ภูไท...ภาษาภูไท...วันละคำ

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย ติงติง, 29 มิถุนายน 2011.

  1. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    ชาวไทยอีสานจะยึดมั่นในพระพุทธศาสนา และปฏิบัติตามฮีต 12 คอง 14 กันสืบมา
    ฮีตที่ 4. บุญผะเหวด หรือ บุญเดือนสี่ เป็นบุญที่มีการเทศน์พระเวส หรือ มหาชาติ เรียกว่า บุญผะเหวด ซึ่งหนังสือมหาชาติ หรือ พระเวสสันดรชาดกแสดงถึงจริยวัตรของพระพุทธเจ้าคราวพระองค์เสวยพระชาติเป็น พระเวสสันดร เป็นหนังสือเรื่องยาว 13 ผูก

    ในช่วงเดือนสี่ในทุกๆปีจะมีงานประเพณีบุญมหาชาติหรือบุญผะเหวด ซึ่งในงานจะมีการแห่ผะเหวดเข้าเมือง ซึ่งชาวภูไท ในอำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ได้จัดพิธีอย่างยิ่งใหญ่ และจะมีการจัดขบวนฟ้อนรำซึ่งแสดงออกถึงความดีใจ ความรื่นเริงสนุกสนาน เป็นการฟ้อนนำหน้าขบวนเพื่อต้อนรับผะเหวดที่แห่เข้ามาสู่เมือง

    ท่าฟ้อนโก๋ยมือ ประกอบไปด้วยท่าต่างๆ เช่น ท่าประแป้ง ท่าแญงแว่น(ส่องกระจก) ท่ากกกระต่าย ท่าเชิญสายท้าวพญา ท่ามาลาช่อม่วง ท่าน้าวหน่วงมาลา ท่านาคาม้วนหาง ท่านางญอขา ท่ากาเต้นก้อน ท่านอนหมอนหมิ่น ทากินรีชมหาด ท่านางนาถอ่วยคืน เป็นต้น


    [​IMG]

    การแต่งกาย
    การฟ้อนนั้นจะมีทั้งชายและหญิง สวมเสื้อแขนยาวหรือเสื้อแขนกระบอก ใช้ผ้าสไบขิดโพกศีรษะและพาดไหล่ หากฝ่ายชายจะมัดเอวด้วย นุ่งผ้าโจงกระเบน
    ปล่อยชายด้านซ้าย สวมเล็บมีพู่ติดปลาย และสวมเครื่องประดับเงิน

    ขอบคุณที่มาค่ะ

     
  2. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    ชอบเหรอเยอะแยะเลย ภาพแบบเนี้ย จะให้เอามาลงอีกหรือเปล่า มีเรื่องเล่าพร้อมแต่เกรงใจ จขกท.
    แต่ อาแปะก็สวยดี ก็ไม่เคยรู้ไม่เคยเห็นมาก่อนเหมือนกัน...อิอิ
    [​IMG]
    ฟ้อนนารีศรีอิสาน (กาฬสินธุ์)​
     
  3. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=3 width=300 align=center><TBODY><TR><TD class=table align=middle>ฟ้อนตังหวาย</TD></TR></TBODY></TABLE>

    [​IMG]



    ตังหวาย เป็นชื่อเมืองหนึ่งในแคว้นสะหวัีนนะเขต แห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ชาวตังหวายมีวัฒนธรรมการขับลำด้วยท่วงทำนองแบบเฉพาะของตน เรียกลำทำนองนี้ว่า "ลำตังหวาย" หมายถึงลำด้วยท่วงทำนองแบบชาวตังหวาย หรือลำสังวาดตังหวาย นั่นเอง


    ฟ้อนตังหวาย เป็นชุดการแสดงเมื่อ นายประดิษฐ์ แก้วชิน ได้ไปพบการแสดงนี้ในอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี เห็นว่าการแสดงหมอลำตังหวายมีทำนองสนุกสนาน จึงได้ทดลองให้เด็กนักเรียนมาฝึกหัด แล้วนำออกไปแสดงในงานปีใหม่ ที่ทุ่งศรีเมืองกลางเมืองอุบลราชธานี เมื่อปี พ.ศ.2514

    ต่อมา อ. ศิริเพ็ญ หัวหน้าภาควิชานาฏศิลป์วิทยาลัยครูอุบลราชธานี (มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี) เห็นควรจะส่งเสริมให้เป็นชุดการแสดงประจำจังหวัด จึงได้นำเอาต้นแบบไปเพิ่มเติมให้สวยงามมากยิ่งขึ้น


    เนื้อร้อง "ลำตังหวาย" ของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธาน

    (เกริ่นนำ) โอ..... บุญเอ๋ย บุญอีนางที่เคยสร้าง ซางบ่เป็นหนทาง โอ๊ยหนทาง พอให้น้องได้เที่ยว ละซางมีบาปมาแล่นเข็น ละซางมีเวรมาแล่นต้อง ทำให้น้องห่างพี่ชาย ห่างพี่ชาย โอ๊ยละนา ....

    (กล่าวคำกลอน)
    ตังหวายนี้มีมาแต่โบราณ ชาวอีสานบำรุงไว้อย่าให้หาย
    ของเขาดีมีไว้อย่าทำลาย ขอพี่น้องทั้งหลายจงได้ชม
    เขมราฐอำเภอถิ่นบ้านเกิด ช่วยกันเถิดรักษาไว้อย่าได้สูญ
    ท่าฟ้อนรำต่างๆช่วยเพิ่มพูน อย่าให้สูญเสียศิลปะเรา
    …………………

    (ขึ้นทำนองลำ)

    (หญิง) บัดนี้ข้าขอยอนอแม่นมือน้อม ชุลีกรเด้อแม่นก้มกราบ ชูสลอนนอนบนอบนิ้ว ถวายไท้ดอกผู้อยู่เทิง อ้ายพี่คนงามนี่นา หนาคิงกลม (เยือกๆๆๆ)

    (หญิง) ชายเอย จุดประสงค์นอแม่นหมายแม้น เพื่อเผยศิลป์นอพื้นบ้านเก่า ของไทยเฮานอตั้งแต่ก่อน โบราณผู้ให้เฟื่องให้ฟู อ้ายพี่ของน้องนี่นา คนงามเอย (เยือกๆๆๆ)

    (ชาย) คำนาง ปูเป็นทางนอเพื่อเลือกแต้ม ทางอีสานนอบ่ให้หลุดหล่น มรภ.อุบลฯ เฮาแม่นพวกพ้อง นำมาฮ้อง ออกโฆษณา หล่าพี่คนงามนี่เอย หนองหมาว้อ (เยือกๆๆๆ)

    (หญิง) ชายเอย หาเอาตังกะละแม่นหวายเซิ้ง ลำแต่เทิงน้อบ้านเจียดก่อ สืบแต่กอเด้อซุมผู้เฒ่า ใบลานพู้นดอกพื้นกะหาย ดอกพื้นกะหาย ดอกพื้นกะหาย อ้ายพี่ของน้องนี่นา คนงามเอย (เยือกๆๆๆ)

    (ชาย) คำนาง คนจบๆเด้อแม่นจั่งน้อง งามๆเด้อแม่นจั่งน้อง ซางบ่ไปน้อแม่นกินข้าว หัวมองหนอแม่นนำไก่ คนขี้ฮ้ายคือว่าจั่งอ้าย กินข้าวแม่นบ่ายปลา หล่าพี่คนงามนี่เอย ครูบ้านนอก (เยือกๆๆๆ)

    (หญิง) ชายเอย คิดถึงคราวนอแม่นเฮาเว้า อยู่เถียงนาน้อบ่มีฝา แม่สิฟาดนอแม่นไม้ค้อน แม่สิย้อนนอแม่นไม้แส้ ตีน้องนั่นแต่ผู้เดียว นั่นแต่ผู้เดียว นั่นแต่ผู้เดียว อ้ายพี่ของน้องนี่นา คนงามเอย (เยือกๆๆๆ)

