มีวัตถุมงคลสายพระป่ากรรมฐานให้บูชาราคาเบาๆ

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย Somchai 2510, 8 กันยายน 2019.

  1. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 858
    พระกริ่งรุ่นเเรกรุ่นเศรษฐี+เหรียญรุ่นสร้างพิพิธภัณฑ์หลวงปู่ตื้อหลวงปู่สังข์ สังกิจโจ พระอรหันต์เจ้าวัดป่าอาจารย์ตื้อ อ.เเม่เเตง จ.เชียงใหม่ หลวงปู่สังข์เป็นศิษย์หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม ,หลวงปู่เเหวน สุจิณโณ เป็นต้น พระกริ่งสร้างปี 2556 ้เนื้อทองเหลือง มาพร้อมกล่องเดิม *** ประวัติย่อๆพระครูภาวนาภิรัต ( หลวงปู่สังข์ สังกิจโจ ) วัดป่าอาจารย์ตื้อ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ***
    -:- ชาติภูมิ -:-
    นามเดิมของท่านชื่อ สังข์ คะลีล้วน เกิดเมื่อวันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ.๒๔๗๓ ณ บ้านข่า อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม บิดาชื่อนายเฮ้า มารดาชื่อนางลับ คะลีล้วน ท่านมีพี่ชายติดโยมบิดา ๑ คน มีพี่ชายติดโยมมารดา ๑ คน และมีพี่น้องร่วมท้องเดียวกันจำนวน ๔ คน โดยท่านเป็นลูกชายคนที่ ๑
    -:- บรรพชา -:-
    ท่านเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ซื่งถือว่าสูงสุดในสมัยนั้น เมื่ออายุครบ ๑๘ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ พัทธสีมา วัดศรีเทพประดิษฐาราม อ.เมือง จ.นครพนม โดยมีพระสารภาณมุนี(หลวงปู่จันทร์ เขมิโย) เป็นพระอุปัชฌาย์ (ต่อมาได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระเทพสิทธาจารย์) บรรชาเสร็จก็กลับมาจำพรรษาที่วัดอรัญญวิเวก บ้านข่า อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม ซื่งเป็นบ้านเกิด
    -:- ฟังธรรมจากหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต -:-
    เมื่อครั้งเป็นสามเณร ในขณะนั้นหลวงปู่มั่น ภิริทัตโต พระบุพพาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนากรรมฐาน ได้มาพำนักที่วัดป่าบ้านหนองผือนาใน อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร สามเณรสังข์ในครั้งนั้นก็ได้มีโอกาสได้เข้ากราบนมัสการและรับฟังพระธรรมเทศนาจากหลวงปู่มั่น ภูริทัตโตโดยตรง แต่ยังไม่ค่อยเข้าใจนักเพราะยังเป็นเด็กอยู่
    -:- ติดตามหาหลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม -:-
    ท่านเป็นสามเณรอยู่ 3 ปี สามารถสอบนักธรรมชั้นตรี และโท ได้จากสนามสอบวัดศรีชม ซึ่งเป็นวัดบ้านเพราะยุคนั้นสนามสอบของคณะธรรมยุติยังไม่มี
    ต่อมาท่านจึงได้ออกติดตามหาหลวงปู่ตื้อ อจลธมโม ซึ่งมีศักดิ์เป็นญาติทางยาย คือปู่ของหลวงปู่ตื้อเป็นพี่ชายของคุณยายของท่าน เคยได้ยินแต่กิตติศัพท์ของหลวงปู่ตื้อมานาน แต่ไม่เคยเห็นตัวจริงมาก่อน จึงอยากจะออกติดตามหาหลวงปู่ตื้อ และได้ขึ้นมา จ.เชียงใหม่เป็นครั้งแรก โดยมีพี่ชายของหลวงปู่ตื้อ มีพระและญาติโยมตามมาด้วย ซึ่งเมื่อถึงจังหวัดเชียงใหม่แล้ว ก็เข้าพักที่จังหวัดเชียงใหม่ก่อน ได้ยินว่าหลวงปู่ตื้อจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าดาราภิรมย์ อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ จึงตามไปพบท่านที่วัดป่าดาราภิรมย์ เมื่อได้พบหลวงปู่ตื้อแล้วก็พักอยู่ที่วัดป่าดาราภิรมย์ระยะหนึ่งจึงเดินทางกลับบ้านเกิดที่ จ.นครพนม
    -:- อุปสมบท -:-
    ใน พ.ศ.๒๔๙๓ อายุ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ท่านได้เข้าอุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดป่าบ้านสามผง อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม โดยมีพระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตตโก เป็นพระอุปัชฌาย์ พระทัด เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์บุญส่ง โสปโก เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่ออุปสมบทแล้ว ก็อยู่จำพรรษาที่วัดป่าบ้านสามผง อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม กับพระอุปัชฌาย์เป็นเวลา ๕ ปี ท่านสอบนักธรรมชั้นเอกได้ที่วัดป่าบ้านสามผงแห่งนี้ แล้วทำหน้าที่เป็นครูสอนนักธรรมช่วยพระอุปัชฌาย์
    -:- ออกวิเวกทางภาคเหนือ -:-
    จากนั้นปี พ.ศ.๒๔๙๙ หลวงปู่สังข์ สังกิจโจ จึงออกเดินทางขึ้นเหนือเพื่อมาอยู่กับหลวงปู่ตื้อ อจลธมโม ที่วัดป่าดาราภิรมย์ อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ที่นี่ท่านได้เรียนบาลีไวยากรณ์กับพระมหามณี พยอมยงย์ จนจบชั้นหนึ่ง สอบได้แล้วจึงหยุดเรียน เพราะจิตใจใฝ่ในทางธุดงค์มากกว่า ท่านจึงได้ออกวิเวกแถบจังหวัดเชียงราย โดยมีพระอาจารย์ไท ฐานุตตโม วัดเขาพุนก อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี เป็นสหธรรมิก เที่ยววิเวกไปด้วยกัน ได้พบพระอาจารย์มหาทองอินทร์ กุสลจิตโต ที่วัดถ้ำผาจรุย อ.ป่าแดด จ.เชียงราย
    -:- พำนักที่วัดป่าอาจารย์ตื้อ -:-
    หลวงปู่ตื้อ อจลธมโม ได้สร้างวัดป่าสามัคคีธรรมขึ้นซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดป่าอาจารย์ตื้อ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๙ หลวงปู่สังข์ได้กลับจากเที่ยววิเวกมาจำพรรษากับหลวงปู่ตื้อที่วัดป่าอาจารย์ตื้อ ท่านได้พัฒนาและบูรณะวัดนี้มาโดยตลอด
    ในปี พ.ศ.๒๕๒๓ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดป่าอาจารย์ตื้ออย่างเป็นทางการ ได้สร้างอุโบสถหนึ่งหลัง ในปี พ.ศ.๒๕๓๘ ได้รับพระราชสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่พระครูภาวนาภิรัต หลวงปู่สังข์ สังกิจโจได้จำพรรษาอยู่ที่วัดป่าอาจารย์ตื้อ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ มาเป็นเวลากว่า 54 ปีแล้ว ปัจจุบันหลวงปู่อายุจะครบ 89 ปี พรรษา 69 ในวันที่ 24 กัยยายน 2563 นี้ครับ(่ท่านยังทรงธาตุทรงขันต์อยู่ครับ)
    >>>>>>มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ*********บูชาที่ 485 บาทฟรีส่งems sam_6773-jpg-jpg.jpg sam_6774-jpg-jpg.jpg sam_6775-jpg-jpg.jpg sam_6776-jpg-jpg.jpg sam_1581-jpg-jpg.jpg sam_1654-jpg.jpg sam_1655-jpg.jpg sam_1967-jpg-jpg.jpg

     
  2. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 859 เหรียญรุ่นให้พร+ล็อกเก็ตเข็มกลัดจัมโบ้พระหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน พระอรหันต์เจ้าวัดป่าบ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี เหรียญสร้าง 12 สิงหาคม 2553(วันเกิดหลวงตา) เนื้อกะไหล่ทอง หน้ากากทอง มีตอกโค๊ตดอกบัว มาพร้อมกล่องเดิม มีพระเกศา,พระธาตุมาบูชาด้วยครับ (พระใหม่ไม่เคยใช้ ทันพระหลวงตาครับ ท่านละสังขาร ปี 2554) ******บูชาที่ 505 บาทฟรีส่งems SAM_7559.JPG SAM_7560.JPG sam_0510-jpg-jpg.jpg sam_6893-jpg-jpg.jpg sam_6894-jpg-jpg.jpg sam_6895-jpg-jpg.jpg sam_2767-jpg-jpg.jpg
     
  3. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 860 กริ่งรูปเหมือนรุ่นเเรก+ผ้ายันต์มงกุฏพระพุทธเจ้าสีเเดงขนาดกว้าง 10 นิ้ว ยาว 11 นิ้วหลวงปู่จันทา ถาวโร พระอรหันต์เจ้าวัดป่าเขาน้อย อ.วังทรายพูน จ.พิจิตร หลวงปู่จันทาเป็นศิษย์หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถํ้ากลองเพล องค์พระสร้างปี 2538 สร้างเนื่องเป็นที่ระลึกเปิดโรงพยาบาลวังทรายพูน มาพร้อมกล่องเดิม >>>>>>> (*****หมายเหตุ ......ผ้ายันต์ของหลวงปู่สุดยอดมากครับ มีผ่านประสบการณ์มาเเล้วครับ) *********มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ [......บูชาที่ 545 บาทฟรีส่งems sam_0322-jpg-jpg.jpg sam_5916-jpg-jpg.jpg sam_5917-jpg-jpg.jpg sam_5920-jpg-jpg.jpg sam_5918-jpg-jpg.jpg sam_5919-jpg-jpg.jpg เปิดดูไฟล์ 5438962 sam_2479-jpg-jpg.jpg SAM_7561.JPG SAM_7562.JPG
     
  4. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    >>>>>เช้าวันนี้ได้จัดส่งวัตถุมงคลให้เพื่อนสมาชิก 2 ท่านครับ เลขที่ ems ตามใบฝอยครับผม SAM_7563.JPG
     
