ยุคก่อนมีพระพุทธรูป

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย อุรุเวลา, 6 ธันวาคม 2012.

  1. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ผมไม่เคยใส่ร้ายคุณ ผมตำหนิคุณสองเรื่อง
    - คุณใช้คำว่า "ท่าน" กับองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    - คุณใช้คำว่า "ไอ้" กับพระธรรมขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    คุณไปหามาเลยครับ
     
  2. มหาวัด

    มหาวัด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    248
    ค่าพลัง:
    +1,892
    คุณรู้ได้ไงว่าผมไม่รู้ครับ อยากจะเรียนวิธีอ่านจากผมละสิ
    พูดมาตรงๆๆ เถอะ ผมจะบอกให้
    จะสอนให้
    5555
    ผมไม่หวงความรู้แล้ว
    ขนาดใครอยากรู้ว่าพระจริงพระปลอมผมยังให้ความรู้ได้เลยแค่สอนอ่านระบบพระไตรปิฏก นี่มันยากตรงไหนครับ
    เอาไหม? ผมสอนคุณ นาทีเดียวเอง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 ธันวาคม 2012
  3. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    คุณไม่รู้ว่าเอามาจากเล่มไหน หน้าไหนเพราะคุณไม่ได้อ่านมาเอง เขาให้คุณมาแค่นี้ คุณก็รู้แค่นี้ คนไม่เคารพธรรม เทวดาหน้าไหนก็ช่วยไม่ได้ครับ
     
  4. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    สอนตัวคุณเองดีกว่า ไปขอขมาพระรัตนตรัยหรือยังครับ รีบๆ นะครับ
    กรรมย่อมส่งผลกับผู้กระทำ ไม่มีใครหนี "กฏแห่งกรรมไปได้"
     
  5. มหาวัด

    มหาวัด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    248
    ค่าพลัง:
    +1,892
    แล้วคุณช่วยให้เหตุผลหน่อยว่า ทำไมถึงใช้คำว่า พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่าไม่ได้ครับ อธิบายด้วย ผมคิดไม่ออก

    ผมใช้คำว่า ไอ้พระสูตรที่คุณไปลอกเขามาคุณรู้ความหมายหรอ
    แล้วคำว่าไอ้ นี้ผมก็เอาพจนานุกรมมาลงแล้วว่า ไอ้ในประโยคนี้มีความหมายโดยนัยว่า ใช้เพื่อเน้นสิ่งที่ตามหลัง และ มีความหมายว่าเป็นสิ่งของหนึ่งๆๆ เช่นไอ้นั้น ไอ้นี่ ไอ้นู้น
    ถามหน่อยว่าหยาบตรงไหน หยาบเพราะอะไร อธิบายตามหลักภาษาศาสตร์มาแบบที่ผมอธิบายด้วยนะครับ
    ถ้าอธิบายไม่ได้ก็หุบปากไปเถอะ อายเขานะ
     
  6. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ไม่เลิกนะคุณ ผมเตือนคุณแล้ว
     
  7. มหาวัด

    มหาวัด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    248
    ค่าพลัง:
    +1,892
    งั้น อ่านให้ฟังอันหนึ่งเอาไหม? ยกเอา ขุ.ปิฏิ 31/242/155
    ก็หมายความว่า คัมภีร์ปฏิสัมภิทามัคคํ เล่ม 31 หน้า 242 ข้อที่ 155
    ไงครับ ง่ายจะตาย
     
  8. มหาวัด

    มหาวัด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    248
    ค่าพลัง:
    +1,892
    คุณเป็นบุคคลที่คุณก็รู้ว่าใครคนนั้นหรอ ครับ
    พอหน้าแหก สู้ความจริงไม่ได้
    ก็ยกเอากฏแห่งกรรม คำสาปแช่งมาขู่
    555555

    ผมพูดความจริง
    กลัวอะไรครับ ผมพูดถูกตามหลักวิชาครูทุกอย่าง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 ธันวาคม 2012
  9. มหาวัด