    (ชาย) นางเอย ไปบ่เมือนอแม่นนำอ้าย เมือนำนอแม่นอ้ายบ่ ค่ารถอ้ายบ่ให้เสีย ค่าเฮืออ้ายบ่ให้จ้าง อ้ายสิตายนอแม่นเป็นซ้าง เอราวัณนอให้น้องขี่ ตายเป็นรถนอแม่นแท็กซี่ ให้น้องนี่ขี่ผู้เดียว ขี่ผู้เดียว ขี่ผู้เดียว หล่าพี่คนงามนี่เอย คนงามเอย (เยือกๆๆๆ)

    (หญิง) ชายเอย ย้านบ่จริงนอแม่นจั่งว่า สีชมพูนอแม่นจั่งว่า หย้านคือตอกกะลิแม่นมัดกล้า ดำนาแล้วดอกเหยียบใส่ตม เหยียบใส่ตม เหยียบใส่ตม อ้ายพี่ของน้องนี่นา คนงามเอย (เยือกๆๆๆ)

    (ชาย) บัดนี้ ขอสมพรนอแม่นไปให้ ทหารไทยนอแม่นกล้าแกร่ง ทั้งชายแดนและตำรวจน้ำ อ.ส.กล้าท่านจงเจริญ สรรเสริญภิญโญนอเจ้า ขอให้สุขนอแม่นทั่วหน้า ชาวประชาทุกคืนทุกวัน ทุกคืนทุกวัน ทุกคืนทุกวัน หล่าพี่คนงามนี่เอย คนงามเอย (เยือกๆๆๆ)

    (ขึ้นทำนองเต้ยโขง)

    เอ้าลาลาลาลาที เอ้าลาลาลาลาที ขอให้โชคดีเถิดนะแฟนจ๋า
    เสียงจากลูกทุ่งบ้านนา เสียงจากลูกทุ่งบ้านนา โชคดีเถิดหนาลองฟังกันใหม่
    ถ้าหากสนใจฉันขอขอบคุณ ถ้าหากสนใจฉันขอขอบคุณ
    คันไกลคันไกลกันแล้ว คันไกลคันไกลกันแล้ว เฮือแจวมันไกลจากฝั่ง เฮือแจวมันไกลจากฝั่ง ดอกสะมังละมันไกลจากต้น จากต้นละจากต้น จากต้น บ่มีได้แม่นกลิ่นหอม นั่นละนาหนานวลนา ละนาคนไทยนี่นา หางตาเจ้าลักท่าลา พวกฉันขอลาไปแล้ว พวกฉันขอลาเจ้าไปแล้ว
    .................................................


    เนื้อร้อง “ฟ้อนตังหวาย” ของวิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด

    ชายเอย น้องสิลำกะลิแม่นทางเต้ย ตังหวายเอยกะลิแม่นเกี่ยวอ้อย คำปากหวานละคือจั่งน้ำอ้อย ออยอ้ายคันอยู่บ่เซา เอาบ่นอละคันพี่ชายเอย คนงามเอย

    ชายเอย ว่าบ่มีกะลิแม่นเครือเกี้ยว สังมาเป็นละคันเจ้ายามหย่าง ว่าใต้ล่างละคันเจ้าบ่กว้าง มาได้ละคันเจ้าผูกงัว กลัวพี่ชายนั่นสิมาลวงน้อง คนงามเอย

    บัดนี้ ข้าขอยอนอกะลิแม่นมือน้อม ชุลีกรนอแม่นก้มกราบ ชูสลอนนอแม่นนอบนิ้ว ถวายไท้ ดอกผู้อยู่เทิง อ้ายพี่ละคนงามนี่นา หนาคิงคม

    โอนอ จุดประสงค์เด้อแม่นหมายแม้น เพื่อเผยศิลป์เด้อพื้นบ้านเก่า ของไทยเฮานอตั้งแต่ครั้ง โบราณพู้นให้เฟื่องให้ฟู อ้ายพี่ละคนงามนี่นา หนาคิงคม

    โอนอ ปูเป็นทางนอเพื่อเลือกแต้ม คองอีสานกะบ่ให้หลุดหล่น นาฏศิลป์เด้อแม่นคิดค้น นำมาฮ้องสนุกสนาน อ้ายพี่ละคนงามนี่นา หนาคิงคม

    โอนอ หาเอาตั่งนอแม่นหวายเซิ้ง ลำแต่เทิงนอบ้านเจียดก่อ สืบแต่กอเด้อซุมผู้เฒ่า โบราณพู้นดอกพื้นกะหาย ดอกพื้นกะหาย ดอกพื้นกะหาย อ้ายพี่คนงามนี่นา หนาคิงคม

    โอนอ ย้านบ่จริงนอแม่นจั่งว่า สีชมพูนอแม่นจั่งว่า ย้านคือตอกกะลิแม่นมัดกล้า ดำนาแล้วดอกเหยียบใส่ตม เหยียบใส่ตม เหยียบใส่ตม อ้ายพี่คนงามนี่นา หนาคิงคม

    โอนอ คนจบๆเด้อแม่นจั่งอ้าย งามๆกะลิแม่นจั่งอ้าย ซางบ่ไปน้อแม่นกินข้าว หัวมองหนอแม่นนำไก่ คนขี้ฮ้ายคือว่าจั่งน้อง กินข้าวแม่นบ่ายปลา อ้ายพี่คนงามนี่นา หนาคิงคม

    โอนอ คิดเห็นคราวนอแม่นเฮาเว้า อยู่เถียงนากะลิแมนวี๊ดว้าด แม่สิฟาดกะลิแม่นไม้ค้อน แม่สิย้อนกะลิแม่นไม้แส้ ตีน้องนั่นแต่ผู้เดียว นั่นแต่ผู้เดียว นั่นแต่ผู้เดียว อ้ายพี่คนงามนี่นา หนาคีงคม

    โอนอ ปูเป็นทางนอเพื่อเลือกแต้ม คองอีสานกะบ่ให้หลุดหล่น นาฏศิลป์เด้อแม่นคิดค้น นำมาฮ้อง
    สนุกสนาน อ้ายพี่ละคนงามนี่นา หนาคิงคม

    โอนอ ไปบ่เมือกะลิแม่นนำน้อง เมือนำกะลิแม่นน้องบ่ คันเมือกะลิแม่นนำน้อง ค่ารถน้องบ่ให้เสีย ค่าเฮือน้องบ่ให้จ้าง น้องสิไปกะลิแม่นเอาซ้าง เมืองสุรินทร์ละมาให้อ้ายขี่ ไปเอารถกะลิแม่นแท็กซี่ ให้อ้ายนี่แม่นขี่เมือ อ้ายพี่ละคนงามนี่นา หนาคิงคม

    บัดนี้ คันแม่นสมกะลิแม่นควรแล้ว ตังหวายเอยละนางขอลาก่อน ขอแถมพรกะลิแม่นถิ่มท้าย นำอ้ายผู้มาฟัง สุขสมหวัง เด้ออ้ายบ่าวคนงาม ขอลาแล้ว....
    ..........................................


