เรื่องเด่น ภาวะการเสพติด (น้ำตาล) ความหวาน

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย rachotp, 15 มกราคม 2021.

  1. rachotp

    rachotp เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2020
    โพสต์:
    1,218
    กระทู้เรื่องเด่น:
    251
    ค่าพลัง:
    +23,891
    4.PNG

    เกิดอะไรขึ้นกับสมองเมื่อเราทานน้ำตาลเข้าไป?

    น้ำตาลเป็นโมเลกุลที่ใช้เรียกอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต และพบได้ในอาหารและเครื่องดื่มหลากหลายประเภท ไม่เชื่อก็ลองพิจารณาดูฉลากอาหารที่เราซื้อจากซุปเปอร์มาร์เก็ตก็ได้ จะพบว่าน้ำตาลจะมีทั้งกลูโคส ฟรักโตส ซูโครส มัลโตส แลคโตส แป้ง ซึ่งเหล่านี้เป็นรูปแบบต่างๆ ของน้ำตาลทั้งสิ้น ยังไม่พอ ยังมีคอร์นไซรัป น้ำผลไม้ น้ำตาลปิ๊บ น้ำผึ้ง ฯลฯ

    1.PNG

    แล้วมันเกิดอะไรขึ้นเมื่อเราทานของหวานที่มีน้ำตาลเป็นโมเลกุลเข้าไป การกินของหวานทำให้เราอยากกินเพิ่มขึ้นอีกจริงหรือ?


    เมื่อเราตักของหวานเข้าปาก น้ำตาลที่อยู่ในนั้น จะกระตุ้นต่อมรับรสหวานที่ลิ้น ซึ่งจะส่งสัญญาณไปยังก้านสมอง และกระจายต่อไปยังสมองส่วนหน้า รวมไปถึงสมองส่วนเซรีบรัล คอร์เท็ก ซึ่งแต่ละส่วนของเซรีบรัลจะทำงานเกี่ยวกับรสที่แตกต่างกัน ซึ่งในที่นี้ รสหวานจะกระตุ้นสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจที่เรียกว่า Brain reward system ให้ส่งกระแสโดพามีน (Dopamine) ไปทั่วสมอง ทำให้เรารู้สึกดี เคลิบเคลิ้ม และอยากทานเพิ่มอีกนั่นเอง

    สมองส่วนที่เกี่ยวกับความพึงพอใจนี้ไม่ได้ถูกกระตุ้นด้วยอาหารอย่างเดียว แต่ยังรวมไปถึงการเข้าสังคม การมีเพศสัมพันธ์ การใช้ยา และพฤติกรรมอื่นๆอีกมากมาย
    2.PNG

    แต่การที่เราไปกระตุ้นสมองส่วนนี้อย่างต่อเนื่อง จะทำให้เกิดผลกระทบตามมาอีกมากมาย เช่น ขาดการควบคุมตัวเอง เกิดอาการอยากยา การติดอาหารรสชาติหวาน ฯลฯ


    ในตอนที่เราตักขนมหวานเข้าปาก ของหวานจะลงไปที่กระเพาะอาหาร และเดินทางไปยังลำไส้ ซึ่งมีประสาทรับน้ำตาลเช่นกัน แม้จะไม่มีต่อมรับรส แต่มันก็จะส่งสัญญาณไปบอกสมองว่าเราอิ่มแล้ว หรือร่างกายควรผลิตอินซูลินเพิ่ม เพื่อรองรับน้ำตาลที่เพิ่มขึ้น

    5.PNG

    สมองส่วนที่เกี่ยวกับความพึงพอใจจะส่งสารโดพามีน ซึ่งเป็นสารสื่อนำกระแสประสาทที่สำคัญออกมา ในสมองของเราจะมีตัวรับโดพามีนกระจายอยู่ทั่วสมอง ทำให้เรารู้สึกพึงพอใจ เช่นเดียวกับการบริโภคแอลกอฮอล์และสารเสพติดชนิดต่างๆ เช่น นิโคติน โคเคน เฮโรอีน และแอมเฟตามีน มันจะทำให้สมองส่งสารโดพามีนออกมามากกว่าปกติ ทำให้บางคนรู้สึกอยากยาหรืออยากทานอาหารรสหวานอย่างต่อเนื่อง หรือเรียกอีกอย่างว่าเสพติดอาหารรสหวานนั่นเอง น้ำตาลนั้นสามารถทำให้เกิดกระบวนการดังกล่าวได้เช่นเดียวกันกับกลไกการทำงานของสมองที่ตอบสนองต่อสารเสพติด เพียงแต่อาจจะไม่รุนแรงเท่ากับสารเสพติดชนิดต่างๆเท่านั้นเอง


