รวบรวมคติธรรมดี ๆ มาให้อ่านกัน...

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย J.Sayamol, 16 มีนาคม 2009.

  1. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561
    (ต่อ)มหาวรรค ทิฐิกถา

    [๓๑๔] ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีรูปอย่างไร ฯ
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ตัวตน
    ของเรานี้นั้นมีรูปด้วยรูปนี้ ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมเห็นตนว่ามีรูป เปรียบเหมือนต้นไม้
    มีเงา บุรุษพึงพูดถึงต้นไม้นั้นอย่างนี้ว่า นี่ต้นไม้ นี่เงา ต้นไม้เป็นอย่างหนึ่ง
    เงาเป็นอย่างหนึ่ง แต่ต้นไม้นี้นั้นแลมีเงาด้วยเงานี้ ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมเห็นต้นไม้ว่า
    มีเงา ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็น เวทนา สัญญา
    สังขาร วิญญาณ โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตน
    ของเรา แต่ตัวตนของเรานี้นั้นมีรูปด้วยรูปนี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนว่ามีรูป ทิฐิ
    คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิด ทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ ทิฐิเป็นอย่างหนึ่ง
    วัตถุเป็นอย่างหนึ่ง ทิฐิและวัตถุ นี้เป็นอัตตานุทิฐิ มีรูปเป็นวัตถุที่ ๒ อัตตานุทิฐิ
    เป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ปุถุชนย่อมเห็นตนว่า
    มีรูปอย่างนี้ ฯ

    [๓๑๕] ปุถุชนย่อมเห็นรูปในตนอย่างไร ฯ
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา ก็แลในตัวตนนี้
    มีรูปเช่นนี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นรูปในตน เปรียบเหมือนดอกไม้มีกลิ่นหอม
    บุรุษพึงพูดถึงดอกไม้นั้นอย่างนี้ว่า นี้ดอกไม้ นี้กลิ่นหอม ดอกไม้อย่างหนึ่ง
    กลิ่นหอมอย่างหนึ่ง แต่กลิ่นหอมนี้นั้นแลมีอยู่ในดอกไม้นี้ ดังนี้ ชื่อว่า ย่อม
    เห็นกลิ่นหอมในดอกไม้ ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
    ย่อมเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยความเป็นตน เขาย่อมมีความเห็น
    อย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา ก็แลในตัวตนนี้มีรูปเช่นนี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็น
    รูปในตน ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิด ทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ
    ฯลฯ นี้เป็นอัตตานุทิฐิมีรูปเป็นวัตถุที่ ๓ อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้
    เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ปุถุชนย่อมเห็นรูปในตนอย่างนี้ ฯ

    [๓๑๖] ปุถุชนย่อมเห็นตนในรูปอย่างไร ฯ
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ตัวตน
    ของเรานี้นั้นมีอยู่ในรูปนี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนในรูป เปรียบเหมือนแก้วมณี
    ที่ใส่ไว้ในขวด บุรุษพึงพูดถึงแก้วมณีนั้นอย่างนี้ว่า นี้แก้วมณี นี้ขวด แก้วมณี
    เป็นอย่างหนึ่ง ขวดเป็นอย่างหนึ่ง แต่แก้วมณีนี้นั้นแลมีอยู่ในขวดนี้ ดังนี้ชื่อว่า
    ย่อมเห็นแก้วมณีในขวด ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อม
    เห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า
    นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ตัวตนของเรานี้นั้นแลมีอยู่ในรูปนี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อม
    เห็นตนในรูป ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิด ทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่
    ทิฐิ ทิฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุเป็นอย่างหนึ่ง ทิฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฐิ มีรูป
    เป็นวัตถุที่ ๔ อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ
    ปุถุชนย่อมเห็นรูปในตนอย่างนี้ ฯ

    [๓๑๗] ปุถุชนย่อมเห็นเวทนาโดยความเป็นตนอย่างไร ฯ
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นจักขุสัมผัสสชาเวทนา ... มโนสัมผัสสชา
    เวทนา โดยความเป็นตน คือ ย่อมเห็นมโนสัมผัสสชาเวทนาและตนไม่เป็นสองว่า
    มโนสัมผัสสชาเวทนาอันใด เราก็อันนั้นเราอันใด มโนสัมผัสสชาเวทนาก็อันนั้น
    เปรียบเหมือนเมื่อประทีปน้ำมันลุกโพลงอยู่ บุคคลย่อมเห็นเปลวไฟและแสงสว่าง
    ไม่เป็นสองว่า เปลวไฟอันใดแสงสว่างก็อันนั้น แสงสว่างอันใด เปลวไฟก็อันนั้น
    ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นมโนสัมผัสสชาเวทนา
    โดยความเป็นตน คือ ย่อมเห็นมโนสัมผัสสชาเวทนาและตนไม่เป็นสองว่า มโน-
    *สัมผัสสชาเวทนาอันใดเราก็อันนั้น เราอันใด มโนสัมผัสสชาเวทนาก็อันนั้น ทิฐิ
    คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิด ทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ ทิฐิเป็นอย่างหนึ่ง
    วัตถุเป็นอย่างหนึ่ง ทิฐิและวัตถุ นี้เป็นอัตตานุทิฐิมีเวทนาเป็นวัตถุที่ ๑ อัตตานุทิฐิ
    เป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ปุถุชนย่อมเห็นเวทนา
    โดยความเป็นตนอย่างนี้ ฯ

    [๓๑๘] ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีเวทนาอย่างไร ฯ
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นสัญญา สังขาร วิญญาณ รูป โดยความ
    เป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ว่าตัวตนของเรานี้นั้น
    แลมีเวทนาด้วยเวทนานี้ ดังนี้ชื่อว่าเห็นตนว่ามีเวทนา เปรียบเหมือนต้นไม้มีเงา
    บุรุษพึงพูดถึงต้นไม้นั้นอย่างนี้ว่า นี้ต้นไม้ นี้เงา ต้นไม้เป็นอย่างหนึ่ง เงาเป็น
    อย่างหนึ่ง แต่ว่าต้นไม้นี้นั้นแลมีเงาด้วยเงานี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นต้นไม้มีเงา
    ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นสัญญา สังขาร วิญญาณ
    รูป โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ตัวตน
    ของเรานี้นั้นแลมีเวทนาด้วยเวทนานี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนว่ามีเวทนา ทิฐิ คือ
    ความลูบคลำด้วยความถือผิด ทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ ทิฐิเป็นอย่างหนึ่ง
    วัตถุเป็นอย่างหนึ่ง ทิฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฐิมีเวทนาเป็นวัตถุที่ ๒ อัตตานุทิฐิ
    เป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามี
    เวทนาอย่างนี้ ฯ

    [๓๑๙] ปุถุชนย่อมเห็นเวทนาในตนอย่างไร ฯ
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นสัญญา สังขาร วิญญาณ รูป
    โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา ก็และในตัวตน
    นี้มีเวทนานี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นเวทนาในตน เปรียบเหมือนดอกไม้มีกลิ่นหอม
    บุรุษพึงพูดถึงดอกไม้นั้นอย่างนี้ว่า นี้ดอกไม้ นี้กลิ่นหอม ดอกไม้เป็นอย่างหนึ่ง
    กลิ่นหอมเป็นอย่างหนึ่ง แต่กลิ่นหอมมีอยู่ในดอกไม้นี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็น
    กลิ่นหอมในดอกไม้ ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็น
    สัญญา สังขาร วิญญาณ รูป โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า
    นี้แลเป็นตัวตนของเรา ก็แลในตัวตนนี้มีเวทนา ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นเวทนาในตน
    ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิด ทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ ฯลฯ
    นี้เป็นอัตตานุทิฐิมีเวทนาเป็นวัตถุที่ ๓ อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้
    เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ปุถุชนย่อมเห็นเวทนาในตนอย่างนี้ ฯ

    [๓๒๐] ปุถุชนย่อมเห็นตนในเวทนาอย่างไร ฯ
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นสัญญา สังขาร วิญญาณ รูป
    โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ว่าตัวตน
    ของเรานี้นั้นแลมีอยู่ในเวทนานี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนในเวทนา เปรียบเหมือน
    ฯลฯ ชื่อว่าย่อมเห็นแก้วมณีในขวด ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้น
    เหมือนกัน ... ชื่อว่า ย่อมเห็นตนในเวทนา ทิฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิด
    ทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ ทิฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุเป็นอย่างหนึ่ง ทิฐิและวัตถุ
    นี้เป็นอัตตานุทิฐิมีเวทนาเป็นวัตถุที่ ๔ อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้
    เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ปุถุชนย่อมเห็นตนในเวทนาอย่างนี้ ฯ

    [๓๒๑] ปุถุชนย่อมเห็นสัญญาโดยความเป็นตนอย่างไร ฯ
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นจักขุสัมผัสสชาสัญญา ... มโนสัมผัสสชา
    สัญญา โดยความเป็นตน คือ ย่อมเห็นมโนสัมผัสสชาสัญญาและตนไม่เป็นสองว่า
    มโนสัมผัสสชาสัญญาอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด มโนสัมผัสสชาสัญญา
    ก็อันนั้น เปรียบเหมือนเมื่อประทีปน้ำมันลุกโพลงอยู่ บุคคลย่อมเห็นเปลวไฟและ
    แสงสว่างไม่เป็นสอง ... ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อม
    เห็นมโนสัมผัสสชาสัญญาและตนไม่เป็นสองว่า มโนสัมผัสสชาสัญญาอันใด
    เราก็อันนั้น เราอันใด มโนสัมผัสสชาสัญญาก็อันนั้น ทิฐิ คือ ความลูบคลำ
    ด้วยความถือผิด ทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ ทิฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุเป็นอย่างหนึ่ง
    นี้เป็นอัตตานุทิฐิ มีสัญญาเป็นวัตถุที่ ๑ อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้
    เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ปุถุชนย่อมเห็นสัญญาโดยความเป็นตนอย่างนี้ ฯ

    [๓๒๒] ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีสัญญาอย่างไร ฯ
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นสังขาร วิญญาณ รูป เวทนา โดย
    ความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ว่าตัวตนของเรา
    นี้นั้นแลมีสัญญาด้วยสัญญานี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนว่ามีสัญญา เปรียบเหมือน
    ต้นไม้มีเงา ... ชื่อว่าย่อมเห็นต้นไม้ว่ามีเงา ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้น
    เหมือนกัน ย่อมเห็นสังขาร วิญญาณ รูป เวทนา โดยความเป็นตน ... นี้
    เป็นอัตตานุฐิทิมีสัญญาเป็นวัตถุ ๒ อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้
    เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีสัญญาอย่างนี้ ฯ

    [๓๒๓] ปุถุชนย่อมเห็นสัญญาในตนอย่างไร ฯ
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นสังขาร วิญญาณ รูป เวทนา โดย
    ความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา ก็แลในตัวตนนี้
    มีสัญญานี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นสัญญาในตน เปรียบเหมือนดอกไม้มีกลิ่นหอม ...
    ชื่อว่าย่อมเห็นกลิ่นหอมในดอกไม้ ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้น
    เหมือนกัน ย่อมเห็นสังขาร วิญญาณ รูป เวทนา โดยความเป็นตน ... นี้เป็น
    อัตตานุทิฐิมีสัญญาเป็นวัตถุที่ ๓ อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์
    แต่ไม่ใช่ทิฐิ ปุถุชนย่อมเห็นสัญญาในตนอย่างนี้ ฯ

    [๓๒๔] บุคคลย่อมเห็นตนในสัญญาอย่างไร ฯ
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นสังขาร วิญญาณ รูป เวทนา โดย
    ความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้เป็นตัวตนของเรา แต่ว่าตัวตนของเรานี้
    นั้นแลมีอยู่ในสัญญานี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนในสัญญา เปรียบเหมือนแก้วมณี
    ที่เขาใส่ไว้ในขวด ... ชื่อว่าย่อมเห็นแก้วมณีในขวด ฉันใด บุคคลบางคน
    ในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นสังขาร วิญญาณ รูป เวทนา โดยความ
    เป็นตน ... นี้เป็นอัตตานุทิฐิมีสัญญาเป็นวัตถุที่ ๔ อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ
    เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ปุถุชนย่อมเห็นตนในสัญญาอย่างนี้ ฯ

    [๓๒๕] ปุถุชนย่อมเห็นสังขารโดยความเป็นตนอย่างไร ฯ
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นจักขุสัมผัสสชาเจตนา ... มโนสัมผัสสชา
    เจตนา โดยความเป็นตน คือ ย่อมเห็นมโนสัมผัสสชาเจตนาและตนไม่เป็นสองว่า
    มโนสัมผัสสชาเจตนาอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด มโนสัมผัสสชาเจตนาก็อันนั้น
    เปรียบเหมือนเมื่อประทีปน้ำมันกำลังลุกโพลงอยู่ บุคคลย่อมเห็นเปลวไฟและ
    แสงสว่างไม่เป็นสอง ... ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อม
    เห็นมโนสัมผัสสชาเจตนาโดยความเป็นตน ... นี้เป็นอัตตานุทิฐิมีสังขารเป็นวัตถุ
    ที่ ๑ อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ปุถุชน
    ย่อมเห็นสังขารโดยความเป็นตนอย่างนี้ ฯ

    [๓๒๖] ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีสังขารอย่างไร ฯ
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นวิญญาณ รูป เวทนา สัญญา โดย
    ความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ตัวตนของเรา
    นี้นั้นแลมีสังขารด้วยสังขารนี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนมีสังขาร เปรียบเหมือน
    ต้นไม้มีเงา บุรุษพึงพูดถึงต้นไม้นั้นอย่างนี้ ... ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นว่าต้นไม้มีเงา
    ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นวิญญาณ รูป เวทนา
    สัญญา โดยความเป็นตน ... นี้เป็นอัตตานุทิฐิมีสังขารเป็นวัตถุที่ ๒ อัตตานุทิฐิ
    เป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ปุถุชนย่อมเห็นตนว่า
    มีสังขารอย่างนี้ ฯ

    [๓๒๗] ปุถุชนย่อมเห็นสังขารในตนอย่างไร ฯ
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นวิญญาณ รูป เวทนา สัญญา โดย
    ความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา ก็แลในตัวตนนี้
    มีสังขารเหล่านี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นสังขารในตนเปรียบเหมือนดอกไม้มีกลิ่น-
    *หอม ... ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นวิญญาณ รูป
    เวทนา สัญญา โดยความเป็นตน ... นี้เป็นอัตตานุทิฐิมีสังขารเป็นวัตถุที่ ๓ อัตตานุ-
    *ทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ปุถุชนย่อมเห็นสังขาร
    ในตนอย่างนี้ ฯ

    [๓๒๘] ปุถุชนย่อมเห็นตนในสังขารอย่างไร ฯ
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นวิญญาณ รูป เวทนา สัญญา โดย
    ความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ว่าตัวตนของเรา
    นี้นั้นแลมีอยู่ในสังขารนี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนในสังขาร เปรียบเหมือนแก้วมณี
    ที่เขาใส่ไว้ในขวด ... ชื่อว่าเห็นแก้วมณีในขวด ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้
    ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นวิญญาณ รูป เวทนา สัญญา โดยความเป็นตน ...
    นี้เป็นอัตตานุทิฐิมีสังขารเป็นวัตถุที่ ๔ อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้
    เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ปุถุชนย่อมเห็นตนในสังขารอย่างนี้ ฯ

    [๓๒๙] ปุถุชนย่อมเห็นวิญญาณโดยความเป็นตนอย่างไร ฯ
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นจักขุวิญญาณ ... มโนวิญญาณ โดย
    ความเป็นตน คือ ย่อมเห็นมโนวิญญาณและตนไม่เป็นสองว่า มโนวิญญาณอัน
    ใด เราก็อันนั้น เราอันใด มโนวิญญาณก็อันนั้น เปรียบเหมือนประทีปน้ำมัน
    อันลุกโพลงอยู่ บุคคลย่อมเห็นเปลวไฟและแสงสว่างไม่เป็นสอง ... ฉันใด
    บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นมโนวิญญาณโดยความเป็นตน
    ... นี้เป็นอัตตานุทิฐิมีวิญญาณเป็นวัตถุที่ ๑ อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้
    เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ปุถุชนย่อมเห็นวิญญาณโดยความเป็นตนอย่างนี้ ฯ

    [๓๓๐] ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีวิญญาณอย่างไร ฯ
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขารโดยความ
    เป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเราแต่ว่าตัวตนของเรานี้นั้น
    แลมีวิญญาณด้วยวิญญาณนี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนว่ามีวิญญาณ เปรียบเหมือน
    ต้นไม้มีเงา ... ชื่อว่าย่อมเห็นต้นไม้ว่ามีเงา ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้น
    เหมือนกัน ย่อมเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร โดยความเป็นตน นี้เป็น
    อัตตานุทิฐิมีวิญญาณเป็นวัตถุที่ ๒ อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็น
    สังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีวิญญาณอย่างนี้ ฯ

    [๓๓๑] ปุถุชนย่อมเห็นวิญญาณในตนอย่างไร ฯ
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร โดย
    ความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา ก็แลในตัวตนนี้
    มีวิญญาณนี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นวิญญาณในตน เปรียบเหมือนดอกไม้มีกลิ่นหอม
    ... ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นรูป เวทนา
    สัญญา สังขาร โดยความเป็นตน ... นี้เป็นอัตตานุทิฐิมีวิญญาณเป็นวัตถุที่ ๓
    อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิปุถุชน ย่อมเห็น
    วิญญาณในตนอย่างนี้ ฯ

    [๓๓๒] ปุถุชนย่อมเห็นตนในวิญญาณอย่างไร ฯ
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร โดย
    ความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ว่าตัวตนของเรา
    นี้นั้นแลมีอยู่ในวิญญาณนี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนในวิญญาณ เปรียบเหมือน
    แก้วมณีที่เขาใส่ไว้ในขวด ... ชื่อว่าย่อมเห็นแก้วมณีในขวด ฉันใด บุคคล
    บางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร โดย
    ความเป็นตน นี้เป็นอัตตานุทิฐิมีวิญญาณเป็นวัตถุที่ ๔ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์
    แต่ไม่ใช่ทิฐิ ปุถุชนย่อมเห็นตนในวิญญาณอย่างนี้ อัตตานุทิฐิมีความถือผิดด้วย
    อาการ ๒๐ เหล่านี้ ฯ