    มหาวัด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    248
    ค่าพลัง:
    +1,892
    พระไตรปิฎกและอรรถกถาระบุว่า นิพพานเป็นอนัตตา
    อย่างไรก็ตาม เมื่อยังจะยืนยันให้ได้ว่า นิพพานเป็นอัตตา ท่านก็ให้หลักการที่ชัดเจนไว้ สำหรับเอามา
    ใช้เป็นหลักฐาน ที่จะแสดงว่านิพพานเป็นอนัตตา
    ขอย้ำอีกว่า การชี้แจงต่อไปนี้ เป็นการนำหลักฐานมาแสดง ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ ซึ่งบันทึกไว้ใน
    พระไตรปิฎก พร้อมทั้งคำอธิบายประกอบในอรรถกถา ไม่ใช่เป็นเรื่องของความคิดเห็น หรือแม้แต่ตีความ ถ้าที่ใด
    เป็นความคิดเห็นก็จะเขียนบอกหรือวงเล็บไว้ด้วย ว่าเป็นความคิดเห็น แต่คิดว่าจะไม่มีเรื่องความคิดเห็น อย่าง
    มากก็มีเพียงคำอธิบายประกอบ
    คำอธิบายประกอบก็คือ การขยายความหมายของคำออกไปตามหลักที่มีอยู่แล้ว เช่น ถ้ามีหลักฐาน
    กล่าวถึง อริยสัจจ์ 4 หาก กลัวว่าคนทั่วไปจะไม่เข้าใจก็อาจจะวงเล็บไว้ว่า (คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) อย่างนี้
    เป็นต้น นี้ถือเป็นการอธิบาย ไม่ใช่ความเห็น
    ขอสรุปให้ว่า
    - ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา เริ่มแต่พระไตรปิฎก และอรรถกถา ไม่มีหลักฐานในคัมภีร์ใดเลยที่กล่าวถ้อย
    คำระบุลงไปว่านิพพานเป็นอัตตา
    - แต่หลักฐานในคัมภีร์ที่ระบุลงไปว่านิพพานเป็นอนัตตานั้นมี และมีหลายแห่ง
    ขอให้ทำความเข้าใจกันไว้ก่อนว่า ที่ว่านิพพานเป็นอนัตตา คำว่า "เป็นอนัตตา" นั้น เป็นการทับศัพท์
    บาลีเพื่อความสะดวกในการกำหนดหมาย โดยสาระก็คือเป็นการปฏิเสธอัตตา มิใช่หมายความว่า มีอะไรอย่าง
    หนึ่งที่เรียกชื่อว่าเป็นอนัตตา (จะแปลอนัตตานี้ว่า ไม่ใช่อัตตา ไม่เป็นอัตตา หรือไม่มีอัตตา ก็ไม่ต้องเถียงกัน อยู่ที่
    ความเข้าใจให้ชัด แต่เมื่อว่าโดยสาระก็คือ เป็นการปฏิเสธความเป็นอัตตา)
    หลักฐานในพระไตรปิฎกและอรรถกถา ที่ระบุว่านิพพานเป็นอนัตตา มีมากแห่ง ในที่นี้จะยกมาพอเป็น
    ตัวอย่าง
    1. ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 8 มีคำสรุประบุชัดไว้ ดังนี้ว่า
    อนิจฺจา สพฺพสงฺขารา ทุกฺขานตฺตา จ สงฺขตา
    นิพฺพานญฺเจว ปณฺณตฺติ อนตฺตา อิติ นิจฺฉยา ฯ (วินย. 8/826/224)
    แปลว่า: "สังขารทั้งปวง อันปัจจัยปรุงแต่ง ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา นิพพานและบัญญัติเป็น
    อนัตตา วินิจฉัยมีดังนี้ "1
    คัมภีร์วิมติวิโมทนีได้อธิบายข้อความในคาถาสรุปนี้ไว้ว่า