    เนื้อร้อง “ฟ้อนตังหวาย” ของวิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์

    บัดนี้ ข้าขอยอนอละแม่นมือน้อม ชุลีกรนอแม่นก้มกราบ ชูสลอนนอนอบนิ้วถวายไท้ ดอกผู้อยู่เทิง คนงามของน้องนี่นา คนงามเอย (ยวกๆๆๆ)

    ชายเอย จุดประสงค์นอแม่นหมายแม้น เพื่อเผยศิลป์นอพื้นบ้านเก่า ของไทยเฮานอตั้งแต่ครั้ง โบราณพู้นให้เฟื่องให้ฟู คนงามของน้องนี่นา คนงามเอย (ยวกๆๆๆ)

    ชายเอย หาเอาตังนอแม่นหวายเซิ้ง ลำแต่เทิงนอบ้านเจียดก่อ สืบแต่กอ นอซุมผู้เฒ่า โบราณพู้นดอกพื้นกะหาย ดอกพื้นกะหาย ดอกพื้นกะหาย คนงามของน้องนี่นา คนงามเอย(ยวกๆๆๆ)

    ชายเอย ปูเป็นทางนอเพื่อเลือกแต้ม คองอีสานนอบ่ให้หลุดหล่น นาฏศิลป์นอแม่นคิดค้น นำมาฮ้อง ออกโฆษณา อ้ายพี่คนงามน้องนา คนงามเอย(ยวกๆๆๆ)

    ชายเอย คิดหนคราวนอแม่นเฮาเว้า ในเถียงนานั้นบ่มีฟ้า แม่สิฟาดนอแม่นไม้ค้อน แม่สิย้อนนอแม่นไม้แส้ ตีน้องนั่นแต่ผู้เดียว นั่นแต่ผู้เดียว นั่นแต่ผู้เดียว คนงามของน้องนี่นา คนงามเอย(ยวกๆๆๆ)

    ชายเอย คนจบๆนอแม่นจั่งอ้าย งามๆกะลิแม่นจั่งเจ้า ซางบ่ไปนอแม่นกินข้าว หัวมองหนอเจ้านำไก่ คนขี้ฮ้ายคือว่าจั่งน้อง กินข้าวแม่นบ่ายปลา อ้ายพี่คนงามน้องนา คนงามเอย(ยวกๆๆๆ)

    ชายเอย ไปบ่เมือนอแม่นนำน้อง เมือนำนอแม่นน้องบ่ ค่ารถน้องบ่ให้เสีย ค่าเฮือน้องบ่ให้จ้าง น้องสิตายนอแม่นเป็นซ้าง เอราวัณนอให้อ้ายขี่ ตายเป็นรถกะลิแม่นแท็กซี่ วันอ้ายดอกแม่นขี่เมือ อ้ายพี่คนงามน้องนา คนงามเอย(ยวกๆๆๆ)

    ชายเอย ย้านบ่จริงนอแม่นจั่งเว้า สีชมพูนอเจ้าจั่งว่า ย้านคือตอกนอแม่นมัดกล้า ดำนาแล้วดอกเหยียบใส่ตม ดอกเหยียบใส่ตม ดอกเหยียบใส่ตม คนงามของน้องนี่นา คนงามเอย(ยวกๆๆๆ)

    บัดนี้ ขอสมพรนอแม่นไปให้ ผองชาวไทยนอทุกๆท่าน สุขสราญนอทุกถ้วนหน้า หลับสดชื่นทุกคืนทุกวัน ทุกคืนทุกวัน ทุกคืนทุกวัน คนงามของน้องนี่นา น้องขอลาแล้ว….

     
  4. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    อะไรที่เป็นศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น เป็นภูมิปัญญาและแสดงถึงอัตลักษณ์ของชนเผ่าต่างๆ ติงชอบค่ะแปะ และอยากจะอนุรักษ์ไว้ค่ะ
     
  5. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    เฮือนภูไท(บ้านภูไท)


    [​IMG]
    บ้านคือวิมานของเรา แม้จากมาหลายปียังถวิลหาอยู่เสมอ เส้นทางสายฝุ่นเส้นนั้นพาหัวใจของผมไปไกลนานแรมปีกว่าจะได้คืนกลับมาอีกครั้ง นับจากห้วงการศึกษาจนถึงวัยทำงาน บ้านเกิดดูเหมือนว่าจะห่างไกล ประหนึ่งว่ามีขุนเขาแสนหมื่นลูกมาขวางกั่นไว้

    มีโอกาสกลับมาบ้านเกิดอีกครั้งในยามที่ลมหนาวพัดมาเยือน อดีตเก่า ๆ ผุดขึ้นมาในความทรงจำท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิตการดำรงอยู่ของผู้คนชุมชน แต่ที่ยังคงอยู่คือความมีน้ำใจไมตรีและการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันยังคงมีให้ถวิลหาอยู่เสมอ

    วันเวลาผ่านไปจากชุมชนขนาดเล็กกลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่ มีระบบสาธารณูปโภคเข้าถึงทุกบ้าน รวมทั้งการปลูกสร้างบ้านทรงรูปแบบใหม่ ๆ ขึ้นมาทดแทนบ้านเรือนแบบเก่าที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น ทั้งนี้เพราะบ้านหลังเก่าหมดอายุการใช้งาน ผุผังไปตามกาลเวลา จำเป็นต้องรื้อถอนเพื่อก่อสร้างใหม่ตามสมัยนิยม

    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    บ้านของชาวผู้ไทยในเขตบ้านหนองโอ อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร

    ไปเยี่ยมชมคุ้มเฮือนผู้ไทยของศูนย์วัฒนธรรมชาวผู้ไทย และเอกลักษณ์เมืองหนองสูง ซึ่งมีการปลูกสร้างเรือนของชาวผู้ไทยแบบดั่งเดิมไว้หลายรูปแบบไว้ให้ศึกษา เช่น เรือนเกย เรือนเย้า เรือนแฝด ตูบต่อเล้า แม้ว่ารายละเอียดในบ้านแต่ละหลังยังไม่สมบูรณ์มากนัก หากว่ามีการบริหารจัดการที่ดี คุ้มเฮือนผู้ไทยแห่งนี้น่าจะเป็นสถานที่ชุมชนและนักท่องเที่ยวจากต่างถิ่นได้มาศึกษาความเป็นมาของบรรพบุรุษพื้นถิ่นอย่างแท้จริง
    ชาวผู้ไทยในชุมชนบ้านเกิดของผมจะเรียกเรือนพักอาศัยว่า “เฮือน” เช่นเดียวกับชาวอีสานโดยทั่วไป แต่มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นคือเครื่องเรือนที่นำมาก่อสร้างจะทำจากไม้ทั้งหลัง ตั้งแต่โครงสร้างของบ้าน พื้น ฝา และหลังคา ล้วนแต่นำมาจากไม้ทั้งนั้น
    จากการศึกษาของนักวิชาการด้านมนุษยวิทยาในท้องถิ่นจึงทำให้ทราบถึงลักษณะของเรือนพักของชาวผู้ไทยในอดีตนั้นมีการศึกษาไว้ 3 ลักษณะด้วยกัน คือ เรือนแบบทรงสูง เรือนแบบทรงสูง 2 ชั้น และเรือนผู้ไทยแบบทรงต่ำ
    [​IMG]

    ลักษณะของเรือนทรงสูงของชาวผู้ไทยบ้านโนนยาง อำเภอหนองสูง (เฮือนเพอกะ ขอบคณหลาย ๆ ที่เอ้อเฟ้อคับ)

    [​IMG]
    เรือนแบบทรงสูง เป็นเรือนผู้ไทยแบบดั่งเดิม จะยกพื้นสูงทั้งนี้เพราะในอดีตในบางพื้นที่จะเป็นที่ราบลุ่มเพื่อป้องกันน้ำท่วม และป้องกันสัตว์ร้ายต่าง ๆ เพราะในอดีตเป็นป่าดงดิบ เพื่อประโยชน์ในการเลี้ยงสัตว์และเป็นพื้นที่หัตถกรรมในครอบครัว

    [​IMG]

    ลักษณะของโครงหลังคา และวัสดุมุงหลังซึ่งทำจากไม้

    [​IMG]

