม้ สภาพชำรุด
    ขนาดวัตถุ กว้าง ๕๖ ซม. หนา ๒๓ ซม. สูง ๑๒๒ ซม. (รวมกรอบไม้และฐาน) กว้าง ๔๖ ซม. หนา ๑-๑.๒ ซม. สูง ๕๓ ซม. (เฉพาะแผ่นจารึก)
    บัญชี/ทะเบียนวัตถุ ๑) หอสมุดแห่งชาติกำหนดเป็น “นน. ๘“
    ๒) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน กำหนดเป็น “๔๖๕/๒๕๒๓“, “๒๐.๔๖๕/๒๕๒๓“ และ “L.N. ๕๙ ๗๑/๒๕๒๓”
    ๓) ในหนังสือ จารึกล้านนา ภาค ๑ เล่ม ๑ กำหนดเป็น “นน. ๘ จารึกพระกัญจนะมหาเถรสร้างพระไตรปิฎก พ.ศ. ๒๓๘๐”
    ปีที่พบจารึก ไม่ปรากฏหลักฐาน
    สถานที่พบ ไม่ปรากฏหลักฐาน
    ผู้พบ ไม่ปรากฏหลักฐาน
    ปัจจุบันอยู่ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน จังหวัดน่าน
    พิมพ์เผยแพร่ จารึกล้านนา ภาค ๑ เล่ม ๑ (กรุงเทพฯ : มูลนิธิเจมส์ เอช ดับเบิ้ลยู ทอมป์สัน, ๒๕๓๔), ๖๙ – ๗๐.
    ประวัติ จารึกนี้ถูกกล่าวถึงครั้งแรกใน ศิลปากร ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๓ พ.ศ. ๒๕๐๔ บทความชื่อ “เรื่องคณะกรรมการค้นคว้าทางประวัติศาสตร์แห่งสหภาพพม่าในสมัยโบราณ” โดย ตรี อมาตยกุล ต่อมาใน พ.ศ. ๒๕๓๔ มีการตีพิมพ์คำอ่านในหนังสือ จารึกล้านนา ภาค ๑ เล่ม ๑ โดย โครงการวิจัยการปริวรรตและชำระจารึกล้านนา
    เนื้อหาโดยสังเขป จุลศักราช ๑๑๙๕ (พ.ศ. ๒๓๗๖) กัญจนะมหาเถรจากเมืองแพร่และลูกศิษย์ ได้เดินทางมาถึงเมืองน่าน แล้วร่วมกับพระสงฆ์ในเมือง เจ้าเมืองน่านและอุปราช ราชวงศ์ รวมทั้งเจ้านายทั้งหลายร่วมกันสร้างพระไตรปิฎก โดยมีการฉลองเมื่อจุลศักราช ๑๑๙๙ (พ.ศ. ๒๓๘๐)
    ผู้สร้าง ไม่ปรากฏหลักฐาน
    การกำหนดอายุ กำหนดอายุจากศักราชที่ปรากฏในจารึกคือ "จุลศักราชได้ ๑๑๙๙ ตัว" (พ.ศ. ๒๓๘๐) ตรงกับรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 838_1.jpg
      838_1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      166.3 KB
      เปิดดู:
      124
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กันยายน 2016
  16. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ชื่อจารึก จารึกเรื่องอุบาสิกาเอตทัคคะ แผ่นที่ ๕ (ขุชชุตราและสามาวดี ตอนที่ ๓)
    ชื่อจารึกแบบอื่นๆ -
    อักษรที่มีในจารึก ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์
    ศักราช ไม่ปรากฏศักราช 
    ภาษา ไทย
    ด้าน/บรรทัด จำนวนด้าน ๑ ด้าน ไม่ทราบจำนวนบรรทัด
    วัตถุจารึก หินอ่อน
    ลักษณะวัตถุ แผ่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
    ปีที่พบจารึก ไม่ปรากฏหลักฐาน
    สถานที่พบ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
    ผู้พบ ไม่ปรากฏหลักฐาน
    ปัจจุบันอยู่ที่ ไม่ปรากฏหลักฐาน
    พิมพ์เผยแพร่ ๑) ประชุมจารึกวัดพระเชตุพนฯ (กรุงเทพฯ : ศิวพร, ๒๕๑๗), ๘๕-๘๖.
    ๒) ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน, ๒๕๔๔), ๑๑๙.
