มีวัตถุมงคลสายพระป่ากรรมฐานให้บูชาราคาเบาๆ

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย Somchai 2510, 8 กันยายน 2019.

  1. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่ประสาร สุมโน วัดป่าหนองไคร้ อ.เมือง จ.ยโสธร
    0-b8-9b-e0-b8-b9-e0-b8-b9-e0-b9-88-e0-b8-9b-e0-b8-a3-e0-b8-b0-e0-b8-aa-e0-b8-b2-e0-b8-a3-jpg-jpg.jpg
    หลวงปู่ประสาร สุมโน วัดป่าหนองไคร้ อ.เมือง จ.ยโสธร รายการที่ 734 เหรียญใจหลวงปู่ประสาร สุมโน พระโพธิสัตว์โต เเห่งวัดป่าหนองไคร้ อ.เมือง จ.ยโสธร หลวงปู่เป็นศิษย์หลวงปู่ผั่น ปาริสโก เหรียญสร้างปี 2555 สร้างเนื่องหลวงปู่อายุครบ 82 ปี เนื้อทองเเดง มีตอกโค๊ตหลังเหรียญ ,มีพระเกศาหลวงปู่มาเป็นมงคล ************บูชาที่ 305 บาทฟรีส่งems
    รายการที่ 773 หลวงปู่ประสาร สุมโน (พระครูสุมนสารคุณ) มีนามเดิมว่า ประสาร นามสกุล “เผ่าเพ็ง” ต่อมาเปลี่ยนนามสกุลเป็น “เผ่าพุทธ” และในปัจจุบันคือนามสกุล เผ่าพุทธ (พุทธะ) นั่นเอง

    เกิดเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๗๓ ตรงกับวันศุกร์ แรม ๑๓ ค่ำ เดือนยี่ ปีมะเมีย ที่บ้านหนองเป็ด ตำบลหนองหิน อำเภอยโสธร จังหวัดอุบลราชธานี (ในขณะนั้น ต่อมายกระดับขึ้นเป็นจังหวัดยโสธร โดยแยกการปกครองมาจากจังหวัดอุบลราชธานี) จึงถือตามเอกสารทางราชการในปัจจุบันว่า หลวงปู่ประสารเป็นคนบ้านหนองเป็ด ตำบลหนองหิน อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร

    โยมบิดามีนามว่า นายกลม โยมมารดามีนามว่า นางขาว นามสกุล เผ่าพุทธ (นามสกุลเดิมฝ่ายโยมมารดา “หงส์คำ) มีพี่น้องชายหญิง ๒ คน คือ

    ๑. พระครูสุมนสารคุณ (หลวงพ่อประสาร เผ่าพุทธ)
    ๒. นางเตย น้องสาว ปัจจุบันยังมีชีวิตอยู่ (พ.ศ.๒๕๕๒ ต้นปี)



    ปฐมวัย
    ในวัยเด็กหลวงปู่ประสารนั้นเรียนหนังสือที่โรงเรียนวัดบ้านหนองเป็ดจนจบชั้นประถมปีที่ ๔ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๙ ชีวิตของท่านก็เหมือนเด็กในชนบททั่ว ๆ ไป ต้องช่วยพ่อ-แม่ทำงานในบ้านตามแต่กำลังของเด็กจะช่วยได้ แม้ว่าร่างกายของท่านในยามนั้นจะเจ็บป่วยบ่อยครั้ง เพราะเป็นคนที่มีร่างกายไม่ค่อยแข็งแรง เนื่องจากน้ำนมของโยมมารดาของท่านไม่มีพอให้ท่านดื่ม แต่การประกอบสัมมาอาชีพท่านเล่าว่าท่านไม่เคยท้อ จนถึงปัจจุบันร่างกายของท่านก็ไม่ค่อยแข็งแรง กระทั่งปี ๒๔๙๒ พระอาจารย์ศรีอารย์ เป็นคนบ้านหนองเป็ดได้ไปจำพรรษาอยู่กับ พระอาจารย์ผั่น วัดนาหัวช้าง หรือ วัดป่าอุดมสมพร ในปัจุบัน ได้มารักษาตัวโรคนิ่วที่จังหวัดอุบลราชธานี แล้วมาเยี่ยมโยมทั้งสองที่บ้านหนองเป็ด โดยพักที่ วัดบ้านหนองค้อ ซึ่งบ้านหนองค้อกับบ้านหนองเป็ดนั้นอยู่ห่างกันคนละฝั่งคลอง
    ในยุคนั้นหลวงปู่ประสาร ท่านออกจากโรงเรียนแล้วช่วยพ่อ-แม่ทำไร่ทำนา เมื่อเสร็จงานไร่งานนาแล้วว่างงานก็วิ่งเล่นตามประสาเด็กชนบทที่ว่างงาน พระอาจารย์ศรีอารย์เมื่อเห็นหลวงปู่ประสารย่างเล่นตามประสาคนชนบท จึงถามท่านด้วยความเมตตาว่า “มึงอยากบวชบ่”


    ท่านจึงตอบว่า “ก็อยากบวชอยู่แล้วล่ะขอรับพระอาจารย์”

    ท่านจึงพูดว่า “ให้บอกพ่อ-แม่เสียก่อน ท่านจะบวชให้”

    เมื่อนำเรื่องไปปรึกษาครอบครัว พ่อ-แม่บอกว่า “มึงจะบวชได้บ่ พระกรรมฐานฉันข้าวมื้อเดียว”

    หลวงปู่ประสารในขณะนั้นจึงตอบพ่อ-แม่กลับไปว่า “ฉันก็เป็นคนเหมือนพระท่านนั่นแหละ เมื่อท่านอดได้ฉันก็ต้องทำได้”

    เมื่อไปบอกขออนุญาตจากทางบ้านแล้วก็ไปพบพระอาจารย์ศรีอารย์ ท่านจึงให้โกนหัวบวชขาว (ประมาณว่าให้ถือศีล ๘ นั่นแหละ ผู้เขียน) ในต้นปี ๒๔๙๒ ที่วัดโนนค้อ ซึ่งขณะนั้นเป็นวัดที่พักของพระสายกรรมฐาน ไม่มีพระอยู่ประจำ พระกรรมฐานผ่านมาพักแล้วก็จากไปเป็นอยู่เช่นนั้น พอบวชได้ไม่กี่วันกลาง ๆ เดือนมกราคมของปีนั้นเดินทางจากจังหวัดยโสธรไปวัดป่าอุดมสมพรของพระอาจารย์ผั่นที่จังหวัดสกลนคร

    บรรพชาอุปสมบท
    จนถึงเดือนพฤษภาคม ๒๔๙๒ ได้บวชเป็นสามเณรที่ วัดสว่าง โดยมี
    เจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ให้การบรรพชา เมื่อบวชแล้วก็จำพรรษาอยู่ที่วัดป่าอุดมสมพร ซึ่งในขณะนั้น พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ท่านเป็นพระหนุ่มยังจาริกธุดงค์อยู่ที่ภาคเหนือแถวจังหวัดลำปาง และจำพรรษาอยู่ที่ถ้ำพระสบาย และในพรรษานั้นข่าวว่าพระอาจารย์มั่นท่านอาพาธ สามเณรประสารในสมัยนั้นก็เดินทางไปเยี่ยมพระอาจารย์มั่น โดยพระอาจารย์ศรีอารย์ได้นำพระ-เณรไปเยี่ยมพระอาจารย์มั่นที่วัดป่าบ้านหนองผือ โดยไปพักที่ศาลา แม้ว่าจะมีพระ-เณรไปไม่ต่ำกว่า ๕๐-๖๐ รูป แต่ไม่มีเสียงดังหรือเสียงกระแอมไอให้ยินเลย การเดินของพระครูบาอาจารย์ต่าง ๆ นั้นหรือก็อยู่ในอาการสำรวมระวัง แม้จะออกเดินไปที่ใดก็สำรวมระวังอินทรีย์ บริเวณวัดนั้นก็ปัดกวาดสะอาดสะอ้าน จนค่ำพระอาจารย์มั่นก็ออกมาพบศิษย์และเทศนาอบรมพระ-เณรเสร็จ สามเณรประสารในขณะนั้นก็มีโอกาสสดับพระธรรมเทศนาจากพระอาจารย์มั่นเป็นครั้งแรก

    เมื่อจบการเทศน์ฯ ท่านกลับไปพักที่ศาลา ท่านเล่าว่า พยายามไม่ให้เกิดเสียงดัง แม้แต่การวางกระโถนท่านก็กลัวจะเกิดเสียงดัง ต้องเอามือรองก้นกระโถนแล้วค่อย ๆ วางลง แต่พอตกกลางคืนจิตใจเป็นลิงเป็นค่าง ยังมีความคิดวอกแวก จึงพยายามรักษาใจไว้ให้มั่นคง เพราะกลัวว่าจิตนั้นจะฟุ้งซ่านคิดออกนอกลู่นอกทาง จึงนั่งภาวนาจนจิตแตกเหงื่อไหลโทรมกายท่าน ด้วยอานุภาพหรือบารมีความกลัวในพระอาจารย์มั่นเพราะเชื่อกันว่าจิตของพระอาจารย์มั่นนั้นท่านสามารถรู้วาระจิตผู้อื่น และอีกอย่างเพราะอยู่ในรัศมีของท่าน กลัวว่าท่านพระอาจารย์มั่นจะรู้ความคิดที่จิตเกิดวอกแวกเนื่องจากอยู่ในบริเวณของท่าน เพราะบุญบารมีของท่านแก่กล้า จึงไม่ได้หลับไม่ได้นอน เพราะจิตใจไม่ยอมหลับยอมนอน คุมจิตรักษาใจไม่ให้ฟุ้งซ่าน ซึ่งถือว่าเป็นประสบการณ์ในชีวิตที่ได้บวชมาได้ฟังเทศน์ฟังธรรมขณะนั้น แม้หลวงปู่มั่นจะอาพาธแต่ยังพอเดินได้ออกมารับบิณฑบาตภายในวัด ในขณะนั้นพระอาจารย์มั่นท่านบวชได้ ๖๐ พรรษาพอดี

    จนถึงเดือนพฤศจิกายน ท่านพระอาจารย์มั่นอาพาธหนัก บรรดาลูกศิษย์จึงนำท่านลงมาอยู่ที่วัดโนนโค่ ในขณะนั้น พระอาจารย์กู่ เป็นเจ้าอาวาส เมื่อชาวบ้านได้ข่าวว่าพระอาจารย์มั่นลงมาพักที่วัดโนนโค่ ผู้คนหลั่งไหลมากราบท่านจำนวนมาก แต่ว่าไม่มีเสียงอึกทึก แม้เสียงไอเสียงจาม ในเดือนพฤศจิกายนนั้นเห็นว่าอาการอาพาธของท่านพระอาจารย์มั่นไม่ดีขึ้น จึงเอารถมารับไปที่วัดป่าสุทธาวาสซึ่งยังไม่เจริญ ด้านใต้ของวัดยังเป็นป่ารกทึบอยู่ และได้มรณภาพลงในเดือนพฤศจิกายนนั่นเอง

    หลวงปู่ประสาร สุมโน ผู้มากด้วยเมตตา เย็นกายเย็นใจเป็นปกติ บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อปีพ.ศ.๒๔๙๒ ที่วัดป่าสว่าง อำเภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร และปีพ.ศ.๒๔๙๔ เข้ารับการอุปสมบทที่วัดโพธิสมภรณ์ จังหวัดอุดรธานี โดยมีท่านเจ้าพระคุณธรรมเจดีย์ เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับฉายานามว่า “สุมโน” โดยหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ เมตตาเป็นเจ้าภาพอุปสมบทให้ ในปีพ.ศ.๒๔๙๖ และได้ออกธุดงค์ติดตามหลวงปู่ผั่น ปาเรสโก ไปทางภาคใต้ร่วมกับกองทัพธรรมหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
    เจดีย์พุทธเมตตามหามงคล
    พระครูสุมนสารคุณ (หลวงปู่ประสาร สุมโน) พร้อมศิษยานุศิษย์ของหลวงปู่ผั่น ปาเรสโก และกัลยาณมิตรทั้งหลาย ต่างมีจิตหวนรำลึกถึงปฏิปทาจริยาสัมมาปฏิบัติของหลวงปู่ผั่น ปาเรสโก ซึ่งเป็นศิษย์สายพระกรรมฐานที่สำคัญยิ่งรูปหนึ่งของ
    หลวงปู่มั่น ภูริทฺตโต จึงมีเจตนารมณ์ร่วมกันหาทุนจัดสร้าง “เจดีย์พุทธเมตตามหามงคล (ผั่น ปาเรสโก) ” เพื่อเป็นการรำลึกถึงท่านผู้เป็นพุทธสาวกที่สำคัญ ด้วยงบประมาณ ๒๐ ล้านบาทในเบื้องต้น

    0-b8-b1-e0-b9-88-e0-b8-99-e0-b8-9b-e0-b8-b2-e0-b9-80-e0-b8-a3-e0-b8-aa-e0-b9-82-e0-b8-81-jpg-jpg.jpg
    เจดีย์พุทธเมตตามหามงคล (ผั่น ปาเรสโก)
    0-b8-b1-e0-b9-88-e0-b8-99-e0-b8-9b-e0-b8-b2-e0-b9-80-e0-b8-a3-e0-b8-aa-e0-b9-82-e0-b8-81-jpg-jpg.jpg
    หลวงปู่ผั่น ปาเรสโก
    เพื่อเป็นที่ประดิษฐาน “พระบรมสารีริกธาตุ” ที่ได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระสังฆราช เมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๑ และอัฐิธาตุตลอดจนอัฎฐบริขารของหลวงปู่ผั่น ปาเรสโก”

    เพื่อเป็นที่ประดิษฐาน “พระบรมสารีริกธาตุ” ที่ได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระสังฆราช ประเทศศรีลังกา ที่จะได้รับในอนาคต
    เพื่อเฉลิมพระเกียรติถวายเป็นพระราชกุศล แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ในวโรกาสที่พระองค์ทรงฉลองศิริราชสมบัติครบ ๖ รอบ และทรงเจริญพรรษาครบ ๘๐ พรรษา


    เพื่อเป็นอามิสบูชา ปฏิบัติบูชา และเป็นอนุสรณ์สถาน แสดงความกตัญญูกตเวทีต่อท่านซึ่งเป็นผู้ทรงธรรม ทรงวินัย และมั่นคงในหลักพระธรรมคำสั่งสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสมอมาจนตลอดชีวิต เพื่อเป็นสถานที่สำหรับปฏิบัติธรรมะภาวนา ตามแนวทางหลักพระธรรมคำสั่งสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า sam_9144-jpg.jpg sam_9143-jpg.jpg sam_9103-jpg-jpg.jpg sam_9104-jpg-jpg.jpg sam_7644-jpg-jpg.jpg
     