    ปาฬิยํ นิพฺพานญฺเจว ปญฺญตฺตีติ เอตฺถ ยสฺมา สงฺขตธมฺเม อุปาทาย ปญฺญตฺตา สมฺมุติสจฺจภูตา
    ปุคฺคลาทิปญฺญตฺติ ปรมตฺถโต อวิชฺชมานตฺตา อุปฺปตฺติวินาสยุตฺตวตฺถุธมฺมนิยเตน อนิจฺจทุกฺข-ลกฺขณทฺว
    เยน ยุตฺตาติ วตฺตุํ อยุตฺตา, การกเวทกาทิรูเปน ปน ปริกปฺปิเตน อตฺตสภาเวน วิรหิตตฺตา " อนตฺตา "ติ
    วตฺตุํ ยุตฺตา.
    ตสฺมา อยํ ปญฺญตฺติปิ อสงฺขตตฺตสามญฺญโต วตฺถุภูเตน นิพฺพาเนน สห " อนตฺตา อิ ติ นิจฺฉยา "
    ติ วุตฺตา.
    อวิชฺชมานาปิ หิ สมฺมุติ เกนจิ ปจฺจเยน อกตตฺตา อสงฺขตา อวาติ (วิมติวิโนทนีฏีกา 2/351)
    แปลว่า: " ในข้อความนี้ว่า " นิพฺพานญฺเจว ปญฺญตฺติ " ในพระบาลี อธิบายความว่า ด้วยเหตุที่
    บัญญัติมีบุคคลเป็นต้น อันเป็นสมมติสัจจะ ซึ่งท่านบัญญัติไว้โดยอาศัยสังขตธรรม เพราะเหตุที่เป็น
    สิ่งไม่มีจริงโดยปรมัตถ์ จึงไม่ควรจะกล่าวว่าประกอบด้วยลักษณะ 2 คือ อนิจจลักษณะ และทุกข
    ลักษณะ ซึ่งกำหนดด้วยสิ่งที่ประกอบด้วยอุบัติ และวินาศ (เกิด-ดับ) แต่ควรจะกล่าวว่าเป็นอนัตตา
    เพราะปราศจากสภาวะที่เป็นอัตตา อันกำหนดด้วยอาการที่เป็นผู้กระทำและเป็นผู้เสวยหรือรับผล
    เป็นต้น
    เพราะฉะนั้น แม้บัญญัตินี้ พร้อมด้วยนิพพานซึ่งเป็น สิ่งที่มีอยู่ ท่านกล่าวว่า "วินิจฉัยว่าเป็น
    อนัตตา" เพราะเสมอกันโดยความเป็นอสังขตะ
    จริงอยู่ สมมติแม้ไม่มีอยู่ ก็เป็นอสังขตะ เพราะไม่ถูกปัจจัยใดๆ กระทำขึ้น"
    (นิพพานเป็นอสังขตธรรมที่มีจริง ส่วนบัญญัติเป็นอสังขตะที่ไม่มีจริง เพราะฉะนั้นอสังขตธรรมแท้จริงมี
    อย่างเดียว คือนิพพาน แต่ทั้ง 2 อย่างนั้นเป็นอนัตตา)
    2. หลักธรรมหมวดใหญ่ที่ครอบคลุมทุกสิ่งทุกอย่าง ซึ่งชาวพุทธรู้้จักกันดี คืออริยสัจจ์ 4 นิพพานก็อยู่ใน
    อริยสัจจ์ 4 ด้วย คือเป็นจุดหมายของพระพุทธศาสนา ได้แก่ อริยสัจจ์ข้อ 3 ที่เรียกว่า "นิโรธ" คำว่านิโรธนี้เป็น
    ไวพจน์ คือใช้แทนกันได้กับ "นิพพาน" พระไตรปิฎกเล่ม 31 ระบุว่าอริยสัจจ์ 4 ทั้งหมดซึ่งรวมทั้งนิโรธ คือนิพพาน
    ด้วยนั้น เป็นอนัตตา ดังนี้
    อนตฺตฏฺเฐน จตฺตาริ สจฺจานิ เอกปฏิเวธานิ . . . นิโรธสฺส นิโรธฏฺโฐ อนตฺตฏฺโฐ.
    (ขุ.ปฏิ. 31/546/450)
    แปลว่า: "สัจจะทั้ง 4 (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) มีการตรัสรู้ด้วยกันเป็นอันเดียว (คือด้วยมรรค
    ญาณเดียวกัน) โดยความหมายว่าเป็นอนัตตา . . . นิโรธมีความหมายว่าดับ(ทุกข์) ก็มีความหมายว่า
    เป็นอนัตตา "
    อรรถกถาอธิบายว่า
    อนตฺตฏฺเฐนาติ จตุนฺนมฺปิ สจฺจานํ อตฺตวิรหิตตฺตา อนตฺตฏฺเฐน.
    (ปฏิสํ.อ.2/229)