    3.PNG

    ในมื้ออาหารแต่ละมื้อ ถ้าเราทานอาหารอร่อยๆ มีสารอาหารที่สมดุล ระดับโดพามีนก็จะพุ่งสูงขึ้น แต่ถ้าเราทานอาหารชนิดนั้นๆซ้ำๆติดต่อกันหลายวัน ระดับโดพามีนจะลดต่ำลงเรื่อยๆ จนทำให้เรารู้สึกเบื่อ นั่นเป็นเพราะธรรมชาติของร่างกายมนุษย์ และ กลไกการทำงานในสมองของเรามีแนวโน้มที่จะกระตุ้นและสั่งการให้เราสนใจอาหารรสชาติใหม่เป็นพิเศษ นี่เป็นกระบวนการอันชาญฉลาดของร่างกายมนุษย์ที่จะ...

    (1) หลีกเลี่ยงอาหารที่เป็นพิษ
    (2) ช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่เพียงพอ เพราะยิ่งเราทานอาหารที่หลากหลายมากเท่าไหร่ เราก็จะมีโอกาสได้รับสารอาหารครบทั้ง 5 หมู่มากขึ้นเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ร่างกายของเราจึงบังคับให้เรารู้สึกชอบรสชาติอาหารที่แปลกใหม่ หรือรสชาติอาหารที่ใหม่ๆ ไม่ซ้ำซากมากกว่า เราจะรู้สึกอยากทานอะไรใหม่ๆตลอดเวลา และรู้สึกเบื่อหน่ายเมื่อต้องกินอะไรซ้ำๆจำเจ


    ... แต่ในกรณีของ น้ำตาล นั้นไม่เหมือนกันครับ


    สมมุติว่าถ้าอาหารที่เราทานเข้าไปนั้นมีปริมาณน้ำตาลอยู่พอประมาณ กลไกการหลั่งสารโดพามีน ก็จะเป็นปกติเหมือนดังที่กล่าวไปแล้ว แต่ถ้าหากเราทานอาหารที่มีปริมาณน้ำตาลสูง ต่อเนื่องกัน การตอบสนองของสารโดพามีนกลับไม่ได้ลดลงแต่อย่างใด หรืออีกนัยหนึ่งคือ ถ้าทานน้ำตาลไปเรื่อยๆ ก็ยังคงรู้สึกพึงพอใจในรสชาติความหวาน เหมือนกับได้รับรางวัลไปเรื่อยๆ ไม่มีความรู้สึกเบื่อหน่ายรสชาติความหวานแต่อย่างใด จึงทำให้เกิดพฤติกรรมคล้ายกับการติดสารเสพติดอยู่หน่อยๆ ซึ่งทำให้บางคนติดของหวาน ทานได้เรื่อยๆ ไม่มีหยุด ไม่มีเบื่อ

    น้ำตาลในท้องตลาดมีอยู่หลายชนิด แต่ทุกชนิดเมื่อทานเข้าไปแล้ว จะจุดชนวนส่งผลกระทบต่อเนื่องในสมองของเรา มันจะไปกระตุ้นต่อมความพึงพอใจเหมือนกัน และหากโดนกระตุ้นมากเกินไป บ่อยเกินไป ก็อาจทำให้สมองเกิดกระบวนการเหมือนกับการติดสารเสพติด ซึ่งจะนำไปสู่โรคภัยต่างๆได้โดยไม่รู้ตัว สรุปคือ (น้ำตาล) ความหวาน อาหารรสชาติหวานนั้น... ถ้าชอบเราสามารถทานได้ แต่ควรทานอย่างมีสติ และทานอย่างพอประมาณครับ

    Credit: ขอขอบคุณที่มาจาก How sugar affects the brain – Nicole Avena
    https://ed.ted.com/lessons/how-sugar-affects-the-brain-nicole-avena
     

แชร์หน้านี้

Loading...