    [๓๓๓] มิจฉาทิฐิมีความถือผิดด้วยอาการ ๑๒ เป็นไฉน ฯ
    ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดแห่งมิจฉาทิฐิอันกล่าวถึงวัตถุอย่าง
    นี้ว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ ทิฐิเป็นอย่างหนึ่ง
    วัตถุเป็นอย่างหนึ่ง ทิฐิและวัตถุ นี้เป็นมิจฉาทิฐิมีวัตถุผิดที่ ๑ มิจฉาทิฐิเป็นทิฐิ
    วิบัติ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความ
    ถือผิดแห่งมิจฉาทิฐิอันกล่าวถึงวัตถุอย่างนี้ว่า ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล ฯลฯ การ
    เซ่นสรวงไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่บุคคลทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี
    โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี สัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นก็ไม่มี สมณพราหมณ์
    ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ผู้ทำโลกนี้และโลกหน้าให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว
    สั่งสอนประชุมชนให้รู้ตาม ไม่มีในโลก ทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ ทิฐิเป็น
    อย่างหนึ่ง วัตถุเป็นอย่างหนึ่ง ทิฐิและวัตถุ นี้เป็นมิจฉาทิฐิมีวัตถุ ๑๐ มิจฉาทิฐิเป็น
    ทิฐิวิบัติ ฯลฯ บุรุษบุคคลผู้ประกอบด้วยมิจฉาทิฐิ ย่อมมีคติเป็น ๒ ฯลฯ เหล่านี้
    เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ มิจฉาทิฐิมีความถือผิดด้วยอาการ ๑๐ เหล่านี้ ฯ
     
  2. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561
    (ต่อ)มหาวรรค ทิฐิกถา

    [๓๓๔] สักกายทิฐิมีความถือผิดด้วยอาการ ๒๐ เป็นไฉน ฯ
    ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้วในโลกนี้ มิได้เห็นพระอริยะเจ้า ไม่ฉลาดในธรรม
    ของพระอริยะเจ้า ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของพระอริยะเจ้า ไม่ได้เห็นสัปบุรุษ
    ไม่ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของสัปบุรุษ ย่อมเห็นรูป
    โดยความเป็นตนบ้าง เห็นตนว่ามีรูปบ้าง เห็นรูปในตนบ้าง เห็นตนในรูปบ้าง
    ย่อมเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยความเป็นตนบ้าง เห็นตนว่า
    มีวิญญาณบ้าง เห็นตนในวิญญาณบ้าง เห็นวิญญาณในตนบ้าง ฯ

    ปุถุชนย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตนอย่างไร ฯ
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นปฐวีกสิณ ฯลฯ โอทาตกสิณโดยความ
    เป็นตน คือ ย่อมเห็นโอทาตกสิณและตนไม่เป็นสองว่า โอทาตกสิณอันใด เรา
    ก็อันนั้น เราอันใด โอทาตกสิณก็อันนั้น เปรียบเหมือนเมื่อประทีปน้ำมันลุกโพลง
    อยู่ ฯลฯ ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นโอทาตก-
    *สิณโดยความเป็นตน ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิด ฯลฯ นี้เป็นสักกาย-
    *ทิฐิมีรูปเป็นวัตถุที่ ๑ สักกายทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่
    มิใช่ทิฐิ ปุถุชนย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตนอย่างนี้ ฯลฯ สักกายทิฐิมีความถือ
    ผิดด้วยอาการ ๒๐ เหล่านี้ ฯ

    [๓๓๕] สัสสตทิฐิมีสักกายทิฐิเป็นวัตถุ มีความถือผิดด้วยอาการ ๑๕
    เป็นไฉน ฯ
    ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับในโลกนี้ ไม่ได้เห็นพระอริยะเจ้า ... ไม่ได้รับแนะนำ
    ในธรรมของสัปบุรุษ ย่อมเห็นตนว่ามีรูปบ้าง เห็นรูปในตนบ้าง เห็นตนในรูปบ้าง
    เห็นตนว่ามีเวทนาบ้าง เห็นตนว่ามีสัญญาบ้าง เห็นตนว่ามีสังขารบ้าง เห็นตนว่า
    มีวิญญาณบ้าง เห็นวิญญาณในตนบ้าง เห็นตนในวิญญาณบ้าง ฯ

    ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีรูปอย่างไร ฯ
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดย
    ความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ว่าตัวตน
    ของเรานี้นั้นแล มีรูปด้วยรูปนี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนว่ามีรูป เปรียบเหมือน
    ต้นไม้มีเงา บุรุษพึงพูดถึงต้นไม้นั้นอย่างนี้ว่า นี้ต้นไม้ นี้เงา ต้นไม้เป็นอย่าง
    หนึ่ง เงาเป็นอย่างหนึ่ง แต่ว่าต้นไม้นี้นั้นแล มีเงาด้วยเงานี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อม
    เห็นต้นไม้ว่ามีเงา ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นเวทนา
    ... โดยความเป็นตน นี้เป็นสัสสตทิฐิอันมีสักกายทิฐิเป็นวัตถุที่ ๑ สัสสตทิฐิ
    เป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีรูป
    อย่างนี้ ฯลฯ สัสสตทิฐิอันมีสักกายทิฐิเป็นวัตถุ มีความถือผิดด้วยอาการ ๑๕
    เหล่านี้ ฯ

    [๓๓๖] อุจเฉททิฐิอันมีสักกายเป็นวัตถุ มีความถือผิดด้วยอาการ ๑๕
    เป็นไฉน ฯ
    ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับในโลกนี้ ไม่ได้เห็นพระอริยะเจ้า ... ไม่ได้รับแนะนำ
    ในธรรมของสัปบุรุษ ย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตน เห็นเวทนาโดยความเป็นตน
    เห็นสัญญาโดยความเป็นตน เห็นสังขารโดยความเป็นตน เห็นวิญญาณโดยความ
    เป็นตน ฯ

    ปุถุชนย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตนอย่างไร ฯ
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นปฐวีกสิณ ฯลฯ โอทาตกสิณโดยความ
    เป็นตน คือ ย่อมเห็นโอทาตกสิณและตนไม่เป็นสองว่า โอทาตกสิณอันใด เรา
    ก็อันนั้น เราอันใด โอทาตกสิณก็อันนั้น เปรียบเหมือนเมื่อประทีปน้ำมันลุกโพลง
    อยู่ ฯลฯ นี้เป็นอุจเฉททิฐิอันมีสักกายทิฐิเป็นวัตถุที่ ๑ อุจเฉททิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ
    ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่มิใช่ทิฐิ ปุถุชนย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตน
    อย่างนี้ ฯลฯ อุจเฉททิฐิอันมีสักกายเป็นวัตถุ มีความถือผิดด้วยอาการ ๑๕ เหล่านี้ ฯ

    [๓๓๗] อันตคาหิกทิฐิมีความถือผิดด้วยอาการ ๕๐ เป็นไฉน ฯ
    ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่
    สุด ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้น ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น สัตว์เบื้องหน้าแต่
    ตายแล้วย่อมเป็นอีก สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมไม่เป็นอีก สัตว์เบื้องหน้า
    แต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อม
    เป็นอีกก็หามิได้ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ ย่อมถือผิดด้วยอาการเท่าไร ฯ

    ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกเที่ยง ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ ฯลฯ ทิฐิอันถือ
    เอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หา
    มิได้ ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ ฯ

    [๓๓๘] ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกเที่ยง ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕
    เป็นไฉน ฯ
    ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า รูปเป็นโลกและเป็นของเที่ยง
    ทิฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฐิ ทิฐิไม่ใช่วัตถุ
    วัตถุไม่ใช่ทิฐิ ทิฐิและวัตถุ นี้เป็นทิฐิที่ถือเอาที่สุดว่าโลกเที่ยงที่ ๑ อันตคาหิกทิฐิ
    เป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความ
    ถือผิดว่า เวทนาเป็นโลกและเป็นของเที่ยง ฯลฯ สัญญาเป็นโลกและเป็นของ
    เที่ยง ฯลฯ สังขารเป็นโลกและเป็นของเที่ยง ฯลฯ วิญญาณเป็นโลกและเป็น
    ของเที่ยง ฯลฯ ทิฐินั้นถือเอาที่สุด เช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฐิ
    ทิฐิไม่ใช่วัตถุ ... นี้เป็นทิฐิที่ถือเอาที่สุดว่าโลกเที่ยงที่ ๕ อันตคาหิกทิฐิเป็นมิจฉา-
    *ทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกเที่ยง
    ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เหล่านี้ ฯ

    [๓๓๙] ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกไม่เที่ยง ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕
    เป็นไฉน ฯ
    ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า รูปเป็นโลกและเป็นของไม่เที่ยง
    ทิฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฐิ ฯลฯ นี้เป็นทิฐิ
    ที่ถือเอาที่สุดว่าโลกไม่เที่ยงที่ ๑ อันตคาหิกทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็น
    สังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ฯลฯ ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า เวทนาเป็น
    โลกและเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ สัญญาเป็นโลกและเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ สังขาร
    เป็นโลกและเป็นของไม่เที่ยง วิญญาณเป็นโลกและเป็นของไม่เที่ยง ทิฐินั้นถือ
    เอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อนตคาหิกทิฐิ อันตคาหิกทิฐิเป็นมิจฉา-
    *ทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกไม่เที่ยง
    ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เหล่านี้ ฯ

    [๓๔๐] ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกมีที่สุด ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕
    เป็นไฉน ฯ
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำสีเขียวแผ่ไปสู่โอกาสนิดหน่อย เขามีความ
    เห็นอย่างนี้ว่าโลกนี้มีที่สุดกลม ดังนี้ เขาจึงมีความสำคัญว่าโลกมีที่สุด ทิฐิ คือ
    ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า ที่ที่แผ่ไปนั้นเป็นวัตถุและเป็นโลก เครื่องที่แผ่
    ไปนั้นเป็นตนและเป็นโลก ทิฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า
    อันตคาหิกทิฐิ ทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ ทิฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุเป็นอย่างหนึ่ง
    ทิฐิและวัตถุ นี้เป็นทิฐิอันถือเอาที่สุดว่าโลกมีที่สุดที่ ๑ อันตคาหิกทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ
    ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำสีเหลืองแผ่
    ไป ทำสีแดงแผ่ไป ทำสีขาวแผ่ไป ทำแสงสว่างแผ่ไป สู่โอกาสนิดหน่อย เขา
    มีความคิดอย่างนี้ว่า โลกนี้มีที่สุดกลม ดังนี้ เขาจึงมีความสำคัญว่าโลกมีที่สุด
    ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า ที่ที่แผ่ไปนั้นเป็นวัตถุและเป็นโลก เครื่อง
    ที่แผ่ไปนั้นเป็นตนและเป็นโลก ทิฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า
    อันตคาหิกทิฐิ ฯลฯ ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกมีที่สุด ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕
    เหล่านี้ ฯ

    [๓๔๑] ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกไม่มีที่สุด ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕
    เป็นไฉน ฯ
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำสีเขียวแผ่ไปสู่โอกาสอันกว้าง เขามีความ
    เห็นอย่างนี้ว่า โลกนี้ไม่มีที่สุด หาที่สุดมิได้ ดังนี้ จึงมีความสำคัญว่าโลกไม่มี
    ที่สุด ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า ที่ที่แผ่ไปนั้นเป็นวัตถุและเป็นโลก
    เครื่องที่แผ่ไปนั้นเป็นตนและเป็นโลก ทิฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น
    จึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฐิ ทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ ... นี้เป็นทิฐิอันถือเอา
    ที่สุดว่าโลกไม่มีที่สุดที่ ๑ อันตคาหิกทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์
    แต่ไม่ใช่ทิฐิ ฯ

    บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำสีเหลือง ทำสีแดง ทำสีขาว ทำแสงสว่าง
    แผ่ไปสู่โอกาสอันกว้าง เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า โลกนี้ไม่มีที่สุด หาที่สุดมิได้
    ดังนี้ เขาจึงมีความสำคัญว่า โลกไม่มีที่สุด ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือ
    ผิดว่า ที่ที่แผ่ไปนั้นเป็นวัตถุและเป็นโลก เครื่องที่แผ่ไปนั้นเป็นตนและเป็นโลก
    ทิฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฐิ ฯลฯ ทิฐิอันถือ
    เอาที่สุดว่า โลกไม่มีที่สุด ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เหล่านี้ ฯ

    [๓๔๒] ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้น ย่อมถือผิด
    ด้วยอาการ ๕ เป็นไฉน ฯ
    ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า รูปเป็นชีพและสรีระ ชีพอันใด
    สรีระก็อันนั้น ทิฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฐิ
    ทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ ... นี้เป็นทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า ชีพอันนั้น สรีระก็
    อันนั้นที่ ๑ อันตคาหิกทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้สังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ทิฐิ
    คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า เวทนาเป็นชีพและเป็นสรีระ สัญญาเป็นชีพ
    และเป็นสรีระ สังขารเป็นชีพและเป็นสรีระ วิญญาณเป็นชีพและเป็นสรีระ
    ชีพอันใด สรีระก็อันนั้น ทิฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า
    อันตคาหิกทิฐิ ฯลฯ ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้น ย่อมถือผิด
    ด้วยอาการ ๕ เหล่านี้ ฯ

    [๓๔๓] ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น ย่อมถือ
    ผิดด้วยอาการ ๕ เป็นไฉน ฯ

    ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า รูปเป็นสรีระ ไม่ใช่ชีพ
    รูปนั้นเป็นสรีระ ชีพเป็นอย่างหนึ่ง สรีระเป็นอย่างหนึ่ง ทิฐินั้นถือเอาที่สุด
    เช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฐิ ทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ ...
    นี้เป็นทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่นที่ ๑ อันตคาหิกทิฐิเป็น
    มิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ฯ

    ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า เวทนาเป็นสรีระ ไม่ใช่ชีพ
    สัญญาเป็นสรีระ ไม่ใช่ชีพ สังขารเป็นสรีระ ไม่ใช่ชีพ วิญญาณเป็นสรีระ ไม่
    ใช่ชีพ วิญญาณนั้นเป็นสรีระ ชีพเป็นอย่างหนึ่ง สรีระก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฐินั้นถือ
    เอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฐิ ฯลฯ ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า
    ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เหล่านี้ ฯ

    [๓๔๔] ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีก
    ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นไฉน ฯ

    ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า รูปต้องตายเป็นธรรมดาในโลก
    นี้แหละ สัตว์แต่การแตกแล้วย่อมเป็นอีกบ้าง คงอยู่บ้าง อุบัติขึ้นบ้าง เกิดบ้าง
    ทิฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฐิ ทิฐิไม่ใช่วัตถุ
    วัตถุไม่ใช่ทิฐิ ... นี้เป็นทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็น
    อีกที่ ๑ อันตคาหิกทิฐิ เป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ฯ

    ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า เวทนาต้องตายเป็นธรรมดาใน
    โลกนี้แหละ สัญญาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สังขารต้องตายเป็น
    ธรรมดาในโลกนี้แหละ วิญญาณต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สัตว์แต่กาย
    แตกแล้วย่อมเป็นอีกบ้าง คงอยู่บ้าง อุบัติขึ้นบ้าง เกิดบ้าง ทิฐินั้นถือเอาที่สุด
    เช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฐิ ฯลฯ ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์
    เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีก ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เหล่านี้ ฯ

    [๓๔๕] ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เป็นอีก
    ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นไฉน ฯ

    ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า รูปต้องตายเป็นธรรมดาในโลก
    นี้แหละ สัตว์แต่กายแตกแล้วย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศไป สัตว์เบื้องหน้าแต่ตาย
    แล้วย่อมไม่เป็นอีก ทิฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฐิ
    ทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ ... นี้เป็นทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่
    ตายแล้วย่อมไม่เป็นอีกที่ ๑ อันตคาหิกทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็น
    สังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ฯ

    ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า เวทนาต้องตายเป็นธรรมดาใน
    โลกนี้แหละ สัญญาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละสังขารต้องตายเป็นธรรมดา
    ในโลกนี้แหละ วิญญาณต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สัตว์แต่กายแตกแล้ว
    ย่อมไม่เป็นอีก ทิฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฐิ
    ฯลฯ ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เป็นอีก ย่อมถือผิด
    ด้วยอาการ ๕ เหล่านี้ ฯ

    [๓๔๖] ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็มี
    ย่อมไม่เป็นอีกก็มี ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นไฉน ฯ

    ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า รูปต้องตายเป็นธรรมดาในโลก
    นี้แหละ สัตว์แต่กายแตกแล้วย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี ทิฐินั้นถือเอา
    ที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฐิ ทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ
    ... นี้เป็นทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็มี ย่อม
    ไม่เป็นอีกก็มีที่ ๑ อันตคาหิกทิฐิ เป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่
    ไม่ใช่ทิฐิ ฯ

    ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า เวทนาต้องตายเป็นธรรมดาใน
    โลกนี้แหละ สัญญาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สังขารต้องตายเป็น
    ธรรมดาในโลกนี้แหละ วิญญาณต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สัตว์แต่กาย
    แตกแล้วย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี ทิฐินี้ถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะ
    ฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฐิ ฯลฯ ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตาย
    แล้วย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เหล่านี้ ฯ

    [๓๔๗] ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็
    หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นไฉน ฯ

    ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า รูปต้องตายเป็นธรรมดาในโลก
    นี้แหละ สัตว์แต่กายแตกแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ ทิฐิ
    นั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฐิ ทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุ
    ไม่ใช่ทิฐิ ... นี้เป็นทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีก
    ก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ที่ ๑ อันตคาหิกทิฐิ เป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้
    เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ฯ

    ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า เวทนาต้องตายเป็นธรรมดาใน
    โลกนี้แหละ สัญญาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สังขารต้องตายเป็น
    ธรรมดาในโลกนี้แหละ วิญญาณต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สัตว์แต่
    กายแตกแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ ทิฐินั้นถือเอาที่สุดเช่น
    นั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฐิ ทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ ... ทิฐิ
    และวัตถุ นี้เป็นทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็หา
    มิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ที่ ๑ อันตคาหิกทิฐิ เป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็น
    สังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อม
    เป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เหล่านี้
    อันตคาหิกทิฐิย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕๐ เหล่านี้

    [๓๔๘] ปุพพันตานุทิฐิ (ความตามเห็นขันธ์ส่วนอดีต) ย่อมถือผิดด้วย
    อาการ ๑๘ เป็นไฉน ฯ
    สัสสตทิฐิ (ทิฐิว่าตนและโลกเที่ยง) ๔ เอกัจจสัสสติกาทิฐิ (ทิฐิว่าตน
    และโลกเที่ยงเป็นบางอย่าง) ๔ อันตานันติกาทิฐิ (ทิฐิว่าโลกมีที่สุดและหาที่สุด
    มิได้) ๔ อมราวิกเขปิกาทิฐิ (ทิฐิซัดส่ายไม่ตายตัว) ๔ อธิจจสมุปปันนิกาทิฐิ
    (ทิฐิว่าตนและโลกเกิดขึ้นลอยๆ) ๒ ปุพพันตานุทิฐิ ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๑๘
    เหล่านี้ ฯ