    วัสดุที่นำมาสร้างเรือนแบบทรงสูงจะทำจากไม้ทั้งหมด เริ่มจากเสาไม้เนื้อแข็งทั้งต้นมีขนาดใหญ่อาจถากเป็นเสากลมหรือเสาเหลี่ยมตามสภาพการใช้งาน เช่นเดียวกันกับโครงหลังคาจะทำจากไม่เนื้อแข็ง มุงด้วยหญ้าคาหรือใช้ไม้เนื้อแข็งที่เรียกว่า “แป้นมุง” ส่วนรูปแบบของหลังคาอาจเป็นจั่วเดี่ยวหรือจั่วสองหลังติดกันที่เรียกว่าเรือนแฝด โดยมีลักษณะโดดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์คือ “ป้านลม” จะนิยมตกแต่งโดยการแกะสลักไม้เป็นลวดลายต่าง ๆ ไว้อย่างสวยงาม ส่วนการยึดส่วนต่าง ๆ ของบ้านจะใช้สลักไม้ สลักเหล็ก ตามความเหมาะสม
    [​IMG]

    สำหรับฝาบ้านจะใช้ไม่เนื้อแข็งโดยเลื่อยเป็นแผ่นตามความยาว แล้วนำมาตียึดตามแนวนอน ส่วนฝาบ้านอีกลักษณะหนึ่งจะเรียกว่า “ฝาขัดแตะ” โดยนำไม่ไผ่มาสานเป็นเป็นแผ่นขนาดใหญ่ หรืออาจสานเป็นลายห่าง 2 แผ่น แล้วนำใบตองกุงมาวางซ้อนอยู่ข้างในเรียกว่า “ฝาใบตองกุง”

    [​IMG]
    ส่วนพื้นทำจากไม้เนื้อแข็งหน้ากว้างปูเป็นแนวยาวของเรือน หรืออาจใช้ไม้ไผ่ที่เรียกว่า “ฟากไม้ไผ่” ฝากไม้ไผ่จะใช้ในเรือนขนาดเล็ก หรือเถียงนาสำหรับการพักอาศัยในฤดูกาลทำนา

    [​IMG] [​IMG]
    [​IMG] [​IMG]

    เรือนผู้ไทยแบบทรงสูงจะใช้บันไดหรือ “กะได” เพื่อขึ้นสู่ตัวเรือน จะมีลักษณะเป็นบันได้เจาะไม่มีราวสามารถเคลื่อนย้ายได้
    เรือนแบบทรงสูง 2 ชั้น เป็นเรือนผู้ไทยแบบประยุกต์ในยุคต่อมา มีการก่อสร้างหลังปี 2500 เป็นต้นมา ลักษณะของโครงสร้างจะเป็นจั่วแหลม มุงด้วยสังกะสีหรือกระเบื้อง ส่วนมากจะเป็นบ้านของผู้มีฐานะในหมู่บ้าน เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือผู้ที่ประกอบอาชีพค้าขายในหมู่บ้าน


    เรือนผู้ไทยแบบทรงต่ำ เป็นเรือนพักอาศัยที่ปลูกสร้างภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้รับอิทธิพลจากฝรั่งเศสคล้าย ๆ กับตึกดิน โดยฝีมือของช่างชาวญวนอพยพ ลักษณะของรูปทรงของบ้านจะคล้ายเพิงหมาแหงนยกพื้นสูงหรือใช้พื้นดิน ซึ่งส่วนมากจะเป็นร้านขายสินค้าในชุมชน

    [​IMG]
    ลักษณะของเรือนพักอาศัยของชาวผู้ไทยในอดีต จึงเน้นในเรื่องของประโยชน์ในการใช้สอยเป็นหลัก


    หากศึกษารายละเอียดของเรือนผู้ไทยแบบทรงสูง โดยทั่วไปจะมีส่วนประกอบที่น่าสนใจดังนี้ คือ
    เรือนใหญ่ เป็นเรือนที่พักอาศัยของสมาชิกในครอบครัว โดยจะมีการแยกห้องเป็นสัดส่วนของสมาชิกในครอบครัว ใต้ถุนจะใช้เป็นที่ตำข้าว คอกสัตว์เลี้ยง เครื่องมือการเกษตร ตลอดทั้งเป็นที่ทำงานหัตถกรรมในครัวเรือนของแม่บ้าน ลักษณะโดดเด่นของของเรือนใหญ่ก็คือ “ป้านลม” ซึ่งจะตกแต่งโดยการแกะสลักไม้เป็นลวดลายต่าง ๆ ภายในหน้าจั่ว
    [​IMG]
    เรือนเกย หรือ “กระเถิบ” เป็นเรือนพักที่ต่อจากเรือนใหญ่ที่ยื่นออกมาในลักษณะเป็นเพิงหมาแหงนหรืออาจสร้างเป็นจั่วเพิ่มอีกหนึ่งหลังต่อกัน โดยอาจมีพื้นที่ต่ำกว่าระดับของเรือนใหญ่ ใช้สำหรับเป็นที่พักผ่อนของสมาชิกในครอบครัว รับประทานอาหาร หรือต้อนรับเพื่อนบ้านที่มาเยือน

    [​IMG]
    เรือนโข่ง เป็นเรือนที่สร้างแยกจากเรือนใหญ่ สามารถรื้อถอนได้ในภายหลัง สำหรับเรือนโข่งนั้นหากไม่มีเรือนไฟก็สามารถใช้พื้นที่เรือนโข่งเป็นห้องครัวได้

    [​IMG]
    ชานแดด เป็นพื้นที่ที่ยื่นออกจากตัวบ้านหรือเรือนเกย ใช้เป็นพื้นที่ล้างภาชนะหลังรับประทานอาหาร จะมีโอ่งใส่น้ำไว้ใช้ ชานแดดจะใช้เป็นพื้นที่สำหรับตากพืชผลทางการเกษตรของครอบครัว
    [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG]

    เรือนไฟ เป็นเรือนที่แยกออกจากเรือนใหญ่เพื่อใช้เป็นที่ประกอบอาหาร ทั้งนี้เพราะชาวผู้ไทยในอดีตจะใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิงในการหุงต้มอาหาร จึงต้องแยกเรือนไฟออกจากเรือนพักอาศัย โดยจะอยู่ติดกับชานแดดหรืออาจมีสะพานเชื่อมต่อกันระหว่างเรือนใหญ่กับเรือนไฟ
    [​IMG]

    [​IMG] [​IMG]


    ภายในเรือนไฟจะมีกะบะไฟที่เรียกว่า “แม่คีไฟ” สำหรับก่อไฟ โดยยกพื้นสูงทำกรอบไม้ขนาดใหญ่แล้วนำดินมาเทลงเพื่อเป็นพื้นที่สำหรับหุงต้มอาหาร บริเวณรอบ ๆ จะมีไหปลาร้า กระปุกเกลือ ตลอดทั้งภาชนะสำหรับประกอบอาหารวางอยู่เรียงราย ด้านบนจะเป็นที่เก็บเมล็ดพันธุ์พืชต่าง ๆ เพื่อเตรียมสำหรับการเพาะปลูกในช่วงฤดูฝน ด้านล่างของเรือนไฟจะเป็นคอกหมู เล้าเป็ด เล้าไก่ ตลอดทั้งฟืนสำหรับไว้หุงต้ม

    จากที่กล่าวมาแล้วจะเห็นได้ว่าเรือนพักอาศัยของชาวผู้ไทยจึงนับเป็นสถานที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตตั้งแต่แรกเกิดจนถึงบั้นปลายสุดท้ายของชีวิต อีกทั้งรูปแบบการปลูกสร้างบ้านในแต่ละท้องถิ่นจะมีคติความเชื่อและลักษณะการก่อสร้างที่แตกต่างกันออกไปตามลักษณะการใช้สอยและการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่นเดียวกันกับเรือนพักอาศัยของชาวผู้ไทยที่ผมได้สืบค้นข้อมูลและบันทึกภาพถ่ายมาในโอกาสนี้