    แปลว่า: "คำว่า 'โดยความหมายว่าเป็นอนัตตา' หมายความว่า โดยความหมายว่าเป็น
    อนัตตา เพราะสัจจะแม้ทั้ง 4 เป็นสภาวะปราศจาก อัตตา "
    3. อีกแห่งหนึ่ง ในพระไตรปิฎกเล่ม 31 คัมภีร์ปฏิสัมภิทามัคค์ กล่าวไว้ว่า
    เอกสงฺคหิตาติ ทฺวาทสหิ อากาเรหิ สพฺเพ ธมฺมา เอกสงฺคหิตา ตถฏฺเฐน อนตฺตฏฺเฐน
    สจฺจฏฺเฐน . . . (ขุ.ปฏิ 31/242/155)
    แปลว่า: "ที่ว่ารวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน อธิบายว่า ธรรมทั้งปวงรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
    โดยอาการ 12 คือ โดยอรรถว่าเป็นอย่างนั้น โดยอรรถว่าเป็นอนัตตา โดยอรรถว่าเป็นสัจจะ...."
    อรรถกถาอธิบายความตรงนี้ไว้ให้ชัดขึ้นว่า
    สพฺเพ ธมฺมา เอกสงฺคหิตา สงฺขตาสงฺขตธมฺมา เอเกน สงฺคหิตา ปริจฺฉินฺนา. ตถฏฺเฐนาติ ภูต
    ฏฺเฐน, อตฺตโน อตฺตโน สภาววเสน วิชฺชมานฏฺเฐนาติ อตฺโถ. อนตฺตฏฺเฐนาติ การกเวทกสงฺขาเตน อตฺต
    นา รหิตฏฺเฐน. (ปฏิสํ.อ. 1/343)
    แปลว่า: "ธรรมทั้งหลายทั้งปวงสงเคราะห์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน คือ ทั้ง สังขตธรรม (สังขาร/ขันธ์ 5)
    และ อสังขตธรรม (นิพพาน) สงเคราะห์ หมายความว่า กำหนดได้โดยความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
    ที่ว่า " โดยอรรถว่าเป็นอย่างนั้น " (ตถา) คือโดยอรรถว่า มีอยู่ หมายความว่า โดยอรรถว่า มีอยู่
    ตามสภาพของมัน ๆ
    ที่ว่า " โดยอรรถว่าเป็นอนัตตา " คือโดยความหมายว่าปราศจากอัตตา ซึ่งนับว่าเป็นผู้ทำและผู้
    เสวยหรือรับผล...."
    4. ในพระไตรปิฎกเล่ม 17 กล่าวถึงพุทธพจน์ว่า
    สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา, สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ (สํ.ข. 17/233)
    แปลว่า: " สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา "
    อรรถกถา อธิบายว่า
    สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ สพฺเพ เตภูมกสงฺขารา อนิจฺจา.
    สพเพ ธมฺมา อนตฺตาติ สพเพ จตุภูมกธมฺมา อนตฺตา (สํ.อ. 2/346)
    แปลว่า: "พุทธพจน์ว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยงหมายความว่า สังขารในภูมิ 3 (กามาวจรภูมิ รู
    ปาวจรภูมิ อรูปาวจรภูมิ) ทั้งปวง ไม่เที่ยง
    พุทธพจน์ว่า ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา หมายความว่า ธรรมในภูมิ 4 (กามาวจรภูมิ รูปาวจร
    ภูมิ อรูปาวจรภูมิ และโลกุตตรภูมิ คือมรรค ผล นิพพาน) ทั้งหมดทั้งปวงเป็นอนัตตา "
