เรื่องเด่น พุทธทำนาย ยุคกึ่งพุทธกาล จะเกิดภัยพิบัติและสงครามใหญ่ (ปีพ.ศ. 2560 เป็นต้นไป)

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย WebSnow, 25 สิงหาคม 2016.

  1. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ชื่อจารึก จารึกเยธมฺมาฯ บนพระพุทธรูปศิลา
    ชื่อจารึกแบบอื่นๆ -
    อักษรที่มีในจารึก ปัลลวะ
    ศักราช พุทธศตวรรษ ๑๒
    ภาษา บาลี
    ด้าน/บรรทัด จำนวนด้าน ๑ ด้าน มี ๒ บรรทัด
    วัตถุจารึก ศิลาสีเขียว
    ลักษณะวัตถุ พระพุทธรูปยืน ปางเสด็จลงจากดาวดึงส์
    ขนาดวัตถุ พระพุทธรูปสูง ๑๙๖ ซม.
    บัญชี/ทะเบียนวัตถุ ๑) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “รบ. ๒”
    ๒) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ ๓ กำหนดเป็น “หลักที่ ๓๑ จารึกเยธมฺมาฯ บนพระพุทธรูปศิลา วัดมหาธาตุ ราชบุรี”
    ๓) ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม ๑ กำหนดเป็น “จารึกเยธมฺมาฯ บนพระพุทธรูปศิลา”
    ปีที่พบจารึก พุทธศักราช ๒๔๙๗
    สถานที่พบ วัดเพลง (ร้าง) ตำบลหลุมดิน อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี
    ผู้พบ พระธรรมเสนานี เจ้าอาวาสวัดมหาธาตุ ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี
    ปัจจุบันอยู่ที่ พระอุโบสถวัดมหาธาตุวรวิหาร ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี
    พิมพ์เผยแพร่ ๑) ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ ๓ (พระนคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, ๒๕๐๘), ๓-๔.
    ๒) จารึกในประเทศไทย เล่ม ๑ (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๒๙), ๗๒-๗๔.
    ประวัติ ศิลาจารึกหลักนี้ จารึกอักษรอยู่เบื้องพระปฤษฎางค์ (ด้านหลัง) ของพระพุทธรูปยืนปางเสด็จลงจากดาวดึงส์ซึ่งทำด้วยศิลาสีเขียว ศิลปะแบบทวารวดี พระธรรมเสนานีเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุ จังหวัดราชบุรี พบที่วัดเพลง (ร้าง) ตำบลหลุมดิน อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี และได้นำมาเก็บรักษาไว้ในพระอุโบสถ วัดมหาธาตุ จังหวัดราชบุรี เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๔๙๗ ต่อในปี พ.ศ. ๒๕๐๘ ได้มีการอ่านและนำไปตีพิมพ์เผยแพร่ใน ประชุมศิลาจารึกภาคที่ ๓ โดยใช้ชื่อว่า หลักที่ ๓๑ จารึกเยธมฺมาฯ บนพระพุทธรูปศิลา วัดมหาธาตุ ราชบุรี และ ในปี พ.ศ. ๒๕๒๙ ได้รับการอ่านและแปลอีกครั้งโดย ร.ต.ท. แสง มนวิทูร เพื่อตีพิมพ์ในหนังสือชุด จารึกในประเทศไทย
    เนื้อหาโดยสังเขป คาถา เย ธมฺมาฯ นี้ นับว่าเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา เป็นคาถาคัดมาจากพระวินัยปิฎก มหาวรรค มหาขันธกะ ตอนพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะบรรพชา โดยมีเรื่องย่อว่า “สมัยนั้น สัญชัยปริพาชก (ปริพาชก คือ นักบวชที่ไม่ได้นับถือพระพุทธศาสนา) อาศัยอยู่ ณ กรุงราชคฤห์ พร้อมด้วยบริษัทปริพาชกหมู่ใหญ่ จำนวน ๒๕๐ คน และสมัยนั้น สารีบุตรและโมคคัลลานะประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักสัญชัยปริพาชก ต่างทำกติกากันว่า ใครได้บรรลุอมตธรรมก่อน จงบอกแก่อีกคนหนึ่ง สารีบุตรปริพาชกได้เห็นพระอัสสชิเข้าไปสู่กรุงราชคฤห์ เพื่อบิณฑบาต มีความเลื่อมใสในความสงบเสงี่ยมเรียบร้อยของท่าน จึงรอจนได้โอกาสก็เข้าไปถามถึงหลักธรรมในศาสนาที่ท่านบวช ท่านกล่าวหลักธรรมเพียงย่อๆ ให้ฟังว่า ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น สารีบุตรได้ฟังก็ได้ดวงตาเห็นธรรม แล้วนำมาเล่าให้โมคคัลลานะฟัง โมคคัลลานะก็ได้ดวงตาเห็นธรรม จึงพากันไปลาปริพาชก ๒๕๐ คน เพื่อจะไปบวชในสำนักพระบรมศาสดา แต่ปริพาชกเหล่านั้นขอไปด้วย จึงพร้อมกันไปลาสัญชัยผู้เป็นอาจารย์ สัญชัยขอให้อยู่กันบริหารหมู่คณะถึง ๓ ครั้ง แต่สาริบุตรกับโมคคัลลานะไม่ยอม คงลาไป พร้อมทั้งปริพาชก อีก ๒๕๐ คน สัญชัยเสียใจ ถึงอาเจียนเป็นโลหิต เมื่อปริพาชกทั้งหลาย ได้ไปเฝ้าทูลขอบวชในพระพุทธศาสนาต่อพระผู้มีพระภาคก็ได้รับพระพุทธานุญาตให้เป็นภิกษุ ด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา (พระไตรปิฎกฉบับประชาชน ภาค ๔ ความย่อแห่งพระไตรปิฎก เล่ม ๔, ๒๕๓๙, หน้า ๒๑๗)”
    ผู้สร้าง ไม่ปรากฏหลักฐาน
    การกำหนดอายุ กำหนดอายุตามรูปแบบอักษรปัลลวะ อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ นอกจากนี้ ร.ต.ท. แสง มนวิทูร ได้ให้ความเห็นว่า รูปอักษรของจารึกนี้ เหมือนกันกับศิลาจารึกเยธมฺมาฯ บนแผ่นอิฐ (สพ. ๔) ฉะนั้นจึงประมาณอายุให้อยู่ในพุทธศตวรรษที่ ๑๒
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ชื่อจารึก จารึกเรื่องศาลารายหลังที่ ๑ ศาลาเลื่อนศักดิ์ ลำดับที่ ๗๗ (มหาสุบินชาฎก)
    ชื่อจารึกแบบอื่นๆ -
    อักษรที่มีในจารึก ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์
    ศักราช พุทธศักราช -
    ภาษา ไทย
    ด้าน/บรรทัด จำนวน ๑ ด้าน ไม่ทราบจำนวนบรรทัด
    วัตถุจารึก หินอ่อน
    ลักษณะวัตถุ แผ่นหิน
    ปีที่พบจารึก ไม่ปรากฏหลักฐาน
    สถานที่พบ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร จังหวัดกรุงเทพมหานคร
    ผู้พบ ไม่ปรากฏหลักฐาน
    ปัจจุบันอยู่ที่ ศาลารายหลังที่ ๑ (ศาลาเลื่อนศักดิ์) บริเวณหน้ามุขพระวิหารทิศใต้ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร จังหวัดกรุงเทพมหานคร
    พิมพ์เผยแพร่ ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, ๒๕๔๔), ๑๔๙.
    ประวัติ จารึกอรรถกถาชาดก อยู่ในบริเวณศาลาราย ๑๖ หลัง ภายในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เดิมมีภาพจิตรกรรมที่มีเนื้อหาสอดคล้องกัน แต่ปัจจุบันไม่หลงเหลือภาพดังกล่าวแล้ว สำหรับจารึกได้สูญหายไปบางส่วน เนื่องจากมีการรื้อศาลา ๘ หลัง ส่วนที่เหลืออยู่ก็มีการเรียงลำดับอย่างไม่เป็นระเบียบ เข้าใจว่าเกิดขึ้นจากการปฏิสังขรณ์วัดในสมัยหลัง ซึ่งมีการเคลื่อนย้ายแล้วนำกลับไปติดไว้ผิดจากตำแหน่งเดิม จากการศึกษาของ นิยะดา เหล่าสุนทร พบว่า ศาลารายแต่ละหลังจะมีจารึกจำนวน ๓๖ หรือ ๓๙ เรื่อง จารึกแต่ละแผ่นประกอบด้วยชาดก ๑ เรื่อง เว้นแต่ชาดกเรื่องสำคัญบางเรื่องซึ่งใช้พื้นที่มากกว่า ๑ แผ่น
    เนื้อหาโดยสังเขป กล่าวถึงมหาสุปินชาดก ซึ่งเป็นเรื่องราวของพระโพธิสัตว์ครั้งเสวยพระชาติเป็นดาบสในป่าหิม พานต์ แก้ฝันพญาพาราณสีได้ทั้ง ๑๖ ข้อ
    ผู้สร้าง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓)
     
  3. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ในข้อมูลเหล่านี้ ให้สืบค้น มีศิลปวัตถุ จารึกโบราณอีกจำนวนมากที่ยังไม่ได้พิจารณาและวิเคราะห์ สืบเรื่องราว มีตำรับยาโบราณ และ ยัตน์คาถาโบราณต่างๆ

    ผู้ที่มีความสนใจเชิญศึกษาด้วยตนเอง เผื่อจะพบเจออะไร?ตามภูมิวิสัยของตนเอง เรียกได้ว่าเป็นข้อมูลที่ล้ำค่ามากๆ

    ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 244389031.gif
      244389031.gif
      ขนาดไฟล์:
      66.8 KB
      เปิดดู:
      100
  4. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ชื่อจารึก จารึกคาถาป้องกันอสนีบาต
    ชื่อจารึกแบบอื่นๆ ศิลาจารึกคาถาป้องกันอสนีบาต พุทธศตวรรษที่ ๒๐
    อักษรที่มีในจารึก ขอมสุโขทัย
    ศักราช พุทธศตวรรษ ๒๐
    ภาษา สันสกฤต
    ด้าน/บรรทัด จำนวนด้าน ๑ ด้าน มี ๕ บรรทัด
    วัตถุจารึก หินแปร
    ลักษณะวัตถุ แผ่นสี่เหลี่ยม
    ขนาดวัตถุ กว้าง ๓๙ ซม. สูง ๓๙ ซม. หนา ๓ ซม.
    บัญชี/ทะเบียนวัตถุ ๑) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “พล. ๑ (พล./๑)”
    ๒) ในหนังสือ จารึกสมัยสุโขทัย กำหนดเป็น “ศิลาจารึกคาถาป้องกันอสนีบาต พุทธศตวรรษที่ ๒๐”
    ปีที่พบจารึก ไม่ปรากฏหลักฐาน
    สถานที่พบ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
    ผู้พบ ไม่ปรากฏหลักฐาน
    ปัจจุบันอยู่ที่ หอพระสมุดวชิรญาณ กองหอสมุดแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร
    พิมพ์เผยแพร่ จารึกสมัยสุโขทัย (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๒๖), ๒๘๒-๒๘๓.
    ประวัติ ศิลาจารึกหลักนี้เป็นที่รู้จักกันว่า เป็นคาถาป้องกันอสนีบาต หรืออสุนีบาต บทที่เป็นคาถาส่วนมากจะไม่คำนึงถึงหลักภาษา ฉะนั้นจึงยากแก่การอ่าน-แปล จารึกหลักนี้ก็เช่นกัน แต่ก็อ่าน แปล ไปตามศัพท์ และประโยคที่พึงจะมี ความจริงแล้วบทคาถาเป็นของขลังศักดิ์สิทธิ์ มีคตินิยมของผู้เชื่อถือว่า จะไม่นำมาแปลกัน เพราะจะทำให้เสื่อมความศรัทธา และความศักดิ์สิทธิ์จะคลายไปด้วย แต่ในที่นี้ถือว่าเป็นศิลาจารึก จึงต้องอ่าน-แปลทุกหลักไป
    เนื้อหาโดยสังเขป ข้อความที่จารึก ขึ้นด้วย “โอม” ตามแบบของคาถาอาคม แล้วกล่าวถึงนามของเทพทั้งห้า อันเป็นเครื่องป้องกันอันตราย แล้วขอให้อสนีบาตจงห่างไกลไปตกในที่อื่น


    ชักเริ่มจะเข้าเค๊า!
     