  5. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 861 รูปหล่อเหมือนลอยองค์หลวงปู่เหลือง ฉนฺทาคโม พระอรหันต์เจ้าวัดกระดึงทอง ต.บ้านด่าน อ.บ้านด่าน จ.บุรีรัมย์ หลวงปู่เป็นศิษย์หลวงปู่ดุล อตุโล รูปหล่อเหมือนสร้างปี 2554 เนื้อโลหะผสมรมดำ สร้างเนื่ององค์หลวงปู่อายุครบ 84 ปี มีตอกโค๊ต 3 โค๊ต โค๊ตตัวเลข 4263 เเละโค๊ต อักษร ล ใต้องค์พระ เเละโค๊ตตัวเลข 54 หลังองค์พระ มาพร้อมกล่องเดิม พระดีที่ควรกราบไหว้รูปหนึ่งในเวลานี้คือ หลวงปู่เหลือง ฉนฺทาคโม หรือ พระราชปัญญาวิสารัท เจ้าอาวาสวัดกระดึงทอง ต.บ้านด่าน อ.บ้านด่าน จ.บุรีรัมย์ ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์ (ธรรมยุต)....>>>>>>มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาด้วยครับ**********บูชาที่ 385 บาทฟรีส่งems
    .........ประวัติย่อพอสังเขปหลวงปู่เหลือง ฉันทาคโม ท่านเป็นศิษย์อาวุโสรูปหนึ่งของ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล วัดบูรพาราม จ.สุรินทร์ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดถ้ำขาม จ.สกลนคร และพระอริยเวที (เขียน ฐิตสีโล) วัดรังสีปาลิวัน จ.กาฬสินธุ์ หลวงปู่เหลืองมีนามเดิมว่า เหลือง ทรงแก้ว ท่านเกิดในยามใกล้รุ่งของวันอังคารที่ 1 พ.ค. ปี พ.ศ. 2470 ที่บ้านนาตรัง หมู่ที่ 2 ต.เขวาสินรินทร์ อ.เมือง จ.สุรินทร์ เป็นบุตรคนที่ 6 ในครอบครัวของนายเที่ยง ทรงแก้ว และนางเบียน ทองเชิด หลังเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ขณะอายุได้ 15 ปี แล้วออกจาริกเดินตามหลังพระพี่ชายไปตอนอายุ 16 ปี หลังจากนั้นชีวิตของหลวงปู่เหลืองก็ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ด.ช.เหลือง ออกจากบ้านเดินตาม พระครูสมุห์ฉัตร ธมฺมปาโล และพระอาจารย์สมุห์เสร็จ ญาณวุฑโฒ 2 ภิกษุศิษย์หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม ผู้ซึ่งได้ชื่อว่าเป็น “มือขวา” ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ไปใน พ.ศ. 2486 จากสุรินทร์ไปถึงนครราชสีมา ไปฉะเชิงเทรา ชลบุรี จันทบุรี ระยอง
    ด้วยอายุเพียงเท่านั้นแต่ท่านมีบุญได้พบครูบาอาจารย์แล้วหลายรูป อาทิ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล พระผู้สรุปอริยสัจ 4 จากการปฏิบัติไว้ชนิดคนสามัญขนานนามท่านว่า เจ้าแห่งจิต ท่านพ่อลี ธมฺมธโร แห่งวัดป่าคลองกุ้ง ฯลฯ รวมทั้งได้มอบกายถวายใจเป็นศิษย์ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ท่านเล่าถึงวันคืนในอดีตครั้งไปกราบท่านพ่อลีที่วัดป่าคลองกุ้งว่า “ตอนนั้นวัดป่าคลองกุ้งยังเป็นป่าอยู่ ต้นไม้ใหญ่ๆ มีศาลทำบุญไม้หนึ่งหลังและกุฏิกรรมฐานเล็กๆ ตั้งอยู่ตามโคนต้นไม้ เงียบสงัด พระฉันแล้วก็เข้ากรรมฐานหมด ไม่เพ่นพ่านรุ่งเรืองเหมือนสมัยนี้ ไปพักอยู่กับท่าน 1 เดือน ...บอกกับท่านว่าจะขอธุดงค์ต่อไปทางบ่อไพลิน เข้าสู่แดนเขมร ท่านพ่อลีก็ห้าม ตอนนั้นปลายสงครามโลก เหตุการณ์ยังไม่ปกติ เกรงจะเป็นอันตราย แต่พระอาจารย์ฉัตรพี่ชายก็จะขอไปให้ได้ก็ต้องยอมผ่อนผันให้ไป ท่านพ่อลีเมตตาอาตมามากเพราะยังเป็นเด็ก กลัวจะลำบาก ท่านเลยบอกว่า จะให้คาถากันตัว สั่งให้ท่องไว้ตลอดเวลา ไม่ต้องกลัวเสือช้างอะไรทั้งสิ้น
    คาถาของท่านยังจำได้จนถึงบัดนี้ว่า นะบัง โมบัง พุทโธบังหน้า ธัมโมบังหลัง”
    สภาพบ้านเมืองในเวลานั้นช่างต่างจากเวลานี้นัก
    ท่านว่าใช้เวลาเดิน 3 คืนบุกป่าฝ่าดงจากจันทบุรีถึงทะลุถึงบ่อไพลิน ตามรายทางนั้น “เห็นพลอยเกลื่อนกลาด แต่ไม่ได้เก็บเพราะอาจารย์ฉัตรท่านว่า เรามาธุดงค์แสวงบุญไม่ได้มาหาเพชรพลอย”
    การธุดงค์จบลงด้วยการย้อนกลับมาที่ วัดป่าศรัทธารวม จ.นครราชสีมา
    ณ พ.ศ.นั้น หลวงปู่ฝั้น อาจาโร กำลังเป็นสดมภ์หลักในการบุกเบิกขยายวงพระกรรมฐานโดยใช้ จ.นครราชสีมา เป็นฐาน โดยท่านเองรับเป็นเจ้าอาวาสวัดแห่งนี้อยู่ถึง 12 ปีคือ ตั้งแต่ พ.ศ. 2475-2487 ช่วงเวลานั้น วัดป่าศรัทธารวมซึ่งเป็นป่าช้าเก่าเป็นศูนย์รวมของพระกรรมฐานจำนวนมากไม่ว่า พระมหาปิ่น ปัญญาพโล หลวงปู่เทกส์ เทสรังสี หลวงปู่ภุมมี ฐิตธัมโม หลวงปู่หลุย จันทสาโร หลวงปู่กงมา จิรปุญโญ ฯลฯ หลวงปู่เหลืองเข้าไปฝากตัวเป็นศิษย์หลวงปู่ฝั้น ขณะอายุ 17 ปี หรือราวช่วง พ.ศ. 2486-2487 โดยบรรพชาเป็นสามเณรที่ วัดสุทธจินดา จ.นครราชสีมา มีพระโพธิวงศาจารย์ (สังข์ทอง นาควโร) หรือเจ้าคุณโพธิฯ เป็นพระอุปัชฌาย์
    ลุถึง พ.ศ. 2490 จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ มีสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร) เป็นพระอุปัชฌาย์ ณ วัดป่าศรัทธารวมนั่นเอง
    “ไทยดำ” ผู้เคยเขียนประวัติหลวงปู่เหลืองลงในนิตยสารโลกทิพย์ ฉบับเดือน ธ.ค. 2530 เคยเรียนถามท่านว่า ระหว่างอยู่กับหลวงปู่ฝั้นนั้นหลวงปู่ฝั้นสอนอย่างไรบ้าง หลวงปู่เหลืองตอบทีเดียวเป็นความ 4 ประโยค แต่ครอบคลุมพระไตรปิฎกหมด 90 เล่ม ความนั้นมีว่า
    ท่านสอนง่ายๆ ว่า “ประสูติ หมายถึง ลมเข้า
    พระวินัย หมายถึง ลมออก
    ปรมัตถ์ หมายถึง ผู้รู้ลมเข้าลมออก
    เป็นอันจบพระไตรปิฎก นอกนั้นเป็นแต่กิ่งก้าน”
    การได้อยู่ที่ จ.นครราชสีมา ณ พ.ศ.นั้นเป็นโอกาสอันดีที่ทำให้ได้พบและศึกษากับพ่อแม่ครูอาจารย์จำนวนมาก ซึ่งท่านเหล่านั้นกระจายกันอยู่หลายแห่ง อาทิ วัดป่าสาลวัน วัดสุทธจินดา วัดสว่างอารมณ์ ฯลฯ แต่รูปที่อัธยาศัยต้องกันมากที่สุดและจะมีผลต่อชีวิตของท่านในกาลข้างหน้าคือ พระอริยเวที (เขียน ฐิตสีโล)
    เวลานั้น พระอริยเวที (เขียน ฐิตสีโล) รับภาระการบริหารคณะสงฆ์เป็นเจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา ฝ่ายธรรมยุต ท่าน|ทุ่มเททั้งกำลังกาย กำลังสติปัญญาจนทำให้การของคณะสงฆ์เป็นปึกแผ่น แต่ยศถาบรรดาศักดิ์ใดๆ ก็เหนี่ยวรั้งท่านให้ห่างหายจากการปฏิบัติได้ไม่ กลับเตือนตนอยู่ตลอดเวลาว่า “การคลุกคลีกับหมู่คณะมากเกินไปทำให้เป็นผู้ประมาท...”
    เพราะตระหนักเช่นนั้นจึงมักจะปลีกตัวออกวิเวกเป็นครั้งคราวอยู่เสมอ ก่อนจะตัดสินใจทิ้งพัดยศออกปฏิบัติอย่างเดียวใน พ.ศ. 2498 นั้น ครั้งหนึ่งท่านชวนหลวงปู่เหลือง ซึ่งยังเป็นพระหนุ่มอยู่ในขณะนั้นออกไปปฏิบัติอยู่ในป่า จ.กาฬสินธุ์ ซึ่งเป็นถิ่นกำเนิดของท่าน
    ท่านทั้งสองอยู่ด้วยกันสองคนหนึ่งพรรษา จากนั้นพระอริยเวที (เขียน ฐิตสีโล) ก็ต้องกลับมารรับภาระทางการคณะสงฆ์ต่อ ขณะที่หลวงปู่เหลืองได้พำนักและภาวนาอยู่ในสำนักสงฆ์กลางป่า อ.สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์ ต่อเนื่องไปอีกถึง 7 ปี ต่อมาป่าแห่งนั้นได้รับการพัฒนากลายเป็น วัดป่ารังสีปาลิวัน ซึ่งเป็นถิ่นพำนักของพระอริยเวที (เขียน ฐิตสีโล) จนท่านละสังขาร เมื่อ พ.ศ. 2543
    ตลอดเวลาที่อยู่นั้น พระอริยเวที (เขียน ฐิตสีโล) ก็จะแวะเวียนมาภาวนาอยู่ ณ สำนักสงฆ์แห่งนั้นและช่วยพัฒนาความเป็นอยู่ให้ชาวบ้านได้อาศัยแหล่งน้ำ ฯลฯ มาตลอด โดยมีหลวงปู่เหลืองเป็นผู้ช่วย แม้แต่เมื่อตัดสินใจออกจาริกอีกครั้งหลังอยู่ที่นั่นมาแล้ว 7 ปีก็เป็นการออกจาริกโดยมีพระอริยเวที (เขียน ฐิตสีโล) เป็นผู้นำ ท่านทั้งสองจาริกในถิ่นต่างๆ มีประสบการณ์ในภาวนาอันพิสดารหลายอย่างด้วยกัน โดยเฉพาะที่ถ้ำขันตี ซึ่งอยู่ในเทือกเขาภูพาน ท่านว่า การภาวนา ณ สถานที่แห่งนั้นทำให้มีความก้าวหน้าอย่างมาก ขณะเดียวกันท่านทั้งสองก็ผ่านเป็นผ่านตายมาพร้อมกันด้วย กล่าวคือ พระอริยเวที (เขียน ฐิตสีโล) เป็นไข้ป่าเกือบจะเสียชีวิต ก็ได้หลวงปู่เหลืองดูแล พอหลวงปู่เหลืองเองล้มเจ็บเพราะไข้ป่าก็ได้ “เจ้าคุณอาจารย์” เป็นคนรักษา ท่านกล่าวถึงความทุกข์ยากในเวลานั้นว่า “แต่ก่อนที่อาตมาจะเป็นไข้นั้น ท่านเจ้าคุณเป็นมาก่อน เมื่อสองอาทิตย์ก่อน เรียกว่าเป็นมากทีเดียว จนเพ้อ ยาก็ไม่มีรักษา ท่านมีสติสั่งว่า ถ้าท่านตายก็ให้เผาที่นี่ แล้วกวาดขี้เถ้าทิ้งลงเขาไป อย่าเอาไปลำบากเพราะไม่ใช่ตัวตนอะไรของเรา อีกอย่างหนึ่งแม้ท่านจะลาออกจากตำแหน่งแล้วแต่พัดยศอยู่ที่กุฏิ ยังไม่ได้ส่งคืน ขอให้จัดการเอาไปคืนด้วยซึ่งทำให้ประทับใจในตัวท่านมาก ท่านไม่เคยแสดงความพรั่นพรึงต่อการมรณะเลย เพราะรู้อยู่แล้วว่ามันต้องตาย...ถึงตาอาตมาบ้าง...ท่านเจ้าคุณก็ดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดี เราฝากผีฝากไข้กันมาอย่างนี้” เพราะฝากผีฝากไข้ ผ่านเป็นผ่านตายร่วมกันมา จึงไม่แปลกที่ต่อมาเมื่อ พระอริยเวที (เขียน ฐิตสีโล) อาพาธ เนื่องจาก|เส้นเลือดฝอยในสมองแตกในปี 2527 ทำให้อวัยวะเบื้องขวาเป็นอัมพาต ใครนิมนต์ไปปฏิบัติอุปัฏฐากที่ไหนท่านก็ไม่ไป แต่เมื่อหลวงปู่เหลืองนิมนต์ ท่านรับ
    ทุกวันนี้หลวงปู่เหลือง รับภาระการบริหารคณะสงฆ์เป็นเจ้าเข้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์ (ธรรมยุต) ภาระนี้เกิดมาต่อเนื่องตั้งแต่กึ่งศตวรรษก่อนโน้นเพราะปี พ.ศ. 2499 ท่านเป็นเป็นพระครูสมุห์ ฐานานุกรมของท่านเจ้าคุณพระอริยเวที พร้อมกับเจ้าอาวาสวัดรังสีปาลิวัน พอปี พ.ศ. 2515 เป็นเจ้าอาวาสวัดกระดึงทอง และเป็นเจ้าคณะตำบล วัดแห่งนี้เดิมเป็นวัดที่พระอาจารย์สมุห์เสร็จ พี่ชายเป็นคนบุกเบิกสร้างไว้ เมื่อท่านออกวิเวกเสียชีวิตเพราะไข้ป่า พระสมุห์ฉัตร พี่ชายคนรองก็เป็นคนมาดูแลแทน ถึงปี พ.ศ. 2519 ได้รับตราตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ และเป็นเจ้าคณะอำเภอเมือง พ.ศ. 2523 เป็นเจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์ (ธรรมยุต)
    หลวงปู่เหลืองกล่าวว่า พระพุทธองค์มิได้สอนให้เชื่อพระองค์เพียงอย่างเดียว หากแต่ให้ชื่อว่า “จิต คือ พุทธะ” ถ้าเราดำเนินตามที่พระองค์ทรงสอน จิตของเราก็เป็นพุทธะอย่างพระพุทธองค์ได้ ถ้าจะให้ถึงซึ่งพุทธะก็เหมือนกับเอาแก่ของต้นไม้ใหญ่ ถ้าจะเอาแก่นต้องใช้ขวานถากเปลือก ถากกระพี้ออก จิตคนเรานั้นเป็นพุทธะอยู่แล้ว หากแต่เราปล่อยให้กิเลสตัณหาห่อหุ้มจนจิตไม่ประภัสสร
    “จิตประภัสสรก็หมายถึงจิตเดิม ซึ่งเปรียบเสมือนเพชร ลักษณะแวววาวสุกใสอยู่แล้วตามธรรมชาติ แต่ที่มันเศร้าหมองจนเรามองไม่เห็นความประภัสสรของมัน เพราะมีสิ่งอื่นมาห่อหุ้ม ทำให้รัศมีเปล่งออกมาไม่ได้ อย่างไฟฉายของเรา พอเปิดสวิตช์ขึ้น มันก็สว่างเป็นลำพุ่งออกไปพอปิดสวิตช์มันก็มืด ไม่เห็นดวงไฟ ทั้งที่ความจริงจิตมันประภัสสรอยู่แล้วแต่คนเราทุกวันนี้ ก็เอากิเลส ความโกรธ ความหลงที่เปรียบเหมือนดินทรายเขม่าไฟต่างๆ ไปห่อหุ้มปิดบังมันเสียเอง มันเลยมืดบอดอยู่อย่างนั้น...เราอยากจะเห็นตามพระองค์บ้างก็ต้องลงทุนลงแรงเอาสิ่งที่หุ้มห่อออก แล้วจึงจัดสีให้มันเปล่งแสงประภัสสรขึ้น เอาอะไรมาขัดสีล่ะ ก็เอาสมาธินั่นแหละมาขัดสี...”
    “สิ่งต่างๆ ในโลกนี้มันก็อยู่ที่จิตนี้เอง ความรู้สึกของเราอยู่ที่ไหน จิตใจก็อยู่ที่นั้น หลวงปู่มั่นท่านก็เคยพูดว่า อยู่ที่ใจของเจ้า โลกนี้ไม่มีใจก็ไม่มีความหมาย โลกกับธรรมมันอิงกันอยู่ ก็อยู่อย่างไม่ขัดโลกขัดธรรมเขา รูปนาม ถ้าแยกออกก็เป็นอภิธรรมทั้งหมด
    รูปกับนามเป็นจุดแรกของปัญหา เรื่องราวต่างๆ ที่เราไม่รู้ก็เพราะไม่ได้ค้นคว้ากำหนด ท่านว่าสิ่งทั้งหลายเหล่านี้มันเป็นวัฏฏะ หมุนเวียนตั้งแต่จุดเล็กไปถึงจุดใหญ่ เหมือนกับความมืดกับความแจ้ง มันต้องอยู่ที่เดียวกัน แต่คนละช่วง มันเกิดพร้อมกันไม่ได้
    ความจริงรูปนามมันมีอยู่แล้ว ถ้าปลงความเชื่อว่า คำสอนต่างๆ ล้วนมีอยู่แล้ว ถ้าไม่มี ท่านก็ไม่มีอะไรจะพูด เมื่อไม่มีอะไรจะพูดมันก็หยุดเป็นวิมุตติไป ถ้าเอามาพูดถึงมันก็เป็นสมมติไป ธรรมะจริงๆ จะพูดหรือไม่พูดมันมีอยู่แล้ว...”
    หลวงปู่เหลือง เป็นพระมหาเถระที่ควรแก่การอัญชลี ท่านเจริญรอยตามครูบาอาจารย์ของท่านคือ แน่วแน่กับการปฏิบัติภาวนาไม่เสื่อมคลาย อยู่อย่างสมถะ เรียบง่าย แทบไม่มีใครจำสมณศักดิ์ของท่านได้เรียกกันแต่ว่า หลวงปู่เหลือง วัดกระดึงทอง
    ************หยาดเหงื่อของพระผู้เฒ่า...“หลวงปู่เหลือง ฉันทาคโม” เกจิดังแดนอีสานใต้ ศิษย์หลวงปู่ฝั้น ผู้ไม่เคยถือสมณะศักดิ์ หรือชื่อเสียงใดใด