  2. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 774 เหรียญกลมกษาปณ์รุ่นธรรมอบรมจิต ธรรมรักษาใจหลวงปู่อุดม ญาณรโต พระอรหันต์เจ้าวัดป่าสถิตย์ธรรมาราม อ.พรเจริญ จ.บึงกาฬ หลวงปู่เป็นศิษย์หลวงปู่เเหวน สุจิณโณ วัดดอยเเม่ปั๊ง,หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม เป็นต้น เหรียญสร้างปี 2556 เหรียญเนื้ออัลปาก้า สร้างเนื่องหลวงปู่อุดมมีอายุครบ 88 ปี มาพร้อมตลับเดิม(เหรียญใหม่ไม่เคยใช้ **********บูชาที่ 235 บาทฟรีส่งems*** ชีวประวัติหลวงปู่อุดม ญาณรโต
    วัดป่าสถิตย์ธรรมวนาราม อ.พรเจริญ จ.หนองคาย
    ชาติภูมิ
    หลวงปู่อุดม ญาณรโต ท่านเกิดในตระกูลชาวนา บิดาและมารดาท่านเป็นชาวนา ที่บ้านดงเฒ่าเก่า ต.นาแก อ.นาแก จ.นครพนม อยู่ในสกุล เชื้อขาวพิมพ์ รูปร่างสันทัด สีผิวดำแดง โดยมีโยมบิดาชื่อ นายแว่น เชื้อขาวพิมพ์ และมารดาชื่อนางบับ เชื้อขาวพิมพ์ และมีพี่น้องร่วมสายเลือดทั้งหมด 4 คน รวมหลวงปู่
    ชีวิตในสมัยเด็ก ท่านก็เหมือนเด็กชาวนาทั่วไปบิดามารดาทำนา ท่านก็ไปช่วยทำนา ท่านชอบในเพศบรรพชิตมาก ท่านเห็นพระภิกษุสงฆ์เดินผ่านมาท่านเกิดความเลื่อมใสขึ้นมาเองตั้งแต่วัยเด็ก นี่ก็เนื่องมาจาก โยมบิดามารดาของท่านได้พาปฏิบัติศาสนกิจต่อพ่อแม่ครูอาจารย์ในพุทธศาสนา เช่น ครูบาอาจารย์ในสมัยท่านพระอาจารย์มั่น บิดามารดาท่านมักพาไปปฏิบัติศาสนกิจมาโดยตลอด เช่น หลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม วัดป่าสาลวัน หลวงปู่มหาปิ่น ซึ่งเป็นน้องชายของหลวงปู่สิงห์ เป็นต้น ท่านเล่าต่อว่าโยมบิดาท่านเคยได้บวชเณรอยู่ และสึกออกมามีครอบครัว ส่วนมารดาของท่านก็เข้าวัดทำบุญอยู่เป็นปกตินิสัย จึงทำให้ท่านมีความสนิทสนมและใกล้ชิดกับพระพุทธศาสนามาโดยตลอดนั่นเอง
    *****บรรพชา
    เนื่องจากในวัยเด็ก ท่านเห็นพระภิกษุสงฆ์แล้ว เกิดความปีติเลื่อมใสในสมณะสงฆ์ (มีความสุขเมื่อได้เห็นพระสงฆ์) ท่านคงมีความคิดที่อยากออกบวชอยู่ภายในใจมาโดยตลอด จากนั้นเมื่อท่านเริ่มโตเป็นหนุ่มท่านเคยได้อ่านหนังสือสวดมนต์และปฏิบัติ สมาธิภาวนา ของหลวงปู่สิงห์ ขัตยาคโม และพระอาจารย์มหาปิ่น ซึ่งทำให้ท่านจับจิตจับใจ มีจิตใจเข็มแข็งเด็ดเดี่ยว และมั่นใจในการที่จะได้บวชถือคลองเพศสมณะ ท่านได้ช่วยบิดามารดาทำนา หาปูหาปลาตามประสาชาวโลก ท่านเล่าว่าปูปลาสมัยก่อนหาง่ายมาก ตัวก็ใหญ่โตทั้งนั้น ท่านเคยดำน้ำเพื่อหาปลา น้ำลึกมากๆหลายเมตรอยู่ ทำให้ท่านเลือดไหลออกมาจากหู (หูหนวก) ท่านมีอาการหูหนวกอยู่แรมเดื่อนกว่าจะหายเหมือนเดิม ท่านบอกว่าชีวิตฆราวาสนั้นเป็นทุกข์ ต้องทำบาป สร้างกรรมเวรอยู่โดยตลอด จนในที่สุดเมื่อท่านมีอายุครบ ๒๓ ปี ท่านจึงได้ขอบิดามารดาของท่าน เข้าบรรพชาอุปสมบท ในปี พ.ศ. ๒๔๙๒ ซึ่งเป็นปีที่หลวงปู่มัน ภูริทัตโต วัดป่าสุทธาวาส มรณะภาพนั่นเอง โดยมีพระอุปัชฌาย์คือ พระครูอรุณสังฆกิจ (มหาเถื่อน อุชุกโร) วัดกุดเรือคำ ต.กุดเรือคำ อ. วานรนิวาส จ. สกลนคร และพระครูพิพิธธรรมสุนทร (พระคำฟอง เขมจาโร) วัดสำราญนิวาส อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และได้ฉายาทางภิกษุว่า ญาณรโต (ซึ่งแปลว่าผู้ทรงไว้ซึ้งญาณ) และในปีนั้นนั่นเอง ท่านได้เดินทางไปร่วมพิธีเผาศพหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต วัดป่าสุทธาวาส จ.สกลนคร พร้อมทั้งพระอุปัชฌาย์ และพระกรรมวาจาจารย์ของท่านทั้งสองด้วย ท่านบอกว่างานศพหลวงปู่มั่นใหญ่โตมาก มีพระกรรมฐานมากมายเต็มไปหมด โดยสมัยก่อนวัดป่าสุทธาวาสยังคงมีสภาพเป็นป่าดงพงไพรอยู่ มีต้นไม้ใหญ่มากมายไม่เหมือนสมัยปัจจุบันที่เต็มไปด้วยหมู่บ้านเต็มไปหมด
    พรรษาที่1-2 (พ.ศ.2492-2493)
    ท่านอยู่กับพระอุปัชฌาย์ ที่วัดกุดเรือคำ ต.กุดเรือคำ อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร
    พรรษาที่3-5(พ.ศ.2494-2497)
    ท่านเดินธุดงค์ไปในที่ต่างๆและกลับมา อยู่ที่วัดภูข้าวหลวง อ.สหัสขัน จ.กาฬสินธุ์
    พรรษา ที่7-15(พ.ศ.2498-2506)
    วัดบ้านนาโสก อ.นาแก ต.บ้านแก้ง จ.นครพนม ซึ่งเป็นบ้านญาติของท่านและเป็นบ้านเกิดของท่านเองต่อจากนั้นท่านได้ไปพักอาศัยอยู่กับหลวงปู่ลี ฐิตธัมโม ตอนนั้นหลวงปู่ลี ท่านอยู่วัดศรีชมพู ต.โคกสี
    อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
    พรรษาที่ 20 (พ.ศ.2507-2515)
    ท่านธุดงค์ไปอยู่ทางภาคเหนือบ้าง เช่น สุโขทัย แพร่ น่าน ลำปาง อุตรดิตถ์ พิจิตร เพชรบูรณ์ เชียงใหม่ เลื่อยมา โดยท่านได้ไปพบกับ หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง หลวงปูตื้อ อจลธัมโม วัดป่าอาจารย์ตื้อ จ.เชียงใหม่ หลวงปู่สิม พุทธาจาโร สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง จ.เชียงใหม่ หลวงปู่แว่น ธนปาโล วัดถ้ำพระสบาย จ.ลำปาง หลวงปู่หลวง กตปุญโญ วัดคีรีสุบรรพต ต.พระบาท จ.ลำปาง โดย
    ช่วงระยะเวลาที่ธุดงค์ในแถบภาคเหนือ ตั้งแต่จังหวัดเพชรบูรณ์นั้น ท่านมีสหธรรมมิกที่ร่วมเดินทางไป
    ด้วยกัน คือ หลวงพ่อไพบูลย์ สุมังคโล วัดอนาลโย จ.พะเยา และหลังจากที่ท่านไปธุดงค์ที่เชียงใหม่
    กลับมาท่านจึงได้มาอยู่ที่วัดป่า สถิตย์ธรรมวนาราม ต.ศรีชมภู อ.พรเจริญ จ.หนองคาย จนกาละสมัย
    ปัจจุบันนี้ (นี้เป็นเพียงประวัติย่อๆเท่านั้น)
    ครูบาอาจารย์ที่หลวง ปู่ได้ไปพำนักอาศัย และฟังธรรม
    ครูบาอาจารย์เท่าที่หลวงปู่จำได้และเล่าให้ฟังมานั้น ในอดีตที่ผ่านมาแล้วทั้งหลาย ในบางคราวท่านก็ลืมไปบ้าง ซึ่งอาจจะไม่ละเอียดมากนัก เท่าที่ท่านพอจะจำได้นั้น มี ดังนี้
    1. หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
    2. หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม วัดป่าอาจารตื้อ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
    3. หลวงปู่สิม พุทธาจาโร สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
    4. หลวง ปู่แว่น ธนปาโล วัดถ้ำพระสบาย จ.เชียงใหม่
    5. หลวงปู่สาม อกิญจโน วัดป่าไตรวิเวก สุรินทร์
    5. หลวงปู่ลี ฐิตธัมโม วัดเหวลึก ต.โคกสี อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
    6. เจ้า คุณแดง วัดป่าประชานิยม ต.ในเมือง อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์
    7. หลวงปู่เอี่ยม วัดภูข้าวหลวง อ.สหัสขัน จ.กาฬสินธุ์
    ******การ เดินธุดงค์
    ท่านเล่าว่าตั้งแต่โยมบิดาของท่านเสีย ชีวิตด้วยโรคชรา ตอนอายุ ได้ 73 ปี ก่อนท่านออกเดินธุดงค์ และมารดาท่านก็เสียชีวิตด้วยโรคชราเช่นกัน เมื่อตอนอายุได้ 79 ปี หลังจากที่ท่านธุดงค์กลับมาจากจ.เชียงใหม่ ท่านเล่าว่าตอนที่ท่านได้ไปพำนักอยู่ เพื่อฟังธรรมกับหลวงปู่แหวน สุจิณโณ ที่วัดดอยแม่ปั๋งนั้น ท่านเกิดความประทับใจมาก ท่านเล่าว่าหลวงปู่แหวนท่านเทศแบบง่ายๆ สั้นๆ แต่มีคุณภาพมากๆ คำพูดของท่านลึกซึ้งกว้างขวางมากนัก น่าเลื่อมใสมากๆ ซึ่งในเวลานั้นหลวงปู่ลี วัดเหวลึก ท่านก็ได้ไปร่วมฟังธรรมกับหลวงปู่แหวน กับท่านด้วย ท่านอยู่ฟังธรรมกัน ประมาณ๒-๓ คืน
    จากนั้นท่านได้เดินทางไปจังหวัดลำปาง และเพชรบูรณ์ โดยเดินเท้าไป บางทีฆราวาสเห็นก็อาสาพาไปส่งเป็นบ้าง ท่านใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 เดือนเศษ โดยท่านเดินทางผ่านจังหวัด สุโขทัย แพร่ น่าน ลำปาง อุตรดิถต์ พิจิตร และเพชรบูรณ์ และใช้เวลาเดินทางจากเพชรบูรณ์ไปเชียงใหม่ ใช้เวลาเดินทางประมาณอีก 2 เดือน ท่านเล่าว่าตอนเดินทางผ่าน จ.สุโขทัย ได้พบฆราวาสที่กินเจ มักใส่ขนมปัง และน้ำตาลอ้อย โดยบางครั้งเขาจะนำขนมกับข้าวสุกใส่ให้เต็มบาตรเลย ไม่มีกับข้าวคาวเลย ท่านฉันทีแรกๆก็อร่อยดี แต่หลายวันเข้ามันชักไม่อร่อย โดยในตอนนั้นท่านได้เดินเท้าธุดงค์ร่วมกับพระอาจารย์ไพบูรณ์ สุมังคโล วัดอนาลโย จ.พะเยา ซึ่งท่านทั้งสอง สนิทสนมมักคุ้นกันอยู่
    ******การปฏิบัติธรรม
    โดยปกติหลวงปู่อุดมท่านชอบเดินจงกรม และนั่งสมาธิภาวนาเพื่อปฏิบัติทางจิตของท่านอยู่โดยตลอด ท่านบอกว่าถ้าวันไหนไม่ได้เดินจงกรมแล้วหล่ะก็ เดือดร้อนไม่ได้เลยนะ จิตจะเศร้าหมองทันที สมัยที่ท่านอยู่ที่เชียงใหม่ ท่านปฏิบัติธรรมอยู่นั้น จิตของท่านเกิดความสว่าง มีความสุขมาก จิตตกถึงฐานของจิต เข้าสู่พื้นเดิม ท่านเปรียบเหมือนการสักผ้า ถ้าผ้ามันลาย พื้นเดิมของจิตมันก็ลาย ถ้าผ้ามันดำ จิตพื้นเดิมมันก็ดำ (สำนวนของหลวงปู่อุดม) ท่านบอกว่ามันถึงฐานของมัน มีความสุขมากไม่มีอะไรจะมีความสุขเท่า มันมีความปีติอิ่มอกอิ่มใจมาก ท่านจึงเอาตรงนี้มาเป็นอารมณ์ และค้นหาเข้าไปในจิตต่อจนถึงที่สุดของใจ ท่านเล่าว่ามันมีปัญญามากมายหลายอย่างเกิดขึ้นมา ท่านบอกว่าท่านอดนอน อดอาหารเพื่อทำความเพียรภาวนา อยู่ ๕ วัน ๕ คืน ท่านบอกว่า อดนอนนี่ทุกข์ยิ่งกว่าอดอาหารอีก แต่เพราะว่ามีปีติอยู่ ท่านจึงสามารถทำได้ ภายหลังจาก ๕ วันผ่านไป จิตของท่าน ก็เบาสบายได้กำลังใจ และกำลังกายยังแข็งแรงดีอยู่ เวลาธรรมเกิดขึ้นมา ๑๐๐ % ท่านนั่งสมาธิไปได้จนถึงแจ้งเลย(เช้าเลย) การปฏิบัติของท่านในเวลา ๖ โมงเย็น จนถึง ๕ ทุ่ม ท่านมักจะเดินจงกรม และในเวลา ๕ ทุ่มขึ้นไป ท่านจะนั่งสมาธิภาวนาไปเรื่อยจนบางทีถึงสว่างก็มี ในคราวที่ใจของท่านรวมลงจนถึงสภาวะเดิมของจิต ท่านเล่าว่ามีความสุขมากๆ ธรรมะของพระพุทธเจ้าที่เกิดขึ้นนั้น เหมือนกับอยู่ตรงหน้า สามารถยื่นมือแทบจะจับได้ต่อหน้านี้เลยทีเดียว จิตมันไม่ท้อไม่ถอย กระจ่างหมดทุกอย่าง มันหาใจ แก้ใจตัวเองได้หมดทุกอย่าง ในเวลาฟังธรรมพ่อแม่ครูบาอาจารย์ เพียงนิดหน๋อยเท่านั้นจิตท่านก็สว่างโพรงเลย ท่านบอกว่าจิตท่านเห็นธรรมที่วัดป่าอาจารย์ตื้อ จ.เชียงใหม่ ซึ่งขณะนั้นท่านพำนักอาศัยอยู่กับ หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโมนั่นเอง ท่านยังเล่าต่ออีกว่า หลวงปู่ตื้อนั้น ท่านจะเป็นพระที่เทศตรงไปตรงมามาก จนในบางครั้งดูแล้วอาจจะไม่ไพเราะ แต่ท่านก็บอกว่า ผู้มีปัญญาก็ต้องเลือกฟังให้ถูกกับจิตของตนเอง อันไหนดีก็นำมาปฏิบัติให้ถูกกับจิตของตน ในยามที่ท่านเข้าไปนวดแขน นวดขาให้กับหลวงปู่ตื้อนั้น หลวงปู่ตื้อท่านจะเทศให้หลวงปู่อุดมฟัง หลวงปู่อุดมท่านเล่าว่าจับจิตจับใจมาก เลยทีเดียว ทำให้เกิดความเลื่อมใสในองค์ของหลวงปู่ตื้อมากมายยิ่งขึ้นเลยทีเดียว องค์หลวงปู่ตื้อนั้น ท่านขุดดิน ฟันต้นไม้ ต้นกล้วยได้ ซึ่งจริงๆแล้ว สำหรับพระต้องปรับเป็นอาบัติ ส่วนองค์หลวงปู่ตื้อนั้นท่านคงอยู่เหนือสมมุติไปแล้ว เพราะในคราหนึ่งหลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง ท่านห้ามหลวงปู่ตื้อไม่ให้ทำเช่นนี้ แต่หลวงปู่ตื้อกลับหันมากล่าวกับหลวงปู่แหวนว่า ไม่ต้องมาสอนหรอกน่า เราพ้นแล้ว(จิตท่านหลุดพ้นไปแล้วนั่นเอง) sam_7277-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg sam_7278-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg sam_3981-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg sam_2151-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg sam_2152-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg sam_2154-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg sam_2153-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg
     