  5. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    จารึกใต้ฐานรูปพระเจ้าศุทโธทนะ (พระพุทธบิดา) (English Version)
    ชื่อจารึกแบบอื่นๆ -
    อักษรที่มีในจารึก หลังปัลลวะ
    ศักราช พุทธศตวรรษ ๑๓-๑๔
    ภาษา สันสกฤต
    ด้าน/บรรทัด จำนวนด้าน ๑ ด้าน มี ๒ บรรทัด
    วัตถุจารึก ดินเผา
    ลักษณะวัตถุ ประติมากรรมรูปบุคคล นั่งประนมมือ
    ขนาดวัตถุ กว้าง ๖.๕ ซม. สูง ๔.๕ ซม.
    บัญชี/ทะเบียนวัตถุ ๑) ทะเบียนของพิพิธภัณฑ์ฯ กำหนดเป็น “๕๙/๐๖”
    ๒) ในวารสาร Fragile Palm Leaves (December 2545/2002) กำหนดเป็น “จารึกใต้ฐานรูปพระเจ้าศุทโธทนะ (พระพุทธบิดา)”
    ปีที่พบจารึก ระหว่างการขุดแต่งโบราณสถานในวันที่ ๕ สิงหาคม ถึง ๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๖
    สถานที่พบ เจดีย์หมายเลข ๑๑ เมืองโบราณอู่ทอง ตำบลอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
    ผู้พบ กรมศิลปากร
    ปัจจุบันอยู่ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
    พิมพ์เผยแพร่ Fragile Palm Leaves (December 2545/2002) : 11-14.
    ประวัติ ประติมากรรมรูปพระเจ้าสุทโธทนะ ถูกพบระหว่างการขุดแต่งโบราณสถาน ในวันที่ ๕ สิงหาคม ถึง ๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๖ บริเวณเจดีย์หมายเลข ๑๑ เมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี โดยใน รายงานการสำรวจและขุดแต่งโบราณวัตถุสถานเมืองเก่าอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ระบุว่าประติมากรรมดังกล่าวเป็น “พระโพธิสัตว์ดินเผา“ ต่อมา เมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๕ ปีเตอร์ สกิลลิ่ง และศานติ ภักดีคำ ได้เดินทางไปที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง จ. สุพรรณบุรี เพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับพระพิมพ์ จึงได้พบประติมากรรมชิ้นนี้ รวมถึงจารึกบนพระพิมพ์องค์อื่นๆ ที่ยังไม่ได้มีการอ่าน-แปล จึงได้ทำการอ่าน-แปล และทราบว่าประติมากรรมดังกล่าวคือ พระเจ้าสุทโธทนะ ไม่ใช่พระโพธิสัตว์แต่อย่างใด คำอ่าน-แปลจารึกนี้รวมถึงจารึกบนพระพิมพ์ทั้งหมด มีการตีพิมพ์ลงในบทความชื่อ “จารึกพระสาวกและจารึกพระเจ้าศุทโธทนะพบใหม่ ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอู่ทอง จ. สุพรรณบุรี “ ตีพิมพ์ในวารสาร Fragile Palm Leaves เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๕
    เนื้อหาโดยสังเขป กล่าวถึงพระนามของพระเจ้าสุทโธทนะ ซึ่งเป็นพระบิดาของพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ศากยวงศ์ แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ มีพระชายานามว่า สิริมหามายา พระโอรสคือ เจ้าชาย สิทธัตถะ พระองค์ทรงพยายามทุกวิถีทาง ไม่ให้เจ้าชายเกิดความเบื่อหน่ายในการครองเรือนจนสละโลก เพราะต้องการให้เป็นจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ตามคำทำนาย แต่เมื่อเจ้าชายทรงออกบวชและเป็นพระพุทธเจ้า พระองค์ก็ทรงพอพระทัยและเห็นประโยชน์ของการออกบวช จึงทรงอนุญาตให้เจ้าชายในศากยวงศ์หลายพระองค์ ออกบวชเพื่อสืบทอดพระศาสนา พระเจ้าสุทโธทนะนั้น หลังจากได้ฟังพระธรรมเทศนาก็ทรงบรรลุโสดาปัตติผล และเมื่อได้ฟังธรรมอีกครั้งก็บรรลุสกิทาคามิผล ต่อมาได้สดับมหาธัมมปาลชาดก ได้บรรลุอนาคามิผล ในบั้นปลายชีวิต ได้สดับพระธรรมเทศนาจากพระพุทธเจ้า และบรรลุอรหัตผลในที่สุด
    ผู้สร้าง ไม่ปรากฏหลักฐาน
    การกำหนดอายุ กำหนดอายุจากรูปอักษรหลังปัลลวะซึ่งมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๔
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  6. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    หลายอย่างที่สำคัญๆ อาจไปอยู่เมืองนอก อย่างเช่นที่ Fogg Art Museum Homepage | Harvard Art Museums
     
  7. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ชื่อจารึก จารึกปราสาท
    ชื่อจารึกแบบอื่นๆ ศิลาจารึกปราสาท
    อักษรที่มีในจารึก ขอมโบราณ
    ศักราช พุทธศตวรรษ ๑๘
    ภาษา สันสกฤต
    ด้าน/บรรทัด จำนวนด้าน ๔ ด้าน มี ๙๘ บรรทัด ด้านที่ ๑ มี ๒๔ บรรทัด ด้านที่ ๒ มี ๒๔ บรรทัด ด้านที่ ๓ มี ๒๔ บรรทัด ด้านที่ ๔ มี ๒๖ บรรทัด
    วัตถุจารึก ศิลา ประเภทหินทราย
    ลักษณะวัตถุ แท่งสี่เหลี่ยม ยอดทรงกระโจม หรือทรงยอ
    ขนาดวัตถุ กว้าง ๓๑.๕ ซม. สูง ๗๘ ซม. หนา ๓๐.๕ ซม.
    บัญชี/ทะเบียนวัตถุ ๑) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “สร. ๔”
    ๒) ในหนังสือ จารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ กำหนดเป็น “ศิลาจารึกปราสาท”
    ๓) ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม ๔ กำหนดเป็น “จารึกปราสาท”
    ปีที่พบจารึก ไม่ปรากฏหลักฐาน
    สถานที่พบ อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์
    ผู้พบ ไม่ปรากฏหลักฐาน
    ปัจจุบันอยู่ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร
    พิมพ์เผยแพร่ ๑) จารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๒๘), ๑๐-๑๘.
    ๒) จารึกในประเทศไทย เล่ม ๔ (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๒๙), ๒๒๙-๒๔๓.
    ประวัติ กรมศิลปากร ได้รับศิลาจารึกปราสาทหลักนี้ เมื่อวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๖ จากนายดำรง ลัทธพิพัฒน์ ผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ จากคำบอกเล่าทราบว่า พบจารึกหลักนี้ที่อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ข้อความของจารึกก็เหมือนหรือคล้ายกันกับจารึกเมืองพิมาย จารึกด่านประคำ และจารึกปราสาทตาเมียนโตจ ด้านที่หนึ่งของจารึกทั้งสี่หลักจะเหมือนกันทุกประการ นอกจากการใช้หลักภาษา และการจารึกอักษรบกพร่องไปบ้างเป็นบางหลัก ด้านที่สองตั้งแต่บรรทัดที่ ๑-๑๔ จะเหมือนกันทั้งสี่หลัก แต่บรรทัดที่ ๑๕-๒๔ ข้อความส่วนใหญ่จะเหมือนกัน จะต่างกันบ้างก็แต่จำนวนบุคคลและสิ่งของที่ระบุในจารึก หลักภาษาจะมีการวางตำแหน่งของคำสลับกันบ้าง แต่จารึกปราสาท กับจารึกด่านประคำเฉพาะด้านที่สองนี้จะเหมือนกันทุกประการ ด้านที่สามจะพบความแตกต่างกันมาก ทั้งข้อความจารึกหลักภาษา การตัดออกบางโศลกและเพิ่มเติมบางโศลก เฉพาะจารึกเมืองพิมาย ด้านที่สามมีถึงยี่สิบหกบรรทัด ซึ่งจารึกอื่นมีเพียงยี่สิบสี่บรรทัด ด้านที่สี่มีการเปลี่ยนแปลงข้อความเฉพาะส่วนบนของจารึก นอกนั้นเหมือนกันทั้งสี่หลัก ยกเว้นหลักภาษา อาจจะมีการจารึกบกพร่องไปบ้าง ส่วนจารึกปราสาทนี้มี ๒๖ บรรทัด ซึ่งจารึกอื่นมีเพียง ๒๔ บรรทัด
    เนื้อหาโดยสังเขป ด้านที่ ๑ เริ่มต้นด้วยการกล่าวนมัสการพระพุทธเจ้า แล้วกล่าวสรรเสริญพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ด้านที่ ๒ กล่าวถึงพระราชภารกิจของพระองค์ในการสร้างโรงพยาบาล (อโรคยาศาลา) สร้างพระพุทธรูปไวโรจนชินเจ้า และจัดเจ้าหน้าที่เพื่อทำหน้าที่ประจำในโรงพยาบาล ด้านที่ ๓ กล่าวถึงรายการสิ่งของที่พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ประทานเป็นเครื่องพลีทาน ส่วนใหญ่เป็นรายชื่อสมุนไพร ด้านที่ ๔ กล่าวถึงสิ่งของที่พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ประทานเป็นเครื่องพลีทาน ต่อจากด้านที่ ๓ จากนั้นมีการกล่าวห้ามไม่ให้มีการทำร้ายกัน หากผู้ใดฝ่าฝืนจะถูกลงโทษ ลงท้ายด้วยการถวายพระพรแด่พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ให้ได้รับความสุขจากบุญกุศลในครั้งนี้
    ผู้สร้าง พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗
    การกำหนดอายุ จารึกด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๗ ได้ระบุพระนามของกษัตริย์พระองค์หนึ่ง คือ ศรีชัยวรมัน ว่าเป็นพระโอรสของพระเจ้าธรณีนทรวรมันที่ ๒ ดังนั้น พระนาม “ศรีชัยวรมัน” ในที่นี้ ก็น่าจะหมายถึง พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ซึ่งครองราชย์ในช่วง พ.ศ. ๑๗๒๔-๑๗๖๑