    5. อรรถกถาที่อธิบายเรื่องเหล่านี้ยังมีอีกมากมาย จะยกมาเพียงอีก 2-3 แห่งก็เพียงพอ ที่จริงเพียงแห่ง
    เดียวก็ต้องถือว่าพอ เพราะไม่มีที่ใดขัดแย้ง
    1) สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ นิพฺพานํ อนฺโตกริตฺวา วุตฺตํ (นิทฺ.อ.2/8)
    แปลว่า: "ข้อความว่า ' ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา' นั้น พระพุทธองค์ตรัสรวมทั้งนิพพานด้วย"
    2) สพฺเพ ธมฺมาติ นิพฺพานมฺปิ อนฺโตกริตฺวา วุตฺตา อนตฺตา อวสวตฺตนฏฺเฐน.
    (นิทฺ.อ. 1/219 และ ปฏิสํ.อ. 1/68)
    แปลว่า: " ข้อความว่า ' ธรรมทั้งปวง' ตรัสไว้รวมแม้ทั้งนิพพานด้วย ชื่อว่าเป็นอนัตตา โดยความหมาย
    ว่าไม่เป็นไปในอำนาจ "
    บางแห่งใช้คำว่า อัตตสุญญ แปลว่า ว่าง หรือ สูญจากอัตตา ก็มี เช่น
    3) นิพฺพานธมฺโม อตฺตสฺเสว อภาวโต อตฺตสุญฺโญ (ปฏิสํ.อ. 2/287)
    แปลว่า: "ธรรม คือนิพพาน สูญ (ว่าง) จากอัตตา เพราะไม่มีอัตตานั่นเอง "
    4) สงฺขตาสงฺขตา ปน สพฺเพปิ ธมฺมา อตฺตสงฺขาตสฺส ปุคฺคลสฺส อภาวโต อตฺตสุญฺญาติ.
    (ปฏิสํ.อ. 2/287)
    แปลว่า: " ก็ธรรมทั้งหลาย แม้ทั้งปวง ทั้งสังขตะ (สังขาร) และอสังขตะ (นิพพาน) ล้วนสูญ (ว่าง) จาก
    อัตตา เพราะไม่มีบุคคล กล่าวคือ อัตตา "
    เอกสารของวัดพระธรรมกาย กล่าวว่า
    " อัตตามีนัยมากมาย ทั้งอัตตาโดยสมมติ...และอัตตาในระดับที่สูงขึ้น "
    ขออธิบายสั้นๆ ว่า ในที่นี้ ข้อความในพระไตรปิฎก และอรรถกถานั้น ปฏิเสธตรงไปที่อัตตาเลย ไม่ว่าจะ
    มีกี่นัย คือ ไม่ต้องปฏิเสธนัยไหนของอัตตาทั้งนั้น แต่ปฏิเสธอัตตาทีเดียวหมดไปเลย คือปฏิเสธอัตตาว่าไม่มีอยู่
    จริงโดยปรมัตถ์ เป็นอันว่าไม่ต้องไปพูดว่าเป็นอัตตาหรือตัวตนแบบไหน นัยอย่างไหน เพราะท่านไม่ได้ปฏิเสธ
    ความหมายต่างๆ ของอัตตา แต่ท่านปฏิเสธที่คำว่าอัตตาตรงไปตรงมา ทีเดียวเสร็จสิ้นไปเลยว่า อัตตาโดย
    ปรมัตถ์ไม่มี ส่วนอัตตาโดยสมมติ คือตัวตนตามภาษาพูดที่ใช้สื่อสารในชีวิตประจำวันและในระดับศีลธรรม ก็
    เป็นธรรมดาอยู่แล้ว ไม่ได้มีปัญหาอะไร หมายความว่า นอกจากอัตตาที่ท่านปฏิเสธไปแล้วนี้ คำที่กล่าวถึงอัตตา
    ก็เป็นการกล่าวโดยสมมติเท่านั้น
    แต่ที่สำคัญก็คือว่า ไม่มีพุทธพจน์ หรือข้อความในอรรถกถา หรือในคัมภีร์แห่งใดที่ระบุว่านิพพานเป็น
    อัตตา แต่มีชัดเจนที่ระบุว่านิพพานเป็นอนัตตา
    ส่วนคำว่าอัตตาจะใช้ในนัยไหน อันนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่งหรือเป็นอีกประเด็นหนึ่งทีเดียว และก็ไม่ได้มี
    ปัญหาอะไรในเมื่อเรารู้อยู่แล้วว่าเป็นการใช้โดยสมมติทั้งสิ้น