    ขอบคุณบ้านหนองโอ โนนยาง หนองสูง มุกดาหารค่ะ ขอบคุณหลาย ๆ

    ขอบคุณที่มา http://www.nongsoong.com/forum/index.php?topic=3436.0
     
  6. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730

    มารู้จักพืชพรรณทางอีสานกันนะคะ

    [​IMG]
    ต้นกุง, ใบตองกุง หรือ ต้นพลวง ไม้ใหญ่แห่งป่าโคก

    [​IMG]
    ชะมวงป่า ยอดอ่อนๆ คนเมืองกรุงทานกับยำแหนม

    [​IMG]
    ผักกระโดน หรือ กระโดนป่า

    [​IMG]
    ดอกกระเจียวขาว... สวยงามและทานได้


    [​IMG]
    ดอกกระเจียวแดง ... สวยและทานได้เช่นกัน

    [​IMG]
    ดอกเอนอ้า สีสวยสด ผลทานได้ค่ะ


    [​IMG]
    ดอกมูก หรือ โมกป่า ชาวบ้านยังเก็บมาบูชาพระ

    [​IMG]
    เห็ดป่า



     
  7. ped2011

    ped2011 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,037
    ค่าพลัง:
    +1,096
    ครูติงยังขาดผักหัวอีทือ หู้จักยุบ่หัวอีเทือ
     
  8. Jubb

    Jubb เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    1,267
    ค่าพลัง:
    +2,134
    [​IMG]ขอบคุณครับคุณครู ความรู้ใหม่ ความรู้ใหม่[​IMG]
     
  9. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    ฟ้อนเก็บฝ้าย
    [​IMG]
    ฟ้อนเก็บฝ้าย เป็นการแสดงที่สื่อให้เห็นถึงวิถีชีวิตอย่างหนึ่งของชาวไทอีสาน โดยเฉพาะชาวไทเลยและชาวไทในจังหวัดเพชรบูรณ์ ที่มีการทอผ้าฝ้ายมาใช้ในชีวิตประจำวันเป็นจำนวนมาก

    ฟ้อนเก็บฝ้าย ได้ประดิษฐ์คิดค้นการแสดงโดย คณาจารย์จากวิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด ได้ออกทำการแสดงเผยแพร่ครั้งแรกในงาน “ดอกฝ้ายบานที่เมืองเลย” แสดงให้เห็นถึงการเก็บดอกฝ้ายของหญิงสาวชาวบ้าน โดยจะมีชายหนุ่มเข้ามาหยอกล้อในระหว่างกำลังที่ตากฝ้าย และช่วยถืออุปกรณ์ในตอนท้ายอีกด้วย

    การแต่งกาย

    - หญิง สวมเสื้อแขนกระบอกสีดำตัดขอบแดง ใช้ผ้าแพรวาแดงมัดศีรษะและปล่อยชายมาด้านซ้าย นุ่งผ้าซิ่นมัดหมี่สลับจกสีดำ สะพายกระหยัง และสวมเครื่องประดับเงิน
    - ชาย สวมเสื้อย้อมครามแขนสั้น นุ่งกางเกงขาก๊วย ใช้ผ้าแพรขิดแดงโพกศีรษะและมัดเอว