    ถ้ากฎหมายบ้านเมืองศักดิ์สิทธิ์ คนมีสัจจะแบบนี้คงดีในกาล เป็นรูปแบบของการปกครอง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กันยายน 2016
  8. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ชื่อจารึก จารึกปราสาทหินพิมาย ๒
    ชื่อจารึกแบบอื่นๆ หลักที่ ๕๙ ศิลาจารึกปราสาทหินพิมาย, P’imay (K. 953)
    อักษรที่มีในจารึก ขอมโบราณ
    ศักราช พุทธศักราช ๑๕๘๙
    ภาษา เขมร, สันสกฤต
    ด้าน/บรรทัด จำนวนด้าน ๒ ด้าน มี ๑๕ บรรทัด ด้านที่ ๑ มี ๘ บรรทัด ด้านที่ ๒ มี ๗ บรรทัด
    วัตถุจารึก ศิลา
    ลักษณะวัตถุ รูปใบเสมาชำรุด เนื้อศิลาส่วนล่างหักหายไป
    ขนาดวัตถุ กว้าง ๒๓ ซม. สูง ๑๘ ซม. หนา ๕.๕ ซม.
    บัญชี/ทะเบียนวัตถุ ๑) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “นม. ๒๙”
    ๒) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ ๓ กำหนดเป็น “หลักที่ ๕๙ ศิลาจารึกปราสาทหินพิมาย”
    ๓) ในหนังสือ Inscriptions du Cambodge เล่ม 8 กำหนดเป็น “P’imay (K. 953)”
    ๔) ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม ๓ กำหนดเป็น “จารึกปราสาทหินพิมาย ๒”
    ปีที่พบจารึก พุทธศักราช ๒๔๙๗
    สถานที่พบ บริเวณมุมตะวันออกเฉียงใต้ของปรางค์ใหญ่ ปราสาทหินพิมาย บ้านพิมาย ตำบลในเมือง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา
    ผู้พบ เจ้าหน้าที่กองโบราณคดี กรมศิลปากร
    ปัจจุบันอยู่ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร
    พิมพ์เผยแพร่ ๑) ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ ๓ (พระนคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, ๒๕๐๘), ๑๒๕-๑๒๘.
    ๒) จารึกในประเทศไทย เล่ม ๓ (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๒๙), ๑๗๖-๑๘๐.
    ประวัติ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๙๗ กรมศิลปากรได้ทำการขุดแต่งและบูรณะบริเวณปรางค์ใหญ่ปราสาทหินพิมาย อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ได้พบจารึกหลัก นม. ๒๙ นี้ กับจารึก นม. ๑๓ จารึก นม. ๒๙ นี้ เป็นจารึกรูปใบเสมาชำรุดมาก เนื้อศิลาส่วนล่างหักหายไป จารึกอักษร ๒ ด้าน ด้านที่ ๑ สองบรรทัดแรกจารึกเป็นภาษาสันสกฤต บรรทัดที่ ๒-๘ จารึกเป็นภาษาเขมร ปรากฏศักราชและนักษัตร เป็นปีมะเส็ง มหาศักราช ๙๕๘ ตรงกับพุทธศักราช ๑๕๗๙ ส่วนด้านหลังจารึกเป็นภาษาสันสกฤต มีเลขบอกศักราชอยู่บนสุดเป็นมหาศักราช ๙๖๘ ตรงกับพุทธศักราช ๑๕๘๙
    เนื้อหาโดยสังเขป เนื้อความด้านที่ ๑ เริ่มต้นด้วยการกล่าวนมัสการพระพุทธเจ้า จากนั้นก็กล่าวถึงการซื้อทาส แลสิ่งของเพื่อถวายแด่เทวรูปในเทวสถาน ในวันบรรพวิวัสนะ และวันสงกรานต์ เนื้อความด้านที่ ๒ กล่าวสรรเสริญพระพุทธเจ้า ซึ่งมีพระพรหมและพระวิษณุมากราบไหว้
    ผู้สร้าง ไม่ปรากฏหลักฐาน
    การกำหนดอายุ จารึกด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๓ บอกมหาศักราช ๙๕๘ ซึ่งตรงกับ พ.ศ. ๑๕๗๙ ส่วนจารึกด้านที่ ๒ บรรทัดบนสุดบอกมหาศักราช ๙๖๘ ซึ่งตรงกับ พ.ศ. ๑๕๘๙
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กันยายน 2016
  9. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ชื่อจารึก จารึกเยธมฺมาฯ บนพระสถูปดินเผาเมืองยะรัง
    ชื่อจารึกแบบอื่นๆ จารึกเมืองยะรัง (สถูปดินเผา), จารึก เย ธมฺมาฯ (สถูปดินเผา)
    อักษรที่มีในจารึก ปัลลวะ
    ศักราช พุทธศตวรรษ ๑๒
    ภาษา สันสกฤต
    ด้าน/บรรทัด จำนวนด้าน ๒ ด้าน มี ๒ บรรทัด คือ แต่ละด้านมี ๑ บรรทัด
    วัตถุจารึก ดิน
    ลักษณะวัตถุ พระสถูปดินเผา
    ขนาดวัตถุ เส้นผ่าศูนย์กลางฐาน ๗.๕ ซม. เส้นผ่าศูนย์กลางยอด ๒.๔ ซม. สูง ๑๑.๗ ซม.
    บัญชี/ทะเบียนวัตถุ ๑) ในวารสาร ศิลปากร ปีที่ ๓๓ ฉบับที่ ๖ (มกราคม-กุมภาพันธ์ ๒๕๓๓) เรียกว่า “จารึกเมืองยะรัง (สถูปดินเผา)”
    ๒) ในวารสาร ศิลปากร ปีที่ ๓๖ ฉบับที่ ๕ (กันยายน-ตุลาคม ๒๕๓๖) เรียกว่า “จารึก เย ธมฺมาฯ (สถูปดินเผา)”
    ปีที่พบจารึก ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๒
    สถานที่พบ โบราณสถานเมืองยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
    ผู้พบ หน่วยศิลปากรที่ ๙
    ปัจจุบันอยู่ที่ ไม่ปรากฏหลักฐาน
    พิมพ์เผยแพร่ ๑) วารสารศิลปากร ปีที่ ๓๓ ฉบับที่ ๖ (มกราคม-กุมภาพันธ์ ๒๕๓๓) : ๓๕-๕๐.
    ๒) วารสารศิลปากร ปีที่ ๓๖ ฉบับที่ ๕ (กันยายน-ตุลาคม ๒๕๓๖) : ๖๕-๘๗.
    ประวัติ พระพิมพ์องค์นี้เป็นโบราณวัตถุหนึ่งในหลายๆ ชิ้นที่ได้จากการขุดแต่งโบราณสถานเมืองยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี เมื่อราว พ.ศ. ๒๕๓๒ ก่องแก้ว วีระประจักษ์ ได้ทำการศึกษาโบราณวัตถุที่มีจารึกปรากฏอยู่ ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน ๙ ชิ้น เป็นพระพิมพ์ดินดิบ ๓ ชิ้น เป็นพระสถูปพิมพ์ดินดิบ ๕ ชิ้น และ เป็นพระสถูปดินเผา ๑ ชิ้น โดยตีพิมพ์ในวารสารศิลปากร ปีที่ ๓๓ ฉบับที่ ๖ (พ.ศ. ๒๕๓๓) ต่อมา ชะเอม แก้วคล้าย ได้เขียนบทความเรื่อง “จารึก เย ธมฺมาฯ” และได้กล่าวถึงจารึกกลุ่มที่พบที่เมืองยะรังนี้ด้วยเช่นกัน สถูปดินเผา ลักษณะเป็นสถูปลอยตัว มีอักษรจารึกรอบฐานด้านนอกจำนวน ๑ บรรทัด และที่รอบขอบฐานด้านใน มีอักษรจารึกเขียนด้วยสีแดงจากซ้ายไปขวา จำนวน ๑ บรรทัดเช่นเดียวกัน แต่ที่ด้านในเส้นอักษรมีขนาดใหญ่เล็กไม่สม่ำเสมอกันและลบเลือนมาก จารึกทั้ง ๒ ด้านมีข้อความเหมือนกัน
    เนื้อหาโดยสังเขป เป็นคาถาว่าด้วยเหตุเกิดและทางดับทุกข์ทั้งหลาย
    ผู้สร้าง ไม่ปรากฏหลักฐาน
    การกำหนดอายุ พุทธศตวรรษที่ ๑๒ โดยกำหนดอายุจากรูปแบบของอักษรปัลลวะ

    สถานที่ตั้ง อยู่ในบริเวณ หมู่ที่ ๓ ตำบลยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
    ประวัติความเป็นมา
    เป็นเมืองที่มีความเจริญ ในช่วงปี พ.ศ. ๗๐๐ - ๑๔๐๐ ทิศเหนือติดต่อเมืองสงขลา และพัทลุง ทิศใต้แผ่ไปจนสุดแหลมมลายู ทิศตะวันตกและทิศตะวันออกจรดชายฝั่งทะเลทั้งสองฝั่ง มีซากโบราณสถานและโบราณวัตถุสมัยศรีวิชัยและทวราวดี เมืองโบราณยะรังเป็นชุมชนที่มีความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์ และโบราณคดีเป็นอย่างมาก อาจมีความสัมพันธ์กับอาณาจักร "ลังกาสุกะ" ซึ่งเป็นอาณาจักรที่เก่าแก่ที่สุดอาณาจักรหนึ่งบนคาบสมุทรมลายู มีหลักฐานอยู่ในเอกสารจีน อาหรับ ชวา และมลายู ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ และสันนิษฐานว่าน่าจะมีศูนย์กลางอยู่ในบริเวณจังหวัดปัตตานีในปัจจุบัน และอาจมีอิทธิพลคลุมไปถึงรัฐไทรบุรี ของสหพันธรัฐมาเลเซียด้วย อีกทั้งจะต้องเป็นเมืองท่าที่สำคัญ ตั้งอยู่ใกล้ทะเล และเป็นดินแดนที่มีความมั่นคง มีบทบาททางการเมือง ทางเศรษฐกิจ เกี่ยวข้องกับดินแดนใกล้เคียงอยู่เสมอและได้ทำการติดต่อค้าขายกับชาวต่างประเทศอย่างกว้างขวาง มาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๒

    ลักษณะทั่วไป
    มีลักษณะผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู ขนาดประมาณ ๕๐๐ X ๕๕๐ เมตร มีคูน้ำ ดันดินล้อมรอบทั้งสี่ด้านและที่ป้องทั้งสี่มุม และมีคูน้ำขุดล้อมต่อลงมาเป็นรูปสี่เหลี่ยมของเมืองขยายทางทิศใต้ คือเมืองโบราณบ้านจาและ

