รวบรวมภาพเมฆ, ท้องฟ้า, ดาว, เดือน, พระอาทิตย์ เพือเก็บตัวอย่างไว้ศึกษา

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย Falkman, 19 มิถุนายน 2007.

  1. ANAN JANG

    ANAN JANG เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    544
    ค่าพลัง:
    +175
    ผมก็คิดว่าแบบนั้น มันบังเอิญต่างจากปกติเล็กน้อยคือ บางพื้นที่นั้นอาจจะมีหมอกเป็นฟิลเตอร์บังตาเรา แล้วแสงก็สะท้อนกับไอพ่นพอดี แจ่ม สวยเลย^^
     
  2. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    เคยถ่ายได้เหมือนกัน แบบนี้ มีแบบสองเส้นตัดกันอีก
    น่าจะคือ เครื่องบินสะท้อนแสง ไอเสียที่ออกมาจากหางสะท้อนกับแสงอาทิตย์
     
  3. somsweet

    somsweet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2011
    โพสต์:
    6,138
    ค่าพลัง:
    +9,874
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%"><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>ช่างภาพดาราศาสตร์ย้ำ “แสงประหลาด” แค่ “คอนเทรล” จากเครื่องบิน</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD height=40><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=4><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>15 มีนาคม 2555 15:33 น.</TD><TD vAlign=center align=left><SCRIPT src="https://apis.google.com/_/apps-static/_/js/gapi/gcm_ppb,googleapis_client,plusone/rt=j/ver=Hu1uaKVQUqw.th./sv=1/am=!brN6X75-Zu-IDRYPeA/d=1/cb=gapi.loaded0" async="true"></SCRIPT><SCRIPT type=text/javascript src="http://platform.twitter.com/widgets.js"></SCRIPT>


    <SCRIPT type=text/javascript src="https://apis.google.com/js/plusone.js" gapi_processed="true"> {lang: 'th'}</SCRIPT>


    <TD></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD><IFRAME style="BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-LEFT: medium none; WIDTH: 450px; HEIGHT: 35px; OVERFLOW: hidden; BORDER-TOP: medium none; BORDER-RIGHT: medium none" src="http://www.facebook.com/plugins/like.php?href=http://www.manager.co.th/asp-bin/mgrshort.aspx?NewsID=9550000033713&layout=standard&show_faces=false&width=450&action=like&colorscheme=light&height=35" frameBorder=0 allowTransparency scrolling=no></IFRAME></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%"><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=320><TBODY><TR><TD vAlign=top width=320 align=middle>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ภาพแสงประหลาดที่ชาวบ้านในลำปางเห็น (ภาพจากโต๊ะข่าวภูมิภาค)</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD height=5 vAlign=top align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>หลังจากมีข่าวชาวบ้านในลำปางตื่นกับแสงประหลาดเหนือท้องฟ้า ซึ่งหลายความเห็นระบุว่าคือ “คอนเทรล” ที่เกิดจากเครื่องบิน ซึ่งช่างภาพดาราศาสตร์และคอลัมนิสต์ข่าววิทยาศาสตร์ช่วยย้ำว่าภาพที่เห็นเป็นเมฆจากเครื่องบินไอพ่นอย่างแน่นอน

    ศุภฤกษ์ คฤหานนท์ เจ้าหน้าที่สารสนเทศทางดาราศาสตร์ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) และคอลัมนิสต์ประจำคอลัมน์ “มหัศจรรย์ภาพถ่ายดาราศาสตร์” ให้ความเห็นแก่ทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์หลังได้รับภาพถ่ายดังกล่าวไปพิจารณาว่า เป็นเมฆที่เกิดจากเครื่องบิน

    “จากภาพที่ส่งมาฟันธงได้เลยครับว่า นั่นคือ เมฆที่เกิดจากเครื่องบินครับ” ศุภฤกษ์ยืนยัน