    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" align=center><TBODY><TR><TD class=nbrow><HR align=left SIZE=1 width=300 noShade>ขอขอบคุณอ้ายโอ๊ต (อดิศักดิ์ สาศิริ) เอื้อเฟื้อข้อมูลและภาพ </TD><TD width=40 align=middle></TD><TD width=40 align=middle></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" align=center><TBODY><TR><TD></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  10. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    [​IMG]
    • เสี่ยว หมายถึง สหาย, มิตร, เพื่อน, เกลอ (friend, buddy, comrade.) คนที่มีรูปร่างหรือ นิสัยใจคอเหมือนกันหรือเกิดไล่เลี่ยกัน พ่อแม่ผูกให้เป็นมิตรกัน เรียกว่า "ผูกเสี่ยว" ซึ่งเขาทั้งสองจะผูกสมัครรักใคร่ คอยช่วยเหลือเกื้อกูลจนวันตาย หรือจะเรียกว่า "เป็นเพื่อนตาย" ก็ยังได้ ประเพณีผูกเสี่ยวเป็นงานที่จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ทุกปีที่จังหวัดขอนแก่น
    • คำว่า "บักเสี่ยว" ที่คนในภาคอื่นนำมาใช้เรียกคนอีสานอย่างดูแคลนจึงไม่ถูกต้อง เพราะ คำว่า "บัก" เป็นคำที่ใช้เรียกชื่อชายที่มีอายุเสมอกัน หรือต่ำกว่ากันว่า บักสี บักสา บักมี บักมา (นายสี, นายสา, นายมี, นายมา) ถือเป็นคำพูดพื้นๆ ไม่หยาบคายแต่อย่างใด คำว่า "บักสี่ยว" จึงหมายถึงการเรียกว่า ไอ้เพื่อนเกลอ เท่านั้นเอง
    • ไท มีความหมายเป็น 2 นัย คือ
      1. อย่างแรกแปลว่า "ชาว" หรือ "ผู้ที่อยู่" คนในถิ่นที่เอ่ยนามหลังคำว่าไท เช่น ไทอุบลฯ ก็หมายถึง ชาวอุบลฯ ไทบ้าน หมายถึง ชาวบ้าน ไทบ้านได๋ หมายถึง คนบ้านไหน ไทแขก หมายถึง ผู้ที่มาเยือน ซึ่งมักจะไม่ใช่ญาติพี่น้อง และมักจะเป็นบุคคลที่มาจากต่างถิ่น ไม่ได้หมายถึงคนที่เป็นลูกครึ่งไทยผสมอินเดีย หรืออาหรับแต่อย่างใด
      2. อย่างที่สองหมายถึง ชนชาติไท เป็นชนชาติหนึ่งที่อาศัยอยู่ในคาบสมุทรอินโดจีน จีนตอนใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของพม่า (รัฐฉาน) รัฐอัสสัมทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย (ไทอาหม) เอกลักษณ์ของชนเผ่านี้คือ ผู้หญิงตั้งแต่วัยเริ่มเข้าเรียนจะนุ่งผ้าซิ่นแบบป้าย ผ้าซิ่นนี้จะเอาผ้าเป็นผืนมาเพลาะให้เป็นถุงที่ไม่มีก้นถุงก่อน แล้วจึงนุ่งป้ายทบไปเหน็บที่เอวข้างใดข้างหนึ่งของผู้นุ่ง (ไม่ได้นุ่งแบบจีบหน้านางของนางรำละคร หรือพันเฉวียงตัวอย่างส่าหรีของอินเดีย)
      • อ่านสมุดเยี่ยมวันนี้มีผู้ลงนามที่ใช้ชื่อ นางน้อย อยากทราบความหมายของคำว่า สุดสะแนน ก็เลยเอามาบอกกันครับ สุดสะแนน ชื่อทำนองเป่าแคนชนิดหนึ่ง เรียก ลายสุดสะแนน ทำนองเป่าแคนโบราณมีหลายชนิด (ทำนอง) แต่ละชนิดเรียก ลาย เช่น ลายสุดสะแนน ลายโป้ซ้าย ลายส้อยใหญ่ ลายส้อยน้อย ลายยาว ดังนั้นเมื่อนำเอาคำนี้ไปใช้ จึงมีความหมายว่า มีความสนุกสนานอย่างยิ่ง (ม่วนหลาย)
        แต่ถ้าเอาความหมายเฉพาะของคำว่า สะแนน จะแปลว่า เตียง เตียงสำหรับผัวเมียนอนเรียกว่า สะแนน หรือแคร่สำหรับนอนย่างไฟของแม่ลูกอ่อนอยู่กรรมก็เรียกว่า สะแนน เช่นเดียวกันครับ
      • ม้ม เป็นคำของคนไทยเชื้อสายลาว และพี่น้องลาวหลุ่มใน สปป.ลาว และไทพวนในทั้งสอง ประเทศ (ไทยและสปป.ลาว) คำว่า "ม้ม" หมายถึง หลุด พ้น, ผ่านพ้น, รอดพ้น เช่น ทุกคน เกิดมาก็ต้องม้มต่งซิ่น (เกิดมาก็ต้องพ้นชายผ้าถุงของมารดามาทุกคน ยกเว้น ผู้ที่คลอดโดยหมอผ่าตัดออกมา) สมัยก่อนแม่มาน (ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์) จะคลอดในท่านั่งคุกเข่า แล้วใช้มือ ทั้งสองข้างโหนเหนี่ยวผ้าขาวม้าของสามีที่ผูกไว้อย่างแน่นหนากับขางเฮือน (ขื่อบ้าน) เผื่อ เวลามีลมเบ่งจะได้ใช้มือเหนี่ยวยึดผ้าเอาไว้
        ม้มมื้อนี่แล้วไข้กะคือสิส่วง (พ้นวันนี้ไปแล้วไข้ก็คงจะสร่าง) หรืออย่างประโยคที่ว่า หั่นหว่าอยู่ หว่ามันสิบ่ม้มมือผ่อ (ว่าแล้วไง ว่ามันจะไม่พ้นมือพ่อที่ต้องทำ) หรือ หนีบ่ม้ม (หนีไม่พ้น)
      • ผ่านมาหลายปีแล้วครับ (จากปี 2000 นี่ก็เข้าปี 2007 แล้ว) แม้จะได้รับการนั่งยันนอนยันจากรัฐบาลว่า เศรษฐกิจฟื้นแล้ว ผมก็ยังอยากขอให้ทุกท่าน ม้มปีนี้ไปแบบหม่อนๆ นะครับ (จงผ่านพ้นภัย เศรษฐกิจไปอย่างราบรื่นตลอดปีครับ อีกปีเถอะน่า)
      • มีคำถามจากแฟนเพลงลูกทุ่งท่านหนึ่ง สอบถามถึงคำในเพลงของคุณฝน ธนสุนทร มาครับ ก็เลยนำมาแนะนำในที่นี้ครับ
        • <LI type=disc>จ่างป่าง (ว.) สว่าง, โล่ง ท้องฟ้าที่ปราศจากเมฆหมอก มองไปทางไหนก็แจ้งสว่าง เรียก แจ้งจ่างป่าง bright, clear (of clouds) <LI type=disc>แจ่งแป่ง เป็นสร้อยคำ ใช้คู่กับจ่างป่าง เช่น แจ่งแป่งจ่างป่าง <LI type=disc>จิ่งปิ่ง (ว.) รูขนาดเล็กเรียก ฮูจิ่งปิ่ง ถ้ารูขนาดใหญ่เรียก ฮูจึ่งปึ่ง small (hole)
        • โจ่งโป่ง (ว.) ลักษณะของรูที่ใหญ่ มองเห็นทะลุตลอด เรียก ฮูโจ่งโป่ง gaping and penetrating (of hole)
      • คะลำ ผิด บาป กรรม สิ่งใดที่ทำลงไปแล้วผิดจารีตประเพณี ผิดกฎหมาย ผิดระเบียบ ผิดต่อ ศีลธรรม ในทางพระศาสนา จะมีโทษมาก โทษน้อย หรือไม่มีโทษ แต่สังคมรังเกียจสิ่งนั้น เรียก คะลำ เช่น ของมันผิดอย่าได้กระทำ ของคะลำอย่าได้ไปต้อง ของพี่น้องอย่าได้ไปซูน เรื่องราวของคะลำยังมีอีกมาก ลองคลิกไปดูกันครับ
    • มีคำถาม มาจากเยาวชนรุ่นหลัง (ลูกอีสานบ้านเฮานี่หละ) ว่า ได้เบิ่งรายการเกมทศกัณฑ์ ยกสยาม ทางช่อง 9 โมเดิร์นไนน์ทีวี ว่ามีการถามถึงความหมายคำศัพท์ภาษาอีสานว่า "ส้วม" หมายถึงอะไร ในคำตอบวันนั้นเฉลยว่า หมายถึง ห้องนอน คนรุ่นผู้ใหญ่อย่างผมนี่ คงไม่สงสัยอะไร แต่รุ่นหลังข้องใจมาก ถึงกับก่นด่ารายการ และตัวพิธีกร คุณปัญญา นิรันดร์กุล ว่าไปเอาคำเฉลยมาจากไหน ไม่เคยได้ยินมาก่อน แบบนี้ดูถูกคนอีสานชัดๆ
      เขาดูถูกเราจริงๆ คือ ส้วม หมายถึง ห้องนอน ถูกต้องแล้วคร๊าบ... แต่ห้องนอนที่ว่านี่เฉพาะเจาะจง ต้องเป็นห้องนอนของลูกสาว และลูกเขยนะครับ คงจะเคยได้ยินภาษิตที่ว่า มีลูกสาวเหมือนมีส้วมอยู่หน้าบ้าน อย่าเข้าใจว่าสิมีไผแวะมาขี้ใส่ส้วม แล้วบ่ล้างเด้อ...
      ความหมายของภาษิตนี่หมายถึง ต้องคอยระมัดระวัง ไม่ให้ไอ้หนุ่มหน้าไหนมาแอบเจาะไข่แดงลูกสาว ก่อนเวลาอันสมควร เพราะถ้าเฝ้าไม่ดีอาจมีเสียงนินทาว่าร้ายในภายหลังได้ มาที่คำว่า "ส้วม" จากหนังสือสารานุกรมภาษาอีสาน-ไทย-อังกฤษ โดย ดร.ปรีชา พิณทอง ให้ความหมายของส้วมดังนี้

      <DL><DT>ส้วมน.๑ <DD>ห้องนอน เรียก ส้วม ห้องนอนที่กั้นไว้เพื่อให้ลูกสาวลูกเขยนอน เรียก ส้วม อย่างว่า กูจักนอนในส้วมปักตูเฮือนอัดหี่ (กาไก่). bedroom. </DD></DL><DL><DT>ส้วมน.๒ <DD>ห้องน้ำ ห้องที่กั้นไว้เพื่ออาบน้ำ เรียก ส้วม ส้วมน้ำอาบ ก็ว่า อย่างว่า นางนาฏน้อยเมือส้วมอาบสี (สังข์). bathroom. </DD></DL>เรื่องเหล่านี้ ถ้ายังบ่ฮู้ให้ค้นหา สอบถามผู้ฮู้กันเสียก่อน อย่าฟ้าวตีโพยตีพาย มันสิขายหน้าฅนเป็นลูกอีสานขนานแท้ซั่นดอกวา...

      อ้างอิงจากหนังสือ "สารานุกรมภาษาอีสาน-ไทย-อังกฤษ"
      โดยปราชญ์อีสาน คุณพ่อ ดร. ปรีชา พิณทอง
     
  11. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    ^^ คุณเป็ดช่วยหน่อยสิคะ:'(
     
  12. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    ชอบใจภาษาอีสานวันละคำของแปะแปะมากเลยค่ะ
    จริงๆติงก็ยังพูดภาษาถิ่นอีสานไม่ได้ดีนัก สำเนียงยังผิดเพี้ยนค่ะ
    ^^
     
  13. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    วันนี้คุณจุ๊บไม่มีอะไรจะถามครูติงเลยเหรอคะ
    ครูติงเหงาแย่เลยค่ะ
    ^^

    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]
     
  14. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    [​IMG]

    ฟ้าว = รีบ เช่น ฟ้าวๆกลับมาเด้อคิดฮอด = รีบๆกลับมานะคิดถึง


    <HR>ไผ = ใคร เช่น เขาแม่นไผ = เขาคือใคร


    <HR>แนว = แนวทางปฏิบัติ, ครรลองคลองธรรม เช่น มันบ่แม่นแนว = มันไม่ถูกต้องตามครรลองคลองธรรม