    หลักฐานที่พบ
    จากการขุดแต่งพบโบราณวัตถุหลายประเภท ได้แก่
    ๑. สถูปจำลองดินดิบ ดินเผาจำนวนมาก ประกอบด้วยประติมากรรมนูนต่ำ รูปท้าวกูเวระ พระพุทธเจ้าประทับนั่งขนาบด้วยสถูปจำลองทั้งสองข้าง
    ๒. พระพิมพ์ดินเผาและพระพิมพ์ดินดิบรูปแบบต่าง ๆ เช่น
    ๒.๑ พระพิมพ์ดินดิบ รูปสถูปเดี่ยว แบบสาญจี(โอคว่ำ) ด้านล่างมีจารึกคาถาเยธัมมา
    ๒.๒ พระพิมพ์ดินดิบ รูปสถูปจำลอง ฐานสูง ๓ องค์เรียงกันด้านล่างมีจารึกคาถาเยธัมมา
    ๒.๓ พระพิมพ์ดินดิบ รูปพระพุทธเจ้าประทับยืนในท่าติกังก์ และทางวิตรรกะมุตรา
    ๓. เศษภาชนะดินเผา เครื่องถ้วยเปอร์เซียเคลือบสีฟ้าอมเขียว
    ๔. เศษภาชนะดินเผา เครื่องถ้วยเซลาคอน สีเขียวมะกอก โบราณวัตถุเหล่านี้เปรียบเทียบรูปแบบทางศิลปะร่วมสมัยศิลปทวาราวดี ทางภาคกลางของประเทศไทย ซึ่งกำหนดอายุในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๙ – ๑๑

    เส้นทางเข้าสู่เมืองโบราณยะรัง
    จากตัวเมืองปัตตานี ไปทางทิศใต้ตามถนนสายปัตตานี - ยะลา ประมาณ กิโลเมตร ถึงอำเภอยะรัง เลี้ยวซ้ายสู่เมืองโบราณ ระยะทาง ๑.๕ กิโลเมตร


    ทว่าเป็นอาณาจักรมาลายู ก็มีคำสอนของพระพุทธเจ้าเหมือนกัน เมืองโบราณยะรัง เป็นไปได้ยาก ที่ลัทธิศาสนาอื่นจะมีสิ่งที่เป็นศิลปวัฒนธรรมของพระพุทธศาสนาหลงเหลืออยู่ในพื้นที่ นอกเสียจากจะเป็นแผ่นดินที่มีการเผยแผ่คำสอนของพระพุทธศาสนามาแต่ดั้งเดิม เพราะใจไม่กว้างพอหรอก ประวัติศาสตร์ต้องเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กันยายน 2016
  10. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ชื่อจารึก จารึกเหรียญเงินทวารวดี (วัดพระประโทนเจดีย์ ๑)
    ชื่อจารึกแบบอื่นๆ เหรียญเงินทวารวดี
    อักษรที่มีในจารึก ปัลลวะ
    ศักราช พุทธศตวรรษ ๑๒
    ภาษา สันสกฤต
    ด้าน/บรรทัด จำนวนด้าน ๑ ด้าน มี ๑ บรรทัด
    วัตถุจารึก เงิน
    ลักษณะวัตถุ เหรียญทรงกลมแบน ด้านหนึ่งมีจารึก อีกด้านหนึ่งมีรูปจักรล้อมรอบด้วยจุดไข่ปลา
    ขนาดวัตถุ เส้นผ่าศูนย์กลาง ๒.๕ ซม.
    บัญชี/ทะเบียนวัตถุ ในหนังสือ เหรียญกระษาปณ์ในประเทศไทย กำหนดเป็น “เหรียญเงินทวารวดี”
    ปีที่พบจารึก ไม่ปรากฏหลักฐาน
    สถานที่พบ วัดพระประโทนเจดีย์วรวิหาร ตำบลพระประโทน อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม
    ผู้พบ จ่าสิบเอก อำนวย ดีไชย
    ปัจจุบันอยู่ที่ ไม่ปรากฏจังหวัด
    พิมพ์เผยแพร่ ๑) เหรียญกระษาปณ์ในประเทศไทย (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๑๖), ๑๕.
    ๒) วารสารศิลปวัฒนธรรม ปีที่ ๑๑ ฉบับที่ ๗ (พฤษภาคม ๒๕๓๓), ๑๑๒.
    ๓) วารสารศิลปากร ปีที่ ๓๔ ฉบับที่ ๒ (มีนาคม-เมษายน ๒๕๓๔), ๗๖.
    ประวัติ เหรียญเงินเหรียญนี้ ทำด้วยเงิน มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๒.๕๐ ซม. ได้มาจากบริเวณพระประโทนเจดีย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ต่อมาตกมาเป็นสมบัติของ จ่าสิบเอก อำนวย ดีไชย ซึ่งต่อมาก็ได้มอบให้แก่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เหรียญเงินนี้ได้รับการศึกษาและกล่าวถึงเป็นครั้งแรกในหนังสือ “เหรียญกระษาปณ์ในประเทศไทย” เรียบเรียงโดย ฉวีวรรณ วิริยะบุศย์ จัดพิมพ์โดยกรมศิลปากร เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๖ ซึ่งได้บรรยายลักษณะของเหรียญไว้ว่า ด้านหน้าตรงกลางเป็นรูปธรรมจักร ล้อมรอบด้วยจุดไข่ปลาบริเวณขอบนอก อีกด้านหนึ่งเป็นจารึกอักษรสันสกฤตโบราณ (อันที่จริงคือจารึกอักษรปัลลวะ) ภาษาสันสกฤต อ่านได้ว่า “ศฺรีสุจริต วิกฺรานฺต” หมายถึง “วีรบุรุษผู้สุจริต” ต่อมา ภูธร ภูมะธน ได้เขียนบทความเรื่อง “ทวารวดี ชื่อกษัตริย์? หรือ ชื่อเมือง?” ตีพิมพ์ใน วารสารศิลปวัฒนธรรม ปีที่ ๑๑ ฉบับที่ ๗ พ.ศ. ๒๕๓๓ ก็ได้กล่าวถึงเหรียญเงินนี้เช่นกัน และ เมธินี จิระวัฒนา ได้เขียนบทความเชิงวิเคราะห์เรื่อง “เหรียญตรารุ่นเก่าที่พบในประเทศไทย ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๕“ ตีพิมพ์ใน วารสารศิลปากร ปีที่ ๓๔ ฉบับที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๓๔ แต่เรียกธรรมจักรว่า “จักร” นอกจากนี้ยังได้กล่าวถึงความสำคัญของสัญลักษณ์รูปจักรว่า “รูปจักร มีความหมายถึงความเจริญรุ่งเรือง ความศักดิ์สิทธิ์ การแผ่ออกไปทางพุทธศาสนา นอกจากนี้ยังหมายถึงความเป็นเจ้าแผ่นดินและอำนาจ”
    เนื้อหาโดยสังเขป เหรียญเงินนี้ ด้านหนึ่งมีจารึกคำว่า “ศฺรีสุจริต วิกฺรานฺต” แปลว่า “วีรบุรุษผู้สุจริต” ซึ่ง อาจเป็นการยกย่องพระมหากษัตริย์พระองค์ใดพระองค์หนึ่ง ว่าทรงเป็นวีรบุรุษ ซึ่งทำให้คิดไปได้ว่าเหรียญเงินนี้ อาจทำขึ้นมาเพื่อจุดประสงค์พิเศษอะไรบางอย่าง ส่วนอีกด้านหนึ่งเป็นรูปจักร ซึ่งโดยทั่วไปเป็นสัญลักษณ์แห่งความเจริญรุ่งเรือง ความศักดิ์สิทธิ์ ความเป็นเจ้าแผ่นดิน และอำนาจ หรือ ถ้าเป็นความหมายทางพระพุทธศาสนาแล้ว จะเรียกกันว่าพระธรรมจักร ซึ่งเป็นตัวแทนของพระธรรมของพระพุทธเจ้านั่นเอง รูปจักรนี้จะเป็นสัญลักษณ์แบบใดนั้น ต้องศึกษากันต่อไป
    ผู้สร้าง ไม่ปรากฏหลักฐาน
    การกำหนดอายุ กำหนดอายุตามรูปแบบอักษรปัลลวะ อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กันยายน 2016
  11. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ชื่อจารึก จารึกกษัตริย์ผู้เป็นธรรมิกราชาธิราช
    ชื่อจารึกแบบอื่นๆ ชร. ๑๓ จารึกกษัตริย์ผู้เป็นธรรมิกราชาธิราช ระหว่าง พ.ศ. ๒๐๘๑-๒๑๘๐
    อักษรที่มีในจารึก ฝักขาม
    ศักราช พุทธศักราช ๒๐๘๑-๒๑๘๐
    ภาษา ไทย, บาลี
    ด้าน/บรรทัด จำนวนด้าน ๒ ด้าน มี ๑๖ บรรทัด ด้านที่ ๑ มี ๑๖ บรรทัด ด้านที่ ๒ ชำรุด (อักษรลบเลือน อ่านไม่ได้)
    วัตถุจารึก หินทรายสีเทา
    ลักษณะวัตถุ รูปใบเสมา
    ขนาดวัตถุ กว้าง ๔๖ ซม. สูง ๖๙.๕ ซม.
    บัญชี/ทะเบียนวัตถุ ๑) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ชร. ๑๓”
    ๒) ในหนังสือ จารึกล้านนา ภาค ๑ เล่ม ๑ กำหนดเป็น “ชร. ๑๓ จารึกกษัตริย์ผู้เป็นธรรมิกราชาธิราช ระหว่าง พ.ศ. ๒๐๘๑-๒๑๘๐”
    ปีที่พบจารึก ไม่ปรากฏหลักฐาน
    สถานที่พบ ไม่ปรากฏหลักฐาน
    ผู้พบ ไม่ปรากฏหลักฐาน
    ปัจจุบันอยู่ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร
    พิมพ์เผยแพร่ จารึกล้านนา ภาค ๑ เล่ม ๑ (กรุงเทพฯ : มูลนิธิเจมส์ เอช ดับเบิ้ลยู ทอมป์สัน, ๒๕๓๔), ๒๙.
    เนื้อหาโดยสังเขป ข้อความจารึกกล่าวถึงกษัตริย์พระองค์หนึ่งผู้เป็นธรรมิกราชา ข้อความนอกจากนั้นชำรุดมาก ไม่สามารถจับใจความได้
    ผู้สร้าง ไม่ปรากฏหลักฐาน
    การกำหนดอายุ ข้อความจารึกด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๑๐ ระบุ จ.ศ. ๙ _ _ กองหอสมุดแห่งชาติจึงกำหนดให้เป็น พ.ศ. ๒๐๘๑-๒๑๘๐ (จ.ศ. ๙๐๐-๙๙๙ บวกด้วย ๑๑๘๑ เป็น ๒๐๘๑-๒๑๘๐)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กันยายน 2016
  12. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ชื่อจารึก จารึกกลางรอยพระพุทธบาท
    ชื่อจารึกแบบอื่นๆ -
    อักษรที่มีในจารึก ขอมอยุธยา
    ศักราช พุทธศตวรรษ ๒๓-๒๔
    ภาษา บาลี
    ด้าน/บรรทัด จำนวนด้าน ๑ ด้าน มี ๓ บรรทัด
    วัตถุจารึก หินชนวนสีเขียว
    ลักษณะวัตถุ สี่เหลี่ยมผืนผ้ารูปรอยพระพุทธบาท อักษรจารึกอยู่ใกล้กับรูปดอกบัว กึ่งกลางของพระบาท
    ขนาดวัตถุ แผ่นศิลามีขนาดกว้าง ๗๐.๕ ซม. ยาว ๑๖๙ ซม. หนา ๙ ซม. รูปรอยพระบาทกว้าง ๕๒.๕ ซม. ยาว ๑๔๐ ซม. ส่วนที่จารึกอักษรขนาดกว้าง ๓ ซม. ยาว ๑๗.๕ ซม.
    บัญชี/ทะเบียนวัตถุ ๑) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “นว. ๘”
    ๒) ในวารสาร ศิลปากร ปีที่ ๒๗ ฉบับที่ ๔ (กันยายน ๒๕๒๖) กำหนดเป็น “จารึกกลางรอยพระพุทธบาท”
    ปีที่พบจารึก ไม่ปรากฏหลักฐาน
    สถานที่พบ วัดพระพุทธบาท อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์
    ผู้พบ ไม่ปรากฏหลักฐาน
    ปัจจุบันอยู่ที่ วัดพระพุทธบาท อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์
    พิมพ์เผยแพร่ วารสาร ศิลปากร ปีที่ ๒๗ ฉบับที่ ๔ (กันยายน ๒๕๒๖) : ๖๙-๗๒.
    ประวัติ รอยพระพุทธบาทศิลาสีเขียว มีอักษรจารึกอยู่ใกล้กับรูปดอกบัวที่กึ่งกลางรูปรอยพระบาท รอยพระพุทธบาทนี้เป็นสมบัติของวัดพระพุทธบาท อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์ นายภูธร ภูมะธน หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช จังหวัดลพบุรี ได้มีหนังสือเป็นทางราชการมาถึงกองหอสมุดแห่งชาติ เพื่อจัดส่งเจ้าหน้าที่ดำเนินการอ่าน-แปลจารึกดังกล่าวนี้ เมื่อครั้งตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช จังหวัดลพบุรี อนึ่ง รอยพระพุทธบาทนี้ หลายปีมาแล้วได้ถูกผู้ร้ายโจรกรรมไปจากวัด จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๒๔ สมาคมส่งเสริมศิลปโบราณวัตถุ ได้นำรอยพระพุทธบาทดังกล่าวมามอบให้กรมศิลปากร ดังนั้นรอยพระพุทธบาทนี้ จึงได้มาพักอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ช่วงระยะเวลาหนึ่ง เมื่อทางพิพิธภัณฑสถานสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช จัดนิทรรศการเรื่อง จารึกพบที่จังหวัดลพบุรีและจังหวัดใกล้เคียง ในเดือนกรกฎาคม ๒๕๒๔ จึงได้เคลื่อนย้ายรอยพระพุทธบาทนี้ ไปตั้งแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ประกอบการจัดแสดงนิทรรศการในครั้งนั้นด้วย ภายหลังการแสดงนิทรรศการ เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้ทราบว่า ชาวอำเภอไพศาลีและพุทธศาสนิกชนในเขตใกล้เคียง มีความประสงค์จะขอนำรอยพระพุทธบาทกลับคืนไปประดิษฐานไว้ ณ วัดพระพุทธบาท อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์ดังเดิม และด้วยเหตุที่รอยพระพุทธบาทนี้เป็นโบราณวัตถุสำคัญ สมควรจะได้มีการศึกษาประวัติความเป็นมาให้ถูกต้องชัดเจน ประกอบกับมีอักษรอยู่ที่กลางรอยพระพุทธบาทนี้ด้วย ซึ่งน่าจะได้ศึกษารูปลักษณะของเส้นและภาษา ตลอดจนข้อความที่จารึกไว้นั้นให้ถ่องแท้ชัดเจนอีกด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อจะได้นำหลักฐานนั้น มาใช้เป็นข้อมูลประกอบการศึกษาวิเคราะห์ทางด้านโบราณคดีต่อไป