    [๓๔๙] อปรันตานุทิฐิ (ความตามเห็นขันธ์ส่วนอนาคต) ย่อมถือผิด
    ด้วยอาการ ๔๔ เป็นไฉน ฯ
    สัญญีวาททิฐิ (ทิฐิว่าตนเมื่อตายแล้วมีสัญญา) ๑๗ อสัญญีวาททิฐิ (ทิฐิ
    ว่าตนเมื่อตายแล้วไม่มีสัญญา) ๘ เนวสัญญีนาสัญญีวาททิฐิ (ทิฐิว่าตนเมื่อตาย
    แล้วมีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่) ๘ อุจเฉทวาททิฐิ (ทิฐิว่าสัตว์ตายแล้ว
    ขาดสูญ) ๗ ทิฐิธรรมนิพพานวาททิฐิ (ทิฐิว่านิพพานเป็นปัจจุบันเป็นธรรมอย่าง
    ยิ่งของสัตว์) ๕ อปรันตานุทิฐิ ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๔๔ เหล่านี้ ฯ

    [๓๕๐] สังโยชนิกาทิฐิ (ทิฐิเป็นเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพ) ย่อมถือ
    ผิดด้วยอาการ ๑๘ เป็นไฉน ฯ
    ทิฐิ คือ ทิฐิที่ไป ทิฐิที่รกชัฏ ฯลฯ ทิฐิเป็นเหตุให้ถือผิด ทิฐิเป็นเหตุ
    ให้ลูบคลำ สังโยชนิกาทิฐิ ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๑๘ เหล่านี้ ฯ

    [๓๕๑] ทิฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่า เป็นเรา ย่อมถือผิด ด้วยอาการ
    ๑๘ เป็นไฉน ฯ
    ทิฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่า ตาเป็นเรา ทิฐิมิใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ ...
    นี้เป็นทิฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่าเป็นเราที่ ๑ มานวินิพันธาทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ
    เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่มิใช่ทิฐิ ทิฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่า หูเป็นเรา ฯลฯ
    จมูกเป็นเรา ฯลฯ ลิ้นเป็นเรา ฯลฯ กายเป็นเรา ฯลฯ ใจเป็นเรา ฯลฯ
    ธรรมารมณ์เป็นเรา ฯลฯ จักขุวิญญาณเป็นเรา ฯลฯ มโนวิญญาณเป็นเรา ฯลฯ
    ความลูบคลำความถือผิดว่าเป็นเรา ทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ ... นี้เป็นทิฐิ
    อันกางกั้นด้วยมานะว่าเป็นเราที่ ๘ มานวินิพันธาทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้
    เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ทิฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่า เป็นเรา ย่อมถือผิด
    ด้วยอาการ ๑๘ เหล่านี้ ฯ

    [๓๕๒] ทิฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่า ของเรา ย่อมถือผิด ด้วยอาการ
    ๑๘ เป็นไฉน ฯ
    ทิฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่า ตาของเรา ทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ ...
    นี้เป็นทิฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่าของเราที่ ๑ มานวินิพันธาทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ
    เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ทิฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่า หูของเรา ฯลฯ
    จมูกของเรา ฯลฯ ลิ้นของเรา ฯลฯ กายของเรา ฯลฯ ใจของเรา ฯลฯ
    ธรรมารมณ์ของเรา ฯลฯ จักขุวิญญาณของเรา ฯลฯ มโนวิญญาณของเรา ความ
    ลูบคลำด้วยความถือผิดว่า ของเรา ทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ ... นี้เป็นทิฐิ
    อันกางกั้นด้วยมานะว่า ของเรา ที่ ๘ มานวินิพันธาทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้
    เป็นสังโยชน์ แต่มิใช่ทิฐิ ทิฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่า ของเรา ย่อมถือผิด
    ด้วยอาการ ๑๘ เหล่านี้ ฯ

    [๓๕๓] ทิฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภตน ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๒๐
    เป็นไฉน ฯ
    ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับในโลกนี้ ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า ... ไม่ได้รับแนะนำ
    ในธรรมของสัปบุรุษ ย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตน เห็นตนว่ามีรูปบ้าง เห็นรูป
    ในตนบ้าง เห็นตนในรูปบ้าง ฯลฯ เห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    โดยความเป็นตน เห็นตนว่ามีวิญญาณบ้าง เห็นวิญญาณในตนบ้าง เห็นตนใน
    วิญญาณบ้าง ฯลฯ

    ปุถุชนมองเห็นรูปโดยความเป็นตนอย่างไร บุคคลบางคนในโลกนี้
    ย่อมเห็นปฐวีกสิณ ฯลฯ โอทาตกสิณ โดยความเป็นตน คือ ย่อมเห็น
    โอทาตกสิณและตนไม่เป็นสอง เปรียบเหมือนเมื่อประทีปน้ำมันลุกโพลงอยู่
    บุคคลเห็นเปลวไฟ และแสงสว่างไม่เป็นสองฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้
    ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นโอทาตกสิณโดยความเป็นตน ฯลฯ นี้เป็นทิฐิ
    อันปฏิสังยุตด้วยอัตตวาทะมีรูปเป็นวัตถุที่ ๑ ทิฐิอันปฏิสังยุตด้วยอัตตวาทะเป็น
    มิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ทิฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะ
    ปรารภตน ย่อมถือผิด ด้วยอาการ ๒๐ เหล่านี้ ฯ

    [๓๕๔] ทิฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภโลก ย่อมถือผิด ด้วยอาการ ๘
    เป็นไฉน ฯ
    ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า ตนและโลกเที่ยง เป็นทิฐิ อันปฏิสังยุต
    ด้วยวาทะปรารภโลก ทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุมิใช่ทิฐิ ... นี้เป็นทิฐิอันปฏิสังยุต
    ด้วยวาทะปรารภโลกที่ ๑ ทิฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภโลกเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ
    เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ฯ

    ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า ตนและโลกไม่เที่ยง ฯลฯ ตนและโลก
    เที่ยงก็มี ไม่เที่ยงก็มี ตนและโลกเที่ยงก็หามิได้ ไม่เที่ยงก็หามิได้ ตนและโลก
    มีที่สุด ตนและโลกไม่มีที่สุด ตนและโลกมีที่สุดก็มี ไม่มีที่สุดก็มี ตนและ
    โลกมีที่สุดก็หามิได้ ไม่มีที่สุดก็หามิได้ เป็นทิฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภโลก
    ทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ ... นี้เป็นทิฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภโลกที่ ๘
    ทิฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภโลกเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์
    แต่ไม่ใช่ทิฐิ ทิฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภโลก ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๘
    เหล่านี้ ฯ

    [๓๕๕] ความถือผิดด้วยความติดอยู่ เป็นภวทิฐิ ความถือผิดด้วยความ
    แล่นเลยไป เป็นวิภวทิฐิ อัสสาททิฐิมีความถือผิดด้วยอาการ ๓๕ เป็นภวทิฐิ
    เท่าไร เป็นวิภวทิฐิเท่าไร อัตตานุทิฐิ มีความถือผิดด้วยอาการ ๒๐ เป็นภวทิฐิ
    เท่าไร เป็นวิภวทิฐิเท่าไร ฯลฯ ทิฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภโลก มีความ
    ถือผิดด้วยอาการ ๘ เป็นภวทิฐิเท่าไร เป็นวิภวทิฐิเท่าไร ฯ

    อัสสาททิฐิมีความถือผิดด้วยอาการ ๓๕ เป็นภวทิฐิก็มี เป็นวิภวทิฐิก็มี
    อัตตานุทิฐิมีความถือผิดด้วยอาการ ๒๐ เป็นภวทิฐิ ๑๕ เป็นวิภวทิฐิ ๕ มิจฉาทิฐิ
    มีความถือผิดด้วยอาการ ๑๐ เป็นวิภวทิฐิทั้งหมด สักกายทิฐิมีความถือผิดด้วย
    อาการ ๒๐ เป็นภวทิฐิ ๑๕ เป็นวิภวทิฐิ ๕ สัสสตทิฐิอันมีสักกายเป็นวัตถุ
    มีความถือผิดด้วยอาการ ๑๕ เป็นภวทิฐิทั้งหมด อุจเฉททิฐิอันมีสักกายเป็นวัตถุ
    มีความถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นวิภวทิฐิทั้งหมด ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกเที่ยง
    มีความถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นภวทิฐิทั้งหมด ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกไม่
    เที่ยง มีความถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นวิภวทิฐิทั้งหมด ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า
    โลกมีที่สุด มีความถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นภวทิฐิก็มี เป็นวิภวทิฐิก็มี ทิฐิอัน
    ถือเอาที่สุดว่า โลกไม่มีที่สุด มีความถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นภวทิฐิก็มี เป็น
    วิภวทิฐิก็มี ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้น มีความถือผิดด้วย
    อาการ ๕ เป็นวิภวทิฐิทั้งหมด ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น
    มีความถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นภวทิฐิทั้งหมด ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้อง
    หน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีกก็มี มีความถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นภวทิฐิทั้งหมด
    ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เป็นอีก มีความถือผิด
    ด้วยอาการ ๕ เป็นวิภวทิฐิทั้งหมด ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตาย
    แล้วย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี มีความถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นภวทิฐิก็มี
    เป็นวิภวทิฐิก็มี อปรันตานุทิฐิ มีความถือผิดด้วยอาการ ๔๔ เป็นภวทิฐิก็มี
    เป็นวิภวทิฐิก็มี สังโยชนิกาทิฐิมีความถือผิดด้วยอาการ ๑๘ เป็นภวทิฐิก็มี เป็น
    วิภวทิฐิก็มี ทิฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่า เป็นเรา มีความถือผิดด้วยอาการ ๑๘
    เป็นวิภวทิฐิทั้งหมด ทิฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่า ของเรา มีความถือผิดด้วย
    อาการ ๑๘ เป็นภวทิฐิทั้งหมด ทิฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภตน มีความ
    ถือผิดด้วยอาการ ๒๐ เป็นภวทิฐิ ๑๕ เป็นวิภวทิฐิ ๕ ทิฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะ
    ปรารภโลก มีความถือผิดด้วยอาการ ๘ เป็นภวทิฐิก็มี เป็นวิภวทิฐิก็มี ทิฐิ
    ทั้งหมดเป็นอัตตานุทิฐิ เป็นมิจฉาทิฐิ เป็นสักกายทิฐิ เป็นอันตคาหิกทิฐิ เป็น
    สังโยชนิกาทิฐิ ทิฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภตนเป็นภวทิฐิ เป็นวิภวทิฐิ
    ชนเหล่าใดยึดถือทิฐิ ๒ อย่างนี้ ญาณในนิโรธย่อมไม่มีแก่ชนเหล่านั้น สัตว์โลก
    นี้ยึดถือในทิฐิใด ก็เป็นผู้มีสัญญาวิปริตเพราะทิฐินั้น ฯ

    [๓๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์ผู้ถูกทิฐิ ๒ อย่างกลุ้มรุม
    แล้ว พวกหนึ่งย่อมติดอยู่ พวกหนึ่งย่อมแล่นไป ส่วนผู้มีจักษุเห็นอยู่ ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่งย่อมติดอยู่อย่างไร ดูกร
    ภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์ผู้ชอบภพ ยินดีในภพ บันเทิงอยู่ในภพ จิตของ
    เทวดาและมนุษย์เหล่านั้นย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไป
    ในธรรมที่เราแสดงเพื่อความดับภพ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่ง
    ย่อมติดอยู่อย่างนี้แล ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่งย่อมแล่นไปอย่างไร ก็
    เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่งย่อมอึดอัด ระอา เกลียดชังภพ ย่อมยินดีความ
    ปราศจากภพว่า ชาวเราเอ๋ย ได้ยินว่าเมื่อใด ตนแต่กายแตกไปแล้วย่อมขาดสูญ
    ย่อมพินาศ เมื่อนั้น ตนเบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เป็นอีก เพราะฉะนั้น
    ความไม่เกิดนี้ละเอียด ประณีต ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่ง
    ย่อมแล่นไปอย่างนี้แล ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ส่วนผู้มีจักษุเห็นอยู่อย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเห็นความเป็นสัตว์ตามความเป็นจริง ครั้นแล้วย่อม
    ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับความเป็นสัตว์ ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย ส่วนผู้มีจักษุเห็นอยู่ อย่างนี้แล ฯ
    ถ้าภิกษุใด เห็นความเป็นสัตว์ตามความเป็นจริง และก้าวล่วง
    ความเป็นสัตว์แล้ว ย่อมน้อมใจไปในธรรมตามที่เป็นจริง
    เพื่อความหมดสิ้นแห่งภวตัณหา ภิกษุนั้น กำหนดรู้ ความ
    เป็นสัตว์แล้ว ผู้ปราศจากตัณหาในภพน้อยภพใหญ่ ย่อม
    ไม่มาสู่ภพใหม่ เพราะความไม่มีแห่งความเป็นสัตว์ ดังนี้ ฯ

    [๓๕๗] บุคคล ๓ จำพวกมีทิฐิวิบัติ บุคคล ๓ จำพวกมีทิฐิสมบัติ ฯ
    บุคคล ๓ จำพวกเหล่าไหนมีทิฐิวิบัติ เดียรถีย์ ๑ สาวกเดียรถีย์ ๑
    บุคคลผู้มีทิฐิผิด ๑ บุคคล ๓ จำพวกเหล่านี้มีทิฐิวิบัติ ฯ

    บุคคล ๓ จำพวกเหล่าไหนมีทิฐิสมบัติ พระตถาคต ๑ สาวก
    พระตถาคต ๑ บุคคลผู้มีทิฐิชอบ ๑ บุคคล ๓ จำพวกเหล่านี้มีทิฐิสมบัติ ฯ
    นรชนใด เป็นคนมักโกรธ มักผูกโกรธ มีความลบหลู่ลามก
    มีทิฐิวิบัติ เจ้าเล่ห์ พึงรู้จักนรชนนั้นว่าเป็นคนเลว นรชนใด
    เป็นคนไม่มักโกรธ ไม่ผูกโกรธ ไม่ลบหลู่คุณท่าน มีทิฐิ-
    สมบัติ มีปัญญา พึงรู้จักนรชนนั้นว่า เป็นผู้ประเสริฐ
    ดังนี้ ฯ

    [๓๕๘] ทิฐิวิบัติ ๓ ทิฐิสมบัติ ๓ ฯ
    ทิฐิวิบัติ ๓ เป็นไฉน ความเห็นวิบัติว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่น
    เป็นตัวตนของเรา ทิฐิวิบัติ ๓ เหล่านี้ ฯ
    ทิฐิสมบัติ ๓ เป็นไฉน ความเห็นอันถูกต้องว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่น
    ไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ทิฐิสมบัติ ๓ เหล่านี้ ฯ

    [๓๕๙] ทิฐิอะไรว่า นั่นของเรา เป็นทิฐิเท่าไร ทิฐิเหล่านั้น ตามถือ
    ส่วนสุดอะไร ทิฐิอะไรว่า นั่นเป็นเรา เป็นทิฐิเท่าไร ทิฐิเหล่านั้น ตามถือส่วน
    สุดอะไร ทิฐิอะไรว่า นั่นเป็นตัวตนของเรา เป็นทิฐิเท่าไร ทิฐิเหล่านั้นตามถือ
    ส่วนสุดอะไร ฯ

    ความเห็นตามขันธ์ส่วนอดีตว่า นั่นของเรา เป็นทิฐิ ๑๘ ทิฐิเหล่านั้น
    ตามถือขันธ์ส่วนอดีต ความเห็นตามขันธ์ส่วนอนาคตว่า นั่นเป็นเรา เป็นทิฐิ ๔๔
    ทิฐิเหล่านั้นตามถือขันธ์ส่วนอนาคต อัตตานุทิฐิมีวัตถุ ๒๐ ว่า นั่นเป็นตัวตน
    ของเรา เป็นสักกายทิฐิ มีวัตถุ ๒๐ ทิฐิ ๖๒ โดยมีสักกายทิฐิเป็นประธาน
    ทิฐิเหล่านั้น ตามถือขันธ์ทั้งส่วนอดีตและส่วนอนาคต ฯ

    [๓๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งถึงความเชื่อแน่ในเรา
    ชนเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิ บุคคล ๕ จำพวกเชื่อแน่ในธรรมนี้
    บุคคล ๕ จำพวกเชื่อแน่ในภพสุทธาวาส ในธรรมนี้ ฯ

    บุคคล ๕ จำพวกเหล่าไหน เชื่อแน่ในธรรมนี้ บุคคล ๕ จำพวกนี้
    คือ สัตตักขัตตุปรมโสดาบัน ๑ โกลังโกละโสดาบัน ๑ เอกพิชีโสดาบัน ๑
    พระสกทาคามี ๑ พระอรหันต์ในปัจจุบัน ๑ เชื่อแน่ในธรรมนี้ ฯ

    บุคคล ๕ จำพวกเหล่าไหน เชื่อแน่ในภพสุทธาวาสในธรรมนี้ บุคคล
    ๕ จำพวกนี้ คือ อันตราปรินิพพายีอนาคามีบุคคล ๑ อุปหัจจปรินิพพายีอนาคามี
    บุคคล ๑ อสังขารปรินิพพายีอนาคามีบุคคล ๑ สสังขารปรินิพพายีอนาคามี-
    *บุคคล ๑ อุทธังโสโตอกนิฏฐคามีอนาคามีบุคคล ๑ เชื่อแน่ในภพสุทธาวาส
    ในธรรมนี้ ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ถึงความเชื่อแน่ในเรา
    บุคคลเหล่านั้นทั้งหมด ถึงพร้อมด้วยทิฐิ บุคคล ๕ จำพวกนี้เชื่อแน่ในธรรมนี้
    บุคคล ๕ จำพวกนี้เชื่อแน่ในภพสุทธาวาสในธรรมนี้ ฯ

    [๓๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเลื่อมใสในเราอย่าง
    แน่นแฟ้น บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นพระโสดาบัน พระโสดาบันเหล่านั้นรวม ๕
    จำพวกนี้ เชื่อแน่ในธรรมนี้ บุคคล ๕ จำพวกเชื่อแน่ในภพชั้นสุทธาวาส
    ในธรรมนี้ ฯ