    เมฆดังกล่าวเรียกว่า “คอนเทรล” (Contrails) เป็นเมฆที่เกิดจาดความร้อนของเครื่องบินไอพ่น มีลักษณะเป็นเส้นพาดท้องฟ้า ซึ่งกล่าวง่ายๆ ก็คือเมฆที่สร้างขึ้นโดยฝีมือมนุษย์ เมื่อเครื่องบินไอพ่นบินอยู่ในระดับสูงเหนือระดับควบแน่น ไอน้ำซึ่งอยู่ในอากาศร้อนที่พ่นออกมาจากเครื่องยนต์ ปะทะเข้ากับอากาศเย็นซึ่งอยู่ภายนอก เกิดการควบแน่นเป็นหยดน้ำ โดยการจับตัวกับเขม่าควันจากเครื่องยนต์ซึ่งทำหน้าที่เป็นแกนควบแน่น เราจึงมองเห็นควันเมฆสีขาวถูกพ่นออกมาทางท้ายของเครื่องยนต์เป็นทางยาว

    คอนเทรลในช่วงเช้าหรือเย็นนั้น ศุภฤกษ์บอกว่า จะมีสีส้ม เนื่องจากแสงอาทิตย์ที่ตกกระทบมีสีส้ม นั่นเป็นเพราะท้องฟ้าในขณะนั้นเป็นช่วงเวลาตอนเช้า หรือตอนเย็น ซึ่งจะมีสีส้มๆ แดงๆ เนื่องมาจากในเวลาเย็นหรือเช้า แสงจะเข้ามาเฉียงๆ เป็นมุมทแยงกับพื้นโลก และต้องผ่านบรรยากาศหนาขึ้นมากกว่าเวลาที่พระอาทิตย์ตรงศีรษะ และกว่าจะเดินทางถึงตาเรา

    ส่วนแสงสีฟ้าจากแสงอาทิตย์นั้นส่วนใหญ่จะกระเจิงออกไปหมด ส่วนหนึ่งจะหายไปในอวกาศ ทำให้แสงที่เหลือ ซึ่งเป็นพวกสีส้มสีแดงมีอิทธิพลมากขึ้นมาเรื่อยๆ เมื่อเวลาเย็นลง ท้องฟ้าก็จะเริ่มเปลี่ยนสีไปทางสีส้มมากขึ้น แล้วทำให้เนามองเห็นเมฆ “คอนเทรล” เป็นสีส้มดังภาพ พร้อมกันนี้เขายังได้ส่งภาพอื่นมาให้เปรียบเทียบด้วย


    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=600><TBODY><TR><TD vAlign=top width=600 align=middle>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>"คอนเทรล" สีส้มในช่วงเวลาเช้าหรือเย็น</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD height=5 vAlign=top align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=600><TBODY><TR><TD vAlign=top width=600 align=middle>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>"คอนเทรล" ในช่วงกลางวัน</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD height=5 vAlign=top align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=600><TBODY><TR><TD vAlign=top width=600 align=middle>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>"คอนเทรล" ในยามเย็น

    ใช่อย่างที่คิด..อิอิ :cool::cool::cool:


    B5 - War Room Falkman

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  4. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. Chanko.8

    Chanko.8 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    338
    ค่าพลัง:
    +88
    ขอเก็บสถิติ ตำแหน่งการขึ้นของดวงอาทิตย์ไว้หน่อยครับ
    ถ่ายเมื่อ 3 ก.พ. 55
    [​IMG]

    ถ่ายเมื่อ 9 มี.ค. 55
    [​IMG]

    ถ่ายเมื่อ 22 มี.ค. 55
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  6. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    ถ่ายไว้ของวันที่ 21 มีนาคม 2012 - เผอิญซูมไปเห็นพระพุทธรูปปางห้ามสมุทรด้วย :boo:เหมือนในหนังเรื่องหนึ่ง ไม่แน่ใจว่าเป็น 2012 หรือเปล่า ...
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_3415.JPG
      IMG_3415.JPG
      ขนาดไฟล์:
      5.2 MB
      เปิดดู:
      183
  7. sug552

