ยุทธวิธี ๘ ขั้นแห่งการเป็นผู้พิชิต

ในห้อง 'บทสวดมนต์ - คาถา' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 20 พฤศจิกายน 2010.

  1. Dhamoduzz

    Dhamoduzz สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    3
    ค่าพลัง:
    +2
    ส่วนตัวผมคิดว่าผู้เขียน คิดได้ดี และ เป็นความเข้าใจในพุทธศาสนา ในแบบ บุคคลที่มีความเชื่อในหลักเหตุและผล จะสามารถเข้าใจและคล้อยตามได้ พระพุทธเจ้าท่าน สอนให้ผู้นับถือมีอิสระในการคิด เป็นวิทยาศาสตร์ ใช้เหตุที่ถูกต้อง ซึ่งจะตามมาด้วยผลที่ถูกต้อง ซึ่งเป็นหลักการของ ผู้มีปัญญา ที่แท้จริง คือท่านสอนให้รู้จักคิด ซึ่งอยู่ในหลักของ ศีล สมาธิ ปัญญา
    และปัญญานี้แหละนำไปสู่การเรียนรู้ให้หลุดพ้น ไม่ให้เชื่อในเรื่องราว แต่ต้องผ่านการพิสูจน์ทราบ

    สูตรหนึ่งในคัมภีร์ติกนิบาตพระพุทธเจ้าได้ตรัสสอน ชาวกาลามะ แห่งเกสปุตตนิคม ในแคว้นโกมล ประเทศอินเดีย ไม่ให้เชื่องมงายไร้เหตุผล ซึ่งมี หลักการ 10 ข้อ ดังนี้

    1. มา อนุสสะเวนะ อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังบอกตามๆ กันมา

    2. มา ปรัมปรายะ อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการถือสืบ กันมาอย่างปรัมปรา เช่น ความเชื่อทั้งหลาย ที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมประเพณี ซึ่ง ต้องใช้การพิจารณาด้วยปัญญาให้ถ่องแท้ ถ้าหากจะนำไป ประมวลเป็นองค์ความรู้

    3. มา อิติกิรายะ อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ

    4. มา ปิฎกสัมปะทาเนนะ อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์ คำว่า ปิฎก ในที่นี้ก็คือ สิ่งที่เรา เรียกว่าตำรา สำหรับพระพุทธศาสนา ก็คือ บันทึกคำสอนที่เขียนไว้ในใบลาน เอามารวมกันไว้เป็นชุดๆ เรียก ไตรปิฎก แม้แต่ในบันทึกทางศาสนา ก็ยังต้องใช้ การพิจารณาไตร่ตรองด้วยปัญญา ก่อนจะปลงใจเชื่อ

    5. มา ตักกะเหตุ อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยตรรกะ ด้วยการใคร่ครวญตามวิธีที่เรียกว่า ตรรกะ เพราะว่าตรรกะก็ยังผิดได้ ในเมื่อเหตุผลหรือวิธีใช้เหตุผลมันผิดอยู่

    6. มา นะยะเหตุ อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอนุมาน ด้วยเหตุผลว่าสมเหตุสมผลทางนัยยะ

    7. มา อาการะปะริวิตักเกนะ อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล ด้วยการตรึกเอาตามอาการ คือ ตามความคุ้นเคย ที่เรียกกันว่า common sense หรือ สามัญสำนึก

    8. มา ทิฏฐินิชฌานักขันติยา อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีของตน อย่าได้รับเอาเพราะว่าสิ่งนั้น ทน ได้ต่อการเพ่งด้วยทิฏฐิของตน ตัวเองมีความเห็นอย่างไร ถ้าเขามาสอนด้วย คำสอนชนิดที่เข้ากันได้กับความเห็นของตัวเอง ก็อย่าเพิ่งถือเอาว่าสิ่งนั้นถูก เพราะว่าทิฏฐิของตัวเอง ก็ผิดได้

    9. มา ภัพพะรูปะตายะ อย่าปลงใจเชื่อ เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าเชื่อ เพราะเหตุว่าผู้พูดมีลักษณะ น่าเชื่อถือ มีคำพูด มีลักษณะท่าทางที่น่าเชื่อ

    10. มา สัมโณ โน คะรูติ อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านนี้เป็นครูของเรา แม้ว่าผู้นั้นจะเป็นครูของเรา ก็ไม่ให้เชื่อ พระพุทธเจ้า ท่านไม่ให้เชื่อ แม้ว่า เป็นคำสอนของท่าน

    ท่านให้ใช้ปัญญา ไตร่ตรอง ลองทำ ลองปฏิบัติ เมื่อได้ผลจริง จึง เชื่อ ถือ เอาตามนั้น

    ฉะนั้นชัดเจนว่า การเข้าถึงพุทธศาสนาด้วย ปัญญาแล้ว ก็เชื่อแน่ว่า สิ่งที่ท่านสอน ที่มีความละเอียดขึ้น ซับซ้อนขึ้น ย่อมสามารถ แปล ผลและ เข้าใจได้ด้วย ปัญญา การไตร่ตรอง จนถึงลองปฎิบัติ ได้เช่นเดียวกัน

    ผมเป็นนักวิทยาศาสตร์ ซึ่งนับถือ พุทธศาสนา ผ่านความเข้าใจ ด้วยการไตร่ตรอง ถึงหลักเหตุและผล ซึ่งทำให้ผมเชื่อทุกคำสอนของท่าน อย่างไม่ต้องสงสัยเลย เพราะว่า ผมสามารถ ทำความเข้าใจ กับ คำสอนเหล่านั้น ได้ผ่าน สิ่งที่เกิดขึึ้นเป็นธรรมชาติ และเป็น กฎและ ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ต่างๆ

    จากทีแรกผมเคยคิดว่า พุทธศาสนา กับไสยศาสตร์ เหมือนกัน เพราะเป็นสิ่งทีงมงาย เชื่อเพราะเขาเล่าว่าและ เชื่ออย่างนั้น สืบๆกันมา ผมกลับเห็นว่า พระพุทธเจ้า ท่านเป็นศาสดาเอกของโลกจริงๆ ที่ตรัสรู้ได้ด้วย พระปัญญา และ สามารถแปลผลได้ด้วย หลัก วิทยาศาสตร์ ก่อนที่นักวิทยาศาสตร์ คนไหนๆจะคิดได้ และ พระปัญญา ก็ได้สั่งสอน สิ่งที่ วิทยาศาสตร์ ปัจจุบันยังต้องตามอีกเยอะ

    อันนี้ผมต้องยกความดีความชอบให้แก่พระอาจารย์ของผม พระมหาพีรเดช วัดบวร ถ้าผมไม่ได้พระอาจารย์ที่ดี ที่เข้าใจถึง จริตของผม ว่าเป็นพวกเชื่อในเหตุผลต้องอธิบายด้วย วิทยาศาสตร์ ผมก็คงยังไม่ได้เลื่อมใส พุทธศาสนาแบบทุกวันนี้
     

แชร์หน้านี้

Loading...