    ด้วยเหตุที่รูปอักษรซึ่งจารึกไว้กลางรอยพระพุทธบาทนี้เส้นอักษรเบาบางมาก อ่านจับใจความได้ไม่ตลอดทุกตัวอักษร ดังนั้นการอ่านและแปลข้อความในจารึก จึงสามารถกระทำได้เพียงสรุปความโดยสังเขปเท่านั้น ซึ่งนายวิรัตน์ อุนนาทรวรางกูร ผู้เชี่ยวชาญ ภาษาบาลี งานบริการหนังสือภาษาโบราณ กองหอสมุดแห่งชาติ ได้อธิบายพร้อมทั้งแปลสรุปไว้ว่าข้อความที่จารึกนั้นเป็นการกล่าวสรรเสริญอานุภาพของพระศรีอาริยเมตไตรย ผู้จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต คงจะมิได้หมายความว่า เป็นรอยบาทของพระโพธิสัตว์เมตไตรย ที่กล่าวเช่นนี้ ก็ด้วยสังเกตจากคติความนิยมและความเชื่อของคนไทยในยุคพุทธศตวรรษที่ ๒๓-๒๔ นั้น ซึ่งมีความเชื่ออยู่ว่า การทำบุญสร้างกุศลในชาติปัจจุบัน มีเจตจำนงหวังเพื่อจะได้พบพระพุทธเจ้าในอนาคต คือ พระศรีอาริยเมตไตรยโพธิสัตว์ในชาติหน้าหรือชาติต่อไปนั้นเอง รอยพระพุทธบาทศิลานี้ ภายหลังเมื่อเจ้าหน้าที่งานบริการหนังสือภาษาโบราณ กองหอสมุดแห่งชาติ ดำเนินการอ่าน-แปลแล้ว จารึกได้ถูกเคลื่อนย้ายไปไว้ที่วัดพระพุทธบาท อำเภอไพสาลี จังหวัดนครสวรรค์ ดังเดิม
    เนื้อหาโดยสังเขป ข้อความที่จารึกนั้น เป็นการกล่าวสรรเสริญอานุภาพของพระศรีอาริยเมตไตรย ผู้จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต
    ผู้สร้าง ไม่ปรากฏหลักฐาน
    การกำหนดอายุ รูปอักษรที่จารึกอยู่กลางรอยพระพุทธบาทนี้ มีขนาดตัวอักษรเล็กมาก วัดได้ ๐.๒ ซม. เท่านั้น รอยเส้นอักษรก็เบาบางและลบเลือน จนไม่สามารถทำสำเนา ด้วยวิธีการใช้กระดาษเพลาและน้ำตบให้เป็นรอยรูปอักษรได้ ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องใช้วิธีการอ่านจารึก พร้อมทั้งคัดรูปอักษรออกมา เฉพาะส่วนที่จะสามารถอ่านเห็นได้ และเมื่อได้ศึกษาวิเคราะห์ลักษณะรูปลายเส้นอักษร ซึ่งปรากฏอยู่ที่กลางรอยพระพุทธบาทนี้แล้ว จะเห็นได้ว่า เป็นการยากที่จะชี้บ่งถึงเวลาหรืออายุของรูปอักษรนั้นให้แน่นอนตายตัวลงไป ได้ ทั้งนี้เพราะองค์ประกอบส่วนใหญ่ของเส้นอักษร ลบเลือนและเบาบางมาก จนไม่สามารถชี้ชัดได้อย่างใกล้เคียง ฉะนั้นจึงสันนิษฐานไว้เป็นเบื้องต้นว่า น่าจะจารึกขึ้นในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๒๓-๒๔
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 315_1.jpg
      315_1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      34.8 KB
      เปิดดู:
      115
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กันยายน 2016
  13. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ชื่อจารึก จารึกคาถาหัวใจพระพุทธคุณ
    ชื่อจารึกแบบอื่นๆ -
    อักษรที่มีในจารึก ขอมสุโขทัย
    ศักราช พุทธศตวรรษ ๒๐
    ภาษา บาลี
    ด้าน/บรรทัด จำนวนด้าน ๑ ด้าน มี ๒ บรรทัด
    วัตถุจารึก ทองคำ
    ลักษณะวัตถุ แผ่นสี่เหลี่ยมผืนผ้า
    บัญชี/ทะเบียนวัตถุ ๑) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “สท. ๕๕”
    ๒) ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม ๕ กำหนดเป็น “จารึกคาถาหัวใจพระพุทธคุณ”
    ปีที่พบจารึก วันที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๐๒
    สถานที่พบ จังหวัดสุโขทัย
    ผู้พบ นายสมพงษ์ และนางบุญมี พรหมวิภา
    ปัจจุบันอยู่ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร
    พิมพ์เผยแพร่ จารึกในประเทศไทย เล่ม ๕ (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๒๙), ๕๐-๕๒.
    ประวัติ จารึกคาถาหัวใจพระพุทธคุณนี้ เป็นจารึกแผ่นทองคำ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตามบันทึกหลักฐานของศาสตราจารย์ ฉ่ำ ทองคำวรรณ กล่าวว่า นายสมพงษ์ และนางบุญมี พรหมวิภา เจ้าของร้านขายยาพรหมวิภา ตลาดสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย ได้มอบให้แก่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๐๒ จารึกข้อความไว้เป็นหัวใจคาถาต่างๆ ได้แก่ หัวใจพระพุทธคุณ หัวใจพระอภิธรรม และหัวใจพระวินัย หัวใจคาถา คือ อักษรย่อของคาถา นิยมใช้อักษรตัวแรกของคำในคาถาแต่ละบท หรือแต่ละวรรค ซึ่งคัดอักษรแต่ละตัวนั้นมาเรียงต่อกันตามลำดับ โดยไม่เป็นรูปศัพท์ในภาษาใดภาษาหนึ่ง แต่ถือกันว่ามีข้อความและความหมายครบถ้วน ตามจำนวนคำในคาถาบทนั้นๆ อีกนัยหนึ่ง หัวใจคาถา หมายถึง เป็นเครื่องกำหนดความจำเพื่อเป็นอุปการะต่อการสวดสาธยายบทมนต์ต่างๆ
    เนื้อหาโดยสังเขป เป็นคาถาหัวใจพระพุทธคุณ คาถาหัวใจพระอภิธรรม และหัวใจพระวินัย
    ผู้สร้าง ไม่ปรากฏหลักฐาน
    การกำหนดอายุ กองหอสมุดแห่งชาติกำหนดให้เป็น จารึกอักษรขอมสุโขทัย อายุพุทธศตวรรษที่ ๒๐

    อา ปา มะ จุ ปะ ที มะ สัง อัง ขุ สัง วิ ธา ปุ กะ ยะ ปะ
    โส โส สะ สะ อะ อะ อะ อะ นิ
    เต ชะ สุ เน มะ ภู จะ นา วิ เว

    อา ปา มะ จุ ปะ ที มะ สัง อัง ขุ สัง วิ ธา ปุ กะ ยะ ปะ
    หัวใจพระวินัยปิฎก หัวใจพระสุตันตปิฏก หัวใจพระอภิธรรมปิฏก