    บุคคล ๕ จำพวกเหล่าไหน เชื่อแน่ในธรรมนี้ บุคคล ๕ จำพวกนี้ คือ
    สัตตักขัตตุปรมโสดาบัน ๑ ... พระอรหันต์ในปัจจุบัน ๑ เชื่อแน่ในธรรมนี้ ฯ
    บุคคล ๕ จำพวกนี้ คือ อันตราปรินิพพายีอนาคามีบุคคล ๑ ... อุทธัง-
    *โสโตอกนิฏฐคามีบุคคล ๑ เชื่อแน่ในภพสุทธาวาสในธรรมนี้ ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเลื่อมใสในเราอย่างแน่นแฟ้น
    บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นพระโสดาบัน พระโสดาบันเหล่านั้นรวมเป็น ๕ จำพวก
    นี้ เชื่อแน่ในธรรมนี้ บุคคล ๕ จำพวกนี้ เชื่อแน่ในภพสุทธาวาสในธรรมนี้
    ฉะนี้แล ฯ

    จบทิฐิกถา
     
  3. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561
    เพื่อไม่เป็นการกร่อนในภาษาเฉพาะตน(โมทนา)

    อนุโมทนา เช่นกัน

    อนุโมทนา
     
  4. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561
    [๑๘๖] ปัญญาในความต่างแห่งอรรถ เป็นอรรถปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญา
    ในความต่างแห่งธรรม เป็นธรรมปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความต่างแห่งนิรุติ
    เป็นนิรุติปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความต่างแห่งปฏิภาณ เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทา
    ญาณอย่างไร ฯ

    สัทธินทรีย์เป็นธรรม วิริยินทรีย์เป็นธรรม สตินทรีย์เป็นธรรม
    สมาธินทรีย์เป็นธรรม ปัญญินทรีย์เป็นธรรม สัทธินทรีย์เป็นธรรมอย่างหนึ่ง
    สมาธินทรีย์เป็นธรรมอย่างหนึ่ง สตินทรีย์เป็นธรรมอย่างหนึ่ง สมาธินทรีย์เป็น
    ธรรมอย่างหนึ่ง ปัญญาญินทรีย์เป็นธรรมอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้ธรรมต่างๆ
    เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะธรรมต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแล
    เพราะเหตุดังนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความต่างแห่งธรรม เป็นธรรม
    ปฏิสัมภิทาญาณ ฯ

    [๑๘๗] สภาพว่าน้อมใจเชื่อเป็นอรรถ สภาพว่าประคองไว้เป็นอรรถ
    สภาพว่าเข้าไปตั้งไว้เป็นอรรถ สภาพว่าไม่ฟุ้งซ่านเป็นอรรถ สภาพว่าเห็นเป็นอรรถ
    สภาพว่าน้อมใจเชื่อเป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาพว่าประคองไว้เป็นอรรถอย่างหนึ่ง
    สภาพว่าเข้าไปตั้งไว้เป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาพว่าฟุ้งซ่านเป็นอรรถอย่างหนึ่ง
    สภาพว่าเห็นเป็นอรรถอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้อรรถต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด
    เป็นอันรู้เฉพาะอรรถต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแล เพราะเหตุดังนั้น ท่านจึง
    กล่าวว่า ปัญญาในความต่างแห่งอรรถเป็นอรรถปฏิสัมภิทาญาณ ฯ

    [๑๘๘] การระบุพยัญชนะและนิรุติ เพื่อแสดงธรรม ๕ ประการ
    การระบุพยัญชนะและนิรุติเพื่อแสดงอรรถ ๕ ประการ ธรรมนิรุติเป็นอย่างหนึ่ง
    อรรถนิรุติเป็นอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้นิรุติต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณ เป็นอันรู้เฉพาะ
    นิรุติต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแล เพราะเหตุดังนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาใน
    ความต่างแห่งนิรุติ เป็นนิรุติปฏิสัมภิทาญาณ ฯ

    [๑๘๙] ญาณในธรรม ๕ ในอรรถ ๕ ญาณในนิรุติ ๑๐ ญาณในธรรม
    เป็นอย่างหนึ่ง ญาณในอรรถเป็นอย่างหนึ่ง ญาณในนิรุติเป็นอย่างหนึ่ง
    พระโยคาวจรรู้ญาณต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณใดเป็นอันรู้เฉพาะญาณต่างๆ เหล่านี้
    ด้วยญาณนั้นนั่นแล เพราะเหตุดังนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความต่างแห่ง
    ปฏิภาณ เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ ฯ

    [๑๙๐] สัทธาพละเป็นธรรม วิริยพละเป็นธรรม สติพละเป็นธรรม
    สมาธิพละเป็นธรรม ปัญญาพละเป็นธรรม สัทธาพละเป็นธรรมอย่างหนึ่ง วิริยพละ
    เป็นธรรมอย่างหนึ่ง สติพละเป็นธรรมอย่างหนึ่ง สมาธิพละเป็นธรรมอย่างหนึ่ง
    ปัญญาพละเป็นธรรมอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้ธรรมต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด
    เป็นอันรู้ธรรมต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแล เพราะเหตุดังนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
    ปัญญาในความต่างแห่งธรรม เป็นธรรมปฏิสัมภิทาญาณ ฯ

    [๑๙๑] สภาพอันไม่หวั่นไหวเพราะความเป็นผู้ไม่มีศรัทธาเป็นอรรถ
    สภาพอันไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้านเป็นอรรถ สภาพอันไม่หวั่นไหวเพราะ
    ความประมาทเป็นอรรถ สภาพอันไม่หวั่นไหวเพราะความฟุ้งซ่านเป็นอรรถ สภาพ
    อันไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชาเป็นอรรถ สภาพอันไม่หวั่นไหวเพราะความเป็น
    ผู้ไม่มีศรัทธาเป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาพอันไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้านเป็น
    อรรถอย่างหนึ่ง สภาพอันไม่หวั่นไหวเพราะความประมาทเป็นอรรถอย่างหนึ่ง
    สภาพอันไม่หวั่นไหวเพราะความฟุ้งซ่านเป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาพอันไม่หวั่นไหว
    เพราะอวิชชาเป็นอรรถอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้อรรถต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด
    เป็นอันรู้เฉพาะอรรถต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแล เพราะเหตุดังนั้นท่านจึง
    กล่าวว่า ปัญญาในความต่างแห่งอรรถ เป็นอรรถปฏิสัมภิทาญาณ ฯ

    [๑๙๒] การระบุพยัญชนะและนิรุติ เพื่อแสดงธรรม ๕ ประการ
    การระบุพยัญชนะและนิรุติเพื่อแสดงอรรถ ๕ ประการ ธรรมนิรุติเป็นอย่างหนึ่ง
    อรรถนิรุติเป็นอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้นิรุติต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอัน
    รู้เฉพาะนิรุติต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแล เพราะเหตุดังนั้นท่านจึงกล่าวว่า
    ปัญญาในความต่างแห่งนิรุติ เป็นนิรุติปฏิสัมภิทาญาณ ฯ

    [๑๙๓] ญาณในธรรม ๕ ประการ ญาณในอรรถ ๕ ประการ ญาณ
    ในนิรุติ ๑๐ ประการ ญาณในธรรมเป็นอย่างหนึ่ง ญาณในธรรมเป็นอย่างหนึ่ง
    ญาณในอรรถเป็นอย่างหนึ่ง ญาณในนิรุติเป็นอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้ญาณต่างๆ
    เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะญาณต่างๆ เหล่านี้ด้วยด้วยญาณนั้นนั่นแล
    เพราะเหตุดังนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความต่างแห่งปฏิภาณ เป็นปฏิภาณ
    ปฏิสัมภิทาญาณ ฯ

    [๑๙๔] สติสัมโพชฌงค์ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์
    ปีติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์
    เป็นธรรมแต่ละอย่างๆ สติสัมโพชฌงค์ ... อุเบกขาสัมโพชฌงค์ เป็นธรรม
    อย่างหนึ่งๆ พระโยคาวจรรู้ธรรมต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะธรรม
    ต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแล เพราะเหตุดังนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาใน
    ความต่างแห่งธรรม เป็นธรรมปฏิสัมทาญาณ ฯ

    [๑๙๕] สภาพที่ตั้งมั่น สภาพที่เลือกเฟ้น สภาพที่ประคองไว้ สภาพ
    ที่แผ่ซ่านไป สภาพที่สงบ สภาพที่ไม่ฟุ้งซ่าน สภาพที่พิจารณาหาทาง สภาพ
    ที่เข้าไปตั้งอยู่ เป็นอรรถ [แต่ละอย่าง] สภาพที่ตั้งมั่น ... สภาพที่พิจารณาหาทาง
    เป็นอรรถอย่างหนึ่งๆ พระโยคาวจรรู้อรรถต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอัน
    รู้เฉพาะอรรถต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแล เพราะเหตุดังนั้นท่านจึงกล่าวว่า
    ปัญญาในความต่างแห่งอรรถ เป็นอรรถปฏิสัมภิทาญาณ ฯ

    [๑๙๖] การระบุพยัญชนะและนิรุติเพื่อแสดงธรรม ๗ ประการ การ
    ระบุพยัญชนะและนิรุติเพื่อแสดงอรรถ ๗ ประการ ธรรมนิรุติเป็นอย่างหนึ่ง
    อรรถนิรุติเป็นอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้นิรุติต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอัน
    รู้เฉพาะนิรุติต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแล เพราะเหตุดังนั้นท่านจึงกล่าวว่า
    ปัญญาในความต่างแห่งนิรุติ เป็นนิรุติปฏิสัมภิทาญาณ ฯ

    [๑๙๗] ญาณในธรรม ๗ ประการ ญาณในอรรถ ๗ ประการ ญาณ
    ในนิรุติ ๑๔ ประการ ญาณในธรรมเป็นอย่างหนึ่ง ญาณในอรรถเป็นอย่างหนึ่ง
    ญาณในนิรุติเป็นอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้ญาณต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอัน
    รู้เฉพาะญาณต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแล เพราะเหตุดังนั้นท่านจึงกล่าวว่า
    ปัญญาในความต่างแห่งปฏิภาณ เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ ฯ

    [๑๙๘] สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ
    สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ เป็นธรรมแต่ละอย่างๆ
    สัมมาทิฐิ ... สัมมาสมาธิ เป็นธรรมอย่างหนึ่งๆ พระโยคาวจรรู้ธรรมต่างๆ
    เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะธรรมต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแล
    เพราะเหตุดังนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความต่างแห่งธรรม เป็นธรรม
    ปฏิสัมภิทาญาณ ฯ

    [๑๙๙] สภาพที่เห็น สภาพที่ดำริ สภาพที่กำหนดเอา สภาพที่เป็น
    สมุฏฐาน สภาพที่ขาวผ่อง สภาพที่ประคองไว้ สภาพที่ตั้งมั่น สภาพที่ไม่ฟุ้งซ่าน
    เป็นอรรถแต่ละอย่างๆ สภาพที่เห็น ... สภาพที่ไม่ฟุ้งซ่าน เป็นอรรถอย่างหนึ่งๆ
    พระโยคาวจรรู้อรรถต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะอรรถต่างๆ เหล่านี้
    ด้วยญาณนั้นนั่นแล เพราะเหตุดังนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความต่างแห่งอรรถ
    เป็นอรรถปฏิสัมภิทาญาณ ฯ

    [๒๐๐] การระบุพยัญชนะและนิรุติเพื่อแสดงธรรม ๘ ประการ การระบุ
    พยัญชนะและนิรุติเพื่อแสดงอรรถ ๘ ประการ ธรรมนิรุติเป็นอย่างหนึ่ง อรรถนิรุติ
    เป็นอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้นิรุติต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะ
    นิรุติต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแล เพราะเหตุดังนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญา
    ในความต่างแห่งนิรุติ เป็นนิรุติปฏิสัมภิทาญาณ ฯ

    [๒๐๑] ญาณในธรรม ๘ ประการ ญาณในอรรถ ๘ ประการ ญาณใน
    นิรุติ ๑๖ ประการ ญาณในธรรมเป็นอย่างหนึ่ง ญาณในอรรถเป็นอย่างหนึ่ง
    ญาณในนิรุติเป็นอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้ญาณต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็น
    อันรู้เฉพาะญาณต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแล เพราะเหตุดังนั้นท่านจึงกล่าวว่า
    ปัญญาในความต่างแห่งปฏิภาณ เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ ฯ

    ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด
    เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความต่างแห่งอรรถ เป็นอรรถปฏิสัมภิทา
    ญาณ ปัญญาในความต่างแห่งธรรม เป็นธรรมปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความ
    ต่างแห่งนิรุติ เป็นนิรุติปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความต่างปฏิญาณ เป็นปฏิภาณ
    ปฏิสัมภิทาญาณ ฯ

    ปฏิสัมภิทาญาณนิทเทส
     
  5. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561
    มหาวรรค อานาปาณกถา

    [๓๖๒] เมื่อพระโยคาวจรเจริญสมาธิอันปฏิสังยุตด้วยอานาปานสติมี
    วัตถุ ๑๖ ญาณ ๒๐๐ อันเนื่องมาแต่สมาธิย่อมเกิดขึ้น คือ
    ญาณในธรรมอันเป็นอันตราย ๘
    ญาณในธรรมอันเป็นอุปการะ ๘
    ญาณในอุปกิเลส ๑๘
    ญาณในโวทาน ๑๓
    ญาณในความเป็นผู้ทำสติ ๓๒
    ญาณด้วยสามารถสมาธิ ๒๔
    ญาณด้วยสามารถวิปัสสนา ๗๒
    นิพพิทาญาณ ๘
    นิพพิทานุโลมญาณ ๘
    นิพพิทาปฏิปัสสัทธิญาณ ๘
    ญาณในวิมุติสุข ๒๑ ฯ

    [๓๖๓] ญาณในธรรมอันเป็นอันตราย ๘ และญาณในธรรมอันเป็นอุปการะ ๘ เป็นไฉน ฯ
    กามฉันทะเป็นอันตรายแก่สมาธิ เนกขัมมะเป็นอุปการะแก่สมาธิ
    พยาบาทเป็นอันตรายแก่สมาธิ ความไม่พยาบาทเป็นอุปการะแก่สมาธิ
    ถีนมิทธะเป็นอันตรายแก่สมาธิ อาโลกสัญญาเป็นอุปการะแก่สมาธิ
    อุทธัจจะเป็นอันตรายแก่สมาธิ ความไม่ฟุ้งซ่านเป็นอุปการะแก่สมาธิ
    วิจิกิจฉาเป็นอันตรายแก่สมาธิ ความกำหนดธรรมเป็นอุปการะแก่สมาธิ
    อวิชชาเป็นอันตรายแก่สมาธิ ญาณเป็นอุปการะแก่สมาธิ
    อรติเป็นอันตรายแก่สมาธิ ความปราโมทย์เป็นอุปการะแก่สมาธิ
    อกุศลธรรมแม้ทั้งปวงเป็นอันตรายแก่สมาธิ กุศลธรรมทั้งปวงเป็นอุปการะแก่สมาธิ

    ญาณในธรรมอันเป็นอันตราย ๘ และญาณในธรรมเป็นอุปการะ ๘ เหล่านี้
    จิตอันฟุ้งซ่านและจิตสงบระงับ ย่อมดำรงอยู่ในความเป็นธรรมอย่างเดียว
    และย่อมหมดจดจากนิวรณ์ ด้วยอาการ ๑๖ เหล่านี้ ฯ

    [๓๖๔] ความเป็นธรรมอย่างเดียวเหล่านั้นเป็นไฉน ฯ
    เนกขัมมะ ความไม่พยาบาท อาโลกสัญญา ความไม่ฟุ้งซ่าน ความ
    กำหนดธรรม ญาณ ความปราโมทย์ กุศลธรรมทั้งปวงเป็นธรรมอย่างเดียว
    (แต่ละอย่าง) ฯ
    นิวรณ์นั้นเป็นไฉน กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ
    วิจิกิจฉา อวิชชา อรติ อกุศลธรรมทั้งปวง เป็นนิวรณ์ (แต่ละอย่าง) ฯ

    [๓๖๕] คำว่า นีวรณา ความว่า ชื่อว่านิวรณ์เพราะอรรถว่ากระไร
    ชื่อว่านิวรณ์เพราะอรรถว่าเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก ฯ

    ธรรมเครื่องนำออกเป็นไฉน

    เนกขัมมะ เป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยะเจ้าทั้งหลาย
    และพระอริยเจ้าทั้งหลาย ย่อมนำออกด้วยเนกขัมมะนั้น

    กามฉันทะ เป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก และบุคคลไม่รู้จักเนกขัมมะ
    อันเป็นธรรมเครื่องนำออก ของพระอริยเจ้าทั้งหลาย เพราะเป็นผู้ถูกกามฉันทะนั้นกั้นไว้
    เพราะเหตุนั้น กามฉันทะ จึงชื่อว่าเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก

    ความไม่พยาบาท เป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยเจ้าทั้งหลาย
    และพระอริยเจ้าทั้งหลาย ย่อมนำออกด้วยความไม่พยาบาทนั้น

    ความพยาบาท เป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก และบุคคลไม่รู้จักความไม่พยาบาท
    อันเป็นธรรมเครื่องนำออก ของพระอริยเจ้าทั้งหลาย เพราะเป็นผู้ถูกความพยาบาทนั้นกั้นไว้
    เพราะเหตุนั้น พยาบาท จึงชื่อว่าเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก

    อาโลกสัญญา เป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยเจ้าทั้งหลาย
    และพระอริยเจ้าทั้งหลาย ย่อมนำออกด้วยอาโลกสัญญานั้น

    ถีนมิทธะ เป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก และบุคคลย่อมไม่รู้จักอาโลกสัญญา
    อันเป็นธรรมเครื่องนำออก ของพระอริยเจ้าทั้งหลาย เพราะเป็นผู้ถูกถีนมิทธะนั้นกั้นไว้
    เพราะเหตุนั้น ถีนมิทธะ จึงชื่อว่าเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก

    ความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยเจ้าทั้งหลาย
    และพระอริยเจ้าทั้งหลาย ย่อมนำออกด้วยไม่ฟุ้งซ่านนั้น

    อุทธัจจะ เป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก และบุคคลย่อมไม่รู้จักความไม่ฟุ้งซ่าน
    อันเป็นธรรมเครื่องนำออก ของพระอริยเจ้าทั้งหลาย เพราะเป็นผู้ถูกอุทธัจจะนั้นกั้นไว้
    เพราะเหตุนั้น อุทธัจจะ จึงชื่อว่าเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก

    การกำหนดธรรม เป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยเจ้าทั้งหลาย
    และพระอริยเจ้าทั้งหลาย ย่อมนำออกด้วยการกำหนดธรรมนั้น

    วิจิกิจฉา เป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก และบุคคลย่อมไม่รู้จักการกำหนดธรรม
    อันเป็นเครื่องนำออก ของพระอริยเจ้าทั้งหลาย เพราะเป็นผู้ถูกวิจิกิจฉานั้นกั้นไว้
    เพราะเหตุนั้น วิจิกิจฉา จึงชื่อว่าเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก

    ญาณ เป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยเจ้าทั้งหลาย
    และพระอริยเจ้าทั้งหลายย่อมนำออกด้วยญาณนั้น

    อวิชชา เป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก และบุคคลย่อมไม่รู้จักญาณ
    อันเป็นธรรมเครื่องนำออก ของพระอริยเจ้าทั้งหลาย เพราะเป็นผู้ถูกอวิชชานั้นกั้นไว้
    เพราะเหตุนั้น อวิชชา จึงชื่อว่าเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก

    ความปราโมทย์ เป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยเจ้าทั้งหลาย
    และพระอริยเจ้าทั้งหลาย ย่อมนำออกด้วยความปราโมทย์นั้น

    อรติ เป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก และบุคคลย่อมไม่รู้จักความปราโมทย์
    อันเป็นธรรมเครื่องนำออก ของพระอริยเจ้าทั้งหลาย เพราะเป็นผู้ถูกอรตินั้นกั้นไว้
    เพราะเหตุนั้น อรติ จึงชื่อว่าเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก

    กุศลธรรมแม้ทั้งปวง ก็เป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยเจ้าทั้งหลาย
    และพระอริยเจ้าทั้งหลาย ย่อมนำออกด้วยกุศลธรรมเหล่านั้น

    อกุศลธรรมแม้ทั้งปวง ก็เป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก และบุคคลย่อมไม่รู้จักกุศลธรรม
    อันเป็นธรรมเครื่องนำออก ของพระอริยเจ้าทั้งหลาย เพราะเป็นผู้ถูกอกุศลธรรมเหล่านั้นกั้นไว้
    เพราะเหตุนั้น อกุศลธรรมแม้ทั้งปวง จึงชื่อว่าเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก

    ก็แลเมื่อพระโยคาวจรผู้มีจิตหมดจดจากนิวรณ์เหล่านี้
    เจริญสมาธิอันปฏิสังยุตด้วยอานาปาณสติมีวัตถุ ๑๖
    ความที่จิตตั้งมั่นเป็นไปชั่วขณะย่อมมีได้ ฯ

    [๓๖๖] อุปกิเลส ๑๘ เป็นไฉน ย่อมเกิดขึ้น ฯ

    เมื่อบุคคลใช้สติไปตามเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดแห่งลมหายใจออก
    จิตถึงความฟุ้งซ่านในภายใน ย่อมเป็นอันตรายแก่สมาธิ

    เมื่อบุคคลใช้สติไปตามเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดแห่งลมหายใจเข้า
    จิตถึงความฟุ้งซ่านในภายนอก ย่อมเป็นอันตรายแก่สมาธิ

    ความปรารถนา ความพอใจลมหายใจออก การเที่ยวไปด้วยตัณหา เป็นอันตรายแก่สมาธิ

    ความปรารถนา ความพอใจลมหายใจเข้า การเที่ยวไปด้วยตัณหา เป็นอันตรายแก่สมาธิ

    ความหลงในการได้ลมหายใจเข้า แห่งบุคคลผู้ถูกลมหายใจออกเข้าครอบงำ ย่อมเป็นอันตรายแก่สมาธิ

    ความหลงในการได้ลมหายใจออก แห่งบุคคลผู้ถูกลมหายใจเข้าครอบงำ ย่อมเป็นอันตรายแก่สมาธิ ฯ

    สติที่ไปตามลมหายใจออก ที่ไปตามลมหายใจเข้า ที่ฟุ้งซ่าน
    ในภายใน ที่ฟุ้งซ่านในภายนอก ความปรารถนาลมหายใจออก
    และความปรารถนาลมหายใจเข้า อุปกิเลส ๖ ประการนี้ เป็น
    อันตรายแก่สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปาณสติ อุปกิเลส
    เหล่านั้น ถ้าจิตของบุคคลผู้หวั่นไหว ย่อมเป็นเครื่องไม่ให้
    หลุดพ้นไป และเป็นเหตุไม่ให้รู้ชัดซึ่งวิโมกข์ ให้ถึงความ
    เชื่อต่อผู้อื่น ฉะนี้แล ฯ

    [๓๖๗] เมื่อพระโยคาวจรคำนึงถึงนิมิต จิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจออก นี้เป็นอันตรายแก่สมาธิ
    เมื่อพระโยคาวจรคำนึงถึงลมหายใจออก จิตกวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต นี้เป็นอันตรายแก่สมาธิ
    เมื่อพระโยคาวจรคำนึงถึงนิมิต จิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจเข้า นี้เป็นอันตรายแก่สมาธิ
    เมื่อพระโยคาวจรคำนึงถึงลมหายใจเข้า จิตกวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต นี้เป็นอันตรายแก่สมาธิ
    เมื่อพระโยคาวจรคำนึงถึงลมหายใจออก จิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจเข้า นี้เป็นอันตรายแก่สมาธิ
    เมื่อพระโยคาวจรคำนึงถึงลมหายใจเข้า จิตแกว่งอยู่ที่ลมหายใจออก นี้เป็นอันตรายแก่สมาธิ ฯ

    เมื่อคำนึงถึงนิมิต ใจกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจออก เมื่อ
    คำนึงถึงลมหายใจออก จิตกวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต เมื่อคำนึง
    ถึงนิมิต ใจกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจเข้า เมื่อคำนึงถึงลม
    หายใจเข้า จิตกวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต เมื่อคำนึงถึงลมหายใจ
    ออก ใจกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจเข้า เมื่อคำนึงถึงลมหายใจ
    เข้า จิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจออก อุปกิเลส ๖ ประการ
    นี้
    เป็นอันตรายแก่สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปาณสติ อุป-
    *กิเลสเหล่านั้น ถ้าจิตของบุคคลผู้หวั่นไหว ย่อมเป็น
    เครื่องไม่ให้หลุดพ้นไป และเป็นเหตุไม่ให้รู้ชัดซึ่งวิโมกข์
    ให้ถึงความเชื่อต่อผู้อื่น ฉะนี้แล ฯ

    จิตที่แล่นไปตามอตีตารมณ์ ตกไปข้างฝ่ายฟุ้งซ่าน ย่อมเป็นอันตรายแก่สมาธิ
    จิตที่ปรารถนาอนาคตารมณ์ ถึงความฟุ้งซ่าน ย่อมเป็นอันตรายแก่สมาธิ
    จิตที่หดหู่ ตกไปข้างฝ่ายเกียจคร้าน ย่อมเป็นอันตรายแก่สมาธิ
    จิตที่ถือจัด ตกไปข้างฝ่ายฟุ้งซ่าน ย่อมเป็นอันตรายแก่สมาธิ
    จิตที่รู้เกินไป ตกไปข้างฝ่ายความกำหนัด ย่อมเป็นอันตรายแก่สมาธิ
    จิตที่ไม่รู้ ตกไปข้างฝ่ายพยาบาท ย่อมเป็นอันตรายแก่สมาธิ ฯ

    [๓๖๘] จิตที่แล่นไปตามอตีตารมณ์ ที่ปรารถนาอนาคตารมณ์ จิตที่
    หดหู่ ที่ถือจัด ที่รู้เกินไป ที่ไม่รู้ ย่อมไม่ตั้งมั่น อุปกิเลส
    ๖ ประการนี้
    เป็นอันตรายแก่สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานา-
    ปาณสติ อุปกิเลสเหล่านั้นย่อมเป็นเหตุให้บุคคลผู้มีความ
    ดำริเศร้าหมอง ไม่รู้ชัดซึ่งอธิจิต ฉะนี้แล ฯ

    [๓๖๙] เมื่อพระโยคาวจรใช้สติไปตามเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดแห่งลมหายใจออก
    กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะจิตถึงความฟุ้งซ่าน ณ ภายใน

    เมื่อพระโยคาวจรใช้สติไปตามเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดแห่งลมหายใจเข้า
    กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะจิตถึงความฟุ้งซ่าน ณ ภายนอก

    กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะความปรารถนา
    เพราะความพอใจลมหายใจออก เพราะความเที่ยวไปด้วยตัณหา

    กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะความปรารถนา
    เพราะความพอใจลมหายใจเข้า เพราะความเที่ยวไปด้วยตัณหา

    กายและจิตย่อมมีความปรารถนา หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะความที่พระโยคาวจร
    ผู้ถูกลมหายใจออกครอบงำ เป็นผู้หลงใหลในการได้ลมหายใจเข้า

    กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะความที่พระโยคาวจร
    ผู้ถูกลมหายใจเข้าครอบงำ เป็นผู้หลงใหลในการได้ลมหายใจออก

    กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะความที่จิตของพระโยคาวจร
    ผู้คำนึงถึงนิมิต กวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจออก

    กายและจิตย่อมมีความปรารภหวั่นไหวและดิ้นรน เพราะความที่จิตของพระโยคาวจร
    ผู้คำนึงถึงลมหายใจออก กวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต

    กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะความที่จิตของพระโยคาวจร
    ผู้คำนึงถึงนิมิต กวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจเข้า

    กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะความที่จิตของพระโยคาวจร
    ผู้คำนึงถึงลมหายใจเข้า กวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต

    กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะความที่จิตของพระโยคาวจร
    ผู้คำนึงถึงลมหายใจออก กวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจเข้า

    กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะความที่จิตของพระโยคาวจร
    ผู้คำนึงถึงลมหายใจเข้า กวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจออก

    กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะจิตแล่นไปตามอตีตารมณ์
    ตกไปข้างฝ่ายความฟุ้งซ่าน

    กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะจิตหวังถึงอนาคตารมณ์ ถึงความกวัดแกว่ง

    กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะจิตหดหู่ ตกไปข้างฝ่ายเกียจคร้าน

    กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะจิตถือตัว ตกไปข้างฝ่ายอุทธัจจะ

    กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะจิตรู้เกินไป ตกไปข้างฝ่ายความกำหนัด

    กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะจิตไม่รู้ ตกไปข้างฝ่ายพยาบาท ฯ

    ผู้ใดไม่บำเพ็ญ ไม่เจริญอานาปาณสติ กายและจิตของผู้นั้น
    ย่อมหวั่นไหว ดิ้นรน ผู้ใดบำเพ็ญ เจริญอานาปาณสติดี
    กายและจิตของผู้นั้น ย่อมไม่หวั่นไหว ไม่ดิ้นรน ฉะนี้แล ฯ
    ก็และเมื่อพระโยคาวจร ผู้มีจิตหมดจดจากนิวรณ์เหล่านั้น เจริญ
    สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปาณสติมีวัตถุ ๑๖ ความที่จิตตั้งมั่นเป็นไปชั่วขณะ
    ย่อมมีได้ อุปกิเลส ๑๘ เหล่านี้ย่อมเกิดขึ้น ฯ

    [๓๗๐] ญาณในโวทาน ๑๓ เป็นไฉน ฯ
    จิตแล่นไปตามอตีตารมณ์ ตกไปข้างฝ่ายฟุ้งซ่าน พระโยคาวจรเว้นจิตนั้นเสีย
    ย่อมตั้งมั่นจิตนั้นไว้ในฐานหนึ่ง จิตย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่านแม้ด้วยอาการอย่างนี้

    จิตจำนงหวังอนาคตารมณ์ ถึงความกวัดแกว่ง พระโยคาวจรเว้นจิตนั้นเสีย
    น้อมจิตนั้นไปในฐานะนั้นแล จิตย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่านแม้ด้วยอาการอย่างนี้

    จิตหดหู่ ตกไปข้างฝ่ายความเกียจคร้าน พระโยคาวจรประคองจิตนั้นไว้แล้ว
    ละความเกียจคร้าน จิตย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่านแม้ด้วยอาการอย่างนี้

    จิตถือจัด ตกไปข้างฝ่ายอุทธัจจะ พระโยคาวจรข่มจิตนั้นเสีย
    แล้วละอุทธัจจะ จิตย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่านแม้ด้วยอาการอย่างนี้

    จิตรู้เกินไป ตกไปข้างฝ่ายความกำหนัด พระโยคาวจรผู้รู้ทันจิตนั้น
    ละความกำหนัดเสีย จิตย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่านแม้ด้วยอาการอย่างนี้

    จิตไม่รู้ ตกไปข้างฝ่ายความพยาบาท พระโยคาวจรเป็นผู้รู้ทันจิตนั้น
    ละความพยาบาทเสีย จิตย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่านแม้ด้วยอาการอย่างนี้

    จิตบริสุทธิ์ด้วยฐานะ ๖ ประการนี้ ย่อมขาวผ่อง ถึงความเป็นธรรมอย่างเดียว ฯ

    ...................

    ตรงนี้น่าศึกษาอ่านต่อ มหาวรรค อานาปาณกถา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 พฤศจิกายน 2012
  6. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561
    มหาวรรค อานาปาณกถา

    [๓๗๑] ความเป็นธรรมอย่างเดียวเหล่านั้นเป็นไฉน ฯ
    ความเป็นธรรมอย่างเดียวในความปรากฏแห่งการบริจาคทาน
    ความเป็นธรรมอย่างเดียวในความปรากฏแห่งสมถนิมิต
    ความเป็นธรรมอย่างเดียวในความปรากฏแห่งลักษณะความเสื่อม
    ความเป็นธรรมอย่างเดียวในความปรากฏแห่งนิโรธ

    ความเป็นธรรมอย่างเดียวในความปรากฏแห่งการบริจาคทาน ของบุคคลผู้น้อมใจไปในจาคะทั้งหลาย
    ความเป็นธรรมอย่างเดียวในความปรากฏแห่งสมถนิมิต ของบุคคลผู้หมั่นประกอบในอธิจิตทั้งหลาย
    ความเป็นธรรมอย่างเดียวในความปรากฏแห่งลักษณะความเสื่อม ของบุคคลผู้เจริญวิปัสสนาทั้งหลาย
    และความเป็นธรรมอย่างเดียวในความปรากฏแห่งนิโรธ ของพระอริยบุคคลทั้งหลาย

    จิตที่ถึงความเป็นธรรมอย่างเดียวในฐานะ ๔ เหล่านี้
    ย่อมเป็นจิตที่มีปฏิปทาวิสุทธิ ผ่องใส เจริญงอกงามด้วยอุเบกขา และถึงความร่าเริงด้วยญาณ ฯ

    [๓๗๒] อะไรเป็นเบื้องต้น เป็นท่ามกลาง เป็นที่สุด แห่งปฐมฌาน
    ความหมดจดแห่งปฏิปทาเป็นเบื้องต้น
    ความพอกพูนอุเบกขาเป็นท่ามกลาง
    ความร่าเริงเป็นที่สุดแห่งปฐมฌาน ฯ

    [๓๗๓] ความหมดจดแห่งปฏิปทาเป็นเบื้องต้นแห่งปฐมฌาน ลักษณะแห่งเบื้องต้นเท่าไร ฯ
    ลักษณะแห่งเบื้องต้น ๓ คือ จิตหมดจดจากอันตรายแห่งเบื้องต้นนั้น
    จิตดำเนินไปสู่สมถนิมิตอันเป็นท่ามกลาง เพราะเป็นจิตหมดจด จิตแล่นไปในสมถนิมิตนั้น เพราะเป็นจิตดำเนินไปแล้ว

    จิตหมดจดจากอันตราย ๑
    จิตดำเนินไปสู่สมถนิมิตอันเป็นท่ามกลาง เพราะเป็นจิตอันหมดจด ๑
    จิตแล่นไปในสมถนิมิต เพราะเป็นจิตดำเนินไปแล้ว ๑

    ความหมดจดแห่งปฏิปทาเป็นเบื้องต้นแห่งปฐมฌาน ลักษณะแห่งเบื้องต้น ๓ ประการเหล่านี้
    เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปฐมฌานเป็นฌานมีความงามในเบื้องต้น และถึงพร้อมด้วยลักษณะ ฯ

    [๓๗๔] ความพอกพูนอุเบกขาเป็นท่ามกลางแห่งปฐมฌาน ลักษณะแห่งท่ามกลางเท่าไร ฯ
    ลักษณะแห่งท่ามกลาง ๓ คือ จิตหมดจดวางเฉยอยู่ จิตดำเนินไปสู่สมถะวางเฉยอยู่
    จิตมีความปรากฏในความเป็นธรรมอย่างเดียววางเฉยอยู่

    จิตหมดจดวางเฉยอยู่ ๑
    จิตดำเนินไปสู่สมถะวางเฉย ๑
    จิตมีความปรากฏในความเป็นธรรมอย่างเดียววางเฉยอยู่ ๑

    ความพอกพูนอุเบกขาเป็นท่ามกลางแห่งปฐมฌาน ลักษณะแห่งปฐมฌาน ๓ ประการเหล่านี้
    เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่าปฐมฌาน เป็นฌานมีความงามในท่ามกลาง และถึงพร้อมด้วยลักษณะ ฯ

    [๓๗๕] ความร่าเริงเป็นที่สุดแห่งปฐมฌาน ลักษณะแห่งที่สุดเท่าไร ฯ
    ลักษณะแห่งที่สุด ๔ คือ
    ความร่าเริงด้วยอรรถว่า ธรรมทั้งหลาย ที่เกิดในปฐมฌานนั้น ไม่ล่วงเกินกัน ๑
    ความร่าเริงด้วยอรรถว่า อินทรีย์ทั้งหลาย มีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑
    ความร่าเริงด้วยอรรถว่า นำไปซึ่งความเพียร สมควรแก่ความที่ธรรมทั้งหลายไม่ล่วงเกินกัน
    และความที่อินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑
    ความร่าเริงด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ ๑

    ความร่าเริงเป็นที่สุดแห่งปฐมฌาน ลักษณะแห่งที่สุด ๔ ประการเหล่านี้
    เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปฐมฌานมีความงามในที่สุด และถึงพร้อมด้วยลักษณะ
    จิตอันถึง ความเป็นไป ๓ ประการ มีความงาม ๓ อย่าง
    ถึงพร้อมด้วยลักษณะ ๑๐ ประการอย่างนี้ ย่อมเป็นจิตถึงพร้อมด้วย
    วิตก วิจาร ปีติ สุข การอธิษฐานจิต ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และถึงพร้อมด้วยปัญญา ฯ

    [๓๗๖] อะไรเป็นเบื้องต้น เป็นท่ามกลาง เป็นที่สุดแห่งทุติยฌาน ฯ
    ความหมดจดแห่งปฏิปทาเป็นเบื้องต้น ความพอกพูนอุเบกขา เป็น
    ท่ามกลาง ความร่าเริงเป็นที่สุดแห่งทุติยฌาน ฯลฯ
    จิตอันถึงความเป็นไป ๓ ประการ มีความงาม ๓ อย่าง ถึงพร้อมด้วยลักษณะ ๑๐ ประการอย่างนี้
    ย่อมเป็นจิตถึงพร้อมด้วยวิจาร ปีติ ... และถึงพร้อมด้วยปัญญา ฯ