    หลวงปู่เหลือง ฉนฺทาคโม ...พระอรหันต์เจ้าแห่งบุรีรัมย์

    17264425_1318210878241151_6727615596988056689_n-1-jpg-jpg.jpg


    18195138_1299825823469287_5894137482331668998_n-20-1-jpg-jpg.jpg 18301921_1299825850135951_4657292737319483411_n-jpg-jpg.jpg


    11029896_918936891501887_5893762049328451839_n-1-jpg-jpg.jpg


    12295245_885208031597737_4176000914326203055_n-jpg-jpg.jpg sam_7518-jpg.jpg sam_7522-jpg.jpg sam_7523-jpg.jpg sam_7528-jpg.jpg SAM_7489.JPG
     
  6. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 862
    เหรียญสมปรารถนาหลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต พระอรหันต์เจ้าวัดสวนทิพย์ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี หลวงปู่บุญฤทธิ์เป็นศิษย์หลวงปู่ชอบ ฐานสโม วัดป่าสัมมานุสรณ์ มีตอกโต๊ตยันต์หลังเหรียญ เนื้อทองทิพย์ เหรียญใหม่ไม่เคยใช้สวยมากครับหายาก >>>>>>มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาด้วยครับ ********บูชาที่ 475 บาทฟรีส่งems sam_0351-jpg.jpg sam_7253-jpg.jpg sam_7255-jpg.jpg sam_1439-jpg.jpg

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 ตุลาคม 2020
  7. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 863 ล็อกเก็ตรูปไข่ฉากฟ้าขาว+เหรียญเมตตาธรรม คํ้าจุนโลกหลวงปู่ท่อน ญาณธโร พระอรหันต์เจ้าวัดศรีอภัยวัน อ.เมือง จ.ขอนเเก่น หลวงปู่ท่อนเป็นศิษย์รุ่นใหญ่หลวงปู่คำดี ปภาโส วัดถํ้าผาปู่ ล็อกเก็ตสร้างปี 2553 ,เหรียญสร้างปี 2551 เนื้อทองเเดงรมนํ้าตาล มีตอกโค๊ต ยันต์หน้าเหรียญ >>>>>>>มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาด้วยครับ*******บูชาี่ 395 บาทฟรีส่งems sam_5671-jpg-jpg.jpg sam_6260-jpg-jpg.jpg sam_6259-jpg-jpg.jpg sam_6263-jpg-jpg.jpg sam_6264-jpg-jpg.jpg sam_1986-jpg-jpg.jpg
     
  8. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    ายการที่ 864 พระบูชารูปเหมือนนั่งเต็มองค์หลวงปุ่พระครูเทพโลกอุดร สร้างปี 2549 เนื้อทองเหลือง(หนักมาก) ขนาดกว้าง 3 นิ้ว สูง 10 นิ้ว รายการนี้มีเเถมมอบพระบูชาติดหน้ารถ กว้าง 1 นื้ว สูง 2 นิ้ว เนื้อโลหะผสม ก้นมีอุดผงอังคารธาตุ,พระธาตุข้าวบิณฑ์,พลอยเสก,ฝ้ายเสก,พระธาตุพระอรหันต์ธาตุ*******บูชาที่ 8,000 บาทฟรีส่งems(ปลุกเสกโดยหลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน)
    ประวัติของบรมครูหลวงปู่เทพโลกอุดร
    ประวัติของบรมครูหลวงปู่เทพโลกอุดร

    กล่าวย้อนไปถึงอดีตกาล พุทธศักราชผ่านพ้นไป ๓๐๓ ปี (ตามหลักฐานบันทึกในหนังสือมหาวงศ์พงศาวดารลังกา คำบรรยายของหลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ (ป่วน อินทุวงศ์) อดีตภัณฑารักษ์เอก กรมศิลปากร) และตามหลักฐานของวัดเพชรพลี (บันทึกอักษรเทวนาครี ขุดค้นพบ ณ ซากศิลา วัดคูบัว ตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี) ว่า พระพุทธศาสนาได้เริ่มแพร่เข้าสู่แคว้นสุวรรณภูมิในปีพุทธศักราช ๒๓๕ ซึ่งมีระยะเวลาห่างกันถึง ๖๘ ปี พระเจ้าอโศกมหาราช ได้ทรงกระทำตติยสังคายนาพระไตรปิฎก คือ การชำระพระไตรปิฎกขึ้นเป็นครั้งที่ ๓ ครั้นแล้วจึงอาราธนาพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ องค์อรหันต์เป็นประธานคัดเลือกบรรดาพระอรหันต์เถระออกทำการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศต่างๆ พระเจ้าอโศกมหาราชกับพระโมคัลลีบุตรติสสเถระ ได้มีความเห็นร่วมกันว่า ในอนาคตพุทธศาสนาอาจไม่มั่นคงอยู่ในอินเดีย จึงเห็นควรส่งพระสมณทูตออกไปเผยแผ่ในส่วนต่าง ๆ ของอินเดียและในต่างประเทศ ด้วยเหตุนี้ จึงมีการส่งพระสมณทูตออกประกาศพุทธศาสนา โดยแบ่งออกเป็น ๙ สาย ภายใต้พระราชูปถัมภ์ของพระเจ้าอโศกมหาราช พระสมณทูต ๙ สาย คือ
    สายที่ ๑ มีพระมัชฌันติกเถระ เป็นหัวหน้าคณะ เดินทางไปเผยแผ่พุทธศาสนาทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย คือ แคว้นกัษมีระ (แคชเมียร์) และแคว้านคันธาระ

    สายที่ ๒ มีพระมหาเทวเถระ เป็นหัวหน้าคณะ เดินทางไปเผยแผ่พุทธศาสนาทางทิศใต้ของประเทศอินเดีย คือ แคว้นมหิสมณฑล (ปัจจุบัน คือ รัฐไมซอร์)

    สายที่ ๓ มีพระรักขิตเถระ เป็นหัวหน้าคณะ เดินทางไปเผยแผ่พุทธศาสนาทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของอินเดีย ซึ่งได้แก่ แคว้นวนวาสีประเทศ

    สายที่ ๔ มีพระธรรมรักขิตเถระ เป็นหัวหน้าคณะ เดินทางไปเผยแผ่พุทธศาสนาแถบชายฝั่งตะวันตกของอินเดีย อันได้แก่ แคว้นอปรันตกชนบท (ปัจจุบัน คือ แถบบริเวณเหนือเมืองบอมเบย์)

    สายที่ ๕ มีพระมหาธรรมรักขิตเถระ เป็นหัวหน้าคณะ เดินทางไปเผยแผ่พุทธศาสนาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองบอมเบย์ อันได้แก่ แคว้นมหาราษฎร์

    สายที่ ๖ มีพระมหารักขิตเถระ เป็นหัวหน้าคณะ เดินทางไปเผยแผ่พุทธศาสนาที่โยนกประเทศ (กรีซ)

    สายที่ ๗ มีพระมัชฌิมเถระ เป็นหัวหน้าคณะ เดินทางไปเผยแผ่พุทธศาสนาทางดินเดียภาคเหนือ (แถมเทือกเขาหิมาลัยและประเทศเนปาล)

    สายที่ ๘ มีพระโสณเถระและพระอุตตรเถระ เดินทางไปเผยแผ่พุทธศาสนาในแถบสุวรรณภูมิ (ดินแดนที่เรียกว่า สุวรรณภูมิ ไม่อาจตกลงกันได้ว่าที่ใด แต่มีความเป็นกว้าง ๆ ว่า คือดินแดนที่เป็นประเทศพม่า (เมียนมาร์) ไทย ลาว ญวน เขมร และมลายู)

    สายที่ ๙ มีพระมหินทเถระ เป็นหัวหน้าคณะ เดินทางไปเผยแผ่พุทธศาสนา ณ ลังกาทวีป (ปัจจุบัน คือ ศรีลังกา)

    สำหรับดินแดนในเขตสุวรรณภูมิ พระโสณเถระ เป็นสมณทูตที่เข้ามาประกาศพระศาสนาได้แสดงธรรมในพรหมชาลสูตรเป็นปฐมเทศนา และได้นำพระบรมสารีริกธาตุเข้ามาพร้อมกับพระอรหันต์อีก ๔ องค์ ได้แก่ พระอุตตรเถระ พระฌานียเถระ พระภูริยเถระ และพระมุนียเถระ มีสามเณร อุบาสกอุบาสิการ่วมคณะ จำนวน ๓๘ คน ได้รับการต้อนรับจากพระเจ้าสุวรรณภูมิราชาหรือพระเจ้าโลกละว้า ที่เมืองคูบัว ราชบุรี เมื่อเดือนกัตติกมาส หรือเดือน ๑๒ พุทธศก ๒๓๕ (ก่อน ค.ศ. ๓๐๘)

    การเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้ดำเ นินจนมาถึง พ.ศ. ๒๖๔ (ก่อน ค.ศ. ๒๗๙) พระโสณเถระจึงได้สร้างวัดขึ้นเป็นแห่งแรก ณ เมืองเถือมทอง อยู่ในบริเวณลุ่มแม่น้ำนครชัยศรี ให้พระภูริยเถระเป็นผู้ทำนิมิตพัทธสีมา ในปีพฬศ. ๒๖๕ (ก่อน ค.ศ. ๒๗๘) และได้สร้างพระสถูปเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุเป็นทรงบาตรคว่ำเหมือนพระสถูปที่เมืองสาญจีในประเทศอินเดีย มีชื่อว่า "วัดพุทธบรมธาตุ" จนพระพุทธศาสนาได้กลายเป็นศาสนาประจำชาติของไทยในปัจจุบัน
    >>>>> คณะหลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร (คณะพระโสณะและพระอุตตระ)

    ๑. หลวงปู่พระอุตตรเถระเจ้า

    ๒. หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า

    ๓. หลวงปู่พระมูนียเถระเจ้า

    ๔. หลวงปู่พระฌาณียเถระเจ้า

    ๕. หลวงปู่พระภูริยเถระเจ้า


    ในคำจารึกอักขรเทวนาครี ฉบับวัดเพชรพลี ปรากฏข้อความที่พิศดารยิ่งขึ้น โดยกล่าวถึงคณะพระธรรมฑูตได้เดินทางมาเผยแผ่พระพุทธศาสนาโดยทางเรือประกอบด้วย พระโสณะ พระอุตตระ พระมูนิยะ พระฌานียะ พระภูริยะ สามเณรอิสิจน์ สามเณรคุณะ พระสามเณรนิตตย เขมกะอุบาสก อนีฆาอุบาสิกา อดุลยอำมาตย์และคุณหญิงอดุลยา พราหมณ์และนางพราหมณี ผู้คนอีก ๓๘ คน ได้มาพักที่วัดช้างค่อม (นครศรีธรรมราช) เมื่อวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือนอ้าย พ.ศ. ๒๓๕ ออกบิณฑบาต วันขึ้น ๑๕ ค่ำ แล้วเทศนาพรหมชาลสูตรและได้วางวิธีอุปสมบทญัตติจตุตถกรรมวาจา โดยใช้อุทกเขปเสมาหรือเสมาน้ำและได้วางเพศชีไทยโดยถือแบบเหล่าพระสากิยานี ซึ่งเป็นต้นของพระภิกษุณีโดยบวชหรือบรรพชาไม่มีเรือน ออกจากเรือน (อาคารสมา อนาคาริยปพพชชา) ได้วางวิธีสวดปาติโมกข์หรืออุโบสถกรรม ปวารณากรรม

    เมื่อพระเจ้าโลกละว้าราชา (เจ้าผู้ครองแคว้นสุวรรณภูมิ) รับสั่งให้ มนต์ขอมพิสนุ ขอมเฉย ขอมสอน ขอมเมือง สร้างวัดมหาธาตุ ท่านได้วางวิธีกำหนดนิมิตผูกขันธ์สีมา พ.ศ. 238 เดือน 5 ขึ้น 15 ค่ำขณะอยู่ระหว่างการก่อสร้าง ท่านได้สอนพระบวชใหม่ให้ท่องพระปาฏิโมกข์จบหลายองค์ แล้วจึงวางวิธีสวดสาธยายโดยฝึกซ้อมให้คล่อง เมื่อคล่องแล้วจึงจะสัชณายกันจริงๆ ท่านให้มนต์ขอมปั้นพระพุทธรูปด้วยปูนขาวเป็นพระประธานในโรงพิธี เมื่อเรียบร้อยแล้วท่านวางวิธีกราบสวดมนต์ไหว้พระ เห็นดีแล้วจึงให้สร้างพระพุทธรูปประจำพระอุโบสถ จึงเป็นธรรมเนียมสืบต่อกันมา ท่านได้วางวิธีกฐินและธุดงค์ไปในเมืองต่างๆ คือ การเที่ยวจาริก