    sug552 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    563
    ค่าพลัง:
    +250
    ต้นฉบับจาก www.thaispaceweather.com
    เมื่อโลกเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดในรอบปี
    แต่เรากลับหนาวเหน็บ
    Why Earth is Closest to Sun in Dead of Winter
    January 11<sup>th</sup>, 2007
    Adapted from: www.space.com
    ทุกปีโลกจะโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด ที่จุด Perihelion ในวันที่ 3 มกราคม 2550 ขณะที่ซีกโลกเหนืออยู่ในฤดูหนาวส่วนซีกโลกใต้อยู่ในฤดูร้อน ดูจะเป็นเรื่องไม่สมเหตุสมผลที่โลกเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดในรอบปีแต่ทำไมซีกโลกเหนือกลับไม่อยู่ในฤดูร้อน
    [​IMG]
    งโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ดูเผินๆ เหมือนจะเป็นวงกลม แต่จริงๆ แล้วไม่กลม จุดสว่างสองจุดด้านในคือดาวพุธและดาวศุกร์
    Credit: Space.com Graphic/Made with Starry Night Software
    เป็นที่ทราบกันดีว่าวงโคจรของโลกมิได้เป็นวงกลมอย่างแท้จริง หากแต่มีความรีเล็กน้อย ซึ่งหมายความว่าจะมีจุดหนึ่งบนวงโคจรที่โลกใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดในรอบปี (Perihelion) ในวันที่ 3 มกราคม 2550 ด้วยระยะทางระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์จะเป็น 147,093,602 กิโลเมตร และจุดที่ไกลที่สุด (aphelion) ในวันที่ 7 กรกฎาคม 2550 ด้วยระยะทาง 152,097,053 กิโลเมตร ส่วนต่าง 5,003,451 กิโลเมตร หรือร้อยละ 3.3 นั้นไม่มากพอที่จะทำให้เกิด
    ฤดูกาลบนโลกเป็นผลจากการที่แกนหมุนรอบตัวเองของโลกเอียงทำมุม 23.5 องศา กับระนาบวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ (ecliptic plane) ซึ่งพิสูจน์ได้ด้วยการสังเกตการณ์ต่อไปนี้ หากเราบันทึกตำแหน่งของดวงอาทิตย์บนท้องฟ้า ณ เวลาเที่ยงของทุก ๆ วัน เป็นเวลาหนึ่งปี เราจะได้ภาพตำแหน่งของดวงอาทิตย์ที่เรียงตัวคล้ายเลข 8 บนท้องฟ้า ที่เรียกว่า analemma
    [​IMG]
    ภาพที่ 1 ตำแหน่งดวงอาทิตย์เที่ยงวันบนท้องฟ้าตลอดหนึ่งปี สร้างโค้งรูปเลข 8 ที่เรียกว่า analemma
    ภาพนี้แสดงตำแหน่งของดวงอาทิตย์เที่ยงวันในวันที่ 4 มกราคม 2550
    Credit: Space.com Graphic/Made with Starry Night Software