    [๓๗๗] อะไรเป็นเบื้องต้น เป็นท่ามกลาง เป็นที่สุด แห่งตติยฌาน ฯลฯ
    จิตอันถึงความเป็นไป ๓ ประการ มีความงาม ๓ อย่าง ถึงพร้อมด้วยลักษณะ๑๐ ประการอย่างนี้
    ย่อมเป็นจิตถึงพร้อมด้วยปีติ สุข ... และถึงพร้อมด้วยปัญญา ฯ

    [๓๗๘] อะไรเป็นเบื้องต้น เป็นท่ามกลาง เป็นที่สุดแห่งจตุตถฌาน ฯลฯ
    จิตอันถึงความเป็นไป ๓ ประการ ถึงพร้อมด้วยลักษณะ ๑๐ ประการอย่างนี้
    ย่อมเป็นจิตถึงพร้อมด้วย อุเบกขา การอธิษฐานจิต ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ
    และถึงพร้อมด้วยปัญญา ฯ

    [๓๗๙] อะไรเป็นเบื้องต้น เป็นท่ามกลาง เป็นที่สุดแห่งอากาสา-
    *นัญจายตนสมาบัติ วิญญาณัญจายตนสมาบัติ อากิญจัญญายตนสมาบัติ
    เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ฯลฯ จิตอันถึงความเป็นไป ๓ ประการ มี
    ความงาม ๓ อย่าง ถึงพร้อมด้วยลักษณะ ๑๐ ประการอย่างนี้ ย่อมเป็นจิตถึง
    พร้อมด้วยอุเบกขา การอธิษฐานจิต ฯลฯ และถึงพร้อมด้วยปัญญา ฯ

    [๓๘๐] อะไรเป็นเบื้องต้น เป็นท่ามกลาง เป็นที่สุดแห่งอนิจจา-
    *นุปัสนา ฯลฯ จิตอันถึงความเป็นไป ๓ ประการ มีความงาม ๓ อย่าง อย่างนี้
    ย่อมเป็นจิตถึงพร้อมด้วยลักษณะ ๑๐ ประการ ถึงพร้อมด้วยวิจาร ... และถึง
    พร้อมด้วยปัญญา ฯ

    อะไรเป็นเบื้องต้น เป็นท่ามกลาง เป็นที่สุดแห่งทุกขานุปัสนา อนัตตา-
    *นุปัสนา นิพพิทานุปัสนา วิราคานุปัสนา นิโรธานุปัสนา ปฏินิสสัคคานุปัสนา
    ขยานุปัสนา วยานุปัสนา วิปริณามานุปัสนา อนิมิตตานุปัสนา อัปปณิหิตา-
    *นุปัสนา สุญญตานุปัสนา อธิปัญญา ธรรมวิปัสสนา ยถาภูตญาณทัสสนะ
    อาทีนวานุปัสนา ปฏิสังขานุปัสนา วิวัฏฏนานุปัสนา โสดาปัตติมรรค
    สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค ฯลฯ
     
  7. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561
    มหาวรรค อินทรียกถา

    [๔๒๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่าน
    อนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก
    ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการ
    เป็นไฉน คือ สัทธินทรีย์ ๑ วิริยินทรีย์ ๑ สตินทรีย์ ๑ สมาธินทรีย์ ๑
    ปัญญินทรีย์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล ฯ

    [๔๒๔] อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ย่อมหมดจดด้วยอาการเท่าไร ฯ
    อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ย่อมหมดจดด้วยอาการ ๑๕

    เมื่อบุคคลงดเว้นพวกบุคคลผู้ไม่มีศรัทธา สมาคม คบหา นั่งใกล้พวกบุคคลผู้มีศรัทธา (และ)
    พิจารณาพระสูตรอันเป็นเหตุนำมาซึ่งความเลื่อมใส สัทธินทรีย์ย่อมหมดจดด้วย อาการ ๓ เหล่านี้

    เมื่อบุคคลงดเว้นพวกบุคคลผู้เกียจคร้าน สมาคม คบหา นั่งใกล้พวกบุคคลผู้ปรารภความเพียร (และ)
    พิจารณาสัมมัปปธาน วิริยินทรีย์ ย่อมหมดจดด้วยอาการ ๓ เหล่านี้

    เมื่อบุคคลงดเว้นพวกบุคคลผู้มีสติหลงลืม สมาคม คบหา นั่งใกล้พวกบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น (และ)
    พิจารณาสติปัฏฐาน สตินทรีย์ย่อมหมดจดด้วยอาการ ๓ เหล่านี้

    เมื่อบุคคลงดเว้นพวกบุคคลผู้มีใจไม่มั่นคง สมาคม คบหา นั่งใกล้พวกบุคคลมีใจมั่นคง (และ)
    พิจารณาฌานและวิโมกข์ สมาธินทรีย์ ย่อมหมดจดด้วยอาการ ๓ เหล่านี้

    เมื่อบุคคลงดเว้นพวกบุคคลทราม ปัญญา สมาคม คบหา นั่งใกล้พวกบุคคลผู้มีปัญญา (และ)
    พิจารณาญาณจริยา อันลึกซึ้ง ปัญญินทรีย์ย่อมหมดจดด้วยอาการ ๓ เหล่านี้

    เมื่อบุคคลงดเว้น ๕จำพวก สมาคม คบหา นั่งใกล้บุคคล ๕ จำพวก (และ)
    พิจารณาจำนวนพระสูตร ๕ ประการดังกล่าวมานี้
    อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ย่อมหมดจดด้วยอาการ ๑๕ เหล่านี้ ฯ

    [๔๒๕] บุคคลย่อมเจริญอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการเท่าไร การเจริญ
    อินทรีย์ ๕ ย่อมมีด้วยอาการเท่าไร ฯ
    บุคคลย่อมเจริญอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๑๐ การเจริญอินทรีย์ ๕ ย่อมมีด้วย
    อาการ ๑๐ บุคคลเมื่อละความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ชื่อว่าเจริญสัทธินทรีย์ เมื่อเจริญ
    สัทธินทรีย์ ชื่อว่าละความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา เมื่อละความเป็นผู้เกียจคร้าน ชื่อว่าเจริญ
    วิริยินทรีย์ เมื่อเจริญวิริยินทรีย์ชื่อว่าละความเป็นผู้เกียจคร้าน เมื่อละความประมาท
    ชื่อว่าเจริญสตินทรีย์ เมื่อเจริญสตินทรีย์ ชื่อว่าละความประมาท เมื่อละอุทธัจจะ ชื่อว่า
    เจริญสมาธินทรีย์ เมื่อเจริญสมาธินทรีย์ ชื่อว่าละอุทธัจจะ เมื่อละอวิชชา ชื่อว่า
    เจริญปัญญินทรีย์ เมื่อเจริญปัญญินทรีย์ ชื่อว่าละอวิชชา บุคคลย่อมเจริญ
    อินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๑๐ เหล่านี้ การเจริญอินทรีย์ ๕ ย่อมมีด้วยอาการ ๑๐
    เหล่านี้ ฯ

    [๔๒๖] อินทรีย์ ๕ เป็นอินทรีย์อันบุคคลเจริญแล้ว อบรมแล้วด้วย
    อาการเท่าไร ฯ
    อินทรีย์ ๕ เป็นอินทรีย์อันบุคคลเจริญแล้ว อบรมแล้วด้วยอาการ ๑๐
    คือ สัทธินทรีย์เป็นคุณชาติอันบุคคลเจริญแล้ว อบรมแล้ว เพราะเป็นผู้ละแล้ว
    ละดีแล้วซึ่งอสัทธินทรีย์ ความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา เป็นโทสชาติอันบุคคลละแล้ว
    ละดีแล้ว เพราะความเป็นผู้เจริญแล้ว อบรมแล้วซึ่งสัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์เป็น
    คุณชาติอันบุคคลเจริญแล้ว อบรมแล้ว เพราะความเป็นผู้ละแล้ว ละดีแล้วซึ่งความ
    เกียจคร้าน ความเป็นผู้เกียจคร้านเป็นโทสชาติอันบุคคลละแล้ว ละดีแล้ว
    เพราะความเป็นผู้เจริญแล้ว อบรมแล้วซึ่งวิริยินทรีย์ สตินทรีย์เป็นคุณชาติ
    อันบุคคลเจริญแล้ว อบรมแล้ว เพราะความเป็นผู้ละแล้ว ละดีแล้วซึ่งความ
    ประมาท ความประมาทเป็นโทสชาติอันบุคคลละแล้ว ละดีแล้ว เพราะความเป็น
    ผู้เจริญแล้ว อบรมแล้วซึ่งสตินทรีย์ สมาธินทรีย์เป็นคุณชาติอันบุคคลเจริญแล้ว
    อบรมแล้ว เพราะความเป็นผู้ละแล้ว ละดีแล้วซึ่งอุทธัจจะ อุทธัจจะเป็นโทสชาติ
    อันบุคคลละแล้ว ละดีแล้ว เพราะความเป็นผู้เจริญแล้ว อบรมแล้วซึ่งสมาธินทรีย์
    ปัญญินทรีย์เป็นคุณชาติอันบุคคลเจริญแล้ว อบรมแล้ว เพราะความเป็นผู้ละแล้ว
    ละดีแล้วซึ่งอวิชชา อวิชชาเป็นโทสชาติอันบุคคลละแล้ว ละดีแล้ว เพราะความ
    เป็นผู้เจริญแล้ว อบรมแล้วซึ่งปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ เป็นอินทรีย์อันบุคคลเจริญ
    แล้ว อบรมแล้วด้วยอาการ ๑๐ เหล่านี้ ฯ

    [๔๒๗] อินทรีย์ บุคคลย่อมเจริญด้วยอาการเท่าไร เป็นอินทรีย์อัน
    บุคคลเจริญแล้ว อบรมแล้ว ระงับแล้ว และระงับดีแล้ว ด้วยอาการเท่าไร ฯ
    อินทรีย์ ๕ บุคคลย่อมเจริญด้วยอาการ ๔ เป็นอินทรีย์อันบุคคลเจริญ
    แล้ว อบรมแล้ว ระงับแล้ว และระงับดีแล้วด้วยอาการ ๔ อินทรีย์ ๕ บุคคล
    ย่อมเจริญในขณะโสดาปัตติมรรคเป็นอินทรีย์ อันบุคคลเจริญแล้ว อบรมแล้ว
    ระงับแล้ว และระงับดีแล้วในขณะโสดาปัตติผล อินทรีย์ ๕ บุคคลย่อมเจริญใน
    ขณะสกทาคามิมรรค เป็นอินทรีย์อันบุคคลเจริญแล้ว อบรมแล้ว ระงับแล้ว
    และระงับดีแล้วในขณะสกทาคามิผล อินทรีย์ ๕ บุคคลย่อมเจริญในขณะอนาคามิ
    มรรค เป็นอินทรีย์อันบุคคลเจริญแล้ว อบรมแล้ว ระงับแล้ว และระงับดี
    แล้วในอนาคามิผล อินทรีย์ ๕ บุคคลย่อมเจริญในขณะอรหัตมรรค เป็นอินทรีย์
    อันบุคคลเจริญแล้ว อบรมแล้ว ระงับแล้ว และระงับดีแล้วในขณะอรหัตผล ฯ
    มรรควิสุทธิ ๔ ผลวิสุทธิ ๔ สมุจเฉทวิสุทธิ ๔ ปฏิปัสสัทธิวิสุทธิ ๔
    ด้วยประการดังนี้ อินทรีย์ ๕ บุคคลย่อมเจริญด้วยอาการ ๔ เหล่านี้ เป็นอินทรีย์
    อันบุคคลเจริญแล้ว อบรมแล้ว ระงับแล้ว และระงับดีแล้วด้วยอาการ ๔ เหล่า
    นี้ ฯ

    [๔๒๘] บุคคลเท่าไรเจริญอินทรีย์ บุคคลเท่าไรเจริญอินทรีย์แล้ว
    บุคคล ๘ เจริญอินทรีย์ บุคคล ๓ เจริญอินทรีย์แล้ว ฯ
    บุคคล ๘ เป็นไฉนเจริญอินทรีย์ พระเสขบุคคล ๗ กัลยาณปุถุชน ๑
    บุคคล ๘ เหล่านี้เจริญอินทรีย์ ฯ
    บุคคล ๓ เป็นไฉนเจริญอินทรีย์แล้ว พระขีณาสพสาวกพระตถาคต
    ชื่อว่าพุทโธ ด้วยสามารถความเป็นผู้เจริญอินทรีย์แล้ว ชื่อว่าเจริญอินทรีย์แล้ว
    พระปัจเจกพุทธะ ชื่อว่าพุทโธ ด้วยอรรถว่าตรัสรู้เอง ชื่อว่าเจริญอินทรีย์แล้ว
    พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ชื่อว่าพุทโธ ด้วยอรรถว่ามีพระคุณประมาณ
    ไม่ได้ ชื่อว่าเจริญอินทรีย์แล้ว บุคคล ๓ เหล่านี้เจริญอินทรีย์แล้ว บุคคล ๘
    เหล่านี้เจริญอินทรีย์ บุคคล ๓ เหล่านี้เจริญอินทรีย์แล้ว ด้วยประการดังนี้ ฯ

    (ต่อ)มหาวรรค อินทรียกถา

    http://palungjit.org/forums/พระไตรปิฎก-เสียงอ่าน.89/
     
  8. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  9. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  11. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561
    อัสสัทธมูลกสูตรที่ ๑
    [๓๗๓] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน
    อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก
    ภิกษุทั้งหลาย ... แล้วได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายย่อมคบค้ากัน
    ย่อมสมาคมกัน โดยธาตุเทียว คือสัตว์จำพวกที่ไม่มีศรัทธา ย่อมคบค้ากัน ย่อม
    สมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่ไม่มีศรัทธา สัตว์จำพวกที่ไม่มีหิริ ย่อมคบค้ากัน
    ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่ไม่มีหิริ สัตว์จำพวกที่ไม่มีโอตตัปปะ ย่อม
    คบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่ไม่มีโอตตัปปะ สัตว์จำพวกที่มีสุตะ
    น้อย ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีสุตะน้อย สัตว์จำพวก
    ที่เกียจคร้าน ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่เกียจคร้าน
    สัตว์จำพวกที่มีสติหลงลืม ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มี
    สติหลงลืม สัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับ
    สัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม แม้ในอดีตกาล ... แม้ในอนาคตกาล ... แม้ใน
    ปัจจุบันกาล สัตว์ทั้งหลายก็ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันโดยธาตุเทียว คือสัตว์
    จำพวกที่ไม่มีศรัทธา ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่ไม่มีศรัทธา
    สัตว์จำพวกที่ไม่มีหิริ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่ไม่มีหิริ
    สัตว์จำพวกที่ไม่มีโอตตัปปะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่
    ไม่มีโอตตัปปะ สัตว์จำพวกที่มีสุตะน้อย ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับ
    สัตว์จำพวกที่มีสุตะน้อย สัตว์จำพวกที่เกียจคร้าน ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคม
    กัน กับสัตว์จำพวกที่เกียจคร้าน สัตว์จำพวกที่มีสติหลงลืม ย่อมคบค้ากัน ย่อม
    สมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีสติหลงลืม สัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม ย่อมคบค้า
    กัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม ฯ

    [๓๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายย่อมคบค้ากัน ย่อม
    สมาคมกัน โดยธาตุเทียว คือสัตว์จำพวกที่มีศรัทธา ย่อมคบค้ากัน ย่อม
    สมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีศรัทธา สัตว์จำพวกที่มีหิริ ย่อมคบค้ากัน ย่อม
    สมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีหิริ สัตว์จำพวกที่มีโอตตัปปะ ย่อมคบค้ากัน
    ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีโอตตัปปะ สัตว์จำพวกที่มีสุตะมาก ย่อม
    คบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีสุตะมาก สัตว์จำพวกที่ปรารภความ
    เพียร ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่ปรารภความเพียร สัตว์
    จำพวกที่มีสติมั่นคง ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวก
    ที่มีสติมั่นคง สัตว์จำพวกที่มีปัญญา ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับ
    สัตว์จำพวกที่มีปัญญา แม้ในอดีตกาล ... แม้ในอนาคตกาล ... แม้ในปัจจุบันกาล
    สัตว์ทั้งหลายก็ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน โดยธาตุเทียว คือสัตว์จำพวกที่มี
    ศรัทธา ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีศรัทธา สัตว์จำพวก
    ที่มีหิริ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีหิริ สัตว์จำพวกที่มี
    โอตตัปปะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีโอตตัปปะ สัตว์
    จำพวกที่มีสุตะมาก ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีสุตะมาก
    สัตว์จำพวกที่ปรารภความเพียร ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวก
    ที่ปรารภความเพียร สัตว์จำพวกที่มีสติมั่นคง ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับ
    สัตว์จำพวกที่มีสติมั่นคง สัตว์จำพวกที่มีปัญญา ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน
    กับสัตว์จำพวกที่มีปัญญา ฯ

    จบ สูตร

    อัสสัทธมูลกสูตรที่ ๑

    อรรถกถา อัสสัทธมูลกสูตรที่ ๑
     
  13. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561
    อัสสัทธมูลกสูตรที่ ๒

    [๓๗๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน
    อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก
    ภิกษุทั้งหลาย ... แล้วได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายย่อมคบค้ากัน
    ย่อมสมาคมกัน โดยธาตุเทียว คือสัตว์จำพวกที่ไม่มีศรัทธา ย่อมคบค้ากัน ย่อม
    สมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่ไม่มีศรัทธา สัตว์จำพวกที่ไม่มีหิริ ย่อมคบค้ากัน ย่อม
    สมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่ไม่มีหิริ สัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม ย่อมคบค้ากัน
    ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม สัตว์จำพวกที่มีศรัทธา ย่อมคบ
    ค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีศรัทธา สัตว์จำพวกที่มีหิริ ย่อมคบค้า
    กัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีหิริ สัตว์จำพวกที่มีปัญญา ย่อมคบค้ากัน
    ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีปัญญา แม้ในอดีตกาล ... ในอนาคตกาล ...
    แม้ในปัจจุบันกาล สัตว์ทั้งหลายก็ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน โดยธาตุเทียว
    คือสัตว์จำพวกที่ไม่มีศรัทธา ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่ไม่มี
    ศรัทธา สัตว์จำพวกที่ไม่มีหิริ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่ไม่มี
    หิริ สัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มี
    ปัญญาทราม สัตว์จำพวกที่มีศรัทธา ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์
    จำพวกที่มีศรัทธา สัตว์จำพวกที่มีหิริ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์
    จำพวกที่มีหิริ สัตว์จำพวกที่มีปัญญา ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์
    จำพวกที่มีปัญญา ฯ