  3. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 775
    เหรียญเสมารุ่นสุดท้ายรูปพระอาจารย์(หลวงปู่ผาง)เเละลูกศิษย์+เหรียญที่ระลึกงานวางเพลืงสรีระสังขารหลวงปู่ประไพ อัคคธัมโม พระอรหันต์เจ้าวัดป่าประไพศรีวนาราม อ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม หลวงปู่ประไพเป็นศิษย์หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร ,หลวงปู่ผาง วัดป่าอุดมคงคาคีรีเขต เหรียญสร้างปี 2555 เนื้อตะกั่วสร้างเนื่องหลวงปู่อายุครบ 87 ปี มาพร้อมพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคล ************บูชาที่ 210 บาทฟรีส่งems
    untitled-1-54-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg

    ท่านเป็นศิษย์สายธรรมพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร แห่งวัดป่าอุดมสมพร จ.สกลนคร นอกจากนี้ ท่านยังเป็นลูกศิษย์เอกหลวงปู่ผาง คุตตจิตโต พระเกจิชื่อดังแห่งวัดอุดมคงคาคีรีเขต อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น
    ชาติภูมิ นามเดิมมีชื่อว่า นายประไพ ไชยพันธุ์ เกิดเมื่อวันที่ 3 พ.ค.2468 ณ บ้านขามเตี้ยน้อย อ.ท่าอุเทน (ปัจจุบัน อ.โพนสวรรค์) มีบิดา-มารดาชื่อนายไสย ไชยพันธุ์ อดีตกำนัน ต.นาขมิ้นและนางสั้น แผ่นพรหม มีพี่น้อง 7 คน ซึ่งท่านเป็นบุตรคนที่ 2 จบชั้นประถมปีที่ 2 จากโรงเรียนในหมู่บ้าน มีอาชีพทำนาทำสวน
    หลวงปู่ประไพเข้าสู่ร่มกาวสาวภัสตร์ เมื่อปีพ.ศ.2492 ในวัย 24 ปี ก่อนจะญัตติเป็นพระธรรมยุต เมื่อวันที่ 31 ธ.ค.2495 ท่านเดินธุดงค์ที่ จ.ขอนแก่น นาน 3 ปี ก่อนฝากตัวเป็นลูกศิษย์หลวงปู่ผาง และออกเดินธุดงค์ไปเรื่อย กระทั่งสังขารย่างเข้าสู่วัยชรา จึงมาจำพรรษาที่วัดศรีประไพวนารามบ้านเกิด
    ท่านเป็นพระป่าปฏิบัติดีปฏิบัติชอบด้วยจริยาวัตรที่งดงาม เป็นที่น่าเลื่อมใสศรัทธาแก่สาธุชนทั่วไป จนมีลูกศิษย์ลูกหาที่แวะเวียนไปกราบไหว้ไม่เว้นวัน ช่วงที่ท่านอาพาธท่านงดรับกิจนิมนต์ ขณะที่ท่านอาพาธอยู่ที่วัดที่จำพรรษานานกว่า 2 ปี ท่านไม่เคยเข้ารักษาที่โรงพยาบาลแต่อย่างใด กระทั่งละสังขารเข้าอนุปาทิเสสนิพพานอย่างสงบที่กุฏิ สิริอายุ 92 ปี 64 พรรษา (*****ปัจจุบันสรีระสังขารหลวงปู่ยังไม่ฌาปนกิจ องค์หลวงปู่ได้สั่งลูกศิษย์ให้เก็บร่างบรรจุไว้ในโลงเเก้ว ใต้ห้องใต้ดินพิพิธภัณฑ์ ของหลวงปู่) sam_7760-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg sam_7761-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg sam_7762-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg sam_8938-jpg.jpg sam_8942-jpg.jpg sam_8941-jpg.jpg sam_8221-jpg-jpg-jpg.jpg

     
  4. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 776 เหรียญกลมไข่หล่อหลวงปู่เปลี่ยน ปัญญาปทีโป พระอรหันต์เจ้าวัดอรัญวิเวก (วัดบ้านปง) หลวงปู่เปลี่ยนเป็นศิษย์หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม,หลวงปู่เเหวน สุจิณโณ วัดดอยเเม่ปั๊ง เหรียญสร้างปี 2557 เนื้อทองเเดงรมดำมันปู สร้างเนื่องฉลองพระอุโบสถวัดบ้านโคกคอน เป็นวัดบ้านเกิดของหลวงปู่ครับ มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชา *************บูชาที่ 355 บาทฟรีส่งems
    "พระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป" อริยสงฆ์แห่งอรัญญวิเวก
    วันที่ 15 ก.พ. 2561 เวลา 21:45 น. วันละสังขารท่าน

    c79e6bbdaec5444caf97dfce1d7429e7-jpg-jpg.jpg

    ปีพ.ศ. 2470 ชาวบ้านปง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ได้ยินข่าวว่ามีพระกรรมฐานรูปหนึ่งจาริกมาพำนักอยู่ที่วัดไทยใหญ่ ในเขตอำเภอแห่งนั้น ชาวบ้านปงซึ่งเป็นผู้มีศรัทธาปสาทะในพุทธศาสนาเป็นทุนอยู่เดิมแล้ว จึงมอบให้ตัวแทน 9 คนไปนิมนต์พระภิกษุรูปนั้นมาโปรดชาวบ้านปง

    อาจารย์กรรมฐานรูปนั้นคือ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ บุรพาจารย์ของเหล่าพระป่าในยุคกึ่งพุทธกาล

    ในวันที่รับอาราธนานั้นเอง หลวงปู่มั่นก็เดินทางด้วยเท้า 6 กิโลเมตร กลับมากับผู้แทนชาวบ้านปงทั้ง 9 หลังพาท่านไปพักที่ป่าช้าได้ 3 วัน ก็พบที่สัปปายะเป็นเนินเขาเตี้ยๆ แห่งหนึ่ง ซึ่งมีซากฐานของพระวิหารอันเป็นเครื่องหมายบ่งว่า สถานที่แห่งนั้นเป็นวัดร้างมาก่อน จึงได้ปลูกที่พักให้ท่านได้พำนักอยู่ ณ สถานที่แห่งนั้น

    นับแต่นั้นมาศิษยานุศิษย์ของพระอาจารย์มั่นจากทั่วสารทิศก็หลั่งไหลมาสู่บ้านปง

    ในพรรษาแรกมี 5 รูป หมดพรรษานั้นพระอาจารย์มั่นได้ออกเที่ยวธุดงค์ต่อ แต่ก่อนจะออกเดินทาง ท่านได้เมตตาตั้งชื่อสถานที่แห่งนั้นให้ว่า “สำนักอรัญญวิเวก บ้านปง” ซึ่งต่อมาเรียกกันสั้นๆ ว่า “วัดบ้านปง”
    พระอาจารย์มั่นยังสั่งไว้ด้วยว่า “ขอให้คณะศรัทธาญาติโยม จงพากันรักษาปฏิบัติดูแลสำนักแห่งนี้ไว้ให้ดี ต่อไปในอนาคตข้างหน้า จะมีเจ้าของเขามาสร้างพัฒนาให้เจริญรุ่งเรือง เป็นสถานที่ปฏิบัติกรรมฐาน และเป็นสิริมงคลแก่บ้านเมืองในอนาคตภายภาคหน้าแก่ญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลายสืบไป”
    หลังพระอาจารย์มั่นจากไป ก็มีพระกรรมฐานธุดงค์หลายรูปผ่านมาพำนัก ณ สถานที่แห่งนี้ ไม่ว่า หลวงปู่ขาว อนาลโย หลวงปู่พรหม จิรปุญโญ หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม หลวงปู่ชอบ ฐานสโม หลวงปู่สาม อกิญจโน หลวงปู่แหวน สุจิณโณ ฯลฯ โดยเฉพาะหลวงปู่แหวนนั้นมาจำพรรษาอยู่ ณ ที่นี่ถึง 10 พรรษา แต่ก็ไม่มีรูปใดส่อแววว่า จะเป็นเจ้าของผู้มาสร้างพัฒนาให้เจริญรุ่งเรืองดังที่พระอาจารย์มั่นระบุไว้

    กระทั่งวันอาทิตย์ที่ 12 ก.พ. ปีพ.ศ. 2509 พระภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งก็มาถึง จากวันนั้นถึงวันนี้ ชื่อและนามของท่านก็ปรากฏเป็นที่เรียกขานคู่กันรู้จักกันทั่วไปว่า “พระอาจารย์เปลี่ยนวัดอรัญญวิเวก” หรือ “พระอาจารย์เปลี่ยนวัดบ้านปง”

    พระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป พระหนุ่มในพ.ศ.โน้น เป็นหลวงปู่เปลี่ยนแล้วในวันนี้ แต่ผู้ที่ได้พบมักจะกล่าวตรงกันว่า โดยรูปลักษณ์ที่เห็นนั้น ท่านไม่น่าจะมีอายุถึง 77 ปี

    พระอาจารย์เปลี่ยน เป็นคนบ้านโคกคอน ต.โคกสี อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร เกิดในสกุล วงษาจันทร์ เมื่อวันที่ 16 พ.ย. ปีพ.ศ. 2476 บิดามารดาประกอบอาชีพค้าขาย ตาและยายซึ่งเป็นผู้เลี้ยงดูเป็นกำนัน ท่านเป็นผู้ฝักใฝ่ในเรื่องศาสนามาตั้งแต่เล็กแต่น้อย อาจเพราะพื้นเพวาสนา มาแต่เก่าก่อนนั้นประการหนึ่ง การได้คลุกคลีกับพระสงฆ์มาแต่วัยเยาว์นั้นก็อีกส่วนหนึ่ง แต่ถึงจะเอ่ยปากขอบวชมาตั้งแต่อายุ 12 ปี จนกระทั่ง 20 ปี มารดาก็ไม่อนุญาต

    กระทั่งบิดาเสียชีวิตในปีพ.ศ. 2497 และอีก 5 ปีถัดมาลุงก็เสียชีวิตตามไป เมื่อสบโอกาสว่าจะขอบวชแทนพระคุณท่านทั้งสอง ทั้งตาและแม่เลยอนุญาตให้บวช 7 วัน แต่ 7 วันนั้นก็เป็นแต่เพียงกำหนดที่ไม่เป็นจริง

    พระอาจารย์เปลี่ยน อุปสมบทที่วัดพระธาตุมีชัย บ้านโคกคอน ต.โคกสี อ.สว่างแดนดิน เมื่อวันที่ 31 มี.ค. ปีพ.ศ. 2502 โดยมีพระครูอดุลยย์สังฆกิจเป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูพิพิธธรรมสุนทร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ โดยปฏิญาณต่อพระปฏิมากรว่า “การทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน เป็นหน้าที่ของพระทุกรูปที่ได้มาบวชในศาสนา”

    บวชครบ 7 วัน พอโยมแม่มาขอให้สึกก็ขอผลัดเป็นให้รอออกพรรษาไป 21 วัน คำปฏิญาณตอนบวชได้ย้อนมาเตือนใจอีกครั้งหนึ่ง เป็นเหตุให้ลงมือทำทางจงกรมเพื่อเจริญภาวนา และเพียงเดินจงกรมไป 2 ชั่วโมงและนั่งภาวนาอีก 3 ชั่วโมงในวันแรกของการจงกรม

    หลังนั่งลงโดยตั้งสัจจะว่า “ถ้ายุงตัวใดจะดูดกินเลือด ก็จะถือเป็นพระพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา เพื่อปฏิบัติธรรมตามคำสอนของพระพุทธเจ้า แม้จะต้องเป็นไข้มาลาเรียตายก็ยอม เพราะรุ่งขึ้นเช้าไปบิณฑบาตมาฉันแล้วก็เปลี่ยนเป็นเลือดได้”

    ท่านว่า หลังปล่อยวางจิตเข้าสู่สมาธิแล้ว ก็หายไปหมดทั้งร่าง แล้วความสงบครั้งแรกในชีวิตก็บังเกิดขึ้นและดำเนินไปกระทั่ง 3 ชั่วโมงเศษ ถึงรู้สึกตัว

    พระอาจารย์เปลี่ยนจำพรรษาแรกอยู่กับพระอาจารย์สุภาพ ธัมมปัญโญ และพระอาจารย์สุภาพนี่เองที่นำไปพบ หลวงปู่พรหม จิรปุญโญ พระอรหันต์แห่งวัดบ้านดงเย็น หรือวัดประสิทธิธรรม บ้านดงเย็น อ.บ้านดุง จ.อุดรธานี

    วันแรกที่ได้ไปกราบคารวะทำวัตรกับหลวงปู่พรหม หลวงปู่ได้เทศน์ให้ฟัง พอกลับมาภาวนาและเข้าที่ด้วยท่าสีหไสยาสน์ พอนึกไปถึงเทศนานั้นจิตก็ลงสู่ความสงบ ปรากฏว่า ตัวท่านไปนั่งอยู่หน้าหลวงปู่พรหมที่วัดบ้านดงเย็น แล้วหลวงปู่พรหมจึงเทศน์ให้ฟังเรื่องอริยสัจ 4 แล้วเร่งให้ปฏิบัติให้มาก

    หลังจากนั้นหลวงปู่พรหมจะมาชี้แนะวิธีการภาวนาให้ในสมาธิอย่างน้อยเดือนละ 2 หน

    พอออกพรรษาวันแรก โยมมารดาก็มาถามเรื่องสึกอีก หนนี้ท่านผลัดว่า ขอรับกฐินก่อน พอรับกฐินท่านออกธุดงค์ไปองค์เดียว จนพบหมู่คณะ พากันออกไปตามหาท่านพระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ

    ท่านอาจารย์จวนชี้แนะว่า “ต้องเปลี่ยนสมมติให้รู้ ข้ามสมมติให้ได้”

    จากท่านอาจารย์จวน ตัดลงใต้ไปถึงภูเก็ตเพื่อไปศึกษากับหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ระหว่างนั้นหลวงปู่พรหมก็ยังมาสอนในสมาธิอยู่เสมอๆ

    ขณะนั้นการดำเนินจิตของท่านมาถึงจุดที่นั่งภาวนาแล้วจิตดิ่งลึกไปโดยไม่รู้ว่า จิตอยู่ที่ไหน ทุกอย่างดับจนไม่ได้ยินเสียงอะไรทั้งสิ้น แต่เกิดปีติมากจนไม่อยากฉันอาหาร

    หลวงปู่เทสก์แก้ปัญหาให้ว่า “อาการเช่นนี้เรียกว่า นิพพานพรหม จิตดับกระทั่งไม่ได้ยินเสียง ไม่รับรู้อะไรจากภายนอก จิตลงไปสู่ส่วนลึกที่สุดเป็นอัปปนาฌาน เรียกว่า พรหมลูกฟัก เป็นพรหมชั้นสูง ถ้าไม่แก้ไขผู้นั้นจะคิดว่าตนได้พบพระนิพพาน จะไปไหนไม่รอด...”