    ตำแหน่งสูงสุดของ analemma คือตำแหน่งของดวงอาทิตย์เที่ยงวันในวันครีษมายัน (summer solstice) ประมาณวันที่ 21 มิถุนายน อันเป็นวันที่กลางวันยาวนานที่สุดในซีกโลกเหนือแต่สั้นที่สุดในซีกโลกใต้ ส่วนตำแหน่งต่ำสุดคือตำแหน่งของดวงอาทิตย์ในวันเหมายัน (winter solstice) ประมาณวันที่ 22 ธันวาคม อันเป็นวันที่กลางวันสั้นที่สุดในซีกโลกเหนือแต่ซีกโลกใต้กลับยาวนานที่สุด ตำแหน่งของดวงอาทิตย์ยามเที่ยงที่แตกต่างกันในแต่ละวันเป็นผลมาจากแกนโลกเอียง
    ส่วนการเปลี่ยนตำแหน่งจากซ้ายไปขวาบนโค้ง analemma เป็นหลักฐานบ่งบอกความรีของวงโคจรโลก เส้นที่ลากจากขั้วฟ้าใต้ (south celestial pole) ไปตามทรงกลมท้องฟ้าไปจรดขั้วฟ้าเหนือ (north celestial pole) โดยผ่านศีรษะของผู้สังเกต เรียกว่าเส้นเมริเดียน (meridian) ถ้าโลกโคจรเป็นวงกลมอย่างแท้จริง ดวงอาทิตย์จะต้องผ่านเส้น meridian ในเวลาเที่ยงวัน (ตามเวลานาฬิกา) ของทุกๆ วัน ทว่าในความเป็นจริงวงโคจรของโลกเป็นวงรี ในเดือนกรกฎาคมซึ่งโลกอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ที่สุดความเร็วในเส้นทางโคจรของโลกก็จะช้าลง ส่วนในเดือนมกราคมเมื่อโลกเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ความเร็วในเส้นทางโคจรของโลกก็จะเร็วขึ้น ตามกฎของเคปเลอร์ ผลที่ได้ก็คือ ดวงอาทิตย์จะผ่านเส้น meridian เร็วหรือช้าไม่เท่ากันตลอดทั้งปี เมื่อดวงอาทิตย์ช้า มันจะผ่านเส้น meridian หลังเวลา 12:00 น. แต่เมื่อดวงอาทิตย์เร็วก็จะข้ามเส้น meridian ก่อนเวลา 12:00 น.
    [​IMG]
    เส้นโค้ง Analemma สมการแห่งเวลา และปฏิทินอย่างง่าย ซึ่งช่วยบ่งชี้ว่าแกนโลกเอียงและโคจรเป็นวงรีรอบดวงอาทิตย์
    นอกจากนี้ผลการสังเกตและบันทึกเหตุการณ์บนท้องฟ้าอย่างง่ายนี้ช่วยให้เกิดสมการแห่งเวลา (Equation of time) ที่นิยามว่าเป็นความแตกต่างระหว่างเวลาดวงอาทิตย์จริง (true solar time) ตามตำแหน่งของดวงอาทิตย์บนท้องฟ้า กับเวลาดวงอาทิตย์เฉลี่ย (mean solar time) ซึ่งก็คือเวลาที่อ่านได้จากหน้าปัดนาฬิกา ความแตกต่างของเวลาทั้งสองผันแปรตลอดทั้งปีและมีพิสัยมากที่สุด16 นาที เส้นโค้ง analemma นี้พบได้ทั่วไปบนนาฬิกาแดด ซึ่งบางเรือนก็บันทึกสมการแห่งเวลากำกับไว้ด้วยเพื่อความสะดวกในการเปรียบเทียบเวลาดวงอาทิตย์จริงกับเวลาดวงอาทิตย์เฉลี่ย