    การสร้างพระพุทธรูปในสมัยดังกล่าวนี้ ก็ล้วนเป็นสิ่งสมมุติ มีพระพุทธรูปเป็นองค์สมมุติ พระสงฆ์ก็เป็นเพียงสมมุติสงฆ์ ส่วนพระธรรมนั้นเป็นเพียงเสียงสวด ท่านจึงใช้วงล้อเกวียนประดิษฐ์เป็นธรรมจักรแทนพระธรรม กับมี มิค (มิ–คะ) คือสัตว์ประเภท กวาง ฟาน หรือเก้ง เป็นเครื่องหมาย ในสมัยสุวรรณภูมิ

    พระพุทธรูปที่มีกวางกับธรรมจักรกลับไม่มี การสร้างหรือออกแบบในสมัยนั้น มีอยู่สี่ลักษณะด้วยกันคือ (ประสูติ ตรัสรู้ แสดงธรรมจักร และปรินิพพาน) มีอักษรเทวนาครีจารึกระบุพระนามว่า โลกกน แบบประภามณฑลมี ๓ วงซึ่งเป็นเครื่องหมายพระนามว่า “โลก” คือ วัฏฏ ๓ แบบโปรดสหาย พระยศ ส่วนปางมารวิชัยและปางสมาธิมีทุกสมัย

    ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๙ พระโสณะกับพระเจ้าโลกละว้าราชา ได้ส่งพระภิกษุไทย ๑๐ รูป มีพระญาณจรณะ (ทองดี) เป็นหัวหน้า ๓ รูป อุบาสก อุบาสิกา ไปเรียนและศึกษา ณ กรุงปาตลีบุตรแคว้นมคธ นับเป็นเวลา ๕ ปี พระญาณจรณะ (ทองดี) ท่านนี้ปรากฏหลักฐานเพียงรูปของพระพิมพ์ มีลักษณะอวบอ้วนคล้ายพระมหากัจจายนเถระเจ้า ด้านหลังมีรูปพระ ๙ องค์เป็นอนุจร หรือบวชทีหลัง คนชั้นหลังเข้าใจคลาดเคลื่อนว่าเป็นองค์เดียวกับพระมหากัจจายนเถระเจ้า และเรียกเพี้ยนเป็นพระสังขจาย เรียกกันมานานนับพันๆ ปี ศัพท์สังขจายไม่มีคำนิยามในพจนานุกรม พุทธสาวกทุกพระองค์จะมีนามเป็นภาษาบาลีทั้งสิ้น ไม่มีนามเป็นภาษาไทย พระญานจรณะ (ทองดี) บรรลุอรหันต์และจบกิจนานนับพันปีแล้ว ปัญหาเช่นดังกล่าวนี้หากนำพระปิดตาขึ้นมาพิจารณาก็ยากที่จะตัดสินว่าเป็นพุทธสาวกองค์ใดกันแน่ อาจจะเป็นพระมหากัจจายนเถระเจ้า ปางเนรมิตวรกายก็ได้ อาจจะเป็นพระควัมปติเถระ ก็ได้ เป็นพุทธสาวกทรงเอตทัคคะด้วยกัน แต่เป็นคนละองค์ คำว่า พระควัมบดี ไม่มี)

    ลุปี พ.ศ. ๒๔๕ พระเจ้าโลกละว้าราชาสิ้นพระชนม์ ตะวันทับฟ้าราชบุตรขึ้นครองราชย์ ทรงมีพระนามว่า ตะวันอธิราชเจ้า ถึงปี พ.ศ. ๒๖๔ พระโสณเถระใกล้นิพพาน พระโสณเถระอยู่ ณ แดนสุวรรณภูมิ วางรากฐานธรรมวินัยในพระบวรพุทธศาสนา เป็นระยะเวลา ๒๙ ปี และท่านนิพพานในปีนั้น หลักฐานต่างๆ ตามที่กล่าวจารึกด้วยอักษรเทวนาครี ขุดพบที่โคกประดับอิฐ ตำบลคูบัว จังหวัดราชบุรี พบรูปปั้นลอย องค์ลักษณะนั่ง ลักษณะนั่งห้อยเท้า มีลีลาแบบปฐมเทศนา มีเศียรโล้น ด้านหนึ่งจารึกว่า โสณเถระ ด้านล่าง อุตตรเถระ ด้านล่างสุด สุวรรณภูมิ มีอยู่ด้วยกัน ๕ องค์ ผู้ค้นพบทุบเล่น ๓ องค์ เหลือเพียง ๒ องค์ ตกเป็นสมบัติของวัดเพชรพลี ส่วนครบชุด ๕ องค์ คือ พระโสณเถระ พระอุตตรเถระ พระมูนียเถระ พระฌานียเถระ และพระภูริยเถระ ในท่านั่งแสดงธรรม สมัยต่อมาในรัชกาลที่ ๔-๕ มีการสร้างแบบพระสมเด็จขึ้น แล้วเห็นเป็นพระสมเด็จผิดพิมพ์อีกด้วย จึงเป็นการสับสนสำหรับผู้ที่ไม่รู้จริง

    จะเห็นได้ว่าตามหลักฐานบันทึก กล่าวเพียงพระโสณเถระ ไม่ได้กล่าวถึงพระอุตตรเถระ (อุตร ก็คือ อุดร) เป็นปัญหาว่า หลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดรเป็นองค์ใดกันแน่ เพราะในสมัยปัจจุบันกล่าวถึงบรมครูพระเทพโลกอุดร ไม่มีใครรู้จักพระโสณะเถระ ข้อเท็จจริง ท่านทั้งสองเป็นพี่น้องร่วมสายโลหิต องค์พี่คือพระอุตตระ มีร่างกายสันทัด องค์น้องคือพระโสณะ มีร่างกายสูงใหญ่ มีฉายาว่าขรัวตีนโต ถ้านำพระธาตุมาตรวจนิมิตจะบอกว่า โสณ-อุตตร ไม่แยกจากกัน องค์น้องบรรลุอรหันต์ก่อนองค์พี่ แต่มีความเคารพองค์พี่มากต้องกราบองค์พี่ แต่เหตุที่บรรลุก่อนพี่ชายจึงเรียกว่า โสณ-อุตตร ไม่เรียกว่า อุตตร-โสณ ฉะนั้น หลวงปู่ใหญ่ก็คือ พระอุตตระ นั่นเอง ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี กล่าวพระนามขององค์ท่านว่า พระโสอุดรพระโลกอุดร
    บุคลิกภาพและจริตแห่งพระเทพโลกอุดร
    องค์ที่หนึ่ง พระอุตตรเถระ หรือหลวงปู่ใหญ่ คือหลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร ลักษณะรูปร่างสันทัด ผิวกายค่อนข้างดำคล้ำ จึงมีฉายาว่า “หลวงพ่อดำ” มีจิตเยี่ยงพระโพธิสัตว์เจ้า บรรลุอภิญญาหก แต่ในบทสวดกล่าวว่าเตวิชโชคือวิชชาสาม ซึ่งไม่น่าจะเกี่ยวกับปฏิสัมภิทาญาณ แต่ในบทสวดก็กล่าวว่าท่านบรรลุซึ่งปฏิสัมภิทาญานเช่นกัน ท่านได้วางหลักสูตรในการฝึกสมาธิซึ่งเรียกว่า “วิทยาศาสตร์ทางใจ” มิใช่วิชาไสยศาสตร ์และมิใช่มายากล ศิษย์ในดงนอกดงสามารถแปรธาตุได้ เช่น หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน, หลวงพ่อปาน วัดคลองด่าน, หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า, ท่านอภิชิโต ภิกขุ, อาจารย์พัว แก้วพลอย, อาจารย์ฉลอง เมืองแก้ว และหลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง เป็นต้น


    ท่านเชี่ยวชาญในวิชาแพทย์และเภสัชกรรม ใจดีประกอบด้วยเมตตา มีอารมณ์ขัน หากจะกล่าวถึงหัวหน้าคณะพระธรรมฑูตซึ่งเดินทางมาเผยแผ่พระพุทธศาสนายังสุวรรณภูมิแหลมทอง คงได้แก่ พระโสณเถระ ซึ่งท่านเป็นน้องชายพระอุตตรเถระ แต่บรรลุอรหันต์ก่อนพี่ชาย บทบาทของพระอุตตรเถระจึงไม่ค่อยมีปรากฏ และพระโสณเถระก็บรรลุปฏิสัมภิทาญาณเช่นกัน มิฉะนั้นจะสอนพระศาสนาแก่คนต่างชาติได้อย่างไร ปฏิสัมภิทาญาณสี่ มีดังนี้

    ๑. อัตถปฏิสัมภิทา คือ ความแตกฉานในอรรถ เข้าใจถืออธิบายอรรถแห่งภาษิตให้พิศดาร และเข้าใจคาดคะเนล่วงหน้าถึงผลอันจักมีเข้าใจผล

    ๒. ธรรมปฏิสัมภิทา คือ ความแตกฉานในธรรม เข้าใจถือเอาใจความแห่งอธิบายนั้นๆ ตั้งเป็นกระทู้หรือหัวข้อขึ้นได้ สาวเหตุในหนหลังให้เข้าใจเหตุ

    ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา คือ ความแตกฉานในภาษาและรู้จักใช้ถ้อยคำ ตลอดจนรู้ถึงภาษาต่างประเทศ

    ๔. ปฏิภาณสัมภิทา คือ ความแตกฉานในปฏิภาณ มีไหวพริบ เข้าใจทำให้สบเหมาะในทันทีหรือในเมื่อเหตุเกิดขึ้นโดยฉุกเฉินหรือกล่าวตอบโต้ได้ทันท่วงที

    ท่านมีสภาวะจิตที่รวดเร็วมากเพียงนึกถึงท่าน ท่านจะบอกให้นิมิต “เมื่อเจ้าต้องการพบเรา เราก็มา เรามาจากทางไกล” ด้วยความรวดเร็วยิ่งในการตรวจพิมพ์ของท่าน ซึ่งผมก็ไม่ทราบว่าท่านเป็นบรมครูพระเทพโลกอุดร ท่านอภิชิโต ภิกขุ มอบให้เป็นสมบัติ บอกว่าอาจารย์ท่านคือหลวงปู่ดำเสกให้ เคยทดลองให้ท่านอาจารย์วิเชียร คำไสสว่าง ชีปะขาวผู้ทรงคุณกำหนดจิตดูท่านอาจารย์บอกว่าพระนี้ว่องไวและรวดเร็วยิ่ง


    องค์ที่สอง พระโสณเถระ หรือหลวงปู่ขรัวตีนโต รูปกายสูงใหญ่ ผิวดำ ทรงคุณสมบัติเช่นองค์ที่หนึ่ง เว้นแต่วิชาแพทย์ ใจดี เยือกเย็นประกอบด้วยเมตตาธรรม ชอบผาดโผน เหินฟ้านภาลัยโขดเขินเนินไศลเป็นที่สัญจร

    องค์ที่สาม พระมูนียะ หรือพระอิเกสาโร หลวงปู่โพรงโพธิ์ หลวงปู่เดินหน ล้วนเป็นองค์เดียวกัน มีบุคลิกภาพอันสง่างามปรากฏตามภาพซึ่งใช้บูชากันอยู่ในปัจจุบัน เชี่ยวชาญในวิชาแปรธาตุ เป็นผู้คงแก่เรียน ชอบเจริญอสุภกรรมฐาน 10 มักสร้างรูปบูชาเป็นโครงกระดูก พูดน้อยค่อนข้างเคร่งขรึมคล้ายดุ แต่ก็ไม่ดุ เป็นพระอาจารย์ของหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน และหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ห่มจีวรสีหมองคล้ำ หากปรากฏภาพในนิมิตมักจะปรากฏเส้นเกสายาวจรดเอวทีเดียวแสดงว่า “อิเกสาโร” (เกสา แปลว่า เส้นผม) ท่านมีบทบาทไม่น้อย ตามความรู้สึกน่าจะมีบทบาทมากกว่าองค์อื่นๆ ด้วยซ้ำไป

    องค์ที่สี่ พระณานียะ หรือหลวงปู่ขรัวขี้เถ้า เป็นพระอาจารย์ของหลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง จังหวัดนครปฐม ท่านมีรูปกายค่อนข้างสูงใหญ่ ขนตาดกยาวแปลกกว่าองค์อื่น มีอำนาจ แต่ขี้เล่นใจดี นิมิตไม่แน่นอนอาจเป็นรูปพระภิกษุ ท่านจะชื่ออะไรไม่ทราบแต่แปรธาตุเสกใบมะม่วงเป็นกบนำมาพร่า ยำ เลี้ยงสานุศิษย์ เลยเรียกกันว่าหลวงพ่อกบ ท่านมาสร้างบารมีต่อ ปริศนาธรรมคือขรัวขี้เถ้าเผาแหลกมีอะไรเผาหมด แบบเถ้าสู่เถ้า ผงคลีสู่ผงคลี ดินจะใหญ่สักปานใดมันก็ไม่พ้นจากความเป็นขี้เถ้าหรอก ในที่สุดท่านก็มรณภาพและสานุศิษย์นำใส่โลงศพรอวันเผา หลวงปู่เกิดหายไปไร้ร่องรอย เลยไม่มีการฌาปนกิจศพ

    องค์ที่ห้า พระภูริยะ หรือหลวงปู่หน้าปาน บางคนก็เรียกท่านว่า หลวงปู่แก้มแดง เคยเรียนถามท่านอภิชิโต ภิกษุ ท่านบอกว่าขรัวหน้าปานองค์นี้สำเร็จปรอท ล่องหนย่นระยะทางเก่ง ถ้าท่านเอาลูกปรอทมาอมทางแก้มซ้าย ทางด้านซ้ายจะแดง ถ้าเปลี่ยนเป็นอมทางแก้มขวา ทางด้านขวาจะแดง จึงเกิดถกเถียงกันไม่รู้จบ ท่านเป็นสหธรรมิกกับหลวงปู่ขรัวขี้เถ้า มาสร้างเสริมบารมีในระยะเวลาเดียวกัน โดยอาศัยร่างท่านพระมหาชวนหรือหลวงพ่อโอภาสี แห่งอาศรมบางมด ท่านเป็นพระภิกษุทรงศีล เมื่อมีผู้ซักถาม ท่านก็บอกตามตรงว่าพระมหาชวนได้ตายไปแล้ว อาตมาเป็นพระสำเร็จมาอาศัยร่างสร้างบารมีต่อ SAM_7564.JPG SAM_7565.JPG SAM_7566.JPG SAM_7567.JPG SAM_7568.JPG SAM_7569.JPG SAM_7570.JPG SAM_7571.JPG SAM_7572.JPG SAM_7573.JPG SAM_7574.JPG SAM_7575.JPG SAM_7577.JPG SAM_7576.JPG SAM_7579.JPG SAM_7580.JPG SAM_7581.JPG SAM_7584.JPG SAM_7585.JPG SAM_7586.JPG SAM_7587.JPG
     