    ๓) ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน, ๒๕๕๔), ๑๒๑.
    ประวัติ จารึกเรื่องอุบาสิกาเอตทัคคะ จำนวน ๑๐ แผ่น ติดอยู่บริเวณเชิงผนังระหว่างหน้าต่างทางด้านทิศเหนือของวิหารพระพุทธไสยาสน์ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ ซึ่งสร้างขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓)
    เนื้อหาโดยสังเขป กล่าวถึงประวัติของอุบาสิกาเอตทัคคะ นามว่า “ขุชชุตตรา” ซึ่งเป็นเอตทัคคะในฝ่ายผู้แสดงธรรม และ “สามาวดี” เอตทัคคะในฝ่ายผู้อยู่ด้วยความเมตตา โดยมีเนื้อหาต่อเนื่องมาจาก “จารึกเรื่องอุบาสิกาเอตทัคคะ แผ่นที่ ๔” (จารึกที่กล่าวถึงประวัติของนางขุชชุตตราและนางสามาวดี มีจำนวน ๔ แผ่น คือ จารึกเรื่องอุบาสิกาเอตทัคคะ แผ่นที่ ๓ ถึง แผ่นที่ ๖)
    ผู้สร้าง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓)
    การกำหนดอายุ กำหนดอายุจากประวัติการสร้างจารึกในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) ซึ่งปรากฏในจดหมายเหตุเรื่อง “การปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน : ถอดจากโคลงดั้นพระนิพนธ์กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส” และ “สำเนาพระราชดำริห์ทรงสร้างพระพุทธไสยาสวัดพระเชตุพน : จ.ศ. ๑๑๙๓ พ.ศ. ๒๓๗๔” เกี่ยวกับการสร้างวิหารพระนอน

    ยอมรับและรับรู้กันมานาน ว่าท่านเลิศในด้านการแสดงธรรม แล้วสำนักไม่เอา เอตทัคคะ นี่แปลกๆนะ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กันยายน 2016
  17. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ชื่อจารึก จารึกเรื่องพระสาวกเอตทัคคะ แผ่นที่ ๒๘-๒๙ (พระกุมารกัสสปะและพระมหาโกฏฐิตะ)
    ชื่อจารึกแบบอื่นๆ มหาโกฏฐิตะเถระวัตถุ, กุมารกัศสปะเถรวัตถุ
    อักษรที่มีในจารึก ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์
    ศักราช ไม่ปรากฏศักราช 
    ภาษา ไทย
    ด้าน/บรรทัด จำนวนด้าน ๑ ด้าน มี ๖ บรรทัด
    วัตถุจารึก หินอ่อน
    ลักษณะวัตถุ แผ่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
    ขนาดวัตถุ กว้าง ๘ ซม. ยาว ๓๖ ซม.
    ปีที่พบจารึก ไม่ปรากฏหลักฐาน
    สถานที่พบ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
    ผู้พบ ไม่ปรากฏหลักฐาน
    ปัจจุบันอยู่ที่ เชิงผนังระหว่างหน้าต่างพระอุโบสถ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
    พิมพ์เผยแพร่ ๑) ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน, ๒๕๔๔), ๑๐๔.
    ๒) ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน, ๒๕๕๔), ๑๐๖.