    เรียบเรียงโดย : วัชราวุฒิ หน่อแก้ว ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล




    พบความปั่นป่วนภายในลมสุริยะ
    Turbulence Detected in Space
    January 3<sup>r</sup><sup>d</sup>, 2007
    Adapted from: www.space.com
    ลมสุริยะที่อุดมไปด้วยอนุภาคมีประจุที่พัดผ่านโลกสามารถก่อกวนดาวเทียมและก่ออันตรายต่อนักบินอวกาศ ถูกกลุ่มดาวเทียมสี่ดวงตรวจวัดความผันแปรภายในการเคลื่อนที่ของลมสุริยะและพบหลักฐานว่ามี “ความปั่นป่วน (turbulence)” ภายในอวกาศ
    ตัวอย่างของความปั่นป่วนสามารถเห็นได้ทั่วไปบนโลก โดยเฉพาะการไหลแบบปั่นป่วนของของไหลบนโลก เช่นน้ำ อากาศ หรือแม้แต่ควัน ทว่านักวิทยาศาสตร์กลับต้องเผชิญความยุ่งยากในการอธิบายธรรมชาติของปรากฏการณ์นี้ ความยากลำบากก็คือเราไม่มีสมการทางคณิตศาสตร์ใดสำหรับอธิบายความปั่นป่วนได้อย่างแท้จริง นักวิทยาศาสตร์จึงเลือกใช้คำอธิบายเชิงสถิติ โดยสนใจสถิติของความดันหรือความเร็วที่แปรเปลี่ยนไปตามระยะทาง
    [​IMG]
    ตัวอย่างความปั่นป่วนของกระแสน้ำที่ไหลตกลงไปจากขอบเมื่อถูกกีดขวางกระแสน้ำ
    นักวิจัยอาจจะศึกษาความปั่นป่วนภายในอุโมงค์ลมหรือท่อน้ำได้ง่าย แต่สำหรับความปั่นป่วนภายในอวกาศยังเป็นสิ่งที่ยากลำบากมาก อย่างไรก็ตามโครงการ Cluster ซึ่งเป็นกลุ่มดาวเทียม 4 ดวง ขององค์การอวกาศยุโรป ถูกออกแบบมาเพื่อทำหน้าที่อันน่าท้าทายนี้แล้ว โดยดาวเทียมเดี่ยวแต่ละดวงสามารถศึกษาลมสุริยะและวัดสัญญาณความปั่นป่วนภายในการเปลี่ยนแปลงของกระแสพลาสมา อย่างไรก็ตามเพื่อเปรียบเทียบโดยตรงกับทฤษฎี นักวิจัยจำเป็นต้องตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับขนาดความความผันแปรภายในลมสุริยะเสียก่อน และเพื่อหลีกเลี่ยงความคลุมเครือ อุปกรณ์ตรวจวัดจำนวนมากจึงจำเป็นสำหรับวัดสมบัติของลมสุริยะที่ตำแหน่งต่างๆ ซึ่งเป็นเหตุผลที่กลุ่มดาวเทียม Cluster ถูกออกแบบมาให้โคจรรอบโลกเป็นกลุ่มในรูปแบบพิรามิดฐานสามเหลี่ยม เพื่อเก็บเกี่ยวข้อมูลสนามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้าจากทุกทิศทาง
    [​IMG]
    รูปแบบการจัดตำแหน่งของดาวเทียม cluster ทั้ง 4 ลำ
    จากเหตุการณ์ที่สนามแม่เหล็กของโลกปะทะกับลมสุริยะ เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2545 กลุ่มดาวเทียม Cluster ต้องเสี่ยงกับการอยู่แนวหน้าของสนามแม่เหล็กโลก บริเวณใกล้เคียงกับตำแหน่ง bow shock หรือแนวปะทะระหว่างลมสุริยะกับสนามแม่เหล็กโลก ซึ่งที่แนวดังกล่าวคลื่นกระแทกที่สะท้อนกลับจะทำให้เกิดระลอกและกระแสหมุนวนภายในการเคลื่อนที่ของลมสุริยะ และเป็นจุดที่ดีสำหรับค้นหา “ความปั่นป่วน”
    การวิเคราะห์ความเข้มสนามแม่เหล็กที่ถูกบันทึกโดยดาวเทียมแต่ละดวงช่วยให้นักวิจัยพบความเปลี่ยนแปลงของอัตราเร็วลมสุริยะ สิ่งนี้เองทำให้พวกเขาอธิบายการเปลี่ยนแปลงพลังงานตามระยะทางภายในลมสุริยะได้
    นอกจากนี้ผลการวิเคราะห์ยังสอดคล้องกับการผันแปรพลังงานที่เห็นได้ในความปั่นป่วนของของไหลบนโลกอีกด้วย ทำให้งานวิจัยนี้เป็นการตรวจพบความปั่นป่วนในอวกาศครั้งแรก
    ที่น่าประหลาดใจคือลมสุริยะความหนาแน่นต่ำเหล่านี้แทบไม่มีความหนืดอันเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดความปั่นป่วนของของไหล นั่นหมายความว่าจะต้องมีกระบวนการทางฟิสิกส์บางอย่างที่ทำหน้าที่สร้างความปั่นป่วนแทนความหนืด ซึ่งอาจจะเป็นอันตรกิริยาเชิงแม่เหล็กไฟฟ้าระหว่างอนุภาคมีประจุภายในลมสุริยะเอง
    [​IMG]
    กลุ่มดาวเทียม Cluster โคจรรอบโลกพร้อมทั้งอยู่ในบริเวณแนวปะทะระหว่างสนามแม่เหล็กโลกกับลมสุริยะ (Bow shock)
    Credit: ESA
    งานชิ้นนี้จะช่วยปรับปรุงการทำนายสภาพอวกาศเช่นเดียวกับช่วยพัฒนาแบบจำลองการไหลเชิงปั่นป่วนของก๊าซมีประจุที่เรียกว่า พลาสมา(Plasma) และตีพิมพ์ลงในวารสาร Physical Review Letters
    นอกจากความปั่นป่วนในระบบสุริยะแล้ว นักดาราศาสตร์ฟิสิกส์ยังเสนอความเป็นไปได้ที่จะพบความปั่นป่วนภายในดาวฤกษ์ เมฆก๊าซระหว่างดาว(Interstellar clouds) วงแหวนมวลสารรอบหลุมดำ และภายในพายุ red spot ของดาวพฤหัสบดีอีกด้วย