  9. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 865 เหรียญที่ระลึกสร้างศาลาโรงธรรมวัดปัญจสมณารามหลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถํ้ากลองเพล อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู หลวงปู่ขาวเป็นศิษย์รุ่นใหญ่หลวงปู่มั่น เหรียญสร้างปี 2516 เนื้อกะไหล่เงิน สร้างที่วัดปัญจสมณาราม อ.หัวตะพาน (สมัยก่อนขึ้นกับจังหวัดอุบลราชธานี เป็นบ้านเกิดของหลวงปู่ขาว) เลี่ยมกันนํ้าอย่างดี พระยังสวยมาก มีพระเกศาเเละพระธาตุที่เกิดจากอังคารธาตุหลวงปู่ 2 เม็ดมาบูชาเป็นมงคล ******บูชาทื่ 575 บาทฟรีส่งems
    ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย หลวงปู่ขาว อนาลโย
    วัดถ้ำกลองเพล อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู


    13562921465_n.jpg?_nc_cat=111&_nc_sid=32a93c&_nc_ohc=TZWY1WgPzjQAX9xgESm&_nc_ht=scontent.fkkc2-1.jpg

    นามเดิมของท่านชื่อ ขาว โคระถา

    เกิดเมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๓๑

    ตรงกับวันอาทิตย์ แรม ๑๐ ค่ำ เดือนอ้าย ปีชวด

    ที่บ้านบ่อชะเนง ต.หนองแก้ว อ.เมือง จ.อำนาจเจริญ

    โยมบิดาชื่อพั่ว โยมมารดาชื่อรอด โคระถา

    ท่านมีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน ๗ คน ท่านเป็นคนที่ ๔

    อาชีพหลักของครอบครัวคือทำนาและค้าขาย

    เมื่อหลวงปู่ขาวยังอยู่ในวัยหนุ่มแน่น

    ก็ดำรงชีพตามวิสัยของฆราวาสทั้งหลาย

    เมื่ออายุได้ ๒๐ ปี บิดามารดาได้จัดให้มีครอบครัว

    ภรรยาของท่านชื่อ นางมี และได้มีบุตรด้วยกัน ๓ คน
    ------------------------------------------------
    ท่านพระอาจารย์มหาบัวเล่าว่า

    หลวงปู่ขาวมีนิสัยเด็ดเดี่ยว

    เอาจริงเอาจังมากมาตั้งแต่เป็นฆราวาส

    เมื่อบวชแล้วนิสัยเอาจริงเอาจังจึงติดตัวมา

    ยิ่งบวชในพระพุทธศาสนา

    ซึ่งเป็นศาสนาจริงที่สอนให้คนทำจริงในสิ่งที่ควรทำด้วยแล้ว

    ท่านยิ่งรู้สึกซาบซึ้งในหลักธรรมมากขึ้นโดยลำดับ

    เกี่ยวกับอาชีพการงาน เมื่อครั้งหลวงปู่ยังเป็นฆราวาส

    ท่านพระอาจารย์มหาบัวได้เรียบเรียงเป็นคำพูดของหลวงปู่ไว้

    ในคำถามคำตอบปัญหาธรรม

    ในหนังสือ อนุสรณ์พระราชทานเพลิงศพ ของหลวงปู่ดังนี้

    "...อันว่าสกุลสูงสกุลต่ำนั้น

    บรรดาสัตว์โลกผู้อยู่ใต้อำนาจกฎแห่งกรรม

    ย่อมมีทางเกิดได้ด้วยกัน อย่าว่าแต่ปู่คนเดียวเลย

    แม้แต่ภพชาติสูงต่ำนั้นเป็นสายทางเดินของสัตว์โลก

    ผู้มีกรรมจำต้องเดินต้องผ่านเหมือนกันหมด

    คนมีวาสนามากก็ผ่าน คนมีวาสนาน้อยก็ผ่าน

    ภพกำเนิดสกุลต่างๆดังกล่าวมาแล้ว
    เช่น หลานเป็นพระเจ้าฟ้าเจ้าคุณมีบุญหนักศักดิ์ใหญ่
    หลานจากที่นี้ไปกรุงเทพฯ

    ด้วยเท้าก็ดี ด้วยรถยนต์รถไฟก็ดี ด้วยเรือเหาะเรือบินก็ดี

    หลานจำต้องผ่านดินฟ้าอากาศ เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ที่สูงๆต่ำๆ

    ซึ่งมีอยู่ตามรายทางเรื่อยไป

    จนถึงจุดที่หมายคือกรุงเทพฯ โดยไม่อาจสงสัย"
    ------------------------------------------------
    "...การเกิดในสกุลสูงๆต่ำๆตลอดภพชาติต่างๆกันนั้น

    สัตว์โลก เกิดตามวาระกรรมของตนมาถึง

    แม้จะทรงบุญหนักศักดิ์ใหญ่

    แต่เมื่อถึงวาระกรรมของตนที่ควรจะเสวยอย่างไร

    ก็จำต้องเสวยตามรายทาง คือภพชาตินั้นๆ

    เท่าที่ปู่มาเกิดในสกุลชาวนา

    ปู่ก็ไม่เสียอกเสียใจ ไม่น้อยเนื้อต่ำใจ

    เพราะปู่ถือว่า ปู่มาเกิดตามวาระกรรมของปู่เอง

    ปู่จึงไม่ตำหนิติเตียนบิดามารดาผู้ให้กำเนิด

    ตลอดญาติมิตรพี่น้องที่เกิดร่วมและใกล้ชิดสนิทกัน

    ว่ามาให้โทษปู่ มันเป็นกรรมของใครของเรา

    ดังธรรมท่านสอนไว้ไม่มีผิด ไม่มีที่คัดค้าน

    ปู่ยอมรับธรรมท่านอย่างซึ้งใจไม่มีวันถอนเลย"
    ------------------------------------------------
    "สกุลชาวนานั้นมันต่ำต้อยที่ตรงไหน

    คนทั้งโลกได้อาศัยข้าวในท้องนาของชาวนาตลอดมา

    จึงพยุงชีวิตร่างกายมารอดมิใช่หรือ
    ที่ถูกตามความจริง ควรชมเชยว่า

    สกุลชาวนาคือสกุลเลี้ยงโลก

    คือสกุลพ่อสกุลแม่ของมนุษย์ทั้งโลก

    ด้วยความเป็นคนกตัญญูรู้บุญรู้คุณ

    ของสิ่งเลี้ยงดูของผู้เลี้ยงดู

    แล้วสกุลชาวนานั้นต่ำที่ตรงไหนลองว่ามาซิ
    ...ถ้าตำหนิว่าเขาต่ำจริง เราคนสกุลสูงและสูงๆ

    ก็อย่ากินข้าวและเผือกมันของเขาซิ

    มันจะเสียเกียรติของคนลืมตนเย่อหยิ่ง

    ปล่อยให้ตายเสีย

    จะได้ไม่หนักโลกของชาวนาที่หาข้าวมาให้กิน

    กินแล้วไม่รู้จักบุญคุณ"
    ------------------------------------------------
    "...คราวเป็นฆราวาส

    มันก็คิดบ้าๆเหมือนโลกตื่นลมเขาเหมือนกัน

    ว่าตนเป็นลูกชาวนาวาสนาน้อย

    คิดอยากเป็นเจ้าเป็นนายกับเขาเหมือนกัน

    อย่างน้อยไปเป็นครูสอนนักเรียนก็ยังดี

    แต่เราคนจน หาเลี้ยงแม่ เลี้ยงน้อง

    พอรู้สึกตัวว่ามีฐานะยากจน

    ไม่มีเวลาเรียนและไม่มีทุนเรียนหนังสือ

    ดังนี้แล้วก็หยุดคิด หยุดกังวลใจกับเรื่องนี้

    พอมาบวชปฏิบัติธรรมไปเรื่อยๆ

    ความรู้สึกกับธรรมเริ่มซึมซาบเข้าถึงกันวันละเล็กละน้อย

    ความที่เคยคิดว่า

    ตนเป็นคนอาภัพวาสนาเป็นลูกชาวนาก็ค่อยๆหายไปๆ

    จนกลายเป็นความรู้สึกว่า

    จะเกิดในสกุลใดก็คือสกุลมนุษย์

    ที่ต้องตะเกียกตะกายหาเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง

    เพื่อความอยู่รอดเหมือนๆกันไปเรื่อยๆ

    ตราบเท่าทุกวันนี้ ซึ่งแก่มากแล้ว

    มันเลยมีความรู้สึกไปคนละโลก

    และรู้สึกไปในแง่ที่โลกเขาไม่ค่อยคิด

    หรือไม่คิดกันเสียแล้วทุกวันนี้"
    ------------------------------------------------
    เมื่ออายุของหลวงปู่มากขึ้น

    ก็ให้เกิดความเบื่อหน่ายในความเป็นอยู่

    และความวุ่นวายต่างๆของทางโลก

    จิตใจให้รุ่มร้อนอยากจะหาที่สงบ

    เพื่อทำจิตให้เงียบสงัด พ้นจากความวุ่นวายทั้งหลาย

    ชีวิตในทางโลกของหลวงปู่ไม่ค่อยราบรื่นนัก

    เหตุการณ์สำคัญอันหนึ่ง

    ท่านพระอาจารย์มหาบัวได้เรียบเรียง

    เป็นคำพูดของหลวงปู่สอนหลานไว้ดังนี้

    "...ปู่จะพูดตรงไปตรงมาและสรุปความย่อๆเลยนะหลาน

    เดิมปู่เป็นคนขยันขันแข็ง

    รับผิดชอบต่อครอบครัวอย่างจริงใจ

    แต่การทำมาหาเลี้ยงครอบครัว

    ไม่ค่อยสมบูรณ์เท่าที่อยากให้เป็น ขาดๆเขินๆ

    ซึ่งทำให้ปู่คิดสงสารครอบครัวอยู่ไม่วาย

    จึงคิดและตัดสินใจลงไปรับจ้างทำนาทางภาคกลาง

    พอได้เงินแล้วก็กลับมาบ้าน

    แต่เจ้ากรรมมาเจอเมียมีชู้

    ตอนนี้ปู่เกือบเสียคนไปทั้งคนอย่างไม่คาดฝัน"

    "...ก็มาเจอเมียกำลังเริงรักหักสวาท

    อยู่กับชายชู้อย่างตำตาละซิหลาน ใครจะทนได้

    ปู่จึงเกือบเสียคนไป

    คือขณะนั้นเอง ขณะที่ปู่แอบอ้อมมาดู

    ตามคำบอกเล่าของชาวบ้านเวลาเงียบๆ

    ดึกสงัดพร้อมกับดาบอันคมกริบอยู่ในมือ

    เงือดเงื้อดาบสุดแรงเกิด

    จะฟาดฟันลงให้ขาดสะบั้นไปทั้งเมียทั้งชายชู้

    แต่เผอิญชายชู้มองมาเห็นก่อน

    ยกมือขึ้นไหว้ปู่จนตัวสั่นเทาๆ ขอชีวิตชีวาไว้

    พร้อมทั้งยอมสารภาพความผิดที่ทำลงไปทุกอย่าง
    ขณะจิตสะดุดขึ้นเตือนว่าเขายอมแล้ว อย่าทำๆ

    จะเป็นความเสียหายเพิ่มเข้าอีกโดยไม่มีผลดีอะไรเกิดขึ้นเลย

    ประกอบกับใจเกิดความสงสารชายชู้ผู้กลัวตายสุดขีด

    ใจเลยอ่อนลง

    แล้วเรียกร้องให้ชาวบ้านมาดูเหตุการณ์ในขณะนั้น

    จนหายสงสัยในข้อเท็จจริงทั่วหน้ากันแล้ว

    ประชุมญาติและผู้ใหญ่บ้านจะเอาเรื่องอย่างหนัก

    ชายชู้ยอมรับทุกอย่าง จึงปรับไหมด้วยเงิน

    พร้อมกับประกาศยกเมียให้ชายชู้นั้นอย่างเปิดเผยในชุมนุมชน

    ตัดกรรมตัดเวรหายห่วงไปเสียที
    หลังจากนั้นมีแต่สลดสังเวชใจเป็นกำลัง

    คิดเรื่องอะไรในโลกไม่มีความลงใจติดใจ

    ที่จะทำที่จะอยู่แบบโลกเขาอยู่กันอีกต่อไป

    ใจหมุนไปทางบวช

    เพื่อหนีโลกอันโสมมนี้ให้พ้นมันโดยถ่ายเดียว

    อย่างอื่นใจไม่ยอมรับเลย

    มีการออกบวชหนีโลกเพื่อความพ้นทุกข์ไปนิพพาน

    ตามเสด็จพระพุทธเจ้าพระสาวกท่านอย่างเดียวเท่านั้น

    เป็นที่ลงใจและสมัครใจอย่างเต็มที่ ไม่มีอะไรมาขัดแย้ง

    ปู่จึงได้มาบวชและปฏิบัติธรรมอย่างถึงใจเรื่อยมาจนปัจจุบันนี้

    นี่แลสาเหตุที่จะให้ปู่ออกบวชอย่างรวดเร็ว

    เพราะความสังเวชเบื่อหน่ายประทับใจปู่จริง

    และตอนนี้แลเป็นตอนที่ปู่บวชด้วยศรัทธาความอยากบวชจริง

    ไม่มีอะไรจะห้ามไว้ได้

    เนื่องจากความเบื่อหน่ายในเหตุการณ์ที่ประสบมา

    และคิดกว้างขวางเท่าไร ก็ยิ่งเกิดความเบื่อหน่ายมากขึ้น

    ถึงกับต้องบวชดังใจหมาย"
    ------------------------------------------------
    ► ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรมและปฏิปทา
    ชีวิตสมณะของหลวงปู่ขาว อนาลโย

    เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๖๒ เมื่ออายุ ๓๑ ปี

    โดยอุปสมบทที่วัดโพธิ์ศรี บ้านบ่อชะเนง

    ต.หนองแก้ว อ.เมือง จ.อำนาจเจริญ

    โดยมีท่านพระครูพุฒิศักดิ์เป็นพระอุปัชฌาย์

    พระอาจารย์บุญจันทร์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์
    เมื่ออุปสมบทแล้ว
    หลวงปู่ได้จำพรรษาที่วัดโพธิ์ศรีเป็นเวลา ๖ พรรษา

    เนื่องจากหลวงปู่ได้บังเกิดความเลื่อมใสศรัทธา

    ในปฏิปทาของพระอาจารย์มั่น

    หลวงปู่จึงได้ญัตติเป็นพระธรรมยุติ

    เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๘ อายุได้ ๓๗ ปี

    ณ พัทธสีมาวัดโพธิสมภรณ์ จ.อุดรธานี

    โดยมีพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์

    แล้วได้จำพรรษาอยู่ที่จังหวัดอุดรธานีเป็นเวลา ๘ ปี

    จากนั้นหลวงปู่ได้เดินธุดงค์ตามพระอาจารย์มั่น

    ปฏิบัติธรรมไปยังสถานที่ต่างๆ
    ประวัติการเดินธุดงค์ของหลวงปู่ขาวนั้น
    ท่านพระอาจารย์มหาบัว ญาณสมฺปนฺโน ได้เรียบเรียงไว้
    ในหนังสือ ปฏิปทาของพระธุดงค์กรรมฐาน สายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตะ
    ตั้งแต่หน้า ๑๘๕ ถึงหน้า ๒๓๖ อย่างละเอียดลออ
    โดยไม่ได้เอ่ยนามว่าเป็นใคร
    แต่หลายๆ ท่านเชื่อว่าเป็นปฏิปทาของหลวงปู่ขาว
    ------------------------------------------------
    ท่านพระอาจารย์มหาบัว

    เล่าไว้ในปฏิปทาของพระธุดงค์กรรมฐานว่า

    "ตอนก่อนปฏิบัติกรรมฐาน

    ก็ทราบว่าท่านเคยได้รับอารมณ์เขย่าก่อกวนใจนานาประการ

    ที่จะให้เป็นอุปสรรคต่อการบำเพ็ญจากคนทั้งหลาย

    ทั้งเป็นพระทั้งเป็นฆราวาสว่า
    ..เวลานี้มรรคผลนิพพานหมดเขตหมดสมัยไปนานแล้ว

    ใครจะบำเพ็ญถูกต้องดีงามตามพระวินัยเพียงไร

    ก็ไม่สามารถบรรลุผลสำเร็จตามใจหวังได้

    บ้างว่าการบำเพ็ญภาวนาทำให้คนเป็นบ้า

    บ้างว่าสมัยนี้เขาไม่มีพระธุดงค์กรรมฐานกันหรอก

    นอกจากพระธุดงค์กรรมฐานที่จำหน่ายตะกรุด

    คาถาวิชาอาคมของขลังต่างๆ
    ..ส่วนพระธุดงค์กรรมฐาน

    ที่ดำเนินตามทางพระธุดงค์นั้นไม่มีแล้วสำหรับทุกวันนี้

    อย่าไปทำให้เสียเวลาและเหนื่อยเปล่าเลย
    สำหรับท่านเองไม่ยอมฟังเสียงใคร

    แต่ไม่คัดค้านให้เป็นความกระเทือนใจกันเปล่าๆ

    ไม่เกิดประโยชน์อะไรทั้งสองฝ่าย

    ในความรู้สึกที่ฝังลึกอยู่ภายในท่านที่ว่า

    ผู้ที่พูดหว่านล้อมกีดกันไม่ให้เราออกกรรมฐานด้วยอุบายต่างๆนี้

    มิใช่ผู้วิเศษวิโสอะไรเลย

    เราจะต้องออกปฏิบัติกรรมฐานโดยถ่ายเดียวในไม่ช้านี้

    และจะค้นหาของจริงตามหลักธรรมที่ประทานไว้

    จนสุดกำลังความสามารถขาดดิ้นสิ้นซาก
    เมื่อพร้อมแล้วท่านก็ออกเดินธุดงค์

    ในท่ามกลางประชาชนและครูอาจารย์ทั้งหลาย

    ที่กำลังชุมนุมกันอยู่ในวัดเวลานั้น

    เวลาจะไปท่านพูดสั่งเสียด้วยความจริงใจ

    ว่าเมื่อกระผมและอาตมาไปแล้ว

    ถ้าสอนตัวเองไม่ได้เต็มภูมิจิตภูมิธรรมตราบใด

    จะไม่มาให้ท่านทั้งหลายเห็นหน้าตราบนั้น
    เสร็จแล้วก็ลาพระอาจารย์นักปราชญ์ทั้งหลายออกเดินทาง

    ท่ามกลางประชาชนจำนวนมาก

    มุ่งหน้าไปทางพระธาตุพนม

    บุกป่าฝ่าดงมาจนถึงพระธาตุพนม

    ลุถึงอุดรฯ หนองคาย เพื่อตามหาท่านอาจารย์มั่น

    ซึ่งทราบว่าท่านจำพรรษาอยู่ที่อำเภอท่าบ่อ
    ได้พักอบรมกับท่านชั่วระยะเท่านั้น

    ท่านก็หนีจากเราไปทางเชียงใหม่ หายเงียบไปเลย

    จึงพยายามตามหลังท่านไป

    โดยเที่ยวธุดงค์กรรมฐานไปเรื่อยๆตามลำน้ำแม่โขง

    จนลุถึงเชียงใหม่และเที่ยวบำเพ็ญอยู่ตามอำเภอต่างๆ

    จนได้พบและได้ฟังการอบรมจากท่านจริงๆ

    แต่ท่านไม่ค่อยให้ใครอยู่ด้วย ท่านชอบอยู่เฉพาะองค์เดียว

    หลวงปู่ขาวว่า

    ท่านก็พยายามไปอยู่ในแถวใกล้เคียงหลวงปู่มั่น

    พอไปมาหาสู่เพื่อรับโอวาทได้ในคราวจำเป็น

    เมื่อเข้าไปเรียนศึกษาข้ออรรถข้อธรรม

    ท่านก็เมตตาสั่งสอนอย่างเต็มภูมิไม่มีปิดบังลี้ลับ

    เมื่ออยู่นานไปบางปีท่านก็เมตตาให้เข้าไปจำพรรษาด้วย

    ใจนับวันเจริญขึ้นโดยลำดับ

    ทั้งด้านสมาธิและด้านปัญญา

    มีความเพลิดเพลินในความเพียร

    ทั้งกลางวันและกลางคืนไม่มีเวลาอิ่มพอ"
    ------------------------------------------------
    หลวงปู่ขาวเมื่ออยู่ในวัยแข็งแรง

    เป็นนักท่องเที่ยวกรรมฐานชั้นเยี่ยม

    ท่านออกเดินทางทุกปี

    และได้สมบุกสมบันไปแทบทุกภาคของประเทศ

    หลวงปู่เคยเดินธุดงค์ร่วมกันกับหลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ เป็นเวลาหลายปี
    นอกจากนี้สหายทางธรรมของท่านที่มีชื่อเสียง ก็มี
    ..หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม
    ..หลวงปู่ฝั้น อาจาโร และ
    ..หลวงปู่ชอบ ฐานสโม เป็นอาทิ
    หลวงปู่ขาวได้สร้างบารมีอยู่ในป่าในเขาเป็นเวลายาวนาน
    ท่านได้ประสบการณ์เกี่ยวกับป่ามากมาย
    สัตว์ป่า เช่นลิง ค่าง ช้าง เสือ กับพระธุดงค์นั้น
    ต่างฝ่ายต่างหลีกกันไม่ค่อยจะพ้น
    พระธุดงค์ท่านรักการเดินป่า
    สิงสาราสัตว์มันก็จำเป็นต้องเร่ร่อน
    ออกหากินตามเรื่องของมัน
    ดังนั้นการเผชิญหน้ากันอย่างไม่คาดฝันของทั้งสองฝ่ายจึงมีขึ้นเสมอๆ
    และการพบกันแต่ละครั้ง

    ต้องมีเรื่องตื่นเต้นเล่าสู่กันฟังต่อๆมาไม่จบ

    เวลาหลวงปู่นึกถึงอะไร

    สิ่งนั้นมักจะมาตามความรำพึงนึกคิดเสมอ

    เช่น นึกถึงช้างว่าหายหน้าไปไหนเป็นปีๆแล้ว

    ไม่เห็นผ่านมาทางนี้บ้าง

    พอตกกลางคืนดึกๆช้างตัวนั้นก็มาหาจริงๆ

    และเดินตรงมายังกุฏิที่ท่านพักอยู่

    พอให้ท่านทราบว่าเขามาหาแล้วก็กลับเข้าป่าไป

    เวลาหลวงปู่รำพึงนึกถึงเสือก็เหมือนกัน

    เพียงนึกถึงเสือตอนกลางวัน

    พอตกกลางคืนเสือก็มาเพ่นพ่านภายในวัด

    และบริเวณที่ท่านพักอยู่
    ------------------------------------------------
    คุณหมออวย เกตุสิงห์
    เขียนไว้ในประวัติอาพาธ
    ซึ่งเป็นภาคผนวกของหนังสืออนาลโยวาทว่า
    "...พอเรียนถามท่าน

    ถึงลักษณะป่าเขาลำเนาไพรในแง่ที่พระธุดงค์สนใจ

    ท่านจะเล่าอย่างสนุกสนาน และละเอียดลออทุกแห่ง

    โดยเฉพาะอย่างยิ่งเขตแคว้นภาคอีสานและภาคเหนือ

    ท่านได้สัญจรซ้ำๆ ด้วยความสนใจเป็นพิเศษ

    ไม่ต้องสงสัยว่าในสมัยนั้น

    สุขภาพของท่านจะอยู่ในระดับยอดเยี่ยม

    เพราะได้ดำเนินชีวิตอย่างอุดม

    ไม่ปรากฏว่าท่านมีโรคประจำตัวอย่างใดที่สำคัญ

    นอกจากเป็นไข้ป่า

    ซึ่งเป็นของธรรมดาสำหรับพระธุดงค์กรรมฐานทุกองค์

    กับโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบเรื้อรัง

    ซึ่งอาจจะเป็นผลของโรคนิ่วตั้งแต่สมัยหนุ่มๆ"

    เวลาหลวงปู่ไม่สบายอยู่ในป่าในเขา

    มักจะไม่ใช้หยูกยาอะไรเลย

    จะใช้แต่ธรรมโอสถ

    ซึ่งได้ผลทั้งทางร่างกายและจิตใจไปพร้อมๆกัน

    หลวงปู่เคยระงับไข้ด้วยวิธีภาวนามาหลายครั้ง

    จนเป็นที่มั่นใจต่อการพิจารณาเวลาไม่สบาย
    ------------------------------------------------
    ท่านพระอาจารย์มหาบัวเล่าถึงหลวงปู่ขาวไว้

    ในปฏิปทาของพระธุดงค์กรรมฐาน สายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต

    ว่าหลวงปู่ได้บรรลุธรรมชั้นสุดยอด


    ในราวพรรษาที่ ๑๖-๑๗

    ในสถานที่มีนามว่า โรงขอด

    แห่งอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

    ท่านเขียนไว้ว่า :

    ..เย็นวันหนึ่ง เมื่อปัดกวาดเสร็จ

    หลวงปู่ขาวออกจากที่พักไปสรงน้ำ

    ได้เห็นข้าวในไร่ชาวเขากำลังสุกเหลืองอร่าม

    ทำให้เกิดปัญหาขึ้นมาในขณะนั้นว่า

    ข้าวมันงอกขึ้นมาเพราะมีอะไรเป็นเชื้อพาให้เกิด

    ใจที่พาให้เกิดตายอยู่ไม่หยุด

    ก็น่าจะมีอะไรเป็นเชื้ออยู่ภายในเช่นเดียวกันกับเมล็ดข้าว

    เชื้อนั้นถ้าไม่ถูกทำลายเสียที่ใจให้สิ้นไป

    จะต้องพาให้เกิดตายอยู่ไม่หยุด

    ก็อะไรเป็นเชื้อของใจเล่า

    ถ้าไม่ใช่กิเลสอวิชชา ตัณหาอุปาทาน

    คิดทบทวนไปมา

    โดยถืออวิชชาเป็นเป้าหมายแห่งการวิพากษ์วิจารณ์

    พิจารณาย้อนหน้าถอยหลัง

    อนุโลมปฏิโลมด้วยความสนใจอยากรู้ตัวจริงแห่งอวิชชา

    นับแต่หัวค่ำจนดึก

    ไม่ลดละการพิจารณาระหว่างอวิชชากับใจ

    จวนสว่างจึงตัดสินกันลงได้ด้วยปัญญา

    อวิชชาขาดกระเด็น ออกจากใจไม่มีอะไรเหลือ

    การพิจารณาข้าว

    ก็มายุติกันที่ข้าวสุกหมดการงอกอีกต่อไป

    การพิจารณาจิตก็มายุติกันที่อวิชชาดับ

    กลายเป็นจิตสุกขึ้นมาเช่นเดียวกับข้าวสุก

    จิตหมดการก่อกำเนิดเกิดในภพต่างๆ อย่างประจักษ์ใจ
    สิ่งที่เหลือให้ชมอย่างสมใจ

    คือความบริสุทธิ์แห่งจิตล้วนๆ

    ในกระท่อมกลางเขามีชาวป่าเป็นอุปัฏฐากดูแล

    ขณะที่จิตผ่านดงหนาป่ากิเลสวัฏฏ์ไปได้

    แล้วเกิดความอัศจรรย์อยู่คนเดียวตอนสว่าง

    พระอาทิตย์ก็เริ่มสว่างบนฟ้า

    ใจก็เริ่มสว่างจากอวิชชาขึ้นสู่ธรรมอัศจรรย์

    ถึงวิมุตติหลุดพ้นในเวลาเดียวกันกับพระอาทิตย์อุทัย

    ช่างเป็นฤกษ์งามยามวิเศษเอาเสียจริงๆ"
    ------------------------------------------------
    หลวงปู่ขาวได้ธุดงค์จาริกไปตามถิ่นที่ต่างๆ