    ประวัติ จารึกนี้เป็นหนึ่งในจารึกเรื่องสาวกเอตทัคคะจำนวน ๒๗ แผ่น ซึ่งกล่าวถึงประวัติสาวกของพระพุทธเจ้าผู้เป็นเอตทัคคะในด้านต่างๆ ๔๑ องค์ ในบริเวณเชิงผนังระหว่างหน้าต่างพระอุโบสถวัดพระเชตุพนฯ โดยแผ่นที่ ๑ เริ่มจากประตูทางด้านพระหัตถ์ซ้ายของพระประธานแล้วเวียนไปทางขวาโดยรอบ จารึกดังกล่าวอยู่ภายใต้จิตรกรรมฝาผนังซึ่งมีเรื่องราวสอดคล้องกับกับข้อความในจารึกแต่ละแผ่น
    เนื้อหาโดยสังเขป กล่าวถึงประวัติของสาวกนามว่า “กุมารกัสสปะ” ซึ่งเป็นเอตทัคคะด้านการแสดงธรรมวิจิตร และ “มหาโกฏฐิตะ” ซึ่งเป็นเอตทัคคะด้านแตกฉานในปฏิสัมภิทาทั้ง ๔
    ผู้สร้าง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓)
    การกำหนดอายุ กำหนดอายุจากประวัติการสร้างจารึกในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) ซึ่งปรากฏในจดหมายเหตุเรื่อง “การปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน : ถอดจากโคลงดั้นพระนิพนธ์กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส” ว่า มีการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องพระสาวกเอตทัคคะ ๔๑ องค์ จากอรรถกถาอังคุตรนิกาย บริเวณผนังระหว่างหน้าต่างของพระอุโบสถ โดยมีศิลาจารึกซึ่งสลักเส้นและปิดทองบอกเรื่องติดไว้ โดยผู้แต่งคือ กรมหมื่นนุชิตชิโนรส


    ปฎิสัมภิทาญาน เรื่องนี้มีมาแต่ช้านาน ไม่เอาพระสงฆ์สาวกแสดงธรรมจะมีสงฆ์ไปทำไม
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กันยายน 2016
  18. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ชื่อจารึก จารึกที่พระตำหนักปั้นหย่า ๔
    ชื่อจารึกแบบอื่นๆ หลักที่ ๑๗๔ จารึกที่พระตำหนักปั้นหย่า
    อักษรที่มีในจารึก ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์
    ศักราช พุทธศักราช  ๒๓๙๓-๒๔๑๑
    ภาษา ไทย
    ด้าน/บรรทัด จำนวนด้าน ๑ ด้าน มี ๒๑ บรรทัด
    วัตถุจารึก หินอ่อน สีดำ
    ลักษณะวัตถุ แผ่นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส
    ขนาดวัตถุ กว้างด้านละ ๓๗ ซม. หนา ๑ ซม.
    บัญชี/ทะเบียนวัตถุ ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ ๖ ตอนที่ ๑ กำหนดเป็น “หลักที่ ๑๗๔ จารึกที่พระตำหนักปั้นหย่า”
    ปีที่พบจารึก ไม่ปรากฏหลักฐาน
    สถานที่พบ พระตำหนักปั้นหย่า วัดบวรนิเวศวิหาร แขวงวัดบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
    ผู้พบ ไม่ปรากฏหลักฐาน
    ปัจจุบันอยู่ที่ พระตำหนักปั้นหย่า วัดบวรนิเวศวิหาร แขวงวัดบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
    พิมพ์เผยแพร่ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ ๖ ตอนที่ ๑ (กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, ๒๕๑๗), ๗๗-๗๘.
    ประวัติ ศิลาจารึกนี้ นายประสาร บุญประคอง เป็นผู้อ่าน โดยมีการตีพิมพ์ลงใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ ๖ ตอนที่ ๑ ใน พ.ศ. ๒๕๑๗ โดยเรียกว่า “หลักที่ ๑๗๔ จารึกที่พระตำหนักปั้นหย่า” ปัจจุบันอยู่ที่พระตำหนักปั้นหย่า วัดบวรนิเวศวิหาร แขวงวัดบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
    เนื้อหาโดยสังเขป กล่าวปฏิญาณว่า ตนซึ่งเป็นภิกษุ ไม่เคยทำให้อสุจิเคลื่อน และกอดจูบกับสามเณร หรือศิษย์วัดด้วยราคะ หากสิ่งที่ตนกล่าวเป็นความจริง ขอให้ตนได้อยู่ที่เสนาสนะนี้ต่อไป ถ้าใครอยู่ที่แห่งนี้แล้ว ไม่ได้ปล่อยใจไปตามราคะ ขอให้ผู้นั้นรวมทั้งบริวาร ญาติพี่น้อง และลูกหลานมีอายุยืนนาน มีความสุขสมปรารถนา ตอนท้ายสาปแช่งผู้ที่ตั้งใจทำให้อสุจิเคลื่อน กอดจูบกัน หรือทำลายจารึกนี้
    ผู้สร้าง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร. ๔) แห่งราชวงศ์จักรี



    ไม่ใช่จะบวชกันง่ายๆเหมือนในปัจจุบัน สงฆ์ไม่เป็นสงฆ์แบบที่มีการสาปแช่งไว้ก็มีมากมาย
    สาธุ สาธุ สาธุ คำสาปขอให้เป็นจริง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กันยายน 2016
  19. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ชื่อจารึก จารึกแผ่นทองหุ้มปลียอดพระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช ๒๙ (จ. ๒๗)
    ชื่อจารึกแบบอื่นๆ จารึกแผ่นทองหุ้มปลียอดพระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช, จารึกแผ่นทอง จ. ๒๗
    อักษรที่มีในจารึก ขอมธนบุรี-รัตนโกสินทร์, ขอมอยุธยา
    ศักราช พุทธศตวรรษ  ๒๓-๒๔
    ภาษา ไทย
    ด้าน/บรรทัด จำนวนด้าน ๑ ด้าน มี ๑ บรรทัด
    วัตถุจารึก ทองคำ
    ลักษณะวัตถุ แผ่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
    ขนาดวัตถุ กว้าง ๕.๘ ซม. ยาว ๑๐.๑ ซม.