    อ้างอิงจาก กรณีธรรมกาย พระพรหมคุณากรณ์ หน้า 128-142 โดยคร่าวๆๆ
     
  10. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ไม่ต้องอ่านครับ ผมบอกแล้ว พระสูตรนี้แต่งใหม่ครับ

    วันก่อนคุณใช้คำว่า ท่านสอนว่าอะไร คำนี้ไม่ผิด แต่ไม่เหมาะสมเท่าไหร่
    วันนี้คุณใช้คำว่า พระพุทธเจ้าท่านตรัส คำนี้พอใช้ได้ แต่ถ้าให้เหมาะสม
    ควรใช้คำว่า พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า จะถูกต้องกว่า

    วันก่อนคุณใช้คำว่า "ไอ้..."
    วันนี้คุณใช้คำว่า "ไอ้...."

    ผมใช้คำว่า "ไอ้" กับคนที่คุณเคารพคุณจะคิดอย่างไร ลองใช้สมองคิดเอา
     
  11. มหาวัด

    มหาวัด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    248
    ค่าพลัง:
    +1,892
    "นิพพาน หมายถึง เย็นหรือดับลง เย็นเหมือนไฟที่เย็นลง หรือของร้อนๆอะไรก็ตามมันเย็นลง นั่นแหละคืออาการที่นิพพานล่ะ......เพราะฉนั้นคําว่านิพพานนั้นที่เป็นภาษาชาวบ้านแท้ๆ มันหมายถึงของที่ร้อนให้เย็นลงเท่านั้น แต่แล้วเราจะหมายความเพียงเท่านั้นไม่ได้ นั่นมันเป็นเรื่องของวัตถุ ส่วนนิพพานในเรื่องของธรรมะหรือทางศาสนามันหมายถึง เย็นลงแห่งไฟกิเลส ไฟกิเลสคือ ราคะ โทสะ โมหะ จนเย็นสนิท จึงจะเรียกว่านิพพาน."

    ดังนั้นก่อนอื่นจึงควรทำความเข้าใจในพระนิพพานอย่างถูกต้องดีงามเสียก่อนว่า เป็นสภาวะที่ดับกิเลสหรือกองทุกข์ หรือกล่าวเน้นลงไปได้ว่า สภาวะที่ปราศจากอุปาทานทุกข์อันเร่าร้อนเผาลน อันเกิดขึ้นเนื่องแต่อาสวะกิเลส,ตัณหา,อุปาทานนั่นเอง จึงเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดความสุข สงบ สงัด อันบริสุทธิ์ยิ่ง ส่วนอื่นๆเป็นเพียงผลข้างเคียงอันพึงบังเกิดขึ้นเท่านั้น

    ตามกฎพระไตรลักษณ์ จากพุทธพจน์ ที่ตรัสว่า

    "สังขารทั้งปวง ไม่เที่ยง ( อนิจจตา )

    สังขารทั้งปวง เป็นทุกข์ ( ทุกขตา )

    ธรรมทั้งปวง เป็นอนัตตา" ( อนัตตตา )

    สังขาร สิ่งที่เกิดแต่เหตุปัจจัยปรุงแต่ง ในไตรลักษณ์จึงหมายรวมถึงทุกสรรพสิ่ง ทั้งรูปธรรม, นามธรรม, กุศลธรรม, อกุศลธรรม, ทั้งโลกียธรรม และโลกุตรธรรม ขันธ์ ๕ ฯลฯ. อันล้วนแต่เกิดแต่เหตุปัจจัยทั้งสิ้น ยกเว้นเพียง สภาวธรรมหรือสภาวธรรมชาติ ดังมี "พระนิพพาน" อันเป็น"สภาวธรรม"อย่างหนึ่งที่เรียกว่าเป็น อสังขตธรรม คือสิ่งที่ไม่มีปัจจัยไปปรุงแต่ง, หรือสิ่งที่มิได้เกิดแต่เหตุปัจจัยใดๆนั่นเอง หรือก็คือ สภาวธรรมชาติ ทั้งหลายนั่นเอง
    ที่นี้ในท่อนที่ว่า "ธรรมทั้งปวง เป็นอนัตตา"
    คำว่าธรรม นี้ในพระไตรลักษณ์ในข้อพระอนัตตานั้น ย่อมหมายถึง สภาวธรรมหรือธรรมชาติอันครอบคลุมทุกสรรพสิ่งอันย่อมหมายรวม พระนิพพาน ด้วย ดังกล่าวข้างต้น
    ท่านพุทธทาสภิกขุ ในหัวข้อเรื่อง หลักธรรมสําคัญในพุทธศาสนา หน้า๑๘๔
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 ธันวาคม 2012
  12. ตันติปาละ

    ตันติปาละ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    4,421
    ค่าพลัง:
    +4,649
    ถ้าเช่นนั้น พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ ที่คุณอ้างมาก็เช่นกัน ทำไมไม่เอาฉบับอื่นมาบ้าง อ้างแต่พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ ของนิกายอื่นละ พม่า ลาว หมวกเหลือง หมวกแดง เซ็น ทำไมไม่เอามา