    จนกระทั่งในที่สุดก็มาพำนักจำพรรษา

    อยู่ที่วัดป่าถ้ำกลองเพล

    อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู

    เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๑ จวบจนกระทั่งมรณภาพ

    เมื่อวันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๖ SAM_7588.JPG SAM_7589.JPG SAM_7591.JPG
     
  10. Peterbn

    Peterbn Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2018
    โพสต์:
    446
    ค่าพลัง:
    +294
    จองครับ
     
  11. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    SAM_7597.JPG SAM_7594.JPG SAM_7596.JPG รายการที่ 866 พระผงสมเด็จพิมพ์ใหญ่รุ่นพิเศษ 92 ปีหลวงปู่ชอบ ฐานสโม พระอรหันต์เจ้าวัดป่าสัมมานุสรณ์ สร้างปี 2537 (ทันหลวงปู่ครับ) สมเด็จรุ่นนี้มีผสมเกศาเเละนํ้าปัสสาวะของหลวงปู่ด้วยครับ *******มีพระธาตุ 2 องค์เเละพระเกศาหลวงปู่มาบูชา ,>>>>>>>>บูชาที่ 445 บาทฟรีส่งems เปิดดูไฟล์ 5439355 เปิดดูไฟล์ 5439356 เปิดดูไฟล์ 5439352 เปิดดูไฟล์ 5439353 เปิดดูไฟล์ 5439354 sam_1965-jpg.jpg sam_7071-jpg-jpg.jpg
     
  12. Khun Kriang

    Khun Kriang สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2019
    โพสต์:
    290
    ค่าพลัง:
    +4
    จองนะครับ
     
  13. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 867 เหรียญกษาปณ์รุ่น 2 มุ่งพัฒนาหลวงปู่บุญพิน กตปุญโญ พระอรหันตืเจ้าวัดผาเทพนิมิต อ.นิคมนํ้าอูน จ.สกลนคร หลวงปู่บุญพินเป็นศิษย์หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ เหรียญสร้างปี 2540 เนื้ออัลปาก้า เป็นรุ่น 2 ของหลวงปู่เเต่บล็อกหันข้างครึ่งองค์เหมือนรุ่นเเรก เหรียญยังสวยดีครับ >>>>>มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ ******บูชาที่ 285 บาทฟรีส่งems *******ประวัติย่อพอสังเขป หลวงปู่บุญพิน กตปุญโญ วัดผาเทพนิมิต จังหวัดสกลนคร - “หลวงปู่บุญพิน กตปุญโญ” หรือ “พระครูสุวิมลบุญญากร” พระวิปัสสนาจารย์ชื่อดังแห่งวัดผาเทพนิมิต ต.นิคมน้ำอูน อ.นิคมน้ำอูน จ.สกลนคร และประธานสงฆ์ที่พักสงฆ์ดอยเทพนิมิต ต.ป่าตอง อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต
    ปัจจุบัน สิริอายุ 86 ปี พรรษา 64
    มีนามเดิมว่า บุญพิน เจริญชัย ถือกำเนิดเมื่อวันขึ้น 4 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 27 เม.ย.2476 ที่บ้านนาบ่อ หมู่ที่ 6 ต.ปลาโหล อ.วาริชภูมิ จ.สกลนคร
    ช่วงวัยเยาว์เรียนหนังสือจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่โรงเรียนบ้านนาบ่อแล้วออกมาช่วยครอบครัวทำนา
    ต่อมาได้ย้ายไปอยู่กับพี่สาวที่บ้าน นาทม จังหวัดนครพนม ช่วยพี่สาวค้าขายและเป็นช่างเย็บผ้า พอถึงฤดูกาลทำนาก็กลับไปทำนา พอถึงหน้าแล้งก็ต้มเกลือใส่เรือกระแชงไปขาย หมดหน้าเกลือก็รับจ้างขนข้าวล่องเรือตามแม่น้ำโขงไปขายในตลาดนครพนม
    ผ่านไป 5 ปี เกิดความเบื่อหน่ายในการค้าขาย ในช่วงนั้นมีศรัทธาอยากบวชอย่างแรงกล้า
    อายุครบ 23 ปี ตัดสินใจเข้าสู่ใต้ร่มกาสาวพัสตร์ เข้าพิธีอุปสมบท เมื่อวันที่ 6 พ.ค.2498 ที่วัดป่าอิสระธรรม บ้านวาใหญ่ ต.วาใหญ่ อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร โดยมี หลวงปู่สีลา อิสสโร วัดป่าอิสระธรรม เป็นพระอุปัชฌาย์, หลวงปู่อุ่น อุตฺตโม วัดอุดมรัตนาราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และหลวงปู่ผ่าน ปัญญาปทีโป วัดปทีปปุญญาราม เป็นพระอนุสาวนาจารย์
    ครั้นอุปสมบทแล้ว ได้อยู่กับ หลวงปู่สีลา พระอุปัชฌาย์ ได้ศึกษาพระธรรมวินัย ฝึกหัดนั่งสมาธิภาวนา เริ่มแรกหลวงปู่สีลาให้ฝึกหัดทำสมาธิด้วยคำบริกรรมพุทโธ รวมทั้งได้ศึกษาพระปริยัติธรรม สามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรี-โท-เอก ตามลำดับ ที่สำนักเรียนวัดสุทธิมงคล อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร

    B8%8D%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%99-%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%9B%E0%B8%B8%E0%B8%8D%E0%B9%82%E0%B8%8D.jpg
    หลวงปู่บุญพิน กตปุญโญ
    จนถึงวันมาฆบูชา หลวงปู่ผ่านได้กราบลาหลวงปู่อ่อนกลับวัด จึงเหลือแต่เพียงหลวงปู่บุญพินเท่านั้น
    ผ่านไปได้ระยะหนึ่ง หลวงปู่บุญพิน ได้อาพาธเป็นไข้ป่ามาลาเรียอย่างแรง วันหนึ่งขณะนอนเป็นไข้บนแคร่ หลวงปู่อ่อนเดินเข้ามาหาได้บอกให้หลวงปู่บุญพินลุกขึ้นนั่ง หลวงปู่อ่อนได้เทศนาให้ฟัง เสร็จแล้วให้สามเณรเอามุ้งกลดลงและให้นั่งภาวนา ขณะที่นั่งภาวนากำหนดจิตต่อสู้กับเวทนาจนจิตสงบเป็นสมาธิ พอจิตถอนจากสมาธิ ปรากฏว่าอาการไข้ได้หายเป็นปลิดทิ้ง
    หลังจากนั้น หลวงปู่อ่อน ได้พาหลวงปู่บุญพินออกธุดงควัตรไปจนถึงอำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม ช่วงนั้นเป็นเดือน 6 ใกล้เทศกาลเข้าพรรษา หลวงปู่บุญพิน จึงลาญาติโยมเพื่อหาที่จำพรรษา ญาติโยมจึงพาหลวงปู่มาส่งขึ้นเรือที่ปากน้ำไชยบุรีไป จังหวัดนครพนม เพื่อขึ้นรถไปหา หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ที่วัดป่าภูธรพิทักษ์
    ออกธุดงค์ไปยังที่ต่างๆ มากมายหลายแห่ง และในปี พ.ศ.2517 หลังจากที่จำพรรษาอยู่กับพระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ ที่วัดภูทอก ได้ระยะหนึ่งได้ลาไปเยี่ยมพระอาจารย์ศรีนวลที่วัดรัตนนิมิต จ.อุดรธานี และจำพรรษาที่นี่
    พอดีมีญาติโยมได้มานิมนต์ไปสร้างวัดที่ป่าช้าบ้านดงเชียงเครือ อ.วาริชภูมิ บ้านเกิด และได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลวาริชภูมิ

    พ.ศ.2534 ได้ไปจัดตั้งสำนักสงฆ์ที่ผาเทพนิมิตเขาภูพาน และต่อมาได้มีการยกฐานะเป็นวัดผาเทพนิมิต

    ลำดับสมณศักดิ์ พ.ศ.2541 ได้รับพระราชทานแต่งตั้งเป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะตำบลชั้นโท ในราชทินนามที่ พระครูสุวิมลบุญญากร พ.ศ.2545 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะตำบลชั้นเอก ในราชทินนามเดิม SAM_7601.JPG SAM_7603.JPG SAM_7605.JPG
     
  14. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 868 เหรียญหลวงพ่อเจ๊ดกษัตริย์รุ่นทูลเกล้าหลวงปู่สอ พันธุโล วัดป่าบ้านหนองเเสง อ.เมือง จ,ยโสธร หลวงปู่สอเป็นศิษย์หลวงตามหาบัว วัดป่าบ้านตาด เหรียญสร้างปี 2544 เนื้อทองเเดงรมดำมันปู สร้างโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิต >>>>>มีพระเกศาหลวงปู่สอมาบูชาเป็นมงคล *****บูชาที่ 195 บาทฟรีส่งems SAM_7607.JPG SAM_7608.JPG SAM_7609.JPG SAM_0857.JPG
     
  15. แปดเหลี่ยม

    แปดเหลี่ยม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2013
    โพสต์:
    831
    ค่าพลัง:
    +559
    จองครับ
     
  16. แปดเหลี่ยม

    แปดเหลี่ยม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2013
    โพสต์:
    831
    ค่าพลัง:
    +559
    วันนี้โอนเงิน 545 บาทเข้า ธ.กรุงไทยแล้ว ครับ เวลา 12.51 น. ส่งที่เดิมครับขอบคุณ
     
  17. สักการะ

    สักการะ ชิวิตดั่งอาทิตย์อัศดง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    4,690
    ค่าพลัง:
    +5,780
    จองครับ
     
  18. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 869 เหรียญ 100 ปี หลวงปู่จาม มหาปุญโญ พระโพธิสัตว์โตเเห่งวัดป่าวิเวกพัฒนาราม อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร หลวงปู่จามเป็นศิษย์หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล,หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เหรียญสร้างปี 2553 รุ่นนี้สร้างโดย จังหวัดมุกดาหาร มีพิธีใหญ่มาก ทำพิธีสวดทั้งตลอดวันจนถึงรุ่งเช้า มีพระทั้งสองฝั่งโขงมาร่วมพิธีสวด เนื้อทองเเดงรมดำมันปู มีตอกโค๊ต จ หลังเหรียญ มาพร้อมกล่องเดิม>>>>>>มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคล*******บูชาี่ 455 บาฟรีส่งems >>>>ประวัติโดยย่อหลวงปู่จาม
    556000000789505.jpg
    มุกดาหาร - “หลวงปู่จาม มหาปุณโญ” เจ้าอาวาสวัดป่าวิเวกวัฒนาราม จังหวัดมุกดาหาร ละสังขารแล้ว ด้วยอายุ 104 ปี เวลา 09.00 วันที่ 20 มกราคม 2556 ประวัติหลวงปู่จาม มหาปุญโญ พ.ศ.2453 กำเนิด เด็กชายจาม ผิวขำ ในปลายรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ช่วงก่อนที่จะทรงเสด็จสวรรคต (23 ตุลาคม 2453) ในปีนั้น หลวงปู่จาม มหาปุญโญ ได้ถือกำเนิด เป็น ด.ช.จาม ผิวขำ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 19 พฤษภาคม 2453 ตรงกับวันแรม 10 ค่ำ เดือน 6 ปี จอ ณ บ้านห้วยทราย คำชะอี จ.นครพนม (ปัจจุบันเป็นอำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร) โดยเป็นบุตรคนที่ 3 ของนายกา นางมะแง้ ผิวขำ หลวงปู่จาม มีพี่น้องรวม 9 คน ดังนี้คือ นายแดง นายเจ๊ก นายจาม นางเจียง นายจูม นางจ๋า นายถนอม นายคำตา และนางเตื่อยพ.ศ.2459 เมื่ออายุได้ 6 ปี พ่อแม่ได้พาเด็กชายจามไปกราบ หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล และหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ซึ่งได้มาจำพรรษาอยู่ใกล้บ้านที่ภูผากูด คำชะอีพ.ศ.2464 บรรดาศิษย์ของหลวงปู่เสาร์ และหลวงปู่มั่น จำนวนประมาณ 70 รูป ได้มารวมกันเป็นกองทัพธรรมสายพระกรรมฐานมากเป็นประวัติการณ์ ที่ภูผากูด เนื่องจากหลวงปู่เสาร์ และหลวงปู่มั่น ได้มาพักประจำอยู่ที่ถ้ำจำปา ขณะ ด.ช.จาม อายุได้ประมาณ 11 ปี จึงได้ติดตามพ่อแม่ไปอุปัฏฐากดูแลพระกรรมฐานทั้งหลายอย่างใกล้ชิด (สถานที่ซึ่งรวมตัวกันนั้น ต่อมาได้ตั้งเป็นสำนักสงฆ์หนองน่อง ทางทิศใต้ของบ้านห้วยทราย และได้ย้ายมาเป็นวัดป่าวิเวกวัฒนารามในปัจจุบัน)พ.ศ.2469 เมื่อ ด.ช.จาม อายุได้ 16 ปี พ่อแม่ได้พาไปถวายตัวกับหลวงปู่มั่น ที่ จ.อุบลราชธานี นุ่งขาวห่มขาว เป็นเวลา 9 เดือน หรือที่เรียกว่าเป็น ผ้าขาว 9 เดือน
    พ.ศ.2470 บรรพชาเป็นสามเณร ครั้งที่ 1 เมื่ออายุได้ 17 ปี จำพรรษาอยู่กับหลวงปู่มั่น 1 พรรษา ที่บ้านหนองขอน อ.บุ่ง จ.อุบลราชธานี (อ.หัวตะพาน จ.อำนาจเจริญ) ได้รับใช้ครูบาอาจารย์หลายท่าน ได้แก่หลวงปู่กงมา จิรปุญโญ, หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ, ท่านพ่อลี ธมฺมธโร, หลวงปู่สิงห์ ขนฺยาคโม, หลวงปู่มหาปิ่น ปญฺญาพโล เป็นต้น นอกจากนั้น ยังเป็นสหธรรมิกเพื่อนสามเณร กับ สามเณรสิม (หลวงปู่สิม พุทธาจาโร) อีกด้วย