    บัญชี/ทะเบียนวัตถุ ในวารสาร ศิลปากร ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๓ (กรกฎาคม-สิงหาคม ๒๕๓๗) กำหนดเป็น “จารึกแผ่นทองหุ้มปลียอดพระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช” และ “จารึกแผ่นทอง จ. ๒๗”
    ปีที่พบจารึก ไม่ปรากฏหลักฐาน
    สถานที่พบ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
    ผู้พบ หน่วยศิลปากรที่ ๘ (ปัจจุบันคือ สำนักงานศิลปากรที่ ๑๔) จังหวัดนครศรีธรรมราช
    ปัจจุบันอยู่ที่ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
    พิมพ์เผยแพร่ วารสารศิลปากร ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๔ (กรกฎาคม-สิงหาคม ๒๕๓๗) : ๒๐-๑๑๘.
    ประวัติ จารึกแผ่นทองหุ้มปลียอดพระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช เท่าที่มีการพบและอ่าน-แปลมีทั้งหมด ๔๐ แผ่น น้ำหนักรวม ๔,๒๑๗.๖ กรัม มีลักษณะเป็นทองคำแผ่นบางรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า แต่ละแผ่นมีขนาดและน้ำหนักไม่เท่ากัน บริเวณขอบจารึกทุกแผ่นมีรอยเย็บต่อไว้ด้วยเส้นด้ายทองคำรวมเป็นผืนใหญ่ ปนอยู่กับแผ่นทองพื้นเรียบ ไม่มีอักษรจารึก และแผ่นทองที่เขียนด้วยเหล็กแหลมเป็นลายเส้นพระพุทธรูปและรูปเจดีย์ทรงต่างๆ สภาพโดยทั่วไปชำรุด มีรอยปะเสริมส่วนที่ขาดด้วยแผ่นทองขนาดต่างๆ บางตอนมีรอยการเจาะรูเพื่อประดับดอกไม้ ทอง และอัญมณี เป็นต้น นอกจากนี้ในบริเวณแกนปลียอดพระบรมธาตุเจดีย์ซึ่งเป็นโลหะก็มีจารึกอยู่ช่วงใต้กลีบบัวหงาย ต่ำลงไปประมาณ ๑.๘๐ เมตร เป็นการจารึกรอบแกนปลีจำนวน ๒ บรรทัด แต่ปัจจุบันถูกหุ้มด้วยแผ่นไฟเบอร์กลาส เพื่อเสริมความมั่นคงให้แก่โครงสร้างยอดเจดีย์ จารึกดังกล่าวจึงถูกปิดทับไปด้วย จึงมีการอ่าน-แปลจารึกในบริเวณดังกล่าวจากภาพถ่าย กลุ่มจารึกแผ่นทองหุ้มปลียอดพระบรมธาตุเจดีย์นี้ มีการจารด้วยอักษรขอมและอักษรไทย ข้อความส่วนใหญ่บอกถึงวันเดือนปีที่ทำการซ่อม, สร้างแผ่นทอง ระบุน้ำหนักทอง และถิ่นที่อยู่ของผู้มีศรัทธาพร้อมทั้งการตั้งความปรารถนาซึ่งนิยมขอให้ตนได้พบพระศรีอารย์ และถึงแก่นิพพาน จากหลักฐานที่ปรากฏในตำนาน ทำให้ทราบว่า วัดพระบรมธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช เดิมชื่อวัดพระบรมธาตุ ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารใน พ.