    พระวินัยปิฏก
    1) มหาวิภังค์ (อา) อาทิกัมมิกะ เรื่องเกี่ยวกับอาบัติ ปราชิก สังฆาทิเสส และถุลลัจจัย
    2) ภิกษุณีวิภังค์ (ปา) ปาจิตตีย์ เรื่องเกี่ยวกับอาบัติปาจิตตีย์ลงมา และภิกขุนีวิภังค์
    3) มหาวรรค (มะ)
    4) จุลวรรค (จุ)
    5) ปริวาร (ปะ)

    พระสุตันตปิฏก
    1) ทีฆนิกาย (ที) ว่าด้วยพระสูตรอย่างยาว
    2) มัชฌิมนิกาย (มะ) ว่าด้วยพระสูตรความยาวเรื่องปานกลาง
    3) สังยุตตนิกาย (สัง) คือหมวดประมวลธรรมต่างๆ ไว้เป็นหมวดหมู่
    4) อังคุตตรนิกาย (ิอัง) คือหมวดที่กำหนดประเภทของหลักธรรมโดย กำหนดจำนวน เป็นเกณฑ์
    5) ขุททกนิกาย (ขุ) เป็นหมวดธรรมเบ็ดเตล็ด

    พระอภิธรรม
    1) ธรรมสังคณี หรือ สังคณี (สัง)
    2) วิภังค์ (วิ)
    3) ธาตุกถา (ธา)
    4) ปุคคลบัญญัติ (ปุ) ว่าด้วยการบัญญัติบุคคลในพุทธศาสนา
    5) กถา (กะ)
    6) ยมก (ยะ)
    7) ปัฏฐาน (ปะ)

    โส โส สะ สะ อะ อะ อะ อะ นิ
    โลกุตตรธรรมเก้า มรรคสี่ ผลสี่ นิพพานหนึ่ง


    สำนักไม่เอาพระอภิธรรมว่ายังไง?
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กันยายน 2016
  14. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ชื่อจารึก จารึกฐานพระพุทธรูปปางประทับรอยพระบาท
    ชื่อจารึกแบบอื่นๆ ชร. ๑๕ จารึกฐานพระพุทธรูปปางประทับรอยพระบาท พ.ศ. ๒๐๒๔
    อักษรที่มีในจารึก ฝักขาม
    ศักราช พุทธศักราช ๒๐๒๔
    ภาษา ไทย, บาลี
    ด้าน/บรรทัด จำนวนด้าน ๑ ด้าน มี ๕ บรรทัด
    วัตถุจารึก สำริด
    ลักษณะวัตถุ ฐานพระพุทธรูปปางประทับรอยพระบาท
    บัญชี/ทะเบียนวัตถุ ๑) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ชร. ๑๕”
    ๒) ในหนังสือ จารึกล้านนา ภาค ๑ เล่ม ๑ กำหนดเป็น “ชร. ๑๕ จารึกฐานพระพุทธรูปปางประทับรอยพระบาท พ.ศ. ๒๐๒๔”
    ปีที่พบจารึก ไม่ปรากฏหลักฐาน
    สถานที่พบ ไม่ปรากฏหลักฐาน
    ผู้พบ ไม่ปรากฏหลักฐาน
    ปัจจุบันอยู่ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร
    พิมพ์เผยแพร่ จารึกล้านนา ภาค ๑ เล่ม ๑ (กรุงเทพฯ : มูลนิธิเจมส์ เอช ดับเบิ้ลยู ทอมป์สัน, ๒๕๓๔), ๓๐-๓๑.
    เนื้อหาโดยสังเขป ข้อความสี่บรรทัดแรกเป็นภาษาบาลี ว่าด้วยคาถาบทพุทธคุณ และบทปัจจยาการ บรรทัดสุดท้ายกล่าวถึงบุคคลชื่อ เจ้าวิเชียร ผู้สร้างพระพุทธรูป
    ผู้สร้าง เจ้าวิเชียร
    การกำหนดอายุ ข้อความจารึกบรรทัดที่ ๕ ระบุ จ.ศ. ๘๔๓ ซึ่งตรงกับ พ.ศ. ๒๐๒๔ อันเป็นสมัยที่พระเจ้าติโลกราชปกครองเมืองเชียงใหม่ (พ.ศ. ๑๙๘๔-๒๐๓๐)

    สำนักไม่เอารอยพระพุทธบาท รอยพระพุทธบาทเป็นคำแต่งใหม่ ว่ายังที่นี้? แต่ง พ.ศ ไหน

    [ame]https://youtu.be/cGBaHOhreKk[/ame]