    พ.ศ.2471 ออกธุดงค์เป็นครั้งแรก เมื่ออายุได้ 18 ปี หลวงปู่มั่น ได้ฝากสามเณรจามไว้กับหลวงปู่กงมา หลวงปู่อ่อน หลวงปู่มหาปิ่น โดยสามเณรจาม ได้ติดตามครูบาอาจารย์ออกธุดงค์ไปยโสธรเป็นครั้งแรก

    พ.ศ.2472 ป่วยจำเป็นต้องลาสิกขา เมื่ออายุได้ 19 ปี สามเณรจาม ได้ออกธุดงค์ไปยังขอนแก่น กับหลวงปู่อ่อน หลวงปู่กงมา ต่อมาในปีนั้น สามเณรจาม ป่วยเป็นโรคกระเพาะอาหาร โรคเหน็บชา จึงจำเป็นต้องลาสิกขา เพื่อกลับไปรักษาตัวที่บ้านห้วยทราย คำชะอี จนหายจากโรคภัยไข้เจ็บ และใช้ชีวิตเป็นฆราวาส ทำไร่ ทำนา ค้าขาย ต่อมาจนถึงอายุ 28 ปี

    พ.ศ.2480 อธิษฐานขอบวชในพระพุทธศาสนา เมื่อนายจาม ผิวขำ มีอายุได้ 27 ปี พ่อกา (โยมพ่อ) บวชเป็นพระภิกษุ (ใช้ชีวิตอีก 6 ปี ก็มรณภาพในปี 2486) ส่วน แม่มะแง้ (โยมแม่) ก็ได้บวชชี (ใช้ชีวิตอีก 36 ปี จึงถึงแก่กรรม) ช่วงเดือน พฤศจิกายน 2480 นายจาม ผิวขำ ไปไหว้พระธาตุพนม จ.นครพนม เพื่ออธิฐานขอบวชในพระพุทธศาสนา

    พ.ศ. 2481 บรรพชาเป็นสามเณร ครั้งที่ 2 คณะญาติได้พาไปซื้อเครื่องบวชที่ร้านขายสังฆภัณฑ์ ที่ตลาดบ้านผือ นายจาม ผิวขำ พบ น.ส.นาง เป็นลูกสาวเจ้าของร้าน เกิดปฏิพัทธ์จิตรักใคร่ทันทีเมื่อแรกพบ แม่ชีมะแง้ ได้ปรึกษากับแม่ชีแก้ว เสียงล้ำ เกรงจะมีปัญหาจึงได้พานายจาม ผิวขำ บวชเป็นสามเณร ไว้ก่อนที่วัดป่าโคกคอน อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2481 เพื่อหนีผู้หญิง แล้วเดินเท้าต่อไปไหว้พระพุทธบาทบัวบก หอนางอุษา และมุ่งหน้าไปวัดโพธิสมภรณ์ อ.เมือง จ.อุดรธานี

    ครั้นอายุ 29 ปีบริบูรณ์ จึงได้อุปสมบท ในวันที่ 19 พฤษภาคม 2482 ที่วัดโพธิสมภรณ์ อ.เมือง จ.อุดรธานี โดยมีพระเทพกวี (จูม พนฺธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อบวชเสร็จพระจาม มหาปุญโญ ได้ออกธุดงค์ไปภาคเหนือจำพรรษาอยู่วัดเจดีย์หลวง 72 พรรษา ได้ไปปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ ในปี พ.ศ.2521 จึงกลับมาปักกลดจำพรรษาที่วัดป่าวิเวกวัฒนาราม สร้างวัดป่าวิเวกวัฒนาราม ให้เป็นที่พำนักนั่งวิปัสสนากรรมฐาน จนถึงปัจจุบัน SAM_7613.JPG SAM_7612.JPG SAM_7610.JPG SAM_7611.JPG SAM_7616.JPG
     
  19. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 870 เหรียญรุ่นเเรกหลวงปู่ทา จารุธัมโม พระอรหันต์เจ้าวัดถํ้าซับมืด อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา หลวงปู่ทาเป็นศิษย์หลวงปู่มี ญาณมุนี วัดป่าสูงเนิน เหรียญสร้างปี 2545 เนื้อทองเเดงรมมันปู สร้างเนื่องหลวงปู่อายุครบ 94 ปีชื่อรุ่นอุดมมงคล เหรียญใหม่ไม่เคยใช้ มีพระผงอังคารธาตุหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคล *****บูชาที่ 555 บาทฟรีส่งems ประวัติโดยย่อหลวงปู่ทา จารุธัมโม หลวงปู่ทา จารุธัมโม ท่านเกิดวันอังคารที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2452 ที่ต.คู่เมือง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี บิดาของท่านชื่อ นายลี อารีวงศ์ มารดาของท่านชื่อ นางเขียว อารีวงศ์ ท่านมีพี่น้องรวมกัน 9 คน ท่านเป็นคนที่ 7 ในวัยเด็กท่านได้ช่วยบิดามารดาของท่านประกอบอาชีพทำนา พอท่านอายุได้ ๕ ขวบ โยมมารดาของท่านเสียชีวิต หลังจากนั้นไม่นานนัก โยมบิดาก็เสียชีวิตตามไปอีกคนท่านต้องเป็นเด็กกำพร้าตั้งแต่ยังเล็ก ลูกทั้ง ๗ คน ต้องแยกย้ายไปอาศัยอยู่กับญาติผู้ใหญ่ ส่วนท่านไปอยู่กับโยมน้าหญิง ซึ่งท่านเรียกว่า “แม่น้า” ที่อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี (ปัจจุบันแยกเป็นจังหวัดยโสธร) โยมน้าไม่มีลูกจึงรับท่านเป็นบุตรบุญธรรม ให้การเลี้ยงดู ให้ความอบอุ่น เป็นอย่างดี ท่านได้ช่วยโยมน้าทำไร่ ปลูกอ้อย เลี้ยงควาย เมื่อว่างจากหน้าที่การงานทางบ้าน ท่านจะไปอยู่วัดรับใช้พระพอท่านอายุได้ ๒๐ ปี ได้อุปสมบทที่ วัดใหญ่ชีทวน และได้จำพรรษาอยู่ที่ วัดท่าชีทวน เป็นเวลา ๕ พรรษา แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ไม่มีอาจารย์ผู้สอนอุบายธรรม ท่านจึงได้ลาสิกขาบทเพื่อมาช่วยงานทางบ้านต่อมาคณะพระธุดงค์กรรมฐานซึ่งมี หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล เป็นหัวหน้าคณะ และมี หลวงปู่มี ญาณมุนี พร้อมคณะได้เดินทางผ่านบ้านชีทวน และปักกลดที่ป่าบ้านชีทวน เพื่อเดินทางต่อไปยังบ้านข่าโคม อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นบ้านเกิดของ หลวงปู่เสาร์ ชาวบ้านชีทวนพอทราบข่าวว่า คณะพระธุดงค์มาปักกลดจึงเกิดศรัทธาเลื่อมใส ตั้งใจว่าหากได้บวชจะบวชกับพระอาจารย์ธุดงค์ หลังจากนั้น ราว ๓ ปี ท่านได้กราบลา พ่อน้า แม่น้า ผู้เปรียบเสมือนบิดามารดาคนที่สองของท่าน เพื่อไปฝากตัวเป็นศิษย์ของ หลวงปู่มี ท่านได้เดินทางลงไปทำงานที่กรุงเทพฯ เป็นเวลา ๑ เดือน แล้วจึงย้อนกลับมาหา หลวงปู่มี ฝากตัวเป็นศิษย์ปรนนิบัติรับใช้อยู่ที่เสนาสนะป่าบ้านสูงเนิน (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นวัดป่าญาณโสภิตวนาราม) ตลอดระยะเวลา ๓ ปี ท่านได้ทำกิจวัตร ทำวัตรเช้า - เย็น ตกกลางคืนเดินจงกรมภาวนา ถึง ๖ ทุ่ม จึงขึ้นที่พัก เมื่อ หลวงปู่มี เห็นว่าท่านตั้งใจทำกิจวัตรมีกริยามารยาทเรียบร้อย จึงอนุญาตให้บวชได้ ท่านได้อุปสมบทเมื่ออายุ ๓๔ ปี ในวันที่ ๒๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๕ เวลา ๑๑.๒๔ น. ณ อุโบสถวัดใหญ่สูงเนิน อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา โดยมีพระอุปัชฌาย์นามว่า พระครูญาณโสภิต(หลวงปู่มี ญาณมุนี) พระกรรมวาจาจารย์นามว่า พระอาจารย์เนียม พระอนุสาวนาจารย์นามว่า พระอธิการถนอมเป็น ได้ฉายา “จารุธมฺโม” แปลความหมายว่า “ผู้มีธรรมประดุจทอง” ท่านได้ตั้งใจประพฤติตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด ปฏิบัติตามคำอบรมสั่งสอนของ หลวงปู่มี ทุกประการท่านว่าถ้าผู้ใดบวชมาอยู่กับ หลวงปู่มี แล้วไม่ตั้งใจประพฤติปฏิบัติสมาธิวิปัสสนาภาวนาท่านจะขับออกจากสำนักทันที ท่านได้อยู่จำพรรษากับ หลวงปู่มี ที่เสนาสนะป่าบ้านสูงเนิน เป็นเวลาหลายปี พอออกพรรษาท่านก็เที่ยววิเวกไปตามที่ต่างๆ ในปี พ.ศ. ๒๕๐๓ หลวงปู่มี ญาณมุนี หลวงพ่อทองพูล จิตปญฺโญ และ หลวงพ่อสุพีร์ สุสญฺญโม ได้ขึ้นไปวิเวกทางภาคเหนือ และอยู่จำพรรษาที่วัดดอยพระเกิด อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ โดยท่านได้อยู่ดูแลวัดป่าสูงเนิน เพื่อคุมงานก่อสร้างศาลาการเปรียญ ช่วงที่ หลวงปู่มี เที่ยววิเวกที่เชียงใหม่ท่านเข้าออกอยู่ระหว่างวัดป่าสูงเนินกับวัดป่าสระเพลง วัดป่าสระเพลงเป็นอีกสถานที่หนึ่งถูกจริตกับท่านมาก ในปี พ.ศ. ๒๕๐๖ ท่านได้มาอยู่จำพรรษาที่วัดถ้ำซับมืด ตำบลจันทึก อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งในสมัยนั้นยังเป็นป่าดงดิบ ไข้มาเลเรียระบาดหนัก มีสัตว์ป่านานาชนิด เช่น เสือ เก้ง กวาง หมูป่า เป็นต้น พอออกพรรษาท่านได้กลับไปอยู่ที่วัดป่าสูงเนิน เพื่อเตรียมการฉลองศาลาการเปรียญ และท่านได้ขึ้นไปเชียงใหม่ เพื่อกราบนิมนต์ หลวงปู่มี ให้มาเป็นประธานฉลองศาลาการเปรียญที่วัดใหญ่สูงเนิน หลังจากจัดงานฉลองศาลาการเปรียญเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว หลวงปู่มี มีความประสงค์จะขึ้นไปเชียงใหม่อีกครั้ง โดยให้ท่านติดตามไปด้วย ในปี พ.ศ. ๒๕๐๗ - ๒๕๑๑ หลวงปู่มี ญาณมุนี หลวงปู่ทา จารุธมฺโม และ หลวงพ่อสุพีร์ สุสญฺญโม ได้จำพรรษาอยู่ที่ วัดดอยพระเกิด อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ต่อมาท่านได้เร่งความเพียรอย่างหนัก ที่วัดป่าสระเพลง ขณะนั่งสมาธิได้ยินเสียงเหมือนมีใครมาเทศน์อยู่ข้างหลัง เทศน์เรื่อง อริยสัจจ์ ๔ ประมาณ ๑ - ๒ ชั่วโมง เป็นธรรมะอันลึกซึ้ง ซึ่งท่านไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อน ในปี พ.ศ. ๒๕๑๒ หลวงปู่มี ได้มาอยู่จำพรรษาที่วัดถ้ำซับมืดโดยมี หลวงปู่ทา จารุธมฺโม และ หลวงพ่อสุพีร์ สุสญฺญโม ติดตามมาอยู่ด้วยตั้งแต่นั้นมา หลวงปู่ทา จารุธมฺโม ท่านก็ไม่เคยไปจำพรรษาที่ไหนอีกเลย ถึงแม้หลังจาก หลวงปู่มี จะได้มรณภาพไปแล้วในปี พ.ศ. 2515 ก็ตาม ท่านก็ได้อยู่จำพรรษากับ หลวงพ่อสุพีร์ สุสญฺญโม อบรมสั่งสอนลูกศิษย์ด้วยการทำให้ดู เป็นอยู่ให้เห็น ฉันน้อย นอนน้อย ปฏิบัติให้มาก ท่านครองสมณเพศ อย่างเรียบง่ายสมถะ ถือสันโดษ เปี่ยมด้วยเมตตาธรรม เป็นที่เคารพศรัทธาเลื่อมใส ของพระภิกษุ สามเณร ตลอดจนสาธุชนทั่วไป รวมทั้งมีพระกรรมฐาน ทั้งฝ่ายมหานิกายและธรรมยุต ได้มาอยู่ร่วมกับท่านปฏิบัติตามธรรมวินัยอยู่ร่วมกันอย่างเย็นใจตลอดมา จนกระทั่งท่านมรณภาพละสังขารเข้าอนุปาทิเสสนิพพานเมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ รวมอายุ ๙๘ ปี พรรษา ๖๕.

    55410382848_n.png?_nc_cat=102&_nc_sid=8024bb&_nc_ohc=ZwbanFJd2OsAX8XmyAO&_nc_ht=scontent.fkkc2-1.png
    SAM_7614.JPG SAM_7615.JPG SAM_4838.JPG
     
  20. Higtmax

    Higtmax เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    2,342
    ค่าพลัง:
    +4,818
    บูชาครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 กันยายน 2020

แชร์หน้านี้

Loading...