    ท่านว่า ครั้งหนึ่งเมื่อหลวงปู่ขาวติดตามหลวงปู่มั่นไปยังภาคเหนือ หลวงปู่ขาวนั่งภาวนารวดเดียวตั้งแต่ 6 โมงเย็นไปถึง 6 โมงเช้า ที่สำนักสงฆ์อรัญญวิเวก น้ำค้างจับร่างหลวงปู่ขาวจนเปียกชุ่ม พอหลวงขาวออกจากสมาธิไม่รู้ว่า จิตไปอยู่ที่ไหน เลยไปเรียนถามหลวงปู่ใน

    หนนั้นหลวงปู่มั่นชี้แนะเพียงนิดเดียวว่า ให้ตั้งต้นใหม่ ติดตามดูจิตตั้งแต่เริ่มต้น เข้าสมาธิ ใช้สติปัญญาตามดูจิตให้ดีว่า วางอารมณ์อะไรจึงดับเสียงไปหมด ให้ดูว่าจิตไปอยู่ที่ไหน ต้องตามให้รู้

    พระอาจารย์เปลี่ยนก็ใช้กลวิธีเดียวกันนั้นแก้หลุมพรางของจิตที่ประสบอยู่


    95a34488988f4bb08d5642d2470075de_1000-jpg-jpg.jpg
    ขึ้นมาจากภูเก็ต ท่านไปกราบคาราวะรับการชี้แนะจากหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ หลวงปู่ขาว ฯลฯ และหลวงปู่ขาวก็ย้ำว่าให้แก้ด้วยวิธีการเช่นว่า

    การเบนเข็มจากภาคอีสานมาสู่ภาคเหนือเกิดขึ้นหลังพรรษาที่ 4 เมื่อได้ยินข่าวว่า หลวงปู่ตื้อเทศน์เก่ง หลวงปู่แหวนไม่เทศน์ แต่เป็นนักปฏิบัติ การมุ่งขึ้นเหนือคราวนี้ ทำให้ได้พบและอยู่ศึกษากับ หลวงปู่สิม พุทธาจาโร แล้วไปอยู่กับหลวงปู่ตื้อ หลวงปู่แหวนดังใจหมาย

    ท่านว่า หลวงปู่ตื้อนั้นมีความสามารถในการสอนธรรมะและไขปัญหาต่างๆ ให้ได้พบความกระจ่างแจ้งอย่างที่ร่ำลือ

    ค่ำบีบนวดถวาย ระหว่างนั้นหลวงปู่ตื้อจะเทศน์ ทั้งสอนทั้งแก้ไขปัญหาที่สงสัย เที่ยงคืนออกมาปฏิบัติถึง 02.00 น. ถึงพักนอนแค่ 2 ชั่วโมง 04.00 น. ตื่นทำวัตร หลวงปู่ตื้อสอนทุกอย่าง รวมทั้งฝึกให้ท่าใช้อนาคตังสญาณคือ แรกๆ จะบอกล่วงหน้าว่า ใครจะมาหา ถึงเวลาก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ เมื่อท่านฝึกตามที่ได้รับการชี้แนะ พระอาจารย์เปลี่ยนก็ได้ญาณนั้นเช่นกันคือ รู้ก่อนล่วงหน้าว่า ใครจะมาหา มากี่คน ใส่เสื้อสีอะไร

    ออกจากหลวงปู่ตื้อ ก็ไปพำนักกับหลวงปู่แหวน

    ในพรรษาที่ 6 ท่านควบคุมจิตได้

    กลวิธีที่ท่านใช้ คือ ทำความเพียรทั้ง 4 อิริยาบถ พอเมื่อยล้าเมื่อไหร่ก็หันไปอ่านหนังสือวิสุทธิมรรค

    ท่านว่า “การดูเข้าไปในจิตเรื่อยๆ มันจะเริ่มวางเสียงลงได้ เสียงจะเบาลงๆ จนกระทั่งดับนิ่ง จึงรู้ว่าจิตเราวางเสียงดังนี้นี่เอง เมื่ออยู่นิ่งๆ นานเข้า ใช้สติปัญญาเข้าไปครองจิตให้นิ่ง มันก็จะสงบลงไปหมด ว่างไปเหมือนไม่มีตัว ไม่มีกาย ว่างอยู่เฉยๆ มันนิ่งสบาย จึงรู้ว่าจิตมาอยู่นี่เอง ร่างกายก็เหมือนไม่มี อยู่ว่างๆ สบาย คอยดูจิตอยู่ มันเหมือนไม่มีใครอยู่ด้วย เหมือนจำพรรษาอยู่คนเดียว การดูจิตของเราไปตลอดเวลา ทำให้หนังสือที่เคยท่องมา เช่น วิสุทธิมรรคที่อ่านอยู่ เกิดตัวรู้ขึ้นมาทันทีตั้งแต่ต้นจนจบ ตั้งแต่บรรทัดแรกจนบรรทัดสุดท้าย เหมือนกับอ่านบาลีและรู้ทั้งหมดในทันทีนั้นเอง”

    พระอาจารย์เปลี่ยนเจริญในธรรมมาตามลำดับ โดยได้รับการชี้แนะจากพ่อแม่ครูอาจารย์หลายรูป ไม่ว่า หลวงปู่แหวน หลวงปู่ตื้อ หลวงปู่ขาว หลวงปู่เทสก์ หลวงปู่สิม หลวงปู่พรหม หลวงปู่ดูลย์ อตุโล หลวงปู่สาม อกิญจโน อาจารย์บัวพา ปัญญาภาโส หลวงปู่อ่อน หลวงปู่ฝั้น อาจาโร หลวงปู่ผาง จิตตคุตโต ฯลฯ

    หลายรูปที่สอนการภาวนาให้ทั้งมาโดยในนิมิตและการได้พบกันเป็นๆ ในจังหวะต่างๆ

    หลวงปู่แหวนนั้นบอกว่า “เอามันให้ได้ มรรค ผล นิพพาน มันยังมีอยู่ ไม่ได้ไปไหน ...”
    ทุกวันนี้พระอาจารย์เปลี่ยนยังโปรดญาติโยมทั้งใกล้และไกล นอกจากจะพัฒนาวัดป่าอรัญญวิเวกให้เจริญก้าวหน้าดังที่พระอาจารย์มั่นได้กล่าวไว้ล่วงหน้าแล้ว ท่านยังเผยแผ่ธรรมะไปในที่ต่างๆ ทั่วโลกอีกทางหนึ่งด้วย ท่านเทศนาได้หลายภาษา ภาษาเวียดนาม ภาษาอังกฤษ ฯลฯ

    กับผู้อยู่ในโลกตะวันตกนั้น ท่านได้ไปสอนบรรดาโปรเฟสเซอร์ตามมหาวิทยาลัยชั้นนำ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยระดับโลกทั้งหลายให้รู้จักธรรมะของพุทธศาสนา ท่านว่า จับโจรต้องจับหัวหน้าโจร เมื่อผู้ที่เป็นหัวหน้า เป็นคนนำปัญญาได้รู้ได้เห็นธรรมะแล้ว ธรรมะก็จะเผยแผ่ได้ง่าย

    ผมเคยเรียนถามท่านว่า ท่านเรียนภาษาเหล่านั้นมาจากไหน ถึงเขียนหรือเทศน์เป็นภาษานั้นๆ ได้ ท่านว่า จะไปยากอะไร ก็ภาวนาเอาสิ ภาวนาแล้วมันก็รู้ขึ้นมาเองล่ะ อยากรู้ภาษาอะไรก็ได้รู้

    ท่านเคยเทศนาไว้ว่า ผู้เป็นพระโสดาบันนั้น จะรู้ตนว่ามีศีล 5 ศีล 8 ครบบริบูรณ์ ถ้ารู้ว่าปฏิบัติได้มากกว่านั้น ก็รู้ตัวว่าได้มากกว่านั้น ไม่สงสัย ไม่ลูบคลำว่าศีลข้อนั้นมันดีหรือไม่ดี พระสกิทาคามีนั้น ละความโลภ ความโกรธ ความหลงให้เบาบางลงได้แต่ไม่หมด พระอนาคามีนั้นอยู่ในฌานเป็นพรหมจรรย์อยู่โดดเดี่ยว เหมือนคนไม่มีคู่เรียงเคียงหมอน จิตวิญญาณมีอยู่ขันธ์เดียว อยู่กับความสุข ไม่ยุ่งกับใคร ศีล 8 สมบูรณ์

    สำหรับพระอรหันต์นั้น รู้แจ้งหมดแล้ว หายสงสัยในโลกหมดแล้ว รู้โลกแจ้งชัดเจนแล้ว ไม่หลงโลก ใครจะทำให้หลงก็ไม่หลง ไม่เกิด ไม่ดับ ไม่มีความต้องการ ร่างกายก็รู้หมด รู้เฒ่า รู้แก่ รู้เจ็บ รู้ตาย รู้ทุกข์ รู้ยาก พอแล้ว อิ่มแล้ว ไม่เอารูปขันธ์นี้แล้ว เรียกว่าตัดกิเลสขาด ขาดจากความยึดมั่น ถือมั่น วิราโค คลายความกำหนด สิ้นความยินดี ไม่ยินดีกับอะไรในโลกนี้ ความรัก ความชังขาดลอยหมดแล้ว ไม่แต่อุเบกขาญาณ วางเฉยอยู่แต่ยังสอนคนอยู่ จะเอาไม่เอาช่างมัน สอนด้วยความเมตตาเฉยๆ แต่ตัวท่านนั้นทำงานเสร็จแล้ว ไม่มีงานจะทำแล้ว ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์คือ การปฏิบัติธรรมอยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำไม่มีอีก ที่จะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ จะมาเกิดอีกไม่มี จิตของท่านไม่ต้องพูดถึง เป็นสมาธิทั้งวันทั้งคืน เป็นอยู่ทุกขณะ รู้อยู่ตลอด พุทโธเต็มอยู่บริบูรณ์อยู่ตลอด มีธัมโม สังโฆอยู่ในตัวตลอด...

    ท่านว่า ผู้ที่รู้ธรรมย่อมรู้ได้ด้วยตนเอง เป็นปัจจัตตัง และวิญญูชน รู้ด้วยเฉพาะตัวเอง เหมือนว่า ร้อนเรารู้ หนาวเรารู้ เรารู้อยู่คนเดียว คนอื่นไม่รู้ด้วย ทุกข์เรา ก็รู้อยู่คนเดียวของเรา คนอื่นจะมารู้ไม่ได้..

    วิญญูชนรู้ได้ด้วยเฉพาะตนเอง ไม่ต้องไปวัดหรอก ไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์มาวัดหรอก เขาจะวัดของเขาเอง ถ้าเขาหลุดพ้นเป็นพระอรหันต์ เขาก็จะรู้ของเขาเองว่าหลุดพ้นแล้ว ไม่มีอะไรขัดข้องกับจิตใจ”

    พระอาจารย์เปลี่ยนปฏิบัติมาถึงระดับใดท่านรู้ของท่านเอง แต่ที่แน่ๆ คือ เป็นพระผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติชอบ ควรแก่การสักการะ

    *************************************

    ในวันที่ 15 ก.พ. 2561 พระอาจารย์เปลี่ยนได้ละสังขารเข้าอนุปาทิเสสนิพพานอย่างสงบ สิริอายุ 84 ปี 2 เดือน 29 วัน พรรษา 59 sam_8959-jpg.jpg sam_8956-jpg.jpg sam_8957-jpg.jpg sam_8958-jpg.jpg sam_7605-jpg.jpg
     
  5. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 777 พระผงรุ่น1 หลวงปู่สิม พุทธาจาโร พระอรหันต์เจ้าวัดถํ้าผาปล่อง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ หลวงปู่สิมเป็นศิษย์หลวงปู่มั่นยุคกลาง องค์นี้มีเกศาฝังในองค์พระด้วยครับ มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาด้วยครับ **********บูชาที่ 385 บาทฟรีส่งems SAM_9216.JPG SAM_9217.JPG SAM_9218.JPG SAM_8183.JPG
     
  6. ผู้ผ่านมา

    ผู้ผ่านมา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มกราคม 2006
    โพสต์:
    164
    ค่าพลัง:
    +140
    ขอบูชาครับ
     
  7. Peterbn

    Peterbn Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2018
    โพสต์:
    421
    ค่าพลัง:
    +269
    ขอจองบูชาครับ
     
  8. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 778 เหรียญหล่อสติ นิพพาน 100 ปีหลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต พระอรหันต์เจ้าวัดสวนทิพย์ อ.ปากเก็ด จ.นนทบุรี หลวงปู่บุญฤทธิ์เป็นศิษย์เอกรุ่นเเรกของหลวงปู่ชอบ ฐานสโม พระอรหันต์วัดป่าสัมมานุสรณ์ จ.เลย เหรียญสร้างปี 2556 สร้างเนื่องหลวสงปู่อายุครบ 100 ปี เนื้อสำริด มีตอกโค๊ต 3 โค๊ต บ ฤ หลังเหรียญเเละโค๊ต กวาง หน้าเหรียญมีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ **************บูชาที่ 355 บาทฟรีส่งems # ประวัติย่อๆพอสังเขปหลวงปู่บุญฤทธิ์
    หลวงปู่บุญฤทธิ์ มีนามเดิมว่า บุญฤทธิ์ จันทรสมบูรณ์ เป็นบุตรชายของหลวงพินิจจินเภท กับ คุณแส จันทรสมบูรณ์ ท่านเกิดในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2458 ที่บ้านท่าอิฐ ต.ท่าอิฐ อ.พิชัยดาบหัก จ.อุตรดิตถ์ ในวัยเยาว์ มารดาเป็นผู้มีความศรัทธาในพุทธศาสนา รวมถึงเคยเข้ารับการอบรมในวัง จึงถ่ายทอดลักษณะนิสัย ระเบียบชีวิต แนวคิดต่างๆ ให้หลวงปู่ สอนให้หลวงปู่สวดมนต์ไหว้พระ อ่านหนังสือธรรมะจนติดเป็นนิสัย


    160202-3-2-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg

    ในอดีตท่านเป็นนักศึกษาปริญญาจากต่างประเทศ เป็นข้าราชการหนุ่มอนาคตสดใส ครั้งอายุ 10-11 ปี ถูกส่งตัวเข้ามาเรียนที่โรงเรียนเซ็นคาเบรียล กรุงเทพฯ รุ่นที่ 1 อาศัยอยู่กับคุณพระโสภณเพชรรัตน์ จนจบม.8 ภาษาฝรั่งเศส หลวงปู่บุญฤทธิ์ เคยได้รับรางวัลประกวดเรียงความชนะเลิศจาก จอมพล ป.พิบูลย์สงคราม ซึ่งเป็น รมต.กลาโหมสมัยนั้น จากนั้นได้สอบชิงทุน (กพ.) ได้ไปศึกษาต่อที่ฮานอย ประเทศเวียดนาม พ.ศ. ๒๔๗๕ กลับจากเวียดนามรับราชการที่หอสมุดแห่งชาติ กระทรวงมหาดไทย และภายหลังเป็นทูตที่พระตะบอง

    44521372_2427482870612125_1041978200088903680_n-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg
    แต่ด้วยความเลื่อมใสปฏิปทาพระป่าสายหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ท่านจึงลาออกจากราชการแล้วออกบวช โดยบรรพชาอุปสมบทในปี 2489 ที่วัดศรีเมือง จ.หนองคาย และปฏิบัติธรรม ออกธุดงค์อยู่ตามป่าตามเขาโดยตลอด จนกลายเป็นศิษย์ของ หลวงปู่ชอบ ฐานสโม และจำพรรษาด้วยกัน อุปัฏฐากรับใช้หลวงปู่ชอบอยู่หลายเดือน จากนั้น หลวงปู่บุญฤทธิ์ ได้เป็นพระธรรมทูต เดินทางไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศกว่า 30 ปี เช่น เม็กซิโก สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ จีน เยอรมัน สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ซึ่งหลวงปู่พูดได้ถึง 6 ภาษา กระทั่งจำพรรษาที่สำนักปฏิบัติธรรมสวนทิพย์ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี ก่อนมีอาการอาพาธ ต้องรักษาตัวอย่างต่อเนื่อง และได้ละสังขารเมื่อวันที่ 14 พ.ย. เวลา 22.22 น. ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย สิริอายุ 104 ปี