    [๓๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน
    โดยธาตุเทียว คือสัตว์จำพวกที่ไม่มีศรัทธา ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับ
    สัตว์จำพวกที่ไม่มีศรัทธา สัตว์จำพวกที่ไม่มีโอตตัปปะ ย่อมคบค้ากัน ย่อม
    สมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่ไม่มีโอตตัปปะ สัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม ย่อม
    คบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม สัตว์จำพวกที่มีศรัทธา
    ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีศรัทธา สัตว์จำพวกที่มี
    โอตตัปปะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีโอตตัปปะ สัตว์
    จำพวกที่มีปัญญา ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีปัญญา ฯ

    [๓๗๗] สัตว์จำพวกที่ไม่มีศรัทธา ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับ
    สัตว์จำพวกที่ไม่มีศรัทธา สัตว์จำพวกที่มีสุตะน้อย ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคม
    กัน กับสัตว์จำพวกที่มีสุตะน้อย สัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม ย่อมคบค้ากัน ย่อม
    สมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม สัตว์จำพวกที่มีศรัทธา ย่อมคบค้ากัน
    ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีศรัทธา สัตว์จำพวกที่มีสุตะมาก ย่อมคบค้ากัน
    ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีสุตะมาก สัตว์จำพวกที่มีปัญญา ย่อมคบค้า
    กัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีปัญญา ฯ

    [๓๗๘] สัตว์จำพวกที่ไม่มีศรัทธา ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับ
    สัตว์จำพวกที่ไม่มีศรัทธา สัตว์จำพวกที่เกียจคร้าน ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคม
    กัน กับสัตว์จำพวกที่เกียจคร้าน สัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม ย่อมคบค้ากัน
    ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม สัตว์จำพวกที่มีศรัทธา ย่อมคบ
    ค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีศรัทธา สัตว์จำพวกที่ปรารภความเพียร
    ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่ปรารภความเพียร สัตว์จำพวก
    ที่มีปัญญา ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีปัญญา ฯ

    [๓๗๙] สัตว์จำพวกที่ไม่มีศรัทธา ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน
    กับสัตว์จำพวกที่ไม่มีศรัทธา สัตว์จำพวกที่มีสติหลงลืม ย่อมคบค้ากัน ย่อม
    สมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีสติหลงลืม สัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม ย่อมคบค้า
    กัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม สัตว์จำพวกที่มีศรัทธา ย่อม
    คบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีศรัทธา สัตว์จำพวกที่มีสติมั่นคง
    ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีสติมั่นคง สัตว์จำพวกที่มีปัญญา
    ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีปัญญา ฯ

    จบสูตร

    อัสสัทธมูลกสูตรที่ ๒

    อรรถกถา อัสสัทธมูลกสูตรที่ ๒
     
  14. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561
    สตาปารัทธสูตร

    [๓๖๘] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน
    อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัส
    เรียกภิกษุทั้งหลาย ... แล้วได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายย่อมคบค้า
    กัน ย่อมสมาคมกัน โดยธาตุเทียว คือสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยเลว ย่อม
    คบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยเลว แม้ในอดีตกาล ...
    แม้ในอนาคตกาล ... แม้ในปัจจุบันกาล สัตว์ทั้งหลายก็ย่อมคบค้ากัน ย่อม
    สมาคมกัน โดยธาตุเทียว คือสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยเลว ย่อมคบค้ากัน ย่อม
    สมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยเลว ฯ

    [๓๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย คูถกับคูถย่อมเข้ากันได้ ร่วมกันได้ มูตร
    กับมูตรย่อมเข้ากันได้ ร่วมกันได้ เขฬะกับเขฬะย่อมเข้ากันได้ ร่วมกันได้
    บุพโพกับบุพโพย่อมเข้ากันได้ ร่วมกันได้ โลหิตกับโลหิตย่อมเข้ากันได้ ร่วม
    กันได้ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายก็ฉันนั้นแล ย่อมคบค้ากัน
    ย่อมสมาคมกัน โดยธาตุเทียว คือสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยเลว ย่อมคบค้ากัน
    ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยเลว แม้ในอดีตกาล ... แม้ในอนาคต
    กาล ... แม้ในปัจจุบันกาล สัตว์ทั้งหลายก็ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน โดย
    ธาตุเทียว คือสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยเลว ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับ
    สัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยเลว

    [๓๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน
    โดยธาตุเทียว คือสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดี ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคม กับสัตว์
    จำพวกที่มีอัธยาศัยดี แม้ในอดีตกาล ... แม้ในอนาคตกาล ... แม้ในปัจจุบันกาล สัตว์
    ทั้งหลายก็ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน โดยธาตุเทียว คือสัตว์จำพวกที่มี
    อัธยาศัยดี ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดี ฯ

    [๓๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย น้ำนมสดกับน้ำนมสดย่อมเข้ากันได้ ร่วม
    กันได้ น้ำมันกับน้ำมันย่อมเข้ากันได้ ร่วมกันได้ เนยใสกับเนยใสย่อมเข้ากันได้
    ร่วมกันได้ น้ำผึ้งกับน้ำผึ้งย่อมเข้ากันได้ ร่วมกันได้ น้ำอ้อยกับน้ำอ้อยย่อมเข้ากัน
    ได้ ร่วมกันได้ แม้ฉันใด สัตว์ทั้งหลายก็ฉันนั้นแล ย่อมคบค้ากัน ย่อม
    สมาคมกัน โดยธาตุเทียว คือสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดี ย่อมคบค้ากัน ย่อม
    สมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดี แม้ในอดีตกาล ... แม้ในอนาคตกาล ...
    แม้ในปัจจุบันกาล สัตว์ทั้งหลายก็ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน โดยธาตุเทียว
    คือสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดี ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวก
    ที่มีอัธยาศัยดี ฯ

    [๓๗๒] พระผู้มีพระภาค ผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้
    จบลงแล้ว จึงตรัสพระคาถาประพันธ์ต่อไปว่า ฯ
    กิเลสเพียงดังหมู่ไม้ในป่า เกิดขึ้น เพราะการคบค้าสมาคม
    ย่อมขาด เพราะไม่คบค้าสมาคม คนเกาะท่อนไม้เล็กๆ
    พึงจมลงในห้วงมหรรณพ ฉันใด แม้สาธุชนก็ย่อมจมลง
    เพราะอาศัยคนเกียจคร้าน ฉันนั้น เพราะฉะนั้น พึงเว้นคน
    เกียจคร้าน มีความเพียรเลวนั้นเสีย พึงอยู่ร่วมกับบัณฑิตผู้
    สงัด ผู้เป็นอริยะ ผู้มีใจสูง ผู้เพ่งพินิจ ผู้ปรารภความเพียร
    เป็นนิตย์ ฯ
    จบ สูตร

    สตาปารัทธสูตร
     
  15. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561
    ปัญจสิกขาปทสูตร

    [๓๙๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้-
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน
    อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก
    ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า
    พระเจ้าข้า ฯ

    [๓๙๓] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย
    ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน โดยธาตุเทียว คือ พวกทำปาณาติบาต ย่อมคบค้า
    กัน ย่อมสมาคมกัน กับพวกทำปาณาติบาต พวกทำอทินนาทาน ย่อมคบค้ากัน
    ย่อมสมาคมกัน กับพวกทำอทินนาทาน พวกทำกาเมสุมิจฉาจาร ย่อมคบค้ากัน
    ย่อมสมาคมกัน กับพวกทำกาเมสุมิจฉาจาร พวกมุสาวาท ย่อมคบค้ากัน ย่อม
    สมาคมกัน กับพวกมุสาวาท พวกดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความ
    ประมาท ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับพวกดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอัน
    เป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ฯ

    [๓๙๔] พวกเว้นขาดจากปาณาติบาต ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน
    กับพวกเว้นขาดจากปาณาติบาต พวกเว้นขาดจากอทินนาทาน ย่อมคบค้ากัน ย่อม
    สมาคมกัน กับพวกเว้นขาดจากอทินนาทาน พวกเว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร ย่อม
    คบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับพวกเว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร พวกเว้นขาดจาก
    มุสาวาท ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับพวกเว้นขาดจากมุสาวาท พวกเว้น
    ขาดจากดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ย่อมคบค้ากัน
    ย่อมสมาคมกัน กับพวกเว้นขาดจากดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่แห่งความ
    ประมาท ฯ

    จบสูตร

    ปัญจสิกขาปทสูตร
     
  16. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561
    อัฏฐังคิกสูตร

    [๓๙๙] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ
    บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุ
    ทั้งหลาย ... แล้วได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย ย่อมคบค้ากัน ย่อม
    สมาคมกัน โดยธาตุเทียว คือพวกมิจฉาทิฐิ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน
    กับพวกมิจฉาทิฐิ พวกมิจฉาสังกัปปะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับพวก
    มิจฉาสังกัปปะ พวกมิจฉาวาจา ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับพวกมิจฉา
    วาจา พวกมิจฉากัมมันตะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับพวกมิจฉากัมมันตะ
    พวกมิจฉาอาชีวะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับพวกมิจฉาอาชีวะ พวก
    มิจฉาวายามะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับพวกมิจฉาวายามะ พวกมิจฉา
    สติ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับพวกมิจฉาสติ พวกมิจฉาสมาธิ ย่อม
    คบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับพวกมิจฉาสมาธิ ฯ

    [๔๐๐] พวกสัมมาทิฐิ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับพวกสัมมา-
    *ทิฐิ พวกสัมมาสังกัปปะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับพวกสัมมาสังกัปปะ
    พวกสัมมาวาจา ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับพวกสัมมาวาจา พวกสัมมา
    กัมมันตะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับพวกสัมมากัมมันตะ พวกสัมมา
    อาชีวะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับพวกสัมมาอาชีวะ พวกสัมมาวายามะ
    ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับพวกสัมมาวายามะ พวกสัมมาสติ ย่อมคบ
    ค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับพวกสัมมาสติ พวกสัมมาสมาธิ ย่อมคบค้ากัน ย่อม
    สมาคมกัน กับพวกสัมมาสมาธิ ฯ

    จบสูตร

    อัฏฐังคิกสูตร
     
  17. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561
    ทสังคิกสูตร

    [๔๐๑] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ
    บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุ
    ทั้งหลาย ... แล้วได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายย่อมคบค้ากัน ย่อม
    สมาคมกัน โดยธาตุเทียว คือพวกมิจฉาทิฐิ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน
    กับพวกมิจฉาทิฐิ พวกมิจฉาสังกัปปะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับพวก
    มิจฉาสังกัปปะ พวกมิจฉาวาจา ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับพวกมิจฉา
    วาจา พวกมิจฉากัมมันตะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับพวกมิจฉากัมมันตะ
    พวกมิจฉาอาชีวะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับพวกมิจฉาอาชีวะ พวก
    มิจฉาวายามะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับพวกมิจฉาวายามะ พวกมิจฉา
    สติ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับพวกมิจฉาสติ พวกมิจฉาสมาธิ ย่อม
    คบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับพวกมิจฉาสมาธิ พวกมิจฉาญาณะ ย่อมคบค้ากัน
    ย่อมสมาคมกัน กับพวกมิจฉาญาณะ พวกมิจฉาวิมุติ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคม
    กัน กับพวกมิจฉาวิมุติ ฯ

    [๔๐๒] พวกสัมมาทิฐิ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับพวกสัมมา
    ทิฐิ พวกสัมมาสังกัปปะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับพวกสัมมาสังกัปปะ
    พวกสัมมาวาจา ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับพวกสัมมาวาจา พวกสัมมา
    กัมมันตะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับพวกสัมมากัมมันตะ พวกสัมมา
    อาชีวะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับพวกสัมมาอาชีวะ พวกสัมมาวายามะ
    ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับพวกสัมมาวายามะ พวกสัมมาสติ ย่อมคบค้า
    กัน ย่อมสมาคมกัน กับพวกสัมมาสติ พวกสัมมาสมาธิ ย่อมคบค้ากัน ย่อม
    สมาคมกัน กับพวกสัมมาสมาธิ พวกสัมมาญาณะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคม
    กัน กับพวกสัมมาญาณะ พวกสัมมาวิมุติ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับ
    พวกสัมมาวิมุติ ฯ
    จบสูตร

    ทสังคิกสูตร
     
  18. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561
    อหิริกมูลกสูตร
    [๓๘๐] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน
    อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก
    ภิกษุทั้งหลาย ... แล้วได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย ย่อมคบค้ากัน
    ย่อมสมาคมกัน โดยธาตุเทียว คือสัตว์จำพวกที่ไม่มีหิริ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคม
    กันกับสัตว์จำพวกที่ไม่มีหิริ สัตว์จำพวกที่ไม่มีโอตตัปปะ ย่อมคบค้ากัน ย่อม
    สมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่ไม่มีโอตตัปปะ สัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม ย่อม
    คบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม สัตว์จำพวกที่มีหิริ
    ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีหิริ สัตว์จำพวกที่มีโอตตัปปะ
    ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีโอตตัปปะ สัตว์จำพวกที่มี
    ปัญญา ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีปัญญา ฯ

    [๓๘๑] สัตว์จำพวกที่ไม่มีหิริ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์
    จำพวกที่ไม่มีหิริ สัตว์จำพวกที่มีสุตะน้อย ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับ
    สัตว์จำพวกที่มีสุตะน้อย สัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคม
    กัน กับสัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม สัตว์จำพวกที่มีหิริ ย่อมคบค้ากัน ย่อม
    คบค้ากัน กับสัตว์จำพวกที่มีหิริ สัตว์จำพวกที่มีสุตะมาก ย่อมคบค้ากัน ย่อม
    สมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีสุตะมาก สัตว์จำพวกที่มีปัญญา ย่อมคบค้ากัน
    ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีปัญญา ฯ

    [๓๘๒] สัตว์จำพวกที่ไม่มีหิริ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับ
    สัตว์จำพวกที่ไม่มีหิริ สัตว์จำพวกที่เกียจคร้าน ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน
    กับสัตว์จำพวกที่เกียจคร้าน สัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม ย่อมคบค้ากัน ย่อม
    สมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม สัตว์จำพวกที่มีหิริ ย่อมคบค้ากัน
    ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีหิริ สัตว์จำพวกที่ปรารภความเพียร ย่อมคบค้า
    กัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่ปรารภความเพียร สัตว์จำพวกที่มีปัญญา
    ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีปัญญา ฯ

    [๓๘๓] สัตว์จำพวกที่ไม่มีหิริ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์
    จำพวกที่ไม่มีหิริ สัตว์จำพวกที่มีสติหลงลืม ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน
    กับสัตว์จำพวกที่มีสติหลงลืม สัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม ย่อมคบค้ากัน ย่อม
    สมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม สัตว์จำพวกที่มีหิริ ย่อมคบค้ากัน ย่อม
    สมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีหิริ สัตว์จำพวกที่มีสติมั่นคง ย่อมคบค้ากัน ย่อม
    สมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีสติมั่นคง สัตว์จำพวกที่มีปัญญา ย่อมคบค้ากัน
    ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีปัญญา ฯ

    จบสูตร

    อหิริกมูลกสูตร

    อโนตตัปปมูลกสูตร​


    [๓๘๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับ ณ พระเชตวัน อารามของ
    ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัส
    เรียกภิกษุทั้งหลาย ... แล้วได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายย่อมคบค้ากัน
    ย่อมสมาคมกันโดยธาตุเทียว คือสัตว์จำพวกที่ไม่มีโอตตัปปะ ย่อมคบค้ากัน ย่อม
    สมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่ไม่มีโอตตัปปะ สัตว์จำพวกที่มีสุตะน้อย ย่อมคบค้า
    กัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีสุตะน้อย สัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม
    ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม สัตว์จำพวกที่มี
    โอตตัปปะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีโอตตัปปะ สัตว์
    จำพวกที่มีสุตะมาก ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีสุตะมาก
    สัตว์จำพวกที่มีปัญญา ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีปัญญา ฯ
    [๓๘๕] สัตว์จำพวกที่ไม่มีโอตตัปปะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับ
    สัตว์จำพวกที่ไม่มีโอตตัปปะ สัตว์จำพวกที่เกียจคร้าน ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน
    กับสัตว์จำพวกที่เกียจคร้าน สัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน
    กับสัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม สัตว์จำพวกที่มีโอตตัปปะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคม
    กัน กับสัตว์จำพวกที่มีโอตตัปปะ สัตว์จำพวกที่ปรารภความเพียร ย่อมคบค้ากัน
    ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่ปรารภความเพียร สัตว์จำพวกที่มีปัญญา ย่อม
    คบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีปัญญา ฯ

    [๓๘๖] สัตว์จำพวกที่ไม่มีโอตตัปปะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน
    กับสัตว์จำพวกที่ไม่มีโอตตัปปะ สัตว์จำพวกที่มีสติหลงลืม ย่อมคบค้ากัน ย่อม
    สมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีสติหลงลืม สัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม ย่อมคบค้ากัน
    ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม สัตว์จำพวกที่มีโอตตัปปะ ย่อม
    คบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีโอตตัปปะ สัตว์จำพวกที่มีสติมั่น
    คง ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีสติมั่นคง สัตว์จำพวกที่มี
    ปัญญา ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีปัญญา ฯ

    จบสูตร

    อโนตตัปปมูลกสูตร
     
  19. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561
    สัตตกัมมปถสูตร
    [๓๙๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ
    บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุ
    ทั้งหลาย ... แล้วได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย ย่อมคบค้ากัน
    ย่อมสมาคมกัน โดยธาตุเทียว คือพวกทำปาณาติบาต ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคม
    กัน กับพวกทำปาณาติบาต พวกทำอทินนาทาน ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน
    กับพวกทำอทินนาทาน พวกทำกาเมสุมิจฉาจาร ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน
    กับพวกทำกาเมสุมิจฉาจาร พวกมุสาวาท ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับพวก
    มุสาวาท พวกพูดส่อเสียด ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับพวกพูดส่อเสียด
    พวกพูดคำหยาบ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับพวกพูดคำหยาบ พวกพูด
    เพ้อเจ้อ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับพวกพูดเพ้อเจ้อ ฯ

    [๓๙๖] พวกเว้นขาดจากปาณาติบาต ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน
    กับพวกเว้นขาดจากปาณาติบาต พวกเว้นขาดจากอทินนาทาน ย่อมคบค้ากัน ย่อม
    สมาคมกัน กับพวกเว้นขาดจากอทินนาทาน พวกเว้นขาดกาเมสุมิจฉาจาร ย่อม
    คบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับพวกเว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร พวกเว้นขาดจาก
    มุสาวาท ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับพวกเว้นขาดจากมุสาวาท พวกเว้น
    ขาดจากคำส่อเสียด ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับพวกเว้นขาดจากคำส่อเสียด
    พวกเว้นขาดจากคำหยาบ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับพวกเว้นขาดจาก
    คำหยาบ พวกเว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับพวก
    เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ ฯ