    เรียบเรียงโดย : วัชราวุฒิ หน่อแก้ว ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

    -----------------------------------------------------

    ผมขออนุญาติลงข้อมูลไว้ที่นี่นะครับพี่ A1 ถ้าซ้ำก็ขออภัยครับ

    พอดีไปเจอมาเมื่อกี้ คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์บ้าง อันนี้แค่ส่วนนึง

    จริง ๆ ยังมีอีกเยอะ ต้องเข้าไปดูต่อนะครับ

    -----------------------------------------------------
     
  8. Nantnapas P

    Nantnapas P เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    287
    ค่าพลัง:
    +902


    ดาวบริวารของนิบุรุ แหงมๆ:'(
     
  9. Andromeda Endless

    Andromeda Endless Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 เมษายน 2011
    โพสต์:
    75
    ค่าพลัง:
    +42
    ท้องฟ้ายามเย็นเมื่อวานนี้

    เวลา 17.01

    [​IMG]



    หลังจากนั้นอีก 5 วินาที

    [​IMG]
     
  10. ragpon

    ragpon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    456
    ค่าพลัง:
    +954
    กว่าจะตัดสินใจมาโพสได้นี้หลายวันเกิ้นนน

    เมื่อ2อาทิตย์ก่อน ผมและครอบครัวรวมถึงพี่น้องใกล้ชิดหลายคนไปเเท่ยวบริเวณ เขื่อนเชี้ยนหลาน สุราษฎร์ธานี ไอความที่ผมเป็นคนชอบมองท้องฟ้าเพราะรู้ว่ามีอะไรต่ออะไรอยู่บนนั้น ในวันนั้นฟ้าโปร่งแดดแรงมากใส่แว่นตาสีน้ำตาลเข้มแฟร์ชั่นแถมกันแดดแรงได้ด้วย ไอสิ่งที่เราเห็นมันบินหรือว่าเรียกลอยอ้อยอิ่งเป็นเส้นตรงจากซ้ายไปขวามีต้นมะพร้าวเป็นตัวกำหนดจากสายตาห่างจากต้นมะพร้าวและห่างออกไปจนเจอวัตถุนั้นเราก็ได้กะเกนความเร็วของมันได้ว่าสูงในระยะของเครื่องบินแต่เร็วจังไม่มีไอพ้นและสีออกจางๆไม่ค่อยผิดปกติจากเครื่องบินเลย เลยเงยหน้าอยู่นานจากที่มอง คือผมมองจากใกล้โคนมะพร้าวนะครับก็ตั้งแต่ก่อนถึงต้นมะพร้าวจนเลยต้นไปนิดหน่อยน้องก็ถามว่ามองอะไร มองยูเอฟโออีกอะเดะ คือโดนทักแบบนี้รู้เลยจะโดนอำอะไร ก็เลยบอกว่าเครื่องบินตะหาก เขาก็บอกไม่เห็นมี2-3คนเงยดูตามหมดตรงนั้นๆชี้ให้ดูผมก็ยังเห็นอยู่แต่พอบอกไม่เห็นกันนึกว่าอำเล่นผมก็ยังเงยขึ้นไปยังค่อยๆบินอ้อยอิ่งไปอยู่เลย จนผมเริ่มซักเลยก็ยอมรับว่าเขาไม่เห็นกันจริงๆผมเลยวิ่งหากล้องเลยในระยะเวลาจากที่โดนทักจนเริ่มหากล้องมันแค่ไม่ถึง10วิ จับกล้องได้เขาหายไปแล้วผมกะระยะจากที่ผมเห็นล่าสุดจนทิ้งระยะให้ออกไปอีกจนถ้าเป็นเครื่องธรรมดาจะวิ่งไประยะนั้นก็ยังเห็นได้อีก5นาทีมองหาจนคิดว่าหายไปแล้วจริงๆก็มานึกได้ว่า วันนั้นเราก็งง เลยมาเล่าบอกให้อ่านกันดูเพื่อจะมีเพื่อนช่วยงง บ้าง รายงานการพบเห็นอะไรซักอย่างที่คล้ายเครื่องบินบริเวณสันเขื่อนทางใต้ครับ จบข่าว
     