    “หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต” ละสังขารแล้ว ปี2561 สิริอายุ 104 ปี
    เปิดคำสอนสุดท้ายของ “หลวงปู่บุญฤทธิ์” ทุกสิ่งล้วนมีสังขาร >>>>>>>>มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาด้วยครับ sam_8696-jpg-jpg.jpg sam_8697-jpg-jpg.jpg sam_8699-jpg-jpg.jpg sam_8698-jpg-jpg.jpg sam_7609-jpg-jpg.jpg * sam_0351-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 พฤศจิกายน 2021
  9. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 779 เหรียญรุ่น 3 หลวงปู่อ่อนศรี ขันติกโร พระอรหันต์เจ้าวัดป่าโนนเเพง อ.บ้านเเพง จ.นครพนม หลวงปู่อ่อนศรีเป็นศิษย์พระหลวงตามหาบัว ท่านบวชเมี่อเเก่ เหรียญสร้างปี 2540 เนื้อองเเดงผิวไฟ มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ ***********บูชาที่ 205 บาทฟรีส่งems paragraph__868-jpg.jpg

    ประวัติและปฏิปทา
    หลวงปู่อ่อนศรี ขนฺติกโร
    วัดป่าโนนแพง อ.บ้านแพง จ.นครพนม
    ---------------------------------------------------------
    sam_8739-jpg.jpg


    ประวัติย่อพอสังเขป
    หลวงปู่อ่อนศรี ขันติกโร
    นามเดิม อ่อนศรี อภัยโส
    ชาติตระกูล เกิดที่บ้านแพง ต.บ้านแพง อ.บ้านแพง จ.นครพนม เมื่อวันที่ 10 เดือน พฤษภาคม พุทธศักราช 2463

    3 ตรงกับวันอังคาร ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 6 ปีวอก โยมบิดาชื่อ นายคำแดง อภัยโส
    โยมมารดาชื่อ นางหนู อภัยโส
    ครอบครัวของหลวงปู่เป็นชาวไร่ ชาวนา โดยกำเนิด มีพี่น้อง ร่วมบิดามารดาเดียวกัน 9 คน คือ
    1.นายจารย์ลวด เสียชีวิตแล้ว
    2.นางกา เสียชีวิตแล้ว
    3.นางเพ็ญศรี(เบ้น) เสียชีวิตแล้ว
    4.นายคำมี เสียชีวิตแล้ว
    5.หลวงปู่อ่อนศรี ขันติกโร
    6.นางจำปี เสียชีวิตแล้ว
    7.นางเปิง (ยายเปิง) ยังมีชีวิตอยู่
    8. นายเวิง เสียชีวิตแล้ว
    9.เด็กหญิงเวียง เสียชีวิตขณะอายุได้ 5 ขวบ

    ชีวิตก่อนบวช

    ท่านเป็นครูฝึกสอนได้ไม่นานท่านก็ลาออก ท่านก็เดินทางออกจากบ้านแพงไป อุดรธานี โคราช และกรุงเทพๆ ท่านเคยเล่าให้ฟังว่าท่านชกมวยหาเงินในขณะที่ยังไม่ได้งานทำ ข้าพเจ้าถามท่านว่า “ปู่ไปเรียนชกมวยมาจากใคร จากค่ายไหน”ปู่ตอบว่า”ปู่ฝึกฝนเอาเองจากกากรดูนักมวยเขาชกกัน แล้วเอามาฝึกฝนเอาเองจนเกิดความชำนิชำนาญ”

    การชกของท่านนั้น ปู่บอกว่า ขึ้นเวทีชกครั้งหนึ่งก็ได้หนึ่งอาจารย์ ขึ้นเวทีสองครั้งก็ได้สองอาจารย์ ปู่บอกว่าเป็นการเรียนรู้ที่ลงทุนมากเจ็บตัวแต่ละครั้งถือเป็นบทเรียนที่ไม่ลืม แล้วนำไปฝึกหัด การต่อสู้บนเวทีนั้นต้องใช้มันสมอง

    ใช้ไหวพริบปฏิภาณในการต่อสู้ การตัดสินใจเขาทำการตัดสินใจเป็น

    ไปตามเหตุการณ์ จริงอยู่ว่าเราฝึกฝนท่าต่างๆ ของแม่ไม้มวยไทยไว้จนชำนิชำนาญ แต่พอยู่บนเวทีมันจะเป็นไปอีกรูปแบบหนึ่งคือเรื่องสิต ความรวดเร็วในการอกอาวุธ ในสมัยนั้นหลวงปู่บอกว่าหาคู่ชกที่พอเหมาะไม่ค่อยเจอ ท่านชกเก่งจนหาตัวจับยากด้วยเหตุนี้เองท่านจึงไม่ยอมทำงานอะไร ท่านตระเวรชกมวยตั้งแต่กรุงเทพๆ โคราช ขอนแก่น อุดรธานี หนองคาย ถึงกับปลอมตัวชื่อเป็นคนไม่มีหัวนอนปลายเท่าเพื่อขั้นชกมวยหาเงิน และหลวงปู่ก็กลับบ้านเกิด พ่อแม่จึงขอหญิงสาวชาวบ้านเดียวกันให้เป็นภรรยาและมีบุตรด้วยกัน 6 คน เป็นชาย 4 หญิง 2 คน
    ในสมัยท่านเป็นฆราวาส ท่านเป็นคนที่มีจิตใจเมตตาสงสารคนจะเป็นพี่น้องหรือบุคคลอื่นก็ตามท่านจะให้ความอนุเคราะห์ สงเคราะห์เสมอ มา ข้าพเจ้าเคยได้ยินท่านพุดครั้งหนึ่งเกี่ยวกับพี่น้องของท่านว่า “เรากินข้าวจะให้พี่น้องกินแกลบกินรำได้อย่างไร”ด้วยเหตุนี้เองฐานะทางบ้านจึงไม่ดีขึ้น มีอยู่อย่างไรก็อย่างนั้นจนท่านออก บวช เพราะท่านห่วงพี่น้องมากไป พี่น้องมายืมเงินท่าน ปรากฏว่าไม่นำมาคืนสักครั้ง สักครั้ง มีแต่มายืม บางคนก็ยืมข้าวยืมเงินมากบ้างน้อยบ้าง ท่าก็ให้ครั้งแล้วครั้งเล่า ในปีหนึ่งเป็นปีที่อดอยากมาก ข้าวจะกินไม่มี ถึงขนาดขโมยข้าวที่หม่า(แช่น้ำ)เตรียมไว้เพ่อจะนึ่งในวันรุ่งเช้าวันหนึ่งมีคนเอาเห็นมาขอเปลี่ยนข้าวไปประทังชีวิตและครอบครัว พอเปิดในตองที่ห่อเห็ดออก ปรากฏว่าในเห็ดนั้นมีหนอนยั้วเยี้ยไปหมด ชายคนนั้นหน้าถอดสี หลวงปู่ท่านรีบเก็บเห็ดนั้นเข้าไปไว้ในครัว แล้วก็ออกมาพูดคุยกับชายคนนั้นอย่างเป็นกันเอง จนแม่บ้านนึ่งข้าวสุก ปู่ท่านเป็นคนมาด้วยน้ำใจอย่างนี้ มีต่อบ้านต่อเมือง เช่นในครั้งหนึ่งทางอำเภอมีนายอำเภอยงค์เป็นนายอำเภอบ้านแพงขณะนั้น เป็นผู้นำจะให้ชาวบ้านแพงเช่าไร่ยาสูบ ซึ่งไร่ยานั้นพากันทำมาหลายปีดีดักไม่เคยเช่าใคร ไร่ยาที่ว่านั้นคือมีดินงอกออกไปจาก อ.บ้านแพงจึงพากันจับจองเป็นเจ้าของถือสิทธิทำกิน และใช้เป็นที่ปลูกยาสูบหลังจากเก็บเกี่ยวข้าวในนาเสร็จ เป็นอาชีพหลักของชาวบ้านแพง
    สส
    หลวงปู่อ่อนศรี ขันติกโร

    หลวงปู่อ่อนศรี ขันติกโร นามเดิมคือ นายอ่อนศรี อภัยโส เกิดที่บ้านแพง ตำบลบ้านแพง จังหวัดนครพนม เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2463 ตรงกับวันอังคาร ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 6 ปีวอก โยมบิดาชื่อ นายคำแดง อภัยโส โยมมารดาชื่อ นางหนู อภัยโส เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีอาชีพทำไร่ทำนาแต่งงานกับนางทิพย์ อภัยโส มีลูกด้วยกัน 6 คน หญิง 2 คน ชาย 4 คน

    เมื่อ พ.ศ.2516 หลวงปู่ได้อ่านหนังสือประวัติพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เขียนโดยหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ท่านได้เกิดความเลื่อมใสมากจึงคิดอยากบวช ต่อจากนั้นหลวงปู่จึงเริ่มฝึกหัดนั่งสมาธิบริกรรมภาวนา “ พุท-โธ” เป็นอารมณ์ความสงบเริ่มเข้ามาแทนที่ความวุ่นวายยิ่งหมั่นภาวนาหนักเข้าก็ยิ่งสัมผัสกับความสงบสุขอันเกิดจากความเพียรในทางที่ถูกที่ควรตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงประทานไว้

    ต่อมาหลวงปู่จึงตัดสินใจลาบุตร-ภรรยา ออกไปบำเพ็ญเพียรเป็นชีประขาว ไม่โกนผมที่วัดบนภูลังกา ท่านได้สร้างกระท่อมที่ดอนปลายนา บริเวณวัดโนนแพงปัจจุบันและขึ้นไปภาวนาอยู่ในถ้ำบนภูลังกาแบบไปๆมาๆ

    ในวันที่ 14 เมษายน 2523 ตาประขาวอ่อนศรีได้บรรพชา-อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาเมื่ออายุได้ 61 ปี ณ วัดศรีเทพประดิษฐาราม ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม

    หลวงปู่มักพูดเสมอว่าบวชเมื่อแก่กลัวไม่ทันการจึงเร่งรีบบำเพ็ญภาวนาจึงเห็นหลวงปู่เดินจงกรมเสมอๆและครั้งละนานเป็นชั่วโมงและหลายชั่วโมง

    ใน พ.ศ. 2540 หลวงปู่เล่าให้ฟังว่า ท่านได้อธิษฐานจิตขอพบลูกหลานคนที่สนิทสนมร่วมเป็นร่วมตายในอดีตชาติ

    พ.ศ. 2541 มีโยมจากกรุงเทพฯไปทำบุญถวายสังฆทานที่วัดหินหมากเป้ง เกิดนิมิตฝันเห็นหลวงปู่อ่อนศรีและได้นำคณะตามหาได้มาพบหลวงปู่จึงนำกฐินมาถวายเป็นประจำทุกปี

    เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2545 หลวงปู่ได้มรณภาพละสังขารจากโลกไปแล้วแต่คุณงามความดียังคงประทับอยู่ในใจผู้พบเห็นไม่รู่ลืม

    คุณธรรมที่ควรยึดเป็นแบบอย่าง

    1. มีความเพียร เห็นได้จากการทำสมาธิเป็นหลายชั่วโมงในแต่ละวันโดยไม่ย่อท้อจนบางครั้งเกิดภาพนิมิตขณะเดินจงกรมทำสมาธิ

    2. ความมีเมตตา ชอบทำบุญให้ทานเห็นได้จากครั้งหนึ่งเมื่อดำรงชีวิตเป็นฆราวาสมีชาวบ้านนอกนำเห็ดมาขอแลกข้าวท่านก็ถือห่อเห็ดเข้าไปในบ้านแล้วเปิดออกดูในเห็ดมีหนอนเยอะแยะแต่ท่านก็รีบเก็บห่อเห็ดไว้แล้วให้ภรรยานำข้าวสารข้าวสุกมาให้เจ้าของเห็ดด้วยใบหน้าที่เบิกบาน ยิ้มแย้ม แจ่มใส ไม่ทำให้เจ้าของเห็ดต้องอาย

    3. มีความตั้งใจมุ่งมั่น จะทำอะไรต้องทำให้สำเร็จ สังเกตได้จากการบวชของท่าน บวชเมื่อ 61 ปี แต่ด้วยความตั้งใจสูงจึงทำให้พบความสำเร็จได้ ซึ่งตลอดเวลา 22 ปี ที่มีชีวิตอยู่ในผ้าเหลืองหลวงปู่ต้องฉันข้าววันละมื้อ มีกิจวัตรประจำวันคือเดินจงกรมหรือนั่งสมาธิครั้งละนานหลายชั่วโมงหลวงปู่มักพูดเสมอๆว่า “บวชเมื่อแก่กลัวไม่ทันการ” ท่านจึงรีบเร่งบำเพ็ญภาวนา ถ้าตายในขณะที่ปฏิบัติธรรมจะเป็นทุนในชาติต่อไป


    บวชเป็นพระ
    เดินจงกรมจนฝ่าเท้าสึกบาง
    การเดินจงกรมของหลวงปู่นั้น ท่านเดินนานนับชั่วโมงๆอย่างที่เขียนผ่านมา มีอยู่ครั้งหนึ่งท่านเดินจนหนังผ่าเท้าสึกบางข้าพเจ้าได้ซื้อถุงเท้ามาถวาย แม้กระนั้นถุงเท้าคู่หนึ่งท่านเดินได้สองสามวันก็ขาด ต้องเปลี่ยนคู่ใหม่ ตอนฝ่าเท้าถลอกศึกบางนั้น ท่านออกเดินบิณฑบาตไม่ได้ตั้งหลายวัน แม้ท่านจะมาอยู่ประจำที่วัด ท่านก็บำเพ็ญเพียรไม่ท้อถอย ถึงฝนจะตก แดดจะออก จะหนาว จะร้อนท่านก็ทำของท่านไม่หยุด ท่านอกว่ามันเป็นตามาธรรมชาติ เราไม่สนใจกับมัน เรื่องภาวนาทำความพากเพียรไม่เกี่ยวกับดินฟ้าอากาศ ดินฟ้าอากาศจะมืดจะแจ้ง ฝนจะตกแดดจะออกก็เป็นเรื่องของมัน ถ้าหากเราไปหาข้ออ้าง เดี๋ยวช้านักไม่ทำงาน เดี๋ยวร้อนนักไม่ทำงาน เดี๋ยวบ่ายแล้วไม่ทำงาน ถ้านักปฎิบัติก็ถือโอกาสเกี่ยงงอนไม่ยอมปฎิบัติธรรม ท่านทำจนเป็นนิสัย วันไหนท่านได้เดินจงกรมก็จะบ่นเหมือนท่านขาดอะไรไปสักอย่าง sam_8739-jpg.jpg sam_8734-jpg.jpg sam_8736-jpg.jpg sam_8176-jpg.jpg
     