    <HR>จั๊งซี่ = อย่างนี้ เช่น จั๊งซี่มันต้องถอน = อย่างนี้มันต้องถอน


    <HR>แนม = มอง, จ้องมอง เช่น แนมบ่เห็นเลย = มองไม่เห็นเลย


    <HR>จัก = ไม่รู้, ไม่รู้เหมือนกัน เช่น จักสิไปทางได๋ = ไม่รู้จะไปทางไหน


    <HR>สั่นดอก, สั่นเด๊ะ = ยังไงละ เช่น กะเลยสิหาสั่นดอก = ก็เลยจะไปหายังไงละ


    <HR>สำพอ = ถึงว่า เช่น สำพอวังหั่นเพิ่นมาเอามีด = ถึงว่าเมื่อกี้เขามาเอามีด


    <HR>วังหั่น = เมื่อกี้, ตะกี้ เช่น เฮ็ดหยังวังหั่นน่ะ = ทำอะไรเมื่อกี้น่ะ, มาวังหั่นกะสิไปแล้ว = มาเมื่อกี้ก็จะไปซะแล้ว


    <HR>ถะแม = ซิ, เร็วซิ เช่น กินถะแม = กินซิ, กินเร็วซิ, มาถะแม = มาซิ, มาเร็วซิ


    <HR>ย่าน = กลัว เช่น เจ้าย่านผีบ่? = คุณกลัวผีไหม?, ย่านแต่เจ้านั่นละ สิหลายใจ = กลัวแต่คุณนั่นแหละ ที่จะหลายใจ


    <HR>มื่อ = วัน เช่น ทุกมื่อ = ทุกวัน, มื่ออื่น = พรุ่งนี้, มื่อหือ = มะรืน


    <HR>เคียด = โกรธ เช่น บ่ได่เคียดดอก = ไม่ได้โกรธหรอก, อย่าเคียดให้เฮาเด้อ = อย่าโกรธเราเลยนะ


    <HR>แหน้ = หน่อย, ซิ เช่น ไปนำแหน้ = ไปด้วยซิ, คิดฮอดกันแหน้เด้อ = คิดถึงกันหน่อยนะ


    <HR>แฮง = แรง, มากๆ เช่น เพิ่นเตะบอลแฮงๆ = เขาเตะบอลแรงมาก, คิดฮอดแฮงๆ = คิดถึงมากๆ


    <HR>ม่วน = สนุก, เพราะ(ไพเราะ) เช่น ปะเฮาพากันไปม่วน = ปะ พวกเราไปสนุกกัน, เพลงนี่คือม่วนแท้ = เพลงนี้เพราะจังเลย


    <HR>มื่ออื๊น = พรุ่งนี้ เช่น มื่ออื๊นมีสอบเด้อ = พรุ่งนี้มีสอบนะ


    <HR>กะด้อกะเดี้ย = อะไรนักหนา, อะไรกันนักกันหนา เช่น มันสิอีหยังกะด้อกะเดี้ยแท้ = มันจะอะไรกันนักกันหนา


    <HR>สิ = จะ เช่น สิบอกไห่ = จะบอกให้, สิบ้าแล้ว = จะบ้าแล้ว


    <HR>หล่า = สุดท้าย,(ลูก)สุดท้อง เช่น ลูกหล่า = ลูกคนสุดท้อง, บักหล่า = ลูกชายคนสุดท้อง (บางทีก็ใช้เรียกเพื่อให้เขารู้สึกว่า เราโตกว่าเขา), อีหล่า = ลูกสาวคนสุดท้อง


    <HR>จั๊งสั้น = ถ้างั้น เช่น จั๊งสั้นกะไปโลด แปลว่า ถ้างั้นก็ไปเลย


    <HR>ซุบาด = ทุกครั้ง เช่น มาหาซุบาดต้องเอาของมาฝาก แปลว่า มาหาทุกครั้งต้องเอาของมาฝาก

    หมายเหตุ: บางครั้งก็ใช้คำว่า "เทือ" แทนคำว่า "บาด" เช่น มายามได๋กะมายืมเงินซุเทือเลย แปลว่า มาหาทีไรก็มายืมเงินทุกครั้งเลย


    <HR>เสี่ยว = เพื่อนรัก

    คำอธิบายเพิ่มเติม
    เสี่ยว หมายถึง เพื่อนรัก แต่คำว่าเพื่อนทั่วไป ที่ใช้กันก็คือ หมู่ จริงๆแล้วถ้าเป็นการพูด แค่เรามีเพื่อนที่เราสนิทมากๆ เราก็สามารถเรียกเขาว่าเสี่ยวได้ แต่ในทางปฏิบัติของคนอิสานนั่น การที่จะเป็นเสี่ยวกันได้ ต้องมีพิธีกรรม การ "ผูกเสี่ยว" ซึ่งพิธีกรรมนี้ จะโด่งดังมากในจังหวัดขอนแก่น แต่ก็มีพ่อแม่หลายคนที่นิยมผูกเสี่ยวให้ลูกตัวเอง ตั้งแต่ยังเล็กๆ อย่างเช่นผม ก็ถูกจับผูกเสี่ยวตั้งแต่เด็ก โตมากยายก็บอกว่าผมมีเสี่ยวเป็นคนนี้ๆ ด้วยความแตกต่างกันของคนเรา ทำให้ผมกับเสี่ยวไม่ได้สนิทอะไรกันมากมายเลย ตรงกันข้ามกับเพื่อนคนที่โตมาแล้วมาเจอกัน คบหาไปมาหาสู กับสนิทกันกว่า แล้วก็เรียกกันว่าเสี่ยว ตรงนี้แสดงให้เห็นว่า การที่จะเป็นเสี่ยวกัน ไม่ว่าคุณจะผ่านการผูกเสี่ยวหรือไม่ เราก็สามารถเป็นเสี่ยวกันได้


    <HR>อีหลี = จริง เช่น แม่นอีหลี แปลว่า ใช่จริงๆ, ฮักเจ้าอีหลี แปลว่า รักเธอจริงๆ


    <HR>เบิ่ด = หมด เช่น เบิ่ดมินลิน แปลว่า หมดเกลี้ยงเลย(มินลิน ไม่ได้แปลว่า เกลี้ยงเลย แต่เป็นคำสร้อย)


    <HR>อีเกิ้ง = พระจันทร์ เช่น อีเกิ้งเต็มหน่วย แปลว่า พระจันทร์เต็มดวง


    <HR>ไป๊ = หรือยัง เช่น มาแล้วไป๊ แปลว่า มาแล้วหรือยัง, กินเข่าไป๊ แปลว่า กินข้าวหรือยัง


    <HR>ฮ้าง = เสีย, พัง เช่น นาฬิกาฮ้าง = นาฬิกาพัง


    <HR>งึด = อัศจรรย์ใจ, แปลกใจ เช่น เป็นตางึดอีหลี แปลว่า น่าอัศจรรย์ใจจริงๆ


    <HR>พ่อ = พบ, เจอ เช่น แล้วพ่อกันใหม่เด้อ แปลว่า แล้วเจอกันใหม่นะ, พ่อบ่? แปลว่า เจอไหม? ส่วนคำว่า "พ่อ" ที่หมายถึง "บิดา" ในภาษาอิสานก็เรียกว่า "พ่อ" เช่นเดียวกัน แต่ก็มีบางคนเรียกว่า "อีพ่อ" รวมไปถึงคำว่า "อีแม่" ก็หมายถึง คุณแม่ เช่นเดียวกัน ซึ่งคำว่า "อี" ในกรณีนี้ ไม่ใช่คำที่ไม่สุภาพ


    <HR>หมาน = โชคดี เช่น ไปหาปลาหมานบ่? แปลว่า ไปหาปลาโชคดีไหม?(ได้ปลามาเยอะไหม?)


    <HR>ลี่ = ซ่อน เช่น ไปลี่อยู่ไส แปลว่า ไปแอบอยู่ที่ไหน, เล่นบักลี่ แปลว่า เล่นซ่อนหา


    <HR>จอบ = แอบ เช่น จอบเสี่ยงตาน้อยเบิ่งผู้สาว แปลว่า แอบหลิ่วตามองสาว


    <HR>เสี่ยงตาน้อย = หลิ่วตามอง เช่น อย่ามาเสี่ยงตาน้อยเบิ่งเด้อ แปลว่า อย่ามาหลิ่วตามองนะ


    <HR>ฮอด = ถึง เช่น คิดฮอดหลาย แปลว่า คิดถึงมาก, ไปฮอดไส แปลว่า ไปถึงไหน


    <HR>สู = พวกเธอ เช่น สูสิไปไส? แปลว่า พวกเธอจะไปไหน?