    จบสูตร

    สัตตกัมมปถสูตร

    ทสกัมมปถสูตร​


    [๓๙๗] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ
    บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุ
    ทั้งหลาย ... แล้วได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายย่อมคบค้ากัน ย่อม
    สมาคมกัน โดยธาตุเทียว คือพวกทำปาณาติบาต ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน
    กับพวกทำปาณาติบาต พวกทำอทินนาทาน ... พวกทำกาเมสุมิจฉาจาร ... พวก
    มุสาวาท ... พวกพูดส่อเสียด ... พวกพูดคำหยาบ ... พวกพูดเพ้อเจ้อ ... ย่อมคบ
    ค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับพวกพูดเพ้อเจ้อ พวกมีอภิชฌามาก ย่อมคบค้ากัน
    ย่อมสมาคมกัน กับพวกมีอภิชฌามาก พวกมีจิตพยาบาทย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคม
    กัน กับพวกมีจิตพยาบาท พวกมิจฉาทิฐิ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน
    กับพวกมิจฉาทิฐิ ฯ

    [๓๙๘] พวกเว้นขาดจากปาณาติบาต ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน
    กับพวกเว้นขาดจากปาณาติบาต พวกเว้นขาดจากอทินนาทาน ... พวกเว้นขาดจาก
    กาเมสุมิจฉาจาร ... พวกเว้นขาดจากมุสาวาท ... พวกเว้นขาดจากพูดส่อเสียด ...
    พวกเว้นขาดจากพูดคำหยาบ ... พวกเว้นขาดจากพูดเพ้อเจ้อ ย่อมคบค้ากัน ย่อม
    สมาคมกัน กับพวกเว้นขาดจากพูดเพ้อเจ้อ พวกไม่มีอภิชฌา ย่อมคบค้ากัน
    ย่อมสมาคมกัน กับพวกไม่มีอภิชฌา พวกมีจิตไม่พยาบาท ย่อมคบค้ากัน ย่อม
    สมาคมกัน กับพวกมีจิตไม่พยาบาท พวกสัมมาทิฐิ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคม
    กัน กับพวกสัมมาทิฐิ ฯ

    จบสูตร

    ทสกัมมปถสูตร
     
  20. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561
    ปุถุชนสอนปุถุชน บรรลุมรรคผล

    เขมกสูตร
    ว่าด้วยไม่มีตนในขันธ์ ๕​


    [๒๒๕] สมัยหนึ่ง ภิกษุผู้เป็นพระเถระหลายรูป อยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้พระนครโกสัมพี.
    ก็สมัยนั้นแล ท่านพระเขมกะอาพาธ เป็นไข้หนัก ได้รับทุกขเวทนา พักอยู่ที่พทริการาม.

    ครั้งนั้นเป็นเวลาเย็น ภิกษุผู้เป็นพระเถระทั้งหลาย ออกจากที่พักผ่อนแล้ว
    เรียก ท่านพระทาสกะ มากล่าว ว่า มาเถิด ท่านทาสกะ
    จงเข้าไปหา เขมกภิกษุ ถึงที่อยู่ จงบอกกะ เขมกภิกษุ อย่างนี้ว่า

    ดูกรท่านเขมกะ พระเถระทั้งหลายได้ถามท่านอย่างนี้ว่า
    อาวุโส ท่านพออดทนได้หรือ ยังพอเยียวยาอัตภาพ ให้เป็นไปได้หรือ
    ทุกขเวทนาทุเลาลง ไม่กำเริบขึ้น ทุกขเวทนานั้น ปรากฏว่า ทุเลา ไม่กำเริบขึ้นหรือ?

    ท่านพระทาสกะรับคำภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายแล้ว เข้าไปหาท่านพระเขมกะถึงที่อยู่
    ได้กล่าวกะท่านพระเขมกะว่า ดูกรท่านเขมกะ พระเถระทั้งหลายถามถึงท่านอย่างนี้ว่า

    อาวุโส ท่านพออดทนได้หรือ ยังพอเยียวยาอัตภาพให้เป็นไปได้หรือ ฯลฯ
    ท่านพระเขมกะตอบว่า ผมอดทนไม่ไหว เยียวยาอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้
    ทุกขเวทนาอันกล้าของผมกำเริบขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย ปรากฏว่ากำเริบขึ้น ไม่ทุเลาเลย.

    [๒๒๖] ครั้งนั้น ท่านพระทาสกะเข้าไปหาภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายถึงที่อยู่แล้ว
    ได้กล่าวกะภิกษุผู้เป็นเถระว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย เขมกภิกษุกล่าวอย่างนี้ว่า
    อาวุโส ผมทนไม่ไหวเยียวยาอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้ ฯลฯ

    ถ. มาเถิด ท่านทาสกะ ท่านจงเข้าไปหาเขมกภิกษุ ถึงที่อยู่
    จงกล่าวกะเขมกภิกษุอย่างนี้ว่า ท่านเขมกะ พระเถระทั้งหลายกล่าวกะท่านอย่างนี้ว่า

    อาวุโส อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว
    คือ รูปูปาทานขันธ์ เวทนูปาทานขันธ์ สัญญูปาทานขันธ์
    สังขารูปาทานขันธ์ วิญญาณูปาทานขันธ์.

    ท่านเขมกะพิจารณาเห็นอะไรๆ ในอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ นี้ว่า เป็นตนหรือว่ามีในตนหรือ?
    ท่านพระทาสกะ รับคำภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายแล้ว เข้าไปหาพระเขมกะ ถึงที่อยู่แล้ว

    กล่าวว่า ดูกรท่านเขมกะ พระเถระทั้งหลายกล่าวกะท่านอย่างนี้ว่า
    อาวุโสอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว
    คือ รูปูปาทานขันธ์ ฯลฯ วิญญาณูปาทานขันธ์.
    ท่านเขมกะพิจารณาเห็นอะไรๆ ในอุปาทานขันธ์ ๕ นี้ว่า เป็นตน หรือว่ามีในตนหรือ?

    ข. อาวุโส อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว
    คือ รูปูปาทานขันธ์ ฯลฯ วิญญาณูปาทานขันธ์
    ผมไม่พิจารณาเห็นอะไรๆ ในอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ นี้ว่า เป็นตน หรือว่ามี
    ในตน.

    [๒๒๗] ครั้งนั้นแล ท่านพระทาสกะเข้าไปหาภิกษุผู้เถระทั้งหลายถึงที่อยู่
    ครั้นแล้วได้กล่าวกะภิกษุผู้เถระทั้งหลายว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
    ภิกษุเขมกะกล่าวอย่างนี้ว่า อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้
    พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว คือ รูปูปาทานขันธ์ ฯลฯ วิญญาณูปาทานขันธ์.

    ดูกรผู้มีอายุ ผมไม่ได้เห็นสิ่งอะไรๆ ในอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ว่า เป็นตน หรือว่า มีในตนเลย.

    ถ. มาเถิด ท่านทาสกะ ท่านจงเข้าไปหาภิกษุเขมกะถึงที่อยู่
    ครั้นแล้ว จงกล่าวกะภิกษุเขมกะอย่างนี้ว่า
    อาวุโส พระเถระทั้งหลายกล่าวกะท่านอย่างนี้ว่า
    ดูกรอาวุโส อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว
    คือ รูปูปาทานขันธ์ ฯลฯ วิญญาณูปาทานขันธ์.

    ได้ทราบว่า ถ้าท่านเขมกะไม่พิจารณาเห็นอะไรๆ ในอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ว่า
    เป็นตน หรือว่ามีในตน ถ้าเช่นนั้น ท่านเขมกะก็เป็นพระอรหันตขีณาสพ.
    ท่านพระทาสกะรับคำภิกษุผู้เถระทั้งหลายแล้ว เข้าไปหาท่านพระเขมกะถึงที่อยู่

    ครั้นแล้วได้กล่าวว่า ดูกรท่านเขมกะ พระเถระทั้งหลายกล่าวกะท่านอย่างนี้ว่า
    อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว
    คือ รูปูปาทานขันธ์ ฯลฯ วิญญาณูปาทานขันธ์.

    ได้ทราบว่า ถ้าท่านเขมกะไม่พิจารณาเห็นอะไรๆ ในอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ว่า
    เป็นตน หรือว่ามีในตน ถ้าเช่นนั้น ท่านเขมกะก็เป็นพระอรหันตขีณาสพ.

    ข. ดูกรอาวุโส อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว
    คือ รูปูปาทานขันธ์ ฯลฯ วิญญาณูปาทานขันธ์.
    ผมไม่ได้พิจารณาเห็นสิ่งอะไรๆ ในอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ว่าเป็นตน
    หรือว่ามีในตน และผมก็ไม่ได้เป็นพระอรหันตขีณาสพ
    แต่ผมเข้าใจว่า เรามีในอุปาทานขันธ์ ๕ และผมไม่ได้พิจารณาเห็นว่า นี้เป็นเรา.

    [๒๒๘] ครั้นนั้นแล ท่านพระทาสกะเข้าไปหาภิกษุผู้เถระถึงที่อยู่
    ครั้นแล้ว ได้กล่าวกะภิกษุผู้เถระทั้งหลายว่า
    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเขมกะกล่าวอย่างนี้ว่า
    ดูกรอาวุโส อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้
    พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว คือ รูปูปาทานขันธ์ ฯลฯ วิญญาณูปาทาน
    ขันธ์.

    ผมไม่ได้พิจารณาเห็นอะไรๆ ในอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ว่า
    เป็นตน หรือว่ามีในตน และผมก็ไม่ได้เป็นพระอรหันตขีณาสพ
    แต่ผมเข้าใจว่า เรามีในอุปาทานขันธ์ ๕ และผมไม่ได้พิจารณาเห็นว่า นี้เป็นเรา.

    ถ. มาเถิด ท่านทาสกะ ท่านจงเข้าไปหาภิกษุเขมกะถึงที่อยู่
    ครั้นแล้ว จงกล่าวกะภิกษุเขมกะอย่างนี้ว่า
    ท่านเขมกะ พระเถระทั้งหลายถามท่านอย่างนี้ว่า
    ดูกรท่านเขมกะ ที่ท่านกล่าวว่า เรามี นี้คืออย่างไร?
    ท่านกล่าวรูปว่า เรามี หรือกล่าวว่า เรามีนอกจากรูป
    ท่านกล่าวเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณว่า เรามี หรือกล่าวว่า เรามีนอกจากวิญญาณ.

    ดูกรท่านเขมกะ ที่ท่านกล่าวว่า เรามีนั้น คืออย่างไร?
    ท่านพระทาสกะรับคำภิกษุผู้เถระทั้งหลายแล้ว
    เข้าไปหาท่านพระเขมกะถึงที่อยู่ ครั้นแล้ว ได้กล่าวกะท่านพระเขมกะ
    ว่าท่านเขมกะ พระเถระทั้งหลายกล่าวกะท่านอย่างนี้ว่า

    ดูกรท่านเขมกะ ที่ท่านกล่าวว่า เรามี นั้น คืออย่างไร?
    ท่านกล่าวรูปว่า เรามี หรือกล่าวว่า เรามีนอกจากรูป ท่านกล่าวเวทนา
    สัญญา สังขาร วิญญาณว่าเรามี หรือกล่าวว่า เรามีนอกจากวิญญาณ.
    ดูกรท่านเขมกะ คำที่ท่านกล่าวว่า เรามี นั้น คืออย่างไร?

    ข. พอทีเถิด ท่านทาสกะ การเดินไปเดินมาบ่อยๆ อย่างนี้ จะมีประโยชน์อะไร
    อาวุโส จงไปหยิบเอาไม้เท้ามาเถิด ผมจักไปหาภิกษุผู้เถระทั้งหลายเอง.

    [๒๒๙] ครั้งนั้น ท่านพระเขมกะยันไม้เท้าเข้าไปหาภิกษุผู้เถระทั้งหลายถึงที่อยู่
    ได้สนทนาปราศรัยกับภิกษุผู้เถระทั้งหลาย
    ครั้นผ่านการสนทนาปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

    ครั้นแล้ว ภิกษุผู้เถระทั้งหลาย ได้กล่าวกะท่านพระเขมกะว่า
    ดูกรท่านเขมกะ ที่ท่านกล่าวว่า เรามี นั้นคืออย่างไร ฯลฯ

    ข. ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ผมไม่กล่าวรูปว่า เรามี ทั้งไม่กล่าวว่า เรามีนอกจากรูป
    ไม่กล่าวเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณว่า เรามี ทั้งไม่กล่าวว่า เรามีนอกจากวิญญาณ

    แต่ผมเข้าใจว่า เรามีในอุปาทานขันธ์ ๕ และผมไม่ได้พิจารณาเห็นว่า นี้เป็นเรา
    เปรียบเหมือนกลิ่นดอกอุบลก็ดี กลิ่นดอกปทุมก็ดี กลิ่นดอกบุณฑริก (บัวขาว) ก็ดี
    ผู้ใดหนอ จะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า กลิ่นใบ กลิ่นสีหรือว่ากลิ่นเกสร
    ผู้นั้นเมื่อกล่าวอย่างนี้ จะพึงกล่าวชอบละหรือ?

    ถ. ไม่เป็นอย่างนั้น อาวุโส.
    ข. ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ก็โดยที่ถูก เมื่อจะกล่าวแก้ ควรกล่าวแก้อย่างไร?
    ถ. ดูกรอาวุโส โดยที่ถูก เมื่อจะกล่าวแก้ ควรกล่าวแก้ว่า กลิ่นดอก.
    ข. ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล
    ผมไม่กล่าวรูปว่าเรามี
    ทั้งไม่กล่าวว่าเรามีนอกจากรูป ไม่กล่าวเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณว่าเรามี
    ทั้งไม่กล่าวว่า เรามีนอกจากวิญญาณ
    แต่ผมเข้าใจว่า เรามีในอุปาทานขันธ์ ๕ และผมไม่พิจารณาเห็นว่า นี้เป็นเรา.

    สังโยชน์ส่วนเบื้องต่ำ ๕ พระอริยสาวกละได้แล้วก็จริง แต่ท่านก็ยังถอนมานะ
    ฉันทะ อนุสัยอย่างละเอียดในอุปาทานขันธ์ ๕ ว่า เรามีไม่ได้.

    สมัยต่อมา ท่านพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป ในอุปาทานขันธ์ ๕
    ว่า รูปดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปดังนี้ ความดับแห่งรูปดังนี้
    เวทนาดังนี้ สัญญาดังนี้ สังขารดังนี้ วิญญาณดังนี้
    ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณดังนี้ ความดับแห่งวิญญาณดังนี้.

    เมื่อท่านพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป ในอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้อยู่
    แม้ท่านยังถอนมานะ ฉันทะ อนุสัยอย่างละเอียด ในอุปาทานขันธ์ ๕
    ว่า เรามี ไม่ได้ แต่มานะ ฉันทะ และอนุสัยนั้น ก็ถึงการเพิกถอนได้.

    ดูกรอาวุโสทั้งหลาย เปรียบเหมือนผ้าเปื้อนเปรอะด้วยมลทิน
    เจ้าของทั้งหลายมอบผ้านั้นให้แก่ช่างซักฟอก ช่างซักฟอกขยี้ผ้านั้น
    ในน้ำด่างขี้เถ้า ในน้ำด่างเกลือ หรือในโคมัยแล้ว เอาซักในน้ำใสสะอาด

    ผ้านั้นเป็นของสะอาดขาวผ่องก็จริง แต่ผ้านั้นยังไม่หมดกลิ่นน้ำด่างขี้เถ้า
    กลิ่นน้ำด่างเกลือ หรือกลิ่นโคมัยที่ละเอียด ช่างซักฟอกมอบผ้านั้น
    ให้แก่เจ้าของทั้งหลาย เจ้าของทั้งหลายเก็บผ้านั้น ใส่ไว้ในหีบอบกลิ่น
    แม้ผ้านั้นยังไม่หมดกลิ่นน้ำด่างขี้เถ้า กลิ่นน้ำด่างเกลือ หรือกลิ่นโคมัยที่ละเอียด

    แม้กลิ่นนั้นก็หายไปฉันใด. ดูกรอาวุโสทั้งหลาย สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ พระอริยสาวกละได้แล้วก็จริง

    แต่ท่านก็ยังถอนมานะ ฉันทะ อนุสัยอย่างละเอียดในอุปาทานขันธ์ ๕ ว่า เรามี ไม่ได้

    สมัยต่อมา ท่านพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป ในอุปาทานขันธ์ ๕ ว่า
    รูปดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปดังนี้ ความดับแห่งรูปดังนี้
    เวทนาดังนี้ สัญญาดังนี้ สังขารดังนี้ วิญญาณดังนี้
    ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณดังนี้ ความดับแห่งวิญญาณดังนี้.

    เมื่อท่านพิจารณาเห็นความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปในอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้อยู่
    แม้ท่านยังถอนมานะ ฉันทะ อนุสัยอย่างละเอียดในอุปาทานขันธ์ ๕ ว่า เรามี ไม่ได้
    แต่มานะ ฉันทะ และอนุสัยนั้น ก็ถึงการเพิกถอนได้ฉันนั้น.

    [๒๓๐] เมื่อท่านพระเขมกะกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุผู้เถระทั้งหลาย
    ได้กล่าวกะท่านพระเขมกะว่า ผมทั้งหลายไม่ได้ถามมุ่งหมายเบียดเบียนท่านเขมกะเลย
    แต่ว่า ท่านเขมกะ สามารถพอจะบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ตื้น
    ซึ่งคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคนั้นโดยพิสดาร
    ตามที่ท่านเขมกะ บอกแล้ว แสดงแล้ว บัญญัติแล้ว
    แต่งตั้งแล้ว เปิดเผยแล้ว จำแนกแล้ว ทำให้ตื้นแล้ว โดยพิสดาร.

    ท่านพระเขมกะ ได้กล่าวคำนี้แล้ว.
    ภิกษุผู้เถระทั้งหลาย ชื่นชมยินดีภาษิตของท่านพระเขมกะ.
    ก็เมื่อท่านพระเขมกะ กล่าวคำไวยากรณภาษิตอยู่
    จิตของภิกษุผู้เถระประมาณ ๖๐ รูป และของท่านพระเขมกะ
    พ้นแล้วจากอาสวะ เพราะไม่ถือมั่น.

    จบ สูตร

    เขมกสูตร

    อรรถกถา เขมกสูตร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 พฤศจิกายน 2012

แชร์หน้านี้

Loading...