  10. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 780 เหรียญรูปครึ่งองค์หลวงปู่สิงห์ทอง ปภากโร พระอรหันต์เจ้าวัดป่าสุนทราราม อ.เลิงนกทา จ.ยโสธร หลวงปู่สิงห์ทองเป็นศิษย์หลวงปู่ดี ฉันโน (ศิษย์ผู้ใหญ่หลวงปู่มั่น) เนื้อทองเเดงสร้างเนื่องสมทบทุนสร้างอุโบสถ มาพร้อมพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคล*************บูชาที่ 255 บาทฟรีส่งems sam_8011-jpg-jpg-jpg.jpg sam_8012-jpg-jpg-jpg.jpg sam_7605-jpg-jpg-jpg.jpg เหรียญรูปหน้าครึ่งองค์หลวงปู่สิงห์ทอง ปภากโร พระอรหันต์เจ้าวัดป่าสุนทราราม หลวงปู่สิงห์องเป็นศิษย์หลวงปู่ดี ฉันโน(ศิษย์ผู้ใหญ่หลวงปู่มั่น) เนื้อทองเเดง สร้างเนื่องสมทบทุนสร้างอุโบสถ มาพร้อมพระเกศาหลวงปู่มาบูชาด้วยครับ **
    ss1-jpg-jpg-jpg.jpg
    หลวงปู่สิงห์ทอง ปภากโร
    เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2563 ศิษยานุศิษย์หลวงปู่สิงห์ทอง ปภากโร ได้แจ้งข่าวเศร้า หลวงปู่สิงห์ทอง ปภากโร วัดป่าสุนทราราม อ.เลิงนกทา จ.ยโสธร ได้ละสังขารเข้าอนุเสสนิพพานอย่างสงบ ที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จ.ขอนแก่น เมื่อเวลา 18.38 น. สิริอายุ 95 ปี 6 เดือน 18 วัน 70 พรรษา


    ss3-jpg-jpg-jpg.jpg
    ภาพจาก ศิษยานุศิษย์หลวงปู่สิงห์ทอง ปภากโร

    ss4-jpg-jpg-jpg.jpg
    หมายเหตุ....เป็นพระอรหันต์ที่มีฉายาว่า ผีกลัวหรือย่านอีกองค์หนึ่งครับในสายหลวงปู่มั่น รู้วาระจิตล่วงหน้าด้วยครับ ผมเจอมากับตัวเองมาเเล้ว วันเเรกที่ไปกราบท่าน หลวงปู่ทักเลยครับว่าผมมาจากเชียงใหม่เหรอ ผมงี้ขนลุกเลย หลวงปู่รู้ได้ไง ทั้งที่ๆผมยังไม่เอ่ยอะไรเลย ก้มกราบเสร็จเเล้วเงยหน้าขึ้นเท่านั้น หลวงปู่เอ่ยทักเลยว่ามาจากเชียงใหม่เหรอ ตั้งเเต่นั้นมาผมจะเเวะไปกราบเเละนวดรับใช้เเละสรงนํ้าหลวงปู่ประจำ ส่วนตัวผมหลวงปู่เป็นพระอรหันต์ที่มีฤทธิ์องค์หนึ่งครับ หลวงปู่เองได้มอบคำหมากให้ผมก้อนหนึ่งส่วนตัวเลยครับ เพราะช่วงปลายหลวงปู่จะเคี้ยวหมาก 7 วันเคี้ยวหนึ่งคำ,อีกเรื่องครับ มีวันหนึ่งมีลูกศิษย์ที่วิทยาลัยการอาชีพเลิงนกทา (อำเภอที่วัดหลวงปู่ตั้งอยู่ครับ) ได้มีนักเรียนนักศึกษาี่การอาชีพเลิงนกทาได้เกิดอุปทานหมู่เป็น 100 กว่า ได้พากันกรีดร้องเหมือนมีผีเข้าร่าง ร้องโวยวาย ทางอาจารย์คือเพื่อนผมเองที่เป็นรองผู้อำนวยวิทยาลัย ได้มานิมนต์หลวงปู่สิงห์ทอง ไปดูให้หน่อยครับ พอหลวงปู่สิงห์ทองท่านลงจากรถยนต์ หลวงปู่สิงห์ทองได้เดินไปที่ศาลเจ้าที่อยู่ในวิทยาลัยการอาชีพ พอหลวงปู่ไปยืนหน้าศาลเเล้งยืนหลับตาไม่ถึงนาที พอหลวงปู่หลวงปู่สิงห์ทองลืมตา ก็เอ่ยขึ้นว่าให้รื้อศาลที้งทันที เเละปรากฎว่าตั้งเเต่นั้นมาเด็กนักษาก็ไม่มีอาการผีเข้าอีกเลยครับ เพื่อนผมที่เป็นรองผ.อ. ได้เอ่ยกับผมว่าหลวงปู่สิงห์ทองเเน่นอนจริงๆ
     
  11. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 781
    รูปเหมือนลอยองค์หลวงปู่เสน ปัญญาธโร พระอรหันต์เจ้าวัดป่าหนองเเซง อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี หลวงปู่เสน เป็นศิษย์หลวงปู่บัว สิริปุณโญ วัดป่าหนองเเซง
    พระอาจารย์เสน ปญฺญาธโร เจ้าอาวาส
    สามเณร เสน ผู้เป็นเจ้าอาวาสต่อจากหลวงปู่ หลวงปู่บัว สิริปุณฺโณ เคยได้รับการปรนนิบัติจากสามเณรน้อยรูปหนึ่งชื่อ สามเณรเสน สามเณรน้อยรูปนี้อยู่กับท่านมานาน แล้วได้จากหายไป จนสึกออกไปมีภรรยาและบุตร แม้เณรจะจากท่านไปเป็นเวลานานท่านก็ยังจำได้เป็นอย่างดี อยู่มาวันหนึ่ง หลวงปู่บัว ได้พูดคุยกับหลวงปู่เพ็ง พุทฺธธมฺโม พระลูกชายของท่านว่า
    “เอ...เณรน้อยคนนั้น มันไปไหนหนอ มันเป็นไข้มาลาเรีย...เราพยายามรักษามันจนจะหายแล้วไม่พาหนีจากเราไป ไม่รู้ว่าไปอยู่ไหน”
    หลัง จากหลวงปู่ปรารภถึงสามเณรน้อยของท่านได้เพียง ๒ วันเท่านั้น สามเณรของท่านก็กลับมา แต่มาในฐานะพระภิกษุเสน ปญฺญาธโร บวชได้ ๒ พรรษาแล้ว การปรารภของหลวงปู่ในครั้งนั้นเหมือนท่านได้รู้เหตุการณ์ล่วงหน้า
    ต่อ มาภายหลัง พระอาจารย์เสน ได้รับมอบภาระให้เป็นเจ้าอาวาส ปกครองวัดป่าบ้านหนองแซง สืบต่อจากหลวงปู่ ได้ทำการพัฒนาวัดจนเจริญรุ่งเรืองมาโดยลำดับ จนกระทั่งปัจจุบัน
    รูปเหมือนสร้างปี 2560 เนื้อทองทิพย์ สร้างเนื่องจากหลวงปู่อายุครบ 7 รอบ(84 พรรษา) สร้างโดยคณะศิษย์การบินไทย มาพร้องกล่องเดิม มีตอกโค๊ต ดอกจำปี สัญลักษณ์การบินไทยใต้องค์พระ มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาด้วยครับ **************บูชาที่ 255 บาทฟรีส่งems

    ประวัติและปฏิปทา
    หลวงปู่เสน ปัญญาธโร

    วัดป่าหนองแซง
    ต.หนองบัวบาน อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี

    8b-e0-b8-ad-e0-b8-88-e0-b8-ad-e0-b8-b8-e0-b8-94-e0-b8-a3-e0-b8-98-e0-b8-b2-e0-b8-99-e0-b8-b5-jpg.jpg
    หลวงปู่เสน ปัญญาธโร วัดป่าหนองแซง อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี
    ชาติภูมิ
    หลวงปู่เสน ปัญญาธโร นามเดิมท่านชื่อ ประเสน ชัยพันธุ์ ต่อมาบิดาของหลวงปู่ได้เป็นทหารจึงเปลี่ยน นามสกุลเป็น จงประสม ท่านเกิดเมื่อวันที่ ๖ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๗๗ ถิ่นกำเนิด ณ บ้านหนองอ้อใหญ่ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์

    โยมบิดาชื่อ นายสี จงประสม และโยมมารดาชื่อ พร จงประสม มีพี่น้องร่วมบิดามารดา ๙ คน (ชาย ๗ คน หญิง ๔ คน)

    b-e0-b9-88-e0-b8-b2-e0-b8-ab-e0-b8-99-e0-b8-ad-e0-b8-87-e0-b9-81-e0-b8-8b-e0-b8-87-1012x1024-jpg.jpg
    หลวงปู่เสน ปัญญาธโร วัดป่าหนองแซง
    การศึกษา
    หลวงปู่เสน จบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ซึ่งเป็นความรู้ชั้นสูงสุดที่มีในยุคนั้น ในสมัยนั้นถ้าเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ก็สามารถเข้ารับราชการบรรจุเป็นครูได้
    ในสมัยหลวงปู่เสน ไม่มีสมุดจดบันทึกวิชาความรู้ ใช้กระดานชนวน และดินสอพอง

    เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์
    หลวงปู่บัว สิริปุณฺโณ เคยได้รับการปรนนิบัติจากสามเณรน้อยรูปหนึ่งชื่อ สามเณรเสน สามเณรน้อยรูปนี้อยู่กับท่านมานาน แล้วได้จากหายไป จนสึกออกไปมีภรรยาและบุตร แม้เณรจะจากท่านไปเป็นเวลานานท่านก็ยังจำได้เป็นอย่างดี
    อยู่มาวันหนึ่ง หลวงปู่บัว ได้พูดคุยกับหลวงปู่เพ็ง พุทฺธธมฺโม พระลูกชายของท่านว่า

    “เอ.. เณรน้อยคนนั้น ไปไหนหนอ ได้เป็นไข้มาลาเรีย..เราพยายามรักษาเณรจวนจะหายแล้วหนีจากเราไป ไม่รู้ว่าไปอยู่ไหน”

    หลังจากหลวงปู่ปรารภถึงสามเณรน้อยของท่านได้เพียง ๒ วันเท่านั้น สามเณรของท่านก็กลับมา แต่มาในฐานะพระภิกษุเสน ปญฺญาธโร บวชได้ ๒ พรรษาแล้ว การปรารภของหลวงปู่ในครั้งนั้นเหมือนท่านได้รู้เหตุการณ์ล่วงหน้า

    ต่อมาภายหลัง พระอาจารย์เสน ได้รับมอบภาระให้เป็นเจ้าอาวาส ปกครองวัดป่าบ้านหนองแซง สืบต่อจากหลวงปู่บัว ได้ทำการพัฒนาวัดจนเจริญรุ่งเรืองมาโดยลำดับ จนกระทั่งปัจจุบัน

    8b-e0-b8-87-e0-b8-88-e0-b8-ad-e0-b8-b8-e0-b8-94-e0-b8-a3-e0-b8-98-e0-b8-b2-e0-b8-99-e0-b8-b5-jpg.jpg
    หลวงปู่เสน ปัญญาธโร เจ้าอาวาสวัดป่าหนองแซง อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี
    ผลงานของหลวงปู่เสน ปัญญาธโร
    ๑. ปลูกป่าติดต่อกันมาเป็นเวลา ๓๐ ปี
    ๒. จัดตั้งบ้านพักคนชรา ดูแลผู้สูงอายุด้วยวิถีพุทธ
    ๓. จัดทำแท่นมหัศจรรย์ เพื่อสุขภาพ
    ๔. จัดทำน้ำมันสมุนไพรรักษาโรค
    ๕. จัดสร้างโรงพยาบาลหลายแห่งในจังหวัดอุดรธานี
    ๖. จัดทำสระเก็บน้ำขนาดใหญ่เก็บกักน้ำไว้ใช้
    ๗. จัดสร้างถังประปาขนาดใหญ่ส่งน้ำให้ชุมชนหลายหมู่บ้านได้ใช้
    ๘. ช่วยเหลือดูแลรักษาผู้สูงอายุที่เป็นโรคอัมพฤกษ์อัมพาต
    ๙. อบรมสั่งสอนวิชาชีพงานช่างต่าง ๆ แก่ผู้ที่มีความสนใจ
    ๑๐. อบรมสั่งสอนศีลธรรมจริยธรรม สมาธิกรรมฐาน แก่บุคคลที่มีความสนใจ
    ๑๑. ผลิตน้ำหมักชีวภาพใช้เป็นปุ๋ยบำรุงพืช
    ๑๒. ผลิตน้ำพริกปลาร้าบริจาคแก่ประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วม
    ๑๓. เมตตาช่วยเหลือปัจจัยสี่แก่ภิกษุสงฆ์ ประชาชน นักเรียน ผู้ที่ขาดแคลน
    ๑๔. บริจาคที่ดิน วัว ควาย แก่ชาวบ้าน
    ๑๕. บริจาคทองคำช่วยชาติ แก่โครงการช่วยชาติ
    ๑๖. จัดสร้างโรงเรียนหลายแห่งในจังหวัดอุดรธานี

    ระเบียบและข้อปฏิบัติ วัดป่าหนองแซง
    หลวงปู่ท่านเน้นความมีระเบียบวินัย พระเณรทุกรูปต้องทำตนเป็นผู้มีสัจจะ และข้อวัตรทุกเมื่อ

    ข้อวัตรกลางวัน พอรุ่งสว่างเป็นวันใหม่ พระเณรทุกรูปนำบริขารของตนที่เกี่ยวกับการฉัน ลงรวมบนศาลาโรงฉัน จัดให้ได้ระเบียบและทำสะอาดบนศาลา พอถึงเวลาที่เที่ยวภิกขาจารบิณฑบาต ต่างองค์ก็เตรียมนุ่งสบงจีวรซ้อนสังฆาฏิ ไปเที่ยวบิณฑบาตตามที่จัดไว้

    เมื่อกลับมาพร้อมเพรียงกันแล้ว จัดอาหารเสร็จ ก็เริ่มลงมือฉัน เมื่อฉันเสร็จแล้ว ทำข้อวัตรของตนและช่วยกันทำข้อวัตรศาลาจนสะอาด เก็บเครื่องบริขารขึ้นกุฏิ ต่อจากนั้นลงสู่ทางจงกรม เดินจงกรมไปจนถึง ๕ ชั่วโมง ทำข้อวัตรสำหรับตน แล้วลงกวาดตาดทำความสะอาดบริเวณวัด และจัดหาน้ำฉัน ตลอดจนสรงน้ำเรียบร้อย เตรียมลงทำวัตรเย็น ทำสมาธิ ต่อประมาณ ๔ ชั่วโมง

    ปัจจุบัน หลวงปู่เสน ปัญญาธโร เจ้าอาวาสวัดป่าหนองแซง อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี อายุวัฒนะมงคล 87 ปี พรรษา 56

    -e0-b8-9b-e0-b9-88-e0-b8-b2-e0-b8-ab-e0-b8-99-e0-b8-ad-e0-b8-87-e0-b9-81-e0-b8-8b-e0-b8-87-1-jpg.jpg
    หลวงปู่เสน ปัญญาธโร เจ้าอาวาสวัดป่าหนองแซง อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี
    -e0-b9-88-e0-b8-b2-e0-b8-ab-e0-b8-99-e0-b8-ad-e0-b8-87-e0-b9-81-e0-b8-8b-e0-b8-87-2-682x1024-jpg.jpg
    หลวงปู่เสน ปัญญาธโร เจ้าอาวาสวัดป่าหนองแซง อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี
    sam_7049-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg sam_6777-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg sam_6778-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg sam_6779-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg sam_6780-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg sam_3774-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg

     
  12. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 783
    เหรียญรุ่นเเรกหลวงปู่เเฟ๊บ สุภัทโท พระอรหันต์เจ้าวัดป่าดงหวาย อ.บ้านม่วง จ.สกลนคร หลวงปู่เเฟ๊บเป็นศิษย์หลวงปู่ประสิทธิ์ ปุญญมากโร วัดป่าหมู่ใหม่,หลวงปู่เทศน์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง เป็นต้น เหรียญสร้างปี 2548 เนื้อกะไหล่ทอง สร้างเนื่องเป็นที่ระลึกฉลองพระพุทธนิมิตเจดีย์ มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ>***********บูชาที่ 395 บาทฟรีส่งems
    ชีวประวัติโดยย่อของหลวงปู่แฟ๊บ สุภัทโท


    aa-25e0-25b8-25b8-25e0-25b8-25a0-25e0-25b8-25b1-25e0-25b8-2597-25e0-25b9-2582-25e0-25b8-2597-jpg.jpg