    <HR>โลด = เลย เช่น ไปโลด แปลว่า ไปเลย, กินโลด แปลว่า กินเลย


    <HR>แมงจำเบี้ย = ผีเสื้อ


    <HR>ขี้ไก่เดียน(เดือน) = ไส้เดือน เช่น ขี้ไก่เดือนอยู่ในดิน แปลว่า ไส้เดือนอยู่ในดิน


    <HR>ดัง = จมูก เช่น อย่าเอาดังมาใกล้ แปลว่า อย่าเอาจมูกมาใกล้ (แต่คำว่า ดังไฟ=จุดไฟ, เสียงดัง=เสียงดัง)


    <HR>บักเถิก(ออกเสียงคำว่า เถิก สั้นๆ ) = ตัวผู้ เช่น ควายบักเถิก แปลว่า ควายตัวผู้


    <HR>หลูโตน = สงสาร เช่น เป็นตาหลูโตนแท้เนาะ แปลว่า น่าสงสารจังเลย


    <HR>อีหยัง, เป็นหยัง = อะไร, ทำไม เช่น เป็นอีหยัง? แปลว่า เป็นอะไร?, เป็นหยังคือเฮ็ดจั๊งซี่ แปลว่า ทำไมถึงทำแบบนี้?


    <HR>จั๊งได๋ = ยังไง เช่น เฮ็ดจั๊งได๋? แปลว่า ทำยังไง?, เอาจั๊งได๋ แปลว่า เอายังไง?


    <HR>ตาฮัก = น่ารัก เช่น เจ้าคือเป็นตาฮักแท้ แปลว่า คุณน่ารักจังเลย, ตาฮักจั๊งซี่มีแฟนไป๊น้อ แปลว่า น่ารักอย่างนี้มีแฟนหรือยังน๊า


    <HR>ไคแน = ดีขึ้น, ดีแล้ว เช่น ขาเจ้าไคแนแล้วไป๊? หมายถึง ขาคุณดีขึ้นหรือยัง?


    <HR>ฮก = รก เช่น หญ้าฮกก็หมายถึง หญ้ารก

    อะฮ้า ๆๆ คนอยุธยาสอนคนสกลนครมั้งเนี่ย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 กรกฎาคม 2011
  15. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    "แปะแปะฟ้าวๆกลับมาเด้อคึดฮอด" ๕๕๕๕

    ฮิฮิ ....ลองเอามาใช้ดูค่ะ ^^
     
  16. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    กระทือ : สมุนไพร กลุ่มยาขับน้ำนม


    กระทือ : สมุนไพร กลุ่มยาขับน้ำนม


    กระทือ : สมุนไพร กลุ่มยาขับน้ำนม



    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Zingiber zerumbet (L.) Smith.
    วงศ์ : Zingiberaceae
    ชื่ออื่น : กระทือป่า กะแวน กะแอน แสมดำ แฮวดำ เฮียวดำ (ภาคเหนือ) เฮียวแดง (แม่ฮ่องสอน)
    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ l กระทือ : สมุนไพร กลุ่มยาขับน้ำนม
    ไม้ล้มลุก ลำต้นเหนือดินกลม สูง 0.9-1.5 เมตร มีเหง้าใต้ดิน ต้นโทรมในหน้าแล้งแล้วงอกขึ้นใหม่ในหน้าฝน ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับในระนาบเดียวกัน รูปรูยาว กว้าง 5-7.5 ซม. ยาว 20-30 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบมนสอบ ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว ก้านใบเป็นกาบหุ้มลำต้น ดอก ออกเป็นช่อแทงออกจากเหง้าขึ้นมา ช่อดอกรูปทรงกระบอก มีใบประดับสีเขียวแกมแดง เรียงซ้อนกันแน่นเป็นระเบียบ ดอกสีเหลือง โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ดอกบานไม่พร้อมกัน ผล แบบผลแห้งแตก รูปทรงค่อนข้างกลม สีแดง เมล็ดสีดำ
    ส่วนที่ใช้ : เหง้าสด
    สรรพคุณ l กระทือ : สมุนไพร กลุ่มยาขับน้ำนม
    บำรุงและขับน้ำนม ขับปัสสาวะ แก้ท้องอืด บิด ปวดมวนในท้อง
    วิธีและปริมาณที่ใช้ l กระทือ : สมุนไพร กลุ่มยาขับน้ำนม
    ราก - แก้ไข้ตัวเย็น แก้ไข้ต่างๆ แก้ไข้ตัวร้อน แก้เคล็ดขัดยอก
    เหง้า
    - บำรุงน้ำนม แก้ปวดมวนในท้อง แก้บิด บิดป่วงเบ่ง
    - แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้อง ขับผายลม ขับปัสสาวะ
    - แก้จุกเสียด แก้เสมหะเป็นพิษ
    - ขับน้ำย่อย เจริญอาหาร
    - เป็นยาบำรุงกำลัง
    - แก้ฝี
    ต้น
    - แก้เบื่ออาหาร ช่วยเจริญอาหาร ทำให้รับประทานอาหารมีรส
    - แก้ไข้
    ใบ
    - ขับเลือดเน่าร้ายในเรือนไฟ
    - แก้เบาเป็นโลหิต
    ดอก
    - แก้ไข้เรื้อรัง
    - ผอมแห้ง ผอมเหลือง
    - บำรุงธาตุ แก้ลม
    วิธีและปริมาณที่ใช้ l กระทือ : สมุนไพร กลุ่มยาขับน้ำนม
    รักษาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด และปวดท้อง บิด
    โดยใช้หัวหรือเหง้ากระทือสด ขนาดเท่าหัวแม่มือ 2 หัว (ประมาณ 20 กรัม) ย่างไฟพอสุก ตำกับน้ำปูนใสครึ่งแก้ว คั้นเอาน้ำดื่มเวลามีอาการ
    บางท้องถิ่นใช้หัวกระทือประกอบอาหาร เนื้อในมีรสขมและขื่นเล็กน้อย ต้องหั่นแล้วขยำกับน้ำเกลือนานๆ
    กระทือเป็นพืชที่มีสารอาหารน้อย
    สารเคมี l กระทือ : สมุนไพร กลุ่มยาขับน้ำนม
    Afzelin, Camphene, Caryophyllene
    น้ำมันหอมระเหยมี Zerumbone, Zerumbone Oxide

    ขอบคุณ : โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่อ&#359
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 กรกฎาคม 2011
  17. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    กระทือ
     
  18. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    "เจ้าคือเป็นตาฮักแท้ ตาฮักจั๊งซี่มีแฟนไป๊น้อ"


    9 O๐.._/I\_..๐O :

    ††
    †

     
  19. อุ๋มอิ๋ม555

    อุ๋มอิ๋ม555 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    111
    ค่าพลัง:
    +33
    โอ๊ยน้อ...บ่ใดเข้ามากระทู้นี้หลายมื่อคิดฮอดเอื้อยๆอ้ายๆหลายๆๆ เด้อค่า = ไม่ได้เข้ามากระทู้นี้หลายวันคิดถึงพี่สาวพี่ชายมากๆนะคะ
     
  20. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    [​IMG]
    อ้ายคนงามเอย...อ้ายมาถามข่าวน้องว่ามีFANแล้วบ่ ...
    น้องสิไขข้อข้องใจอ้ายว่าจังใด๋...
    ขอตอบถ้อยคำแถลงให้แป๋งอ่าน
    บ้านน้องนั่นมีFANแล้วตั้ง ๙ โต๋เด้ออ้ายเด้อ....
     

แชร์หน้านี้

Loading...