    ผมไม่เคยสรุปอะไรที่ยังไม่พิสูจน์เลย เพราะผมศึกษามาทุกนิกาย แล้วพบว่า แม้ศาสนาเดียวกันยังเขียนคัมภีร์ไม่เหมือนกัน แต่บทสรุปอยู่ที่ว่าเราจะศรัทธาอย่างไรมากกว่า แล้วทำศรัทธาตัวเองให้ถึงที่สุด คำว่าถึงที่สุดหมายความว่า พ่อแม่พี่น้องญาติโกโหติกาเชื่ออย่างเราหรือไม่ ถ้ายังไม่เชื่อไปทำให้เชื่อก่อนแล้วค่อยมาบอกให้คนอื่นเชือ

    ถ้าจะอ้างพระไตรปิฏกอย่างคุณเกษม ทำถ้าแน่จริงอ้างให้ครบทุกนิกายดีกว่าแล้วค่อยมาพูด

    ครูบาอาจารย์ท่าเชื่อในสิ่งที่ท่านศึกษาเรียนรู้แล้วทำให้ถึงที่สุด ไม่ใช่เที่ยวไปด่าชาวบ้านที่คิดไม่เหมือนตัวเอง

    การกล่าวถึงพระปรางค์ห้ามแก่นจันทร์นั้นที่ปรากฏในวิกิพีเดีย ได้คัดลอกเนื้อความมาจาก สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฉบับเสริมการเรียนรู้ โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เล่มที่ 8 ทุกเล่มทุกเนื้อความได้ผ่านพระราชวินิฉัยก่อนตีพิมพ์ จึงยืนยันได้ว่าควรค่าแก่การเชื่อถือหรือไม่ กับคำพูดเข้าข้างเนื้อหาตัวเอง อันใหนน่าเชื่อถือมากกว่ากัน

    อนุโมทนาครับ
     
  13. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    นี่แหละที่เขาบอกว่า ปากว่าแต่ว่าคนอื่น แต่ตัวทำ ไม่เห็น
     
  14. มหาวัด

    มหาวัด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    248
    ค่าพลัง:
    +1,892
    ผมไม่ได้ใช้กับ คน....พระสูตรเป็นคนหรอ
    ผมใช้คำว่า ไอ้พระสูตรที่คุณไปลอกเขามานะ คุณรุ้ความหมายหีรือไม่ทำนองนี้ใช่ไหม?
    ก็เห็นอยู่ว่า ผมใช้ความหมายว่า ไอ้นั้นไอ้นี่ซึ่งใช้ในเชิงพูดถึงสิ่งของเพื่อชี้ชัดให้คนสนใจสิ่งของนั้น
    พจนานุกรมมี ถูกต้องตามหลักภาษาทุกระเบียบนิ้ว
    หยาบตรงไหน
    ถ้าผมใช้คำว่า ไอ้กับพระพุทธเจ้า พระสงฆ์ คุณค่อยมาพูด พระเกษมผมยังไม่เรียกไอ้เลย คุณเมาปะ
    ไม่มีเรื่องจะเล่นงานผม ก็ยกเอาเรื่องปัญญาอ่อนมาพูด
    5555

    ตกลงนิพพานคุณเป็นอนัตตา ยัง555555555555555

    พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า โถ่กล้าพูดเนอะ ไม่มีอะไรจะแถแล้วสิ ใช้คำว่าพระพุทธเจ้าท่านตรัสว่าหยาบให้ใช้ทรง คิดได้เนอะ
    เล่นลิ้นเข้าไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 ธันวาคม 2012
  15. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระไตรปิฎกฉบับแรก คือ ฉบับบาลีสยามรัฐ ฉบับอื่นเอามาจากฉบับบาลีสยามรัฐครับ ผมด่าชาวบ้าน โพสต์ไหนครับ พูดลอยๆ มาอีกคนแล้ว
     