    ชื่อจารึก จารึกมงคลบนรอยพระพุทธบาท
    ชื่อจารึกแบบอื่นๆ -
    อักษรที่มีในจารึก ขอมอยุธยา
    ศักราช พุทธศตวรรษ ๒๐
    ภาษา บาลี
    ด้าน/บรรทัด จำนวนด้าน ๑ ด้าน มี ๔ บรรทัด
    วัตถุจารึก เงิน
    ลักษณะวัตถุ แผ่นสี่เหลี่ยมผืนผ้า
    ขนาดวัตถุ กว้าง ๒๖ ซม. ยาว ๔๐ ซม.
    บัญชี/ทะเบียนวัตถุ ๑) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “กท. ๕๗”
    ๒) ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม ๕ กำหนดเป็น “จารึกมงคลบนรอยพระพุทธบาท”
    ปีที่พบจารึก ไม่ปรากฏหลักฐาน
    สถานที่พบ ไม่ปรากฏหลักฐาน
    ผู้พบ ไม่ปรากฏหลักฐาน
    ปัจจุบันอยู่ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร
    พิมพ์เผยแพร่ จารึกในประเทศไทย เล่ม ๕ (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๒๙), ๑๒๐-๑๓๐.
    ประวัติ จารึกมงคลบนรอยพระพุทธบาทนี้ เป็นจารึกแผ่นเงิน เจ้าหน้าที่งานบริการหนังสือภาษาโบราณ กองหอสมุดแห่งชาติ สำรวจและคัดจำลองอักษร เมื่อวันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๒๖ เนื่องจากจารึกแผ่นนี้เส้นอักษรบางมาก การอ่านและจำลองเส้นอักษรจึงทำได้ยากอย่างยิ่ง อีกทั้งเวลาการทำงานมีจำกัด ส่วนผิดพลาดในเรื่องของรูปสัณฐานแห่งเส้นอักษรจึงต้องมีอยู่อย่างแน่นอน แต่เจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการรวบรวมจารึกเพื่อจัดพิมพ์ในครั้งนี้ได้พิจารณาแล้วเห็นว่าจารึกแผ่นนี้ในภาพถ่ายมองไม่เห็นเส้นอักษร จึงจำเป็นต้องใช้วิธีคัดจำลองเส้นอักษรจากจารึก โดยพยายามคัดจำลองเส้นอักษรในเหมือนจริงที่สุดเท่าที่จะทำได้
    เนื้อหาโดยสังเขป กล่าวถึงเรื่องมงคล ๑๐๘ ที่ปรากฏบนรอยพระบาทของพระพุทธเจ้า
    ผู้สร้าง ไม่ปรากฏหลักฐาน
    การกำหนดอายุ จากลักษณะเส้นอักษรที่ปรากฏในจารึกทำให้สามารถสันนิษฐานได้ว่า จารึกแผ่นนี้น่าจะจารึกขึ้นในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ทั้งนี้สังเกตได้จากลักษณะเส้นอักษรส่วนใหญ่จะเหมือนกับเส้นอักษรในจารึก ชน. ๑๓
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กันยายน 2016
  15. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ชื่อจารึก จารึกฐานพระพุทธรูปวัดเจดีย์หลวง
    ชื่อจารึกแบบอื่นๆ ชม. ๗๖ จารึกฐานพระพุทธรูปวัดเจดีย์หลวง, ๖ วัดเจดีย์หลวง
    อักษรที่มีในจารึก ธรรมล้านนา
    ศักราช พุทธศักราช ๒๐๒๕
    ภาษา ไทย, บาลี
    ด้าน/บรรทัด จำนวนด้าน ๑ ด้าน มี ๒ บรรทัด (รอบฐานพระพุทธรูป)
    วัตถุจารึก สำริด
    ลักษณะวัตถุ ฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย
    ขนาดวัตถุ สูง ๑๑๑ ซม.
    บัญชี/ทะเบียนวัตถุ ๑) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ชม. ๗๖ จารึกฐานพระพุทธรูปวัดเจดีย์หลวง”
    ๒) ในหนังสือ คำจารึกที่ฐานพระพุทธรูปในนครเชียงใหม่ กำหนดเป็น “๖ วัดเจดีย์หลวง”
    ปีที่พบจารึก ไม่ปรากฏหลักฐาน
    สถานที่พบ วัดเจดีย์หลวง ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
    ผู้พบ ไม่ปรากฏหลักฐาน
    ปัจจุบันอยู่ที่ วัดเจดีย์หลวง ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
    พิมพ์เผยแพร่ คำจารึกที่ฐานพระพุทธรูปในนครเชียงใหม่ (กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, ๒๕๑๙), ๖๕.
    ประวัติ จารึกนี้อยู่ในบริเวณฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย จำนวน ๒ บรรทัด ข้อความต่อเนื่องกันโดยเริ่มจากใต้พระหัตถ์ขวา ตอนต้นเป็นคาถาย่ออริยสัจ ๔ ซึ่ง สุภาพรรณ ณ บางช้าง (พ.ศ. ๒๕๒๙) กล่าวว่าความนิยมในการสร้างจารึกแสดงคาถาดังกล่าว ได้รับอิทธิพลมาจากลังกา
    เนื้อหาโดยสังเขป ตอนต้นเป็นคาถาย่ออริยสัจ ๔ ภาษาบาลี จากนั้นกล่าวถึงการสร้างพระพุทธรูปองค์นี้ในจุลศักราช ๘๔๔ โดย (นาย) ธันบี? ซึ่งขอให้ตนได้เป็นอัครสาวกของพระเมไตรยเจ้า
    ผู้สร้าง (นาย) ธันบี?
    การกำหนดอายุ กำหนดอายุจากศักราชที่ปรากฏในจารึกคือ จุลศักราช ๘๔๔ ตรงกับ พ.ศ. ๒๐๒๕ ในสมัยพระเจ้าติโลกราช แห่งราชวงศ์มังราย (ครองราชย์ พ.ศ. ๑๙๘๔-๒๐๓๐)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กันยายน 2016
  16. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ชื่อจารึก จารึกฐานพระพุทธรูปวัดพระเจ้าเม็งราย ๑
    ชื่อจารึกแบบอื่นๆ ชม. ๗๒ จารึกฐานพระพุทธรูปวัดพระเจ้าเม็งราย ๑, ๒ วัดพระเจ้าเม็งราย
    อักษรที่มีในจารึก ธรรมล้านนา
    ศักราช พุทธศักราช ๒๐๑๒
    ภาษา ไทย, บาลี
    ด้าน/บรรทัด จำนวนด้าน ๑ ด้าน มี ๔ บรรทัด (จารึกด้านหน้าของฐานพระพุทธรูปต่อเนื่องไปถึงบางส่วนของฐานด้านหลัง)
    วัตถุจารึก สำริด
    ลักษณะวัตถุ ฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับนั่งขัดสมาธิเพชร
    ขนาดวัตถุ สูง ๑๓๔ ซม.
    บัญชี/ทะเบียนวัตถุ ๑) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ชม. ๗๒ จารึกฐานพระพุทธรูปวัดพระเจ้าเม็งราย ๑”
    ๒) ในหนังสือ คำจารึกที่ฐานพระพุทธรูปในนครเชียงใหม่ กำหนดเป็น “๒ วัดพระเจ้าเม็งราย”
    ปีที่พบจารึก ไม่ปรากฏหลักฐาน
    สถานที่พบ วัดพระเจ้าเม็งราย ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
    ผู้พบ ไม่ปรากฏหลักฐาน
    ปัจจุบันอยู่ที่ ภายในวิหารวัดพระเจ้าเม็งราย ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
    พิมพ์เผยแพร่ คำจารึกที่ฐานพระพุทธรูปในนครเชียงใหม่ (กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, ๒๕๑๙), ๕๗-๕๙.
    ประวัติ จารึกนี้อยู่บนฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับนั่งขัดสมาธิเพชร (วัชราสน์) คำจารึกเริ่มจากฐานทางด้านขวาของพระพุทธรูปซึ่งเป็นตัวเลข, เรือนยันต์ตัวเลข และดวงฤกษ์ จากนั้นจึงเป็นข้อความภาษาบาลีและภาษาไทย ซึ่งต่อเนื่องไปจนถึงบางส่วนของฐานทางด้านหลัง
    เนื้อหาโดยสังเขป ศรีสัทธรรมไตรโลกรัตนจุฬามหาสังฆราช โปรดให้สร้างพระพุทธสิหิงค์องค์นี้ขึ้นเพื่อเป็นที่บูชาแก่คนทั้งหลาย ตอนท้ายมีการระบุถึงน้ำหนักของพระพุทธรูป
    ผู้สร้าง ศรีสัทธรรมไตรโลกรัตนจุฬามหาสังฆราช
    การกำหนดอายุ กำหนดอายุจากศักราชที่ปรากฏในจารึกคือ จุลศักราช ๘๓๑ ตรงกับ พ.ศ. ๒๐๑๒ ในรัชกาลพระเจ้าติโลกราช แห่งราชวงศ์มังราย (ครองราชย์ พ.ศ. ๑๙๘๔-๒๐๓๐)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กันยายน 2016
  17. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ชื่อจารึก จารึกฐานรองพระธรรมจักร
    ชื่อจารึกแบบอื่นๆ -
    อักษรที่มีในจารึก ปัลลวะ
    ศักราช พุทธศตวรรษ ๑๒
    ภาษา บาลี
    ด้าน/บรรทัด จำนวนด้าน ๑ ด้าน มี ๔ บรรทัด
    วัตถุจารึก ศิลา
    ลักษณะวัตถุ ฐานสี่เหลี่ยมตรงกลางมีช่องสี่เหลี่ยมสำหรับสวมเสารองพระธรรมจักร
    ขนาดวัตถุ กว้าง ๓๗ ซม. สูง ๓๖ ซม. หนา ๑๔ ซม.
    บัญชี/ทะเบียนวัตถุ ๑) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “สพ. ๑”
    ๒) ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม ๑ กำหนดเป็น “จารึกฐานรองพระธรรมจักร”
    ปีที่พบจารึก ไม่ปรากฏหลักฐาน
    สถานที่พบ ตำบลทุ่งขวาง อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม
    ผู้พบ ไม่ปรากฏหลักฐาน
    ปัจจุบันอยู่ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม
    พิมพ์เผยแพร่ จารึกในประเทศไทย เล่ม ๑ (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๒๙), ๙๘-๙๙.
    ประวัติ ไม่ปรากฏหลักฐาน
    เนื้อหาโดยสังเขป คาถาที่จารึกนี้ อาจเรียกอย่างง่ายๆ ได้ว่า “คำพรรณาถึงพระอริยสัจ ๔” ซึ่งเป็นคาถาบทหนึ่งกล่าวว่า ธรรมจักรนี้เป็นของพระพุทธเจ้า ประกอบด้วย อริยสัจ ๔ เมื่อหมุนธรรมจักร ๓ รอบ จะเกิดอาการ ๑๒ ประการของ สัจจญาณ กิจจญาณ และกตญาณ คาถาบทนี้ มีปรากฏบน ขอบชั้นใน (ดุม ๑) ของ “จารึกธรรมจักร ๑ (นครปฐม)” หรือ “กท. ๒๙” มีความตรงกับทุกประการ นอกจากนี้ยังพบว่า เป็นคาถา ๑ ใน ๔ ที่จารึกบน “จารึกเสาแปดเหลี่ยม ๑ (ซับจำปา)” หรือ “ลบ. ๑๗” ด้วยเช่นกัน ศ. ยอร์ช เซเดส์ ได้อธิบายถึงความสำคัญของคำพรรณนาถึงพระอริยสัจ ๔ ไว้ในคราวที่ท่านเขียนถึงจารึกธรรมจักร ๑ (นครปฐม) (เดิมคือ จารึกธรรมจักร กท. ๒๙) ใน Artibus Asiae, vol. XIX, 1956 ไว้ว่า คาถาบทนี้ ไม่สามารถที่จะค้นหาที่มาอย่างถูกต้องได้ เนื่องจากคาถานี้ มีกล่าวอยู่ทั่วไปในคัมภีร์ต่างๆ ทางพระพุทธศาสนา สำหรับการแสดงถึงญาณ ๓ ประการที่เกี่ยวกับพระอริยสัจ ๔ คือ เกี่ยวกับกิจที่จะต้องกระทำและกิจที่ได้ทำแล้วนั้น มีอยู่ในหนังสือ “มหาวัคค์ พระวินัยปิฎก” เช่นเดียวกับในหนังสือของพระอรรถกถาจารย์คือ “สมันตปาสาทิกา” แต่ก็ไม่ใช่ทั้งหมดที่ปรากฏบนจารึก เนื่องจากบนจารึกมีความจารึกเพิ่มเติมความรู้เกี่ยวกับประโยชน์ ๔ อย่าง แห่งความจริงของมรรค คือ การนำ เหตุ การเห็น และความสามารถ ดังนั้น ข้อความบนจารึกนี้ อาจนำมาจากคัมภีร์ “ปฏิสัมภิทามัคค์” หรือ จากหนังสือ “วิสุทธิมัคค์” ของพระพุทธโฆส และจากหนังสืออธิบายของพระธัมมปาละ ทั้งสองเล่มนี้แต่งขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๐ อย่างไรก็ดี คำสั่งสอนนี้ ก็เป็นคำสั่งสอนที่มีอยู่ในหนังสือทุกสมัย เป็นต้นว่าในหนังสือ “สารัตถสมุจจัย” ซึ่งเป็นหนังสืออธิบายของภาณวาร และคงจะแต่งขึ้นในรัชกาลของพระเจ้าปรากรมพาหุแห่งเกาะลังกา (ครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ ๑๘) อย่างไรก็ตาม ศ. ยอร์ช เซเดส์ ได้ให้ความเห็นว่า ตามความรู้ของท่าน คาถาบทนี้ ไม่ได้มีอยู่ในคัมภีร์อื่นๆ อีกเลย นอกจากในหนังสือ “สารัตถสมุจจัย” และ “ปฐมสมโพธิ” คำจารึกของจารึกธรรมจักร ๑ (นครปฐม) และ จารึกเสาแปดเหลี่ยม ๑ (ซับจำปา) นั้น เมื่อแปลแล้วได้ความดังนี้คือ “ธรรมจักรประกอบด้วยญาณ ๓ ประการ คือความหยั่งรู้เกี่ยวกับความจริง เกี่ยวกับกิจที่ต้องกระทำ และเกี่ยวกับกิจที่ได้กระทำแล้ว หมุน ๓ รอบ ๔ ครั้ง มีอาการ ๑๒ คือ ธรรมจักรของพระพุทธเจ้า” เปรียบเทียบกับเนื้อหาใน ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เรื่อง “ญาณทัสสนะมีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒” ได้ดังนี้คือ “[๑๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริงของเราในอริยสัจ ๔ นี้ มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ อย่างนี้ ยังไม่หมดจดดีแล้ว เพียงใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรายังยืนยันไม่ได้ว่า เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ อันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เพียงนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดแล ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริงของเราในอริยสัจ ๔ นี้ มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ อย่างนี้ หมดจดดีแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อนั้น เราจึงยืนยันได้ว่า เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ อันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ อนึ่ง ปัญญาอันรู้เห็นได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า ความพ้นวิเศษของเราไม่กลับกำเริบ ชาตินี้เป็นที่สุด ภพใหม่ไม่มีต่อไป ...” เปรียบเทียบกับเนื้อความใน ปฐมสมโพธิกถา พระนิพนธ์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส คือ “... แท้จริงอาการ ๑๒ นั้น ได้แก่ ปัญญาทั้ง ๓ ประการ อันพิจารณาจำแนกไปในอริยสัจทั้ง ๔ สิ่งละสามๆ จึงสิริเป็นอาการ ๑๒ ประการด้วยกันทั้งสิ้น เหตุดังนั้น อันว่าปัญญาอันพิจารณาเวียนไปในพระจตุราริยสัจธรรมเห็นปานดังนี้ จึงได้นามว่า ธรรมจักกัปปวัตตนะ ด้วยอรรถประพฤติเวียนไปในอริยสัจธรรมทั้ง ๔ แลพระสูตรอันนี้จึงชื่อว่า ธรรมจักกัปปวัตตนสูตร ...”