    หลวงปู่แฟ๊บ สุภัทโท วัดป่าดงหวาย บ้านจาร ตำบลบ้านม่วง อำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๔๖๕ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนยี่ ปีจอ ณ บ้านคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร ท่านเป็นผู้มีความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาตั้งแต่วัยเยาว์ มีโอกาสได้ฟังพระธรรมเทศนาและถวายงานต่างๆ แด่องค์หลวงปู่เสาร์และหลวงปู่มั่น ได้ฝึกปฏิบัติจิตภาวนาเจริญในธรรมต่อเนื่องมาโดยลำดับ
    หลังจากภรรยาเสียงชีวิตลง เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๓ หลวงปู่ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุฝ่ายธรรมยุต เมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๒๕ ณ วัดอรัญญิกาวาส อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ท่านมีโอกาสได้ฟังพระธรรมเทศนา และเป็นลูกศิษย์ครูบาอาจารย์หลายรูป เช่น หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี หลวงปู่ชอบ ฐานสโม หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน หลวงปู่หล้า เขมปัตโต ฯลฯ ท่านเป็นผู้ที่มีจิตใจกล้าหาญ เด็ดเดี่ยว เข้มแข็ง อดทน ตั้งมั่นในการบำเพ็ญเพียร ปฏิบัติภาวนาเพื่อหาความหลุดพ้นทุกข์ในสามแดนโลกธาตุจนหายสงสัยในธรรมทั้งปวง ไม่ต้องการกลับมาเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะสงสารอีกต่อไป
    หลวงปู่แฟ๊บ สุภัทโท เป็นผู้เปี่ยมล้นด้วยเมตตาบารมี ท่านได้ทำการก่อสร้างและบูรณะศาสนสถาน ศาลา เจดีย์ วิหาร ตลอดจนเมตตาสร้างโรงพยาบาล พร้อมมอบพัสดุและครุภัณฑ์ต่างๆ แก่หน่วยงานหลายแห่ง อีกทั้งเป็นหนึ่งในกองทัพธรรมโครงการผ้าป่าช่วยชาติ มีลูกศิษย์ทั้งพระสงฆ์และฆราวาสมาขอความเมตตาฟังพระธรรมเทศนา และแนวทางการฝึกปฏิบัติภาวนาเป็นจำนวนมาก
    ท่านได้ละสังขารเมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๓ สิริอายุรม ๘๐ ปี ๑๐ เดือน พรรษาที่ ๒๙ สามารถกล่าวได้ว่า หลวงปู่แฟ๊บ สุภัทโท เป็นผู้สำเร็จกิจทั้งทางโลกและทางธรรมอย่างสมบูรณ์

    aa-25e0-25b8-25b8-25e0-25b8-25a0-25e0-25b8-25b1-25e0-25b8-2597-25e0-25b9-2582-25e0-25b8-2597-png.png

    "วันนี้หลวงปู่มาแผ่เมตตา ให้ช่วยกันทำบุญทำกุศล สร้างโรงพยาบาลการแพทย์แผนไทย หลวงปู่มาบอกบุญนำหน้า นำทางบุญให้ญาติโยมทั้งหลายมาช่วยกัน หลวงปู่ไม่มีเงินหรอก หลวงปู่เป็นผู้บอกไปเฉยๆ ถ้าพวกเรามีศรัทธาก็ทำไป อันนี้ไม่ใช่ของหลวงปู่นะ คนไหนทำ คนนั้นเป็นเจ้าของ"

    หลวงปู่แสดงพระธรรมเทศนาในพิธีถวายผ้าป่าและวางศิลาฤกษ์ โรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยสกลนคร หลวงปู่แฟ๊บ สุภัทโท วันเสาร์ที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๓ sam_6956-jpg.jpg sam_8804-jpg.jpg sam_8805-jpg.jpg sam_8544-jpg.jpg

     
  13. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 784 ล็อกเก็ตฉากขาวรุ่นมหาลาโภหลวงปู่บุญมา คัมภีรธัมโม พระอรหันต์เจ้าวัดป่าสีห์พนม อ.สว่างเเดนดิน จ.สกลนคร หลวงปู่เป็นศิษย์หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ พระอรหันต์วัดป่านิโครธาราม หลังล็อกเก็ตติดปิดด้วยเหรียญเนื้อองเหลือง มีตอกโค๊ตยันต์ นะ มาพร้อมพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคล *************บูชาที่ 305 บาทฟรีส่งems
    2793-73ee-jpg.jpg
    ประวัติและปฏิปทา
    หลวงปู่บุญมา คัมภีรธัมโม

    วัดป่าสีห์พนมประชาคม
    ต.บงใต้ อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร


    “หลวงปู่บุญมา คัมภีรธัมโม” ท่านถือกำเนิดตรงกับวันจันทร์ที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๗๑ แรม ๓ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีมะโรง ณ บ้านขาม ต.ค้อใต้ อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร บิดาท่านชื่อ นายเข่ง ธิอัมพร มารดาท่านชื่อ นางชาดา ธิอัมพร สำหรับบิดาของหลวงปู่บุญมาภายหลังได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบรูปหนึ่ง มีชื่อและฉายาตามพระพุทธศาสนาว่า “หลวงปู่เข่ง โฆสธัมโม” ขณะนั้นหลวงปู่บุญมาได้พรรษาที่ ๑๐ แล้ว จากนั้นจึงได้ออกธุดงค์ไปในที่ต่างๆ และบั้นปลายชีวิตหลวงปู่เข่ง ท่านได้มาอยู่ปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่บุญมา ที่วัดป่าสีห์พนมประชาคม จ.สกลนคร และได้มรณภาพลงเมื่อประมาณต้นปี พ.ศ.๒๕๓๗ ขณะมีอายุได้ ๙๐ ปี พรรษา ๓๓

    ชีวิตในวัยเด็กของหลวงปู่บุญมา ท่านได้เรียนจนจบชั้นประถมบริบูรณ์ แล้วได้ออกจากโรงเรียนมาช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพทำนา เมื่ออายุได้ ๑๗-๑๘ ปี ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรศึกษาธรรมอยู่ได้ ๑ พรรษา ช่วงนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ (ระหว่างปี พ.ศ.๒๔๘๔-๒๔๘๘) หลังจากสึกออกมาช่วยบิดามารดาทำนานั้น ในใจท่านก็คิดเสมอว่า “ถ้ามีโอกาสเมื่อไร ก็จะรักษาศีลอุโบสถเมื่อนั้น” ท่านปฏิบัติอยู่อย่างนี้ จนเป็นที่เลื่องลือของผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านว่า ทำไมเด็กหนุ่มนี้จึงมีอุปนิสัยแตกต่างจากคนรุ่นราวคราวเดียวกัน ที่หันเหมาทางพระพุทธศาสนา เข้าวัดเข้าวารักษาศีลอุโบสถเหมือนคนเฒ่าคนแก่

    หลวงปู่บุญมาท่านได้เล่าถึงชีวิตเมื่อวัยหนุ่มว่า “เมื่อเข้าหาครูบาอาจารย์ท่านก็เทศน์ให้ฟัง ในเรื่องอานิสงส์ในการรักษาศีล ๕ และทุกข์โทษของการละเมิดผิดศีลผิดธรรมเป็นอย่างไร ก็นำมาพิจารณา และครั้นเวลาครูบาอาจารย์ชวนไปวิเวก ฝึกสมาธิ ศึกษาธรรมะ ก็สนใจปฏิบัติตาม ทำให้จิตเกิดความสงบเยือกเย็น” นับว่าท่านเป็นผู้มีวาสนาบารมีที่ส่อแววให้เห็นมาตั้งแต่เด็กๆ

    หลวงปู่บุญมาเล่าถึงสมัยชีวิตฆราวาส ได้พิจารณาความตายถึง ๓ วาระ สมัยท่านเป็นฆราวาสได้แต่งงานมีเหย้ามีเรือน ใช้ชีวิตตามวิถีชาวโลก จนมีบุตรด้วยกันหนึ่งคน เหตุการณ์หลังจากนั้นวาสนาบารมีทางธรรมท่านได้ใกล้เข้ามา จึงดลบันดาลให้เหตุการณ์กระทบอารมณ์ เป็นทุกข์อย่างหนักทางโลก ปีแรก น้องสาวท่านตาย ปีที่สองมารดาก็มาตายอีก หลวงปู่บุญมาท่านเล่าว่าตอนนั้น จิตของท่านเกิดธรรมะ ได้คิดว่า “ความตายมันได้ใกล้เข้ามาหาเรา...ถ้าเราอยู่ต่อไป ไม่กี่วันก็คงตาย ถ้าจะตาย ขอให้ไปส่งความดีก่อนตาย เพื่อจะได้เป็นที่พึ่งในอนาคต” เป็นทางออกที่ดีที่สุด ก่อนความตายจะมาถึง แต่ไม่ทันที่ท่านจะได้ออกบำเพ็ญความดีตามที่ท่านตั้งใจไว้ พายุโลกโหมกระหน่ำซ้ำเติมซ้ำสามในระยะเวลาไม่นาน ภรรยาท่านก็มาเสียชีวิตลง “ทุกข์เกิดขึ้น” เป็นทุกข์ที่ทำให้ท่านต้องตั้งคำถาม และพิจารณาปัญหาต่อไปว่า “ลูกที่่เกิดมา จะทำอย่างไร ใครจะเลี้ยงลูก”

    แล้วท่านก็พิจารณาเรื่องลูกว่า “ถึงแม้ว่าแม่จะตาย พ่อก็ยังอยู่ เด็กบางรายเกิดมาไม่กี่วันก็ตาย บางคนเดินได้ วิ่งได้ แล้วก็มาตาย แล้วแต่บุญวาสนาของแต่ละคน ไม่ถึงวันตายก็ไม่ตาย ถ้าจะให้ทานลูกแก่ผู้ต้องการ ลูกก็คงเติบใหญ่ขึ้นได้ด้วยบุญวาสนาบารมีของตนเองที่สร้างสมมาแต่ปางก่อน” ท่านคิดได้อย่างนี้ จึงยกลูกให้แก่พ่อตา แม่ยาย เป็นผู้เลี้ยงดู และตัดสินใจออกบวช ช่วงนั้นประมาณเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๔๙๔ ใกล้เข้าพรรษาแล้ว ระหว่างช่วงจัดงานศพให้ภรรยาท่านนั้น ได้นิมนต์ หลวงปู่สิงห์ สหธัมโม ไปสวดบังสุกุล หลวงปู่สิงห์ พระอาจารย์ผู้ที่ให้ธรรมะแนะนำการปฏิบัติแก่ท่านอยู่ก่อนแล้ว ได้ถามท่านว่า “จะบวชไหม” ซึ่งท่านก็ตอบหลวงปู่สิงห์ไปว่า “บวชแน่นอนครับ” หลังจากจัดการงานศพของภรรยาเสร็จ ท่านก็ลาบิดา พ่อตา แม่ยาย เข้าไปวัดพระธาตุฝุ่น ต.ค้อใต้ อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร เพื่อรอบวชในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๔๙๔

    ท่านอุปสมบทเมื่อวันที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๙๔ เวลา ๑๔.๑๕ น. ขณะอายุได้ ๒๔ ปี ณ วัดโพธิสมภรณ์ ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี โดยมี พระธรรมเจดีย์ (หลวงปู่จูม พันธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระครูสมุห์สวัสดิ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับนามฉายาว่า “คัมภีรธัมโม” ซึ่งแปลว่า ผู้มีธรรมอันลึกซึ้ง

    เมื่ออุปสมบทแล้วเสร็จ ท่านได้ไปอยู่จำพรรษาศึกษาข้อวัตรปฏิปทากับหลวงปู่สิงห์ สหธัมโม วัดพระธาตุฝุ่น จ.สกลนคร ในพรรษาแรก หลวงปู่สิงห์ได้ให้ท่านฝึกปฏิบัติสมาธิภาวนาขนานใหญ่ ขนาดยอมอดนอน ไม่ยอมหลับในตอนกลางคืน ช่วงเข้าพรรษาตลอด ๓ เดือน พระเณรที่อยู่ด้วยต้องยืน เดิน นั่ง ๓ อิริยาบถตลอดทั้งคืน ห้ามนอนเวลากลางคืน จึงทำให้ได้รับผลจากการภาวนามากตลอดพรรษา

    พอพรรษาที่ ๒ พระบุญมา จิตท่านเกิดฟุ้งซ่านอยากจะสึก ครั้นเมื่อออกพรรษาแล้ว หลวงปู่สิงห์ สหธัมโม จึงได้ให้ท่านไปหาหลวงปู่ขาว อนาลโย ซึ่งขณะนั้นท่านอยู่ที่ถ้ำค้อ อ.ศรีธาตุ จ.อุดรธานี ห่างจากวัดถ้ำฝุ่นไป ๒๐-๓๐ กิโลเมตร เมื่อไปถึงถ้ำค้อ ที่หลวงปู่ขาว อนาลโย ท่านพำนักจำพรรษาอยู่ พระบุญมาได้เข้าไปกราบคารวะ หลวงปู่ขาวจึงได้พูดขึ้นว่า “ทำไมถึงอยากสึก แยกจิตออกนอกทำไม” พระบุญมาท่านยังไม่ทันตอบ หลวงปู่ขาวก็พูดต่อไปอีกว่า “ออกก็ออกมาจากที่นั่น จะเข้าไปที่เดิม มันถูกรึ” หลวงปู่ขาวท่านรู้วาระจิต จากนั้นก็อบรมสั่งสอนให้ท่านอยู่ป่าเป็นวัตร อยู่กับช้าง กับเสือ กับผีสาง เป็นการให้มีสติอยู่กับตนไป ไม่ให้ฟุ้งซ่านส่งจิตออกไปไหน” หลวงปู่บุญมา ท่านเล่าว่า “ช่วงนี้กลัวมาก ถึงสวดมนต์อย่างไรก็กลัว กลัวตาย ช่วงที่อยู่กับหลวงปู่ขาว อนาลโย จึงตั้งใจบำเพ็ญเพียรภาวนาตามคำสอนขององค์ท่าน ปรากฏผลดีมาก จิตใจสบาย วิเวกดี จิตไม่ปรุงแต่งอะไร ไม่ออกไปสร้างบ้านสร้างเรือน สร้างครอบครัวอีก เพราะกลัวตาย คนกลัวตายต้องหาที่พึ่ง ถ้าได้ที่พึ่งทางจิตแล้วสบาย ไม่กลัวตายต่อไปอีกแล้ว”

    ครั้นออกพรรษาได้จาริกธุดงค์เข้ากราบรับข้ออรรถข้อธรรมจากพระเถระผู้ใหญ่ ศิษย์ในองค์หลวงปู่ใหญ่มั่น ภูริทัตโต หลายองค์ อาทิ หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล จ.หนองบัวลำภู, หลวงปู่หลุย จันทสาโร วัดถ้ำผาบิ้ง จ.เลย และหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโครธาราม จ.อุดรธานี เป็นต้น และได้จาริกธุดงค์ร่วมกันกับ หลวงปู่คำบุ ธัมมธโร ซึ่งเป็นพระอาจารย์รูปสำคัญของท่าน ออกวิเวกตามสถานที่ต่างๆ ไปยังป่าช้าง ป่าเสือ ฝึกจิตตามป่าตามเขาโถงถ้ำ ไปในที่ๆ ขึ้นชื่อว่าอาถรรพณ์ผีดุ เปลี่ยนที่จำพรรษาไปเรื่อยๆ ไม่ติดถิ่น ทั้งที่กันดารห่างไกลจากบ้านจากเรือนสลับกับการไปฝึกอบรมยังสำนักของพ่อแม่ครูอาจารย์ ซึ่งเป็นระยะเวลายาวนานถึง ๒๙ พรรษา

    เริ่มจำพรรษาที่ วัดป่าสีห์พนมประชาคม บ้านหนองกุง ต.บงใต้ อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร ในพรรษาที่ ๒๐ เป็นพรรษาแรก ตรงกับปี พ.ศ.๒๕๑๔ จากนั้นจึงออกจาริกธุดงค์ไปจำพรรษาในที่ต่างๆ แล้วเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๓ หลวงปู่บุญมาท่านก็กลับมาจำพรรษาอยู่ที่ วัดป่าสีห์พนมประชาคม มาโดยตลอดจวบจนกระทั่งปัจจุบัน