  11. klu

    klu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    361
    ค่าพลัง:
    +1,320
    เขามาเตือนคุณ และอาจแปลได้อีกอย่างว่า คุณจะรอด
    อย่าประมาทแล้วกันนะ คราวหลังเว้นวรรค จัดย่อหน้า เว้นบรรทัดหน่อยก็ดี อ่านยากมาก
     
  12. sug552

    sug552 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    563
    ค่าพลัง:
    +250
    ถ่ายไว้เมื่อกี้ 18:45 น. ที่ ตลาดอำเภอเมืองชุมพร

    รูปที่ 1-3 ถ่ายทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ (ทิศตามเข็มทิศ)

    รูปที่ 4 ถ่ายทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ (ทิศตามเข็มทิศ)

    ที่น่าแปลกคือเข็มทิศผม และเข็มทิศในไอโฟนมันชี้ทิศเหนือเหมือนกัน

    แต่ตะวันตกใกล้ทิศเหนือมาก
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_9231.JPG
      IMG_9231.JPG
      ขนาดไฟล์:
      1,015.7 KB
      เปิดดู:
      91
    • IMG_9232.JPG
      IMG_9232.JPG
      ขนาดไฟล์:
      1.1 MB
      เปิดดู:
      94
    • IMG_9233.JPG
      IMG_9233.JPG
      ขนาดไฟล์:
      1.3 MB
      เปิดดู:
      107
    • IMG_9234.JPG
      IMG_9234.JPG
      ขนาดไฟล์:
      1.1 MB
      เปิดดู:
      102
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 เมษายน 2012
  13. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    ต้องระวังแผ่นดินไหวฝั่งอันดามันเลย :cool:
     
  14. ถาวโร(ถา-วะ-โร)

    ถาวโร(ถา-วะ-โร) เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กันยายน 2007
    โพสต์:
    645
    ค่าพลัง:
    +672
    อันดามันอีกแล้ว :'( :'( :'(
     
  15. ญานทิพย์

    ญานทิพย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    194
    ค่าพลัง:
    +404
    เมฆนี้จิตสัมผัสได้ เป็นเมฆที่ UFO ฉายภาพเตือนภัย แผ่นดินไหวเกิน 7 ริกเตอร์และให้ ระวัง สึนามิ เมื่อวานมีนิมิตเตือน เห็นคลื่นสึนามิกวาดคนเล่นน้ำชายหาด...เตือนกันไว้นะครับ
     
  16. ญานทิพย์

    ญานทิพย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    194
    ค่าพลัง:
    +404
    ภาพนี้ถ่ายไว้ก่อนเกิดแผ่นดินไหวที่ชิลี 7.2 ริกเตอร์ ประมาณ18.00น ผมกำลังจะไปทำงานเขาเตือนมาจะมีแผ่นดินไหวเกิน 7ริกเตอร์ ให้ดูบนท้องฟ้า จิตสัมผัสไม่ได้แสดงว่าไม่เกิดที่ประเทศไทยแต่ภาพที่คุณsug552 ถ่ายมาผมนิมิตเห็นก่อนแล้วผมตามอยู่ว่าจะเกิดที่ไหน ขอบคุณมากนะครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  17. sug552

    sug552 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    563
    ค่าพลัง:
    +250
    ต้องรอดูครับ :cool:
     
  18. ทารา

    ทารา Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    169
    ค่าพลัง:
    +78
    รอดูและเฝ้าระวังกันต่อไปคะ
     
  19. อธิฎฐาน

    อธิฎฐาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    430
    ค่าพลัง:
    +1,610
    ภาพพระเมรุมาศ ได้มาจาก fb ไม่ทราบว่าเป็นเมฆแผ่นดินไหวหรือเปล่า

    [​IMG]
     
  20. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    ไม่แน่ใจว่าเป็นเมฆแผ่นดินไหวหรือเปล่า แต่สวยจังเลยภาพนี้ :cool:
     

แชร์หน้านี้

Loading...