    ผู้สร้าง ไม่ปรากฏหลักฐาน
    การกำหนดอายุ กำหนดอายุตามรูปแบบอักษรปัลลวะ ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 180_1.jpg
      180_1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      263.7 KB
      เปิดดู:
      87
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กันยายน 2016
  18. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ชื่อจารึก จารึกธรรมจักร (ชัยนาท) จารึกธรรมจักร (นครปฐม) ด้านที่ ๑
    ชื่อจารึกแบบอื่นๆ จารึกธรรมจักร
    อักษรที่มีในจารึก ปัลลวะ
    ศักราช พุทธศตวรรษ ๑๒
    ภาษา บาลี
    ด้าน/บรรทัด จำนวนด้าน ๑ ด้าน มี ๑ บรรทัด รอบวงธรรมจักร (ธรรมจักรแตกชุดมากไม่ครบเต็มวง)
    วัตถุจารึก ศิลา
    ลักษณะวัตถุ ธรรมจักร
    ขนาดวัตถุ กว้าง ๑๙ ซม. ยาว ๑๐๐ ซม.
    บัญชี/ทะเบียนวัตถุ ๑) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ชน. ๑๔”
    ๒) ในหนังสือ โบราณคดีเมืองอู่ตะเภา กำหนดเป็น “จารึกธรรมจักร”
    ปีที่พบจารึก พุทธศักราช ๒๕๓๑
    สถานที่พบ หมู่ที่ ๕ ตำบลหางน้ำสาคร อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท
    ผู้พบ นายแพทย์สำนวน ปาลวัฒน์วิไชย
    ปัจจุบันอยู่ที่ นายแพทย์สำนวน ปาลวัฒน์วิไชย จังหวัดชัยนาท
    พิมพ์เผยแพร่ โบราณคดีเมืองอู่ตะเภา (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๓๔), ๑๘-๑๙, ๑๗๙-๑๘๑.
    ประวัติ ธรรมจักรศิลาทำจากหินชนวนชิ้นนี้ พบเป็นชิ้นส่วนแตกหักกระจัดกระจายอยู่ในพื้นที่ของบ้านหัวถนน ตำบลหางน้ำสาคร อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท โดยพบเป็นชิ้นส่วนขนาดใหญ่กระจายอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ห่างจากแนวฐานอิฐราว ๒-๓ เมตร ซึ่งสามารถต่อเข้าด้วยกันได้ราวหนึ่งในสองของขนาดธรรมจักร ส่วนการขุดค้นทางโบราณคดีนั้น ได้พบชิ้นส่วนขนาดต่างๆ กัน กระจายอยู่โดยรอบฐานอิฐภายในรัศมี ๒-๔ เมตร แต่ไม่สามารถที่จะต่อให้เต็มตามรูปแบบเดิมได้ เพราะชิ้นส่วนใหญ่ๆ ไม่พบจากการขุดค้น รวมทั้งเสาแปดเหลี่ยมก็ไม่พบเช่นกัน แต่อย่างไรก็ตาม ธรรมจักรดังกล่าวต้องมีเสาแปดเหลี่ยมรองรับแน่นอน เพราะได้พบชิ้นส่วนเสาแปดเหลี่ยมขนาด ๓๐ x ๔๐ ซม. ซึ่งมีหน้าเหลี่ยมด้านละ ๒๐ ซม. แสดงให้เห็นว่า จะต้องเป็นเสาขนาดใหญ่ อาจจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง ๕๐-๖๐ ซม. เพื่อสามารถรองรับตัวธรรมจักรขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๒ เมตร ข้อมูลจากการขุดค้นทางโบราณคดีทำให้สันนิษฐานได้ว่า ธรรมจักรศิลาดังกล่าวตั้งอยู่บนเสาแปดเหลี่ยม และรองรับด้วยฐานอิฐรูปวงกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๗ เมตร ธรรมจักรดังกล่าวถูกทำลายแตกเป็นชิ้นเล็กๆ จำนวนมากอยู่รอบฐานอยู่ในระดับ ๒๐-๑๔๐ ซม. โดยเฉพาะทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือพบชิ้นส่วนใหญ่ ซึ่งสามารถนำมาต่อรวมกันได้ครึ่งหนึ่ง
    เนื้อหาโดยสังเขป เนื้อความที่จารอยู่บนธรรมจักรองค์นี้ เป็นความที่คัดมาจาก ข้อที่ ๑๖ ของเรื่องปฐมเทศนา ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร มีเนื้อหาโดยย่อว่า เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จถึงป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงกรุงพาราณสีแล้ว ครั้งแรกภิกษุปัญจวัคคีย์ แสดงอาการกระด้างกระเดื่อง แต่เมื่อทรงเตือนให้นึกถึงว่า เมื่อก่อนพระองค์ไม่เคยตรัสบอกเลยว่าตรัสรู้ บัดนี้ตรัสบอกแล้ว จึงควรตั้งใจฟัง ก็พากันตั้งใจฟัง พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงธัมมจักกัปปวัตตนสูตร โดยมีความตอนที่เกี่ยวข้องกับคำจารึกแปลได้ว่า [๑๕] “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขอริยสัจ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขอริยสัจนี้นั้นแลความกำหนดรู้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขอริยสัจนี้นั้นแล เราก็ได้กำหนดรู้แล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขสมุทยอริยสัจ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขสมุทยอริยสัจนี้นั้นแล ควรละเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขสมุทยอริยสัจนี้นั้นแล เราได้ละแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขนิโรธอริยสัจนี้นั้นแล ควรทำให้แจ้ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขนิโรธอริยสัจนี้นั้นแล เราทำให้แจ้งแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้นั้นแล ควรให้เจริญ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้นั้นแล เราให้เจริญแล้ว”
    ผู้สร้าง ไม่ปรากฏหลักฐาน
    การกำหนดอายุ กำหนดอายุตามรูปแบบอักษรปัลลวะ ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 26_1.jpg
      26_1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      208.9 KB
      เปิดดู:
      94
    • 20131218154548Yemv.jpg
      20131218154548Yemv.jpg
      ขนาดไฟล์:
      152.9 KB
      เปิดดู:
      103
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กันยายน 2016
  19. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ชื่อจารึก จารึกธรรมมิกราชา
    ชื่อจารึกแบบอื่นๆ จารึกธรรมิกราชา (ลพ./๓๖, พช. ๓๖, ๔๐)
    อักษรที่มีในจารึก มอญโบราณ
    ศักราช พุทธศตวรรษ ๑๗
    ภาษา บาลี
    ด้าน/บรรทัด จำนวนด้าน ๑ ด้าน มี ๙ บรรทัด (ชำรุดโดยหักออกเป็น ๒ แผ่น แผ่นที่ ๑ มี ๔ บรรทัด แผ่นที่ ๒ มี ๕ บรรทัด)
    วัตถุจารึก หินทราย
    ลักษณะวัตถุ แผ่นหิน
    ขนาดวัตถุ แผ่นที่ ๑ กว้าง ๓๑ ซม. สูง ๔๒ ซม. หนา ๒๔ ซม. แผ่นที่ ๒ กว้าง ๒๐ ซม. สูง ๒๓ ซม. หนา ๒๔ ซม.
    บัญชี/ทะเบียนวัตถุ ๑) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ลพ. ๓๖”
    ๒) ในหนังสือ วิเคราะห์ศิลาจารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย กำหนดเป็น “จารึกธรรมิกราชา (ลพ./๓๖, พช. ๓๖, ๔๐)”
    ปีที่พบจารึก ก่อนพุทธศักราช ๒๕๑๕
    สถานที่พบ บริเวณคณะอัฏฐารส วัดพระธาตุหริภุญไชย อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน
    ผู้พบ ไม่ปรากฏหลักฐาน
    ปัจจุบันอยู่ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน
    พิมพ์เผยแพร่ วิเคราะห์ศิลาจารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๓๓), ๓๐-๓๑.
    ประวัติ คณะเจ้าหน้าที่สำรวจเอกสารโบราณและจารึก กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากรออกสำรวจเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๕ ได้พบจารึกดังกล่าวที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญไชย จังหวัดลำพูน นายสมชาย คงวานิชโรจน์ เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์ระบุว่า จารึกหลักนี้ถูกพบบริเวณคณะอัฎฐารส วัดพระธาตุหริภุญไชย อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ก่อนปี พ.ศ. ๒๕๑๕ ต่อมามีการอ่าน-แปลโดย นายเทิม มีเต็ม และ นายเกษียร มะปะโม งานบริการหนังสือตัวเขียนและจารึก กองหอสมุดแห่งชาติ โดยตีพิมพ์ลงในหนังสือ วิเคราะห์ศิลาจารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๓
    เนื้อหาโดยสังเขป เนื่องจากจารึกชำรุดค่อนข้างมาก ข้อความที่อ่าน-แปลได้จึงไม่ต่อเนื่องกัน จับความได้เพียงว่ามีการกล่าวถึง “พระเจ้าธรรมิกราช” หรือพระราชาผู้ทรงธรรม และ “อานิสงส์ต่างๆ” ซึ่งนายเกษียร มะปะโม ได้ให้ความคิดเห็นไว้ว่า พระเจ้าธรรมิกราชที่ปรากฏในจารึกน่าจะเป็นกษัตริย์พระองค์เดียวกับที่ถูกกล่าวถึงในชินกาลมาลีปกรณ์ ว่า “เมื่อพระเจ้าอาทิจจ์ ล่วงลับไปแล้ว ยังมีกษัตริย์องค์หนึ่งพระนามว่า “ธัมมิกราชา” ครองราชสมบัติต่อมา ทรงสร้างพระพุทธรูปสูง ๑๘ ศอก ดำรงอยู่ในราชสมบัติ ๕ ปี สวรรคต ต่อจากนั้น พระเจ้ารถครองราชสมบัติอยู่ ๕ ปี ต่อจากนั้น พระเจ้าสัพพาสิทธิ ทรงราชาภิเษกเมื่อพระชนมายุ ๑๗ ปี และพระองค์ก่อเสริมพระธาตุทรงปราสาทไว้เป็นสูง ๒๔ ศอก ทรงสะสมบุญเป็นอันมาก ครองราชสมบัติอยู่ ๔๕ ปี”
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กันยายน 2016
  20. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ชื่อจารึก จารึกพระธรรมกาย
    ชื่อจารึกแบบอื่นๆ หลักที่ ๕๔ ศิลาจารึกภาษาไทยและมคธ, ศิลาจารึกพระธรรมกาย พ.ศ. ๒๐๙๒
    อักษรที่มีในจารึก ขอมสุโขทัย
    ศักราช พุทธศักราช ๒๐๙๒
    ภาษา ไทย, บาลี
    ด้าน/บรรทัด จำนวนด้าน ๑ ด้าน มี ๙ บรรทัด
    วัตถุจารึก หินชนวนสีเขียว
    ลักษณะวัตถุ แผ่นสี่เหลี่ยม (หักชำรุด)
    ขนาดวัตถุ กว้าง ๔๘ ซม. สูง ๓๓ ซม. หนา ๔.๕ ซม.
    บัญชี/ทะเบียนวัตถุ ๑) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “พล. ๒”
    ๒) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ ๓ กำหนดเป็น “หลักที่ ๕๔ ศิลาจารึกภาษาไทยและมคธ”
    ๓) ในหนังสือ จารึกสมัยสุโขทัย กำหนดเป็น “ศิลาจารึกพระธรรมกาย พ.ศ. ๒๐๙๒”
    ปีที่พบจารึก ไม่ปรากฏหลักฐาน
    สถานที่พบ พระเจดีย์วัดเสือ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
    ผู้พบ นายคุ้ม
    ปัจจุบันอยู่ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร
    พิมพ์เผยแพร่ ๑) วารสาร ศิลปากร ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๒ (กรกฎาคม ๒๕๐๔) : ๕๔-๕๘.
    ๒) ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ ๓ (พระนคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, ๒๕๐๘), ๙๙-๑๐๓.
    ๓) จารึกสมัยสุโขทัย (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๒๖), ๒๗๗-๒๘๑.
    ประวัติ ศิลาจารึกหลักนี้ นายคุ้ม ขุดพบที่พระเจดีย์ วัดเสือ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก หลักฐานหรือรายละเอียดเกี่ยวกับวันเดือนปีที่พบ ไม่ปรากฏ
    เนื้อหาโดยสังเขป ข้อความที่จารึก ศาสตราจารย์ฉ่ำ ทองคำวรรณ ได้ตรวจสอบในหนังสือพระธรรมกายาทิ เป็นเรื่อง พระธรรมกาย
    ผู้สร้าง ไม่ปรากฏหลักฐาน
    การกำหนดอายุ ข้อความจารึกบรรทัดที่ ๓ ระบุ พุทธศักราช ๒๐๙๒


    มหาปุริลักณะ ๓๒ อนุพยัญชนะ ๘๐ คือสังขารธรรมกาย พระสัทธรรม คือธรรมแห่งธรรมกาย ธรรมราชา
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กันยายน 2016

แชร์หน้านี้

Loading...