ศ. ๒๔๕๘ พื้นที่ใช้สอยในวัดเมื่อสมัยแรกสร้าง จนถึงก่อนการเปลี่ยนแปลงในสมัยรัชกาลที่ ๖ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ กำหนดให้บริเวณวัดเป็นเขตพุทธาวาส ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา และได้ตั้งเขตสังฆาวาสขึ้นรอบองค์พระบรมธาตุทั้ง ๔ ทิศ ได้แก่ ทิศเหนือ มีวัดพระเดิม วัดมังคุด และวัดโรงช้าง ทิศใต้ มีวัดหน้าพระลาน วัดโคกธาตุ วัดท้าวโคตร วัดศพ วัดไฟไหม้ และวัดชายน้ำ ทิศตะวันออก มีวัดดิ่งดง วัดธรรมาวดี วัดสิงห์ วัดสระเรียง วัดหน้าพระบรมธาตุ และวัดหน้าราหู ทิศตะวันตก มีวัดพระนคร วัดแม่ชี และวัดชลเฉนียน ในปัจจุบัน วัดต่างๆ ที่อยู่รอบองค์พระบรมธาตุทั้ง ๔ ทิศ ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม คือ วัดโรงช้าง วัดดิ่งดง วัดธรรมาวดี วัดสิงห์ และวัดแม่ชี กลายเป็นวัดร้าง ส่วนวัดพระเดิมและวัดมังคุดรวมเป็นวัดเดียวกับวัดพระมหาธาตุฯ วัดศพและวัดไฟไหม้รวมเป็นวัดเดียวกับวัดท้าวโคตร สำหรับวัดราหูได้รวมกับวัดหน้าพระธาตุ ในส่วนของพระสงฆ์ซึ่งทำหน้าที่ดูแลองค์พระบรมธาตุ มีจำนวน ๔ คณะ แต่ละคณะจะรับผิดชอบประจำอยู่ในทิศต่างๆ คือ คณะกาเดิมอยู่ทิศเหนือ คณะการามอยู่ทิศใต้ คณะกาแก้วอยู่ทิศตะวันออก คณะกาชาดอยู่ทิศตะวันตก จนกระทั่งสมัยรัชกาลที่ ๖ ได้โปรดให้ตั้งพระสงฆ์คณะต่างๆ มีตำแหน่งเป็นพระครู โดยมีพระครูเหมเจติยานุรักษ์เป็นหัวหน้าคณะ และมีผู้ช่วยอีก ๔ รูป คือ พระครูกาเดิม พระครูการาม พระครูกาแก้ว และพระครูกาชาด ตำแหน่งพระครูทั้ง ๔ นี้ยังคงจำพรรษาอยู่ในวัดเดิมของตนตามทิศทั้ง ๔ มีหน้าที่ดูแลพระบรมธาตุร่วมกัน ใน พ.ศ. ๒๔๕๘ รัชกาลที่ ๖ โปรดให้สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนลพบุรีราเมศวร์ เมื่อครั้งยังทรงดำรงตำแหน่งอุปราชมณฑลปักษ์ใต้ นิมนต์พระสงฆ์จากวัดเพชรจริกซึ่งมีพระครูวินัยธร (นุ่น) เป็นหัวหน้าสงฆ์จำพรรษาดูแลวัด และพระราชทานนามใหม่ว่า วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จารึกแผ่นทองหุ้มปลียอด เป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการนำแผ่นทองขึ้นไปหุ้มเป็นพุทธบูชาหลายครั้ง และมีการปฏิบัติต่อเนื่องสืบมา ศักราชเก่าที่สุดที่ปรากฏในจารึกกลุ่มนี้คือ พ.ศ. ๒๑๕๕ ตรงกับรัชกาลสมเด็จพระเจ้าเอกาทศรฐ สมัยอยุธยา สังเกตได้ว่าจารึกที่เก่ากว่าส่วนใหญ่จะอยู่ในตำแหน่งใกล้ยอดพระธาตุมากกว่าจารึกในสมัยหลัง
    เนื้อหาโดยสังเขป ไม่สามารถจับใจความได้ เนื่องจาก ปรากฏเพียงข้อความว่า “ …ศรีราชสงครามราม…”
    ผู้สร้าง ศรีราชสงคราม?