    2794-17de-jpg.jpg
    หลวงปู่บุญมา คัมภีรธัมโม กับ หลวงปู่ล้วน จันทสาโร
    ในพิธีสรงน้ำและขอขมาสรีระสังขารหลวงปู่จาม มหาปุญโญ
    ณ วัดป่าวิเวกวัฒนาราม ต.คำชะอี อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร



    2795-b1a8-jpg.jpg

    หลวงปู่บุญมา คัมภีรธัมโม

    sam_8513-jpg-jpg.jpg sam_8514-jpg-jpg.jpg sam_8515-jpg-jpg.jpg sam_7605-jpg-jpg.jpg sam_4820-jpg-jpg-jpg.jpg
     
  14. shaj

    shaj เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    7,972
    ค่าพลัง:
    +6,567
    ขอจอง778ครับ
     
  15. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 785 เหรียญรูปไข่หลวงปู่เพียร วิริโย พระอรหันต์เจ้าวัดป่าหนองกอง อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี หลวงปู่เพียรเป็นศิษย์พระหลวงตามหาบัว วัดป่าบ้านตาด พระเหรียญสร้างปี 2549 สร้างเนื่ององค์หลวงปู่อายุครบ 79 พรรษา มีตอกโค๊ต พ หลังเหรียญ เนื้อทองเเดงรมดำ มาพร้อมพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ >>>อนึ่ง ....หนวด,ฟัน,เกศาเเละเล็บของหลวงปู่เป็นพระธาตุตั้งเเต่หลวงปู่เพียรยังทรงธาตุทรงขันต์อยู่ครับ************บูชาที่ 275 บาทฟรีส่งems
    หลวงปู่เพียร วิริโย
    (หลวงปู่เพียร วิริโย {{{ฉายา}}})
    200px-por_pern-jpg.jpg
    เกิด 7 ตุลาคม พ.ศ. 2469
    มรณภาพ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2552
    อายุ 82
    อุปสมบท 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2490
    พรรษา 61
    วัด วัดป่าหนองกอง
    จังหวัด จังหวัดอุดรธานี
    สังกัด ธรรมยุติกนิกาย
    ตำแหน่ง อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าหนองกอง
    25px-dharma_wheel-svg-png.png ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา
    หลวงปู่เพียร วิริโย
    พระภิกษุฝ่ายวิปัสสนาธุระ อรัญวาสี อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าหนองกอง ศิษย์ของพระธรรมวิสุทธิมงคล (บัว ญาณสมฺปนฺโน) ท่านได้รับการยกย่องจากหลวงตามหาบัวว่าเป็นผู้มีวัตรเรียบร้อย ปฏิบัติเอาจริงเอาจรัง ไม่มีด่างพร้อย

    ประวัติ
    ชาติกำเนิด
    หลวงปู่เพียร วิริโย นามเดิมของท่านคือ เฟือน จันใด ต่อมาพระอาจารย์ได้เมตตาเปลี่ยนชื่อให้ใหม่เป็น เพียร[2] เป็นบุตรของนายพา - นางวัน จันใด เกิดวันพฤหัสบดีที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2469 ที่บ้านศรีฐาน ต.ศรีฐาน อ.คำเขื่อนแก้ว จ.อุบลราชธานี หรือ จ.ยโสธร ในปัจจุบัน

    อุปสมบท[แก้]
    บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดป่าศรีฐาน ตำบลกระจาย อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2490 เมื่ออายุครบ 22 ปี ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดเดียวกัน โดยมีพระครูพิศาลศีลคุณเป็นพระอุปัชฌาย์[2]

    ศึกษาธรรม[แก้]
    หลังศึกษาพระธรรมระยะหนึ่ง ก็ออกธุดงค์ไปตามที่ต่าง ๆ จนได้เป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต พระอาจารย์ใหญ่สายวิปัสนาภาคอีสาน เมื่อสิ้นบุญหลวงปู่มั่น หลวงปู่เพียรได้ตามหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโนมาสร้างวัดป่าบ้านตาดจนแล้วเสร็จ ต่อมาได้ออกธุดงค์ไปจำวัดอยู่กับหลวงปู่บัว ปริปุณฺโณ วัดราษฎรสงเคราะห์ อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี กระทั่งมาพบสถานที่สร้างวัดป่าหนองกอง เห็นว่าเป็นที่สงบเหมาะสร้างวัดปฏิบัติธรรม หลวงปู่เพียรจึงสร้างวัด ณ สถานที่แห่งนี้จนมั่นคงสืบมา

    มรณภาพ[แก้]
    หลวงปู่เพียร เริ่มมีอาการอาพาธเมื่อปี พ.ศ. 2546 กระทั่งในปี 2548 ได้เข้ารับการตรวจรักษาที่ รพ.ศูนย์อุดรธานี แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคปอดและโรคหัวใจ ต่อมาในปี 2552 ก็เข้ารับการตรวจรักษาบ่อยขึ้น ล่าสุดเมื่อเวลา 09.00 น. ของวันที่ 22 มิถุนายนที่ผ่านมา ลูกศิษย์ได้นำหลวงปู่เพียรที่มีอาการอาพาธส่ง รพ.ศูนย์อุดรธานี และได้รับการส่งต่อไปรักษาที่ รพ.ศรีนครินทร์ จ.ขอนแก่น ก่อนที่หลวงปู่จะมรณภาพด้วยอาการสงบ เมื่อเวลา 01.28 น. ของวันที่ 23 มิถุนายน 2552

    งานพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่เพียรจัดขึ้นเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 อัฐิหลวงปู่เพียรได้แปรสภาพเป็นพระธาตุในเวลาต่อมา

    sam_8474-jpg-jpg.jpg sam_8475-jpg-jpg.jpg sam_8477-jpg-jpg.jpg sam_7793-jpg-jpg.jpg sam_0438-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg
     
  16. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 786 ล็อกเก็ตรุ่นเศรษฐีหลวงปู่ทองคำ กาญจณวัณโณ พระอรหันต์เจ้าวัดถํ้าบูชา อ.เซกา จ.บึงกาฬ หลวงปู่ทองคำเป็นศิษย์หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร ล็อกเก็ตสร้างปี 2557 พิเศษองค์นี้มีรอยจารย์หลวงปู่ด้านหลัง มีฝังตะกรุดเงิน 1 ดอก เเละฝังคำหมากหลวงปุ่มาพร้อมกล่องเดิม ************มีเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ >>>>>บูชาที่ 375 บาทฟรีส่งems
    ประวัติ หลวงปู่ทองคำ กาญจนวัณโณ วัดถ้ำบูชา (ภูวัวน้ำตกเจ็ดสี) บ้านดอนเสียด ต.บ้านต้อง อ.เซกา จ.บึงกาฬ
    %B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%B3.jpg
    หลวงปู่ทองคำ กาญจนวัณโณ วัดถ้ำบูชา
    หลวงปู่ทองคำ ท่านเป็นศิษย์หลวงปู่ฝั้น อาจาโร และเคยไปศึกษาธรรมอยู่กับหลวงปู่จวน กุลเชฎโฐ อีกทั้งยังเป็นกำลังสำคัญร่วมสร้างสะพานรอบภูทอก บนชั้นที่ ๕ กับคณะสงฆ์ในสมัยนั้นอีกด้วย หลวงปู่ทองคำ ท่านวิเวกมาอยู่ที่ถ้ำบูชาที่ภูวัว ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๐ และรับตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่ ปี พ.ศ.๒๕๒๗ เป็นต้นมา

    “…ภาวนาก็เอาแต่ดูนาฟิกา นี่ครบชั่วโมงหรือยัง ไอ้อย่างนี้มันภาวนาเอาเวลานี่ ไม่ใช่ภาวนาชำระกิเลส สำรอกกิเลส ภาวนาก็คิดแต่ว่าได้หรึอ เมื่อไหร่จะได้ จะมีจะเป็น ภาวนาอย่างนี้ มันเป็นตัณหา มันเอาแต่หา แล้วอย่างงี้มันจะสงบได้อย่างไร ภาวนามันต้องปล่อย ต้องละ ต้องวาง ไม่ใช่คอยแต่จะหา จะเอา…”

    โอวาทธรรมหลวงปู่ทองคำ กาญจนวัณโณ

    หลวงปู่ทองคำ กาญจนวัณโณ นามเดิมท่านชื่อ ทองคำ นามสกุล เนตรสูงเนิน ท่านถือกำเนิดตรงกับวันที่ ๑๓ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๘๑ ณ บ้านโนนประดู่ อ.จักราช จ.นครราชสีมา

    บิดาชื่อ พ่อเพชร เนตรสูงเนิน มารดาชื่อ แม่ตุ๊ เนตรสูงเนิน ครอบครัวท่านประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา ท่านเองเมื่อเป็นเด็ก ก็ได้ช่วยเหลือครอบครัวอย่างแข็งขัน

    หลวงปู่ทองคำ ท่านอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๐๔ ณ วัดสุทธจินดา จ.นครราชสีมา โดยมีหลวงปู่โชติ คุณสัมปันโน วัดวชิราลงกรณ์ฯ จ.นครราชสีมา เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากจำพรรษาอยู่ศึกษากับพระอุปัชฌาย์ได้ ๒ พรรษาแล้ว

    ท่านได้ออกวิเวกธุดงค์ไปตามป่าเขา ปฎิบัติภาวนาอย่างเคร่งครัดจริงจัง เพื่อความพ้นทุกข์ สมัยที่ท่านยังเป็นพระหนุ่มพรรษายังไม่มาก ท่านจะออกปฏิบัติธรรมอย่างอุกฤษฎ์ในหลายสถานที่ อาทิ น้ำตกเขาอีโต้ จ.ปราจีนบุรี น้ำตกห้วยแก้ว เขาใหญ่

    ต่อมาท่านได้ธุดงค์จาริกไปที่ วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร เพื่อศึกษาและปฏิบัติธรรมอยู่กับหลวงปู่ฝั้น อาจาโร โดยท่านมักจะพำนักอยู่จำพรรษาที่วัดถ้ำขาม และเที่ยวมาฟังธรรมจากหลวงปู่ฝั้นอยู่ตามโอกาส

    หลังออกพรรษารับผ้ากฐินแล้ว ท่านมักจะพาพระ-เณร ออกเดินธุดงค์ไปทางอำเภอกุดบาก เข้าเขตอำเภอสมเด็จ อำเภอท่าคันโท อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ในบางปีก็จะเปลี่ยนที่ไปแถบ ภูวัว ภูทอก ภูสิงห์ ภูกิ่ว อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย (ปัจจุบัน จ.บึงกาฬ)

    B8%B3-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%96%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%9A%E0%B8%B9%E0%B8%8A%E0%B8%B2.jpg
    หลวงปู่ทองคำ กาญจนวัณโณ
    ท่านได้อยู่ฝึกอบรมกับหลวงปู่ฝั้น จนหลวงปู่ฝั้นมรณภาพ หลังจากหลวงปู่ฝั้น ฯ มรณภาพแล้ว ท่านจึงได้มาลงหลักปักฐานอยู่ที่วัดถ้ำบูชา ภูวัว โดยระหว่างนั้น ได้เดินทางไปศึกษาอบรมกัมมัฏฐานกับพระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ ที่ภูทอกไปด้วย รวมเวลาที่ได้อบรมศึกษากับพระอาจารย์จวน ๘ ปี จนท่านพระอาจารย์จวน มรณภาพลง ญาติโยมจึงนิมนต์ท่านมาครองเป็นเจ้าอาวาสวัดถ้ำบูชา ปี พ.ศ. ๒๕๒๐ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดถ้ำบูชา โดยเป็นเจ้าอาวาสรูปที่ ๘ จวบจนถึงปัจจุบัน

    B8%93-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%96%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%9A%E0%B8%B9%E0%B8%8A%E0%B8%B2.jpg
    หลวงปู่ทองคำ กาญจนวัณโณ วัดถ้ำบูชา
    ท่านหลวงปู่ทองคำ กาญจนวัณโณ ปกครองวัดและพระเณรแบบสมถะ ไม่สะสมสิ่งใด มุ่งตรงต่อพระธรรมวินัยและความพ้นทุกข์ ท่านเน้นการปฏิบัติให้ดูมากกว่าการพูดสอน และอุปนิสัยท่าน เกรงใจในธรรม ไม่ได้เกรงใจในคน หลายคนจึงคิดว่าท่านดุ แต่แท้ที่จริงแล้ว ท่านเมตตาอย่างไม่มีประมาณ

    วัดถ้ำบูชา แห่งนี้ถือเป็นสถานที่สัปปายะ สงบ เหมาะแก่การภาวนาและก่อนเคยเป็นที่พำนักของพ่อแม่ครูอาจารย์สายกรรมฐานนับตั้งแต่องค์ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ,หลวงปู่หลุย , หลวงปู่ชอบ , หลวงปู่มหาสีทน เป็นต้น เรื่อยมาจนถึงหลวงปู่

    หลวงปู่ทองคำ กาญฺจนวณฺโณ ท่านมีจริยะวัตรที่เรียบง่าย เคร่งครัดต่อพระธรรมวินัยเป็นอันมากมีศีลาจารวัตรที่ผ่องแผ้วงดงาม จนเป็นที่เลื่อมใสแ่ก่สาธุชนโดยทั่วไป หลวงปู่ท่านตั้งมั่นในพระธรรมคำสั่งสอนของพ่อแม่ครูอาจารย์เป็นที่เคารพยกย่องในหมู่พระกรรมฐานถึงความเป็นพระสุปฏิปันโณ

    หลวงปู่ทองคำ ท่านมีความสนิทคุ้นเคยกับสหธรรมมิกที่เคยอยู่ร่วมปฏิบัติหรือไปมาหาสู่กันหลายท่าน อาทิ หลวงปู่อุทัย สิรินธโร หลวงปู่ประสิทธิ์ ปุญญมากโร หลวงปู่เสถียร คุณวโร , หลวงปู่อุดม ญาณรโต ,หลวงปู่ทองพูล สิริกาโม และหลวงตาแยง วัดภูทอก เป็นต้น SAM_9221.JPG SAM_9222.JPG SAM_9223.JPG SAM_7823.JPG
     
  17. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 787 พระผงสมเด็จรุ่นพิเศษผสมเกศาหลวงปู่ชอบ ฐานสโม พระอรหันต์เจ้าวัดป่าสัมมานุสรณ์ อ.วังสะพุง จ.เลย หลวงปู่ชอบเป็นศิษย์ผู้ใหญ่หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต องค์พระสร้างปี 2537 (ทันหลวงปู่ครับ) รุ่นนี้พิเศษมีผสมนํ้าปัสสาวะของหลวงปู่ด้วยครับ พระสวยไม่เคยใช้ มีคราบพระธาตุผุดนิดๆ มีพระเกศาเเละพระธาตุมาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ ***********บูชาที่ 395 บาทฟรีส่งems SAM_9219.JPG SAM_9220.JPG SAM_8010.JPG
     
  18. shaj

    shaj เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    7,972
    ค่าพลัง:
    +6,567
    ขอแบ่งบูชารายการที่787ครับ
     
  19. Khun Kriang

    Khun Kriang สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2019
    โพสต์:
    290
    ค่าพลัง:
    +4
    จองครับ
     
  20. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    #เรียนเพื่อนสมาชิกสืบเนื่องเที่ยวนี้ผมไม่สบายมากไปฉีดวัดซีนมาครับเเพ้อย่างเเรงเป็นไข้หน้าบวบเเขนขาบวบหมดเพราะเรามีโรคข่างเคียงคือเบาหวานเลยไม่ได้อยู่หน้าจอ ประกอบกับกล่องเราเดอร์รับสัญญาณเน็ตก้เสีย กว่าจะตามช่างมาซ่อมให้หลายวันพอดู เพราะที่อำเภอไม่มีศูนย์ ต้องตามที่ศูนย์จังหวัด ต้องขอโทษขออภัยเพื่อนๆสมาชิกด้วยครับ ของที่จองไว้ก็ยังอยู่ที่ผม ผมจะทยอยจัดส่งให้นะครับ ขอขอบคุณครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...