  16. มหาวัด

    มหาวัด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    248
    ค่าพลัง:
    +1,892
    จะบอกผมไปลอกมาทำไม ก็ถ้าผมพูดคุณก็ไม่เชื่อ
    ผมก็ลอกมาด้วย
    ทั้งลอกทั้งพูด
    ผมบอกคุณว่านิพพานเป็นอนัตตา คุณมาด่าหาผมบิดเบือนพระธรรม
    ไปหาที่มาอย่าพูดลอยๆๆ พอยกมาไงพูดนี้ครับ
    กลืนน้ำลายตัวเองอีก
    น่าสมเพสไปไหม?คุณ ไหนบอกผมผิดผมก็ยอมรับผมก็ขอโทษไง
    คุณผิดมาเป็นกี่กระทู้แล้วล่ะ
    ที่ผมต้องมาทำลายมิจฉาทิฏฐิคุณ
    นี่ไม่รวมที่ใส่ร้ายผม
    เมื่อไหร่คุณจะขอโทษตามที่ปากคุณว่า ล่ะ หรือคุณเก่งแต่พูดให้สวยหรูไปงั้นๆๆแหละล่ะครับ
    ผมลอกอะไร ผมอ่านผมจับใจความถูก ขยายความได้
    ไม่ใช่สักแต่ลอก ผมตรวจสอบจากการศึกษา การปฏิบัติ จากอ.ที่เชื่อถือได้และพระไตรปิฏก
    ไม่เหมือนคุณ ทำพระธรรมให้วิปริต
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 ธันวาคม 2012
  17. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    .......................................
     
  18. มหาวัด

    มหาวัด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    248
    ค่าพลัง:
    +1,892
    อ้อ คุณจะว่าท่านพุทธทาสมั่วก็ได้นะ นิพพานเป็นอนัตตาของท่านนะ ก็ในเมื่อคุณไม่เคารพไม่เชื่อถือท่านก็เอาภาพท่านออกซะ
    แล้วเอาภาพปลาไหลตุ๊ดที่ผมให้ไปใช้แทนได้แล้ว
     
  19. ตันติปาละ

    ตันติปาละ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    4,421
    ค่าพลัง:
    +4,649
    ขอหลักฐานครับ เท่าที่เรียนมาไม่ใช่อย่างนี้ สังคายนาที่ถ้ำสัตบรรณคูหา เท่าที่รู้ตอนนั้นยังไม่มีสยามเกิดขึ้นบนโลก

    แล้วผมยังไม่เอ่ยชื่อว่าใครด่าใคร ผมพูดลอยๆ แต่ใครจะกินปูนร้อนท้องก็เรื่องของเขา


    ปล.ตอบตรงนี้อย่างเลี่ยง
    การกล่าวถึงพระปรางค์ห้ามแก่นจันทร์นั้นที่ปรากฏในวิกิพีเดีย ได้คัดลอกเนื้อความมาจาก สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฉบับเสริมการเรียนรู้ โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เล่มที่ 8 ทุกเล่มทุกเนื้อความได้ผ่านพระราชวินิฉัยก่อนตีพิมพ์ จึงยืนยันได้ว่าควรค่าแก่การเชื่อถือหรือไม่ กับคำพูดเข้าข้างเนื้อหาตัวเอง อันใหนน่าเชื่อถือมากกว่ากัน
     
  20. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    สังขตสูตร
    [๔๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขตลักษณะของสังขตธรรม ๓ ประการ ๓ ประการเป็น
    ไฉน คือ ความเกิดขึ้นปรากฏ ๑ ความเสื่อมปรากฏ ๑เมื่อตั้งอยู่ความแปรปรวนปรากฏ ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขตลักษณะของสังขตธรรม ๓ ประการนี้แล ฯ
    อสังขตสูตร
    [๔๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสังขตลักษณะของอสังขตธรรม ๓ประการนี้ ๓ ประการ
    เป็นไฉน คือ ไม่ปรากฏความเกิด ๑ ไม่ปรากฏความเสื่อม ๑ เมื่อตั้งอยู่ไม่ปรากฏความแปร
    ปรวน ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสังขตลักษณะของอสังขตธรรม ๓ ประการนี้แล ฯ

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๑๔๔/๒๙๐

    ผมขอโทษที่กล่าวหาว่าคุณบิดเบือนพระธรรม เขาให้คุณมาแค่นี้คุณก็โพสต์มาแค่นี้ คุณไม่ได้บิดเบือนพระธรรม
    เรื่องนิพพาน อย่างเถึยงกันเลยครับ แต่ละสำนักสอนไม่เหมือนกัน ผมถึงให้คุณพิจารณาพระสูตร สังขตสูตรและอสังขตสูตร
    คุณอ่านแล้วไปพิจารณาเอาเอง ใครอธิบายพระนิพพานได้ นั่นไม่ใช่พระนิพพานครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...