    ส่วนที่ ๒

    เนื้อหาโดยสังเขป ข้อความในจารึกทั้ง ๒ บรรทัดไม่ต่อเนื่องกัน บรรทัดที่ ๑ กล่าวถึง ฤกษ์ยาม ส่วนบรรทัดที่ ๒ กล่าวถึง การช่วยเหลือสัตว์ทั้งหลายให้พ้นทุกข์


    การกำหนดอายุ เทิม มีเต็ม ผู้อ่านและจำลองอักษร ได้กำหนดอายุของจารึกนี้ไว้ในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๓-๒๔ ซึ่งครอบคลุมทั้งสมัยอยุธยาตอนปลายถึงธนบุรี-รัตนโกสินทร์ตอนต้น


    ใคร? ศรีราชสงครามราม - ฤกษ์ยาม - การช่วยเหลือสัตว์ทั้งหลายให้พ้นทุกข์

    ไม่ได้ปรุงแต่ง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กันยายน 2016
  20. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ชื่อจารึก จารึกเรื่องเปรตกถา แผ่นที่ ๑
    ชื่อจารึกแบบอื่นๆ -
    อักษรที่มีในจารึก ขอมธนบุรี-รัตนโกสินทร์, ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์
    ศักราช ไม่ปรากฏศักราช 
    ภาษา ไทย, บาลี
    ด้าน/บรรทัด จำนวน ๑ ด้าน จำนวน ๑๖ บรรทัด
    วัตถุจารึก หินอ่อนสีดำ
    ลักษณะวัตถุ แผ่นสี่เหลี่ยมจัตุรัส
    ปีที่พบจารึก ไม่ปรากฏหลักฐาน
    สถานที่พบ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
    ผู้พบ ไม่ปรากฏหลักฐาน
    ปัจจุบันอยู่ที่ เสาในประธานมุขหน้า ศาลาการเปรียญ (โบสถ์เก่า) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
    พิมพ์เผยแพร่ ๑) ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน, ๒๕๔๔), ๒๒๕.
    ๒) ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน, ๒๕๕๔), ๒๒๗.
    ประวัติ จารึกเรื่องนิรยกถา ติดอยู่ที่เสาในประธานมุขหลัง ศาลาการเปรียญ ใน “การปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน : ถอดจากโคลงดั้นพระนิพนธ์กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส” ไม่ได้กล่าวถึงจารึกเรื่องนิรยกถา กล่าวถึงเพียงเรื่องเปรตกถา แต่เมื่อพิจารณาจากรูปอักษรและลายสลักที่กรอบจารึกแล้ว เห็นว่าน่าจะเป็นจารึกชุดเดียวกัน นอกจากนั้น ในจารึกเรื่องนิรยกถา แผ่นที่ ๑ บรรทัดที่ ๑-๓ ได้ระบุถึงพระราชโองการที่ให้กรมหมื่นไกรสรวิชิตจัดการให้ช่างจารึกเรื่องนิรยกถา และเปรตถถา ไว้ที่คอ ๒ มุขหน้าและมุขหลังของศาลาการเปรียญอีกด้วย
    ปัจจุบันจารึกนึ้ยังอยู่ที่เสาในประธานมุขหลัง ศาลาการเปรียญ หรือที่เรียกว่า “โบสถ์เก่า” ดังเดิม
    เนื้อหาโดยสังเขป เรื่องราวในจารึกแผ่นนี้กล่าวถึง วิชาตประเทศ ซึ่งเป็นเขตแดนหนึ่งในป่าหิมพานต์ อยู่เหนือนรกขึ้นมา เป็นที่อยู่ของเปรต ๑๒ ตระกูล ในจารึกแผ่นนี้จะให้รายละเอียดของเปรตตระกูลที่ ๑ และ ๒ คือ วันตาสเปรต และกุณปขาทเปรต ว่ามีลักษณาการเช่นไร และเกิดจากทำกรรมอะไรไว้
    ผู้สร้าง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓)
    การกำหนดอายุ กำหนดอายุจากประวัติการสร้างจารึกในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) ซึ่งปรากฏในจดหมายเหตุเรื่อง “การปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน : ถอดจากโคลงดั้นพระนิพนธ์กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส” ว่า การเปรียญของเดิมเป็นเครื่องไม้ชำรุด รื้อลงทำใหม่หมด เสาเดิมเป็นเสาไม้แก่น ก่ออิฐโอบเข้าเป็น ๔ เหลี่ยม เสาคู่หนึ่ง (มุขตะวันออก) มีศิลาจารึกเรื่องเปรตกถา
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กันยายน 2016

แชร์หน้านี้

Loading...